เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 1
สถานศึกษาแห่เข้าหุ้นจุดแข็งเพียบดึงดูดนักลงทุนอาชีวะพะเยาระดมทุนทันปีนี้
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Friday, May 06, 2011 03:26
โพสต์ทูเดย์ -ธุรกิจการศึกษาเป็นเทรนด์เข้าตลาดหุ้น จุดแข็งมีผลประกอบการดี ไม่ต้องเสียภาษีเต็มรูปแบบแถมรัฐสนับสนุน คาดอาชีวะพะเยาเป็นรายแรก
น.ส.ผุสดี รัตนศรีสมโภชกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอปโซลูทแอดไวเซอรี่ เปิดเผยว่า ในอนาคตจะเห็นแนวโน้มสถาบันการศึกษาเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีจุดแข็งตรงที่มีผลประกอบการดีอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีเต็มรูปแบบ เช่น
การจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น การโอนที่ดินให้สถาบันการศึกษา ขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีนโยบายสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่เป็นสถาบันการศึกษาพร้อมเสนอขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ)อยู่ 1 แห่ง เป็นอาชีวะเอกชน ในจ.พะเยา ซึ่งคาดว่าจะเสนอแบบรายการข้อมูล (ไฟลิง) กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ในเร็วนี้ และคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ภายในปีนี้ได้
น.ส.ผุสดี กล่าวว่า "ตอนนี้ก็มีที่ปรึกษาการเงินหลายแห่งพูดคุยกับสถาบันการศึกษา ส่วนอาชีวะพะเยาที่บริษัทกำลังดูแลอยู่ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเรื่องบัญชีเนื่องจากธุรกิจนี้มีจุดอ่อนเรื่องจัดการเรื่องบัญชีที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมให้ได้มาตรฐานบัญชี"
"หากสถาบันการศึกษาแห่งแรกเข้าตลาดหุ้น คงต้องเข้าไปอยู่ในกลุ่มการซื้อขายหมวดการให้บริการและมองว่าหุ้นสถาบันการศึกษาเป็นหุ้นประเภทที่มีคุณค่า (แวลูสต๊อก)"
นอกจากนี้ บริษัทยังเตรียมทำไฟลิงขายไอพีโอของ บริษัท ไพลินบุ๊ค เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ในไตรมาส 2 นี้ และคาดว่า จะเข้ามาซื้อขายและจดทะเบียนได้ภายในปีนี้
ทั้งนี้ ภายในเดือน พ.ค. จะมีหุ้นที่พร้อมจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด 3 แห่ง คือ วันที่10 พ.ค. บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHBANK) กองทุนอสังหาริมทรัพย์อีก 1 แห่ง และปลายเดือน พ.ค. บริษัท น้ำตาลครบุรี
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนมประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ (APM)กล่าวว่า อาชีวะพะเยาแห่งนี้บริหารโดยนักธุรกิจหนุ่มเจเนอเรชัน 2 ต้องการขยายการลงทุน และมองว่าการเข้าตลาดหุ้นน่าจะดีกว่าการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์
"กลุ่มนี้นอกจากมีอาชีวะที่พะเยาแล้ว ยังมีโรงเรียนอนุบาล
ที่เชียงราย และสนใจตั้งสถานศึกษาในภาคเหนือ ซึ่งที่เชียงใหม่มีมหาวิทยาลัยถึง 9 แห่ง และน่าจะเป็นศูนย์กลางการศึกษา เพราะคนจีนเข้ามาทำธุรกิจและเรียนมากขึ้น" นายสมภพ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายพีรเจต สุวรรณภาศรี ประธานกรรมการ บริหารบริษัท ยูเนี่ยน อินทราโก้ หรือ UIC ผู้จำหน่ายเคมีภัณฑ์พิเศษและเป็นผู้นำตลาดการจำหน่ายแอลกอฮอล์แปลงสภาพนำเข้า เปิดเผยว่า คาดว่าจะเสนอขายหุ้นไอพีโอจำนวน 52 ล้านหุ้น ได้ในวันที่ 18-20 พ.ค.2554 และพร้อมจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ปลาย พ.ค.ถึงต้นมิ.ย.นี้
ด้านสำนักงาน ก.ล.ต.เปิดเผยว่าในไตรมาสแรก ปี 2554 ได้อนุญาตการเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน 2 บริษัท จำนวนเท่ากับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่รวมทั้งปี 2553 มีทั้งหมด 9 บริษัท
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (PO)จำนวน 3 บริษัท นับว่ามากว่าทั้งปีก่อนที่อนุญาต 2 บริษัท
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Friday, May 06, 2011 03:26
โพสต์ทูเดย์ -ธุรกิจการศึกษาเป็นเทรนด์เข้าตลาดหุ้น จุดแข็งมีผลประกอบการดี ไม่ต้องเสียภาษีเต็มรูปแบบแถมรัฐสนับสนุน คาดอาชีวะพะเยาเป็นรายแรก
น.ส.ผุสดี รัตนศรีสมโภชกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอปโซลูทแอดไวเซอรี่ เปิดเผยว่า ในอนาคตจะเห็นแนวโน้มสถาบันการศึกษาเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีจุดแข็งตรงที่มีผลประกอบการดีอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีเต็มรูปแบบ เช่น
การจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น การโอนที่ดินให้สถาบันการศึกษา ขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีนโยบายสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่เป็นสถาบันการศึกษาพร้อมเสนอขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ)อยู่ 1 แห่ง เป็นอาชีวะเอกชน ในจ.พะเยา ซึ่งคาดว่าจะเสนอแบบรายการข้อมูล (ไฟลิง) กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ในเร็วนี้ และคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ภายในปีนี้ได้
น.ส.ผุสดี กล่าวว่า "ตอนนี้ก็มีที่ปรึกษาการเงินหลายแห่งพูดคุยกับสถาบันการศึกษา ส่วนอาชีวะพะเยาที่บริษัทกำลังดูแลอยู่ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเรื่องบัญชีเนื่องจากธุรกิจนี้มีจุดอ่อนเรื่องจัดการเรื่องบัญชีที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมให้ได้มาตรฐานบัญชี"
"หากสถาบันการศึกษาแห่งแรกเข้าตลาดหุ้น คงต้องเข้าไปอยู่ในกลุ่มการซื้อขายหมวดการให้บริการและมองว่าหุ้นสถาบันการศึกษาเป็นหุ้นประเภทที่มีคุณค่า (แวลูสต๊อก)"
นอกจากนี้ บริษัทยังเตรียมทำไฟลิงขายไอพีโอของ บริษัท ไพลินบุ๊ค เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ในไตรมาส 2 นี้ และคาดว่า จะเข้ามาซื้อขายและจดทะเบียนได้ภายในปีนี้
ทั้งนี้ ภายในเดือน พ.ค. จะมีหุ้นที่พร้อมจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด 3 แห่ง คือ วันที่10 พ.ค. บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHBANK) กองทุนอสังหาริมทรัพย์อีก 1 แห่ง และปลายเดือน พ.ค. บริษัท น้ำตาลครบุรี
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนมประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ (APM)กล่าวว่า อาชีวะพะเยาแห่งนี้บริหารโดยนักธุรกิจหนุ่มเจเนอเรชัน 2 ต้องการขยายการลงทุน และมองว่าการเข้าตลาดหุ้นน่าจะดีกว่าการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์
"กลุ่มนี้นอกจากมีอาชีวะที่พะเยาแล้ว ยังมีโรงเรียนอนุบาล
ที่เชียงราย และสนใจตั้งสถานศึกษาในภาคเหนือ ซึ่งที่เชียงใหม่มีมหาวิทยาลัยถึง 9 แห่ง และน่าจะเป็นศูนย์กลางการศึกษา เพราะคนจีนเข้ามาทำธุรกิจและเรียนมากขึ้น" นายสมภพ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายพีรเจต สุวรรณภาศรี ประธานกรรมการ บริหารบริษัท ยูเนี่ยน อินทราโก้ หรือ UIC ผู้จำหน่ายเคมีภัณฑ์พิเศษและเป็นผู้นำตลาดการจำหน่ายแอลกอฮอล์แปลงสภาพนำเข้า เปิดเผยว่า คาดว่าจะเสนอขายหุ้นไอพีโอจำนวน 52 ล้านหุ้น ได้ในวันที่ 18-20 พ.ค.2554 และพร้อมจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ปลาย พ.ค.ถึงต้นมิ.ย.นี้
ด้านสำนักงาน ก.ล.ต.เปิดเผยว่าในไตรมาสแรก ปี 2554 ได้อนุญาตการเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน 2 บริษัท จำนวนเท่ากับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่รวมทั้งปี 2553 มีทั้งหมด 9 บริษัท
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (PO)จำนวน 3 บริษัท นับว่ามากว่าทั้งปีก่อนที่อนุญาต 2 บริษัท
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
-
- Verified User
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 4
ใน US มีหุ้นกลุ่มสถานศึกษาเลยครับ
ปีที่แล้วใครที่ติดตามตลาด US จะรู้จัก Apollo ซึ่งเป็นกิจการแนวๆวิทยาลัยสอนอาชีพ (เรียนเพื่ออัพความรู้สำหรับคนทำงาน) ซึ่งเป็นหุ้นที่เคยดีเพราะ growth ยอดเยี่ยม ROE เวอร์มาก แต่สุดท้ายตกสวรรค์เพราะมีปัญหาเรื่อง filing งบการเงิน จนทำให้นักลงทุนขยาด
เข้าเรื่องดีกว่าครับ ผมคิดว่าตลาดการศึกษายังโตได้อีกเยอะ แต่ในมุมผมต้องเป็นสถานศึกษาที่ไว้ให้คนทำงานเรียน ในลักษณะหลักสูตรระยะสั้น เช่นบัญชี การตลาด เชฟ ผมว่าพวกนี้กำไรดี และไม่ต้องเจอปัญหาที่เด็กเกิดน้อยลง ส่วนโรงเรียนอาชีวะนั้น ความเสี่ยงคือนอกจากเด็กรุ่นใหม่จะน้อยลงแล้ว ความนิยมในการเรียนสายอาชีพก็ไม่ดีเท่าไหร่ บางส่วนก็ยังกลัวเข้าเรียนได้แต่จะเรียนไม่จบ ไปจบชีวิตแทน T T ที่มีข่าวว่ามีเทรนเด็กรุ่นใหม่สมัครเข้าสายอาชีพจนล้นนั้น ก็มีข่าวตามมาว่าเป็น bull shit
http://www.kroobannok.com/42632
ดังนั้นหากจะลงทุน คงต้องดูว่าเงินที่ระดมได้นั้นเอาไปทำอะไร อย่างที่บอกครับว่าผมเชื่อว่าการศึกษายังไปได้อีกเยอะ แต่ไม่ใช่ว่าทำอะไรเกี่ยวกับการศึกษาแล้วต้องดีหมด
ปีที่แล้วใครที่ติดตามตลาด US จะรู้จัก Apollo ซึ่งเป็นกิจการแนวๆวิทยาลัยสอนอาชีพ (เรียนเพื่ออัพความรู้สำหรับคนทำงาน) ซึ่งเป็นหุ้นที่เคยดีเพราะ growth ยอดเยี่ยม ROE เวอร์มาก แต่สุดท้ายตกสวรรค์เพราะมีปัญหาเรื่อง filing งบการเงิน จนทำให้นักลงทุนขยาด
เข้าเรื่องดีกว่าครับ ผมคิดว่าตลาดการศึกษายังโตได้อีกเยอะ แต่ในมุมผมต้องเป็นสถานศึกษาที่ไว้ให้คนทำงานเรียน ในลักษณะหลักสูตรระยะสั้น เช่นบัญชี การตลาด เชฟ ผมว่าพวกนี้กำไรดี และไม่ต้องเจอปัญหาที่เด็กเกิดน้อยลง ส่วนโรงเรียนอาชีวะนั้น ความเสี่ยงคือนอกจากเด็กรุ่นใหม่จะน้อยลงแล้ว ความนิยมในการเรียนสายอาชีพก็ไม่ดีเท่าไหร่ บางส่วนก็ยังกลัวเข้าเรียนได้แต่จะเรียนไม่จบ ไปจบชีวิตแทน T T ที่มีข่าวว่ามีเทรนเด็กรุ่นใหม่สมัครเข้าสายอาชีพจนล้นนั้น ก็มีข่าวตามมาว่าเป็น bull shit
http://www.kroobannok.com/42632
ดังนั้นหากจะลงทุน คงต้องดูว่าเงินที่ระดมได้นั้นเอาไปทำอะไร อย่างที่บอกครับว่าผมเชื่อว่าการศึกษายังไปได้อีกเยอะ แต่ไม่ใช่ว่าทำอะไรเกี่ยวกับการศึกษาแล้วต้องดีหมด
- watermusic
- Verified User
- โพสต์: 62
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 6
เดาว่า ม.เอกชนดัง ๆ ที่อยู่มานานคงจะมี Cash flow ดี
คงไม่ต้องการระดมทุนจากตลาด จะเพิ่มรายได้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก
แค่เพิ่มจำนวนนักศึกษา สร้างตึกใหม่ นอกเสียจากจะสร้างวิทยาเขตใหม่
วิชาที่เป็นบรรยายก็ทำห้องเรียนให้ใหญ่ใช้อาจาิรย์คนเดียวนักศึกษาเกือบร้อย
วิชาที่เป็นปฏิบัีติก็เพิ่มค่าหน่วยกิตให้ได้มาร์จิ้นสูสีกันหน่อย ก็น่าจะมีกำไรสม่ำเสมอ
เลยไม่น่าจะมีความจำเป็นที่จะเอาเข้าตลาด กำไรก็ไม่ต้องแบ่งใคร
คงไม่ต้องการระดมทุนจากตลาด จะเพิ่มรายได้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก
แค่เพิ่มจำนวนนักศึกษา สร้างตึกใหม่ นอกเสียจากจะสร้างวิทยาเขตใหม่
วิชาที่เป็นบรรยายก็ทำห้องเรียนให้ใหญ่ใช้อาจาิรย์คนเดียวนักศึกษาเกือบร้อย
วิชาที่เป็นปฏิบัีติก็เพิ่มค่าหน่วยกิตให้ได้มาร์จิ้นสูสีกันหน่อย ก็น่าจะมีกำไรสม่ำเสมอ
เลยไม่น่าจะมีความจำเป็นที่จะเอาเข้าตลาด กำไรก็ไม่ต้องแบ่งใคร
สิ่งมีชีวิตซึ่งขับเคลื่อนด้วยความกลัวและความโลภ
-
- Verified User
- โพสต์: 883
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 7
miracle เขียน:คำถามที่คาใจคือ
ทำให มหาวิทยาลัยเอกชนดังๆ เช่น ม.กรุงเทพ ,เอแบค เป็นต้น ทำไมถึงไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์
แต่ตอนนี้เราก็เป็นเจ้าของอ้อมของม.รังสิตได้นะครับเผื่อใครยังไม่รู้ เพราะbghถือหุ้นโดยอ้อมม.รังสิตอยู่30%
-
- Verified User
- โพสต์: 495
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 8
โดยปกติ cash flow จะสูงมากอยู่แล้วนี้ครับ
ทำไมต้องเข้าตลาดมาระดมทุน
รับบริจาคเรื่อยๆจากศิษย์เก่า ก็เยอะแล้วนะครับ
สำหรับที่ๆดังแล้ว
ทำไมต้องเข้าตลาดมาระดมทุน
รับบริจาคเรื่อยๆจากศิษย์เก่า ก็เยอะแล้วนะครับ
สำหรับที่ๆดังแล้ว
- NoiSNC
- Verified User
- โพสต์: 288
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 9
ถือ CPALL ก็เป็นเจ้าของ ม.ปัญญาภิวัฒน์ เช่นกันครับ :)
SNC ท้ายชื่อผม มาจาก Speed Net Club ร้านอินเตอร์เน็ตที่ผมเคยเปิดครับ ^ ^ (ไม่ใช่ชื่อหุ้นนะ แหะๆ)
อนุญาต ... โอกาส ... สังเกต = [อยากให้คนไทยใช้ภาษาไทยถูกต้อง] :)
อนุญาต ... โอกาส ... สังเกต = [อยากให้คนไทยใช้ภาษาไทยถูกต้อง] :)
-
- Verified User
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 10
ถ้ามีเข้ามาจริงจะได้อ่านข้อมูลว่าต่างจากธุรกิจอย่างไรบ้างล่ะครับ
เพิ่มอีกหนึ่งที่รู้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ NMG ร่วมกับมหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์ ได้เข้าบริหาร Nation University จากมหาวิทยาลัยโยนกเดิม
เพิ่มอีกหนึ่งที่รู้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ NMG ร่วมกับมหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์ ได้เข้าบริหาร Nation University จากมหาวิทยาลัยโยนกเดิม
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 11
มหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ว่าจะอยู่ในตลาด หรืออยู่นอกตลาดก็เป็นองค์กรที่แสวงหากำไรอยู่ดี
ผมมองว่าคงไม่โดนต่อต้านมากกระมังครับ
ผมมองว่าคงไม่โดนต่อต้านมากกระมังครับ
- Green_nightmare
- Verified User
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 12
พวกสถาบันการศึกษาถ้าจะเข้าตลาดคงเป็นเรื่องชื่อเสียงและความน่าเชื่อถืออย่างเดียวเท่านั้น
เรื่องความต้องการใช้เงินนี่ตัดไปเลย
จะมีมั้ยครับที่ว่า พ่อที่ถือหุ้น abac อยากให้ลูกเรียน abac.
เรื่องความต้องการใช้เงินนี่ตัดไปเลย
จะมีมั้ยครับที่ว่า พ่อที่ถือหุ้น abac อยากให้ลูกเรียน abac.
temet nosce
thine own self thou must know
thine own self thou must know
-
- Verified User
- โพสต์: 196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 13
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว จำได้ว่าเซนต์จอห์นจะเข้าตลาดหุ้น
แต่โดนคัดค้่านว่าเป็นสถาบันการศึกษา ไม่ควรเป็นธุรกิจแสวงหากำไร
จึงไม่พิจารณา
เพิ่งทราบว่าตอนนี้จะมีนโยบายให้สถานศึกษาเข้าตลาดหุ้นได้แล้ว
ส่วนตัวคิดว่ายังไม่เหมาะสม
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องแสวงหากำไรสูงสุดเพื่อผู้ถือหุ้น
ต่อไปนักศึกษาต้องโดนขูดกันขนาดไหน แค่นี้ก็เป็นภาระผู้ปกครองมากมายอยู่แล้ว
แต่โดนคัดค้่านว่าเป็นสถาบันการศึกษา ไม่ควรเป็นธุรกิจแสวงหากำไร
จึงไม่พิจารณา
เพิ่งทราบว่าตอนนี้จะมีนโยบายให้สถานศึกษาเข้าตลาดหุ้นได้แล้ว
ส่วนตัวคิดว่ายังไม่เหมาะสม
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องแสวงหากำไรสูงสุดเพื่อผู้ถือหุ้น
ต่อไปนักศึกษาต้องโดนขูดกันขนาดไหน แค่นี้ก็เป็นภาระผู้ปกครองมากมายอยู่แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 50
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 14
ผมเคยทำธุรกิจการศึกษา
ข้อดีของมันคือ ลงทุนน้อย คำนวณค่าใช้จ่ายง่าย เงินดีมากจนคืนทุนในเวลาเเค่ปีเดียว (เช่าสถานที่เอา)
ข้อเสียคือ ขยายเเบบมีคุณภาพยาก มีเงินอย่างเดียวทำอะไรไม่ได้มาก
ในระดับ scale ใหญ่เเล้ว เขามีเงินมากพอที่จะทำคนเดียวไม่ต้องเเชร์ในคนอื่นๆครับ
ข้อดีของมันคือ ลงทุนน้อย คำนวณค่าใช้จ่ายง่าย เงินดีมากจนคืนทุนในเวลาเเค่ปีเดียว (เช่าสถานที่เอา)
ข้อเสียคือ ขยายเเบบมีคุณภาพยาก มีเงินอย่างเดียวทำอะไรไม่ได้มาก
ในระดับ scale ใหญ่เเล้ว เขามีเงินมากพอที่จะทำคนเดียวไม่ต้องเเชร์ในคนอื่นๆครับ
อยากได้ความรู้มากกว่าได้หุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 305
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 19
เข้าตลาดมาก็โดนตรวจสอบสิจ๊ะ
นักศึกษาเข้ามาใหม่ ซื้อชุดซื้อเข็มอุปกรณ์
ระหว่างเรียน ขายอาหาร
จบ เช่าครุย
รายได้ที่กล่าวมาข้างต้น เข้ากระเป๋าใคร บริษัทที่เป็นเจ้าของ หรือตัวเจ้าของ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทเจ้าของได้ส่วนแบ่งบ้างเปล่า
ตอนสร้างตึก ตอนจัดซื้อ เลือกที่ถูกที่สุด หรือที่แบ่งให้มากที่สุด
เข้าตลาดมามันจะคุ้มเหรอ
นักศึกษาเข้ามาใหม่ ซื้อชุดซื้อเข็มอุปกรณ์
ระหว่างเรียน ขายอาหาร
จบ เช่าครุย
รายได้ที่กล่าวมาข้างต้น เข้ากระเป๋าใคร บริษัทที่เป็นเจ้าของ หรือตัวเจ้าของ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทเจ้าของได้ส่วนแบ่งบ้างเปล่า
ตอนสร้างตึก ตอนจัดซื้อ เลือกที่ถูกที่สุด หรือที่แบ่งให้มากที่สุด
เข้าตลาดมามันจะคุ้มเหรอ
没有
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 21
se-ed ถือหุ้นสถาบันการศึกษาใดหรอครับ แนะหน่อย
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 23
ขอบพระคุณครับดังบ้านดอน เขียน: se-ed เข้าไปถือหุ้นโรงเรียนเพลินพัฒนา ในนาม บริษัท เพลินพัฒน์ จำกัด
สัดส่วนการถือก็ราวๆเกือบ 50% ครับ
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 25
*"แปซิฟิค เลินนิ่งฯ"จะขาย IPO จำนวน 74.90 ล้านหุ้น ใช้ลงทุนขยายกิจการ
Source - IQ Biz (Th)
Friday, July 22, 2011 09:54
59484 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK HOTN V%WIREL P%IQ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 ก.ค. 54)--สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า บมจ.แปซิฟิค เลินนิ่ง คอร์ปอเรชั่น ได้ยื่น Filing version แรก ในวันที่ 20 ก.ค.54 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 74.90 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 24.97 ของจำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยมีบริษัท แอ๊บโซลูท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
วัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ เงินลงทุนในการขยายช่องทางของกิจการ โดยบริษัทฯมีความประสงค์จะนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(MAI)
บมจ.แปซิฟิค เลินนิ่ง คอร์ปอเรชั่น (CTECH) ดำเนินธุรกิจการให้บริการการจัดการศึกษาและฝึกอบรมในระบบอาชีวศึกษาในจังหวัดพะเยาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยให้บริการใน 3 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.), หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) และหลักสูตรอบรมเชิงวิชาการเสริมหลักสูตร
ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/54 บริษัทมีสินทรัพย์ 352.09 ล้านบาท หนี้สิน 111.16 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 240.93 ล้านบาท รายได้รวมม 20.62 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10.13 ล้านบาท
บริษัทมีแนวทางในการดำเนินโครงการใหม่ในอนาคต 4 ประการ คือ 1.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารสถานที่และก่อสร้างอาคารเรียนของวิทยาลัย 2.โครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและห้องปฏิบัติการ 3.โครงการจัดซื้อยานพาหนะเพื่อการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และ 4.โครงการขยายวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งใหม่
ณ วันที่ 23 มิ.ย.24 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 225 ล้นบาท และทุนชำระแล้ว 225 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 225 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ภายหลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้บริษัทจะมีทุนชำระแล้วเพิ่มเป้น 299.90 ล้านบาท โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด คือ ครอบครัวไชยพันธ์พงษ์ ถือหุ้นจำนวน 199,650,000 หุ้นหรือคิดเป็น 88.74% ภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 66.57%
ทั้งนี้ บริษัทฯมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยะล 40 ของกำไรสุทธิภายหลังหักสำรองตามกฎหมาย
--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ Biz (Th)
Friday, July 22, 2011 09:54
59484 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK HOTN V%WIREL P%IQ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 ก.ค. 54)--สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า บมจ.แปซิฟิค เลินนิ่ง คอร์ปอเรชั่น ได้ยื่น Filing version แรก ในวันที่ 20 ก.ค.54 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 74.90 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 24.97 ของจำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยมีบริษัท แอ๊บโซลูท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
วัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ เงินลงทุนในการขยายช่องทางของกิจการ โดยบริษัทฯมีความประสงค์จะนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(MAI)
บมจ.แปซิฟิค เลินนิ่ง คอร์ปอเรชั่น (CTECH) ดำเนินธุรกิจการให้บริการการจัดการศึกษาและฝึกอบรมในระบบอาชีวศึกษาในจังหวัดพะเยาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยให้บริการใน 3 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.), หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) และหลักสูตรอบรมเชิงวิชาการเสริมหลักสูตร
ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/54 บริษัทมีสินทรัพย์ 352.09 ล้านบาท หนี้สิน 111.16 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 240.93 ล้านบาท รายได้รวมม 20.62 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10.13 ล้านบาท
บริษัทมีแนวทางในการดำเนินโครงการใหม่ในอนาคต 4 ประการ คือ 1.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารสถานที่และก่อสร้างอาคารเรียนของวิทยาลัย 2.โครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและห้องปฏิบัติการ 3.โครงการจัดซื้อยานพาหนะเพื่อการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และ 4.โครงการขยายวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งใหม่
ณ วันที่ 23 มิ.ย.24 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 225 ล้นบาท และทุนชำระแล้ว 225 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 225 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ภายหลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้บริษัทจะมีทุนชำระแล้วเพิ่มเป้น 299.90 ล้านบาท โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด คือ ครอบครัวไชยพันธ์พงษ์ ถือหุ้นจำนวน 199,650,000 หุ้นหรือคิดเป็น 88.74% ภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 66.57%
ทั้งนี้ บริษัทฯมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยะล 40 ของกำไรสุทธิภายหลังหักสำรองตามกฎหมาย
--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 28
อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ทำไม เราถึงเชื่อว่า การเอาบริษัทใดๆ เข้าตลาด จะเป็นเหตุให้บริษัทมุ่งกำไรสูงสุดจนกระทั่งละเลยลูกค้า เอารัดเอาเปรียบลูกค้ามากขึ้น
บริษัททั่วๆ ไป ทั้งที่อยู่ในตลาดหรือนอกตลาด เขาก็ต้องการกำไรสูงสุดทั้งนั้นแหละครับ ตอนผมเป็นพนักงานบริษัทไม่เคยได้ยิน ผู้บริหารบอกเลยว่า ปีนี้ขอกำไรน้อยๆ จะคืนประโยชน์ให้สังคม..บริษัททุกบริษัทต่างก็เรียกร้องกำไรจากลูกค้าเต็มที่ทั้งนั้น การแข่งขันในตลาดระหว่างคู่แข่งขันต่างๆ นั่นถึงเป็นอำนาจต่อรองของผู้บริโภค
ที่จริงแล้ว ผมกลับมองกลับกันด้วยซ้ำ บริษัทที่อยู่ในตลาด ได้สิทธิ์ประโยชน์เรื่องภาษีและต้นทุนการระดมเงิน ทำเท่าเดิมก็ได้กำไรเพิ่มขึ้น ความจำเป็นในการขึ้นราคาน้อยกว่า อีกอย่างบริษัทในตลาดจะต้องรักษาภาพลักษณ์มากกว่าเดิม ต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
บริษัททั่วๆ ไป ทั้งที่อยู่ในตลาดหรือนอกตลาด เขาก็ต้องการกำไรสูงสุดทั้งนั้นแหละครับ ตอนผมเป็นพนักงานบริษัทไม่เคยได้ยิน ผู้บริหารบอกเลยว่า ปีนี้ขอกำไรน้อยๆ จะคืนประโยชน์ให้สังคม..บริษัททุกบริษัทต่างก็เรียกร้องกำไรจากลูกค้าเต็มที่ทั้งนั้น การแข่งขันในตลาดระหว่างคู่แข่งขันต่างๆ นั่นถึงเป็นอำนาจต่อรองของผู้บริโภค
ที่จริงแล้ว ผมกลับมองกลับกันด้วยซ้ำ บริษัทที่อยู่ในตลาด ได้สิทธิ์ประโยชน์เรื่องภาษีและต้นทุนการระดมเงิน ทำเท่าเดิมก็ได้กำไรเพิ่มขึ้น ความจำเป็นในการขึ้นราคาน้อยกว่า อีกอย่างบริษัทในตลาดจะต้องรักษาภาพลักษณ์มากกว่าเดิม ต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เมื่อสถาบันการศึกษาเตรียมเข้าตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 29
ตอนนี้อยากรู้ว่า อาชีวะพะเยาจะเข้ามาจดทะเบียน MAI ได้ไหม และทันภายในปีนี้หรือเปล่า และถ้าเข้าได้จริงก็น่าจะเป็นตัวอย่างให้สถาบันการศึกษาอ่ืนเข้าจดทะเบียนได้ เพราะไม่เคยมีธุรกิจการศ็กษาแบบนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาก่อน (ไม่นับเป็นบริษัทย่อย แบบโรงเรียนเพลินพัฒน์ของ se-ed) แต่อย่างท่ีหลายท่านกังวลว่า จะทำให้เม่ือเข้ามาแล้ว มุ่งเน้นการหากำไรมากกว่าบทบาทด้านการศึกษา หรือมีค่าใช้จ่ายมากจนผู้ปกครองไม่กล้าให้บุตรหลานเข้าเรียน อีกทั้งสถาบันการศึกษาก็มีมาก รวมทั้งของรัฐด้วย แต่ก็จะได้เร่ืองภาพลักษณ์และความโปร่งใส คิดว่าธุรกิจการศึกษาก็ถือเป็นหุ้น VI หรือปันผลได้ แต่สำหรับอาชีวะพะเยา ปี 2553 มีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้มาก เลยไม่รู้ว่า จุดประสงค์ท่ีแท้จริงของการเข้าตลาดหลักทรัพย์ครั้งนี้คืออะไร