ROA สำคัญจริงหรือ
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับ
ผมมีความสงสัยอยากจะให้เพื่อนๆช่วยไขข้อข้องใจครับ ปัจจุบันผมเลือกหุ้นโดยใช้แนวทางของ Green Blatt ที่เลือกหุ้นที่มีส่วนผสมระหว่าง PE ที่ต่ำ กับ ROA ที่สูง โดยผมเพิ่มในส่วนของความสม่ำเสมอของกำไรในช่วง 5 ปี ประกอบด้วย ผมมีความสงสัยว่า การดู ROA ที่สูงมีประโยชน์จริงหรือ? เพราะ ROA มันคำนวณมาจากมูลค่าทรัพย์สินตามบัญชี แต่ในความเป็นจริง มูลค่าทรัพย์สินตามบัญชีอาจจะหลอกเราก็ได้ เช่น บริษัท A และ บริษัท B บริษัท A อาจจะเป็นบริษัทที่ตั้งมาก่อน ทรัพย์สินต่างๆเป็นมูลค่าที่ประเมินไว้เมื่อเข้าตลาด ทำให้มูลค่าต่ำกว่าราคาตลาด ในขณะที่บริษัท B เป็นบริษัทใหม่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้มูลค่าทรัพย์สินในบัญชีสูงกว่าบริษัท A หากทั้งสองบริษัททำกำไรได้เท่ากัน ก็จะทำให้ ROA ของ บริษัท A สูงกว่าบริษัท B ในขณะเดียวกัน ในการซื้อหุ้น หากเราตั้งสมมุติฐานไว้ว่า EPS คงที่ตลอดทั้งสองบริษัท ถ้าเราพบว่า PE ของบริษัท A = 8, ROA = 35, ขณะที่บริษัท B PE= 4, ROA = 5, มันดูเหมือนกับว่า บริษัท B จะไม่ค่อยน่าซื้อ เพราะ ROA ต่ำ แต่ผมลองมาคิดดูว่า หากเราซื้อบริษัท A เราจะได้ return ประมาณ 12.5% (ตาม PE) แต่หากเราซื้อบริษัท B เราจะได้ return ประมาณ 25% (ตาม PE) ส่วน ROA หรือ ROE ที่ต่ำนั้นน่าจะถือเป็นความผิดพลาดของผู้ลงทุนกลุ่มแรก แต่เราเป็นผู้ลงทุน ณ ปัจจุบัน ราคาที่เราซื้อคือราคาปัจจุบัน ผลตอบแทนที่เราได้รับ คือผลตอบแทนที่เทียบกับราคาที่เราซื้อปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ROA และ ROE เป็นผลตอบแทนที่เทียบกับราคาที่ลงทุนในอดีต ดังนั้นผมจึงคิดว่า เราควรจะเลือกหุ้นที่มี PE ต่ำ และมี PM และ EPS ที่สม่ำเสมอ มากกว่าเลือกหุ้นที่มี ROA หรือ ROE สูง ไม่ทราบว่าเพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
ผมมีความสงสัยอยากจะให้เพื่อนๆช่วยไขข้อข้องใจครับ ปัจจุบันผมเลือกหุ้นโดยใช้แนวทางของ Green Blatt ที่เลือกหุ้นที่มีส่วนผสมระหว่าง PE ที่ต่ำ กับ ROA ที่สูง โดยผมเพิ่มในส่วนของความสม่ำเสมอของกำไรในช่วง 5 ปี ประกอบด้วย ผมมีความสงสัยว่า การดู ROA ที่สูงมีประโยชน์จริงหรือ? เพราะ ROA มันคำนวณมาจากมูลค่าทรัพย์สินตามบัญชี แต่ในความเป็นจริง มูลค่าทรัพย์สินตามบัญชีอาจจะหลอกเราก็ได้ เช่น บริษัท A และ บริษัท B บริษัท A อาจจะเป็นบริษัทที่ตั้งมาก่อน ทรัพย์สินต่างๆเป็นมูลค่าที่ประเมินไว้เมื่อเข้าตลาด ทำให้มูลค่าต่ำกว่าราคาตลาด ในขณะที่บริษัท B เป็นบริษัทใหม่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้มูลค่าทรัพย์สินในบัญชีสูงกว่าบริษัท A หากทั้งสองบริษัททำกำไรได้เท่ากัน ก็จะทำให้ ROA ของ บริษัท A สูงกว่าบริษัท B ในขณะเดียวกัน ในการซื้อหุ้น หากเราตั้งสมมุติฐานไว้ว่า EPS คงที่ตลอดทั้งสองบริษัท ถ้าเราพบว่า PE ของบริษัท A = 8, ROA = 35, ขณะที่บริษัท B PE= 4, ROA = 5, มันดูเหมือนกับว่า บริษัท B จะไม่ค่อยน่าซื้อ เพราะ ROA ต่ำ แต่ผมลองมาคิดดูว่า หากเราซื้อบริษัท A เราจะได้ return ประมาณ 12.5% (ตาม PE) แต่หากเราซื้อบริษัท B เราจะได้ return ประมาณ 25% (ตาม PE) ส่วน ROA หรือ ROE ที่ต่ำนั้นน่าจะถือเป็นความผิดพลาดของผู้ลงทุนกลุ่มแรก แต่เราเป็นผู้ลงทุน ณ ปัจจุบัน ราคาที่เราซื้อคือราคาปัจจุบัน ผลตอบแทนที่เราได้รับ คือผลตอบแทนที่เทียบกับราคาที่เราซื้อปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ROA และ ROE เป็นผลตอบแทนที่เทียบกับราคาที่ลงทุนในอดีต ดังนั้นผมจึงคิดว่า เราควรจะเลือกหุ้นที่มี PE ต่ำ และมี PM และ EPS ที่สม่ำเสมอ มากกว่าเลือกหุ้นที่มี ROA หรือ ROE สูง ไม่ทราบว่าเพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
- picklife
- Verified User
- โพสต์: 2565
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 2
ในมุมมองผมยังไง บ.Aก็ดีกว่าครับ หากบริษัทAประเมินมูลค่าตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริงทำให้ROAดูสูงก็จริงอยู่นะครับ ดูแล้วเหมือนไม่ดี....แต่อย่าลืมว่ามูลค่าของกิจการจริงๆก็จะสูงกว่าที่แสดงไว้ ผมว่าก็เป็นการซ่อนขุททรัพย์ไว้ไม่ใช่หรอครับ? ดูแล้วก็มีทั้งดีและไม่ดีรวมกันผม่าก็คงๆครับ
ส่วนที่ว่าผลตอบแทนคือส่วนกลับของPEอันนี้พลาดแล้วนะครับ....พลาดครั้งใหญ่เลยครับ....ผมลองให้คุณลองตั้งสมการ 2กิจการนี้ดูนะครับ
ทั้งAและB และปรับราคาPEตามในปีต่อปี และลองสังเกตุที่Pให้ดีว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร? เปลี่ยนแปลงตามPEต่ำหรือROEสูง ดูให้ดีนะครับ
ส่วนที่ว่าผลตอบแทนคือส่วนกลับของPEอันนี้พลาดแล้วนะครับ....พลาดครั้งใหญ่เลยครับ....ผมลองให้คุณลองตั้งสมการ 2กิจการนี้ดูนะครับ
ทั้งAและB และปรับราคาPEตามในปีต่อปี และลองสังเกตุที่Pให้ดีว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร? เปลี่ยนแปลงตามPEต่ำหรือROEสูง ดูให้ดีนะครับ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 3
ถ้าบริษัท A กับ บริษัท B มีราคาทรัพย์สินตามมูลค่าตลาดเท่ากันล่ะครับ บริษัท A ก็ไม่ได้เปรียบบริษัท B
ส่วน PE นั้น ถ้าสมมุติว่าทั้งสองบริษัทปันผล 100% เช่นบริษัท A ซื้อ 80 บาท ได้ปันผล 10 บาท ก็จะได้ผลตอบแทนเท่ากับ 12.5% บริษัท B ซื้อ 40 บาท ได้ปันผล 10 บาท ก็จะได้ผลตอบแทนเท่ากับ 25% ถ้าบริษัทไม่มีการการเก็บกำไรไว้เลย ราคาก็จะเท่าเดิมถ้า PE เท่าเดิม ซึ่งท้ายที่สุด ผมว่า PE ก็น่าจะปรับมาใกล้เคียงกันในอนาคต หากผลประกอบการเท่ากัน
ที่ผมต้องสมมุติให้สองบริษัทเท่ากันทุกอย่าง เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ ในชีวิตจริงผมทราบว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ แต่มันก็ไม่ได้บอกเหมือนกันว่า บริษัท A ต้องดีกว่าบริษัท B หาก ROA มากกว่า ในทางตรงกันข้าม บริษัท B อาจจะดีกว่าก็ได้ เพียงแค่มีมูลค่าทรัพย์สินในบัญชีมากกว่าบริษัท A เท่านั้น พอดีผมดูงบดุลของบางบริษัท เกิดความสงสัยบางอย่าง เช่นราคาที่ดิน ที่ซื้อไว้ตั้งนานแล้ว ตอนนี้ราคาก็ไม่เท่าเดิม พวกตีกอาคาร เครื่องจักร ก็ถูกหักค่าเสื่อมไปหมด ซึ่งจริงๆแล้ว ก็ยังมีมูลค่าอยู่ ถ้าดูมูลค่าทรัพย์สินตามบัญชี ก็จะน้อย แต่หากคู่แข่งจะต้องทำโรงงานในแบบเดียวกัน มูลค่าทรัพย์สินอาจจะต้องเยอะกว่านี้มากก็เลยเกิดความสงสัยครับ
ส่วน PE นั้น ถ้าสมมุติว่าทั้งสองบริษัทปันผล 100% เช่นบริษัท A ซื้อ 80 บาท ได้ปันผล 10 บาท ก็จะได้ผลตอบแทนเท่ากับ 12.5% บริษัท B ซื้อ 40 บาท ได้ปันผล 10 บาท ก็จะได้ผลตอบแทนเท่ากับ 25% ถ้าบริษัทไม่มีการการเก็บกำไรไว้เลย ราคาก็จะเท่าเดิมถ้า PE เท่าเดิม ซึ่งท้ายที่สุด ผมว่า PE ก็น่าจะปรับมาใกล้เคียงกันในอนาคต หากผลประกอบการเท่ากัน
ที่ผมต้องสมมุติให้สองบริษัทเท่ากันทุกอย่าง เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ ในชีวิตจริงผมทราบว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ แต่มันก็ไม่ได้บอกเหมือนกันว่า บริษัท A ต้องดีกว่าบริษัท B หาก ROA มากกว่า ในทางตรงกันข้าม บริษัท B อาจจะดีกว่าก็ได้ เพียงแค่มีมูลค่าทรัพย์สินในบัญชีมากกว่าบริษัท A เท่านั้น พอดีผมดูงบดุลของบางบริษัท เกิดความสงสัยบางอย่าง เช่นราคาที่ดิน ที่ซื้อไว้ตั้งนานแล้ว ตอนนี้ราคาก็ไม่เท่าเดิม พวกตีกอาคาร เครื่องจักร ก็ถูกหักค่าเสื่อมไปหมด ซึ่งจริงๆแล้ว ก็ยังมีมูลค่าอยู่ ถ้าดูมูลค่าทรัพย์สินตามบัญชี ก็จะน้อย แต่หากคู่แข่งจะต้องทำโรงงานในแบบเดียวกัน มูลค่าทรัพย์สินอาจจะต้องเยอะกว่านี้มากก็เลยเกิดความสงสัยครับ
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 4
A ไม่ได้เปรียบยังไงครับchatree เขียน:ถ้าบริษัท A กับ บริษัท B มีราคาทรัพย์สินตามมูลค่าตลาดเท่ากันล่ะครับ บริษัท A ก็ไม่ได้เปรียบบริษัท B
ถ้า A ลงทุนเพิ่มอีก 100 บาท ได้ผลตอบแทนกลับมา 35 บาท
เทียบกับ B ที่ลงทุนเพิ่ม 100 บาท ได้ผลตอบแทน 5 บาท
ถ้าเงินที่ลงทุนเพิ่ม มีต้นทุนการเงิน 10% บริษัท A ขยาย มีแต่กำไรจะเพิ่ม
บริษัท B ขยายไม่ได้เลย เนื่องจากต้นทุนการเงินสูงกว่าผลตอบแทนสินทรัพย์
สำหรับผม PE เป็นตัวเรียบง่าย สะดวก และที่ดีที่สุด ในการดูมูลค่าหุ้น
แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่า คุณได้ Take ตัวแปรทุกตัวลงไปในสมองเรียบร้อยแล้ว
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- raiden
- Verified User
- โพสต์: 236
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 5
ถูกอย่างคุณ chatree ว่ามาเลยครับ
แบบนี้ เป็นกับดักของ VI เลย ซื้อหุ้นดูแต่ตัวเลขที่เห็นสวย ๆ ง่าย ๆ แค่นี้ไม่ได้
เลือกหุ้นที่ ROA ROE สูง ๆ เข้าไว้ ถือไว้ซักพักอาจจะได้หุ้น PE สูงลิ่วมากอดแทน
แบบนี้ เป็นกับดักของ VI เลย ซื้อหุ้นดูแต่ตัวเลขที่เห็นสวย ๆ ง่าย ๆ แค่นี้ไม่ได้
เลือกหุ้นที่ ROA ROE สูง ๆ เข้าไว้ ถือไว้ซักพักอาจจะได้หุ้น PE สูงลิ่วมากอดแทน
คนดี คนเก่ง คนรวย คนกล้าหาญ เป็นกันได้ โดยใช้คีย์บอร์ด
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 7
A ไม่ได้เปรียบ ฺB เพราะ ROA นั้นเป็น ROA ที่คำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินตามบัญชีครับ หากคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินจริงตามมูลค่าตลาด ก็จะได้ ROA เท่ากันครับLinzhi เขียน: A ไม่ได้เปรียบยังไงครับ
ถ้า A ลงทุนเพิ่มอีก 100 บาท ได้ผลตอบแทนกลับมา 35 บาท
เทียบกับ B ที่ลงทุนเพิ่ม 100 บาท ได้ผลตอบแทน 5 บาท
ถ้าเงินที่ลงทุนเพิ่ม มีต้นทุนการเงิน 10% บริษัท A ขยาย มีแต่กำไรจะเพิ่ม
บริษัท B ขยายไม่ได้เลย เนื่องจากต้นทุนการเงินสูงกว่าผลตอบแทนสินทรัพย์
สำหรับผม PE เป็นตัวเรียบง่าย สะดวก และที่ดีที่สุด ในการดูมูลค่าหุ้น
แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่า คุณได้ Take ตัวแปรทุกตัวลงไปในสมองเรียบร้อยแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 8
นิยามของ ROA คือ กำไรสุทธิ หารด้วยสินทรัพย์รวม
สินทรัพย์ =หนี้สิน + ทุน
นักลงทุนชอบ กำไรสุทธิมากๆ สินทรัพย์มากๆ
แล้ว ROA มันจะค่าไหนเหมาะสม
ถ้าผมให้ สินทรัพย์คงที่แล้ว
บริษัท A มี ROA =35
กับ บริษัท B มี ROA =5
ผมเลือก A เพราะนิยายข้างบน และสมุมติฐานที่ สินทรัพย์เท่ากัน
แต่อย่างไงก็ตาม ต้องดูอย่างอื่นประกอบ
เพราะ สินทรัพย์นั้นมาจาก ส่วนของหนี้สิน หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้นก็ได้
ROA ขยายได้ดังนี้
ROA = (กำไรสุทธิหารด้วยขายสุทธิ) คูณด้วย (ขายสุทธิหารด้วยสินทรัพย์รวม)
นั้นคืออะไรหรือ
อัตราส่วนของกำไรต่อยอดขาย คูณกับ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
ROA จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า อัตราความสามารถในการหากำไร(Earning Power) จากข้างต้น
สิ่งที่ดูต่อไปว่า บริษัท A กับบริษัท B อันไหนมีอัตราส่วนของกำไรต่อยอดขายดีกว่ากัน และ ใครที่สามารถมีอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมดีกว่ากัน
สินทรัพย์ =หนี้สิน + ทุน
นักลงทุนชอบ กำไรสุทธิมากๆ สินทรัพย์มากๆ
แล้ว ROA มันจะค่าไหนเหมาะสม
ถ้าผมให้ สินทรัพย์คงที่แล้ว
บริษัท A มี ROA =35
กับ บริษัท B มี ROA =5
ผมเลือก A เพราะนิยายข้างบน และสมุมติฐานที่ สินทรัพย์เท่ากัน
แต่อย่างไงก็ตาม ต้องดูอย่างอื่นประกอบ
เพราะ สินทรัพย์นั้นมาจาก ส่วนของหนี้สิน หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้นก็ได้
ROA ขยายได้ดังนี้
ROA = (กำไรสุทธิหารด้วยขายสุทธิ) คูณด้วย (ขายสุทธิหารด้วยสินทรัพย์รวม)
นั้นคืออะไรหรือ
อัตราส่วนของกำไรต่อยอดขาย คูณกับ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
ROA จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า อัตราความสามารถในการหากำไร(Earning Power) จากข้างต้น
สิ่งที่ดูต่อไปว่า บริษัท A กับบริษัท B อันไหนมีอัตราส่วนของกำไรต่อยอดขายดีกว่ากัน และ ใครที่สามารถมีอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมดีกว่ากัน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 9
ลองอ่านเรื่อง ROE และ ROA ที่เคยคุยกันเมื่อปี 2003 ดูครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 27&start=0
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 27&start=0
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 6427
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 10
เพิ่งฟัง ดร.วรศักดิ์ ในรายการ Money talk weekly จบไปเมื่อสักครู่
แกบอกว่า ROA ที่แท้จริงควรคิดจากกำไรสุทธิบวกดอกเบี้ยจ่าย เพราะว่าในสินทรัพย์นั้นมีส่วนที่เป็นหนี้สิน (ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย)รวมอยู่ด้วย
แกบอกว่า ROA ที่แท้จริงควรคิดจากกำไรสุทธิบวกดอกเบี้ยจ่าย เพราะว่าในสินทรัพย์นั้นมีส่วนที่เป็นหนี้สิน (ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย)รวมอยู่ด้วย
คนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ ย่อมมีโอกาสเรียนรู้
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณพี่ chatchai
อันนี้เป็นความผิดพลาดเล็กน้อยของผมที่
ลืมดูว่า biz model สำคัญกว่าพวกงบการเิงิน
เพราะ มันมีเวลามาเกี่ยวข้องด้วย
เวลาเปลี่ยนแปลงไป นักลงทุนก็เปลียนความคิด
อดีตไม่ได้เป็นเครื่องตัดสินปัจจุบัน และอนาคต
แต่อดีตบอกว่า ในอดีตคืนสำเร็จ แล้วอนาคตบริษัททำสำเร็จหรือเปล่า
เป็นคำถามที่น่าถาม
อันนี้เป็นความผิดพลาดเล็กน้อยของผมที่
ลืมดูว่า biz model สำคัญกว่าพวกงบการเิงิน
เพราะ มันมีเวลามาเกี่ยวข้องด้วย
เวลาเปลี่ยนแปลงไป นักลงทุนก็เปลียนความคิด
อดีตไม่ได้เป็นเครื่องตัดสินปัจจุบัน และอนาคต
แต่อดีตบอกว่า ในอดีตคืนสำเร็จ แล้วอนาคตบริษัททำสำเร็จหรือเปล่า
เป็นคำถามที่น่าถาม
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 12
คุณ Chatchai ใช่ท่านที่เป็นวิทยากรบนเวทีในงาน Money Talk หรือปล่าวครับ ถ้าใช่ ขอแสดงความชื่นชมด้วยนะครับกับความรู้ความสามารถของคุณฉัตรชัย
ผมถามเรื่องนี้ เพราะผมรู้สึกว่า พอผมสกรีนหุ้นที่มี ROA ต่ำกว่า 20 ออก ผมได้เอาหุ้นออกหลายตัว ที่แม้ ROA จะต่ำกว่า แต่มีผลกำไรที่ค่อนข้างแน่นอน และ PE ก็ต่ำด้วย ผมเลยมีความรู้สึกว่า ROA และ ROE มันคือผมตอบแทนของผู้ถือหุ้นชุดแรก เช่น หากมีคนลงทุนสร้างโรงงาน 100 ล้านบาท และสามารถทำกำไรได้ปีละ 5 ล้านบาท ROE ของเค้าก็คือ 5% แต่หากเจ้าของเก่าเค้าเบื่อแล้ว เอามาขายให้เราที่ราคา 50 ล้านบาท และบริษัทยังสามารถทำกำไรเท่าเดิม ROE ของเราก็จะเท่ากับ 10% ซึ่งหากดู PE ก็จะเท่ากับ 10 เท่า แต่หากดู ROE ตาม Book ก็จะเท่ากับ 5% เพราะฉะนั้น ผมจึงสับสนว่า ROA และ ROE ที่น้อย อาจจะไม่ได้แปลว่ากิจการไม่น่าสนใจก็ได้ หากว่าความสามารถในการทำกำไร สามารถคาดการณ์ได้ และราคา PE ยังต่ำในจุดที่น่าสนใจ ผมเป็นมือใหม่ครับ เลยอยากทราบความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อคอนเฟิร์มในบางส่วนที่ผมอาจจะคิดไม่ถึงครับ
ผมถามเรื่องนี้ เพราะผมรู้สึกว่า พอผมสกรีนหุ้นที่มี ROA ต่ำกว่า 20 ออก ผมได้เอาหุ้นออกหลายตัว ที่แม้ ROA จะต่ำกว่า แต่มีผลกำไรที่ค่อนข้างแน่นอน และ PE ก็ต่ำด้วย ผมเลยมีความรู้สึกว่า ROA และ ROE มันคือผมตอบแทนของผู้ถือหุ้นชุดแรก เช่น หากมีคนลงทุนสร้างโรงงาน 100 ล้านบาท และสามารถทำกำไรได้ปีละ 5 ล้านบาท ROE ของเค้าก็คือ 5% แต่หากเจ้าของเก่าเค้าเบื่อแล้ว เอามาขายให้เราที่ราคา 50 ล้านบาท และบริษัทยังสามารถทำกำไรเท่าเดิม ROE ของเราก็จะเท่ากับ 10% ซึ่งหากดู PE ก็จะเท่ากับ 10 เท่า แต่หากดู ROE ตาม Book ก็จะเท่ากับ 5% เพราะฉะนั้น ผมจึงสับสนว่า ROA และ ROE ที่น้อย อาจจะไม่ได้แปลว่ากิจการไม่น่าสนใจก็ได้ หากว่าความสามารถในการทำกำไร สามารถคาดการณ์ได้ และราคา PE ยังต่ำในจุดที่น่าสนใจ ผมเป็นมือใหม่ครับ เลยอยากทราบความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อคอนเฟิร์มในบางส่วนที่ผมอาจจะคิดไม่ถึงครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 13
ผมขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ
ROA คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ทั้งหมด
บริษัทที่มีสินทรัพย์ทั้งหมด 100 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท นั่นหมายความง่ายๆว่า มีผลตอบแทนการลงทุนต่อสินทรัพย์ทั้งหมด 10% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาในราคาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
บริษัทที่สอง มีสินทรัพย์ทั้งหมด 200 ล้านบาท ไม่มีหนี้สินเช่นกัน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท ROA เท่ากับ 5% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
เราจะพบว่าถ้าเราซื้อหุ้นทั้งสองบริษัท เราก็จะได้รับผลตอบแทนที่เท่ากัน ถึงแม้ ROA ของบริษัทแรกจะสูงกว่าก็ตาม เพราะเราซื้อหุ้นบริษัทที่สองในราคาต่ำกว่าบริษัทแรก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้น
แต่ถ้ามีการขยายการลงทุนเพิ่มทั้งสองบริษัท เราจะพบสิ่งที่แตกต่าง คือ
บริษัท ถ้าต้องการมีกำไรเพิ่ม 10 ล้านบาท ผุ้ถือหุ้นก็จะต้องลงเงินเพิ่มเพียง 100 ล้านบาท
ในขณะที่บริษัทที่สอง ผุ้ถือหุ้นต้องลงทุนเพิ่มสูงถึง 200 ล้านบาท
นั่นคือความสำคัญของ ROA
แต่ถ้าถามผมว่า แล้วเวลาลงทุนจริงๆ ปัจจัย ROA ใช้จริงได้มากหรือไม่
คงต้องตอบว่า ต้องใช้อย่างระมัดระวังมากๆ เพราะทุกอย่างไม่ใช่สูตรตายตัวเหมือนทางคณิตศาสตร์
อีกทั้ง มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทที่บันทึกในงบดุลนั้น สะท้อนมูลค่าสินทรัพย์อย่างถูกต้องเท่าเทียมกันทุกบริษัทหรือไม่ ง่ายๆก็คือ ราคาที่ดินของบริษัทที่ซื้อมา 40 ปี กับราคาที่ดินของบริษัทที่เพิ่งซื้อมา จะเปรียบเทียบกันได้หรือ
ROA คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ทั้งหมด
บริษัทที่มีสินทรัพย์ทั้งหมด 100 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท นั่นหมายความง่ายๆว่า มีผลตอบแทนการลงทุนต่อสินทรัพย์ทั้งหมด 10% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาในราคาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
บริษัทที่สอง มีสินทรัพย์ทั้งหมด 200 ล้านบาท ไม่มีหนี้สินเช่นกัน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท ROA เท่ากับ 5% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
เราจะพบว่าถ้าเราซื้อหุ้นทั้งสองบริษัท เราก็จะได้รับผลตอบแทนที่เท่ากัน ถึงแม้ ROA ของบริษัทแรกจะสูงกว่าก็ตาม เพราะเราซื้อหุ้นบริษัทที่สองในราคาต่ำกว่าบริษัทแรก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้น
แต่ถ้ามีการขยายการลงทุนเพิ่มทั้งสองบริษัท เราจะพบสิ่งที่แตกต่าง คือ
บริษัท ถ้าต้องการมีกำไรเพิ่ม 10 ล้านบาท ผุ้ถือหุ้นก็จะต้องลงเงินเพิ่มเพียง 100 ล้านบาท
ในขณะที่บริษัทที่สอง ผุ้ถือหุ้นต้องลงทุนเพิ่มสูงถึง 200 ล้านบาท
นั่นคือความสำคัญของ ROA
แต่ถ้าถามผมว่า แล้วเวลาลงทุนจริงๆ ปัจจัย ROA ใช้จริงได้มากหรือไม่
คงต้องตอบว่า ต้องใช้อย่างระมัดระวังมากๆ เพราะทุกอย่างไม่ใช่สูตรตายตัวเหมือนทางคณิตศาสตร์
อีกทั้ง มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทที่บันทึกในงบดุลนั้น สะท้อนมูลค่าสินทรัพย์อย่างถูกต้องเท่าเทียมกันทุกบริษัทหรือไม่ ง่ายๆก็คือ ราคาที่ดินของบริษัทที่ซื้อมา 40 ปี กับราคาที่ดินของบริษัทที่เพิ่งซื้อมา จะเปรียบเทียบกันได้หรือ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 14
ผมลองสรุปตามที่เข้าใจนะครับ ผิดถูกหรือเปล่าไม่แน่ใจ
ROA ROE ใช้ดูประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทต่อสินทรัพย์หรือต่อทุน ถ้าตัวเลขสูงก็ถือว่าดีกว่า พูดง่ายๆว่าใช้วัดดูว่าบริษัทดีหรือเปล่า
แต่บริษัทดีแล้วเราควรซื้อหุ้นหรือเปล่าเป็นอีกประเด็นนึง คือต้องดูราคาหุ้นด้วย ของดีแต่ซื้อราคาแพงก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นเราต้องปรับสูตร ROA ROE ให้สะท้อนราคาตลาดของหุ้นด้วย ทำได้โดยการปรับ E ให้เป็นราคาตลาด ไม่ใช่ตามมูลค่าทางบัญชี ปรับแล้วเราก็จะได้ผลตอบแทนเหมือนการใช้ P/E โดยทำเป็นส่วนกลับ E/P แทน เหมือนที่คุณชาตรีเข้าใจน่ะครับ..
ROA ROE ใช้ดูประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทต่อสินทรัพย์หรือต่อทุน ถ้าตัวเลขสูงก็ถือว่าดีกว่า พูดง่ายๆว่าใช้วัดดูว่าบริษัทดีหรือเปล่า
แต่บริษัทดีแล้วเราควรซื้อหุ้นหรือเปล่าเป็นอีกประเด็นนึง คือต้องดูราคาหุ้นด้วย ของดีแต่ซื้อราคาแพงก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นเราต้องปรับสูตร ROA ROE ให้สะท้อนราคาตลาดของหุ้นด้วย ทำได้โดยการปรับ E ให้เป็นราคาตลาด ไม่ใช่ตามมูลค่าทางบัญชี ปรับแล้วเราก็จะได้ผลตอบแทนเหมือนการใช้ P/E โดยทำเป็นส่วนกลับ E/P แทน เหมือนที่คุณชาตรีเข้าใจน่ะครับ..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 184
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 17
ขออนุญาติช่วยตอบนะครับpwz เขียน:รบกวนพี่โจขยายความเรื่องการปรับEเป็นราคาตลาดได้ไหมครับ ไม่ค่อยเข้าใจครับ
การที่ต้องปรับ E เป็นราคาตลาด เพราะว่า
จาก สมการบัญชี Asset (สินทรัพย์) = Liability (หนี้สิน) + Equity (ทุน)
เพราะงั้น E = Equity (ทุน) = Asset (สินทรัพย์) - Liability (หนี้สิน)
ที่ต้องปรับเพราะว่า Asset (สินทรัพย์) ทางบัญชีมักจะลงเป็นราคาที่ไม่
update กับภาวะปัจจุบันเท่าไหร่ เช่นพวก ที่ดิน
ผิดถูกอย่างไร พี่โจช่วยชี้แนะด้วยครับ :o
Reborn
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 2
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 18
กระทู้เข้มข้นขึ้นมากเลยครับ มีทั้งพี่ chatchai และ พี่ โจ-ราเอมอน(ผมถือว่าพี่โจนี่เป็นเหมือนโดราเอมอนเลย มีของวิเศษมาแจกชาววีไอเสมอครับ ) มาร่วมแสดงความคิดเห็น ปราชญ์กับปราชญ์ คุยกัน พวกประหลาดอย่างผมเลยพลอยได้ประโยชน์ไปด้วยครับ เห็นด้วยกับพี่ทั้งสองท่านมากมากเลยครับ
ขอลองแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยนะครับแต่ไม่ทราบจะเข้าใจผิดหรือเปล่า คือจากตัวอย่างที่พี่ chatchai ยกตัวอย่างมาคือ
บริษัทที่หนึ่งมีสินทรัพย์ทั้งหมด 100 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท นั่นหมายความง่ายๆว่า มีผลตอบแทนการลงทุนต่อสินทรัพย์ทั้งหมด 10% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาในราคาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
บริษัทที่สอง มีสินทรัพย์ทั้งหมด 200 ล้านบาท ไม่มีหนี้สินเช่นกัน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท ROA เท่ากับ 5% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า บริษัททั้งสองแห่ง มี roa เท่าเดิมตลอด และ ตลาดให้ pe หุ้นทั้งสองตัวที่ pe 10 เท่าไปเรื่อยเรือ่ย และไม่ปันผล (เพื่อง่ายต่อการคิดเลขนะครับ )
บริษัทที่หนึ่ง จะมีสินทรัพย์ จะทำกำไรได้ ราคาหุ้น
ปีที่หนึ่ง 100 10 10
ปีที่สอง 110 11 11
ปีที่สาม 121 12.1 12.1
ปีที่สี่ 133.1 13.31 13.31
ปีที่ห้า 146.41 14.64 14.64
ปีที่หก 161.05 16.11 16.11
ปีที่เจ็ด 177.16 17.72 17.72
ปีที่แปด 194.88 19.45 19.45
ปีที่เก้า 214.33 21.43 21.43
ปีที่สิบ 235.76 23.58 23.58
บริษัทที่สอง จะมีสินทรัพย์ จะทำกำไรได้ ราคาหุ้น
ปีที่หนึ่ง 200 10 10
ปีที่สอง 210 10.5 10.5
ปีที่สาม 220.5 11.03 11.03
ปีที่สี่ 231.53 11.58 11.58
ปีที่ห้า 243.11 12.16 12.16
ปีที่หก 255.27 12.76 12.76
ปีที่เจ็ด 268.03 13.40 13.40
ปีที่แปด 281.43 14.07 14.07
ปีที่เก้า 295.5 14.78 14.78
ปีที่สิบ 310.28 15.51 15.51
จะเห็นว่าในระยะยาว บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงกว่า ไม่ว่าจะต่อสินทรัพย์หรือต่อทุนก็ตาม(จะคิดจากทุนก็ได้นะครับ เพราะผมก็ชอบดูที่ roe มากกว่า ) ในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนสูงขึ้นเรื่อยเรื่อย (ตามกฎการทบต้นแหละครับ ) ถ้ามองจากมุมนี้จะเห็นว่า ROA ก็มีความสำคัญครับ เพียงแต่ตัวเลขที่จะนำมาคิดทั้ง roa หรือ roe ไม่ว่าจะเป็น r (ก็ควรตัดกำไรพิเศษออกก่อน ) a หรือ e (ควรมีการปรับปรุ่งตัวเลขให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงก่อนครับเพราะบางบริษัทอาจมีการลงบัญชีสินทรัพย์ไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงเช่นกรณีซื้อที่ดินแล้วบุ๊คราคาเก่าไว้นานแล้ว หรือ มีสินทรัพย์ที่ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วแต่ยังสามารถใช้งานได้อยู่และยังใช้ได้อีกนานพอควร ทำให้ บุ๊คหลายแห่งต่ำเกินความเป็นจริงครับ )
ขอลองแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยนะครับแต่ไม่ทราบจะเข้าใจผิดหรือเปล่า คือจากตัวอย่างที่พี่ chatchai ยกตัวอย่างมาคือ
บริษัทที่หนึ่งมีสินทรัพย์ทั้งหมด 100 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท นั่นหมายความง่ายๆว่า มีผลตอบแทนการลงทุนต่อสินทรัพย์ทั้งหมด 10% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาในราคาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
บริษัทที่สอง มีสินทรัพย์ทั้งหมด 200 ล้านบาท ไม่มีหนี้สินเช่นกัน มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท ROA เท่ากับ 5% ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น เราซื้อมาหุ้นละ 10 บาท ผลตอบแทนก็คือ 10%
ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า บริษัททั้งสองแห่ง มี roa เท่าเดิมตลอด และ ตลาดให้ pe หุ้นทั้งสองตัวที่ pe 10 เท่าไปเรื่อยเรือ่ย และไม่ปันผล (เพื่อง่ายต่อการคิดเลขนะครับ )
บริษัทที่หนึ่ง จะมีสินทรัพย์ จะทำกำไรได้ ราคาหุ้น
ปีที่หนึ่ง 100 10 10
ปีที่สอง 110 11 11
ปีที่สาม 121 12.1 12.1
ปีที่สี่ 133.1 13.31 13.31
ปีที่ห้า 146.41 14.64 14.64
ปีที่หก 161.05 16.11 16.11
ปีที่เจ็ด 177.16 17.72 17.72
ปีที่แปด 194.88 19.45 19.45
ปีที่เก้า 214.33 21.43 21.43
ปีที่สิบ 235.76 23.58 23.58
บริษัทที่สอง จะมีสินทรัพย์ จะทำกำไรได้ ราคาหุ้น
ปีที่หนึ่ง 200 10 10
ปีที่สอง 210 10.5 10.5
ปีที่สาม 220.5 11.03 11.03
ปีที่สี่ 231.53 11.58 11.58
ปีที่ห้า 243.11 12.16 12.16
ปีที่หก 255.27 12.76 12.76
ปีที่เจ็ด 268.03 13.40 13.40
ปีที่แปด 281.43 14.07 14.07
ปีที่เก้า 295.5 14.78 14.78
ปีที่สิบ 310.28 15.51 15.51
จะเห็นว่าในระยะยาว บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงกว่า ไม่ว่าจะต่อสินทรัพย์หรือต่อทุนก็ตาม(จะคิดจากทุนก็ได้นะครับ เพราะผมก็ชอบดูที่ roe มากกว่า ) ในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนสูงขึ้นเรื่อยเรื่อย (ตามกฎการทบต้นแหละครับ ) ถ้ามองจากมุมนี้จะเห็นว่า ROA ก็มีความสำคัญครับ เพียงแต่ตัวเลขที่จะนำมาคิดทั้ง roa หรือ roe ไม่ว่าจะเป็น r (ก็ควรตัดกำไรพิเศษออกก่อน ) a หรือ e (ควรมีการปรับปรุ่งตัวเลขให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงก่อนครับเพราะบางบริษัทอาจมีการลงบัญชีสินทรัพย์ไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงเช่นกรณีซื้อที่ดินแล้วบุ๊คราคาเก่าไว้นานแล้ว หรือ มีสินทรัพย์ที่ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วแต่ยังสามารถใช้งานได้อยู่และยังใช้ได้อีกนานพอควร ทำให้ บุ๊คหลายแห่งต่ำเกินความเป็นจริงครับ )
Small Details Make a Big Difference
-
- Verified User
- โพสต์: 354
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 19
ผมคิดว่าถ้า บริษัท A จริงๆ ตีค่าทรัพย์สินต่ำกว่าความจริง
และถ้าปรับให้ตรงกับที่ควรจะเป็น แล้วสองบริษัทมีค่า ROA เท่ากัน
แต่ B มี P/E ถูกกว่า บริษัท B ก็ได้เปรียบอย่างที่คุณชาตรีเข้าใจครับ
แต่ในกรณีที่ทั้งสองบริษัทมี ROA ต่ำทั้งคู่ (เมื่อปรับแล้ว)
ในการขยายการลงทุนของบริษัท ก็จะต้องลงทุนมากหน่อยครับ
(เหมือนที่หลายท่านข้างบนยกตัวอย่างมา)
ในกรณีที่เราเจอบริษัท C ที่มี ROA สูง (ปรับแล้ว) และมี P/E
ใกล้เคียงกันกับ B บริษัท C ก็จะได้เปรียบบริษัท B ในการลงทุนขยายกิจการครับ
และถ้าปรับให้ตรงกับที่ควรจะเป็น แล้วสองบริษัทมีค่า ROA เท่ากัน
แต่ B มี P/E ถูกกว่า บริษัท B ก็ได้เปรียบอย่างที่คุณชาตรีเข้าใจครับ
แต่ในกรณีที่ทั้งสองบริษัทมี ROA ต่ำทั้งคู่ (เมื่อปรับแล้ว)
ในการขยายการลงทุนของบริษัท ก็จะต้องลงทุนมากหน่อยครับ
(เหมือนที่หลายท่านข้างบนยกตัวอย่างมา)
ในกรณีที่เราเจอบริษัท C ที่มี ROA สูง (ปรับแล้ว) และมี P/E
ใกล้เคียงกันกับ B บริษัท C ก็จะได้เปรียบบริษัท B ในการลงทุนขยายกิจการครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 354
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยนะครับ
ผมเจออีกกระทู้เก่าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
หุ้นที่มีค่า ROE and ROA เฉลี่ยสูงกว่า 12 %
http://www.thaivi.com/webboard/archive. ... index.html
และก็เจอ comment ของพี่นริศที่คล้ายๆ กับหลายๆ ท่านข้างบนครับ
ขออนุญาตนำมาลงที่นี่นะครับ
ผมเจออีกกระทู้เก่าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
หุ้นที่มีค่า ROE and ROA เฉลี่ยสูงกว่า 12 %
http://www.thaivi.com/webboard/archive. ... index.html
และก็เจอ comment ของพี่นริศที่คล้ายๆ กับหลายๆ ท่านข้างบนครับ
ขออนุญาตนำมาลงที่นี่นะครับ
ผมอยากจะให้แยกรายละเอียดและวิเคราะห์คุณภาพค่าต่างๆในสมการด้วยครับ
Rคือกำไร อยากให้ดูว่ากำไรนี้ไปอยู่ในรูปของเงินสด ลูกหนี้ เครื่องจักร(ค่าใช้จ่ายในอนาคต)
Aทรัพย์สิน อยากให้เปรียบเทียบดูทรัพย์สินว่าไปกระจุกตัวอยู่ที่ใด เหมาะสมหรือไม่ คุณภาพดีหรือเปล่า
Eส่วนของทุน ในเมื่อทรัพย์สิน=หนี้สิน+ทุน ก็ควรจะดูคุณภาพของส่วนทุนว่าอยู่ในรูปใด เมื่อทรัพย์สินหักหนี้สินแล้ว และกำไรที่หาได้มามี....
I(ROI)อัตราการคืนทุนจากเงินลงทุนใหม่(จากกำไรสะสม)เป็นเท่าไหร่ เหมาะสมหรือไม่
- โว้กว้าก
- Verified User
- โพสต์: 430
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 25
ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยคนครับ
จากข้อมูลที่คุณchatreeให้ไว้
A และ B เป็นบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
A และ B มี EPS อยู่ในสัดส่วนคงที่ตลอดทั้งสองบริษัท
บริษัท A, ROA = 35, PE = 8
บริษัท B, ROA = 5, PE = 4
เนื่องจากคุณchatree ไม่ได้กล่าวถึงหนี้สินของทั้งสองบริษัทจึงพิจารณาว่าบริษัททั้งสองไม่มีหนี้สินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย และ หนี้สินที่มีอยู่มีเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดให้ D = 0 และคิดว่าเราทำการซื้อทั้งบริษัทให้มองทั้งบริษัทเป็น 1 หุ้น และบริษัทไม่มีการจ่ายปันผลนำเงินไปลงทุนใหม่ตลอดเพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณา
จากสมการงบดุล
A = E+D ------> D = 0
ดังนั้น A= E ทั้งสองบริษัท
ดังนั้น ROA = ROE ทั้งสองบริษัท
ยอดขายของแต่ล่ะบริษัท ไม่สนใจเนื่องจากไม่ได้พูดถึง กล่าวถึงเพียง ROA
พิจารณา ราคาหุ้นจาก PE ของทั้งสองบริษัทที่กล่าวไว้
A company, PE = 8 -------> P = 0.35*4*100 = 280 , ดังนั้น P/BV = 2.8
B company, PE = 4 -------> P = 0.05*8*100 = 20 , ดังนั้น P/BV = 0.2
จากการเปรียบเทียบข้างต้นจะเห็นได้ว่า บริษัท A จุดคุ้มทุนจาก EPS อยู่ที่ 5 ปี ถ้าสามารถเติบโตได้เรื่อยๆในอัตรา 35% ต่อจะสามารถกลายเป็นหุ้นสิบเด้งได้ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปีแน่นอน แต่ในความเป็นจริงคงยากที่จะหาบริษัทที่โตด้วยอัตรานี้ในระยะยาวคงที่ และถึงแม้ว่าบริษัท A จะจ่ายเงินปันผลที่ 40% ของกำไรสุทธิทำให้ มีเงินไปลงทุนใหม่เพียง 21% เท่านั้น แต่ถ้าสามารถเติบโตด้วยอัตรานี้คงที่เวลาหลายปี ตลาดคงจะให้ PE สูงขึ้นจาก 8 เท่าแน่นอนจะเห็นได้จาก MINT SCNYL BH เป็นต้น ซึ่งผมว่าราคาที่ upside จาก PE ที่เปลี่ยนแปลงไปเนี่ยมากกว่า EPS เยอะมากครับ
ในส่วนของ บริษัท B EPS เพียง 5% ซึ่งถ้าจะให้ PE เท่ากับ 4 นั้นต้องซื้อ ที่ ราคา 0.2 ของ Book value ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมากๆ จากราคาที่ซื้อมาต่ำทำให้สามารถคืนทุนจาก EPS ได้ประมาณ 4 ปี แต่ถ้าเทียบคุณภาพกิจการจากปริมาณเงินลงทุนที่เท่ากันผมว่ากิจการนี้ไม่ค่อยน่าลงทุนเท่าไรถ้าอัตราการทำกำไรยังต่ำขนาดนี้ จุดท้ายก็จะกลายเป็นหุ้นถูก PE ต่ำตลอดกาล เพราะว่าตลาดไม่กล้าให้ราคาสูงเนื่องจากไม่มั่นใจในการเติบโตขององค์กรครับ
สุดท้ายความเห็นผม กิจการ A น่าสนใจกว่ากิจการ B ถ้าพิจารณาจากข้อมูลข้างต้นเป็นการคิดขั้นต้นเท่านั้นในความจริงควรจะต้องนำหนี้สิน ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับหนี้สินในแต่ละปี (ซึ่งถ้ากิจการ B มีหนี้สินจากการกู้นี่เจ๊งแน่นอนต้นทุนการกู้อย่างต่ำก็ 6% แต่ขายของได้กำไร 5%) คุณภาพกิจการ ความสามารถในการเติบโตระยะยาว ความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งตลาด ธรรมมาภิบาลบริษัท ซึ่งต้องใช้องค์ประกอบเหล่านี้ในการตัดสินใจลงทุนด้วยครับ
จากข้อมูลที่คุณchatreeให้ไว้
A และ B เป็นบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
A และ B มี EPS อยู่ในสัดส่วนคงที่ตลอดทั้งสองบริษัท
บริษัท A, ROA = 35, PE = 8
บริษัท B, ROA = 5, PE = 4
เนื่องจากคุณchatree ไม่ได้กล่าวถึงหนี้สินของทั้งสองบริษัทจึงพิจารณาว่าบริษัททั้งสองไม่มีหนี้สินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย และ หนี้สินที่มีอยู่มีเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดให้ D = 0 และคิดว่าเราทำการซื้อทั้งบริษัทให้มองทั้งบริษัทเป็น 1 หุ้น และบริษัทไม่มีการจ่ายปันผลนำเงินไปลงทุนใหม่ตลอดเพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณา
จากสมการงบดุล
A = E+D ------> D = 0
ดังนั้น A= E ทั้งสองบริษัท
ดังนั้น ROA = ROE ทั้งสองบริษัท
ยอดขายของแต่ล่ะบริษัท ไม่สนใจเนื่องจากไม่ได้พูดถึง กล่าวถึงเพียง ROA
พิจารณา ราคาหุ้นจาก PE ของทั้งสองบริษัทที่กล่าวไว้
A company, PE = 8 -------> P = 0.35*4*100 = 280 , ดังนั้น P/BV = 2.8
B company, PE = 4 -------> P = 0.05*8*100 = 20 , ดังนั้น P/BV = 0.2
จากการเปรียบเทียบข้างต้นจะเห็นได้ว่า บริษัท A จุดคุ้มทุนจาก EPS อยู่ที่ 5 ปี ถ้าสามารถเติบโตได้เรื่อยๆในอัตรา 35% ต่อจะสามารถกลายเป็นหุ้นสิบเด้งได้ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปีแน่นอน แต่ในความเป็นจริงคงยากที่จะหาบริษัทที่โตด้วยอัตรานี้ในระยะยาวคงที่ และถึงแม้ว่าบริษัท A จะจ่ายเงินปันผลที่ 40% ของกำไรสุทธิทำให้ มีเงินไปลงทุนใหม่เพียง 21% เท่านั้น แต่ถ้าสามารถเติบโตด้วยอัตรานี้คงที่เวลาหลายปี ตลาดคงจะให้ PE สูงขึ้นจาก 8 เท่าแน่นอนจะเห็นได้จาก MINT SCNYL BH เป็นต้น ซึ่งผมว่าราคาที่ upside จาก PE ที่เปลี่ยนแปลงไปเนี่ยมากกว่า EPS เยอะมากครับ
ในส่วนของ บริษัท B EPS เพียง 5% ซึ่งถ้าจะให้ PE เท่ากับ 4 นั้นต้องซื้อ ที่ ราคา 0.2 ของ Book value ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมากๆ จากราคาที่ซื้อมาต่ำทำให้สามารถคืนทุนจาก EPS ได้ประมาณ 4 ปี แต่ถ้าเทียบคุณภาพกิจการจากปริมาณเงินลงทุนที่เท่ากันผมว่ากิจการนี้ไม่ค่อยน่าลงทุนเท่าไรถ้าอัตราการทำกำไรยังต่ำขนาดนี้ จุดท้ายก็จะกลายเป็นหุ้นถูก PE ต่ำตลอดกาล เพราะว่าตลาดไม่กล้าให้ราคาสูงเนื่องจากไม่มั่นใจในการเติบโตขององค์กรครับ
สุดท้ายความเห็นผม กิจการ A น่าสนใจกว่ากิจการ B ถ้าพิจารณาจากข้อมูลข้างต้นเป็นการคิดขั้นต้นเท่านั้นในความจริงควรจะต้องนำหนี้สิน ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับหนี้สินในแต่ละปี (ซึ่งถ้ากิจการ B มีหนี้สินจากการกู้นี่เจ๊งแน่นอนต้นทุนการกู้อย่างต่ำก็ 6% แต่ขายของได้กำไร 5%) คุณภาพกิจการ ความสามารถในการเติบโตระยะยาว ความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งตลาด ธรรมมาภิบาลบริษัท ซึ่งต้องใช้องค์ประกอบเหล่านี้ในการตัดสินใจลงทุนด้วยครับ
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 27
คุยกันแบบนี้ คิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ ครับ
ขอบคุณพี่ฉัตรชัย พี๋ลูกอีสาน และพี่คนอื่น ๆ ที่มาจุดประเด็น รวมถึงพี่ชาตรีที่ตั้งกระทู้ด้วย
พี่ชาตรีว่าไว้ผมก็อ่านไม่ละเอียด ประเด็นพี่คงตั้งใจบอกว่า
ตัว Asset มันอาจจะไม่เป็น apple to apple ก็ได้ ทุกตัวเลขก็ควรปรับให้ถูกต้องก่อนใช้
ROA, ROE มีไว้บอกในแง่ความสามารถในการแข่งขัน
ถ้าตัวนั้นมี DCA สูง ๆ การขยายกิจการย่อมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะหุ้น Growth
หลัง ๆ ผมก็เลยชอบดูสองตัวนี้เป็นพิเศษ
ถ้าสินทรัพย์ กำไร และกระแสเงินสดโตขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงสองค่านี้ให้เท่าเดิมหรือสูงขึ้นได้
สุโค่ยครับ
สุดท้ายประสบการณ์อันน้อยนิดผมบอกว่า
ถึงแม้บางครั้งตลาดจะให้ราคาหุ้นผิดไป
แต่หลายครั้งเป็นเราเองต่างหากครับ ที่ตีมูลค่าหุ้นผิด
ขอบคุณพี่ฉัตรชัย พี๋ลูกอีสาน และพี่คนอื่น ๆ ที่มาจุดประเด็น รวมถึงพี่ชาตรีที่ตั้งกระทู้ด้วย
พี่ชาตรีว่าไว้ผมก็อ่านไม่ละเอียด ประเด็นพี่คงตั้งใจบอกว่า
ตัว Asset มันอาจจะไม่เป็น apple to apple ก็ได้ ทุกตัวเลขก็ควรปรับให้ถูกต้องก่อนใช้
ROA, ROE มีไว้บอกในแง่ความสามารถในการแข่งขัน
ถ้าตัวนั้นมี DCA สูง ๆ การขยายกิจการย่อมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะหุ้น Growth
หลัง ๆ ผมก็เลยชอบดูสองตัวนี้เป็นพิเศษ
ถ้าสินทรัพย์ กำไร และกระแสเงินสดโตขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงสองค่านี้ให้เท่าเดิมหรือสูงขึ้นได้
สุโค่ยครับ
สุดท้ายประสบการณ์อันน้อยนิดผมบอกว่า
ถึงแม้บางครั้งตลาดจะให้ราคาหุ้นผิดไป
แต่หลายครั้งเป็นเราเองต่างหากครับ ที่ตีมูลค่าหุ้นผิด
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
ROA สำคัญจริงหรือ
โพสต์ที่ 30
ตามตำราน้าlynchเลยนะคับ
peสูงgrowthสูงดีกว่าpeต้ำ Gต่ำ
peสูงgrowthสูงดีกว่าpeต้ำ Gต่ำ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้