The WACC equation is the cost of each capital component multiplied by its proportional weight and then summing:
WACC = (E/V)*Re + (D/V)*Rd*(1-Tc)
Re = cost of equity
Rd = cost of debt
E = market value of the firm's equity
D = market value of the firm's debt
V = E + D
E/V = percentage of financing that is equity
D/V = percentage of financing that is debt
Tc = corporate tax rate
อยากจะสอบถามว่าการเอา (1-Tc) คูณกับต้นทุนของเจ้าหนี้ เพราะว่าดอกเบี้ยสามารถหักภาษีได้มันเป็นยังไงหรอครับ
อ่านดูแล้วมองไม่เห็นภาพอะครับ ถ้าเป็นไปได้รบกวนผู้รู้ช่วยยกตัวอย่างให้เห็นซักอันนะครับ พอดีไม่ค่อยเก่งบัญชี
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและช่วยตอบคร๊าบบบ :lol: :lol:
สอบถามเรื่องต้นทุนเงินทุนของบริษัทครับ
- kurapica
- Verified User
- โพสต์: 587
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องต้นทุนเงินทุนของบริษัทครับ
โพสต์ที่ 2
ดอกเบี้ยจ่ายจะเอาไปลบออกจากกำไรก่อนครับ แล้วค่อยเอากำไรทีเหลือมาคิดภาษี
มันเลยทำให้ฐานกำไรที่จะเอามาคิดภาษีลดลง
ตัวอย่างเช่น
กำไร EBIT = 1,000,000
ดอกเบี้ยจ่าย 10% = 100,000
ดังนั้นกำไรที่ใช้คิดภาษี = 1,000,000 - 100,000 = 900,000
สมมติเสียภาษี 20% จะเสียภาษี = 0.2 x 900,000 = 180,000
แต่ถ้าเราไม่มีดอกเบี้ยจ่ายเลย กำไรที่ใช้คิดภาษีจะ = 1,000,000
ก็จะเสียภาษี 20% เป็นเงิน = 0.2 x 1,000,000 = 200,000
จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยจ่าย ช่วยให้เราประหยัดภาษีไปได้ = 200,000 - 180,000 = 20,000
แสดงให้เห็นว่าต้นทุนจากหนี้ที่บริษัทต้องจ่ายจริงๆ ไม่ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยจ่ายเป๊ะๆ เพราะมันช่วยลดภาษีได้ (จ่ายให้เจ้าหนี้เต็มๆ แต่ช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลง) ดังนั้นเลยต้องเอาอัตราภาษีมาหักออกจากอัตราดอกเบี้ยจ่ายก่อนครับ จึงจะได้ต้นทุนของหนี้ที่บริษัทต้องจ่ายจริงๆ
มันเลยทำให้ฐานกำไรที่จะเอามาคิดภาษีลดลง
ตัวอย่างเช่น
กำไร EBIT = 1,000,000
ดอกเบี้ยจ่าย 10% = 100,000
ดังนั้นกำไรที่ใช้คิดภาษี = 1,000,000 - 100,000 = 900,000
สมมติเสียภาษี 20% จะเสียภาษี = 0.2 x 900,000 = 180,000
แต่ถ้าเราไม่มีดอกเบี้ยจ่ายเลย กำไรที่ใช้คิดภาษีจะ = 1,000,000
ก็จะเสียภาษี 20% เป็นเงิน = 0.2 x 1,000,000 = 200,000
จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยจ่าย ช่วยให้เราประหยัดภาษีไปได้ = 200,000 - 180,000 = 20,000
แสดงให้เห็นว่าต้นทุนจากหนี้ที่บริษัทต้องจ่ายจริงๆ ไม่ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยจ่ายเป๊ะๆ เพราะมันช่วยลดภาษีได้ (จ่ายให้เจ้าหนี้เต็มๆ แต่ช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลง) ดังนั้นเลยต้องเอาอัตราภาษีมาหักออกจากอัตราดอกเบี้ยจ่ายก่อนครับ จึงจะได้ต้นทุนของหนี้ที่บริษัทต้องจ่ายจริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 249
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องต้นทุนเงินทุนของบริษัทครับ
โพสต์ที่ 3
งงๆๆครับ ไม่ใช่สุดท้ายบริษัทเราจะเหมือนกับว่าเสียดอกเบี้ยจ่ายน้อยลงไม่ใช่หรอครับ
ไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า
สมมติว่า
EBIT = 1,000,000
ดอกเบี้ยจ่าย = 100,000
เสียภาษีที่อัตรา 20% บริษัทจะเสียภาษี = (1,000,000 - 100,000) x 0.2 = 180,000
แล้วเราสามารถนำ 20%(อัตราเท่ากับอัตราการจ่ายภาษี) ของดอกเบี้ยจ่ายไปหักภาษีได้ = 100,000 x 0.2 = 20,000
สุดท้ายบริษัทเราจะเหมือนเสียภาษีแค่ 100,000 - 20,000 = 80,000
ตามสูตรข้างต้น ต้นทุนของเจ้าหนี้ = ดอกเบี้ยจ่าย x (1 - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) = 100,000 x (1 - 0.2) = 80,000
ผมเข้าใจถูกรึเปล่าครับหรือมันเป็นแบบท่าน kurapica อธิบายงงไปหมดและครับ
ไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า
สมมติว่า
EBIT = 1,000,000
ดอกเบี้ยจ่าย = 100,000
เสียภาษีที่อัตรา 20% บริษัทจะเสียภาษี = (1,000,000 - 100,000) x 0.2 = 180,000
แล้วเราสามารถนำ 20%(อัตราเท่ากับอัตราการจ่ายภาษี) ของดอกเบี้ยจ่ายไปหักภาษีได้ = 100,000 x 0.2 = 20,000
สุดท้ายบริษัทเราจะเหมือนเสียภาษีแค่ 100,000 - 20,000 = 80,000
ตามสูตรข้างต้น ต้นทุนของเจ้าหนี้ = ดอกเบี้ยจ่าย x (1 - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) = 100,000 x (1 - 0.2) = 80,000
ผมเข้าใจถูกรึเปล่าครับหรือมันเป็นแบบท่าน kurapica อธิบายงงไปหมดและครับ
- kurapica
- Verified User
- โพสต์: 587
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องต้นทุนเงินทุนของบริษัทครับ
โพสต์ที่ 4
ตรงสีแดง ขอแก้เป็น ต้นทุนของเงินทุนจากการกู้ยืม นะครับ ความหมายมันชัดเจนกว่าhaehae เขียน: ตามสูตรข้างต้น ต้นทุนของเจ้าหนี้ = ดอกเบี้ยจ่าย x (1 - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) = 100,000 x (1 - 0.2) = 80,000
เขียนใหม่ให้เข้าใจได้ง่ายๆดังนี้ครับ
ต้นทุนของเงินทุนจากการกู้ยืม = ดอกเบี้ยจ่าย - เงินภาษีที่ประหยัดไปได้
เท่าที่ผมเคยศึกษา เรียนรู้มา ก็อย่างที่ผมอธิบายครับ