เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 1
ตามหัวข้อเลยครับ
บางครั้ง เราคิดว่าตนเองมีอิทธิบาท 4
คือ 1. ฉันทะ สนุกกับการหาความรู้เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และหุ้นที่ถืออยู่
2. วิริยะ ศึกษาพื้นฐาน หามรุ่งหามค่ำ
3. จิตตะ จดจ่ออยู่กับการลงทุนในตลาด
4. วิมังสา วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ รวมถึง Money Management
แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไร ว่าการกระทำใน 4 ข้อที่กล่าวมานั้น เราไม่ได้ถูกผลักดันโดยกิเลสคือ ความโลภ เพียงตัวเดียวล้วนๆ ฝากให้คิดกันครับ
ด้วยจิตคารวะ
ปล. ที่จริงอยากให้พี่ครรชิตมาร่วมแสดงความเห็นด้วย เพราะเห็นพี่เขาใช้หลักธรรมในการลงทุนด้วย
บางครั้ง เราคิดว่าตนเองมีอิทธิบาท 4
คือ 1. ฉันทะ สนุกกับการหาความรู้เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และหุ้นที่ถืออยู่
2. วิริยะ ศึกษาพื้นฐาน หามรุ่งหามค่ำ
3. จิตตะ จดจ่ออยู่กับการลงทุนในตลาด
4. วิมังสา วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ รวมถึง Money Management
แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไร ว่าการกระทำใน 4 ข้อที่กล่าวมานั้น เราไม่ได้ถูกผลักดันโดยกิเลสคือ ความโลภ เพียงตัวเดียวล้วนๆ ฝากให้คิดกันครับ
ด้วยจิตคารวะ
ปล. ที่จริงอยากให้พี่ครรชิตมาร่วมแสดงความเห็นด้วย เพราะเห็นพี่เขาใช้หลักธรรมในการลงทุนด้วย
Vipassana Investor
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 2
ในทางโลก ถูกผลักดันด้วยกิเลสอยู่แล้วครับ
อย่างแรกที่เข้ามาลงทุนเพราะต้องการกำไร อยากมีกำไร อยากมีปันผล อยากเป็นอิสระทางการเงิน
อยากทั้งนั้น ถูกผลักดันด้วยความอยาก ถูกผลักดันด้วยกิเลส ครับ
อย่างแรกที่เข้ามาลงทุนเพราะต้องการกำไร อยากมีกำไร อยากมีปันผล อยากเป็นอิสระทางการเงิน
อยากทั้งนั้น ถูกผลักดันด้วยความอยาก ถูกผลักดันด้วยกิเลส ครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 4
อิทธิบาทเป็นหลักธรรม
ส่วนโลภเป็นสภาวะทางจิต (เจตสิก)
คำถามคือจะรู้ได้ไง ?
ผมคิดว่าอยู่ที่การฝึกฝนครับ
คือฝึกดูจิต
ถ้าจิตโลภเกิดเมื่อไหร่
เราก็ปล่อยวางลงเมื่อนั้น
แล้วจิตโลภมันก็จะดับไปเอง
ส่วนโลภเป็นสภาวะทางจิต (เจตสิก)
คำถามคือจะรู้ได้ไง ?
ผมคิดว่าอยู่ที่การฝึกฝนครับ
คือฝึกดูจิต
ถ้าจิตโลภเกิดเมื่อไหร่
เราก็ปล่อยวางลงเมื่อนั้น
แล้วจิตโลภมันก็จะดับไปเอง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 5
ขอโทษครับ
ตอบไม่ตรงคำถาม
ต่อจากความเป็นของผมข้างบน
ฉันทะ กับ โลภะ ต่างก็เป็นเจตสิก
แต่ฉันทะเป็นหนึ่งในปกิณณกะเจตสิก
เป็นเจตสิกด้านดี
เกิดขึ้นจากความชอบใจในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
ส่วน โลภะ เป็นเจตสิกด้านร้าย
มันเกิดจากความอยากได้
โดยปกติ ฉันทะ กับ โลภะ
จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน
ผมคิดว่าถ้าตัวเรามีสติพร้อม
เราจะสามารถแยะแยะได้
ระหว่าง...
ความชอบ กับ ความอยากได้ ได้ครับ
ตอบไม่ตรงคำถาม
ต่อจากความเป็นของผมข้างบน
ฉันทะ กับ โลภะ ต่างก็เป็นเจตสิก
แต่ฉันทะเป็นหนึ่งในปกิณณกะเจตสิก
เป็นเจตสิกด้านดี
เกิดขึ้นจากความชอบใจในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
ส่วน โลภะ เป็นเจตสิกด้านร้าย
มันเกิดจากความอยากได้
โดยปกติ ฉันทะ กับ โลภะ
จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน
ผมคิดว่าถ้าตัวเรามีสติพร้อม
เราจะสามารถแยะแยะได้
ระหว่าง...
ความชอบ กับ ความอยากได้ ได้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณทุกความเห็นครับ
เรื่องเจตสิกนี่ซับซ้อนมากครับ ผมว่าจะไปเรียนอยู่เหมือนกัน
ผมคิดว่าอีกเรื่องนึงที่น่าสนใจคือ
ในขณะที่เรามีฉันทะหรือตัวอื่นๆในอิทธิบาท 4 อารมณ์ของเราเป็นกุศลอยู่ (ฉันทะ = Motivation ซึ่งเป็นอารมณ์บวกต่างจาก ตัณหา = Craving) แต่หากมีความโลภเกิดขึ้นพร้อมๆกันด้วย อารมณ์ของเราในขณะนั้นจะเป็น กุศลหรืออกุศล?
แต่ถ้าตามหลักเจตสิกเป็นอย่างที่คุณสลึงบอก มันก็ต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น บางครั้งพอใจ (ฉันทะ) บางครั้งอยากได้(โลภะ)
สรุปคือถ้าจิตละเอียดและมีอุเบกขาพอ ก็จะแยกความแตกต่างได้
ยังไงผมจะลองพยายามให้มันเหลือแต่ฉันทะเพียวๆดู เพื่อนๆก็ขอให้ลองดูไปด้วยกันก็ดีครับ
ตอนนี้ผมก็ยังไม่รู้ว่ามันจะเกี่ยวกับความสำเร็จในการลงทุนแต่ไหน กับการที่มีฉันทะ VS โลภะ
แตอย่างน้อยก็ได้ความสงบใจกว่า เหมือนอย่างที่พี่ครรชิตย้ำไว้ ตามพระธรรมว่า สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
เรื่องเจตสิกนี่ซับซ้อนมากครับ ผมว่าจะไปเรียนอยู่เหมือนกัน
ผมคิดว่าอีกเรื่องนึงที่น่าสนใจคือ
ในขณะที่เรามีฉันทะหรือตัวอื่นๆในอิทธิบาท 4 อารมณ์ของเราเป็นกุศลอยู่ (ฉันทะ = Motivation ซึ่งเป็นอารมณ์บวกต่างจาก ตัณหา = Craving) แต่หากมีความโลภเกิดขึ้นพร้อมๆกันด้วย อารมณ์ของเราในขณะนั้นจะเป็น กุศลหรืออกุศล?
แต่ถ้าตามหลักเจตสิกเป็นอย่างที่คุณสลึงบอก มันก็ต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น บางครั้งพอใจ (ฉันทะ) บางครั้งอยากได้(โลภะ)
สรุปคือถ้าจิตละเอียดและมีอุเบกขาพอ ก็จะแยกความแตกต่างได้
ยังไงผมจะลองพยายามให้มันเหลือแต่ฉันทะเพียวๆดู เพื่อนๆก็ขอให้ลองดูไปด้วยกันก็ดีครับ
ตอนนี้ผมก็ยังไม่รู้ว่ามันจะเกี่ยวกับความสำเร็จในการลงทุนแต่ไหน กับการที่มีฉันทะ VS โลภะ
แตอย่างน้อยก็ได้ความสงบใจกว่า เหมือนอย่างที่พี่ครรชิตย้ำไว้ ตามพระธรรมว่า สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
Vipassana Investor
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 8
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เคยกล่าวไว้ประมาณนี้นะครับ
ฉันทะ คือ อยากที่จะทำเหตุให้ดีๆ โดยไม่หวังว่าผลที่ได้จะเป็นยังไง
โลภะ (หรือตัณหา) คือ อยากจะได้ผลที่ดีๆ แต่ไม่ค่อยสนใจที่จะทำเหตุให้ดีๆ
ฉันทะ คือ อยากที่จะทำเหตุให้ดีๆ โดยไม่หวังว่าผลที่ได้จะเป็นยังไง
โลภะ (หรือตัณหา) คือ อยากจะได้ผลที่ดีๆ แต่ไม่ค่อยสนใจที่จะทำเหตุให้ดีๆ
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 9
เกิดได้ครั้งละ 1 อย่างเท่านั้นครับ หากขณะที่เกิดจิตกุศล จะไม่เกิดจิตอกุศลครับ แต่หากจิตกุศลดับไปแ้ล้วจิตดวงต่อมาเป็นอกุศล อย่างนี้ได้ครับ แต่เราอาจรูสึกเหมือนเกิดพร้อมกันเพราะการเกิดดับของจิตไวมากครับ จิตเกิดดับติดต่อกันไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว ในจังหวะที่จิตที่เป็นอกุศลเกิดและจิตดวงต่อมารับช่วง หากจำไม่ผิดเรียก ชวนะจิต จิตดวงที่กำลังจะเกิดต่ออาจเป็นจิตอกุศลต่อ แต่หากเรารู้ทัน จิตอกุศลดับ จิตดวงใหม่ก็็อาจไม่ต้องรับช่วงอกุศลต่อได้ ประมาณนี้ครับ จำได้ไม่หมดเหมือนกันครับWarros เขียน:ขอบคุณทุกความเห็นครับ
เรื่องเจตสิกนี่ซับซ้อนมากครับ ผมว่าจะไปเรียนอยู่เหมือนกัน
ผมคิดว่าอีกเรื่องนึงที่น่าสนใจคือ
ในขณะที่เรามีฉันทะหรือตัวอื่นๆในอิทธิบาท 4 อารมณ์ของเราเป็นกุศลอยู่ (ฉันทะ = Motivation ซึ่งเป็นอารมณ์บวกต่างจาก ตัณหา = Craving) แต่หากมีความโลภเกิดขึ้นพร้อมๆกันด้วย อารมณ์ของเราในขณะนั้นจะเป็น กุศลหรืออกุศล?
แต่ถ้าตามหลักเจตสิกเป็นอย่างที่คุณสลึงบอก มันก็ต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น บางครั้งพอใจ (ฉันทะ) บางครั้งอยากได้(โลภะ)
สรุปคือถ้าจิตละเอียดและมีอุเบกขาพอ ก็จะแยกความแตกต่างได้
ยังไงผมจะลองพยายามให้มันเหลือแต่ฉันทะเพียวๆดู เพื่อนๆก็ขอให้ลองดูไปด้วยกันก็ดีครับ
ตอนนี้ผมก็ยังไม่รู้ว่ามันจะเกี่ยวกับความสำเร็จในการลงทุนแต่ไหน กับการที่มีฉันทะ VS โลภะ
แตอย่างน้อยก็ได้ความสงบใจกว่า เหมือนอย่างที่พี่ครรชิตย้ำไว้ ตามพระธรรมว่า สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 10
เท่าที่เข้าใจ...
โลภะ คือ อยากได้รับผล โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเหตุ
ฉันทะ คือ ความพึงพอใจในการกระทำเหตุ
ฉันทะไม่จำเป็นต้องเป็นกุศล เป็นเจตสิตที่สามารถอยู่รวมได้กับเจตสิกอื่นที่เป็น กุศล และ อกุศล
จึงมีคำว่า กามฉันทะ คือ ความพึงพอใจในกามคุณ 5 ซึ่งได้แก่ รูป รส กล่ิน เสียง สัมผัส
คล้ายๆ กับ กามราคะ ซึ่ง ราคะ ก็คือ โลภะ นั้นเอง
กามฉันทะ คือ ความพึงพอใจในการกระทำให้ได้กามคุณ (มั้ง) ส่วน กามราคะ คือ ความอยากได้ในกามคุณ
มาถึงเรื่องหุ้นบ้าง
โลภะ ในหุ้น ก็เป็นความต้องการให้หุ้นเราขึ้น ได้กำไรจากหุ้น โดยไม่สนว่าจะสร้างเหตุหรือไม่
แต่ ฉันทะในการศึกษาหาหุ้น คือ ความพึงพอใจในการศึกษาหาหุ้น ในการลงทุน ส่วนผลนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ ก็พึงพอใจระหว่างที่หาหุ้นแล้ว
ตามปกติ เมื่อสร้างเหตุที่ดี ก็จะเกิดผลที่ดีตามมา... แต่คนส่วนใหญ่ อยากอยู่เฉยๆ ไม่หาหุ้น แล้วอยากให้หุ้นขึ้นซะมากกว่า... เรียกว่า ไม่สร้างเหตุ แต่อยากได้ผล... เลยทำให้หุ้นกลายเป็นการพนัน เป็นลาภ เป็นโชคไป...
ปล. กระทู้ผิดห้อง... mod ช่วยย้ายไปให้ถูกที่ถูกทางด้วยครับ
โลภะ คือ อยากได้รับผล โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเหตุ
ฉันทะ คือ ความพึงพอใจในการกระทำเหตุ
ฉันทะไม่จำเป็นต้องเป็นกุศล เป็นเจตสิตที่สามารถอยู่รวมได้กับเจตสิกอื่นที่เป็น กุศล และ อกุศล
จึงมีคำว่า กามฉันทะ คือ ความพึงพอใจในกามคุณ 5 ซึ่งได้แก่ รูป รส กล่ิน เสียง สัมผัส
คล้ายๆ กับ กามราคะ ซึ่ง ราคะ ก็คือ โลภะ นั้นเอง
กามฉันทะ คือ ความพึงพอใจในการกระทำให้ได้กามคุณ (มั้ง) ส่วน กามราคะ คือ ความอยากได้ในกามคุณ
มาถึงเรื่องหุ้นบ้าง
โลภะ ในหุ้น ก็เป็นความต้องการให้หุ้นเราขึ้น ได้กำไรจากหุ้น โดยไม่สนว่าจะสร้างเหตุหรือไม่
แต่ ฉันทะในการศึกษาหาหุ้น คือ ความพึงพอใจในการศึกษาหาหุ้น ในการลงทุน ส่วนผลนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ ก็พึงพอใจระหว่างที่หาหุ้นแล้ว
ตามปกติ เมื่อสร้างเหตุที่ดี ก็จะเกิดผลที่ดีตามมา... แต่คนส่วนใหญ่ อยากอยู่เฉยๆ ไม่หาหุ้น แล้วอยากให้หุ้นขึ้นซะมากกว่า... เรียกว่า ไม่สร้างเหตุ แต่อยากได้ผล... เลยทำให้หุ้นกลายเป็นการพนัน เป็นลาภ เป็นโชคไป...
ปล. กระทู้ผิดห้อง... mod ช่วยย้ายไปให้ถูกที่ถูกทางด้วยครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 274
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 11
ผมว่ากระทู้นี้อยู่ในหมวดลงทุนฯน่ะดีอยู่แล้ว เพราะถือเป็นเรื่องเป็นงานเป็นการ ด้านจิตวิทยาการลงทุน
มาไว้ในหมวดนี้ซึ่งคุยเล่นกัน แล้วใครจะอ่าน
มาไว้ในหมวดนี้ซึ่งคุยเล่นกัน แล้วใครจะอ่าน
To seek money to spread God's work is righteous action. - Paramahansa Yogananda [Ak 116]
"ดวง เป็น 1% ที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จ"
"ดวง เป็น 1% ที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จ"
- หมักเตา
- Verified User
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 12
ไม่ค่อยสันทัดด้านนี้นะครับ ถือซะว่ามีคนห่างวัดห่างธรรมะแวะมาคุยด้วยละกัน
ผมมองว่า กิเลส และ ความโลภ ยังไงก็ตัดไปไม่ได้ครับ
ถ้าจะให้เหลือฉันทะเพียวๆ ผมคงไปเล่น click2win หรือซื้อเศษหุ้นร้อยหุ้นไว้ตามดูตามประชุมก็พอเพียงแล้ว
ไอ้ที่ลงเต็มอัตราศึกทุกวันนี้ก็เพราะโลภล้วนๆครับ
กรณีจะให้ลงเงิน แล้วครอบความรู้สึกให้เหลือแต่ฉันทะล้วนๆ ก็อาจเป็นผลดีในทางปฏิบัตินะ
แต่ผมว่ามันเหมือนหลอกตัวผมเองกลายๆยังไงไม่รู้ แบบกินเนื้อไก่ที่ทำจากแป้งในเทศกาลกินเจน่ะ
ผมชอบแบบปล่อยครับ กินไก่ก็กินไก่ กินแป้งก็กินแป้ง จะโลภ จะกิเลส ก็ปล่อย
ให้มันเกิด ปล่อยมันมา แล้วดูมันทำ
ปล. ย้ายมาอยู่ห้องนี้ก็ดีนะครับ สงบน่าคุยกว่าข้างนอกซะอีก
ผมมองว่า กิเลส และ ความโลภ ยังไงก็ตัดไปไม่ได้ครับ
ถ้าจะให้เหลือฉันทะเพียวๆ ผมคงไปเล่น click2win หรือซื้อเศษหุ้นร้อยหุ้นไว้ตามดูตามประชุมก็พอเพียงแล้ว
ไอ้ที่ลงเต็มอัตราศึกทุกวันนี้ก็เพราะโลภล้วนๆครับ
กรณีจะให้ลงเงิน แล้วครอบความรู้สึกให้เหลือแต่ฉันทะล้วนๆ ก็อาจเป็นผลดีในทางปฏิบัตินะ
แต่ผมว่ามันเหมือนหลอกตัวผมเองกลายๆยังไงไม่รู้ แบบกินเนื้อไก่ที่ทำจากแป้งในเทศกาลกินเจน่ะ
ผมชอบแบบปล่อยครับ กินไก่ก็กินไก่ กินแป้งก็กินแป้ง จะโลภ จะกิเลส ก็ปล่อย
ให้มันเกิด ปล่อยมันมา แล้วดูมันทำ
ปล. ย้ายมาอยู่ห้องนี้ก็ดีนะครับ สงบน่าคุยกว่าข้างนอกซะอีก
เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว
จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย
จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 14
อืม....ส.สลึง เขียน:ขอโทษครับ
ตอบไม่ตรงคำถาม
ต่อจากความเป็นของผมข้างบน
ฉันทะ กับ โลภะ ต่างก็เป็นเจตสิก
แต่ฉันทะเป็นหนึ่งในปกิณณกะเจตสิก
เป็นเจตสิกด้านดี
เกิดขึ้นจากความชอบใจในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
ส่วน โลภะ เป็นเจตสิกด้านร้าย
มันเกิดจากความอยากได้
โดยปกติ ฉันทะ กับ โลภะ
จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน
ผมคิดว่าถ้าตัวเรามีสติพร้อม
เราจะสามารถแยะแยะได้
ระหว่าง...
ความชอบ กับ ความอยากได้ ได้ครับ
ตอนนี้...ผมก็มีความอยากครับ
อยาก.........มากด้วยนะครับ......
อยากได้เจ้าหมาที่ยิ้มจนตาปิดนะครับ
น่ารักดีนะครับ
เอ.. ผมมีสติรึป่าวเนี่ย.....
555
ขอรูปเจ้าหมาผู้น่ารัก...เต็มๆได้ป่าวครับ
.....
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 15
ฉันทะ คือความชอบ ความมีใจรัก ในการงานที่ทำ อย่างมีสติ ทราบเหตุผลของสิ่งที่ทำ
ทราบถึงหลักการณ์ รวมถึงจุดมุ่งหมายของสิ่งที่กำลังทำ และทราบถึงข้อดี ข้อเสีย ของสิ่งที่ทำ
ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์ต่อตัวเอง และผู้อื่น ซึ่งก็จะก่อให้เกิด
ความ วิริยะ คือความพยายามที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วง โดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ เพียรทำงาน
นั้นให้ดียิ่งขึ้นๆ จะก่อให้เกิด จิตตะ คือความมุ่งมั่น เกิดสมาธิในสิ่งที่ทำ เพราะรู้ว่าเป็นสิ่ง
ที่ดีมีประโยชน์ มีเหตุผลในการทำ เกิดความรู้สึกเป็นสุขใจเมื่อทำงานนั้น จะเฝ้ามองสิ่งที่ทำ หรืองานนั้น
อย่างมีความเข้าใจ นำไปสู่ วิมังสา ความเข้าใจในงานนั้นว่าดำเนินไปอย่างถูกต้องหรือไม่
ถ้าไม่ถูกต้อง หรือมีอะไรต้องแก้ไข ก็ทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง งานนั้นๆ ตามแต่เหตุปัจจัยให้ดำเนินไปได้
เพื่อที่จะทำให้งานนั้นประสบผลตามที่มุ่งมั่น ตามความชอบ ด้วยใจรัก เกิดความถนัด ยิ่งทำยิ่งชำนาญ ยิ่งทำยิ่งสนุก
ยิ่งทำยิ่งได้ประโยขน์ สำเร็จตามความเหมาะสมแก่ความสามารถตัวผู้ทำเอง และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย
ส่วน โลภะ เป็นการทำตามความอยากให้เป็น ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
เป็นความรู้สึกที่ผุดขึ้นมา ก่อให้เกิดความร้อนรน กระวนกระวาย ไม่คำนึงถึงเหตุผลที่กระทำ ไม่คำนึงถึงความรู้ความ
สามารถของตัวเอง ไม่คำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่คำนึงถึงผู้อื่นว่าจะได้ผลกระทบอย่างไรบ้าง เมื่อทำไม่ได้
ตามความโลภ ก็จะเกิดความโกรธ เกิดความขุ่นเคือง เกิดความอยากเอาชนะ หรือถ้าเกิดทำตามความโลภได้แล้ว
จะเกิดความถือตัวว่าเหนือว่าผู้อื่น เกิดความหลงตัวเอง เกิดความอยากได้มากขึ้นไปอีก และจะกระทำการอื่นๆเพื่อ
ให้ได้มาอย่างไม่คำนึงถึงเหตุผล ความถูกผิดต่อไปอีก จนในที่สุดเกิดความประมาท จิตใจเสื่อมถอยแล้ว ละจากความ
เป็นมนุษย์ ไปอยู่ในภาวะแห่งความหิวโหยไม่สิ้นสุด
โลภะ และสิ่งเทียบเคียงเหล่านี้เป็นสัญชาตญาณที่สืบมาในตัวเราทุกคน ตั้งแต่เริ่มวิวัฒนาการแล้ว ฝังอยู่ในหัวเลยก็ว่าได้
ชั้นลึกที่สุด ยากที่จะถอดถอน ยากที่จะมองเห็น บางทีเราทำแล้วก็ยังไม่รู้สึก หรือทำไปเพราะคนอื่นๆก็ทำจนเป็นปกติไป
ก็เลยไม่รู้สึกว่ามันแตกต่าง และเราไม่จำเป็นต้องทำตามอำนาจของมัน การจะมองเห็นจนกระทั่งเราสามารถหลุดจาก
อำนาจเหล่านี้ คงมีแต่ต้องปฏิบัติ การเจริญสติ การทำสมาธิ เพื่อทำให้จิตใจเราเห็น ทำจิตใจให้เข้มแข็งเท่านั้นครับ
ขึ้นกับแต่ละท่านๆ ไม่มีใครทำแทนได้ แม้จะอ่านจะรู้จากคำบอกเล่า ก็ไม่สามารถต้านสิ่งเหล่านี้ได้ สำหรับคนส่วนใหญ่
แต่ก็มีคนส่วนนึงคับเกิดมาพร้อมกับความเข้าใจแล้วในเรื่องนี้ซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีมากที่สุด และก็มีคนส่วนนึงที่ไม่ว่ารู้
หรือไม่รู้ก็ยังคงทำตามความโลภต่อไป คือความอยากเอามาเป็นของตัวนั่นเองครับ พอไม่ได้ก็เกิดความโกรธ คือความ
ผลักออกไปให้พ้นตัว แต่ถ้ายังมึนๆก็เกิดความหลง คือความไม่รู้ว่ามันอยากได้หรือไม่อยากได้ ทำให้ทำตัดสินใจสิ่งต่างๆ
ในชีวิตผิดพลาดกันไป
ทราบถึงหลักการณ์ รวมถึงจุดมุ่งหมายของสิ่งที่กำลังทำ และทราบถึงข้อดี ข้อเสีย ของสิ่งที่ทำ
ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์ต่อตัวเอง และผู้อื่น ซึ่งก็จะก่อให้เกิด
ความ วิริยะ คือความพยายามที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วง โดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ เพียรทำงาน
นั้นให้ดียิ่งขึ้นๆ จะก่อให้เกิด จิตตะ คือความมุ่งมั่น เกิดสมาธิในสิ่งที่ทำ เพราะรู้ว่าเป็นสิ่ง
ที่ดีมีประโยชน์ มีเหตุผลในการทำ เกิดความรู้สึกเป็นสุขใจเมื่อทำงานนั้น จะเฝ้ามองสิ่งที่ทำ หรืองานนั้น
อย่างมีความเข้าใจ นำไปสู่ วิมังสา ความเข้าใจในงานนั้นว่าดำเนินไปอย่างถูกต้องหรือไม่
ถ้าไม่ถูกต้อง หรือมีอะไรต้องแก้ไข ก็ทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง งานนั้นๆ ตามแต่เหตุปัจจัยให้ดำเนินไปได้
เพื่อที่จะทำให้งานนั้นประสบผลตามที่มุ่งมั่น ตามความชอบ ด้วยใจรัก เกิดความถนัด ยิ่งทำยิ่งชำนาญ ยิ่งทำยิ่งสนุก
ยิ่งทำยิ่งได้ประโยขน์ สำเร็จตามความเหมาะสมแก่ความสามารถตัวผู้ทำเอง และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย
ส่วน โลภะ เป็นการทำตามความอยากให้เป็น ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
เป็นความรู้สึกที่ผุดขึ้นมา ก่อให้เกิดความร้อนรน กระวนกระวาย ไม่คำนึงถึงเหตุผลที่กระทำ ไม่คำนึงถึงความรู้ความ
สามารถของตัวเอง ไม่คำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่คำนึงถึงผู้อื่นว่าจะได้ผลกระทบอย่างไรบ้าง เมื่อทำไม่ได้
ตามความโลภ ก็จะเกิดความโกรธ เกิดความขุ่นเคือง เกิดความอยากเอาชนะ หรือถ้าเกิดทำตามความโลภได้แล้ว
จะเกิดความถือตัวว่าเหนือว่าผู้อื่น เกิดความหลงตัวเอง เกิดความอยากได้มากขึ้นไปอีก และจะกระทำการอื่นๆเพื่อ
ให้ได้มาอย่างไม่คำนึงถึงเหตุผล ความถูกผิดต่อไปอีก จนในที่สุดเกิดความประมาท จิตใจเสื่อมถอยแล้ว ละจากความ
เป็นมนุษย์ ไปอยู่ในภาวะแห่งความหิวโหยไม่สิ้นสุด
โลภะ และสิ่งเทียบเคียงเหล่านี้เป็นสัญชาตญาณที่สืบมาในตัวเราทุกคน ตั้งแต่เริ่มวิวัฒนาการแล้ว ฝังอยู่ในหัวเลยก็ว่าได้
ชั้นลึกที่สุด ยากที่จะถอดถอน ยากที่จะมองเห็น บางทีเราทำแล้วก็ยังไม่รู้สึก หรือทำไปเพราะคนอื่นๆก็ทำจนเป็นปกติไป
ก็เลยไม่รู้สึกว่ามันแตกต่าง และเราไม่จำเป็นต้องทำตามอำนาจของมัน การจะมองเห็นจนกระทั่งเราสามารถหลุดจาก
อำนาจเหล่านี้ คงมีแต่ต้องปฏิบัติ การเจริญสติ การทำสมาธิ เพื่อทำให้จิตใจเราเห็น ทำจิตใจให้เข้มแข็งเท่านั้นครับ
ขึ้นกับแต่ละท่านๆ ไม่มีใครทำแทนได้ แม้จะอ่านจะรู้จากคำบอกเล่า ก็ไม่สามารถต้านสิ่งเหล่านี้ได้ สำหรับคนส่วนใหญ่
แต่ก็มีคนส่วนนึงคับเกิดมาพร้อมกับความเข้าใจแล้วในเรื่องนี้ซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีมากที่สุด และก็มีคนส่วนนึงที่ไม่ว่ารู้
หรือไม่รู้ก็ยังคงทำตามความโลภต่อไป คือความอยากเอามาเป็นของตัวนั่นเองครับ พอไม่ได้ก็เกิดความโกรธ คือความ
ผลักออกไปให้พ้นตัว แต่ถ้ายังมึนๆก็เกิดความหลง คือความไม่รู้ว่ามันอยากได้หรือไม่อยากได้ ทำให้ทำตัดสินใจสิ่งต่างๆ
ในชีวิตผิดพลาดกันไป
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 16
Pol เขียน:หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เคยกล่าวไว้ประมาณนี้นะครับ
ฉันทะ คือ อยากที่จะทำเหตุให้ดีๆ โดยไม่หวังว่าผลที่ได้จะเป็นยังไง
โลภะ (หรือตัณหา) คือ อยากจะได้ผลที่ดีๆ แต่ไม่ค่อยสนใจที่จะทำเหตุให้ดีๆ
+1
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
- Verified User
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 17
วิธีของคุณหมักเตาก็ดีนะครับ ตามรู้คอยดูมันไป ไม่ไปข่มไว้ เพราะยิ่งข่ม ยิ่งไม่ยอมรับ กิเลสก็ยิ่งจะแรงขึ้นเท่านั้นเอง 'What u resist, persists' คือจะกลายเป็นสมถะกลายๆไป กิเลสยิ่งแข็งแรงขึ้น คอยดูมันทำอยู่ห่างๆ แต่อย่าไปช่วย act on it บวกเข้าไปอีกเท่านั้นก็พอครับ
ส่วนคุณ Tibular คำตอบละเอียดกระจ่างดีครับ
ส่วนคุณ Tibular คำตอบละเอียดกระจ่างดีครับ
Vipassana Investor
-
- Verified User
- โพสต์: 1455
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 19
เท่าที่ลองศึกษา ก้อยังแยกไม่ค่อยออก ว่า แบบนี้คืออะไรแล้วมันใช่หรือไม่ใช่ตามชื่อนั้นๆ
รู้แต่ว่า เมื่อ มีอะไรมากระทบ อาการมันจะออกมาประมาณไหน
พอรู้บ่อยๆ อาการแบบนั้นมันก็เบาๆลงไป ทั้งที่ สิ่งมากระทบเหมือนเดิม
ถ้าจะตอบแบบให้เข้าใจ มันก็คงยากอยู่ ทางที่ดีก็ลอง สังเกตอาการที่เกิด ขึ้นในตัวเราไปเองแล้วกัน
ว่า เมื่อเกิดแล้วมันเป็นยังไง...
พระอาจารย์หลายๆท่านสอนว่า ถ้าไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร ก็อย่าได้ไปสนมันเลยว่ามันเรียกว่าอะไร
ขอให้ รู้ตัว ไปกับสิ่งที่มันเกิดปัจจุบัน ก็เพียงพอแล้ว...ขอแค่ รู้ ก็พอแล้วจริงๆ แค่นี้เองทำได้กันหรือปล่า ..
ปล..ผมทำไม่ได้หรอกนะ ^_^
รู้แต่ว่า เมื่อ มีอะไรมากระทบ อาการมันจะออกมาประมาณไหน
พอรู้บ่อยๆ อาการแบบนั้นมันก็เบาๆลงไป ทั้งที่ สิ่งมากระทบเหมือนเดิม
ถ้าจะตอบแบบให้เข้าใจ มันก็คงยากอยู่ ทางที่ดีก็ลอง สังเกตอาการที่เกิด ขึ้นในตัวเราไปเองแล้วกัน
ว่า เมื่อเกิดแล้วมันเป็นยังไง...
พระอาจารย์หลายๆท่านสอนว่า ถ้าไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร ก็อย่าได้ไปสนมันเลยว่ามันเรียกว่าอะไร
ขอให้ รู้ตัว ไปกับสิ่งที่มันเกิดปัจจุบัน ก็เพียงพอแล้ว...ขอแค่ รู้ ก็พอแล้วจริงๆ แค่นี้เองทำได้กันหรือปล่า ..
ปล..ผมทำไม่ได้หรอกนะ ^_^
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เราจะมีวิธีแยกความแตกต่างระหว่าง ฉันทะ กับ โลภะ อย่างไร
โพสต์ที่ 20
ลูกศิษย์ หลวงพ่อปราโมทย์ในบอร์ดนี้ดูเหมือนก็มีเยอะนะครับ
โลก กลมจริงๆ หรือว่าทำบุญมาร่วมกัน สังคมเดียวกัน นะ
โลก กลมจริงๆ หรือว่าทำบุญมาร่วมกัน สังคมเดียวกัน นะ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด