ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 2
แฮ่ม......ขออนุญาติครับ
ทั้งคู่ ตัวตั้งเหมือนกันคือ R
แต่เพราะว่าตัวหารต่างกัน ค่าเลยต่างกันครับ
จากงบดุล A (Assets) = L (Liability) + E (Equity)
ก็พอจะบอกได้ว่า เกือบทั้งหมดแล้ว A จึงมักจะมากกว่า E
ยกเว้นบริษัทนั้นไม่มี Liability เลย ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น ROA จึงมักจะมีค่าน้อยกว่า ROE สืบเนื่องจาก A มักจะมีค่ามากกว่า E
รอท่านอื่น ๆ มายืนยันอีกทีนะครับ
ทั้งคู่ ตัวตั้งเหมือนกันคือ R
แต่เพราะว่าตัวหารต่างกัน ค่าเลยต่างกันครับ
จากงบดุล A (Assets) = L (Liability) + E (Equity)
ก็พอจะบอกได้ว่า เกือบทั้งหมดแล้ว A จึงมักจะมากกว่า E
ยกเว้นบริษัทนั้นไม่มี Liability เลย ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น ROA จึงมักจะมีค่าน้อยกว่า ROE สืบเนื่องจาก A มักจะมีค่ามากกว่า E
รอท่านอื่น ๆ มายืนยันอีกทีนะครับ
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 3
อธิบายได้ ด้วย Dupont Model ดีที่สุดคับ
ROE = Net Profit Margin X Asset turnover X Equity Multiplier
แปลว่า ROE จะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คืออัตรากำไรเบื้องต้น (Net profit margin = Income/Revenue) กับค่าตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Asset Turnover = Revenue/Asset) และ สุดท้ายคือสัดส่วนของผู้ถือหุ้นกับสินทรัพย์รวม (Equity multiplier = Asset/Equity)
สองค่าแรกคูณกันจะได้ ROA ครับ
ROE = ROA X Equity Multiplier
ดังนั้น ROE จะสูงกว่า ROA ด้วยสัดส่วนของสินทรัพย์รวมกับผู้ถือหุ้น หรือถ้ามองกลับกัน ถ้าหนี้เยอะ ROE ก็สูงขึ้นไปด้วยนะครับ
แต่ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ทั้งหมดเป็นความสามารถที่แท้จริงของกิจการ ในขณะที่ ROE จะมีปัจจัยของโครงสร้างเงินทุนของบริษัทด้วย
ถ้าสองบริษัทมี ROA เท่ากัน ROE ของบริษัทที่มีหนี้มากกว่าจะมีค่าสูงกว่า แปลว่าบริษัทที่มีหนี้มากกว่าเก่งกว่าหรือเปล่าครับ จริงๆ แล้วก็คือไม่ เพราะเป็นเรื่องของการบริหารเงินทุนไม่ใช่ความสามารถในการดำเนินธุรกิจโดยตรง
ถ้ามองในแง่หุ้นว่าดีหรือไม่ ROE ของบริษัทที่มีหนี้สูงก็จะมีความผันผวนหรือความเสี่ยงสูงตามไปด้วยถึงแม้ว่าจะมี ROE สูงกว่าอีกบริษัทหนึ่งก็ตาม
ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องดู ROE นะครับแค่ต้องระวัง trap เรื่องนี้เท่านั้นเอง
ROE = Net Profit Margin X Asset turnover X Equity Multiplier
แปลว่า ROE จะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คืออัตรากำไรเบื้องต้น (Net profit margin = Income/Revenue) กับค่าตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Asset Turnover = Revenue/Asset) และ สุดท้ายคือสัดส่วนของผู้ถือหุ้นกับสินทรัพย์รวม (Equity multiplier = Asset/Equity)
สองค่าแรกคูณกันจะได้ ROA ครับ
ROE = ROA X Equity Multiplier
ดังนั้น ROE จะสูงกว่า ROA ด้วยสัดส่วนของสินทรัพย์รวมกับผู้ถือหุ้น หรือถ้ามองกลับกัน ถ้าหนี้เยอะ ROE ก็สูงขึ้นไปด้วยนะครับ
แต่ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ทั้งหมดเป็นความสามารถที่แท้จริงของกิจการ ในขณะที่ ROE จะมีปัจจัยของโครงสร้างเงินทุนของบริษัทด้วย
ถ้าสองบริษัทมี ROA เท่ากัน ROE ของบริษัทที่มีหนี้มากกว่าจะมีค่าสูงกว่า แปลว่าบริษัทที่มีหนี้มากกว่าเก่งกว่าหรือเปล่าครับ จริงๆ แล้วก็คือไม่ เพราะเป็นเรื่องของการบริหารเงินทุนไม่ใช่ความสามารถในการดำเนินธุรกิจโดยตรง
ถ้ามองในแง่หุ้นว่าดีหรือไม่ ROE ของบริษัทที่มีหนี้สูงก็จะมีความผันผวนหรือความเสี่ยงสูงตามไปด้วยถึงแม้ว่าจะมี ROE สูงกว่าอีกบริษัทหนึ่งก็ตาม
ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องดู ROE นะครับแค่ต้องระวัง trap เรื่องนี้เท่านั้นเอง
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- Verified User
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 5
พี่ ayethebing นี่ลงถึงรากเลยครับ
ของผมยังได้แค่คุ้ยเขี่ยหากินตามหน้าดิน
ผมยังสงสัยเหมือนพี่ samart ครับ
ว่ามีกรณีไหนบ้าง ที่ ROE จะมากกว่า ROA ได้
มานั่งรอเล็กเชอร์ด้วยคนครับ
ของผมยังได้แค่คุ้ยเขี่ยหากินตามหน้าดิน
ผมยังสงสัยเหมือนพี่ samart ครับ
ว่ามีกรณีไหนบ้าง ที่ ROE จะมากกว่า ROA ได้
มานั่งรอเล็กเชอร์ด้วยคนครับ
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 7
ชัดเจนมากคับพี่นริศ
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
- ดาวหางสีแดง
- Verified User
- โพสต์: 635
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 9
ห๋า เกิดจากการพิมพ์ผิดจริงๆเหรอครับ
ไม่น่าเป็นไปได้นา
เป็นไปได้มั้ยว่า
ROA ของเขา ตัวตั้งไม่ได้เป็น Net Profit
เช่นเขาอาจจะใช้
EBIT/Total Asset หรืออาจจะเป็น EBITDA/Total Asset หรืออาจจะเป็น
NOPAT/Operating Asset
ไม่น่าเป็นไปได้นา
เป็นไปได้มั้ยว่า
ROA ของเขา ตัวตั้งไม่ได้เป็น Net Profit
เช่นเขาอาจจะใช้
EBIT/Total Asset หรืออาจจะเป็น EBITDA/Total Asset หรืออาจจะเป็น
NOPAT/Operating Asset
-
- Verified User
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 11
อันนี้ของ set.or.th ครับ
ปี 2007 2006 2005 2004 2003
ROA(%)* 20.76 20.78 19.58 20.46 18.86
ROE(%)* 18.24 18.86 18.47 19.75 19.88
ส่วนอันนี้ของ Setsmart.com ครับ
ปี 2006 2005 2004 2003
Return on Asset + (%) 20.78 19.58 20.46 18.86
Return on Equity + (%) 18.86 18.47 19.75 19.88
เอ๊ะ ..... ก็เหมือนกัน เพราะของ Setsmart ก็คงเอาข้อมูลมากจาก set
แต่ที่ผมดูแล้วก็พบว่า อิ ๆ
ไอ้ ROA เขาใช้ EBIT มาคำนวณ
แต่ ROE เขาใช้ Net Profit มาคำนวณ ค่ามันก็เลยเป็นแบบนั้น
ลองดูของปี 2006 นะครับ สำหรับ ROA
EBIT2006/((Asset2005+Asset2006)/2) = 368.4/((1749.85+1795.54)/2)
แต่ในส่วนของ ROE ของปี 2006
Net Profit2006/((Equity2005+Equity2006)/2) = 269.59/((1369.97+1489.56)/2)
คงเป็นด้วยฉะนี้แล
ปี 2007 2006 2005 2004 2003
ROA(%)* 20.76 20.78 19.58 20.46 18.86
ROE(%)* 18.24 18.86 18.47 19.75 19.88
ส่วนอันนี้ของ Setsmart.com ครับ
ปี 2006 2005 2004 2003
Return on Asset + (%) 20.78 19.58 20.46 18.86
Return on Equity + (%) 18.86 18.47 19.75 19.88
เอ๊ะ ..... ก็เหมือนกัน เพราะของ Setsmart ก็คงเอาข้อมูลมากจาก set
แต่ที่ผมดูแล้วก็พบว่า อิ ๆ
ไอ้ ROA เขาใช้ EBIT มาคำนวณ
แต่ ROE เขาใช้ Net Profit มาคำนวณ ค่ามันก็เลยเป็นแบบนั้น
ลองดูของปี 2006 นะครับ สำหรับ ROA
EBIT2006/((Asset2005+Asset2006)/2) = 368.4/((1749.85+1795.54)/2)
แต่ในส่วนของ ROE ของปี 2006
Net Profit2006/((Equity2005+Equity2006)/2) = 269.59/((1369.97+1489.56)/2)
คงเป็นด้วยฉะนี้แล
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
- ดาวหางสีแดง
- Verified User
- โพสต์: 635
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 12
รวดเร็วมาก
ขอบคุณครับ ผมว่าจะเข้าไปแกะดูพอดีเลย
ขอบคุณครับ ผมว่าจะเข้าไปแกะดูพอดีเลย
- ดาวหางสีแดง
- Verified User
- โพสต์: 635
- ผู้ติดตาม: 0
ROE สูงกว่า ROA ได้อย่างไร
โพสต์ที่ 14
เกี่ยวกับไอ้เจ้า ROA ผมเคยสับสนมากๆ ว่า ทำไมมันไม่เหมือนกับที่เราศึกษามาเนี่ยมันต้องใช้ตัวไหนกันแน่
ขอให้ความเห็นเพิ่มเติม ตามมุมมองของมือใหม่อย่างผมนะครับ
ROA. (Return on Asset) คือผลตอบแทน ต่อ สินทรัพย์
ที่นี้ผลตอบแทน (Return) ที่ว่าเนี่ยมันก็แล้วแต่มุมมองว่าจะใช้ return ตัวไหน
ถ้าเอาตามที่เรียนกันมาเป็นมาตรฐานก็ต้องตาม Dupont Model ใช้ Net profit เป็นตัวตั้ง
แต่ก็อาจจะมองได้ว่าการใช้กำไรสุทธิมาวัดผลอาจจะไม่แฟร์เท่าไร
เนื่องจากประเด็นเรื่องภาษี กับ ดอกเบี้ยเนี่ย อาจจะมีกรณีพิเศษบางครั้งทำให้บางบริษัทมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถ้าเราเอา ROA ไปวัดผลบางบริษัท ในช่วงเวลานั้นก็อาจจะได้ผลที่คลาดเคลื่อนไป ดังนั้นใช้
EBIT น่าจะดีกว่ามั้ย ?
แต่บางครั้งก็อาจจะมองว่าผลตอบแทนที่ return มา มันน่าจะใช้ตัวกำไรที่เป็นเงินสด งั้น EBITDA น่าจะดีกว่าสิ
หรืออาจจะมองว่า ROA เป็นผลตอบแทนที่ให้แก่บริษัท ซึ่งส่งผลต่อ
เจ้าหนี้ + ผู้ถือหุ้น
ดังนั้นเอากำไรที่หาได้ มาหักภาษีออกไป(ภาษีไม่เกี่ยว แต่ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้เกี่ยว) เหลือไว้เป็น NOPAT มาคิดเป็น return ดีกว่า แล้วคิดผลตอบแทนที่ได้เทียบกับ operating asset
สรุปก็คือ เราจะใช้อะไรเป็นตัววัดก็ได้ อาจจะถึงขั้นคิดสัดส่วนตัวใหม่ที่ไม่เคยมีใครใช้ก็ได้ ถ้าเราคิดว่ามันเหมาะสมและมีเหตุผลรองรับเพียงพอ
ตัวเลขทางการเงินเป็นของตาย แต่วิจารณญาณในการวิเคราะห์ของเราเป็นของเป็น ผันแปรไม่สิ้นสุด
สิ่งที่สามารถฆ่าคนไม่ใช่กระบี่
แต่สิ่งที่สามารถฆ่าคนคือคนที่ใช้กระบี่ (โกวเล้ง)
ความเห็นตามมุมมองของมือใหม่ครับ
ขอให้ความเห็นเพิ่มเติม ตามมุมมองของมือใหม่อย่างผมนะครับ
ROA. (Return on Asset) คือผลตอบแทน ต่อ สินทรัพย์
ที่นี้ผลตอบแทน (Return) ที่ว่าเนี่ยมันก็แล้วแต่มุมมองว่าจะใช้ return ตัวไหน
ถ้าเอาตามที่เรียนกันมาเป็นมาตรฐานก็ต้องตาม Dupont Model ใช้ Net profit เป็นตัวตั้ง
แต่ก็อาจจะมองได้ว่าการใช้กำไรสุทธิมาวัดผลอาจจะไม่แฟร์เท่าไร
เนื่องจากประเด็นเรื่องภาษี กับ ดอกเบี้ยเนี่ย อาจจะมีกรณีพิเศษบางครั้งทำให้บางบริษัทมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถ้าเราเอา ROA ไปวัดผลบางบริษัท ในช่วงเวลานั้นก็อาจจะได้ผลที่คลาดเคลื่อนไป ดังนั้นใช้
EBIT น่าจะดีกว่ามั้ย ?
แต่บางครั้งก็อาจจะมองว่าผลตอบแทนที่ return มา มันน่าจะใช้ตัวกำไรที่เป็นเงินสด งั้น EBITDA น่าจะดีกว่าสิ
หรืออาจจะมองว่า ROA เป็นผลตอบแทนที่ให้แก่บริษัท ซึ่งส่งผลต่อ
เจ้าหนี้ + ผู้ถือหุ้น
ดังนั้นเอากำไรที่หาได้ มาหักภาษีออกไป(ภาษีไม่เกี่ยว แต่ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้เกี่ยว) เหลือไว้เป็น NOPAT มาคิดเป็น return ดีกว่า แล้วคิดผลตอบแทนที่ได้เทียบกับ operating asset
สรุปก็คือ เราจะใช้อะไรเป็นตัววัดก็ได้ อาจจะถึงขั้นคิดสัดส่วนตัวใหม่ที่ไม่เคยมีใครใช้ก็ได้ ถ้าเราคิดว่ามันเหมาะสมและมีเหตุผลรองรับเพียงพอ
ตัวเลขทางการเงินเป็นของตาย แต่วิจารณญาณในการวิเคราะห์ของเราเป็นของเป็น ผันแปรไม่สิ้นสุด
สิ่งที่สามารถฆ่าคนไม่ใช่กระบี่
แต่สิ่งที่สามารถฆ่าคนคือคนที่ใช้กระบี่ (โกวเล้ง)
ความเห็นตามมุมมองของมือใหม่ครับ