"เจาะลึก-เจาะใจ" พฤติกรรมคนไทย อ่านเกม-เดาใจผู้บริ
-
- Verified User
- โพสต์: 1487
- ผู้ติดตาม: 0
"เจาะลึก-เจาะใจ" พฤติกรรมคนไทย อ่านเกม-เดาใจผู้บริ
โพสต์ที่ 1
วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4209 ประชาชาติธุรกิจ
"เจาะลึก-เจาะใจ" พฤติกรรมคนไทย อ่านเกม-เดาใจผู้บริโภคแบบมีกึ๋น
เราได้ยินจนคุ้นหูว่าประเทศไทยจะมีคนแก่มากขึ้น และนักวิชาการบางคนบอกว่า รัฐบาลควรจะเร่งรณรงค์ให้คนไทยมีลูกมากขึ้นได้แล้ว เพราะอนาคตประเทศไทยจะขาดแคลนแรงงานอย่างแน่นอน อย่างกรณีไต้หวันมีปัญหาเช่นเดียวกับไทย รัฐบาลเขามีนโยบายให้เงินอุดหนุนครอบครัวที่มีลูกอย่างเต็มที่ แล้วประเทศไทยล่ะกำลังทำอะไรเพื่อรองรับปัญหานี้บ้าง ยังเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ
เมื่อโครงสร้าง "คน" เปลี่ยน ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนนี่เอง ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ศึกษาผลกระทบ "โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง ทำให้การบริโภคของไทยเปลี่ยนอย่างไร ?"
งานวิจัยระบุว่า เรากำลังกลายเป็นสังคมของ "คนแก่" ก่อนกำหนด ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเท่าไรนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าแปลกใจและน่าเป็นห่วง โดยอายุกึ่งกลางของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 32 ปี ซึ่งเป็นระดับเดียวกับสิงคโปร์และเกาหลี ที่มีรายได้สูงกว่าไทยเกือบ 4 เท่า และกว่า 2 เท่าตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าไทยกำลังขาดแคลนแรงงานในขณะที่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะของแรงงาน สะสมทุนและเทคโนโลยีขึ้นมาได้ทันพอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้จริง
การเปลี่ยนทางโครงสร้างประชากรที่สำคัญและเด่นชัดมาก คือ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ "คนแก่" โดยในปี 2537 โครงสร้าง "เด็ก" มีฐานกว้าง แต่ปี 2563 โครงสร้างจาก "พีระมิด" ของประชากรจะเปลี่ยนเป็นรูปทรงคล้ายเหยือกมากขึ้น โดยกลุ่มคนอายุ 40-49 ปีเป็นส่วนที่กว้างที่สุด ทั้งนี้ในระหว่างช่วงปี 2550-2563 สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจะลดจาก 22% เป็น 17% ขณะที่คน 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 11% เป็น 17% ซึ่งแม้จะดูเป็นการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่คิดเป็นจำนวนผู้สูงวัย 12 ล้านคน ภายในปี 2563 เพิ่มขึ้นถึงกว่า 60% ทีเดียว และจะมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว !
ปัญหาที่ไทยเผชิญอยู่ คือ อายุเฉลี่ยของคนอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเช่นเดียวกับประเทศยากจน แต่อัตราการเกิดของเราต่ำคล้ายกับประเทศร่ำรวย อัตราการเติบโตของคนวัยทำงานจะลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมักสะท้อนถึงโครงสร้างประชากร ประเทศที่มีคนวัยทำงานขยายตัวอย่างรวดเร็วมักมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วไปด้วย อันเป็นปรากฏการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ "การปันผลทางประชากร" (demographic dividend)
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อศึกษาลึกลงไปพบว่าไม่ใช่เพียงแค่ประชากรสูงวัยขึ้นเท่านั้น แต่พฤติกรรมยังเปลี่ยนแปลงด้วย โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยมีแนวโน้มที่จะ "แต่งงาน" ในช่วงอายุ 20-29 ปี หากหย่าร้าง ก็มักจะเกิดขึ้นในช่วง 40-49 ปี และในช่วง 70-79 ปีหลายคน ก็เป็นม่าย หากมีชีวิตถึงช่วง 80-89 ปี โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หญิง ดังนั้นการระบุถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจึงต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ของสถานะของแต่ละช่วงอายุ
"แต่งงานช้าลง" เห็นได้ชัดว่าผู้คนต่างแต่งงานกันช้าลง เช่น เห็นได้จากสัดส่วนของช่วงอายุ 20-29 ปี แต่งงานลดลง จากประมาณ 55% ในปี 2537 เป็นประมาณ 50% ในปี 2550 ซึ่งเราคาดว่าสัดส่วนนี้จะลดลงไปเหลือประมาณ 45% ภายในปี 2563
"ทำงานมากขึ้น" (อย่างน้อยก็ในกลุ่มผู้หญิง) ขณะที่สัดส่วนผู้ชายที่ทำงานไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สัดส่วนผู้หญิงทำงานกลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไม่เหมือนในประเทศอื่น ๆ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหญิงทำงานมิได้มาจากผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ แต่เป็นเพราะจำนวนผู้หญิงทำงานที่อายุยังน้อยมีสัดส่วนสูงอยู่แล้วในไทย ทั้งนี้มีผู้หญิงจำนวนมากราว 74% ของช่วงอายุ 20-29 ปีที่ทำงานอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2537 ดังนั้นสัดส่วนนี้จึงไม่น่าเพิ่มขึ้นได้มาก อาจเพิ่มขึ้นเป็นราว 77% ในปี 2563
ในทางตรงกันข้าม จำนวนผู้หญิงทำงานที่มีอายุมากจะเพิ่มสูงขึ้นมากทีเดียว เพราะมี "สต๊อก" ของผู้หญิงที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในอดีตที่ยังคงทำงานอยู่ ประเด็นนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรของผู้บริโภคที่สำคัญ สัดส่วนของคนทำงาน ผู้หญิงอายุ 30-39 ปี และ 40-49 ปี เราคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากภายใน ปี 2563 โดยกลุ่มภรรยาที่เป็นแม่บ้านจะยิ่งหายากขึ้นทุกวัน เราคาดว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ทำงานที่มีอายุ 30-39 ปี และ 40-49 ปี จะลดลงเหลือเพียง 0.7 ล้านคน คิดเป็นน้อยกว่า 8% ของประชากรในกลุ่มช่วงอายุเหล่านั้น
"หย่าร้างมากขึ้น" สัดส่วนของคนอายุ 40-49 ปีที่หย่าหรือแยกกันอยู่ได้เพิ่มขึ้นจาก 3% เป็น 6% ในปี 2537 และ 2550 โดยเราคาดว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 7% ในปี 2563 ตัวเลขนี้แสดงถึงอัตราการหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ที่เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด โดยจำนวนการจดทะเบียนหย่าต่อการจดทะเบียนสมรสได้เพิ่มจากการหย่าร้างประมาณ 10 ครั้งต่อการแต่งงาน 100 ครั้ง ในปี 2537 เป็น 30 ครั้ง ในปี 2550
"มีลูกน้อยลง" ด้วยแนวโน้มที่การแต่งงานช้าลงและการเข้าสู่การทำงานของทั้งสามีและภรรยา จึงไม่น่าแปลกใจว่าคนจะมีลูกกันน้อยลง แม้กระทั่งครอบครัวที่มีลูกก็มีแนวโน้มที่ลูกจะแยกบ้าน ออกไปอยู่เองมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนครัวเรือนที่ไม่มีลูกอาศัยด้วยมีจำนวนมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีราว 9 ล้านคนในปี 2563 เพิ่มขึ้นจากราว 6 ล้านคนในปี 2550 ซึ่งกว่า 40% มาจากครอบครัวที่มีลูกแต่ลูกได้แยกครอบครัวไปแล้ว
อ่านเกม-เดาใจผู้บริโภค
ผลกระทบของผู้บริโภคบางประการที่ชัดเจน ภายในปี 2563 จำนวนผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้นอีก 4.5 ล้านคน ขณะที่จำนวนเด็กจะลดลง 2.5 ล้านคน ดังนั้นธุรกิจที่ตอบสนองกลุ่มแรก เช่น โรงพยาบาล จะได้ประโยชน์มากกว่าธุรกิจที่ตอบสนองกลุ่มหลัง เช่น โรงเรียน อย่างไรก็ดียังมีแนวโน้มสำหรับในทุกเซ็กเตอร์เช่นกัน เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มคุณสมบัติของอุปกรณ์เข้าไปมากขึ้น และมีรูปทรงเล็กลง แต่ผู้สูงวัยจะนิยมอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานง่ายมากกว่า
โครงสร้างของครัวเรือนที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการบริโภคในแต่ละธุรกิจแตกต่างกันไป ครัวเรือนที่แต่งงานมักใช้จ่ายสำหรับการคมนาคมมากกว่าครัวเรือนประเภทอื่น แต่ในทางตรงข้าม การใช้จ่ายด้านการสื่อสารกลับไม่แปรผันไปตามประเภทของครัวเรือน คนที่อยู่คนเดียวและคู่แต่งงานไม่มีลูก มักใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและสันทนาการมากกว่า การที่ครัวเรือน 2 ประเภทนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้การใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวไปได้ดี นอกจากนี้การขยายตัวต่อเนื่องของครัวเรือน 2 ประเภทนี้ยังจะส่งผลต่อความต้องการด้านที่อยู่อาศัยแบบอพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นสูงมากโดยไม่น่าแปลกใจ
ทั้งนี้ "จังหวะน้ำขึ้น" ของไทยไม่ค่อยมี ธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับโอกาสที่เกิดขึ้นในตลาดครัวเรือนแบบใหม่ ๆ แม้จะไม่ใช่กลุ่มตลาดที่ใหญ่มาก แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ตัวอย่างเช่น คนที่อยู่ตัวคนเดียว หรือแต่งงานโดยไม่มีลูกนั้น คิดเป็น 13% ของประชากร แต่มีการใช้จ่ายคิดเป็น 21% ของการใช้จ่ายรวม ทั้ง 2 กลุ่มตลาดนี้เป็นประชากรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาดเหล่านี้ รวมถึงเทรนด์ย่อยอื่น ๆ ที่กล่าวถึงในส่วนที่ผ่านมา (เช่น ครอบครัวที่บุตรหลานแยกบ้านออกไป ครอบครัวที่ไม่ใช่ครัวเรือนเดี่ยว) ต่างเป็นความท้าทายและโอกาสของธุรกิจเช่นกัน
จากการเจาะลึกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล พบความจริงที่ว่าคนนิยมอาศัยในคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในปี 2550 จากปี 2537 หรือมีสัดส่วน ราว 13% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดรองจากทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยว
แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ คู่แต่งงานไม่มีลูกเป็นลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมมากที่สุด โดยในปี 2550 มีสัดส่วนกว่า 36% แซงหน้าครัวเรือนประเภทที่อยู่คนเดียวที่เคยมีสัดส่วนสูงสุดในปี 2537 ที่ประมาณ 28% อีกทั้งยังเป็นลักษณะครัวเรือนที่ย้ายมาอยู่คอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นสูงที่สุดด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม ราว 15% ต่อปี โตเร็วกว่าครัวเรือนประเภทที่อยู่คนเดียวที่โตประมาณ 10% ต่อปี
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การตัดสินใจระหว่างเลือกสร้างบ้านเดี่ยวขาย หรือคอนโดมิเนียมอาจไม่พออีกต่อไป แต่ต้องตัดสินใจต่อด้วยว่าจะสร้างประเภทไหนถึงจะถูกใจ ผู้ซื้อและขายได้ดี จำนวนคู่แต่งงานไม่มีลูก ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญสำหรับตลาดคอนโดมิเนียม และที่เราคาดว่าจะโตต่อเนื่องไปอีกค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่คิดจะสร้างคอนโดมิเนียมขายอาจต้องปรับกลยุทธ์ให้ตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสมกล่าวคือ แทนที่จะมุ่งเน้นห้องพักประเภท studio มีพื้นที่ใช้สอยไม่มากเท่าที่จำเป็นสำหรับอยู่คนเดียว ตั้งอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้ามาเป็นจัดให้มีห้องพักประเภท 1-2 ห้องนอน หรือแม้กระทั่งแบบ 2 ชั้น (duplex) มีพื้นที่ใช้สอยพอสมควร อาจมีครัวย่อม ๆ มีที่จอดรถเพียงพอ ตั้งอยู่ใกล้ lifestyle mall หรือมี retail area อยู่ชั้นล่าง ไม่จำเป็นต้องใกล้แนวรถไฟฟ้าหรือโรงเรียน เพื่อให้ง่ายกับการพักผ่อนช่วงวันเสาร์-อาทิตย์
แนวโน้มที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรนั้น มิใช่ส่งผลต่อรูปแบบการบริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจและสังคมด้วย การออมของครัวเรือนนั้นลดต่ำลงเมื่อผู้คนสูงวัยขึ้น หลายอุตสาหกรรมยังมีการดำเนินงานภายใต้สภาวะที่ประเมินไว้ เมื่อยังมีแรงงานมากและราคาถูก แต่การทำธุรกิจแบบ "business as usual" จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมลดลงเพราะแรงงานจะเติบโตช้าลงมากในอนาคต จึงจะมีความต้องการแรงงานต่างชาติสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้อง แล้วเราจะดูแลผู้สูงวัยของเราอย่างไร อัตราการพึ่งพิงที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วหมายความว่า ผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุนประกันสังคมสำหรับวัยเกษียณในปัจจุบันที่มีการจ่ายสมทบเข้ามานั้น จะถึงจุดที่รับไม่ไหวสักวันหนึ่ง เพราะจะกลายเป็นว่ามีคนทำงานที่จ่ายเงินสมทบเข้ามาน้อยลงเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่มีมากขึ้น
ธุรกิจต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เมื่อกำลังแรงงานสูงวัยมากขึ้น คนทำงานที่มีอายุมากกว่าจะต้องทำตัวให้ชินกับการทำงานกับหัวหน้าที่มีอายุน้อยกว่า อีกทั้งจะมีหัวหน้าที่เป็นผู้หญิงมาก เพราะได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น
การพัฒนาไปสู่สังคมประชากรสูงวัยของไทยเป็นความท้าทาย เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วเกินกว่า ความพร้อมของนโยบาย การบริหารจัดการ เศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นภาครัฐ กลุ่มธุรกิจ และผู้ประกอบการ ไม่เพียงต้องปรับตัวเพื่อพร้อมรับมือ แต่ควรปรับตัวเพื่อฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงนี้
คำถามจึงคงไม่ใช่ "ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดขึ้น ?" แต่เป็น "จะต้องทำอย่างไรให้พร้อมรับมือและฉกฉวยโอกาสที่พึงจะเกิดขึ้น ?"
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-05-13
"เจาะลึก-เจาะใจ" พฤติกรรมคนไทย อ่านเกม-เดาใจผู้บริโภคแบบมีกึ๋น
เราได้ยินจนคุ้นหูว่าประเทศไทยจะมีคนแก่มากขึ้น และนักวิชาการบางคนบอกว่า รัฐบาลควรจะเร่งรณรงค์ให้คนไทยมีลูกมากขึ้นได้แล้ว เพราะอนาคตประเทศไทยจะขาดแคลนแรงงานอย่างแน่นอน อย่างกรณีไต้หวันมีปัญหาเช่นเดียวกับไทย รัฐบาลเขามีนโยบายให้เงินอุดหนุนครอบครัวที่มีลูกอย่างเต็มที่ แล้วประเทศไทยล่ะกำลังทำอะไรเพื่อรองรับปัญหานี้บ้าง ยังเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ
เมื่อโครงสร้าง "คน" เปลี่ยน ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนนี่เอง ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ศึกษาผลกระทบ "โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง ทำให้การบริโภคของไทยเปลี่ยนอย่างไร ?"
งานวิจัยระบุว่า เรากำลังกลายเป็นสังคมของ "คนแก่" ก่อนกำหนด ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเท่าไรนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าแปลกใจและน่าเป็นห่วง โดยอายุกึ่งกลางของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 32 ปี ซึ่งเป็นระดับเดียวกับสิงคโปร์และเกาหลี ที่มีรายได้สูงกว่าไทยเกือบ 4 เท่า และกว่า 2 เท่าตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าไทยกำลังขาดแคลนแรงงานในขณะที่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะของแรงงาน สะสมทุนและเทคโนโลยีขึ้นมาได้ทันพอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้จริง
การเปลี่ยนทางโครงสร้างประชากรที่สำคัญและเด่นชัดมาก คือ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ "คนแก่" โดยในปี 2537 โครงสร้าง "เด็ก" มีฐานกว้าง แต่ปี 2563 โครงสร้างจาก "พีระมิด" ของประชากรจะเปลี่ยนเป็นรูปทรงคล้ายเหยือกมากขึ้น โดยกลุ่มคนอายุ 40-49 ปีเป็นส่วนที่กว้างที่สุด ทั้งนี้ในระหว่างช่วงปี 2550-2563 สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจะลดจาก 22% เป็น 17% ขณะที่คน 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 11% เป็น 17% ซึ่งแม้จะดูเป็นการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่คิดเป็นจำนวนผู้สูงวัย 12 ล้านคน ภายในปี 2563 เพิ่มขึ้นถึงกว่า 60% ทีเดียว และจะมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว !
ปัญหาที่ไทยเผชิญอยู่ คือ อายุเฉลี่ยของคนอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเช่นเดียวกับประเทศยากจน แต่อัตราการเกิดของเราต่ำคล้ายกับประเทศร่ำรวย อัตราการเติบโตของคนวัยทำงานจะลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมักสะท้อนถึงโครงสร้างประชากร ประเทศที่มีคนวัยทำงานขยายตัวอย่างรวดเร็วมักมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วไปด้วย อันเป็นปรากฏการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ "การปันผลทางประชากร" (demographic dividend)
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อศึกษาลึกลงไปพบว่าไม่ใช่เพียงแค่ประชากรสูงวัยขึ้นเท่านั้น แต่พฤติกรรมยังเปลี่ยนแปลงด้วย โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยมีแนวโน้มที่จะ "แต่งงาน" ในช่วงอายุ 20-29 ปี หากหย่าร้าง ก็มักจะเกิดขึ้นในช่วง 40-49 ปี และในช่วง 70-79 ปีหลายคน ก็เป็นม่าย หากมีชีวิตถึงช่วง 80-89 ปี โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หญิง ดังนั้นการระบุถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจึงต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ของสถานะของแต่ละช่วงอายุ
"แต่งงานช้าลง" เห็นได้ชัดว่าผู้คนต่างแต่งงานกันช้าลง เช่น เห็นได้จากสัดส่วนของช่วงอายุ 20-29 ปี แต่งงานลดลง จากประมาณ 55% ในปี 2537 เป็นประมาณ 50% ในปี 2550 ซึ่งเราคาดว่าสัดส่วนนี้จะลดลงไปเหลือประมาณ 45% ภายในปี 2563
"ทำงานมากขึ้น" (อย่างน้อยก็ในกลุ่มผู้หญิง) ขณะที่สัดส่วนผู้ชายที่ทำงานไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สัดส่วนผู้หญิงทำงานกลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไม่เหมือนในประเทศอื่น ๆ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหญิงทำงานมิได้มาจากผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ แต่เป็นเพราะจำนวนผู้หญิงทำงานที่อายุยังน้อยมีสัดส่วนสูงอยู่แล้วในไทย ทั้งนี้มีผู้หญิงจำนวนมากราว 74% ของช่วงอายุ 20-29 ปีที่ทำงานอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2537 ดังนั้นสัดส่วนนี้จึงไม่น่าเพิ่มขึ้นได้มาก อาจเพิ่มขึ้นเป็นราว 77% ในปี 2563
ในทางตรงกันข้าม จำนวนผู้หญิงทำงานที่มีอายุมากจะเพิ่มสูงขึ้นมากทีเดียว เพราะมี "สต๊อก" ของผู้หญิงที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในอดีตที่ยังคงทำงานอยู่ ประเด็นนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรของผู้บริโภคที่สำคัญ สัดส่วนของคนทำงาน ผู้หญิงอายุ 30-39 ปี และ 40-49 ปี เราคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากภายใน ปี 2563 โดยกลุ่มภรรยาที่เป็นแม่บ้านจะยิ่งหายากขึ้นทุกวัน เราคาดว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ทำงานที่มีอายุ 30-39 ปี และ 40-49 ปี จะลดลงเหลือเพียง 0.7 ล้านคน คิดเป็นน้อยกว่า 8% ของประชากรในกลุ่มช่วงอายุเหล่านั้น
"หย่าร้างมากขึ้น" สัดส่วนของคนอายุ 40-49 ปีที่หย่าหรือแยกกันอยู่ได้เพิ่มขึ้นจาก 3% เป็น 6% ในปี 2537 และ 2550 โดยเราคาดว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 7% ในปี 2563 ตัวเลขนี้แสดงถึงอัตราการหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ที่เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด โดยจำนวนการจดทะเบียนหย่าต่อการจดทะเบียนสมรสได้เพิ่มจากการหย่าร้างประมาณ 10 ครั้งต่อการแต่งงาน 100 ครั้ง ในปี 2537 เป็น 30 ครั้ง ในปี 2550
"มีลูกน้อยลง" ด้วยแนวโน้มที่การแต่งงานช้าลงและการเข้าสู่การทำงานของทั้งสามีและภรรยา จึงไม่น่าแปลกใจว่าคนจะมีลูกกันน้อยลง แม้กระทั่งครอบครัวที่มีลูกก็มีแนวโน้มที่ลูกจะแยกบ้าน ออกไปอยู่เองมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนครัวเรือนที่ไม่มีลูกอาศัยด้วยมีจำนวนมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีราว 9 ล้านคนในปี 2563 เพิ่มขึ้นจากราว 6 ล้านคนในปี 2550 ซึ่งกว่า 40% มาจากครอบครัวที่มีลูกแต่ลูกได้แยกครอบครัวไปแล้ว
อ่านเกม-เดาใจผู้บริโภค
ผลกระทบของผู้บริโภคบางประการที่ชัดเจน ภายในปี 2563 จำนวนผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้นอีก 4.5 ล้านคน ขณะที่จำนวนเด็กจะลดลง 2.5 ล้านคน ดังนั้นธุรกิจที่ตอบสนองกลุ่มแรก เช่น โรงพยาบาล จะได้ประโยชน์มากกว่าธุรกิจที่ตอบสนองกลุ่มหลัง เช่น โรงเรียน อย่างไรก็ดียังมีแนวโน้มสำหรับในทุกเซ็กเตอร์เช่นกัน เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มคุณสมบัติของอุปกรณ์เข้าไปมากขึ้น และมีรูปทรงเล็กลง แต่ผู้สูงวัยจะนิยมอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานง่ายมากกว่า
โครงสร้างของครัวเรือนที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการบริโภคในแต่ละธุรกิจแตกต่างกันไป ครัวเรือนที่แต่งงานมักใช้จ่ายสำหรับการคมนาคมมากกว่าครัวเรือนประเภทอื่น แต่ในทางตรงข้าม การใช้จ่ายด้านการสื่อสารกลับไม่แปรผันไปตามประเภทของครัวเรือน คนที่อยู่คนเดียวและคู่แต่งงานไม่มีลูก มักใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและสันทนาการมากกว่า การที่ครัวเรือน 2 ประเภทนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้การใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวไปได้ดี นอกจากนี้การขยายตัวต่อเนื่องของครัวเรือน 2 ประเภทนี้ยังจะส่งผลต่อความต้องการด้านที่อยู่อาศัยแบบอพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นสูงมากโดยไม่น่าแปลกใจ
ทั้งนี้ "จังหวะน้ำขึ้น" ของไทยไม่ค่อยมี ธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับโอกาสที่เกิดขึ้นในตลาดครัวเรือนแบบใหม่ ๆ แม้จะไม่ใช่กลุ่มตลาดที่ใหญ่มาก แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ตัวอย่างเช่น คนที่อยู่ตัวคนเดียว หรือแต่งงานโดยไม่มีลูกนั้น คิดเป็น 13% ของประชากร แต่มีการใช้จ่ายคิดเป็น 21% ของการใช้จ่ายรวม ทั้ง 2 กลุ่มตลาดนี้เป็นประชากรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาดเหล่านี้ รวมถึงเทรนด์ย่อยอื่น ๆ ที่กล่าวถึงในส่วนที่ผ่านมา (เช่น ครอบครัวที่บุตรหลานแยกบ้านออกไป ครอบครัวที่ไม่ใช่ครัวเรือนเดี่ยว) ต่างเป็นความท้าทายและโอกาสของธุรกิจเช่นกัน
จากการเจาะลึกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล พบความจริงที่ว่าคนนิยมอาศัยในคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในปี 2550 จากปี 2537 หรือมีสัดส่วน ราว 13% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดรองจากทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยว
แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ คู่แต่งงานไม่มีลูกเป็นลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมมากที่สุด โดยในปี 2550 มีสัดส่วนกว่า 36% แซงหน้าครัวเรือนประเภทที่อยู่คนเดียวที่เคยมีสัดส่วนสูงสุดในปี 2537 ที่ประมาณ 28% อีกทั้งยังเป็นลักษณะครัวเรือนที่ย้ายมาอยู่คอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นสูงที่สุดด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม ราว 15% ต่อปี โตเร็วกว่าครัวเรือนประเภทที่อยู่คนเดียวที่โตประมาณ 10% ต่อปี
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การตัดสินใจระหว่างเลือกสร้างบ้านเดี่ยวขาย หรือคอนโดมิเนียมอาจไม่พออีกต่อไป แต่ต้องตัดสินใจต่อด้วยว่าจะสร้างประเภทไหนถึงจะถูกใจ ผู้ซื้อและขายได้ดี จำนวนคู่แต่งงานไม่มีลูก ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญสำหรับตลาดคอนโดมิเนียม และที่เราคาดว่าจะโตต่อเนื่องไปอีกค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่คิดจะสร้างคอนโดมิเนียมขายอาจต้องปรับกลยุทธ์ให้ตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสมกล่าวคือ แทนที่จะมุ่งเน้นห้องพักประเภท studio มีพื้นที่ใช้สอยไม่มากเท่าที่จำเป็นสำหรับอยู่คนเดียว ตั้งอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้ามาเป็นจัดให้มีห้องพักประเภท 1-2 ห้องนอน หรือแม้กระทั่งแบบ 2 ชั้น (duplex) มีพื้นที่ใช้สอยพอสมควร อาจมีครัวย่อม ๆ มีที่จอดรถเพียงพอ ตั้งอยู่ใกล้ lifestyle mall หรือมี retail area อยู่ชั้นล่าง ไม่จำเป็นต้องใกล้แนวรถไฟฟ้าหรือโรงเรียน เพื่อให้ง่ายกับการพักผ่อนช่วงวันเสาร์-อาทิตย์
แนวโน้มที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรนั้น มิใช่ส่งผลต่อรูปแบบการบริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจและสังคมด้วย การออมของครัวเรือนนั้นลดต่ำลงเมื่อผู้คนสูงวัยขึ้น หลายอุตสาหกรรมยังมีการดำเนินงานภายใต้สภาวะที่ประเมินไว้ เมื่อยังมีแรงงานมากและราคาถูก แต่การทำธุรกิจแบบ "business as usual" จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมลดลงเพราะแรงงานจะเติบโตช้าลงมากในอนาคต จึงจะมีความต้องการแรงงานต่างชาติสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้อง แล้วเราจะดูแลผู้สูงวัยของเราอย่างไร อัตราการพึ่งพิงที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วหมายความว่า ผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุนประกันสังคมสำหรับวัยเกษียณในปัจจุบันที่มีการจ่ายสมทบเข้ามานั้น จะถึงจุดที่รับไม่ไหวสักวันหนึ่ง เพราะจะกลายเป็นว่ามีคนทำงานที่จ่ายเงินสมทบเข้ามาน้อยลงเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่มีมากขึ้น
ธุรกิจต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เมื่อกำลังแรงงานสูงวัยมากขึ้น คนทำงานที่มีอายุมากกว่าจะต้องทำตัวให้ชินกับการทำงานกับหัวหน้าที่มีอายุน้อยกว่า อีกทั้งจะมีหัวหน้าที่เป็นผู้หญิงมาก เพราะได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น
การพัฒนาไปสู่สังคมประชากรสูงวัยของไทยเป็นความท้าทาย เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วเกินกว่า ความพร้อมของนโยบาย การบริหารจัดการ เศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นภาครัฐ กลุ่มธุรกิจ และผู้ประกอบการ ไม่เพียงต้องปรับตัวเพื่อพร้อมรับมือ แต่ควรปรับตัวเพื่อฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงนี้
คำถามจึงคงไม่ใช่ "ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดขึ้น ?" แต่เป็น "จะต้องทำอย่างไรให้พร้อมรับมือและฉกฉวยโอกาสที่พึงจะเกิดขึ้น ?"
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-05-13
ในการลงทุนระยะยาว ใครนิ่งได้มากกว่า คนนั้นชนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 807
- ผู้ติดตาม: 0
"เจาะลึก-เจาะใจ" พฤติกรรมคนไทย อ่านเกม-เดาใจผู้บริ
โพสต์ที่ 3
สร้างประชากรกันเถอะ
อย่ายอมแพ้
- manza125
- Verified User
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
"เจาะลึก-เจาะใจ" พฤติกรรมคนไทย อ่านเกม-เดาใจผู้บริ
โพสต์ที่ 5
- จำนวนประชากร (มี.ค. 2553)
67.1 ล้านคน
ชาย 32.9 ล้านคน
หญิง 34.1 ล้านคน
- อัตราการว่างงาน(มี.ค. 2553) 1.0 %
- รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน
(6 เดือนแรก ปี 2552) 21,135 บาท
- ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน
(6 เดือนแรก ปี 2552) 16,255 บาท
- ครัวเรือนมีหนี้ในระบบอย่างเดียว
(6 เดือนแรก ปี 2552) 82.9 %
- ครัวเรือนมีหนี้นอกระบบอย่างเดียว
(6 เดือนแรก ปี 2552) 7.4%
------------------------------------------------------------
ประชากรก็ไม่น้อยนะครับ เพิ่มขึ้นทุกปีๆ แต่ปัญหาอยู่ที่เงินเดือนซะมากกว่า
ที่ว่าเอาคนต่างชาติมาทำงาน นั้นพวกพม่า ลาว อะไรแบบนั้นรึป่าว มาทำงานพวกเป็นนักงานกวาดขยะ เก็บขยะ ตัด เย็บ ฯลฯ อะไรแบบนั้น
ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ทำกับหรอกครับงานแบบนั้น (ติดหรู เกื่องงานอีก) เพราะเค้าต้องการเงินเดือนที่มากๆ
เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของประเทศกำลังพัฒนา
(ลองให้เงินเดือนผมซักแสนสิ จะปั้มลูกให้อยู่แม่งทุกจังหวัดเลยครับ (76))
ถ้าตีความหมายผิดขอโทษด้วยครับ อ่านไม่หมดตาลาย
67.1 ล้านคน
ชาย 32.9 ล้านคน
หญิง 34.1 ล้านคน
- อัตราการว่างงาน(มี.ค. 2553) 1.0 %
- รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน
(6 เดือนแรก ปี 2552) 21,135 บาท
- ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน
(6 เดือนแรก ปี 2552) 16,255 บาท
- ครัวเรือนมีหนี้ในระบบอย่างเดียว
(6 เดือนแรก ปี 2552) 82.9 %
- ครัวเรือนมีหนี้นอกระบบอย่างเดียว
(6 เดือนแรก ปี 2552) 7.4%
------------------------------------------------------------
ประชากรก็ไม่น้อยนะครับ เพิ่มขึ้นทุกปีๆ แต่ปัญหาอยู่ที่เงินเดือนซะมากกว่า
ที่ว่าเอาคนต่างชาติมาทำงาน นั้นพวกพม่า ลาว อะไรแบบนั้นรึป่าว มาทำงานพวกเป็นนักงานกวาดขยะ เก็บขยะ ตัด เย็บ ฯลฯ อะไรแบบนั้น
ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ทำกับหรอกครับงานแบบนั้น (ติดหรู เกื่องงานอีก) เพราะเค้าต้องการเงินเดือนที่มากๆ
เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของประเทศกำลังพัฒนา
(ลองให้เงินเดือนผมซักแสนสิ จะปั้มลูกให้อยู่แม่งทุกจังหวัดเลยครับ (76))
ถ้าตีความหมายผิดขอโทษด้วยครับ อ่านไม่หมดตาลาย
------------------------------
การพูด คือ อาหารของนักการเมือง
การวิเคราห์ คือ อาหารของวีไอ
การพูด คือ อาหารของนักการเมือง
การวิเคราห์ คือ อาหารของวีไอ