ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 1
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1925 25 ก.ค. - 28 ก.ค. 2547
ฉบับที่ 1925
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ชี้ชัดการเผาไหม้ของแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ทำให้เกิดโอโซนภาคพื้นดิน ส่งผลต่อสุขภาพระบบหายใจระคายเคือง และเป็นผลให้ใบของพืชแห้งเป็นรอยไหม้ เป็นผลให้นครลอสแองเจลิส ต้องยกเลิกการใช้ ขณะที่การตรวจวัดเส้นทางไปจ.ปทุมธานี คุณภาพอากาศแย่ พบโอโซนเกินมาตรฐาน เตรียมเร่งศึกษาวิจัย หาสัดส่วนผสมเอธานอลและน้ำมันพืชในน้ำมัน ก่อนประชาชนเจอภาวะเสี่ยง
ผศ.ดร.สาวิตรี การีเวทย์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันโดยนำเอธานอลที่ผลิตได้นำมาผสมในสัดส่วน 10 % ในน้ำมันเบนซิน และตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2550 จะผลิตเอธานอลให้ได้จำนวน 3 ล้านลิตรต่อวันเพื่อนำมาผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อทดแทนสารเอ็มทีบีอี หรือสารเพิ่มคุณภาพน้ำมันนั้น อีกทั้งการนำน้ำมันพืชมาผสมร้อยละ 2 ในน้ำมันดีเซลเป็นไบโอดีเซล ที่รัฐบาลมีเป้าหมายผลิต 2.4 ล้านลิตร ในปี 2554 นั้น
ทั้งนี้ จากการศึกษาของหน่วยงานด้านพลังงานและเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกา และข้อมูลของนายLarry Anderson อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา โดยใช้แบบจำลองทางคณิศาสตร์พบว่า ผลจากการเผาไหม้ของแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลนั้น จะก่อให้เกิดการปล่อยสารAldehyde ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบสูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป ส่งผลให้เกิดโอโซนภาคพื้นดินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการระคายเคืองในปอด เกิดผลกระทบต่อระบบหายใจ และยังมีผลกระทบต่อใบของพืชเกิดการไหม้ หากโอโซนนั้นเกิดกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนด 100 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ทำให้เป็นห่วงว่าหากมีการนำแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลมาใช้ในปริมาณที่มากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและทางด้านกสิกรรมของประเทศได้
จากผลการศึกษาดังกล่าว ได้ส่งผลให้นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ต้องยกเลิกการใช้แก๊สโซฮอล์ ทั้งที่สหรัฐอเมริกาเอง เป็นประเทศหนึ่งในการพัฒนาใช้พลังงานทดแทนขึ้นมาเป็นจำนวนมากในเวลานี้ กับต้องยุติไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประชากรของตนเอง แม้จะผสมเอธานอลในน้ำมนเบนซินเพียงร้อยละ 10 ก็ตาม
ผศ.ดร.สาวิตรี กล่าวอีกว่า จากสัญญาณดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีการวิตกว่า หากรัฐบาลจะผลักดันการใช้แก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลต่อไป ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและผลิตผลทางการเกษตรหรือไม่ เนื่องจากเวลานี้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตรวจวัดปริมาณโอโซนภาคพื้นดิน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า จะมีปริมาณเกิดมาตรฐานในบางเวลาบริเวณเส้นทางไปจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีปริมาณสูงกว่า 130 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยโดยรวมยังไม่เกินมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้พลังงานทดแทนนี้ ทางบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จะร่วมกันศึกษาและวิจัย ผลกระทบดังกล่าวโดยจะจัดทำแผนที่นำทางวิจัยและพัฒนา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจวัดหาปริมาณโอโซนภาคพื่นดิน และนำมาใส่ในแบบจำลองสถานการณ์ โดยใช้แบบจำนลองทางคณิตศาสตร์มาเป็นตัวช่วย เพื่อที่จะหาความเหมาะสมของการผสมเอธานอลในน้ำมันเบนซินและน้ำมันพืชในสัดส่วนที่เท่าใด จึงจะไม่มีผลต่อสุขภาพและผลกระทบกับพืช โดยแผนที่นำทางคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 นี้ ทั้งนี้ เพื่อนำผลดังกล่าวเสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ ก่อนที่จะนำสู่การพิจารณาในระดับนโยบายของประเทศต่อไป
ฉบับที่ 1925
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ชี้ชัดการเผาไหม้ของแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ทำให้เกิดโอโซนภาคพื้นดิน ส่งผลต่อสุขภาพระบบหายใจระคายเคือง และเป็นผลให้ใบของพืชแห้งเป็นรอยไหม้ เป็นผลให้นครลอสแองเจลิส ต้องยกเลิกการใช้ ขณะที่การตรวจวัดเส้นทางไปจ.ปทุมธานี คุณภาพอากาศแย่ พบโอโซนเกินมาตรฐาน เตรียมเร่งศึกษาวิจัย หาสัดส่วนผสมเอธานอลและน้ำมันพืชในน้ำมัน ก่อนประชาชนเจอภาวะเสี่ยง
ผศ.ดร.สาวิตรี การีเวทย์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันโดยนำเอธานอลที่ผลิตได้นำมาผสมในสัดส่วน 10 % ในน้ำมันเบนซิน และตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2550 จะผลิตเอธานอลให้ได้จำนวน 3 ล้านลิตรต่อวันเพื่อนำมาผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อทดแทนสารเอ็มทีบีอี หรือสารเพิ่มคุณภาพน้ำมันนั้น อีกทั้งการนำน้ำมันพืชมาผสมร้อยละ 2 ในน้ำมันดีเซลเป็นไบโอดีเซล ที่รัฐบาลมีเป้าหมายผลิต 2.4 ล้านลิตร ในปี 2554 นั้น
ทั้งนี้ จากการศึกษาของหน่วยงานด้านพลังงานและเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกา และข้อมูลของนายLarry Anderson อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา โดยใช้แบบจำลองทางคณิศาสตร์พบว่า ผลจากการเผาไหม้ของแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลนั้น จะก่อให้เกิดการปล่อยสารAldehyde ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบสูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป ส่งผลให้เกิดโอโซนภาคพื้นดินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการระคายเคืองในปอด เกิดผลกระทบต่อระบบหายใจ และยังมีผลกระทบต่อใบของพืชเกิดการไหม้ หากโอโซนนั้นเกิดกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนด 100 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ทำให้เป็นห่วงว่าหากมีการนำแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลมาใช้ในปริมาณที่มากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและทางด้านกสิกรรมของประเทศได้
จากผลการศึกษาดังกล่าว ได้ส่งผลให้นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ต้องยกเลิกการใช้แก๊สโซฮอล์ ทั้งที่สหรัฐอเมริกาเอง เป็นประเทศหนึ่งในการพัฒนาใช้พลังงานทดแทนขึ้นมาเป็นจำนวนมากในเวลานี้ กับต้องยุติไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประชากรของตนเอง แม้จะผสมเอธานอลในน้ำมนเบนซินเพียงร้อยละ 10 ก็ตาม
ผศ.ดร.สาวิตรี กล่าวอีกว่า จากสัญญาณดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีการวิตกว่า หากรัฐบาลจะผลักดันการใช้แก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลต่อไป ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและผลิตผลทางการเกษตรหรือไม่ เนื่องจากเวลานี้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตรวจวัดปริมาณโอโซนภาคพื้นดิน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า จะมีปริมาณเกิดมาตรฐานในบางเวลาบริเวณเส้นทางไปจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีปริมาณสูงกว่า 130 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยโดยรวมยังไม่เกินมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้พลังงานทดแทนนี้ ทางบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จะร่วมกันศึกษาและวิจัย ผลกระทบดังกล่าวโดยจะจัดทำแผนที่นำทางวิจัยและพัฒนา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจวัดหาปริมาณโอโซนภาคพื่นดิน และนำมาใส่ในแบบจำลองสถานการณ์ โดยใช้แบบจำนลองทางคณิตศาสตร์มาเป็นตัวช่วย เพื่อที่จะหาความเหมาะสมของการผสมเอธานอลในน้ำมันเบนซินและน้ำมันพืชในสัดส่วนที่เท่าใด จึงจะไม่มีผลต่อสุขภาพและผลกระทบกับพืช โดยแผนที่นำทางคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 นี้ ทั้งนี้ เพื่อนำผลดังกล่าวเสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ ก่อนที่จะนำสู่การพิจารณาในระดับนโยบายของประเทศต่อไป
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 2
ข่าวนี้ผมไม่ทราบว่าจะมีผลกับหุ้นพลังงานอย่างไรนะครับ
แต่เรื่องโอโซนนี่ ผมเห็นมีเครื่องผลิตโอโซนวางขายกันเกลื่อน ทั้งของในของนอก
แล้วโอโซนมันมีกี่แบบ แบบไหนอันตราย แบบไหนดี
อืม มันก็ยัง งงงง นะ
แต่เรื่องโอโซนนี่ ผมเห็นมีเครื่องผลิตโอโซนวางขายกันเกลื่อน ทั้งของในของนอก
แล้วโอโซนมันมีกี่แบบ แบบไหนอันตราย แบบไหนดี
อืม มันก็ยัง งงงง นะ
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
-
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 3
ozone (O3) มีชนิดเดียวแหละครับ เพียงแต่ถ้ามีมากไปมันก็ไม่ดี
แต่ผมสงสัยว่า มันเป็นกลยุทธเพื่อให้ยังมีคนใช้น้ำมันหรือเปล่า
แต่ผมสงสัยว่า มันเป็นกลยุทธเพื่อให้ยังมีคนใช้น้ำมันหรือเปล่า
มนุษย์เห่อลูก :lol:
http://tyakon.multiply.com
http://tyakon.multiply.com
-
- Verified User
- โพสต์: 403
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 5
เจอลูกนี้เข้าไป งงเลย
มันเป็นได้เหรองงครับ เท่าที่เรียนมา การเผาไหม้ ไม่ได้ให้ o3 ออกมานิครับ o3 เกิดในชั้นบรรยากาศอะไรผมจำไม่ได้แล้ว แต่เกิดจากประจุไฟฟ้า
มันเป็นได้เหรองงครับ เท่าที่เรียนมา การเผาไหม้ ไม่ได้ให้ o3 ออกมานิครับ o3 เกิดในชั้นบรรยากาศอะไรผมจำไม่ได้แล้ว แต่เกิดจากประจุไฟฟ้า
ท้าชนความคิด vi ทุกสถาบัน
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 6
ผมจำได้ว่าเคยอ่านหนังสือของคนใกล้ชิดในหลวงมากๆคนหนึ่ง นามสกุล เทวกุล เคยยืมห้องสมุดมาอ่านเมื่อประมาณปี 2520 แต่ตอนนั้นหนังสือนี้ก็เก่ามากแล้ว เลยจำไม่ได้ว่าใครพิมพ์ และชื่อหนังสืออะไร
เขียนว่าเป็นทางออกของคนไทย
มีรายละเอียดมากพอดูเลยครับ
แต่ก็เพิ่งเห็นมาบูมเอาตอนนี้
เขียนว่าเป็นทางออกของคนไทย
มีรายละเอียดมากพอดูเลยครับ
แต่ก็เพิ่งเห็นมาบูมเอาตอนนี้
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
-
- Verified User
- โพสต์: 129
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 7
ถ้าไบโอดีเซลและเอธานอล ถูกนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนมากๆ และได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ใช้ยานยนต์และนำมาใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป จะมีผลอย่างไรกับบริษัทที่ทำธุรกิจน้ำมัน และโรงกลั่นน้ำมันบ้าง ขอความเห็นหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 403
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 8
ไปสอบถามอาจารย์มาแล้วครับ การเผาไหม้ไม่ก่อให้เกิดปฎิกิริยา o3 ได้
ถึงแม้มี o3 ในท้องถนนถ้าไม่ใช้ปริมาณที่มากมาย จะเกิดผลดีด้วยซ้ำครับ เนื่องจาก o3 เป็นอะไรที่แตกตัวง่ายมาก เมื่อแตกตัวจะได้ o2 กลับมา แถมให้อากาศสะอาดขึ้น
ถึงแม้มี o3 ในท้องถนนถ้าไม่ใช้ปริมาณที่มากมาย จะเกิดผลดีด้วยซ้ำครับ เนื่องจาก o3 เป็นอะไรที่แตกตัวง่ายมาก เมื่อแตกตัวจะได้ o2 กลับมา แถมให้อากาศสะอาดขึ้น

ท้าชนความคิด vi ทุกสถาบัน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 9
O3 เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรอย่างมากครับ โดยปกติจะทำ
ปฏิกิริยากับพวกแก๊สและสารพิษอื่นๆ กลายเป็นอ็อกซิเจนกับสารที่
อันตรายน้อยลง เลยทำให้มีคนเอา "โอโซไนเซอร์" มาขายในทำนอง
ว่าจะทำให้อากาศปลอดโปร่ง ปราศจากสารพิษ
แต่การสูดหายใจเข้าไปโดยตรงนั้นอันตรายมากๆ ครับ ทั้งกับคนสัตว์
และพืช
ปฏิกิริยากับพวกแก๊สและสารพิษอื่นๆ กลายเป็นอ็อกซิเจนกับสารที่
อันตรายน้อยลง เลยทำให้มีคนเอา "โอโซไนเซอร์" มาขายในทำนอง
ว่าจะทำให้อากาศปลอดโปร่ง ปราศจากสารพิษ
แต่การสูดหายใจเข้าไปโดยตรงนั้นอันตรายมากๆ ครับ ทั้งกับคนสัตว์
และพืช
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 10
ผมว่าถ้ามันสร้างโอโซนได้จริง น่าจะสนับสนุนอย่างแรง
จะได้เพิ่มโอโซนในชั้นบรรยากาศ ลดปรากฎการณ์เรือนกระจก
จะได้เพิ่มโอโซนในชั้นบรรยากาศ ลดปรากฎการณ์เรือนกระจก
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 11
ใช้แบบจำลองทางคณิศาสตร์พบว่า ......
แสดงว่ายังไม่ได้ทดลองจริงๆ
แสดงว่ายังไม่ได้ทดลองจริงๆ
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์ที่ 14
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1929 08 ส.ค. - 11 ส.ค. 2547
ปตท.ยันแก๊สโซฮอล์ไรปัญหา ผลทดสอบรถปล่อยมลพิษจริงแต่ในปริมาณต่ำ
ปตท.ยันใช้แก๊สโซฮอล์ไม่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผลจากการทดสอบรถยนต์ 5 คัน ผสมเอธานอลที่ 15 % พิสูจน์แล้ว สารอันตรายอะเซททิลดีไฮด์ เทียบระดับมิลลิกรัมต่อกิโลเมตร เพิ่มในปริมาณที่น้อยมาก แต่กลับเป็นผลดีช่วยลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ขณะที่นักวิชาการด้านพลังงาน ออกมาหนุนให้ใช้แก๊สโซฮอล์ต่อ มีผลดีมากกว่า แต่ให้รัฐบาลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศที่จะตามมา
นายแสวง บุญญาสุวัฒน์ อนุกรรมการ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงกรณีที่เกรงว่าการใช้แก๊สโซฮฮล์จะมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพร่างกายว่า จากที่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ได้ทำการทดสอบรถยนต์จำนวน 5 คัน ดำเนินการตรวจวัดมลพิษในท่อไอเสียตามวิธีการของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. ซึ่งเหมือนกับมาตรฐานของอีซีอีหรือจากสหภาพยุโรป โดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้เอธานอลกับสารเอ็มทีบีอีผสมในน้ำมันเบนซินที่สัดส่วน 7.5 % และ 15 %
จากการทดสอบผสมเอธานอล 7.5 % แทนสารเอ็มทีบีอี พบว่าจะมีการปล่อยสารอะเซททิลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นทำให้เกิดก๊าซโอโซนภาคพื้นดิน มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและอาจเป็นสารก่อมะเร็งในปอดได้นั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่เมื่อผสมเอธานอลที่ 15 % พบว่าสารอะเซททิลดีไฮด์ เพิ่มขึ้นสองเท่าตัวหรือเพิ่มขึ้น 200 % แต่ถ้ามองในมุมกลับกันเป็นการเพิ่มขึ้นระดับมิลลิกรัมต่อกิโลเมตรของระยะทาง เช่น ปกติอยู่ที่ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลเมตร จะเพิ่มเป็น 60 มิลลิกรัมต่อกิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับระดับมิลลิกรัมที่เพิ่มขึ้นถือว่าอยู่ในระดับที่น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม การใช้เอธานอลที่รัฐบาลกำหนดที่ 9-10 % ผสมในน้ำมันเบนซิน ทำให้มลพิษบางตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ แต่เมื่อเทียบกับผลดีที่เกิดขึ้น เช่น ปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ลดลง 16 % เมื่อผสมเอธานอลที่ 7.5 % และ 18 % เมื่อผสมที่ 15 % ซึ่งถือว่าเป็นผลดีและได้ประโยชน์มากกว่าที่จะให้สารเอ็มทีบีอี
ผส.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ นักวิชาการจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงาน เปิดเผยว่า จากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้ อะไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศทั้งสิ้นไม่มาก็น้อย ซึ่งมลพิษจากการเผาไหม้น้ำมันเบนซิน จะได้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่จะไปขัดขวางขบวนการจับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงร่ายกาย กับสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในปอดหากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานๆ รวมถึงมีความเชื่อว่าสารกลุ่มนี้อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งปอดได้ หากเกิดมีสารโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ในน้ำมัน
ขณะที่มลพิษจากการเผาไหม้ของแก๊สโซฮอล์ เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศจะเกิดจากสารในกลุ่มฟอร์มาดีไฮด์ และกลุ่มอะเซททิลดีไฮด์ ซึ่งพบว่าเป็นสารตั้งต้นของก๊าซโอโซน ซึ่งหากมีความเข้มข้นสูงมากๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์แล้ว แก๊สโซฮอล์จะมีผลกระทบน้อยกว่า เพราะการผสมเอธานอลลงในน้ำมันเบนซิน 10 % จะสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้ถึง 13 % และลดการเกิดไฮโดรคาร์บอนได้ 5 % ซึ่งประเทศไทยเคยมีรายงานว่า กล่าวครึ่งของต่ำรวจจราจรที่ทำงานเกิน 2 ปี จะมีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และหากทำงานเกิน 10 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งค่อนข้างสูง หากมีการเปลี่ยนมาให้แก๊สโซฮอล์ให้มากขึ้น จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยของคนกรุงเทพฯได้ในระยะยาว ซึ่งถือว่ามีความคุ้มค่าทั้งในเชิงเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต
ผศ.ดร.จำนง กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่า การเพิ่มขึ้นของก๊าซโอโซนจากการใช้แก๊สโซฮอล์ จะส่งผลต่อพื้นที่เกษตรกรรมรอบกรุงเทพฯ รวมถึงต่อสุขภาพด้วยนั้น จากการตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษที่ผ่านมาพบว่าปริมาณโอโซนมีค่าเฉลี่ยยังไม่เกินมาตรฐาน แต่สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการต่อไปคือการรับผิดชอบเฝ้าตรวจระวังปริมาณของโอโซนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น หากมีการปรับเปลี่ยนไปใช้กแก๊สโซฮอล์ในปริมาณที่มากขึ้นในอนาคต
ขณะเดียวกันต้องมีการศึกษาวิจัยถึงเทคนิควิธีการลดปริมาณสารก่อโอโซนจากยานพาหนะที่ใช้เอธานอลเป็นสวนผสม เช่น การปรับปรุงอุปกรณ์เคทเทอไรติคคอนเวอร์เตอร์ให้สามารถดักจับสารตั้งต้นของโอโซนได้
ปตท.ยันแก๊สโซฮอล์ไรปัญหา ผลทดสอบรถปล่อยมลพิษจริงแต่ในปริมาณต่ำ
ปตท.ยันใช้แก๊สโซฮอล์ไม่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผลจากการทดสอบรถยนต์ 5 คัน ผสมเอธานอลที่ 15 % พิสูจน์แล้ว สารอันตรายอะเซททิลดีไฮด์ เทียบระดับมิลลิกรัมต่อกิโลเมตร เพิ่มในปริมาณที่น้อยมาก แต่กลับเป็นผลดีช่วยลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ขณะที่นักวิชาการด้านพลังงาน ออกมาหนุนให้ใช้แก๊สโซฮอล์ต่อ มีผลดีมากกว่า แต่ให้รัฐบาลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศที่จะตามมา
นายแสวง บุญญาสุวัฒน์ อนุกรรมการ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงกรณีที่เกรงว่าการใช้แก๊สโซฮฮล์จะมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพร่างกายว่า จากที่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ได้ทำการทดสอบรถยนต์จำนวน 5 คัน ดำเนินการตรวจวัดมลพิษในท่อไอเสียตามวิธีการของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. ซึ่งเหมือนกับมาตรฐานของอีซีอีหรือจากสหภาพยุโรป โดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้เอธานอลกับสารเอ็มทีบีอีผสมในน้ำมันเบนซินที่สัดส่วน 7.5 % และ 15 %
จากการทดสอบผสมเอธานอล 7.5 % แทนสารเอ็มทีบีอี พบว่าจะมีการปล่อยสารอะเซททิลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นทำให้เกิดก๊าซโอโซนภาคพื้นดิน มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและอาจเป็นสารก่อมะเร็งในปอดได้นั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่เมื่อผสมเอธานอลที่ 15 % พบว่าสารอะเซททิลดีไฮด์ เพิ่มขึ้นสองเท่าตัวหรือเพิ่มขึ้น 200 % แต่ถ้ามองในมุมกลับกันเป็นการเพิ่มขึ้นระดับมิลลิกรัมต่อกิโลเมตรของระยะทาง เช่น ปกติอยู่ที่ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลเมตร จะเพิ่มเป็น 60 มิลลิกรัมต่อกิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับระดับมิลลิกรัมที่เพิ่มขึ้นถือว่าอยู่ในระดับที่น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม การใช้เอธานอลที่รัฐบาลกำหนดที่ 9-10 % ผสมในน้ำมันเบนซิน ทำให้มลพิษบางตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ แต่เมื่อเทียบกับผลดีที่เกิดขึ้น เช่น ปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ลดลง 16 % เมื่อผสมเอธานอลที่ 7.5 % และ 18 % เมื่อผสมที่ 15 % ซึ่งถือว่าเป็นผลดีและได้ประโยชน์มากกว่าที่จะให้สารเอ็มทีบีอี
ผส.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ นักวิชาการจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงาน เปิดเผยว่า จากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้ อะไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศทั้งสิ้นไม่มาก็น้อย ซึ่งมลพิษจากการเผาไหม้น้ำมันเบนซิน จะได้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่จะไปขัดขวางขบวนการจับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงร่ายกาย กับสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในปอดหากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานๆ รวมถึงมีความเชื่อว่าสารกลุ่มนี้อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งปอดได้ หากเกิดมีสารโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ในน้ำมัน
ขณะที่มลพิษจากการเผาไหม้ของแก๊สโซฮอล์ เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศจะเกิดจากสารในกลุ่มฟอร์มาดีไฮด์ และกลุ่มอะเซททิลดีไฮด์ ซึ่งพบว่าเป็นสารตั้งต้นของก๊าซโอโซน ซึ่งหากมีความเข้มข้นสูงมากๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์แล้ว แก๊สโซฮอล์จะมีผลกระทบน้อยกว่า เพราะการผสมเอธานอลลงในน้ำมันเบนซิน 10 % จะสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้ถึง 13 % และลดการเกิดไฮโดรคาร์บอนได้ 5 % ซึ่งประเทศไทยเคยมีรายงานว่า กล่าวครึ่งของต่ำรวจจราจรที่ทำงานเกิน 2 ปี จะมีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และหากทำงานเกิน 10 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งค่อนข้างสูง หากมีการเปลี่ยนมาให้แก๊สโซฮอล์ให้มากขึ้น จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยของคนกรุงเทพฯได้ในระยะยาว ซึ่งถือว่ามีความคุ้มค่าทั้งในเชิงเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต
ผศ.ดร.จำนง กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่า การเพิ่มขึ้นของก๊าซโอโซนจากการใช้แก๊สโซฮอล์ จะส่งผลต่อพื้นที่เกษตรกรรมรอบกรุงเทพฯ รวมถึงต่อสุขภาพด้วยนั้น จากการตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษที่ผ่านมาพบว่าปริมาณโอโซนมีค่าเฉลี่ยยังไม่เกินมาตรฐาน แต่สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการต่อไปคือการรับผิดชอบเฝ้าตรวจระวังปริมาณของโอโซนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น หากมีการปรับเปลี่ยนไปใช้กแก๊สโซฮอล์ในปริมาณที่มากขึ้นในอนาคต
ขณะเดียวกันต้องมีการศึกษาวิจัยถึงเทคนิควิธีการลดปริมาณสารก่อโอโซนจากยานพาหนะที่ใช้เอธานอลเป็นสวนผสม เช่น การปรับปรุงอุปกรณ์เคทเทอไรติคคอนเวอร์เตอร์ให้สามารถดักจับสารตั้งต้นของโอโซนได้
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..