ภาพรวมเศรษฐกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/06/07
โพสต์ที่ 31
ธปท.ชี้เศรษฐกิจพ.ค.ส่งสัญญาณฟื้น ส่งออกตัวจักรสำคัญ
29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 14:35:00
(Update) ธปท.เผยสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งออกเป็น "ตัวจักร"สำคัญ เผยเดือนพ.ค.พุ่งกระฉูด 19.9% การบริโภค-ลงทุนเริ่มขยับ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินเดือนพฤษภาคมว่า ภาพเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งด้านการบริโภค และการลงทุน ขณะที่การส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
"เดือนพฤษภาฯ ค่อนข้างดีอย่างต่อเนื่อง จากเดือนเมษาฯ ถ้าดูเป็นไตรมาส ในไตรมาสนี้ ก็เป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวดีขึ้น"
สำหรับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนพ.ค.ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. แต่หากเทียบจากระยะเดียวกันปีก่อน ยังชะลอลง 0.4%
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1% เช่นกัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ของปีนี้ สอดคล้องกับองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจด้านการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในเดือนพ.ค. และมุมมองในอีก 3 เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นดีขึ้น ส่งสัญญาณที่พร้อมจะลงทุนในอนาคต
นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ จะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและเอกชนปรับตัวดีขึ้น ซึ่งช่วยให้การบริโภค และการลงทุนมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น
ด้านภาคการส่งออก ยังขยายตัวในระดับที่สูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 19.9% คิดเป็นมูลค่า 1.28 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเป็นผลจากการปรับตัวไปหาตลาดใหม่ๆ มากขึ้น ดังนั้นเชื่อว่า การส่งออกจะยังเป็นตัวจักรสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป
ส่วนการนำเข้า ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในระดับ 6.2% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.21 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการบริโภค และการลงทุนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
สำหรับค่าเงินบาทในเดือนมิ.ย. มีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น จากการขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกและเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็ยังเป็นการแข็งขึ้นที่สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค
29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 14:35:00
(Update) ธปท.เผยสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งออกเป็น "ตัวจักร"สำคัญ เผยเดือนพ.ค.พุ่งกระฉูด 19.9% การบริโภค-ลงทุนเริ่มขยับ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินเดือนพฤษภาคมว่า ภาพเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งด้านการบริโภค และการลงทุน ขณะที่การส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
"เดือนพฤษภาฯ ค่อนข้างดีอย่างต่อเนื่อง จากเดือนเมษาฯ ถ้าดูเป็นไตรมาส ในไตรมาสนี้ ก็เป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวดีขึ้น"
สำหรับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนพ.ค.ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. แต่หากเทียบจากระยะเดียวกันปีก่อน ยังชะลอลง 0.4%
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1% เช่นกัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ของปีนี้ สอดคล้องกับองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจด้านการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในเดือนพ.ค. และมุมมองในอีก 3 เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นดีขึ้น ส่งสัญญาณที่พร้อมจะลงทุนในอนาคต
นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ จะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและเอกชนปรับตัวดีขึ้น ซึ่งช่วยให้การบริโภค และการลงทุนมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น
ด้านภาคการส่งออก ยังขยายตัวในระดับที่สูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 19.9% คิดเป็นมูลค่า 1.28 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเป็นผลจากการปรับตัวไปหาตลาดใหม่ๆ มากขึ้น ดังนั้นเชื่อว่า การส่งออกจะยังเป็นตัวจักรสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป
ส่วนการนำเข้า ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในระดับ 6.2% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.21 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการบริโภค และการลงทุนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
สำหรับค่าเงินบาทในเดือนมิ.ย. มีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น จากการขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกและเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็ยังเป็นการแข็งขึ้นที่สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/06/07
โพสต์ที่ 32
คลังฉวยโอกาสเงินนอกทะลัก [ ฉบับที่ 806 ประจำวันที่ 30-6-2007 ถึง 3-7-2007]
> เร่งชำระหนี้ต่างประเทศ 3 แสนล้านบาท
กระทรวงการคลัง - ฉลองภพ เป็นปลื้มแบงก์ชาติแข็งแกร่ง สามารถรับมือกับความผันผวนของเงินทุนไหลเข้าได้ โดยเฉพาะมาตรการสำรอง 30% ที่ผลออกมา ค่อนข้างชัดเจน ฉวยโอกาสเงินนอกทะลักเข้าไทย เร่งใช้หนี้ต่างประเทศ ด้าน สบน. รับลูก เตรียมเสนอแผนชำระหนี้กว่า 3 แสนล้านบาท พร้อมหนุนให้ เจบิค มาออกพันธบัตรในไทย นำเงินไปปล่อยกับนักลงทุนญี่ปุ่น
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 ก.ค.นี้ จะครบรอบ 10 ปี วิกฤติเศรษฐกิจไทย บทเรียนจากวันนั้นทำให้ประเทศไทยได้มีการปรับตัว เปลี่ยน แปลงอะไรหลายด้านมากขึ้น ที่สำคัญมั่นใจว่าสถานการณ์หลายด้านเข้มแข็งกว่า 10 ปีก่อนมาก และโอกาสจะกลับสู่สถานการณ์ วิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งมีน้อย เนื่องจากได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจที่มีความรวดเร็ว และแม่นยำขึ้น เห็นได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ปัจจุบันมีการ รายงานข้อมูลตัวเลขเกือบทุกตัวที่สำคัญต่อ การบริหารจัดการด้านการเงินของประเทศ มีการพัฒนากรอบการดูแลเสถียรภาพด้านเงินก้าวหน้าไปมาก โดยการบริหารนโยบาย การเงินภายใต้กรอบอิงภาวะเงินเฟ้อ มีคณะ กรรมการนโยบายการเงิน ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปสถาบันการเงิน
โดยรัฐบาลชุดนี้ได้เร่งผลักดันกฎหมาย ทางการเงิน 5 ฉบับ ซึ่งจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาได้ในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อให้ออกมาบังคับใช้อย่างเร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้จากนี้การกำกับดูแลสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังเป็นปัญหาและท้าทายการบริหารจัดการเศรษฐกิจของไทย พบว่าเกิดจากความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังคงต้องเผชิญกับการไหลเข้าออกของเงินทุน ซึ่งเป็นปัญหามาตั้งแต่ 10 ปีและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และจากความไม่สมดุลของระบบการเงินโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก ประกอบกับความแตกต่างของค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวยืดหยุ่นแตกกันอยู่มาก มีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก จึงต้องมีเครื่องมือหรือมาตรการที่เหมาะสมเข้ามาดูแลและต้องพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคมากขึ้น ที่สำคัญเราต้องไม่เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจมากเกินไป ต้องพยายามมองถึงแหล่งวิกฤติใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตและเรียนรู้แนวทางเกิดวิกฤติจากที่ผ่านมาเพื่อเตรียมความพร้อมรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... 12DDS45231
> เร่งชำระหนี้ต่างประเทศ 3 แสนล้านบาท
กระทรวงการคลัง - ฉลองภพ เป็นปลื้มแบงก์ชาติแข็งแกร่ง สามารถรับมือกับความผันผวนของเงินทุนไหลเข้าได้ โดยเฉพาะมาตรการสำรอง 30% ที่ผลออกมา ค่อนข้างชัดเจน ฉวยโอกาสเงินนอกทะลักเข้าไทย เร่งใช้หนี้ต่างประเทศ ด้าน สบน. รับลูก เตรียมเสนอแผนชำระหนี้กว่า 3 แสนล้านบาท พร้อมหนุนให้ เจบิค มาออกพันธบัตรในไทย นำเงินไปปล่อยกับนักลงทุนญี่ปุ่น
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 ก.ค.นี้ จะครบรอบ 10 ปี วิกฤติเศรษฐกิจไทย บทเรียนจากวันนั้นทำให้ประเทศไทยได้มีการปรับตัว เปลี่ยน แปลงอะไรหลายด้านมากขึ้น ที่สำคัญมั่นใจว่าสถานการณ์หลายด้านเข้มแข็งกว่า 10 ปีก่อนมาก และโอกาสจะกลับสู่สถานการณ์ วิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งมีน้อย เนื่องจากได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจที่มีความรวดเร็ว และแม่นยำขึ้น เห็นได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ปัจจุบันมีการ รายงานข้อมูลตัวเลขเกือบทุกตัวที่สำคัญต่อ การบริหารจัดการด้านการเงินของประเทศ มีการพัฒนากรอบการดูแลเสถียรภาพด้านเงินก้าวหน้าไปมาก โดยการบริหารนโยบาย การเงินภายใต้กรอบอิงภาวะเงินเฟ้อ มีคณะ กรรมการนโยบายการเงิน ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปสถาบันการเงิน
โดยรัฐบาลชุดนี้ได้เร่งผลักดันกฎหมาย ทางการเงิน 5 ฉบับ ซึ่งจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาได้ในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อให้ออกมาบังคับใช้อย่างเร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้จากนี้การกำกับดูแลสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังเป็นปัญหาและท้าทายการบริหารจัดการเศรษฐกิจของไทย พบว่าเกิดจากความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังคงต้องเผชิญกับการไหลเข้าออกของเงินทุน ซึ่งเป็นปัญหามาตั้งแต่ 10 ปีและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และจากความไม่สมดุลของระบบการเงินโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก ประกอบกับความแตกต่างของค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวยืดหยุ่นแตกกันอยู่มาก มีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก จึงต้องมีเครื่องมือหรือมาตรการที่เหมาะสมเข้ามาดูแลและต้องพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคมากขึ้น ที่สำคัญเราต้องไม่เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจมากเกินไป ต้องพยายามมองถึงแหล่งวิกฤติใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตและเรียนรู้แนวทางเกิดวิกฤติจากที่ผ่านมาเพื่อเตรียมความพร้อมรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... 12DDS45231
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/06/07
โพสต์ที่ 33
หุ้นไทยอาจทะลุ1,000จุดกลางปีหน้า ถ้าไม่เลื่อนเลือกตั้ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 16:45:00
ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีสิทธิ์ทะลุ 1,000 จุด หากรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ และมีการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลาที่วางไว้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงจุดหักเหที่สำคัญ ซึ่งหากร่างธรรมนูญได้รับการลงประชามติ มีการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาที่วางไว้ และมีรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย เศรษฐิจไทยก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าหากเกิดการสะดุดระหว่างทาง เศรษฐกิจก็มีโอกาสที่จะชะลอตัวลงต่อ เพราะขณะนี้การใช้จ่ายในประเทศยังชะลอตัว เพื่อรอการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ หากมีการเลือกตั้งภายในปีนี้ ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสที่จะทะลุถึง 900 จุด และถึง 1,000 จุด ในกลางปี 2551 เนื่องจากยังมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติอีกไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะราคาหุ้นไทยยังถูก และราคาหุ้นเกี่ยวกับโภคภัณฑ์ยังต่ำ ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติจึงยังมองเห็นโอกาสที่จะเข้าลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสปรับขึ้นได้อีกถึงระดับ 1,350 จุด หากเทียบเคียงกับดัชนีหุ้นในตลาดหุ้นย่านเอเชียที่ทำสถิติสูงสุด หรือหากเทียบกับตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ตลาดหุ้นไทยก็มีโอกาสปรับขึ้นไป 1,050 จุด หากรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ และมีการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลาที่วางไว้ เพราะมีเพียงประเด็นทางการเมืองที่นักลงทุนยังรอความชัดเจนดร.ก้องเกียรติ กล่าว
ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวอีกว่า แม้ว่าการส่งออกในครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้ดี แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจ เพราะยอดการส่งออกส่วนใหญ่เป็นของบริษัทข้ามชาติในอุตสาหกรรมรถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ และอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่เอกชนไทยประสบปัญหาขายสินค้าในประเทศไม่ได้ จึงต้องเร่งส่งออกทดแทน ดังนั้น เอกชนไทยจะต้องปรับตัว สร้างสินค้าส่งออกที่มูลค่าเพิ่ม และไม่อยากให้พึ่งพิงการอ่อนค่าของเงินบาท เพราะคงเป็นไปได้ยากที่เงินบาทจะอ่อนค่ามาถึงระดับ 38-39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/3 ... wsid=81788
30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 16:45:00
ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีสิทธิ์ทะลุ 1,000 จุด หากรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ และมีการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลาที่วางไว้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงจุดหักเหที่สำคัญ ซึ่งหากร่างธรรมนูญได้รับการลงประชามติ มีการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาที่วางไว้ และมีรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย เศรษฐิจไทยก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าหากเกิดการสะดุดระหว่างทาง เศรษฐกิจก็มีโอกาสที่จะชะลอตัวลงต่อ เพราะขณะนี้การใช้จ่ายในประเทศยังชะลอตัว เพื่อรอการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ หากมีการเลือกตั้งภายในปีนี้ ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสที่จะทะลุถึง 900 จุด และถึง 1,000 จุด ในกลางปี 2551 เนื่องจากยังมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติอีกไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะราคาหุ้นไทยยังถูก และราคาหุ้นเกี่ยวกับโภคภัณฑ์ยังต่ำ ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติจึงยังมองเห็นโอกาสที่จะเข้าลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสปรับขึ้นได้อีกถึงระดับ 1,350 จุด หากเทียบเคียงกับดัชนีหุ้นในตลาดหุ้นย่านเอเชียที่ทำสถิติสูงสุด หรือหากเทียบกับตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ตลาดหุ้นไทยก็มีโอกาสปรับขึ้นไป 1,050 จุด หากรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ และมีการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลาที่วางไว้ เพราะมีเพียงประเด็นทางการเมืองที่นักลงทุนยังรอความชัดเจนดร.ก้องเกียรติ กล่าว
ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวอีกว่า แม้ว่าการส่งออกในครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้ดี แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจ เพราะยอดการส่งออกส่วนใหญ่เป็นของบริษัทข้ามชาติในอุตสาหกรรมรถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ และอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่เอกชนไทยประสบปัญหาขายสินค้าในประเทศไม่ได้ จึงต้องเร่งส่งออกทดแทน ดังนั้น เอกชนไทยจะต้องปรับตัว สร้างสินค้าส่งออกที่มูลค่าเพิ่ม และไม่อยากให้พึ่งพิงการอ่อนค่าของเงินบาท เพราะคงเป็นไปได้ยากที่เงินบาทจะอ่อนค่ามาถึงระดับ 38-39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/3 ... wsid=81788
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/06/07
โพสต์ที่ 34
ตลาดหุ้นไทยสดใส หลังตัวเลขเศรษฐกิจส่งสัญญาณเชิงบวก
30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 13:39:00
คาดแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสดใส หลังตัวเลขเศรษฐกิจส่ง "สัญญาณ"ในเชิงบวก ดันครึ่งปีหลังฟื้นตัว นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลปัญหาการเมือง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (25-29 มิ.ย.) ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 776.79 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 จากระดับปิดที่ร้อยละ 772.05 จุดในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.3 จากสิ้นปีก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ลดลงร้อยละ 32.72 จาก 105,209.67 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 70,780.86 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ลดจาก 21,041.93 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 14,156.17 ล้านบาท
ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai ปิดที่ 229.29 จุด ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.68 จาก 219.03 จุดในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.54 จากสิ้นปีก่อน
ชนีตลาดหุ้นไทยปิดบวกขึ้นได้เล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 1,240 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิที่ 963 ล้านบาท และ 282 ล้านบาทตามลำดับ
ลาดหุ้นไทยดิ่งลงร้อยละ 1.03 ไปปิดที่ 764.12 จุด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของตลาดหุ้นอื่นๆ ในต่างประเทศ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ ความกังวลเกี่ยวกับการออกมาตรการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจโดยทางการจีนและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
วนในวันอังคารและวันพุธนั้น ดัชนีสามารถปิดบวกสวนทางกับตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาค โดยมีแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มธนาคาร พลังงาน และวัสดุก่อสร้าง จากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังและสถานการณ์ทางการเมืองที่น่าจะสามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นได้ ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวขึ้นไปน้อยกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค
งนี้ ตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันพฤหัสบดี โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น กลุ่มวัสดุก่อสร้างและธนาคาร ส่วนในวันศุกร์นั้น ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ โดยดัชนีแกว่งในกรอบแคบจากการที่ยังขาดปัจจัยใหม่ๆ มาช่วยกระตุ้นการซื้อขาย โดยปิดบวกขึ้นได้ในช่วงแรก ก่อนที่จะมีแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มธนาคาร กลุ่มพลังงาน และวัสดุก่อสร้างในช่วงท้าย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/3 ... wsid=81768
30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 13:39:00
คาดแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสดใส หลังตัวเลขเศรษฐกิจส่ง "สัญญาณ"ในเชิงบวก ดันครึ่งปีหลังฟื้นตัว นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลปัญหาการเมือง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (25-29 มิ.ย.) ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 776.79 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 จากระดับปิดที่ร้อยละ 772.05 จุดในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.3 จากสิ้นปีก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ลดลงร้อยละ 32.72 จาก 105,209.67 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 70,780.86 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ลดจาก 21,041.93 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 14,156.17 ล้านบาท
ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai ปิดที่ 229.29 จุด ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.68 จาก 219.03 จุดในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.54 จากสิ้นปีก่อน
ชนีตลาดหุ้นไทยปิดบวกขึ้นได้เล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 1,240 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิที่ 963 ล้านบาท และ 282 ล้านบาทตามลำดับ
ลาดหุ้นไทยดิ่งลงร้อยละ 1.03 ไปปิดที่ 764.12 จุด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของตลาดหุ้นอื่นๆ ในต่างประเทศ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ ความกังวลเกี่ยวกับการออกมาตรการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจโดยทางการจีนและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
วนในวันอังคารและวันพุธนั้น ดัชนีสามารถปิดบวกสวนทางกับตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาค โดยมีแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มธนาคาร พลังงาน และวัสดุก่อสร้าง จากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังและสถานการณ์ทางการเมืองที่น่าจะสามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นได้ ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวขึ้นไปน้อยกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค
งนี้ ตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันพฤหัสบดี โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น กลุ่มวัสดุก่อสร้างและธนาคาร ส่วนในวันศุกร์นั้น ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ โดยดัชนีแกว่งในกรอบแคบจากการที่ยังขาดปัจจัยใหม่ๆ มาช่วยกระตุ้นการซื้อขาย โดยปิดบวกขึ้นได้ในช่วงแรก ก่อนที่จะมีแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มธนาคาร กลุ่มพลังงาน และวัสดุก่อสร้างในช่วงท้าย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/3 ... wsid=81768
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/06/07
โพสต์ที่ 35
7สินค้าไทยไปสหรัฐป่วนหนัก +ของถูกจากจีน-เวียดนามไล่บี้/กุ้งส่อตกบัลลังก์แชมป์
"กุ้งจีนมีอัตราการขยายตัวในตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงมาก"
7 กลุ่มสินค้าไทยไปสหรัฐกระอัก สินค้าราคาถูกจากจีน-เวียดนามไล่บี้หนัก เครื่องประดับ กุ้ง ของใช้ในห้องครัว เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า รองเท้าขีดแข่งขันทรุด ผู้ประกอบการไข้ขึ้นคู่แข่งได้เปรียบทุกประตู อนาคตยิ่งเบียดตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สั่งสมาชิกเร่งปรับกลยุทธ์หนีตาย
นายทรงศีล สุเสวี ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ปัจจุบันแม้มูลค่าการนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยและจีนในตลาดสหรัฐจะห่างไกลกันมากเกินกว่าจะถือเป็นคู่แข่งขัน(ปี 2549 จีนมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐ 15.51% ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1.21%) แต่ก็ต้องจับตามองและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะมีบางกลุ่มสินค้าที่ไทยและจีนมีมูลค่าการนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดที่ใกล้เคียงกันมาก รวม 4 รายการได้แก่ เครื่องประดับทำด้วยวัตถุมีค่า เครื่องประดับทำด้วยเงิน สินค้ากุ้งที่มีมูลค่าเพิ่ม และของใช้ในห้องครัว และบนโต๊ะอาหารที่ทำจากอลูมิเนียม
โดยในสินค้าเครื่องประดับทำด้วยวัตถุมีค่า ในปี 2548 สินค้าจากจีนได้แซงหน้าการนำเข้าจากไทยขึ้นเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับสามของสหรัฐรองจากอินเดีย และอิตาลี และในปี 2549 จีนขึ้นเป็นคู่ค้าอันดับสองรองจากอินเดีย สินค้าเครื่องประดับทำด้วยเงิน ไทยเคยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของสหรัฐในสินค้ากลุ่มนี้ โดยมีการนำเข้าจากจีนตามมาอย่างใกล้ชิด ซึ่งการนำเข้าจากจีนและไทยรวมกันคิดเป็นประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของการนำเข้าของสหรัฐ จนถึงปี 2548 จีนได้แซงหน้าไทยขึ้นเป็นแหล่งนำเข้าอันดับหนึ่งของสหรัฐ
สินค้ากุ้งมูลค่าเพิ่ม ซึ่งไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับหนึ่งของสหรัฐครองส่วนแบ่งตลาดไว้เกินกว่าครึ่งหนึ่งมาโดยตลอด จนถึงปี 2548 ส่วนแบ่งตลาดของไทยเริ่มลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ขณะที่การนำเข้าจากจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยระหว่างปี 2547-2549 ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าของไทยคือ 51.54, 47.13 และ 49.52% ตามลำดับ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าของจีนช่วงเดียวกันเท่ากับ 13.96, 18.50 และ 24.66% ตามลำดับ อัตราการขยายตัวของการนำเข้ากุ้งจากจีนในปี 2549 เท่ากับ 74.31% เทียบกับไทยในปีเดียวกันขยายตัวเพียง 37.34%
สินค้าของใช้ในห้องครัว และบนโต๊ะอาหารที่ทำจากอลูมิเนียม ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับสองของสหรัฐรองจากจีน แต่เวลานี้ส่วนแบ่งตลาดของไทยในสหรัฐไม่สามารถขยายตัวได้มากนักเนื่องจากสินค้าจีนขยายตัวอย่างเข้มแข็ง
นายทรงศีล กล่าวว่า นอกจากสินค้าไทยต้องแข่งขันอย่างรุนแรงกับสินค้าจีนในกลุ่มดังกล่าวแล้ว ขณะนี้สินค้าไทยยังต้องแข่งขันอย่างรุนแรงกับสินค้าจากประเทศเวียดนามในตลาดสหรัฐด้วย(ในปี 2549 สินค้าเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐ 0.46% ) โดยสินค้าที่ไทยและเวียดนามเป็นคู่แข่งขันกันโดยตรงมี 3 รายการคือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนประกอบซึ่งขณะนี้สินค้าทั้ง 3 รายการของเวียดนามเริ่มทิ้งห่างไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นายพรชัย ชื่มชมลดา นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า รู้สึกเหนื่อยมากกับการแข่งขันสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากจีน เพราะจีนได้เปรียบไทยทุกด้านทั้งค่าจ้างแรงงาน การสนับสนุนจากรัฐบาล ค่าเงิน การพัฒนาสินค้าที่มีความล้ำหน้าอย่างรวดเร็ว และอื่นๆ ซึ่งผู้ประกอบการขอไทยทราบดี และได้เร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันแล้ว โดยมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผลิตปริมาณไม่มากเพื่อจับตลาดกลางและบน รวมถึงการเร่งหาตลาดส่งออกใหม่ๆ
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2230
"กุ้งจีนมีอัตราการขยายตัวในตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงมาก"
7 กลุ่มสินค้าไทยไปสหรัฐกระอัก สินค้าราคาถูกจากจีน-เวียดนามไล่บี้หนัก เครื่องประดับ กุ้ง ของใช้ในห้องครัว เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า รองเท้าขีดแข่งขันทรุด ผู้ประกอบการไข้ขึ้นคู่แข่งได้เปรียบทุกประตู อนาคตยิ่งเบียดตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สั่งสมาชิกเร่งปรับกลยุทธ์หนีตาย
นายทรงศีล สุเสวี ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ปัจจุบันแม้มูลค่าการนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยและจีนในตลาดสหรัฐจะห่างไกลกันมากเกินกว่าจะถือเป็นคู่แข่งขัน(ปี 2549 จีนมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐ 15.51% ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1.21%) แต่ก็ต้องจับตามองและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะมีบางกลุ่มสินค้าที่ไทยและจีนมีมูลค่าการนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดที่ใกล้เคียงกันมาก รวม 4 รายการได้แก่ เครื่องประดับทำด้วยวัตถุมีค่า เครื่องประดับทำด้วยเงิน สินค้ากุ้งที่มีมูลค่าเพิ่ม และของใช้ในห้องครัว และบนโต๊ะอาหารที่ทำจากอลูมิเนียม
โดยในสินค้าเครื่องประดับทำด้วยวัตถุมีค่า ในปี 2548 สินค้าจากจีนได้แซงหน้าการนำเข้าจากไทยขึ้นเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับสามของสหรัฐรองจากอินเดีย และอิตาลี และในปี 2549 จีนขึ้นเป็นคู่ค้าอันดับสองรองจากอินเดีย สินค้าเครื่องประดับทำด้วยเงิน ไทยเคยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของสหรัฐในสินค้ากลุ่มนี้ โดยมีการนำเข้าจากจีนตามมาอย่างใกล้ชิด ซึ่งการนำเข้าจากจีนและไทยรวมกันคิดเป็นประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของการนำเข้าของสหรัฐ จนถึงปี 2548 จีนได้แซงหน้าไทยขึ้นเป็นแหล่งนำเข้าอันดับหนึ่งของสหรัฐ
สินค้ากุ้งมูลค่าเพิ่ม ซึ่งไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับหนึ่งของสหรัฐครองส่วนแบ่งตลาดไว้เกินกว่าครึ่งหนึ่งมาโดยตลอด จนถึงปี 2548 ส่วนแบ่งตลาดของไทยเริ่มลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ขณะที่การนำเข้าจากจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยระหว่างปี 2547-2549 ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าของไทยคือ 51.54, 47.13 และ 49.52% ตามลำดับ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าของจีนช่วงเดียวกันเท่ากับ 13.96, 18.50 และ 24.66% ตามลำดับ อัตราการขยายตัวของการนำเข้ากุ้งจากจีนในปี 2549 เท่ากับ 74.31% เทียบกับไทยในปีเดียวกันขยายตัวเพียง 37.34%
สินค้าของใช้ในห้องครัว และบนโต๊ะอาหารที่ทำจากอลูมิเนียม ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับสองของสหรัฐรองจากจีน แต่เวลานี้ส่วนแบ่งตลาดของไทยในสหรัฐไม่สามารถขยายตัวได้มากนักเนื่องจากสินค้าจีนขยายตัวอย่างเข้มแข็ง
นายทรงศีล กล่าวว่า นอกจากสินค้าไทยต้องแข่งขันอย่างรุนแรงกับสินค้าจีนในกลุ่มดังกล่าวแล้ว ขณะนี้สินค้าไทยยังต้องแข่งขันอย่างรุนแรงกับสินค้าจากประเทศเวียดนามในตลาดสหรัฐด้วย(ในปี 2549 สินค้าเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐ 0.46% ) โดยสินค้าที่ไทยและเวียดนามเป็นคู่แข่งขันกันโดยตรงมี 3 รายการคือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนประกอบซึ่งขณะนี้สินค้าทั้ง 3 รายการของเวียดนามเริ่มทิ้งห่างไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นายพรชัย ชื่มชมลดา นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า รู้สึกเหนื่อยมากกับการแข่งขันสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากจีน เพราะจีนได้เปรียบไทยทุกด้านทั้งค่าจ้างแรงงาน การสนับสนุนจากรัฐบาล ค่าเงิน การพัฒนาสินค้าที่มีความล้ำหน้าอย่างรวดเร็ว และอื่นๆ ซึ่งผู้ประกอบการขอไทยทราบดี และได้เร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันแล้ว โดยมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผลิตปริมาณไม่มากเพื่อจับตลาดกลางและบน รวมถึงการเร่งหาตลาดส่งออกใหม่ๆ
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2230
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/06/07
โพสต์ที่ 36
นักลงทุนสถาบันขนเงินลงตปท. +ธปท.ชี้ยอดคงค้างถึงไตรมาสแรก2,665ล้านดอลล์ /กบข.ขอคลังเพิ่มเพดานลงทุนนอกเป็น 20-25% แบงก์ชาติเผยนักลงทุนสถาบัน 7 ประเภทขนเงินลงทุนต่างประเทศมากขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ เผยตัวเลข คงค้างเงินลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่ออกในต่างประเทศ และหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2546 ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2550 ยอดคงค้างลงทุนรวม 2,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เร่งตัวจากสิ้นปี 2549 ที่มีวงเงินคงค้างลงทุน 1,908 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เม็ดเงินส่วนใหญ่ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ 1,975 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่ออกในต่างประเทศ 690 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านกบข.ขอคลังเพิ่มเพดานลงทุนต่างประเทศเป็น 20-25%
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวโน้มของการออกไปลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนประเภทสถาบัน 7 ประเภท กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม(ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง) ในไตรมาสแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2550) ออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยยอดคงค้างการลงทุนนับตั้งแต่ธปท.อนุญาตให้ออกไปลงทุนได้ตั้งแต่ปี 2546 จนถึง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 มียอดเงินลงทุนรวม 2,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เร่งตัวขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนเริ่มศึกษาถึงช่องทางและผลตอบแทนจากการออกไปลงทุนดังกล่าว และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายของกบข.ที่เน้นออกไปลงทุนในต่างประเทศ
ทั้งนี้ ยอดคงค้างการลงทุนซึ่งอยู่ที่ 2,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เป็นการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่ไม่ได้ออกโดยนิติบุคคลไทยวงเงินรวม 1,975 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่วนที่เหลืออีก 690 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นวงเงินที่ออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่ออกในต่างประเทศ
นายสุชาติ กล่าวว่า การออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนสถาบันทั้ง 7 ประเภท ซึ่งเห็นแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้นั้น เห็นได้จาก ณ สิ้นปี 2549 มียอดคงค้างเงินที่ออกไปลงทุนรวม 1,908 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดอนุมัติรวม 3,719 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 51% ของวงเงินอนุมัติ เทียบกับ ณ สิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 มียอดคงค้างที่ออกไปลงทุนรวม 2,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดอนุมัติ 4,235 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 63% ของวงเงินอนุมัติ หรือในระยะ 3 เดือนแรกของปีนี้มีเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนทั้ง 7 สถาบันที่ออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 757 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขณะนี้ยังเหลือวงเงินที่อนุมัติไว้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการออกไปลงทุนอีก 516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทางด้านนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. เปิดเผยถึง กลยุทธ์การลงทุนในครึ่งหลังของปีนี้ว่า กบข.ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนต่างประเทศ โดยปัจจุบันกบข.สามารถลงทุนต่างประเทศได้ในสัดส่วน 15% ของพอร์ตลงทุน 3.25 แสนล้านบาท ทั้งนี้แผนลงทุนในต่างประเทศจะเพิ่มน้ำหนักลงทุนในตราสารทุนเป็น 10% และตราสารหนี้ 5% นอกจากนี้กบข.มีแผนขยายเพดานการลงทุนต่างประเทศเป็น 20-25% โดยปลายปีนี้จะหารือกระทรวงการคลังเพื่อขอแก้ไขประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับการลงทุนของกบข.
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2230
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวโน้มของการออกไปลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนประเภทสถาบัน 7 ประเภท กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม(ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง) ในไตรมาสแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2550) ออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยยอดคงค้างการลงทุนนับตั้งแต่ธปท.อนุญาตให้ออกไปลงทุนได้ตั้งแต่ปี 2546 จนถึง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 มียอดเงินลงทุนรวม 2,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เร่งตัวขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนเริ่มศึกษาถึงช่องทางและผลตอบแทนจากการออกไปลงทุนดังกล่าว และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายของกบข.ที่เน้นออกไปลงทุนในต่างประเทศ
ทั้งนี้ ยอดคงค้างการลงทุนซึ่งอยู่ที่ 2,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เป็นการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่ไม่ได้ออกโดยนิติบุคคลไทยวงเงินรวม 1,975 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่วนที่เหลืออีก 690 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นวงเงินที่ออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่ออกในต่างประเทศ
นายสุชาติ กล่าวว่า การออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนสถาบันทั้ง 7 ประเภท ซึ่งเห็นแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้นั้น เห็นได้จาก ณ สิ้นปี 2549 มียอดคงค้างเงินที่ออกไปลงทุนรวม 1,908 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดอนุมัติรวม 3,719 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 51% ของวงเงินอนุมัติ เทียบกับ ณ สิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 มียอดคงค้างที่ออกไปลงทุนรวม 2,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดอนุมัติ 4,235 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 63% ของวงเงินอนุมัติ หรือในระยะ 3 เดือนแรกของปีนี้มีเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนทั้ง 7 สถาบันที่ออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 757 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขณะนี้ยังเหลือวงเงินที่อนุมัติไว้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการออกไปลงทุนอีก 516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทางด้านนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. เปิดเผยถึง กลยุทธ์การลงทุนในครึ่งหลังของปีนี้ว่า กบข.ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนต่างประเทศ โดยปัจจุบันกบข.สามารถลงทุนต่างประเทศได้ในสัดส่วน 15% ของพอร์ตลงทุน 3.25 แสนล้านบาท ทั้งนี้แผนลงทุนในต่างประเทศจะเพิ่มน้ำหนักลงทุนในตราสารทุนเป็น 10% และตราสารหนี้ 5% นอกจากนี้กบข.มีแผนขยายเพดานการลงทุนต่างประเทศเป็น 20-25% โดยปลายปีนี้จะหารือกระทรวงการคลังเพื่อขอแก้ไขประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับการลงทุนของกบข.
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2230
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/07/07
โพสต์ที่ 37
-ธปท.ชี้ครึ่งปีหลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มสดใส
30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 16:39:00
คลัง-ธปท.ชี้ครึ่งปีหลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มสดใส ชี้แรงขับเคลื่อนหลักอยู่ที่ภาคเอกชนและผู้บริโภคหลังครึ่งปี แนะรัฐบาล-ธปท.หนุนสุดตัว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยมุมมองในงานสัมมนาหัวข้อ เศรษฐกิจไทย การลงทุนไทย เดินต่ออย่างไรครึ่งปีหลัง ในงานตลาดหลักทรัพย์สัญจร ที่เชียงใหม่วันนี้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก โดยคาดการณ์ว่าไตรมาสที่ 3 การเติบโตของเศรษฐกิจจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากที่ความชัดเจนด้านการเมืองมีมากขึ้น จากนั้นเศรษฐกิจจะดียิ่งขึ้นในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากภาครัฐจะมีการอนัมติงบประมาณลงทุนในเดือนกันยายนนี้
ขณะที่ไตรมาส 2 ที่เพิ่งผ่านไปนั้น จะเป็นไตรมาสที่มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจต่ำที่สุด เนื่องจากมีแรงกดดันหลายปัจจัย โดยกระทรวงการคลังคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ที่ระดับ 3.7% ส่วนทั้งปีคาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำว่า 4%
ภาพรวมเศรษฐกิจไม่ได้แย่ ไตรมาสที่ 1 ก็โต 4.3% ในไตรมาสที่ 2 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.7% ส่วนไตรมาส 3 เชื่อว่าจะผงกหัวขึ้นภายใต้การเมืองที่นิ่ง และอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่นิ่งๆ รอหมายจับ จากนั้นไตรมาส 4 เศรษฐกิจก็จะดีขึ้นเพราะใกล้เลือกตั้ง
ดร.สมชัยกล่าวต่ออีกว่า หน้าที่ของกระทรวงการคลังจากนี้ไปจะต้องเน้นการพยุงเศรษฐกิจ ไม่ใช่กระตุ้นเศรษฐกิจเพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจจะไม่ได้ผลในช่วงที่ผู้บริโภคไม่มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจหลัก ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในครึ่งปีแรก ทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และกระทรวงการคลังก็ได้ออกนโยบายเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นผู้บริโภคมาโดยตลอด อาทิการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการงดเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะไม่ต่ำกว่า 4% และจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งปีนี้อยู่ในระดับที่ธปท.ได้คาดการณ์ไว้คือ 4-4.5% ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกเนื่องจากมีปัจจัยเรื่องการเลือกตั้งมาสนับสนุนให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ใน 6 เดือนแรก ธปท.ได้กระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง รวมเป็น 1.5% จนระดับเงินฝากปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.25% และดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 7% จึงเชื่อว่าถึงเวลาที่ภาคเอกชนควรจะต้องมั่นใจในพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยและเริ่มต้นลงทุนได้แล้ว
ทั้งนี้ ธปท.ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอกชนและพบว่าระดับดัชนีในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 44 จุด ดีกว่าเดือนเมษายนที่ระดับดัชนี 39 จุด
นอกจากนี้ยังได้สอบถามภาคเอกชนเรื่องความตั้งใจในการลงทุน พบว่าภาคเอกชนมีความตั้งใจในการลงทุน 50% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี นอกจากนี้ยังมีการจัดทำดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ 6 เดือน (Leading Indicator) และพบว่าดัชนีดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 116 จุด คิดเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 3.4% และสูงว่าช่วงปลายปี 2549 ที่ดัชนีอยู่ระดับ 113 จุด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/3 ... wsid=81787
30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 16:39:00
คลัง-ธปท.ชี้ครึ่งปีหลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มสดใส ชี้แรงขับเคลื่อนหลักอยู่ที่ภาคเอกชนและผู้บริโภคหลังครึ่งปี แนะรัฐบาล-ธปท.หนุนสุดตัว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยมุมมองในงานสัมมนาหัวข้อ เศรษฐกิจไทย การลงทุนไทย เดินต่ออย่างไรครึ่งปีหลัง ในงานตลาดหลักทรัพย์สัญจร ที่เชียงใหม่วันนี้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก โดยคาดการณ์ว่าไตรมาสที่ 3 การเติบโตของเศรษฐกิจจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากที่ความชัดเจนด้านการเมืองมีมากขึ้น จากนั้นเศรษฐกิจจะดียิ่งขึ้นในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากภาครัฐจะมีการอนัมติงบประมาณลงทุนในเดือนกันยายนนี้
ขณะที่ไตรมาส 2 ที่เพิ่งผ่านไปนั้น จะเป็นไตรมาสที่มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจต่ำที่สุด เนื่องจากมีแรงกดดันหลายปัจจัย โดยกระทรวงการคลังคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ที่ระดับ 3.7% ส่วนทั้งปีคาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำว่า 4%
ภาพรวมเศรษฐกิจไม่ได้แย่ ไตรมาสที่ 1 ก็โต 4.3% ในไตรมาสที่ 2 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.7% ส่วนไตรมาส 3 เชื่อว่าจะผงกหัวขึ้นภายใต้การเมืองที่นิ่ง และอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่นิ่งๆ รอหมายจับ จากนั้นไตรมาส 4 เศรษฐกิจก็จะดีขึ้นเพราะใกล้เลือกตั้ง
ดร.สมชัยกล่าวต่ออีกว่า หน้าที่ของกระทรวงการคลังจากนี้ไปจะต้องเน้นการพยุงเศรษฐกิจ ไม่ใช่กระตุ้นเศรษฐกิจเพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจจะไม่ได้ผลในช่วงที่ผู้บริโภคไม่มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจหลัก ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในครึ่งปีแรก ทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และกระทรวงการคลังก็ได้ออกนโยบายเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นผู้บริโภคมาโดยตลอด อาทิการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการงดเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะไม่ต่ำกว่า 4% และจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งปีนี้อยู่ในระดับที่ธปท.ได้คาดการณ์ไว้คือ 4-4.5% ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกเนื่องจากมีปัจจัยเรื่องการเลือกตั้งมาสนับสนุนให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ใน 6 เดือนแรก ธปท.ได้กระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง รวมเป็น 1.5% จนระดับเงินฝากปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.25% และดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 7% จึงเชื่อว่าถึงเวลาที่ภาคเอกชนควรจะต้องมั่นใจในพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยและเริ่มต้นลงทุนได้แล้ว
ทั้งนี้ ธปท.ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอกชนและพบว่าระดับดัชนีในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 44 จุด ดีกว่าเดือนเมษายนที่ระดับดัชนี 39 จุด
นอกจากนี้ยังได้สอบถามภาคเอกชนเรื่องความตั้งใจในการลงทุน พบว่าภาคเอกชนมีความตั้งใจในการลงทุน 50% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี นอกจากนี้ยังมีการจัดทำดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ 6 เดือน (Leading Indicator) และพบว่าดัชนีดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 116 จุด คิดเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 3.4% และสูงว่าช่วงปลายปี 2549 ที่ดัชนีอยู่ระดับ 113 จุด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/3 ... wsid=81787
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพรวมเศรษฐกิจ
โพสต์ที่ 38
ขอบคุณครับ
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
Abraham Lincoln
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/07/07
โพสต์ที่ 39
เศรษฐกิจไทยวันนี้ไม่ดิ่งเหว ผลบวกยาแรงยุค'ธารินทร์'
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 07:54:00
จุดเปลี่ยนประเทศไทย 10 ปีหลังวิกฤติ 40 : วัชรา จรูญสันติกุล
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีคลังในยุคแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินไทยปี 2540 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงจากกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไทยตลอดเวลาที่รับตำแหน่งสามปี ว่า "ล้มเหลว" ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจขณะนั้น เพราะเดินหลงทางตามก้นไอเอ็มเอฟจนให้ "ยาแรง" เกินขนาด ซึ่งถือว่าเป็นการให้ยาผิดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ อีกทั้งทำให้ขาดความเป็น "อิสระ" ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นของประเทศไทยเองท่ามกลางภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น
วันเวลาได้ผ่านมาสิบปี แต่บนเวทีวิพากษ์ยังคงพูดถึงนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายการเงินการคลังในยุคของธารินทร์ทั้งแง่มุมบวกมุมลบ
หลังจากเหตุการณ์เงินบาทถูกโจมตีเป็นระลอกใหญ่จากภายนอกประเทศในช่วงวันวาเลนไทน์ 14-15 กุมภาพันธ์ 2540 ห่างจากระลอกแรกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2539 ราวคลื่นมรสุมสงบนิ่ง แต่เมฆฝนก็ตั้งเค้าอีกนับตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม
โดยในเช้าวันหนึ่ง นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในขณะนั้น หอบแฟ้มเอกสารเพื่อรายงานรัฐมนตรีคลัง ดร.อำนวย วีรวรรณ เกี่ยวกับความอ่อนแอของสถาบันการเงิน 18 แห่ง กับอีก 3 ธนาคารพาณิชย์ จำเป็นที่ทางการเองงัดเอาแผนควบกิจการมาใช้กัน โดยให้รัฐเข้าถือหุ้นใหญ่คล้ายกับจะจัดตั้งเป็นธนาคารกรุงไทยแห่งที่สอง
ในที่สุดมีคำสั่งปิดแค่ 16 สถาบันการเงิน ในเดือนมีนาคม 2540 นั้นเอง โดยมีรัฐค้ำประกันเงินฝาก แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของสองบริษัทเงินทุนใหญ่ เช่น เอกธนกิจของนายปิ่น จักกะพาก และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟ ทั้งที่เป็นความข้องใจของนักลงทุนในตลาด
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เส้นแบ่งความเชื่อมั่นได้ขาดสะบั้นลง เกิดปรากฏการณ์ข่าวลือเป็นระลอกหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ตามด้วยการถอนเงินจากสถาบันการเงินใหญ่ๆ จนขาดสภาพคล่อง และลุกลามสู่การแห่ถอนเงินครั้งใหญ่ในระบบสถาบันการเงินจนกระทั่งคลอนแคลนและนำไปสู่การต้องปิดสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีก 42 แห่ง รวมเป็น 58 แห่งในเดือนสิงหาคมต่อมา ตามข้อเสนอของไอเอ็มเอฟ เพื่อตัดทิ้งเนื้อร้ายและเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน Deposit Run ในระบบสถาบันการเงินไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=81868
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 07:54:00
จุดเปลี่ยนประเทศไทย 10 ปีหลังวิกฤติ 40 : วัชรา จรูญสันติกุล
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีคลังในยุคแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินไทยปี 2540 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงจากกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไทยตลอดเวลาที่รับตำแหน่งสามปี ว่า "ล้มเหลว" ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจขณะนั้น เพราะเดินหลงทางตามก้นไอเอ็มเอฟจนให้ "ยาแรง" เกินขนาด ซึ่งถือว่าเป็นการให้ยาผิดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ อีกทั้งทำให้ขาดความเป็น "อิสระ" ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นของประเทศไทยเองท่ามกลางภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น
วันเวลาได้ผ่านมาสิบปี แต่บนเวทีวิพากษ์ยังคงพูดถึงนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายการเงินการคลังในยุคของธารินทร์ทั้งแง่มุมบวกมุมลบ
หลังจากเหตุการณ์เงินบาทถูกโจมตีเป็นระลอกใหญ่จากภายนอกประเทศในช่วงวันวาเลนไทน์ 14-15 กุมภาพันธ์ 2540 ห่างจากระลอกแรกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2539 ราวคลื่นมรสุมสงบนิ่ง แต่เมฆฝนก็ตั้งเค้าอีกนับตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม
โดยในเช้าวันหนึ่ง นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในขณะนั้น หอบแฟ้มเอกสารเพื่อรายงานรัฐมนตรีคลัง ดร.อำนวย วีรวรรณ เกี่ยวกับความอ่อนแอของสถาบันการเงิน 18 แห่ง กับอีก 3 ธนาคารพาณิชย์ จำเป็นที่ทางการเองงัดเอาแผนควบกิจการมาใช้กัน โดยให้รัฐเข้าถือหุ้นใหญ่คล้ายกับจะจัดตั้งเป็นธนาคารกรุงไทยแห่งที่สอง
ในที่สุดมีคำสั่งปิดแค่ 16 สถาบันการเงิน ในเดือนมีนาคม 2540 นั้นเอง โดยมีรัฐค้ำประกันเงินฝาก แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของสองบริษัทเงินทุนใหญ่ เช่น เอกธนกิจของนายปิ่น จักกะพาก และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟ ทั้งที่เป็นความข้องใจของนักลงทุนในตลาด
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เส้นแบ่งความเชื่อมั่นได้ขาดสะบั้นลง เกิดปรากฏการณ์ข่าวลือเป็นระลอกหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ตามด้วยการถอนเงินจากสถาบันการเงินใหญ่ๆ จนขาดสภาพคล่อง และลุกลามสู่การแห่ถอนเงินครั้งใหญ่ในระบบสถาบันการเงินจนกระทั่งคลอนแคลนและนำไปสู่การต้องปิดสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีก 42 แห่ง รวมเป็น 58 แห่งในเดือนสิงหาคมต่อมา ตามข้อเสนอของไอเอ็มเอฟ เพื่อตัดทิ้งเนื้อร้ายและเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน Deposit Run ในระบบสถาบันการเงินไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=81868
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/07/07
โพสต์ที่ 40
เงินบาทแข็งค่าสุดรอบ 10 ปี
ธนาคารกสิกรไทย เผยค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดตลาดที่ 34.38/39 บาท/ดอลล่าร์ แข็งค่าที่สุดในรอบ 10 ปี
นักค้าเงินธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เงินบาทเช้าวันนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับ 34.38-34.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี หลังจากมีการลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2539 เนื่องจากเงินสกุลย่านเอเชียต่างก็แข็งค่าขึ้นทั่วหน้า เพราะมีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นย่านเอเชียรวมทั้งตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวสร้างสถิติสูงสุดในรอบ 4 ปี
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ต้นปี 2550 ซึ่งแข็งค่าขึ้นร้อยละ 4.5 ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่าประมาณร้อยละ 4 รูเปียะห์ อินโดนีเซีย แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3 ขณะที่เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ แข็งค่าที่สุดร้อยละ 8 โดยในวันนี้ เงินเปโซ ทำสถิติแข็งค่าทะลุ 9,000 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 8,980 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ
นักค้าเงินจากธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การแข็งค่าของเงินบาทไม่น่ากังวล เนื่องจากเป็นไปตามกลไกตลาดรวม เพราะมีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนจริง ซึ่งหากเม็ดเงินของต่างชาติยังเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เงินบาทก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นอีก
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=176340
ธนาคารกสิกรไทย เผยค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดตลาดที่ 34.38/39 บาท/ดอลล่าร์ แข็งค่าที่สุดในรอบ 10 ปี
นักค้าเงินธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เงินบาทเช้าวันนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับ 34.38-34.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี หลังจากมีการลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2539 เนื่องจากเงินสกุลย่านเอเชียต่างก็แข็งค่าขึ้นทั่วหน้า เพราะมีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นย่านเอเชียรวมทั้งตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวสร้างสถิติสูงสุดในรอบ 4 ปี
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ต้นปี 2550 ซึ่งแข็งค่าขึ้นร้อยละ 4.5 ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่าประมาณร้อยละ 4 รูเปียะห์ อินโดนีเซีย แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3 ขณะที่เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ แข็งค่าที่สุดร้อยละ 8 โดยในวันนี้ เงินเปโซ ทำสถิติแข็งค่าทะลุ 9,000 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 8,980 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ
นักค้าเงินจากธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การแข็งค่าของเงินบาทไม่น่ากังวล เนื่องจากเป็นไปตามกลไกตลาดรวม เพราะมีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนจริง ซึ่งหากเม็ดเงินของต่างชาติยังเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เงินบาทก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นอีก
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=176340
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/07/07
โพสต์ที่ 41
ชำแหละธปท.เร่งปรับตัว
โพสต์ทูเดย์ นายแบงก์-คลัง ชำแหละบทบาท ธปท. หวังถ่วงการเติบโตธุรกิจการเงิน
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา การปฏิรูปบทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับตัวให้เข้าใจตลาดมากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินไทยต้องเผชิญหน้าการแข่งขันของยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ แต่ ธปท.แค่เปลี่ยนสถานะของบริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ให้เป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) เท่านั้น
นายวิรไท กล่าวว่า ธปท.ไม่ได้ปรับแนวคิดในเชิงธุรกิจให้เป็นผลจริงและจะสร้างความมั่นใจได้อย่างไรว่า ธย.จะไม่กลับมาเป็นภาระเหมือนในอดีต เพราะต่อไปรัฐบาลจะไม่รับประกันเงินฝาก 100% สถาบันการเงินเกิดใหม่ จะอยู่รอดอย่างไรหากรายใหญ่แข่งขันกันรุนแรงในทุกตลาดทั่วโลก
นอกจากนั้น การกำกับของ ธปท.ต้องมีความยุติธรรม เพราะการกำกับแบบรวมกลุ่มใช้กับธนาคารพาณิชย์ ในประเทศปัจจุบัน ต้องนำเงินกองทุน ทั้งหมดของบริษัทย่อยมาคิดเงินกองทุน ทำให้ธนาคารเสียโอกาสในการลงทุนในหลายด้าน เพราะ ธปท.กลับไม่ได้คุมสัดส่วนเงินกองทุนของสาขาธนาคารต่างประเทศหรือนันแบงก์
นายวิรไท กล่าวว่า ธนาคารยังไม่สามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อนได้ เพราะหาก ธปท.ไม่คุ้นเคยมักไม่ค่อยอนุญาต
นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ธปท.ไม่ส่งสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่เป็นผู้นำตลาด อย่างเช่นการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ผ่านมา หรือมาตรการกันสำรอง 30% ก็ไม่มีการส่งสัญญาณก่อน ทั้งที่การกำหนดนโยบายควรทำให้ตลาดเข้าใจก่อน
ด้านนายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน สำนักเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ธปท.ดูแลนโยบายการเงินด้วยไม่ควรกำกับสถาบันการเงินอีก ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิภาพ
นายอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า การทำหน้าที่ ธปท.สิ่งสำคัญคือการมีอิสระในการดำเนินโยบายเพราะการ ที่มีคนจากกระทรวงการคลังเข้ามานั่งในบอร์ด ธปท.อาจทำให้ต่างชาติตั้งข้อสังเกตได้
สำหรับข้อเสนอเรื่องการแยกการกำกับดูแลสถาบันการเงินไปให้องค์กรอิสระนั้น นางอัจนา กล่าวว่า ในปัจจุบัน มีความจำเป็นที่ ธปท.ต้องดูแลเอง เพราะมีรายละเอียดมาก และการ แยกอาจทำให้นโยบายการเงินขาดประสิทธิภาพ และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียของความน่าเชื่อถือได้
ตอนนี้ไม่มีความจำเป็นต้องแยก แต่ในอนาคต 5-10 ปี อาจจะต้องพิจารณาจุดนี้ใหม่ก็ได้ไม่มีใครรู้ นางอัจนา กล่าว
นางอัจนา กล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่ ธปท.เคยคิดไว้ว่าควรจะมี แต่เมื่อกลับมาพิจารณาอีกครั้งก็เห็นว่าทุนสำรองฯ ของไทยไม่ได้มากเหมือนจีน หรือเกาหลีใต้ จึงยังไม่จำเป็นต้องรีบจัดตั้ง แต่หากต้องการนำเงินมาใช้ไฟแนนซ์โครงการเมกะโปรเจกต์เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพงๆ ให้ต่างประเทศ รัฐบาลก็ควรต้องออกพันธบัตรมา ค้ำประกันหนี้
นอกจากนั้น ในส่วนของการ ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อก็มีการดูเป็นรายไตรมาส ช่วยธุรกิจให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176219
โพสต์ทูเดย์ นายแบงก์-คลัง ชำแหละบทบาท ธปท. หวังถ่วงการเติบโตธุรกิจการเงิน
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา การปฏิรูปบทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับตัวให้เข้าใจตลาดมากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินไทยต้องเผชิญหน้าการแข่งขันของยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ แต่ ธปท.แค่เปลี่ยนสถานะของบริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ให้เป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) เท่านั้น
นายวิรไท กล่าวว่า ธปท.ไม่ได้ปรับแนวคิดในเชิงธุรกิจให้เป็นผลจริงและจะสร้างความมั่นใจได้อย่างไรว่า ธย.จะไม่กลับมาเป็นภาระเหมือนในอดีต เพราะต่อไปรัฐบาลจะไม่รับประกันเงินฝาก 100% สถาบันการเงินเกิดใหม่ จะอยู่รอดอย่างไรหากรายใหญ่แข่งขันกันรุนแรงในทุกตลาดทั่วโลก
นอกจากนั้น การกำกับของ ธปท.ต้องมีความยุติธรรม เพราะการกำกับแบบรวมกลุ่มใช้กับธนาคารพาณิชย์ ในประเทศปัจจุบัน ต้องนำเงินกองทุน ทั้งหมดของบริษัทย่อยมาคิดเงินกองทุน ทำให้ธนาคารเสียโอกาสในการลงทุนในหลายด้าน เพราะ ธปท.กลับไม่ได้คุมสัดส่วนเงินกองทุนของสาขาธนาคารต่างประเทศหรือนันแบงก์
นายวิรไท กล่าวว่า ธนาคารยังไม่สามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อนได้ เพราะหาก ธปท.ไม่คุ้นเคยมักไม่ค่อยอนุญาต
นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ธปท.ไม่ส่งสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่เป็นผู้นำตลาด อย่างเช่นการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ผ่านมา หรือมาตรการกันสำรอง 30% ก็ไม่มีการส่งสัญญาณก่อน ทั้งที่การกำหนดนโยบายควรทำให้ตลาดเข้าใจก่อน
ด้านนายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน สำนักเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ธปท.ดูแลนโยบายการเงินด้วยไม่ควรกำกับสถาบันการเงินอีก ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิภาพ
นายอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า การทำหน้าที่ ธปท.สิ่งสำคัญคือการมีอิสระในการดำเนินโยบายเพราะการ ที่มีคนจากกระทรวงการคลังเข้ามานั่งในบอร์ด ธปท.อาจทำให้ต่างชาติตั้งข้อสังเกตได้
สำหรับข้อเสนอเรื่องการแยกการกำกับดูแลสถาบันการเงินไปให้องค์กรอิสระนั้น นางอัจนา กล่าวว่า ในปัจจุบัน มีความจำเป็นที่ ธปท.ต้องดูแลเอง เพราะมีรายละเอียดมาก และการ แยกอาจทำให้นโยบายการเงินขาดประสิทธิภาพ และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียของความน่าเชื่อถือได้
ตอนนี้ไม่มีความจำเป็นต้องแยก แต่ในอนาคต 5-10 ปี อาจจะต้องพิจารณาจุดนี้ใหม่ก็ได้ไม่มีใครรู้ นางอัจนา กล่าว
นางอัจนา กล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่ ธปท.เคยคิดไว้ว่าควรจะมี แต่เมื่อกลับมาพิจารณาอีกครั้งก็เห็นว่าทุนสำรองฯ ของไทยไม่ได้มากเหมือนจีน หรือเกาหลีใต้ จึงยังไม่จำเป็นต้องรีบจัดตั้ง แต่หากต้องการนำเงินมาใช้ไฟแนนซ์โครงการเมกะโปรเจกต์เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพงๆ ให้ต่างประเทศ รัฐบาลก็ควรต้องออกพันธบัตรมา ค้ำประกันหนี้
นอกจากนั้น ในส่วนของการ ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อก็มีการดูเป็นรายไตรมาส ช่วยธุรกิจให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176219
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/07/07
โพสต์ที่ 42
สมาคมนักวิเคราะห์เตรียมปรับเป้าดัชนี คาดมีลุ้น840จุด
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 15:05:00
สมาคมนักวิเคราะห์เตรียมปรับประมาณการเป้าหมายดัชนีในอีก2-3สัปดาห์ คาดดัชนีกรอบใหม่ 780-840 จุด จากค่าเฉลี่ยเดิม 731 จุด
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เปิดเผยว่า สมาคมจะมีการรวบรวมประมาณการเป้าหมายดัชนีสิ้นปี จากโบรกเกอร์ต่างๆ ภายใน 2-3 สัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่าโบรกเกอร์จะปรับประมาณการดัชนีขึ้น จากเดิมค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 731 จุด
"คาดว่ากรอบเป้าหมายดัชนีใหม่จะอยู่ที่ 780-840 จุด เนื่องจากปัจจัยทางการเมือง ซึ่งเคยมีน้ำหนักต่อการประเมินดัชนีมากที่สุด คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจ เช่นเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยก็ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้"
จากพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ 2 ปีที่ผ่านมา จะมีมูลค่าซื้อสุทธิเฉลี่ย 1 แสนล้านบาท ส่วนปีนี้ครึ่งปีแรกต่างชาติซื้อสุทธิแล้วเกือบ 1 แสนล้านบาท ซึ่งประเมินว่ามีโอกาสสูงที่นักลงทุนต่างชาติจะซื้อมากกว่าค่าเฉลี่ยเดิม โดยมีปัจจัยการเมืองที่ดีขึ้นเป็นแรงหนุน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82164
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 15:05:00
สมาคมนักวิเคราะห์เตรียมปรับประมาณการเป้าหมายดัชนีในอีก2-3สัปดาห์ คาดดัชนีกรอบใหม่ 780-840 จุด จากค่าเฉลี่ยเดิม 731 จุด
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เปิดเผยว่า สมาคมจะมีการรวบรวมประมาณการเป้าหมายดัชนีสิ้นปี จากโบรกเกอร์ต่างๆ ภายใน 2-3 สัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่าโบรกเกอร์จะปรับประมาณการดัชนีขึ้น จากเดิมค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 731 จุด
"คาดว่ากรอบเป้าหมายดัชนีใหม่จะอยู่ที่ 780-840 จุด เนื่องจากปัจจัยทางการเมือง ซึ่งเคยมีน้ำหนักต่อการประเมินดัชนีมากที่สุด คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจ เช่นเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยก็ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้"
จากพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ 2 ปีที่ผ่านมา จะมีมูลค่าซื้อสุทธิเฉลี่ย 1 แสนล้านบาท ส่วนปีนี้ครึ่งปีแรกต่างชาติซื้อสุทธิแล้วเกือบ 1 แสนล้านบาท ซึ่งประเมินว่ามีโอกาสสูงที่นักลงทุนต่างชาติจะซื้อมากกว่าค่าเฉลี่ยเดิม โดยมีปัจจัยการเมืองที่ดีขึ้นเป็นแรงหนุน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82164
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/07/07
โพสต์ที่ 43
ตลาดเอ็มเอไอพอง21%
โพสต์ทูเดย์ ตลาดเอ็มเอไอคุย 6 เดือนแรก ดัชนีดีดแรง 19% มาร์เก็ตแคปพุ่ง 21%
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กล่าวว่า ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ นักลงทุนสนใจลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ส่งผลให้ดัชนีหุ้นเอ็มเอไอ ณ สิ้น มิ.ย. 2550 ปิดที่ 229.29 จุด เพิ่มขึ้น 19% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 35 เดือน
ขณะที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม 26,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,673 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 21% และตลาดแห่งนี้มีสัดส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 10.2 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 9.3 เท่าในสิ้นปีที่ผ่านมา
สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในเอ็มเอไอก็เพิ่มขึ้น 88% เป็นเฉลี่ย 212 ล้านบาทต่อวัน เทียบกับมูลค่า 113 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2549 ที่ผ่านมา
ขณะที่ราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ก็ปรับตัวขึ้นตามภาวะตลาดโดยรวม ส่งให้ราคาหุ้นของบริษัท 10 แห่งสร้างสถิติสูงสุด (นิวไฮ) เช่น บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ณ วันที่ 20 มิ.ย. 50 ปิดที่ 17.10 บาท ให้ผลตอบแทน 329.64% เทียบกับราคาที่เสนอขายประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) ที่ 3.98 บาท เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2547 และล่าสุดปิดที่ 17.30 บาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176501
โพสต์ทูเดย์ ตลาดเอ็มเอไอคุย 6 เดือนแรก ดัชนีดีดแรง 19% มาร์เก็ตแคปพุ่ง 21%
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กล่าวว่า ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ นักลงทุนสนใจลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ส่งผลให้ดัชนีหุ้นเอ็มเอไอ ณ สิ้น มิ.ย. 2550 ปิดที่ 229.29 จุด เพิ่มขึ้น 19% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 35 เดือน
ขณะที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม 26,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,673 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 21% และตลาดแห่งนี้มีสัดส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 10.2 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 9.3 เท่าในสิ้นปีที่ผ่านมา
สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในเอ็มเอไอก็เพิ่มขึ้น 88% เป็นเฉลี่ย 212 ล้านบาทต่อวัน เทียบกับมูลค่า 113 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2549 ที่ผ่านมา
ขณะที่ราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ก็ปรับตัวขึ้นตามภาวะตลาดโดยรวม ส่งให้ราคาหุ้นของบริษัท 10 แห่งสร้างสถิติสูงสุด (นิวไฮ) เช่น บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ณ วันที่ 20 มิ.ย. 50 ปิดที่ 17.10 บาท ให้ผลตอบแทน 329.64% เทียบกับราคาที่เสนอขายประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) ที่ 3.98 บาท เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2547 และล่าสุดปิดที่ 17.30 บาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176501
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/07/07
โพสต์ที่ 44
ลดภาษีศุลกากร 157 รายการ คลังแลก 700 ล้านพัฒนาอุตฯ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 กรกฎาคม 2550 09:45 น.
ครม.อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากร 157 ประเภท บิ๊ก สศค.เผยยอมสูญรายได้กว่า 700 ล้านบาท แลกกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร-ยานยนต์ได้ประโยชน์สูงสุด
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (3 ก.ค.) มีมติให้ความเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จำนวน 157 ประเภทย่อย การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าวทำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีศุลกากรไปประมาณปีละ 700 ล้านบาท แต่จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในประเทศ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ
การปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าตามราคาสำหรับกระจกโฟลตเป็นการชั่วคราวก่อนที่จะมีการแก้ไข พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อนำเอาอัตราอากรตามสภาพกลับมาใช้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบอุตสาหกรรมกระจกโฟลตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้กับกระจกนำเข้าราคาถูกจากจีน
รายละเอียดการปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิต จำนวน 153 ประเภทย่อย ประกอบด้วย 1.ปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศจากอัตราร้อยละ 1-30 เป็น ยกเว้นอากร จำนวน 126 ประเภทย่อย เช่น ข้าวสาลีดูรัม ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบ ถุงพลาสติกปลอดเชื้อ แผ่นแก้วที่เสริมด้วยลวด เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแรงปฏิกิริยา เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรสำหรับใช้ในงานโลหะที่ใช้ไฟฟ้าและวาล์วลดความดัน เป็นต้น 2.ปรับลดอัตราอากรขาเข้าลงสู่อัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด คือ ร้อยละ 5 และร้อยละ 10 จำนวน 26 ประเภทย่อย เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดฮอดแคโทด แม่แรงชนิดติดตั้งถาวรในอู่ซ่อมรถ และหม้อดูดซับน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น 3.ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กแผ่นชนิดทีเอ็มบีพี ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระป๋องบรรจุอาหาร ตามประเภทย่อย 7208.18.10 ในอัตราร้อยละ 1 ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธ.ค.50 ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.51
4.การปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกสะท้อนแสง และกระจกฉนวนความร้อนจาก ยกเว้นอากร เป็นร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ตามลำดับ 5.การปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกโฟลตเฉพาะที่มีความหนาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร จากร้อยละ 5 เป็น ร้อยละ 20 เป็นการชั่วคราว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการยกเลิกการกำหนดอัตราอากรตามสภาพที่กิโลกรัมละ 2 บาท เมื่อวันที่ 1 ม.ค.50 6.การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในวันนี้ กระทรวงการคลังได้หารือ และได้ข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000077463
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 กรกฎาคม 2550 09:45 น.
ครม.อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากร 157 ประเภท บิ๊ก สศค.เผยยอมสูญรายได้กว่า 700 ล้านบาท แลกกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร-ยานยนต์ได้ประโยชน์สูงสุด
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (3 ก.ค.) มีมติให้ความเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จำนวน 157 ประเภทย่อย การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าวทำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีศุลกากรไปประมาณปีละ 700 ล้านบาท แต่จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในประเทศ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ
การปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าตามราคาสำหรับกระจกโฟลตเป็นการชั่วคราวก่อนที่จะมีการแก้ไข พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อนำเอาอัตราอากรตามสภาพกลับมาใช้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบอุตสาหกรรมกระจกโฟลตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้กับกระจกนำเข้าราคาถูกจากจีน
รายละเอียดการปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิต จำนวน 153 ประเภทย่อย ประกอบด้วย 1.ปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศจากอัตราร้อยละ 1-30 เป็น ยกเว้นอากร จำนวน 126 ประเภทย่อย เช่น ข้าวสาลีดูรัม ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบ ถุงพลาสติกปลอดเชื้อ แผ่นแก้วที่เสริมด้วยลวด เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแรงปฏิกิริยา เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรสำหรับใช้ในงานโลหะที่ใช้ไฟฟ้าและวาล์วลดความดัน เป็นต้น 2.ปรับลดอัตราอากรขาเข้าลงสู่อัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด คือ ร้อยละ 5 และร้อยละ 10 จำนวน 26 ประเภทย่อย เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดฮอดแคโทด แม่แรงชนิดติดตั้งถาวรในอู่ซ่อมรถ และหม้อดูดซับน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น 3.ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กแผ่นชนิดทีเอ็มบีพี ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระป๋องบรรจุอาหาร ตามประเภทย่อย 7208.18.10 ในอัตราร้อยละ 1 ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธ.ค.50 ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.51
4.การปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกสะท้อนแสง และกระจกฉนวนความร้อนจาก ยกเว้นอากร เป็นร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ตามลำดับ 5.การปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกโฟลตเฉพาะที่มีความหนาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร จากร้อยละ 5 เป็น ร้อยละ 20 เป็นการชั่วคราว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการยกเลิกการกำหนดอัตราอากรตามสภาพที่กิโลกรัมละ 2 บาท เมื่อวันที่ 1 ม.ค.50 6.การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในวันนี้ กระทรวงการคลังได้หารือ และได้ข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000077463
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/07/07
โพสต์ที่ 45
ดัชนีความเชื่อมั่นกู่ไม่กลับ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวแย่สุด
สสว. เผยดัชนี TSSI SMEs ประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ลดลงมาอยู่ที่ 43.7 โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องลดลงมากที่สุด ขณะที่นักลงทุนยังกังวลกับภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุนสินค้าเพิ่ม น้ำมันแพง อำนาจซื้อของประชาชนลดลง
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ(Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ว่าดัชนี TSSI SMEs เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง โดยภาคการค้าและบริการ และภาคบริการ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่43.7 และ 42.8 จากระดับ 45.5 และ46.9 ขณะที่ภาคค้าส่งและค้าปลีก ค่าดัชนีทรงตัวอยู่ที่ 44.4 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศและธุรกิจตนเองปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 32.5 และ 41.6 จากระดับ 37.7 และ 43.8 ตามลำดับ
"ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการSMEs รวมภาคการค้าและบริการทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าของเดือนพฤษภาคม 2550 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระดับสูง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น อำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลง ระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ฯลฯ" ผอ.สสว.กล่าว
จากผลการสำรวจพบว่าภาคบริการด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเป็นกลุ่มที่มี ค่าดัชนีปรับตัวลดลงมากที่สุด โดยธุรกิจท่องเที่ยวเป็นกลุ่มที่มีระดับความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง รองลงมาคือธุรกิจโรงแรม/เกสต์เฮาส์/บังกะโล และอันดับ 3 คือ ธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคาร เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว จึงมีปริมาณนักท่องเที่ยวลดลง ส่งผลให้มีการใช้บริการในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องลดลง
อย่างไรก็ดียังมีธุรกิจบางกลุ่มที่มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นภาคค้าส่งสินค้าอุปโภค/บริโภค ภาคการค้าปลีก ทั้งนี้มีผลมาจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เริ่มคลี่คลาย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มเห็นผล
ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าพบว่าภาคธุรกิจส่วนใหญ่มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยภาคการค้าและบริการ ภาคการค้าส่งและค้าปลีกและภาคบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.9 48.7 และ 46.7 จากระดับ 47.5 48.5 และ 46.0 ตามลำดับอย่างไรก็ดีแม้ว่าเกือบทุกสาขาธุรกิจจะมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 แสดงว่าแม้ผู้ประกอบการจะมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจในอนาคตดีขึ้น แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่ดีนักเช่นเดียวกับความเชื่อมั่นในเดือนปัจจุบัน
http://www.naewna.com/news.asp?ID=66397
สสว. เผยดัชนี TSSI SMEs ประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ลดลงมาอยู่ที่ 43.7 โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องลดลงมากที่สุด ขณะที่นักลงทุนยังกังวลกับภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุนสินค้าเพิ่ม น้ำมันแพง อำนาจซื้อของประชาชนลดลง
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ(Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ว่าดัชนี TSSI SMEs เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง โดยภาคการค้าและบริการ และภาคบริการ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่43.7 และ 42.8 จากระดับ 45.5 และ46.9 ขณะที่ภาคค้าส่งและค้าปลีก ค่าดัชนีทรงตัวอยู่ที่ 44.4 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศและธุรกิจตนเองปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 32.5 และ 41.6 จากระดับ 37.7 และ 43.8 ตามลำดับ
"ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการSMEs รวมภาคการค้าและบริการทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าของเดือนพฤษภาคม 2550 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระดับสูง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น อำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลง ระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ฯลฯ" ผอ.สสว.กล่าว
จากผลการสำรวจพบว่าภาคบริการด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเป็นกลุ่มที่มี ค่าดัชนีปรับตัวลดลงมากที่สุด โดยธุรกิจท่องเที่ยวเป็นกลุ่มที่มีระดับความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง รองลงมาคือธุรกิจโรงแรม/เกสต์เฮาส์/บังกะโล และอันดับ 3 คือ ธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคาร เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว จึงมีปริมาณนักท่องเที่ยวลดลง ส่งผลให้มีการใช้บริการในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องลดลง
อย่างไรก็ดียังมีธุรกิจบางกลุ่มที่มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นภาคค้าส่งสินค้าอุปโภค/บริโภค ภาคการค้าปลีก ทั้งนี้มีผลมาจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เริ่มคลี่คลาย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มเห็นผล
ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าพบว่าภาคธุรกิจส่วนใหญ่มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยภาคการค้าและบริการ ภาคการค้าส่งและค้าปลีกและภาคบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.9 48.7 และ 46.7 จากระดับ 47.5 48.5 และ 46.0 ตามลำดับอย่างไรก็ดีแม้ว่าเกือบทุกสาขาธุรกิจจะมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 แสดงว่าแม้ผู้ประกอบการจะมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจในอนาคตดีขึ้น แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่ดีนักเช่นเดียวกับความเชื่อมั่นในเดือนปัจจุบัน
http://www.naewna.com/news.asp?ID=66397
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/07/07
โพสต์ที่ 46
คลังปลื้มรายได้กระเตื้อง
คลังอุ่นใจรายได้รวมส่อเค้าดีขึ้นโดยเฉพาะเดือนมิถุนายน กรมสรรพากร กรมศุลกากรลงมือบี้ภาษีเกินเป้า ขณะที่รัฐวิสาหกิจเร่งนำส่งรายได้เข้ารัฐกันเต็มที่
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีเดือนมิถุนายนคาดว่าจะเก็บได้เกินเป้า 1 พันกว่าล้านบาทจากที่ตั้งไว้ 7.38 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีรายการภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเหลื่อมเดือนเข้ามา ขณะที่ภาษีนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาเก็บได้เกินเป้า ส่วนรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มยังต่ำกว่าเป้า โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า การเก็บภาษีเดือนมิถุนายน กรมจัดเก็บได้เกินเป้า 146 ล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 7.52 พันล้านบาท แต่เชื่อว่าสิ้นปีงบประมาณจะเก็บได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ 8.8 หมื่นล้านบาท แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้มูลค่านำเข้าลดลงไปมาก แต่ก็ได้เร่งรัดเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรทุกภาคส่วน ให้ทำงานอย่างรัดกุม และอุดรูรั่วรายได้ด้านต่างๆ
ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การเก็บภาษีเดือนมิถุนายนจะต่ำกว่าเป้า 600 ล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 2.42 หมื่นล้านบาท เนื่องจากภาษีเหล้า เบียร์ ลดลง ขณะที่ภาษีสรรพสามิตรถยนต์กลับมาเก็บได้เกินเป้า
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในเดือนมิถุนายน มีจำนวน 5.02 พันล้านบาทสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 2.29 พันล้านบาท รัฐวิสาหกิจที่นำเงินส่งมากที่สุด ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 2.31 พันล้านบาท และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 พันล้านบาท โดยในรอบ 9 เดือน ของปีงบประมาณรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เกินเป้า 1 หมื่นล้านบาท
หากผลจากการจัดเก็บภาษียังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับการนำส่งเงินรัฐวิสาหกิจยังเกินเป้าสูงต่อเนื่อง จะทำให้รายได้รวมของรัฐบาลในรอบ 9 เดือนของปีงบประมาณออกมาเป็นบวกอีกครั้ง จากที่ก่อนหน้าการเก็บภาษีของกรมสรรพากรต่ำกว่าเป้าจำนวนมาก ทำให้รายได้รวมที่ผ่านมาติดลบไปด้วย
http://www.naewna.com/news.asp?ID=66398
คลังอุ่นใจรายได้รวมส่อเค้าดีขึ้นโดยเฉพาะเดือนมิถุนายน กรมสรรพากร กรมศุลกากรลงมือบี้ภาษีเกินเป้า ขณะที่รัฐวิสาหกิจเร่งนำส่งรายได้เข้ารัฐกันเต็มที่
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีเดือนมิถุนายนคาดว่าจะเก็บได้เกินเป้า 1 พันกว่าล้านบาทจากที่ตั้งไว้ 7.38 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีรายการภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเหลื่อมเดือนเข้ามา ขณะที่ภาษีนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาเก็บได้เกินเป้า ส่วนรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มยังต่ำกว่าเป้า โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า การเก็บภาษีเดือนมิถุนายน กรมจัดเก็บได้เกินเป้า 146 ล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 7.52 พันล้านบาท แต่เชื่อว่าสิ้นปีงบประมาณจะเก็บได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ 8.8 หมื่นล้านบาท แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้มูลค่านำเข้าลดลงไปมาก แต่ก็ได้เร่งรัดเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรทุกภาคส่วน ให้ทำงานอย่างรัดกุม และอุดรูรั่วรายได้ด้านต่างๆ
ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การเก็บภาษีเดือนมิถุนายนจะต่ำกว่าเป้า 600 ล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 2.42 หมื่นล้านบาท เนื่องจากภาษีเหล้า เบียร์ ลดลง ขณะที่ภาษีสรรพสามิตรถยนต์กลับมาเก็บได้เกินเป้า
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในเดือนมิถุนายน มีจำนวน 5.02 พันล้านบาทสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 2.29 พันล้านบาท รัฐวิสาหกิจที่นำเงินส่งมากที่สุด ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 2.31 พันล้านบาท และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 พันล้านบาท โดยในรอบ 9 เดือน ของปีงบประมาณรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เกินเป้า 1 หมื่นล้านบาท
หากผลจากการจัดเก็บภาษียังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับการนำส่งเงินรัฐวิสาหกิจยังเกินเป้าสูงต่อเนื่อง จะทำให้รายได้รวมของรัฐบาลในรอบ 9 เดือนของปีงบประมาณออกมาเป็นบวกอีกครั้ง จากที่ก่อนหน้าการเก็บภาษีของกรมสรรพากรต่ำกว่าเป้าจำนวนมาก ทำให้รายได้รวมที่ผ่านมาติดลบไปด้วย
http://www.naewna.com/news.asp?ID=66398
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/07/07
โพสต์ที่ 47
กรมศุลฯรับพิษศก.แย่-บาทแข็ง ชี้ปี51เป้ารายได้8.7หมื่นล.ยาก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2550 08:17 น.
กรมศุลกากรหืดจับเดือนมิ.ย.เก็บภาษีเกินเป้า 146 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณต่ำกว่าเป้าแล้วถึงหนึ่งพันล้านบาท ยอมรับเป้ารายได้ปีหน้าทั้งปี 8.7 หมื่นล้านเป็นเรื่องยากทั้งภาวะเศรษฐกิจแย่ กำลังซื้อหด บาทแข็ง จำเป็นต้องหาทางอุดรูรั่วทั้งหมด เพื่อให้ยอดจัดเก็บใกล้เคียงเป้าหมายให้ได้
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 2550 นี้ กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 146 ล้านบาท ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีศุลกากรในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ต.ค.49-มิ.ย.50) เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้กว่า 1,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงทำให้เชื่อมั่นว่าทั้งปี 2550 กรมศุลกากรจะจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่ 88,000 ล้านบาท อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการจัดเก็บรายได้ในปี 2551 ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 87,000 ล้านบาท นั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หากสภาวะเศรษฐกิจแย่ และทำให้กำลังซื้อของประชาชนหดตัวลงได้ ยังมีปัจจัยเงินบาทแข็งค่า ดังนั้นกรมศุลกากร จึงต้องพยายามที่จะทุ่มเทและค้นหาเครื่องมือในการพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การจัดเก็บภาษีแต่ละเดือน ถ้าเราไม่อุดรอยรั่วในด้านต่างๆ เราก็จะสูญเสียรายได้เป็น 1,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้เราลดรอยรั่วตรงนี้ได้แล้ว ก็ทำให้กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต ในส่วนที่เราเก็บภาษีแทนให้ก็พลอยได้รับอานิสงส์ จากการแก้ปัญหาตรงนี้ได้ด้วย นายชวลิตกล่าว
นอกจากนี้ การที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้กรมศุลกากรลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ จำนวน 153 รายการ ว่า เป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า แม้ว่าการจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรจะมีแนวโน้มลดลง ตามเงื่อนไขการเปิดการค้าเสรีกับประเทศในกลุ่มอาเซียน หรือ อาฟต้า ที่ต้องการให้มีการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันเป็น 0% ก็ตาม ซึ่งจะเป็นสิ่งชี้วัดว่าเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000078045
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2550 08:17 น.
กรมศุลกากรหืดจับเดือนมิ.ย.เก็บภาษีเกินเป้า 146 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณต่ำกว่าเป้าแล้วถึงหนึ่งพันล้านบาท ยอมรับเป้ารายได้ปีหน้าทั้งปี 8.7 หมื่นล้านเป็นเรื่องยากทั้งภาวะเศรษฐกิจแย่ กำลังซื้อหด บาทแข็ง จำเป็นต้องหาทางอุดรูรั่วทั้งหมด เพื่อให้ยอดจัดเก็บใกล้เคียงเป้าหมายให้ได้
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 2550 นี้ กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 146 ล้านบาท ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีศุลกากรในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ต.ค.49-มิ.ย.50) เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้กว่า 1,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงทำให้เชื่อมั่นว่าทั้งปี 2550 กรมศุลกากรจะจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่ 88,000 ล้านบาท อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการจัดเก็บรายได้ในปี 2551 ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 87,000 ล้านบาท นั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หากสภาวะเศรษฐกิจแย่ และทำให้กำลังซื้อของประชาชนหดตัวลงได้ ยังมีปัจจัยเงินบาทแข็งค่า ดังนั้นกรมศุลกากร จึงต้องพยายามที่จะทุ่มเทและค้นหาเครื่องมือในการพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การจัดเก็บภาษีแต่ละเดือน ถ้าเราไม่อุดรอยรั่วในด้านต่างๆ เราก็จะสูญเสียรายได้เป็น 1,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้เราลดรอยรั่วตรงนี้ได้แล้ว ก็ทำให้กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต ในส่วนที่เราเก็บภาษีแทนให้ก็พลอยได้รับอานิสงส์ จากการแก้ปัญหาตรงนี้ได้ด้วย นายชวลิตกล่าว
นอกจากนี้ การที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้กรมศุลกากรลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ จำนวน 153 รายการ ว่า เป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า แม้ว่าการจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรจะมีแนวโน้มลดลง ตามเงื่อนไขการเปิดการค้าเสรีกับประเทศในกลุ่มอาเซียน หรือ อาฟต้า ที่ต้องการให้มีการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันเป็น 0% ก็ตาม ซึ่งจะเป็นสิ่งชี้วัดว่าเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000078045
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/07/07
โพสต์ที่ 48
ม.หอการค้าปรับประมาณการศก.ปีนี้โต 4-4.5%
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 13:20:00
ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจสภาพธุรกิจ ชี้ไตรมาส 3 ธุรกิจยังซึม แต่สามารถฟื้นได้ในไตรมาส 4 หากมีความชัดเจนการเลือกตั้ง เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้นเป็น 4-4.5%
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พายากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯเตรียมปรับคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีเบื้องต้นเชื่อว่า เศรษฐกิจปี 2550 น่าจะขยายตัวได้ 4-4.5% จากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ 3.5-4% เนื่องจากมีเงินไหลเข้าประเทศมากขึ้นทั้งจากการลงทุนตลาดหลักทรัพย์ ท่องเที่ยว และการส่งออก รวมถึงความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าว
สำหรับคาดการเศรษฐกิจปี 2551 เชื่อว่าจะขยายตัวได้ 5-6% ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวที่สูงเพราะฐานเปรียบเทียบในปี 2549 อยู่ในระดับต่ำ และปัจจัยบวก การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ (เมกกะโปรเจก) การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวในปีนี้จะต้องกลับฟื้นตัวในปีหน้า การบริโภคภาคประชาชน ภาย
ใต้เงื่อนไขการเมืองมีเสถียรภาพ
ส่วนผลสำรวจทิศทางธุรกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2550 จากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ600 รายและประชาชนทั่วไป 1,200 ราย ซึ่งทำการสำรวจช่วงปลายเดือนมิถุนายน พบว่า ภาพรวมธุรกิจยังมี สัญญาณซึมตัว ในช่วงไตรมาส 3 จากปัจจัยลบราคาน้ำมันทรงตัวสูง เศรษฐกิจโลกและตลาดสหรัฐ ชะลอตัว การบริโภคภายในประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 4 สภาพธุรกิจจะสามารถฟื้นตัวได้จากปัจจัยการเลือกตั้งช่วงปลายและและการส่งออกขยายตัวดีจากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในเทศกาลปีใหม่ และสัญญาณการใช้จ่ายภาค
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82557
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 13:20:00
ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจสภาพธุรกิจ ชี้ไตรมาส 3 ธุรกิจยังซึม แต่สามารถฟื้นได้ในไตรมาส 4 หากมีความชัดเจนการเลือกตั้ง เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้นเป็น 4-4.5%
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พายากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯเตรียมปรับคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีเบื้องต้นเชื่อว่า เศรษฐกิจปี 2550 น่าจะขยายตัวได้ 4-4.5% จากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ 3.5-4% เนื่องจากมีเงินไหลเข้าประเทศมากขึ้นทั้งจากการลงทุนตลาดหลักทรัพย์ ท่องเที่ยว และการส่งออก รวมถึงความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าว
สำหรับคาดการเศรษฐกิจปี 2551 เชื่อว่าจะขยายตัวได้ 5-6% ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวที่สูงเพราะฐานเปรียบเทียบในปี 2549 อยู่ในระดับต่ำ และปัจจัยบวก การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ (เมกกะโปรเจก) การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวในปีนี้จะต้องกลับฟื้นตัวในปีหน้า การบริโภคภาคประชาชน ภาย
ใต้เงื่อนไขการเมืองมีเสถียรภาพ
ส่วนผลสำรวจทิศทางธุรกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2550 จากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ600 รายและประชาชนทั่วไป 1,200 ราย ซึ่งทำการสำรวจช่วงปลายเดือนมิถุนายน พบว่า ภาพรวมธุรกิจยังมี สัญญาณซึมตัว ในช่วงไตรมาส 3 จากปัจจัยลบราคาน้ำมันทรงตัวสูง เศรษฐกิจโลกและตลาดสหรัฐ ชะลอตัว การบริโภคภายในประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 4 สภาพธุรกิจจะสามารถฟื้นตัวได้จากปัจจัยการเลือกตั้งช่วงปลายและและการส่งออกขยายตัวดีจากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในเทศกาลปีใหม่ และสัญญาณการใช้จ่ายภาค
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82557
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/07/07
โพสต์ที่ 49
กฏเหล็กสำรอง30%บีบต่างชาติขายตราสารหนี้ โยกเงินลุยหุ้น
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 17:07:00
ผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับกฎเหล็กสำรอง 30% ของธปท. บีบให้นักลงทุนต่างชาติเทขายตราสารหนี้ หันมาโยกเงินลงทุนตลาดหุ้นแทน คาดครึ่งปีหลังจะมีการออกหุ้นกู้เอกชนอีก 9 หมื่นล.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการและผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติยังเทขายตราสารหนี้ออกมาเป็นระยะ โดยตราสารหนี้ที่ถือโดยนักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าคงค้าง 48,400 ล้านบาท ลดลงจาก 130,000 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2549 เนื่องจากการที่ ธปท.ยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนปรนให้ซื้อป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน แต่ก็ทำให้ต่างชาติมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 0.25% สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ จึงได้โยกเงินไปลงทุนในตลาดต่างประเทศและตลาดหุ้นแทน
ในช่วงครึ่งปีแรกมีปริมาณของตราสารหนี้ทั้งสิ้น 2.89 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 114% แม้ว่าจะมีปัจจัยลบในเรื่องดอกเบี้ยและการเมืองกดดันก็ตาม โดยเป็นพันธบัตรของ ธปท.มากถึง 1.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 300% จากปีก่อนหน้าที่มีเพียง 400,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท เป็นพันธบัตรรัฐบาล 178,000 ล้านบาท และเป็นรัฐวิสาหกิจ 61,000 ล้านบาท
ส่วนหุ้นกู้เอกชนครึ่งปีแรกค่อนข้างทรงตัว โดยมีการออกหุ้นกู้ 67,000 ล้านบาท เนื่องจากภาคธุรกิจจะรอดูความชัดเจนทางการเมือง
สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่า เอกชนจะออกหุ้นกู้มากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างชัดเจนว่าจะไม่ปรับตัวลดลงมาอีก และมีแนวโน้มขยับขึ้น ภาคธุรกิจที่ต้องการระดมเงินทุนก็จะใช้เป็นจังหวะในการออกหุ้นกู้
โดยคาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้อีกประมาณ 90,000 ล้านบาท รวมทั้งปีมูลค่าการออกหุ้นกู้จะอยู่ประมาณ 160,000-170,000 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มการซื้อขายในตลาดรองคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณวันละ 40,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตราสารหนี้คงค้าง ณ ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ 4.3 ล้านล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82611
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 17:07:00
ผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับกฎเหล็กสำรอง 30% ของธปท. บีบให้นักลงทุนต่างชาติเทขายตราสารหนี้ หันมาโยกเงินลงทุนตลาดหุ้นแทน คาดครึ่งปีหลังจะมีการออกหุ้นกู้เอกชนอีก 9 หมื่นล.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการและผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติยังเทขายตราสารหนี้ออกมาเป็นระยะ โดยตราสารหนี้ที่ถือโดยนักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าคงค้าง 48,400 ล้านบาท ลดลงจาก 130,000 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2549 เนื่องจากการที่ ธปท.ยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนปรนให้ซื้อป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน แต่ก็ทำให้ต่างชาติมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 0.25% สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ จึงได้โยกเงินไปลงทุนในตลาดต่างประเทศและตลาดหุ้นแทน
ในช่วงครึ่งปีแรกมีปริมาณของตราสารหนี้ทั้งสิ้น 2.89 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 114% แม้ว่าจะมีปัจจัยลบในเรื่องดอกเบี้ยและการเมืองกดดันก็ตาม โดยเป็นพันธบัตรของ ธปท.มากถึง 1.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 300% จากปีก่อนหน้าที่มีเพียง 400,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท เป็นพันธบัตรรัฐบาล 178,000 ล้านบาท และเป็นรัฐวิสาหกิจ 61,000 ล้านบาท
ส่วนหุ้นกู้เอกชนครึ่งปีแรกค่อนข้างทรงตัว โดยมีการออกหุ้นกู้ 67,000 ล้านบาท เนื่องจากภาคธุรกิจจะรอดูความชัดเจนทางการเมือง
สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่า เอกชนจะออกหุ้นกู้มากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างชัดเจนว่าจะไม่ปรับตัวลดลงมาอีก และมีแนวโน้มขยับขึ้น ภาคธุรกิจที่ต้องการระดมเงินทุนก็จะใช้เป็นจังหวะในการออกหุ้นกู้
โดยคาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้อีกประมาณ 90,000 ล้านบาท รวมทั้งปีมูลค่าการออกหุ้นกู้จะอยู่ประมาณ 160,000-170,000 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มการซื้อขายในตลาดรองคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณวันละ 40,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตราสารหนี้คงค้าง ณ ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ 4.3 ล้านล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82611
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/07/07
โพสต์ที่ 50
ต่างชาติไล่เก็บหุ้นไทยแสนล. ถือยาวกลุ่มแบงก์-บล.-อสังหาฯ
นักวิเคราะห์-ผู้จัดการกองทุนมองตลาดหุ้นครึ่งปีหลังสดใส หลังทำสถิติใหม่รอบ 41 เดือน ต่างชาติไม่มีเบรก ตั้งแต่ต้นปีเก็บเข้าพอร์ตแล้วกว่าแสนล้าน ระบุต่างชาติเข้าตลาดเกิดใหม่ทุกแห่ง มั่นใจโอกาสรุ่งมากกว่าร่วง เผยดัชนีเอ็มเอสซีไอ 5 ปี เพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นเกิดใหม่ 4 เท่าตัว แรงหนุนปัจจัยภายนอกและเงินดอลลาร์อ่อนตัวดึงนักลงทุนต่างชาติทะลักเข้าเอเชีย ขณะที่ "มอร์แกน สแตนเลย์" ติงอย่าฝันหวานเกินจริง หุ้นแบงก์-บล.-อสังหาฯยังฮอตต่อเนื่อง
ภาวะตลาดหุ้นไทยจนถึงวันนี้ (3 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถยืนขึ้นไปทะลุที่ 810 จุด ได้ตั้งแต่เปิดตลาดในช่วงเช้า หลังจากก่อนหน้านี้ (2 ก.ค.) ทำสถิติดัชนีสูงสุด 41 เดือน ปิดที่ 792.71 จุด เพิ่มขึ้น 15.92 จุด มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 6.09 ล้านล้านบาท ค่าพี/อี 13.34 เท่า โดยเป็นการทยอยซื้อของต่างชาติ ตั้งแต่ต้นปีจน ณ 2 กรกฎาคม 2550 มียอดซื้อสุทธิ 100,064.18 ล้านบาท ขณะที่สถาบันในประเทศขายสุทธิ 19,820 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 80,783.6 ล้านบาท
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ครึ่งปีหลังนี้ตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อไปได้อีก จากปัจจัยหลักคือเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาครวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย เนื่องจากปัจจัยภายนอกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อน ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ช้ากว่าตลาดหุ้น
"ครึ่งปีหลังยังไม่น่าเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก การลงทุนก็ไม่น่าจะฟื้นได้ แต่เศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่ได้ถึงกับแย่ แต่มองว่าตลาดหุ้นไทยขึ้นกับ fund flow ที่เข้ามากกว่า ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นกับภาพเศรษฐกิจโลก ค่าเงินดอลลาร์ที่มองว่าจะอ่อน เขาก็ย้ายมาที่ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งแถบภูมิภาคนี้ก็น่าสนใจลงทุนหลายตลาด แต่ตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมายังไม่ค่อยวิ่ง ตอนนี้ความไม่แน่นอนทางการเมืองเริ่มชัดเจนขึ้น ก็ทำให้เขามาลงทุน ตลาดทุนจึงน่าจะไปได้ง่ายกว่าเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเรายังต้องออกแรงอีกเยอะ" นายเศรษฐพุฒิกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
นักวิเคราะห์-ผู้จัดการกองทุนมองตลาดหุ้นครึ่งปีหลังสดใส หลังทำสถิติใหม่รอบ 41 เดือน ต่างชาติไม่มีเบรก ตั้งแต่ต้นปีเก็บเข้าพอร์ตแล้วกว่าแสนล้าน ระบุต่างชาติเข้าตลาดเกิดใหม่ทุกแห่ง มั่นใจโอกาสรุ่งมากกว่าร่วง เผยดัชนีเอ็มเอสซีไอ 5 ปี เพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นเกิดใหม่ 4 เท่าตัว แรงหนุนปัจจัยภายนอกและเงินดอลลาร์อ่อนตัวดึงนักลงทุนต่างชาติทะลักเข้าเอเชีย ขณะที่ "มอร์แกน สแตนเลย์" ติงอย่าฝันหวานเกินจริง หุ้นแบงก์-บล.-อสังหาฯยังฮอตต่อเนื่อง
ภาวะตลาดหุ้นไทยจนถึงวันนี้ (3 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถยืนขึ้นไปทะลุที่ 810 จุด ได้ตั้งแต่เปิดตลาดในช่วงเช้า หลังจากก่อนหน้านี้ (2 ก.ค.) ทำสถิติดัชนีสูงสุด 41 เดือน ปิดที่ 792.71 จุด เพิ่มขึ้น 15.92 จุด มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 6.09 ล้านล้านบาท ค่าพี/อี 13.34 เท่า โดยเป็นการทยอยซื้อของต่างชาติ ตั้งแต่ต้นปีจน ณ 2 กรกฎาคม 2550 มียอดซื้อสุทธิ 100,064.18 ล้านบาท ขณะที่สถาบันในประเทศขายสุทธิ 19,820 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 80,783.6 ล้านบาท
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ครึ่งปีหลังนี้ตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อไปได้อีก จากปัจจัยหลักคือเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาครวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย เนื่องจากปัจจัยภายนอกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อน ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ช้ากว่าตลาดหุ้น
"ครึ่งปีหลังยังไม่น่าเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก การลงทุนก็ไม่น่าจะฟื้นได้ แต่เศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่ได้ถึงกับแย่ แต่มองว่าตลาดหุ้นไทยขึ้นกับ fund flow ที่เข้ามากกว่า ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นกับภาพเศรษฐกิจโลก ค่าเงินดอลลาร์ที่มองว่าจะอ่อน เขาก็ย้ายมาที่ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งแถบภูมิภาคนี้ก็น่าสนใจลงทุนหลายตลาด แต่ตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมายังไม่ค่อยวิ่ง ตอนนี้ความไม่แน่นอนทางการเมืองเริ่มชัดเจนขึ้น ก็ทำให้เขามาลงทุน ตลาดทุนจึงน่าจะไปได้ง่ายกว่าเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเรายังต้องออกแรงอีกเยอะ" นายเศรษฐพุฒิกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/07/07
โพสต์ที่ 51
คลังเร่งเครื่องอัดงบฯ 9เดือนทะลุ1ล้านล้าน
โพสต์ทูเดย์ เบิกจ่ายภาครัฐ 3 ไตรมาสทะลุ 1 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การเบิกจ่ายถึงไตรมาส 3 ของปีงบ 2550 มีการเบิกจ่าย 1.06 ล้านล้านบาท หรือ 68.01% ของงบรายจ่ายทั้งหมด สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 0.24% แต่ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 0.45%
งบประมาณที่เบิกจ่ายสูงสุดคือราย จ่ายประจำ 8.71 แสนล้านบาท 69.97% ของงบรายจ่ายประจำ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 2.72% รายจ่ายลงทุน 1.94 แสนล้านบาท หรือ 60.43% ของงบลงทุน สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 6.86%
ทั้งนี้ กระทรวงที่มีอัตราการ เบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงแรงงาน 92.73% หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 81.27% และรัฐวิสาหกิจ 80.72%
สำหรับโครงการที่ได้งบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการพัฒนาความมั่นคงที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัด 89.34% โครงการบ้านมั่นคง 86.40% และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะ และการเสริมสร้างพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ 85.99%
สำหรับสิ้นเดือน มิ.ย. 2550 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว 1.58 แสนล้านบาท หรือ 10.13% ของวงเงินงบประมาณ 1.56 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 1.99%
งบที่มีการเบิกจ่ายไปประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 1.26 แสนล้านบาท หรือ 10.15% ของงบรายจ่ายประจำ 1.24 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 0.69% และรายจ่ายลงทุน 3.22 หมื่นล้านบาท หรือ 10.03% ของงบลงทุน 3.21 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 5.71%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176877
โพสต์ทูเดย์ เบิกจ่ายภาครัฐ 3 ไตรมาสทะลุ 1 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การเบิกจ่ายถึงไตรมาส 3 ของปีงบ 2550 มีการเบิกจ่าย 1.06 ล้านล้านบาท หรือ 68.01% ของงบรายจ่ายทั้งหมด สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 0.24% แต่ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 0.45%
งบประมาณที่เบิกจ่ายสูงสุดคือราย จ่ายประจำ 8.71 แสนล้านบาท 69.97% ของงบรายจ่ายประจำ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 2.72% รายจ่ายลงทุน 1.94 แสนล้านบาท หรือ 60.43% ของงบลงทุน สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 6.86%
ทั้งนี้ กระทรวงที่มีอัตราการ เบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงแรงงาน 92.73% หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 81.27% และรัฐวิสาหกิจ 80.72%
สำหรับโครงการที่ได้งบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการพัฒนาความมั่นคงที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัด 89.34% โครงการบ้านมั่นคง 86.40% และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะ และการเสริมสร้างพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ 85.99%
สำหรับสิ้นเดือน มิ.ย. 2550 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว 1.58 แสนล้านบาท หรือ 10.13% ของวงเงินงบประมาณ 1.56 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 1.99%
งบที่มีการเบิกจ่ายไปประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 1.26 แสนล้านบาท หรือ 10.15% ของงบรายจ่ายประจำ 1.24 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 0.69% และรายจ่ายลงทุน 3.22 หมื่นล้านบาท หรือ 10.03% ของงบลงทุน 3.21 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 5.71%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176877
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/07/07
โพสต์ที่ 52
รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณ 1.06 ล้านล้านบาทเข้าระบบเศรษฐกิจแล้ว
Posted on Thursday, July 05, 2007
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำเดือนมิถุนายน 2550 ว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินไปแล้ว 1.58 แสนล้านบาท คิดเป็น 10.13% ของวงเงินงบประมาณ 1.56 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 1.99% โดย 9 เดือนแรก เบิกจ่ายเงินไปแล้ว 1.06 ล้านล้านบาท หรือ 68.01%
สำหรับกระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงแรงงาน หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ และรัฐวิสาหกิจ มีอัตราการเบิกจ่าย 92.73% 81.27% และ 80.72% ตามลำดับ
ส่วนโครงการที่ได้งบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการพัฒนาความมั่นคงที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัด อัตราการเบิกจ่าย 89.34% โครงการบ้านมั่นคง เบิกจ่าย 86.40% องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะ และการเสริมสร้างพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ เบิกจ่ายรายจ่ายต่อวงเงินงบประมาณ 85.99%
นอกจากนี้ นายมนัส กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เพื่อให้เม็ดเงินถึงมือประชาชนและลงสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยการออกมาตรการและแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ เพื่อกำกับดูแลและเร่งรัดให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือสั่งการกำชับให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดเร่งดำเนินการก่อหนี้ผูกพันภายใน 30 มิถุนายน
พร้อมกันนี้ ยังมีกข้อกำหนดด้วยว่า หากคาดว่าไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้รีบดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามแนวทางเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด คาดว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ ผลการเบิกจ่ายจะเป็นไปตามเป้าหมาย คือ 93%
มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected]
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
Posted on Thursday, July 05, 2007
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำเดือนมิถุนายน 2550 ว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินไปแล้ว 1.58 แสนล้านบาท คิดเป็น 10.13% ของวงเงินงบประมาณ 1.56 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 1.99% โดย 9 เดือนแรก เบิกจ่ายเงินไปแล้ว 1.06 ล้านล้านบาท หรือ 68.01%
สำหรับกระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงแรงงาน หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ และรัฐวิสาหกิจ มีอัตราการเบิกจ่าย 92.73% 81.27% และ 80.72% ตามลำดับ
ส่วนโครงการที่ได้งบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการพัฒนาความมั่นคงที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัด อัตราการเบิกจ่าย 89.34% โครงการบ้านมั่นคง เบิกจ่าย 86.40% องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะ และการเสริมสร้างพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ เบิกจ่ายรายจ่ายต่อวงเงินงบประมาณ 85.99%
นอกจากนี้ นายมนัส กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เพื่อให้เม็ดเงินถึงมือประชาชนและลงสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยการออกมาตรการและแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ เพื่อกำกับดูแลและเร่งรัดให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือสั่งการกำชับให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดเร่งดำเนินการก่อหนี้ผูกพันภายใน 30 มิถุนายน
พร้อมกันนี้ ยังมีกข้อกำหนดด้วยว่า หากคาดว่าไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้รีบดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามแนวทางเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด คาดว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ ผลการเบิกจ่ายจะเป็นไปตามเป้าหมาย คือ 93%
มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected]
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/07/07
โพสต์ที่ 53
ส่งออกตื่นขายดอลล์ทิ้ง ดันบาทแข็งทะลุ
บาทแข็งทะลุ 34.00 บาทต่อดอลล์ เพราะทุนนอกไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง และผู้ส่งออกผสมโรงแห่ขายดอลล์ทิ้ง
บาทแข็งทะลุ 34.00 บาทต่อดอลล์ เพราะทุนนอกไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง และผู้ส่งออกผสมโรงแห่ขายดอลล์ทิ้ง ด้านผู้ว่าธปท. ออกโรงเตือนผู้ส่งออกอย่าตื่นตระหนก เชื่อบาทแข็งระยะสั้น ด้าน"โฆสิต"รับกระทบส่งออก ชี้รัฐจะเร่งลงทุนเพิ่มเพื่อนำเข้าสูงขึ้น หวังสกัดบาทแข็ง ฟากวิเคราะห์ฟันธงค่าเงินบาทเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ 35บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 34.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งกระทบต่อภาคส่งออกในบางอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลจะพยายามเร่งรัดการลงทุนเพื่อให้การนำเข้าสูงขึ้น ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินบาทบริหารได้ง่ายขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวด้วย
ขณะที่นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มองว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้เป็นผลมาจากการที่มีเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทราบดีอยู่แล้ว ผู้ส่งออกจึงไม่ควรตื่นตระหนกกับภาวะดังกล่าว อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมจะลงทุนซื้อเครื่องจักรเข้ามาในประเทศเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น อัตราดอกเบี้ยลดลงต่ำลง ซึ่งเป็นช่วงที่ขยายการลงทุนได้
ด้านนางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด(ไทย) SCBT เปิดเผยว่า ในปี2551 คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมาที่ประมาณ 36.00-37.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะมีการลงทุนเพิ่มของภาครับและเอกชน การบริโภคเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แต่จะทำให้ปีน้ามีการขาดดุลการค้า
สำหรับเศรษฐกิจปีหน้าคาดว่าจะขยายตัว 4.7-5.5% โดยยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งขึ้น จาการลงทุนของภาคเอกชน และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนจากภาครัฐ และการบริโภคฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้การส่งออกมีบทบาทน้อยลงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ส่วนทิศทางค่าเงินบาทในปีนี้คาดว่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเชื่อว่าเคลื่อนไหวใกล้เคียงที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากมีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในครั้งต่อไปคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% และจะเป็นการปรับลดลงครั้งสุดท้ายเพราะอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ จึงมีความกังวลลดน้อยลง
ทั้งนี้หากกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำกว่าของสหรัฐ 2% ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะปรับตัวลดลงในอัตราเดียวกันทั้งเงินฝากและเงินกู้
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวานนี้(5 ก.ค.)ยังแข็งค่าต่อเนื่อง สวนทางแนวโน้มค่าเงินในสกุลเอเชีย เพราะเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้าในตลาดหุ้นไทย และเริ่มเห็นผู้ส่งออกขายดอลลาร์มากขึ้น หลังเริ่มไม่มั่นใจเมื่อค่าเงินบาททะลุ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐระหว่างวัน โดยปิดตลาดค่าเงินบาทปิดที่ 34.01/34.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาด 34.10/34.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้(6 ก.ค.)คาดว่าจะแข็งค่าต่อเนื่อง หากธปท.ไม่เข้าแทรกแซง อาจทำให้ค่าเงินบาทอาจหลุดไปถึง 33.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 581&ch=225
บาทแข็งทะลุ 34.00 บาทต่อดอลล์ เพราะทุนนอกไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง และผู้ส่งออกผสมโรงแห่ขายดอลล์ทิ้ง
บาทแข็งทะลุ 34.00 บาทต่อดอลล์ เพราะทุนนอกไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง และผู้ส่งออกผสมโรงแห่ขายดอลล์ทิ้ง ด้านผู้ว่าธปท. ออกโรงเตือนผู้ส่งออกอย่าตื่นตระหนก เชื่อบาทแข็งระยะสั้น ด้าน"โฆสิต"รับกระทบส่งออก ชี้รัฐจะเร่งลงทุนเพิ่มเพื่อนำเข้าสูงขึ้น หวังสกัดบาทแข็ง ฟากวิเคราะห์ฟันธงค่าเงินบาทเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ 35บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 34.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งกระทบต่อภาคส่งออกในบางอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลจะพยายามเร่งรัดการลงทุนเพื่อให้การนำเข้าสูงขึ้น ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินบาทบริหารได้ง่ายขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวด้วย
ขณะที่นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มองว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้เป็นผลมาจากการที่มีเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทราบดีอยู่แล้ว ผู้ส่งออกจึงไม่ควรตื่นตระหนกกับภาวะดังกล่าว อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมจะลงทุนซื้อเครื่องจักรเข้ามาในประเทศเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น อัตราดอกเบี้ยลดลงต่ำลง ซึ่งเป็นช่วงที่ขยายการลงทุนได้
ด้านนางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด(ไทย) SCBT เปิดเผยว่า ในปี2551 คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมาที่ประมาณ 36.00-37.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะมีการลงทุนเพิ่มของภาครับและเอกชน การบริโภคเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แต่จะทำให้ปีน้ามีการขาดดุลการค้า
สำหรับเศรษฐกิจปีหน้าคาดว่าจะขยายตัว 4.7-5.5% โดยยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งขึ้น จาการลงทุนของภาคเอกชน และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนจากภาครัฐ และการบริโภคฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้การส่งออกมีบทบาทน้อยลงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ส่วนทิศทางค่าเงินบาทในปีนี้คาดว่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเชื่อว่าเคลื่อนไหวใกล้เคียงที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากมีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในครั้งต่อไปคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% และจะเป็นการปรับลดลงครั้งสุดท้ายเพราะอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ จึงมีความกังวลลดน้อยลง
ทั้งนี้หากกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำกว่าของสหรัฐ 2% ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะปรับตัวลดลงในอัตราเดียวกันทั้งเงินฝากและเงินกู้
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวานนี้(5 ก.ค.)ยังแข็งค่าต่อเนื่อง สวนทางแนวโน้มค่าเงินในสกุลเอเชีย เพราะเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้าในตลาดหุ้นไทย และเริ่มเห็นผู้ส่งออกขายดอลลาร์มากขึ้น หลังเริ่มไม่มั่นใจเมื่อค่าเงินบาททะลุ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐระหว่างวัน โดยปิดตลาดค่าเงินบาทปิดที่ 34.01/34.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาด 34.10/34.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้(6 ก.ค.)คาดว่าจะแข็งค่าต่อเนื่อง หากธปท.ไม่เข้าแทรกแซง อาจทำให้ค่าเงินบาทอาจหลุดไปถึง 33.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 581&ch=225
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/07/07
โพสต์ที่ 54
หุ้นไทยรวยขึ้น4แสนล.
โพสต์ทูเดย์ สัปดาห์เดียว ต่างชาติช็อปหุ้นไทย 2 หมื่นล้านบาท มูลค่าตลาดเพิ่ม 4 แสนล้านบาท ดัชนีพุ่ง 7% ทิสโก้ มองขาขึ้นถึงกลางปีหน้า
เงินทุนต่างชาติที่ทะลักเข้ามาในตลาดหุ้นไทยเพียงสัปดาห์เดียว (2-6 ก.ค.) รวมมูลค่าซื้อสุทธิ 20,345.23 ล้านบาท โดยซื้อขายผ่านเจพีมอร์แกน, ยูบีเอส, ซีแอลเอสเอ ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เก็ต แคป) เพิ่มขึ้นประมาณ 4.4 แสนล้านบาท เป็น 6.41 ล้านล้านบาท ซึ่งสร้างสถิติใหม่นับตั้งแต่ตลาดเปิดทำการ
สำหรับดัชนีเมื่อศุกร์ที่ 6 ก.ค. ก็ยังเดินหน้าต่อ 8.45 จุด ปิดที่ 832.38 จุด เพิ่มขึ้น 55.59 จุด คิดเป็น 7.15% เมื่อเทียบกับดัชนีวันที่ 29 มิ.ย. ปิดที่ระดับ 776.79 จุด และทำให้ค่าพี/อีตลาดขึ้นมาอยู่ที่ 11.95 เท่า
นายไพบูลย์ นลินทรางกูล กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ ซึ่งเป็นคนแรกที่ ทำนายภาวะตลาดหุ้นกระทิง และดัชนีมีโอกาสทะลุ 800 จุดในปีนี้ กล่าวว่า จากวันนี้ไปจนถึงกลางปี 2551 ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างชัดเจน และยังยืนยันว่ามีโอกาสที่ดัชนีจะทะลุเกิน 1 พันจุด หากพี/อีพุ่งขึ้นถึง 15 เท่า จากเดิมพี/อีที่ 13.5 เท่า
ยังจะเห็นเงินนอกไหลเข้าหุ้นไทยอีกหลายระลอก และช่วงสำคัญๆ คือการลงมติร่างรัฐธรรมนูญและช่วงเลือกตั้ง แม้ว่าระหว่างทางจะมีการขายทำกำไรและทำให้หุ้นพักฐานบ้าง นายไพบูลย์ กล่าว
ด้านนายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการเศรษฐกิจและกลยุทธ์ สถาบันวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า เงิน ต่างชาติยังไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่องชัดเจน จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจาก 34.16 บาท เมื่อ 5 ก.ค. มาอยู่ที่ 34.02 บาท ในวันนี้ หรือแข็งขึ้นมา 0.14 บาท
วันนี้เม็ดเงินเข้ามาในกลุ่มพลังงานได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และมีการเก็งกำไรเข้ามาในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัว และปิโตรเคมีเป็นกลุ่มหลักที่หนุนดัชนีเพิ่มขึ้น และสัปดาห์หน้ามีโอกาสขึ้นไปทดสอบ 842 จุด นายอดิศักดิ์ กล่าว
การซื้อขายหุ้น วันที่ 6 ก.ค. ต่างชาติยังซื้อสุทธิกว่า 1.3 พันล้านบาท โดยหุ้น ปตท. (PTT) โดดเด่นมาก เฉียด 300 บาท โดยปิดที่ 294 บาท เพิ่มขึ้น 10 บาท บริษัท ไทยออยล์ (TOP) ปิด 78 บาท เพิ่มขึ้น 3 บาท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) หรือ ATC ปิด 64.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท และ ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) เพิ่งวิ่งแรง ปิดที่ 16.30 บาท พุ่ง 9.40%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177174
โพสต์ทูเดย์ สัปดาห์เดียว ต่างชาติช็อปหุ้นไทย 2 หมื่นล้านบาท มูลค่าตลาดเพิ่ม 4 แสนล้านบาท ดัชนีพุ่ง 7% ทิสโก้ มองขาขึ้นถึงกลางปีหน้า
เงินทุนต่างชาติที่ทะลักเข้ามาในตลาดหุ้นไทยเพียงสัปดาห์เดียว (2-6 ก.ค.) รวมมูลค่าซื้อสุทธิ 20,345.23 ล้านบาท โดยซื้อขายผ่านเจพีมอร์แกน, ยูบีเอส, ซีแอลเอสเอ ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เก็ต แคป) เพิ่มขึ้นประมาณ 4.4 แสนล้านบาท เป็น 6.41 ล้านล้านบาท ซึ่งสร้างสถิติใหม่นับตั้งแต่ตลาดเปิดทำการ
สำหรับดัชนีเมื่อศุกร์ที่ 6 ก.ค. ก็ยังเดินหน้าต่อ 8.45 จุด ปิดที่ 832.38 จุด เพิ่มขึ้น 55.59 จุด คิดเป็น 7.15% เมื่อเทียบกับดัชนีวันที่ 29 มิ.ย. ปิดที่ระดับ 776.79 จุด และทำให้ค่าพี/อีตลาดขึ้นมาอยู่ที่ 11.95 เท่า
นายไพบูลย์ นลินทรางกูล กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ ซึ่งเป็นคนแรกที่ ทำนายภาวะตลาดหุ้นกระทิง และดัชนีมีโอกาสทะลุ 800 จุดในปีนี้ กล่าวว่า จากวันนี้ไปจนถึงกลางปี 2551 ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างชัดเจน และยังยืนยันว่ามีโอกาสที่ดัชนีจะทะลุเกิน 1 พันจุด หากพี/อีพุ่งขึ้นถึง 15 เท่า จากเดิมพี/อีที่ 13.5 เท่า
ยังจะเห็นเงินนอกไหลเข้าหุ้นไทยอีกหลายระลอก และช่วงสำคัญๆ คือการลงมติร่างรัฐธรรมนูญและช่วงเลือกตั้ง แม้ว่าระหว่างทางจะมีการขายทำกำไรและทำให้หุ้นพักฐานบ้าง นายไพบูลย์ กล่าว
ด้านนายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการเศรษฐกิจและกลยุทธ์ สถาบันวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า เงิน ต่างชาติยังไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่องชัดเจน จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจาก 34.16 บาท เมื่อ 5 ก.ค. มาอยู่ที่ 34.02 บาท ในวันนี้ หรือแข็งขึ้นมา 0.14 บาท
วันนี้เม็ดเงินเข้ามาในกลุ่มพลังงานได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และมีการเก็งกำไรเข้ามาในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัว และปิโตรเคมีเป็นกลุ่มหลักที่หนุนดัชนีเพิ่มขึ้น และสัปดาห์หน้ามีโอกาสขึ้นไปทดสอบ 842 จุด นายอดิศักดิ์ กล่าว
การซื้อขายหุ้น วันที่ 6 ก.ค. ต่างชาติยังซื้อสุทธิกว่า 1.3 พันล้านบาท โดยหุ้น ปตท. (PTT) โดดเด่นมาก เฉียด 300 บาท โดยปิดที่ 294 บาท เพิ่มขึ้น 10 บาท บริษัท ไทยออยล์ (TOP) ปิด 78 บาท เพิ่มขึ้น 3 บาท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) หรือ ATC ปิด 64.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท และ ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) เพิ่งวิ่งแรง ปิดที่ 16.30 บาท พุ่ง 9.40%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177174
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/07/07
โพสต์ที่ 55
คลังลั่นเศรษฐกิจขาขึ้น
โพสต์ทูเดย์ คลังขอแรงผู้บริโภค-นักลงทุน โหมเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง เชื่อผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังมีปัจจัยบวกจากความชัดเจนทางการเมือง รวมถึงการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จะส่งผลให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก
นางพรรณี กล่าวว่า ที่ผ่านมามีสัญญาณชัดในเรื่องการบริโภคและการลงทุนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐบาล ธุรกิจ และประชาชน ในการช่วยขับเคลื่อนให้รวดเร็วขึ้นด้วย
รัฐบาลได้ใช้นโยบายการคลังและการเงินเพื่อเร่งการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ควบคู่ไปกับการรักษาเป้าหมายการส่งออก นางพรรณี กล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะขยายตัวประมาณ 3.84.3%
ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศล่าสุด ณ วันที่ 29 มิ.ย. มี 7.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.72 หมื่นล้านบาท จากสัปดาห์ก่อนที่มี 7.22 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
สะท้อนการเข้าแทรกแซงค่าเงินเพื่อดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนและแข็งค่าเร็วเกินไป จากภาวะเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นได้จากนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิมาตลอด และยังมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง
ด้านฐานะสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ หรือฟอร์เวิร์ดของ ธปท.สุทธิอยู่ที่ 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสัปดาห์ก่อนที่ 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การซื้อขายเงินบาทวันที่ 6 ก.ค. ในประเทศ (ออนชอร์) ปิดตลาดที่ 34.01-34.03 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ระหว่างวันแข็งสุด 34.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) อยู่ที่ 31.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177124
โพสต์ทูเดย์ คลังขอแรงผู้บริโภค-นักลงทุน โหมเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง เชื่อผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังมีปัจจัยบวกจากความชัดเจนทางการเมือง รวมถึงการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จะส่งผลให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก
นางพรรณี กล่าวว่า ที่ผ่านมามีสัญญาณชัดในเรื่องการบริโภคและการลงทุนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐบาล ธุรกิจ และประชาชน ในการช่วยขับเคลื่อนให้รวดเร็วขึ้นด้วย
รัฐบาลได้ใช้นโยบายการคลังและการเงินเพื่อเร่งการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ควบคู่ไปกับการรักษาเป้าหมายการส่งออก นางพรรณี กล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะขยายตัวประมาณ 3.84.3%
ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศล่าสุด ณ วันที่ 29 มิ.ย. มี 7.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.72 หมื่นล้านบาท จากสัปดาห์ก่อนที่มี 7.22 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
สะท้อนการเข้าแทรกแซงค่าเงินเพื่อดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนและแข็งค่าเร็วเกินไป จากภาวะเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นได้จากนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิมาตลอด และยังมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง
ด้านฐานะสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ หรือฟอร์เวิร์ดของ ธปท.สุทธิอยู่ที่ 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสัปดาห์ก่อนที่ 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การซื้อขายเงินบาทวันที่ 6 ก.ค. ในประเทศ (ออนชอร์) ปิดตลาดที่ 34.01-34.03 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ระหว่างวันแข็งสุด 34.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) อยู่ที่ 31.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177124
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/07/07
โพสต์ที่ 56
คาดเงินบาท-ตลาดหุ้นไทยไปต่อ ทำสถิติสูงสุดรอบ10ปี
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 14:02:00
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทมีโอกาสแตะระดับ 33.80 บาทต่อดอลาร์สหรํฐ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ภาวะกระทิง แต่ยังเตือนให้ระมัดระวังแรงเทขายทำกำไรระยะสั้น พักฐานชั่วคราว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (2-6 กรกฎาคม) เงินบาทในประเทศ (Onshore) แข็งค่าผ่านแนวต้านสำคัญหลายระดับ ขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ระดับ 33.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อสุทธิหุ้นไทยอย่างหนักของนักลงทุนต่างชาติ และแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่องของผู้ส่งออก
นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากความอ่อนแอของเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงต้นสัปดาห์อีกด้วย ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ แม้ว่านางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมากล่าวในระหว่างสัปดาห์ว่า ธปท. ได้เข้าดูแลตลาดหลังจากที่ผู้ส่งออกเรียกร้องให้ทางการช่วยลดผลกระทบจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทที่มีต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออก พร้อมกับระบุเตือนผู้ส่งออกอย่าเร่งเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐออกมา เนื่องจากความตื่นตระหนกหลังเงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับในวันศุกร์ เงินบาททรงตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.015 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับปิดในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 มิถุนายน) ที่ 34.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดคาดว่าเป็นการแทรกแซงของ ธปท. ประกอบกับแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออกได้ชะลอลงในช่วงก่อนวันหยุด
คาดมีโอกาสแตะระดับ33.80บาทต่อดอลลาร์
ในสัปดาห์นี้ (9-13 กรกฎาคม 2550) เงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.80-34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ จุดสนใจของนักลงทุนอยู่ที่สัญญาณการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ ประเด็นทางการเมืองที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตลอดจนการขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออก อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงระมัดระวังต่อสัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของ ธปท. หลังจากเงินบาทปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีในสัปดาห์ที่ผ่านมา และทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ อาทิ ดุลการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนพฤษภาคม ยอดค้าปลีก ดัชนีราคานำเข้าและส่งออก เดือนมิถุนายน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน (ขั้นต้น) เดือนกรกฎาคม
ตลาดหุ้นไทยแนวโน้มขาขึ้น-ระวังแรงขายทำกำไร
ส่วนตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีไทยปิดที่ 832.38 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากระดับปิดที่ 776.79 จุด ในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากสิ้นปีก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ พุ่งขึ้นร้อยละ 148 จาก 70,780.86 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 175,586.13 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มจาก 14,156.17 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 35,117.23 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 235.73 จุด ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 จาก 229.29 จุด ในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 จากสิ้นปีก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปีในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 20,300 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันขายสุทธิที่ 18,500 ล้านบาท และ 1,780 ล้านบาท ตามลำดับ ตลาดหุ้นไทยได้รับอานิสงส์จากการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างชาติ โดยพุ่งขึ้นกว่าร้อยละ 2.05 ไปปิดที่ 792.71 จุด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จากการที่ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยยังคงมีการปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นอื่น ๆ ในภูมิภาค ผนวกกับมุมมองเชิงบวกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และสถานการณ์ทางการเมืองที่น่าจะสามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นได้ ส่งผลให้มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ทุกกลุ่ม
ส่วนในวันอังคารและวันพุธนั้น ดัชนีสามารถปิดบวกขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถพุ่งขึ้นเหนือระดับ 800 จุด และปิดที่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี ที่ 813.52 จุด ในวันอังคาร และ 825.45 จุด ในวันพุธ ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นถึงกว่า 40,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี จากแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์
ส่วนในวันศุกร์นั้น ดัชนีแกว่งในกรอบแคบในช่วงแรก ก่อนที่จะมีแรงซื้อเข้ามาอย่างมากในช่วงบ่าย จากปัจจัยทางการเมืองที่มีสัญญาณในทางดีขึ้น หลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 1.03 ไปปิดที่ 832.38 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในสัปดาห์ที่ผ่านมาถึง 20,345.24 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82828
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 14:02:00
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทมีโอกาสแตะระดับ 33.80 บาทต่อดอลาร์สหรํฐ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ภาวะกระทิง แต่ยังเตือนให้ระมัดระวังแรงเทขายทำกำไรระยะสั้น พักฐานชั่วคราว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (2-6 กรกฎาคม) เงินบาทในประเทศ (Onshore) แข็งค่าผ่านแนวต้านสำคัญหลายระดับ ขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ระดับ 33.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อสุทธิหุ้นไทยอย่างหนักของนักลงทุนต่างชาติ และแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่องของผู้ส่งออก
นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากความอ่อนแอของเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงต้นสัปดาห์อีกด้วย ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ แม้ว่านางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมากล่าวในระหว่างสัปดาห์ว่า ธปท. ได้เข้าดูแลตลาดหลังจากที่ผู้ส่งออกเรียกร้องให้ทางการช่วยลดผลกระทบจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทที่มีต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออก พร้อมกับระบุเตือนผู้ส่งออกอย่าเร่งเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐออกมา เนื่องจากความตื่นตระหนกหลังเงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับในวันศุกร์ เงินบาททรงตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.015 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับปิดในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 มิถุนายน) ที่ 34.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดคาดว่าเป็นการแทรกแซงของ ธปท. ประกอบกับแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออกได้ชะลอลงในช่วงก่อนวันหยุด
คาดมีโอกาสแตะระดับ33.80บาทต่อดอลลาร์
ในสัปดาห์นี้ (9-13 กรกฎาคม 2550) เงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.80-34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ จุดสนใจของนักลงทุนอยู่ที่สัญญาณการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ ประเด็นทางการเมืองที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตลอดจนการขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออก อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงระมัดระวังต่อสัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของ ธปท. หลังจากเงินบาทปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีในสัปดาห์ที่ผ่านมา และทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ อาทิ ดุลการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนพฤษภาคม ยอดค้าปลีก ดัชนีราคานำเข้าและส่งออก เดือนมิถุนายน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน (ขั้นต้น) เดือนกรกฎาคม
ตลาดหุ้นไทยแนวโน้มขาขึ้น-ระวังแรงขายทำกำไร
ส่วนตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีไทยปิดที่ 832.38 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากระดับปิดที่ 776.79 จุด ในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากสิ้นปีก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ พุ่งขึ้นร้อยละ 148 จาก 70,780.86 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 175,586.13 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มจาก 14,156.17 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 35,117.23 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 235.73 จุด ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 จาก 229.29 จุด ในสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 จากสิ้นปีก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปีในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 20,300 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันขายสุทธิที่ 18,500 ล้านบาท และ 1,780 ล้านบาท ตามลำดับ ตลาดหุ้นไทยได้รับอานิสงส์จากการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างชาติ โดยพุ่งขึ้นกว่าร้อยละ 2.05 ไปปิดที่ 792.71 จุด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จากการที่ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยยังคงมีการปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นอื่น ๆ ในภูมิภาค ผนวกกับมุมมองเชิงบวกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และสถานการณ์ทางการเมืองที่น่าจะสามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นได้ ส่งผลให้มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ทุกกลุ่ม
ส่วนในวันอังคารและวันพุธนั้น ดัชนีสามารถปิดบวกขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถพุ่งขึ้นเหนือระดับ 800 จุด และปิดที่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี ที่ 813.52 จุด ในวันอังคาร และ 825.45 จุด ในวันพุธ ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นถึงกว่า 40,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี จากแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์
ส่วนในวันศุกร์นั้น ดัชนีแกว่งในกรอบแคบในช่วงแรก ก่อนที่จะมีแรงซื้อเข้ามาอย่างมากในช่วงบ่าย จากปัจจัยทางการเมืองที่มีสัญญาณในทางดีขึ้น หลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 1.03 ไปปิดที่ 832.38 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในสัปดาห์ที่ผ่านมาถึง 20,345.24 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/0 ... wsid=82828
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/07/07
โพสต์ที่ 57
กลุ่ม ปตท. (PTT) หนุนตลาดฯ ผ่าน 840 จุด - 9/7/2550
กลุ่ม ปตท. (PTT) หนุนตลาดฯ ผ่าน 840 จุด
บล. เอเซียพลัส (ASP) คาดการณ์กรอบดัชนีสัปดาห์นี้อยู่ที่ 800840 จุด โดยมีกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. (PTT) หนุนตลาดฯ ให้มีสิทธิ์ทะลุ 840 จุด บล. เอเซียพลัส (ASP) รายงานว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทย (SET) ปิดตลาดฯ ที่ 832.38 จุด เพิ่มขึ้น 55.59 จุด เพิ่มขึ้น 7.16%มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 35,117 ล้านบาท
กลยุทธ์การลงทุน ช่วงสัปดาห์นี้ (9-13 ก.ค.) คาดการณ์กรอบดัชนีสัปดาห์นี้อยู่ที่ 800-840 จุด ปัจจัยที่น่าสนใจสัปดาห์นี้ คือการที่ ส.ส.ร. รับร่างรัฐธรรมนูญ การเมืองไทยคืบหน้า พร้อมคาดยังมีแรงซื้อหนุนจากนักลงทุนต่างชาติกลยุทธ์การลงทุน: แนะซื้อสะสมหุ้น ขนาดใหญ่ ด้วยแรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติ เน้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง พบทางสว่าง ท่องเที่ยวเบิกบาน ขณะที่หุ้นรายตัว แนะซื้อลงทุน หุ้น RRC, ITD, CENTEL และ ERAWAN ภาวะตลาดทั่วไปในสัปดาห์ที่ผ่านมา (2-6 ก.ค.)
ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียในสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาปรับตัวขึ้นอีกครั้ง จากกระแสเงินทุนไหลเข้า (Fund Flow) ที่กลับเข้ามาสู่ภูมิภาค หลังคลายความกังวลต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% เช่นเดิม ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ย 8 ครั้งติดต่อกัน บวกกับนักลงทุนลดความกังวลต่อการออกมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรในตลาดหุ้นจีน ทำให้นักลงทุน หันกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง
สำหรับตลาดหุ้นไทยนั้น ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง 7.15% จากความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง และกระแสการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ยอดซื้อสุทธิสัปดาห์ที่ผ่านมา เพียงสัปดาห์เดียว มูลค่าสูงถึง 1.9 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดซื้อสะสมสุทธิทั้งปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 แสนล้านบาท แรงซื้อของหุ้นมาร์เก็ตแคป (Market Cap) ขนาดใหญ่ทั้งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มพลังงาน ดันดัชนีขึ้นทดสอบแนวต้าน 830 จุด สร้างจุดสูงใหม่ในรอบ 10 ปีความกังวลในความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหประชาชาติ ต่อประเด็นเรื่องโครงการนิวเคลียร์ น ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ทรงตัวในระดับสูง เหนือ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่อเนื่องครึ่งหลังปีนี้
ปัจจุบัน กลุ่มโอเปก ไม่รวมอิรัก และแองโกลา มีปริมาณผลิตน้ำมันที่ 26.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 5 หมื่นบาร์เรลจากเดือน พ.ค แม้จะเป็นระดับที่สูงกว่าเป้าหมายของโอเปก ที่ต้องการลดกำลังผลิตให้อยู่ในระดับ 25.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกโอเปกนับแต่เดือน ก.พ. ก็ตาม แต่ด้วยอุปสงค์ที่สูง จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีน และอินเดีย ทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของฝ่ายวิจัย ASP ให้ไว้ที่ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลปีนี้ และ 50 ดอลลาร์ปี 2551 ดังนั้น จะเป็นผลดีต่อผลประกอบการหุ้นที่มีธุรกิจเกี่ยวข้อง แนะนำซื้อสะสม PTT (FV@ 291.7 บาท) PTTEP (FV@ 116 บาท)
รวมถึงค่าการกลั่นที่ทรงตัวสูง โดยค่าการกลั่นเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีถึงขณะนี้ (ytd) อยู่ที่ 8.17 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กล่าวคือ ไตรมา 1 อยู่ที่ 6.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ไตรมา 2 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 9.34 ดอลลาร์ ขณะที่สมมุติฐานที่ฝ่ายวิจัย ASP อยู่ที่ 6 ดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มโรงกลั่น แนะนำซื้อ RRC(FV@ 21.08 บาท), TOP(FV@ 76.17 บาท) ซึ่ง TOP คาดว่าจะได้ผลบวกจากความเป็นไปได้ที่จะชนะการประมูลโรงผลิตไฟฟิอิสระ (IPP) รอบ 2 อีกด้วยขณะที่ภาพการเมืองไทยที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ทำให้เชื่อว่า จะเกิดรัฐบาลชุดใหม่ได้ต้นปี 2551 และน่าจะมีนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประอบกับทิศทางดอกเบี้ยที่เป็นขาลง จะเป็นปัจจัยเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน ได้
สำหรับราคาน้ำมันที่ทรงตัวสูงนั้น เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการมากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ยังสามารถรักษากำไรขั้นต้น (Gross Margin) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัย ASP ยังเชื่อว่าปีนี้ น่าจะเป็นปีที่ผลประกอบการของกลุ่มตกต่ำที่สุด แต่จะมีแนวโน้มสดใสขึ้นตามโครงการลงทุนของภาครัฐใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ฝ่ายวิจัย ASP แนะนำซื้อ CK(FV@ 11 บาท), ITD(FV@ 7.49 บาท), SEAFCO(FV@ 10.40 บาท)กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้ (9 - 13 ก.ค.)กระบวนการทางการเมืองที่เดินหน้าได้อย่างดี ทั้งการแปรญัตติฯ การลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. อีกทั้งการชุมนุมที่คาดว่าจะไม่นำไปสู่ความรุนแรง ทำให้เชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่การลงประชามติได้วันที่ 19 ส.ค.นี้
ด้วยปัจจัยการเมืองที่เป็นไปในเชิงบวกมากขึ้น สร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดกระแส Fund Flow ที่ไหลเข้าสู่เอเชีย ฝ่ายวิจัย ASP คาดว่า ด้วยกระแสการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง จะหนุนให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในทิศทางขาขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่ 840850 จุด สัปดาห์นี้ ฝ่ายวิจัย ASP แนะนำการซื้อสะสมหุ้นมาร์เก็ตแคป (Market Cap) ขนาดใหญ่ คือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มพลังงาน จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากความมั่นใจทางการเมือง คือ หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และท่องเที่ยว
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177006
กลุ่ม ปตท. (PTT) หนุนตลาดฯ ผ่าน 840 จุด
บล. เอเซียพลัส (ASP) คาดการณ์กรอบดัชนีสัปดาห์นี้อยู่ที่ 800840 จุด โดยมีกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. (PTT) หนุนตลาดฯ ให้มีสิทธิ์ทะลุ 840 จุด บล. เอเซียพลัส (ASP) รายงานว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทย (SET) ปิดตลาดฯ ที่ 832.38 จุด เพิ่มขึ้น 55.59 จุด เพิ่มขึ้น 7.16%มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 35,117 ล้านบาท
กลยุทธ์การลงทุน ช่วงสัปดาห์นี้ (9-13 ก.ค.) คาดการณ์กรอบดัชนีสัปดาห์นี้อยู่ที่ 800-840 จุด ปัจจัยที่น่าสนใจสัปดาห์นี้ คือการที่ ส.ส.ร. รับร่างรัฐธรรมนูญ การเมืองไทยคืบหน้า พร้อมคาดยังมีแรงซื้อหนุนจากนักลงทุนต่างชาติกลยุทธ์การลงทุน: แนะซื้อสะสมหุ้น ขนาดใหญ่ ด้วยแรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติ เน้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง พบทางสว่าง ท่องเที่ยวเบิกบาน ขณะที่หุ้นรายตัว แนะซื้อลงทุน หุ้น RRC, ITD, CENTEL และ ERAWAN ภาวะตลาดทั่วไปในสัปดาห์ที่ผ่านมา (2-6 ก.ค.)
ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียในสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาปรับตัวขึ้นอีกครั้ง จากกระแสเงินทุนไหลเข้า (Fund Flow) ที่กลับเข้ามาสู่ภูมิภาค หลังคลายความกังวลต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% เช่นเดิม ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ย 8 ครั้งติดต่อกัน บวกกับนักลงทุนลดความกังวลต่อการออกมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรในตลาดหุ้นจีน ทำให้นักลงทุน หันกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง
สำหรับตลาดหุ้นไทยนั้น ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง 7.15% จากความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง และกระแสการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ยอดซื้อสุทธิสัปดาห์ที่ผ่านมา เพียงสัปดาห์เดียว มูลค่าสูงถึง 1.9 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดซื้อสะสมสุทธิทั้งปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 แสนล้านบาท แรงซื้อของหุ้นมาร์เก็ตแคป (Market Cap) ขนาดใหญ่ทั้งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มพลังงาน ดันดัชนีขึ้นทดสอบแนวต้าน 830 จุด สร้างจุดสูงใหม่ในรอบ 10 ปีความกังวลในความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหประชาชาติ ต่อประเด็นเรื่องโครงการนิวเคลียร์ น ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ทรงตัวในระดับสูง เหนือ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่อเนื่องครึ่งหลังปีนี้
ปัจจุบัน กลุ่มโอเปก ไม่รวมอิรัก และแองโกลา มีปริมาณผลิตน้ำมันที่ 26.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 5 หมื่นบาร์เรลจากเดือน พ.ค แม้จะเป็นระดับที่สูงกว่าเป้าหมายของโอเปก ที่ต้องการลดกำลังผลิตให้อยู่ในระดับ 25.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกโอเปกนับแต่เดือน ก.พ. ก็ตาม แต่ด้วยอุปสงค์ที่สูง จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีน และอินเดีย ทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของฝ่ายวิจัย ASP ให้ไว้ที่ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลปีนี้ และ 50 ดอลลาร์ปี 2551 ดังนั้น จะเป็นผลดีต่อผลประกอบการหุ้นที่มีธุรกิจเกี่ยวข้อง แนะนำซื้อสะสม PTT (FV@ 291.7 บาท) PTTEP (FV@ 116 บาท)
รวมถึงค่าการกลั่นที่ทรงตัวสูง โดยค่าการกลั่นเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีถึงขณะนี้ (ytd) อยู่ที่ 8.17 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กล่าวคือ ไตรมา 1 อยู่ที่ 6.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ไตรมา 2 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 9.34 ดอลลาร์ ขณะที่สมมุติฐานที่ฝ่ายวิจัย ASP อยู่ที่ 6 ดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มโรงกลั่น แนะนำซื้อ RRC(FV@ 21.08 บาท), TOP(FV@ 76.17 บาท) ซึ่ง TOP คาดว่าจะได้ผลบวกจากความเป็นไปได้ที่จะชนะการประมูลโรงผลิตไฟฟิอิสระ (IPP) รอบ 2 อีกด้วยขณะที่ภาพการเมืองไทยที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ทำให้เชื่อว่า จะเกิดรัฐบาลชุดใหม่ได้ต้นปี 2551 และน่าจะมีนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประอบกับทิศทางดอกเบี้ยที่เป็นขาลง จะเป็นปัจจัยเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน ได้
สำหรับราคาน้ำมันที่ทรงตัวสูงนั้น เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการมากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ยังสามารถรักษากำไรขั้นต้น (Gross Margin) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัย ASP ยังเชื่อว่าปีนี้ น่าจะเป็นปีที่ผลประกอบการของกลุ่มตกต่ำที่สุด แต่จะมีแนวโน้มสดใสขึ้นตามโครงการลงทุนของภาครัฐใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ฝ่ายวิจัย ASP แนะนำซื้อ CK(FV@ 11 บาท), ITD(FV@ 7.49 บาท), SEAFCO(FV@ 10.40 บาท)กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้ (9 - 13 ก.ค.)กระบวนการทางการเมืองที่เดินหน้าได้อย่างดี ทั้งการแปรญัตติฯ การลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. อีกทั้งการชุมนุมที่คาดว่าจะไม่นำไปสู่ความรุนแรง ทำให้เชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่การลงประชามติได้วันที่ 19 ส.ค.นี้
ด้วยปัจจัยการเมืองที่เป็นไปในเชิงบวกมากขึ้น สร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดกระแส Fund Flow ที่ไหลเข้าสู่เอเชีย ฝ่ายวิจัย ASP คาดว่า ด้วยกระแสการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง จะหนุนให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในทิศทางขาขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่ 840850 จุด สัปดาห์นี้ ฝ่ายวิจัย ASP แนะนำการซื้อสะสมหุ้นมาร์เก็ตแคป (Market Cap) ขนาดใหญ่ คือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มพลังงาน จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากความมั่นใจทางการเมือง คือ หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และท่องเที่ยว
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177006
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/07/07
โพสต์ที่ 58
หุ้นมีโอกาสวิ่งแตะ 885 จุด - 9/7/2550
หุ้นมีโอกาสวิ่งแตะ 885 จุด
ทิศทาง: มีโอกาสทดสอบแนวต้าน 885 จุด (วันจันทร์ห้ามปิดต่ำกว่า 833 จุด)
หุ้นแนะนำ Laggard plays ใน SET50 (BH, BEC, BGH, MAKRO, EGCO, RATCH, LH, PTTCH, RRC, TOP) ปัจจัยที่มีผลกระทบ
(+) Fund flow ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก
ในช่วง 3.5 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสะสมในตลาดหุ้นไทยแล้วกว่า 3.24 แสนล้านบาท และเป็นยอดซื้อสุทธิสะสมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ KS ประเมินสาเหตุหลักจากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในภูมิภาค และประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจาก
* การเสื่อมค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากการขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และขาดดุลงบประมาณ (ทำให้ต้องมีการกู้หนี้ต่างประเทศเพิ่ม) ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มเสื่อมค่าลง ขณะที่ปัญหาการตกต่ำของราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐ จะเป็นปัจจัยเร่งให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าเร็วขึ้น
* Yen Carry Trade จากเกินดุลการค้าอย่างต่อเนื่องของญี่ปุ่น (ช่วง 4 เดือนแรกของปี 50 เกินดุลการค้าแล้วกว่า 2.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน) ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.5% ทำให้เกิดธุรกรรมการกู้ยืมเงินสกุลญี่ปุ่นเพื่อไปลงทุนสินทรัพย์ในประเทศต่างๆมากขึ้น สะท้อนโดยการขาดดุลบัญชีเงินทุน (Capital Account Deficit) อย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นเงินทุนที่ไหลออกนอกประเทศ ซึ่งมีการเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ปี 49 สอดคล้องกับธุรกิจการทำสัญญาขายเงินสกุลเยนที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในระยะเดียวกัน
* ความเชื่อมั่นทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้น เพิ่มความคาดหวังเชิงบวกต่อนักลงทุน จึงมีโอกาสที่นักลงทุนต่างประเทศเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในไทยมากขึ้นในระยะต่อไป โดยเฉพาะอาจมีการย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นสูงกว่าตลาดหุ้นไทยอยู่มาก เข้ามายังตลาดหุ้นไทย
(+) การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น
สัปดาห์ก่อนเงินบาททำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 10 ปีที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่ากว่า 6% นับจากต้นปี KS ประเมินการแข็งค่าของเงินบาท มีผลบวกต่อตลาดหุ้น เนื่องจากสามารถนำเข้าปัจจัยการผลิตด้วยต้นทุนที่ถูกลง เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง และเพิ่มการคาดการณ์เชิงบวกต่อการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินดีขึ้น และจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติยังคงถือครองหุ้นไทย นอกจากนี้ KS ประเมินว่าค่าของเงินบาท ณ ระดับปัจจุบัน ยังไม่กระทบธุรกิจส่งออกในวงกว้าง KResearch คาดการณ์มูลค่าส่งออกปีนี้เติบโต 16% สูงกว่าระดับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ ที่ 12.5% สาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกยังสามารถเติบโตได้ในระดับสูง ทั้งที่เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากโครงสร้างผลิตภัณฑ์ส่งออกของไทยเปลี่ยนไป จากที่เคยพึ่งพาวัตถุดิบภายในประเทศ และมีการแข่งขันด้านราคาสูง เช่นอุตสาหกรรมเกษตร กลายเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะที่พึ่งพาวัตถุดิบต่างประเทศ (ต้นทุนถูกลงหากเงินบาทแข็งค่า) มากขึ้น เช่นอิเล็กโทรนิกส์ กอปรกับมีความสามารถในการขยายตลาดใหม่ๆ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เคยประเมินว่ามีเพียง 15% ของธุรกิจส่งออกที่ได้รับผลกระทบมากจากการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากพึ่งพาวัตถุดิบภายในประเทศมากกว่า 80%
(+) นโยบายการคลังเริ่มส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจ
ช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 50 (ต.ค. 49-มิ.ย. 50) มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้ว 1.06 ล้านล้านบาท หรือ 68.01% ของเงินงบประมาณ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 49 ที่ทำได้เพียง 67.8% ของเงินงบประมาณ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ มีความวิตกต่อการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า เนื่องจากปีงบประมาณปัจจุบัน เริ่มเบิกจ่ายได้จริงจังช่วงเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่ 5 ของปีงบประมาณปัจจุบัน ขณะที่เดือนมิ.ย. เริ่มเป็นเดือนแรกที่ทำให้ยอดการเบิกจ่ายงบประมาณสะสมสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเงินงบประมาณเข้าสู่ระดับเศรษฐกิจได้รวดเร็วขึ้น และ KS เชื่อว่าจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น
(+) สถานการณ์การเมืองคลี่คลายเป็นลำดับ
ปลายสัปดาห์ก่อนที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบร่างรธน.ปี 50 นับว่าช่วยผ่อนคลายสถานการณ์การเมืองได้อีกระดับหนึ่ง KS คาดหมายว่าร่างรธน.จะผ่านประชามติในวันที่ 19 ส.ค. และจะนำไปสู่การเลือกตั้งภายในปีนี้ (16 หรือ 23 ธ.ค.) และหากในสัปดาห์นี้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขประกาศคปค.ฉบับที่ 15 เพื่อให้จัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมการเมืองได้ จะยิ่งเป็นปัจจัยเสริมบรรยากาศการลงทุนให้ดีขึ้น
(-) ใน 1 เดือนดัชนีตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคแล้ว อาจมีแรงกดดันระยะสั้น
แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะตามหลังตลาดหุ้นในภูมิภาคจากต้นปีที่ผ่านมา แต่การปรับขึ้นของดัชนีตลาดอย่างรวดเร็วในเดือนที่ผ่านมา สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกไปแล้วพอสมควร ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในรอบเดือนที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนสกุลดอลลาร์สหรัฐสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากไต้หวัน จึงมีโอกาสถูกขายทำกำไรจากนักเก็งกำไรระยะสั้นที่เข้ามาซื้อหุ้นไทยในเดือนที่ผ่านมา
(-) หุ้นน้ำมันอาจถ่วงการปรับขึ้นของดัชนี
ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐไม่สนับสนุนการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 2.3% ที่ระดับ 76.23 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงสุดในรอบ 11 เดือน ขณะที่ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐงวดล่าสุด (6 ก.ค.) เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกันที่ระดับ 3.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับ consensus ที่คาดว่าจะลดลง 3 แสนบาร์เรล KS คาดว่าอาจทำให้ราคาน้ำมันดิบชะลอการปรับขึ้นในสัปดาห์นี้ จึงควรระวังการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มน้ำมัน (PTT, PTTEP) ที่มีสัดส่วนกว่า 18% ของมูลค่าตลาดรวม และราคาหุ้นผันผวนตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม KS คาดว่าราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับขึ้นตามฤดูกาลในช่วง 1-2 เดือนนี้ ตามสถิติย้อนหลัง 10 ปี ราคาน้ำมันดิบจะทำจุดสูงสุดช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. และปรับตัวลงช่วงปลายปี เว้นแต่ปีที่มีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้น หุ้นกลุ่มน้ำมันจึงช่วยสนับสนุนการปรับขึ้นของดัชนีตลาดในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
(-) หุ้นกลุ่มธนาคารจะผันผวนจากคาดการณ์ผลประกอบการไตรมาส 2/50 ที่แย่ลง
สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารปรับขึ้นแล้วเกือบ 12% มาอยู่ที่ระดับ 320 จุด สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยรับสุทธิ (Net Interst Margin) ในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม KS คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 2/50 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่จะประกาศช่วง 18-20 ก.ค. โดยภาพรวมลดลง 24%YoY และ 21%YoY ปัจจัยหลักเป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้ฯของธนาคารหลายแห่งที่เพิ่มขึ้น ตามเกณฑ์ IAS39 และหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น และส่วนต่างดอกเบี้ยรับที่คาดว่าจะปรับลดลงเล็กน้อย โดยคาดว่า SCB, BBL และ TISCO จะเป็น 3 ธนาคารหลักที่จะมีผลการดำเนินงานเติบโตดีกว่ากลุ่มฯ ขณะที่ KTB, TMB, SCIB, BAY และ TCAP คาดว่าจะมีผลการดำเนินงานแย่กว่ากลุ่มฯ แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/50 ที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการลงทุนในกลุ่มธนาคารในระยะสั้น แต่คาดว่าจะไม่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของธนาคารในระยะยาว เนื่องจากคาว่าธนาคารส่วนใหญ่จะมีผลการดำเนินงานที่ฟื้นตัวชัดเจนในปี 2551 โดย KS มองเป็นโอกาสสำหรับการเข้าสะสมหุ้นกลุ่มธนาคารฯเพื่อลงทุนในระยะยาว โดยหุ้นเด่นคือ BBL, SCB และ BAY
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177019
หุ้นมีโอกาสวิ่งแตะ 885 จุด
ทิศทาง: มีโอกาสทดสอบแนวต้าน 885 จุด (วันจันทร์ห้ามปิดต่ำกว่า 833 จุด)
หุ้นแนะนำ Laggard plays ใน SET50 (BH, BEC, BGH, MAKRO, EGCO, RATCH, LH, PTTCH, RRC, TOP) ปัจจัยที่มีผลกระทบ
(+) Fund flow ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก
ในช่วง 3.5 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสะสมในตลาดหุ้นไทยแล้วกว่า 3.24 แสนล้านบาท และเป็นยอดซื้อสุทธิสะสมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ KS ประเมินสาเหตุหลักจากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในภูมิภาค และประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจาก
* การเสื่อมค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากการขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และขาดดุลงบประมาณ (ทำให้ต้องมีการกู้หนี้ต่างประเทศเพิ่ม) ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มเสื่อมค่าลง ขณะที่ปัญหาการตกต่ำของราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐ จะเป็นปัจจัยเร่งให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าเร็วขึ้น
* Yen Carry Trade จากเกินดุลการค้าอย่างต่อเนื่องของญี่ปุ่น (ช่วง 4 เดือนแรกของปี 50 เกินดุลการค้าแล้วกว่า 2.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน) ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.5% ทำให้เกิดธุรกรรมการกู้ยืมเงินสกุลญี่ปุ่นเพื่อไปลงทุนสินทรัพย์ในประเทศต่างๆมากขึ้น สะท้อนโดยการขาดดุลบัญชีเงินทุน (Capital Account Deficit) อย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นเงินทุนที่ไหลออกนอกประเทศ ซึ่งมีการเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ปี 49 สอดคล้องกับธุรกิจการทำสัญญาขายเงินสกุลเยนที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในระยะเดียวกัน
* ความเชื่อมั่นทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้น เพิ่มความคาดหวังเชิงบวกต่อนักลงทุน จึงมีโอกาสที่นักลงทุนต่างประเทศเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในไทยมากขึ้นในระยะต่อไป โดยเฉพาะอาจมีการย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นสูงกว่าตลาดหุ้นไทยอยู่มาก เข้ามายังตลาดหุ้นไทย
(+) การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น
สัปดาห์ก่อนเงินบาททำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 10 ปีที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่ากว่า 6% นับจากต้นปี KS ประเมินการแข็งค่าของเงินบาท มีผลบวกต่อตลาดหุ้น เนื่องจากสามารถนำเข้าปัจจัยการผลิตด้วยต้นทุนที่ถูกลง เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง และเพิ่มการคาดการณ์เชิงบวกต่อการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินดีขึ้น และจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติยังคงถือครองหุ้นไทย นอกจากนี้ KS ประเมินว่าค่าของเงินบาท ณ ระดับปัจจุบัน ยังไม่กระทบธุรกิจส่งออกในวงกว้าง KResearch คาดการณ์มูลค่าส่งออกปีนี้เติบโต 16% สูงกว่าระดับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ ที่ 12.5% สาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกยังสามารถเติบโตได้ในระดับสูง ทั้งที่เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากโครงสร้างผลิตภัณฑ์ส่งออกของไทยเปลี่ยนไป จากที่เคยพึ่งพาวัตถุดิบภายในประเทศ และมีการแข่งขันด้านราคาสูง เช่นอุตสาหกรรมเกษตร กลายเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะที่พึ่งพาวัตถุดิบต่างประเทศ (ต้นทุนถูกลงหากเงินบาทแข็งค่า) มากขึ้น เช่นอิเล็กโทรนิกส์ กอปรกับมีความสามารถในการขยายตลาดใหม่ๆ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เคยประเมินว่ามีเพียง 15% ของธุรกิจส่งออกที่ได้รับผลกระทบมากจากการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากพึ่งพาวัตถุดิบภายในประเทศมากกว่า 80%
(+) นโยบายการคลังเริ่มส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจ
ช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 50 (ต.ค. 49-มิ.ย. 50) มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้ว 1.06 ล้านล้านบาท หรือ 68.01% ของเงินงบประมาณ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 49 ที่ทำได้เพียง 67.8% ของเงินงบประมาณ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ มีความวิตกต่อการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า เนื่องจากปีงบประมาณปัจจุบัน เริ่มเบิกจ่ายได้จริงจังช่วงเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่ 5 ของปีงบประมาณปัจจุบัน ขณะที่เดือนมิ.ย. เริ่มเป็นเดือนแรกที่ทำให้ยอดการเบิกจ่ายงบประมาณสะสมสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเงินงบประมาณเข้าสู่ระดับเศรษฐกิจได้รวดเร็วขึ้น และ KS เชื่อว่าจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น
(+) สถานการณ์การเมืองคลี่คลายเป็นลำดับ
ปลายสัปดาห์ก่อนที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบร่างรธน.ปี 50 นับว่าช่วยผ่อนคลายสถานการณ์การเมืองได้อีกระดับหนึ่ง KS คาดหมายว่าร่างรธน.จะผ่านประชามติในวันที่ 19 ส.ค. และจะนำไปสู่การเลือกตั้งภายในปีนี้ (16 หรือ 23 ธ.ค.) และหากในสัปดาห์นี้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขประกาศคปค.ฉบับที่ 15 เพื่อให้จัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมการเมืองได้ จะยิ่งเป็นปัจจัยเสริมบรรยากาศการลงทุนให้ดีขึ้น
(-) ใน 1 เดือนดัชนีตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคแล้ว อาจมีแรงกดดันระยะสั้น
แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะตามหลังตลาดหุ้นในภูมิภาคจากต้นปีที่ผ่านมา แต่การปรับขึ้นของดัชนีตลาดอย่างรวดเร็วในเดือนที่ผ่านมา สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกไปแล้วพอสมควร ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในรอบเดือนที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนสกุลดอลลาร์สหรัฐสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากไต้หวัน จึงมีโอกาสถูกขายทำกำไรจากนักเก็งกำไรระยะสั้นที่เข้ามาซื้อหุ้นไทยในเดือนที่ผ่านมา
(-) หุ้นน้ำมันอาจถ่วงการปรับขึ้นของดัชนี
ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐไม่สนับสนุนการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 2.3% ที่ระดับ 76.23 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงสุดในรอบ 11 เดือน ขณะที่ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐงวดล่าสุด (6 ก.ค.) เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกันที่ระดับ 3.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับ consensus ที่คาดว่าจะลดลง 3 แสนบาร์เรล KS คาดว่าอาจทำให้ราคาน้ำมันดิบชะลอการปรับขึ้นในสัปดาห์นี้ จึงควรระวังการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มน้ำมัน (PTT, PTTEP) ที่มีสัดส่วนกว่า 18% ของมูลค่าตลาดรวม และราคาหุ้นผันผวนตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม KS คาดว่าราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับขึ้นตามฤดูกาลในช่วง 1-2 เดือนนี้ ตามสถิติย้อนหลัง 10 ปี ราคาน้ำมันดิบจะทำจุดสูงสุดช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. และปรับตัวลงช่วงปลายปี เว้นแต่ปีที่มีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้น หุ้นกลุ่มน้ำมันจึงช่วยสนับสนุนการปรับขึ้นของดัชนีตลาดในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
(-) หุ้นกลุ่มธนาคารจะผันผวนจากคาดการณ์ผลประกอบการไตรมาส 2/50 ที่แย่ลง
สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารปรับขึ้นแล้วเกือบ 12% มาอยู่ที่ระดับ 320 จุด สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยรับสุทธิ (Net Interst Margin) ในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม KS คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 2/50 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่จะประกาศช่วง 18-20 ก.ค. โดยภาพรวมลดลง 24%YoY และ 21%YoY ปัจจัยหลักเป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้ฯของธนาคารหลายแห่งที่เพิ่มขึ้น ตามเกณฑ์ IAS39 และหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น และส่วนต่างดอกเบี้ยรับที่คาดว่าจะปรับลดลงเล็กน้อย โดยคาดว่า SCB, BBL และ TISCO จะเป็น 3 ธนาคารหลักที่จะมีผลการดำเนินงานเติบโตดีกว่ากลุ่มฯ ขณะที่ KTB, TMB, SCIB, BAY และ TCAP คาดว่าจะมีผลการดำเนินงานแย่กว่ากลุ่มฯ แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/50 ที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการลงทุนในกลุ่มธนาคารในระยะสั้น แต่คาดว่าจะไม่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของธนาคารในระยะยาว เนื่องจากคาว่าธนาคารส่วนใหญ่จะมีผลการดำเนินงานที่ฟื้นตัวชัดเจนในปี 2551 โดย KS มองเป็นโอกาสสำหรับการเข้าสะสมหุ้นกลุ่มธนาคารฯเพื่อลงทุนในระยะยาว โดยหุ้นเด่นคือ BBL, SCB และ BAY
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177019
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/07/07
โพสต์ที่ 59
ผวาค่าเงินแตะ31บ./ดอลล์ รับทุนนอกทะลักเข้าไม่หยุด ดันมูลค่าตลาดหุ้นกระฉูด สภาอุตฯลุ้นแบงก์ชาติช่วย
"โบรกเกอร์" ระบุเม็ดเงินต่างชาติจ่อทะลักเข้าไทยอีกลอต ดันเงินบาทแข็งต่อ "วิบูลย์ กรมดิษฐ์"ชี้ผู้ส่งออกอ่วมแน่ หากปล่อยให้ค่าเงินผันผวนต่อไปเช่นนี้
เมื่อวันที่ 8กรกฏาคม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดสัมมนา "ทิศทางอุตสาหกรรรมไทย"
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานบริษัท อมตะ ซิตี้ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าจะดีขึ้นเนื่องจากได้มีความชัดเจนขึ้นในหลายๆด้าน ในด้านที่สำคัญคือปัจจัยด้านการเมือง จึงมั่นใจและมีการลงทุนเพิ่มในหลายๆอุตสาหกรรด้วยกัน เนื่องจากนักลงทุนมองเรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้
อย่างไรก็ตามการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่นำเข้าเครื่องจักร แต่ก็ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกหลายรายขาดทุนเป็นอย่างมากในช่วงนี้
"ค่าเงินบาทนั้นถ้าค่อยๆแข็งค่าคิดว่าผู้ประกอบการส่งออกก็ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าขึ้น-ลงอย่างรวดเร็วเหมือนในตอนนี้ผู้ประกอบการส่งออกไม่สามารถที่จะปรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้ก็คงขาดทุนแน่นอน
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา เหรัญญิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อเงินบาทแข็งค่าอาจทำให้การส่งออกไปสหรัฐทำตลาดได้ยากขึ้น และหากแข็งค่าแบบค่อยเป็นค่อยไปผู้ส่งออกจะปรับตัวได้ทันเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา แต่หากยังแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน เอกชนย่อมได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงเตรียมมาตรการออกมารับมือเหมือนกับการใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ก่อนหน้านี้ เพราะที่ผ่านมา มาตรการดังกล่าวสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเชีย พลัส จำกัด(มหาชน)(ASP) กล่าวว่า กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศไทยส่วนใหญ่ในตอนนี้เกิดขึ้นจากการทำกำไรระหว่างตลาด ประกอบกับที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวขึ้นไม่มากนัก จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการเข้าหาผลตอบแทนที่ดีของนักลงทุน
"เชื่อว่าเม็ดเงินจะไหลเข้ามาเรื่อยๆ โดยจะเข้ามาทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในตลาดที่ยังปรับตัวขึ้นไม่มากนัก ทั้งไทย เกาหลี อินเดีย ดังนั้น เชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 31 บาท"ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเชีย พลัส กล่าว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=66865
"โบรกเกอร์" ระบุเม็ดเงินต่างชาติจ่อทะลักเข้าไทยอีกลอต ดันเงินบาทแข็งต่อ "วิบูลย์ กรมดิษฐ์"ชี้ผู้ส่งออกอ่วมแน่ หากปล่อยให้ค่าเงินผันผวนต่อไปเช่นนี้
เมื่อวันที่ 8กรกฏาคม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดสัมมนา "ทิศทางอุตสาหกรรรมไทย"
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานบริษัท อมตะ ซิตี้ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าจะดีขึ้นเนื่องจากได้มีความชัดเจนขึ้นในหลายๆด้าน ในด้านที่สำคัญคือปัจจัยด้านการเมือง จึงมั่นใจและมีการลงทุนเพิ่มในหลายๆอุตสาหกรรด้วยกัน เนื่องจากนักลงทุนมองเรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้
อย่างไรก็ตามการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่นำเข้าเครื่องจักร แต่ก็ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกหลายรายขาดทุนเป็นอย่างมากในช่วงนี้
"ค่าเงินบาทนั้นถ้าค่อยๆแข็งค่าคิดว่าผู้ประกอบการส่งออกก็ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าขึ้น-ลงอย่างรวดเร็วเหมือนในตอนนี้ผู้ประกอบการส่งออกไม่สามารถที่จะปรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้ก็คงขาดทุนแน่นอน
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา เหรัญญิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อเงินบาทแข็งค่าอาจทำให้การส่งออกไปสหรัฐทำตลาดได้ยากขึ้น และหากแข็งค่าแบบค่อยเป็นค่อยไปผู้ส่งออกจะปรับตัวได้ทันเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา แต่หากยังแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน เอกชนย่อมได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงเตรียมมาตรการออกมารับมือเหมือนกับการใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ก่อนหน้านี้ เพราะที่ผ่านมา มาตรการดังกล่าวสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเชีย พลัส จำกัด(มหาชน)(ASP) กล่าวว่า กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศไทยส่วนใหญ่ในตอนนี้เกิดขึ้นจากการทำกำไรระหว่างตลาด ประกอบกับที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวขึ้นไม่มากนัก จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการเข้าหาผลตอบแทนที่ดีของนักลงทุน
"เชื่อว่าเม็ดเงินจะไหลเข้ามาเรื่อยๆ โดยจะเข้ามาทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในตลาดที่ยังปรับตัวขึ้นไม่มากนัก ทั้งไทย เกาหลี อินเดีย ดังนั้น เชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 31 บาท"ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเชีย พลัส กล่าว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=66865
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/07/07
โพสต์ที่ 60
"โฆสิต" สวนหมัด "ขุนคลัง" ชี้ดอกเบี้ยยังลดได้อีก 0.25-0.50%
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2550 19:42 น.
"โฆสิต" ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยยังลดได้อีก 0.25-0.50% สวนทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำสุดแล้ว พร้อมระบุ การแก้ไขปัญหาค่าบาทแข็ง ต้องลดดอกเบี้ย-เร่งลงทุน และกระตุ้นการนำเข้า
วันนี้(06 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ โดยระบุว่า น่าจะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกเล็กน้อย ขณะที่เรื่องการบริโภคภายในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงความชัดเจนของระดับอัตราดอกเบี้ยที่จะสามารถปรับลดลงว่าจะเป็น 0.25-0.50% ได้หรือไม่ ซึ่งนายโฆสิต กล่าวว่า "น่าจะใช่ในระดับนี้"
นายโฆสิต กล่าวอีกว่า รัฐบาลพยายามเร่งส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นให้มีการนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งจะช่วยคลี่คลายปัญหาเงินบาทแข็งค่า แต่เชื่อว่าการที่เงินบาทผันผวนแข็งค่าขึ้นน่าจะเป็นปัญหาระยะสั้นๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะดูแลให้เหมาะสม
โดยก่อนหน้านี้ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ ถึงจุดที่อยู่ในระดับต่ำสุดแล้ว โดยเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยในยุโรปเริ่มจะปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐก็คงตัวไม่มีการปรับลดลง อย่างไรก็ตามคงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 18 ก.ค.นี้ จะปรับลดลงได้อีกหรือไม่ จากระดับที่ปัจจุบันดอกเบี้ยอ้างอิงตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี) ระยะ 1 วัน อยู่ที่ 3.5%
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000079120
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2550 19:42 น.
"โฆสิต" ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยยังลดได้อีก 0.25-0.50% สวนทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำสุดแล้ว พร้อมระบุ การแก้ไขปัญหาค่าบาทแข็ง ต้องลดดอกเบี้ย-เร่งลงทุน และกระตุ้นการนำเข้า
วันนี้(06 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ โดยระบุว่า น่าจะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกเล็กน้อย ขณะที่เรื่องการบริโภคภายในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงความชัดเจนของระดับอัตราดอกเบี้ยที่จะสามารถปรับลดลงว่าจะเป็น 0.25-0.50% ได้หรือไม่ ซึ่งนายโฆสิต กล่าวว่า "น่าจะใช่ในระดับนี้"
นายโฆสิต กล่าวอีกว่า รัฐบาลพยายามเร่งส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นให้มีการนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งจะช่วยคลี่คลายปัญหาเงินบาทแข็งค่า แต่เชื่อว่าการที่เงินบาทผันผวนแข็งค่าขึ้นน่าจะเป็นปัญหาระยะสั้นๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะดูแลให้เหมาะสม
โดยก่อนหน้านี้ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ ถึงจุดที่อยู่ในระดับต่ำสุดแล้ว โดยเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยในยุโรปเริ่มจะปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐก็คงตัวไม่มีการปรับลดลง อย่างไรก็ตามคงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 18 ก.ค.นี้ จะปรับลดลงได้อีกหรือไม่ จากระดับที่ปัจจุบันดอกเบี้ยอ้างอิงตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี) ระยะ 1 วัน อยู่ที่ 3.5%
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000079120