ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkam1
Verified User
โพสต์: 116
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากทราบว่าโปรกเกอร์หรือนักวิเคาะห์หุ้นต่างๆตามสถาบัน ที่วิเคาะห์หรือเชียรไห้เราชื้อหุ้นต่างๆ มันมีเปอร์เช็นต์หรือความน่าเชื่อถือระดับไหนกันครับ พอดีผมเพื่งลงทุนในหุ้นใด้ไม่นาน เข้ามาเล่นหุ้นก้เล่นแนว viไปเลย ไม่เคยเชื่อเรื่องข่าวหรือคำแนะนำจากนักวิเคาะห์เท่าไหร่ แต่เล่นหุ้นตามพื้นฐานดีก็เล่นไม่ดีก้ไม่เล่น และไม่เคยชื้อหุ้นตามนักวิเคาะห์เลย ก็เลยทำไห้ไม่รู้ว่านักวิเคาะห์เขาแม่นแค่ไหน ใครพอจะทราบช่วยแนะนำผมที มือไหม่จริงๆครับ
mik0o
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ปกติก็อ่านตรงที่เค้าวิเคราะห์ครับ เอามาเป็นแนวเพื่อศึกษาต่อ

แต่ละแกล้งทำเป็นมองไม่เห็น "แนะนำ" ว่ามันบอกให้ทำอะไรกับหุ้นตัวนั้น

ไอ้พวกข้อมูลผมว่าเชื่อได้บ้าง แต่ หลังคำว่า "แนะนำ" เนี่ย ไม่ค่อยอยากจะเชื่อซักเท่าไหร่
o-bo-ja-ma
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

kongkam1 เขียน:อยากทราบว่าโปรกเกอร์หรือนักวิเคาะห์หุ้นต่างๆตามสถาบัน ที่วิเคาะห์หรือเชียรไห้เราชื้อหุ้นต่างๆ มันมีเปอร์เช็นต์หรือความน่าเชื่อถือระดับไหนกันครับ พอดีผมเพื่งลงทุนในหุ้นใด้ไม่นาน เข้ามาเล่นหุ้นก้เล่นแนว viไปเลย ไม่เคยเชื่อเรื่องข่าวหรือคำแนะนำจากนักวิเคาะห์เท่าไหร่ แต่เล่นหุ้นตามพื้นฐานดีก็เล่นไม่ดีก้ไม่เล่น และไม่เคยชื้อหุ้นตามนักวิเคาะห์เลย ก็เลยทำไห้ไม่รู้ว่านักวิเคาะห์เขาแม่นแค่ไหน ใครพอจะทราบช่วยแนะนำผมที มือไหม่จริงๆครับ
ผมคิดว่าเขาก็ทำหน้าที่ของเขานะครับ สิ่งที่เราพยายามดึงจากเขามาให้ได้ผมว่าน่าจะเป็น fact หรือข้อเท็จจริง ไม่ใช่ในส่วนที่บอกว่าราคาควรเป็นเท่านั้น เท่านี้นะครับ เพราะก่อนที่เขาจะบอกว่าราคาเท่านั้นเท่านี้ เขาต้องมีเหตุผลมาก่อนว่ารายได้ควรเป็นเท่าไร ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง ผมว่าเราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมากรองเพื่อให้ได้ตรงกับความน่าจะเป็นที่สุดครับ

อย่าลืมว่านักวิเคราะห์ก็เป็นคนครับ มี error มี bias เจ็บป่วยเป็นครับ เพราะฉะนั้นผมว่าใช้ตัวเราเป็นเกณฑ์ดีกว่าที่จะพึ่งคนอื่นนะครับ ตอนสอบยังสอบเอง ตอนซื้อหุ้นจะเชื่อคนอื่นเขาอยู่หรือครับ เกรดมี 4 เกรด สอบผิดได้ D แต่หุ้นมีแค่คิดถูกกับคิดผิด คิดถูกได้ตังค์ คิดผิดเสียตังค์ แต่ยากกว่ากันเยอะเลย โชคดีในการลงทุนครับ
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

โอกาสวิเคราะห์ผิดประมาณ70%ครับ
โอกาสให้เป้าราคาผิด ประมาณ100% ครับ
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

จากงานวิจัยที่ไหนสักแห่งจำไม่ได้แล้ว ไอ้70% ก็มาจากเวปแถวๆนี้หละ
maiaowna
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

บางเจ้าไม่มีไรจะเขียนเลยปรับ pe ให้สะดิ้อๆ

:lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkam1
Verified User
โพสต์: 116
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับที่เข้ามาแนะนำมือไหม่อย่างผมครับ
Wei Han
Verified User
โพสต์: 167
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

อย่างความเห็นข้างบนครับ ผมว่าเค้าทำหน้าที่ดีที่สุดตามวิชาชีพเค้าอยู่แล้ว แต่เพราะว่ามันไม่ใช่วิทยาศาสตร์ครับ ไอ้การวิเคราะห์เนี่ย ราคาเป้าหมาย แค่ปรับค่า beta หรือ WACC ราคามันก็เปลี่ยนไปได้เยอะแล้ว นี่ยังไม่นับการ project cashflow ที่จะมี unknown factors อยู่เยอะมาก (ขอโทษครับใช้ภาษาอังกฤษมากไปหน่อย) เช่นเดียวกัน การหา eps เพื่อคำนวนค่า p/e ก็มีแต่ unknown factors เต็มไปหมด ที่สุดคือศิลปะในการเดา และประสบการณ์ครับ ที่จะช่วยตัวเราเอง

ดังนั้นควรอ่านเหตุผล และ story ของบริษัท เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลมา วิเคราะห์ต่อยอดของตัวเองดีกว่า
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เปลี่ยนคำว่านักวิเคราะห์ เป็นนักเดาข้อมูล
แล้วจะเห็นภาพชัดขึ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
.way
Verified User
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากทราบว่านักวิเคาะห์หุ้นหน่อยครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

MIF Lab : ดร.อาณัติ ลีมัคเดช
เมื่อนักลงทุนไว้วางใจนักวิเคราะห์หุ้นว่าน่าจะมีความรู้ในการลงทุนดีกว่าตน แล้วตัดสินใจซื้อขายหุ้นตามคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้น ผลจะเป็นอย่างไร



ในทางทฤษฎีนั้น มักจะมองว่าตลาดหุ้นอยู่สภาวะที่มีประสิทธิภาพตลอดเวลา (Efficient Market Hypothesis) ดังนั้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งใด แม้กระทั่งจาก Insider ก็ตาม เพื่อสร้างกำไรเกินปกตินั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการตอบคำถามข้างต้นจึงมีความน่าสนใจทั้งในทางทฤษฎีกล่าวคือหากเราพบ ว่าการลงทุนตามคำชี้ชวนของนักวิเคราะห์หุ้นแล้วสามารถทำกำไรเกินปกติได้ แสดงว่าทฤษฎีประสิทธิภาพตลาดทุนไม่เป็นจริง

นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติคือการวางแผนการลงทุนของเราว่า ควรเชื่อนักวิเคราะห์หุ้นได้เพียงใด

งานวิจัยของนักศึกษา MIF มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 คนที่ศึกษาคำแนะนำในการซื้อขายหุ้นของนักวิเคราะห์หุ้นในไทย ช่วยให้เราเห็นคำตอบได้ชัดขึ้น

งานชิ้นแรกของ นันทวรรณ บุศราวงศ์ เรื่อง “Can Investors Make Abnormal Profit from the Security Analyst Recommendations in Thailand” ทดลองสร้างพอร์ตหุ้นสามพอร์ตตามคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้นหลายค่าย คือ พอร์ต “ซื้อ” พอร์ต “ขาย” โดยการช็อตเซลหุ้น พอร์ตที่สามคือพอร์ต “ถือ” ไว้หากนักวิเคราะห์หุ้นแนะนำ Hold

นันทวรรณมองการลงทุนในพอร์ตนี้ว่า เป็นการลงทุนระยะสั้นคือล้างพอร์ตทุกๆ สิ้นวัน และดำเนินกลยุทธ์ตามคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้นเช่นนี้อีกในวันรุ่งขึ้น

เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นแล้ว พอร์ตหุ้นที่สร้างตามคำแนะนำ “ซื้อ” และล้างพอร์ตทุกวัน จะมีอัตราผลตอบแทนเกินปกติอยู่ 0.18% ในขณะที่พอร์ต “ขาย” และ “ถือ” นั้นมีอัตราผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาด

หากเทียบกับค่าโบรกเกอร์ซึ่งต่อให้ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ก็จะเสียค่าธรรมเนียมอย่างน้อยไป-กลับ 0.44 แล้ว อัตราผลตอบแทนที่เป็นบวกของพอร์ต “ซื้อ” ก็ยังไม่คุ้ม

งานวิจัยนี้จึงมองว่า ทฤษฎีประสิทธิภาพยังใช้ได้กับตลาดหุ้นไทยอยู่ และนักลงทุนไม่สามารถหลับหูหลับตาลงทุนตามนักวิเคราะห์หุ้นได้ โดยเฉพาะควรระวังคำแนะนำประเภทให้ “ขาย” หรือให้ “ถือ” หุ้นไว้เป็นพิเศษ

งานวิจัยเรื่อง “Do Analysts’ Recommendations Have Investment Value? Evidence in Thailand” ของ พิมลรัตน์ สถาวรวงศ์ ทดลองสร้างพอร์ตสามแบบตามคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้นเช่นกัน แต่แทนที่จะล้างพอร์ตทุกวัน

งานนี้ลองถือพอร์ตไว้ 30 วัน และ 6 เดือน โดยมองว่าเป็นการลงทุนระยะสั้นและระยะปานกลาง ผลที่ได้พบว่า พอร์ต “ซื้อ” สามารถช่วยสร้างอัตราผลตอบแทนเกินปกติได้ในกรอบการลงทุนระยะสั้น โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสะสมราวๆ 1.5. แต่ไม่เกิดกำไรในการลงทุนระยะปานกลาง

ในขณะที่พอร์ต “ขาย” และ “ถือ” นั้นจะให้กำไร เมื่อนักลงทุนลงทุนอย่างน้อย 6 เดือน แต่ดูแล้วไม่ค่อยมากนัก ดังนั้นผลการศึกษายังสอดคล้องกับนันทวรรณว่าให้ระวัง หากจะเชื่อคำแนะนำในการ “ขาย” หรือ “ถือ” ของนักวิเคราะห์หุ้น

เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อนักวิเคราะห์หุ้น ผมขอชี้จุดอ่อนของงานศึกษาทั้งสองก่อนว่า เนื่องจากเวลานักวิเคราะห์หุ้นแนะนำหุ้นนั้น เขาไม่ได้บอกน้ำหนักการลงทุนของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ต

การศึกษาทั้งสองจึงต้องกำหนดน้ำหนักขึ้นมาเอง วิธีง่ายสุดคือกำหนดให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นทุกตัวเท่ากัน ซึ่งทำให้เกิดข้อโต้แย้งได้ว่า เวลาลงทุนซื้อหุ้นแล้วขาดทุน นักวิเคราะห์หุ้นอาจเถียงว่าเขาให้ “ซื้อ น้อยๆ” หากพบทีหลังว่าหุ้นตัวไหนได้กำไร นักวิเคราะห์อาจบอกว่าเขาหมายถึงให้ “ซื้อ มากๆ” ได้

ผู้ดูแลตลาดน่าจะมีกลไกอะไรสักอย่างเพื่อจัดอันดับนักวิเคราะห์หุ้นให้พวก เรานักลงทุนใช้เป็นแนวทางตัดสินใจได้บ้างว่า นักวิเคราะห์ค่ายไหนควร “เชื่อน้อยๆ” และค่ายไหนควร “เชื่อมากๆ”
ความล้มเหลวจะสอนเราให้แข็งเกร่ง"เด็ก18กับตลาดหุ้น"
โพสต์โพสต์