อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
END
Verified User
โพสต์: 224
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมพยายามค้นหาหลายที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษครับ
ซึ่งผมไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะแปลได้ หรือว่าการวัดมูล
ค่าด้วยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุนไทย เห็นในคลังกระทู้คุณ
ค่าก็พูดถึงเรื่องนี้ แต่พีีแต่ละท่านมีความรู้พอสมควรแล้วถึงเข้าใจ
ท่านใดพอจะสอนการวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้ให้มือใหม่อย่างผมได้มั่งครับ

ขอบคุณครับ
อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่ อัตตา มิใช่ตัวตน
sylph
Verified User
โพสต์: 353
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 2

โพสต์

END เขียน:ผมพยายามค้นหาหลายที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษครับ
ซึ่งผมไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะแปลได้ หรือว่าการวัดมูล
ค่าด้วยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุนไทย เห็นในคลังกระทู้คุณ
ค่าก็พูดถึงเรื่องนี้ แต่พีีแต่ละท่านมีความรู้พอสมควรแล้วถึงเข้าใจ
ท่านใดพอจะสอนการวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้ให้มือใหม่อย่างผมได้มั่งครับ

ขอบคุณครับ
ปูเสื่อรอฟัง ต่อยอดจากห้อง สินธร อิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1434
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อธิบายไม่เป็น
เอานี่ไปอ่านดีกว่า พี่ๆเขาคุยกันเมื่อปี 2004 ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=5307
ตถตา
o-bo-ja-ma
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ลองหาหนังสือ หลักสูตรที่มหาลัยโคลัมเบียสอน ที่พี่เวบแปล แต่ผมไม่แน่ใจชื่อเต็ม ๆ มันนะครับ ลองหาดูน่าจะมี อีกอย่างลองดูตัวอย่างที่ MCS รู้สึกมีพี่ท่านหนึ่งให้ตัวอย่างไว้น่าสนใจมาก ตอนนี้ก็มี JAS ของพี่ชินน์อีกตัวอย่างหนึ่งครับ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ลองแทนค่าสมการดูนะครับ
จาก EBIT = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย ---------------1)
และ EBITDA = EBIT + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย --------------2)

แทนค่า EBIT ในสมการที่ 1) ลงในสมการที่ 2) จะได้
EBITDA = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย ----------3)

จาก EV/EBITDA ,
แทนค่า EV ด้วย Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด และ
แทนค่า EBITDA ด้วยสมการที่ 3)

จะได้ว่า
EV/EBITDA =
(Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด) / (กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย)

ทีนี้เรารู้ว่า EV/EBITDA ได้ผลลัพธ์ออกมาตำๆ ถึงจะแปลว่าหุ้นมีราคาถูก นั่นคือ
ตัวตั้ง หรือ "Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด" รวมออกมาได้น้อยๆ
ตัวหาร หรือ "กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย" รวมออกมาได้มากๆ
จึงจะดี(หรือแปลว่าหุ้นมีราคาถูก)

จึงสรุป ค่าตัวแปร (บางตัวที่น่าสนใจ)ที่ทำให้ EV/EBITDA ออกมามีค่าน้อยได้ดังนี้
ฝั่งตัวตั้ง คือ มีเงินสดมากๆ, มีหนี้สินน้อยๆ
ฝั่งตัวหาร คือ มีกำไรสุทธิมากๆ, หรือ มีภาษีมากๆ, หรือ มีดอกเบี้ยจ่ายมากๆ, หรือ มีค่าเสื่อมมากๆ นั่นเอง

จบครับ ขอคำชึ้แนะด้วย ไม่แน่ใจว่าแทนค่าในสมการถูกหรือเปล่า
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ตัวตั้งที่เป็นตัวแปรใน EV/EBITDA ลืม market cap อีกตัว

สรุป ถ้าจะหาหุ้นถูกๆในแง่ EV/EBITDA คือ หุ้นนั้นต้อง
มี market cap ตำๆ, มีเงินสดมากๆ, มีหนี้สินน้อยๆ,
มีกำไรสุทธิมากๆ, หรือ มีภาษีมากๆ, หรือ มีดอกเบี้ยจ่ายมากๆ, หรือ มีค่าเสื่อมมากๆ ครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ทีนี้ถ้าผมเหมาเอาว่า ที่ผมเข้าใจข้างบนนั้นถูกต้อง งั้นผมต่อนะครับ

ถ้ามีบริษัทอยู่หนึ่งบริษัท มีเงินสดของเดิมอยู่มาก, มีหนี้น้อย (ดังนั้นดอกเบี้ยจ่ายก็น่าจะน้อยตามไปด้วย), บังเอิญปีนี้บริหารขาดทุน (กำไรสุทธิจะตํ่า เสียภาษีก็จะตํ่าด้วยเช่นกัน) ดังนั้นถ้า

บริษัทนี้จะมี EV/EBITDA ตํ่าๆได้ คงต้องอาศัย market cap ตํ่า และ มีค่าเสื่อมมากๆ

จึงอาจกล่าวได้ว่า บริษัทที่คิดค่าเสื่อมมากเกินไปหรือมากจนทำให้กำไรสุทธิลดลง(หรือขาดทุน) ก็มีแนวโน้มทำให้หุ้นถูกลงได้ (เพราะไม่ได้ขาดทุนจริงแต่ขาดทุนเพราะคิดค่าเสื่อมมากไป)
บริษัทอาจขาดทุนทางบัญชีแต่ยังมีเงินสดเหลืออยู่มาก
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
sylph
Verified User
โพสต์: 353
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ยกตัวอย่างการคำนวณให้ดูสัก บ.ได้มั้ยครับ
แบบว่า market cap สักไม่เกิน พันล้าน ก้อได้ครับ

เพราะผมกลัวว่าจะ คำนวณแล้วมาโพสให้ดูว่าถูกมั้ย แล้วจะผิดเยอะไปนิส..นึงอ่าครับ


แต่ถ้าไม่ได้ไม่เปนไรครับ คงจะคำนวณมาโพสให้ดูให้ติชม ด้านได้ อาย-อด อิอิ
viim
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Jas (2010 data)

แบบที่-------------------1------------------------2----
Mkt cap-----------23,826.36-------------23,826.36

Debt --------------11,919.51--------------4,087.10 (only long debt)

Cash ---------------1,920.01----------------1,920.01


EBITDA-------------2,776.27----------------2,776.27


EV-------------------33,825.86---------------25,993.45


EV/EBITDA------------12.18392303-------------9.362724087

แบบที่ 1 นำ total liabilities มาคิด ส่วนแบบที่ 2 นำเอาเฉพาะ non-current liabilities โดยใช้หลักการข้างต้น และจากที่คุณ chinn เคย post ในสินธรและห้อง jas คือค่า Ev/Ebitda <= 5 จึงจะ undervalue บนสมมติฐานการคืนทุนไม่เกิน 5 ปี???? ผมเองก็มือใหม่เหมือนกันครับ :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
laohanant
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอเสริมละกันนะครับ เรื่องตัวแปรต่างๆ คืออะไรนั้นถูกแล้ว

EV/EBITDA นั้นอาจเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์บริษัทที่มีผลขาดทุนในช่วงจุดต่ำสุดของวัฎจักร เนื่องผลขาดทุนสุทธิทำให้ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ แต่ก็มีจุดอ่อน ที่เป็นช่องโหว่ สำคัญหลายประการเหมือนกัน

จุดอ่อนสำคัญอย่างแรก EBITDA ไม่ได้คำนึงค่าใช้จ่ายลงทุนที่จำเป็น

การที่จะทำให้ EBITDA นั้น sustainable ธุรกิจต้องมี Maintenace Capex หรือ ค่าใช้จ่ายลงทุนที่จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะรักษากำไรเหล่านั้นไว้ เพราะถ้า Maintenace Capex นั้นมากกว่า DA จะทำให้เกิดภาพที่บิดเบือนไปได้อย่างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีสินทรัพย์ที่มีอายุใช้งานสั้น หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยี่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังรวมผลกระทบของเงินเฟ้อที่ส่งผลให้บริษัทต้องลงทุนใหม่สำหรับสินทรัพย์ตัวเดิมในราคาที่สูงขึ้น การปรับปรุงตัวเลขโดยใช้ (EBITDA - Maintenace Capex) แทน (EBITDA) จึงให้ภาพที่เหมาะสมกว่า

จุดอ่อนสำคัญอย่างที่สอง EBITDA ไม่ได้บ่งชี้ถึงคุณภาพของกำไรที่เป็นเงินสด และการใช้เงินทุนหมุนเวียน
ไม่ว่าจะเนื่องจากนโยบายการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน (เช่น การรับตามความก้าวหน้าของงาน กับ รับรู้ทีเดียวเมื่อส่งงาน) หรือ จากการที่บริษัทใช้นโยบายเร่งรับรู้รายได้ EBITDA นั้นไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ถึงการได้รับเงินสดเข้ามาจริงๆ หากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย และ EBITDA นั้น ส่งผลให้ อายุเฉลี่ยของรายการลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการได้เครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ที่สั้นลง นั้นล้วนส่งผลต่อการใช้เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น ดั้งนั้นการปรับปรุงตัวเลขของการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน(CWC) จึงเป็นเรื่องจำเป็น

การใช้ (EBITDA - Maintenace Capex-CWC) แทน (EBITDA) จึงให้ภาพที่เหมาะสมมากขึ้นไปอีก ซึ่งดูดีๆ มันก็คือ Free Cash Flow (FCF) นั่นเอง

อาจปรับปรุงเรื่องค่าใช้จ่ายภาษีให้ถูกต้องเป็น (EBITx(1-tax) +DA - Maintenace Capex-CWC) ซึ่งนี่เป็นหัวใจหลักของการประเมิณมูลค่าแบบ Earning Power Value (EPV) ที่กำไรนั้น sustainable นั่นเอง


สรุปแล้วโดยส่วนตัว การใช้ EV/FCF จะให้ภาพที่ถูกต้องมากกว่า EV/EBITDA :8)


นอกจากนี้แล้ว EV/EBITDA ยังมีจุดอ่อนอย่างอื่นอีกเช่น

หากบริษัทไปถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทอื่นๆ EBITDA จะไม่ได้รวมกำไรจากบริษัทเหล่านี้ถ้าใช้นโยบายรู้รายได้จากการจ่ายปัลผลแล้วบริษัทร่วมไม่จ่ายปัลผลออกมาก จะทำให้ภาพ EBITDA ต่ำไป ทำให้ภาพ EV/EBITDA สูงไป เป็นต้น

แม้แต่ตัวของบัฟเฟต์เอง ก็เคยกล่าวถึง EBITDA (อ้างอิงจาก The 5 keys to Value Investing by J.Dennis Jean-Jacques แปรโดยพี่ WEB) ไว้ว่า “ตัวเลขหนึ่งที่เรามองว่าไร้สาระก็คือ EBITDA ธุรกิจใดก็ตามที่ใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างมีนัยสำคัญจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในระดับเดิมในแง่ของปริมาณการขาย ดั้งนั้นการใช้ตัวเลขที่ไม่ได้พิจารณาถึงเงินสดที่บริษัทจำเป็นต้องนำไปลงทุนเพิ่มเป็นเรื่องเขลาสิ้นดี แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากเลิกนำ EBITDA ไปใช้อย่างผิดๆ เพื่อขายสินค้าในรูปแบบต่างๆ ปีแล้วปีเล่า”
(ความเห็นส่วนตัว) คำว่า “ผู้คนจำนวนมาก” น่าจะหมายถึงเหล่านักวิเคราะห์ต่างๆ

สุดท้ายแล้วก็ ลองพิจารณาการใช้เครื่องวัดมูลค่าเหล่านี้กันให้ดีๆ นะครับ :D
Detect and Act on the market 's error.
send
Verified User
โพสต์: 322
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 11

โพสต์

Concept ของ EV/EBITDA นั่นคล้ายกับ P/E ครับ โดย P/E มาจาก มูลค่าหุ้นสามัญ/กำไรสุทธิ
* กำไรสุทธิคือกำไรที่หักดอกเบี้ยออกไปแล้ว ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นกำไรของผู้ถือหุ้นสามัญนั่นเอง

แต่สำหรับ EV/EBITDA มาจาก มูลค่ากิจการ/EBITDA
* EV ย่อมาจาก Enterpise Value ซึ่งคือมูลค่าของกิจการที่ไม่รวมส่วนของ non operating
* Value of firm = Value of operating + Value of nonoperating
* Value of operating คือ มูลค่าของกิจการทีี่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
* Value of nonoperating คือ มูลค่าของกิจการทีี่ไม่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
เช่น เงินลงทุนในหุ้นระยสั้น,เงินลงทุนในตราสารหนี้
* EBITDA นั้นคือกำไรที่เป็นนักลงทุนทั้งผู้ถือตราสารหนี้(ผู้ให้กู้) และ ผู้ถือหุ้นสามัญ

การคำนวณ EV ในกรณีเพื่อหา อัตราส่วนการเงินนี้
EV = Equity + Debt - Value of non operating
* Equity ที่กล่าวถึงนี้จะใช้มูลค่าตลาดของ Equity ซึ่งเท่ากับ ราคาหุ้นคูณจำนวนหุ้น
* Debt ที่กล่าวถึงนี้จะใช้มูลค่าตลาดของ Debt ซึ่งโดยทั่วไปจะมีมูลค่าไม่ต่างจาก Book มากนักดังนั้นสามารถใช้ Book แทนได้
* Book หมายถึงมูลค่าที่อยู่ในบัญชี (งบดุล)

EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
END
Verified User
โพสต์: 224
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณพี่ navapon มากนะครับ

พอดีกว่าผมเป็นเด็ก ไทย - สังคม

เลยคำนวนไม่เก่ง แต่ก็เห็นภาพรวม

ของสูตรแล้วครับ ขอบคุณนะครับ

สงสัยเดียวมาถามต่อครับ
อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่ อัตตา มิใช่ตัวตน
END
Verified User
โพสต์: 224
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณ คุณ send และคุณ laohanant

มากนะครับทำให้เห็นภาพรวมได้ยิ่งขึ้น

รบกวนถามแบบมือใหม่หน่อยนะครับว่า

วิธีการวัดมูลค่ามีกี่แบบ มีข้อดี ข้อเสีย

ยังไงบาง และแต่ละวิธีเหมาะสมกับ

การนำไปคำนวนมูลค่าลักษณะบริษัท

แบบใด ขอบคุณครับ
อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่ อัตตา มิใช่ตัวตน
viim
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 14

โพสต์

laohanant เขียน:
สรุปแล้วโดยส่วนตัว การใช้ EV/FCF จะให้ภาพที่ถูกต้องมากกว่า EV/EBITDA :8)

ขอถามเพิ่มเติมครับ ถ้าเป็นอย่างนั้น การใช้ EV/FCF จะดีกว่าการใช้ EV/EBITDA แล้วเราควรใช้อัตราส่วน EV/EBITDA ย้อนหลังกี่ปีครับ หรือว่าใช้แค่ปัจจุบันก็พอ หรือต้อง forecast ในอนาคตไปอีก
การคำนวณ FCF = EBIT (1-T) +DA - CapEx - CWC ตรง EBIT ต้องปรับให้เป็น
เฉพาะ EBIT ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติ ตัดรายการพิเศษออกแล้วใช่มั๊ยครับ แล้วในการประมาณมูลค่าหุ้นคุณ laohanant ใช้ค่าที่ว่านี่หรือป่าวครับ
ขอถามเพิ่มเติมนะครับว่าในหนังสือ Essential Buffet ที่ buffet ใช้ owner's earning นี่หมายถึง FCF หรือป่าวครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
laohanant
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 15

โพสต์

viim เขียน:
ขอถามเพิ่มเติมครับ ถ้าเป็นอย่างนั้น การใช้ EV/FCF จะดีกว่าการใช้ EV/EBITDA แล้วเราควรใช้อัตราส่วน EV/EBITDA ย้อนหลังกี่ปีครับ หรือว่าใช้แค่ปัจจุบันก็พอ หรือต้อง forecast ในอนาคตไปอีก



การใช้ Comparison Base Tool หรือเครื่องมือประเมิณมูลค่าแบบเชิงสัดส่วนเปรียบเทียบ (P/E,P/B , P/S , EV/EBITDA และ……นาๆ……….ฯลฯ )นั้น ผมว่ามันก็แล้วแต่ สไตล์ VI แต่ละคนจะหยิบอะไรมาใช้บ้าง กลับแต่ละสถาการณ์ ซึ่งก็คงไม่เหมือนกัน เหมือนเป็นศิลป์ ในส่วนของตัวหาร( E,EBIT, EBITDA ) ก็สามารถปรับใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น 12 เดือนย้อนหลัง(หรือมากกว่านั้นแล้วเฉลี่ยเอาก็ไม่ผิด) หรือกำไรเฉพาะงวดปัจจุบัน หรือจะการคาดการณ์กำไรในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า หรือ อื่น………ฯลฯ อันนี้แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน กับแต่ละสถาณการณ์ อาจทำในทุกกรณีก็ได้ถ้าขยันมากๆ โดยส่วนตัวผมเอง ผมเลือกใช้เครื่องมือกลุ่มนี้ เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง โดยจะให้น้ำหนักกับ การคาดการณ์ Forward 12 เดือนข้างหน้ามากว่า ซึ่งการคาดการณ์ล่วงนั้น หัวใจสำคัญ ผมว่าเราต้องรู้จักบริษัทที่เราจะลงทุนเป็นอย่างดีในทุกๆมุม ให้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแกะงบย้อนที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต


การคำนวณ FCF = EBIT (1-T) +DA - CapEx - CWC ตรง EBIT ต้องปรับให้เป็น
เฉพาะ EBIT ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติ ตัดรายการพิเศษออกแล้วใช่มั๊ยครับ แล้วในการประมาณมูลค่าหุ้นคุณ laohanant ใช้ค่าที่ว่านี่หรือป่าวครับ

ถูกต้องแล้วต้องปรับปรุงกำไรโดยตัดกำไรพิเศษ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานปกติ ทิ้งไป
ส่วนตัวแล้ว โดยปกติ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะใช้ตลอดครับ :D




ขอถามเพิ่มเติมนะครับว่าในหนังสือ Essential Buffet ที่ buffet ใช้ owner's earning นี่หมายถึง FCF หรือป่าวครับ
[/color]

ถูกต้องแล้วครับ :mrgreen:
Detect and Act on the market 's error.
send
Verified User
โพสต์: 322
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 16

โพสต์

FCFF คือกระแสเงินสดอิสระที่สามารถจะจ่ายให้กับ เจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้น
FCFF = NI+NCC+Int(1-Tax)-WCInv-FCInv
or = EBIT*(1-Tax)+NCC-WCInv-FCInv
or = CFO+Int(1-Tax)-FCInv
or = NOPAT+NCC-WCInv-FCInv

โดย NCC = Non Cash Charge and Non Cash Revenue ซึ่ง ประกอบด้วย Depreciation,Amortization,Impairment, Losses/Gain,Restructuring,Defered Tax เป็นต้น
WCInv คือ เงินลงทุนใร working capital หรือ Change in net operating working capital
WCInv งวด (t) = net operating working capital งวด (t) - net operating working capital งวด (t-1)
net operating working capital = operating current asset - operating current liability
operating current asset คือ current asset ที่ตัด ส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการ operating ออก เช่น เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
operating current liability = คือ Current Liability ที่ตัด Current Liability ที่มีดอกเบี้ยออก เช่น Note Payable
FCInv คือเงินลงทุนใน Fix Asset
FCInv = CapEx - Proceeds From sale Long term Asset
Proceeds From sale Long term Asset คือเงินสดที่ได้รับจากการขาย Asset
CFO คือ Cash Flow from Oparation
CFO = NI + NCC - WCInv

* ประเด็นที่อยากให้ระวัง การใช้ DA แทน NCC และ ใช้ CapEx แทน FCInv นั้น อาจทำให้ FCFF ผิดพลาดได้ครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
viim
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขอบคุณมากครับคุณ laohanant :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณครับ :D
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 19

โพสต์

EV/EBITDA กับ EV/fcf ควรต่ำ กว่าที่เท่า ถึงเรียกว่าดีครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA

โพสต์ที่ 20

โพสต์

EV (ล้านบาท)
มูลค่า(ขนาด)กิจการ (Market Cap ของวันที่ซื้อหุ้น + Total Debt - Cash)
หรือ คือการมองว่าถ้าเราจะเทคโอเวอร์บริษัทนี้ที่ราคาตลาดขณะนี้ต้องใช้เงินสดเท่าไหร่ เหตุที่เอา market cap + หนี้สิน - เงินสด เพราะ หากเราจะซื้อกิจการจริงเพื่อให้เป็นของเราคนเดียว เราก็ต้องเอาเงินสดไปเพิ่ม ไปจ่ายหนี้สินของบริษัทให้หมดด้วย บริษัทจะได้เป็นของเรา(ไม่ต้องมีเจ้าหนี้ เป็นเจ้าของบริษัทร่วมด้วย) ส่วนเงินสดที่มาลบออกตอนท้ายเพระหากใช้หนี้หมด แล้วซื้อบริษัทมาแล้ว เงินสดที่บริษัทมีอยู่เดิมก็ต้องเป็นของเราอยู่ดี ตอนเอาเงินไปซื้อ จึงไม่ต้องเผื่อเงินสำหรับก้อนนี้

EBITDA (ล้านบาท)
มองหยาบๆมันก็คือ "กำไร"
(โดย EBITDA = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย)
แต่หากมองให้ลึกขึ้น EBITDA มันคือตัวที่บ่งบอกเราว่า บริษัทผลิตกำไรที่เป็นเงินสดเข้ามาได้ปีละเท่าไรหากเก็บหนี้ได้เป็นตัวเงินครบจริงตามที่แสดงในงบ (เพราะไม่เอาค่าเสื่อมซึ่งเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีไม่มีการเสียเงินออกไปจริงๆมาคิด)

ค่า EV / EBITDA จึงหมายถึง
ขนาดกิจการเมื่อเทียบกับกำไร ดังนั้นบริษัทเล็กแต่ทำกำไรมากจึงจะดี คือ ค่านี้ยิ่งต่ำๆยิ่งดี
เป็นตัววัดความถูกแพงชองหุ้นเช่นเดียวกับ PE ratio
(ไม่ควรซื้อหุ้นที่ EV / EBITDA > 10 เท่า ยิ่งน้อยกว่า 10 เท่ายิ่งดี แสดงว่าหุ้นยิ่งถูก)

ค่า EV / EBITDA นี้อาจมองให้ลึกขึ้น ในอีกความหมายได้ว่า เงินที่เราจะใช้ซื้อกิจการนั้นมีมูลค่าเป็นกี่เท่าของเงินสดที่บริษัทจะผลิตได้ในแต่ละปี หรือก็คือมองว่าใช้ระยะเวลาว่ากี่ปี? กว่าที่เราจะได้"เงินสด" ที่เราซื้อกิจการไปคืนมา

> เป็นการลดข้อจำกัดของ P/E ตรงที่หุ้นหลายตัว earning ติดลบหา P/E ไม่ได้ แต่เนื่องจาก EBITDA คือการนำ earning บวกกลับด้วยค่าเสื่อมฯ ดอกเบี้ย ภาษี
ซึ่งปกติแล้วแม้ว่าบริษัทนั้นๆ จะขาดทุนเละยังไง EBITDA ก็มักจะยังเป็นบวกอยู่ได้ นอกจากนี้ EV/EBITDA ยังขจัดความแตกต่างของนโยบายทางบัญชีที่สำคัญเช่น ค่าเสื่อมราคา และความเหลื่อมล้ำของการจ่ายภาษีได้ รวมทั้งหนี้สิน จึงใช้เปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ (ผิดกับ P/E ratio) เพราะไม่ต้องคำนึงถึงโครงสร้างทุนที่แตกต่างกัน
> นอกจากนี้EV/EBITDA ยังเหมาะใช้กับธุรกิจที่มีค่าเสื่อมเยอะๆ เพราะหุ้นกลุ่มนี้การดูที่ earning จะค่อนข้างหลอกตา เพราะโดนค่าเสื่อมกินไปซะหมด ทำให้ cash flow ดีกว่า earning ค่อนข้างมาก การใช้ EBITDA แทน E จะลดปัญหาเรื่องค่าเสื่อมมาหลอกตาได้ ธุรกิจที่มีค่าเสื่อมเยอะๆ ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจที่ต้องลงทุนกับ asset ขนาดใหญ่ ก่อนที่จะ generate รายได้ออกมา เช่น ห้าง รพ. ระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น (โดยหมอ reiter)
> สรุป บริษัทที่มีค่าเสื่อมมากๆแต่จริงๆแล้วยังมีเงินสดเหลืออยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบค่าความถูก-แพง มักมี EV/EBITDA ต่ำกว่า P/E Ratio เสมอ
นั่นคือมองในแง่ P/E Ratio อาจจะแพง แต่ถ้ามองในแง่ EV / EBITDA อาจจะยังไม่แพงนั่นเอง
(ทั้งนี้ บางคนก็ใช้ค่า EV / Free Cash Flow แทน เนื่องจาก FCF สะท้อนกำไรที่เป็นเงินสดจริงได้ดีกว่า EBITDA ยิ่งขึ้นไปอีก)

ทั้งหมดส่วนใหญ่ให้เครดิต หมอreiter นะครับ บางส่วนผมมาทำความเข้าใจเพิ่มเอาเอง เลยเอามาเผยแพร่เพิ่มเติมครับ
ผิดถูก ผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
โพสต์โพสต์