แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
masterlek
Verified User
โพสต์: 36
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 31

โพสต์

เปลี่ยนในที่นี้หมายความว่า
ปรับเพิ่มการถือเงินในสกุลอื่นในครับ
เงินดอ.ล่า กี่เปอร์ แน่นอนลดลง
ถือเพิ่มเงินเยน
ถือเพิ่มเงินหยวน
ถือเพิ่มยูโร
ให้มันมีนัยยะว่า ม่ายช่ายเงินเองลดปั้บเงินฉันตัองแข็ง เพราะเงินเอ็งม่ายช่าย ยาไวอะก้าของเองนะ :lol:  :lol:
เพิ่มของพี่น้องเพื่อนบ้านที่ตอนนี้กำลังเริ่มรุกเข้ามาตีเราทางด้านแรงงาน
แล้วเราจะเติบโต เป็นไม้ใหญ่ให้พึ่งพิง
Capo
Verified User
โพสต์: 1067
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ผมว่ายังไงเราก็อยากจะค้าขายเก่ง ๆ

คือค้าขายให้ได้กำไร ใช้ไปให้น้อยกว่าที่หามาได้ คือมีเงินเหลือเก็บ

ถ้าอยากเป็นแบบนั้นมันก็จะหลีกเลี่ยงการแข็งตัวของค่าเงินได้ยาก (หรือเปล่าครับ อิ ๆ ผมรู้น้อย แต่ความเห็นเยอะ)
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ

มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 33

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ทำไมถึงต้องกลัวว่าการส่งออกจะมีปัญหาใหญ่ด้วยละครับ  ถ้ายอดส่งออกลดลง  ค่าเงินบาทก็อ่อนลงมาเองแหละครับ 
ช่วง  เปลี่ยนผ่าน  นี่แหล่ะครับ  ที่จะมีบางกลุ่ม ที่ทนไม่ไหวกับสิ่งเหล่านี้  ส่วนมากก็คนจนๆแหล่ะครับ

อ่า.....

วันก่อนดู คนงานของไทยศิลป์ให้สัมภาษณ์  
บอกว่าทำงานมานานมากๆ  ก็ได้ค่าแรง    แล้วก็มีโบนัส ปีละ 2000 กว่าบาท

นักข่าว ถามว่าแค่  2000  เหรอ  คนงานบอกว่า  แค่นี้ก็มากมายสำหรับเขาแล้วอ่ะครับ  เขาเอาไว้ส่งลูกเรียน

ดูจากทีวีคนงาน น่าจะอายุระหว่าง 40-50 อ่ะครับ  เขาบอกว่าตัวเขาอายุสูงขึ้น  การหางานจะยากขึ้นมาก  เขารู้ตัวดี.....

ผมเชื่อว่าเขาเองก็ไม่อยากอยู่ตรงนั้นแหล่ะครับ
แต่ว่าเขาไม่มีโอกาส  กับระบบบ้านเรายังไม่สอนให้คนรู้จักคิด ซักเท่าไร  ชอบทำตามๆกันไป....

ถ้าคนที่มีโอกาสดี....จะทำอะไร  นึกถึงคนที่ด้อยโอกาสด้วย ....ก็เยี่ยมเลยนะครับ  หรือว่า ต้องรอสังคม...ยูโทเปีย รึป่าวหนอ  อิอิอิ

คนจนบางคนก็เล่ะเทะ จริงๆ  มีครับ พวกนั้น  กินเหล้าทั้งวัน
แต่คนจนอีกตั้งมากมายเนอะ  ที่นิสัยดีๆ  แต่โอกาสนั้นไม่มี

ถ้าผู้มีอำนาจจะทำการสิ่งใดแล้ว  คิดถึงคนที่ด้อยโอกาสเหล่านี้  ก็น่าจะดีนะครับ
อาศัยบนผืนแผ่นดินไทยด้วยกันแล้ว......
เฮ้อ.....

ตอนเด็กๆ ยังไม่เข้า ป 1.
ที่บ้าน  พ่อแม่ ต้องเช่าบ้านอยู่  ผมยังจำได้ถึงสภาพเมื่อฝนตก  ผมต้องเอา ถัง กาละมัง  ไปรองน้ำฝน  ที่หยดลงในบ้าน  เพราะว่า บ้านเช่านั้น  หลังคามันรั่วครับ

ความจนถ้าไม่เจอ ไม่รู้หรอกครับ

การากระจายรายได้ของบ้านเรามันต่ำมากนะครับ  เศรษฐกิจตกทีไร  ผมว่าคนที่เดือดร้อนที่สุดก็ยังเป็นคนจนครับ  เพราะว่า เขาไม่มีสำรอง ไม่เหมือนคนชั้นกลางอย่างเราที่ว่าโดนผลกระทบ  แต่ยังมีสำรองอยู่บ้าง รอโอกาสใหม่ได้

อย่างอาชีพแม่บ้านตามบรืษัทของบ้านเรา  ทำงานมานาน  ยังไงๆ ก็ไม่เกิน 5000 ต่อ เดือน
คนที่นั่งทำงาน บัญชี หรือว่า วิศวกร  ที่ระดับ ยังไม่ต้องเป็นกรรมการ บริษัท หรอกครับ  ที่อยู่ในตึกเดียวกัน...เงินเดือนเป็น หลายสิบเท่าของเขา

ต่างจากแถวสแกนดิเนเวียเลยนะครับ  ที่ไม่มีทางที่จะต่างกันขนาดนี้....

เฮ้อ......ต่างกันที่โอกาสมังครับ

ตอนที่ผมเรียน  ม.ปลาย  ที่วัดเบญจฯ   ครูคนนึงดีมากๆครับ  เขาหาข้าวเที่ยงให้เด็กกลุ่มนึงกินฟรี    บอกว่าหาข้าวให้เด็กได้กินข้าวเที่ยงอิ่มท้องกันก่อน    ไม่งั้นเด็กมันจะเรียนดีได้ยังไง   ในเมื่อท้องมันร้อง.....

พวกเรียนดีแต่ยากจน  นั่น มันมีแต่ว่า........มีกี่คน....แค่หาข้าวกินก็ลำบากแล้ว.......

ผมเข้าใจเลยหล่ะครับ ว่า ทำไม  ชาวบ้านที่ดีๆหลายคนถึงชอบรูปแบบประชานิยม  เพราะว่าในภาวะ ปกติ  เราเองก็มีการกระจายรายได้ ที่แย่มากๆ อยู่แล้ว ครับ

แค่ความคิดเห็นนะครับ......

พูดไปก็ทำอะไรไม่ได้......
เฮ้อ....
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 34

โพสต์

เรื่องพิมพ์แบ็งเพิ่ม  ทำไมคิดแค่พิมพ์แบ็งไทยหล่ะครับ

อิอิอิ

กล้าๆหน่อย สิคัรบ .......
เหมือนอย่างเกาหลีเหนือ ที่ว่าเป็นแหล่งพิมพ์แบ็ง ดอลล่าปลอม.....
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
sunrise
Verified User
โพสต์: 2266
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 35

โพสต์

นั่งคิดๆดู เงินบาทแข็งนี่ดีจะตาย

เดี๋ยวประเทศเรากำลังจะลงทุนเยอะ
พวกmega project บาทแข็งจะได้มีต้นทุนจากต่างประเทศถูกลง

ประเทศจะได้พัฒนามากขึ้น
พวกรถไฟฟ้า ทำระบบชลประทานป้องกันน้ำท่วม
นี่ช่วยประเทศมากมายมหาศาล
อย่าดูแต่ว่ามันไม่คุ้มค่าระยะสั้น เราต้องดูระยะยาว

ตอนนี้นี้จริงๆชอบนะ ถ้าซื้อของอะไรๆก็ถูกลงด้วย
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
Little Boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1318
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 36

โพสต์

เอาสัก 1 บาท = 25 ดอลลาห์ ดีมั้ย เผื่อต่อไปเราอาจจะไปจ้างแรงงานสหรัฐถูกๆ เจ้าสัวไทยทุ่มทุนซื้อไมโครซอฟท์ ไทยให้เงินสนับสนุนเมกาพัฒนาอาวุธ

ปล.เมื่อคืนนอนดึก สงสัยฝันค้าง
ความรู้..อาจมีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการ..ไร้ขีดจำกัด
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 37

โพสต์

บ้านเราคนรวยเยอะครับ เงินบาทก็เยอะ ผมว่าให้รัฐกู้เงินบาทจากคนของเรานี่แหละ แล้วเอาไปซื้อสินค้าจำเป็น หรือลงทุนนำเข้าอะไรก็ตามเพื่อพัฒนาประเทศ น่าจะ work สุด

ส่วนเรื่องพิมพ์เงินเพิ่ม มันเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะจะทำให้เงินเฟ้อในประเทศสูง เงิน 100 บาทก็จะมีค่าไม่ต่างอะไรกับแบ๊งค์ 20 ในปัจจุบัน แถมที่สำคัญ เกิดความเชื่อมั่นในเงินบาทเสียไป ต่างชาติไม่รับแลกเงินบาท จะเกิดอะไรขึ้นครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Value_chain
Verified User
โพสต์: 92
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 38

โพสต์

[quote="fantasia"]การแทรกแซงค่าเงินบาทโดยการซื้อ usd จะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินบาทในระบบ
หรือพูดตามภาษาของเจ้าของกระทู้ก็คือการพิมพ์เงินเพิ่มนั้นเอง

ซึ่งการที่เรามีเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการที่จะทำให้เราซื้อของเพิ่มขึ้นได้เลย
(อันนี้คิดว่า จขกท. เข้าใจผิดครับ) เพราะของที่ผลิตในประเทศไทยก็ยังมีเท่าเดิม
(ไม่พูดถึงของจากเมืองนอกซึ่งต้องใช้เงิน usd ในการซื้อ ซึ่งก็เท่ากับว่าต้องเอาบาทที่พิมพ์เพิ่มมาไปกลับแลก usd ทำให้เงินบาทแข็งอยู่ดี)

สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มปริมาณเงินบาทในระบบเศรษฐกิจก็คือเงินเฝ้อต่างหากครับ
สืบเนื่องจากที่ผลผลิตในประเทศยังมีปริมาณเท่าเดิม แต่ปริมาณเงินในระบบมีมากขึ้น นั่นต้องทำให้สินค้าแพงขึ้นแน่นอน

ซึ่งการที่จะทำให้ไม่เกิดภาวะเงินเฝ้อนั้น แบงค์ชาติจะต้องออกพันธบัตรมาเพื่อดูดซับเงินบาทในระบบเศรษฐกิจไม่ให้มีมากเกินไป
นั่นหมายถึงภาระดอกเบี้ยของชาติ หรือภาษีของทุก ๆ คนนั้นเอง

ที่เขียนมานี้ก็จำ ๆ มาจากที่เรียนมา บวกกับอ่านบทความตามหนังสือพิมพ์ครับ
หลายคนอาจไม่เห็นด้วย เรื่องเศรษฐกิจนี่เถียงกันยังไงก็ไม่จบ
ขนาดนักเศรษฐศาสตร์ระดับ ดร. ด้วยกันเองยังเถียงกันเองได้ แล้วภาษาอะไรจะไปอธิบายให้คนไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์เชื่อได้
(คิดอย่างนี้ได้แล้วจะมาอธิบายอีกทำไมเนี่ย
แล้วมันก็จะผ่านพ้นไป... เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 39

โพสต์

เห็นด้วยครับ สิ่งที่ต้องรีบแก้ไขไม่ใช่ค่าเงินที่แข็งขึ้น แต่เป็นความผันผวนในระยะสั้น
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 40

โพสต์

สงสัยอีกอย่างครับ อยากให้ผู้รู้มาตอบให้เคลียร์ๆไปเลย

ทำไมไม่ขาย ดอล์ล่าสหรัฐ จากทุนสำรองแล้วมาลงทุนใน mega project เช่น ทางรถไฟคู่ขนานทั่วประเทศ
ภาพประจำตัวสมาชิก
thipong
Verified User
โพสต์: 178
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 41

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:ไม่ต้องไปทำอะไรเลยดีที่สุด
เห็นด้วยกับคุณสุมาอี้ครับ  ผู้ที่มีวิวัฒนาการจึงจะอยู่รอด   :lol:  :cheers:
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 42

โพสต์

[quote="ba_2l"]บาทแข็งๆแบบนี้ชาวไร่ชาวนาจะปรับตัวยังไงดีครับ
KB
Verified User
โพสต์: 1558
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ถ้าบาทแข็งพอๆ กับเพื่อนบ้านเราก็พอจะสู้จะปรับตัวได้ แต่ค่าเงินเราแข็งเพิ่มขึ้นกว่าประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว มันไม่ได้เป็นไปตามปกติ ธุรกิจที่ผลิตส่งออกผมเชื่อว่าเค้าก็มีการปรับตัวอยู่เรื่อยๆ ครับ ประเด็นคือค่าเงินตอนนี้มันแข็งเกินจริง ต้องทำอะไรสักอย่าง ถ้าปล่อยไปตามเวรตามกรรมละก็ หลายบริษัทต้องปิดตัว กระทบเป็นลูกโซ่แน่นอน

ส่วนประเด็นเงินเฟ้อ ผมคิดว่าเงินไม่เฟ้อเกินไปนะ เพราะเราพิมพ์เงินไปขายพวกเก็งกำไร ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราไล่มันไปได้ ก่อนไปมันก็ต้องเอาเงินมาขายคืนเรา ธปท.ก็ดูดเงินออกจากระบบ ผมคิดว่าเรื่องเงินเฟ้อ ธปท. สามารถควบคุมได้ เพราะไมได้พิมพ์เงินมาใช้จ่าย พูดง่ายๆ คือ เงินไปไม่ถึงประชาชนทั่วไป

และผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งเรื่องใช้เงินสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จำเป็น ซื้อตอนบาทแข็งเราได้เปรียบ แต่ผมคิดว่าคงหวังยาก กว่าจะได้ซื้อบาทคงอ่อนไปแล้ว
Unexpected
Verified User
โพสต์: 222
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ค่าเงินมันก็ต้องกลับมาสู่สมดุลของมันเองในที่สุดนั่นแหละครับ อาจมีผันผวนบ้าง แต่ท้ายที่สุดแล้วค่าเงินบาทก็ต้องวิ่งเข้าหา value ที่แท้จริงของประเทศเราเอา

ผมเห็นด้วยที่ต้องทำอะไรซักอย่าง แต่ต้องเป็นการปรับปรุงพื้นฐานของประเทศเราต่างหาก ค่าเงินแข็งแบบนี้เหมาะกับการนำเข้าเทคโนโลยี ทำไมถึงไม่ใช้โอกาสนี้จ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเพื่อมาพัฒนาบ้านเมืองเราละครับ? ทำไมถึงไม่เน้นพัฒนาการศึกษา ค่าเงินแข็ง ก็นำเข้าอุปกรณ์ที่ยังขาดแคลนอยู่อีกเยอะเพื่อพัฒนาโรงเรียน มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่บ้านเรายังเป็นรองประเทศอื่นอยู่มาก

ผู้ส่งออกก็ต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้มีจุดเด่นมากกว่าที่อื่น อาศัยช่วงนี้นำเข้าเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี

สิ่งที่เราต้องทำ ก็คือปรับปรุงพื้นฐานของเราครับ พิมแบงค์มากี่ล้านๆๆๆก็ไม่มีประโยช ถ้า value ที่แท้จริงของเรายังไม่ได้เปลี่ยนอะไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 45

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ทำไมไม่ขาย ดอล์ล่าสหรัฐ จากทุนสำรองแล้วมาลงทุนใน mega project เช่น ทางรถไฟคู่ขนานทั่วประเทศ
ทุนสำรองที่ว่านั้น  ทั้งหมดนั้น มันไม่ใช่เงินเราทั้งหมดนะครับ  

ผมว่ามันน่าจะเรียกว่า ทุนสำรองเพื่อรอการแลกเปลี่ยน  มากกว่า  จะได้รึป่าว ไม่แน่ใจครับ

เรามักเข้าใจว่า ทุนสำรอง คือ เงินสำรองสำหรับพวกเรา  ตามที่เรมักเข้าใจ......จริงๆ แล้วมันไม่ใช่อ่ะครับ

มันเป็นเงินที่เก็บใว้ในที่ๆนึง  เพื่อรอการแลกเปลี่ยน เท่านั้นเอง  แต่ไม่ใช่เงินเราทั้งหมด
งง ป่าวเนี่ย

เกิดเราเอาไปใช้แล้ว

พอเฮดฟันมันรุ้ว่าเรามีเงินสำรองน้อย

คราวนี้มัน....โจมตีอีกทาง  ด้วยการเอาเงินออก  เนื่องจากเราเปิดเสรีการเงินให้สามารถเข้าออกได้ง่าย

พอเขาจะแลก  เอาเงินออกไป   ก็คือ  เอา บาท มาซื้อดอลล่า  โดยการผ่านหน้าต่างอันนึ่ง   ก็คือ หน้าต่างของแบ็งชาติ  
คราวนี้  ถ้าหน้าต่างนี้  แบ็งชาติ  มีดอลล่า ไม่มากพอ   เราก็ต้องไปเอามาจากไหน  กู้........
ปี 40 เป้นไง  ก็แบบนั้นแหล่ะครับ

หนาว....ครับ

พวกเฮดฟัน มันไม่ชอบอะไรที่เรียบๆ มัง ครับ
ถ้าโจมตีที  ก็สวิงกันสุดขั้วแหล่ะครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 46

โพสต์

เงินทุนสำรอง  ไม่ใช่  เงินของรัฐบาล  

รัฐบาลเองก็มีงบกำไรขาดทุน  งบดุล  และงบกระแสเงินสดของรัฐบาลเองครับ

เงินทุนสำรองมีไว้ให้คนที่ต้องการแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลล่าร์  ซึ่งอาจจะเป็นกองทุนระยะสั้น  นักลงทุนระยะยาวต่างชาติ  นักธุรกิจคนไทยที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ

ถ้าเรามีเงินทุนสำรองไม่เพียงพอ  อะไรจะเกิดขึ้น  ก็ย้อนกลับไปดูช่วงหลังลอยตัวค่าเงินบาทครับ  

ช่วงนี้คนบ่นกันจังว่าวิกฤต  แต่ลองจินตนาการถึงช่วงที่ธปท.ถูกบังคับให้เปิดเผยตัวเลขทุนสำรองสุทธิ  แล้วปรากฎว่าไม่มีเหลือซิครับ

ถ้าคุณเป็นต่างชาติที่ลงทุนในไทย  จะกลัวไหมว่าธปท.จะไม่มีเงินดอลล่าร์ให้แลก  เงินบาทไทยเกือบเป็นเศษกระดาษไปแล้วนะครับ  ลองคิดดูว่าน่ากลัวขนาดไหน

เงินบาทที่บ่นกันว่าแข็งอย่างมากมายและรวดเร็ว  ช่างเทียบไม่ได้เลยกับค่าเงินบาทที่อ่อนลงจาก 25 บาท ไป 56 บาท  ในระยะเวลาไม่กี่เดือน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
KB
Verified User
โพสต์: 1558
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 47

โพสต์

งั้นจริงๆ แล้วประเทศเรามีทุนสำรองเยอะ แต่ไม่ได้มีเงินที่จะเอาไปใช้จ่ายได้จริงๆ เยอะ เพราะทุนสำรองเอามาจากหลายส่วน ส่วนหนึ่งคือธนบัตรรัฐบาลใช่รึเปล่า อันนี้รัฐเป็นหนี้ประชาชน วันนึงก็ต้องใช้คืน ตอนนี้ขาดทุนทางบัญชีเยอะมาก เวลาใช้คืนต้องใช้คืนเป็นเงินบาทนะ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 48

โพสต์

เงินทุนสำรองนั้น  จริงๆแล้ว  ธปท.ก็สามารถนำไปบริหารลงทุนได้ครับ  เพียงแต่ว่าถ้ามีคนมาแลกเงินบาทเป็นเงินดอลล่าร์ก็ต้องมีให้แลกครับ

ซึ่งจะมีคนนำเงินบาทมาแลกเป็นดอลล่าร์  หรือต่างชาตินำเงินดอลล่าร์มาแลกเป็นเงินบาท  ปัจจัยหลักก็คงมาจากความมั่นใจครับ  

เหมือนธนาคารพาณิชย์  ที่รับเงินฝากระยะสั้น  แต่ไปปล่อยกู้ระยะยาว

ถ้าขาดความมั่นใจ  ผู้ฝากเงินส่วนใหญ่เบิกเงินสดพร้อมกัน  ธนาคารจะหาเงินที่ไหนมาคืนละครับ  ธนาคารพาณิชย์ก็ต้องพึงธปท.  ธปท.เลยต้องพึง IMF
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
tanate
Verified User
โพสต์: 307
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 49

โพสต์

เอ้ ผมเคยทราบว่า เศรษกิจประเทศไหนควบคุมได้ดี ค่าเงินประเทศนั้นจะแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ทราบว่าถูกหรือผิด

แต่ผมว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากๆ น่าจะเป็นโอกาศดีที่รัฐบาทประเทศไทยจะทำอะไรได้มากมาย ในช่วงนี้
เช่นชำระเงินกู้ต่างประเทศ
ซื้อเครื่องจักร จำพวกรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เครื่องบิน ขีปนาวุธ
ซื้อน้ำมันกักตุนสำรองให้มากๆ
อะไรอีกก็ได้ ที่ใช้เงินบาทซื้อๆ เข้าไป แล้วจ่ายงานลงไประดับล่าง
ก็จะเกิดการหมุนเวียนที่แท้จริง
ดังนั้นบาทแข็งจึงดี ถ้าmanage เป็นครับ

เป้าหมาย 25 บาท/u$
หุ้นขึ้นสักแต่รู้ว่าหุ้นขึ้น หุ้นตกสักแต่รู้ว่าหุ้นตก
harn
Verified User
โพสต์: 237
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 50

โพสต์

วันก่อน ได้ฟังคุณณรงคชัย โชควัฒนา เล่าในงานสัมนาว่า ประเทศในเอเซีย อย่างจีน เวียตนาม เค้าตั้งท่าสู้นักเก็งกำไรค่าเงิน พิมพ์เงินเพิ่มแบบไม่กลัวเงินเฟ้อ จีนถึงกับเอาเงินดอลล่าร์กลับไปลงทุนในอเมริกาด้วยซ้ำ
แบบนี้ทำเหมือนบลัฟกลับ ทำให้นักเก็งกำไรต้องหยุด ค่าเงินเลยแข็งขึ้นไม่มาก เป็นไปตามหลักอุปสงค์-อุปทาน
ส่วนไทย(แบงค์ชาติ)เป็นนักทฤษฎี ประกาศนโยบายจะแทรกแซงให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ(ค่าเงินขึ้นช้าๆ) คุณณรงคฯยืนยันว่าเราต้องพิมพ์แบงค์เข้าไปแทรกแซงแล้วเป็นล้านๆบาท จึงขาดทุนค่าเงินไปแสนเจ็ดหมื่นล้าน
นักเก็งกำไรจึงเอาเงินมาทุ่มตลาดหุ้นไทยให้หุ้นขึ้นเร็วๆ ค่าเงินแข็งขึ้นช้าๆ แต่แข็งกว่าคนอื่นในภูมิภาค เพราะเป็นผู้มีความรู้สูง
สรุปว่า นักเก็งกำไร เห็นคนอื่นเป็นหมูไม่กลัวน้ำร้อน ถ้าจะกินยาก เลยหันมากินไทยก่อน เหมือนกรณีต้มยำกุ้ง ดีซีส ครับ
KB
Verified User
โพสต์: 1558
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 51

โพสต์

tanate เขียน:เอ้ ผมเคยทราบว่า เศรษกิจประเทศไหนควบคุมได้ดี ค่าเงินประเทศนั้นจะแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ทราบว่าถูกหรือผิด

แต่ผมว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากๆ น่าจะเป็นโอกาศดีที่รัฐบาทประเทศไทยจะทำอะไรได้มากมาย ในช่วงนี้
เช่นชำระเงินกู้ต่างประเทศ
ซื้อเครื่องจักร จำพวกรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เครื่องบิน ขีปนาวุธ
ซื้อน้ำมันกักตุนสำรองให้มากๆ
อะไรอีกก็ได้ ที่ใช้เงินบาทซื้อๆ เข้าไป แล้วจ่ายงานลงไประดับล่าง
ก็จะเกิดการหมุนเวียนที่แท้จริง
ดังนั้นบาทแข็งจึงดี ถ้าmanage เป็นครับ

เป้าหมาย 25 บาท/u$
ผมว่าชำระเงินกู้ต่างประเทศคงยากครับ เพราะว่า ดอกเบี้ยต่างประเทศมันถูกกว่าในบ้านเรา ต่างประเทศแค่ 5เปอร์เซ็นเองครับ แต่บ้านเรา 7-8 เปอร์เซ็น

ซื้อน้ำมันตุนไว้ ถ้าน้ำมันราคาลงมากๆ เราก็กลายเป็นใช้ของแพงอีก นี่ก็เสี่ยงเกินไป พวก community ราคาขึ้นมาเยอะมาจากก่อนหน้านี้ไม่กี่ปี

ถ้ารัฐ manage เป็นเงินบาทคงไม่แข็งขนาดนี้หรอกครับ มันแข็งขึ้นจากการเกร็งกำไร ไม่มีประเทศไหนเค้าปล่อยให้เงินแข็งขึ้นขนาดนี้ เพราะมันกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศมาก
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 52

โพสต์

จะตอบคำถามว่า ธปท ควรจะแทรกแซงหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับสมมุติฐานของแต่ละคน บางคนเชื่อว่าบาทแข็งเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ บางคนเชื่อว่าถูกนักเก็งกำไรโจมตีค่าเงิน

ถ้าสมมุติฐานเริ่มต้นไม่ตรงกัน เถียงกันไปก็เท่านั้น
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 53

โพสต์

สุมาอี้ เขียน: ถ้าบริษัทส่งออกบริษัทไหนจะขาดทุนทันทีเมื่อเงินบาทแข็งกว่าเพื่อนบ้านแค่สองเปอร์เซนต์ แสดงว่า ธุรกิจของบริษัทนั้นลำพังโดยตัวของมันเองแล้วเป็นอย่างไร ลองไปคิดดูเอาเอง
ขอแย้งนิดนึง มันเป็นลักษณะของอุตสาหกรรมมากกว่า การบริหารบริษัท นะครับน้องโจ๊ก
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
KB
Verified User
โพสต์: 1558
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 54

โพสต์

adi เขียน:
คิดว่าบริษัทเหล่านี้คงเจ้งไปหมดแล้วละครับ เพราะตอนนี้เงินบาทแข็งเร็วกว่าเพื่อนบ้านเป็นสิบเปอร์เซ็น
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4549
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ขอบคุณ เจ้าของกระทู้ .

สนุกดีคับ ได้ความรู้เยอะดีคับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
ภาพประจำตัวสมาชิก
metro
Verified User
โพสต์: 861
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ค่าเงินแข็งเพราะเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเพราะผลตอบแทนเราดีกว่า ถ้าผลตอบแทนเราเท่าเค้า เงินที่จะไหลเข้าตลาดหุ้นก็จะน้อยลง

ดังนั้น รัฐบาลควรเอาเงินที่จะไปแทรกแซงค่าเงินบาทซึ่งเป็นการป้องกันที่ปลายเหตุ ก็เอาเงินมาซื้อหุ้นของประเทศไทยให้ขึ้น PE จะได้สูงขึ้น เงินไหลเข้าก็จะน้อยลง เงินก็จะไม่แข็ง

ส่วนที่รัฐบาลได้ก็ คือ ..
- มูลค่าหุ้นในพอร์ตของกระทรวงการคลังก็จะมากขึ้น
- เงินปันผลก็ถือว่าชดเชยไปกับเงินเฟ้อ
- เงินก็ไม่แข็ง เผลอๆจะอ่อนลงด้วยซ้ำ
- เศรษกิจก็จะดีเพราะคนรวยหุ้น การใช้จ่ายภาคประชาชนก็จะดีขึ้นตาม เศรษฐกิจก็จะโด จากการบริโภคภายในประเทศ

เริ่มจากการให้ กบข ซื้อหุ้นก่อน แล้วรัฐบาลค่อยลากขึ้นไป ข้าราชการก็มีเงินใช้มากขึ้นตอนเกษียณมีแต่ได้ทั้งนั้น
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 57

โพสต์

metro เขียน:ค่าเงินแข็งเพราะเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเพราะผลตอบแทนเราดีกว่า ถ้าผลตอบแทนเราเท่าเค้า เงินที่จะไหลเข้าตลาดหุ้นก็จะน้อยลง

ดังนั้น รัฐบาลควรเอาเงินที่จะไปแทรกแซงค่าเงินบาทซึ่งเป็นการป้องกันที่ปลายเหตุ ก็เอาเงินมาซื้อหุ้นของประเทศไทยให้ขึ้น PE จะได้สูงขึ้น เงินไหลเข้าก็จะน้อยลง เงินก็จะไม่แข็ง

ส่วนที่รัฐบาลได้ก็ คือ ..
- มูลค่าหุ้นในพอร์ตของกระทรวงการคลังก็จะมากขึ้น
- เงินปันผลก็ถือว่าชดเชยไปกับเงินเฟ้อ
- เงินก็ไม่แข็ง เผลอๆจะอ่อนลงด้วยซ้ำ
- เศรษกิจก็จะดีเพราะคนรวยหุ้น การใช้จ่ายภาคประชาชนก็จะดีขึ้นตาม เศรษฐกิจก็จะโด จากการบริโภคภายในประเทศ

เริ่มจากการให้ กบข ซื้อหุ้นก่อน แล้วรัฐบาลค่อยลากขึ้นไป ข้าราชการก็มีเงินใช้มากขึ้นตอนเกษียณมีแต่ได้ทั้งนั้น
กลัวจะเข้าทางฝรั่งอ่ะ หุ้นไม่ยอมลงเพราะฝรั่งยังไม่ขาย ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะยังไม่มีคนเข้ามาซื้อซะที

คราวนี้รัฐบาลติดดอย เจ๊งหุ้นบักโกรก ทุนสำรองหายเกลี้ยงสิแย่เลย กลับไปเหมือนปี 40 แต่ประเทศเจ๊งแทนที่จะเป็นเอกชน
ภาพประจำตัวสมาชิก
metro
Verified User
โพสต์: 861
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 58

โพสต์

mprandy เขียน: กลัวจะเข้าทางฝรั่งอ่ะ หุ้นไม่ยอมลงเพราะฝรั่งยังไม่ขาย ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะยังไม่มีคนเข้ามาซื้อซะที

คราวนี้รัฐบาลติดดอย เจ๊งหุ้นบักโกรก ทุนสำรองหายเกลี้ยงสิแย่เลย กลับไปเหมือนปี 40 แต่ประเทศเจ๊งแทนที่จะเป็นเอกชน
ผมว่าก็น่าจะพอเอามาเป็นตัวเลือกได้นะครับ ค่าเงินเองทาง ธปท ก็เจ๊งไป แสนกว่าล้าน ถ้าจะให้เอาเงินคลังมาซื้อหุ้นเพื่อประคอง จะเจ๊งยังไง PE ที่ถูกกว่าเพื่อนบ้านมันก้น่าจะค้ำคออยู่นะครับ ต่อให้จะเจ๊งยังไงมันก็มีปันผลมาชดเชยปีละอย่างต่ำ 3-5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แต่ถ้ามันแต่เอาเงินคลังมาประคอง ก็ไม่รู้ว่าจะเอามาประคองอีกตั้งเท่าไร เจ๊งทีละแสนกว่าล้านยังเจ็งได้ ผมว่าเอาเงินมาเจ๊งหุ้นบลุชิพยังดีกว่ามาเจ๊งค่าเงินเลย เพราะมันไม่มีผลตอบแทนอื่นๆนอกจากส่วนต่างครับ

แล้วเม็ดเงินในตลาดหุ้น ผมว่าควบคุมดูแลง่ายกว่าเงินไหลเข้าจากทั่วโลกที่จะเข้ามาอีกจำนวนมหาศาลอีก ผมว่าก็ลองชั่งน้ำหนักดูนะครับ
Mr. Boo
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1841
ผู้ติดตาม: 0

แก้บาทแข็งก็ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม ง่ายนิดเดียว ทำไมไม่ทำ

โพสต์ที่ 59

โพสต์

ธปท.เผยเสถียรภาพเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.อยู่ในเกณฑ์ดี ส่งออกเพิ่ม18.1%

31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 14:37:00

แบงก์ชาติรายงานภาวะเศรษฐกิจเดือนมิ.ย. ระบุเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี การบริโภค-ลงทุนปรับตัวดีขึ้น แม้ผลผลิต-ท่องเที่ยวลดลง ส่งออกโต 18.1%

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมิถุนายน 2550 อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน เช่นเดียวกับการส่งออกที่ยังคงขยายตัวสูง สำหรับด้านอุปทาน ผลผลิตหลักชะลอตัวจากเดือนก่อนหลังจากที่ขยายตัวสูงต่อเนื่องในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนการท่องเที่ยวชะลอลงจากความกังวลในเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบและเหตุระเบิดในภาคใต้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม

 

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนโดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 อุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง

 

ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักขยายตัวในเกณฑ์สูง แต่ราคาชะลอตัวลง ทำให้รายได้เกษตรกรชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนโดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก

 

ด้านการท่องเที่ยวชะลอลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจากปัจจัยลบต่าง ๆ อาทิ ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ พายุดีเปรสชั่น การประท้วงทางการเมืองและความไม่สงบในภาคใต้ อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งเสถียรภาพภายในและต่างประเทศ

 


ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ อาทิ หมวดผลิตภัณฑ์เหล็กและหมวดวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งหมวดเครื่องดื่มที่มีสต็อกสูง ขณะที่หมวดอาหารลดลงตามการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง สับปะรดกระป๋องและน้ำมันพืช ที่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาแพง

 

อย่างไรก็ดี หมวดที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลักยังขยายตัวได้ดี โดยหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามการส่งออก Hard Disk Driveหมวดเครื่องหนัง เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อพิเศษจากสหรัฐอเมริกา และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าตามการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตเร่งผลิตสินค้ารุ่นใหม่เพื่อวางจำหน่ายในต่างประเทศ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.3 ลดลงจากเดือนก่อนตามการทยอยปิดหีบอ้อยของอุตสาหกรรมน้ำตาลในหมวดอาหาร และการปิดซ่อมโรงงานในหมวดปิโตรเลียม หมวดปิโตรเคมี หมวดยาสูบและหมวดเหล็ก อย่างไรก็ดี อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับฤดูกาลในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ตามการผลิตที่ขยายตัวในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดเครื่องหนัง หมวดอาหาร และหมวดเครื่องดื่มที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ร้อยละ 75.2 ลดลงจากร้อยละ 76.0 ในไตรมาสก่อน จากการผลิตที่ลดลงในหมวดอาหาร หมวดเครื่องดื่ม หมวดผลิตภัณฑ์ยาง และหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ

 

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ทั้งในหมวดสินค้าคงทนและไม่คงทนหลายรายการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ เครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่เครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างยังคงชะลอตัว แม้ว่าปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อนและปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนจากเครื่องชี้หลายตัวที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยเฉพาะเครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่หมวดก่อสร้างยังคงชะลอตัว

 

ภาคการคลัง ในเดือนมิถุนายน 2550 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 121.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามภาษีจากฐานรายได้ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการจัดเก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากค่าบริการ ค่าจำหน่ายกำไร และภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน อย่างไรก็ตามภาษีจากฐานการบริโภคหดตัวตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่ลดลงเนื่องจากภาษีที่เก็บจากการนำเข้าลดลงตามการนำเข้าที่ชะลอตัวลงและจากผล ของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงเนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้นำส่งรายได้ไปแล้วในเดือนก่อน ดุลเงินสดรัฐบาลเกินดุล 87.4 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเพิ่มขึ้น 54.5 พันล้านบาท อยู่ที่ 109.2 พันล้านบาท โดยรวมไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2550 รายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 โดยรายได้ภาษีและ รายได้ที่มิใช่ภาษีขยายตัวร้อยละ 5.3 และ 4.7 ตามลำดับ รัฐบาลเกินดุลเงินสดทั้งสิ้น 44.8 พันล้านบาท

 

ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 1,099 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 12,714 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 11,616 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดวัตถุดิบและสินค้าทุน รวมทั้งหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง เมื่อรวมกับ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ที่เกินดุล 103 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการท่องเที่ยวที่เกินดุลเพิ่มขึ้น รวมทั้งในเดือนนี้ไม่ได้ตกช่วงการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,202 ล้านดอลลาร์ สรอ.และดุลการชำระเงิน เกินดุล 1,877 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ระดับ 73.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 9.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

 

สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดุลการค้า เกินดุล 1,489 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.3 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 36,182 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.4 คิดเป็นมูลค่า 34,693 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการฯ ที่ขาดดุล 166 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,322 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 2,344 ล้านดอลลาร์ สรอ.

 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เท่ากับเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานลดลงตามการปรับลดค่าไฟฟ้าและการปรับลดราคาน้ำมันเบนซิน ช่วยชดเชยราคาสินค้าในหมวดอาหารสดที่สูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เท่ากับเดือนก่อน เนื่องจากมีการปรับขึ้นราคาค่าเช่าบ้านและเครื่องประกอบอาหารใกล้เคียงกับการปรับลดราคาของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารบริโภคในบ้านนอกบ้าน และการตรวจรักษา ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เท่ากับเดือนก่อนจากราคาสินค้าเกษตรกรรมที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากราคาปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากไตรมาสแรก โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 และ 0.8 ตามลำดับ เทียบกับไตรมาสแรกที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 และ 1.4 ตามลำดับ

 

ภาวะการเงิน ในเดือนมิถุนายน 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน1/ (Depository Corporations) ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 5.7 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเพราะปัจจัยฤดูกาล ได้แก่ การลดฐานเงินฝากเพื่อลดภาระ เงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงกลางปี ส่วนสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนเร่งตัวขึ้น แต่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 1/ สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย


 

ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 3.5 และยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนมิถุนายน 2550 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย ระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับลดลงจากเดือนพฤษภาคมมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.50 และ 3.54 ต่อปี ตามลำดับ ก่อนปรับลดลงอีกในช่วง

วันที่ 1-25 กรกฎาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 3.42 และ 3.41 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.84 และ 3.88 ต่อปี ตามลำดับ ลดลงจากร้อยละ 4.69 และ 4.73 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ

 

ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนมิถุนายน 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยอุปสงค์และอุปทานของเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างสมดุล แม้ว่ายังมีเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้นำเข้าและบริษัทน้ำมันมีการซื้อดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 79.1 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 78.8ในเดือนก่อน เนื่องจากค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นพร้อม ๆ กับค่าเงินบาทจากการไหลเข้าของเงินลงทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ทั้งภูมิภาคในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.68 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากค่าเฉลี่ย 35.59 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสแรก ขณะที่ NEER แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1.5 จากค่าเฉลี่ยของไตรมาสก่อน ระหว่างวันที่ 1-25 กรกฎาคม 2550 เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 33.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากการไหลเข้า

ของเงินทุนที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับความกังวลของผู้ส่งออกทำให้มีการเร่งขายดอลลาร์ สรอ.
Rabbit VS. Turtle