ตั้งแต่เรียนจบโทที่อเมริกา ผมก็เริ่มทำงานทันที โดยก่อนหน้าที่ยังเรียนอยู่ ก็ทำงาน part time ตามร้านอาหารไทย เป็นคนติว Math ให้ฝรั่ง เป็น messenger ส่งเอกสารในมหาวิทยาลัย ผมทำมาหมด ไม่เคยย่อท้อ ประมาณว่าใช้เวลาส่วนใหญ่ตอนกลางวันในการทำงาน part time ตอนเย็น ๆ ค่อยไปเรียน พอดีช่วงที่ผมไปเรียนเป็นช่วงปี 40 ทำให้ได้เรียนรู้ รู้จักทำงานหนัก เพื่อแบ่งเบาภาระทางบ้านที่โดนหนักเหมือนกันตอนวิกฤติปี 40
พอเรียนจบตอนกลางปี 1998 ก็ทำงานทันที เงินเก็บ 15% แรกหักเข้า 401K fund (คล้าย ๆ provident fund ในไทย) เงินเก็บที่เหลือเก็บเป็น Certificate of Deposit ดอกเบี้ยที่ได้ประมาณ 7-8% พอดีโตมาในภาวะวิกฤติปี 40 ทำให้รู้คุณค่าของเงิน ทำให้เวลาได้เงินมาจากการทำงาน ผมเก็บในสัดส่วนที่สูงมาก ใช้เงินเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำอย่างนั้นติดต่อกันเป็นเวลา 7 ปี จนถึงปี 2005 ก็กลับมาเมืองไทย มีเงินเก็บเป็นเงินสดเป็นหลัก 7 หลัก (บาท) และเงินที่อยู่ใน port กองทุนของ American Funds เป็น7 หลัก (บาท) เช่นกัน
หลักการช่วงแรกที่ทำงาน เนื่องจากผมยังไม่รู้จักการลงทุนแบบ VI ผมรู้แต่เีพียงว่าเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น ก็ต้องเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ซึ่งก็ไม่ได้มีเคล็ดลับอะไร หลัก ๆ ก็ต้องเป็นคนขยันกว่าคนอื่น พยายามเรียนรู้หาประสบการณ์จากการทำงานให้มากที่สุด ผมมีคติประจำใจว่า "The more you work, the more you learn" มีอะไรมาหลายคนอาจจะเกี่ยงงาน ผมก็อาสาทำตลอด นาน ๆ เข้า ทำให้เราเรียนรู้ได้ประสบการณ์ในการทำงานมากตั้งแต่อายุยังไม่มาก ทำให้ผลตอบแทนจากการทำงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูงคือได้เงินเดือน
เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงที่สุดในบริษัทตลอดเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงาน
เมื่อยแล้ว ไปว่ายน้ำก่อนดีกว่า เดี๋ยวมา post ต่อ :D
จากนั้น ก็พยายามอ่านหนังสือเกียวกับ value investing ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ ทุกเล่ม และจากผู้รู้ท่านอื่น เช่น Peter Lynch, Warren Buffett, Phillip Fisher, Sr. John Templeton, etc. นำความรู้ที่ได้บวกหลักการลงทุนแบบ VI มาประยุกต์ใข้กับหุ้นไทย
จากนั้น ก็พยายามอ่านหนังสือเกียวกับ value investing ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ ทุกเล่ม และจากผู้รู้ท่านอื่น เช่น Peter Lynch, Warren Buffett, Phillip Fisher, Sr. John Templeton, etc. นำความรู้ที่ได้บวกหลักการลงทุนแบบ VI มาประยุกต์ใข้กับหุ้นไทย