มาคุยเรื่องธรรมะกันครับ
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยเรื่องธรรมะกันครับ
โพสต์ที่ 1
ผมเป็นคนที่สนใจศึกษาเรื่องธรรมะ เป็นพิเศษ
ตั้งแต่ยังเด็ก เลยครับ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร
ตอนเด็ก ๆ ได้ไปดูดวงหลายครั้ง (แม่พาไปน่ะครับ)
เกือบทุกคนก็จะบอกว่ามีดวงจะได้บวชเป็นพระ และมีชื่อเสียง
แต่พอผมโตขึ้นมานับวัน ผมจะยิ่งมีแต่กิเลสน่ะสิครับ :lol:
เอาล่ะ ว่าแล้วผมก็ขอชวนพี่ ๆ เพื่อน ๆ มาคุยกันเรื่องธรรมะกันดีกว่าครับ
เผื่อว่าผมจะได้มีความเข้าใจ และเอามาใช้ได้ดี กะเขาบ้าง
ขอเปิดประเด็นด้วย ธรรม ที่สำคัญที่สุดก่อนเลยดีกว่าครับ
ว่าด้วยอริยสัจ 4 นั้นคืออะไร และท่านคิดว่านำมาใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง
ขอบคุณครับ
ตั้งแต่ยังเด็ก เลยครับ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร
ตอนเด็ก ๆ ได้ไปดูดวงหลายครั้ง (แม่พาไปน่ะครับ)
เกือบทุกคนก็จะบอกว่ามีดวงจะได้บวชเป็นพระ และมีชื่อเสียง
แต่พอผมโตขึ้นมานับวัน ผมจะยิ่งมีแต่กิเลสน่ะสิครับ :lol:
เอาล่ะ ว่าแล้วผมก็ขอชวนพี่ ๆ เพื่อน ๆ มาคุยกันเรื่องธรรมะกันดีกว่าครับ
เผื่อว่าผมจะได้มีความเข้าใจ และเอามาใช้ได้ดี กะเขาบ้าง
ขอเปิดประเด็นด้วย ธรรม ที่สำคัญที่สุดก่อนเลยดีกว่าครับ
ว่าด้วยอริยสัจ 4 นั้นคืออะไร และท่านคิดว่านำมาใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง
ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยเรื่องธรรมะกันครับ
โพสต์ที่ 2
ในเบื้องต้น หากปฎิบัติแล้ว ก็ทำให้ทุกข์น้อยลง
ในเบื่องปลาย ก็ทำให้หลุดพ้น ( ตรงนี้ยังเข้าไม่ถึง )
เรื่องทุกข์น้อยนี่ ใช้ได้กับทุกเรื่อง หากไม่ยึดมั่นถือมั่น
ซึ่ง เราจะทำได้อย่างไรหละ เพราะเรารักชีวิต รักครอบครัว รักทุกอย่างที่เรามีเช่น ชื่อเสียง ตำแหน่ง หน้าที่การงาน
อย่างไรก็ตามเมื่อสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป หากใช้ธรรมะเข้าช่วย ประคองจิตใจ ก็จะทำให้ได้สติ ว่า เมื่อได้มาก็ต้องเสียไป
ใครที่อยู่ดีๆ มีข่าวร้าย เช่นโรคร้ายมาเยือน สมมุติว่าเป็น มะเร็ง เราจะทำใจได้อย่างไรว่า เราจะต้องตาย ทั้งๆที่เราก็ต้องตาย
ไม่น่าเชื่อแต่ ก็เป็นอย่างนั้น ไม่ว่าจะอยากตาย ไม่อยากตาย สุดท้ายก็ตายอยู่ดี
คนที่ต้องสูญเสีย อะไรก็ตามที่ยึดไว้ เช่น ร่างกายนี้ หรือของรักของหวงใดๆทั้งสิ้น
สุดท้าย ต้องทำใจอยู่คนเดียว ไม่มีใครช่วยได้เลย นอกจากตัวเราเอง ที่เรียกว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ในเบื่องปลาย ก็ทำให้หลุดพ้น ( ตรงนี้ยังเข้าไม่ถึง )
เรื่องทุกข์น้อยนี่ ใช้ได้กับทุกเรื่อง หากไม่ยึดมั่นถือมั่น
ซึ่ง เราจะทำได้อย่างไรหละ เพราะเรารักชีวิต รักครอบครัว รักทุกอย่างที่เรามีเช่น ชื่อเสียง ตำแหน่ง หน้าที่การงาน
อย่างไรก็ตามเมื่อสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป หากใช้ธรรมะเข้าช่วย ประคองจิตใจ ก็จะทำให้ได้สติ ว่า เมื่อได้มาก็ต้องเสียไป
ใครที่อยู่ดีๆ มีข่าวร้าย เช่นโรคร้ายมาเยือน สมมุติว่าเป็น มะเร็ง เราจะทำใจได้อย่างไรว่า เราจะต้องตาย ทั้งๆที่เราก็ต้องตาย
ไม่น่าเชื่อแต่ ก็เป็นอย่างนั้น ไม่ว่าจะอยากตาย ไม่อยากตาย สุดท้ายก็ตายอยู่ดี
คนที่ต้องสูญเสีย อะไรก็ตามที่ยึดไว้ เช่น ร่างกายนี้ หรือของรักของหวงใดๆทั้งสิ้น
สุดท้าย ต้องทำใจอยู่คนเดียว ไม่มีใครช่วยได้เลย นอกจากตัวเราเอง ที่เรียกว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยเรื่องธรรมะกันครับ
โพสต์ที่ 3
ก่อนอื่นขอกล่าวถึงความหมายของอริยสัจ 4 ก่อนนะครับ
คัดลอกมาจากเว็บนี้ครับ http://larndham.net/index.php?showtopic=31150&st=10
อริยสัจ ๔ แปลว่า สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)
สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้ สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ หรือแปลรวบรัดว่า
สัจจะอย่างประเสริฐ พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลก
หรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง อริยสัจ มี ๔ คือ
๑. ทุกข์ ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต
และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือ
กายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่างๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวก็ได้
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา ความดิ้นรน
ทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้
ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
๔. มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ ๘
คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ
เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ
คัดลอกมาจากเว็บนี้ครับ http://larndham.net/index.php?showtopic=31150&st=10
อริยสัจ ๔ แปลว่า สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)
สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้ สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ หรือแปลรวบรัดว่า
สัจจะอย่างประเสริฐ พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลก
หรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง อริยสัจ มี ๔ คือ
๑. ทุกข์ ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต
และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือ
กายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่างๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวก็ได้
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา ความดิ้นรน
ทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้
ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
๔. มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ ๘
คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ
เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาคุยเรื่องธรรมะกันครับ
โพสต์ที่ 4
จริง ๆ แล้วนี่คือจุดประสงค์หลักของผมที่มาโพสต์เลยครับท่านคิดว่านำมาใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง
นั่นคือเรื่องธรรมะกับการลงทุนครับ
ฉะนั้นผมขอเริ่มก่อนเลยนะครับ ในเรื่องอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ ตามความเข้าใจของผมนั้น
เป็นการแก้ปัญหาใด ๆ โดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผลครับ
โดยที่จะมองจากผลก่อน ได้แก่ ทุกข์
อะไรคือทุกข์ ทุกข์เป็นอย่างไร หานิยามความหมายของมัน
จากนั้นจึงมามองว่าเหตุคืออะไร นั่นคือ สมุหทัยนั่นเอง
ต่อมาได้ย้อนกลับมาดูผลเมื่อดับทุกข์แล้วจะเป็นอย่างไร นั่นคือนิโรธ
และสุดท้ายจึงมาดูว่าเหตุที่ทำให้ดับทุกข์ได้คืออะไร
หรือวิธีที่จะทำให้เกิดนิโรธได้คืออะไรนั่นเอง
เมื่อมองตามนี้แล้ว เราก็สามารถนำมาใช้ในการลงทุนได้ (ตามความคิดผม) ดังนี้
๑ การลงทุนที่ไม่ดีเป็นอย่างไร
๒ อะไรเป็นเหตุให้ลงทุนแบบนั้น
๓ การลงทุนที่ดีเป็นอย่างไร
๔ ทำอย่างไรจึงจะลงทุนได้ตามนั้น
ซึ่งผมเชื่อว่าหากตอบคำถามเหล่านี้ได้คงจะดีมิใช่น้อย
(ผมเองยังไม่มีประสบการณ์การลงทุนด้วยเงินจริง ๆ เลยอ่ะครับ แฮ่ะ แฮ่ะ) :oops:
พี่ ๆ เพื่อน ๆ คนไหน มีความเห็นอย่างไร เชิญ Post ได้เลยนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยเรื่องธรรมะกันครับ
โพสต์ที่ 5
๑ การลงทุนที่ไม่ดีเป็นอย่างไร
ขาดทุน
๒ อะไรเป็นเหตุให้ลงทุนแบบนั้น
ความไม่รู้ และหรือ ความโลภ
๓ การลงทุนที่ดีเป็นอย่างไร
กำไร
๔ ทำอย่างไรจึงจะลงทุนได้ตามนั้น
มีสติ ลงทุนในบริษัทที่รู้ ( อาศัยการเรียนรู้ ) และในจังหวะราคาที่เหมาะสม ( อาศัยประสบการณ์ )
ขาดทุน
๒ อะไรเป็นเหตุให้ลงทุนแบบนั้น
ความไม่รู้ และหรือ ความโลภ
๓ การลงทุนที่ดีเป็นอย่างไร
กำไร
๔ ทำอย่างไรจึงจะลงทุนได้ตามนั้น
มีสติ ลงทุนในบริษัทที่รู้ ( อาศัยการเรียนรู้ ) และในจังหวะราคาที่เหมาะสม ( อาศัยประสบการณ์ )