'CL อำนาจอธิปไตย' นิมิตร์ เทียนอุดม
ไทยโพสต์ 10 ก.พ. 51 - "ถ้าประกาศว่าไม่ทำ CL มันเป็นการสูญเสียอำนาจอธิปไตยของประเทศ อำนาจที่เราจะใช้กฎหมายถือเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ เราไม่ได้อยู่ภายใต้สิทธินอกอาณาเขตของอเมริกา"
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ ไชยา สะสมทรัพย์ สร้างเซอร์ไพรส์เมื่อกลายเป็น "สายล่อฟ้า" คนแรกที่จุดชนวนเรียกเสียงคัดค้านจากภาคประชาชน เมื่อประกาศจะทบทวนการทำ CL หรือมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ยาโรคมะเร็ง 4 ตัวที่ นพ.มงคล ณ สงขลา ทำไว้เมื่อต้นเดือนมกราคม
แล้วก็ยิ่งสุมไฟเข้าไปอีกเมื่อกล่าวมธุรสวาจา หยอกผู้ป่วยให้ไปกินดอกไม้จันทน์!
จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม รัฐมนตรีคนใหม่กลับแสดงท่าทีน่ากังขา ออกอาการสนับสนุนแพทย์และพยาบาลที่เคยประท้วง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ "30 บาทรักษาทุกโรค" แล้วกลับมาเปิดประเด็นกับ นพ.มงคล นพ.วิชัย รวมทั้งภาคประชาสังคมที่เคยร่วมกันผลักดันนโยบายนี้ ให้เป็นความสำเร็จชิ้นโบแดงของพรรคไทยรักไทย จนต่อเนื่องมาถึงพรรคพลังประชาชนให้ได้รับเลือกจากคนจนคนชนบท
ฉะนั้นคงต้องเตือนสติเสียบ้าง โดยนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
CL ช่วยชีวิต
นิมิตร์เห็นว่าคำกล่าวถึงดอกไม้จันทน์ ของ รมว.สาธารณสุข อาจจะเป็นการพูดเล่น แต่ก็ไม่เหมาะ
"วุฒิภาวะคงต้องเยอะกว่านี้ ถ้าเป็นลุงแก่ๆ คนหนึ่งอยู่นครปฐมแล้วพูดหยอกล้อกับคนป่วยว่าเป็นผมจะกินดอกไม้จันทน์ ก็จะเป็นเรื่องน้อยกว่านี้ อาจจะเป็นไปได้ว่าเขาไม่มีความเข้าใจเรื่องเอดส์ เป็นลุงแก่ๆ คนหนึ่งไม่เป็นไร แต่เมื่อเป็นรัฐมนตรีวุฒิภาวะต้องมากกว่านี้"
"เป็นการพูดแบบลูกตีจาก เหมือนมวยชกกันกรรมการห้ามแล้ว ก็ยังมีลูกเหวี่ยงตีจากหน่อย โดยมารยาทไม่เหมาะ คนที่เป็นผู้บริหารระดับสูง รับผิดชอบชีวิตคนมาล้อเล่นแบบนี้ไม่เหมาะ น่าจะขอโทษ"
นิมิตร์ย้อนให้เห็นว่าการทำ CL มีผลอย่างไร เพราะกระทรวงสาธารณสุขในยุคหมอมงคล ทำ CL ยาทั้งหมด 7 ตัว 2 ตัวแรกเป็นยาต้านไวรัสเอดส์
ยาต้านไวรัสเอดส์ที่ผู้ป่วยใช้อยู่ทุกวันนี้คือ GPO-vir ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้น 3 ตัวคือ Nevirapine 3TC และ D4T
"แต่บางคนที่กินมีผลข้างเคียง เช่นไขมันย้ายที่ เหมือนตรงแก้มเราเคยมีไขมันพอย้ายที่ก็จะเหลือแต่ผิวหนัง ถ้าเปลี่ยนเอาตัว D4T ออก เอา AZT ใส่เข้าไป สักพักร่างกายก็จะสร้างไขมันใหม่ขึ้นมา"
"ยาตัวที่เขาต้องเปลี่ยนเป็นตัวหนึ่งซึ่งบริษัท GLAXSO ไปยื่นขอจดสิทธิบัตรไว้ แล้วเครือข่ายเราไปยื่นคัดค้านว่ายาตัวนี้ไม่ควรได้สิทธิบัตร เพราะมันเป็นยาเก่า เอามารวมเป็นเม็ดเดียวกันแล้วจะยื่นสิทธิบัตรไม่น่าจะเข้าเกณฑ์ โดย GLAXSO ไปเอาตัว AZT+3TC ผสมเป็น 1 เม็ดแล้วไปยื่นขอจดสิทธิบัตร พวกเราก็ไปยื่นคัดค้าน เพราะถ้าเขาได้สิทธิบัตร ยาตัวนี้ก็จะถูกผูกขาด ราคาจะพุ่งขึ้นไปอีก ปัจจุบันยา 2 ตัวนี้รวมกัน 1 เดือนไม่ถึง 600 บาท แต่เดิม 2,000 กว่า พอเราคัดค้านสำเร็จ บริษัทก็ขอถอนการจดสิทธิบัตรออกไป ก็เลยไม่ต้องทำ CL ตัวนี้"
"ตัวที่แรกที่ทำ CL คือ Efavirenz เป็นยาสูตรสำรอง ใช้กรณีผู้ป่วยที่ได้ GVO-vir แล้วแพ้ ปกติคน 1 แสนคนจะมีประมาณ 10,000 คนที่แพ้ Nevirapine กินไปอาจถึงตายได้ ติดเชื้อและเสียชีวิต ก็ต้องหายาตัวใหม่ ยาตัวนี้คือเอฟฟา เดิมราคาอยู่ที่เดือนละ 2,000 และต้องมารวมกับอีก 2 ตัว โดยเฉลี่ยก็ 2,600 หมายความว่าเราจะต้องจ่าย 2,600 ถ้าไม่ทำ CL เอฟฟา"
"พอบริษัทรู้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะทำ CL สิ่งที่บริษัทเล่นก็คือลดราคาลงมา จากเดิมเกือบๆ 2,000 ลดเหลือ 1,500 ปัจจุบันลดเหลือ 800 กว่าบาท ถ้าไม่มีวี่แววว่าเราจะทำ CL ราคายาตัวนี้จะไม่ลด จนมีการกดดันต่อรองก็เริ่มลด แต่ก็ยังไม่มากพอเมื่อเทียบราคายาที่อินเดียผลิต อยู่ที่ 650 บาทต่อเดือน"
นิมิตร์เทียบให้ดูว่าจากราคายา 2,000 บาทเมื่อทำ CL เหลือ 650 บาทก็ถูกลงหลายเท่า ผู้ป่วย 10% ถ้ามี 10,000 คนที่ใช้ GPO-vir ไม่ได้ก็ต้องมาใช้ Efavirenz ก็ประหยัดงบประมาณไปร้อยกว่าล้านบาทต่อปี และที่สำคัญก็คือการทำ CL ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาทั่วถึง
"ก่อนหน้าที่จะทำ CL เอฟฟา สิ่งที่ผู้ป่วยเจอก็คือคุณต้องมีเงินจ่าย หรืออันที่สองหมอบอกว่าไม่รู้จะทำอย่างไร ยาไม่มี ทนกินยาเก่าไปก่อนนะ หรือตัดออก 1 ตัวให้กินแค่ 2 ตัวมันก็ไม่มีผล และโอกาสดื้อยา 2 ตัวที่กินจะมากขึ้น ดังนั้นมันหมายถึงโอกาสของชีวิต ถ้าไม่ทำ CL คนจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์นี้ก็จะแย่ ฉะนั้น เอฟฟาถือว่าเป็นยาตัวแรกที่ทำ CL สั่งยาจากอินเดียแล้วตอนนี้ก็กระจายยาให้ทุกคนได้กิน"
เมื่อทำ CL แล้วบริษัทยาต้นแบบก็ลดราคาลงเหลือ 800 บาท "มันเหมือนกับเขาใช้กลไกตลาดมาสู้ แต่เขาต้องสู้มากกว่านี้ถึงจะชนะ เพราะขณะที่เราไปหายาเปรียบเทียบจากที่อื่นมันถูกกว่า"
ตัวที่สองที่ทำ CL คือ Kaletra ของแอ๊บบอต ซึ่งเป็นกรณีที่ร้อนแรง บริษัทยาอเมริกันออกมาโวยวายเป็นข่าวไปทั่วโลก
Kaletra ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งกินยาสูตรพื้นฐานไปแล้วระยะหนึ่งจะดื้อยา ประมาณ 10% ของทั้งหมดในแต่ละปี
ถามว่ากินยาเดิมกี่ปีถึงจะดื้อ "ตัวเลขเฉลี่ยที่เราหวังน่าจะ 5-6 ปี แต่หมอจำนวนหนึ่งเขาก็บอกว่าไม่ถึงหรอก เต็มที่น่าจะ 4 ปี แต่พวกเราคิดว่าถ้า 4 ปีแล้วดื้อนี่ยุ่งเลย เพราะหมายถึงจำนวนคนที่ต้องใช้ยาแพงจะมากขึ้น มันลำบาก สิ่งที่ทุกฝ่ายทำก็คือพยายามให้ข้อมูลกับผู้กินยาว่าการกินยาตรงเวลาต่อเนื่องสำคัญมาก ตอนนี้กลุ่มผู้ติดเชื้อเข้าไปทำงานกับโรงพยาบาล อย่างน้อย 3 คนจะอยู่คอยให้คำปรึกษาคนใหม่ที่เข้ามา และติดตามคนที่กินยาอยู่แล้ว เราพยายามอยากจะยืดให้ถึง 6-7 ปีถึงจะดื้อยา"
"Kaletra เป็นของแอ๊บบอต ซึ่งที่ผ่านมาเป็นบริษัทที่ลดราคายาต้านไวรัสน้อยมาก ต่อรองเท่าไหร่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะลดราคา เดิมราคาอยู่ที่ 11,000-12,000 ต่อเดือน และต้องไปบวกกับ 3TC แล้วแต่ว่าหมอจะผสมสูตรอะไรให้ พอบวกกัน 3 ตัวจะตกที่ 15,000 บาท ถ้าเรามีคนป่วย 1 แสนคน ต้องกินสูตรนี้ 10 เปอร์เซ็นต์ 10,000 คน 15,000 บาท 1 ปีเท่าไหร่ เลยเห็นความจำเป็นว่าเราต้องทำ CL เพื่อให้มันถูกลง และรองรับสถานการณ์ที่ทุกปีจะมีคนดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ"
เมื่อทำ CL แล้ว Kaletra ราคาลดเหลือ 2,600 กว่าบาท เมื่อรวมกับยาอื่น เฉลี่ยจะอยู่ที่ 3,000-4,000 บาทเท่านั้น โดยแล้วแต่การใช้ยาตัวอื่นที่จำเป็นเช่นกันในสูตรดื้อยา
"โจทย์คือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาดื้อยา ในสิทธิประโยชน์เรื่องเอดส์ที่ทุกคนจะต้องได้รับ ถ้าคุณเริ่มกินยาต้านไวรัส เดือนที่ 1 นับไปอีก 6 เดือนคุณจะต้องได้ตรวจหาเม็ดเลือดขาว ทุกๆ 6 เดือน ถ้าเราไม่ตรวจ หมอประเมินจากรูปลักษณ์ภายนอกไม่รู้ว่ายามีประสิทธิภาพในการรักษาแค่ไหน และทุก 1 ปีจะต้องได้รับการตรวจหาจำนวนไวรัสเราถึงรู้ว่า 10 เปอร์เซ็นต์จะดื้อยา เงินที่ safe จากเอฟฟา ทำให้มีเงินพอที่จะมาจัดการเรื่องระบบแล็บ คือโรคอื่นกินยาแล้วก็จบรักษาหายไม่ต้องมายุ่งเรื่องแล็บ แต่โรคนี้คุณต้อง monitor ด้วยแล็บตลอดเวลา มันจึงหมายถึงจำนวนเงินค่าแล็บและจำนวนเงินค่ายา ที่ผ่านมาในช่วง 4 ปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขเริ่มหาเงินก้อนพิเศษมาจ่ายค่ายาต้านให้ เรื่องการตรวจแล็บนี่เป็นความฝันเลยนะ คือรู้อยู่ว่าต้องตรวจแต่ต้องจ่ายเงินเอง บางคนเลยไม่ได้ตรวจทุกๆ 6 เดือน ค่าตรวจแต่ละครั้งถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐประมาณ 500 เอกชนก็ตั้งแต่ 1,000 ขึ้นไป ส่วนค่าตรวจจำนวนไวรัสจะประมาณ 4,000 เฉลี่ยแล้วก็ 5,000 กว่าบาทต่อคนต่อปี ถ้ามีคน 1 แสนคนเท่าไหร่ ฉะนั้นเงินที่ safe จากค่ายาถึงนำมาพัฒนาระบบแล็บนี้ได้ แต่ก็ยังไม่พอ มีคนที่ได้ตรวจแล็บประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของคนที่กินยาเท่านั้น หมายความว่าต้องการเงินอีกจำนวนหนึ่งที่ไปพัฒนาระบบแล็บ ต้องฝึกคน ซื้อเครื่องเพิ่ม ตอนนี้เครื่องที่ตรวจจำนวนไวรัสมีแค่ในจังหวัดใหญ่ๆ"
30 บาทรับยาต้านไวรัสตั้งแต่ปี 2548 หลังจากที่องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตได้
"30 บาทรับยาต้านไวรัสเข้าอยู่ในระบบ เพราะมีแนวโน้มจะถูกลงเรื่อยๆ จุดเปลี่ยนที่สำคัญก็คือว่าองค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตยา generic 3 ตัวได้ นี่คือจุดเปลี่ยน เดิมจาก 10,000 ต้นๆ ถ้าคน 1 แสนคนต้องกินราคานี้มาตลอดตั้งแต่วันแรก มันไม่ไหว จึงมีการต่อรองและผลักดันจนกระทั่งองค์การเภสัชฯ ผลิต GPO-vir ในราคา 1,250 บาท กระทรวงสาธารณสุขตอนนั้นคุณสุดารัตน์เป็นรัฐมนตรีก็เห็นว่ากระทรวงน่าจะจ่ายได้ ก็หาเงินมา 500 ล้าน เริ่มซื้อยาองค์การเภสัชฯ จากนั้น สป.สช.มาคิดว่าต้องจ่ายประมาณ 1,000 กว่า ตัวเลขคนอยู่ที่ 80,000-90,000 คน ณ เวลานั้น เป็นเงิน 2,000-3,000 ล้านน่าจะจ่ายได้ มันเป็นจุดที่ตัดสินใจว่าโอเคจ่ายให้"
"พอเป็นอย่างนั้นเราก็บอกกันว่าคิดแค่นี้ไม่พอนะ เพราะเรารู้อยู่ว่าคนที่กินสูตรพื้นฐานในอนาคตมันต้องดื้อ ต้องวางแผนรองรับ ตั้งแต่วันแรกที่รับเขาเข้ามาก็มีจำนวนหนึ่งแล้วที่ดื้อยา เพราะฉะนั้นปี 2548 เริ่มสูตรพื้นฐาน ตอนนั้นเราประมาณกันว่าน่าจะมีคนที่ดื้อยาสัก 500 คน ที่ควรจะต้องได้สูตรดื้อยา แต่ระบบบอกไม่พร้อม ยังไม่ให้ ทนกินไปก่อน คนที่ดื้อยาก็ต้องดิ้นรนจ่ายเอง เลยต้องมานั่งคิดกันว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะรองรับคนที่ดื้อยาได้ ตัว Kaletra ถึงถูกหยิบขึ้นมา เราตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อจะมาดูว่ายาที่จำเป็นต้องมารองรับในระบบคือตัวไหน ก็เห็นตัวนี้ว่าสำคัญ ปี 2549 กรรมการฯ ก็หาข้อสรุปร่วมกัน เรียกบริษัทมาคุย ก็สรุปว่าจะต้องทำ CL ตัวนี้"
ก่อนหน้านี้คน 500 คนไม่ได้ยาทั้งที่จำเป็นต้องได้ยาแล้ว แต่ไม่ได้ เพิ่งได้เมื่อทำ CL และไม่ใช่แค่ 500 คนเท่านั้น เพราะเมื่อเริ่มจ่ายยาไปประมาณเดือนเศษที่ผ่านมา พบว่ามีคนที่ต้องกินยา Kaletra ราว 3,000 คน และจำนวนก็จะเพิ่มขึ้นทุกปี
"ระบบเรายังไม่สมบูรณ์ หมายความว่าถ้าคุณอยู่ไกลหน่อยแล้วหมออาจจะยังไม่เชี่ยวชาญ เขาไม่ส่งตรวจก็ไม่ได้สูตรดื้อยา เครื่องตรวจเชื้อดื้อยาทั้งประเทศมีอยู่ 7 เครื่อง แต่ว่าเรามีคน 1 แสนคนกระจายอยู่"
"ตอนนี้ สป.สช. ก็เพิ่งจ่ายให้ 3,000 คนที่ผมพูดถึง มันมีกระบวนการที่ต้องกลั่นกรอง พอประกาศ CL ไม่ได้หมายความว่าเอายาเข้ามาได้เลยนะ ช่วงที่เจรจากับบริษัท คณะทำงานก็ต้องไปหาบริษัทยาอื่นที่ทำแบบเดียวกันแต่ราคาถูกกว่า ดูคุณภาพจนมั่นใจว่าบริษัทมีคุณภาพ แล้วบริษัทนี้ต้องมาขึ้นทะเบียนยากับ อย. อย.ก็เรียกหลักฐานยาสามัญที่ผลิต Kaletra มาดูว่ามีคุณภาพพอที่จะให้ฉลากยาไหม ใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะตรวจสอบกันเสร็จ ซึ่งหลายเดือนก็ต้องบอกว่าเร็วแล้วนะ ปกติยาตัวหนึ่งจะมาขึ้นทะเบียนยาในเมืองไทยอย่างน้อยเป็นปี นี่ก็ช่วยเร่งให้เร็วขึ้น แต่ว่าก็ยังอยู่บนมาตรฐานของคุณภาพ พอยาตัวนี้มาปุ๊บก็ต้องไปสัมพันธ์กับการตรวจแล็บของแต่ละคน"
นิมิตร์ยืนยันว่าไม่ใช่ว่าทำ CL แล้วจะใช้ยากันง่ายๆ เครือข่ายผู้ป่วยมีการควบคุมเข้มงวด
"เรามีความรอบคอบพอสมควรที่จะเปลี่ยนสูตรดื้อยาให้กับใครคนหนึ่ง จนบางทีพวกเราก็ต้องกระทบกระทั่งกับผู้ติดเชื้อด้วยกัน เฮ้ยทำไมช้าอย่างนี้ ก็มีปัญหากัน แต่เรื่องของเรื่องคือต้องรอบคอบจริงๆ อันดับแรกเลยคนคนหนึ่งถูกตรวจว่าดื้อยาปุ๊บ ที่เราพยายามตั้งเป็นเกณฑ์เลยคือต้องตรวจหาสาเหตุให้เจอว่าการดื้อยานั้นเกิดจากอะไร แกนนำผู้ติดเชื้อกับหมอพยาบาลต้องทำงานด้วยกัน และต้องคุยกับผู้ป่วยที่ดื้อยา เช็กว่าพฤติกรรมการกินยาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ถ้าพบว่ากินบ้างไม่กินบ้าง ไม่ตรงเวลา เราจะไม่เปลี่ยนให้เป็นสูตรดื้อยา จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าลองกินยาพื้นฐานที่เคยกินอยู่ก่อน แล้วต้องให้ตรงเวลา เช็กจนมั่นใจว่าตอนนี้เขามีสถานการณ์ดื้อยาและเขาต้องกลับไปกินยาพื้นฐานอันเดิมให้ตรงเวลาก่อน พอปรับอย่างนี้แล้ว ไปตรวจดื้อยาใหม่ ดีขึ้นก็มี ฉะนั้นก็ยังไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสูตรดื้อยา เพื่อไม่ต้องจ่ายเงินเยอะ ส่วนคนที่พบว่าดื้อยาและเช็กแล้วว่าที่ผ่านมากินยาดีตลอด ก็ต้องเปลี่ยน หมอที่ให้ยาประจำที่โรงพยาบาลอำเภอไม่มีอำนาจเปลี่ยน ต้องขอไปที่คณะกรรมการที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนั้น มี 3-4 คนเป็นเหมือนที่ปรึกษาในการปรับเปลี่ยนสูตรยา ต้องส่งข้อมูลไปให้พิจารณา เมื่อเห็นด้วยจึงสั่งเปลี่ยน ฉะนั้นมันมีขั้นตอนพอสมควร ที่ต้องเป็นแบบนี้เพราะว่าต้องรอบคอบ ไม่ใช่ว่าเราทำ CL แล้วราคายาถูกลงแล้ว ดื้อยาปุ๊บเปลี่ยนให้เลย ถ้าทำอย่างนั้นอนาคตเราจะไม่มีทางออก ถ้าเราไม่มั่นใจว่าเขาดื้อจริงๆ แล้วให้ Kaletra ไปเลย เขากินแล้วไม่ดีขึ้นมันยิ่งดื้อยาเข้าไปใหญ่ แล้วยาสูตรถัดๆ ไปยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ เราไปไล่ตามทำ CL หมดก็ไม่ได้ มันมีข้อจำกัด พวกเราที่อยู่ในงานนี้ทั้งทีมหมอพยาบาล ผู้ติดเชื้อ เอ็นจีโอ พยายามเซตระบบกัน"
รมต.หลงกระทรวง
ทำไมผู้ป่วยเอดส์ซึ่งได้ยาแล้วมาร่วมคัดค้านกับผู้ป่วยมะเร็ง เขาบอกว่าทั้งหมดรวมกันเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่เหมือนอยู่ในความทุกข์เดียวกัน
"เหมือนเป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เครือข่ายผู้ติดเชื้อ เครือข่ายไต เครือข่ายมะเร็ง เราลงไปช่วยเขาเพราะภาวะของผู้ป่วยมะเร็งในช่วงหนึ่งทำอะไรไม่ได้เลย จนว่าเขาจะคีโมเสร็จ บางทีก็ไม่ทัน บางคนก็เสียชีวิต บางคนต้องรักษาตัวต่อ กระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนทุกข์คนยากต้องลงมาช่วยกัน ไม่ใช่เราทำเฉพาะเอดส์เราก็จะอยู่ตรงนี้"
"ประเด็นที่สองเรื่อง CL เป็นเหมือนกติกาตรงกลางให้กับทุกโรค ความเดือดร้อนของมะเร็งหนักหนาสาหัสเท่ากับเอดส์ในแง่ของค่ายา ในช่วงต้นหนักกว่าอีก ที่ต้องพยุงชีวิตไว้ก่อน เป็นล้าน ในช่วง 6 เดือนที่ถูกตรวจพบและต้องใช้เคมีบำบัด ภาวะสุขภาพก็ไม่พร้อม ฉะนั้นคนที่ผ่านเคมีบำบัดแล้วมาตั้งเครือข่าย พวกเราก็ต้องลงไปช่วย"
CL ยามะเร็งทั้ง 4 ตัวทำให้ราคายาลดลงมหาศาล
"ตัวแรก Docetaxel เข็มเดียวขนาด 80 มิลลิกรัมราคาอยู่ที่ 25,000 บาท ถ้าทำ CL แล้วไปซื้อจากอินเดียอยู่ที่ 4,000 บาท ตัวนี้ใช้ได้กับมะเร็งหลายชนิด ส่วนใหญ่ใช้กับปอดและเต้านม ตัวที่สอง Letrozole รักษามะเร็งเต้านม เม็ดละ 230 บาทต้องกินทุกวัน เดือนละ 6,900 บาท ถ้าทำ CL เหลือเม็ดละ 6 บาท เดือนละ 180 บาท ต่างกัน 30 กว่าเท่า ตัวที่สาม Erlotinib มะเร็งปอด 1 เม็ด 150 มิลลิกรัม 2,750 บาท กินทุกวัน เดือนละ 82,000 บาท ทำ CL เหลือเม็ดละ 730 บาท ตัวสุดท้าย Imatinib มะเร็งเม็ดเลือดขาว 1 เม็ด 100 มิลลิกรัม 917 บาท แต่ต้องใช้ 4 เม็ด วันละ 3,600 บาท 1 ปีก็ล้านกว่าบาท ทำ CL เหลือเม็ดละ 50 บาท 4 เม็ดก็ 200 ถ้า 1 ปีก็ 70,000 ต่างกัน 10 กว่าเท่า"
ส่วนยาตัวที่สามที่ทำ CL ก่อนหน้านี้ คือยาโรคหัวใจ Clopidrogel ซึ่งราคาเม็ดละ 45 บาท ผุ้ป่วยต้องกินวันละเม็ด หลังทำ CL แล้วลดเหลือ 1.10 บาท
เราร้องโอ้โห ถ้ารู้ว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวกินยาปีละล้าน ขอตายดีกว่า
"มันถึงเกิดภาวะล้มละลายในกรณีความเจ็บป่วยจากมะเร็ง หรือหัวใจ ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาลจะถามก่อนเลยว่าใช้สิทธิอะไร เพราะมีผลต่อการรักษา ถ้าระบบหลักประกันสุขภาพโชว์บัตร 30 บาท บัตรทอง โรงพยาบาลเขาก็ต้องคิด cost เขาต้องดูแลคุณเพราะกฎหมายบังคับ ดีดลูกคิดออกมามะเร็งตัวนี้ต้องใช้ยาตัวไหนที่ถูกที่สุด เพราะ สปสช.จ่ายเงินให้สำหรับคนไข้ทุกคนที่มาโรงพยาบาล ถ้าเป็นมะเร็งไปใช้สิทธิตรงนี้ก็ต้องคิดว่าเฮ้ยหมอนี่มาเป็นรายแรกของปี จะใช้ cost รักษาแบบไหน เขาก็จะเลือกยาตัวที่ถูกที่สุด ประสิทธิภาพก็อาจจะไม่มากนัก ผลข้างเคียงก็จะสูง ผู้ป่วยก็อาจจะมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี แต่ถ้าเราทำ CL หมอก็ไม่ต้องคิดหน้าคิดหลังเยอะ เพราะค่าใช้จ่ายลดลง 30 เท่า ฉะนั้นผมถึงไม่อยากให้ไปดูว่ามีผู้ป่วยมะเร็งไม่กี่หมื่นคนต่อปี เดี๋ยวไปหาเงินอื่นมาสมทบ มันไม่ใช่อย่างนั้น และที่ไปบอกว่าสูญเสียแสนล้านผมคิดว่ามันเป็นตัวเลขลมๆ ที่รัฐมนตรีคิดแบบไม่มีข้อเท็จจริง"
ท่าทีของรัฐมนตรีเหมือนบอกว่าจะไม่ทำ CL อีกแล้ว
นิมิตร์บอกว่าเรื่องในอนาคตสมมติรัฐมนตรีมีช่องทางเจรจากดดันจนบริษัทยอมลดราคา 30-40 เท่าอย่างที่เห็น ก็คงไม่ต้องทำ
"แต่ ณ ตอนนี้เจรจามาเยอะแล้วมาบอกว่าอย่าไปลดราคาเขาเลย เดี๋ยวจะสูญเสีย กลับไปซื้อยาแพงแบบเดิม อย่างนี้ไม่ถูกต้อง ที่บอกว่าทำให้ประเทศเสียหายแสนล้านบาท ต้องถามว่าเสียหายจากไหน นับจากอะไร ถ้าบอกว่ากลัวเรื่อง PFC การจัดลำดับประเทศที่ฝ่าฝืนลิขสิทธิ์อย่างรุนแรง จัดให้เราไปอยู่ในประเทศที่ต้องถูกจับตามองอย่างเข้มงวด การประกาศ PFC มันต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าประเทศไทยเราละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การทำ CL ไม่ใช่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพราะมี พ.ร.บ.สิทธิบัตร มาตรา 51 รองรับ มีข้อตกลงของ TRIPs ของ WTO รองรับว่าเราทำได้ ฉะนั้นถ้าบอกว่าอเมริกาจะเปลี่ยนลำดับประเทศเราไปอยู่ PFC เขาก็ต้องชี้แจงเหตุผล ต้องบอกว่าเราไปละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขั้นร้ายแรงตรงไหน"
อเมริกาจะประกาศจัดลำดับในเดือน เม.ย.นี้ "เขาคาดการณ์ว่าเราอาจจะถูกเปลี่ยนลำดับ เป็นการคาดการณ์ทั้งหมด ถ้าถูกเปลี่ยนจริงและให้เหตุผลว่าเพราะ CL รัฐบาลไทยก็ต้องไป defend ว่าคุณใช้เหตุผลนี้ไม่ได้ เพราะเราทำถูกต้อง ต้องดูฝีมือของกระทรวงต่างประเทศว่าจะมีจุดยืนอย่างไร จะยอมอเมริกาไหมเพราะเรากำลังถูกรังแก ต้องดูว่าคุณนพดลจะว่าอย่างไร ที่ผ่านมาเราเป็นเด็กดีกับอเมริกามาตลอดในเรื่องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา พยายามกวาดล้าง จีนมีปัญหาเรื่องนี้มากกว่าเราเสียอีก"
"รัฐมนตรีคงต้องใช้ข้อมูลให้มากกว่านี้ จะมาพูดลอยๆ ไม่ได้ว่ากระทรวงพาณิชย์บอกว่าเสียหายแสนล้าน มันเป็นการพูดที่ไม่รับผิดชอบ และโยนบาปให้กับผู้ป่วย เราถูกตัด GSP มา 1 ปีแล้ว ก็ต้องกลับไปดูว่าการส่งออกเสียหายจริงหรือไม่จริง ถ้าภาวะส่งออกซบเซาจริงมาจากสาเหตุอะไร อุตสาหกรรมที่ถูกตัด GSP หลักๆ คืออัญมณี กุ้งแช่แข็ง อิเล็กทรอนิกส์ เพราะอะไร เพราะส่งออกจนเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าที่ขายในอเมริกา เขาก็ตัด GSP บางสินค้าต่ออายุ GSP มาหลายครั้งแล้ว เขาก็ไม่ต่อให้ ฉะนั้นคุณไชยาต้องรับผิดชอบกับคำพูด แสนกว่าล้าน ต้องไปเอาข้อเท็จจริงมาบอกให้ประชาชนรับรู้"
"สภาอุตสาหกรรมก็บอกเองว่าปัญหาใหญ่ของการส่งออกคือเรื่องค่าเงินบาท แต่กลับมาโยนบาปให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยเอดส์ตอนนี้ 1.2 แสนคนแข็งแรงกลับไปทำงานได้ เขาไม่ต้องเป็นภาระกับใคร คนแสนกว่าเขาดูแลตัวเองได้เขามีครอบครัวมีลูก ถ้าเขาทำงานได้ เขารับผิดชอบครอบครัวได้ และลูกเขาไม่เป็นกำพร้า กินยาไปเรื่อยๆ เขาก็เลี้ยงลูกจนโต มันก็เหมือนกับเพิ่มแรงงานให้ระบบเศรษฐกิจ ไม่ต้องเป็นภาระ รัฐไม่ต้องมาจ่ายเลี้ยงดู ยกเว้นกรณีที่แต่เดิมที่เขาป่วยหนักมากๆ จนกินยาแล้วอาจจะยังฟื้นไม่ทัน แต่ภาพรวมต้องบอกว่าคนเหล่านี้กลับเข้าไปทำงานเดิมได้"
นิมิตร์บอกว่าการทำ CL ไม่ใช่ว่ามากับการรัฐประหาร สปสช.เตรียมมาก่อนแล้ว
"เพียงแต่เราได้รัฐมนตรีที่ถูกตัวถูกฝา มันเลยไปได้ เพราะกระบวนการทำ CL มีการผลักดันเรียกร้องมากว่า 8 ปี ตั้งแต่ปี 2542 ที่เราเริ่มมีการชุมนุมครั้งแรกๆ หน้ากระทรวงสาธารณสุข เรียกร้องให้ใช้มาตรา 51 กับยา DDL สมัยนั้น และเรื่อยมาเราก็ไม่ทิ้งประเด็นนี้ ไปศาลทรัพย์สินทางปัญญา พยายามส่งจดหมายถามคลินตัน ไปทวงถามกระทรวง กระทั่งตั้ง สปสช.ก็ไปถามว่าจะเอาอย่างไร ถ้าคุณไม่ทำ อนาคตคุณมีเงินซื้อยาไหม ตอนนี้คุณเป็นคนรับผิดชอบในการจ่ายเงิน สมมติรักษาไปแล้วอนาคตบอกว่าคุณไม่จ่าย กฎหมายก็ค้ำคออยู่ว่าคุณต้องจ่าย เราทำเรื่องนี้มาตลอด 7-8 ปี คือเรื่องนี้คลิกสุดท้ายมันไปอยู่ที่ระดับนโยบายเพราะกฎหมายบอกไว้ว่าคนที่จะเป็นคนทำคือกระทรวง ทบวง กรม"
เครือข่ายผู้ป่วยเอดส์เข้าไปเป็นกรรมการในทุกชุด
"อนุกรรมการมี 3 คณะ ชุดแรกกรรมการของ สปสช.ตั้งขึ้นมา คุณหมอสงวนเป็นประธานเอง พิจารณาค้นหาว่ายาตัวไหนมีความจำเป็น มีภาวะวิกฤติอะไรที่เกิดขึ้นในด้านสาธารณสุข พอชุดนี้ทำงานเสร็จส่งเรื่องให้กับคณะที่มีเลขาฯ อย. คุณหมอศิริวัฒน์ เป็นประธาน ก็จะไปดูว่ายาตัวนี้ของใคร จะเรียกบริษัทมาคุยด้วย จะลดราคาลงให้หน่อยได้ไหม ทำหน้าที่ต่อรองก่อนเพื่อที่เราอาจจะไม่ต้องทำ CL ก็ได้ ที่สำเร็จไปตัวหนึ่งก็คือของบริษัทซาโนฟี คณะของคุณหมอศิริวัฒน์เจรจาก่อนเลยเพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำ CL ส่วนที่บริษัทไม่ยอมลดก็ออกมาเป็นยา 4 ตัวที่ประกาศ"
"แล้วก็มีชุดที่ไกล่เกลี่ยและลดผลกระทบของการทำ CL ซึ่งคุณหมอวิชัยเป็นประธาน ได้พยายามชวนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงต่างประเทศ บริษัทยามาปรึกษาหารือกัน พยายามทำเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ กรรมการทั้ง 3 ชุดจะเกลี่ยทางไปสู่ทางออกที่ดีที่สุด ในปัญหาการเข้าถึงยาและการรักษา"
นิมิตร์บอกว่า CL เป็นเหมือนดาบที่ทำให้ต่อรองได้โดยบางครั้งก็ไม่ต้องชักออกจากฝัก "ถ้าต่อรองได้ก็ไม่ต้องทำ คุยกันได้ว่าเฮ้ยลดเถอะ ถ้าเขายืนยันว่าไม่ลดแน่ๆ คุณก็ใช้เครื่องมือที่คุณมี พ.ร.บ.สิทธิบัตร มาตรา 51 ให้อำนาจรัฐ ไม่ได้หมายความว่าเป็นการรังแกบริษัทยา แต่ทำให้เกิดภาวะสมดุล ถ้าราคายาสูงผู้ป่วยก็แย่ มาตรา 51 เห็นว่าถ้าราคาอย่างนี้ผู้ป่วยแย่ เอาลงมาหน่อย ถ้าเขายอมลงก็จบ ถ้าไม่ลงฉันใช้มาตรา 51 นะ"
"พอใช้มาตรา 51 ไปแล้วบริษัทก็ยังไม่ได้เสียสิทธิอะไร ยังขายยาได้เหมือนเดิม เขาก็ไปทำตลาดอื่น ทำตลาดสูง โรงพยาบาลเอกชน ประชาชนระดับล่างที่ยากจนไม่มีปัญญาซื้อคุณอยู่แล้ว ฉะนั้นรัฐก็เป็นคนมาซื้อแทน ไปซื้อจากที่อื่นเพราะคุณไม่ยอมขายถูก แต่คุณก็ยังขายได้อยู่ และถ้าเจ้าของยาที่ถูกทำ CL อยากจะสู้เรื่องนี้ คุณก็ลดราคาลงมาสู้ได้ พอมีการลดราคาลงมาสู้ กลไกตลาดก็ทำงาน"
ถ้ารัฐมนตรีมีท่าทีอย่างนี้เท่ากับจะเราไม่มีอำนาจต่อรอง
"เหมือนกับไปแบไต๋ว่าต่อไปนี้ไม่ใช้ CL แล้ว ผมอยากให้ดูที่บราซิลต้องตัดสินใจใช้ CL หลังจากที่เราประกาศใช้ไป เพราะว่าเขาเริ่มขู่ไม่สำเร็จ หลังจากที่ขู่ได้มาหลายครั้ง บราซิลต้องทำ CL เอฟฟาต่อจากเรา"
ใช่ไหมว่าโดยระบบรัฐมนตรีพาณิชย์จะเป็นคนแย้ง แล้วรัฐมนตรีสาธารณสุขเป็นฝ่ายปกป้อง
"ควรจะเป็นอย่างนั้น คือต้องเล่นกันคนละบทบาท ในภาพรวมที่พยายามคลี่คลายปัญหาด้วยกัน พาณิชย์เขาต้องสนใจเรื่องการค้า แต่เขาก็ต้องชัดเจนว่าการค้าที่มันกระทบเกิดจากสาเหตุอะไร อย่าไปโยนบาปให้ CL อย่าไปโยนบาปให้ผู้ป่วย ขณะเดียวกันรัฐมนตรีสาธารณสุขก็ต้องเล่นอีกบทหนึ่ง สนใจภาพรวมของประเทศเหมือนกันแต่ว่าโฟกัสหลักต้องอยู่ที่ชีวิตคน พัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อมาดูแลคนเจ็บป่วยได้อย่างไร"
แต่ถ้า รมว.สาธารณสุขมาเล่นบทแย้งแทน
"มันก็เจ๊ง จะไม่มีใครต่อรอง ไม่มีใครปกป้องผู้ป่วย รัฐมนตรีสาธารณสุขก็ต้องเล่นบทให้ถูก ตัวเองต้องจำได้ด้วยว่าตัวเองดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุข ไม่ใช่รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรฯ เพราะแกไปพูดผิด 2-3 ครั้งในงานฉลองตำแหน่งที่นครปฐม บอกตำแหน่งตัวเองผิดว่าเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตร" (ยิ้มๆ)
เขาคุยว่าบ้านใหญ่กว่าบริษัทยาอีก
"ต้องไปดูตัวเลขแล้วจะตกใจว่าแอ๊บบอตเป็นบริษัทอันดับต้นๆ ที่กำไรมหาศาล ตัวซีอีโอได้เงินเดือนเป็นพันล้านบาท ปีเดียวนะ เพราะฉะนั้นลองคิดดูว่าบริษัทมีกำไรขนาดไหน"
นิมิตร์บอกว่าการทำ CL ไม่ใช่ว่าต้องใช้เรื่อยไป แต่ต้องถือดาบอยู่
"สมัยคุณสุรยุทธ์ไปอเมริกา ไปประชุมที่นิวยอร์ก แล้วไปเจอตัวแทนบริษัทยา บริษัทก็ไปล็อบบี้ขอว่าไม่ทำ CL อีกได้ไหม นายกฯ สุรยุทธ์สั่งการมาให้รองโฆสิตกลับมาเรียกประชุม 3 กระทรวง ต่างประเทศ พาณิชย์ สาธารณสุข เพื่อที่จะมาพูดคุยกันว่าไทยเราจะไม่ทำ CL อีก เพราะนายกฯ ดันไปรับปากว่าช่วงที่ดำรงตำแหน่งไม่น่าจะมีการทำ CL อีกแล้ว พวกเรามารู้ทีหลังเราก็คิดว่าไม่เหมาะสมที่จะไปพูดอย่างนั้น ถ้าเกิดกรณีอย่างที่หมอมงคลทำไปเมื่อวันที่ 4 ม.ค.มันก็คือความจำเป็นที่จะต้องรักษาชีวิตผู้ป่วย แล้วถ้ามีการฟ้องศาลปกครองว่าคุณมีอำนาจที่จะทำในเมื่อมีวิกฤติอย่างนี้ แล้วหมอมงคลไม่ทำ ในทางปกครองก็ผิดนะ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ พอนายกฯ ไปประกาศอย่างนั้นรองโฆสิตก็ต้องเรียกประชุมและมากดดันว่าไม่ทำได้ไหม"
"ถ้าประกาศว่าจะไม่ทำ CL อีก ก็เป็นการสูญเสียอำนาจอธิปไตยของประเทศ อำนาจที่เราจะใช้กฎหมายถือเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ เราไม่ได้อยู่ภายใต้สิทธินอกอาณาเขตของอเมริกา พอเป็นอย่างนี้ก็มีจดหมายจากรัฐมนตรีพาณิชย์มาถึงนายกฯ รองนายกฯ จนมาถึงมือคุณไชยา ผมถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ คุณจะไปกดดันรัฐมนตรีที่มีหน้าที่ต้องทำ ไม่ให้เขาทำได้อย่างไร หรือถ้าจะมีท่าทีแบบนี้ คุณเกริกไกรก็ควรมีท่าทีสม่ำเสมอ รัฐบาลจำเป็นต้องไปจด FTA กับญี่ปุ่นไหม ทำไมไม่รอให้เป็นหน้าที่รัฐบาลใหม่ล่ะ ทำไมคุณเกริกไกรไม่ทำจดหมายยับยั้ง แทนที่จะบินไปญี่ปุ่นร่วมกับนายกฯ สุรยุทธ์ คือมาตรฐานในการพิจารณาปัญหามันไม่เหมือนกัน เรื่องเดียวกัน เรื่องที่จะมีผลระทบกับการค้าต่างประเทศเหมือนกัน แต่วิธีคิด อ๋อถ้าเป็นเรื่องยาผู้ป่วยรอได้มั้ง มองเรื่องการค้าเรื่องนายทุนเป็นหลัก เรื่องสุขภาพของคนมาทีหลัง รอหน่อย รอไม่ได้ก็ตายไป"
"ถ้าคุณจะมีจดหมายออกมาว่าไม่ควรทำ CL อีกแล้ว ควรจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ กรณีการเจรจา FTA ญี่ปุ่น FTA อาเซียนเหมือนกัน"
เขาบอกว่ารัฐบาลนี้จะทำหรือไม่ทำอีกก็ได้ แต่อย่าพูด
"ไม่ควรพูดว่าจะไม่ใช้กฎหมายนี้ ถ้าขืนพูดพวกเราจะเอาไปศาลปกครอง คุณพูดได้อย่างไรว่าจะละเว้นไม่ใช้กฎหมายฉบับนี้ ถ้าอย่างนั้นคุณต้องไปแก้กฎหมาย แต่จะเป็นเรื่องเลยถ้าจู่ๆ ไปแก้กฎหมาย เพื่อลดทอนอำนาจรัฐที่จะใช้ในการสร้างสมดุลกลไกตลาด"
โดย : ไทยโพสต์ วันที่ 10/02/2008
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12775
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 151
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 152
สธ.ตอบโต้ข้อมูลไชยาซีแอลไม่ผิดกม.มะกัน
โพสต์ทูเดย์ 10 ก.พ. 51 สธ. โต้ รมว.สธ. คนใหม่ ทำซีแอลไม่เกี่ยวมะกันยกระดับไทยละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันในสมุดปกขาวเพื่อชี้แจงเหตุผลการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร หรือการทำซีแอลในประเด็นที่ 7 ว่า การตัดสินใจดำเนินการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาทั้ง 4 รายการเพิ่มเติมจากเดิม ไม่มีส่วนทำให้สหรัฐยกสถานะประเทศไทยเป็นพีเอฟซี หรือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขั้นรุนแรงตามกฎหมายการค้ามาตรา 301 ของสหรัฐ
แต่ที่ผ่านมาการยกให้ไทยอยู่ในระดับพีดับเบิลยูแอลนั้น มาจากการละเมิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซีดี/ดีวีดี ของภาพยนตร์และเพลง ไม่มีเรื่องสิทธิบัตรยา สมุดปกขาวเล่มดังกล่าว ระบุ
นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาระบุว่า แสดงว่าสหรัฐไม่เคยบอกว่าไทยดำเนินการผิดกฎหมายไทยหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ แสดงว่าสหรัฐเคารพในมาตรา 31 (b) ของข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าสหรัฐกังวลเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการใช้สิทธิโดยรัฐ ซึ่ง สธ. ก็ได้จัดพิมพ์สมุดปกขาวชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด รวมทั้งได้ขอข้อมูลและคำแนะนำไปว่า จะให้ทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความโปร่งใส แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
นอกจากนี้ สหรัฐขอให้มีการเจรจากับผู้ทรงสิทธิบัตรก่อน ซึ่ง สธ.ก็ได้ดำเนินการอยู่แล้ว
ดังนั้น การพิจารณาจัดลำดับประเทศคู่ค้าตามกฎหมายการค้ามาตรา 301 ของสหรัฐ ซึ่งจะเริ่มพิจารณาในเดือน ก.พ. 2551 นี้ จะหยิบยกเรื่องความไม่โปร่งใสในการทำซีแอลขึ้นมาเป็นประเด็นอีก ก็หวังว่าจะแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่าการดำเนินการของ สธ.ไม่โปร่งใสในประเด็นไหน
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ก.พ. นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ได้ยืนยันว่า จะทบทวนนโยบายซีแอล เพราะสหรัฐจะยกให้ไทยเป็นประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขั้นร้ายแรง หรือพีเอฟซี และยังทำให้ไทยสูญเสียรายได้นับแสนล้านบาท
โดย : โพสต์ทูเดย์ วันที่ 10/02/2008
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12777
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 153
'รมต.ต้องหูหนัก' นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ
ไทยโพสต์ 10 ก.พ. 51 - "หลังจากเราทำ CL ไปแล้ว บริษัทโนวาร์ติสฯ เจ้าของยา Imatinib ยอมให้ฟรี รู้ไหมว่าเพราะอะไร..."
ประธานชมรมแพทย์ชนบท พูดในฐานะที่พวกเขาเป็นเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ของพรรคไทยรักไทยให้เป็นจริง มีคุณภาพ และเข้าถึงผู้ป่วยทุกคน ตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี 2544 จนมาเป็นโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รักษาฟรีให้ประชาชน 48 ล้านคนในปัจจุบัน
เพราะการทำ CL ยา 7 ตัว มีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้ "30 บาท" สามารถดูแลผู้ป่วยได้ทั่วถึงโดยไม่เป็นภาระต่องบประมาณของประเทศ และมีความหมายสำคัญยิ่งต่อการเยียวยาหรือพยุงชีวิตคน ไม่สามารถคิดง่ายๆ ว่ามีผู้ป่วยแค่ไม่กี่หมื่นคนแล้วจะหาเงินอื่นมาชดเชย
เล่ห์บริษัทยา
หมอเกรียงศักดิ์บอกว่า การทำ CL มักถูกตั้งคำถามหลักๆ 3-4 ข้อ คือ คุ้มค่าไหมกับจำนวนผู้ป่วย, เงินค่ายาไม่ใช่รวมอยู่ในโครงการ 30 บาทแล้วหรือ และกระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเจรจากับบริษัทยาแล้วหรือยัง เพราะบริษัทยาอ้างผ่านกระทรวงพาณิชย์ว่าไม่เคยเจรจาเลย
"สถิติของวงการแพทย์ทั่วโลก สาเหตุการตายของประชาชนในประเทศที่เจริญแล้วในปัจจุบัน มีอยู่ 3-4 โรคเท่านั้น คือ 1.มะเร็ง 2.เอดส์ 3.อุบัติเหตุ 4.หัวใจและหลอดเลือด เมืองไทยก็อยู่ในข่ายนี้ ปัจจุบันมะเร็งทุกชนิดเป็นอันดับหนึ่ง ที่มากที่สุดคือมะเร็งปอดในผู้ชาย มะเร็งเต้านมในผู้หญิง ซึ่งก็สอดคล้องกับที่เราทำ CL ยา 3-4 ตัวนี้ สถิติคนตายจากมะเร็งทุกประเภทรวมกันกว่า 3 หมื่นคนต่อปี"
หมอเกรียงศักดิ์ชี้ว่า แม้มะเร็งจะรักษาไม่หาย แต่การใช้เคมีบำบัดก็มีผลคุ้มค่าในการยืดชีวิตคน แต่ตัวยามีราคาแพงมาก เมื่อประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำหนดนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ขณะที่งบประมาณมีจำกัด โรคบางโรคที่ร้ายแรงมากไม่สามารถรักษาได้ สถานพยาบาลต้องปฏิเสธเพราะไม่มีงบเพียงพอ สปสช.พยายามตั้งระบบรักษาผู้ป่วยค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็งบางโรค การผ่าตัดลิ้นหัวใจ ต้อกระจก แต่ในข้อเท็จจริงปีแรกๆ ก็ยังไม่สามารถรักษาได้ เช่น 30 บาทตอนแรกก็ยังไม่รวมผู้ป่วยเอดส์ จนกระทั่งได้เงินช่วยเหลือจากกองทุนโรคเอดส์โลก และองค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตยาจีพีโอเวียร์ จึงรับผู้ป่วยเอดส์เข้า 30 บาทเมื่อปี 48 หลังจากนั้นเมื่อปี 49 จึงทำ CL ยาโรคเอดส์ 2 ตัว และยาโรคหัวใจ 1 ตัว ก่อนจะตามมาด้วยยามะเร็ง 4 ตัว เมื่อวันที่ 4 มกราคมดังกล่าว
"ถามว่าคุ้มค่าไหม ก็ต้องบอกว่าเป็นสาเหตุการตายมากที่สุด มีผู้ป่วยนับแสนราย และเมื่อทำแล้วมันลดราคาลงมาเยอะไหม"
ยาตัวที่หนึ่ง Docetaxel รักษามะเร็งปอดกับเต้านม เข็มละ 25,000 บาท ใช้ 6-10 เข็มต่อคนต่อรอบ เมื่อทำ CL แล้วเหลือ 4,000 บาทต่อเข็ม ยาตัวที่สอง Letrozole รักษามะเร็งเต้านม เม็ดละ 230 บาท ใช้ทุกวัน เดือนละ 6,900 บาท ลดเหลือเม็ดละ 6-7 บาท ยาตัวที่สาม Erlotinib รักษามะเร็งปอด เม็ดละ 2,750 บาทเหลือ 735 บาท ยาตัวที่สี่ Imatinib รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวกับมะเร็งทางเดินอาหาร 3,600 บาทต่อ 400 มิลลิกรัม กินทุกวันปีละ 1 ล้าน 3 แสนบาท เปลี่ยนเป็น 200-280 บาทต่อ 400 มิลลิกรัม ต่างกันเกือบ 20 เท่า
คนป่วยโรคเหล่านี้ที่ผ่านมา แม้จะถือบัตรทองเดินไปหาหมอก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้
คุณหมออธิบายว่า เงิน 30 บาทที่จ่ายเหมามาถึง รพ.ชุมชน สมมติได้งบประมาณเป็นก้อนหลายสิบล้านก็ต้องหักค่าเงินเดือนค่าสาธารณูปโภค งบลงทุนหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ สมมติเหลือเงิน 10 ล้านแล้วมีคนป่วยมะเร็งมาหา ค่ารักษาปีละ 1.3 ล้านบาท รพ.จะทำอย่างไร เพราะเงิน 10 ล้านต้องดูแลคนทั้งอำเภอ ที่ผ่านมา สปสช.จึงแยกมาตั้งระบบกองทุนรักษาผู้ป่วยค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็ดูแลได้เฉพาะบางโรค ยามะเร็งก็ไม่มีใครให้อยู่ดี โรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็จะปฏิเสธเพราะถือว่าเงินที่ สปสช.จ่ายให้ไม่คุ้มค่า
"ตอนหลังก็ทำได้โรคเดียว มะเร็งในเม็ดเลือดขาวของเด็กเพราะมันหายขาดได้ รพ.รัฐตั้งแง่ห้ามทำสิทธิประโยชน์เกินจำเป็น ไม่งั้นจะต่อต้าน สปสช.ให้เงินน้อยเราขาดทุน" นี่ตรงกันข้ามกับเมื่อทำ CL แล้ว สปสช.ของบประมาณเพิ่มขึ้นไม่มาก ก็สามารถดูแลประชาชนเหล่านี้ได้ตามหลักคุณธรรม
"หลายคนไม่เข้าใจว่าให้ฟรีอยู่แล้วไม่ใช่หรือ แต่จริงๆ มันไม่ได้ เมื่อถูกลงรัฐบาลจึงยินดีจ่าย"
ฉะนั้น ที่รัฐมนตรีบอกว่าไม่ต้องทำ CL จะหางบประมาณมาชดเชยให้ จึงเป็นไปได้ยาก เพราะตัวยาราคาแพงเป็นปัญหากับทั้งระบบ และเป็นปัญหากับผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาตัวอื่น
ในข้อที่ว่ากระทรวงสาธารณสุขเจรจากับบริษัทยาหรือไม่ หมอเกรียงศักดิ์บอกว่า กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำได้โดยไม่ต้องเจรจา แต่ที่ผ่านมาก็เจรจาทุกครั้ง
"ถามว่าผิดกฎหมายไหม-ไม่ผิดครับ เพราะกฎหมายสิทธิบัตรมาตรา 51 เปิดช่องอยู่แล้วว่า ถ้าเป็นภาระความจำเป็นของประเทศนั้นๆ กระทรวง ทบวง กรม สามารถทำ CL ได้ ตรงนี้ต่างจากมาตรา 52 ที่คนอาจเข้าใจผิด มาตรา 52 ต้องเข้าคณะรัฐมนตรี กำหนดว่าถ้าประเทศนั้นๆ เกิดภาวะสงครามหรือโรคระบาด นายกรัฐมนตรีจะเป็นคนประกาศใช้ CL แต่ถ้าเกิดความจำเป็นเพื่อสาธารณประโยชน์ ใช้มาตรา 51 ได้โดยไม่จำเป็นต้องเจรจากับผู้ค้าก่อน แต่ให้บอกในภายหลัง"
"ไม่ว่ามาตรา 51 ปฏิญญาโดฮา หรือข้อตกลง TRIPS ก็ตรงกันหมดว่าเราทำได้ ตอนเราทำครั้งแรก วุฒิสมาชิกอเมริกัน 22 คนก็เห็นชอบ USTR โวยวายว่าเราทำไม่ถูก แต่พอวุฒิสมาชิกเขาทำหนังสือถามไป ก็ตอบว่าไม่เคยโวยวายไม่เคยทำหนังสือมาต่อว่า"
หมอเกรียงศักดิ์บอกว่าที่จริงบริษัทยาไม่ได้เสียประโยชน์ เพราะบางบริษัทก็ลดราคาลง แล้วก็ขายได้มากขึ้น และการทำ CL ก็ทำมาใช้กับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น ซึ่งคือคนจนที่ไม่เคยเข้าถึงยา ไม่เคยซื้อยา ขณะที่คนไข้ รพ.เอกชน ข้าราชการ หรือแม้แต่ประกันสังคม ก็ยังต้องใช้ยาของบริษัท
"โดยสรุปคือในข้อกฎหมายเราทำถูก แต่อเมริกามันทำเหมือนนักเลงโต จริงๆ ถ้าเขาจะทำ PFC ก็มาจากปัญหาหลายอย่างไม่ใช่เรื่องยาเรื่องเดียว เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซีดี พวกนี้มากกว่า เรื่องสิทธิบัตรยาเขากังวลความโปร่งใสในการใช้สิทธิ์ของรัฐ แต่เรามีจุดยืนชัดเจน ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า แต่ทำเพื่อมนุษยธรรม เพราะยาทุกตัวเราไม่ได้ทำไปขาย เราทำในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้คนจนได้รับยายืดชีวิตคน เราไม่สามารถเอาไปขาย รพ.เอกชน ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีฐานะดีกว่า เช่น ผู้ใช้สิทธิ์ของราชการ ประกันสังคม บริษัทยายังขายยาให้ราคาเดิม"
"คนป่วยมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ที่ถือบัตรทอง เดิมเขาก็ไม่ได้ใช้ยาอยู่แล้ว นั่นคือสาเหตุที่หลังจากเราทำ CL ไปแล้ว บริษัทโนวาร์ติสเจ้าของยา Imatinib ยอมให้ฟรี รู้ไหมว่าเพราะอะไร เพราะเขาไม่อยากให้ยาอื่นเข้ามาในประเทศไทย ไม่อยากลดให้เสียราคา"
หมอเกรียงศักดิ์บอกว่า หลังจากหมอมงคลลงนามมาตรการบังคับใช้สิทธิ์เมื่อวันที่ 4 มกราคม โนวาร์ติสก็มายื่นเงื่อนไขพิเศษ "เอางี้แล้วกัน ขอให้ฟรีไปเลยสำหรับคนไทยที่มีหลักประกันสุขภาพ เพราะคนที่จะใช้ยาเขาในระบบหลักประกันสุขภาพมีพันกว่าคน แต่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 1.7 ล้านบาทต่อคนต่อปี ส่วนใหญ่ไม่ถึงอยู่แล้ว เราก็รับเงื่อนไข"
"นั่นหมายความว่าเขายังขายคนรวย คนจ่ายเงินเอง-ข้าราชการ ในราคาเดิม ตามตัวเลขมีอยู่ 100 กว่าคน ปีหนึ่งเขาขายได้ร้อยกว่าล้านอยู่แล้ว เพราะอีกพันคนในระบบหลักประกันสุขภาพเดิมไม่ได้ขายอยู่แล้ว การทำ CL เราไม่ได้ cover ถึงสิทธิ์อื่น และเขาก็ไม่ต้องการให้ยาสิทธิบัตรอื่นเข้ามาในประเทศไทย เขาคิดว่าคุ้มค่ากว่า รัฐมนตรีเลยลงนามฉบับใหม่ให้โนวาร์ติสเมื่อวันที่ 25 ม.ค. ว่าถ้าเขายกเลิกเงื่อนไขนี้เมื่อไหร่ก็ทำ CL ทันที เพราะเราไม่รู้ว่าเขาจะให้กี่ปี"
ฉะนั้นจริงๆ ก็เหมือนทำ CL แค่ 3 ตัว
ถามว่าทำไมไม่ครอบคลุมประกันสังคมด้วย หมอเกรียงศักดิ์บอกว่าเพราะกองทุนประกันสังคมอยู่ในกระทรวงแรงงาน ไม่ใช่กระทรวงสาธารณสุข และยังมีรายได้หลายระดับ แต่ก็เป็นประเด็นที่กระตุ้นให้ประกันสังคมต้องทำอะไรอีกหลายอย่าง
คุณหมอย้ำว่าการทำ CL ยาทั้ง 7 ตัว มีผลเฉพาะโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น เพราะถือว่าทำให้คนจน ไม่เกี่ยวกับประกันสังคม ข้าราชการ หรือคนจ่ายเงินเอง แต่ก็มีผลทางอ้อมเพราะเมื่อทำ CL แล้ว บริษัทยาส่วนใหญ่ก็ลดราคาลงมาสู้ ทุกคนจึงได้ประโยชน์ไปในตัว
ส่วนที่ว่ามีการเจรจากับบริษัทยาไหม "บริษัทยามันโกหกอย่างน่าเกลียดที่สุด โกหกเป็นลายลักษณ์อักษร คนไทยต้องแซงก์ชั่นอย่างรุนแรง และต้องตำหนิกระทรวงพาณิชย์อย่างมากที่เข้าข้างบริษัทยาต่างชาติ แล้วมาต่อว่าคนไทยด้วยกัน"
"ตามกฎหมายเราไม่ต้องเจรจาก็ได้อยู่แล้ว แต่คุณหมอมงคลก็ให้เจรจาดูก่อน เขาทำอย่างรอบคอบ เพราะเราเป็นประเทศเล็กจะสู้ประเทศใหญ่ๆ เราวางกลไกในการทำงานอย่างรัดกุม มีคณะกรรมการ 3 ชุด คือ 1.คณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น และมีปัญหาในการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ มีคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นประธาน มีตัวแทนกฤษฎีกา, คลัง, กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยา 4 ตัวนี้ กรรมการฯ ทำตั้งแต่สิงหา ลงนามเสนอรัฐมนตรีให้ทำ CL เมื่อวันที่ 25 ก.ย. จากนั้นก็เข้าคณะอนุกรรมการฯ สนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ตามสิทธิบัตรโดยรัฐ คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน พิจารณาอย่างรอบคอบว่าเหมาะสมแค่ไหน ก็เสนอรัฐมนตรีว่าเห็นสมควรต้องทำ เมื่อ 19 ต.ค. รัฐมนตรีเห็นด้วยแต่ก็อยากให้เจรจาก่อน ก็เข้าชุดที่ 3 คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร"
"ก็ส่งให้ไปเจรจาทั้งที่มีอำนาจทำโดยไม่เจรจาก็ได้ เราเจรจา 12 ครั้ง พวกนี้เตะถ่วงตลอดเวลา ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่คนไทยควรจะรู้ ต้องเอารายงานการประชุมทุกครั้งออกมาตีแผ่ ว่าบริษัทยาทำหนังสือโกหกเป็นลายลักษณ์อักษร"
"แต่การเจรจาไม่ได้ผล ยาตัวแรก Docetaxel น่าสนใจมาก ลดให้กว่า 80% แต่มีเงื่อนไขหยุมหยิมมากมาย เช่น ให้คนไข้จ่ายเอง 3-4 เข็มแรก หลังจากนั้นถ้าไม่ตายเสียก่อนจึงให้ฟรี ซึ่งเหมือนไม่ลดเลย-ไม่คุ้ม เราเสียเปรียบ ตัวที่สอง Letrozole ลดให้ 33% ก็ไม่คุ้ม Erlotinib ลดให้ 30% ก็ไม่คุ้ม"
คุณหมอบอกว่านี่คือความจำเป็นที่ สปสช.ต้องทำ CL เพื่อรักษาทุกโรคตามนโยบายที่รัฐบาลไทยรักไทยเคยประกาศไว้ โดยมีเหตุผลที่ต่างชาติเถียงไม่ได้ เพราะทำเพื่อให้คนจนเข้าถึงยาจำเป็น และจะเห็นชัดเจนว่าบริษัทยาไม่ได้ขาดทุน เพราะปัจจุบันบริษัทยามีกำไรมหาศาล
"ประเทศไทยเราทำทีหลังเขาด้วยซ้ำ ในอเมริกาก็ยังทำ เช่น ตอนเกิดโรคแอนแทรกซ์ แคนาดาก็ทำ มาเลเซีย-อินโดนีเซียทำก่อนเรา"
"อานิสงส์จากการทำ CL ยาหลายตัวลดราคาลง แต่บริษัทก็ขายได้มากขึ้น อย่างเช่น รัฐบาลที่แล้วเปิดบัญชียาหลักขึ้นใช้ร่วมกันทั้ง 3 กองทุน คือ ราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ยามะเร็ง 4 ตัวนี้ 3 ใน 4 ตัวเข้าบัญชียาหลักไปแล้ว รัฐบาลยอมจ่ายเพราะราคาลดลง บริษัทก็ไม่เสียประโยชน์เพราะขายได้มากขึ้น แต่เป็นธรรมดาที่ต้องโวยวายตามสไตล์นักเลงโต"
บัญชียาหลักคือยาที่จ่ายได้ทันที ถ้าไม่อยู่ในบัญชียาหลัก แพทย์ต้องระบุความจำเป็นต้องใช้ ซึ่งก็ได้เฉพาะข้าราชการเท่านั้น
"margin ราคายาต่างกันมาก เขาตั้งราคาเพื่อเอาใจผู้ถือหุ้น โก่งราคา เช่นยาลดไขมันตัวหนึ่ง สมัยก่อนเราใช้กันทั่วไปคือ symvastatin เม็ดละ 1-2 บาท พอมียาตัวใหม่โฆษณาว่าลดได้ดีกว่า เม็ดละ 70 กว่าบาท โฆษณาผ่านโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ไม่นาน เราใช้ยาตัวนี้ทั้งปีทั้งประเทศ-เท่าไหร่รู้ไหมครับ 1,500 ล้านบาทต่อปี แต่มันยังไม่เข้าบัญชียาหลัก นอกจากจะไปหลบซ่อนในสิทธิประโยชน์ราชการซึ่งมีข้อยกเว้นเยอะแยะ กรมบัญชีกลางเดือดร้อนมาก จึงต้องมาทำบัญชียาหลัก ยาตัวนี้วิ่งเต้นจะเอาเข้า แต่กรรมการฯ บอกว่าไม่คุ้ม เพราะยานี้ใช้ในเงื่อนไขที่คนไข้ใช้ตัวแรกแล้วไม่ได้ผล ซึ่งก็มีแค่ 1-2% แต่โฆษณาจนคนใช้เกือบ 100% ถ้าจะให้คุ้มต้องลดราคาลง 80% จึงจะยอมให้เข้า เขาต่อรองว่า 80% ลดไม่ได้ แต่ 60% พอลดได้"
คุณหมอหัวเราะ บอกว่าเห็นไหมลดได้ตั้ง 60% แปลว่ากำไรมหาศาล
อย่าทำลาย 30 บาท
เราบอกว่าพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกมาเพราะนโยบายไทยรักไทยในอดีต ซึ่งนโยบายหนึ่งที่ได้ผลที่สุดคือ 30 บาท ก็มาจากการผลักดันร่วมกันของหมอสงวน หมอมงคล ที่ตอนนั้นเป็นปลัดกระทรวง หมอวิชัย แพทย์ชนบท และ NGO ด้านสาธารณสุขทั้งหลาย แต่รัฐมนตรีใหม่เดินเข้ามากลับแสดงท่าทีตรงข้าม เหมือนจะอยู่ข้างแพทย์โรงพยาบาลใหญ่ที่เคยคัดค้าน 30 บาท
"วันนี้ผมยังไม่อยากมองขนาดนั้น อยากดูท่าทีก่อน แต่ที่เป็นห่วงแทน รมต.คืออยากให้ท่านหูหนักเข้าไว้ ฟังข้อมูลให้รอบด้านทั้งหมดก่อน เรื่องต่างๆ จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ไหนๆ รัฐบาลก็มาจากอดีตพรรคไทยรักไทยที่ทำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รมต.ก็พูดว่าจะสนับสนุนโครงการเดิม จะทำตามนโยบายที่ พ.ต.ท.ทักษิณพูดไว้ทั้งหมด"
"ถ้าจะทำตามที่ไทยรักไทยทำไว้ ถ้าจะทำหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และหลักการที่ต้องการดูแลคนไทยทุกคน ที่ทุกข์ยากและมีช่องโหว่ในการเข้าถึงบริการ การจะทำอย่างนี้ได้ต้องมีทั้งคุณภาพ มีความเสมอภาค มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าใช้จ่ายไม่ดี เช่นซื้อยาแพง ไม่ทำ CL มันก็ไม่มีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายไม่มีทางเพียงพอ"
"ท่าน รมต.ต้องมองปัญหาให้รอบด้านก่อน เท่าที่ผมทราบคนที่มีโอกาสให้ข้อมูล รมต.จะพบหรือเจอเฉพาะคนที่อยู่ในระดับสูงๆ หรือคนที่อยู่ รพ.ใหญ่ ยังไม่ได้ข้อมูลครบถ้วน แต่ที่ท่านไปพบ นศ.จบใหม่ก็มีวัตถุประสงค์ที่ดี อยากให้แพทย์ช่วยดูแลคนไทยทั้งประเทศ แต่ท่านยังมาใหม่ๆ ท่านยังเจอเฉพาะคนใน ร.พ.ใหญ่ๆ ยังได้ข้อมูลไม่หมด"
"ผมตัวอย่างบางเรื่อง เช่นที่ท่านบอกว่าจะเพิ่มเงินเดือน 6% แสดงว่ามีคนให้ข้อมูลผิด ทุกวันนี้ได้ 6% อยู่แล้ว ท่านบอกว่าจะให้ ผอ.รพ.ศูนย์ได้เครื่องราชฯ ข้าราชการที่จะได้เครื่องราชฯ ต้องซี 9 ปัจจุบัน ผอ.รพ.ศูนย์ได้ซี 9 อยู่แล้ว ท่านพูดผิดหรือเปล่า และถ้าจะทำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ดี ก็ต้องให้กำลังใจแพทย์ ร.พ.ชุมชนมากกว่า"
แล้วที่จะเลี้ยงโต๊ะจีนแพทย์จบใหม่
"เราจะจัดให้แพทย์ทันตแพทย์จบใหม่เข้าแคมป์ ปลัดกระทรวงท่านอยากให้แก้ปัญหาความไม่เข้าใจ ที่มาถึงก็ลาออกๆ แพทย์จบใหม่ส่วนใหญ่เป็นคนในเมือง เลยอยากให้รุ่นพี่รุ่นน้องมาพบกันเพื่อเล่าประสบการณ์ คนทำงานห่างไกลเช่นแพทย์ชนบทมานั่งเล่าสู่กันฟัง บางคนจบมายังไม่เข้าใจ คิดว่าต้องเดินไปอาบน้ำริมแม่น้ำอยู่เลยท่าน รมต.หวังดีมาเป็นประธาน บอกว่าถ้าไปประชุมนครนายกก็จะส่งโต๊ะจีนนครปฐมไปให้" หมอเกรียงศักดิ์บอกว่าดี จะได้ประหยัดงบประมาณไปหนึ่งมื้อ
แล้วการที่ไปบริจาคเงินเข้ากองทุนแพทย์เพื่อใช้ในการสู้คดี แสดงท่าทีสนับสนุนฝ่ายแพทยสภา ดูเหมือนจะมาตั้งป้อมกันโดยตรง
หมอเกรียงศักดิ์บอกว่ายังให้เวลารัฐมนตรีทำความเข้าใจ "แต่ต้องเตือนว่าท่านอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจอะไรบางเรื่อง เดี๋ยวจะเป็นผลเสียกับตัว รมต.เอง การอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับภาคชาวบ้านจะลำบากเปล่าๆ เรื่องบางเรื่องมันละเอียดอ่อน ท่านอยากแก้ปัญหาระหว่างแพทย์กับคนป่วย ผมเห็นด้วย แต่ท่านต้องละเอียดอ่อน ต้องฟังหลายๆ ด้าน จะให้ดีก็เปิดเวทีเป็นวาระแห่งชาติไปเลย"
คุณหมอบอกว่าที่ผ่านมามีการตั้งแง่ผิดๆ เช่น แพทยสภาต่อต้านมาตรา 41 พ.ร.บ.สุขภาพ เพราะกลัวว่าจะทำให้ผู้ป่วยฟ้องหมอมากขึ้น แต่ตัวเลขก็ชัดเจนว่า เมื่อทำออกมาแล้วมีการไกล่เกลี่ยช่วยเหลือคนไข้ทำให้การฟ้องร้องแพทย์ลดลง "ถ้ามองผิด เข้าใจว่าการฟ้องเกิดจาก มาตรา 41 ก็ผิดแล้ว สาเหตุที่ผู้ป่วยไปศาลมากก็เพราะกลไกของแพทยสภามีปัญหา ชาวบ้านไม่อยากไปร้องแพทยสภา เพราะรู้สึกว่าเป็นทนายให้ฝ่ายแพทย์ อย่าว่าแต่ชาวบ้าน เราดูคำพิพากษาของศาลหลายๆ คดีก็ตรงข้ามกับความเห็นของแพทยสภา นี่เป็นปัญหาเชิงระบบไม่ใช่ปัญหาจากมาตรา 41"
ตามมาตรานี้ สปสช.ตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ถ้าเกิดเหตุสุดวิสัย คนไข้ร้องเรียน คณะกรรมการระดับจังหวัดอนุมัติเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 2 แสนบาท ถ้าเกินกว่านั้นจึงค่อยไปฟ้องร้องต่อศาล โดยเอามาจากเงินค่าใช้จ่ายรายหัว 0.20 บาทต่อคนต่อปี
"ตอนนั้นอ้างกันว่ามีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้ แต่ตอนหลัง ปีที่แล้วไม่ต้องตั้งเงินส่วนนี้ไว้เลย เงินเหลือปีก่อนนั้นใช้ไม่หมด"
กระทรวงสาธารณสุขพยายามจะตั้งกองทุนเยียวยาผู้เสียหาย เพื่อลดการฟ้องร้องให้มากขึ้น โดยรวมทุกระบบทั้ง 30 บาท ประกันสังคม แต่กฎหมายตกไปในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ "เพราะแพทย์เอกชนล็อบบี้" คุณหมอบอกว่ากองทุนนี้จะเยียวยาได้จริงเหมือนกรณีร่อนพิบูลย์ ที่ช่วยแล้วผู้เสียหายก็พอใจ
กองทุนแพทย์ใช้ในการสู้คดี เริ่มต้นจากกรณีร่อนพิบูลย์ ซึ่งแพทย์ถูกจับ "ท่านรัฐมนตรีบริจาคเงินให้ ถามว่าดีไหม ก็ดี แต่ถ้าจะให้ดีรัฐมนตรีควรบริจาคทั้งสองกองทุน"
"ตอนนั้นคุณหมอมงคลสงสารหมอถูกจับเข้าคุก เวลาสู้คดีมันต้องใช้ นิติกรของเราสู้ไม่ได้ ต้องตั้งทนายสู้ หมอต้องจ่ายเงินเอง รมต.ก็ระดมทุน ท่านลงขัน 1 หมื่น ปลัดลง 5 พันเรี่ยไรแพทย์ช่วยน้องคนนี้ เราก็เสนอ รมต.ท่านต้อง take balance ผู้เสียหายไม่เข้าใจว่าทำไม กระทรวงสาธารณสุขที่ต้องดูแล 2 ฝ่าย ช่วยเฉพาะลูกน้องตัวเองแต่ไม่ช่วยคนตาย เลยไปเจรจาจนเรียบร้อย ผู้เสียหายไม่อุทธรณ์อีก ไม่ติดใจเอาความ รมต.มงคลก็ลงขัน 1 หมื่น ปลัดลง 5 พัน take balance เป็นกองทุนช่วยผู้ป่วย"
"ผมอยากให้ รมต. take balance เรื่องนี้ด้วย เห็นด้วยที่ท่านดูแลแพทย์ แต่ต้องช่วยชาวบ้านด้วย คงไม่มีปัญหาเพราะท่านรวยอยู่แล้ว (หัวเราะ) ท่านประกาศเอง ถ้าเพิ่มอีกนิดหนึ่งช่วยผู้เสียหายด้วย"
ถ้ารัฐมนตรีเดินเข้ามาโดยฟังแต่หมอโรงพยาบาลใหญ่ที่เคยคัดค้าน 30 บาท จะมีปัญหากับนโยบายนี้ไหม
"จริงๆ ก็ไม่แปลกเพราะท่านไม่เคยอยู่ในแวดวงแพทย์ แต่เชื่อว่าถ้าได้ฟังข้อมูลได้จูนเชิงนโยบายทั้งพรรค อย่ารีบร้อน รมช.เก่าที่มีบทบาทผลักดันมากคือคุณหมอสุรพงษ์ก็ยังอยู่ในรัฐบาล และเป็นเลขาธิการพรรค น่าจะมีโอกาสจูนความคิดกันได้ เพราะปัญหาสำคัญของ 30 บาทคือการบริหารจัดการ ตอนนี้มันมีหมด จริง แต่ถ้าเราไม่แก้ปัญหา ก็จะเหมือน สปร.ในอดีต เราดูแลทั้งคนด้อยโอกาส เด็ก คนแก่ หรือซื้อบัตรสุขภาพ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่แค่นี้ มันเป็นเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความมั่นใจว่ามีมาตรฐานหรือเปล่า ถ้ามีข้อจำกัด ถ้ามีปัญหามากมายมันก็ไม่เกิดขึ้นจริง"
"พรรคไทยรักไทยเห็นปัญหานี้ คุณหมอสุรพงษ์ยิ่งกว่าเห็น มาเป็น รมต.และตั้งใจทำเรื่องนี้ ถ้าท่านจูนนโยบายดีๆ พรรคพลังประชาชนต้องยอมรับว่าเก่งเรื่องบริหารจัดการ ก็ไม่น่ามีปัญหามาก เพียงแต่ให้ท่านรัฐมนตรีหูหนักมากกว่านี้ เพราะดูท่าทางสไตล์ท่านนักเลงดี ฉะนั้นถ้าท่านเปิดโอกาสให้คนชี้แจงให้ฟังผมเชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา ผมได้บทเรียนสมัยท่านพินิจ นั่นนักเลงมาก แต่พอฟังกันปุ๊บก็กล้าตัดสินใจได้รับคำชื่นชมมาตลอด"
แต่ถ้ามีแต่คนจาก รพ.ใหญ่แวดล้อมจะฟังจริงหรือ
"ผมมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาท่านเพิ่งเริ่มมาเป็นไม่กี่วัน ก็ได้พบเฉพาะคน รพ.ใหญ่ทำให้ประกาศนโยบายเช่นจะเพิ่มขวัญกำลังใจ รพ.ศูนย์ วันนี้เรามี รพ.ทั่วไป รพ.ชุมชน 800 กว่าโรง แต่ รพ.ศูนย์มีแค่ 25 โรง สถานีอนามัยมีมากกว่า 9 หมื่นแห่ง อยากให้ใจเย็นนิดหนึ่งฟังทุกส่วนก่อนว่าแต่ละเรื่องมีปัญหาอย่างไร ฟังให้รอบด้านแล้วจะตัดสินใจได้ดีกว่าเดิม"
"ผมมองว่าท่านมีสไตล์ทำงานไว ฟังมาก็ลุยเลย ก็ต้องแนะนำให้เปิดรับฟังข้อมูลเยอะๆ"
ประเด็นสำคัญที่จะมีผลต่อ 30 บาทคือ ตำแหน่งเลขาธิการ สปสช. ที่จะต้องหาคนแทน นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่เพิ่งจากไป การแต่งตั้งต้องผ่านคณะกรรมการ แต่แน่นอนรัฐมนตรีก็มีบทบาทสำคัญในฐานะประธานและผู้บังคับบัญชาของข้าราชการที่อยู่ในคณะกรรมการ
"ผมอยากให้ท่านเห็นเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเป็นคนที่มีส่วนผลักดันนโยบายของประเทศ ท่านต้องให้น้ำหนักกับการคัดเลือกคนที่สามารถรู้และเข้าใจระบบ มองเรื่องสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง ทำหน้าที่ตัวแทนภาคประชาชน ให้บริการประชาชน เข้าใจระบบบริหารจัดการครบถ้วน เวลานี้ของ สปสช.แก้ปัญหาได้หลายเรื่องแล้ว ถ้าทำให้สถานการณ์ไม่แกว่งจะเป็นเรื่องดี รพ.ใหญ่ รพ.เล็กก็คุยกันรู้เรื่องพอควร"
"แต่ถ้าได้คนที่เคยต่อต้าน 30 บาทที่มาจาก รพ.ใหญ่ ก็จะลำบาก ฉะนั้นควรได้คนที่สนับสนุน 30 บาทมาตลอดมาช่วยกันทำ หลายเรื่องชี้ให้เห็นว่าทิศทางของบางคนมีวิธีคิดไม่ถูกเช่นคนที่ต้านมาตรา 41"
เรื่องนี้มีปูมหลัง เพราะตอนที่ นพ.สงวนหมดวาระครั้งแรก มีการคัดเลือกใหม่ นพ.สงวนเกือบแพ้ คะแนนเท่ากัน 13 ต่อ 13 หมอมงคลซึ่งเป็นประธานต้องชี้ขาด ให้ นพ.สงวนดำรงตำแหน่งวาระที่สอง โดยคู่แข่งในเวลานั้นคือ ผอ.รพ.ศูนย์นครปฐมที่เป็นกรรมการแพทยสภาอยู่ด้วย
โดย : ไทยโพสต์ วันที่ 10/02/2008
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12776
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 154
บทสัมภาษณ์ข้างบนส่วนหนึ่งเป็นบทสรุปจากเนื้อหาใน 5 หน้าแรกด้วยคับ
เรียนว่า ผมไม่มีส่วนได้เสียใดๆทั้งสิ้น
เพราะไม่มีคนรอบข้างมีส่วนร่วมชะตากรรมกับการประกาศหรือยกเลิกซีแอลยา
อยากให้ช่วยกันติดตาม รับรู้ วิพากษ์วิจารณ์
บนเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมประเทศชาติ
ในภาวะที่ช่องว่างทางสังคม ความต่างของรายได้ถ่างกว้างออกไป ทุกทีๆ
ผมไม่เป็นกลาง อย่างที่เคยเรียนให้ทราบหลายวาระแล้วคับ..
เรียนว่า ผมไม่มีส่วนได้เสียใดๆทั้งสิ้น
เพราะไม่มีคนรอบข้างมีส่วนร่วมชะตากรรมกับการประกาศหรือยกเลิกซีแอลยา
อยากให้ช่วยกันติดตาม รับรู้ วิพากษ์วิจารณ์
บนเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมประเทศชาติ
ในภาวะที่ช่องว่างทางสังคม ความต่างของรายได้ถ่างกว้างออกไป ทุกทีๆ
ผมไม่เป็นกลาง อย่างที่เคยเรียนให้ทราบหลายวาระแล้วคับ..
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 155
ขอโทษพี่บี ผมขี้เกียจอ่านจริงๆครับPn3um0n1a เขียน:ถามหน่อย
CL นี่คล้ายๆ กับการขโมย ทรัพย์สิน หรือ สิทธิ ทางปัญญา อย่างถูกกฎหมายรึเปล่าครับ?
ผมก็ถามไปงั้นๆ ว่าใช่รึเปล่า? ขอความเห็น ใช่หรือไม่ เพราะอะไร
ไม่ได้บอกว่า CL ไม่ดีนะ
- tok
- Verified User
- โพสต์: 833
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 156
กลับไปข้างบนให้ หมอ Pn3um0n1a (ชื่อหมออ่านยังไงครับ :?: )
ในข้อที่ว่ากระทรวงสาธารณสุขเจรจากับบริษัทยาหรือไม่ หมอเกรียงศักดิ์บอกว่า กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำได้โดยไม่ต้องเจรจา แต่ที่ผ่านมาก็เจรจาทุกครั้ง
"ถามว่าผิดกฎหมายไหม-ไม่ผิดครับ เพราะกฎหมายสิทธิบัตรมาตรา 51 เปิดช่องอยู่แล้วว่า ถ้าเป็นภาระความจำเป็นของประเทศนั้นๆ กระทรวง ทบวง กรม สามารถทำ CL ได้ ตรงนี้ต่างจากมาตรา 52 ที่คนอาจเข้าใจผิด มาตรา 52 ต้องเข้าคณะรัฐมนตรี กำหนดว่าถ้าประเทศนั้นๆ เกิดภาวะสงครามหรือโรคระบาด นายกรัฐมนตรีจะเป็นคนประกาศใช้ CL แต่ถ้าเกิดความจำเป็นเพื่อสาธารณประโยชน์ ใช้มาตรา 51 ได้โดยไม่จำเป็นต้องเจรจากับผู้ค้าก่อน แต่ให้บอกในภายหลัง"
"ไม่ว่ามาตรา 51 ปฏิญญาโดฮา หรือข้อตกลง TRIPS ก็ตรงกันหมดว่าเราทำได้ ตอนเราทำครั้งแรก วุฒิสมาชิกอเมริกัน 22 คนก็เห็นชอบ USTR โวยวายว่าเราทำไม่ถูก แต่พอวุฒิสมาชิกเขาทำหนังสือถามไป ก็ตอบว่าไม่เคยโวยวายไม่เคยทำหนังสือมาต่อว่า"
หมอเกรียงศักดิ์บอกว่าที่จริงบริษัทยาไม่ได้เสียประโยชน์ เพราะบางบริษัทก็ลดราคาลง แล้วก็ขายได้มากขึ้น และการทำ CL ก็ทำมาใช้กับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น ซึ่งคือคนจนที่ไม่เคยเข้าถึงยา ไม่เคยซื้อยา ขณะที่คนไข้ รพ.เอกชน ข้าราชการ หรือแม้แต่ประกันสังคม ก็ยังต้องใช้ยาของบริษัท
- tok
- Verified User
- โพสต์: 833
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 157
วันนี้ปื๊ดขอประชาสัมพันธ์ผลงานของ ท่านรมต. หน่อยนะครับ
'ไชยา'เปรียบ'ลูกเฉลิม'องค์คุลีมาร กลับตัวทำงานเพื่อสังคม
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 14:17:00
ไชยา เปรียบ วันเฉลิม เหมือนองค์คุลีมาร กลับตัวทำงานเพื่อสังคม เป็นตัวอย่างแก่เยาวชน พร้อมดึงเป็นพรีเซ็นเตอร์เลิกเหล้าเลิกบุหรี่
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า นายวันเฉลิม อยู่บำรุง บุตรชายของร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย จะเข้ามารับตำแหน่งเลขานุการของ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมช.สาธารณสุข ว่า เรื่องนี้ตนยังไม่ได้พูดคุยกับ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม ซึ่งตนเองก็ยังไม่ทราบรายละเอียด เพียงแต่ได้ยินมาเท่านั้นว่าจะมาทำงานกับ รมช.สาธารณสุข ส่วนที่หลายคนเกรงว่าจะเกิดปัญหานั้น โดยส่วนตัวเชื่อว่าไม่มี เพราะแม้ว่าที่ผ่านมา นายวันเฉลิมจะถูกมองว่า เป็นคนที่น่าเกลียด น่ากลัว แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับเป็นคนที่พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตัว
การที่จะมาช่วยงานที่กระทรวงก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ผ่านมาคนเราเมื่อถึงวัยหนึ่ง ความที่เป็นเด็กอาจทำให้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เมื่อวันนี้เป็นผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะแล้วก็พร้อมมาทำงานเพื่อสังคม เหมือนที่เราเคยดูองค์คุลีมาร และเชื่อว่า วันนี้คนก็พร้อมให้อภัย เพราะคนไทยเป็นผู้ที่ให้อภัยคน และเชื่อว่าเมื่อถูกสังคมจับจ้องแล้ว หากยังทำตัวไม่ดีอีกคนก็คงรับไม่ได้ รมว.สาธารณสุข กล่าว
นายไชยา กล่าวว่า การเข้ามาทำงานเพื่อสังคมของนายวันเฉลิม จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ และเยาวชน โดยตนจะให้มาเป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์เลิกเหล้าเลิกบุหรี่ โดยไม่ต้องเสียค่าพรีเซ็นเตอร์ เชื่อว่าน่าจะเริ่มงานหลังรัฐบาลแถลงนโยบายแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วท่านจะเป็นพรีเซ็นเตอร์ร่วมรณรงค์เลิกเหล้าเลิกบุหรี่ด้วยหรือไม่ นายไชยา กล่าวว่า สามารถเป็นได้เพราะตนไม่กินเหล้าอยู่แล้ว ส่วนบุหรี่นั้นเพิ่งเลิก
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 160
โดนไปแล้วหนึ่งดอก...นอกฤดูกาล..นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำสั่งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไปเป็นผู้ตรวจราชการ สธ. และให้ นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ มาเป็นเลขาฯ อย.แทน ขณะเดียวกันได้โยกย้าย นพ.เรวัติ วิศรุตเวช ผู้ตรวจราชการ สธ.ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์ แทน นพ.ชาตรี ด้วย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 161
ซีแอลของไทย: อธิปไตย และโลกานุวัตร
http://www.ftawatch.org/autopage1/show_ ... 0&d_id=120
เว็บข้างล่างนี้ว่าด้วยเรื่องซีแอลโดยเฉพาะคับ
ผมคงไม่โพสต์แบบแปะยาวแล้ว ละเมิด..
ยกเว้นที่เป็นข่าว..
ต่อยอดกันเองนาคับ..
http://www.cl4life.net/th/index_th.php
http://www.ftawatch.org/autopage1/show_ ... 0&d_id=120
เว็บข้างล่างนี้ว่าด้วยเรื่องซีแอลโดยเฉพาะคับ
ผมคงไม่โพสต์แบบแปะยาวแล้ว ละเมิด..
ยกเว้นที่เป็นข่าว..
ต่อยอดกันเองนาคับ..
http://www.cl4life.net/th/index_th.php
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 162
- พิษ CL เล่นงานนพ.ศิริวัฒน์ ดาบต่อไปตรียมปลด ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม แพทย์ชนบทชี้เหมือนผีป่าเข้าบ้าน ...
http://www.ftawatch.org/autopage1/show_ ... 2&d_id=122
- เปิดใจ"ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล" ถูกย้ายฟ้าผ่า "รู้สึกงง-สงสัย"
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12919
- แพทย์ชนบทเตรียมจุดไต้เข้า สธ. ประท้วง"ไชยา" 29 ก.พ.
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12910
- หมอชนบทค้านเด้งเลขาฯอย. เข้าชื่อถวายฎีกา
ไม่ไหว้-ไม่ต้อนรับ"ไชยา" "นพ.ศิริวัฒน์"อุทธรณ์ก.พ.
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12911
- ฟังเสียงหัวใจคนไข้ก่อนเดินหน้าทบทวนซีแอล
โครงการสื่อสารแนวราบ ร่วมกับสำนักข่าวประชาธรรม
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12908
- ไชยา"ท้าฟ้อง-ยื่นฎีกา ขู่ล้างบางองค์การเภสัช
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12920
- ซีแอลยามะเร็ง5ปีประหยัด8พันล้าน
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12921
- สรุปข้อมูลทำซีแอลยามะเร็งสุดคุ้ม! ทุ่นกว่า1,200ล.บาท
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx? ... 0000025629
http://www.ftawatch.org/autopage1/show_ ... 2&d_id=122
- เปิดใจ"ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล" ถูกย้ายฟ้าผ่า "รู้สึกงง-สงสัย"
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12919
- แพทย์ชนบทเตรียมจุดไต้เข้า สธ. ประท้วง"ไชยา" 29 ก.พ.
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12910
- หมอชนบทค้านเด้งเลขาฯอย. เข้าชื่อถวายฎีกา
ไม่ไหว้-ไม่ต้อนรับ"ไชยา" "นพ.ศิริวัฒน์"อุทธรณ์ก.พ.
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12911
- ฟังเสียงหัวใจคนไข้ก่อนเดินหน้าทบทวนซีแอล
โครงการสื่อสารแนวราบ ร่วมกับสำนักข่าวประชาธรรม
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12908
- ไชยา"ท้าฟ้อง-ยื่นฎีกา ขู่ล้างบางองค์การเภสัช
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12920
- ซีแอลยามะเร็ง5ปีประหยัด8พันล้าน
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12921
- สรุปข้อมูลทำซีแอลยามะเร็งสุดคุ้ม! ทุ่นกว่า1,200ล.บาท
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx? ... 0000025629
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 163
ไล่ผีป่า
นพ.บรรลุ ศิริพานิช
2 มีนาคม 2551
"ผีบ้านไม่ดีสู้ผีป่าไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำพิธีไล่ผีป่า และเลี้ยงดูผีบ้านให้เข้มแข็ง คนในครอบครัวห้ามทะเลาะเบาะแว้งกัน... ถ้าผีบ้านแรง ผีป่าซึ่งมากับคนใหม่สู้ผีบ้านไม่ได้ ก็ส่งผลให้คนในองค์กรร่มเย็นเป็นสุข"
http://www.thaipost.net/index.asp?bk=ta ... _id=220100
นพ.บรรลุ ศิริพานิช
2 มีนาคม 2551
"ผีบ้านไม่ดีสู้ผีป่าไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำพิธีไล่ผีป่า และเลี้ยงดูผีบ้านให้เข้มแข็ง คนในครอบครัวห้ามทะเลาะเบาะแว้งกัน... ถ้าผีบ้านแรง ผีป่าซึ่งมากับคนใหม่สู้ผีบ้านไม่ได้ ก็ส่งผลให้คนในองค์กรร่มเย็นเป็นสุข"
http://www.thaipost.net/index.asp?bk=ta ... _id=220100
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 164
ไม่รู้ว่าจะโดนจับขังคุกรึเปล่า
แต่บอกได้เลย
ถึงไม่มี CL ยา ไม่มีประกันสุขภาพถ้วนหน้า...
เป็นเมื่อก่อน คนไข้ก็ไม่ถูกทอดทิ้งหรอกครับ
ยังไงก็รักษาให้ ใครจะไปทอดทิ้งคนกำลังเฮือกๆ ได้ลงคอ
รพ. ก็อยู่ได้มาตลอด จากทั้งเงินบริจาคทั่วไปให้คนไข้อนาถา(อาจฟังดูไม่เพราะ) + เงินบริจาคธงวันมหิดล
ไม่เห็นมีใครเดือดร้อน ทุกฝ่ายอยู่กันอย่างสงบสุข
ตั้งแต่ มีบัตรอะไรเนี่ยแหละที่ทำให้ รพ เจ๊ง
คนไข้ และหมอ ต้องเผชิญหน้ากัน
เกิดความแตกแยกในสังคม
ทั้งหมดผมว่าเกิดจากความอยากได้ผลงาน หรือ หวังประโยชน์ของคนบางกลุ่ม...
พอเกิดปัญหาเงินไม่พอ ก็ต้องไปทำ CL ให้เกิดปัญหาต่อไปอีก
ผมยังคิดว่าจะเป็น butterfly effect ได้จากกรณีนี้ (ถ้าไม่เกิดก็ดีไป)
ตอนนี้มา ยอมรับ จ๋าๆ แล้วว่าทำไปเพื่อทุ่นงบ..
งบมันบานปลายเพราะใครกันล่ะครับ?
หน้าไม่อาย สงสารประเทศชาติ และ ประชาชนจริงๆ
ใครจะเกลียดคนอย่างผมก็ไม่ว่าครับ :oops:
ผมยังคิดว่าผมเข้าใจทุกฝ่าย
ผมไม่ทราบนะครับ แต่ผมถามจริงๆ ว่าพวกยามะเร็งที่ไปขอทำ CL เนี่ย
มีสักกี่ % ที่มีความจำเป็นจริงๆ
หรือเพียงทำไปเพื่อ โฆษณา?
แต่บอกได้เลย
ถึงไม่มี CL ยา ไม่มีประกันสุขภาพถ้วนหน้า...
เป็นเมื่อก่อน คนไข้ก็ไม่ถูกทอดทิ้งหรอกครับ
ยังไงก็รักษาให้ ใครจะไปทอดทิ้งคนกำลังเฮือกๆ ได้ลงคอ
รพ. ก็อยู่ได้มาตลอด จากทั้งเงินบริจาคทั่วไปให้คนไข้อนาถา(อาจฟังดูไม่เพราะ) + เงินบริจาคธงวันมหิดล
ไม่เห็นมีใครเดือดร้อน ทุกฝ่ายอยู่กันอย่างสงบสุข
ตั้งแต่ มีบัตรอะไรเนี่ยแหละที่ทำให้ รพ เจ๊ง
คนไข้ และหมอ ต้องเผชิญหน้ากัน
เกิดความแตกแยกในสังคม
ทั้งหมดผมว่าเกิดจากความอยากได้ผลงาน หรือ หวังประโยชน์ของคนบางกลุ่ม...
พอเกิดปัญหาเงินไม่พอ ก็ต้องไปทำ CL ให้เกิดปัญหาต่อไปอีก
ผมยังคิดว่าจะเป็น butterfly effect ได้จากกรณีนี้ (ถ้าไม่เกิดก็ดีไป)
ตอนนี้มา ยอมรับ จ๋าๆ แล้วว่าทำไปเพื่อทุ่นงบ..
งบมันบานปลายเพราะใครกันล่ะครับ?
หน้าไม่อาย สงสารประเทศชาติ และ ประชาชนจริงๆ
ใครจะเกลียดคนอย่างผมก็ไม่ว่าครับ :oops:
ผมยังคิดว่าผมเข้าใจทุกฝ่าย
ผมไม่ทราบนะครับ แต่ผมถามจริงๆ ว่าพวกยามะเร็งที่ไปขอทำ CL เนี่ย
มีสักกี่ % ที่มีความจำเป็นจริงๆ
หรือเพียงทำไปเพื่อ โฆษณา?
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 165
เรียนอย่างนี้นะครับว่า ผมเองเป็นนักศึกษาเภสัชแล้วได้มีโอกาศศึกษาเรื่องนี้
ต้องบอกเลยนะครับว่า การทำcl นั้นไม่ได้เป็นการผืิกฎหมายเลยซึ่งกฎหมายพรบ.สิทธิบัตร มาตรที่ 55 ครับกล่าวไว้อย่างชัดเจนและยังมี TRIP และ DOHA ซึ่งกำหนดไว้เลยว่าเราสามารถทำได้ การที่เราทำก็เพื่อผลประโยชน์ของผู้ป่วยและเราก็จ่ายค่าตอบแทยเป็น 0.5 % ของยอดขายซึ่งเราไม่ได้ค้าเอากำไรนะครับซึ่งถ้าทางบริษัทไม่เห็นด้วยก็สามารถที่จะเจรจากันได้ ส่วนตัวผมนะครับถ้าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อแล้วนั้นผมไม่สนหรอกนะครับว่าเค้าจะติดมายังไง ผมจะไม่ตัดสินเค้า เค้าก็เป็นคนคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิที่จะมีชีวิตที่ดี มีชัวิตที่มีคุณภาพนะครับ
ต้องบอกเลยนะครับว่า การทำcl นั้นไม่ได้เป็นการผืิกฎหมายเลยซึ่งกฎหมายพรบ.สิทธิบัตร มาตรที่ 55 ครับกล่าวไว้อย่างชัดเจนและยังมี TRIP และ DOHA ซึ่งกำหนดไว้เลยว่าเราสามารถทำได้ การที่เราทำก็เพื่อผลประโยชน์ของผู้ป่วยและเราก็จ่ายค่าตอบแทยเป็น 0.5 % ของยอดขายซึ่งเราไม่ได้ค้าเอากำไรนะครับซึ่งถ้าทางบริษัทไม่เห็นด้วยก็สามารถที่จะเจรจากันได้ ส่วนตัวผมนะครับถ้าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อแล้วนั้นผมไม่สนหรอกนะครับว่าเค้าจะติดมายังไง ผมจะไม่ตัดสินเค้า เค้าก็เป็นคนคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิที่จะมีชีวิตที่ดี มีชัวิตที่มีคุณภาพนะครับ