ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 1
ผมคิดว่า ค้าปลีกยังน่าสนใจนะครับ
ช่วงลงหนักๆ ตัดขาดทุน สองตัวที่ คาดทุน ไป 50 %
เอาไป ซื้อ CP7-11 ที่ 7-8 บาท แทน
เพราะ คิดว่า น่าจะมีโอกาสกลับได้ดีกว่า
ปรากฏว่า คิดถูก เพราะ cp7-11 ขึ้นเร็วกว่า จริงๆ ด้วย
อีกตัว Bigc ขายไป 50 กว่า
แต่ดัน เอามือไปรับมีด ที่ 47
ตกกระจาย ตอนนี้ยังแดงอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 3
7-8 บาท คงเป็นช่วงที่เค้ามีข่าวว่า อาจขาย lotus ที่จีนไม่ได้มั้งครับ
พอขายได้ราคาก็ขึ้นมา
พอขายได้ราคาก็ขึ้นมา
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 4
7-8 บาท ตอนปลายปีที่แล้วครับ
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
-
- Verified User
- โพสต์: 393
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 5
ยินดีด้วยครับ :Dteetotal เขียน:
ผมคิดว่า ค้าปลีกยังน่าสนใจนะครับ
ช่วงลงหนักๆ ตัดขาดทุน สองตัวที่ คาดทุน ไป 50 %
เอาไป ซื้อ CP7-11 ที่ 7-8 บาท แทน
เพราะ คิดว่า น่าจะมีโอกาสกลับได้ดีกว่า
ปรากฏว่า คิดถูก เพราะ cp7-11 ขึ้นเร็วกว่า จริงๆ ด้วย
อีกตัว Bigc ขายไป 50 กว่า
แต่ดัน เอามือไปรับมีด ที่ 47
ตกกระจาย ตอนนี้ยังแดงอยู่
ผมมัวแต่กลัวเลยอด :oops:
แต่อย่างว่าครับ หุ้นเครือนี้ ผมไม่ค่อยกล้าเล่น :lol: :lol: :lol:
- kornjackrit
- Verified User
- โพสต์: 1524
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 8
ชอบมานานแล้วครับ แม้จะมีอยู่นิดหน่อย :oops: :oops:
ปล.หุ้นตัวแรกที่อยากได้ในตลาดหุ้นอเมริกาคือ Walmart ครับ
( ไม่รู้ว่าธุรกิจกำไรขาดทุนเท่าไหร่ หรือ มูลค่าเป็นเท่าไหร่
แค่ชอบความยิ่งใหญ่ และ Model ธุรกิจเฉยๆน่ะครับ )
ปล.หุ้นตัวแรกที่อยากได้ในตลาดหุ้นอเมริกาคือ Walmart ครับ
( ไม่รู้ว่าธุรกิจกำไรขาดทุนเท่าไหร่ หรือ มูลค่าเป็นเท่าไหร่
แค่ชอบความยิ่งใหญ่ และ Model ธุรกิจเฉยๆน่ะครับ )
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1657
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 11
จะว่าไปผมก็ถือคล้ายๆคุณ sai ต่างกันแค่ตัวเดียวเองแฮะ
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 13
รู้สึกว่านายกของเรา ตอนนี้ก็ชอบค้าปลีก ....จากข่าวหุ้น
สบายดี เทสโก้
สื่อเมืองไทยที่ติดตามคณะนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ไปลอนดอนและอังกฤษ คงจะมุ่งให้ความสำคัญกับประเด็นพูดเรื่องอ๊อกซฟอร์ด มากเสียจนลืมไปว่า ข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลไทยนั้น มีความสำคัญกับผลประโยชน์ทางธุรกิจของบางบริษัทของอังกฤษในไทยอย่างมาก มากกว่าละครน้ำเน่าเรื่องการปราศรัยที่อ๊อกซฟอร์ดหลายเท่า
ปรากฏการณ์ที่ถูกซ่อนเอาไว้ใต้พรม ซึ่งสื่อไทยผู้ไร้เดียงสา ไม่เคยคิดจะตามให้ทัน หรือ คิดจะใส่ใจ กลับมีความสำคัญกับธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากของไทยที่กำลังร่อแร่รอวันเลิกกิจการเพราะแข่งขันสู้ต่างชาติไม่ได้
เทสโก้ คือบริษัทอังกฤษที่ได้รับประโยชน์โดยตรงมากที่สุด จากการเดินทางไปเยือนอังกฤษของคณะนายกรัฐมนตรีไทยครั้งนี้
จะบอกกันตามตรงว่า งานนี้เป็นการ"ขายชาติ"ให้กับเทสโก้ ก็อาจจะแสลงหูคนที่อ้างว่ารักชาติ และรักความถูกต้องอย่างสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องยอมกันละผลพวงของการตกลงที่นายกรัฐมนตรีไทยไปเยือนบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง โดยการจัดการของนายควินตัน มาร์ก เควล ทูตอังกฤษประจำไทย แม้ไม่ได้ประกาศเป็นทางการ คือ การที่รัฐบาลไทยชุดนี้ จะไม่เสนอร่างกฎหมายค้าปลีก ที่ควบคุมการขยายตัวของห้างประเภทดิสเคาท์สโตร์ของบริษัทต่างชาติที่เทสโก้ เป็นผู้ถือครองส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในยามนี้ ไปอีกยาวนาน จนกว่าสิ้นสุดอายุของรัฐบาลชุดนี้ หรือตลอดไป ตราบเท่าที่พรรคประชาธิปัตย์ยังมีสส.ค่อนข้างมากในรัฐสภา
ไม่เชื่อก็ติดตามกันต่อไปเถอะครับ
ประเด็นปัญหาเรื่องการค้าปลีกของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการรุกเข้ามาของห้างค้าปลีกต่างชาตินำโดยเทสโก้ของอังกฤษ จนกระทั่งในปัจจุบัน เครือข่ายของห้างนี้ มีขนาดใหญ่เป็นที่หนึ่งของเครือข่ายเทสโก้ในระดับโลก(ไม่นับสหราชอาณาจักร) ด้วยจำนวนพื้นที่ขายมากกว่า 8.5 แสนตารางเมตร หรือ 9.1 ล้านตารางฟุต
เทสโก้เมืองไทย เริ่มต้นการสร้างเครือข่ายดิสเคาท์สโตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า โมเดิร์น เทรด เน้นการขายของที่ลดราคา(จากความสามารถในการควบคุมต้นทุนด้านลอจิสติกส์ และการบริหารสต๊อกสินค้า ภายใต้ ห่วงโซ่อุปทาน)ด้วยการเข้าถือหุ้น และซื้อหุ้นต่อจากกลุ่มซีพีที่มีปัญหาการเงินหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดในบริษัทเอกชัย ดิสตริบิวชั่น จำกัด เจ้าของกิจการเครือข่ายเทสโก้ โลตัส
ปัจจุบัน นอกจากสาขาขนาดใหญ่แล้ว สาขาย่อยยังถูกลดขนาดลงหลายรูปแบบ นับร้อยกว่าสาขา เพื่อให้เข้าสูตร"แตกเพื่อโต" แทรกตัวเข้าไปในชุมชนค้าปลีกทุกแห่งที่เห็นว่ามีศักยภาพ กลายเป็นโมเดลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
ไม่เพียงเท่านั้น เทสโก้เมืองไทยยังเป็นธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุดของเทสโก้ทั่วโลกอีกด้วย
การขยายตัวอย่างรุนแรงของเทสโก้ในเมืองไทย เกิดขึ้นหลังจากไทยมีปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 โดยรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนในขณะนั้น ได้แก้ไขกติกาปรับลดเงื่อนจากการเข้ามาดำเนินธุรกิจค้าปลีกของต่างชาติ โดยยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 (ปว. 281) ซึ่งมีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจบางประเภท พร้อมทั้งได้ออกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาบังคับใช้ โดยการกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำในการดำเนินกิจการค้าปลีกไว้แค่ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเข้ามาลงทุนในกิจการค้าปลีกค้าส่งเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันยังได้มีการแก้ไขกฎหมายให้คนต่างชาติสามารถถือครองที่ดินในไทยได้ จึงส่งผลให้กลุ่มทุนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องและมากมายในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ในยามที่ความอ่อนแอของธุรกิจค้าปลีกไทยทั้งที่เป็นอยู่เดิมและที่เกิดจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจดำรงอยู่
ดิสเคาท์สโตร์ของเทสโก้ จึงเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนการเติบโตที่แลกด้วยการล่มสลายของกิจการค้าปลีกท้องถิ่นรายย่อยและรายกลาง
หากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ไทยไม่ผิดพลาด จะพบว่า พบว่าโดยหลังจากป? 2541 ส่วนแบ่งตลาดของร้านค้าปลีกรายย่อยเริ่มปรับตัวลดลงรุนแรงจาก 70% เหลือเพียงไม่เกิน 35% หรือต่ำกว่าในปัจจุบัน ขณะที่สัดส่วนของร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 30% ในปี 2542 เป็นร้อยละ 65 และยังไม่มีแนวโน้มจะหยุด
ผู้ค้าปลีกท้องถิ่นของไทย มีการรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ต้านค้าปลีกต่างชาติ รวมทั้งการเสนอผ่านการค้าไทยเพื่อให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงมิให้ห้างดิสเคาท์สโตร์ขยายตัวอย่างรุนแรง แต่ดูเหมือนยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งไม่ได้ผล
ความเคลื่อนไหวนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่ไม่มีใครใส่ใจ จนกลางช่วงของรัฐบาลทักษิณจึงกลายเป็นประเด็นใหญ่ระดับประเทศ นับแต่ความพยายามสร้างเงื่อนไขให้ชะลอหรือหยุดการขยายสาขา ตลอดจนการแก้ไขกฎหมายค้าปลีกเสียใหม่ หรือนำกฎหมายผังเมืองมาใช้ แต่ก็ไม่ได้ผล แถมบางช่วง รัฐมนตรีพาณิชย์บางคนเช่นนายวัฒนา เมืองสุข กลับให้ท้ายห้างค้าปลีกต่างชาติเสียเอง
เทสโก้ ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากแรงต่อต้านดังกล่าว และก็ไม่ได้ดำเนินการโดยลำพัง แต่อาศัยมือของรัฐบาลอังกฤษยื่นเข้ามาช่วยเหลืออีกแรง
นายควินตัน มาร์ก เควล ได้กลายเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของเทสโก้ในการล้อบบี้รัฐบาลไทยให้ชะลอการออกกฎหมายค้าปลีกใหมอย่างเอาเป็นเอาตาย
การเคลื่อนไหวของนายเควล เกิดขึ้นมาหลายปีต่อเนื่องกัน รวมทั้งการเชื้อเชิญ เจ้าชาย แอนดรูว์ ดยุค ออฟ ยอร์ก มาเยือนเพื่อช่วยโปรโมทเทสโก้ไทยด้วย
การเคลื่อนไหวอย่างนี้ เสมือนหนึ่งการทูตเพื่อการค้าแบบลัทธิพาณิชย์นิยมในหลายร้อยปีก่อนของพวกนักล่าอาณานิคมยุโรปไม่มีผิด
ข้ออ้างของนายเควล กับเทสโก้คือ ไทยไม่จำเป็นต้องเร่งออก พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งแต่ควรหารือกับเอกชนที่อยู่ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น เทสโก้ และอื่นๆ ก่อนออก พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยอ้างว่า มีมูลค่าการลงทุนถึง 6,000 ล้านเหรียญ และจ้างงานคนไทยถึง 3.6 หมื่นคน
ความพยายามของนายเควล นับแต่รัฐบาลทักษิณ เรื่อยมาจนถึงรัฐบาลสุรยุทธ์รัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชาย ก่อนที่จะลนลานไปล้อบบี้แสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงหัวกระไดบ้านนับแต่วันแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ถือเป็นการทูตแบบถึงลูกถึงคนของอังกฤษที่คนไทยไม่ได้เห็นมานานแล้ว และเป็นเกมผลประโยชน์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยระหว่างเทสโก้ของอังกฤษ กับ พรรครัฐบาลของไทย โดยมีทักษิณ ชินวัตรเป็นเหยื่อของเกมนี้ในฉากหน้า แต่เป็นชัยชนะของเทสโก้ในฉากหลัง
น่าเสียดายที่ละครลิงหลอกเจ้านี้ คนที่เสียหายมากกว่าทักษิณ ชินวัตร ก็คือ ร้านค้าปลีกและค้าส่งของไทยที่อยู่ในนามสมาพันธ์ต่อต้านค้าปลีกต่างชาติ ที่ตามไม่ทันเกมผลประโยชน์เช่นนี้ จึงต้องจ่ายค่าโง่แพงเป็นพิเศษ
เหตุเพราะประเมินความสัมพันธ์ทางผลประโยชน์ของพรรคประชาธิปัตย์กับห้างเทสโก้ของอังกฤษต่ำเกินไปนั่นเอง
สบายดี เทสโก้
สื่อเมืองไทยที่ติดตามคณะนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ไปลอนดอนและอังกฤษ คงจะมุ่งให้ความสำคัญกับประเด็นพูดเรื่องอ๊อกซฟอร์ด มากเสียจนลืมไปว่า ข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลไทยนั้น มีความสำคัญกับผลประโยชน์ทางธุรกิจของบางบริษัทของอังกฤษในไทยอย่างมาก มากกว่าละครน้ำเน่าเรื่องการปราศรัยที่อ๊อกซฟอร์ดหลายเท่า
ปรากฏการณ์ที่ถูกซ่อนเอาไว้ใต้พรม ซึ่งสื่อไทยผู้ไร้เดียงสา ไม่เคยคิดจะตามให้ทัน หรือ คิดจะใส่ใจ กลับมีความสำคัญกับธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากของไทยที่กำลังร่อแร่รอวันเลิกกิจการเพราะแข่งขันสู้ต่างชาติไม่ได้
เทสโก้ คือบริษัทอังกฤษที่ได้รับประโยชน์โดยตรงมากที่สุด จากการเดินทางไปเยือนอังกฤษของคณะนายกรัฐมนตรีไทยครั้งนี้
จะบอกกันตามตรงว่า งานนี้เป็นการ"ขายชาติ"ให้กับเทสโก้ ก็อาจจะแสลงหูคนที่อ้างว่ารักชาติ และรักความถูกต้องอย่างสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องยอมกันละผลพวงของการตกลงที่นายกรัฐมนตรีไทยไปเยือนบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง โดยการจัดการของนายควินตัน มาร์ก เควล ทูตอังกฤษประจำไทย แม้ไม่ได้ประกาศเป็นทางการ คือ การที่รัฐบาลไทยชุดนี้ จะไม่เสนอร่างกฎหมายค้าปลีก ที่ควบคุมการขยายตัวของห้างประเภทดิสเคาท์สโตร์ของบริษัทต่างชาติที่เทสโก้ เป็นผู้ถือครองส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในยามนี้ ไปอีกยาวนาน จนกว่าสิ้นสุดอายุของรัฐบาลชุดนี้ หรือตลอดไป ตราบเท่าที่พรรคประชาธิปัตย์ยังมีสส.ค่อนข้างมากในรัฐสภา
ไม่เชื่อก็ติดตามกันต่อไปเถอะครับ
ประเด็นปัญหาเรื่องการค้าปลีกของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการรุกเข้ามาของห้างค้าปลีกต่างชาตินำโดยเทสโก้ของอังกฤษ จนกระทั่งในปัจจุบัน เครือข่ายของห้างนี้ มีขนาดใหญ่เป็นที่หนึ่งของเครือข่ายเทสโก้ในระดับโลก(ไม่นับสหราชอาณาจักร) ด้วยจำนวนพื้นที่ขายมากกว่า 8.5 แสนตารางเมตร หรือ 9.1 ล้านตารางฟุต
เทสโก้เมืองไทย เริ่มต้นการสร้างเครือข่ายดิสเคาท์สโตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า โมเดิร์น เทรด เน้นการขายของที่ลดราคา(จากความสามารถในการควบคุมต้นทุนด้านลอจิสติกส์ และการบริหารสต๊อกสินค้า ภายใต้ ห่วงโซ่อุปทาน)ด้วยการเข้าถือหุ้น และซื้อหุ้นต่อจากกลุ่มซีพีที่มีปัญหาการเงินหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดในบริษัทเอกชัย ดิสตริบิวชั่น จำกัด เจ้าของกิจการเครือข่ายเทสโก้ โลตัส
ปัจจุบัน นอกจากสาขาขนาดใหญ่แล้ว สาขาย่อยยังถูกลดขนาดลงหลายรูปแบบ นับร้อยกว่าสาขา เพื่อให้เข้าสูตร"แตกเพื่อโต" แทรกตัวเข้าไปในชุมชนค้าปลีกทุกแห่งที่เห็นว่ามีศักยภาพ กลายเป็นโมเดลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
ไม่เพียงเท่านั้น เทสโก้เมืองไทยยังเป็นธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุดของเทสโก้ทั่วโลกอีกด้วย
การขยายตัวอย่างรุนแรงของเทสโก้ในเมืองไทย เกิดขึ้นหลังจากไทยมีปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 โดยรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนในขณะนั้น ได้แก้ไขกติกาปรับลดเงื่อนจากการเข้ามาดำเนินธุรกิจค้าปลีกของต่างชาติ โดยยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 (ปว. 281) ซึ่งมีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจบางประเภท พร้อมทั้งได้ออกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาบังคับใช้ โดยการกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำในการดำเนินกิจการค้าปลีกไว้แค่ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเข้ามาลงทุนในกิจการค้าปลีกค้าส่งเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันยังได้มีการแก้ไขกฎหมายให้คนต่างชาติสามารถถือครองที่ดินในไทยได้ จึงส่งผลให้กลุ่มทุนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องและมากมายในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ในยามที่ความอ่อนแอของธุรกิจค้าปลีกไทยทั้งที่เป็นอยู่เดิมและที่เกิดจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจดำรงอยู่
ดิสเคาท์สโตร์ของเทสโก้ จึงเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนการเติบโตที่แลกด้วยการล่มสลายของกิจการค้าปลีกท้องถิ่นรายย่อยและรายกลาง
หากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ไทยไม่ผิดพลาด จะพบว่า พบว่าโดยหลังจากป? 2541 ส่วนแบ่งตลาดของร้านค้าปลีกรายย่อยเริ่มปรับตัวลดลงรุนแรงจาก 70% เหลือเพียงไม่เกิน 35% หรือต่ำกว่าในปัจจุบัน ขณะที่สัดส่วนของร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 30% ในปี 2542 เป็นร้อยละ 65 และยังไม่มีแนวโน้มจะหยุด
ผู้ค้าปลีกท้องถิ่นของไทย มีการรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ต้านค้าปลีกต่างชาติ รวมทั้งการเสนอผ่านการค้าไทยเพื่อให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงมิให้ห้างดิสเคาท์สโตร์ขยายตัวอย่างรุนแรง แต่ดูเหมือนยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งไม่ได้ผล
ความเคลื่อนไหวนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่ไม่มีใครใส่ใจ จนกลางช่วงของรัฐบาลทักษิณจึงกลายเป็นประเด็นใหญ่ระดับประเทศ นับแต่ความพยายามสร้างเงื่อนไขให้ชะลอหรือหยุดการขยายสาขา ตลอดจนการแก้ไขกฎหมายค้าปลีกเสียใหม่ หรือนำกฎหมายผังเมืองมาใช้ แต่ก็ไม่ได้ผล แถมบางช่วง รัฐมนตรีพาณิชย์บางคนเช่นนายวัฒนา เมืองสุข กลับให้ท้ายห้างค้าปลีกต่างชาติเสียเอง
เทสโก้ ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากแรงต่อต้านดังกล่าว และก็ไม่ได้ดำเนินการโดยลำพัง แต่อาศัยมือของรัฐบาลอังกฤษยื่นเข้ามาช่วยเหลืออีกแรง
นายควินตัน มาร์ก เควล ได้กลายเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของเทสโก้ในการล้อบบี้รัฐบาลไทยให้ชะลอการออกกฎหมายค้าปลีกใหมอย่างเอาเป็นเอาตาย
การเคลื่อนไหวของนายเควล เกิดขึ้นมาหลายปีต่อเนื่องกัน รวมทั้งการเชื้อเชิญ เจ้าชาย แอนดรูว์ ดยุค ออฟ ยอร์ก มาเยือนเพื่อช่วยโปรโมทเทสโก้ไทยด้วย
การเคลื่อนไหวอย่างนี้ เสมือนหนึ่งการทูตเพื่อการค้าแบบลัทธิพาณิชย์นิยมในหลายร้อยปีก่อนของพวกนักล่าอาณานิคมยุโรปไม่มีผิด
ข้ออ้างของนายเควล กับเทสโก้คือ ไทยไม่จำเป็นต้องเร่งออก พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งแต่ควรหารือกับเอกชนที่อยู่ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น เทสโก้ และอื่นๆ ก่อนออก พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยอ้างว่า มีมูลค่าการลงทุนถึง 6,000 ล้านเหรียญ และจ้างงานคนไทยถึง 3.6 หมื่นคน
ความพยายามของนายเควล นับแต่รัฐบาลทักษิณ เรื่อยมาจนถึงรัฐบาลสุรยุทธ์รัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชาย ก่อนที่จะลนลานไปล้อบบี้แสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงหัวกระไดบ้านนับแต่วันแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ถือเป็นการทูตแบบถึงลูกถึงคนของอังกฤษที่คนไทยไม่ได้เห็นมานานแล้ว และเป็นเกมผลประโยชน์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยระหว่างเทสโก้ของอังกฤษ กับ พรรครัฐบาลของไทย โดยมีทักษิณ ชินวัตรเป็นเหยื่อของเกมนี้ในฉากหน้า แต่เป็นชัยชนะของเทสโก้ในฉากหลัง
น่าเสียดายที่ละครลิงหลอกเจ้านี้ คนที่เสียหายมากกว่าทักษิณ ชินวัตร ก็คือ ร้านค้าปลีกและค้าส่งของไทยที่อยู่ในนามสมาพันธ์ต่อต้านค้าปลีกต่างชาติ ที่ตามไม่ทันเกมผลประโยชน์เช่นนี้ จึงต้องจ่ายค่าโง่แพงเป็นพิเศษ
เหตุเพราะประเมินความสัมพันธ์ทางผลประโยชน์ของพรรคประชาธิปัตย์กับห้างเทสโก้ของอังกฤษต่ำเกินไปนั่นเอง
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1657
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วงนี้ ใครชอบค้าปลีกบ้าง
โพสต์ที่ 14
จริงๆแล้วผมชอบ makro เพราะเป็นห้างค้าปลีกที่ไม่ต้องการงบในการ renovate มากนัก และเขาก็พบจุดมุ่งเน้นที่พยายามทำให้แตกต่างจากห้างค้าปลีกรายอื่น
มีบางปีเขาสามารถโตได้โดยไม่ต้องขยายสาขา (ผมชอบตรงไม่ค่อยใช้เงิน)
แต่ตอนหลังๆผมชักเริ่มเทใจให้HMPRO เพราะผมคาดว่าตลาดนี้ยังกว้างอยู่สามารถโตได้อีกมาก และhmpro เองก็เป็นผู้นำที่โดดเด่น
(แต่เวลาผมไปห้างhmproแล้วไม่ค่อยเห็นผู้คนก็หวั่นๆเหมือนกันครับ)
ในพวกค้าปลีกผมว่าเรื่องสถานะทางการเงินเนี่ย hmpro ดูจะด้อยกว่าเค้า ผมหมายถึงมีหนี้เยอะให้เสียวเล่น แต่ผมก็เห็นเขาก็ยังดำเนินธุรกิจมาได้โดยตลอด คงไม่น่าห่วงมั๊ง
แต่ข้อเสียในตอนนี้ก็คือ ทำไมราคามันถึงขึ้นเรื่อยๆ ผมยังเก็บได้ไม่ถึงที่ต้องการเลย (คงเป็นเพราะปีนี้เขาปันผลเยอะมั๊ง)
อีกตัวที่ชอบก็คือ se-ed ในเรื่องที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนในการดำเนินธุรกิจมากนัก แต่ก็อย่างที่ทุกคนรู้ se-ed คงไม่โตหวือหวามากนัก การขยายสาขาก็คงทำได้ไม่มาก คงคาดหวังแค่ว่ามันคงจะโตตามอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยที่ยังต่ำอยู่
มีบางปีเขาสามารถโตได้โดยไม่ต้องขยายสาขา (ผมชอบตรงไม่ค่อยใช้เงิน)
แต่ตอนหลังๆผมชักเริ่มเทใจให้HMPRO เพราะผมคาดว่าตลาดนี้ยังกว้างอยู่สามารถโตได้อีกมาก และhmpro เองก็เป็นผู้นำที่โดดเด่น
(แต่เวลาผมไปห้างhmproแล้วไม่ค่อยเห็นผู้คนก็หวั่นๆเหมือนกันครับ)
ในพวกค้าปลีกผมว่าเรื่องสถานะทางการเงินเนี่ย hmpro ดูจะด้อยกว่าเค้า ผมหมายถึงมีหนี้เยอะให้เสียวเล่น แต่ผมก็เห็นเขาก็ยังดำเนินธุรกิจมาได้โดยตลอด คงไม่น่าห่วงมั๊ง
แต่ข้อเสียในตอนนี้ก็คือ ทำไมราคามันถึงขึ้นเรื่อยๆ ผมยังเก็บได้ไม่ถึงที่ต้องการเลย (คงเป็นเพราะปีนี้เขาปันผลเยอะมั๊ง)
อีกตัวที่ชอบก็คือ se-ed ในเรื่องที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนในการดำเนินธุรกิจมากนัก แต่ก็อย่างที่ทุกคนรู้ se-ed คงไม่โตหวือหวามากนัก การขยายสาขาก็คงทำได้ไม่มาก คงคาดหวังแค่ว่ามันคงจะโตตามอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยที่ยังต่ำอยู่