ถอดรหัสสมอง ริชาร์ด แบรนสัน กลยุทธ์อัจฉริยะเชิงธุรกิจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
nasesus
Verified User
โพสต์: 1276
ผู้ติดตาม: 0

ถอดรหัสสมอง ริชาร์ด แบรนสัน กลยุทธ์อัจฉริยะเชิงธุรกิจ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รูปภาพ

น่าสนใจดีครับเล่มนี้อ่านได้เพลินมากๆครับ เป็นหลักคิด แนวคิดของเค้า

1. การใช้สมุดบันทึก :  ริชาร์ด แบรนสัน ค้นพบตนเองว่าสิ่งที่เขาทำได้ดีในชีวิตการทำงานก็คือการจดบันทึก แม้ว่าเขาจะอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ตาม โดยแบรนสันมักจะจดทุกอย่างในสมุดบันทึก เขาอธิบายกลยุทธในการใช้สมุดบันทึกว่าจะจดประเด็นและใช้ประเด็นสำคัญนี้ไป ระลึกบทสนทนาหรือเรื่องธุรกิจ ประโยชน์ก็คือทำให้เขาสามารถจดจำสิ่งต่างๆที่จดได้อีกทั้งยังสามารถระลึกบท สนทนาทั้งหมดได้ ไม่เฉพาะแค่นั้นเขายังได้จดความคิดเห็นของตนเองลงไปด้วย เพราะทุกสิ่งที่เขาเห็นหรือได้ยินล้วนกระตุ้นแนวคิดใหม่ได้เสมอ และมักพลิกบันทึกเก่าๆเพื่อหาแนวคิดหรือดูว่าพลาดอะไรไปบ้าง

2. การมองธุรกิจหรือสิ่งที่ทำ เป็นเกมๆหนึ่ง : การที่ริชาร์ด แบรนสัน มองธุรกิจหรือสิ่งที่ทำเป็นเกมๆหนึ่ง เป็นการสะท้อนถึงทัศนคติด้านบวก เพราะการใช้อุปมาอุปไมยนี้บอกให้เรารู้ว่าจะจัดการกับมันอย่างไรถ้าเรา เปรียบเทียบกับเกม ในเกมย่อมมีผู้ชนะ มีกติกา ระบุวิธีการเล่นและมีการฝึกฝน เป็นต้น

3. การมีจิตใจจดจ่อ : เป็นประเด็นถัด มาได้หยิบยกคำพูดของแบรนสันที่ว่า “เมื่อเราเล่นเกม เราก็ต้องจดจ่ออยู่กับเกมโดยไม่คิดสิ่งอื่นถึงจะดี” อธิบาย ถึง การที่เราจะประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่ว่าเราต้องทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันให้ เสร็จ แต่สำคัญที่จิตใจที่จดจ่อกับปัญหาหนึ่งอย่างแน่วแน่จนค้นพบคำตอบ เพราะอุปสรรค์ที่ขัดขวางความสำเร็จนั่นก็คือการที่เราเถลไถลไปกับสิ่งอื่น หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เรามีจิตใจจดจ่อได้ดีคือการสร้างพื้นที่หรือ ห้องภายในจิตใจ ซึ่งเป็นเทคนิคของ แดน เคเนดี้ นักการตลาดชั้นนำระดับโลก กล่าวคือ เมื่อเราเข้าห้องนั้นเราคิดถึงสิ่งนั้นเพียงสิ่งเดียว เราจะกำจัดทุกสิ่งทุกอย่างออกไป เมื่อเราออกนอกห้อง เราจะปิดประตูหัวข้อนั้นแล้วเข้าห้องอื่น ดังนั้นเราจะหยุดคิดหัวข้อที่ผ่านมาแล้ว อธิบายได้ว่าการที่เราจะทำอะไรเราต้องพุ่งสมาธิทั้งหมดเพื่อจดจ่อกับเรื่อง นั้น ทุ่มเทความคิดทั้งหมดและเมื่อคิดเสร็จแล้ว เราค่อยไปคิดเรื่องอื่นๆ

4. การสร้างสมดุลให้กับตนเอง : การที่เรามีความเชื่อในพลังด้านหนึ่งของตนเอง ก็ต้องทำให้พลังอีกด้านหนึ่งของเราถูกใช้ไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุล ซึ่งเราจะพบว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จหรือเป็นอัจฉริยะหลายด้าน จะมีความสมดุลระหว่างการคิดและการกระทำ สำหรับความสมดุลของแบรนสันคือ การคิดมักเกิดขึ้นในสถานการณ์ทำงาน ส่วนการกระทำมักเกิดขึ้นในกิจกรรมผจญภัย แต่อย่างไรก็ตามการสร้างสมดุลในที่นี้รวมไปถึงการพักผ่อนอีกด้วย นั่นคือเมื่อเราใช้ความคิด ใช้พลังงาน เราจะรู้สึกเหนื่อยล้า ทางที่ดีเราก็ควรจะปรับสมดุลให้เกิดการฟื้นตัว อย่าฝืน การได้งีบสักครู่จะช่วยให้เราสดชื่นทั้งร่างกายและจิตใจ สำหรับแบรนสันก็เข้าใจหลักนี้ดีและเขาก็ใช้กลยุทธนี้เพื่อให้ทำงานติดต่อกัน ได้หลายชั่วโมงแล้วเขาก็ใช้เวลาในการงีบหลับสักหนึ่งถึงสองชั่วโมง นี่เป็นความเชื่อและกลยุทธที่พบได้เสมอในผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งหลาย

5. การเชื่อมั่นในตนเอง : สำหรับในหัวข้อนี้มีประโยคเด็ดที่น่าสนใจคือ “ผมต้องการพิสูจน์ว่าพวกเราคิดผิด” เป็นการลบคำพูดที่บั่นทอนความสามารถของเรา เช่น เป็นไปไม่ได้หรอก ฉันทำไม่ได้หรอก ให้กลายเป็นอีกประโยคหนึ่งคือ  “ฉันเชื่อว่าทำได้” เป็นการสร้างทัศนคติ ด้านบวกให้กับตนเอง คือทันทีที่แบรนสันคิดว่าฉันสามารถทำได้และฉันจะทำมัน ดังนั้น ฉันจะลงมือทำ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าเมื่อเขาวิเคราะห์เพียงพอแล้ว เขาจะไม่เสียเวลากลับไปทบทวนอีก เขาจะมุ่งลงมือทำและทำให้มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

6. สร้างความต่อเนื่องทางความคิด :  “ทุกวันนี้ แม้แต่ขณะที่ผมพักผ่อน ผมก็ไม่เคยหยุดคิด” กล่าวคือ แบรนสันไม่ได้แยกธุรกิจออกจากชีวิตส่วนตัว ในขณะที่เขาพักผ่อนเขาก็ยังคงครุ่นคิดเรื่องราวต่างๆ สร้างคำถามอยู่เสมอว่า “ผมจะทำอย่างไรดี” โดยเขาทดลองสร้างสถานการณ์ต่างๆในสมอง คิดวิธีแก้ปัญหาว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เขาควรทำอย่างไร จากนั้น “ผมจิกไม่ปล่อย” แบรนสันเรียกความเชื่อ นี้ว่าเป็นกลยุทธต่อต้านการผลัดวันประกันพรุ่ง เขาไม่ได้เลื่อนการกระทำหรือยึดติดกับสิ่งต่างๆแต่เขาจะตัดสินใจอย่างรวด เร็วแล้วลงมือทำ
ทางที่ไม่มีไฟ ใช่ว่าไม่มีทาง เพียงแค่การก้าวไปข้างหน้าต้องใช้มากกว่าการหวังพึ่งแค่ดวงตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
VSนักลงทุนอริยะ
Verified User
โพสต์: 349
ผู้ติดตาม: 0

ถอดรหัสสมอง ริชาร์ด แบรนสัน กลยุทธ์อัจฉริยะเชิงธุรกิจ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ดีจังเลยครับ ได้อ่านแล้วรู้สึกกลับมาเช็คตนเองว่า เรามีปัจจัยแห่งความสำเร็จในตัวเองอย่างนี้บ้างหรือเปล่า
ผมไตร่ตรองแล้วก็จะคล้าย ๆ หลัก อิทธิบาท 4 ของเรานะครับ  
ฉันทะ มีความสุขและสนุกกับสิ่งที่ทำ
วิริยะ  กัดไม่ปล่อย
จิตตะ  focus เรื่องนั้นจนกว่าจะสำเร็จ ทีละเรื่อง
วิมังสา คิดใคร่ครวญตลอดเวลาที่มีลมหายใจ

ผมก็คิด พูด และทำ อยู่ทุกวันครับ ผู้อ่านก็ต้องคิด พูด ทำ ให้ดีเช่นกันนะครับ เป็นกำลังใจครับ และอยากจะให้ brief book อย่างนี้อีก อย่าพึ่งท้อนะครับ  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:
โพสต์โพสต์