* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *
-
- Verified User
- โพสต์: 1717
- ผู้ติดตาม: 0
* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *
โพสต์ที่ 31
บอร์ดการเงินธปท.ลดดอกเบี้ย กำหนดอาร์/พี1วันเหลือ4.75%
17 มกราคม 2550 14:25 น.
บอร์ดการเงิน ธปท. ปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการใช้ดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันเป็นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก โดยกำหนดไว้ที่ 4.75% จากเดิม 4.9375% และอาร์/พี 14 วันจากเดิม อยู่ที่ 5%
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในบ่ายวันนี้ว่ากนง.มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันอยู่ที่ 4.75% จากเดิม 4.95375%
ขระเดียวกันเตรียมพิจารณาปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 จากเดิม 4.5-5.5% เนื่องจากตัวเลขไตรมาส 4 มีสัญญาณชะลอตัวจากอุปโภคบริโภคในประเทศและการลงทุน รวมทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อภาคส่งออก
การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 28 เดือน
17 มกราคม 2550 14:25 น.
บอร์ดการเงิน ธปท. ปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการใช้ดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันเป็นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก โดยกำหนดไว้ที่ 4.75% จากเดิม 4.9375% และอาร์/พี 14 วันจากเดิม อยู่ที่ 5%
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในบ่ายวันนี้ว่ากนง.มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันอยู่ที่ 4.75% จากเดิม 4.95375%
ขระเดียวกันเตรียมพิจารณาปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 จากเดิม 4.5-5.5% เนื่องจากตัวเลขไตรมาส 4 มีสัญญาณชะลอตัวจากอุปโภคบริโภคในประเทศและการลงทุน รวมทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อภาคส่งออก
การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 28 เดือน
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *
โพสต์ที่ 35
ตอนนี้ให้อ้างอิงกับ r/p 1 วันครับ จำนวนวันก็เป็นแค่ระยะเวลา เหมือนฝากประจำ 1 วัน 14 วัน 3 เดือน 6 เดือน
- Muffin
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 0
คงช่วยได้บ้าง
โพสต์ที่ 36
http://www.bot.or.th/BOTHomepage/dataBa ... rticle.doc
ลองดู link นี้มั้ยครับ
เกี่ยวกับดอกเบี้ย Repurchase เนี่ยแหละ
ลองดู link นี้มั้ยครับ
เกี่ยวกับดอกเบี้ย Repurchase เนี่ยแหละ
-
- Verified User
- โพสต์: 1717
- ผู้ติดตาม: 0
* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *
โพสต์ที่ 37
ประเมินมาตรการควบคุมเงินทุนของแบงก์ชาติ
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์
[email protected]
มาตรการควบคุมเงินทุนจากต่างประเทศของแบงก์ชาติ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบและต้นทุนอย่างมาก ซึ่งผมเชื่อว่า มาตรการนี้คงเป็นมาตรการชั่วคราว ไม่เกิน 13 อาทิตย์ก็คงยกเลิก (หากไม่คิดว่าเสียหน้า) เพราะมีผลเสียมากกว่าได้ ทั้งก่อให้เกิดความเสียหายชัดเจนและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าแบงก์ชาติคงกำลังรอประเมินผลและศึกษาหามาตรการทางเลือกอื่นๆ
มาตรการควบคุมเงินทุนดังกล่าว ทำไปเพราะต้องการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปจนกระทบกับความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก โดยที่ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมถึงมีการเก็งกำไรค่าเงินบาท ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียไม่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประเทศไทย สาเหตุอันหนึ่งน่าจะมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่สูงมาเป็นเวลาพอสมควร แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด สาเหตุอีกประการหนึ่งน่าจะมาจาก นักเก็งกำไรเคยได้รับผลกำไรอย่างมหาศาลจากการต่อสู้ค่าเงินในช่วงวิกฤตการเงินปี 2539-2540 โดยแบงก์ชาติมีประวัติชอบต่อสู้ค่าเงินและอุปนิสัยที่ชอบเอาชนะ ซึ่งเข้าทางของนักเก็งกำไรในการวางกับดักเก็งกำไร (Speculation Trap) ทำให้ท้ายที่สุดถูกสถานการณ์จำนนให้ต้องออกมาตรการควบคุมเงินทุน ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า ทำเพื่อลดการขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและปรับปรุงฐานะทางการเงิน ณ สิ้นปีให้ดีขึ้น
เราสามารถเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการของแบงก์ชาติ (Action Consequence) กับหลักไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ที่มีกฎว่า ประธาน+กริยา+กรรม โดยเฉพาะภาษาเยอรมันจะมีหลักไวยากรณ์ที่แน่นอนตายตัว นั่นคือ Dative และ Akkusative ที่ตามด้วยกรรมตรงและกรรมรอง (ทำให้ต้องผันคำคุณศัพท์ บุพบทและคำนำหน้านาม) เปรียบเทียบกับการกระทำของแบงก์ชาติ ทำให้เกิดกรรมตรงและกรรมรอง กรรมตรงก็คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ในขณะที่กรรมรองคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตลอดจนนักลงทุน ผู้กู้เงิน ผู้นำเข้า และผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ
อาจเปรียบเทียบผลได้ผลเสียของมาตรการการแทรกแซงค่าเงินและควบคุมเงินทุน ได้ดังนี้
ผลได้ ผู้ส่งออกได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่ไม่แข็งค่าไปกว่าเดิมและอ่อนค่าลงจาก 35 บาทเป็น 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคา (Price-Sensitive) แต่จากการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก กล่าวคือเงินบาทแข็งขึ้น 1% มีผลต่อ GDP เพียง 0.01% ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกมากที่สุดคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1% ของประเทศคู่ค้าของไทย 11 ประเทศ มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยถึง 1% เช่นกัน
ผลเสียที่ 1 (กรรมตรงและผลจากกรรมเก่า) ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ประการแรก แบงก์ชาติขาดทุนจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไปแล้ว 7.5 หมื่นล้านบาท และยังมีผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายเงินต่างประเทศที่มีสัญญาจะขายคืนเป็นยอดคงค้าง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2549 อีก 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในส่วนนี้ไม่แน่ชัดว่าขาดทุนเท่าไหร่ แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ต้องมีการส่งมอบ แต่หากคิดง่ายๆ ว่าเงินบาทแข็งค่าจาก 41 บาท เมื่อตอนต้นปี มาถึงในขณะนี้ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แบงก์ชาติน่าจะขาดทุนดอลลาร์ละ 5 บาท ทำให้ขาดทุนเพิ่มในส่วนนี้อีก 4.35 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดทุนที่แบงก์ชาติเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาด Spot ที่มีการส่งมอบทันที ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 อีก 2 หมื่นล้านบาท ทำให้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีผลขาดทุนเกิดขึ้นแล้วเกือบ 140,000 ล้านบาท ประการที่สอง เนื่องจากแบงก์ชาติต้องออกพันธบัตร เพื่อมาดูดซับสภาพคล่องเงินบาท เป็นจำนวนเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้าคิดถัวเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยที่เพียงแค่ 5% ต่อปี แบงก์ชาติจะเกิดต้นทุนเป็นภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดต้นทุนที่เกิดกับแบงก์ชาติใน 2 ส่วนนี้เกือบ 2 แสนล้านบาท (140,000+50,000) เพื่อทำให้โปร่งใส งบกำไรขาดทุนและงบดุลของแบงก์ชาติ (ณ สิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม 2549) ควรจะแสดงให้เห็นถึงผลขาดทุนอันเกิดจากการแทรกแซงค่าเงินและต้นทุนจากการออกพันธบัตร อย่าเพียงสะท้อนคร่าวๆ ในงบย่อยหรือในธุรกรรมนอกงบดุล (Off-Balance Sheet Items)
ผลเสียที่ 2 (กรรมรอง) มาจากผลของมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้มูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ลดลง คิดเป็นความเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้นตลาดพันธบัตรก็ได้รับผลกระทบด้วย ทำให้มูลค่าพันธบัตรทั้งหมดลดลงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้รวมถึงความเสียหายที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้แน่นอน อันเนื่องมาจากการขายของนักลงทุนและการถูกบังคับขาย (Forced Sale) ในราคาที่ต่ำกว่าเดิมมาก อีกทั้งภาวะซบเซาในตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร อันเกิดจากการถอนการลงทุน และขาดเงินทุนใหม่เข้ามา ผลกระทบในทางลบต่อผู้นำเข้าและผู้ที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขความเสียหายได้ชัดเจน
ผลเสียที่ 3 (กรรมรอง) มาจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีหน้าทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนต้องกู้เงินด้วยการออกขายพันธบัตร โดยในส่วนของรัฐบาลคิดเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและ Re-Finance หนี้เดิม แต่ผลจากมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1% ถ้าคิดง่ายๆ ว่าเป็นพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นถึง 3 หมื่นล้านบาท
ที่น่าเป็นห่วงและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือ ภาวะเงินทุนไหลออก จนทำให้เกิดวิกฤต ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาแทนที่การควบคุมเงินทุน ก็คือ
ทางเลือกที่ 1) ช่วยผู้ส่งออกโดยตรง โดยสนับสนุนทางการเงินกับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจริงๆ จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น
ทางเลือกที่ 2) เปลี่ยนเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงิน US ดอลลาร์ ในระดับที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราว ดังเช่น ประเทศจีนและฮ่องกง หรือหากไม่ต้องการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ทั้งหมด ก็กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Two-Tier Exchange Rate System โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับชาวต่างชาติที่นำเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นอัตราคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงในตอนนำเงินเข้าและตอนนำเงินออก
ทางเลือกที่ 3) เก็บภาษีจากกำไรของนักลงทุนต่างประเทศ มาตรการนี้จะต่างจากมาตรการควบคุมเงินทุนที่ต้องวางเงินสำรอง เพราะจะเก็บภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นของนักลงทุนเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้ลดการเก็งกำไรค่าเงินลง โดยที่มีผลกระทบและผลข้างเคียงน้อยกว่าการต้องให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต้องตั้งสำรอง 30% ซึ่งผมจะได้กล่าวในรายละเอียดในตอนต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์
[email protected]
มาตรการควบคุมเงินทุนจากต่างประเทศของแบงก์ชาติ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบและต้นทุนอย่างมาก ซึ่งผมเชื่อว่า มาตรการนี้คงเป็นมาตรการชั่วคราว ไม่เกิน 13 อาทิตย์ก็คงยกเลิก (หากไม่คิดว่าเสียหน้า) เพราะมีผลเสียมากกว่าได้ ทั้งก่อให้เกิดความเสียหายชัดเจนและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าแบงก์ชาติคงกำลังรอประเมินผลและศึกษาหามาตรการทางเลือกอื่นๆ
มาตรการควบคุมเงินทุนดังกล่าว ทำไปเพราะต้องการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปจนกระทบกับความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก โดยที่ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมถึงมีการเก็งกำไรค่าเงินบาท ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียไม่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประเทศไทย สาเหตุอันหนึ่งน่าจะมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่สูงมาเป็นเวลาพอสมควร แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด สาเหตุอีกประการหนึ่งน่าจะมาจาก นักเก็งกำไรเคยได้รับผลกำไรอย่างมหาศาลจากการต่อสู้ค่าเงินในช่วงวิกฤตการเงินปี 2539-2540 โดยแบงก์ชาติมีประวัติชอบต่อสู้ค่าเงินและอุปนิสัยที่ชอบเอาชนะ ซึ่งเข้าทางของนักเก็งกำไรในการวางกับดักเก็งกำไร (Speculation Trap) ทำให้ท้ายที่สุดถูกสถานการณ์จำนนให้ต้องออกมาตรการควบคุมเงินทุน ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า ทำเพื่อลดการขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและปรับปรุงฐานะทางการเงิน ณ สิ้นปีให้ดีขึ้น
เราสามารถเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการของแบงก์ชาติ (Action Consequence) กับหลักไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ที่มีกฎว่า ประธาน+กริยา+กรรม โดยเฉพาะภาษาเยอรมันจะมีหลักไวยากรณ์ที่แน่นอนตายตัว นั่นคือ Dative และ Akkusative ที่ตามด้วยกรรมตรงและกรรมรอง (ทำให้ต้องผันคำคุณศัพท์ บุพบทและคำนำหน้านาม) เปรียบเทียบกับการกระทำของแบงก์ชาติ ทำให้เกิดกรรมตรงและกรรมรอง กรรมตรงก็คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ในขณะที่กรรมรองคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตลอดจนนักลงทุน ผู้กู้เงิน ผู้นำเข้า และผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ
อาจเปรียบเทียบผลได้ผลเสียของมาตรการการแทรกแซงค่าเงินและควบคุมเงินทุน ได้ดังนี้
ผลได้ ผู้ส่งออกได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่ไม่แข็งค่าไปกว่าเดิมและอ่อนค่าลงจาก 35 บาทเป็น 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคา (Price-Sensitive) แต่จากการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก กล่าวคือเงินบาทแข็งขึ้น 1% มีผลต่อ GDP เพียง 0.01% ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกมากที่สุดคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1% ของประเทศคู่ค้าของไทย 11 ประเทศ มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยถึง 1% เช่นกัน
ผลเสียที่ 1 (กรรมตรงและผลจากกรรมเก่า) ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ประการแรก แบงก์ชาติขาดทุนจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไปแล้ว 7.5 หมื่นล้านบาท และยังมีผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายเงินต่างประเทศที่มีสัญญาจะขายคืนเป็นยอดคงค้าง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2549 อีก 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในส่วนนี้ไม่แน่ชัดว่าขาดทุนเท่าไหร่ แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ต้องมีการส่งมอบ แต่หากคิดง่ายๆ ว่าเงินบาทแข็งค่าจาก 41 บาท เมื่อตอนต้นปี มาถึงในขณะนี้ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แบงก์ชาติน่าจะขาดทุนดอลลาร์ละ 5 บาท ทำให้ขาดทุนเพิ่มในส่วนนี้อีก 4.35 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดทุนที่แบงก์ชาติเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาด Spot ที่มีการส่งมอบทันที ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 อีก 2 หมื่นล้านบาท ทำให้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีผลขาดทุนเกิดขึ้นแล้วเกือบ 140,000 ล้านบาท ประการที่สอง เนื่องจากแบงก์ชาติต้องออกพันธบัตร เพื่อมาดูดซับสภาพคล่องเงินบาท เป็นจำนวนเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้าคิดถัวเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยที่เพียงแค่ 5% ต่อปี แบงก์ชาติจะเกิดต้นทุนเป็นภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดต้นทุนที่เกิดกับแบงก์ชาติใน 2 ส่วนนี้เกือบ 2 แสนล้านบาท (140,000+50,000) เพื่อทำให้โปร่งใส งบกำไรขาดทุนและงบดุลของแบงก์ชาติ (ณ สิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม 2549) ควรจะแสดงให้เห็นถึงผลขาดทุนอันเกิดจากการแทรกแซงค่าเงินและต้นทุนจากการออกพันธบัตร อย่าเพียงสะท้อนคร่าวๆ ในงบย่อยหรือในธุรกรรมนอกงบดุล (Off-Balance Sheet Items)
ผลเสียที่ 2 (กรรมรอง) มาจากผลของมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้มูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ลดลง คิดเป็นความเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้นตลาดพันธบัตรก็ได้รับผลกระทบด้วย ทำให้มูลค่าพันธบัตรทั้งหมดลดลงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้รวมถึงความเสียหายที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้แน่นอน อันเนื่องมาจากการขายของนักลงทุนและการถูกบังคับขาย (Forced Sale) ในราคาที่ต่ำกว่าเดิมมาก อีกทั้งภาวะซบเซาในตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร อันเกิดจากการถอนการลงทุน และขาดเงินทุนใหม่เข้ามา ผลกระทบในทางลบต่อผู้นำเข้าและผู้ที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขความเสียหายได้ชัดเจน
ผลเสียที่ 3 (กรรมรอง) มาจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีหน้าทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนต้องกู้เงินด้วยการออกขายพันธบัตร โดยในส่วนของรัฐบาลคิดเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและ Re-Finance หนี้เดิม แต่ผลจากมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1% ถ้าคิดง่ายๆ ว่าเป็นพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นถึง 3 หมื่นล้านบาท
ที่น่าเป็นห่วงและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือ ภาวะเงินทุนไหลออก จนทำให้เกิดวิกฤต ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาแทนที่การควบคุมเงินทุน ก็คือ
ทางเลือกที่ 1) ช่วยผู้ส่งออกโดยตรง โดยสนับสนุนทางการเงินกับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจริงๆ จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น
ทางเลือกที่ 2) เปลี่ยนเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงิน US ดอลลาร์ ในระดับที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราว ดังเช่น ประเทศจีนและฮ่องกง หรือหากไม่ต้องการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ทั้งหมด ก็กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Two-Tier Exchange Rate System โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับชาวต่างชาติที่นำเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นอัตราคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงในตอนนำเงินเข้าและตอนนำเงินออก
ทางเลือกที่ 3) เก็บภาษีจากกำไรของนักลงทุนต่างประเทศ มาตรการนี้จะต่างจากมาตรการควบคุมเงินทุนที่ต้องวางเงินสำรอง เพราะจะเก็บภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นของนักลงทุนเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้ลดการเก็งกำไรค่าเงินลง โดยที่มีผลกระทบและผลข้างเคียงน้อยกว่าการต้องให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต้องตั้งสำรอง 30% ซึ่งผมจะได้กล่าวในรายละเอียดในตอนต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------
- tachikoma
- Verified User
- โพสต์: 140
- ผู้ติดตาม: 0
* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *
โพสต์ที่ 38
อ่านแล้วรู้สึกว่าผู้ประกอบการณ์ในไทย ไม่ได้ใช้ Swap หรือ Forward ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินเลย
หรือว่าผมคิดไปเองเนี่ย
เป็นไปได้ไหมว่าต้องให้ความรู้เรื่องนี้กับผู้ประกอบการณ์ด้วยอ่ะครับ?์ :?:
หรือว่าผมคิดไปเองเนี่ย
เป็นไปได้ไหมว่าต้องให้ความรู้เรื่องนี้กับผู้ประกอบการณ์ด้วยอ่ะครับ?์ :?:
-
- Verified User
- โพสต์: 1717
- ผู้ติดตาม: 0
* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *
โพสต์ที่ 39
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 07:43:00 กรุงเทพธุรกิจ
ผมคิดว่าเราจะต้องยอมรับสภาพว่าเงินบาท จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ใน 2-3 ปีข้างหน้า
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เว้นแต่ว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นไปเป็น 100 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล หรือเกิดความกังวล ในสภาวะทางการเมืองจนกระทั่งมีการขนย้ายเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แนวทางที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างแท้จริง คือการเร่งนำเข้าสินค้าทุนที่จะนำไปลงทุนในโครงการพื้นฐานและขยายกำลังการผลิตในสาขาต่างๆ ที่เห็นว่ามีศักยภาพและประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ดี
ที่ผมคิดเช่นนี้ ก็เพราะเห็นว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เงินบาทแข็ง คือประเทศไทยหาเงินดอลลาร์เข้าประเทศได้มาก แต่ไม่รู้ว่าจะเอาเงินดอลลาร์ไปใช้ทำอะไร การส่งออกนั้นเรามักจะมองว่าเป็นหัวจักรที่ขับเคลื่อนจีดีพีหรือวิธีการสร้างรายได้นั่นเอง ดังนั้น ยิ่งการส่งออกขยายตัวเศรษฐกิจก็จะต้องขยายตัวตามไปด้วย แต่มักจะลืมนึกไปว่ารายได้นี้เป็นรายได้ที่เป็นเงินดอลลาร์และเป็นรายได้ที่มีประโยชน์เพียง 3 ประการคือ หนึ่งเอาไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (นำเข้า) สองเอาไว้ใช้คืนหนี้ต่างประเทศ และสามเก็บเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ กล่าวคือการส่งออกขยายตัวเฉลี่ย 14% ต่อปีในขณะที่จีดีพี (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวเฉลี่ย 3% ต่อปีผลที่ตามมา คือการส่งออกต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 1996 มาเป็น 65% ของจีดีพีในปัจจุบัน
เมื่อการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนถึง 2/3 ของจีดีพีเราจึงรู้สึกว่าต้อง "คุ้มครอง" การส่งออกให้ขยายตัวได้มากๆ เพื่อให้จีดีพีขยายได้ตามเป้าหมาย เช่น ในปี 2006 ที่ผ่านมา จีดีพีขยายตัวได้สูงถึง 5% เพราะการส่งออกเป็นพระเอกสามารถขยายตัวสูงถึง 17% ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนนั้น อาจขยายได้เพียง 3-4% เท่านั้น
แต่การส่งออกที่ขยายตัวสูงเป็นพิเศษในอดีตนั้น เป็นผลมาจากความจำเป็นของประเทศไทย ที่จะต้องหาดอลลาร์ส่วนเกินมาใช้คืนหนี้สินต่างประเทศ ที่เราก่อเอาไว้เกินตัวในช่วงเปิดเสรีทางการเงินเมื่อปี 1993-1996 (หลายคนคงจะจำบีไอบีเอฟได้) ครั้งนั้นเราสร้างหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องค่าเงินบาท (ไม่ให้อ่อนตัวลง) ก็สูญเสียทุนสำรองไป 30,000 ล้านดอลลาร์
นอกจากนั้น เรายังต้องกู้เงินไอเอ็มเอฟมาอีก 17,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น เมื่อคำนวณอย่างคร่าวๆ ก็จะเห็นว่าเรามีความจำเป็นจะต้องหาเงินดอลลาร์มาคืนหนี้ และเติมทุนสำรองเกือบ 80,000 ล้านดอลลาร์
การหาเงินดอลลาร์ส่วนเกินมาเพื่อภารกิจข้างต้นนั้น ทำได้โดยการเร่งให้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ส่งออกมากกว่านำเข้า) และนำเงินเกินดุลดังกล่าวไปใช้หนี้คืนต่างชาติ ดังเห็นได้จากตารางข้างล่าง
ปี ดุลบัญชีเดินสะพัด การไหลเข้า-ออกของเงินทุน ดุลชำระเงินระหว่างประเทศ
1997 -3.1 -4.3 -10.6
1998 14.3 -9.7 1.7
1999 12.5 -7.9 4.6
2000 9.3 -10.3 -1.6
2001 5.1 -3.5 1.3
2002 4.7 -1.8 4.2
2003 4.8 -4.8 0.1
2004 2.8 3.6 5.7
2005 -7.9 12.6 5.4
2006 3.2 6.7 12.7
โดยปกติประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทยจะต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะเป็นประเทศที่น่าลงทุน จึงจะมีการนำเข้าเงินทุนมาซื้อสินค้าทุนเป็นจำนวนมาก ทำให้การนำเข้าโดยรวมสูงกว่าการส่งออก แต่ในช่วง 1998-2006 (เว้นปี 2005 ที่เรานำเข้าน้ำมันราคาสูงเป็นจำนวนมากเพราะรัฐบาลอุดหนุนราคาดีเซลในประเทศให้ต่ำเกินจริง ทำให้เรานำเข้าน้ำมันมากเกินควร) นั้น เราส่งออกมากกว่านำเข้าคิดเป็นมูลค่า 48,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพียงพอกับการต้องใช้คืนหนี้สินต่างประเทศในช่วง 1997-2003 มูลค่าทั้งสิ้น 42,300 ล้านดอลลาร์
จะเห็นได้ว่าการที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิตั้งแต่ปี 2004 นั้น ถือได้ว่าสภาวการณ์ของประเทศในส่วนของสถานะทางการเงินและการไหลเข้า (ไม่ใช่ไหลออก) ของเงินทุนนั้น เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว นอกจากนั้น การที่ดุลชำระเงินเกินดุลก็หมายความว่า ทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีสูงกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 35% ของจีดีพีซึ่งเกินพอแล้ว
ส่วนเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น นอกจากส่วนที่ได้รับมาจากไอเอ็มเอฟแล้วก็จะเห็นได้จากการเกินดุลชำระเงิน ซึ่งมีประมาณที่สูงประมาณ 4-5 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่ปี 2002 แม้กระทั่งปี 2005 ที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ก็ยังมีเงินทุนไหลเข้าประเทศถึง 12,600 ล้านดอลลาร์
ดังนั้น จึงจะพอเห็นได้ว่าการไหลเข้าของเงินทุนโดยปกตินั้นน่าจะไม่ต่ำกว่า 5-6 พันล้านดอลลาร์ และสำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น การเกินดุลประมาณ 4-5 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ และปีต่อๆ ไปก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเกินความคาดหมาย เช่น หากการส่งออกขยายตัว 10% ในขณะที่การนำเข้าขยายตัว 7% ในปีนี้ การค้าก็จะเกินดุลประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์ และบัญชีเดินสะพัดก็จะเกินดุลประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์ เป็นต้น ในเชิงเปรียบเทียบนั้นการส่งออกในปี 2006 ขยายตัว 17% ในขณะที่การนำเข้าขยายตัว 7%
สำหรับการเก็งกำไรนั้นคงจะมีอยู่อย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ผมประเมินข้างต้นนั้นไม่ได้เป็นความลับอะไร นอกจากนั้น แนวโน้มที่ค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลง (เพราะสหรัฐยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 6% ของจีดีพี) และแนวโน้มที่เงินในภูมิภาคเอเชียจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะเงินหยวน) ก็เป็นที่คาดการณ์กันอย่างแพร่หลาย
แต่ประเด็นสำคัญ คือการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไรเป็นหลัก แต่เกิดจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ดังนั้น การหวังให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปที่ 37.38 บาทตามข้อเรียกร้องของผู้ส่งออก จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แม้แต่การตรึงค่าเงินบาทเอาไว้ที่ระดับปัจจุบันก็จะยังเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งครับ
*******
"สามารถติดตามฟังการวิเคราะห์เศรษฐกิจของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ได้ในรายการซีอีโอวิชั่น ทุกวันจันทร์ 09.00-10.00 น. ทาง FM 96.5 MHz"
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 07:43:00 กรุงเทพธุรกิจ
ผมคิดว่าเราจะต้องยอมรับสภาพว่าเงินบาท จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ใน 2-3 ปีข้างหน้า
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เว้นแต่ว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นไปเป็น 100 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล หรือเกิดความกังวล ในสภาวะทางการเมืองจนกระทั่งมีการขนย้ายเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แนวทางที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างแท้จริง คือการเร่งนำเข้าสินค้าทุนที่จะนำไปลงทุนในโครงการพื้นฐานและขยายกำลังการผลิตในสาขาต่างๆ ที่เห็นว่ามีศักยภาพและประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ดี
ที่ผมคิดเช่นนี้ ก็เพราะเห็นว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เงินบาทแข็ง คือประเทศไทยหาเงินดอลลาร์เข้าประเทศได้มาก แต่ไม่รู้ว่าจะเอาเงินดอลลาร์ไปใช้ทำอะไร การส่งออกนั้นเรามักจะมองว่าเป็นหัวจักรที่ขับเคลื่อนจีดีพีหรือวิธีการสร้างรายได้นั่นเอง ดังนั้น ยิ่งการส่งออกขยายตัวเศรษฐกิจก็จะต้องขยายตัวตามไปด้วย แต่มักจะลืมนึกไปว่ารายได้นี้เป็นรายได้ที่เป็นเงินดอลลาร์และเป็นรายได้ที่มีประโยชน์เพียง 3 ประการคือ หนึ่งเอาไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (นำเข้า) สองเอาไว้ใช้คืนหนี้ต่างประเทศ และสามเก็บเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ กล่าวคือการส่งออกขยายตัวเฉลี่ย 14% ต่อปีในขณะที่จีดีพี (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวเฉลี่ย 3% ต่อปีผลที่ตามมา คือการส่งออกต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 1996 มาเป็น 65% ของจีดีพีในปัจจุบัน
เมื่อการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนถึง 2/3 ของจีดีพีเราจึงรู้สึกว่าต้อง "คุ้มครอง" การส่งออกให้ขยายตัวได้มากๆ เพื่อให้จีดีพีขยายได้ตามเป้าหมาย เช่น ในปี 2006 ที่ผ่านมา จีดีพีขยายตัวได้สูงถึง 5% เพราะการส่งออกเป็นพระเอกสามารถขยายตัวสูงถึง 17% ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนนั้น อาจขยายได้เพียง 3-4% เท่านั้น
แต่การส่งออกที่ขยายตัวสูงเป็นพิเศษในอดีตนั้น เป็นผลมาจากความจำเป็นของประเทศไทย ที่จะต้องหาดอลลาร์ส่วนเกินมาใช้คืนหนี้สินต่างประเทศ ที่เราก่อเอาไว้เกินตัวในช่วงเปิดเสรีทางการเงินเมื่อปี 1993-1996 (หลายคนคงจะจำบีไอบีเอฟได้) ครั้งนั้นเราสร้างหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องค่าเงินบาท (ไม่ให้อ่อนตัวลง) ก็สูญเสียทุนสำรองไป 30,000 ล้านดอลลาร์
นอกจากนั้น เรายังต้องกู้เงินไอเอ็มเอฟมาอีก 17,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น เมื่อคำนวณอย่างคร่าวๆ ก็จะเห็นว่าเรามีความจำเป็นจะต้องหาเงินดอลลาร์มาคืนหนี้ และเติมทุนสำรองเกือบ 80,000 ล้านดอลลาร์
การหาเงินดอลลาร์ส่วนเกินมาเพื่อภารกิจข้างต้นนั้น ทำได้โดยการเร่งให้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ส่งออกมากกว่านำเข้า) และนำเงินเกินดุลดังกล่าวไปใช้หนี้คืนต่างชาติ ดังเห็นได้จากตารางข้างล่าง
ปี ดุลบัญชีเดินสะพัด การไหลเข้า-ออกของเงินทุน ดุลชำระเงินระหว่างประเทศ
1997 -3.1 -4.3 -10.6
1998 14.3 -9.7 1.7
1999 12.5 -7.9 4.6
2000 9.3 -10.3 -1.6
2001 5.1 -3.5 1.3
2002 4.7 -1.8 4.2
2003 4.8 -4.8 0.1
2004 2.8 3.6 5.7
2005 -7.9 12.6 5.4
2006 3.2 6.7 12.7
โดยปกติประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทยจะต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะเป็นประเทศที่น่าลงทุน จึงจะมีการนำเข้าเงินทุนมาซื้อสินค้าทุนเป็นจำนวนมาก ทำให้การนำเข้าโดยรวมสูงกว่าการส่งออก แต่ในช่วง 1998-2006 (เว้นปี 2005 ที่เรานำเข้าน้ำมันราคาสูงเป็นจำนวนมากเพราะรัฐบาลอุดหนุนราคาดีเซลในประเทศให้ต่ำเกินจริง ทำให้เรานำเข้าน้ำมันมากเกินควร) นั้น เราส่งออกมากกว่านำเข้าคิดเป็นมูลค่า 48,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพียงพอกับการต้องใช้คืนหนี้สินต่างประเทศในช่วง 1997-2003 มูลค่าทั้งสิ้น 42,300 ล้านดอลลาร์
จะเห็นได้ว่าการที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิตั้งแต่ปี 2004 นั้น ถือได้ว่าสภาวการณ์ของประเทศในส่วนของสถานะทางการเงินและการไหลเข้า (ไม่ใช่ไหลออก) ของเงินทุนนั้น เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว นอกจากนั้น การที่ดุลชำระเงินเกินดุลก็หมายความว่า ทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีสูงกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 35% ของจีดีพีซึ่งเกินพอแล้ว
ส่วนเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น นอกจากส่วนที่ได้รับมาจากไอเอ็มเอฟแล้วก็จะเห็นได้จากการเกินดุลชำระเงิน ซึ่งมีประมาณที่สูงประมาณ 4-5 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่ปี 2002 แม้กระทั่งปี 2005 ที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ก็ยังมีเงินทุนไหลเข้าประเทศถึง 12,600 ล้านดอลลาร์
ดังนั้น จึงจะพอเห็นได้ว่าการไหลเข้าของเงินทุนโดยปกตินั้นน่าจะไม่ต่ำกว่า 5-6 พันล้านดอลลาร์ และสำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น การเกินดุลประมาณ 4-5 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ และปีต่อๆ ไปก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเกินความคาดหมาย เช่น หากการส่งออกขยายตัว 10% ในขณะที่การนำเข้าขยายตัว 7% ในปีนี้ การค้าก็จะเกินดุลประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์ และบัญชีเดินสะพัดก็จะเกินดุลประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์ เป็นต้น ในเชิงเปรียบเทียบนั้นการส่งออกในปี 2006 ขยายตัว 17% ในขณะที่การนำเข้าขยายตัว 7%
สำหรับการเก็งกำไรนั้นคงจะมีอยู่อย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ผมประเมินข้างต้นนั้นไม่ได้เป็นความลับอะไร นอกจากนั้น แนวโน้มที่ค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลง (เพราะสหรัฐยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 6% ของจีดีพี) และแนวโน้มที่เงินในภูมิภาคเอเชียจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะเงินหยวน) ก็เป็นที่คาดการณ์กันอย่างแพร่หลาย
แต่ประเด็นสำคัญ คือการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไรเป็นหลัก แต่เกิดจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ดังนั้น การหวังให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปที่ 37.38 บาทตามข้อเรียกร้องของผู้ส่งออก จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แม้แต่การตรึงค่าเงินบาทเอาไว้ที่ระดับปัจจุบันก็จะยังเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งครับ
*******
"สามารถติดตามฟังการวิเคราะห์เศรษฐกิจของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ได้ในรายการซีอีโอวิชั่น ทุกวันจันทร์ 09.00-10.00 น. ทาง FM 96.5 MHz"