33 ชั้นครับ กลับบ้านไม่ต้องวิ่ง jogging เลย ตอนเดินมีฝรั่งในบริษัทบ่นอีกว่าทำไมคนไทยหนีกันช้าจัง (มันเมื่อยเฟ้ยยยย)ขายังสั่นอยู่เลยครับ เดินลง 22 ชั้น
เขาว่าแผ่นดินไหว
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
เขาว่าแผ่นดินไหว
โพสต์ที่ 33
15 ปีมาแล้ว ตอนทำ thesis ช่วยอาจารย์ ทำงานวิจัย จับคลื่นแผ่นดินไหว ที่เข้ามาถึง กทม โดยติดอุปกรณ์ที่ตึกใบหยก 1
มีอยู่หลายครั้งลองเช็คว่า คลื่นแผ่นดินไหวที่วิ่งจาก ชายแดน แถวเชียงใหม่ มา กทม กินเวลา เท่าไร ถึงจะมาถึง กทม
ปรากฏว่า ใช้เวลา ประมาณ 30+- 5 นาที ประมาณนี้ครับ ไม่เร็วกว่านี้ คลื่นตัวแรงๆนะครับ มีการตั้งเครื่องจับ ความเร่ง ที่ตึกใบหยก 1 ตอนนั้นปี 2535-37 จากสัญญาณที่จับได้ ยอดตึกสั่นเป็นคลื่น sine wave เลยครับ ( ตัวสัญญาณที่จับจริงๆ เป็นสัญญาณความเร่งครับ เครื่องมือที่จับนี่ ใช้หลักการลูกต้มนาฬิกากับแม่เหล็ก ถ้ามีการไหว ลูกตุ้มจะแกว่งผ่านสนามแม่เหล็ก แล้วจะทำให้เกิดกระแสไฟ สัญญาณขั้นต้นออกมาเป็นไฟฟ้าแปลงให้เป็น ความเร่งได้ครับ แล้วก็สามารถแปลงเป็น ความเร็ว หรือว่า ระยะเคลื่อนทีได้ ถ้าต้องการครับ )
ดังนั้น ถ้ารัฐรู้จักบริหารดีๆในเรื่องของเวลา การแจ้งเตือนข่าวสาร บริหารดีๆ มีเวลาพอเหลือบ้างครับ ที่จะบอกกล่าวประชาชนครับ
แต่ว่า รัฐไม่ชอบทำครับ เรื่องแบบนี้ รัฐชอบให้เกิดเรื่องก่อนแล้วค่อยทำ
อีกอย่างเจ้าหน้าที่รัฐชอบไปทำเรื่องอย่างอื่น ( ที่มีมันติดเนื้ออยู่ ) มากกว่านะครับ อิอิอิ
ทำให้ทุกครั้งมีแต่คนรีบลงจากตึก ทั้งๆที่ สำหรับบางเหตุการณ์แล้ว ไม่จำเป็นครับ
ความกลัวทำให้คนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
ก็กลัวนี่นา.
แต่ถ้าบอกว่าเดี๋ยวอาจจะมีคลื่นลูกใหม่ตามมา ที่ใหญ่กว่าเดิมนี่ เป็นไปได้ครับ ..
ก็พอดีทั้งวันไม่ต้องทำงาน เพราะว่ามันอาจจะมาเย็นนี้ หรือว่า พรุ่งนี้ หรือว่า มะรืนนี้ หรือเดือนหน้าได้ครับ
การให้ความรู้กับปประชาชน รวมทั้งการที่รัฐมีวิธีการในการรับมือ ที่ชัดเจน จะทำให้การกลัวนี่ดีขึ้นครับ ก็ต้องมีคนมาทำความเข้าใจก่อน รัฐควรบอกประชาชนว่า อะไรควรกลัว อะไรไม่ควร แล้วก็ มี step อย่างไร ในการพิจารณารับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น
คนที่น่าสงสารที่สุดคือคนที่เป็นโรคหัวใจ ถ้าเราไม่บอกอะไรหรือว่าสร้างความชัดเจนให้เขารู้ ว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ นี่ คิดดู ต่อให้เดินลงตึกก็เถอะ หัวใจวายได้นะครับ
ที่แน่ๆรัฐมีเวลาจำกัดคือ 10 นาที นับจากเกิดแผ่นดินไหว ในการบริหารเวลา ที่มาจากแผ่นดินไหวครับ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะทำให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ
เฮ้อ..คิดถึง เรือเอลิคอต + ซุเปอร์คอมพิวเตอร์ครับ จริงๆ สะท้อนในใจจริงๆ ( ใครหลายๆคนที่ไม่สนใจเรื่องคอรับชั่น บอก ช่างมัน จะเข้าใจ.เมื่อมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น แล้วได้แต่บอกว่าระบบไม่ดีพอ ห่วย หรือว่าไม่มีงบครับ .. ถึงตอนนั้นจะเสียใจครับ )
เข้าเรื่องต่อดีกว่าครับ
ถัดจาก 10 นาที แรก เวลาที่เหลือเป็นเวลาของภาคเอกชนครับ ที่ว่าตัวของใครก็ตัวของมันครับ
ลองดูครับ
เกิดเหตุที่เวลา 0 นาที
ที่เวลา 5 นาที ศูนย์กลางบริหาร แผ่นดินไหวไต้องได้รับแจ้งถึงความแรงของคลื่นพร้อมตำแหน่งที่เกิด
ที่เวลา 10 นาที ทีวี ต้องออกทุกช่อง สถานี วิทยุ ต้องออกทุกช่อง ให้ระบุความรุนแรงด้วย
ที่เวลา 11-30 เป็นเวลาแห่งการจัดการสำหรับคน กทม ที่มีตึกเยอะครับ
แต่ถ้าคนเป็นทางเหนือเชียงใหม่ หุหุหุ ตัวใครตัวมันจริงๆครับ แล้วแต่ดวงจริงๆ
เพราะว่ามันไม่มีเวลาเตือนเลยครับ คลื่นเข้า พร้อมๆกับที่ตัวจับสัญญาณ จับได้มังครับ เฮ้อ
รับรองได้ว่า ถ้าแผ่นดินไหวแรงๆ จนกระทั่งตึกพัง ไม่มีเวลาหนีหรอกครับ คนหนีได้คือคนชั้นล่างๆ เท่านั้น
แต่ว่าจะมีแค่บางตึกที่ว่า มันใกล้พังแต่ไม่พัง พวกนี้หนีได้ จะดีมากครับ ตึกพวกนั้นจะแสดงอาการครับ แล้วอาการพวกนี้ปกติ จะแสดงออกมาเลย ตอนที่แผ่นดินไหวอ่ะครับ ถ้าตึกไหนเจอแผ่นดินไหวแล้วออกอาการ ผนังร้าว แบบนั้น เผ่นเถอะครับ เผ่นมาตั้งหลัก
แต่ถ้าพวกไม่มีอาการผนังร้าวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นๆ.เลยนี่ แล้วก็เผ่น แบบ กระตู้วู้ว คือเผ่นแบบ เดินไป เม้าท์ไป ...อิอิอิ กลัวเกินเหตุครับ อิอิอิ ล้อเล่น.
แล้วถามจริงๆเถอะครับ นับจากปี 2530 ที่มีตึกสูงมาหลายๆตึกแล้ว กทม แผ่นดินไหวมากี่ครั้งแล้วครับ แล้วเป็นไงบ้างครับ ทุกคนก็สบายดี
บางคนอาจจะบอกว่าก็ที่ผ่านมามันไม่แรงนี่หว่า
ก็อยากบอกว่า ถ้ามันไหวแรง จนตึกพังนี่ คุณหนีไม่ทันครับ เพราะว่าจะไม่มีเวลาหนี
แต่ถ้า ตึกมันออกอาการใกล้พัง อย่างนั้นให้รีบหนีครับ เพราะว่า ถ้าใกล้พังแล้ว มีคลื่น after shock ตามมานี่ พังเลยครับ ฟางเส้นสุดท้ายบนหลังลา
ดังนั้น เราควรมาทำความเข้าใจว่า ตึกออกอาการยังไงถึงเรียกว่าใกล้พังครับ
วิทยาการทางด้านการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว ทำได้ระดับนึงครับ ต้องออกแบบตามแรงแผ่นดินไหว รวมทั้งการให้รายละเอียดของเหล็กจะต้องระบุให้มากและชัดเจน การทำให้โครงสร้างคอนกรีต มีความเหนียว ( Ductile ) มากขึ้น จะทำให้พฤติกรรมของอาคารตอบสนองต่อแผ่นดินไหวได้ดีขึ้นครับ อันนี้ก็.....ก็มีผลทำให้ราคาอาคารแพงขึ้นหน่อยครับ อันนี้ เจ้าของอาคารจะต้องมีความเข้าใจและสำนึกครับ
ประเทศไทยมีเหตุแผ่นดินไหวมามากพอที่จะสรุปได้แล้วครับว่า อะไรเป็นอะไร เหมือนหลายปีก่อนถึงกับ รพ ที่ทางเหนือนี่ ผนังร้าวหนักเลยครับ อาคารไม่สูง แต่ว่าทุกอย่างส่วนใหญ่จะจบแค่การบันทุกข้อมูล การนำเอาข้อมูลไป วิเคราะห์ ก็มีบ้างครับ ไม่มากพอ
รู้สึกว่าที่จุฬามีศูนย์เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขึ้นกับ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา รึป่าว ไม่แน่ใจครับ ถ้าแผ่นดินไหวที่เราต้องการดูผลที่กระทบต่ออาคาร ต้องเป็นที่วิศวกรรม ครับ ไม่ใช่ที่ วิทยาศาตร์ เพราะว่า นักวิทยาศาตร์จะเข้าใจเรื่องพฤติกรรมของแผ่นดินไหว แต่จะไม่เข้าใจเรื่องการตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหว เท่าวิศวะครับ
เมื่อขาดการนำข้อมูลและผลการวิเคราะห์เอาไปใช้อย่างเป้นระบบ ก็แย่ครับ
ว่าแต่พรุ่งนี้ เราลองซ้อมอีกที ดีมั๊ยครับ ได้อู้งานด้วย อิอิอิ
ญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูงมาก โดยเฉพาะในเรื่องวิทยาการต้านแผ่นดินไหว ยังโดนเข้าไปเลยครับ ครั้งที่ โกเบนั้น ศูนย์กลางเผ่นดินไหวมันอยู่ข้างใต้เลยครับ ไม่เหลือครับ แผ่นเหล็กเสารูปร่างทรงกระบอก มีความหนาเป็นนิ้วๆ ยังโดนมันฉีกซะ แบบไม่มีรอยยุ่ย ไม่มีรอยรุ่งริ่งเลยครับ คือ ขาดจากกันแบบทันทีทันได
สรุปหน้าที่รัฐคือ สร้างระบบที่ดี
หน้าที่เรา ถึงยังไงก็กลัวไว้ก่อนดีกว่าครับ
สงสารคนที่เป็นโรคหัวใจจริงๆครับ
มีอยู่หลายครั้งลองเช็คว่า คลื่นแผ่นดินไหวที่วิ่งจาก ชายแดน แถวเชียงใหม่ มา กทม กินเวลา เท่าไร ถึงจะมาถึง กทม
ปรากฏว่า ใช้เวลา ประมาณ 30+- 5 นาที ประมาณนี้ครับ ไม่เร็วกว่านี้ คลื่นตัวแรงๆนะครับ มีการตั้งเครื่องจับ ความเร่ง ที่ตึกใบหยก 1 ตอนนั้นปี 2535-37 จากสัญญาณที่จับได้ ยอดตึกสั่นเป็นคลื่น sine wave เลยครับ ( ตัวสัญญาณที่จับจริงๆ เป็นสัญญาณความเร่งครับ เครื่องมือที่จับนี่ ใช้หลักการลูกต้มนาฬิกากับแม่เหล็ก ถ้ามีการไหว ลูกตุ้มจะแกว่งผ่านสนามแม่เหล็ก แล้วจะทำให้เกิดกระแสไฟ สัญญาณขั้นต้นออกมาเป็นไฟฟ้าแปลงให้เป็น ความเร่งได้ครับ แล้วก็สามารถแปลงเป็น ความเร็ว หรือว่า ระยะเคลื่อนทีได้ ถ้าต้องการครับ )
ดังนั้น ถ้ารัฐรู้จักบริหารดีๆในเรื่องของเวลา การแจ้งเตือนข่าวสาร บริหารดีๆ มีเวลาพอเหลือบ้างครับ ที่จะบอกกล่าวประชาชนครับ
แต่ว่า รัฐไม่ชอบทำครับ เรื่องแบบนี้ รัฐชอบให้เกิดเรื่องก่อนแล้วค่อยทำ
อีกอย่างเจ้าหน้าที่รัฐชอบไปทำเรื่องอย่างอื่น ( ที่มีมันติดเนื้ออยู่ ) มากกว่านะครับ อิอิอิ
ทำให้ทุกครั้งมีแต่คนรีบลงจากตึก ทั้งๆที่ สำหรับบางเหตุการณ์แล้ว ไม่จำเป็นครับ
ความกลัวทำให้คนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
ก็กลัวนี่นา.
แต่ถ้าบอกว่าเดี๋ยวอาจจะมีคลื่นลูกใหม่ตามมา ที่ใหญ่กว่าเดิมนี่ เป็นไปได้ครับ ..
ก็พอดีทั้งวันไม่ต้องทำงาน เพราะว่ามันอาจจะมาเย็นนี้ หรือว่า พรุ่งนี้ หรือว่า มะรืนนี้ หรือเดือนหน้าได้ครับ
การให้ความรู้กับปประชาชน รวมทั้งการที่รัฐมีวิธีการในการรับมือ ที่ชัดเจน จะทำให้การกลัวนี่ดีขึ้นครับ ก็ต้องมีคนมาทำความเข้าใจก่อน รัฐควรบอกประชาชนว่า อะไรควรกลัว อะไรไม่ควร แล้วก็ มี step อย่างไร ในการพิจารณารับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น
คนที่น่าสงสารที่สุดคือคนที่เป็นโรคหัวใจ ถ้าเราไม่บอกอะไรหรือว่าสร้างความชัดเจนให้เขารู้ ว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ นี่ คิดดู ต่อให้เดินลงตึกก็เถอะ หัวใจวายได้นะครับ
ที่แน่ๆรัฐมีเวลาจำกัดคือ 10 นาที นับจากเกิดแผ่นดินไหว ในการบริหารเวลา ที่มาจากแผ่นดินไหวครับ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะทำให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ
เฮ้อ..คิดถึง เรือเอลิคอต + ซุเปอร์คอมพิวเตอร์ครับ จริงๆ สะท้อนในใจจริงๆ ( ใครหลายๆคนที่ไม่สนใจเรื่องคอรับชั่น บอก ช่างมัน จะเข้าใจ.เมื่อมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น แล้วได้แต่บอกว่าระบบไม่ดีพอ ห่วย หรือว่าไม่มีงบครับ .. ถึงตอนนั้นจะเสียใจครับ )
เข้าเรื่องต่อดีกว่าครับ
ถัดจาก 10 นาที แรก เวลาที่เหลือเป็นเวลาของภาคเอกชนครับ ที่ว่าตัวของใครก็ตัวของมันครับ
ลองดูครับ
เกิดเหตุที่เวลา 0 นาที
ที่เวลา 5 นาที ศูนย์กลางบริหาร แผ่นดินไหวไต้องได้รับแจ้งถึงความแรงของคลื่นพร้อมตำแหน่งที่เกิด
ที่เวลา 10 นาที ทีวี ต้องออกทุกช่อง สถานี วิทยุ ต้องออกทุกช่อง ให้ระบุความรุนแรงด้วย
ที่เวลา 11-30 เป็นเวลาแห่งการจัดการสำหรับคน กทม ที่มีตึกเยอะครับ
แต่ถ้าคนเป็นทางเหนือเชียงใหม่ หุหุหุ ตัวใครตัวมันจริงๆครับ แล้วแต่ดวงจริงๆ
เพราะว่ามันไม่มีเวลาเตือนเลยครับ คลื่นเข้า พร้อมๆกับที่ตัวจับสัญญาณ จับได้มังครับ เฮ้อ
รับรองได้ว่า ถ้าแผ่นดินไหวแรงๆ จนกระทั่งตึกพัง ไม่มีเวลาหนีหรอกครับ คนหนีได้คือคนชั้นล่างๆ เท่านั้น
แต่ว่าจะมีแค่บางตึกที่ว่า มันใกล้พังแต่ไม่พัง พวกนี้หนีได้ จะดีมากครับ ตึกพวกนั้นจะแสดงอาการครับ แล้วอาการพวกนี้ปกติ จะแสดงออกมาเลย ตอนที่แผ่นดินไหวอ่ะครับ ถ้าตึกไหนเจอแผ่นดินไหวแล้วออกอาการ ผนังร้าว แบบนั้น เผ่นเถอะครับ เผ่นมาตั้งหลัก
แต่ถ้าพวกไม่มีอาการผนังร้าวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นๆ.เลยนี่ แล้วก็เผ่น แบบ กระตู้วู้ว คือเผ่นแบบ เดินไป เม้าท์ไป ...อิอิอิ กลัวเกินเหตุครับ อิอิอิ ล้อเล่น.
แล้วถามจริงๆเถอะครับ นับจากปี 2530 ที่มีตึกสูงมาหลายๆตึกแล้ว กทม แผ่นดินไหวมากี่ครั้งแล้วครับ แล้วเป็นไงบ้างครับ ทุกคนก็สบายดี
บางคนอาจจะบอกว่าก็ที่ผ่านมามันไม่แรงนี่หว่า
ก็อยากบอกว่า ถ้ามันไหวแรง จนตึกพังนี่ คุณหนีไม่ทันครับ เพราะว่าจะไม่มีเวลาหนี
แต่ถ้า ตึกมันออกอาการใกล้พัง อย่างนั้นให้รีบหนีครับ เพราะว่า ถ้าใกล้พังแล้ว มีคลื่น after shock ตามมานี่ พังเลยครับ ฟางเส้นสุดท้ายบนหลังลา
ดังนั้น เราควรมาทำความเข้าใจว่า ตึกออกอาการยังไงถึงเรียกว่าใกล้พังครับ
วิทยาการทางด้านการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว ทำได้ระดับนึงครับ ต้องออกแบบตามแรงแผ่นดินไหว รวมทั้งการให้รายละเอียดของเหล็กจะต้องระบุให้มากและชัดเจน การทำให้โครงสร้างคอนกรีต มีความเหนียว ( Ductile ) มากขึ้น จะทำให้พฤติกรรมของอาคารตอบสนองต่อแผ่นดินไหวได้ดีขึ้นครับ อันนี้ก็.....ก็มีผลทำให้ราคาอาคารแพงขึ้นหน่อยครับ อันนี้ เจ้าของอาคารจะต้องมีความเข้าใจและสำนึกครับ
ประเทศไทยมีเหตุแผ่นดินไหวมามากพอที่จะสรุปได้แล้วครับว่า อะไรเป็นอะไร เหมือนหลายปีก่อนถึงกับ รพ ที่ทางเหนือนี่ ผนังร้าวหนักเลยครับ อาคารไม่สูง แต่ว่าทุกอย่างส่วนใหญ่จะจบแค่การบันทุกข้อมูล การนำเอาข้อมูลไป วิเคราะห์ ก็มีบ้างครับ ไม่มากพอ
รู้สึกว่าที่จุฬามีศูนย์เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขึ้นกับ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา รึป่าว ไม่แน่ใจครับ ถ้าแผ่นดินไหวที่เราต้องการดูผลที่กระทบต่ออาคาร ต้องเป็นที่วิศวกรรม ครับ ไม่ใช่ที่ วิทยาศาตร์ เพราะว่า นักวิทยาศาตร์จะเข้าใจเรื่องพฤติกรรมของแผ่นดินไหว แต่จะไม่เข้าใจเรื่องการตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหว เท่าวิศวะครับ
เมื่อขาดการนำข้อมูลและผลการวิเคราะห์เอาไปใช้อย่างเป้นระบบ ก็แย่ครับ
ว่าแต่พรุ่งนี้ เราลองซ้อมอีกที ดีมั๊ยครับ ได้อู้งานด้วย อิอิอิ
ญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูงมาก โดยเฉพาะในเรื่องวิทยาการต้านแผ่นดินไหว ยังโดนเข้าไปเลยครับ ครั้งที่ โกเบนั้น ศูนย์กลางเผ่นดินไหวมันอยู่ข้างใต้เลยครับ ไม่เหลือครับ แผ่นเหล็กเสารูปร่างทรงกระบอก มีความหนาเป็นนิ้วๆ ยังโดนมันฉีกซะ แบบไม่มีรอยยุ่ย ไม่มีรอยรุ่งริ่งเลยครับ คือ ขาดจากกันแบบทันทีทันได
สรุปหน้าที่รัฐคือ สร้างระบบที่ดี
หน้าที่เรา ถึงยังไงก็กลัวไว้ก่อนดีกว่าครับ
สงสารคนที่เป็นโรคหัวใจจริงๆครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
เขาว่าแผ่นดินไหว
โพสต์ที่ 34
เมื่อปี 2542 ผมไปเสนองานผลการออกแบบโครงสร้างสาธารณูปโภค ตัวนึง ที่จังหวัดนึงทางภาคเหนือ
วันนั้นรองอธิบดีเข้ามาฟังการนำเสนองานออกแบบโครงสร้าง ท่านถามว่า ถ้าแผ่นดินไหวมาเป็นไง
ผมบอกว่า ผมใส่รายละเอียดตามมาตรฐานการออกแบบแผ่นดินไหวตัวใหม่ซึ่งสูงขึ้นเยอะ ใส่เหล็กมากขึ้นเยอะ คิดว่ามากพอ รับรองได้ว่า สำหรับโครงสร้างลักษณะเดียวกัน ถ้าจะเกิดการพัง ตัวที่ผมออกแบบจะพังเป็นตัวสุดท้ายครับ ..ท่านพยักหน้า ยิ้มๆ
ที่ว่าไม่กล้ารับรองว่าไม่พังสำหรับแผ่นดินไหว ก็.แผ่นดินไหวแต่ละครั้งมันแรงขึ้นรึป่าว อันนี้ไม่มีใครกล้ารับรอง แล้วถ้าจะออกแบบให้รับแผ่นดินไหวได้ขนาด 9 ริคเตอร์ นั้น ไม่น่ามีใครทำหรอกครับ เพราะว่าน่าจะแพงมากๆครับ หรือว่า กรณี ศุนย์กลางแผ่นดินไหว ( epicenter ) อยู่ข้างใต้โครงสร้างนั้น ยังไงก็พังครับ
วันนั้นรองอธิบดีเข้ามาฟังการนำเสนองานออกแบบโครงสร้าง ท่านถามว่า ถ้าแผ่นดินไหวมาเป็นไง
ผมบอกว่า ผมใส่รายละเอียดตามมาตรฐานการออกแบบแผ่นดินไหวตัวใหม่ซึ่งสูงขึ้นเยอะ ใส่เหล็กมากขึ้นเยอะ คิดว่ามากพอ รับรองได้ว่า สำหรับโครงสร้างลักษณะเดียวกัน ถ้าจะเกิดการพัง ตัวที่ผมออกแบบจะพังเป็นตัวสุดท้ายครับ ..ท่านพยักหน้า ยิ้มๆ
ที่ว่าไม่กล้ารับรองว่าไม่พังสำหรับแผ่นดินไหว ก็.แผ่นดินไหวแต่ละครั้งมันแรงขึ้นรึป่าว อันนี้ไม่มีใครกล้ารับรอง แล้วถ้าจะออกแบบให้รับแผ่นดินไหวได้ขนาด 9 ริคเตอร์ นั้น ไม่น่ามีใครทำหรอกครับ เพราะว่าน่าจะแพงมากๆครับ หรือว่า กรณี ศุนย์กลางแผ่นดินไหว ( epicenter ) อยู่ข้างใต้โครงสร้างนั้น ยังไงก็พังครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
-
- Verified User
- โพสต์: 133
- ผู้ติดตาม: 0
เขาว่าแผ่นดินไหว
โพสต์ที่ 36
ในปัจจุบัน เนื่องจากความเก่ง(ดีไม่ดีเนี่ย)ของวิศวกรผู้ออกแบบอาคารสูง มักจะพยายามออกแบบให้ใกล้จุด yield มากที่สุด เพื่อลดต้นทุนในการทำโครงสร้างของอาคารให้มีมูลค่าน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงกฎเกณฑ์และกฎหมายของแต่ละประเทศหรือท้องถิ่น อย่างบ้านหลายแห่งไม่ได้คำนึงหรือไม่ได้เผื่อเรื่องผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากนักก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงต่อความแข็งแรงของอาคารเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอาคารหลายแห่งได้ใช้งานผิดวัตุประสงค์มากด้วย
น่าจะมีการบังคับตรวจสอบอาคารสูงกันบ้างนะครับ ผมจำได้ว่าเคยมีแล้ว ตอนที่ตึกที่โคราชถล่ม แถมยังมีหลักสูตรอบรมผู้ตรวจสอบอาคารในมหาวิทยาลัยด้วย ไม่ทราบยังมีการตรวจสอบต่อเนื่องหรือไม่?
น่าจะมีการบังคับตรวจสอบอาคารสูงกันบ้างนะครับ ผมจำได้ว่าเคยมีแล้ว ตอนที่ตึกที่โคราชถล่ม แถมยังมีหลักสูตรอบรมผู้ตรวจสอบอาคารในมหาวิทยาลัยด้วย ไม่ทราบยังมีการตรวจสอบต่อเนื่องหรือไม่?
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
เขาว่าแผ่นดินไหว
โพสต์ที่ 37
ตามไปอ่านเรื่อง ผลของ แผ่นดินไหว บน ชั้นดิน ของ กทม กันได้ที่
http://evr.eng.chula.ac.th/earthquake/a ... edness.htm
http://evr.eng.chula.ac.th/earthquake/a ... edness.htm
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1266
- ผู้ติดตาม: 0
เขาว่าแผ่นดินไหว
โพสต์ที่ 38
เมื่อวาน อยู่คนเดียวที่แฟลต ชั้น 20 มึนหัว คิดทีแรก ตูเป็นอะไรหว่า ความดันสูงหรือเปล่า เห็นโมบายที่แขวนไว้มันแกว่งน้อยๆ ก็คิดว่าแผ่นดินไหว แต่ตอนนั้นมันไม่รู้ว่า จริงๆมันเกิดอะไร และไม่ได้วิ่งหนีลงมาด้วย
สองสัปดาห์ก่อน ดูหนัง World trade Center คิดถึงตอนติดอยู่ใต้ซากตึก มันรู้สึกแคบ และรอดยาก ใครได้ดูมั่งครับ ถ้าตึกถล่มบอกว่าให้ไปแอบตรงช่องลิฟต์ แต่บอกก่อนนะครับต้องเป็นชั้นล่างสุดแล้วลิฟต์เปิดนะครับ
สองสัปดาห์ก่อน ดูหนัง World trade Center คิดถึงตอนติดอยู่ใต้ซากตึก มันรู้สึกแคบ และรอดยาก ใครได้ดูมั่งครับ ถ้าตึกถล่มบอกว่าให้ไปแอบตรงช่องลิฟต์ แต่บอกก่อนนะครับต้องเป็นชั้นล่างสุดแล้วลิฟต์เปิดนะครับ
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
เขาว่าแผ่นดินไหว
โพสต์ที่ 39
โค้ด: เลือกทั้งหมด
น่าจะมีการบังคับตรวจสอบอาคารสูงกันบ้างนะครับ ผมจำได้ว่าเคยมีแล้ว ตอนที่ตึกที่โคราชถล่ม แถมยังมีหลักสูตรอบรมผู้ตรวจสอบอาคารในมหาวิทยาลัยด้วย ไม่ทราบยังมีการตรวจสอบต่อเนื่องหรือไม่?
มีการทดสอบความรู้ เข้มๆ สอบไม่ผ่านเยอะดี
ตึก 1 ตึก ต้องตรวจสอบโดย วิศวกร หลายสาขา
มีอาคาร แถวสยาม อาคารนึง ค่าตรวจสอบที่ทางเจ้าของให้ประมาณ 60,000
ก็ต้องแบ่งกันระหว่างวิศวกรหลายสาขา ทั้งไฟฟ้า เครื่องกล ความปลอดภัย ฯลฯ
สมมติในทีม หักค่า ดำเนินการ ไป 10000 ที่เหลือ มี 5 คน ได้คนล่ะ 10000 อิอิอิ
ตึกที่ว่านี้ มีเกือบ แสนตารางเมตร กว่าจะตรวจจริงๆ หมายความว่าตรวจจริงๆ นะครับ หมด 1 week ตรวจหมดรึป่าวยังไม่รู้เลย อิอิอิ ไหนจะต้องเซ็นต์รับรอง.......
ถ้าให้แค่ โฉบๆ อ่ะ พอได้ 3 วัน ก็พอโฉบได้หมดครับ แต่ถ้าตรวจ เกือบแสน ตารางเมตร ใน 1 week ลมจับ
หรือไม่ก็เอาเด็กๆ จบใหม่ไปตรวจครับ อิอิอิ
มีใครจำเรื่องที่ห้างแถวท่าพระ ได้ป่าวครับ เมื่อหลายเดือนก่อน......อิอิอิ
ไปเปิดร้านตัดผมดีกว่าครับ แถวบริษัทผม ปากซอย สาวน้อยคนนึง ฉลาดดี จบ ปวช. มา เปิดร้าน ทำผม ได้เกือบ 5 หมื่น ต่อเดือน ภาษีเหมาจ่าย เรื่อยๆมาเรียงๆ หรือว่าขายของในเนตดีกว่าครับ สบายกว่ากันเยอะครับ....ไปตัดผมกับน้องเขาเรื่อยๆครับ เพราะว่าเขาขยันดี.
ตกลง ตอนนี้ เห็นว่าพอรู้ว่าได้ราคาค่าตรวจสอบแบบนี้ ไม่ค่อยมีใครไปอบรมกันแล้วมังครับ ตอนนี้ ถอดใจ ถอยหมดแล้วครับ อิอิอิ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ถามครับ
แนวโน้มจะมากขึ้นไหมครับ
ผู้ที่เป็น อาจารย์ในมหาลัย ที่ดูแลเรื่อง ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่ออาคาร ที่น่าสนใจ เท่าที่ผมรู้นะครับ มี
ที่ AIT อ. เป็นหนึ่ง ท่านจบ civil จาก มหาลัยโตเกียว อ. ท่านเป็นคนที่จิตใจดี มากคนนึง สุภาพมากครับ เก่งมากครับ เรียกได้ว่า nice guy น่าจะได้ที่ 1 ของรุ่น ที่จุฬา รึป่าว ไม่แน่ใจครับ ท่านเลือกที่จะเป็นนักวิจัย อายุ ไม่น่าเกิน 50 ครับ ท่านดูเรื่องแผ่นดินไหวมาตลอดครับ
ที่ CU อ.ปณิธาน civil ครับ ท่านจบจาก เบริกเล่ย์ เก่งมาก ทำงานละเอียด ท่านมีข้อมูลด้านแผ่นดินไหว เก็บไว้เยอะมากครับ ท่านเป็นคนที่ได้รางวัล.............โดยที่ผลงานของท่านมาจากคลิ๊ปเหล็กหนีบเหล็กในเสา เพื่อเพิ่มความสามารถเสาในการรับแรงแผ่นดินไหวครับ ทำงานง่ายด้วยครับ อายุท่านน่าจะใกล้ 60 แล้วมังครับ
ผม ไม่แน่ใจว่า มันถี่ขึ้นทุกวัน หรือว่า เป็นเพราะว่ามีตึกสูงมากเลยรับรู้ได้มากขึ้น
ในความเห็นส่วนตัว ผมว่ามันน่าจะแสดงอาการมากขึ้น
สุดยอดของเรื่องแผ่นดินไหว คือไม่มีใครรู้ล่วงหน้า มีแต่คาดเดา.....ล่วงหน้า ว่าเกิดแน่ๆ
แต่ไม่รู้ว่าจะเกิดเมื่อไร
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ