ภาพรวมเศรษฐกิจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/07/07

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ธปท.ถกด่วนวิกฤติบาทแข็ง "โฆสิต" รับค่าเงินไร้เสถียรภาพ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2550 14:27 น.

 ตลาดเงินป่วนหนัก ค่าบาทแข็งไม่หยุด ธปท.นัดแบงก์พาณิชย์ถกด่วน หวังปิดช่องว่างเก็งกำไร ลดความผันผวนตลาดเงิน-ตลาดทุน "โฆสิต" รับค่าเงินไร้เสถียรสภาพ บอกนักลงทุนให้ทำใจรับความจริง โดยเช้านี้ ค่าบาทแข็งทำสถิติใหม่ที่ 33.98 บาท
     
      รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า วันนี้(9 ก.ค.) ธปท.ได้มีการเรียกประชุมธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ช่วงบ่ายวันนี้ เพื่อชี้แจงแนวปฏิบัติในการขออนุญาตปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้กับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(Non Resident:NR) ที่มีการค้าหรือการลงทุนรองรับ เพื่อปิดธุรกรรมความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงินบาทต่างประเทศ(offshore) โดยแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ธปท.มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผันผวนของเงินบาทและค่าธรรมเนียมในการป้องกันความเสี่ยง(hedging) ในตลาด offshore
     
      ทั้งนี้ กลไกของตลาดเงินช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทและพรีเมี่ยมในออฟชอร์บางช่วง ขึ้นลงเร็วโดยไม่จำเป็นในช่วงที่ต้องหาเงินไปปิด position ธนาคารพาณิชย์ ได้มีการขออนุญาตมายังแบงก์ชาติเยอะมาก ธปท.จึงคิดว่า คารเรียกมาชี้แจงพร้อมกันทีเดียว เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เข้าใจตรงกันว่า ถ้าจะขอกู้เงินต้องทำอย่างไร
     
      นอกจากนี้ ความผันผวนของค่าเงินบาทในตลาด offshore ยังทำให้เกิดความสับสนและการตีความในทางที่ผิด ดังนั้นหากมีการอนุญาตให้กู้เงินในประเทศ เพื่อชำระธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงในตลาดต่างประเทศได้ จะทำให้ค่าเงินบาทใน offshore นิ่งขึ้น
     
      นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในขณะนี้ เชื่อว่าเกิดจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยพบว่า เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ในประเทศเข้าใจ
     
      ผมยืนยันว่า จะใช้มาตรการเร่งการลงทุนในประเทศมากที่สุด โดยการปรับโครงการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณท์ ขณะเดียวกันจะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วจนเกินไป และเตรียมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000079851
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/07/07

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ทางรอดผู้ส่งออกไทยยามเงินบาทแข็งค่า
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Monday, July 09, 2007
เตือนผู้ส่งออกอย่าประมาทต้องทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ในรายการ Trading Hour ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ยังคงเป็นกลุ่มหลักเดิม ๆ คือ กลุ่มอาหาร สินค้าเกษตรแปรรูป สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยแม้จะมีความพยายามในการปรับตัวรับกับสถานการณ์ แต่เงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วก็ทำให้ไม่สามารถรับมือได้ทันท่วงที

ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบันเงินบาทได้แข็งค่าไปแล้ว 12-13% จาก 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ประมาณ 34 บาท เท่ากับว่ามูลค่าของเงินหายไป 4-5 บาท และแม้ว่าในปีนี้เงินบาทจะไม่แข็งค่ามากนักเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอย่างจีน และเวียดนามที่สามารถควบคุมค่าเงินได้ แต่ผู้ประกอบการไทยก็ยังคงกังวลว่า เงินบาทจะแข็งค่ามากกว่าเดิม เพราะมีเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยวันละ 3-4 หมื่นล้านบาท และหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับผู้ส่งออกมากขึ้นไปอีก

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคาดว่าในสัปดาห์นี้ทางผู้ส่งออกจะมีการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมกันอีกครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจเคลื่อนไหวใด ๆ เพิ่มเติม หลังจากที่ได้เข้าพบนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไปแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา และเข้าใจดีว่า ทางแบงก์ชาติได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วที่จะดูแลค่าเงินบาท ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่า มีผู้ส่งออกบางส่วนนำเงินดอลลาร์ออกมาขาย ซึ่งทำให้เงินบาทยิ่งแข็งค่ามากขึ้นไปอีก

แม้ว่าการแข็งค่าของเงินบาทจะเป็นโอกาสสำคัญในการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เข้ามาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต หรือ การที่ทำให้สามารถสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม แต่นายสันติย้ำว่า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งออกจะต้องทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งได้เน้นกันมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาปัญหาลงได้ระดับหนึ่ง และผู้ส่งออกไทยก็ไม่ควรเสี่ยงในภาวะเช่นนี้ เพราะไม่มีใครทราบได้ว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าไปถึงระดับใด

ตลาดหุ้นซื้อขายกันวันละ 3-4 หมื่นล้านบาท มีเงินจากต่างชาติเข้ามา ถ้าเข้ามาอย่างนี้อีกสัก 1 อาทิตย์ ค่าเงินบาท ก็จะยิ่งลำบาก....พยายามทำ Forward เอาไว้ อย่าไปเสี่ยงกับค่าเงินบาทที่ขึ้น ๆ ลง ๆ นายสันติกล่าว

แนะรัฐดูแลค่าเงินบาทก่อนธุรกิจรองเท้าย้ายฐานการผลิต

นายธำรง ธิติประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า และรองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ. บางกอกรับเบอร์ (BRC) กล่าวว่า อุตสาหกรรมรองเท้าได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าค่อนข้างมาก เพราะมีผลทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลง ขณะที่ผู้ผลิตรองเท้าขนาดใหญ่ในตลาดโลกรายอื่น ได้แก่ จีน เวียดนาม และ อินโดนีเซีย ได้มีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่าไทย เพราะค่าเงินมีเสถียรภาพหรือแข็งค่าขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่มีค่าเงินอ่อนค่าลง 1-2% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการค่าเงินของประเทศที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าตัดพ้อว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ผู้ประกอบการนำเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่า 14% ได้ส่งผลให้ราคาสินค้าแพงในสายตาของผู้ซื้อต่างประเทศ ทำให้ผู้ขายไม่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งหากอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยกว่า 80% ในปัจจุบันนี้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินต่อไปแล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการนำเข้าเครื่องจักรก็ไร้ประโยชน์

นายธำรงคาดการณ์ด้วยว่า ยอดส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้าในปีนี้ อาจลดลง 1-2% แม้ว่าผู้ประกอบการรองเท้าไทยจะได้รับประโยชน์จากการออกมาตรการภาษีทุ่มตลาดของสหภาพยุโรปแก่ประเทศจีนและเวียดนามก็ตาม แต่ด้วยค่าเงินบาทที่แข็งค่า ก็ทำให้ไทยไม่ได้เปรียบกว่าประเทศอื่นมากนัก ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการก็ได้ปรับตัวไปบ้างแล้ว เช่น การปรับสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบให้มากขึ้นจาก 50% เป็น 70% การนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนการออกแบบรองเท้าใหม่ ๆ เป็นต้น แต่ค่าเงินบาทก็ยังเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนไม่สามารถจัดการได้ ภาครัฐจึงควรเข้ามาดูแลให้มากขึ้นกว่านี้

นายธำรงกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยปรับตัวนอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในขณะนี้ คือ การยอมเจ็บตัว เช่น การลดราคาจำหน่าย และยอมรับในคำสั่งซื้อที่น้อยลง ซึ่งหากค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 31-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจมีผลทำให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเวียดนาม อินโดนีเซียหรือแม้กระทั่งอินเดียมากขึ้นได้

เชื่อมาตรการใหม่ของแบงก์ชาติช่วยลดส่วนต่างค่าเงินบาท Onshore และ Offshore

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ส (ไทย) กล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ นักลงทุนต่างชาติ หรือผู้ที่มีถิ่นฐานนอกราชอาณาจักร (Non Resident: NR) ทำประกันความเสี่ยง (Hedging) ในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศ (Onshore) ได้ จะทำให้ส่วนต่างของค่าเงินบาทระหว่างตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานอกประเทศ (Offshore) กับตลาด Onshore ลดลงได้ โดยจะทำให้ค่าเงินบาทในต่างประเทศที่แข็งค่ามากอ่อนค่าลงได้ ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างสองตลาด ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่กว่า 3 บาทแคบลง ทั้งยังช่วยลดความกังวลของธปท.ในการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% และทำให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น

นอกจากนี้ยังเชื่อว่า จะไม่ส่งผลกระทบกับผู้ส่งออกมากนัก เพราะมาตรการนี้ต้องการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท จึงทำให้โอกาสที่ค่าเงินบาทจะผันผวนเป็นไปได้ยากมาก และเงินบาทที่แข็งค่าในระยะนี้ก็เป็นผลมาจากการที่ไทยมีคู่ค้าที่เข้มแข็งทำให้ได้ดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้การส่งออกยังขยายตัวถึง 18% รวมทั้งยังมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินทั้งภูมิภาคแข็งค่าขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติที่มีธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่พิสูจน์ได้ว่า มีธุรกรรมการลงทุนจริงในประเทศไทย และทำสัญญาครั้งแรกก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 หรือก่อนการประกาศมาตรการกันสำรอง 30% สามารถเปลี่ยนมาทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินไทยได้ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องกันสำรอง และไม่ต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยเปิดโอกาสให้ขออนุญาตได้ในช่วงวันที่ 16 ก.ค. 17 ส.ค. 50

ทั้งนี้ สาเหตุก็เนื่องมาจากการที่ธนาคารต่างประเทศและนักลงทุนต่างประเทศ (NR) บางรายที่ลงทุนเป็นเงินบาทในประเทศไทย แต่มีการทำสัญญาการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Swap) และทำ Hedging ในตลาด Offshore ขาดสภาพคล่องเงินบาทที่นำมาใช้ในการปิดสัญญาซื้อขาย เนื่องจากผลกระทบของมาตรการกันสำรอง 30% และขอเปลี่ยนมาทำประกันความเสี่ยงในตลาด Onshore แทน

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Tra ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/07/07

โพสต์ที่ 63

โพสต์

เก็บรายได้ 9 เดือนทะลุเกินเป้า 0.4%  
โดย เดลินิวส์
วัน อังคาร ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 12:40 น.
นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 50 (ต.ค. 49-มิ.ย.50) มี 1.04 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 0.4% หรือสูงกว่า 4,487 ล้านบาท เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากเงินส่วนเกิน จากการขายพันธบัตรรัฐบาล 10,600 ล้านบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าเป้าหมาย 11,738 ล้านบาท ส่วนการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษี ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 3,049 ล้านบาท และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย 14,666 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน รวมถึงการนำส่งรายได้ของ บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่น และ บมจ. กสท โทรคมนาคม เพื่อชดเชยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคม ทำให้กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี 50 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1.42 ล้านล้านบาท ไม่เกิน 2%.
http://news.sanook.com/economic/economic_154787.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/07/07

โพสต์ที่ 64

โพสต์

ถึงเวลาต่างชาติขายหุ้น

โพสต์ทูเดย์ หุ้นไทยใกล้ถึงจุดต่างชาติขายของแล้ว เฮดจ์ฟันด์จ้องทิ้งได้กำไรสองเด้ง ล่าสุดต่างประเทศขนเงินซื้ออีก 4.3 พันล้าน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยทะลุแนวต้านสำคัญที่ระดับ 850 จุดไปได้ โดยปิดที่ 858.45 จุด เพิ่มขึ้น 14.26 จุด หรือ 1.69% ด้วยมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 39,943.62 ล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเริ่มมีการปรับฐาน เช่น สิงคโปร์ และ มาเลเซีย ติดลบเล็กน้อย
สำหรับตลาดหุ้นไทยต่างชาติยัง ซื้อหนักอีก 4,385 ล้านบาท สถาบัน ขาย 887 ล้านบาท รายย่อยขาย 3,499 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเริ่มมีความเสี่ยงแล้ว หลังจากดัชนีขึ้นมาแรงและเร็วมาก โดยเทียบกับวันที่ 29 มิ.ย. ดัชนีเพิ่มขึ้น 10.56% และยังมีกำไรจากค่าเงินบาทแข็งอีกส่วนหนึ่งด้วย ทั้งนี้ราคาหุ้นใหญ่หลายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าตลาด
เงินลงทุนระยะสั้นเช่นพวกเฮดจ์ฟันด์ได้เข้ามาซื้อหุ้นไทยก่อนหน้านี้แล้ว และพร้อมจะออกหากได้กำไรถึง 20% ตอนนี้ก็ใกล้ถึงจุดที่จะขายได้แล้ว และหากราคายังขึ้นไปต่อก็น่าจะเห็นแรงขายเกิดขึ้น นายพิชัย กล่าว
นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒน์กุล กรรม การรองกรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ดัชนีที่พุ่งจาก 700 จุด มายืนเหนือ 850 จุด เป็นผลจากเงินต่างชาติที่เข้ามาสู่ตลาดหุ้นเพียงอย่างเดียวหลังทางการผ่อนปรนไม่ต้องสำรองเงินทุนไหลเข้า 30% และส่วนหนึ่งเข้ามา เก็งกำไรค่าเงินบาทด้วย
ตอนนี้ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนเพียง 1 เดือน จะมีกำไรกว่า 16-18% โดย 8% มาจากกำไรค่าเงินที่แข็งขึ้น 1-2 บาท และได้กำไรจากราคาหุ้นที่ปรับขึ้นอีก 8-10% แต่หากเทียบกับช่วงปลายปีที่ค่าเงินอยู่ที่ 35-36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และดัชนีหุ้นอยู่ในระดับต่ำกว่านี้ต่างชาติก็จะได้กำไรมากกว่านี้
มาตรการ ธปท.ออกมาล่าสุดจะยิ่งทำให้เงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ส่งผลให้หุ้นยังคงปรับขึ้นได้ต่อและค่าบาทในประเทศก็จะแข็งค่าขึ้นด้วย ซึ่งก็จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติได้รับกำไร 2 เด้ง นายวิศิษฐ์ กล่าว
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วง 5 เดือนดัชนีขึ้น 6% เงินส่วนใหญ่ที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้ รวมถึงไทยส่วนใหญ่มาจากกองทุนรวมต่างประเทศ เงินสำรองเงินตรา ต่างประเทศ และเงินรายได้จากน้ำมัน (ปิโตรดอลลาร์)
ด้านตลาดหลักทรัพย์พบว่าหุ้นบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง (IEC) ซื้อขายผิดปกติในช่วงวันที่ 5 ถึง 10 ก.ค. จึงสั่งห้ามซื้อขายแบบหักกลบราคาค่าซื้อและขายหุ้นตัวเดียวกันวันเดียวกัน (เน็ตเซตเทิลเมนต์) และสินเชื่อ (มาร์จิน) นาน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค.ถึง 23 ส.ค.
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177910
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/07/07

โพสต์ที่ 65

โพสต์

ทำนายส่งออกไตรมาส4โต3.37%  

โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:53 น.

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การส่งออกปี 50 คาดว่า มีมูลค่า 145,668 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 12.1% โดยไตรมาส 1 ขยายตัว 17.82% ไตรมาส 2 19.69% ไตรมาส 3 และไตรมาส 4 จะขยายตัวต่ำถึง 3.37% เนื่องจากค่าบาทแข็งค่าขึ้น บางเดือนอาจแข็งถึง 32.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้ผู้ประกอบการ ไม่สามารถแบกรับค่าเงินบาทแข็งค่าได้ จะทยอยปรับขึ้นราคาในไตรมาส 3-4 ทำให้ส่งออกสินค้าได้ลดลง ซึ่งอยากแนะนำให้ผู้ประกอบการไปลงทุนยังต่างประเทศมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยง เช่น ลาว พม่า ซึ่งสามารถใช้สิทธิพิเศษ และมีค่าแรงงานที่ถูกกว่า
จากการสอบถามผู้ส่งออก 41% ระบุว่าการส่งออกครึ่งปีแรกดี เพราะคงราคาขายแต่เพิ่มปริมาณส่งออกเพื่อชดเชยกำไรลดลงในรูปเงินบาท แต่เมื่อแยกขนาดธุรกิจพบว่ากว่า 50% ของผู้ส่งออกรายเล็กระบุว่าส่งออกลดลง ตรงกันข้ามกับธุรกิจขนาดใหญ่ 53% ส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาคส่งออกที่ดีจะอยู่กับธุรกิจขนาดใหญ่ แต่รายเล็กประสบปัญหาและมีแนวโน้มได้รับผลกระทบสูงขึ้น และคาดการณ์รายได้จากค่าบาทจะลดลงอีกหรือลดลงจากครึ่งปีแรก 8.19% เป็น 12.49% ในครึ่งปีหลัง

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 16 ก.ค. นี้จะประชุมร่วมกับ รมว. พาณิชย์ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาค่าเงินบาท เพราะที่ผ่านมาค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ระยะเวลาเพียง 1 เดือนแข็งค่าขึ้นไปถึง 1 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวรับสถานการณ์ไม่ทัน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า ค่าเงินบาทขณะนี้อยู่ในระดับที่แข็งค่าสุดในอาเซียน แข็งค่าไปแล้ว 6-7% ขณะที่ฟิลิปปินส์เคยแข็งค่าสุดยังอยู่ที่ 6.5% ก็อ่อนตัวมาแล้ว ส่วนประเทศอื่น ๆ อยู่ที่ 1-3% เท่านั้น เวียด นามที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยแข็งค่าในระดับที่ติดลบ ดังนั้นคงต้องยอมรับแล้วว่าขณะนี้ถือเป็นวิกฤติค่าบาทแล้ว โดยเห็นว่า ธปท.ควรที่จะทบทวนมาตรการต่าง ๆ ของค่าเงินที่เคยออกมานั้น เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปหรือไม่

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า วันที่ 11 ก.ค.นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะหารือเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาผลกระทบค่าเงินบาทรายภาคอุตสาหกรรม รวมอุต สาหกรรมอาหารด้วย จะเสนอต่อหน่วยงานที่ดูแล นโยบายด้านการเงินว่าควรประกาศออกมาให้ชัดเจนว่าค่าเงินบาทควรจะอยู่ที่ระดับใด ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการปรับตัวรับสถานการณ์ได้ ซึ่งอุตสาหกรรมอาหาร 90% ใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด ส่วนผู้ประกอบการที่เหลือได้รับผลกระทบน้อยลง เพราะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทำให้เฉลี่ยต้นทุนได้

อุตสาหกรรมอาหารโดยตรงไม่วิกฤติ เพราะปรับตัว เพิ่มมูลค่าสินค้า ทดแทนรายได้จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นได้ ที่กังวลคือ เกษตรกร ผู้ส่งวัตถุดิบเข้าอุตสาหกรรม หากราคาอาหารตกต่ำ หรือกำไรอุตสาหกรรมลด เกษตรกรจะได้รับผลกระทบทางตรง

นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบ ด้านราคาสินค้าและต้นทุน บริหารงาน หากเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ดังนั้นสรท.ต้องการให้รัฐเร่งหามาตรการแก้ปัญหาเร่งด่วนและกำหนดนโยบายส่งออกให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัวรองรับสถานการณ์ในอนาคต.
http://news.sanook.com/economic/economic_155233.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/07/07

โพสต์ที่ 66

โพสต์

SCIBS ระบุ เงินบาทแข็ง กระทบหุ้นกลุ่มเกษตรมากที่สุด ส่วนสื่อสาร+อิเล็คโทรนิคส์+ยานยนต์ ไม่กระทบ
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, July 11, 2007

ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย (SCIBS) ได้ออกงานวิจัยล่าสุด ระบุถึงกลุ่มธุรกิจที่ได้ และเสียประโยชน์จากการที่เงินบาทแข็งค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี เหนือ 33.50 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ โดยบอกว่า จากต้นปีเป็นต้นมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 4.0% เกิดจาก 2 ปัจจัยหนุน คือ ปัจจัยการเมืองในประเทศคลี่คลายลงไป ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดเดือนพพฤษภาคม เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวเป็นลำดับ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจที่ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่เคย Underweight การลงทุนในตลาดหุ้นไทยหันกลับมาให้ความสนใจหุ้นไทยอีกครั้ง เห็นได้จากนักลงทุนต่างชาติมีการซื้อหุ้นไทยสุทธิ 57,617 ล้านบาท นับจากวันที่ 30 พฤษภาคมเป็นต้นมา

นอกจากนี้ การที่ตลาดหุ้นเป็นเพียงช่องทางเดียวที่การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติไม่เข้าเกณฑ์ตั้งสำรอง 30% หรือต้องทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน 100% (Fully Hedging) ดังนั้น เมื่อเกิดการไหลเข้าของเงินสกุลต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน และแข็งค่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการผ่อนคลายชั่วคราว เปิดให้ผู้มีถิ่นอยู่นอกประเทศ (Non-Resident) ที่มีธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ (Offshore) ตั้งแต่วันที่ 19 ธธันวาคมปีที่แล้ว สามารถขอย้ายมาป้องกันความเสี่ยงในตลาดในประเทศได้ (onshore) โดยมาตรการนี้จะเปิดให้ทำเพียง 1 เดือนเท่านั้น หวังลดปัญหาค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (Offshore) แข็งค่าเกินพื้นฐาน และทำให้ค่าเงินบาททั้ง 2 ตลาดเคลื่อนไหวเข้าหาจุดสมดุลอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดในครึ่งปีที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะผู้ส่งออก ยังคงเป็นผู้เสียประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ใช้ Domestic Content เป็นหลัก อย่างกลุ่มธุรกิจการเกษตร เนื่องจากรายได้จากการดำเนินงาน และกำไรสุทธิผันผวนเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการทำอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เมื่อค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

เฉฑาะตัวเลขในไตรมาสแรกปีนี้ Net Profit Margin ของกลุ่มธุรกิจการเกษตร ติดลบ 1.89% เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 3.2% จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ผลประกอบการของกลุ่มนี้ในไตรมาส 3 อาจได้รับผลกระทบค่อนข้างแรงจากค่าเงินที่แข็งขึ้นในขณะนี้

สำหรับกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม แม้จะเป็นกลุ่มที่เป็น Domestic Content เช่นเดียวกับกลุ่มเกษตรก็ตาม แต่ด้วยสัดส่วนรายได้หลักมาจากการจำหน่ายภายในประเทศ จึงทำให้ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตลอด 9 ไตรมาสที่ผ่านมา จะมีน้ำหนักที่น้อยกว่ากลุ่มเกษตร เห็นได้จากอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit
Margin) สามารถทรงตัวได้ที่เฉลี่ย 4.5 - 5.4% ได้ตลอด 9 ไตรมาสที่ผ่านมา

ส่วนกลุ่มยานยนต์ และ กลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ ถึงแม้รายได้จะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าเงินบาท แต่เนื่องจากวัตถุดิบบางส่วน มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งออกในกลุ่มนี้สามารถลดความผันผวนหรือผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นได้ จะเห็นได้จากอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ยืนทรง ตัวตลอด 9 ไตรมาสที่ผ่านมาได้ ในทางกลับกัน ผู้ได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะเป็นบริษัทที่มีหนี้ในรูปเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะหนี้เงินกู้ที่เป็นดอลลาร์สหรัฐ จะได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากภาระหนี้ลดลง ได้แก่ บริษัทในกลุ่มสื่อสาร (TRUE, TT&T และ SATTEL) กลุ่มพลังงาน (EGCOMP และ RATCH) ซึ่งคาดว่าจะบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มบริษัทที่มีการนำเข้าวัตถุดิบ โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยให้ต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ ที่คิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง ได้แก่ กลุ่มเหล็ก (TSTH, SSI, GSTEEL) และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (SPPT)
อย่างไรก็ดี ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ SCIBS ยังเชื่อมั่นว่า ธปท.จะติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกมากจนเกินไป เพราะการส่งออก ยังเป็นหัวใจสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่เหมือนเดิม

มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected]

http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/07/07

โพสต์ที่ 67

โพสต์

พิษบาทแข็งโรงงานส่งออก'ไนกี้-อดีดาส'เจ๊ง ลอยแพคนงาน6พันคน
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 12:23:00
(Update) มรสุมบาทแข็ง โรงงานส่งออก "ไนกี้-อดีดาส" เจ๊ง ลอยแพล็อตใหญ่ คนงาน 6 พันเศร้า ก่อหวอดประท้วง ขู่บุกก.แรงงานขอความช่วยเหลือ ไร้เงานายจ้างคาดเผ่นหนี

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อช่วงเช้าวันที่ 11 ก.ค.ได้มีคนงานบริษัทไทยศิลป์ อาคเนย์อิมพอร์ต เอ็กพอร์ต จำกัด ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 79 หมู่ 14 ถ.กิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการจำนวนกว่า 6,000 คนได้รวมตัวปิดถนนกิ่งแก้วหน้าบริษัทประท้วงกรณีที่บริษัทไดปิดประกาศเลิกจ้างทำให้พนักงานจำนวนมากถูกลอยแพกระทันหัน ทำให้การจราจรบริเวณดังกล่าวติดขัดรถสัญจรไปมาไม่สะดวก ทั้งนี้คนงานที่จับกลุ่มประท้วงต่างสับสนกับเหตุการณ์ดังกล่าวบางคนถึงกับร้องไห้เสียใจ เศร้าซึมไปตามๆ กัน

นายชุลี กองยุทธิ์ แกนนำเครือข่ายแรงงานบ.ไทยศิลป์ฯ กล่าวว่า บริษัทได้มีการติดป้ายเลิกจ้างประมาณ 02.00 น.ขณะที่คนงานที่เดินทางไปทำงานตอนเช้าก็ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ ซึ่งขณะนี้มีคนงานประมาณ 6,000 คนมีการชุมนุมปิดถนนประท้วงการเลิกจ้างพร้อมทั้งขอเรียกร้องเงินค่าชดเชย และสวัสดิการต่างๆที่จะได้รับ ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีสัญญาณ นายจ้างไม่เคยบอกล่วงหน้า หลายคนที่ร้องให้เสียใจเพราะทำงานที่นี่มานานไม่อยากย้ายไปไหนและเกรงว่าไปทำงานที่อื่นไม่มีใครรับ อย่างไรก็ตามขณะนี้กำลังประสานงานกับนายจ้างให้ออกมาเจรจากับลูกจ้างโดยด่วนไม่เช่นนั้นเราก็จะยังคงประท้วง พร้อมขอเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานเข้ามาช่วยด้วย คนงานบริษัทไทยศิลป์และเครือข่ายตัดเย็บเสื้อผ้าใน จ.สมุทรปราการ จะมีมาตรการไปร่วมชุมนุมกันที่กระทรวงแรงงานอย่างแน่นอน  

นายบุญลือ ยอดบุญ ผู้จัดการฝ่ายผลิตบ.ไทยศิลป์ฯ กล่าวว่าเพิ่งทราบว่ามีการเลิกจ้างในช่วงเช้าวันนี้เช่นวันเดียวกับพนักงานคนอื่นๆ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยส่ง สัญญาณหรือแนวโน้มการเลิกจ้างอะไร ทั้งนี้ในวันที่ 17 ก.ค.จะมีตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างนัดเจรจากัน อย่างไรก็ตามตนในฐานะลูกจ้างก็ต้องต่อสู้ให้ถึงที่สุดตามสิทธิที่มี แต่ตอนนี้ทุกคนยังมืดมนไม่มีแนวทางในการต่อสู้

ตอนนี้เราไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะทุกคนก็ทำงานแบบหาเช้ากินค่ำ หลายคนอายุมาก มีที่อยู่อาศัยที่นี่ ไม่รู้จะต่อสู้กันอย่างไร ดังนั้นขอให้กระทรวงแรงงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงเข้ามาช่วยเหลือด่วนเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินค่าชดเชย ค่าจ้าง เงินช่วยเหลือกรณีตกงาน เงินสงเคราะห์ลูกจ้าง และช่วยดูแลให้มีงานใหม่ทำด้วยไม่เช่นนั้นคนงานตายแน่ๆนายบุญลือ กล่าว

ขณะที่ นายศักดา เชษฐเจริญนิรันดร์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่สามารถติดต่อแกนนำคนเพื่อเจรจากรณีปัญหาการถูกเลิกจ้างเฉียบพลัน รวมทั้งยังไม่สามารถติดต่อเจ้าของโรงงานอย่างแท้จริง เรื่องนี้หลายฝ่ายเกรงว่านายจ้างอาจจะพยายามเจรจาหาเงินหรืออาจจะหลบหนีไปแล้ว อย่างไรก็ตามเบื้องต้นกรมสวัสดิการฯพร้อมจะนำเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีอยู่ประมาณ 200 ล้านบาท มาจ่ายชดเชยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับคนงานเป็นระยะเวลา 1-2 เดือนไปก่อนแต่คนงานต้องมายื่นคำร้องขอรับค่าชดเชย ซึ่งขั้นตอนในการขอนั้นจะใช้เวลา 90 วัน

อย่างไรก็ตามกรมสวัสดิการฯพยายามเข้าไปประสานเจรจาหาตัวนายจ้างและให้ความช่วยเหลือคนงานมากที่สุดก่อนที่คนงานจะเดินทางมาชุมนุมประท้วงที่กระทรวงแรงงาน ที่สำคัญ สถานการณ์การเลิกจ้างของโรงงานใน จ.สมุทรปราการ มีแนวโน้มเลิกจ้างตามมากอีกหลาย แห่ง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งเงินส่งออกไม่ได้

รมว.แรงงานสั่งกสร.จี้นายจ้างจ่าย150ล้าน-เผยรง.พื้นที่ส่อปิดอื้อ

นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าได้รับรายงานจากนายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) ว่า ในช่วงเช้าวันนี้บริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกต่างประเทศยี่ห้อไนกี้ อาดีดาส ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 6,000 คน โดยไม่มีการแจ้งกระทรวงล่วงหน้าและให้มีผลตั้งแต่วันนี้ ทำให้พนักงานกว่าหลายพันคนชุมนุมบริเวณด้านหน้าบริษัท แต่ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์ลงไปไกล่เกลี่ย โดย สถานการณ์การชุมนุมขณะนี้ได้คลี่คลายลงแล้ว พร้อมสั่งให้เจ้าหน้าที่ติดต่อให้นายจ้างมาเจรจาและจ่ายค่าชดเชย

นายอภัย กล่าวด้วยว่า จากการประเมินตามอายุงานทางบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังกล่าวจำนวน 150 ล้านบาท ซึ่งหากทางบริษัทไม่ยอมจ่ายจะต้องถูกดำเนินคดี นอกจากนี้ ได้ประสานสำนักงานประกันสังคมให้จ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นเวลา 6 เดือน รวมทั้ง รวมทั้ง ได้ให้จัดหางานจังหวัด สมุทรปราการจัดหางานในพื้นที่ใกล้ เคียงให้กับช่างที่ถูกเลิกจ้าง โดยทราบว่ามีช่างฝีมืออยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ สาเหตุที่บริษัทต้องปิดตัวลงเนื่องจากถูกตัดยอดการส่งสินค้าจากต่างประเทศ มีหนี้สินอยู่จำนวนมาก รวมทั้ง ธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้ให้ทางบริษัท อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่ง สำรวจโรงงานที่มีแนวโน้มเลิกจ้างเพราะได้รับผลกระทบจากกรณีเงินบาทแข็งตัว เพื่อหามาตรการช่วยเหลือต่อไป
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/1 ... wsid=83455
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/07/07

โพสต์ที่ 68

โพสต์

สรรพากรเล็งแก้กฎหมาย อุดช่องนายทุนเลี่ยงภาษี

11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 14:17:00

กรมสรรพรการเตรียมแก้กฎหมายอุดช่องโหว่นายทุนหลีกเลี่ยงภาษี และให้เกิดความเป็นธรรม ด้านนักวิชาการจุฬาฯ เสนอเก็บภาษีนักลงทุนรายใหญ่ที่ได้กำไรจากการขายหุ้น แต่ยกเว้นสำหรับรายย่อย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวในงานสัมมนาระดมความคิดเห็นในการศึกษาและพัฒนาประมวลรัษฎากร โดยยอมรับว่า ประมวลรัษฎากรที่ใช้จัดเก็บภาษีในปัจจุบันมีความยุ่งยากซับซ้อนและเป็นหน่วยงานที่มีกฎหมายตีความยากที่สุด โดยเฉพาะผู้พิพากษายังยอมรับว่ามีความยาก อาจทำให้ประชาชนเข้าใจต่อการจัดเก็บภาษียากไปด้วย อีกทั้งเป็นกฎหมายที่มีการใช้มานานเกือบ 70 ปี จึงต้องปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมอบหมายให้ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย

ด้านนายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า กฎหมายภาษีที่จัดทำขึ้นในช่วง 70 ปีก่อน เพื่อเป็นการดูแลภาคธุรกิจและสังคมขณะนั้น แต่ปัจจุบันสถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก จึงต้องแก้ไขให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การทำธุรกิจคนทั่วไป 2 คน เพื่อทำอาชีพอิสระหากมีรายได้เกิน 1 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีร้อยละ 30 แต่มักจะมีการอาศัยช่องกฎหมายเพื่อดึงคนอื่น 4-5 คนมาร่วมลงทุน เพื่อดึงรายได้จาการทำธุรกิจกระจายไปยังบุคคลอื่น ทำให้เสียภาษีน้อยลง

แฉ"นอมินี"เลี่ยงภาษี โยกกำไรออกนอกประเทศ

และที่ผ่านมายอมรับว่าภาคธุรกิจหลายส่วนมีการหลีกเลี่ยงภาษีจำนวนมาก เช่น นายทุนในประเทศได้ออกไปตั้งกองทุนหรือบริษัทต่างประเทศแล้วนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เมื่อลงทุนได้กำไรก็นำเงินกลับไปต่างประเทศโดยไม่ต้องรายงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีนายทุนหลายรายทำในลักษณะเช่นนี้ และเห็นว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) น่าจะมีข้อมูลจุดนี้ดี

แนะเก็บภาษีกำไรจากการขายหุนของนลท.รายใหญ่

นายธิติพันธุ์ ยังกล่าวถึงความเป็นธรรมในการเสียภาษี เมื่อมีกำไรของประชาชนทั่วไป ซึ่งมีการระบุว่า การลงทุน ในตลาดหุ้นได้กำไรแต่ไม่ต้องเสียภาษี ขณะที่การทำธุรกิจหรือประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่มีรายได้ประจำกลับต้องเสียภาษี จึงเสนอจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวสอดคล้องกับแนวความคิด นายจรัล ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม แต่ควรจะมีการยกเว้นให้กับนักลงทุนรายย่อยที่มีกำไรต่อปี 5-10 ล้านบาท เพราะตลาดหุ้นที่เติบโตขึ้นน่าจะมาจากแรงซื้อหรือจำนวนนักลงทุนรายย่อยที่เพิ่มขึ้น
โดยควรจัดเก็บภาษีจากนักลงทุนรายใหญ่ กองทุน บริษัท หรือผู้มีกำไรจำนวนมาก เพราะตลาดหุ้นในต่างประเทศมีการจัดเก็บภาษีเช่นกันทั้งสหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น แต่ตลาดหุ้นไทยยังต้องพิจารณาหลายส่วนถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อย

งัดมาตรการภาษีปราบนักการเมืองขี้ฉ้อ

นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกาและอาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การปราบปรามนักการเมืองและข้าราชการคอร์รัปชั่น โดยอาศัยกฎหมายอาญาและกฎหมายปราบปราม การคอร์รัปชั่นอาจทำได้ยาก เพราะขาดพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่ามีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น แต่ถ้าใช้มาตรการภาษีอาจจะช่วยปราบปรามได้ เพราะการที่บุคคลใดมีทรัพย์สินมากมีเงินใช้จ่ายคล่องมือ มีฐานะร่ำรวย เมื่อมีเงินได้ก็ต้องเสียภาษีไม่ว่าบุคคลนั้นจะได้เงินมาโดยวิธีใดทั้งการพนัน ค้าของเถื่อน คอร์รัปชั่น ก็ต้องเสียภาษี ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบบุคคลนั้นเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินให้ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้อง สามารถใช้มาตรา 19-27 แห่งประมวลรัษฎากรเข้าตรวจสอบเพื่อลดปัญหาการปกปิดข้อมูลที่กระทำกันจำนวนมาก ดังนั้น การปราบปรามข้าราชการการเมืองและการคอร์รัปชั่น จึงควรนำมาตรการภาษีมาใช้ในการตรวจสอบ เพื่อดำเนินคดีทางอาญา
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/1 ... wsid=83505
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/07/07

โพสต์ที่ 69

โพสต์

บาททำนิวไฮ 33.18 ธปท.ก้นร้อน-ร่อนหนังสือกำชับ ธ.พาณิชย์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2550 17:55 น.

 เงินบาทแข็งค่าทำนิวไฮแตะ 33.18 แม้แบงก์ชาติจะสกัดการเก็งกำไรผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยส่งหนังสือกำชับไปยังธนาคารทุกแห่ง ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ด้านเอกชนจี้ ธปท.ควรเอาจริงเอาจังกว่านี้
     
      วันนี้(11 ก.ค.) นักบริหารเงินจากธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่า วันนี้เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.32/37 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.42/45 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 33.18 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.42 บาท/ดอลลาร์
     
      โดยวันนี้เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น โดยทำสถิติใหม่ในรอบ 10 ปีมาอยู่ที่ 33.18 บาท/ดอลลาร์ในช่วงก่อนเที่ยง หลังจากนั้นก็ดีดตัวกลับขึ้นมา ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นผลจากการเข้ามแทรกแซงตลาดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
     
      ส่วนวันพรุ่งนี้ นักบริหารเงิน คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.40 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงนี้การคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวเงินบาททำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีเงินทุนไหลเข้าประเทศจำนวนมาก ประกอบกับยังมีแรงเทขายของผู้ส่งออกเข้ามาต่อเนื่อง
      ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ส่งหนังสือเวียนถึงผู้ประสานงานสถาบันการเงินทุกแห่งในวันนี้ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการประกอบธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านอัตราแลกเปลี่ยน
     
      รายงานข่าวจาก ธปท.ระบุว่า วันนี้ ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนถึงผู้ประสานงานสถาบันการเงินทุกแห่ง เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการประกอบธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งก่อนหน้านี้ ธปท.กำหนดให้สถาบันการเงินเรียกเอกสารหลักฐานที่จำเป็นเพื่อพิจารณาว่าลูกค้ามีแหล่งเงินได้เงินตราต่างประเทศในอนาคตที่ชัดเจนก่อนรับทำธุรกรรม เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำเงินตราต่างประเทศส่งมอบตามสัญญาที่ทำไว้ แต่ในระยะที่ผ่านมาปรากฏว่ามีผู้ส่งออกคาดการณ์ทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนและเร่งขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินบาทและส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย
     
      "ธปท.ขอกำชับให้สถาบันการเงินระมัดระวังและดูแลให้การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดในหนังสือเวียนดังกล่าว หากลูกค้าไม่สามารถนำเงินตราต่างประเทศส่งมอบตามสัญญาต้องให้ลูกค้าชี้แจงเหตุผลที่เพียงพอ และสถาบันการเงินต้องดูแลไม่ให้การทำธุรกรรมของลูกค้ามีลักษณะเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท" เอกสารเผยแพร่ของ ธปท.ระบุ
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000081104
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/07/07

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ต่างชาติเทขายหุ้นรูด 12.17 จุด ตามทิศทางตลาดภูมิภาค-วิตกบาทแข็ง  
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2550 17:33 น.

      ตลาดหุ้นไทยวันนี้ร่วง ตามตลาดหุ้นในภูมิภาค และวิตกบาทแข็ง คาดต่างชาติขายทำกำไรเพื่อปรับพอร์ตด้วยบางส่วน พรุ่งนี้คาดตลาดฯปรับตัวลงต่อ เชื่อยังมีแรงขายอยู่ โดยให้กรอบแกว่ง 835-850 จุด พร้อมแนะให้ติดตามความเคลื่อนไหวของเงินบาทอย่างใกล้ชิด
     
      ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันนี้(11 ก.ค.) ดัชนีปิดตลาดช่วงบ่ายที่ระดับ 846.28 จุด ลดลง 12.17 จุด หรือลดลง 1.42% มูลค่าการซื้อขาย 34,402.59 ล้านบาท โดยการซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัว ทั้งบวก-ลบ โดยขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 861.01 จุด ส่วนดัชนีจุดต่ำสุดของวันอยู่ที่ 846.28 จุด หลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 117 หลักทรัพย์ ลดลง 268 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 92 หลักทรัพย์
     
      นายอภิศักดิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลง ตามตลาดหุ้นในแถบภูมิภาค และนักลงทุนยังได้วิตกกังวลเกี่ยวกับเงินบาทที่แข็งค่า
     
      "ที่จริงเงินบาทแข็งค่าก็ส่งผลดีที่มีเงินทุนไหลเข้า แต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ อย่างตัวเลขจีดีพี ซึ่งมีส่วนประกอบของตัวเลขการส่งออกได้รับกระทบด้วย และวันนี้คนที่ทำธุรกิจส่งออกก็มีเริ่มมีปัญหากันอย่างถ้วนหน้าแล้ว"
     
      ก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นไปมาก ดังนั้นวันนี้ก็เชื่อว่าคงจะมีการแรงขายทำกำไรออกมาด้วย โดยนักลงทุนต่างชาติอาจจะขายทำกำไรออกมาด้วย
     
      "ผมว่าวันนี้ฝรั่งอาจจะซื้อสุทธิน้อยลง หรือไม่ก็อาจจะขายบ้างในลักษณะปรับพอร์ต ส่วนเรื่องของเงินบาทก็ควรจะติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป"ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ฯ กล่าว
     
      สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันพรุ่งนี้(12 ก.ค.)คาดว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะปรับตัวลงต่อ เพราะเชื่อว่าตลาดฯยังมีแรงขายทำกำไรอยู่ พร้อมให้กรอบแกว่งไว้ที่ 835-850 จุด
     
      หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 ลำดับ ได้แก่
     
      PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,870.29 ล้านบาท ปิดที่ 302.00 บาท ลดลง 6.00 บาท      
      IRPC มูลค่าการซื้อขาย 1,683.86 ล้านบาท ปิดที่ 7.05 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง      
      RRC มูลค่าการซื้อขาย 1,683.00 ล้านบาท ปิดที่ 20.70 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท      
      TOP มูลค่าการซื้อขาย 1,192.83 ล้านบาท ปิดที่ 80.00 บาท ลดลง 2.00 บาท      
      SCB มูลค่าการซื้อขาย 891.77 ล้านบาท ปิดที่ 82.50 บาท ลดลง 2.00 บาท
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000081085
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news12/07/07

โพสต์ที่ 71

โพสต์

เอสแอนด์พีคงเครดิตไทย แนวโน้มบวกถ้ามีเลือกตั้ง - 12/7/2550

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศจากแดนมะกัน ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินบาทของไทย ที่ BBB+/A-2 และ A/A-1 แนวโน้มมีเสถียรภาพ แถมอาจปรับแนวโน้มเชิงบวกหากมีการเลือกตั้งต้นปีหน้า

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากฮ่องกงว่า ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในด้านนโยบายนับตั้งแต่ปี 2549 และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะกลาง ได้ทำให้ปัจจัยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของไทยอ่อนแอลง นายคิม เอง ตัน นักวิเคราะห์อันดับความน่าเชื่อถือของ S&P กล่าวอย่างไรก็ตาม สถานะเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ การจัดการด้านการคลังที่รอบคอบ และภาวะหนี้สุทธิที่ค่อนข้างต่ำของรัฐบาลไทยนั้น คาดว่าจะยังคงสนับสนุนการคงอันดับความน่าเชื่อถือที่เหมาะสมในปัจจุบันไว้ในระยะใกล้

S&P ระบุว่าตั้งแต่ปลายปี 2549 การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายอย่างฉับพลันของรัฐบาลหลังการยึดอำนาจ ทำให้มีมุมมองด้านความเสี่ยงต่อประเทศมากขึ้น และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยการใช้จ่ายเงินทุนที่ลดลง มีแนวโน้มที่จะยังคงดำเนินต่อไปปี 2551 และจะบั่นทอนแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะกลาง ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อสถานภาพทางการเงินของรัฐบาล และส่งผลกระทบแง่ลบต่อภาวะงบดุลของธนาคาร

อย่างไรก็ดี S&P คาดการณ์เกี่ยวกับการกลับเข้าสู่ภาวะปกติทางการเมืองภายในต้นปีหน้า ช่วยจำกัดผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานด้านความน่าเชื่อถือของไทย โดยคำมั่นสัญญาของผู้นำการก่อรัฐประหารในการจัดการเลือกตั้งก่อนต้นปีหน้า มีความสำคัญในการป้องกันเหตุวุ่นวายในไทย และหลีกเลี่ยงการถอนการลงทุนล็อตใหญ่ของนักลงทุนระยะยาว ขณะที่ไทยยังคงมีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ และการรื้อฟื้นกลับสู่ภาวะปกติทางการเมืองอย่างรวดเร็ว อาจช่วยกระตุ้นกิจกรรมด้านการลงทุนเมื่อเวลาผ่านไป

ขณะเดียวกัน แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มว่า สถานการณ์การเมืองจะกลับคืนสู่ภาวะปกติในระยะใกล้ โดยคาดว่าปัจจัยดังกล่าว จะช่วยสกัดกั้นความถดถอยของการสนับสนุนด้านอันดับความน่าเชื่อถือ และจำกัดความเสี่ยงไว้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือ ที่อาจลดลงสู่ระดับที่ไม่เหมาะสมอีกต่อไปสำหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือช่วง 2 ปีข้างหน้า S&P เตือนว่า ความล่าช้าในการฟื้นฟูสถานการณ์ทางการเมืองสู่ภาวะปกติ จนทำให้เกิดความไม่สงบทางสังคม และทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงอีก อาจทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือสู่เชิงลบ ในทางกลับกัน การฟื้นฟูเสถียรภาพทางการเมืองอย่างราบรื่นหลังมาตรการต่างๆ เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทย อาจทำให้มีการทบทวนแนวโน้มสู่เชิงบวกได้

http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177269
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news12/07/07

โพสต์ที่ 72

โพสต์

คลังเป็นตัวดูด ขายพันธบัตร5.7หมื่นล้าน
โพสต์ทูเดย์ รัฐบาลวางแผนออกพันธบัตรยาว 6-10 ปีวงเงิน 5.7 หมื่นล้าน คาดผลตอบแทน 4.25-5.25%

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนหลังจากนี้ กระทรวงการคลังจำเป็นจะต้องออกพันธบัตรระยะ 6-10 ปี เพื่อการบริหารหนี้ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.ย. นี้ รวมประมาณ 5.7 หมื่นล้านบาท
พันธบัตรชุดนี้จะเป็นพันธบัตรระยะยาว อายุตั้งแต่ 6-10 ปี ดังนั้น การกำหนดอัตราผลตอบแทนจะมีปัญหาในการปฏิบัติมาก ต้องรอให้ตลาดเป็นผู้เสนออัตราผลตอบแทน พันธบัตรอายุสูงสุดถึงปี 2560 แต่เชื่อว่าผลตอบแทนเฉลี่ยจะไม่น้อยกว่า 4.25-5.50% แหล่งข่าวเปิดเผย
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ยอดคงค้างการลงทุนในพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติในครึ่งปีแรกปรับลดลงต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ 4.84 หมื่นล้าน บาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2549 ที่มียอดคงค้างของต่างชาติ 1.3 แสนล้าน บาท ปัจจัยสำคัญมาจากมาตรการสำรองเงินตราต่างประเทศ 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ นักลงทุนต่างชาติมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 0.25%
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ครึ่งปีแรก มีจำนวน 2.89 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 114% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากพันธบัตรที่ ออกโดย ธปท. จำนวน 1.82 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 300% เพราะ ธปท.ต้องการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ รองลงมาพันธบัตรรัฐบาล 1.78 แสนล้านบาท หุ้นกู้เอกชน 6.3 หมื่นล้านบาท และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 6.1 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ รับจดทะเบียนตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐรวมทั้งสิ้นจำนวน 3.191 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.04% ของตราสารหนี้จดทะเบียนรวม 3.544 ล้าน ล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=178166
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news12/07/07

โพสต์ที่ 73

โพสต์

จัดมหกรรมขับเคลื่อนศก.ทั่วปท.  

โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:51 น.
นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงกำหนดจัดมหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งประเทศ กำหนดจัดครั้งแรกที่ จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 21-25 กรกฎาคม จากนั้นจะจัดต่อที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ภูเก็ต เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 30,000 คน โดยรูปแบบงานจะนำสินค้าโอท็อปมาจัดแสดงกว่า 100 คูหา นำสินค้าอาหารเด่นๆ จากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศมาจัดแสดง และจำหน่ายสินค้าส่งออก สินค้าคุณภาพดีจากโรงงาน ฟาร์ม สินค้าแฟรนไชส์ สินค้าลิขสิทธิ์ ในราคาพิเศษ พร้อมกับเปิดให้บริการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก การให้คำแนะนำและบริการจำหน่ายประกันภัยแบบใหม่ และกิจกรรมอื่นๆ เช่น การอบรม นอกจากนี้ จะมีการจัดคอนเสิร์ตจากค่ายเพลงต่างๆ ด้วย (กรอบบ่าย)
http://news.sanook.com/economic/economic_155711.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news12/07/07

โพสต์ที่ 74

โพสต์

ดัชนีความเชื่อมั่น มิ.ย.แตะ71.0 ต่ำสุดรอบ64 ด.

ม.หอการค้าไทย เผย เงินบาทแข็งค่า-น้ำมันพุ่ง ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. ต่ำสุดรอบ 64 เดือน แตะ 71.0
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.50 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ที่ 71.0 ลดลงจาก 71.4 ในเดือน พ.ค.50 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 64 เดือนนับแต่มีการทำสำรวจตั้งแต่เดือน เม.ย.45
"สาเหตุที่ดัชนีปรับตัวลดลงมาจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ความกังวลเรื่องค่าครองชีพ และเงินบาทแข็งค่าที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ผู้บริโภคเห็นว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม แม้ปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจจะเริ่มมีมากขึ้น แต่ยังไม่ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น" เอกสารเผยแพร่ ระบุ
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 71.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 87.4 โดยดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าปกติที่ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 38
เงินบาทเปิดตลาดที่ 33.30/35 บ./ดอลล่าร์
นักบริหารเงินจากธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 33.30/35 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.32/35 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้เงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวทรงตัวในกรอบแคบ ๆ เช่นเดียวกับค่าเงินยูโร เนื่องจากวันนี้แรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกเริ่มลดลง ขณะที่เงินเยนเช้านี้กลับมาอ่อนค่าลงจากการ carry trade

วันนี้นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-33.40 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น ขณะนี้เงินบาท เคลื่อนไหวอยู่ที่ 33.30/33 บาท/ดอลลาร์ ส่วนเงินเยน อยู่ที่ 122.20/30 เยน/ดอลลาร์ และเงินยูโร อยู่ที่ 1.3750/3755 ดอลลาร์/ยูโร
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=178272
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news13/07/07

โพสต์ที่ 75

โพสต์

คลัง-แบงก์ชาติส่ายหัวแก้ค่าบาท - 13/7/2550

คลัง-แบงก์ชาติส่ายหัวแก้ค่าบาท
000 จับตาอุตฯรายเล็กปิดตัวเพิ่ม/ดัชนีเชื่อมั่นยังแย่
กระทรวงการคลังและธปท.ประเมินสถานการณ์บาทแข็ง ยังไม่มีมาตรการเพิ่ม ภาครัฐเตือนเอกชน โดยเฉพาะอุตฯสิ่งทอต้องเร่งปรับตัว ลดต้นทุน ขยายตลาดเอาตัวรอดแทนที่จะรออย่างเดียว กำชับแบงก์ดูลูกค้าผสมโรงเทขายดอลล์ทำกำไร ขณะที่สมาพันธ์อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยช่วยรับพนักงานไทยศิลป์ฯ

เมื่อวานนี้ (12 ก.ค.) กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงเรื่องค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การหารือร่วมกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ แต่คงไม่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมาเพิ่มเติม

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การที่เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง เพราะเงินทุนก้อนใหญ่ไหลทะลักมาจากสหรัฐค่อนข้างมาก แต่คงไม่สามารถใช้นโยบายทางการคลังช่วยดูแลค่าเงินบาท เพราะคงช่วยได้ไม่มากนักและไม่ขอพูดถึงการนำมาตรการทางภาษีช่วยแก้ปัญหา ส่วนนางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. กล่าวว่า เป็นการพูดคุยและหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ค่าเงินบาทเท่านั้น

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ได้เคยแนะนำผู้ส่งออกไม่ให้เข้ามาเก็งกำไรเงินบาท เพราะมีโอกาสเสียมากกว่าที่จะได้ และย้ำว่า หากไม่มีการส่งสินค้าไปต่างประเทศจริง ก็ไม่ควรซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า พร้อมแนะนำให้ผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า ด้วยการซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (ฟอร์เวิร์ด) ทันทีที่มีการรับคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อจะได้รู้ต้นทุนและกำไรที่แน่นอน นอกจากนี้ภาคธนาคารยังคงเห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้ประชาชนสามารถฝากเงินเป็นสกุลดอลลาร์ได้ เพื่อทำให้มีเงินดอลลาร์อยู่ในระบบอย่างเพียงพอ นอกเหนือจากการไปลงทุนในต่างประเทศ

ขณะที่นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของเดือนมิ.ย.2550 เท่ากับ 71 ลดลงจากเดือนพ.ค.2550 ซึ่งอยู่ที่71.4 เนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังอยู่ในระดับทรงตัวสูง ความกังวลเกี่ยวกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและระบบเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวสูง

ด้านนางอรนุช โอสถานนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต้องมีการปรับตัว อย่าหวังแต่เพียงรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เพราะการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากที่ส่งออกไปตลาดต่างประเทศไม่สามารถแข่งขันต้นทุนกับจีนและอินเดียได้ เพราะไทยมีต้นทุนสูงกว่า จึงต้องปรับตัวในกิจการของตัวเอง และควรปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตเสื้อผ้าเป็นแบรนด์เนมชั้นสูง เพื่อออกไปทำตลาดในต่างประเทศ เนื่องจากตลาดยุโรปและสหรัฐรวมทั้งญี่ปุ่นยังมีความต้องการสินค้าเสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์เนมอยู่ ซึ่งผู้ประกอบการเข้าใจเป็นอย่างดีและหลายธุรกิจมีการปรับตัว แต่บางธุรกิจยอมรับว่า อาจไม่สามารถปรับตัวได้

ส่วนกรณี บริษัท ไทยศิลป์ อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ปิดกิจการกะทันหัน โดยระบุไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนจากความผันผวนของค่าเงินบาทได้ ซึ่งข้อเท็จจริงคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับความผันผวนของค่าเงินบาทอย่างเดียวนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีบริษัท ไทยศิลป์ อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต ปิดโรงงาน ว่า ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คงไม่ใช่การแข็งค่าของเงินบาทอย่างเดียว แต่บริษัทฯ อาจมีปัญหาการบริหารการเงินมาแล้ว แต่ยอมรับว่าการที่เงินบาทแข็งค่ากระตุ้นให้ผู้ส่งออกขาดทุนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งมีสัญญาณการขาดทุนมาหลายเดือนแล้ว ดังนั้นโรงงานขนาดเล็กคงจะมีการลดการผลิตและปิดกิจการตามมาอีกแน่นอน ซึ่งในวันที่ 16 ก.ค.นี้ ทางสภาหอฯ จะพบกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือภาครัฐและเอกชนจะร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาเงินบาท

ด้านนายสุกิจ คงปิยาจารย์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยเปิดเผยว่า ทางสมาพันธ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้แจ้งไปยังสมาชิกของสมาคมสิ่งทอฯ เพื่อสอบถามว่าบริษัทใดมีความประสงค์ต้องการพนักงานเพิ่มเติม และวานนี้(12 ก.ค.)ได้มีการตั้งโต๊ะเปิดรับสมัครพนักงานดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็มีพนักงานสมัครเป็นพนักงานบริษัทต่างๆ ของสมาพันธ์จำนวนมาก แต่ก็เปิดอิสระให้กับพนักงานในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ทั้งนี้แนวทางการช่วยเหลือดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระแสข่าวว่าสมาพันธ์ฯ มีการลงขันที่จะนำเงินเข้าไปเทคโอเวอร์กับบริษัทไทยศิลป์ฯ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177384
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news13/07/07

โพสต์ที่ 76

โพสต์

เสียงต้านเก็บภาษีหุ้นกระหึ่ม
 
โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:18 น.

ยกบทเรียนตปท.ทำตลาดตกต่ำ สรรพากรโดดหนียันไม่คิดแตะ
โยนหินถามทางเก็บภาษีกำไรหุ้น โดนกระแสต้านขรม ตลาดหลักทรัพย์-โบรกเกอร์ประสานเสียงค้าน ระวังเป็นเรื่องอ่อนไหวกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน กรมสรรพากรออกตัวไม่เคยคิดเปลี่ยนแปลง แค่ศึกษาปรับปรุงถ้อยคำประมวลรัษฎากร

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีที่ศูนย์วิจัยกฎหมายและพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้กรมสรรพากรพิจารณาช่องทางในการจัดเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อตลาดหุ้นไทย และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งภาครัฐควรที่จะศึกษาให้ละเอียดและรอบคอบก่อนนำมาใช้

เชื่อว่าแนวทางดังกล่าวน่าจะเป็นความคิดเห็นของนักวิชาการมากกว่าทางภาครัฐ เพราะการเก็บภาษีจากการขายหุ้นแล้วได้กำไร น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นและเป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อการลงทุน เพราะจะทำให้สภาพคล่องในตลาดไม่เพียงพอ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ หลายประเทศก็ยังไม่มีการเก็บภาษีกำไรจากหุ้น แต่จะเป็นการเก็บภาษีของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) แทน ซึ่งไทยก็มีการเก็บภาษีอยู่ที่ 30% ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่จะเก็บที่ 25% หรือ 28% นางภัทรียากล่าว

สำหรับแนวคิดการจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ นางภัทรียากล่าวว่า กรมสรรพากรเองยังไม่ได้หารือกับตลาดหลักทรัพย์ เชื่อว่ายังเป็นแนวคิดของนักวิชาการเท่านั้น

นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรไม่มีนโยบายในการจัดเก็บภาษีจากกำไรการขายหุ้น และยืนยันว่ากรมสรรพากรไม่ได้จ้างจุฬาฯให้ศึกษาเรื่องนี้ เพียงแต่ให้จุฬาฯเข้ามาศึกษาประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงถ้อยคำให้มีความกระชับ รัดกุม และเข้าใจง่ายขึ้น
กรมสรรพากรไม่ได้มีแนวคิดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เข้าใจว่าคงเป็นความเห็นของอาจารย์ที่นักข่าวไปสัมภาษณ์มากกว่า ดังนั้น ยืนยันว่าทางกรมยังไม่มีนโยบายในการเปลี่ยนแปลงอะไร นายศานิตกล่าว

นายกิติ นาทีสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทีเอ็มบี จำกัด กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จะกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ เพราะเคยมีในต่างประเทศเช่นกันที่ช่วงตลาดหุ้นมีความร้อนแรงก็มีผู้ที่เสนอแนวคิดนี้ ส่งผลให้ตลาดนั้นปรับตัวลดลง ดังนั้น จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และให้คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า การเก็บภาษีจากกำไรส่วนต่างหุ้น อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี หวังว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาให้รอบคอบก่อนตตัดสินใจ ต้องตัดสินใจอย่างระมัดระวัง ซึ่งทั่วโลกมี 67 ประเทศที่ไม่ได้เก็บ ส่วนบางประเทศก็ใช้วิธีเก็บผ่านค่าธรรมเนียม อีกทั้งถ้าเราเก็บก็คงมีปัญหายุ่งยากเรื่องการบันทึกบัญชีจึงไม่อยากเห็นมาตรการที่จะออกมาทำลายความมั่นใจผู้ลงทุนเพียงเพราะต้องการลงโทษคนไม่กี่คน แต่จะกระทบคนหมู่มาก นายก้องเกียรติกล่าว

นายก้องเกียรติกล่าวว่า การที่เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง สาเหตุหลักคือแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงทั่วโลก เมื่อเทียบกับทั้งโซนยุโรปหรือโซนเอเชีย อีกทั้งในช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยมีแรงซื้อเข้ามามาก เพราะที่ผ่านมาตลาดหุ้นเพื่อนบ้านปรับขึ้นกันเกือบทุกประเทศ แต่ตลาดหุ้นไทยยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก ดังนั้น แรงซื้อในปัจจุบันจึงเข้ามามากเป็นพิเศษ ประกอบกับผู้ส่งออกเกิดความตื่นตระหนกจึงมีการขายเงินดอลลาร์ออกมาผสมด้วย จึงทำให้สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่ามีความเลวร้ายเพิ่มขึ้นไปอีก
http://news.sanook.com/economic/economic_156173.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news13/07/07

โพสต์ที่ 77

โพสต์

ธปท.ปรับเป้าจีดีพีสัปดาห์หน้า  
 
โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:18 น.
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า ธปท.จะมีการทบทวนตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใหม่จากประมาณการเดิมปีนี้ ที่คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 3.8-4.8% โดยจะนำประเด็นค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาประกอบการประมาณการด้วย ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายมองว่า ธปท.ควรจะลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลค่าเงินบาทและกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ช่วงก่อนประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 1 สัปดาห์ ธปท.จะไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับดอกเบี้ย แต่คนที่เกี่ยวข้องสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และ ธปท.จะรับฟังทุกฝ่าย  
http://news.sanook.com/economic/economic_156172.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news13/07/07

โพสต์ที่ 78

โพสต์

ผงะว่างงานพุ่งลิ่ว5.8แสนคน  
โดย เดลินิวส์
วัน ศุกร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 08:53 น.

นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจภาวะการทำงานประ ชากรไทยว่าเดือน พ.ค. 50 มีผู้ว่างงาน 5.8 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8 หมื่นคน โดยสาขาการผลิตว่างงานมากสุด 9 หมื่นคน ก่อสร้าง 8 หมื่นคน การขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์และของใช้ส่วนบุคคลและครัวเรือน 4 หมื่นคน การโรงแรมและภัตตาคาร 3 หมื่นคน และสาขาอื่น 4 หมื่นคน ขณะที่ภาคเกษตรกรรม 6 หมื่นคน ที่เหลือเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 2.4 แสนคน

ทั้งนี้หากพิจารณาระดับการศึกษาพบว่า ผู้จบระดับอุดมศึกษาว่างงานมากสุด 1.7 แสนคน รองลงมามัธยมตอนต้น 1.2 แสนคน มัธยมตอนปลาย 1.1 แสนคน ประถมศึกษา 9 หมื่นคน ไม่มีและต่ำกว่าประถมศึกษา 6 หมื่นคน ขณะเดียวกันพบว่าประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่างงานมากสุด 1.8 แสนคน ภาคกลาง 1.5 แสนคน ภาคเหนือ 1.2 แสนคน ภาคใต้ 8 หมื่นคน และ กท. 5 หมื่นคน

อัตราว่างงาน 5.8 แสนคน แบ่งเป็นผู้ชาย 3.6 แสนคน ผู้หญิง 2.2 แสนคน ส่วน จำนวนว่างงานที่เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8 หมื่นคน เป็นการเพิ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากสุด 5 หมื่นคน ภาคเหนือ 4 หมื่นคน ภาคกลาง 3 หมื่นคน โดย กท.ว่างงานลดลง 3 หมื่นคน ภาคใต้ลดลง 1 หมื่นคน

ทั้งนี้หากพิจารณาระดับการศึกษาของมัธยมตอนปลายพบว่าผู้ที่เรียนสายสามัญว่างงานมากกว่าสายอาชีวศึกษา โดยสายสามัญ 7.63 หมื่นคน แต่อาชีวศึกษา 2.99 หมื่นคน ขณะที่ระดับอุดมศึกษาด้านสายวิชาการว่างงาน 1.159 แสนคน สายวิชาชีพว่างงาน 5 หมื่นคน และสาย วิชาการศึกษา 3.5 พันคน

สำหรับผู้มีงานทำมีจำนวน 35.22 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.7 แสนคน แบ่งเป็นภาคเกษตรกรรม 12.85 ล้านคน ลดลง 8.4 แสนคน และนอกภาคเกษตรกรรม 22.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.7 แสนคน โดยสาขาการขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์และของใช้ส่วน บุคคลและครัวเรือนเพิ่มมากสุด 1.5 แสนคน รองลงมาโรงแรมและภัตตาคาร 1.4 แสนคน บริหารราชการแผ่นดินรวมประกันสังคมภาคบังคับ 5 หมื่นคน อสังหาริมทรัพย์ 3 หมื่นคน การศึกษา 3 หมื่นคน แต่ก่อสร้างลดลง 8 หมื่นคน การขนส่ง คมนาคมและคลังสินค้าลดลง 8 หมื่นคนและการผลิตลดลง 6 หมื่นคน

ส่วนผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม 22.37 ล้านคน แบ่งเป็นภาคการผลิต 6.34 ล้านคน การขายส่ง ขายปลีก 5.7 ล้านคน ก่อสร้าง 2.81 ล้านคน โรงแรมและภัตตาคาร 2.42 ล้านคน การบริหารราชการแผ่นดินฯ 1.16 ล้านคน การขนส่งฯ 1.15 ล้านคน การศึกษา 9.3 แสนคน อสังหาริมทรัพย์ 7.8 แสนคน และอาชีพอื่น 2.04 ล้านคน

ทั้งนี้หากพิจารณาสถานภาพการทำงานของผู้มีงานทำ 35.22 ล้านคน พบว่าเป็นนายจ้าง กว่า 1.162 ล้านคน คิดเป็น 3.3%, ลูกจ้างรัฐบาล 3.209 ล้านคน คิดเป็น 9.1%, ลูกจ้างเอกชน 13 ล้านคน คิดเป็น 36.9%, ทำงานส่วนตัว 11.246 ล้านคน คิดเป็น 31.9%, ทำงานให้ครอบครัว โดยไม่ได้รับค่าจ้าง 6.52 ล้านคน คิดเป็น 18.5% และการรวมกลุ่ม 8 แสนคน คิดเป็น 0.2%

ประชากรไทยเดือน พ.ค. มี 65.68 ล้านคน อยู่ในวัยแรงงาน 36.28 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีงานทำ 35.22 ล้านคน ว่างงาน 5.8 ล้านคน และผู้ที่รอฤดูกาล 4.8 แสนคน นอกจากนี้พบว่าเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในวัยแรงงาน 14.69 ล้านคน ต่ำกว่า 15 ปี 14.71 ล้านคน.
http://news.sanook.com/economic/economic_156105.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news13/07/07

โพสต์ที่ 79

โพสต์

เงินบาทแข็งค่า ปรับวิกฤติเป็นโอกาส...เร่งขยายการลงทุน

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 14:23:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :    นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาที่ระดับ 33.3 บาท/ดอลลาร์ฯ เป็นระดับที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 10 ปี  และแข็งค่าขึ้นประมาณ 8% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2549 แต่ถ้ามองตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่าไปแล้วรวมทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 23 อีกทั้งเป็นอัตราที่สูงกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค

   การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา มีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลในระดับสูง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีการเกินดุลมูลค่า 5,038 ล้านดอลลาร์ฯ เทียบกับที่เกินดุล 3,240 ล้านดอลลาร์ฯ ตลอดทั้งปี 2549  นอกจากนี้ยังมีเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาทั้งในรูปการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งการลงทุนที่ไหลเข้ามายังประเทศไทยนี้ ส่วนหนึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่เป็นผลตามมาจากกระแสการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ

  ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจส่งออกของไทย ซึ่งเผชิญการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรงอยู่แล้วในตลาดโลก เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระดับนี้ ทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถแข่งขันได้ บางรายไม่เพียงแต่ต้องตัดลดอัตรากำไรลง ยังอาจต้องยอมขายขาดทุนเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและฐานลูกค้าไว้ แต่ต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการไม่สามารถทนรับสภาพการขาดทุนได้อย่างยาวนาน จึงเริ่มเห็นธุรกิจบางรายเริ่มปิดตัวเองลง นำมาสู่การเลิกจ้างพนักงาน แม้ว่าปัจจุบันยังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับบริษัทเพียงบางราย แต่ถ้าสถานการณ์เช่นนี้ขยายออกไปเป็นวงกว้าง อาจกลายเป็นปัญหาการว่างงานในระดับประเทศได้

   อย่างไรก็ดี หากมองจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ผู้ประกอบการไทยในบางธุรกิจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก หลังจากค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นนี้ อาจเป็นการมองที่ปลายเหตุ โดยค่าเงินเป็นเพียงตัวเร่ง ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงไม่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ นับจากเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 จนถึงปัจจุบันนี้ เวลาผ่านไป 10 ปี แต่พัฒนาการของผู้ประกอบการไทยยังเป็นไปอย่างล่าช้า เศรษฐกิจยังคงพึ่งพาการส่งออกสูง รวมทั้งการส่งออกที่เติบโตสูงในระยะที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาศัยประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่าลง และการลงทุนที่เข้ามาจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่นับบริษัทขนาดใหญ่ของคนไทย เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจของคนไทยยังคงใช้เทคโนโลยีที่ไม่ได้แตกต่างไปจากเมื่อ 10 ปีก่อนมากนัก เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ มีรายได้เงินตราต่างประเทศเกินดุลติดต่อกันมาหลายปี รวมทั้งมีเสถียรภาพทางการเงินและการคลังที่เข้มแข็งขึ้น ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ตามมากับปัจจัยพื้นฐานที่ฟื้นตัวขึ้น แม้ในบางช่วงจะมีความผันผวนจากการเก็งกำไรของนักลงทุนหรือกองทุนต่างประเทศในตลาดเงินตลาดทุนก็ตาม

  ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องหาแนวทางปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity Increase) รวมถึงความพยายามในการลดต้นทุนในองค์กร (Cost Reduction) อย่างจริงจัง กระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการลงทุน เช่น การปรับระบบการผลิตโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทดแทนแรงงาน หรือการปรับผลิตภัณฑ์มุ่งตลาด Niche ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา
   ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเช่นนี้ อันที่จริงแล้วเป็นช่วงจังหวะที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องมีการลงทุนขยายธุรกิจ การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ หรือการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต และความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการลงทุนส่วนใหญ่จะต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งค่าแข็งบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้ต้นทุนการนำเข้าต่ำลงมาก แต่สถานการณ์การลงทุนในขณะนี้กลับอยู่ในภาวะที่หดตัวลง สำหรับภาคเอกชน น่าจะเป็นที่เข้าใจดีว่าค่าเงินที่แข็งจะทำให้ผู้นำเข้ามีค่าใช้จ่ายเป็นเงินบาทน้อยลงในการสั่งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์จากต่างประเทศ  แต่เอกชนก็ยังไม่กล้าลงทุน ในภาวะที่ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญรองลงมา และเลือกที่จะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนทางการเมืองและนโยบายของภาครัฐ ซึ่งถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนกับการนำเข้าสินค้าทุน จะเห็นได้ว่าในช่วงตั้งแต่ปี 2549 ปัจจัยในด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่มีผลกระตุ้นให้เกิดการลงทุน

   ในด้านรัฐบาลเองก็มีแนวทางที่จะเร่งการลงทุนของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อลดการเกินดุลการค้า และอาจผ่อนคลายภาวะค่าเงินที่แข็งค่าลงได้บ้าง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกทิศทาง ดังเช่นประเทศจีนก็ได้มีความพยายามในลักษณะเดียวกันนี้ที่จะเพิ่มการนำเข้า เพื่อลดแรงกดดันจากการเกินดุลการค้ากับต่างประเทศ  แต่ในทางปฏิบัติ หน่วยงานภาครัฐมีขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการผลักดันการลงทุนให้เกิดการนำเข้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้น นอกจากเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐแล้ว การผลักดันการลงทุนของภาคเอกชนจึงเป็นแนวทางที่ควรดำเนินการควบคู่ไปด้วย โดยจูงใจให้ธุรกิจที่มีความต้องการลงทุนตัดสินใจลงทุนเร็วขึ้น

   แม้ว่าปัญหาทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยความเชื่อมั่นทำให้การลงทุนของประเทศมีการชะลอตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ความต้องการลงทุนภายในประเทศยังมีอีกมาก และรอจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม สังเกตได้จากเครื่องชี้ที่สำคัญคือ อัตราการใช้กำลังการผลิตในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับโดยเฉลี่ย 75.6% ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2550 สูงกว่าในช่วงปี 2539 ก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจ ที่มีระดับ 75.2% ขณะเดียวกัน ความสนใจของนักลงทุนที่สะท้อนจากการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ยังคงเพิ่มขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ท่ามกลางปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง โครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในเดือนมิถุนายน 2550 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง มีมูลค่าโครงการลงทุน 54,200 ล้านบาท เทียบกับ 44,500 ล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า

  สำหรับภาพรวมในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 โครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 254,200 ล้านบาท (670 โครงการ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีมูลค่าโครงการลงทุน 168,200 ล้านบาท (617 โครงการ) กิจการที่มีมูลค่าโครงการลงทุนสูงที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ บริการและสาธารณูปโภค (เพิ่มขึ้นร้อยละ 137) รองลงมาคือเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 24) โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 53) อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ลดลงร้อยละ 14) เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 73) และเหมืองแร่ เซรามิกส์และโลหะมูลฐาน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1300) ส่วนอุตสาหกรรมเบา (อุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงาน) มีความต้องการลงทุนในระดับต่ำ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าธุรกิจที่มีโอกาสขยายการลงทุนในระยะข้างหน้า ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร ปิโตรเคมี พลังงานทางเลือก ธุรกิจบริการขั้นสูง เช่น โรงแรม ศูนย์ประชุม โรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพ เป็นต้น

   สำหรับแนวโน้มการลงทุนในระยะเวลาที่เหลือของปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการลงทุนในไตรมาสสองอาจยังคงอ่อนแอ ขณะที่ในช่วงครึ่งปีหลังอาจมีการเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น โครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด และมีการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าของเอกชน (IPP) รวมทั้งโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง หรือ รถไฟฟ้า บางเส้นทาง แต่โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ยังเป็นช่วงเริ่มต้นโครงการที่อาจเริ่มก่อสร้างโรงงาน หรือในกรณีโรงไฟฟ้าและรถไฟฟ้า ในปีนี้คงเป็นเพียงการประมูลคัดเลือกบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการ และทำการศึกษาโครงการเท่านั้น การนำเข้าอุปกรณ์อาจยังไม่เกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้ ขณะเดียวกัน การลงทุนในระดับผู้ประกอบการทั่วไปอาจยังฟื้นตัวอย่างจำกัด จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างฉับพลันอาจส่งผลกระทบให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น กลับทรุดตัวลงอีกได้

   ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่า แนวทางการผลักดันให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท เป็นแนวทางที่น่าจะเร่งดำเนินการให้มีผลเป็นรูปธรรม เพราะนอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อธุรกิจส่งออกแล้ว การลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย โดยรัฐบาลควรมีมาตรการออกมาส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนเพื่อการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยต่อสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมาตรการที่อาจนำมาใช้ เช่น

   การดำเนินการแก้ไขอุปสรรคด้านการลงทุนต่างๆ ทั้งโครงการของภาครัฐและเอกชน เพื่อเร่งเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น การลงทุนด้านปิโตรเคมี พลังงาน ไฟฟ้า และระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ

   การออกมาตรการระยะสั้น ให้สิทธิพิเศษผู้ที่ลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เช่น จัดโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ในลักษณะคล้ายกับ โครงการ Machine Fund ที่กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการผ่านสำนักงานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) การให้บริษัทผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถขอคืนภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ หรือให้นำค่าใช้จ่ายลงทุนไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า เป็นต้น โดยมาตรการดังกล่าวกำหนดช่วงเวลาของการนำเข้าที่จะได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษดังกล่าว

   การเพิ่มสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้แก่กิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงการทำกิจกรรมชักจูงการลงทุน
   การสนับสนุนภาคเอกชนไทยในการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อได้ประโยชน์จากต้นทุนแรงงานที่ต่ำลง


   นอกเหนือจากมาตรการในการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนแล้ว มาตรการรองรับการเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ภาครัฐควรมีการจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานขึ้นมาดูแลธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งในอนาคตจะมีธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันได้ และต้องมีการให้ความช่วยเหลือในการปรับตัว ขณะเดียวกัน การโยกย้ายการลงทุนออกไปยังต่างประเทศ จะต้องมีการช่วยเหลือแรงงานในประเทศในด้านการพัฒนาทักษะเพื่อป้อนสู่ภาคเศรษฐกิจใหม่ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือธุรกิจในประเทศในการปรับตัวให้แข่งขันได้ โดยเร่งยกระดับการผลิต เน้นการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาเทคโนโลยี และหันไปสู่การผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการที่มีมูลค่าสูง

ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/1 ... wsid=83999
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news13/07/07

โพสต์ที่ 80

โพสต์

ต่างชาติขนเงินแสนล้านคอนโทรลหุ้นไทย

       ต่างชาติขนเงินแสนล้านคอนโทรลตลาดหุ้นไทย สวนทางรายย่อย-กองทุนกระหน่ำขาย วงการชี้หุ้นยังทะยานได้อีกหากยังมีบางส่วนไม่เชื่อมั่น แต่ถ้าวันใดความเชื่อมั่นในประเทศกลับมา เป็นสัญญาณร้ายแน่ แนะรายย่อยเล่นสั้นตามน้ำ เพราะไม่รู้ว่าฝรั่งจะถอนทุนเมื่อไหร่ หลังจากกำไร 2 เด้งทั้งจากค่าเงิน-ราคาหุ้น

             หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทย การเมืองที่อึมครึมดูเหมือนจะคลี่คลายลงไป โดยเฉพาะในสายตานักลงทุนต่างชาติที่ก่อนหน้านี้แม้ว่าจะมีเม็ดเงินไหลทะลักออกมาหาผลตอบแทนที่ดีกว่าในตลาดหุ้นแถบเอเชียเป็นจำนวนมาก แต่ประเทศไทยกลับไม่ได้อยู่ในสายตา เพราะยังมีปัญหาการเมืองเป็นประเด็นร้ายปกคลุม แต่มาวันนี้หุ้นไทยพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ นักลงทุนต่างชาติพร้อมที่จะขนเงินเข้ามาลงทุน จากปัญหาการเมืองที่คลี่คลาย ในขณะที่ราคาหุ้นถือว่าถูกแสนถูกหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะในช่วงที่หุ้นบ้านเราซบเซาตลาดหุ้นอื่นเค้าทำสถิตินิวไฮกันอย่างถ้วนหน้า
              แต่วันนี้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปเส้นทางเงินของต่างชาติจึงมุ่งสู่ตลาดหุ้นไทย ซึ่งสอดคล้องกับค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จนทางการไม่อาจต้นทานกระแสการไหลเข้าของเม็ดเงินได้ ถือเป็นช่องทางให้ฝรั่งทำกำไร 2 ต่อทั้งจากค่าเงินและราคาหุ้น อย่างที่ไม่มีใครทัดทานได้ แม้ว่าบางค่ายเริ่มออกมาเตือนว่าหุ้นไทยอาจจะอยู่ในระดับที่เกือบแพงแล้ว หรือแม้แต่ เลขาธิการ ก.ล.ต. เองยังออกโรงเตือนว่า P/E ตลาดหุ้นไทยตอนนี้ทะลุ 14 เท่าไปแล้ว แต่แรงเตือนก็พ่ายแพ้แรงเงินที่ยังไหลบ่าเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง
ดัชนีตลาดหุ้นแรลลี่ขึ้นมาจากระดับ 727 จุด เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ก่อนการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคในวันที่ 30 พ.ค. มาอยู่ที่ 859 จุด หรือปรับตัวขึ้นถึง 18.56% ภายในเวลาเพียง 1เดือนกว่าๆเท่านั้น นักลงทุนต่างชาติตะลุยซื้อสุทธิ 128,759.63 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปี
              ท่ามกลางความขัดแย้งและความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนในอีกฟากหนึ่ง นั่นคือกองทุนและรายย่อย ที่โหมขายหุ้นออกมาต่อเนื่องสวนทางฝรั่ง โดยตั้งแต่ต้นปีกองทุนขายสุทธิ 20247.53 ล้านบาท รายย่อยขายสุทธิ 108512.10 ล้านบาท โดยในส่วนของรายย่อยเองถือว่ามีบทเรียนจากอดีตที่ผ่านมาหลายครั้ง จึงปรับกลยุทธ์เป็นการเล่นตามกระแสเท่านั้น จึงเห็นได้ว่ารายย่อยมีการขายทำกำไรออกมาเป็นระยะเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น ยิ่งกองทุนขายออกมามากเท่าไหร่ แต่ต่างชาติโหมซื้อก็ทำให้หุ้นบิ๊กแคปทะยานต่อได้เรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดระดับความร้อนแรงลง การที่ทุกคนยังไม่เชื่อมั่น ยิ่งทำให้หุ้นไทยวิ่งต่อไม่หยุด แต่หากวันใดทุกคนมีความเชื่อมั่นและหันมาซื้อหุ้น นั่นคือสัญญาณอันตรายว่าต่างชาติอาจทิ้งของออกมาได้
             นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่าปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยถึง 35 % ในขณะที่นักลงทุนสถาบันมีสัดส่วนการลงทุน 10-15% และอีกประมาณ 50% เป็นของนักลงทุนรายย่อย ทั้งนี้มองว่าแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยได้ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติเน้นเข้าซื้อลงทุนในหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ ซึ่งราคาหุ้นและมูลค่าการซื้อขายของหุ้นในกลุ่มดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของดัชนีฯ ซึ่งคาดว่ากระแสเงินลงทุนจากต่างชาติจะยังคงไหลเข้าในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย และตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยเปรียบเทียบค่า P/E ต่ออัตราการเติบโตของกำไร ระหว่างตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค มองว่าดัชนีฯตลาดหุ้นไทยซึ่งมีค่าP/E อยู่ที่ 14 เท่า ยังถือว่า laggard ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค จึงมองว่าในระยะยาวนักลงทุนต่างชาติจะยังคงให้ความสนใจมาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
             กลยุทธ์สำหรับนักลงทุนรายย่อย แนะนำซื้อเก็งกำไรระยะสั้น แต่ถ้าในระยะยาวให้ซื้อลงทุนให้หุ้นของบริษัทฯที่มีผลประกอบการดี และมีอัตรากำไรมากกว่า 10%
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ รองกรรมการผู้จัดการ บล.บัวหลวง กล่าวว่า ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นมาจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังถูกเมื่อเทียบกับภูมิภาค รวมถึงค่า P/E และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนนั้น ยังเป็นผลมาจากการเข้าเก็งกำไรค่าเงินบาทด้วย
            "นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามา control ตลาดหุ้นไทยหรือเปล่า คงไม่ถึงขนาดนั้น และคงต้องขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจด้วย การที่นักลงทุนต่างชาติเวลาซื้อก็จะซื้อหุ้นขนาดใหญ่ ย่อมทำให้ดัชนีฯเพิ่มขึ้นและมีผลต่อดัชนีฯ แต่คนไทยจะชอบซื้อหุ้นขนาดเล็กมากกว่า และที่ผ่านมา ตลาดฯอั้นมานาน พอตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น คนก็จะเข้ามาซื้อและดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก" นายเผดิมภพ กล่าว
              อย่างไรก็ดี มองว่าปัจจุบันนักวิเคราะห์หลายๆ แห่งคงยังไม่สามารถประเมินได้ว่าราคาหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นมานั้นแพงเกินไปหรือไม่ ซึ่งยังคงรอดูผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2/2550 ที่จะทยอยในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งหากผลการดำเนินงานโดยรวมลดลงก็คงไม่มีการปรับประมาณการและแสดงให้เห็นว่าราคาหุ้นปัจจุบันแพงเกินไป
              ทั้งนี้ แนะนำนักลงทุนซื้อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ LH, PS และ LPN เพราะจะได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง และคาดว่าหลังจากที่ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 2/50 นั้นอาจปรับประมาณการกำไรขึ้น อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาสที่ 3/50 จะปรับตัวดีขึ้น จากที่มองว่าไตรมาสที่ 2/50 จะถึงจุดต่ำสุดแล้ว
นายอาจดนัย สุจริตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ.พี.มอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การเข้าลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศมีเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ไทยตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วภูมิภาคเอเชีย และหมายรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ไทย หลังจากสถานการณ์การเมืองเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ หากประเมินว่าเม็ดเงินนักลงทุนต่างประเทศจะควบคุมการเคลื่อนไหว SET Index หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแรงซื้อของนักลงทุนรายย่อยเองว่าตัดสินใจเข้าลงทุนตามมากน้อยแค่ไหน
             "ตลาดหุ้นภูมิภาคขึ้นมาก็เยอะแล้ว และบ้านเราการเมืองก็มั่นคงขึ้น เป็นสิ่งที่ดี ที่ผ่านมาฝรั่งซื้อหุ้นไทยตลอด โดยตั้งแต่ต้นปีซื้อเข้ามาเกือบ 4 พันกว่าล้านเหรียญ มีแต่รายย่อยที่ไม่มั่นใจในตลาดหุ้นไทยเองเท่านั้น"นายอาจดนัย กล่าว
              อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยยังปรับขึ้นได้ต่อ และหากถึง 880 จุด ดัชนีฯน่าจะพักฐาน เพื่อรอดูความชัดเจนสถานการณ์การเมืองที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวชัดเจน มีโอกาสดัชนีฯปรับเพิ่มโดดเด่น โดยในส่วนของปีนี้ประเมินกรอบดัชนีฯไว้ที่ 880 - 900 จุด
              นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการรายงานสถานการณ์ค่าเงินบาท ให้กับ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ว่า ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทยังคงนิ่งอยู่ แต่ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากโดยปัจจัยมาจากมีเงินไหลเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
ทั้งนี้ยอมรับว่าค่าเงินบาทจะยังคงมีความผันผวนต่อไปอีกเนื่องจากจะยังคงมีเงินทุนไหลเข้าออกต่อไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกระทรวงการคลัง จึงได้พยายาม ร่วมมือกับธปท.ในการใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ที่มองว่าเพียงพอต่อการบริหารจัดการแล้ว มาใช้ให้ดีที่สุด
              อย่างไรก็ตามในส่วนของรัฐบาลเองจะต้องเตรียมความพร้อมรับมือเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในภาคอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีสูงขึ้น ดังนั้นรัฐบาลต้องเตรียมการปรับโครงสร้างระบบอุตสาหกรรม และเตรียมรับมือกับปัญหาแรงงานที่ต้องหาทางสนับสนุนให้มีความรู้ทางด้านเทคโนยีให้มากขึ้น และต้องจัดหางานใหม่ให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างให้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย
              สำหรับการรายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทให้กับนายกรัฐมนตรีรับทราบในวันนี้นั้น นายกรัฐมนตรีไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้กระทรวงการคลัง และธปท.รายงานเรื่องดังกล่าวให้รับทราบทุกวันศุกร์ด้วย เนื่องจากรัฐบาลได้เห็นความสำคัญกับนี้มากขึ้น
              ส่วนการแก้ไขปัญหาแรงงานที่ว่างลงหลังจากที่บริษัทปิดตัวลงนั้น นายฉลองภพ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันที่ 17 ก.ค.2550 นี้ จะมีการหารือกันในเรื่องดังกล่าวด้วยและหลังจากนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อหารือในเรื่องนีกับภาคเอกชนด้วย
http://www.efinancethai.com/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news14/07/07

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ลุ้นประชุมกนง.วัดใจลดดอกเบี้ย
โพสต์ทูเดย์ บอร์ด กนง.ระบุ ลดดอกเบี้ยก็ไม่ช่วยให้เงินบาทอ่อนค่า

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะกรรมการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 18 ก.ค.นี้ ยังไม่ทราบว่าที่ประชุมจะลดดอกเบี้ยนโยบายลงหรือไม่ แต่เชื่อว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกคงไม่ช่วยให้เงินบาทอ่อนค่า เพราะได้พิสูจน์มาแล้วจากการลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้ว 2 ครั้ง รวม 1.50% แต่เงินบาทก็ยังแข็งค่า
หากลดดอกเบี้ยลงอีกก็จะไม่เหลือมาตรการใดๆ ที่จะนำมาใช้ในการดูแลเศรษฐกิจ หากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลดลงเหลือ 2-3% ก็น่าจะลดดอกเบี้ยได้ แต่ขณะนี้สถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีการคาดการณ์ว่าจีดีพีของไทยจะเติบโตในระดับ 4% นายจักรมณฑ์ กล่าว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าเป็นทิศทางที่ไม่ผิด แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะพิจารณาอย่างละเอียดว่าหากลดดอกเบี้ยอีก จะทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาหนึ่งแต่ไปสร้างอีกปัญหาหนึ่ง
นายประสาร กล่าวว่า หากการประชุม กนง.จะไม่ลดดอกเบี้ยก็มีเหตุผลที่อธิบายได้ และหากจะลดดอกเบี้ยก็มีเหตุผลที่จะอธิบายอีกเช่นกัน ทิศทางของดอกเบี้ยไม่ผิดการแก้ไขค่าเงินบาทแข็งค่า ต้องไปเจาะช่องให้เงินไหลออกไปได้จะดีกว่า นายประสาร กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=178612
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news14/07/07

โพสต์ที่ 82

โพสต์

คาดสัปดาห์หน้าหุ้น-บาททำสถิติสูงสุดอีก

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ในสัปดาห์นี้ (9-13 ก.ค.) เงินบาทในประเทศ (Onshore) แข็งค่าผ่านแนวต้านสำคัญหลายระดับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยยังคงได้รับแรงหนุนจากแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออก การเข้าซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และความอ่อนแอของเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่านางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาระบุว่า พร้อมจะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากเกินไป เพื่อซื้อเวลาให้ผู้ส่งออกมีเวลาปรับตัว พร้อมกับระบุเตือนผู้ส่งออกอย่าเร่งเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐออกมา เนื่องจากความตื่นตระหนกหลังเงินบาทแข็งค่าขึ้น สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับ 33.315 เทียบกับระดับปิดในวันศุกร์ก่อนหน้า (6 กรกฎาคม) ที่ 33.99 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออกได้ชะลอลงในช่วงปลายสัปดาห์

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ธปท.อนุญาตให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non Resident) ที่มีการค้าและการลงทุน ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามาก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 สามารถกู้ยืมเงินบาทกับสถาบันการเงินในประเทศเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะช่วงวันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค.50 โดยได้รับยกเว้นการดำรงเงินสำรอง 30% ตามมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น เพื่อลดภาระในการป้องกันความเสี่ยงสำหรับ Non Resident ที่เคยทำไว้ในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ธปท.ยังได้กำชับให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลการทำธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของผู้ส่งออกให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อปิดช่องทางการเก็งกำไรเงินบาทอีกด้วย
ในสัปดาห์หหน้า (16-20 กรกฎาคม 2550) คาดเงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.10-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปัจจัยที่ควรจับตาคือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 18 กรกฎาคม สัญญาณของการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ แรงเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออก การเข้าแทรกแซงตลาด และการออกมาตรการอื่น ๆ ของ ธปท. เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ตลอดจนผลการหารือประเด็นการแข็งค่าของเงินบาทระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชนอีกด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังควรจับตาทิศทางเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่สำคัญหลายตัว อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือนพฤษภาคม และบันทึกการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน ขณะที่ความกังวลต่อปัญหาตลาดจำนองสำหรับผู้กู้ยืมที่มีความน่าเชื่อถือต่ำอาจยังคงเป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ทั่วโลกเป็นกังวลเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลง เนื่องมีปัญหาตลาดจำนองสำหรับผู้กู้ยืมที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ หรือซับไพร์ม ของสหรัฐ หลังบริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดซับไพร์มมูลค่า 12,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินเยนปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นสัปดาห์ เงินเยนทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม เงินเยนได้ลดช่วงบวกลงในช่วงต่อมา เนื่องจากยังคงมีแรงเทขายเงินเยนเนื่องจากความเสียเปรียบด้านอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินเยนทรงตัวที่ระดับประมาณ 122.36 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เงินยูโร ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่า 1.3799 ดอลลาร์สหรรัฐ/ยูโร ในระหว่างสัปดาห์
ส่วนตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 859.14 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากระดับปิดที่ 832.38 จุด ในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 จากสิ้นปีก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 จาก 175,586.13 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 179,222.40 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มจาก 35,117.23 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 35,844.48 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai ปิดที่ 237.46 จุด ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.7 จาก 235.73 จุด ในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 จากสิ้นปีก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงพุ่งขึ้นปิดที่ระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบกว่า 10 ปี โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 10,800 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันขายสุทธิที่ 9,310 ล้านบาท และ 621 ล้านบาท ตามลำดับ ตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นต่อเนื่องเมื่อวันจันทร์และวันอังคารที่ผ่านมา โดยปิดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.42 ในวันจันทร์ และร้อยละ 1.63 ในวันอังคาร จากกระแสเงินทุนไหลเข้าที่เข้ามาซื้อหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ก่อนที่ดัชนีจะปรับฐานในวันพุธ หลังจากที่บวกขึ้นแรง 3 วัน ก่อนหน้า จากแรงขายทำกำไรหุ้นขนาดใหญ่ทั้งในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนีร่วงลงร้อยละ 1.42 ในวันพุธ และยังเป็นการปรับตัวลงในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นในภูมิภาค โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบ 10 วัน ขณะที่ในวันพฤหัสบดีนั้น ดัชนียังคงขยับลงต่อเนื่องอีกเล็กน้อย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการแข็งค่าของเงินบาทต่อภาคธุรกิจและการขยายตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติได้กลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง ส่วนในวันศุกร์นั้น ดัชนีพุ่งขึ้นนับจากเปิดตลาดและแกว่งตัวในช่วงแคบตลอดวัน แต่สามารถปิดบวกขึ้น ร้อยละ1.81 สู่ระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบกว่า 10 ปี นับจากวันที่ 17 ธันวาคม 2539 ที่ 859.14 จุด โดยได้รับปัจจัยบวกจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาในภูมิภาค และการพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ของตลาดหุ้นสหรัฐ
สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์หน้า (16-20 กรกฎาคม 2550) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เงินทุนไหลน่าจะยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนการปรับตัวของดัชนีได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีอาจเริ่มจะเผชิญกับความเสี่ยงจากการปรับฐานและการสลับกลุ่มซื้อขายเป็นระยะ ๆ หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนคงจะให้ความสนใจการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ ทิศทางของค่าเงินบาทและการดำเนินการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินจากทางการ การปรับตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลก และอาจเริ่มมีการซื้อขายเพื่อเก็งกำไรตามการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2550 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ทางบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 837 และ 857 จุด และแนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 861 และ 897 จุด ตามลำดับ.
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=178728
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/07/07

โพสต์ที่ 83

โพสต์

'ภัทรียา'เผยผลสำรวจผู้บริหารบจ.ชี้ว่าศก.ในปี50 โตมากกว่า3.5%

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 15:08:00

ตลท.ร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และมันนี่แชนแนล เผยผลสำรวจความเห็นผู้บริหารบจ. ประจำไตรมาส 2 ปี 2550 พบว่าความคิดเห็นผู้บริหารบจ.มากกว่า 60% เห็นว่าศก.โตมากกว่า 3.5%
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นางภัทรียา  เบญจพลชัย  กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสถานีโทรทัศน์มันนี่แชนแนล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงภาพรวมแนวโน้ม  การดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน ทุกอุตสาหกรรม ทุกไตรมาส ภายใต้ชื่อโครงการ Quarterly Thailand Economic Outlook Survey เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้มาจัดทำตัวชี้วัดด้านการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทย

ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการทำงานร่วมกับพันธมิตร   เพื่อพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ฯ  ตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ที่มุ่งสู่การเป็นตลาดทุนที่ครบวงจร  และมีความน่าสนใจในภูมิภาค

การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน  ซึ่งเป็นบุคคลที่คลุกคลีในแวดวงอุตสาหกรรมนั้น ๆ  โดยตรงจะทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ  หน่วยงานภาครัฐ   นักวิเคราะห์  และนักลงทุน มีข้อมูลที่สะท้อนถึงปัจจัยต่าง ๆ  ที่มีผลต่อการทำธุรกิจ  การลงทุน และแนวโน้มของสภาวะตลาดทุน รวมทั้ง เศรษฐกิจของประเทศ นางภัทรียากล่าว

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นความสำคัญของการใช้ข้อมูล  เพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งในด้านการลงทุน  การดำเนินธุรกิจ  ข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้ จึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมาก  โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำข้อมูลที่ได้เผยแพร่ให้ นักลงทุน และบุคคลทั่วไป ใช้เป็นข้อมูลประกอบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนำไปพัฒนากลยุทธ์และนโยบายต่าง ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บริษัทจดทะเบียน  รวมทั้ง เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ  ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียน  เช่น การเผยแพร่โครงการกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) หรือเพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องของการมีบรรษัทภิบาล (CG)  เป็นต้น

ส่วนประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนได้รับ คือ สามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตน หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ไปใช้พัฒนากลยุทธ์  ให้บริษัทมีความแข็งแกร่ง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

สำหรับนักวิเคราะห์ ก็สามารถรับรู้มุมมองของผู้ประกอบการเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และการดำเนินธุรกิจ  ไปใช้ประกอบการวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ส่วนหน่วยงานภาครัฐ  ก็สามารถนำข้อมูลใช้ในการพิจารณาดำเนินนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน หรืออุตสาหกรรม ที่ต้องพึ่งพาตลาดทุน

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำข้อมูลที่ได้จากการทำงานของสมาคมบริษัทจดทะเบียนให้สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งขึ้น   ทำรายงานการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบผลสำรวจความเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนให้บริษัทจดทะเบียนที่ร่วมในการให้ความเห็น (Thailand Economic Outlook Survey)

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ที่ปรึกษา  สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน กล่าวว่า ความเห็นที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้ สามารถสะท้อนภาพเศรษฐกิจของไทยได้ในระดับหนึ่ง  เพราะทำให้ทราบว่ามุมมองของผู้ประกอบการไทยต่อสภาพเศรษฐกิจ  การเมืองไทยในขณะใดขณะหนึ่งว่าเป็นอย่างไร  ดร.กอบศักดิ์กล่าว

สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนพบว่า ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมากกว่าร้อยละ 60 เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2550  จะขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 3.5 และมากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในปี  2551 จะขยายตัวดีขึ้นกว่าปีนี้ ซึ่งส่งผลให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนยังมีความมั่นใจที่จะขยายการลงทุน ประมาณร้อยละ 65 มีแนวโน้มที่จะขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นภายใน 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ประมาณร้อยละ 30 คาดว่าจะรักษาระดับการลงทุนในปี 2551 ในระดับเดียวกับปี 2550 โดยปัจจัยหลักที่ผู้บริหารบริษัท        จดทะเบียนเห็นว่ามีผลกระทบต่อแผนการลงทุนในปี 2550 ที่สุดคือ สภาวะเศรษฐกิจในประเทศและสภาวะการเมือง  ทั้งนี้  มีบริษัทจดทะเบียนเกือบร้อยละ 70 มีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ทั้งนี้  สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุนจะจัดส่งผลสำรวจในครั้งนี้  ให้บริษัทจดทะเบียนแก่หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ โดยตรง  เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนากลยุทธ์  การดำเนินงาน อาทิ การวัดค่าความได้เปรียบ เสียเปรียบ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียน   ปัจจัยที่ส่งผลดีหรือผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ  อุตสาหกรรมใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการทำธุรกิจแข่งขันกับต่างประเทศ  เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังจะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจทางสถานีโทรทัศน์มันนี่แชนแนล เว็บไซต์ของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ที่  www.lca.or.th   และตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ www.set.or.th ส่วนรายงานบทวิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบ ซึ่งแสดงผลการตอบแบบสอบถามของบริษัทจดทะเบียนแต่ละแห่งเทียบกับการวิเคราะห์ในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ฯ  ส่งให้เฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่ตอบแบบสอบถามและเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ มันนี่แชนแนลเท่านั้น

นางสาวเพ็ญศรี สุธีรศานต์ ผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า มุมมองที่ต้องการให้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนสะท้อนออกมาในแบบสำรวจคือ ภาวะเศรษฐกิจ การขยายกิจการ  การลงทุน  เพิ่มทุน   ความต้องการด้านบุคคลกรของบริษัท   ปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ภาพรวมแนวโน้มการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขัน ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง   อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน เป็นต้น รวมถึง  การทำกิจกรรมด้านบรรษัทภิบาล ด้านการส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

จากผลการสำรวจความเห็นของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน 110 บริษัท ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าตลาดทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน พบว่า ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนยังมีความมั่นใจต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/1 ... wsid=84023
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/07/07

โพสต์ที่ 84

โพสต์

เปิดกลยุทธ์ 10 บิ๊กส่งออก สู้ศึกค่าเงินบาทแข็ง

สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาตั้งแต่ต้นปี 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นปัญหาท้าทายภาคการส่งออก แม้ตัวเลขการส่งออก 5 เดือน (มกราคม-พฤษภาคม2550)กระทรวงพาณิชย์ ประกาศขยายตัว18.8% ทว่าผู้ส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในอาการล้มลุกคลุกคลานจากพิษบาทแข็ง บางรายปรับตัวสู้ไม่ไหวปิดกิจการไปแล้วจำนวนมากก็มี ล่าสุดได้มีการคาดหมายว่าค่าเงินบาทอาจทะลุ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ "ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมความเห็น 10 ผู้ส่งออกรายใหญ่ ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบค่าเงินบาทอย่างไร มีกลยุทธ์สู้ศึกค่าเงินบาททั้งที่ผ่านมาและอนาคตอย่างไร ดังรายละเอียด

นายหลักชัย กิตติพล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ได้กระทบต่อยอดส่งออกของบริษัท จากปีนี้ได้ตั้งเป้าทั้งปี 20,000 ล้านบาท แต่ครึ่งปีแรกทำได้ 9,500 ล้านบาท กลยุทธ์รับมือค่าเงินบาทแข็งค่าของบริษัททำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจากเดิมทำประมาณ 30-40% ขณะนี้ได้ทำประกันความเสี่ยงทั้งหมดคือ100% เพราะมองว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงคงยาก เนื่องจากต่างชาติยังคงขนเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเรา และมาตรการจัดการของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เกี่ยวกับดูแลค่าเงินบาทยังไม่ดีพอ

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ทียูเอฟเป็นกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ทียูเอฟตั้งเป้าอัตราการเติบเติบการส่งออกปีละ15% และทำได้ตามเป้าทุกปี แต่ปีนี้ผลประกอบการไตรมาสแรกในรูปเงินบาทติดลบ3% อันเนื่องมาจากค่าเงินบาท แข็งค่า ทุกมาตรการเพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบทำมาหมดแล้วทั้งลดต้นทุน ปรับราคาขึ้น มาตรการเหล่านี้คงไม่สามารถทำได้อีกแล้ว หากขึ้นราคาก็ต้องกระทบกำลังซื้อลูกค้าต่างประเทศ อยากจะให้ภาครัฐให้ความสำคัญเพราะตอนที่ค่าเงินบาทเราอ่อนไม่ได้อ่อนกว่าประเทศอื่น แต่ค่าเงินบาทแข็งเรากลับแข็งค่ากว่าประเทศอื่น

นางประพิศ มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการบริษัท เจียเม้ง จำกัด บริษัทส่งออกข้าว กล่าวว่าค่าเงินบาทแข็งกลุ่มเจียเม้ง ได้รับผลกระทบมาก ตอนที่ขายเสนอราคาที่ค่าเงินบาท 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ตอนส่งมอบสินค้าหรือตอนรับเงินค่าเงินอยู่ที่ 34-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ครึ่งปีแรกคิดว่าในรูปเงินบาทหายไปประมาณ 20-30% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะได้ 2,000 ล้านบาท มาตรการที่ทำเพื่อไม่ให้กระทบมากคือประกันความเสี่ยง แต่ทำไว้ประมาณ 50-70% เพราะการแข็งค่าของเงินบาทเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้น ยังมองไม่ออกว่าจะแข็งขึ้นไปอีกหรืออ่อนลง ประกอบกับธนาคารจำกัดวงเงินประกันความเสี่ยงด้วย

นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยการ์เม้นต์เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัท ไทยการ์เม้นต์ฯได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่อนข้างมาก ดังเช่น 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.)ปีที่ผ่านมาส่งออกได้ 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คำนวณเป็นเงินบาทได้2,600 ล้านบาท แต่ 5 เดือนปีนี้ส่งออกได้ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คำนวณเป็นเงินบาทได้ 2,100 ล้านบาท กลยุทธ์ของบริษัทคือยังใช้วิธีลดต้นทุนซึ่งยังพอมีช่องทางอยู่ แต่คงทำได้อีกไม่นาน กลยุทธ์ต่อไปหากเลี่ยงไม่ได้อาจต้องลดพนักงานลง แต่จะใช้เป็นวิธีสุดท้าย แต่ช่วงนี้อยากให้ภาครัฐทบทวนและหามาตรการมาดูแลผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบค่าเงินบาท

นายอดิเรก ศรีประทักษ์ ประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงจากค่าเงินบาทของซีพีเอฟได้ใช้วิธีการซื้อประกันความเสี่ยงค่าเงิน(ฟอร์เวิร์ด)ไว้กับธนาคารส่วนหนึ่ง โดยซื้อฟิคซ์เรต(อัตราแลกเปลี่ยนคงที่)ไว้ล่วงหน้า 3-4 เดือนโดยยอมเสียค่าพรีเมียมให้กับธนาคารดีกว่าขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ในบางครั้งได้ขอปรับขึ้นราคากับลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งก็ช่วยลดผลกระทบได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันบริษัทยังใช้วิธีบาลานซ์(การสร้างความสมดุล)ความเสี่ยง เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าทำให้บริษัทได้รับผลดีในการนำเข้าวัตถุดิบอาทิ กากถั่วเหลือง ไวตามิน และตัวยาต่างๆ ในราคาที่ถูกลง

นายโรจน์ บุรุษรัตนพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล
อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง กล่าวว่า โอกาสที่จะทะลุถึง 33 หรือ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ มองว่ามีความเป็นไปได้ อันเนื่องมาจากการไหลเข้ามาลงทุนของต่างชาติในตลาดทุนซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นสาเหตุให้ค่าเงินบาทแข็ง
สำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงจากค่าเงินบาทของบริษัทได้ใช้วิธีการทำฟอร์เวิร์ด รวมถึงการค้าขายเป็นสกุลเงินอื่นด้วย อาทิ สกุลยูโร ปอนด์สเตอริง สกุลเยนด้วย นอกจากนี้ยังมีการปรับลดต้นทุนอย่างเต็มที่ทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร การชี้แจงผลกระทบค่าเงินบาทให้เกษตรกรได้รับทราบเพื่อขอลดราคารับซื้อวัตถุดิบลง ขณะเดียวกันได้ช่วยเกษตรกรหาวิธีเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นด้วย เป็นต้น

นางวิไล เกียรติศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนเอเชีย(1981)จำกัด ผู้ส่งออกอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง กล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงค่าเงินบาทของบริษัท นอกจากการลดต้นทุนทุกวิถีทางแล้ว ได้ใช้วิธีการต่อรองราคากับลูกค้าเป็นหลัก หากลูกค้าให้ราคาต่ำมากจนไม่มีกำไรก็จะไม่รับคำสั่งซื้อ แต่หากได้ราคาที่ยังประคับประคองธุรกิจ บริษัทและคนงานให้อยู่รอดได้ก็จะรับคำสั่งซื้อ เพื่อรอหวังว่าวันหนึ่งสถานการณ์ค่าเงินบาทจะเอื้อต่อการส่งออกมากขึ้น

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการบริหาร รูบิคอนกรุ๊ปผู้ส่งออกสินค้ากุ้งรายใหญ่ และประธานบริหารบริษัท ซีแวลู จำกัด ผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องอันดับต้นๆ ของประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้ทั้งรูบิคอนและซีแวลูได้พยายามบริหารจัดการความเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาททุกวิถีทาง ทั้งการทำฟอร์เวิร์ด การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้า การปรับราคาขาย แต่ก็ยังไม่สามารถต่อสู้กับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆได้ จนเวลานี้ต้องหาทางออกสุดท้ายโดยต้องขอลดราคารับซื้อกุ้งจากเกษตรกรลง ซึ่งเป็นห่วงว่าหากลดราคาไปมากกว่านี้เกษตรกรจะอยู่ไม่ได้จนเลิกเลี้ยงกุ้ง และโรงงานก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน

นายพรชัย ชื่นชมลดา ประธานกรรมการบริษัท พรชัยอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ กล่าวว่า บริษัทรวมถึงผู้ส่งออกอัญมณีทุกรายเวลานี้ล้วนได้รับผลกระทบจากจากค่าเงินบาทที่ทำให้รายได้รูปเงินบาทลดลง ซึ่งขณะนี้ทุกรายต่างตั้งราคาขายที่ประมาณ 30 บาทต้นๆ /ดอลลาร์ตามค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการทำฟอร์เวิร์ด การหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นการเสนอราคาสินค้าที่ต่อรองได้น้อยลง การให้เครดิตลูกค้าในการชำระค่าสินค้าในเวลาที่สั้นลงเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ โดยไม่ได้ให้เครดิตนานเหมือนเมื่อก่อน

นายธวัช จิว กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็มบีพี เลทเทอร์อินดัสทรี จำกัด ผู้ส่งออกเครื่องหนัง กล่าวว่า การเผชิญปัญหาค่าเงินบาทที่ผ่านมา บริษัทได้แก้ไขโดยเจรจากับลูกค้าเสนอขอปรับราคาจำหน่าย และหันไปใช้วัสดุนำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น แต่จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คงต้องไปเจรจากับลูกค้าใหม่อีกรอบแต่คิดว่าคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะราคาจำหน่ายสินค้าหากปรับสูงขึ้นมากๆ ต้องแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ ซึ่งค่าเงินไม่ได้แข็งมากเหมือนกับค่าเงินบาท ในที่สุดจะทำให้เราเสียเปรียบ
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2234
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news16/07/07

โพสต์ที่ 85

โพสต์

คลังหน้ามืดรีดภาษีคนจน ยัน"หาบเร่-แผงลอย"โดนแน่ เมินเก็บรายได้จากนักเล่นหุ้น  

กรมสรรพกร อุ้มคนรวย เมินคนจน เล็งรีดภาษีหาบเร่-แผงลอย พร้อมสั่งตั้งทีมหาช่องรีดรายได้ "เอสเอ็มอี" ครอบคลุมทั้งโอทอป กลุ่มแม่บ้าน

นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้มีการตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อศึกษา และดูแลกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และธุรกิจรายย่อยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มสินค้าโอทอป กลุ่มงานแม่บ้านเกษตรกร การค้าขายหาบเร่ แผงลอย เนื่องจากต้องการจัดระบบให้ธุรกิจประเภทดังกล่าวเข้ามาอยู่ในระบบภาษีของประเทศ ซึ่งกรมฯจะต้องศึกษาว่าควรจะใช้แนวทางใดในการจัดเก็บ ซึ่งจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติ เพราะหากทำให้เกิดความยุ่งยากหรือซับซ้อนในการเสียภาษี ก็จะทำให้กลุ่มธุรกิจรายย่อยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีได้

"กลุ่มงานจะต้องศึกษาว่าธุรกิจดังกล่าวมีกี่กลุ่ม กลุ่มใดมีขนาดใหญ่หรือมีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุด แล้วจึงมาศึกษาหาวิธีการจัดเก็บภาษีให้ถูกต้องตามระบบบัญชี เหมือนประชาชนหรือนิติบุคคลที่มีรายได้ทั่วไป ซึ่งจะต้องเป็นวิธีที่ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีและลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย"นายศานิตกล่าว

อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเภทหาบเร่ แผงลอย กรมฯจำเป็นต้องอธิบายให้เข้าใจถึงประโยชน์ของการเสียภาษี และจะต้องทำให้ให้ผู้ค้าขายเหล่านี้เสียภาษีด้วยความสมัครใจ ซึ่งหากกรมฯสามารถดึงธุรกิจเอสเอ็มอีและรายย่อย เข้ามาอยู่ในระบบภาษีได้ ก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บรายได้

นอกจากนี้ กรมยังมีแนวคิดที่จะทำให้ประชาชนที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่ต้องทำการยื่นแบบภาษีประจำปี ไม่ต้องยื่นแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยปัจจุบันคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 ต่อเดือน ไม่ต้องเสียภาษี เพราะมีรายได้รวมต่อปีไม่ถึงเกณฑ์

แหล่งข่าวจาก กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กรมสรรพากร ยืนยันว่าไม่มีนโยบายในการจัดเก็บภาษีจากกำไรการขายหุ้นจาก นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯแต่อย่างใด พร้อมปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่า กรมฯได้ว่าจุฬาลงมหาวิทยาลัยมาศึกษาเรื่องนี้  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=67772
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news17/07/07

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ดันตั้งเตือนภัยทางการคลัง9เดือนขาดดุล2แสนล้านบ. - 17/7/2550

ขุนคลัง ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เผยคลังเตรียมตั้งระบบเตือนภัยการคลัง เน้นสะท้อนภาระการคลังที่เป็นจริง รวมทั้งโครงการประชานิยม เพื่อให้รัฐบาลตัดสินใจการใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ให้ทุกฝ่ายตรวจสอบได้ ขณะที่ 9 เดือนแรกปีงบฯ 50 รัฐขาดดุลเกือบ 2 แสนล้าน
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าววานนี้ว่า เขาต้องการให้มีการจัดทำระบบเตือนภัยทางการคลัง ที่สามารถสะท้อนภาระการคลังที่เป็นจริงของประเทศได้ โดยครอบคลุมข้อมูลสถานการณ์ด้านการคลังที่ครบถ้วน และรองรับเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นช่วงหลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 รวมทั้งการเปิดเผยภาระทางการคลัง ที่เกิดจากโครงการประชานิยมของรัฐบาลด้วย

ผมอยากให้มีระบบที่สะท้อนสถานะการคลังของประเทศ พัฒนาให้เป็นระบบเตือนภัยทางการคลัง หลังจากช่วงหลังวิกฤติที่ผ่านมา มีเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ เช่น การทำซีเคียวริไทเซชั่น ผ่านระบบ SPV ซึ่งไม่สะท้อนภาวะทางการคลัง นายฉลองภพกล่าว

ก่อนหน้านี้ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีโครงการตั้งบริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehical:SPV) ขึ้น ทำหน้าที่ด้านการจัดหาเงินทุน และการตลาด เพื่อให้รัฐบาลเข้าไปดูแลการผลิต และราคาสินค้าเกษตรทั้งกระบวนการ โดยช่วงเริ่มต้น มีการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน

นายฉลองภพกล่าวว่า การสร้างระบบเตือนภัยทางการคลัง ต้องเปิดเผยข้อมูลให้มีความครอบคลุม และชัดเจน เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูล ขณะที่จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการตัดสินใจใช้จ่ายเงินของรัฐบาลด้วย
นายฉลองภพกล่าวว่าตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งวันแรก ได้มอบนโยบายให้เร่งดำเนินการซึ่งยอมรับว่าปัจจุบัน มีปัญหาการดำเนินนโยบายการคลัง
คือ 1.เห็นว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับกระบวนการตัดสินใจดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบ และรัดกุมเพราะปัจจุบันหน่วยงานราชการตต่างๆ ได้เสนอเรื่องงบประมาณให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งเป็นโครงการขนาดเล็กจำนวนมากทุกสัปดาห์ และกระทรวงการคลังเพียงแต่เห็นชอบในหลักการเพราะทางเทคนิดต้องการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดูแลและส่งลูกให้ไปปรึกษากับสำนักงบประมาณ ซึ่งมองว่าได้สร้างภาระทางการคลังสูงขึ้นมากดังนั้นจะต้องใช้ข้อมูลในภาพรวมเพื่อตัดสินในทางการคลัง

2. เพื่อให้เกิดความคล่องตัวทางการเงิน หน่วยงานราชการต่างๆ มักจะตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมา หรือพยายามออกนอกระเบียบเพราะอ้างว่าระบบราชการไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีหน่วยงานพิเศษมาช่วยงานจึงทำให้หน่วยงานภาครัฐออกนอกระบบการควบคุมมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลต่อวินัยทงการคลังที่ยั่งยืน

3. การดำเนินกิจการของรัฐในการให้เอกชนเข้ามาร่วมงาน หรือการลงทุนร่วมกัน ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนนั้น การมีพันธะผูกพันในระยะยาว 30 ปี 50 ปีอาจทำให้รัฐบาลต้องหางบเข้าไปชดเชยจากความร่วมมือดังกล่าว เช่น การรับจำนำข้าวเปลือกเพื่อดันราคาให้สูงขึ้นซึ่งยอมรับว่าเป็นการดำเนินการเพื่อหวังคะแนนนิยม สร้างความเสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท โดยไม่ยอมแจ้งผลต่อภาระการคลังในขณะนั้นรัฐบาลจึงต้องตั้งงบประมาณชดเชยให้กว่า 2 หมื่นล้านบาทปีนี้ และอีกว่าหมื่นล้านบาทปี 2551 และมีในปีต่อๆ ไปด้วย

4. ปัญหาการตั้งงบประมาณต่ำเกินจริงของหน่วยงานราชการแต่มีกฎหมายกำหนดให้นำเงินคงคลังออกมาใช้ได้ เช่นเงินเดือนราชการที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาเงินวิทยะฐานะครูซึ่งได้ตั้งงบไว้ต่ำเกินจริงปีนี้ เงินจึงไม่พอจ่ายกว่าหมื่นล้านบาท และปี 2551 อีก 2.4 หมื่นล้านบาท ในที่สุด ก็ต้องมาเอาเงินคงคลังเพราะหากเงินคงคลังมีจำนวนมาก 2-3 แสนล้านบาท ก็ไม่เป็นไรแต่ขณะนี้แทบจะไม่มีแล้ว และหากรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านการเห็นชอบ จะกำหนดให้หน่วยราชการที่นำเงินคงคลังไปช้ตั้งงบประมาณในปีต่อไปเพื่อใช้คืนโดยต้องกำหนดแหล่งที่มาของการนำมาใช้คืนให้ชัดเจน9 เดือนรัฐขาดดุลเงินสดเกือบ 2 แสนล้าน

นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ว่าเดือน มิ.ย. รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 249,972 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 16.4% มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 164,381 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 40.1% แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 126,403 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 32,200 ล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5,778 ล้านบาท
ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณเดือน มิ.ย. เกินดุล 85,591 ล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 31,180 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินอุดหนุนที่เหลื่อมจ่ายจากเดือนที่แล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 9,459 ล้านบาท และการถอนเงิฝากจากบัญชีเงินฝากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแทน อปท. อีก 4,357 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 54,411 ล้านบาท

สำหรับฐานะการคลัง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,050,754 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5.9% โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ยาสูบ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สุรา ธุรกิจเฉพาะ และภาษีเครื่องดื่ม
นอกจากนี้ รายได้จากรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่น (รายได้จากส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล) เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน การเบิกจ่ายของรัฐบาล ทั้งสิ้น 1,154,744 ล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.7% แบ่งเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,065,212 ล้านบาท อัตราเบิกจ่ายคิดเป็น 68% ของวงเงินงบประมาณ 1,566,200 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 89,532 ล้านบาท

ทำให้ดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 103,990 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 85,712 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณ 2549 จำนวน 38,952 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ขาดดุลทั้งสิ้น 189,702 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายทั้งปี ที่คาดว่าจะขาดดุล 146,200 ล้านบาท โดยรัฐบาลชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 46,042 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาล 97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 46,545 ล้านบาท http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177637
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news17/07/07

โพสต์ที่ 87

โพสต์

กบข.ลงทุนนอกอีก5.5 พันล.ดันพอร์ตตปท.เพิ่มเป็น13% - 17/7/2550

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนภาครัฐที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่านกองทุน กบข. (ประเทศไทย) อีกกว่า 160 ล้านดอลลาร์มะกัน หรือกว่า 5.5 พันล้านบาท เพื่อกระจายความเสี่ยงการลงทุน ส่งผลพอร์ต กบข. ลงทุนตลาดต่างประเทศแล้วเกือบ 13% ของพอร์ตรวมมูลค่าประมาณ 3.5 แสนล้านบาท

นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าววานนี้ว่า การเพิ่มการลงทุนผ่านกองทุน กบข. (ประเทศไทย) (GPF (Thailand) Investment Fund) อีกราว 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 5.5 พันล้านบาท เพื่อกระจายความเสี่ยงการลงทุน ทำให้ภาพรวมขณะนี้ กบข.ได้ลงทุนต่างประเทศไปแล้ว 12.8% ของพอร์ตการลงทุน

ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังอนุมัติ พ.ร.บ.กบข.และขยายเพดานการลงทุนในต่างประเทศ จาก 10% เป็น 15% ของเงินลงทุนทั้งหมดของ กบข. ปัจจุบัน พอร์ตลงทุนของ กบข. มีมูลค่าประมาณ 3.5 แสนล้านบาทเขากล่าวว่าสัดส่วนลงทุนในต่างประเทศของ กบข.ปัจจุบัน มีการกระจายการลงทุนไปทั่วโลก เพื่อบริหารความเสี่ยง แบ่งเป็น การลงทุนตราสารทุนโลกประมาณ 1.87 หมื่นล้านบาท และลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลกอีกประมาณ 1.97 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ในอนาคต กบข.ยังมีนโยบายขยายไปลงทุนสินทรัพย์อื่นๆ ในต่างประเทศเพิ่มเติมอีก โดยสนใจลงทุนกองทุนตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนป้องกันความเสี่ยง และกองทุนที่ลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศต่างๆ เพราะเห็นโอกาสจากการลงทุนในระดับที่น่าพอใจ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177602
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news17/07/07

โพสต์ที่ 88

โพสต์

"โกร่ง"ชี้บาทวิกฤติแนะธปท.ลดดบ.1-1.5%
"วีรพงษ์ รามางกูร" มองปัญหาบาทแข็งเข้าขั้นวิกฤติแล้ว แนะ ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย ร้อยละ 1-1.5 ออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่อง ยกเลิกมาตรการสำรอง 30 %


นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีต รมว.คลัง อดีตประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK)กล่าวในการสัมมนา "วิกฤติค่าเงินบาท:ปัญหาและแนวทางแก้ไข" โดยเสนอแนะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวดเดียวเพื่อให้มีผลดึงเงินบาทอ่อนค่าโดยเร็ว อย่างน้อยร้อยละ 1-1.5%
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ธปท. จะต้องกล้าเข้าไปแทรกแซงค่าเงินในตลาด โดยต้องไม่มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือขาดทุนให้น้อยที่สุด และต้องมั่นใจด้วยว่า มีเงินเพียงพอที่จะเข้าไปแทรกแซง และก.คลังจะต้องพร้อมให้ทาง ธปท. ออกตราสารหนี้เพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบ ขณะเดียวกันจะต้องสนับสนุนให้ภาคเอกชน ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ ออกตราสารหนี้เงินบาทเพื่อชำระหนี้เงินต่างประเทศ พร้อมทั้งยกเลิกมาตรการสำรอง 30% เพราะทำให้ตลาดมีความบิดเบือนนอกจากนั้น ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ควรจะอาศัยจังหวะบาทแข็งค่าเร่งชำระหนี้ต่างประเทศและรีไฟแนนซ์ รวมทั้งเร่งการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็คต์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องผ่อนปรนกฎเกณฑ์ หรือออกกฎกระเบียบพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นโดยเร็ว
"แบงก์ชาติควรจะออกมาตรการตรง ๆ อย่าอ้อมเหมือนที่ผ่านมา เพราะการออกแบบอ้อมมี effect มากกว่าทางตรง"นายวีรพงษ์ กล่าว นายวีรพงษ์ กล่าวว่า สถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้ถือว่าเข้าขั้นวิกฤติแล้ว และหากธุรกิจส่งออกสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า อยู่ไม่ได้ก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจสถาบันการเงินให้อยู่ไม่ได้เช่นกัน เพราะ NPLs จะเพิ่มสูงขึ้นมาก
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=179256
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news18/07/07

โพสต์ที่ 89

โพสต์

แก้วิกฤตเงินบาท

นายกฯ จะไม่ให้เงินบาทแข็งค่า 30บาท/ดอลลาร์ ป้องผู้ว่าแบงก์ชาติทำงานเต็มความสามารถแล้ว"โฆสิต"นั่งหัวโต๊ะถก19ก.ค.ก่อนหารือกับนายกฯวันศุกร์ เพื่อนำมาตรการแก้ไขปัญหา เข้าที่ประชุมครม.สัปดาห์หน้า
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะติดตามสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทและผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และเตรียมมาตรการทุกอย่างเพื่อแก้ไขปัญหา โดยจะพยายามรักษาเสถียรภาพค่าเงินและดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าไปถึง 30 บาท/ดอลลาร์อย่างที่มีผู้กังวล
ส่วนการทำงานของนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) นั้น นายกรัฐมนตรี เห็นว่า ผู้ว่าการ ธปท.ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถแล้ว ดังนั้น ทุกฝ่ายควรจะให้กำลังใจมากกว่าทำลายกำลังใจ ดังนั้นจึงไม่ควรโยนความรับผิดชอบไปที่คนคนเดียว ควรช่วยกันหาทางแก้ปัญหา เพราะจะไม่มีใครอยากมารับผิดชอบ เพราะหากเกิดอะไรจะถูกมองว่า เป็นการเหยียบย่ำซ้ำเติม
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แนะนำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่กำลังประสบภาวะขาดทุน และควรยกเลิกมาตรการกันเงินสำรองร้อยละ 30 เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนไหลเข้าในประเทศมากเกินไป
พร้อมกำชับให้นางธาริสา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาท ตามที่ ธปท.เห็นสมควรได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้รวบรวมมาตรการแก้ไขทั้งหมดแล้วค่อยดำเนินการ อย่างไรก็ดีการทำงานของ ธปท.เป็นอิสระ รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปกำกับการทำงานของ ธปท.ได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมา การไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย เกิดจากความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ ทำให้โลกมีสภาพคล่องส่วนเกิน นักลงทุนจึงเข้าหาเงินทุนแบบฉับพลัน จนทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ ดังนั้นจึงขอให้นักลงทุนและผู้ประกอบการทุกคน ระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุนในช่วงนี้
ส่วนการที่ภาคเอกชนขอเงินสนับสนุนจากภาครัฐ โดยใช้เงินในกองทุนสำรองในประเทศ มาช่วยเหลือผู้ประกอบการประมาณหมื่นล้านบาทนั้น ต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า ซึ่งในระหว่างนี้ภาคเอกชนและภาครัฐจะร่วมกันแก้ไขการแข็งค่าของเงินบาท และภาครัฐพร้อมรับฟังข้อเสนอของเอกชนอย่างเต็มที่
โดยในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค. 50) รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จะหารือร่วมกับนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการ ธปท. และคณะกรรมการรายสาขา เพื่อหารือการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาท
นายอัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ใช้มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่สูง เพื่อสกัดการไหลเข้ามาของเงินทุนและเป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง ถือเป็นมาตรการที่ไม่รุนแรง และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด และการลดดอกเบี้ยควรทำแบบจริงจัง เพื่อแสดงจุดยืนให้ชัดเจนว่าไม่ต้องการเงินทุนไหลเข้า
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีฯพาณิชย์ กล่าวถึง สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้ ว่า ไม่อยากให้มองว่าค่าเงินที่แข็งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่อยากให้มองว่าเป็นผลดีต่อการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักรน้ำมัน ที่จะนำมาผลิตสินค้าในประเทศ และขยายการค้าที่มีเป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของผู้ประกอบการ ต้องรู้จักปรับตัวเนื่องจาก การแข็งค่าของค่าเงินไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าถึงสถานการณ์ค่าเงินในอนาคต และในขณะนี้ทางสหรัฐ กำลังใช้มาตรการที่ทำให้ค่าเงินของสหรัฐอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกนาน และการแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้ ไม่ได้ทำให้สินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำลง หรือ มีกำไรในการขายน้อยลง
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=179485
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news18/07/07

โพสต์ที่ 90

โพสต์

ลุ้นบาทอ่อนรอหน่อย ชงครม.ทุบอังคารหน้า
โพสต์ทูเดย์ เอกชนรอเหงือก แห้ง รัฐไร้มาตรการระยะสั้นแก้ปัญหาค่าเงินแข็ง


นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รอง นายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมตรีว่า (ครม.) ที่ประชุมได้หารือเรื่อง สถานการณ์ค่าเงินบาท และเตรียม หามาตรการช่วยเหลือผลกระทบ ด้านอื่นๆ ได้แก่ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม การมีงานทำ และการจัดการด้านแรงงาน

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า เรื่องค่าเงินบาทนั้น นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.การคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเป็นผู้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และคาดว่าในอีก 1-2 วันนี้จะมีมาตรการการแก้ไขมารายงานให้ รมว.การคลัง รับทราบ
ขณะที่การประสานงานระหว่างรัฐบาลและเอกชน นายโฆสิตจะรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม
นายโฆสิต กล่าวว่า ในวันที่ 19 ก.ค.นี้จะมีการหารือกับ รมว.การคลัง และผู้ว่าการ ธปท. เพื่อสรุปสถานการณ์ความคืบหน้า และจะรายงานให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบในวันที่ 20 ก.ค.นี้ จากนั้นจะนำเรื่องต่างๆ เข้าหารือใน คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฯ ในวันที่ 23 ก.ค. เพื่อพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนทั้งหมด และนำเสนอให้ที่ประชุม ครม. อนุมัติในวันที่ 24 ก.ค.นี้
นายโฆสิต กล่าวว่า การประกาศมาตรการช่วยเหลือภาคเอกชนในสัปดาห์หน้าจะไม่ล่าช้าเกินไป เนื่องจาก รมว.การคลังได้แจ้งให้ที่ประชุม ครม.ทราบว่าค่าเงินบาทได้ลดความผันผวนมา 2-3 วันที่ผ่านมาแล้ว
มีคนห่วงเรื่องเหตุการณ์ข้างหน้า แต่ยันยันว่าเราจะไม่ฝืนตลาด เพราะหาก ธปท.ใช้เครื่องมือแล้วไม่พอ ทางกระทรวงการคลังจะเข้าไปช่วยดูแลอีกทางหนึ่งด้วย นายโฆสิต กล่าว
ด้านนายฉลองภพ กล่าวว่า จะมีการหามาตรการที่ยืดหยุ่นในการดูแลเรื่องค่าเงินบาททั้งระยะสั้นและยาว โดยจะพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเสนอ ทั้งเรื่องการยืดระยะเวลาการถือครองเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก และการเปิดรับฝากเงินตราต่างประเทศแล้วได้รับดอกเบี้ย ซึ่งบางมาตรการเป็นเรื่องที่เคยเสนอมาแล้วแต่ไม่เหมาะที่จะทำในอดีต
ขณะที่ ธปท.เสนอให้ผ่อนคลายเรื่องการนำเงินออกนอกประเทศ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเตรียมเสนอมาตรการที่หาทางให้เอกชนนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเพื่อลด แรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยน
นอกจากนี้ จะมีมาตรการที่ยืดหยุ่นเพื่อกำกับดูแลเรื่องความผันผวนของเงินทุนไหลเข้าออกไม่ให้เร็วเกินไป
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวว่า ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จากที่ประเมินไว้ 4.0-4.5% แม้ว่าไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการแข็งค่าอย่างหนักของเงินบาท

แม้เงินบาทที่แข็งค่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอบ้าง แต่ในภาพรวมรายได้จากการส่งออกที่เข้ามายังประเทศไทยไม่ได้ลดลง และยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ ยังขยายตัวได้ตามปกติ นายอำพน กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=179347