ภาพรวมเศรษฐกิจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/08/07

โพสต์ที่ 151

โพสต์

พ.ร.บ.ต่างด้าวบี้4หมื่นบริษัท อสังหา-โรงแรมลุ้นกมธ.แปรญัตติ

ร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว...ยังวุ่นไม่จบ กรรมาธิการวิสามัญเสียงแตก กลุ่มแรกให้เพิ่มเฉพาะ "สิทธิในการออกเสียง" ส่วนอีกกลุ่มวิ่งวุ่นจะให้เพิ่มนิยาม "สิทธิในการควบคุม" ด้วย โดยแลกกับการแก้ไขบัญชี 1 นำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์-ที่ดินออกมา ที่ปรึกษากฎหมายต่างชาติหวั่น หากเพิ่มนิยามสิทธิในการควบคุมจะกระทบกับบริษัทต่างด้าวที่มีสถานะบริษัทไทยไม่ต่ำกว่า 40,000 บริษัท ทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์-โรงแรม โดนเต็มๆ ต้องขายหุ้นภายใน 3 ปี

หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติ บัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเสียงส่วนในคณะกรรมาธิการจะเห็นพ้องตามร่างฉบับที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ อาทิ บทเฉพาะกาลที่ให้ธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 3 ซึ่งมีสิทธิการออกเสียงเกินกว่า 50% ครม.ยังคงให้สิทธินั้นตลอดไปจนกว่าจะมีการเลิกกิจการ ส่วนธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 1 และ 2 จะให้ระยะเวลาในการปรับตัวให้ถูกต้องตามกฎหมายเป็นเวลา 3 ปี จากร่าง พ.ร.บ.เดิมที่ให้เวลาเพียง 2 ปี และการเพิ่มบทกำหนดโทษ เป็นต้น

แต่ยังมีประเด็นที่คณะกรรมาธิการวิสามัญยังมีความเห็นไม่ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "นิยามของคนต่างด้าว" ซึ่งถือเป็น "หัวใจ" ของการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ จากที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้ปรับเพิ่ม "สิทธิในการออกเสียง" จากเดิมที่จะดูเพียงเกณฑ์สัดส่วนการถือหุ้นเท่านั้น ในขณะที่กรรมาธิการอีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ควรเพิ่ม "สิทธิในการควบคุม" เข้าไปในนิยามคนต่างด้าวด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเข้มงวดในการตรวจสอบบริษัทนอมินี

และเมื่อกรรมาธิการวิสามัญมีความเห็นนิยามของคนต่างด้าว แตกออกเป็น 2 ส่วนเช่นนี้ จึงต้องรอการตัดสินใจของ สนช.ในการแปรญัตติประเด็นนี้ว่า จะได้ข้อสรุปอย่างไร

นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ สนช.อยู่ระหว่างบรรจุเรื่องการแก้ไข พ.ร.บ.ต่างด้าวเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในวาระที่ 2 คาดว่าจะใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในส่วนการแปรญัตติมีสมาชิก สนช.หลายคนที่ยื่นแสดงความจำนงไว้ต่อคณะกรรมาธิการ ซึ่งประเด็นหลักที่ขอแปรญัตติก็คือ เรื่องคำนิยามของคนต่างด้าว

เพราะการที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเกณฑ์นิยามของคนต่างด้าว โดยให้เพิ่มสิทธิในการออกเสียงเกินกึ่งหนึ่ง (voting right) จากเดิมที่คำนิยามดูเพียงสัดส่วนในการถือหุ้นมากกว่ากึ่งหนึ่ง (ownership) นั้น ยังไม่เพียงพอในการกำกับดูแล ควรมีการเพิ่มเกณฑ์ในเรื่องการควบคุมกิจการโดยผู้บริหารต่างด้าว (control) ที่จะเน้นเฉพาะอำนาจของกรรมการในการควบคุมกิจการเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน

"ประเด็นที่กระทรวงพาณิชย์เสนอในการแก้ไขเกณฑ์นิยามคนต่างด้าวโดยเพิ่มสิทธิออกเสียง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่านิยามเดิมระดับหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอ เพราะบริษัทต่างชาติสามารถแก้ไขได้ เช่น ยอมถือหุ้นไม่เกินกึ่งหนึ่ง หรือไม่ต้องมีสิทธิออกเสียงซึ่งเป็นไปตามนิยามก็ได้สัญชาติไทย แต่หากบริษัทกลับไปกำหนดให้กรรมการต่างด้าว ซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อยที่คุมดูแลเรื่องที่เป็นมติที่สำคัญ เช่น การเพิ่มทุน ตั้งคณะกรรมการ ซื้อที่ดิน และขยายสาขา เป็นต้น กำหนดให้เป็นอำนาจของกรรมการเสียงส่วนน้อยจะดำเนินการอย่างไร จึงเป็นเหตุที่สำคัญที่ควรจะเพิ่มเกณฑ์ในเรื่องการควบคุมกิจการไว้ด้วย" นายสมชายกล่าว

พร้อมกันนี้ สนช.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการ โดยมีอาจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน ศึกษาประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การเพิ่มเกณฑ์การควบคุมกิจการเข้าไปในนิยามคนต่างด้าวจะไม่ขัดแย้งต่อข้อผูกพันที่ไทยมีกับองค์การการค้าโลก (WTO) เพราะการกำหนดเกณฑ์นิยามคนต่างด้าว ถือเป็นการกำหนดสัญชาติธุรกิจต่างด้าว เป็นอำนาจอธิปไตยของไทยทำได้

ส่วนกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มเกณฑ์อำนาจการควบคุม เนื่องจากเกรงว่าการเพิ่มความเข้มงวดในนิยามคนต่างด้าวมากเกินไปจะกลายเป็นการกีดกันการค้าการลงทุนนั้น ในประเด็นนี้ นายสมชายกล่าวว่า ไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติกังวล เพราะกฎหมายฉบับนี้มี 2 ส่วน คือ การกำหนดนิยามคนต่างด้าว กับการกำหนดประเภทธุรกิจ ดังนั้นหากเพิ่มความเข้มงวดในส่วนของนิยามคนต่างด้าว ก็ควรจะผ่อนปรนในเรื่องประเภทธุรกิจตามบัญชีแนบท้าย (บัญชี 1-2-3) เพื่อให้เป็นการเปิดเสรีมากขึ้น
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/08/07

โพสต์ที่ 152

โพสต์

เกริกไกร จ้องปรับเป้าส่งออกปีนี้ให้โตขึ้น

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 สิงหาคม 2550 18:29 น.

      เกริกไกร จีระแพทย์ เตรียมปรับเป้าหมายการส่งออกปีนี้ใหม่ หลังจากตัวเลขช่วงครึ่งปีแรกออกมาดี และแบงก์ชาติปรับตัวเลขประมาณการส่งออกใหม่ให้โตร้อยละ 12-15 โดยคาดว่าจะประกาศเป้าหมายใหม่กลางเดือนนี้ ยืนยันกับรัฐมนตรีของญี่ปุ่น การแก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจะไม่เป็นอุปสรรคการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น
      นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า แม้จะมีโรงงานรองเท้าและสิ่งทอบางแห่งที่ปิดกิจการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถในการแข่งขัน หากอุตสาหกรรมใดมีปัญหาค่าเงินบาทกับค่าจ้างแรงงานสูง ทำให้ต้นทุนและราคาสูง จะทำให้ประเทศผู้สั่งซื้อสินค้าไปซื้อสินค้าประเทศอื่นแทน ซึ่งจะมีผลกระทบกับภาพรวมอุตสาหกรรม แต่แนวโน้มการส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงยังไม่ปรับประมาณการเติบโตของการส่งออก ซึ่งเดิมปีนี้กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายว่า การส่งออกจะเติบโตร้อยละ 12.5 หรือมีมูลค่าการส่งออก 145,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประมาณการส่งออกในปีนี้จะเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 กระทรวงพาณิชย์จึงจะประเมินภาพรวมการส่งออกใหม่ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยอาจจะปรับเป้าหมายการส่งออกใหม่ให้เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 หรือมีมูลค่า 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขอดูภาพรวมการส่งออกหลังจากนี้ไปอีกระยะ ซึ่งน่าจะประกาศตัวเลขเป้าหมายการส่งออกใหม่ประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้
     
      นายเกริกไกร กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายที่จะขยายฐานการส่งออกไปตลาดใหม่ ๆ เพราะแม้ว่าตลาดสหรัฐจะมีปัญหา แต่ตลาดอื่น ๆ ทั่วโลกมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง น่าจะสามารถชดเชยการส่งออกบางอุตสาหกรรมที่มีปัญหาได้
     
      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวหลังนายฮิโรมิชิ วาตานาเบ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ) เข้าพบ ว่า ทางญี่ปุ่นได้สอบถามการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งขณะนี้กฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยญี่ปุ่นกังวลใจว่า กฎหมายดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อนักลงทุนญี่ปุ่นหรือไม่ จึงได้ชี้แจงว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และไม่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของญี่ปุ่น ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นเข้าใจ พร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีไทย ส่วนความคืบหน้าของการบังคับใช้ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (เจเทปปา) คาดว่าจะมีความชัดเจนในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000090916
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/08/07

โพสต์ที่ 153

โพสต์

เผย 10 เดือนแรกปีงบ 50 เบิกจ่ายเงินแล้ว 1.207 ล้านล้านบาท  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
3 สิงหาคม 2550 16:35 น.
 
      โฆษกกรมบัญชีกลางเผยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2550 เบิกจ่ายแล้ว 1.207 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 2.57 ส่วนการเบิกจ่ายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็สูงขึ้นร้อยละ 2.33 โดยหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญเบิกจ่ายงบประมาณได้สูงสุด      
      นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงการเบิกจ่ายเงินในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากกระทรวงการคลังทั้งสิ้น 142,783 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.12 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 2.33 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 119,439 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.60 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ 1,244,236 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 2.12 และรายจ่ายลงทุน 23,344 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.25 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน 321,964 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 2.44
     
      อย่างไรก็ตาม นายมนัส กล่าวว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.49-ก.ค.50) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากกระทรวงการคลังทั้งสิ้น 1,207,995 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.13 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 2.57 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 990,628 ล้านบาท หรือร้อยละ 79.62 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ 1,244,236 ล้านบาท ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 0.55 รายจ่ายลงทุน 217,367 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.51 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน 321,964 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 9.12
     
      สำหรับหน่วยงานที่เบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ กระทรวงแรงงาน และรัฐวิสาหกิจ มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 95.47 94.13 และ 83.95 ตามลำดับ ส่วนโครงการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการบ้านเอื้ออาทร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะ และโครงการบ้านมั่นคง มีอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายต่อวงเงินงบประมาณ ร้อยละ 90.08 89.36 และ 89.34 ตามลำดับ
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000090844
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/08/07

โพสต์ที่ 154

โพสต์

คลังลั่นยันไม่ยกเลิกกฎเหล็กกันสำรอง30% ป้องกันบาทผันผวน

3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 14:55:00

รมว.คลังลั่นยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ตราบใดที่ค่าเงินบาทยังผันผวน ระบุแนวโน้มดอกเบี้ยยังคงปรับตัวลดลงได้อีกเล็กน้อย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ที่ออสเตรเลียว่า ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาในการใช้มาตรการกันสำรอง 30 % ของเงินนำเข้าระยะสั้น

"มาตรการนี้จะดำเนินต่อไปตราบใดที่ภาวะแวดล้อมทั่วโลกยังคงผันผวน โดยเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเราจะมีภาวะแวดล้อมที่มีเสถียรภาพเมื่อใด"ดร.ฉลองภาพ ระบุ พร้อมชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดแล้ว แต่ก็อาจจะปรับตัวลงได้อีกเล็กน้อย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87597
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/08/07

โพสต์ที่ 155

โพสต์

Hard Topic : "เกาะติดทุนนอก ทิ้งตลาดหุ้นไทย ?"

Date:  2007-08-03 09:40:37
Source: OTH

ดร.ศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ. เอ็มเอฟซี ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Subprime) ของสหรัฐฯ และบริษัทจดทะเบียนบางแห่งผลประกอบการขาดทุน ประกอบกับขณะนี้นักลงทุนมีกำไรจากการลงทุนอยู่แล้ว จึงได้มีการปรับพอร์ตการลงทุน

ทั้งนี้ ถ้าดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับหนึ่ง อาจจะทำให้กองทุนบางประเภทเทขายได้ อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่า นักลงทุนสถาบันกำลังรอจังหวะปรับพอร์ตการลงทุนอยู่ เพราะในช่วงก่อนหน้านี้นักลงทุนสถาบันยังซื้อสุทธิไม่มากนัก ส่วนนักลงทุนรายย่อย เชื่อว่าจะเริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นอีกครั้งหนึ่ง

ดร.ศุภกรเชื่อว่า ในช่วง 10 ปีจากนี้ไป ตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นทั่วโลกจะอยู่ในช่วงขาขึ้น เพราะโลกมีสภาพคล่องมาก จึงจำเป็นต้องหาแหล่งลงทุน แต่การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นอาจจะมีการปรับฐานเป็นระยะ

สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก 6 มาตรการดูแลค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ยังไม่มีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ จึงทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ ทั้งนี้ ดร.ศุภกรเชื่อว่า ถ้านักลงทุนต่างชาติขายหุ้น และยังไม่นำเงินออกนอกประเทศ แต่รอจังหวะที่จะลงทุนอีกครั้งหนึ่ง ก็จะทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพอีกระยะหนึ่ง

ส่วนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ ถ้าผลปรากฏว่า ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็มีโอกาสที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวทะลุ 900 จุดได้ แต่จะต้องมีข่าวดีอื่น ๆ เข้ามาเสริมด้วย

ดร.ศุภกรแนะว่า ถ้านักลงทุนต้องการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็สามารถลงทุนได้ทันที เพราะเป็นการลงทุนระยะยาว แต่ถ้าต้องการลงทุนในตลาดหุ้น นักลงทุนควรเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดี และนักลงทุนต่างชาติเทขาย เช่น กลุ่มน้ำมัน เพราะเป็นกลุ่มที่มีสภาพคล่องสูง

นายวิชชุ จันทาทับ ผู้อำนวยการการลงทุนตราสารทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ บอกว่า นอกจากปัญหา Subprime ของสหรัฐฯ และการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ผลประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 23 ? 24 สิงหาคมนี้ เพราะถ้า BOJ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนของนักลงทุนที่กู้เงินจากญี่ปุ่นไปลงทุนในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า (Yen Carry Trade) สูงขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนเหล่านี้ต้องปรับพอร์ตการลงทุนใหม่ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า ภายในปีนี้ BOJ จะยังไม่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย

สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงในช่วงนี้นั้น ก็ไม่เป็นห่วงมากนัก เพราะเป็นเรื่องปกติที่นักลงทุนมีการปรับพอร์ตทำกำไร หลังจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นเอเชีย ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายวิชชุเชื่อว่า หลังจากนี้จะมีเงินทุนก้อนใหม่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่มากนัก เพราะยังติดปัญหาเรื่องมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับเงินที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 และได้ย้ายเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นแทน

นายวิชชุแนะนำว่า ถ้าดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 820 ? 830 จุด นักลงทุนไทยก็สามารถลงทุนได้ เพราะยังพอมี Upside Gain แต่ถ้าลงทุนในช่วงที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 860 ? 870 จุด นักลงทุนอาจจะต้องถือยาวไปจนถึงปี 2551 ? 2552
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติกังวลกับปัญหาสินเชื่อ Subprime ของสหรัฐฯ จึงได้มีการเทขาย เพื่อทำกำไรและเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้วย

นายมนรัฐเชื่อว่า ถ้าดัชนีตลาดหุ้นปรับลดลงมาจนถึง 810 จุด นักลงทุนจะกลับมาลงทุนอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามมองว่าช่วงนี้เป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนจะช้อนซื้อหุ้นอีกครั้ง เพราะถ้าเริ่มซื้อในไตรมาสที่ 4 ราคาหุ้นก็จะเริ่มสูงขึ้นแล้ว
ติดตาม Hard Topic ทาง Money Channel True Visions 80 และ True Visions 7 ทุกวันจันทร์ ? ศุกร์ เวลา 13.00 ? 14
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news04/08/07

โพสต์ที่ 156

โพสต์

เงินสำรองพุ่ง ชี้ธปท.แทรก! แก้บาทแข็ง
โพสต์ทูเดย์ ธปท.เผยยอดทุนสำรองสิ้นเดือน ก.ค. พุ่งอีก 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขทุนสำรองเงินตรา ต่างประเทศของไทย วันที่ 27 ก.ค. 2550 อยู่ที่ 7.32 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากวันที่ 20 ก.ค. 2550 อยู่ที่ 7.19 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะเดียวกันฐานะการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (ฟอร์เวิร์ด) สุทธิของไทย วันที่ 27 ก.ค. 2550 อยู่ที่ 1.29 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2550 ซึ่ง อยู่ที่ 1.38 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 900 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินบาท วันที่ 27 ก.ค. 2550 อยู่ที่ระดับ 2.46 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2.41 ล้านล้านบาท เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2550
ก่อนหน้านี้ ธปท.ถูกโจมตีว่าใช้เงินแทรกแซงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างหนักตั้งแต่ปี 2549 จนขาดทุนทางบัญชีไปแล้ว 1.7 แสนล้านบาท ขณะที่นักวิเคราะห์ประเมินว่า ธปท.ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2550 สูงมากเนื่องจากเป็นช่วงที่มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
ทั้งนี้นายฉลองภพ สุสังกร์ กาญจน์ รมว.การคลัง กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาว่าควรมีแนวทางบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร เพื่อ ให้อัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเสถียรภาพ โดยจะเชิญ ผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร โดยจะทำแผนการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนระยะปานกลาง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182878
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news04/08/07

โพสต์ที่ 157

โพสต์

แอ้ดมั่นใจบาทแข็งไม่วิกฤติเท่าปี2540

โดย เดลินิวส์ วัน เสาร์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:52 น.

จวกมั่วข่าว4รง.เจ๊ง นายกแอ้ดมั่นใจ บาทแข็ง ไม่วิกฤติเท่าปี40 จี้เดินเครื่องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โฆสิต ควงผู้ว่าการ ธปท. จับเข่าคุยที่ทำเนียบฯ ล้อมคอก เสี่ย-เจ้าสัว แห่ปิดการโรงงาน อภัย ยันป่านนี้ไม่มีที่ไหนปิดจริงจัง แต่ต้องเฝ้าระวังไม่ประมาท เดินสายประชุมผู้ประกอบการ งัด 3 ทีเด็ดช่วยเหลือแรงงานยามฉุกเฉิน บอสรง.รองเท้ากรุงเก่าลั่นไม่ลอยแพ แค่ปรับแผนงานใหม่ ย้าย พนง. ไปบริษัทในเครือ จ่ายเงินเดือนเท่าเดิม ผู้ว่าฯสุพรรณสวดยับปลัดฯทำป่วน มั่วข่าว 4 รง.เจ๊งโดนระงับออร์เดอร์-แบงก์ไม่ปล่อยกู้-คนงานขวัญผวา เผย 14 จว.ทั่วไทยกระอักแล้ว แต่ยังแบกภาระได้ เร่งเดินหน้า กรมธรรม์คนว่างงาน ช่วยคนเตะฝุ่น ชาวเขาตกงานเครียดฆ่าตัวพิสดารสังเวยพิษ ศก. 1ศพ
ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 ส.ค. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม นำผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ารายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีรับทราบ จากนั้น นายโฆสิต เปิดเผยว่า ระหว่างหารือกันนายกรัฐมนตรีสอบถามถึงเหตุการณ์ปิดโรงงานอุตสาหกรรม ได้ชี้แจงว่าไม่น่าวิตก เพราะปัญหาส่วนใหญ่ของภาคอุตสาหกรรมคือขาดแคลนแรงงานเกิดขึ้นเฉพาะจุดและโรงงานบางแห่งเท่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารของภาคเอกชนว่าจะจัดการดูแลแรงงานที่เดือดร้อนอย่างไรบ้างและทางรัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหานี้มาก

ส่วนแนวทางแก้ปัญหาค่าเงินบาท 6 มาตรการนั้น รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าคงต้องรอดูผลอีกระยะหนึ่ง แต่ขณะนี้สถานการณ์ปกติดีและในวันที่ 6 ส.ค. คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมจะหารือเกี่ยวกับส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศในส่วนของประชาชนทั่วไปและสถาบัน คาดว่าทุกอย่างคงชัดเจนและคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม

วันเดียวกันที่อิมแพ็คอารีน่าเมืองทองธานี พล.อ.สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการควบคุมส่วนต่างค่าเงินบาทว่า ธปท. มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าและนำออกของเงินอยู่แล้ว ทางผู้ว่าการ ธปท.ก็ยืนยันว่าวิธีการควบคุมไม่มีผลกระทบต่อการไหลออกหรือการเก็งกำไรมากนัก สำหรับแนวทางรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทจะต้องมีมาตรการระยะยาวออกมา เพราะรัฐบาลไม่ได้คำนึงถึงค่าเงินบาทเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนต้องใช้เวลาดูกันอีกนาน ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกยังไม่ยุติลงในช่วงเวลาสั้น ๆ

ที่กระทรวงแรงงาน ร.ต.อานนท์ อินทร สุขศรี รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เป็นประธานเปิดประชุมคณะทำงานติดตามสถานการณ์การเลิกจ้างทั่วประเทศและเปิดเผยว่า ข้อมูลสถานการณ์จากการสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ก.ค. 50 พบว่ามีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท แต่ยังไม่เลิกจ้างมี 14 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี สมุทรสงคราม มหาสารคาม ฉะเชิงเทรา ปัตตานี สมุทรปราการ ยะลา นครปฐม นครราชสีมา สมุทรสาคร ระยอง นครสวรรค์ ชัยนาท ลำพูน นอกจากนี้ยังมีเขตอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯอีก 6 พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตส่งออกสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โดยภาพรวมถือว่าทรงตัว ไม่วิกฤติขนาดปี 40 แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ซึ่งคณะทำงานจะติดตามสถานการณ์ทุกวันศุกร์และรอข้อมูลอีก 60 จังหวัดเพื่อประเมินสถานการณ์ต่อไป

http://news.sanook.com/economic/economic_165275.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news04/08/07

โพสต์ที่ 158

โพสต์

คลอดเกณฑ์กองทุนเอสเอ็มอีดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ2.25%  

โดย เดลินิวส์
วัน เสาร์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:52 น.

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนเอสเอ็มอีว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปว่าจะจัดวงเงินช่วยเหลือ 5,000 ล้านบาท โดยวงเงินส่วนแรก 4,500 ล้านบาท จะให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท และขาดสภาพคล่อง โดย ธปท.และธนาคารพาณิชย์สมทบเงินช่วยเหลือเท่ากัน หรืออัตรา 50% ของเงินให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ ธปท.จะคิดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 1% ต่อปี และกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ลบ 2.25% ต่อปี
สำหรับวงเงินอีกส่วน 500 ล้านบาท เตรียมไว้สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง และอาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้กับธนาคารพาณิชย์ โดย ธปท.สมทบเงิน 90% ธนาคารพาณิชย์ สมทบ 10% ของเงินที่ให้ความช่วยเหลือ และธปท.จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 1% ต่อปีเช่นกัน ส่วนธนาคารพาณิชย์จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) บวก 1% ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าลูกค้ากลุ่มนี้มีความเสี่ยงหนี้เสียสูง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่คิดต่ำมาก เมื่อเทียบกับลูกค้าในกลุ่มนี้ที่ปกติธนาคารพาณิชย์จะคิดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยเอ็มแอลอาร์บวก 4% ต่อปี

ทั้งนี้การช่วยเหลือมีระยะเวลา 3 ปี โดยจะช่วยเหลือเอสเอ็มอีแต่ละรายไม่เกิน 5 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 5 ล้านบาท ให้ใช้สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ตามช่องทางปกติ ในส่วนของการจัดสรรวงเงินให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง จะใช้ยอดคงค้างสินเชื่อเอสเอ็มอีของแต่ละแห่งเมื่อสิ้นปี 49 เป็นเกณฑ์จัดสรร

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 6 ส.ค. จะมีการหารือรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีถึงขั้นตอนปฏิบัติในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อประกาศไปยังสมาชิกสภาหอการค้าไทยและ ส.อ.ท.ในการเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจยื่นขอและกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิจะยื่น.
http://news.sanook.com/economic/economic_165267.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news04/08/07

โพสต์ที่ 159

โพสต์

แบงก์ชาติดีใจรีบแถลง คุยค่าเงินบาทเริ่มอ่อน เผย12ธ.พาณิชย์ร่วมมือ คาดลงทุนนอก1แสนล.

แบงก์ชาติ เนื้อเต้นเห็นบาทเริ่มอ่อน โดดแถลงความคืบหน้า 6 มาตรการแก้บาทแข็ง คุยมีภูมิป้องกันการผันผวน หากเกิดฟองสบู่แตกในสหรัฐ

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเปิดเผยว่าค่าเงินบาทในขณะนี้เริ่มมีเสถียรภาพแล้ว และวันนี้ (2ส.ค.)เริ่มอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อย ซึ่งน่าจะมีผลมาจากการประกาศใช้ 6 มาตรการดูแลค่าบาทที่ผ่านมา ส่วนที่ดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับลดลงอย่างรุนแรงวานนี้ (1 ส.ค.)นั้น อาจจะยังไม่ใช่สัญญาณที่บ่งชี้ว่ามีเงินทุนไหลออกจนทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง เพราะการที่ต่างชาติขายหุ้นก็ยังสามารถฝากเงินไว้ในบัญชีเงินฝากของผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (นอนเรสซิเด้นท์) ได้

ส่วนกรณีที่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาหนี้เสียที่เกิดจากลูกหนี้ ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ต่ำในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จนส่อเค้าจะเกิดฟองสบู่ว่า ธปท.เชื่อว่าประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะไทยมีกรอบในการป้องกันเกี่ยวกับภาวะเงินทุนไหลเข้าออกค่อนข้างยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% หรือระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่น จะเป็นกรอบป้องกันที่ดีให้กับไทยในกรณีที่สหรัฐฯประสบปัญหาดังกล่าวจนทำให้ความเชื่อมั่นในเงินสกุลดอลลาร์ลดลงและไม่สามารถระดมเงินทุนจากนักลงทุนได้จนในที่สุดอาจจะต้องหันมาระดมเงินทุนจากตลาดในประเทศอื่นๆ

"ไทยเรามีกรอบกำแพงที่ป้องกันภาวะการไหลเข้าออกมากมาย ค่าเงินเราก็มีความยืดหยุ่น เราก็ไม่ได้มีอิสระมากมายขนาดนั้น ขณะนี้ราคาสินทรัพย์ ราคาหุ้นสินทรัพย์ ก็ไม่บูม มากมาย สินเชื่อก็ยังขยายตัวในระดับต่ำดังนั้นเชื่อว่าเราจะไม่เจอปัญหาภาวะฟองสบู่อย่างสหรัฐฯ แน่นอน " นางสุชาด

นายสุชาติ ศักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความผลคืบหน้า 6 มาตรากรในการดูแลค่าเงินบาท และความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ในการให้บริการบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ภายหลังจากที่ธปท.ได้ประกาศใช้ ว่า ธนาคารพาณิชย์ 12 แห่ง มีความพร้อมที่จะให้บริการบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามระเบียบใหม่ ส่วนอีก 19 แห่ง ยังไม่พร้อมเนื่องจากส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการการวางระบบภายใน เพื่อควบคุมบัญชีประเภทต่างๆ โดยบางรายคาดว่าจะพร้อมให้บริการภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ส่วนกรณีการขออนุมติวงเงินการไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มของกลต.จาก 6,800 ล้านเหรียญ เป็น 1 หมื่นล้านเหรียญที่ธปธ.ได้อนุมติไปแล้วนั้น กลต.จัดสรรให้ กองทุนส่วนบุคคลเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับกลต. แต่เท่าที่พิจารณาจากศักยภาพแล้ว กองทุนส่วนบุคคลในปัจจุบันคาดว่าจะนำเงินไปลงทุนต่างประเทศประมาณ 1 แสนล้านบาท  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=70094
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news04/08/07

โพสต์ที่ 160

โพสต์

ตลท.ลุยโรดโชว์ขน4บมจ.อวดยุ่น70 นักลงทุนตอม [ ฉบับที่ 816 ประจำวันที่ 4-8-2007 ถึง 7-8-2007]  
ตลท. - ตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัท จดทะเบียนที่ไปร่วมโรดโชว์ประเทศญี่ปุ่นเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนหุ้นไทย ได้รับความสนใจจากนักลง ทุนสถาบันส่งตัวแทนรับฟังข้อมูลกว่า 70 ราย เผยยังมีความเชื่อมั่น พร้อม ให้ความสนใจลงทุนในสินค้าใหม่

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรม การและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ 4 บริษัทจะ เดินทางไปร่วมงาน International Roadshow in Japan ตามคำเชิญ ของบริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) และ Nomura Securities Co.,Ltd. เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทย รวมทั้ง เปิดโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ 3 กลุ่ม ได้นำเสนอข้อมูล แก่ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนสถาบันที่มีศักยภาพในการลงทุนสูง ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 29 -31 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงเดินหน้ากลยุทธ์ในการส่งเสริมและขยายฐานผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยการร่วม เดินทางไปให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนตามคำเชิญของบริษัทหลักทรัพย์ และการไปร่วมงาน Money Show สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ ตลาดหลัก ทรัพย์ฯ และบริษัทจดทะเบียนจะพบกับผู้ลงทุนสถาบันในกรุงโตเกียว เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยว กับเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน รวมถึงการแนะนำสินค้าใหม่ๆ ที่มีกำหนดการเริ่มซื้อขายในไตรมาส 3 ของปีนี้ คือ Exchange Traded Fund (ETF) และ SET50 Index Options อย่างใกล้ชิดแบบรายต่อราย หรือ one-on-one meeting กว่า 60 ราย อาทิ บริษัท Mitsui Asset Management UBS Global Asset Management Sumitomo Trust Nikko Asset Management เป็นต้น นางภัทรียา กล่าว

บริษัทจดทะเบียนที่ร่วมเดินทางไปครั้งนี้ คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กลุ่มธุรกิจการเงิน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) และ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (MINT) กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) กลุ่มทรัพยากร โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 4 แห่ง ณ วันที่ 26 ก.ค.2550 มีมูลค่า 523,206.92 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมเท่ากับ 6.82 ล้านล้านบาท

นางภัทรียา กล่าวว่า การไปร่วมงานที่ญี่ปุ่นได้รับการตอบรับด้วยดีเป็นอย่างยิ่งจากผู้บริหารกองทุนและตัวแทนสถาบันต่างๆ รวมกว่า 70 ราย โดยผู้ที่เข้าร่วมงานได้แสดงความ พอใจต่อการนำเสนอข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทจดทะเบียน และยังสนใจติดตามสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

นายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมงานว่า การมาโรดโชว์ครั้งนี้ นับว่าพิเศษอย่างยิ่ง เพราะเป็นโอกาสพิเศษฉลองความสัมพันธ์ 120 ปีไทย-ญี่ปุ่น และยังเป็นโรดโชว์อย่างเป็นทางการของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 5 ปีด้วย ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและพัฒนาตลาดทุนอย่างจริงจัง และ ในระยะอันใกล้นี้ ประเทศไทยจะมีการลงประชา มติให้ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ และจะมีการ เลือกตั้งในปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ด้านการเมืองของประเทศไทยมีความชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ของไทย ก็จะเดินหน้าพัฒนาในทุกด้าน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนโลก

ทั้งนี้ นายวิจิตรได้กล่าวถึงปัจจัยบวกทาง เศรษฐกิจ อาทิ ตัวชี้วัดระดับเศรษฐกิจมหภาคที่แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็ง แกร่ง การลงทุนในโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์โดยผู้ลงทุนต่างชาติที่เป็นยอดซื้อสุทธิในปีนี้ แม้กระนั้น ค่าพีอี หรืออัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของตลาดหุ้นไทย ก็ยังถือว่าต่ำกว่าตลาดหลายแห่งในภูมิภาค ขณะที่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้วางแผน ยุทธศาสตร์ในระยะ 3 ปีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงกับตลาดทุนต่างประเทศมากขึ้น โดยมีพื้นฐานที่ดีด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การมีระบบรองรับคำสั่งซื้อขายตรงของผู้ลง ทุนสถาบัน (Direct Market Access : DMA) ความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ในอนาคต
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5310
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news05/08/07

โพสต์ที่ 161

โพสต์

3สินค้าถูกตัดจีเอสพีทรุดหนัก ฉุดส่งออกสหรัฐขยายตัวติดลบ  
ส่งออกตลาดสหรัฐทรุด ครึ่งปีติดลบ 9% กลุ่มสินค้าถูกตัดจีเอสพีอาการหนัก อัญมณี เม็ดพลาสติก ทีวีสี เร่งหาตลาดใหม่ชดเชย ด้านพาณิชย์ไฟล้นก้นเร่งกู้สถานการณ์ ว่าที่ผู้นำฮับคนใหม่เตรียมถก 6 ทูตพาณิชย์แก้เกม มั่นใจเป้าขยายตัว 6% ยังทำได้ชี้เศรษฐกิจสหรัฐยังดี

แหล่งข่าวจากกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า แม้ในภาพรวมการส่งออกของไทยช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้จะยังขยายตัวได้ดี โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 18% แต่เมื่อเจาะลึกลงไปพบว่า ตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกกว่า 15% ของไทยในภาพรวมปีที่ผ่านมากลับมียอดการส่งออกที่ลดลงอย่างน่าจับตามอง โดยครึ่งปีแรกของส่งออกของไทยไปสหรัฐรูปดอลลาร์ขยายตัวเพียง 0.24% ขณะที่รูปเงินบาทขยายตัวติดลบ 9.47%

ทั้งนี้ในจำนวนสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐ 10 อันดับแรก มีหลายสินค้าที่ส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 6 รายการในจำนวนนี้ 2 รายการอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี)ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2550 ที่ผ่านมาคือ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบ ส่วนอีก 4 รายการใหญ่ประกอบด้วย เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ โดยสินค้าทั้ง 6 รายการส่งออกรูปเงินบาทลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยขยายตัวลดลง 11, 51, 16, 12, 4 และ1% ตามลำดับ

ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การส่งออกเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบไปสหรัฐที่ลดลงกว่า 50% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 เป็นผลพวงจากการถูกตัดจีเอสพีในสินค้าโทรทัศน์สีจอแบนอย่างชัดเจน ซึ่งเวลานี้นอกจากต้องเสียภาษีนำเข้า 3.9% แล้ว จากเงินบาทที่แข็งค่า และต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทยที่สูงยิ่งทำให้แข่งขันยากขึ้น และคาดว่าจะเป็นตัวฉุดยอดส่งออกในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มียอดส่งออกปีละประมาณ 500,000 ล้านบาทพอสมควรเนื่องจากในแต่ละปีไทยส่งออกโทรทัศน์กว่า 60,000 ล้านบาทโดยมีตลาดใหญ่ที่สหรัฐ ทางออกจากนี้ไปคงต้องหาตลาดใหม่ๆ รองรับเช่นกัน

ด้านนายสมศักดิ์ บริสุทธนะกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก ส.อ.ท. กล่าวว่า จากการที่สินค้าเม็ดพลาสติก PET ถูกสหรัฐตัดจีเอสพีเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2550 และสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกถูกสหรัฐตัดจีเอสพีในปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์พาสติกที่ดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทางกลุ่มได้หารือกับกรมการค้าต่างประเทศเพื่อขอให้สหรัฐพิจารณาทบทวนและคืนสิทธิจีเอสพีในสินค้าสองรายการหลักดังกล่าว เนื่องจากไทยส่งออกเกินเพดานที่สหรัฐกำหนดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ติดตามเรื่องเพื่อขอคืนสิทธิแล้ว

ขณะที่นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ว่าที่ผู้นำฮับอเมริกาเหนือคนใหม่ กล่าวว่าจากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐที่ลดลงทางฮับอเมริกาเหนือ จะได้มีการประชุมหารือกับทูตพาณิชย์ 6 สำนักงานที่ประจำอยู่ในภูมิภาค(สหรัฐ 4 สำนักงาน และแคนาดา 2 สำนักงาน)ในช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคมเพื่อประเมินสถานการณ์ และจะได้จัดกิจกรรมผลักดันการส่งออกต่อไป แต่เบื้องต้นยังมั่นใจว่าเป้าหมายการส่งออกตลาดสหรัฐขยายตัวที่ 6% มูลค่า 20,621 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะสามารถทำได้เพราะภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวได้ดี
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2240
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/08/07

โพสต์ที่ 162

โพสต์

ตีกลับ...หรือกลับหลังหัน ?
อาจจะเร็วเกินไปหากสรุปว่าทิศทางตลาดหุ้นไทยระยะสั้นเป็นการกลับหลังหันหรือยูเทิร์น


อาจจะเร็วเกินไปหากสรุปว่าทิศทางตลาดหุ้นไทยระยะสั้นเป็นการกลับหลังหันหรือยูเทิร์น เพราะนักลงทุนยังไม่แน่ใจว่าเงินทุนต่างชาติที่ขายสุทธิต่อเนื่องมามาตลอดสัปดาห์จะหยุดขายแล้วหรือไม่ แต่หากมองว่าดัชนีอยู่ระหว่างการตีกลับทางเทคนิคเนื่องจากตกเร็วเกินไปเพราะดัชนีปรับตัวจากระดับ 895 จุดมาบริเวณ 820 จุดโดยใช้เวลาเพียง 5 วันทำการโดยมีตัวเร่งจากจิตวิทยาตลาดหุ้นต่างประเทศ ระดับราคาหุ้นที่ค่อนข้างสูง และการไหลออกของเม็ดเงินต่างประเทศ ขณะที่สัญญาณทางเทคนิคระยะสั้นได้ คลายความร้อนแรง ของดัชนีลงมาระดับที่เรียก นักลงทุนให้กลับเข้าตลาด ชนิดไม่มั่นใจและกลัว ๆ กล้า ๆ ได้บ้าง

ในทางเทคนิคระยะสั้นนั้นดัชนีได้ปรับตัวมาบริเวณแนวรับ และอยู่ในกระบวนการของการตีกลับทางเทคนิคโดยในมุมแคบดัชนีมีโอกาสทดสอบแนวต้านบริเวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5- 10 วันหรือบริเวณดัชนี 855 จุดจะเป็นจุดที่บอกว่า แนวโน้มขึ้นของตลาดจะยังคงอยู่หรือไม่ สำหรับมุมมองของดัชนีในรายวัน แต่สำหรับมุมมองในระดับรายสัปดาห์นั้น การที่ดัชนีปิดเหนือระดับ 840 จุดยังคงทำให้ภาพตลาดในสัปดาห์นี้ดูน่าสนใจอีกครั้ง เพราะโอกาสที่ดัชนีจะตีกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านบริเวณ  860 900 จุดนั้นยังคงมีความหวังอยู่พอสมควร แม้ว่าในทางปฏิบัติพฤติกรรมนักลงทุนยังคง กลัว ๆ กล้า ๆ  และไม่มั่นใจต่อแนวโน้มระยะสั้นก็ตาม แต่หากตลาดมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางที่ชัดเจนนักลงทุนก็พร้อมที่จะกระโจนขึ้นรถไฟโดยไม่ลังเลเช่นกัน

ตัวแปรที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้คาดว่ายังคงเป็นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองโดยกลุ่ม นปก.ที่ยังคงชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง ขณะที่ทางภาครัฐบาลยังคงเดินหน้าในเรื่องการ ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ซึ่งหากผลออกมาได้รับการยอมรับย่อมหมายความว่า ประเทศไทยมีโอกาสในการเลือกตั้ง และจะส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาของประเทศในระยะกลางและระยะยาว ส่วนเงื่อนไขว่า ประชาธิปไตย เต็มใบหรือไม่นั้น คาดว่าคงเป็นประเด็นเพราะในอดีตประเทศไทยก็เคยมีการปกครองโดยมีทหารเป็นผู้นำมาแล้วหลายสมัย และบ้านเมืองก็ปกติดี และผ่านมาได้ถึงยุคปัจจุบัน ดังนั้นคาดว่าประชาชนส่วนใหญ่ อยากให้มีการเลือกตั้ง มากกว่า ความวุ่นวายของกลุ่มสูญเสียผลประโยชน์ ดังนั้นประเด็นทางการเมืองระยะสั้นจึงไม่น่าจะมีนัยต่อการลงทุนมากนัก เพราะไม่ว่านักการเมืองจะได้มาแบบประชาธิปไตย หรือแบบยึดอำนาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ความสำคัญคือ ประชาชนอยู่มีความสุขและสบายใจหรือไม่ต่างหาก นอกจากนี้คือ บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยดีหรือไม่จะเป็นตัวแปรที่สำคัญกว่า

การฟื้นตัวของตลาดหุ้นทั่วโลก อาจจะเริ่มส่งผลทางบวกหากสถานการณ์ของตลาดหุ้นสหรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น เพียงแต่ปัจจุบันการเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศรวดเร็วยิ่งขึ้น และการใช้ Money Game ข้ามชาติของวาณิชธนากรระหว่างประเทศได้ส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นทั่วโลกเพื่อชิงความได้เปรียบและเสียเปรียบทางการเงิน และผลประโยชน์จำนวนมาหาศาล เพราะกองทุนต่างชาตินั้น มองตลาดหุ้นแต่ละประเทศเปรียบใหม่ต่างกับ สินค้า ที่ต้องเลือก ไม่ต่างกับที่เราต้องเลือกหุ้นกว่า 400 บริษัทแต่ในทางปฏิบัติอาจจะเลือกซื้อหุ้นเพียง 1- 5% ของบริษัทที่จดทะเบียนด้วยซ้ำ

ดังนั้นสรุปได้ว่า ตลาดหุ้นอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา โดยยากที่จะหลีกเลี่ยงถึงผลกระทบที่พร้อมจะเกิดขึ้น เหมือนอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง ซึ่งแม้ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ยังเกิด สะพานหัก ให้อับอายขายหน้าชาวโลกทั้ง ๆ ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมยังตาย น้ำตื้น เป็นตัวอย่างให้เห็นได้เช่นกัน ดังนั้นสำหรับนักลงทุนนั้นอาจจะยังมีความจำเป็นต้อง แสวงหาโอกาส ท่ามกลางกระแสการเงิน เศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน หากใครค้นพบและเป็นผู้ชนะผลที่ได้คือ รางวัลและความภูมิใจ
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะเป็นตัวเลือกสำหรับนักลงทุน คงต้องเน้นหลักสภาพคล่อง ปัจจัยพื้นฐานและไม่เป็นหุ้นในอุตสาหกรรมประเภท พระอาทิตย์ตก อย่างกลุ่มสิ่งทอที่มีแนวโน้มของการประกาศปิดโรงงานเนื่องจากแบกรับผลขาดทุนและการแข่งขันไม่ไหว ซึ่งอาจจะทิ้งปัญหา สังคม ไว้เบื้องหลังเพื่อรอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการแก้ไข ชนิด ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง อย่างน้อยก็ดีกว่า  ไม่ทำอะไร ขณะที่นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น ต้องมีการปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างต่อเนื่องเพราะตัวแปรที่กระทบต่อทิศทางการลงทุนนั้นหมายถึง ผลประโยชน์ ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

หุ้นกลุ่มลงทุนที่น่าติดตามและน่าจะหาจังหวะสำหรับการสะสมรอผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 และรอการเลือกตั้งในช่วงปลายปี คาดว่าสำหรับพอร์ตประเภท วิ่งมาราธอน ยังคงต้องเน้นลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน SET 50 เพราะอย่างน้อย คุณภาพของสินค้าไม่น่ารังเกียจมากนัก แต่อาจจะไม่สะใจ เท่ากับนักลงทุนประเภท กล้าได้กล้าเสีย เพราะหลายคนมองว่า โอกาสที่หุ้นกลุ่มธนาคาร หรือกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่จะปรับราคาขึ้น 100 -200 % นั้นจะค่อนข้างยาก หากเทียบกับหุ้นประเภท Money Game ขนาดเล็กที่เวลาตลาดหุ้นเป็นใจมีการฟื้นตัวที่รวดเร็วและหวือหวากว่า แต่บ่อยครั้งเช่นกันที่หุ้นเหล่านี้สร้างความ เสียหาย สำหรับการเก็งกำไรที่เกินระดับปัจจัยพื้นฐานสำหรับหุ้นที่น่าติดตามทั้งกลุ่มลงทุนและ Money Game สำหรับสัปดาห์นี้ เช่น TRUE TT&T TPIPL EVER STEC KEST ASP GBX เป็นต้น
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 059&ch=229
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/08/07

โพสต์ที่ 163

โพสต์

คกก.ขับเคลื่อนฯ ถกเปิดช่องลงทุนในตปท. "หอการค้าฯ" แนะแก้ไข พ.ร.บ.แบงก์ชาติ  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
6 สิงหาคม 2550 16:41 น.
 
 คกก.ขับเคลื่อนศก.ส่วนรวม เตรียมประเมินผล 6 มาตรการดูแลค่าเงินบาท พร้อมกำหนดมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนไปลงทุนในต่างประเทศ "หอการค้าฯ" แนะมาตรการถาวรแก้ไขปัญหาค่าเงินผันผวน รัฐบาลต้องเร่งแก้ พ.ร.บ.แบงก์ชาติ เพราะมีข้อจำกัดในการใช้กลไกดูแลค่าเงินให้มีความสมดุล ส่งผลให้ขาดเครื่องมือดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน
     
      วันนี้(6 ส.ค.) นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการดูแลค่าเงินบาทของภาครัฐ โดยระบุว่า รัฐบาลจะต้องดูแลเรื่องของเสถียรภาพให้ค่าเงินนิ่งมากที่สุด ไม่ใช่ปล่อยให้ค่าเงินบาทอ่อนหรือแข็งค่ามากเกินไป จนทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้
     
      สำหรับ 6 มาตรการดูแลค่าเงินบาทของภาครัฐ เชื่อว่าจะทำให้การเปลี่ยนแปลงค่าเงินชะลอตัว ซึ่งภาคเอกชนเห็นว่าเป็นเพียงมาตรการระยะสั้น ภาครัฐจะต้องมีมาตรการถาวรเพื่อดูแลค่าเงินบาท
     
      นายประมนต์ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทและเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาว ควรใช้มาตรการถาวร โดยภาคเอกชนมองว่า สิ่งที่ภาครัฐควรเข้ามาดำเนินการ คือ การแก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งยอมรับว่ากฎหมายเดิมที่ ธปท.ดูแล ยังไม่สามารถควบคุมดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนหรือการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทให้มีความพอดี ทำให้ไม่สามารถมีเครื่องมือในการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน
     
      ดังนั้น การรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่เดิมให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อให้ ธปท.มีอำนาจปรับปรุงมีเครื่องมือดูแลปัญหาเหล่านี้ได้รวดเร็วและอำนวยความสะดวกยิ่งขึ้น
     
      นายสมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมในวันนี้ คณะกรรมการฯ จะหารือใน 2 ประเด็นหลัก ที่สืบเนื่องจากมาตรการดูแลค่าเงินบาท ได้แก่ วิธีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และการกำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภายหลังประกาศอัตราดอกเบี้ยของกองทุนเอสเอ็มอีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
     
      ทั้งนี้ นายสมภพ เชื่อมั่นว่า จะมีการหยิบยกเรื่องการลดช่องว่างระหว่างตลาดเงินบาทภายในประเทศ (ออนชอร์) กับตลาดเงินบาทต่างประเทศ (ออฟชอร์) ซึ่งขณะนี้ขยายตัวสูงมากกว่า 4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มาหารือในที่ประชุมด้วย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000091837
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/08/07

โพสต์ที่ 164

โพสต์

45 บริษัทไทยแห่ขายคาร์บอนเครดิต

6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 16:36:00

45 บริษัทไทย แห่ขายคาร์บอนเครดิต รับกระแสภาวะโลกร้อน คาดสร้างรายได้สูง เหตุขณะนี้ราคาพุ่งถึง 7 ดอลลาร์ต่อตันแล้ว

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :     นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีมติอนุมัติขึ้นทะเบียน 3 โครงการของไทย เป็นโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงพิธีสารเกียวโต  ทีไทยลงนามเข้าร่วม แม้ว่าไม่ได้เป็นสมาชิกที่อยู่ในข่ายต้องลดภาวะโลกร้อน ทำให้มีสิทธิทำ CDM ให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ANNEX11 และทำให้ไทยซึ่งเป็นประเทศเเกษตรกรรมและสามารถนำวัสดุเหลือใช้ด้านการเกษตรมาผลิตพลังงาน ช่วยลดภาวะโลกร้อน จึงสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้ประเทศพัฒนาแล้วตามข้อตกลงได้ โดยปัจจุบันมี 45 บริษัทไทยที่เสนอขอเข้าโครงการ คาดว่าจะสร้างรายได้ดีในอนาคต เพราะอัตราการขายคาร์บอนเครดิตขยายตัวสูงขึ้นมาถึงระดับ 7 ดอลลาร์ต่อตันแล้ว

    ทั้งนี้ โครงการที่จะเข้าร่วมต้องยื่นเรื่องไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้รับอนุมัติจากครม.ก่อนเสนอไปที่สหประชาชาติ ส่วนใหญ่โครงการที่เข้าร่วม คือ เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) หรือการผลิตก๊าซจากน้ำเสีย  50% เทคโนโลยีชีวมวล (ไบโอแมส)  25% ส่วนที่เหลือเป็นการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานขยะ และอื่นๆ

ทั้งนี้ โครงการที่ ครม.อนุมัติมี 7 โครงการ และ 3 โครงการในส่วนนี้ ที่สหประชาชาติอนุมัติให้ค้าขายคาร์บอนเครดิตได้แก่ โครงการไบโอแมส โดยด่านช้างไบโอเอนเนอร์ยี่ของกลุ่มมิตรผล โครงการไบโอแมสของเอทีไบโอเพาเวอร์ และโครงการไบโอแมสของโรงไฟฟ้าเครือน้ำตาลขอนแก่น ส่วน 4 โครงการที่ ครม.เห็นชอบแล้ว ได้แก่ การผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลของโครงการภูเขียวเอ็นเนอร์ยี่ เครือมิตรผล , โครงการผลิตก๊าซชีวภาพบริษัทโคราชพลังงานขยะ , โครงการก๊าซชีวภาพของราชบุรีฟาร์มไบโอแก๊ส และโรงไฟฟ้าชีวมวล โครงการผลิตไฟฟ้าจากยางพาราในจังหวัดยะลาที่พัฒนาโดยบริษัทอีพีดีซี ญี่ปุ่น

    รายงานข่าวจากบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ระบุว่า โครงการดังกล่าว จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในแต่ละปีจะทำให้บริษัทมีรายได้รับจากการขายคาร์บอนเครดิต โดยโครงการของบริษัทถือได้ว่าเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลแรกของประเทศไทย และเป็นโครงการที่ 3 ของประเทศไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87976
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/08/07

โพสต์ที่ 165

โพสต์

คัดหุ้นเด็ดจาก 11 เซียน ซื้อเก็บช่วง SET ร่วง

             เก็บตกงานสัมมนา eFinanceThai.com รวมตัว 11 เซียนวงการหุ้นไทยร่วมคุยหลากประเด็น ส่วนใหย่มองหุ้นไทยช่วงสั้นมีสิทธิร่วง เหตุได้รับแรงกดดันจากแรงขายของต่างชาติ จากปัจจัยปัญหาตลาดซับไพร์มของสหรัฐฯ - Yen Carry Trade รอบนี้มีโอกาสดิ่งลึก 750-700 จุด แนะให้ใช้เป็นจังหวะเก็บหุ้น แบ่ง 3 กลุ่มลงทุนตามใจชอบ หุ้นพื้นฐานดีแนะ EGCO-TSTH-TISCO-PTTCH-RATCH หุ้นเสี่ยงสูงต้องเล่น TVO-TK-BTC-TWP ส่วนหุ้นเก็งกำไรต้องลุย UKEM-ASCON-PRIN-EMC-W1-MCS-EWC แถมด้วยตัวอื่นอีกเพียบ
             หลายคนคงอิ่มเอมใจกับงานสัมมนาของ eFinanceThai.com ประจำไตรมาส 3/50 ที่จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา หลายคนที่ไปร่วมงานนี้คงได้หุ้นเด็ดจากบรรดาเซียนในวงการกลับบ้านและซื้อเข้าพอร์เรียบร้อยแล้ว ส่วนผู้ที่พลาดไม่ต้องเสียใจ เพราะเราได้ไปตามเก็บคำบอกเล่าของนักวิเคราะหืชั้นครูทั้ง 11 ท่านมาฝาก ซึ่งในช่วงเช้านั้นเป็นการพูดคุยถึงภาพรวมตลาดหุ้น กูรูส่วนใหญ่ยังมองว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงสั้นๆมีโอกาสที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่มีออกมาเรื่อย เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันจากปัญหาตลาดซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา และ Yen Carry Trade ของญี่ปุ่น มองเลวร้ายที่สุดมีสิทธิ์ลงไปลึกที่ 750-700 จุด และการเลือกตั้งจะเป็นตัวชี้ชะตาว่าตลาดหุ้นจะขึ้นลงได้ถึง 200 จุด
              ส่วน 5 เซียนเทคนิค แบ่งกลยุทธ์เล่นเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ หุ้นพื้นฐานดีถือได้ยาวหน่อย แนะ EGCO-TSTH-TISCO-PTTCH-RATCH-KBANK และตัวอื่นๆอีกมากมาย กลุ่มสอง คือ หุ้นที่มีความเสี่ยงสูง แนะ TVO-TK-BTC-TWP แถมตัวอื่นอีกเพียบ กลุ่มสุดท้ายเป็นหุ้นเก็งกำไร แนะ UKEM-ASCON-PRIN-EMC-W-MCS-EWC-AMC-W1 และตัวอื่นๆ

****บล.นครหลวงไทย ประเมิน SET Index ครึ่งหลังปีนี้อยู่ที่ 800-936 จุด ชู ADVANC- STEC-SATTEL

           นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มของตลาดหุ้นไทยในครึ่งหลังปี 2550 มีโอกาสที่จะเคลื่อนไหวในลักษณะผันผวน แต่บรรยากาศการลงทุนจะเริ่มดีขึ้นในช่วงปลายปี เพราะเชื่อว่านักลงทุนคงจะเข้ามาเล่นหุ้นเพื่อรอรับข่าวการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
ส่วน SET Index ปีนี้ประเมินไว้ที่ 800-936 จุด โดยแนะนำให้นักลงทุนเลือกซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เช่น กลุ่มพลังงาน ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะต้องเลือกลงทุนในระยะยาวๆ เพราะหุ้นในกลุ่มดังกล่าวยังคงมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ผลตอบแทนในเกณฑ์ดี
           'ใน Q3/50 ดัชนีฯ มีโอกาสปรับลดลง ซึ่งจะตรงกันข้ามกับช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งปัจจัยที่เข้ามากระทบด้วย เพราะใน Q3/50 นี้ปัจจัยภายนอกประเทศจะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมาก โดยเฉพาะเรื่องซับไพร์ม ซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แต่Q4/50 จะดีขึ้นเพราะจะได้รับปัจจัยบวกจากภายในประเทศสนับสนุน อีกอย่าง P/E ตลาดหุ้นไทยยังคงถูกก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่ดึงดูดนักลงทุนได้' นายสุกิจ กล่าว
          นอกจากนี้ ถ้าหากประเมินหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ยังคงน่าสนใจ มีความคิดเห็นว่าหุ้นของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (ADVANC) บริษัท
ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) (STEC) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (SATTEL) มีความโดดเด่นและน่าลงทุนมากที่สุด เนื่องจากหุ้นดังกล่าวแนวโน้มการดำเนินธุรกิจยังคงมีโอกาสเติบโตในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะ ADVANC ซึ่งมีความได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ประกอบธุรกิจสื่อสาร เนื่องจากครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด รวมทั้งยังมีรายได้จากค่าคอนเน็คชั่นชาร์จค่อนข้างมาก และมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ซึ่งน่าจะจ่ายเงินปันผลได้ไม่ต่ำกว่า 6 บาท/หุ้น ส่วนราคาเป้าหมายให้ไว้ที่ 100 บาท/หุ้น
ด้าน STEC ถึงแม้ว่าในอดีตจะมีปัจจัยลบจากการทำงานที่สนามบินสุวรรณภูมิเข้ามากระทบ แต่ปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันยังคงมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างในอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญงานด้านวิศวกรเป็นอย่างดี รวมทั้งการรับงานยังคงมีมาร์จิ้นที่สูงอีกด้วย
           'ตามปัจจัยพื้นฐานของ STEC ไม่ได้เลวร้าย แต่จะมีปัจจัยเสี่ยงจากอดีต หลังจากที่เข้าไปรับงานที่สุวรรณภูมิ ซึ่งเรื่องนี้แก้ไขยังไม่จบ แต่ STEC การรับงานมาร์จิ้นที่ดีเป็นผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างโรงกลั่น โรงไฟฟ้า ก็ถือได้ว่ายังคงน่าสนใจ' นายสุกิจ กล่าว
          ในขณะที่ SATTEL หลังจากที่มีการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย ซึ่งที่ผ่านมาก็จะทำให้ฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้น แต่แนวโน้มของกำไรยังคงไม่ดีนัก เพราะการให้เช่าสัญญาณดาวเทียมยังขยายตัวช้า แต่หาก SATTEL สามารถเจรจากับลูกค้าจากประเทศจีนและอินเดียได้ก็จะเป็นปัจจัยบวกสำหรับ SATTEL ในอนาคต
           อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดใหม่ที่จะมีขึ้นในอนาคต ประเมินว่าคงจะไม่มีภาพความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับบริษัทจดทะเบียนอย่างชัดเจน เนื่องจากบทเรียนในอดีตคงจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่ได้รับจากการเข้าไปแทรกแซงบจ.รวมทั้งบทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นคงจะเป็นตัวอย่างให้กับรัฐบาลชุดใหม่ได้
          นอกจากนี้ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ITV) นับได้ว่าเป็นอนุสรณ์ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่
'คิดว่าในเรื่องของความสัมพันธ์ที่ชัดเจน อาจจะไม่เห็นเพราะบทเรียนที่ผ่านมาน่าจะเป็นตัวที่บอกให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต หลังจากเป็นบทเรียนแล้วคงคิดว่าไม่กล้าทำเหมือนรัฐบาลชุดที่ผ่านมา และเชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่ความสัมพันธ์เกี่ยวกับหุ้นคงไม่ชัดเจนเหมือนรัฐบาลชุดก่อน' นายสุกิจ กล่าว

****บล.พัฒนสิน ฟันธง! หุ้นไทยจะพักฐาน 2-3 สัปดาห์ แนะลุยพลังงาน แบงก์ ไฟฟ้า เมื่อดัชนีฯต่ำกว่า 800 จุด

         นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้บังคับบัญชาสายงานวิจัย บล.พัฒนสิน เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ ว่า เคลื่อนไหวไปตามเรื่อง Yen Carry Trade หรือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยมองว่าค่าเงินเยนจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 116 เยนต่อดอลลาร์ และจะกลับมาอยู่ระดับที่เหมาะสม 120-122 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐแต่หากปรับลงไปต่ำกว่า 114 เยน ให้นักลงทุนในระยะสั้นชะลอการซื้อขายหลักทรัพย์ออกไปก่อนเพื่อรอความชัดเจน
       โดยในระยะสั้นมองว่าหุ้นไทยขณะนี้ยังอ้างอิงกับแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ มีโอกาสที่จะลงไปที่ระดับ 800-780 จุดอีกครั้ง สำหรับปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นไทยมาจากเรื่องการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนและอัตราการเติบโตของตลาดหุ้นที่ยังช้ากว่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
        ส่วนปัจจัยบวกมาจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่น่าจะโต 4% - 5% ส่วนเรื่องตลาดซับไพร์มสหรัฐฯ ที่หลายฝ่ายกังวลมองว่าจะกระทบจีพีดีไทยเพียง 0.4% โดยมองต่อจากนี้หากตลาดฯกลับมาอยู่ในช่วงขาขึ้น ดัชนีฯ มีโอกาสแตะระดับที่ 1000 จุดเพราะแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศยังมีเข้ามาและเชื่อว่าหากความกังวลของตลาดซับไพร์มสหรัฐฯ หยุดลงหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นได้
         นอกจากนี้ มองว่าจากนี้ ดัชนีฯจะมีการพักฐานประมาณ 2-3 สัปดาห์โดยกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ควรรอให้ดัชนีฯ ต่ำกว่า 800 จุด แล้วเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานกับธนาคาร โดยเน้นกลุ่มพลังงานเป็นหลัก อย่าง PTT -TOP -RRC โดยในกรณีของ RRC กับ ATC นั้นให้เลือกลงทุนเพราะต่อไปในอนาคตจะมีการควบรวมกัน
        อย่างไรก็ดี ยังมีหุ้นอีกหลายตัวที่น่าสนใจ อย่าง IRP โดยมองว่าปีนี้บริษัทจะโต 30-40% หุ้นไฟฟ้า อย่าง EGCO -RATCH เพราะได้รับประโยชน์จากการประมูลโรงไฟฟ้าในปีนี้ ส่วนหุ้นธนาคาร เหมาะแก่การลงทุนในระยะยาวเพราะเชื่อว่าปีหน้าจะกลับมาดีอีกครั้ง กลุ่มเรือที่น่าสนใจ คือ TTA กับ PSL โดยให้ติดตามค่าระวางเรือกับจำนวนเรือของแต่ละบริษัทเป็นหลัก โดยกลยุทธ์การลงทุนให้ลงทุนแบบเก็งกำไร เพราะราคาปรับขึ้นมาสูงแล้ว หุ้นหลักทรัพย์ที่น่าสนใจ คือ BLS- KEST โดยแนะนำให้เข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว

****SYRUS มองสิ้นปี SET INDEX แตะ 875 จุด ระบุตลาดซับไพร์ม-แครี่เทรด ไม่เลวร้ายอย่างที่คิด

       นางสาวสิรินัฏฐา เตชะศิริวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด (มหาชน) SYRUS เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยขณะนี้ กำลังอยู่ในช่วงการปรับฐาน โดยมองปีนี้ดัชนีฯมีโอกาสปรับตัวขึ้นมาถึงระดับ 875 จุด ส่วนปีหน้าดัชนีฯ มีโอกาสไปถึง 960 จุด โดยปัจจัยบวกที่จะมาสนับสนุน คือ ดุลการค้าของจีนและนโยบายดูแล ค่าเงินหยวน ที่ไม่ต้องการให้แข็งค่าเกินไปจึงต้องระบายเงินออกนอกประเทศ เช่นเดียวกับญี่ปุ่นและตะวันออกกลาง
      นอกจากนี้ อัตราการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ในเอเชียที่ยังสูงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทยเช่นกันโดยเชื่อว่าปัจจัยเรื่องYen Carry Trade ไม่ได้กดดันตลาดหุ้นไทยมากนัก ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าดัชนีฯตลาดหุ้นไทย จะปรับฐานอีกนานแค่ไหนแต่มองว่าในสัปดาห์หน้าดัชนีฯ ยังพักฐานต่อ โดยมองแนวรับดัชนีฯ อยู่ที่ 812 จุด โดยปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นไทย คือ การเมืองเพราะสังเกตได้จากหลังจากศาลตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทย ดัชนีฯปรับตัวดีขึ้นมาตลอดซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้ว่าตลาดหุ้นไทยยังผูกพันกับการเมือง
        สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ แรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศการลงประชามติวันที่ 19 ส.ค. 2550 โดยมองว่าหากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นโครงการเมกะโปรเจ็ก จะมีอย่างแน่นอนและการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) 23-24 ส.ค. นี้
       ส่วนภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯ มองว่า จะไม่ปรับตัวลงรุนแรงเพราะผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ และการจ้างงานยังอยู่ในเกณฑ์ดีส่วนความกังวลเรื่องตลาดซับไพร์ม เชื่อว่าทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะใช้นโยบายลดดอกเบี้ยเข้ามากระตุ้นให้ฟื้นตัว
       โดยแนะนำหลักทรัพย์ที่น่าสนใจในช่วงนี้ คือ RRC กับ ATC โดยเน้นให้ลงทุนในตัว RRC เพราะเมื่อเปรียบเทียบราคาทั้งสองตัวแล้ว ATC จะต้องสูงกว่า RRC 2.95 เท่า โดยขณะนี้ RRC อยู่ที่ 24.40 บาทต่ำกว่าราคาเปรียบเทียบคือ 25.25 บาท แต่ปัจจัยเสี่ยงของ RRC คือ เรื่องเวลาเพราะต้องรอถึงช่วงปลายปีจะได้ข้อสรุปการควบรวมของทั้งสองบริษัทอย่างเป็นทางการโดยประเมินราคาพื้นฐานของ ATC ไว้ที่ 81 บาท RRC 27.50 บาทและหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่น่าสนใจ คือ RATCHเพราะจะได้ประโยชน์จากการประมูลโรงไฟฟ้า โดยคาดว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นอีก 3บาท หรือ 6.2% เมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบัน โดยประเมินราคาพื้นฐานของRATCH ไว้ที่ 52 บาท
       นอกจากนี้ ยังมี ROJANA ที่มองเป็นหุ้นเด่นเพราะมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการอีโคคาร์ ที่ทางบริษัท ฮอนด้า จะเข้ามารุกตลาดรถขนาดเล็กในไทยอย่างเต็มตัวและจะใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวโดยประเมินราคาพื้นฐานของ ROJANA ไว้ที่ 18 บาท
        ส่วนหุ้นเด่นตัวสุดท้าย ที่แนะนำคือ TCAPเพราะที่ผ่านมาผลประกอบการอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ยังมีกำไรจากการขาย TBANKให้กับ ธนาคารโนวาสโกเทีย และมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลมาโดยตลอดโดยประเมินราคาพื้นฐานไว้ที่ 22 บาท

****บล.เกียรตินาคิน ชี้หุ้นไทยยังผันผวน ด้านกิมเอ็ง ระบุการเลือกตั้งจะชี้ชะตาตลาดหุ้นเดือนพ.ย.มีสิทธิขึ้น-ลง 200 จุด

       นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวถึงแนวโน้มของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยว่า ตลาดหุ้นไทยจะยังได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก ทำให้ตลาดไทยยังอึมครึมและยังมีความผันผวนตามตลาดหุ้นในภูมิภาค และส่งผลให้ในสัปดาห์หน้า ตลาดฯยังคงอยู่ในช่วงปรับฐาน จากความกังวลใน 2 เรื่อง คือ ปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ปล่อยให้แก่ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง ของสหรัฐอมเริกา (ซับไพรม์)
      รวมถึงความกังวลที่ญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนที่เคยกู้เงินเยนจากญี่ปุ่นไปลงทุนรีบนำเงินเยนมาชำระหนี้เร็วขึ้น (Yen Carry Trade ) อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีนี้มองว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย คือ ปัจจัยทางการเมือง โดยเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังน่าจะฟื้นตัวจากการที่ไทยจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปี ซึ่งหากเศรษฐกิจดีก็จะสะท้อนมายังตลาดหุ้นให้ปรับตัวดีขึ้นด้วย
       ส่วนหุ้นที่บริษัทแนะนำได้แก่ หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ อาทิ BBL- KBANK- SCB- BAY รวมทั้งหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้ง อาทิ BEC - MCOT ส่วนหุ้นสื่อสารจะมี
ADVANC -DTAC-TRUE สำหรับกลุ่มยานยนต์จะเป็น AH-STANLY กลุ่มขนส่งจะเป็น BABF -THAI-AOT กลุ่มโรงไฟฟ้าจะมี EGCO-RATH ส่วนกลุ่มพลังงานจะมี TOP-TPILP-ATC-RRC-IRPC

       ด้านนายพงษ์พันธุ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ KEST กล่าวว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ นักลงทุนควรจะเล่นหุ้นไปตามภาวะตลาดฯ ในลักษณะลงซื้อ-ขึ้นขาย ดังนั้นถึงแม้ว่าต่างชาติจะเทขายก็ไม่ควรจะตื่นตระหนก โดยการตัดสินใจซื้อขายให้พิจารณาจากราคาหุ้นเป็นหลักว่าควรจะเข้าซื้อ-ขายหรือไม่
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ จะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เพราะจะเป็นช่วงการเลือกตั้ง และคาดว่าจะมีโอกาสที่ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นได้อีก 200 จุด หรืออาจปรับลดลงได้อีก 200 จุด หากเป็นพรรคอื่นที่ประชาชนไม่ยอมรับ
           สำหรับหุ้นที่แนะนำได้แก่ THAI-DTAC-RATCH ซึ่งหุ้นทั้ง 3 ตัวนี้ไม่ได้มีพื้นฐานโดดเด่นเป็นที่หนึ่ง แต่อาจอยู่ในอันดับรองลงมา มีนักลงทุนคาดหวังน้อย และราคาหุ้นมีโอกาสขึ้นหรือลงได้ แต่มองว่าโอกาสขึ้นมีสูงกว่า โดยเฉพาะ THAI บริษัทมองว่ามีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 50-60 บาทได้

****บล.ธนชาต พยากรณ์หุ้นไทยมีสิทธิ์ดิ่งลึก 750-700 จุด

        นายแสงธรรม จรณชัยกุล ผู้อำนวยการอวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ธนชาต เปิดเผยว่า SET INDEX ในครึ่งปีหลัง ของปี 2550 มีโอกาสปรับตัวลดลง เนื่องจากมองว่าเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติ จะเริ่มไหลออกจากตลาดหุ้นไทย หลังจากที่กระแสเงินลงทุนมีเข้ามาในตลาดหุ้นไทยอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีแรกของปี ตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.-26 ก.ค.2550 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิไปกว่า 136,000 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2549 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 120,000 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา จึงอาจมีการโยกย้ายไปลงทุนในตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่มีความน่าลงทุนมากกว่า โดยเฉพาะในตลาดหุ้นจีน ซึ่งถือว่ามีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และเติบโตอย่างต่อเนื่อง
           นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาความผันผวนของค่าเงินมากนัก ซึ่งหากมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากตลาดหุ้นไทยเมื่อใด ก็จะส่งผลกระทบให้ดัชนีฯปรับลงไปแรง เนื่องจากไม่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีมาช่วยพยุง โดยมองว่าดัชนีมีโอกาสมีโอกาสดิ่งลงไปลึกถึง 750-700 จุดได้
         'ให้สังเกตุในประเด็นที่ว่าที่ผ่านมาหุ้นไทยปรับตัวขึ้นช้า และถือว่าปรับขึ้นในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย หรือมาเลเซีย ที่ดิ้งห่างดัชนีตลาดหุ้นไทยกว่า 1,000 จุด ซึ่งก็มาจาก ภาวะการณ์ในประเทศไทย ทั้งด้านปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์การเมืองที่ไม่นิ่ง และภาวะเศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการเติบโตของกำไรของ บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่ออกมาไม่ดีนัก เช่น RRC ที่อัตรากำไรออกมาไม่ดีเท่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ทั้งที่น่าจะได้รับผลดีจากค่าการกลั่นที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง'นายแสงธรรม กล่าว
         ทั้งนี้ นักลงทุนควรจะรอซื้อหุ้นเมื่อดัชนีฯปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 750 จุด เนื่องจากเป็นจังหวะที่ดี ที่จะได้ซื้อหุ้นที่มีราคาถูกและปัจจัยพื้นฐานดี นอกจากนี้ หากนักลงทุนจะรอให้ดัชนีฯปรับตัวขึ้น คงจะมีโอกาสเป็นไปได้น้อย เนื่องจากมองว่าดัชนีฯหุ้นไทยได้ปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับสูงสุดแล้วที่ 895 จุด ดังนั้น หลังจากนี้ อาจต้องจับตาดูว่าดัชนีฯจะปรับตัวลดลงไปลึกเพียงใด

***บล.ฟาร์อีสท์ ชี้ PS-LIVE -BLS ยังน่าสน เหตุเทคนิคแจ่ม ราคาเป็นขาขึ้น

            นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนยังคงกังวลกับตลาดซับไพร์มสหรัฐฯ รวมไปถึงภาวะเยน แครี่ เทรด ซึ่งคาดว่าจะมีความเป็นไปได้สูงที่ทางธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น เพราะที่ผ่านมาค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาก จาก 124 เยนต่อดอลลาร์ จนล่าสุดมาอยู่ที่ 118 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิออกจากตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้
        โดยคาดว่าสัปดาห์นี้ ประเมินแนวรับไว้ที่ 820 จุด และมีโอกาสที่จะรีบาวน์ได้ โดยปลายปีนี้ดัชนีฯมีโอกาสรีบาวน์ขึ้นไปแตะที่ระดับ 940 จุด
           อย่างไรก็ตาม ได้มองหลักทรัพย์ที่น่าสนใจในช่วงนี้ คือ TISCO เพราะมองว่าตัวบริษัทมีการลงทุนที่หลากหลาย โดยมองแนวต้านไว้ที่ 28.75 บาท และ ATC แนะนำให้หาจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ส่วนหุ้นระยะกลางแนะนำ PTTCH มองแนวต้านไว้ที่ 125 บาท แนวรับ 105 บาท, PS แนะให้เล่นเก็งกำไร แนวต้านที่ 8.50 บาท แนวรับที่ 7.65-7.60 บาท หุ้นหลักทรัพย์ BLS มองแนวต้านที่ 26.50-28 บาท ส่วนแนวรับที่ 23 บาท
             ด้านหุ้นเก็งกำไร แนะนำ LIVE แนวต้านที่ 4.80 บาท และ EMC แนวต้านที่ 4.08 บาท แนะนำควรเข้าลงทุนในสัปดาห์นี้เท่านั้น

***บล.เอเซียพลัส แนะหุ้นเด็ดน่าเก็บเข้าพอร์ต EGCO THAI BROCK EMC-W1 และ UKEM เหตุสตอรี่น่าสนใจ
          นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า หุ้นที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับการลงทุน ประกอบด้วย บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด
(มหาชน) (EGCO) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) บริษัท บ้านร็อคการ์เด้น จำกัด (มหาชน) (BROCK) บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) (EMC-W1) และ บริษัท ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน) (UKEM)
            โดย EGCO ถือได้ว่าเป็นหุ้นพื้นฐานที่มีความปลอดภัยและมีรายได้จากโรงไฟฟ้า BLCP1, 2 รวมทั้งน้ำเทิน 2 เข้ามาสนับสนุนด้วย โดยให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 140 บาท และให้แนวรับไว้ที่ 117 บาท ให้แนวต้านไว้ที่ 125 บาท
          ด้าน THAI ประเมินว่า Q3/50-Q4/50 จะเริ่มเข้าสู่ช่วงไฮด์ซีซั่นของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่ง THAI คงจะได้รับอานิสงส์จึงเหมาะสำหรับการลงทุน โดยให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 53.30 บาท และให้แนวรับไว้ที่ 46 บาท ให้แนวต้านไว้ที่ 48 บาท
         นอกจากนี้ หุ้นที่เหมาะสำหรับลงทุนในระยะปานกลางคือ BROCK เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง มีมาร์จิ้นสูงที่สุดในกลุ่ม โดยมีมาร์จิ้นอยู่ที่ 33% นอกจากนี้ในอนาคตยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยให้แนวรับทางเทคนิคไว้ที่ 1.30 บาท ให้แนวต้านไว้ที่ 1.50 บาท ส่วนราคาเป้าหมายไว้ที่ 1.68 บาท
        สำหรับ หุ้นที่เหมาะเล่นเก็งกำไรคือ EMC-W1 โดยให้แนวรับไว้ที่ 2.80 บาท ให้แนวต้านไว้ที่ 3 บาท ให้แนวต้านไว้ที่ 3.30 บาท และมีจุดตัดขาดทุนอยู่ที่ 2.70 บาท ส่วน UKEM เป็นหุ้นเก็งกำไรที่น่าสนใจ เพราะตามสัญญาณทางเทคนิคราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะไปได้ต่อ โดยให้แนวรับไว้ที่ 1.90 บาท แนวต้าน 2.10 บาท แนวต้านถัดไป 2.40 บาท และมีจุดตัดขาดทุนอยู่ที่ 1.80 บาท
         นายภูวดล กล่าวต่อไปว่า แนวโน้มของตลาดหุ้นไทยในครึ่งหลังปีนี้น่าจะเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัว ซึ่งมีโอกาสจะปรับลดลงมาแตะแนวรับที่ 800 จุด หลังจากที่ผ่านมาดัชนีฯ ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากแล้ว รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติยังเป็นฝ่ายขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง

***บล.บัวหลวง เชื่อแม้ซัพไพรม์ยังไม่ใช่วิกฤติแต่หุ้นไทยยังไร้ปัจจัยบวกจึงจะลงต่อ แนะลดความเสี่ยงลงทุนไม่เกิน 20%

          นายเผดิมภพ สงเคราะห์ รองกรรมการ บล.บัวหลวง เปิดเผยว่า ภาพรวมทิศทางดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในระยะนี้ยังจะได้รับผลกดดันจากต่างประเทศเป็น สำคัญซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยจะยังไม่พื้นตัวอย่างชัดเจนโดยเฉพาะจากปัญหาเรื่องสินเชื่อสำหรับผู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำหรือที่เรียกกันว่าซัพไพรม์
       อย่างไรก็ตามประเมินว่าเรื่องซัพไพรม์นี้ในความเป็นจริงยังไม่ได้รุนแรงมาก เพราะในประเทศสหรัฐอเมริกาสินเชื่อสำหรับผู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำมีเพียง 20%ของยอดสินเชื่อทั้งระบบ และจาก20%นี้มีเพียง 10% ที่เป็นหนี้เสียโดยเทียบได้เพียง 2-3% เท่านั้น ของหนี้เสียในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นสิ่งที่จะกระทบประเทศไทยนอกเหนือจากผลประกอบการของธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นในทางอ้อมมากกว่าทางตรงโดยเป็นเรื่องค่าเงินบาทที่จะแข็งขึ้น
         อย่างไรก็ตามในภาพรวมของตลาดหุ้นไทยยังถือว่าได้รับรู้ปัจจัยบวกไปหมดแล้ว เว้นแต่ในระยะสั้นอาจจะปรับขึ้นได้บ้างจากการที่ 21-22 สิงหาคมจะมีสินค้าในตลาดหุ้นตัวใหม่คือ ETF ที่จะกระตุ้นในทางจิตวิทยาการลงทุนได้
         ทั้งนี้แนะนำให้นักลงทุนควรลดสัดสวนการลงทุนในหุ้นก่อนโดยในช่วงนี้ลงทุนในพันธบัตรเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้น เพราะให้ผลตอบแทนสูงสุดที่ 2.9% แต่มีความเสี่ยงต่ำมาก หรืออาจจะไม่ลงทุนเลยก็ได้
            โดยแนะนำให้ลงทุนได้ไม่เกิน 20%ของวงเงินทั้งหมดที่มีเว้นแต่หุ้นที่พื้นฐานดีมากๆและพร้อมจะถือในระยะยาวจริงๆ
           สำหรับหุ้นที่แนะนำให้ลงทุนแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1.หุ้นพื้นฐานดีลงทุนระยะยาว 2.หุ้นน่าสนใจมีความเสี่ยงไม่สูงมาก 3.หุ้นเก็งกำไรต้องระมัดระวังสูงดังนี้
           1.หุ้นพื้นฐานดีลงทุนระยะยาวอย่างน้อย 2-3 เดือน หรือมากกว่านั้น เช่น บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือTSTH ให้ซื้อเก็บรอรับการขยายตัวของกิจการในอนาคต ให้ถือยาวระยะ 2 ปีเพราะราคาหุ้นจะไม่ปรับขึ้นเร็ว แต่ในเชิงพื้นฐานแทบไม่มีความเสี่ยงเลย,บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC ให้ซื้อเก็บ ถือไว้ 6-9 เดือน เพราะในอนาคตผลประกอบการจะได้รับผลดีจากกการเป็นผู้วางท่อแก๊สให้ปตท. ส่วนบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP และ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO ก็มีแนวโน้มที่จะมีผลประกอบการในระยะยาวดีกว่าปัจจุบันมากเช่นกันแต่เรื่องราคาเป้าหมายในระยะสั้นอาจยังไม่สามารถสรุปได้
         2.หุ้นน่าสนใจมีความเสี่ยงไม่สูงมากเช่น บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TVO ที่ในด้านพื้นฐานจะได้รับผลดีจากความต้องการถั่วเหลืองในจีนที่จะมากขึ้น และปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองในสหรัฐฯที่ลดลงให้ราคาที่เหมาะสม 16 บาท คาดหวังอัตราปันผล 8% ของราคาหุ้น และ บริษัทฐิติกร จำกัด (มหาชน)หรือ TK ที่มีมูลค่าทางบัญชีต่ำเพียง 0.9 เท่าจากที่ควรจะซื้อ-ขายอยู่ที่ 1.5 เท่า เพราะสามารถขยายธุรกิจเช่าซื้อจักรยานยนต์ได้มากจากคู่แข่งที่ลดลง ให้ราคาที่เหมาะสม 9 บาท
          3.หุ้นเก็งกำไร ถ้าภายใน 1 สัปดาห์ไม่ปรับขึ้นหรือได้กำไรควรขายตัดขาดทุนทันที ดังนี้ บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON ให้ราคาที่เป้าหมายที่แนวต้าน 9 บาท ราคาพื้นฐานที่ 10 บาท และ บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ PRIN ให้ราคาที่เป้าหมายที่ 5.40 บาท


***ASL แนะเก็บ PTTCH-RATCH-SPALI-TSTH-BTC-MCS

             นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซันเปิดเผยว่า ภาพรวมทิศทางดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์นี้ยังมีโอกาสปรับฐานต่อและจะเป็นการปรับลงแรงอย่างชัดเจนไปทดสอบที่ 820 จุดได้ ซึ่งหากหลุดบริเวณนี้ไปก็อาจปรับลงต่อได้อีก ส่วนในระยะยาวประมาณ 2 เดือนตามสัญญาณทางเทคนิคมีโอกาสปรับลงถึงบริเวณ 800 จุดโดยอาจสูงหรือต่ำกว่านี้ได้ 10 จุด ทั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะการเมืองจะมีประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายหลังแกนนำ นปก.มีแนวโน้มว่าจะประกันตัวออกมาเพิ่มอีกหลายคน
         ด้านค่าเงินบาทของไทยก็เป็นอีกปัจจัยที่เอื้อต่อการขายหุ้นทำกำไรสำหรับนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากกลไกของค่าเงินนั้น เงินบาทมีการแข็งค่ามากแล้ว จึงมีสัญญาณอ่อนตัวลงตามปกติ แต่รัฐบาลก็ยังให้น้ำหนักและมีการวางมาตรการต่างๆออกมาช่วยเหลืออีกทางดังนั้นถ้านักลงทุนต่างชาติขายหุ้นในระยะนี้ก่อนที่ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวก็ย่อมจะได้ผลตอบแทนในรูปเงินเหรียญสหรัฐมากที่สุด
           ส่วนปัจจัยจากนอกประเทศที่มีความสำคัญคือลักษณะแรงขายที่ต่อเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติก็ยังแสดงให้เห็นว่านโยบายการลงทุนของเหล่ากองทุนเก็งกำไรจากต่างประเทศจะยังไม่มีการเก็บหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่มแต่เป็นการชะลอพอร์ต ป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาซัพพรามอสังหาริมทรัพย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงค่าเงินที่อ่อนลงหากเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลกทำให้กองทุนหรือสถาบันการเงินที่กู้เงินจากประเทศญี่ปุ่นที่เคยให้ผลตอบแทนสูงเพราะ(Yen Carry Trade)มีดอกเบี้ยต่ำหรือแทบไม่มีต้นทุนต้องกันเงินไว้ส่วนหนึ่งโดยการขายหุ้นออกมาเนื่องจากผลตอบแทนที่ได้อาจจะไม่คุ้มกับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของค่าเงินซึ่งประเมินว่าหากค่าเงินเยนลดลงต่ำกว่า 117เยนต่อเหรียญสหรัฐก็จะเป็นผลให้นักลงทุนทั้วโลกที่กู้เงินเยนเพราะดอกเบี้ยต่ำ(Yen Carry Trade)จะเกิดการขายลดความเสี่ยงรอบใหม่อีกครั้ง
           ด้านค่าเงินบาทของไทยก็เป็นอีกปัจจัยที่เอื้อต่อการขายหุ้นทำกำไรสำหรับนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากกลไกของค่าเงินนั้น เงินบาทมีการแข็งค่ามากแล้วจึงมีสัญญาณอ่อนตัวลงตามปกติ แต่รัฐบาลก็ยังให้น้ำหนักและมีการวางมาตรการต่างๆออกมาช่วยเหลืออีกทางดังนั้นนักลงทุนที่ขายหุ้นในระยะนี้ก่อนที่ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวจะได้ผลตอบแทนในรูปเงินสหรัฐมากที่สุด
            นอกจากนี้ยังพบสถิติอีกว่าแนวโน้มผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรองอเมริกาเริ่มลดลงลงซึ่งบ่งชี้ว่าเงินจากตลาดหุ้นในอเมริกาจะยังไหลออกไปยังการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าดังนั้นในส่วนของตลาดหุ้นอื่นทั้วโลกและตลาดหุ้นไทยก็จะได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกันด้วย
           อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าหากตลาดหุ้นไทยมีการปรับลดลงรุนแรงแล้วก็น่าจะมีทิศทางพื้นตัวขึ้นได้โดยคาดว่าจะเป็นช่วงสัปดาห์ที่2 ของเดือนกันยายนและถือเป็นจังหวะสำหรับการลงทุนด้วยเพราะหลังจากนั้นดัชนีฯมีโอกาสปรับขึ้นแรงจากความคลายกังวลในปัจจัยลบต่างๆและยังคาดว่าในช่วงดังกล่าวค่าP/Eของหุ้นโดยส่วนใหญ่จะเริ่มกลับมาอยู่ในระดับน่าสนใจลงทุนหรือประมาณ12 เท่า(หุ้นสำคัญๆโดยรวมไม่ใช่ P/Eของ SET) จากปัจจุบันอยู่ที่ 16 เท่า
          สำหรับหุ้นที่แนะนำให้ลงทุนในระยะนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1.หุ้นพื้นฐานดีลงทุนระยะยาว 2.หุ้นน่าสนใจมีความเสี่ยงไม่สูงมาก 3.หุ้น เก็งกำไรต้องระมัดระวังสูงดังนี้
              1.หุ้นพื้นฐานดีเช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ราคาเป้าหมายให้ที่ 50 บาท ,บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด(มหาชน) หรือ RRC ราคาเป้าหมายให้ที่ 27 บาท, บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ PTTCH ราคาเป้าหมายให้ที่ 120 บาท โดยกลุ่มนี้เป็นหุ้นที่จะมีความน่าสนใจในเดือนสิงหาคม
และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANKที่มีการปรับราคาเป้าหมายเพิ่มเป็น 93 บาท, บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)หรือ SPALI ที่มีปันผลสูงมากคิดเป็น 7%ของมูลค่าหุ้นในปัจจุบัน , บริษัท ทาทา สตีล(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TSTH ให้ราคาเป้าหมายที่ 2 บาทกลุ่มนี้เป็นหุ้นที่จะมีความน่าสนใจเหมาะแก่การลงทุนในเดือนกันยายน
            2.หุ้นน่าสนใจมีความเสี่ยงไม่สูงมากเช่น บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน)หรือ TMT ราคาเป้าหมายให้ที่ 4.50-4.80 บาท และ บริษัท บางปะกงเทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ BTC ราคาเป้าหมายให้ที่ 2.00 บาท
            3.หุ้นเก็งกำไรต้องระมัดระวังสูงควรซื้อขายเป็นรอบสั้นในระยะ 1 เดือน ดังนี้ ใบสำคัญแสดงสิทธิ บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) หรือ EMC-W1ราคาเป้าหมายให้ที่ 3.50 บาท, ใบสำคัญแสดงสิทธิ บริษัท ซีเอสพี สตีลเซ็นเตอร์จำกัด (มหาชน) หรือ CSP-W1ราคาเป้าหมายให้ที่ 1.00 บาท,ใบสำคัญแสดงสิทธิ บริษัท เอเซีย เมทัล จำกัด (มหาชน) หรือ AMC-W1ราคาเป้าหมายให้ที่ 2.30 บาทและบริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MCS ราคาเป้าหมายให้ที่ 4.00 บาท

***UOBKH แนะเก็บของช่วงดัชนี 780-800 จุด ชี้ EIC PAE TWP เป็นหุ้นจิ๋วเทคนิคแจ่ม

         นายสิทธิพร เจนในเมือง รักษาการผู้อำนวยการ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวในงานสัมมนาของ eFinanceThai.com เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ในช่วงที่ดัชนีฯปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง จะมีแนวรับที่แข็งแกร่งในช่วง 780-800 จุด ซึ่งถือเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสมหุ้นได้ แต่สำหรับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ตอยู่แล้ว ก็ควรตัดสินใจขายตั้งแต่ช่วงที่ดัชนีหลุดแนวรับ 830 จุด
          สำหรับหุ้นเก็งกำไรที่บริษัทแนะนำ มี 3 กลุ่มคือ 1.หุ้นเก็งกำไรในระยะยาว พื้นฐานดี ได้แก่ บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) (EIC) หากพิจารณาจากสัญญาณทางเทคนิค มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้นไปถึง 6 บาทในปีนี้ ดังนั้น นักลงทุนสามารถทยอยซื้อได้ตั้งแต่แนวรับ 4.80 บาท ถึง 3 บาท RATCH ราคาน่าจะปรับขึ้นไปถึง 65 บาทในปีนี้ หรือในช่วงสั้นๆ ที่ระดับ 50-51 บาท แนวรับอยู่ที่ 45 บาท
         2. หุ้นเก็งกำไรในระยะปานกลาง ได้แก่ UKEM แนวรับที่ 1.90 -1.80 บาท ราคาเป้าหมายในระยะปานกลางน่าจะได้เห็นที่ 2.20-2.40 บาท และมีโอกาสที่ปีนี้ราคาจะปรับขึ้นไปถึง 2.80-3 บาท บริษัท ไทยไวร์โพรดัคท์ จำกัด (มหาชน) (TWP) ราคาเป้าหมาย 20.20 บาท แต่หากราคาต่ำกว่า 19 บาทให้ตัดขาดทุน
             3. หุ้นเก็งกำไระยะสั้น ได้แก่ บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (PTL) เป็นหุ้นที่น่าสนใจ เพราะสัญญาณทางเทคนิคกระโดดมาก ราคาเป้าหมายปีนี้ที่ 8 บาท และอาจจะมีโอกาสทำนิวไฮที่ 12 บาท ซื้อได้ที่แนวรับ 6 บาท หรือ 6.20 บาท บริษัท พีเออี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (PAE) แนวรับ 1.20 บาท แนวต้าน 1.40 บาท ถึง 1.50 บาท บริษัท อีสเทิร์นไวร์ จำกัด (มหาชน) (EWC) เป้าหมายปีนี้ 20 บาท ซื้อเก็งกำไรได้ในระดับราคาปัจจุบัน และ บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (SAM) มีแนวรับที่ 6 บาท แนวรับถัดไป 5.80 บาท ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 8 บาท แนวต้านถัดไป 8.50 บาท
http://www.efinancethai.com/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/08/07

โพสต์ที่ 166

โพสต์

ศก.สหรัฐซบ ไม่ระคายไทย
โพสต์ทูเดย์ อภิศักดิ์ ไม่ห่วงปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพมะกัน ลุกลามขย่มเศรษฐกิจไทย


นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เชื่อว่าปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์มาร์เก็ต) ในสหรัฐอเมริกาคง ไม่ลามมาถึงประเทศไทย ถ้าพิจารณาจากถ้อยแถลงของ เบน เบอร์แนนคี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า ความเสียหายที่เกิดจากซับไพรม์มีแค่ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตของสหรัฐถือว่าไม่มาก และไม่น่าจะกระทบไปยังตลาดอื่นๆ ในสหรัฐ นอกเหนือจากตลาดสินเชื่อบ้าน อีกทั้งไม่น่าจะกระทบกับประเทศอื่นๆ
กองทุนที่ได้รับความเสียหาย จากซับไพรม์ จะไปถอนการลงทุนในกองทุนที่ยังดีอยู่เพื่อนำเงินไปคืนให้ นักลงทุน ทำให้เครดิตและสเปรดกองทุนอื่นๆ แกว่งตัวไปด้วย จึงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ถ้าเคลียร์ปัญหานี้ได้ ปัญหาโดยรวมก็จะสงบลง จึงเป็นการยากที่จะลามจากซับไพรม์มาไพรม์มาร์เก็ต เหมือนในตลาดบ้านเรา ที่เวลาเซ็กเตอร์ไหนมีปัญหานิดเดียว ก็ไม่ส่งผลไปยังเซ็กเตอร์อื่นๆ นายอภิศักดิ์ กล่าว
ด้านนายพาสันต์ สิงหะ หัวหน้านักวิเคราะห์กลยุทธ์ตลาดเงินและตลาดทุน ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า ธนาคารประมาณการว่าในไตรมาส 4 ปีนี้หรือไตรมาสแรกปีหน้า สหรัฐจะปรับลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจ เนื่องจากตัวเลขการผลิตและอัตราการว่างงานมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งจะกระทบกับเศรษฐกิจโดยภาพรวม ขณะที่ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์มาร์เก็ต) ซึ่งเป็นปัญหาที่ได้รับการพูดถึงมานานก็อาจแย่ลงไปอีก อย่างไร ก็ตาม มองว่าสหรัฐจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี หากสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย เพราะนโยบายการเงินของไทยไม่ได้อิงกับนโยบายการเงินของสหรัฐมาสักระยะแล้ว โดยทางการได้ดำเนินนโยบายการเงินจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่า แตกต่างจากช่วงปี 2543-2549

ด้านนายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ผลกระทบกรณีปัญหาซับไพรม์ขยายวงกว้างเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ลำบาก แต่ได้ส่งผลต่อความวิตกเรื่องความผันผวนในตลาดหุ้นในสหรัฐไปแล้ว โดยดัชนีชี้ความผันผวน (VIX Index) ระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐช่วง 1 ปีผันผวน 24% และเมื่อคิดเป็นรายเดือนผันผวนเดือนละ 7% จากก่อนหน้านี้ที่ผันผวน 6% ทำให้นักลงทุนโยกเงินออกจากตลาดหุ้นสหรัฐโดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ หันไปลงทุนในตลาดพันธบัตรแทน ทั้งๆ ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐลดลงเรื่อยๆ เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 2 ปี อยู่ที่ประมาณ 4.38%

นอกจากนี้ การทำแครีเทรดในญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมลดน้อยลง

นายกอบสิทธิ์ กล่าวว่า มองว่าตัวเลขการว่างงานและการผลิตซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐยังไม่น่าเป็นห่วง จึงไม่คิดว่าจะได้เห็นสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยเร็วๆ นี้

นักวิเคราะห์ธนาคารกรุงเทพ กล่าว ว่า ตอนนี้ตลาดวิตกกังวลถึงความเสี่ยงภัยครั้งใหม่ในระบบการเงินสหรัฐจากภาวะตกต่ำของตลาดสินเชื่อ ที่ปล่อยให้ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงโดยใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันในการกู้ซับไพรม์มอร์ตเกตโลน ว่าจะลุกลามไปสู่สินเชื่อประเภทอื่น โดยเฉพาะการกู้หนี้ยืมสินมาซื้อกิจการและการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือจังก์บอนด์ (Junk Bond) ของบริษัทเอกชน ทำให้นักลงทุนทั่วโลกและวาณิชธนากรที่เกี่ยวข้องระมัดระวังและเริ่มเทขายตราสารหนี้ออกมาไปพักไว้ในตลาดพันธบัตรที่มีความเสี่ยงน้อย

ขณะที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิต เอสแอนด์พี ได้ปรับลดแนวโน้มตราสารหนี้ของบริษัทต่างๆ ในเชิงลบมากขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183422
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/08/07

โพสต์ที่ 167

โพสต์

ธุรกิจแฟรนไชส์เจ๊งระนาวปิดกิจการเพียบ เศรษฐกิจพ่นพิษ-ขาดทักษะ

โดย ผู้จัดการออนไลน์
7 สิงหาคม 2550 09:46 น.

      กูรู ธุรกิจแฟรนไชส์ เผยปีนี้มีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ปิดตัวลงกว่า 20% จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่วนสถานการณ์แฟรนไชส์ครึ่งปีหลัง เชื่อหากมีการเลือกตั้ง จะเริ่มมีผู้ลงทุนทำธุรกิจมากขึ้น ล่าสุดจัดงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 11 ขึ้น ระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค.นี้ คาดมีผู้สนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 1 แสนราย และมีเงินสะพัดในงานไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท
     
      นางสาวสมจิตร ลิขิตรสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด ผู้ผลิตหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์และผู้จัดงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 11 เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เชื่อว่ามีผู้ดำเนินธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ได้ปิดตัวลงไปกว่า 20% โดยสาเหตุของการปิดตัวลงในครั้งนี้มาจากหลายสาเหตุ เช่น การขาดทักษะในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงความไม่คุ้นเคยและขาดการศึกษาในการทำธุรกิจ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้
     
      อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่บริษัทฯ ได้สำรวจมา พบว่าปัจจุบันมีธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบแฟรนไชส์กว่า 400ราย และธุรกิจที่จัดอยู่ในกลุ่มโอกาสทางธุรกิจอีกกว่า 600 ราย เริ่มมีรูปแบบการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กล่าวคือ เริ่มมีการปรับตัวในการขายแฟรนไชส์ เพื่อให้ธุรกิจนั้นมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุน
     
      เช่น จากเดิม 5 ปีก่อน การลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์เฉลี่ยอยู่ที่ 5 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ที่หลักล้านบาท ซึ่งการปรับตัวนี้เพื่อต้องการให้สอดคล้องกับความต้องการของพฤติกรรมการลงทุนในตลาด ตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการปรับตัวในลักษณะดังกล่าว คือ ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ปัจจุบัน สามารถซื้อแฟรนไชส์ได้ในราคา 9 แสนบาท
     
      นอกจากนี้ ยังพบว่าเริ่มมีการทำในรูปแบบของการเทิร์นคีย์ คือ เป็นการเปิดร้านขึ้นมาแล้วดำเนินงานไประยะหนึ่งก่อน จึงขายร้านที่มีอยู่ ซึ่งแนวโน้มนี้เริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้ว และคาดว่าจะเป็นรูปแบบที่จะได้รับความนิยมต่อไป โดยธุรกิจที่เริ่มใช้รูปแบบดังกล่าว ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น, แฟมิลี่มาร์ท และซึทาญ่า เป็นต้น
     
      นางสาวสมจิตร กล่าวต่อว่า จากสภาพเศรษฐกิจขณะนี้ สามารถแบ่งกลุ่มนักลงทุนด้านธุรกิจแฟรนไชส์ได้ 2 ลักษณะ คือ 1.กลุ่มที่ชะลอการลงทุนรอดูการเลือกตั้งก่อนจึงจะลงทุน 2.กลุ่มที่ยังเติบโตได้อยู่ ตามแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีการขยายตัว หรือมีการเกิดชุมนุมชนใหม่ เช่น หอพักเปิดใหม่ ตลาดใหม่ สำนักงานใหม่ เป็นต้น
     
      ล่าสุดทางบริษัทฯได้ จัดงาน โอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 11 ขึ้น ระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อต้องการให้เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ จากที่เคยจัดมาแล้ว 10 ปี กับจำนวนผู้ออกบูทกว่า 150 บูท คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วมงาน ที่คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน หรือมีการซื้อขายธุรกิจภายในงานไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท
     
      สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ จะมีทั้งหมด 488 รายชื่อ ซึ่งได้มีการแบ่งระดับการลงทุนไว้ 6 หมวด เพื่อสะดวกแก่ผู้เข้าชมงานในการเลือกลงทุน และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจ คือ การลงทุนต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 20%, การลงทุนตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท มีถึง 36%, การลงทุนตั้งแต่100,000-500,000 บาท มี 22%, 500,000-1,000,000 บาท มี10%, ตั้งแต่ 1,000,000-3,000,000 บาท มี 7% และตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป มี 5%
     
      "จากข้อมูลดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท เป็นกลุ่มที่คนไทยให้ความสนใจในการลงทุนมากที่สุด โดยจะเป็นกลุ่มธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก"
นางสาวสมจิตร กล่าว
     
      ขณะที่ภายในงานกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ได้แก่ วอเทอร์ เน็ท เป็นธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญ, คอฟฟี่ เอฟ เป็นกาแฟแบรนด์ใหม่จาก บ้านใร่กาแฟ, เดอะ คอฟฟี่ การ์เต็ล แฟรนไชส์กาแฟสวัสดี และ ยอดเฮ็ง ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยา ในรูปแบบรถเข็น เป็นต้น
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000091928
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/08/07

โพสต์ที่ 168

โพสต์

ยุทธการฝ่าวิกฤตเมื่อกำลังซื้อผู้บริโภคช็อต  - 8/8/2550

ยุทธการฝ่าวิกฤตเมื่อกำลังซื้อผู้บริโภคช็อต

เศรษฐกิจยังชลอตัวต่อเนื่อง โดยยังไม่มีทีท่าจะหยุด สินค้าหลายประเภทที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของเศรษฐกิจยังมียอดขายต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เช่น ยอดขายมอเตอร์ไซค์ลดลงมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ยอดขายกระดาษคราฟท์สำหรับทำกล่องบรรจุสินค้า ลดลงกว่าสองเท่าตัว ทั้งนี้เพราะ
ประการแรก ผู้บริโภคมีเงิน แต่ไม่มีอารมณ์ที่จะซื้อสินค้า ต้องการเก็บเงินไว้เพราะความไม่แน่ใจในภาวะเศรฐกิจและการเมือง

ประการสอง ผู้บริโภคไม่มีเงินที่จะซื้อสินค้า เพราะรายได้ลดลง เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มแรกไม่ยอมซื้อสินค้า หรือไม่มีรายได้เพราะตกงาน เนื่องจากบริษัทลดคนงาน หรือปิดโรงงาน

เมื่อประกอบกับ การแข็งตัวของค่าเงินบาท ที่แม้ภาครัฐจะออกมาตรการแก้ไข 6 ประการ ก็ไม่ใช่ยาแรงที่จะแก้ปัญหาได้ชะงัดทำให้มีการปิดกิจการของโรงงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมรองเท้า เพิ่มขึ้นและเหล่านี้ล้วนเป็นโรงงานขนาดยักษ์
คนตกงานรวมๆกันแล้วร่วมหมื่นคนแล้ว ยังไม่รวมโรงงานขนาดย่อมที่ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานใหญ่เหล่านี้ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ยังกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่อาจต้องหยุดผลิตส่งผลกระทบถึงรายได้ของประชาชนในภาคเกษตรกรรมอีกจำนวนมาก

ยิ่งทำให้ผู้บริโภคในระดับฐานรากของเศรษฐกิจ มีกำลังซื้อน้อยลงไปอีกและถ้าสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อเนื่อง กำลังซื้อของผู้บริโภคอาจจะช็อตในที่สุด อาจจะทำให้สินค้าในตลาดแมสขายได้น้อย หรือขายไม่ได้
และจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องถึงตลาดในระดับบนขึ้นไป

ยุทธการสู้วิกฤตกรณีศึกษา ลีเวอร์-โซนี่

ปรากฏการณ์เหล่านี้ เป็นเสมือนสัญญาณเตือนภัยที่นักการตลาดที่ทำตลาดสินค้าในประเทศไม่ควรมองข้าม ควรวางแผนเตรียมยุทธการสู้วิกฤตเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนวิกฤตที่รุนแรงจะมาถึง
ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา ไทยเคยประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกคือปี 2527 เป็นวิกฤตเนื่องจากราคาน้ำมัน ผลกระทบจากวิกฤตในปีนั้นทำให้ตลาดซบเซาไปทั่ว นักการตลาดในช่วงนั้นเคยเปรียบเปรยไว้ว่า ในตลาดทั่วประเทศเหลือแต่สุนัขกับเซลส์ หมายถึงว่า ในช่วงเวลาสินค้าต่างๆขายไม่ออก ยุทธจักรการตลาดเงียบเหงา ไม่มีผู้บริโภคซื้อสินค้าเพราะผู้บริโภคทั้งไม่กล้าใช้เงิน และส่วนหนึ่งก็มีรายรับน้อยลงเมื่อเทียบกับราคาสินค้าและค่าสาธารณูปโภคที่แพงขึ้นเพราะราคาน้ำมัน ประกอบกับการประกาศลดค่าเงินบาทของรัฐบาลในช่วงนั้นจาก 20 บาท เป็น 25 บาทต่อดอลลาร์ช่วงเวลาดังกล่าว แม้ตลาดจะเหงา แต่ก็ยังมีผู้กล้าฝ่าวิกฤต
ขณะที่บริษัทขายสินค้าต่างๆในไทย ทั้งสินค้าคอนซูเมอร์ และสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆต่างหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหวในตลาด เพราะมองว่า ออกสินค้าใหม่ หรือทำการตลาดไปก็ไม่คุ้ม เพราะเกรงว่าผู้บริโภคจะไม่ซื้อ
แต่ก็มียักษ์ใหญ่ค่ายหนึ่งกล้าสู้วิกฤต คือ บริษัท ลีเวอร์ ประเทศไทย หรือที่ปัจจุบันนี้คือ ยูนิลีเวอร์ ในยุคนั้นมีซีอีโอชื่อ วิโรจน์ ภู่ตระกูล ในช่วงเวลาดังกล่าว ลีเวอร์ฯ ไม่หยุดนิ่งเหมือนคนอื่น กลับมีการรุกตลาดอย่างจริงจัง ลงทุนทำกิจกรรมการตลาดหนัก พร้อมวางตลาดสินค้าใหม่หลายตัวในกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์

ปรากฏว่าลีเวอร์ฯประสบความสำเร็จ ขณะที่คู่แข่งทุกค่ายเงียบ และมีลีเวอร์ฯรุกตลาดอยู่เพียงค่ายเดียวทำให้ยอดขายของลีเวอร์ในช่วงวิกฤตเติบโตอยู่เพียงค่ายเดียวขณะที่คู่แข่งถดถอย ในปีนั้นลีเวอร์ฯจึงเป็นค่ายเดียวที่ประสบความสำเร็จมีกำไรจากการประกอบการ

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่สองคือวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2540 สถานการณ์ก็เป็นคล้ายคลึงกับปี 2527 ที่ในตลาดเงียบเหงา รายได้ผู้บริโภคระดับฐานลดลง ผู้บริโภคไม่กล้าใช้เงิน บรรดาสินค้าต่างๆในไทยแทบจะหยุดนิ่ง ไม่ยอมทุ่มเงินทำการตลาด หรือทำแต่น้อยมาก แต่ก็มียักษ์ใหญ่ค่ายหนึ่งที่กล้าสวนกระแสวิกฤตในช่วงนั้น คือ บริษัท โซนี่ไทย

ในช่วงเวลาของวิกฤตต้มยำกุ้ง โซนี่กลับสวนกระแสด้วยการวางตลาดสินค้าใหม่ ที่เป็นนวัตกรรมทางด้านเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ในไทย

นั่นคือโซนี่วางตลาดโทรทัศน์สีรุ่นเวกก้า(WEGA) ซึ่งเป็นโทรทัศน์สีชนิดใช้หลอดภาพซีอาร์ทีที่เป็นจอแบนราบ และโซนี่ก็ทุ่มเงินกับการทำการตลาดโทรทัศน์สีรุ่นเวกก้าอย่างหนัก และต่อเนื่อง ขณะที่คู่แข่งของโซนี่ในช่วงเวลานั้นแทบไม่มีการเคลื่อนไหวทางการตลาดเลย เพราะเกรงว่าทำการตลาดแล้วไม่คุ้ม

ขณะที่โซนี่ประสบความสำเร็จ โทรทัศน์สีเวกก้าได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคสูงมาก ทำให้โซนี่ขึ้นมาครองตลาดอันดับหนึ่ง แทนพานาโซนิค ที่ครองตลาดต่อเนื่องมาหลายปี ในตลาดทีวีขนาดจอ 21 นิ้วขึ้นไป

และผลกระทบที่สำคัญคือ โซนี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ จากเดิมที่เป็นหลอดซีอาร์ทีจอโค้ง มาเป็นซีอาร์ทีจอแบนในทันที เพราะความสำเร็จของโซนี่ทำให้คู่แข่งค่ายอื่นทยอยวางตลาดโทรทัศน์สีจอซีอาร์ทีจอแบนตามกันออกมา และตลาดก็เปลี่ยนเป็นจอแบนทั้งหมดจนปัจจุบัน ในยุควิกฤตต้มยำกุ้งดัง จึงกลับเป็นยุคทองของโซนี่

เข้าใจผู้บริโภค กระตุ้นเศรษฐกิจ

ดังนั้น เมื่อกำลังซื้อวิกฤต การตลาดต้องไม่นิ่ง ยิ่งนิ่ง ยิ่งเสียโอกาส ต้องมีกิจกรรมเพื่อกระตุ้นผู้บริโภคถ้าจะพิจารณษถึงสาเหตุที่ในช่วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งสองครั้งที่ผ่านมา ลีเวอร์ฯ กับโซนี่กลับประสบความสำเร็จในการทำการตลาด น่าจะมีสาเหตุมาจากการวิเคราะห์และเข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภค

แม้ผู้บริโภคในระดับแมส ที่เป็นฐานรากของเศรษฐกิจจะประสบปัญหารายได้ลด กำลังซื้อหดตัว เพราะผู้บริโภคกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน เมื่อราคาพืชผลตกขายไม่ได้ มีการปิดโรงงาน เลิกจ้าง ผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็ไม่มีกำลังซื้อ แต่ยังมีผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีกำลังซื้อถาวรแน่นอน คือบรรดามนุษย์เงินเดือน ที่ถูกเรียกว่าเป็นชนชั้นกลาง กลุ่มคนทำงานบริษัทเอกชนที่มั่นคง กลุ่มทำงานรัฐวิสาหกิจและข้าราชการ ที่มีรายได้ตั้งแต่ระดับซีบวกขึ้นไป จนถึงผู้บริโภคในระดับบน ที่เป็นกลุ่มคนรวยจริง ผู้บริโภคเหล่านี้มีเงินในกระเป๋าแน่นอน และสม่ำเสมอไม่มีขาด แต่ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เป็นข่าวครึกโครมบนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวันก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยาแก่ผู้บริโภคกลุ่มนี้

ทำให้เขาเกิดความกลัว ไม่กล้าใช้เงิน เก็บเงินไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินรุนแรง แต่ซักพักหนึ่งเมื่อสถานการณ์วิกฤตเข้าสู่ภาวะทรงตัว ไม่มีเหตุผันผวน ประกอบกับมีสินค้าในตลาดที่ใช้กลยุทธ์การตลาดรุกเข้าหาในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็พร้อมจะใช้เงิน และกลายเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้วัฎจักรของการผลิตและการตลาดเพื่อการบริโภคเกิดขึ้นอีกครั้ง

ในปัจจุบันก็เช่นกัน หากวิกฤตเศรษฐกิจมีความรุนแรงไปถึงระดับใกล้เคียงปี 2527 และ 2540 ผู้บริโภคกลุ่มนี้น่าจะเป็นแนวรบทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญแนวหนึ่ง ที่นักการตลาดต้องให้ความสนใจ เข้าใจ และเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้ให้ได้ และกระตุ้นให้พวกเขาอยากใช้เงิน

รุกตลาดให้ตรงเป้าหมาย

เมื่อเข้าใจผู้บริโภคที่เป็นแนวรบยุทธศาสตร์แล้ว ก็ต้องรุกตลาดให้ตรงเป้า การจัดกิจกรรมการตลาดต้องถึงผู้บริโภค ด้วยการใช้สื่อที่เข้าถึงผู้บริโภคเป้าหมายโดยตรง เช่น สื่อประเภท Instore Media, สื่ออินเตอร์เน็ต ช่องทางขายตรง, โรงภาพยนตร์

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ภายหลังอาการเศรษฐกิจชลอตัวที่เริ่มเห็นได้ชัดจนตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน บรรดาสินค้าหลากหลายแบนด์ในตลาดคอนซูเมอร์ต่างก็หาช่องทางใหม่ๆในการสื่อสารถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงตัวมากขึ้น ลดการสื่อสารในระดับแมสที่จะเป็นการเหวี่ยงแหคลุมผู้บริโภคในวงกว้างมากเกินไป ซึ่งผู้บริโภคจำนวนมากอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายจึงเห็นการเติบโตของสื่อประเภท Instore Media, โรงภาพยนตร์, อินเตอร์เน็ต ที่โตขึ้นแบบพรวดพราด

ครึ่งปีแรกของปี 2550 สื่อประเภท Instore Media ที่ทำ ณ จุดขายใน ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสอนค้า ร้านคอนวีเนียนสโตร์ เติบโตขึ้นกว่าเท่าตัว จาก 118 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรก 2549 เป็น 243 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นถึง 105.93%

สื่อในโรงภาพยนตร์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เฉพาะเจาะจงก็โตขึ้นมากเช่นกัน สื่อในโรงภาพยนตร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 เติบโตขึ้นเกือบสองเท่าตัว คือ จาก 679 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 เป็น 2,000 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้น 194.55% ขณะที่สื่อที่เป็นแมสยอดเติบโตลดลง ทั้งทีวี วิทยุสิ่งพิมพ์ ลดลงตั้งแต่ 3-5%

ส่วนอินเตอร์เน็ต เป็นสื่อใหม่ที่กำลังมาแรง และเข้าถึงผู้บริโภคตรงตัวในลักษณะ one to one มากที่สุดก็คาดการณ์ว่าการใช้สื่อนี้จะเพิ่มขึ้น

ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน ผู้บริหาร บริษัท ไอเอสเอสพี คาดการณ์ว่า การใช้เงินเพื่อทำการตลาดสินค้าผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต จะเพิ่มจาก 700 ล้านบาทในปี 2549 เป็น ประมาณ 1,000 ล้านบาทในปีนี้
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179139
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/08/07

โพสต์ที่ 169

โพสต์

สัญญาณเตือนภัย  - 8/8/2550
สัญญาณเตือนภัย
ยุคผู้บริโภค กำลังซื้อหด


เงาดำที่ครอบคลุมในภาคเศรษฐกิจของไทย และขยายตัวกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลที่เห็นชัดในเดือนกรกฎาคม นั่นคือ การแข็งตัว และความผันผวนของค่าเงินบาท

มาตรการของรัฐที่อออกมา เพื่อให้การถือครองเงินบาทยาวนานขึ้น คงชลอการแข็งค่าของเงินบาทลงได้บ้าง แต่ต้องดูอีกระยะหนึ่ง นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือซีเมนต์ไทยกล่าว

สัญญาณเตือนภัยสำคัญและเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง คือ ยอดขายกระดาษคราฟท์ สำหรับทำกล่องกระดาษบรรจุสินค้าต่างๆเพื่อการขนส่ง เครือซีเมนต์ไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษคราฟท์รายใหญ่สุดมียอดขายกระดาษคราฟท์ลดลง ในปี 2548 และ 2549 ยอดขายกระดาษคราฟท์มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี

แต่เมื่อถึงปีนี้ ไตรมาสแรก โตเพียง 4-5% ไตรมาสที่สอง อัตราเติบโตลดลงเหลือ 1% นั่นหมายถึงว่าน่าจะมีการใช้กล่องบรรจุสินค้าน้อยลงอาจเป็นเพราะสินค้าทั้งในตลาดต่างประเทศและในประเทศมียอดขายลดลง

ยอดขายมอเตอร์ไซค์ก็เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญเช่นกัน เพราะเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ยอดขายรมอเตอร์ไซค์ขายผู้บริโภคระดับฐานรากของเศรษฐกิจ ครึ่งปีแรกของปี 2550 ยอดขายรถมอเตอร์ไซค์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 สูงถึง 16%

ชนวนวิกฤต

ความไม่นิ่งของค่าเงินบาท การแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเกือบปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออก ที่เด่นชัดล่าสุด กรณีบริษัท บริษัท ไทยศิลป์ อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ซึ่งผลิตเสื้อผ้าส่งออก จำเป็นต้องปิดโรงงาน ส่งผลให้คนว่างงานทันที 4,400 คน

ทยอยตามมาด้วย การปิดโรงงานของยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมรองเท้าส่งออกสองราย คือ บริษัท ยูเนียนฟุตแวร์ ในเครือสหยูเนียน คนตกงาน 2,300 คน บริษัท รังสิตฟุตแวร์ คนตกงาน 1,900 คนการปิดของสองโรงงานนี้ ผลกระทบเกิดทั้งอุตสาหกรรม และยังกระทบไปถึงโรงงานขนาดเล็กที่ผลิตชิ้นส่วนป้อนอีกจำนวนมากที่อาจจะต้องปิดตัวลง มีคนตกงานเพิ่มมากขึ้นกรณีการปิดโรงงานของบริษัท ไทยศิลป์ฯ อาจไม่ใช่กรณีแรกและกรณีสุดท้าย !!!

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอกว่า 200 แห่งปิดกิจการไปแล้ว เพราะรับการขาดทุนจากค่าเงินบาทไม่ไหว
นอกจากนั้น ไม่ใช่เฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอและครื่องนุ่งห่มเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนในทางแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ทางด้าน

นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังบอกอีกว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าขณะนี้ มี 5 อุตสาหกรรม ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมเดิมๆ เมื่อ 10 ปีก่อนที่มีปัญหา ได้แก่ อุตสาหกรรมรองเท้า, สิ่งทอ, อัญมณี, อาหาร และยาง

นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรม อาหาร ก็เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่เริ่มมีการทยอยปิดกิจการแล้วเช่นกัน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวกล่าวว่า เมื่อไม่นานนี้ มีผู้ส่งออกข้าวรายเล็กๆ ต้องปิดกิจการไปจำนวนมากเช่นกัน

ไม่เพียงเท่านี้ แม้แต่ยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร อย่างบริษํท กว้างไพศาล เจ้าของแบรนด์ปลากระป๋อง ปุ้มปุ้ย ที่นอกจากขายในประเทศและ การส่งออกก็เป็นขาหลักอีกขาหนึ่งของบริษัทนี้ ได้รับผลกระทบรุนแรงจากความผันผวนของค่าเงินบาทเช่นกัน

ลูกโซ่วิกฤตของกำลังซื้อผู้บริโภค

ในที่สุดภาครัฐโดยก็หันมาออกมาตรการแก้ปัญหา 6 มาตรการในเบื้องต้น แต่ก็ดูเหมือนภาคเอกชนวงการธุรกิจอุตสาหกรรมมองว่า มาตรการทั้ง 6 นี้ไม่ใช่ยาที่แรงพอจะหยุดวิกฤตนี้ได้ จำต้องมีมาตรการอื่นที่แรงขึ้นตามออกมาในเร็ววัน

ผลกระทบที่จะต่อเนื่องจากการปิดโรงงานเป็นลูกโซ่มาคือ คนขาดรายได้เพราะตกงานมากขึ้น รายได้ภาคเกษตรลดลงมากขึ้น เพราะเกษตรกรขายสินค้าให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารได้น้อยลงหรือขายไม่ได้เลยดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้ กำลังซื้อผู้บริโภค กำลังลดลง และอาจจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต ได้ในอนาคตอันใกล้

ทั้งนี้เพราะกำลังซื้อผู้บริโภคในกลุ่มเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานนั้นเป็นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ ยอดขายที่ลดลงของสินค้าในตลาดแมส ถ้าลดลงมากก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดระดับบนขึ้นไป และอาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในลักษณะเดียวกับที่เกิดในปี 2540 ที่มีมูลเหตุของการเกิดเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในภาวะปัจจุบัน ยังไม่อาจสรุปได้ชัดเจนว่า วิกฤตที่เริ่มตั้งเค้าในวันนี้ จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ขึ้นกับการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจังของภาครัฐ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179137
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/08/07

โพสต์ที่ 170

โพสต์

ไฟเขียว1.2หมื่นล. เพิ่มงบลงทุนปี51
โพสต์ทูเดย์ ครม.เสนองบประมาณปี 2551 เพิ่มเติม เข้า สนช.ในวาระ 2 กว่า 1.2 หมื่นล้านบาท เน้นโครงการลงทุนต่อเนื่อง


นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 เพิ่มเติม ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ 1.22 หมื่นล้านบาท จากที่หน่วยราชการเสนอโครงการเพิ่มเติมเข้ามาทั้งหมด 7.04 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้พิจารณาโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล อาทิ สำนัก งานศาลยุติธรรมเสนอ 491 ล้านบาท ได้รับการจัดสรรเพียง 236 ล้านบาท, สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอ ของบ 14.6 ล้านบาท ได้รับ 1.9 ล้านบาท ขณะที่สำนักงานศาลปกครองขอ 19.38 ล้านบาท ได้รับอนุมัติทั้งจำนวน

นอกจากนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เสนอมา 2.85 หมื่นล้านบาท พิจารณาปรับลดงบกว่า 4.33 พันล้านบาท เพื่อนำไปจัดสรรให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้คงสภาพกองทุนนี้ไว้เพื่อดูแล นักศึกษาที่สมัครเข้าโครงการในรอบแรกต่อไป ส่วนยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของชาติและความสงบสุขของสังคมได้เพิ่ม 1.8 พันล้านบาท

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า การพิจารณางบประมาณวาระที่ 2 จะต้องได้ ข้อสรุปภายในเดือนนี้ สำหรับงบประมาณ ที่จะมีการพิจารณาจัดสรรให้กระทรวง ทบวง กรมเพิ่มเติม ต้องได้รับการจัดสรรในการดำเนินโครงการก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ

นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า การเสนองบประมาณเพิ่มเติมในครั้งนี้ยังอยู่ภายใต้กรอบเดิม โดยภาพรวม งบประมาณรายจ่ายปี 2551 ยังคงเป็นงบขาดดุลที่ 1.65 แสนล้านบาท โดยมีงบประมาณรายจ่ายที่ 1.66 ล้านล้านบาท และมีรายได้ที่ 1.495 ล้านล้านบาท

งบประมาณที่เสนอขอเพิ่มเป็นเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องได้ครบทั้งจำนวน เพราะเมื่อเข้าสู่ขั้นแปรญัตติ อาจจะถูกเกลี่ยให้งบเหลือน้อยกว่าที่เสนอมาก็ได้ นายวุฒิพันธ์ุ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183675
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/08/07

โพสต์ที่ 171

โพสต์

ต่างชาติขายหุ้นเงินยังอยู่ในไทย  
โดย เดลินิวส์
วัน พุธ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:51 น.

นางนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยระยะนี้ ไม่น่าจะเป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติขายหุ้น แล้วนำเงินออกไปนอกประเทศ โดยค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพอยู่ ไม่ได้มีเงินไหลออกไปมากจนทำให้ค่าเงินอ่อนลงมา ทั้งนี้เชื่อว่าเงินที่ได้จากการขายหุ้น ยังอยู่ในประเทศ ในบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนในตราสารทุนและสัญญาล่วงหน้า (เอสเอ็นเอส) ซึ่ง ธปท. กำหนดไว้ว่า จะมียอดคงค้างในบัญชีสิ้นวันได้ไม่เกินรายละ 300 ล้านบาทต่อราย

ทั้งนี้หากนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นแล้วนำเงินออกนอกประเทศทันที หากจะนำเงินกลับประเทศเพื่อลงทุนในหุ้นอีก หรือจะนำไปลงทุนในตราสารประเภทอื่น ก็ต้องกันสำรองเงินลงทุน 30% หรือบริหารความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (ฟูลลี่ เฮดจ์) เพราะ ธปท. ไม่อนุญาตให้โอนย้ายเงินจากบัญชีเอสเอ็นเอส ไปยังบัญชีเงินฝากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ

ยอดขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ 15,000 กว่าล้านบาท หรือประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าไม่เยอะไม่มีผลอะไรกับค่าเงิน.

http://news.sanook.com/economic/economic_166558.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/08/07

โพสต์ที่ 172

โพสต์

คลังเผยยอดจัดเก็บรายได้10เดือนแรก พลาดเป้า234ล้านบาท

8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 15:54:00
 
บาทแข็ง!กระทบยอดจัดเก็บรายได้ 10 เดือนของปีงบประมาณต่ำกว่าเป้าหมาย 234 ล้านบาท ยอมรับจนถึงสิ้นปีงบประมาณ รายได้รัฐบาลคงต่ำกว่าเป้าหมาย มั่นใจไม่เกิน 1.5%

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนกรกฎาคมว่า สามารถจัดเก็บได้ 87,069 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,280 ล้านบาท หรือ 4.7% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 12.2% โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,180 และ 425 ล้านบาท ตามลำดับ รองลงมา ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 450 ล้านบาท
นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 484 ล้านบาท เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่ได้นำส่งรายได้ และรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้เลื่อนการนำส่งไปเดือนหน้า

อย่างไรก็ตาม มีภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษียาสูบ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ส่งผลให้ 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.49 - ก.ค.50) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ำกว่าประมาณการ 234 ล้านบาท แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 65,435 ล้านบาท

สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,130,375 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 234 ล้านบาท หรือ 0.02% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.1% เนื่องจากกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ และรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตร

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรใน 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ จะต่ำกว่าเป้าหมาย และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมายจำนวนค่อนข้างสูง แต่จากการที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ และรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตร (Premium) ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลโดยรวมต่ำกว่าเป้าหมายเพียงเล็กน้อยจำนวน 234 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแนวโน้มรายได้รัฐบาลในช่วง 2 เดือนที่เหลือ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินบาท การกันสำรองสินเชื่อเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนการนำส่งรายได้ของ ทศท และ กสท เพื่อชดเชยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคมตามมติคณะรัฐบาล กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) แต่จะไม่เกิน 1.5%
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=88382
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/08/07

โพสต์ที่ 173

โพสต์

รื้อภาษี19ทวิช่วยผู้ส่งออก คืนเงินเร็วขึ้น

โพสต์ทูเดย์ สศค.ปรับวิธีคำนวณการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าที่ผลิตเพื่อส่ง ออก ชงเรื่องให้ขุนคลังลงนามประกาศใช้

นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ได้ปรับปรุงวิธีการคำนวณการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าที่ผลิตในประเทศเพื่อการส่งออก หรือภาษีมุมน้ำเงินให้กับ ผู้ส่งออกเสร็จเรียบร้อยแล้ว และนำเสนอให้นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง พิจารณาในรายละเอียด ทั้งหมดแล้ว คาดว่าภายในเร็วๆ นี้
นายสมชัย กล่าวว่า หลังจาก รมว.คลัง อนุมัติก็จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการได้ โดยหลักการของการแก้ไขภาษีมุมน้ำเงินแล้ว ผู้ส่งออกจะเสียประโยชน์น้อยที่สุด หรือใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ส่งออกเคยได้รับประโยชน์
ด้านนายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลกากรได้เพิ่มเจ้าหน้าที่อีกประมาณ 5-6 คน เพื่อเข้ามาดำเนินงานเกี่ยวกับการคืนภาษีอากรตามมาตรา 19 ทวิ พร้อมปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ให้รวดเร็ว ทั้งเรื่องพิกัดอัตราศุลกากร การตรวจสอบราคา หรือเอกสารการเงิน ก็ให้ดำเนินการไปก่อน พร้อมเพิ่มเวลาทำงานในช่วงวันหยุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ส่งออกมากขึ้น

ล่าสุด กรมศุลกากรมียอดค้าง การคืนภาษีเพียง 600 ล้านบาทเศษ เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549 - มิ.ย. 2550 มีผู้ส่งออกยื่นชุดคำขอคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิ เฉลี่ยเดือนละ 280 ชุด ซึ่งแต่ละชุดคำขอคืนอากรประกอบด้วย จำนวนใบขนสินค้าเฉลี่ย 140 ฉบับต่อชุด กรมศุลกากรได้ ดำเนินการคืนค่าภาษีอากรเฉลี่ยเดือนละ 700 ล้านบาท หรือประมาณ 96%

ก่อนหน้านี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183901
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/08/07

โพสต์ที่ 174

โพสต์

อุตฯเตือนอย่าตื่นตูมข่าวปิดโรงงาน

โพสต์ทูเดย์ ปลัดอุตฯ ชี้โรงงานปิดตัวเอง เป็นเรื่องปกติของธุรกิจ ที่เกิดจากสารพัดปัญหา รวมถึงการปรับตัวของเอกชนด้วย

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ใน ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขการปิดโรงงาน 1,254 โรง และเปิดกิจการ 2,183 โรงนั้นถือเป็นอัตราปกติของภาคอุตสาหกรรมและปัญหาการปิดโรงงานก็ไม่ได้เกิดจากค่าเงินบาทเพียงอย่างเดียว มีหลายสาเหตุประกอบ ทั้งออร์เดอร์ที่ลดลง ประสิทธิภาพการผลิต และการบริหารจัดการ

ทั้งนี้ ในช่วงที่เงินบาทอยู่ที่ 41-43 บาท/เหรียญสหรัฐนั้นถือว่าเงินบาทอ่อนค่าเกินความเป็นจริง แต่เมื่อ ผ่านมา 2 ปี อยู่สภาวะสมดุลที่ 34 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทันเพราะพอใจกับค่าเงินบาทที่อ่อน ซึ่งปัจจัยสำคัญ 3 ประการสำหรับภาคอุตสาหกรรม คือ ประสิทธิ ภาพแรงงาน โลจีสติกส์ และเทคโนโลยีซึ่งต้องยอมรับว่าประเทศไทยอ่อนทั้ง 3 ด้าน

ด้านนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช. อุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะ ได้รับการยืนยันจากอุตสาหกรรมแต่ละจังหวัด ว่าโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยไม่ได้มีการปิดตัวหลายแห่งดังที่เป็นข่าว ทั้งนี้ มีออร์เดอร์ของสินค้ากลุ่มรองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม ที่เริ่มกลับมาในประเทศไทย โดยล่าสุดอดิดาสก็เริ่มสั่งผลิตสินค้าในประเทศไทยอีกครั้ง หลังไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่น

ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง โลจีสติกส์ผ่าวิกฤตอุตสาหกรรมไทย ว่าขณะนี้อุตสาห กรรมไทยยังไม่อยู่ในสภาวะวิกฤตจากค่าเงินบาท แต่กำลังไม่สบายหรือป่วยเป็นไข้หวัด หากปล่อยไว้จะเป็นไข้หวัดใหญ่ และถ้าไม่เร่งรักษาต้องหามเข้าห้องไอซียู

สำหรับตัวเลขส่งออกที่ขยายตัว 18% ต้องแยกพิจารณาให้ชัดเจนว่าขยายตัวจากสินค้าชนิดใด ซึ่งพบว่า การส่งออกที่ขยายตัวเป็นผลมาจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบ ขณะที่กลุ่มอาหารมีสินค้าหลายชนิดที่เมื่อส่งออกมากก็ขาดทุนมากซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ แรงงาน 5 ล้านคน และเกษตรกรอีกกว่า 2 ล้านคน ดังนั้นรัฐบาลต้องดูแลค่าบาทไม่ให้แข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง 8% รถกระบะลดลง 16% และรถจักรยานยนต์ลดลง 20.56% เป็นสัญญาณทางเศรษฐกิจได้อย่างหนึ่ง ซึ่งขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์แม้ขาดทุนต้องทำต่อ ซึ่งหากไม่แก้ปัญหาปีหน้า อาจมีอุตสาหกรรมยานยนต์บางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ในระยะยาวภาคเอกชนต้องการให้ ธปท. ออกมาตรการเสริมเพื่อดูแลค่าเงินบาท เช่น การนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนต่างประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อกระจายเงินไม่ ให้อยู่ในประเทศมากเกินไปซึ่งควรจะมีการตั้งกองทุนขึ้นมา โดยคิดว่ากองทุนดังกล่าวเบื้องต้นควรจะเริ่มต้นที่ 5 พัน-1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183956
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/08/07

โพสต์ที่ 175

โพสต์

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค. ยังไหลลงไม่หยุด  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
9 สิงหาคม 2550 20:44 น.

     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ยังลดลงต่อเนื่อง และทำให้สถิติต่ำสุดรายเดือน ชี้เหตุผลเพราะความไม่มั่นใจของผู้บริโภคที่เป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองรวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการว่างงาน หอการค้าไทยติงค่าเงินบาทยังแข็งค่าเกินไปเมื่อเทียบกับเงินสกุลประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้แข่งขันลำบาก
     
      นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงจาก 71.0 ในเดือนมิถุนายน เหลือ 70.0 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 39 และต่ำที่สุดในรอบ 66 เดือน นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปรับตัวลดลงจากระดับ 74.7 ในเดือนมิถุนายน เหลือ 73.8 ต่ำกว่าระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 41 และมีค่าต่ำสุดในรอบ 60 เดือน นับแต่เดือนสิงหาคม 2545 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต หรือ 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงจาก 67.3 เมื่อเดือนมิถุนายน เหลือ 66.1 ต่ำกว่าระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 38 และมีค่าต่ำสุดในรอบ 103 เดือน นับแต่เดือนมกราคม 2542
     
      นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจของผู้บริโภคที่เป็นห่วงต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ จากผลกระทบทั้งปัญหาการเมืองที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) การแข็งค่าของเงินบาท ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และราคาน้ำมันที่ยังผันผวน แม้ว่าขณะนี้สัญญาณวิกฤติเศรษฐกิจยังไม่เห็นชัด แต่สะท้อนว่าประชาชนมีความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดี โดยเฉพาะปัญหาโรงงานปิดกิจการหลายแห่งในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนวิตกกังวลต่อการว่างงาน รวมทั้งปัญหาการเมืองในระดับที่น่าเป็นห่วง ดังนั้น หอการค้าไทยจึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งผลักดันการใช้งบประมาณ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) และสร้างเสถียรภาพทางการเมืองโดยเร็ว รวมทั้งเร่งแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เพื่อให้ประชาชนไม่เกิดความวิตกมาก เพราะถ้าล่าช้าอาจจะมีปัญหาหนักขึ้น
     
      นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวถึงผลกระทบค่าเงินบาทว่า ขณะนี้ยังสรุปผลที่ชัดเจนจากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้ แต่หากเปรียบเทียบค่าเงินบาทกับค่าเงินของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน โดยยึดตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2548 ซึ่งค่าเงินบาทอยู่ที่ 41 บาทต่อดอลลลาร์สหรัฐ จะเห็นว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 21.4 ขณะที่ประเทศในอาเซียนที่ค่าเงินแข็งค่าที่สุดคือ ฟิลิปปินส์ อยู่ที่ร้อยละ 15 จีน ร้อยละ 6.6 ญี่ปุ่นค่าเงินอ่อนลงร้อยละ 1 และเวียดนามค่าเงินก็ลดลงเช่นกัน โดยเฉลี่ยค่าเงินในประเทศอาเซียนแข็งค่าประมาณร้อยละ 9 ซึ่งถ้าจะให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับใกล้เคียงกับอาเซียน ทางการต้องมีมาตรการเสริม ซึ่งหากต้องการให้ค่าเงินบาทใกล้เคียงกับค่าเงินประเทศในอาเซียน ค่าเงินบาทควรอยู่ที่ 36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาเอกชนปรับตัวมาตลอดในรอบ 5 ปี ลงทุนสั่งเครื่องจักรใหม่ถึง 80,000 ล้านบาท และจ้างดีไซเนอร์จากอิตาลี แต่เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไปก็แข่งขันลำบาก อย่างไรก็ตาม เอกชนได้เสนอผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ขอให้ ธปท. ตั้งกองทุนอิสระเพื่อแทรกแซงค่าเงินไม่ให้ผันผวนและใกล้เคียงกับประเทศในอาเซียน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับไปพิจารณา
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000093633
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/08/07

โพสต์ที่ 176

โพสต์

จี้รัฐจัดสรรเงินตั้งกองทุน แนะเร่งออกมาตรการเพิ่ม-เลิกสำรอง30%

โดย ผู้จัดการออนไลน์
9 สิงหาคม 2550 07:13 น.

      เอกชนแนะรัฐ 6 มาตรการดูแลบาทได้แค่ระยะสั้นภายใน 6 เดือนควรออกมาตรการเพิ่มเข้ามาเสริมดูแลบาทให้มีเสถียรภาพระยะยาวและกลาง ดันจัดสรรเงินทุนสำรองหมื่นล้านเหรียญตั้งกองทุนลุยซื้อพันธบัตรต่างประเทศกันเงินบาทแข็ง พร้อมเลิกสำรอง 30%สวนทางรัฐเหตุส่งซิกใช้ 2-3 ปีทำให้เป็นจิตวิทยาว่ามีปัญหา เอกชนชี้มาตรการดีแต่ยังขับเคลื่อนไม่เป็นรูปธรรม
     
      นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า มาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อดูแลค่าเงินบาทตามข้อเสนอเอกชน 6 มาตรการที่ผ่านมานั้นถือว่ามีผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงระดับหนึ่งและคงจะอ่อนค่าได้ในระดับ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐแต่มาตรการเหล่านี้จะมีผลแค่ระยะสั้นเท่านั้น ระยะกลางจากนี้ไปหรืออีก 6 เดือนจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการเสริมเพิ่มเติมที่จะมาดูแลค่าเงินบาทระยะปานกลางและระยะยาวให้มีเสถียรภาพ ทั้งนี้เนื่องจากทิศทางส่งออกที่เพิ่มจะทำให้ค่าบาทมีโอกาสแข็งค่าอีก
     
      ดังนั้นมาตรการที่จะเพิ่มเติมเช่น การจัดตั้งกองทุนจากการใช้เงินทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ขณะนี้มีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศมากขึ้นมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าโดยควรกันเงินเหล่านี้มาตั้งกองทุนประมาณ 5,000-10,000 ล้านเหรียญในการไปลงทุนซื้อพันธบัตรในต่างประเทศที่ไม่มีความเสี่ยง
      นอนเรสิเดนท์ไร้ผลเลิกกันสำรอง30%
     
      นอกจากนี้ภายใน 6 เดือนธปท.ควรยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% อีกด้วยเพราะการที่คลังส่งสัญญาณว่าจะใช้ต่อไปอีก 2-3 ปีเท่ากับเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าค่าเงินไทยมีปัญหาทำให้เกิดเป็นจิตวิทยาในการเก็งกำไรเมื่อรัฐมีมาตรการที่จะดูแลค่าเงินบาทต่างๆ ออกมาแล้วขณะนี้ก็น่าจะสามารถยกเลิกได้ อย่างไรก็ตามธปท.คงจะทราบดีถึงปริมาณเงินไหลเข้า ไหลออกก็ควรจะต้องตัดสินใจ
     
      การที่ค่าเงินบาทตลาดต่างประเทศหรือออฟชอร์ กับตลาดในประเทศหรือออนชอร์ต่างกันเกือบ 4 บาทต่อเหรียญสหรัฐก็ชี้ให้เห็นว่ามาตรการ เกี่ยวกับการให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(นอนเรสิเดนท์)ขออนุญาตย้ายป้องกันความเสี่ยงจากตลาดนอกประเทศมาในตลาดในประเทศได้นั้นไม่ได้มีผลทำให้ส่วนต่างนี้ลดลงแต่อย่างใดนายธนวรรธน์กล่าว
     
      บาทยังแข็งค่าขึ้นแท่นอันดับ3
     
      นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสายงานเศรษฐกิจสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทของไทยขณะนี้ยังแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้เป็นอันดับ 3 รองจากอินเดีย และฟิลิปปินส์โดยไทยแข็งค่าระดับ 6.19% ซึ่งก็ยังมีทิศทางที่แข็งค่าลดลงเมื่อเทียบกับต้นปีที่ไทยแข็งค่าถึง 12% ดังนั้นมาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อดูแลค่าเงินบาทหากจะให้เห็นผลชัดเจนคงต้องรออีกระยะหนึ่งอย่างน้อยก็ 2 สัปดาห์ก่อน
     
      เวลานี้ยากที่จะบอกได้ว่ามาตรการที่รัฐออกมาดูแลค่าบาทนั้นได้ผลให้บาทอ่อนค่าลงระดับหนึ่งหรือว่าแท้จริงแล้วเงินที่ไหลออกไปนั้นเป็นเพราะเศรษฐกิจสหรัฐมีปัญหาในช่วงนี้หรือไม่ที่หุ้นสหรัฐเองก็ตกลงเช่นกันจะเห็นว่าเงินไหลออกตลาดหุ้นไทยมากขึ้นนายธนิตกล่าว
     
      มาตรการดีแต่ยังไม่เริ่มขับเคลื่อน
     
      นายธนิตกล่าวว่า มาตรการ 6 ข้อที่ออกมารับมือค่าเงินบาทนั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่การขับเคลื่อนยังไม่สามารถจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ เช่นกรณีขยายเวลาให้ผู้ส่งออกถือครองเงินดอลลาร์มากขึ้นก็ต้องยอมรับว่ามีเพียงรายใหญ่ที่ทำแต่รายเล็กหรือเอสเอ็มอีทำไม่ได้อยู่แล้วเพราะเขาต้องแปลงเป็นเงินบาทเพื่อใช้เป็นสภาพคล่องเพราะเงินไม่ได้มากพอ ส่วนมาตรการเปิดบัญชีฝากเป็นสกุลเงินดอลลาร์ก็ยังพบว่ามีการฝากไม่มาก ฯลฯ เหล่านี้คงต้องอาศัยเวลาพิจารณาว่าจะมีผลมากน้อยเพียงใด
     
      ก.อุตฯโต้รง.เปิดอื้อปิดจิ๊บจ๊อยเรื่องปกติ
     
      นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎร์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า การเปิด ปิดโรงงานอุตสาหกรรมดูตัวเลขเปิดมีมากกว่าปิดเท่าตัวก็ถือว่าปกติเพราะธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้วที่ผ่านมามีการปิดกิจการตลอด และก็เปิดเพิ่ม ซึ่งรัฐและเอกชนเองก็ทำงานกันใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อไม่ให้กระทบกับแรงงานแน่นอน
     
      นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากรายงานที่เข้ามาทุกวันพบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมที่แจ้งปิดตัวน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นการชะลอตัวการผลิตลงมากกว่า ถือว่ายังไม่รุนแรงมากเหมือนที่ผ่าน และผู้ประกอบการไทยเริ่มมียอดคำสั่งซื้อกลับเข้ามาแล้ว โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เห็นชัดคือ กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและรองเท้า เพราะประเทศผู้จ้างผลิตเริ่มเห็นปัญหาเรื่องของการจัดส่งสินค้าและคุณภาพสินค้าจากการจ้างแรงงานถูก
     
      นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากตัวเลขเปิด ปิดโรงงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมครึ่งปีพบว่ามีการเปิดประมาณ 2,183 แห่ง และปิด 1,254 แห่งหากเทียบกับช่วงที่ผ่านมาก็เป็นอัตราปกติที่กิจการมีการปิดและเปิดเพิ่มเช่นนี้แต่บังเอิญขณะนี้เป็นกระแสข่าวมากกว่าอดีต ส่วนอัตราการว่าจ้างแรงงานก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด      
      ล่าสุดอุตสาหกรรมจังหวัดก็รายงานมามีปิดตัวไปก่อนหน้านี้ 2-3 รายตามที่เป็นข่าวอยู่แรงงานก็สามารถเคลื่อนย้ายไปจุดอื่นได้และส่วนใหญ่ก็เป็นปัญหาขาดทุนสะสมไม่ใช่มาจากปัจจัยค่าเงินบาทอย่างเดียว
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000093062
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/08/07

โพสต์ที่ 177

โพสต์

ธปท.รับ2สัปดาห์เงินไหลออกหมื่นล้าน  
โดย ข่าวสด
วัน ศุกร์ ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550 09:48 น.

สนช.สับรัฐแก้บาทเละ-ปูดการเมืองตัวดี-คลังตื่นรับมือ

ผู้สื่อข่าวรายงานภาวะการซื้อขายหุ้นประจำวันที่ 9 ส.ค.ว่า ตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวน แม้ปิดตลาดภาคเช้าดัชนีจะปิดในแดนบวก แต่ปรับตัวลดลงอย่างแรงในช่วงบ่าย เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีการเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะกังวลกับปัญหาจากการลงทุนในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพรม์) ในสหรัฐ แม้ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะระบุว่า ปัญหาซับไพรม์ไม่กระทบเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยังมีต่อเนื่อง ยังไม่มีการออกมาตรการใดๆ ดูแล จึงมีการขายทำกำไร ทำให้ดัชนีหุ้นไหลลงปิดที่ระดับ 811.83 จุด ลดลง 19.81 จุด หรือ 2.38% ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขาย 21,546.772 ล้านบาท

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ให้สัมภาษณ์ว่า ธปท.ห่วงตัวเลขหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จึงต้องการให้ธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในสินเชื่อเพื่ออสังหาริมทรัพย์ สำหรับซับไพรม์

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าการลงทุนในซับไพรม์ จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีภาระตั้งสำรองเพิ่มมากเพียงใดต้องตรวจสอบอีกครั้ง ส่วนกรณีที่ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ไปลงทุนในสินเชื่อซับไพรม์นั้น จะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องการลงทุนให้มากขึ้นเช่นกัน ส่วนตัวเชื่อว่าผลกระทบคงมีไม่มากนัก เพราะเป็นช่วงการปรับตัวของตลาดซับไพรม์ที่ทำให้มูลค่าตราสารหนี้ด้อยค่าลง สำหรับการลงทุนในตลาดอื่น เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่ลงทุนในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย ของซับไพรม์นั้น คงมีผลกระทบหรือมีการสูญค่าในอัตราต่ำ

นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธปท. เปิดเผยถึงรายงานตัวเลขเงินฝากในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสำหรับนักลงทุนในหุ้น (เอสเอ็นเอส) ว่า นับจากวันที่ 24 ส.ค. ที่ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการผ่อนคลายการฝากและโอนเงินตราต่างประเทศ เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาท ล่าสุด ณ วันที่ 6 ส.ค. มีรายงานตัวเลขเงินฝากในบัญชีเอสเอ็นเอส 10,000 ล้านบาท จากเดิมอยู่ ที่ 6,000-7,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากยอดขายหุ้นต่างชาติสุทธินับจากวันที่ 27 ก.ค.-6 ส.ค. อยู่ที่ 15,000 ล้านบาท

สรุปก็คือ เงินที่ขายหุ้นได้บางส่วน และมีการส่งออกไปประมาณครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ปกติก็อยู่ที่ 6,000-7,000 ล้านบาท เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งขึ้นๆ ลงๆ อยู่เช่นนี้ แต่ตอนนี้อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ส่วนเงินที่คงค้างอยู่ในบัญชีขณะนี้อยู่ที่ 4,000-5,000 ล้านบาท นายสุชาติ กล่าว

ทางด้านนายประพันธ์ คูณมี สมาชิกสภานิติบัญญัติฯ (สนช.) กล่าวในการเปิดอภิปรายในญัตติ ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาการแข็งตัวของค่าเงินบาทและนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะของประเทศชาติโดยรวม ว่า การแข็งค่าของเงินบาทไม่ได้เกิดจากกระบวนการตลาดตามปกติ ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.และกระทรวงการคลัง วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขไม่ตรงกัน โดยเฉพาะธปท. ที่ไม่เร่งรัดแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว แต่กลับปล่อยให้มีการเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างในตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) และตลาดซื้อขายเงินบาทในประเทศ (ออนชอร์) มากเกินไป ทำให้มาตรการแก้ไขช่วงก่อนหน้านี้ไม่เป็นผลสำเร็จ

นายอัมมาร สยามวาลา สนช.และรักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า รัฐบาลต้องวางยุทธศาสตร์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้ชัดเจน เพราะไม่ต้องการให้แนวทางการดูแลค่าเงินบาท เป็นยุทธวิธีประจำวันอย่างที่ธปท.ดำเนินการมาอย่างอิสระในขณะนี้

โดยเฉพาะการประกาศใช้มาตรการกันสำรองการลงทุน 30% ถือเป็นมาตรการที่เฉียบพลันเกินไป การกำหนดมาตรการดังกล่าวจะต้องมีความรอบคอบก่อนที่จะประกาศอย่างเป็นทางการออกมา เพราะจะทำให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนก

นายอรรคพล สรสุชาติ สนช. กล่าวว่า วันก่อนมีคนบอกมาว่า หากตอนนี้เอาบัตรเครดิตไปรูดที่สหรัฐ เอาเงินดอลลาร์สหรัฐไปใช้ล่วงหน้าที่สหรัฐ อัตราแลกเปลี่ยนที่ได้อยู่ที่ 30 บาท และเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้ ว่าหากไปเปิดบัญชีเงินบาทที่สิงคโปร์แล้ว จะมีนักการเมืองบางกลุ่มและบางคนทยอยนำเงินบาทไปเก็งกำไรอยู่ที่สิงคโปร์ จึงอยากเห็นรัฐบาลพูดความจริงในสภา และอยากเห็นแนวทางแก้ปัญหาที่ชัดเจน

ส่วนนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวว่า วันที่ 20 ส.ค. กระทรวงการคลังร่วมกับธปท.และผู้ทรงคุณวุฒิ จะหารือถึงแนวทางการพัฒนาเครื่องมือและระบบการจัดการที่จะมาใช้ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้มีความเข้มแข็งเพียงพอและเหมาะสมเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะรองรับความผันผวนจากตลาดโลก ที่มีแนวโน้มจะมีต่อไปอีกในระยะยาว ไทยไม่ค่อยมีเครื่องมือที่จะใช้ดูแลความเสี่ยงจากความผันผวน ภาคธุรกิจจึงมีปัญหา ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญในการดูแลระบบเศรษฐกิจก็มีน้อย ส่วนการแก้ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนใน 2 ตลาดเป็นเป้าหมายหลักรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ยอมรับว่าเมื่อเกิดปัญหากับตลาดในประเทศ เราจำเป็นต้องดูแลตลาดในประเทศก่อน ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ปล่อยปัญหาเช่นนี้ไว้นาน เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลท.มีข้อเสนอ 2 ประการ คือ 1.อยากให้ธปท.ผ่อนคลายมาตรการการไปลงทุนในต่างประเทศให้สะดวกมากขึ้น เพื่อเปิดประตูให้เงินไหลออกอย่างสมดุลกับเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทย นอกเหนือจากกรณีที่ธปท.เปิดช่องให้นำเงินลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น จาก 6,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 2.ต้องการให้ธปท.ผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ไปลงทุนในกองทุนรวม กองทุนอสังหาริมทรัพย์และพันธบัตรเป็นอีกหลายทางเลือก นอกจากผ่อนคลายเฉพาะตลาดทุนเพื่อเป็นการลดแรงกดดันต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น
http://news.sanook.com/economic/economic_167254.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/08/07

โพสต์ที่ 178

โพสต์

ระดมสมองรื้อระบบบริหารทุนสำรอง  
โดย มติชน
วัน ศุกร์ ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:51 น.

คลังเชิญอุ๋ย-โกร่ง20ส.ค.นี้ หอค้าชี้ดัชนีเชื่อมั่นดิ่งไม่หยุด
ฉลองภพ นัดเซียนการเงิน โกร่ง-อัมมาร-อุ๋ย-โอฬาร จันทร์หน้า ระดมสมองปรับระบบบริหารจัดการทุนสำรอง ชี้เตรียมไว้ช่วยดูแลเงินบาทในระยะปานกลางตามคำสั่งนายกฯ ขณะที่หอค้าฯเตือนดัชนีเชื่อมั่นยังดิ่งไม่หยุด เศรษฐกิจส่อเค้ายังไม่ฟื้น เตือนรัฐออกมาตรการเพิ่มเติมแก้บาทแข็ง

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จะนัดหารือร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อระดมความเห็นในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งจะใช้เป็นแผนงานในระยะปานกลาง แม้เรื่องเงินทุนสำรองฯ ในปัจจุบันจะไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วน แต่ก็ต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

ทุนสำรองตอนนี้แม้หลายฝ่ายจะมองว่าสูง แต่ยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ต้องประชุมเพื่อดูระบบบริหารจัดการทุนสำรอง ในระยะปานกลาง นายฉลองภพกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า คลังและ ธปท.ได้ส่งหนังสือเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 40 ราย ให้มาร่วมระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการทั้งนักวิชาการ นายธนาคาร และอดีตผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น เช่น นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นต้น

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมกันระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เพื่อประเมิน 6 มาตรการในการแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หามาตรการระยะยาวในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่ด้วย ซึ่งในการระดมสมองในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ จะนำไปสู่กรอบการพัฒนามาตรการระยะยาวด้านอัตราแลกเปลี่ยนเสนอนายกรัฐมนตรีด้วย แหล่งข่าวกล่าว

นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2550 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการยังอยู่ระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) และต่ำสุดในรอบ 51-103 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ลดลงจากเดือนมิถุนายนระดับ 71 เป็น 70 ในเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ลดลงจาก 76.8 มาอยู่ที่ระดับ 75.8 ทั้งนี้ มาจากความวิตกกังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งจะส่งกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจสะท้อนถึงสัญญาณน่าเป็นห่วงและทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเลื่อนออกไปอีกจากเดิมคาดว่าปลายไตรมาส 3 เศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัว มีโอกาสฟื้นหลังการเลือกตั้งในต้นปี 2551 และหากปล่อยให้สถานการณ์แย่ลงไปอีกจะเข้าขั้นวิกฤตเหมือนปี 2540 โดยทางศูนย์ยังคงคาดการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้ที่ 3.8-4.3%

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า แม้ 6 มาตรการที่รัฐบาลออกมาแก้ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง แต่ก็ยังห่างกับการแข็งค่าที่เพิ่มขึ้น 21.7% ในช่วง 2 ปี และยังแข็งค่าสูงกว่าประเทศในอาเซียนด้วยกัน ฉะนั้น รัฐควรออกมาตรการอื่นเพิ่มเติม เช่น การจัดตั้งกองทุนดูแลการไหลเข้าออกของเงิน เพื่อให้ค่าบาทนิ่งไม่ผันผวนเร็ว
http://news.sanook.com/economic/economic_167190.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/08/07

โพสต์ที่ 179

โพสต์

เซียนหุ้นแจกของดีลุ้นรับ-ไม่รับร่างรธน.
ฟังธงหุ้น BEC-EPCO ไม่ควรมองข้าม


    สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในอาการขวัญหนีดีฝ่อ ต่อคาดยังแรงเก็งกำไรเข้ามาลุ้นเรื่องรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 19 ส.ค.นี้ เซียนหุ้นชี้ต้อง BEC-EPCO ได้รับผลดีแน่จากการเลือกตั้ง ส่วนหุ้นบิ๊กแคปก็น่าสนใจหากราคารูดลงรับเข้าพอร์ตได้ ให้กรอบดัชนีแกว่งตัวในช่วง 780-820 จุด

           ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ SET INDEX ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(วันที่ 6-10 สิงหาคม 2550) ระดับต่ำสุดอยู่ที่ 789.93 จุด และระดับสูงสุดอยู่ที่ 842.51 จุด ส่วนศุกร์ที่ผ่านมาปิดตลาดที่ระดับ 804.84 จุด ลดลง 6.99 จุด มีมูลค่าการซื้อขายรวม 19,574.55 ลบ. และสำหรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนในรอบเดือนส.ค.ที่ผ่านมาปรากฎว่าสถาบันซื้อสุทธิ 2,874.38 ล้านบาท ต่างประเทศขายสุทธิ 19,018.94 ล้านบาท รายย่อยซื้อสุทธิ 16,144.56 ล้านบาท ส่วนพอร์ตการลงทุนของปี 2550 ปรากฎว่าสถาบันขายสุทธิ 24,946.54 ล้านบาท ต่างประเทศยังซื้อสุทธิ 107,715.36 ล้านบาท และรายย่อยขายสุทธิ 82,768.81 ล้านบาท
         นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยสัปดาห์หน้ายังมีแนวโน้มผันผวน โดยคาดว่าเคลื่อนไหวกรอบแนวรับ 780 จุด และแนวต้าน 815 - 820 จุด โดยปัจจัยต่างประเทศยังเป็นประเด็นหลักกดดันการลงทุน โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ตลาดจำนองสำหรับผู้กู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำของสหรัฐฯ หรือ ซับไพร์ม ที่เริ่มส่งผลกระทบในวงกว้างไปสู่ภาคเศรษฐกิจของประเทศอื่น และอาจสะท้อนให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
        ทั้งนี้ ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ช่วงปลายสัปดาห์อาจมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเฉพาะหุ้นที่ได้รับอานิสงส์จากการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ โดยหุ้นเกี่ยวข้องกับสื่อและสิ่งพิมพ์น่าจะได้ประโยชน์ โดยเฉพาะ BEC และ EPCO โดยประเมินสัญญาณเทคนิค BECและ EPCO ยังมีโอกาสปรับขึ้น ซึ่ง BEC มีแนวรับอยู่ที่ 23 บาท และแนวต้าน 25 บาท ส่วน EPCO มีแนวรับอยู่ที่ 0.72 บาท และแนวต้านอยู่ที่ 0.80-0.85 บาท    
    อย่างไรก็ดี นักลงทุนสามารถเก็งกำไร BEC และ EPCO ได้ ขณะเดียวกันหากหุ้นขนาดใหญ่ปรับลดลงมาแรง แนะนำให้เข้าไปเก็บได้ โดยเฉพาะ BANPU ที่พื้นฐานเติบโตและปันผลสม่ำเสมอ
        นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในสัปดาห์หน้ามีโอกาสรีบาวน์ขึ้นมายืนในแดนบวก หลังจากที่ปลายสัปดาห์นี้ดัชนีฯปรับลงแรง โดยปัจจัยกระตุ้นการลงทุนน่าจะมาจากประเด็นการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 เนื่องจากจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ชี้นำจิตวิทยาการลงทุนเพราะจะมีผลถึงความมั่นคงทางการเมืองรวมถึงทิศทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้คาดว่าเสียงส่วนมากของประเทศจะมีมติรับร่างรัธรรมนูญเนื่องจากต้องการให้กระบวนการเลือกตั้งดำเนินต่อไปได้
         อย่างไรก็ตามคาดว่าดัชนีฯ อาจปรับขึ้นได้ไม่แรงนักเนื่องจากมองว่านักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ซับไพร์มของสหรัฐว่าอาจส่งผลกระทบไปทั่วโลกและลุกลามสู่ภาคเศรษฐกิจของประเทศอื่น ดังนั้นอาจต้องติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นต่างประเทศในสัปดาห์หน้าเนื่องจากอาจส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน
        กลยุทธ์การลงทุน แนะนำซื้อหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ที่ราคาปรับลงไปค่อนข้างมากเนื่องจากมองว่าจะสัปดาห์หน้าราคาหุ้นจะสามารถปรับตัวขึ้นมาได้เช่น PTT -RRC -ATC- KBANK รวมถึงซื้อเก็งกำไรหุ้นที่ได้รับอานิสงส์จากการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ เช่นหุ้นในกลุ่มสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะหุ้น BEC เนื่องจากจะมีรายได้เข้ามาจากกิจกรรมโฆษณาประชาสัมพันธ์การลงประชามติฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเลือกตั้งสามารถจัดขึ้นภายในสิ้นปีนี้ตามคาด เชื่อว่าพรรคการเมืองต่างๆจะมีการเผยแพร่นโยบายพรรคผ่านสื่อทีวีมากขึ้น เห็นได้จากที่ปัจจุบันเริ่มมีมาบ้างแล้ว ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบที่ผลักดันให้รายได้โฆษณาของ BEC ในครึ่งปีหลังเติบโตขึ้นอีก โดย BEC มีราคาเหมาะสมที่ 27.77 บาท มีแนวรับที่ 23.50 บาท แนวต้านที่ 24.30 บาท
http://www.efinancethai.com/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/08/07

โพสต์ที่ 180

โพสต์

'ซับไพร์ม'ขย่มหุ้นไทย เจ.พี.มอร์แกนลดเป้าหมายเหลือ810จุด

10 สิงหาคม พ.ศ. 2550 16:30:00

เจ.พี.มอร์แกนปรับลดเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยจาก 870 จุด เหลือ 810 จุด หลังตลาดหุ้นผันผวนจากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐ พร้อมค้านแนวคิดการจัดเก็บภาษีกำไรตลาดหุ้นในส่วนเงินทุนไหลออก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายวรภัค ธันยาวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธนาคารเจพีมอร์แกน และ บล.เจพีมอร์แกน กล่าวในงานสัมมนา หัวข้อ ทุนนอกทะลัก...ไทยรับมืออย่างไร ว่าเจพีมอร์แกนได้ปรับเป้าหมายการคาดการณ์ดัชนีหุ้นไทยในปี 2550 ใหม่ จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 870 จุด เหลือ 810 จุด สาเหตุความผันผวนของตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ โดยเป็นผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ หรือซับไพร์ม ในสหรัฐ ซึ่งมีผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อนักลงทุนอย่างรุนแรง เพราะนักลงทุนไม่มั่นใจว่า ผลกระทบจะขยายวงกว้างไปสู่ตราสารทุน หรืออื่น ๆ หรือไม่ เพราะแม้ว่านายเบน เบอร์นานกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะออกมาระบุว่า ซับไพรม์ มีวงเงิน 50,000 - 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังไม่สามารถระบุมูลค่าความเสียหายที่แน่นอนได้ แต่หลายประเทศได้หาทางป้องกันปัญหา เพราะหวั่นเกรงจะกระทบลุกลาม โดยสหภาพยุโรป หรือ อียู ได้อัดฉีดสภาพคล่องในระบบถึง 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในส่วนประเทศไทยคงต้องรอประเมินว่าปัญหานี้จะกระทบอย่างไร

ส่วนตัวแล้วคาดว่าเป็นปัญหาระยะสั้นเพียง 1 เดือนเท่านั้น เพราะสินเชื่อซับไพรม์ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 15 ของสินเชื่อรวมทั้งหมด ส่วนผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยจากความวิตก จึงมีแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ โดยรอบนี้ ต่างชาติเทขายไปแล้ว 20,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มุมมองของต่างชาติต่อตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีอัตราการจ่ายเงินปันผลของ บจ.ขยายตัวร้อยละ 4 หากเทียบกับทั่วโลกที่ร้อยละ 2 และราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ หรือพี/อี ของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ นายวรภัคกล่าว

นายวรภัค กล่าวว่าเรื่องของการไหลเข้าออกของเงินทุนทั่วโลก เป็นเรื่องที่นักลงทุนตลาดหุ้นกังวล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรเตรียมมาตรการรับมือกระแสไหลเข้าออก แต่ไม่เห็นด้วย หาก ธปท.จะเก็บภาษีเงินทุนไหลออก เพราะจะกระทบต่อเม็ดเงินลงทุน ในขณะเดียวกันยอมรับว่า การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ได้กระทบต่อความมั่นใจนักลงทุนต่างชาติ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/1 ... wsid=88821