คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 1
ลองมาคิดดูกันอีกทีครับ ว่าถ้า bot ไม่แทรกแซงจะเป็นเช่นไร โดยเจตนาความจริง ก็ไม่อยากให้เกิดการแทรกแซงอะไรมากมายนัก เพราะปัญหาครั้งนี้ เกิดจาก the falling of US dollar
ซึ่งถ้าหาก bot มิได้เข้าแทรกแซงค่าเงินอย่างไร ก็คงได้เห็นผลที่เห็นได้ชัดแน่นอน คือ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วมาก และก็จะกระทบต่อผู้ส่งออก* เป็นสำคัญ
และจากเหตุผลข้างต้น ก็ส่งผลให้ bot ต้องทำการเข้าแทรกแซง ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ ก็เข้าข่าย ประชานิยม ที่เอาหน้ารอด แต่ต่อไปเป็นเช่นไรมิทราบ เพื่อให้ผู้ส่งออก*ยินดี
แล้วผลของการแทรกแซงค่าเงินจะเป็นเช่นไร โดยปกติแล้ว การเข้าแทรกแซงค่าเงิน ก็กระทำเพื่อให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ และไม่วูบวาบจนเกินไป ซึ่งจะใช้ได้ผลในบางช่วงเวลา
แต่ในเหตุการณ์นี้ เกิดจาก the falling of US dollar ซึ่งบ่งบอกเห็นชัดตั่งแต่ช่วง FED ได้มีมติ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ รวมไปถึง การชลอตัวลง ของภาคอสังหาของสหรัฐ ซึ่งก็ถือว่ายังโชคดี ที่ตัวเลข spending ของ สหรัฐยังคงโอเคอยู่ มิเช่นนั้น ค่าเงิน us dollar คงจะอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง
และก็จากข้อความข้างต้น เหตุเกิดจาก the falling of US dollar ไม่ว่า bot จะแทรกแซงเช่นไร มันก็มิอาจจะป้องกันค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นได้ เพราะว่า ค่าเงินสหรัฐ มันจะอ่อนตัวลงมาตลอดช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นี้
และผลจากการแทรกแซงจะเป็นเช่นไร คำตอบง่ายๆ ก็ขาดทุนสิครับ
และก็อยากจะถามว่า bot ก็แทรกแซงไม่ได้สิ จริงๆแล้วมันก็แทรกแซงได้เป็นช่วงจังหวะ และควรมีแผนการรับมือ เพราะ เหตุการณ์ the falling of US dollar และการเก็งค่าเงินบาท รวมไปถึงการเข้าแทรกแซงของค่าเงินบาท เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคมปีที่แล้วนั้นเอง
ถ้าใครได้เห็นตัวเลขทุนสำรองของ bot จะเห็นได้ชัดว่า ทุนสำรองในรูปแบบ US dollar สูงขึ้นเรื่อยมาตั่งแต่ เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นจุดแรกที่ bot ได้ทำการ แทรกแซงค่าเงิน เหตุผลสำคัญ ก็คงเป็น speculation ของการ deal หุ้น shin จำนวนแสนล้านบาท (ราวๆ 3100ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดจากมูลค่าmkt cap ของหุ้น shin ในช่วงนั้น
ทำไมผมถึงได้บอกว่า การเข้าแทรกแซงของbot เกิดขึ้นในช่วง เดือน ตุลาคมปีก่อน ก็ต้องย้อนกลับไปดูทุนสำรองที่ได้เริ่มต้นสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยๆเรื่อยๆมา โดย ก่อนเดือนตุลาคมปีก่อน เรื่อยๆมา**
และจากจำนวนเงินกว่า 3100 ล้านเหรียญสหรัฐนี้ ก็ดึงดูด การเก็งกำไรค่าเงินได้มากแล้ว ยิ่งประจวบเหมาะ กับ the falling of us dollar อีก ก็ส่งผลให้ค่าเงินบาทเราแข็งค่าอย่างเห็นได้ชัดในช่วงต้นปีนี้ และเป็นสาเหตุของการเข้ามาสร้างกำไร ในตลาดทุน ช่วงต้นปี หรือที่เราเรียกกันว่า jan effect ซึ่งตลาดทุนบ้านเราดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรง ทั้งที่การคาดการณ์ กำไรของบ้านเรามิได้สูงกว่า ตลาดบ้านอื่นเลย (ไว้จะมาพูดในต่อๆไป) แต่ก็ได้รับปัจจัยมาจากการเติบโต ของตัวเลขเศรษฐกิจของโลกในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ผ่านมา
และผลต่อจากนั้น ก็เกิด bernanke effect ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้น ของการที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ย สหรัฐไว้ เพราะเป็นจุดที่ fed น่าจะมีการวางแผนรับมือมาเป็นอย่างดี แต่การที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ยนี่สิ เป็นจุดเริ่มต้นของการจุดระเบิดที่ ระบบเศรษฐกิจสหรัฐได้วางไว้
เมื่อfed เริ่มคงดอกเบี้ยไว้ ก็ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร ซึ่งคาดหวังไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะปรับตัวลดลง และเงินก็ได้เริ่มไหลเข้าตลาดพันธบัตร อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ เหตุการณ์ the falling of us dollar ก็ยิ่งกระตุ้นให้ เกิดความต้องการซื้อเงินสกุลอื่นไว้ นั้นก็ยิ่งเป็นเหตุผลให้ค่าเงินบาทบ้านเราแข็งค่าขึ้นมาเรื่อยๆ ประกอบกับ ตัวเลขส่งออกบ้านเราอยู่ในอัตราที่สูง ก็ยิ่งกระตุ้นเข้าไปใหญ่
แล้วถามว่าทำไม ค่าเงินบาทแข็ง ตัวเลขส่งออกบ้านเรายังคงสูง คำตอบง่ายๆครับ ตัวเลขส่งออกสำคัญ ของบ้านเรา มาจาก machinery part, automobile, electric part และ machinery ซึ่ง อุตสาหกรรมพวกนี้ยิ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จะเป็นประโยชน์สำคัญกับธุรกิจอย่างยิ่ง เพราะวัตถุดิบนำเงินมาจากเมืองนอก โดยที่บ้านเราเป็นแค่แหล่งผลิตเท่านั้น นี่ยังไม่นับ ตัวเลขยอดดุลอันดับ 2 บ้านเรา ก็คือ tourism (อันดับ1 คือ machinery part) ก็กระตุ้นการแข็งค่าของค่าเงินบาทได้เช่นกัน^^
และก็อย่างที่ได้เอ่ยมา ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ ค่าเงินบาทแข็งค่ายิ่งขึ้น โดยที่มิได้พูดถึงการเก็งกำไรอย่างไรเหตุผลมากนัก
และก็อยากจะถามว่า เหตุการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ควรจะทำเช่นไร ถ้าจากเหตุผลที่ได้เอ่ยไปข้างต้น จะบ่งบอกได้ว่า bot แทรกแซงไปเท่าไร ก็ไม่ได้ผลหรอกครับ เพราะค่าเงินบาทมีแต่แข็งค่าขึ้น แล้ว ควรจะทำเช่นไรดี
การลดดอกเบี้ย ยอมรับ การเก็งกำไร ค่าเงินอาจจะเกิดขึ้นจาก การที่กู้เงินจากแหล่งทุนต่ำ มาลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่นกู้เงินจาก ญี่ปุ่น มาฝากเงินใน ประเทศไทย สำหรับการลดดอกเบี้ย ถ้าอยากให้เก็งกำไรค่าเงินแบบนี้ หายไปก็จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยของบ้านเราลงไปในระดับต่ำใกล้เคียงกับ ญี่ปุ่น ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะจะเกิดภาวะ shock ทางเศรษฐกิจ แล้วถ้าหาก ค่อยๆลดดอกเบี้ยลงจะเกิดผลเช่นไร สำหรับ เหตุผลที่ bot ยกขึ้นมาว่า ถ้ายิ่งลดดอกเบี้ยจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เท่ากับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้อีก สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลายคนก็บอกว่ามันต้องใช้เวลาถึงจะเกิดอันนี้ถือว่าถูกต้องยิ่ง แต่ตลาดพันธบัตร ตลาดทุน และตลาดอสังหา ไม่ต้องใช้เวลาเลย เพราะมันจะeffect ทันที ตลาดพันธบัตรจะยิ่งให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ราคาหุ้นจะถูกกระตุ้นจากการลดดอกเบี้ยลงส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น รวมไปถึงราคาของอสังหาที่จะยิ่งปรับตัวขึ้น และก็มิอาจจะพูดได้ว่า ค่าเงินบาทจะเป็นเช่นไร เพราะนักลงทุนที่โอนค่าเงิน US dollar ออกมาจะแสวงหา แหล่งเงินที่ได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมได้เลยทีเดียว เพราะถ้าตัดสินผิดพลาดไป จะกระทบหนักเข้าไปอีก และอย่างที่บอกว่าไม่ทราบจะเกิดเหตุการณ์ใด เพราะเรายังไม่ได้ลดดอกเบี้ย ถ้าลดแล้วค่าเงินบาทยังแข็ง เหมือนค่าเงิน อินโดนีเซีย ที่เพิ่งลดดอกเบี้ยไปเอง ยิ่งไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลดใหญ่เลยทีเดียวหรือครับ
แล้ว bot ควรจะทำเช่นไร จริงๆแล้ว bot มิควรทำอย่างไรเลยด้วยซ้ำ เพราะยิ่งแทรกแซง พวกนักลงทุนก็ยิ่งชอบครับ ในภาวะ เหตุการณ์ the falling of US dollar หน้าที่สำคัญน่าจะเป็นทีมเศรษฐกิจประเทศมากกว่า ที่ควรจะรีบวางระบบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน (ผมไม่อยากโทษรัฐบาลชุดนี้มากนัก แม้นว่าไม่พอใจผลงานเช่นกัน เพราะว่า ปัญหานี้มันลามมาตั่งแต่ปีก่อนแล้วด้วยซ้ำมิใช่ 3เดือนที่ผ่านมา) ถ้าหาก ค่าเงินเราแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าแปรงกับมาเป็นเงินบาทลดลง ก็จำเป็นยิ่งที่จะต้องลดต้นทุนสินค้าเดิมลงให้ได้ โดยจะเห็นได้ชัดว่า cost of capital ของประเทศไทยเราสูงมากกว่าประเทศอื่นมาก การพัฒนาระบบ logistic ก็ ควรจะเร่งรีบโดยเร็ว ผมว่า การปรับตัวให้อยู่รอดได้ทางเศรษฐกิจ ควรจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า โดยที่รัฐไม่ต้องทำอะไรมากเลย โดยรัฐควรจะรีบเร่งนโยบายทำความเข้าใจกับ เอกชนให้มากกว่านี้ (ประเทศมาเลเซีย ถึงขนาดประกาศเตือนเอกชนเลยว่า ค่าเงินริงกิต จะแข็งค่าขึ้น ให้เอกชนพร้อมรับมือ มาเป็นช่วงๆตลอดเวลา นี่ก็เป็นวิธีที่อาจจะช่วยได้ โดยส่งสัญญาณให้เอกชนพร้อมรับมือ) การพัฒนา สร้างvalue ให้กับสินค้าของประเทศไทยก็สำคัญเช่นกัน และอยากขอร้องให้คนไทยด้วยกัน อย่าทำลายประเทศกันเองเลย
ผมหวังว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในวันข้างหน้า เพราะผมชอบมองโลกในแง่ดี ยามเกิดวิกฤติเสมอ ว่า คนไทยอาจจะโตขึ้น จากเหตุการณ์ร้ายๆที่ได้พบเจอ
และอยากจะวิงวอนว่า อย่าให้มี default เลยครับ
*ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ ก็เป็นเพราะมิอาจจะปรับตัวได้ การทำธุรกิจ หากไม่สามารถรับความเสี่ยงอะไรได้ ก็อย่าทำเลยดีกว่า พี่maffin ได้เอ่ยไว้
** อ้างอิง ทุนสำรองประเทศไทยครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 972-70.gif
bot อาจจะไม่ใช่ Bank of Thailand ก็ได้ แต่เป็น บอท ที่โดนเขียนโปรแกรมเสร็จสรรพให้ทำอะไร
ซึ่งถ้าหาก bot มิได้เข้าแทรกแซงค่าเงินอย่างไร ก็คงได้เห็นผลที่เห็นได้ชัดแน่นอน คือ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วมาก และก็จะกระทบต่อผู้ส่งออก* เป็นสำคัญ
และจากเหตุผลข้างต้น ก็ส่งผลให้ bot ต้องทำการเข้าแทรกแซง ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ ก็เข้าข่าย ประชานิยม ที่เอาหน้ารอด แต่ต่อไปเป็นเช่นไรมิทราบ เพื่อให้ผู้ส่งออก*ยินดี
แล้วผลของการแทรกแซงค่าเงินจะเป็นเช่นไร โดยปกติแล้ว การเข้าแทรกแซงค่าเงิน ก็กระทำเพื่อให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ และไม่วูบวาบจนเกินไป ซึ่งจะใช้ได้ผลในบางช่วงเวลา
แต่ในเหตุการณ์นี้ เกิดจาก the falling of US dollar ซึ่งบ่งบอกเห็นชัดตั่งแต่ช่วง FED ได้มีมติ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ รวมไปถึง การชลอตัวลง ของภาคอสังหาของสหรัฐ ซึ่งก็ถือว่ายังโชคดี ที่ตัวเลข spending ของ สหรัฐยังคงโอเคอยู่ มิเช่นนั้น ค่าเงิน us dollar คงจะอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง
และก็จากข้อความข้างต้น เหตุเกิดจาก the falling of US dollar ไม่ว่า bot จะแทรกแซงเช่นไร มันก็มิอาจจะป้องกันค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นได้ เพราะว่า ค่าเงินสหรัฐ มันจะอ่อนตัวลงมาตลอดช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นี้
และผลจากการแทรกแซงจะเป็นเช่นไร คำตอบง่ายๆ ก็ขาดทุนสิครับ
และก็อยากจะถามว่า bot ก็แทรกแซงไม่ได้สิ จริงๆแล้วมันก็แทรกแซงได้เป็นช่วงจังหวะ และควรมีแผนการรับมือ เพราะ เหตุการณ์ the falling of US dollar และการเก็งค่าเงินบาท รวมไปถึงการเข้าแทรกแซงของค่าเงินบาท เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคมปีที่แล้วนั้นเอง
ถ้าใครได้เห็นตัวเลขทุนสำรองของ bot จะเห็นได้ชัดว่า ทุนสำรองในรูปแบบ US dollar สูงขึ้นเรื่อยมาตั่งแต่ เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นจุดแรกที่ bot ได้ทำการ แทรกแซงค่าเงิน เหตุผลสำคัญ ก็คงเป็น speculation ของการ deal หุ้น shin จำนวนแสนล้านบาท (ราวๆ 3100ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดจากมูลค่าmkt cap ของหุ้น shin ในช่วงนั้น
ทำไมผมถึงได้บอกว่า การเข้าแทรกแซงของbot เกิดขึ้นในช่วง เดือน ตุลาคมปีก่อน ก็ต้องย้อนกลับไปดูทุนสำรองที่ได้เริ่มต้นสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยๆเรื่อยๆมา โดย ก่อนเดือนตุลาคมปีก่อน เรื่อยๆมา**
และจากจำนวนเงินกว่า 3100 ล้านเหรียญสหรัฐนี้ ก็ดึงดูด การเก็งกำไรค่าเงินได้มากแล้ว ยิ่งประจวบเหมาะ กับ the falling of us dollar อีก ก็ส่งผลให้ค่าเงินบาทเราแข็งค่าอย่างเห็นได้ชัดในช่วงต้นปีนี้ และเป็นสาเหตุของการเข้ามาสร้างกำไร ในตลาดทุน ช่วงต้นปี หรือที่เราเรียกกันว่า jan effect ซึ่งตลาดทุนบ้านเราดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรง ทั้งที่การคาดการณ์ กำไรของบ้านเรามิได้สูงกว่า ตลาดบ้านอื่นเลย (ไว้จะมาพูดในต่อๆไป) แต่ก็ได้รับปัจจัยมาจากการเติบโต ของตัวเลขเศรษฐกิจของโลกในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ผ่านมา
และผลต่อจากนั้น ก็เกิด bernanke effect ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้น ของการที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ย สหรัฐไว้ เพราะเป็นจุดที่ fed น่าจะมีการวางแผนรับมือมาเป็นอย่างดี แต่การที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ยนี่สิ เป็นจุดเริ่มต้นของการจุดระเบิดที่ ระบบเศรษฐกิจสหรัฐได้วางไว้
เมื่อfed เริ่มคงดอกเบี้ยไว้ ก็ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร ซึ่งคาดหวังไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะปรับตัวลดลง และเงินก็ได้เริ่มไหลเข้าตลาดพันธบัตร อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ เหตุการณ์ the falling of us dollar ก็ยิ่งกระตุ้นให้ เกิดความต้องการซื้อเงินสกุลอื่นไว้ นั้นก็ยิ่งเป็นเหตุผลให้ค่าเงินบาทบ้านเราแข็งค่าขึ้นมาเรื่อยๆ ประกอบกับ ตัวเลขส่งออกบ้านเราอยู่ในอัตราที่สูง ก็ยิ่งกระตุ้นเข้าไปใหญ่
แล้วถามว่าทำไม ค่าเงินบาทแข็ง ตัวเลขส่งออกบ้านเรายังคงสูง คำตอบง่ายๆครับ ตัวเลขส่งออกสำคัญ ของบ้านเรา มาจาก machinery part, automobile, electric part และ machinery ซึ่ง อุตสาหกรรมพวกนี้ยิ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จะเป็นประโยชน์สำคัญกับธุรกิจอย่างยิ่ง เพราะวัตถุดิบนำเงินมาจากเมืองนอก โดยที่บ้านเราเป็นแค่แหล่งผลิตเท่านั้น นี่ยังไม่นับ ตัวเลขยอดดุลอันดับ 2 บ้านเรา ก็คือ tourism (อันดับ1 คือ machinery part) ก็กระตุ้นการแข็งค่าของค่าเงินบาทได้เช่นกัน^^
และก็อย่างที่ได้เอ่ยมา ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ ค่าเงินบาทแข็งค่ายิ่งขึ้น โดยที่มิได้พูดถึงการเก็งกำไรอย่างไรเหตุผลมากนัก
และก็อยากจะถามว่า เหตุการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ควรจะทำเช่นไร ถ้าจากเหตุผลที่ได้เอ่ยไปข้างต้น จะบ่งบอกได้ว่า bot แทรกแซงไปเท่าไร ก็ไม่ได้ผลหรอกครับ เพราะค่าเงินบาทมีแต่แข็งค่าขึ้น แล้ว ควรจะทำเช่นไรดี
การลดดอกเบี้ย ยอมรับ การเก็งกำไร ค่าเงินอาจจะเกิดขึ้นจาก การที่กู้เงินจากแหล่งทุนต่ำ มาลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่นกู้เงินจาก ญี่ปุ่น มาฝากเงินใน ประเทศไทย สำหรับการลดดอกเบี้ย ถ้าอยากให้เก็งกำไรค่าเงินแบบนี้ หายไปก็จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยของบ้านเราลงไปในระดับต่ำใกล้เคียงกับ ญี่ปุ่น ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะจะเกิดภาวะ shock ทางเศรษฐกิจ แล้วถ้าหาก ค่อยๆลดดอกเบี้ยลงจะเกิดผลเช่นไร สำหรับ เหตุผลที่ bot ยกขึ้นมาว่า ถ้ายิ่งลดดอกเบี้ยจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เท่ากับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้อีก สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลายคนก็บอกว่ามันต้องใช้เวลาถึงจะเกิดอันนี้ถือว่าถูกต้องยิ่ง แต่ตลาดพันธบัตร ตลาดทุน และตลาดอสังหา ไม่ต้องใช้เวลาเลย เพราะมันจะeffect ทันที ตลาดพันธบัตรจะยิ่งให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ราคาหุ้นจะถูกกระตุ้นจากการลดดอกเบี้ยลงส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น รวมไปถึงราคาของอสังหาที่จะยิ่งปรับตัวขึ้น และก็มิอาจจะพูดได้ว่า ค่าเงินบาทจะเป็นเช่นไร เพราะนักลงทุนที่โอนค่าเงิน US dollar ออกมาจะแสวงหา แหล่งเงินที่ได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมได้เลยทีเดียว เพราะถ้าตัดสินผิดพลาดไป จะกระทบหนักเข้าไปอีก และอย่างที่บอกว่าไม่ทราบจะเกิดเหตุการณ์ใด เพราะเรายังไม่ได้ลดดอกเบี้ย ถ้าลดแล้วค่าเงินบาทยังแข็ง เหมือนค่าเงิน อินโดนีเซีย ที่เพิ่งลดดอกเบี้ยไปเอง ยิ่งไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลดใหญ่เลยทีเดียวหรือครับ
แล้ว bot ควรจะทำเช่นไร จริงๆแล้ว bot มิควรทำอย่างไรเลยด้วยซ้ำ เพราะยิ่งแทรกแซง พวกนักลงทุนก็ยิ่งชอบครับ ในภาวะ เหตุการณ์ the falling of US dollar หน้าที่สำคัญน่าจะเป็นทีมเศรษฐกิจประเทศมากกว่า ที่ควรจะรีบวางระบบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน (ผมไม่อยากโทษรัฐบาลชุดนี้มากนัก แม้นว่าไม่พอใจผลงานเช่นกัน เพราะว่า ปัญหานี้มันลามมาตั่งแต่ปีก่อนแล้วด้วยซ้ำมิใช่ 3เดือนที่ผ่านมา) ถ้าหาก ค่าเงินเราแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าแปรงกับมาเป็นเงินบาทลดลง ก็จำเป็นยิ่งที่จะต้องลดต้นทุนสินค้าเดิมลงให้ได้ โดยจะเห็นได้ชัดว่า cost of capital ของประเทศไทยเราสูงมากกว่าประเทศอื่นมาก การพัฒนาระบบ logistic ก็ ควรจะเร่งรีบโดยเร็ว ผมว่า การปรับตัวให้อยู่รอดได้ทางเศรษฐกิจ ควรจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า โดยที่รัฐไม่ต้องทำอะไรมากเลย โดยรัฐควรจะรีบเร่งนโยบายทำความเข้าใจกับ เอกชนให้มากกว่านี้ (ประเทศมาเลเซีย ถึงขนาดประกาศเตือนเอกชนเลยว่า ค่าเงินริงกิต จะแข็งค่าขึ้น ให้เอกชนพร้อมรับมือ มาเป็นช่วงๆตลอดเวลา นี่ก็เป็นวิธีที่อาจจะช่วยได้ โดยส่งสัญญาณให้เอกชนพร้อมรับมือ) การพัฒนา สร้างvalue ให้กับสินค้าของประเทศไทยก็สำคัญเช่นกัน และอยากขอร้องให้คนไทยด้วยกัน อย่าทำลายประเทศกันเองเลย
ผมหวังว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในวันข้างหน้า เพราะผมชอบมองโลกในแง่ดี ยามเกิดวิกฤติเสมอ ว่า คนไทยอาจจะโตขึ้น จากเหตุการณ์ร้ายๆที่ได้พบเจอ
และอยากจะวิงวอนว่า อย่าให้มี default เลยครับ
*ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ ก็เป็นเพราะมิอาจจะปรับตัวได้ การทำธุรกิจ หากไม่สามารถรับความเสี่ยงอะไรได้ ก็อย่าทำเลยดีกว่า พี่maffin ได้เอ่ยไว้
** อ้างอิง ทุนสำรองประเทศไทยครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 972-70.gif
bot อาจจะไม่ใช่ Bank of Thailand ก็ได้ แต่เป็น บอท ที่โดนเขียนโปรแกรมเสร็จสรรพให้ทำอะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 2
ค่าเงินเยน วันนี้ ก็แข็งค่าเมื่อเทียบกับ USD นะครับ แต่ค่าเงินเยน ก็มีเรื่องดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยว รวมไปถึงตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงตัวเลข industrial output เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดหวังไว้ แต่วันนี้ ค่าเงินเยน ก็แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 3
เริ่มต้นด้วยการบอกก่อนเลยว่า ต้นเหตุสำคัญสุดของปัญหานี้ คือการไร้ประสิทธิภาพของคนไทยเองนี่แหละ
มีหลายคนตั้งคำถามเรื่องการลดดอกเบี้ย ว่าจะช่วยลดผลกระทบการเก็งกำไรค่าเงินหรือไม่ อันนี้ลองสร้างภาพขึ้นมาให้ดูนะครับ
สำหรับคนที่บอกว่า การลดดอกเบี้ยช่วยลดการเก็งกำไรค่าเงินได้ เนื่องจาก ส่วนต่างของดอกเบี้ย ที่เงินเก็งกำไรไหลเข้ามา โดยการกู้เงินจาก ประเทศญี่ปุ่น เพื่อมา ฝากเงินในประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า หากพูดกันตามนี้การเก็งกำไรเรื่องดอกเบี้ย ก็น่าจะเกิดขึ้นตั้งนานแล้ว แต่เหตุผลสำคัญก็คือ เนื่องด้วยสมัยก่อน การเก็งกำไรไม่ได้เก็งกำไรในค่าเงิน แต่ไปเก็งกำไรในตลาด commodity กันสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มพลังงาน หรือ โลหะ แต่ถ้าพูดกันตามความจริงแล้ว การเก็งกำไรก็ไม่ได้มี one-way เพียงเท่านั้น แต่ในภาวะช่วงนี้ คือภาวะ the falling dollar ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงกับประเทศผู้ผลิต ที่ต้องโดนผลกระทบของ ดอลล่าตกต่ำ ดังนั้น กระแสเก็งกำไรในรอบนี้จึงเกิดการเข้าเก็งกำไร ในค่าเงินกันเยอะ ดังนั้นบางคนจึงคิดว่า การลดดอกเบี้ยน่าจะช่วยผ่อนปรนการเก็งกำไรค่าเงินได้บ้าง แต่ก็อย่างที่ได้เห็นภาพมาครับ
ส่วน คนที่ออกมาพูดว่า การลดดอกเบี้ย มีความเสี่ยงมากเกินไป เพราะจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เพราะเป็นภาพการกระตุ้นเศรษฐกิจก็เป็นได้ การลดดอกเบี้ย ในบางครั้ง ก็มิอาจจะป้องกันการเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยได้ เพราะว่าถ้าจะป้องกันการเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยได้จริงๆ ก็จำเป็นต้องลดดอกเบี้ย อย่างเร่งด่วน แต่ก็อาจจะเกิดภาวะ shock ทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการมิอาจจะควบคุมมิให้บานปลายได้เลย ยอมรับการลดดอกเบี้ย การกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจจะต้องใช้เวลาในการแสดงผล แต่ในตลาดทุน และตลาดพันธบัตร และตัวการสำคัญยิ่งที่หลายคนมิได้พูดถึง คือตลาดอสังหา ที่ราคาขยับขึ้นมาเรื่อยๆตั่งแต่ปลายปีก่อน การลดดอกเบี้ยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาแสดงผลเลยครับ จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ ตลาดทุน และพันธบัตรมีผลตอบแทนมากขึ้น รวมไปถึงราคาของอสังหาที่จะขยับขึ้น และอันนี้แหละที่น่ากลัว เพราะจะมีการเก็งกำไรจำนวนเงินมหาศาล เพื่อเข้ามาหวังผลกำไร ทั้งจาก ตลาดทุน และพันธบัตรได้อีก ส่วนตลาดอสังหา ก็เป็นเสมือนการพักเงินที่สำคัญได้เลย ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งล่อตาล่อใจ กองทุน hedge fund จำนวนมาก เข้ามาได้ แม้นว่าจะมีความเสี่ยงในการลงทุน แต่ด้วยความสามารถของกองทุนพวกนี้ มักจะเสี่ยงและหวังผลเสมอ ประกอบกับการไม่มีเครื่องป้องกันตัวของประเทศไทยเรา ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กองทุนพวกนี้ได้
ดังนั้นปัญหาเหล่านี้เกิดได้อย่างไร มองกันตามสภาพความจริง ปัญหาครั้งนี้ เกิดจาก the falling dollar เป็นสำคัญ มิใช่เพราะค่าเงินเราแข็งค่าเกินไป ถ้าหากมองว่า ทำไมเราแข็งค่าสุดในปีนี้ หากตัด deal หุ้น shin ไป รวมไปถึง thaibev ipo ซึ่งมีเงินไหลเข้า บาทเราก็แข็งในระดับเดียวกับภูมิภาค (มองในรอบ 5ปีค่าเงินบาทเรายังคงแข็งค่าน้อยกว่า ค่าเงินเกาหลีด้วยซ้ำ แต่ทำไมเกาหลีถึงไม่มีปัญหาเรื่องส่งออกอะไรเลย และอยากจะขอพูดต่ออีกนิด ปัญหาการส่งออกเรามิมีปัญหามากหรอกครับ เพราะอันดับ1 และอันดับ2 ของยอดส่งออกจะมีมูลค่าสูงขึ้น เพราะมิได้รับผลกระทบค่าเงินเลย เพราะเราเป็นแค่แหล่งผลิตให้ต่างชาติเท่านั้น แต่ส่วนที่เราผลิตเองนั้นแหละครับ ปัญหาใหญ่)
ปัญหาสำคัญที่ว่า bot ต้องเข้าแทรกแซงจำนวนมาก จริงๆแล้ว ก็อยากจะบอกว่า ต้นเหตุเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของประเทศไทยเองมากกว่า เป็นตัวก่อเกิดปัญหาเช่นนี้ และมีหลายคนก็พยายามบอกให้ ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด ถามว่า the falling dollar ที่เกิดขึ้น ถ้า bot ไม่แทรกแซงจำนวนเงินหลายหมื่นล้านดอลล่าในปีนี้ อะไรจะเกิดขึ้น ค่าเงินจะแข็งค่าเป็นเช่นไร และถ้า bot แทรกแซงต่อเนื่อง ปัญหาอะไรจะเกิดขึ้น ผมหวังว่า การ default คงไม่เกิดขึ้นนะครับ เพราะนั้นคือระเบิดก้อนโตที่ทำลายประเทศไทยได้เลย
สำหรับคำว่าไม่มีประสิทธิภาพก็คือ การที่ประเทศไทยมิได้มี กองทุนการเงินที่เข้มแข็งเหมือนดั่งเช่นหลายๆประเทศมี เพราะจริงๆแล้ว หน้าที่ปกป้องค่าเงินอีกทาง ก็เป็นกองทุนการเงินที่พร้อมจะไปลงทุน ในตปท ก็พร้อมช่วยได้ในเรื่องนี้ เพราะการลงทุนใน ตปท จะมีการช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการผันผวนค่าเงิน โดยเลือกไปลงทุนในตปท ซึ่งจะสร้างผลตอบแทบกลับมาสู่ประเทศในอนาคต การที่ประเทศเราเป็นประเทศที่มี cost of capital สูง (สินค้าราคาตกต่ำที่หลายคนเคยบ่น ต่อว่า ถามว่าให้ทำยังไงครับ ขึ้นราคาสินค้า ใครเดือดร้อน ก็คนไทยในประเทศแหละครับ แล้ว demand ซื้อมีมากหรอครับ ใช้หนี้ให้หมดก่อนดีกว่าคนไทยอ่ะ แล้วถามว่าคนไม่เป็นหนี้จะใช้จ่ายมากขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ อาจจะประหยัดลงด้วยซ้ำ ส่วนที่ยอดการใช้จ่ายเป็นจำนวนสูงขึ้น น่าจะมีการสำรวจ ปริมาณvolume ด้วยนะครับ ว่ามากขึ้นหรือไม่)และการไร้ระบบ นี่แหละผมว่าเป็นปัญหาสำคัญยิ่งกว่าอื่นใดอีก ที่ทำลายประเทศไทยเรื่อยมา (ประเทศเราตายก็เพราะ culture ของประเทศเราเอง 5ปีที่เห็นภาพสวยงาม จะเป็นเพราะภาพรวมเศรษฐกิจโลกดีหรือไม่ หรือว่าเราแข็งแกร่งด้วยตัวเราเอง อนาคตเป็นสิ่งพิสูจน์)
เรามิอาจ คาดหวังอะไรได้ สิ่งที่เราทำได้มีแต่ทำในส่วนของเราให้ดีที่สุด ให้อยู่รอดได้ โดยมิต้องพึ่งพาใคร
จาก http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 98310.html
มีหลายคนตั้งคำถามเรื่องการลดดอกเบี้ย ว่าจะช่วยลดผลกระทบการเก็งกำไรค่าเงินหรือไม่ อันนี้ลองสร้างภาพขึ้นมาให้ดูนะครับ
สำหรับคนที่บอกว่า การลดดอกเบี้ยช่วยลดการเก็งกำไรค่าเงินได้ เนื่องจาก ส่วนต่างของดอกเบี้ย ที่เงินเก็งกำไรไหลเข้ามา โดยการกู้เงินจาก ประเทศญี่ปุ่น เพื่อมา ฝากเงินในประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า หากพูดกันตามนี้การเก็งกำไรเรื่องดอกเบี้ย ก็น่าจะเกิดขึ้นตั้งนานแล้ว แต่เหตุผลสำคัญก็คือ เนื่องด้วยสมัยก่อน การเก็งกำไรไม่ได้เก็งกำไรในค่าเงิน แต่ไปเก็งกำไรในตลาด commodity กันสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มพลังงาน หรือ โลหะ แต่ถ้าพูดกันตามความจริงแล้ว การเก็งกำไรก็ไม่ได้มี one-way เพียงเท่านั้น แต่ในภาวะช่วงนี้ คือภาวะ the falling dollar ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงกับประเทศผู้ผลิต ที่ต้องโดนผลกระทบของ ดอลล่าตกต่ำ ดังนั้น กระแสเก็งกำไรในรอบนี้จึงเกิดการเข้าเก็งกำไร ในค่าเงินกันเยอะ ดังนั้นบางคนจึงคิดว่า การลดดอกเบี้ยน่าจะช่วยผ่อนปรนการเก็งกำไรค่าเงินได้บ้าง แต่ก็อย่างที่ได้เห็นภาพมาครับ
ส่วน คนที่ออกมาพูดว่า การลดดอกเบี้ย มีความเสี่ยงมากเกินไป เพราะจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เพราะเป็นภาพการกระตุ้นเศรษฐกิจก็เป็นได้ การลดดอกเบี้ย ในบางครั้ง ก็มิอาจจะป้องกันการเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยได้ เพราะว่าถ้าจะป้องกันการเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยได้จริงๆ ก็จำเป็นต้องลดดอกเบี้ย อย่างเร่งด่วน แต่ก็อาจจะเกิดภาวะ shock ทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการมิอาจจะควบคุมมิให้บานปลายได้เลย ยอมรับการลดดอกเบี้ย การกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจจะต้องใช้เวลาในการแสดงผล แต่ในตลาดทุน และตลาดพันธบัตร และตัวการสำคัญยิ่งที่หลายคนมิได้พูดถึง คือตลาดอสังหา ที่ราคาขยับขึ้นมาเรื่อยๆตั่งแต่ปลายปีก่อน การลดดอกเบี้ยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาแสดงผลเลยครับ จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ ตลาดทุน และพันธบัตรมีผลตอบแทนมากขึ้น รวมไปถึงราคาของอสังหาที่จะขยับขึ้น และอันนี้แหละที่น่ากลัว เพราะจะมีการเก็งกำไรจำนวนเงินมหาศาล เพื่อเข้ามาหวังผลกำไร ทั้งจาก ตลาดทุน และพันธบัตรได้อีก ส่วนตลาดอสังหา ก็เป็นเสมือนการพักเงินที่สำคัญได้เลย ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งล่อตาล่อใจ กองทุน hedge fund จำนวนมาก เข้ามาได้ แม้นว่าจะมีความเสี่ยงในการลงทุน แต่ด้วยความสามารถของกองทุนพวกนี้ มักจะเสี่ยงและหวังผลเสมอ ประกอบกับการไม่มีเครื่องป้องกันตัวของประเทศไทยเรา ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กองทุนพวกนี้ได้
ดังนั้นปัญหาเหล่านี้เกิดได้อย่างไร มองกันตามสภาพความจริง ปัญหาครั้งนี้ เกิดจาก the falling dollar เป็นสำคัญ มิใช่เพราะค่าเงินเราแข็งค่าเกินไป ถ้าหากมองว่า ทำไมเราแข็งค่าสุดในปีนี้ หากตัด deal หุ้น shin ไป รวมไปถึง thaibev ipo ซึ่งมีเงินไหลเข้า บาทเราก็แข็งในระดับเดียวกับภูมิภาค (มองในรอบ 5ปีค่าเงินบาทเรายังคงแข็งค่าน้อยกว่า ค่าเงินเกาหลีด้วยซ้ำ แต่ทำไมเกาหลีถึงไม่มีปัญหาเรื่องส่งออกอะไรเลย และอยากจะขอพูดต่ออีกนิด ปัญหาการส่งออกเรามิมีปัญหามากหรอกครับ เพราะอันดับ1 และอันดับ2 ของยอดส่งออกจะมีมูลค่าสูงขึ้น เพราะมิได้รับผลกระทบค่าเงินเลย เพราะเราเป็นแค่แหล่งผลิตให้ต่างชาติเท่านั้น แต่ส่วนที่เราผลิตเองนั้นแหละครับ ปัญหาใหญ่)
ปัญหาสำคัญที่ว่า bot ต้องเข้าแทรกแซงจำนวนมาก จริงๆแล้ว ก็อยากจะบอกว่า ต้นเหตุเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของประเทศไทยเองมากกว่า เป็นตัวก่อเกิดปัญหาเช่นนี้ และมีหลายคนก็พยายามบอกให้ ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด ถามว่า the falling dollar ที่เกิดขึ้น ถ้า bot ไม่แทรกแซงจำนวนเงินหลายหมื่นล้านดอลล่าในปีนี้ อะไรจะเกิดขึ้น ค่าเงินจะแข็งค่าเป็นเช่นไร และถ้า bot แทรกแซงต่อเนื่อง ปัญหาอะไรจะเกิดขึ้น ผมหวังว่า การ default คงไม่เกิดขึ้นนะครับ เพราะนั้นคือระเบิดก้อนโตที่ทำลายประเทศไทยได้เลย
สำหรับคำว่าไม่มีประสิทธิภาพก็คือ การที่ประเทศไทยมิได้มี กองทุนการเงินที่เข้มแข็งเหมือนดั่งเช่นหลายๆประเทศมี เพราะจริงๆแล้ว หน้าที่ปกป้องค่าเงินอีกทาง ก็เป็นกองทุนการเงินที่พร้อมจะไปลงทุน ในตปท ก็พร้อมช่วยได้ในเรื่องนี้ เพราะการลงทุนใน ตปท จะมีการช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการผันผวนค่าเงิน โดยเลือกไปลงทุนในตปท ซึ่งจะสร้างผลตอบแทบกลับมาสู่ประเทศในอนาคต การที่ประเทศเราเป็นประเทศที่มี cost of capital สูง (สินค้าราคาตกต่ำที่หลายคนเคยบ่น ต่อว่า ถามว่าให้ทำยังไงครับ ขึ้นราคาสินค้า ใครเดือดร้อน ก็คนไทยในประเทศแหละครับ แล้ว demand ซื้อมีมากหรอครับ ใช้หนี้ให้หมดก่อนดีกว่าคนไทยอ่ะ แล้วถามว่าคนไม่เป็นหนี้จะใช้จ่ายมากขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ อาจจะประหยัดลงด้วยซ้ำ ส่วนที่ยอดการใช้จ่ายเป็นจำนวนสูงขึ้น น่าจะมีการสำรวจ ปริมาณvolume ด้วยนะครับ ว่ามากขึ้นหรือไม่)และการไร้ระบบ นี่แหละผมว่าเป็นปัญหาสำคัญยิ่งกว่าอื่นใดอีก ที่ทำลายประเทศไทยเรื่อยมา (ประเทศเราตายก็เพราะ culture ของประเทศเราเอง 5ปีที่เห็นภาพสวยงาม จะเป็นเพราะภาพรวมเศรษฐกิจโลกดีหรือไม่ หรือว่าเราแข็งแกร่งด้วยตัวเราเอง อนาคตเป็นสิ่งพิสูจน์)
เรามิอาจ คาดหวังอะไรได้ สิ่งที่เราทำได้มีแต่ทำในส่วนของเราให้ดีที่สุด ให้อยู่รอดได้ โดยมิต้องพึ่งพาใคร
จาก http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 98310.html
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 4
ในรอบ 5วัน ค่าเงินเยน อ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทนะครับ เหตุผลเพราะค่าเงินบาทเราแข็งค่ากลับมาเร็วมากครับ (ผมไม่อาจจะบอกได้ว่าเป็นเพราะการเก็งกำไรหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอ แต่แค่รู้ว่ามีการแทรกแซงหลายรอบมากๆครับ เพราะมีอะไรบ่งบอก
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 056-47.gif
ตัวเลขเศรษฐกิจ ทุกตัว มีผลกับค่าเงินหมดครับ รวมไปถึง fund flow ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ เรื่องexited home sale ของเดือนพฤศจิกายน แต่ตัวเลข home price ที่ลดลงก็มีความกังวลเล็กน้อยอยู่ครับ ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือน ตุลาคม รวมไปถึงตัวเลข consumer sentiment ที่ออกมาดีกว่าคาดหวัง
ซึ่งหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมา ก็ส่งผลให้ค่าเงิน USD แข็งค่ากลับมาได้เล็กน้อย ส่งผลให้ ค่าเงินเยน กับค่าเงินบาทเราอ่อนค่าลงหลังจาก ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจออกมา
สามารถดูได้ว่า USD อ่อนค่าลงด้วยตัวเองหรือเปล่าได้ที่เวป
http://charts3.barchart.com/chart.asp?v ... K&evnt=adv
นี้นะครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 056-47.gif
ตัวเลขเศรษฐกิจ ทุกตัว มีผลกับค่าเงินหมดครับ รวมไปถึง fund flow ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ เรื่องexited home sale ของเดือนพฤศจิกายน แต่ตัวเลข home price ที่ลดลงก็มีความกังวลเล็กน้อยอยู่ครับ ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือน ตุลาคม รวมไปถึงตัวเลข consumer sentiment ที่ออกมาดีกว่าคาดหวัง
ซึ่งหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมา ก็ส่งผลให้ค่าเงิน USD แข็งค่ากลับมาได้เล็กน้อย ส่งผลให้ ค่าเงินเยน กับค่าเงินบาทเราอ่อนค่าลงหลังจาก ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจออกมา
สามารถดูได้ว่า USD อ่อนค่าลงด้วยตัวเองหรือเปล่าได้ที่เวป
http://charts3.barchart.com/chart.asp?v ... K&evnt=adv
นี้นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 5
จริงๆแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจ สำคัญครับ ส่วนการคาดหวัง ก็เป็นการมองภาพรวมก่อน ยกตัวอย่างเช่น ก่อนอาทิตย์นี้ ก็มีการมองว่าค่าเงิน USD จะอ่อนลงไปมากเนื่องจากตัวเลข new home sale กับ exited home sale จะลดลง รวมไปถึง consumer sentiment รวมไปถึง PMI จะลดลง แต่ตัวเลขกลับออกมา เพิ่มขึ้น ทำให้ค่าเงิน USD ลดการอ่อนค่าลงไปได้บ้าง แต่ทิศทางค่าเงิน USD ยังเป็นช่วงขาลงต่อครับ
ส่วนออกมาตามคาด ก็ต้องมองดู outlook ต่อเนื่องครับ แล้วกำหนดทิศทางไป มีหลายครั้งครับ ที่ตัวเลขออกมาตามคาด แล้วค่าเงินจะมองรายละเอียดข้างในอีกทีครับ
ส่วนที่ผมได้บอกไปว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ก็แข็งค่าขึ้นนี่ครับ เมื่อเทียบกับเยน หรือว่าค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท งง เหมือนกัน หรือว่าผมผิดเอ่ย ถ้าผิดก็ขอโทษละกันครับ ผมแค่มือใหม่
ส่วนออกมาตามคาด ก็ต้องมองดู outlook ต่อเนื่องครับ แล้วกำหนดทิศทางไป มีหลายครั้งครับ ที่ตัวเลขออกมาตามคาด แล้วค่าเงินจะมองรายละเอียดข้างในอีกทีครับ
ส่วนที่ผมได้บอกไปว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ก็แข็งค่าขึ้นนี่ครับ เมื่อเทียบกับเยน หรือว่าค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท งง เหมือนกัน หรือว่าผมผิดเอ่ย ถ้าผิดก็ขอโทษละกันครับ ผมแค่มือใหม่
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 7
งั้นอยากคุยเพิ่มถึงว่า เราควรจะรับมือปัญหานี้ได้เช่นไรดีกว่า เพราะเรื่องนี้สำคัญที่สุด
ถ้าถึงขั้นนี้จะทำได้หรือไม่ กับการเพิ่มปริมาณเงินบาทขึ้น เพื่อแทรกแซงเงินดอลล่า แล้วนำเงินดอลล่าไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องอีก เพราะภาพก็เหมือน BOT เน้นที่จะแทรกแซงต่อเนื่องอยู่แล้ว
หรือว่าจะออกพันธบัตร แล้วไปแทรกแซงต่อ ซึ่งมันก็ไม่มีประโยชน์อันใด เพราะหนี้ที่ก่อมีแต่ขาดทุนไปเรื่อยๆ ซึ่งก็คงมีแต่พังเท่านั้น แถมคงออกพันธบัตรได้ยากขึ้น
หรือว่าจะออกพันธบัตร แต่มีต้นทุนสูงขึ้น แล้วนำมาพัฒนาประเทศ แล้วทำการแทรกแซงค่าเงินในตลาดที่ไม่มี liquidity อย่างที่ BOT สร้างไว้ เพื่อทรงค่าเงินบาทไว้
หรือว่าจะลดดอกเบี้ย อย่างที่หลายคนคิดไว้
หรือว่าจะ..... เช่นไรดี
ถ้าถึงขั้นนี้จะทำได้หรือไม่ กับการเพิ่มปริมาณเงินบาทขึ้น เพื่อแทรกแซงเงินดอลล่า แล้วนำเงินดอลล่าไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องอีก เพราะภาพก็เหมือน BOT เน้นที่จะแทรกแซงต่อเนื่องอยู่แล้ว
หรือว่าจะออกพันธบัตร แล้วไปแทรกแซงต่อ ซึ่งมันก็ไม่มีประโยชน์อันใด เพราะหนี้ที่ก่อมีแต่ขาดทุนไปเรื่อยๆ ซึ่งก็คงมีแต่พังเท่านั้น แถมคงออกพันธบัตรได้ยากขึ้น
หรือว่าจะออกพันธบัตร แต่มีต้นทุนสูงขึ้น แล้วนำมาพัฒนาประเทศ แล้วทำการแทรกแซงค่าเงินในตลาดที่ไม่มี liquidity อย่างที่ BOT สร้างไว้ เพื่อทรงค่าเงินบาทไว้
หรือว่าจะลดดอกเบี้ย อย่างที่หลายคนคิดไว้
หรือว่าจะ..... เช่นไรดี
- Muffin
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 0
ตอบคุณ J_Abac
โพสต์ที่ 9
อย่าลืมว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนในการก่อหนี้คือ เครดิต หรือความน่าเชื่อถือนะครับ เพราะอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของเงินกู้ ไม่ว่าจะระดับบริษัทหรือระดับประเทศ
ถามว่า การแก้ปัญหาด้วยการออกพันธบัตร เมื่อในเวลาที่เราสูญเสียความน่าเชื่อถือไปแล้ว ทำได้หรือไม่.... คงทำได้ แต่ก็ไม่รู้จะขายใครตอนนี้ก็ขายไม่ออกอยู่แล้ว ถ้าจะทำ..ต้นทุน (อัตราดอกเบี้ย) ก็ย่อมสูงกว่าตอนที่ประเทศมีความน่าเชื่อถือมากกว่านี้แน่นอนครับ
ถึงเพิ่มดอกเบี้ย ก็ไม่รู้เขาจะซื้อมั้ย (เขาคงจะไม่ซื้อ เพราะรู้ว่าเกมส์นี้อำนาจต่อรองอยู่ที่เขาอยู่แล้ว ...ดูสิไม่ง้อไม่ง้อต่างชาติ...ดูยังไงก็แค่ทิฐิของคนแค่ไม่กี่คน)
Good Bank บ้านเราคงหายาก แต่ Bad Bank ผมเจอแล้ว...
การแก้ปัญหาใดๆต้องคำนึงถึงสถานการณ์ทั้งก่อนหน้า และโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้หลังจากการกระทำใดๆให้ถูกต้องถ้วนที่ แล้วเลือกทางที่ Expected Outcome มีประโยชน์สูงสุดจาก given condition นะครับ
ถ้าตัดสินใจอะไรผิดไป ก็น่าจะทำอะไรคิดอะไรอย่างระมัดระวังหน่อยครับ แก้ผ้าเอาหน้ารอด...ไม่รอดแล้วครับ...
ทำอะไรก็ได้ ดีๆหน่อย ตอนนี้เวลานี้ผมไม่มีปัญญาคิดครับ...
ถ้ามันมีโอกาสดีขึ้นกว่านี้ ผมจะได้เอาซื้อเพิ่มสักที...ไม่งั้นหาทางเอาเงินออกจากประเทศไทยดีกว่า ...ถ้านักลงทุนคิดแบบผมหมด...ก็คงแย่ครับ ยังไงๆส่วนหนึ่งที่เราแย่ก็เพราะคนไทยด้วยกันเองทุกทีอยู่แล้ว
ถามว่า การแก้ปัญหาด้วยการออกพันธบัตร เมื่อในเวลาที่เราสูญเสียความน่าเชื่อถือไปแล้ว ทำได้หรือไม่.... คงทำได้ แต่ก็ไม่รู้จะขายใครตอนนี้ก็ขายไม่ออกอยู่แล้ว ถ้าจะทำ..ต้นทุน (อัตราดอกเบี้ย) ก็ย่อมสูงกว่าตอนที่ประเทศมีความน่าเชื่อถือมากกว่านี้แน่นอนครับ
ถึงเพิ่มดอกเบี้ย ก็ไม่รู้เขาจะซื้อมั้ย (เขาคงจะไม่ซื้อ เพราะรู้ว่าเกมส์นี้อำนาจต่อรองอยู่ที่เขาอยู่แล้ว ...ดูสิไม่ง้อไม่ง้อต่างชาติ...ดูยังไงก็แค่ทิฐิของคนแค่ไม่กี่คน)
Good Bank บ้านเราคงหายาก แต่ Bad Bank ผมเจอแล้ว...
การแก้ปัญหาใดๆต้องคำนึงถึงสถานการณ์ทั้งก่อนหน้า และโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้หลังจากการกระทำใดๆให้ถูกต้องถ้วนที่ แล้วเลือกทางที่ Expected Outcome มีประโยชน์สูงสุดจาก given condition นะครับ
ถ้าตัดสินใจอะไรผิดไป ก็น่าจะทำอะไรคิดอะไรอย่างระมัดระวังหน่อยครับ แก้ผ้าเอาหน้ารอด...ไม่รอดแล้วครับ...
ทำอะไรก็ได้ ดีๆหน่อย ตอนนี้เวลานี้ผมไม่มีปัญญาคิดครับ...
ถ้ามันมีโอกาสดีขึ้นกว่านี้ ผมจะได้เอาซื้อเพิ่มสักที...ไม่งั้นหาทางเอาเงินออกจากประเทศไทยดีกว่า ...ถ้านักลงทุนคิดแบบผมหมด...ก็คงแย่ครับ ยังไงๆส่วนหนึ่งที่เราแย่ก็เพราะคนไทยด้วยกันเองทุกทีอยู่แล้ว
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 10
นี่ถ้าบาทกลับมา 35 เหมือนเดิม ก็ถือว่าที่ผ่านมานักลงทุนในตลาดหุ้นตายฟรีนะครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 11
ไม่ค่อยเข้าใจหรอก ค่าเงินควรแข็งหรืออ่อน
อ่านมา ก็เลยแวะเอามาฝากค่ะ
http://www.drpunya.com/news.htm
อ่านมา ก็เลยแวะเอามาฝากค่ะ
http://www.drpunya.com/news.htm
30 ธค.49 .... ปัญหาที่แท้จริงของ ธปท.
เมื่อวันที่ 19 ธค.ที่ผ่านมา ธปท.เห็นว่า มีนักลงทุนต่างชาติพยายามเข้ามาปั่นราคาเงินบาท จึงได้ออกมาตรการให้กักเงินนำเข้าจากต่างประเทศไว้ 30% ซึ่งมีผลทำให้ตลาดหุ้นแทบพัง และมาจนถึงวันนี้ ธปท.ก็ยังยืนยันว่ามีคนจ้องจะโจมตีจริงๆ โดยจะดันอัตราแลกเปลี่ยนไปจนถึง 29-30 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
ครับ, ผมจะยังไม่ขอวิจารณ์เรื่องข่าวดังกล่าว แต่จะขอชี้ถึงข้อมูลอีกด้านหนึ่ง
ข้อมูลที่ผมมองเห็นก็คือ ในประวัติศาสตร์ของไทยที่ผ่านมา ดุลชำระเงินของเราเป็นบวก แต่ปีนี้เรากลับเสียดุลไปกว่า 300,000 ล้านบาท นี่เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น และเงินกว่า 300,000 ล้านบาทนั้นมันเป็นก้อนมหึมา มันเทียบกับการส่งออก(1,500,000 ล้านบาท)แล้ว เป็นถึง 20 เปอร์เซนต์
เรื่องนี้ ถ้ามองดูประเทศให้เหมือนตัวบุคคล มันก็คือคนที่ใช้จ่ายเกินตัวไปถึง 20 เปอร์เซนต์ของรายได้ คนอย่างนี้มันไม่น่าจะมีชื่อเสียง หรือเป็นที่เชื่อถือของใครได้ ถ้าคิดจะไปกู้เงินใครมาใช้ มันก็จะไม่มีใครให้กู้
ครับ, คำถามของผมก็คือ ปีนี้ประเทศไทยใช้เงินเกินตัว ค่าของเงินบาทจึงน่าจะลดลง แล้วทำไมต่างชาติจึงคิดจะดันค่าเงินบาทให้เพิ่มขึ้น?
หรือจะถามอีกทางหนึ่งก็คือ ต่างชาตินี่มันบ้าหรือเปล่า ที่พยายามกระทำในสิ่งที่สวนทางกับข้อมูลที่ผมชี้? โอกาสที่มันจะปั่นราคาเงินบาทขึ้นไปจนถึง 29-30 บาทต่อดอลล่าร์นั้นจะมีสักเท่าใด?
ครับ, ต่างชาตินั้นไม่บ้าแน่นอน และเขารู้ว่าเขามีโอกาสปั่นได้ แต่อาจเป็นคนละทิศทาง
เหตุผลก็คือ เมืองไทยกำลังเข้าสู่วิกฤติเป็นครั้งที่สอง ถ้าเขาทำท่าบีบให้อัตราแลกเปลื่ยนลดลงจากปัจจุบัน แล้วไทยก็เอาเงินดอลล่าร์ออกไปซื้อบาทอยู่อย่างนี้ ปีหน้าการขาดดุลชำระเงินจะเพิ่มขึ้น มันขาดดุลเพิ่มเพราะเราจะส่งออกไม่ได้
สมมุติว่า ปีหน้า(2550) ขาดดุลอีก 500,000 ล้านบาท ไทยก็ต้องกู้ต่างชาติอีกมากมาย
ถึงตอนนั้นกระแสน้ำก็ก็จะใหลทวนกลับ อัตราแลกเปลี่ยนจะไต่ขึ้นเป็น 35,36,37,....50 แล้วไทยก็จะขาดทุนจากการเอาเงินดอลล่าร์ไปซื้อเงินบาทเป็นแสนล้านบาท
นั่นละที่ต่างชาติเขาเก็งกันมากกว่า
ครับ, จริงๆแล้ว ธปท.ควรจะหันมาดูเรื่องขาดดุลชำระเงินมากกว่า มันเป็นปัญหาที่แท้จริง และใหญ่กว่ามาก ธปท.ไม่จำเป็นที่จะไปออกมาตรการอะไรเลย เงินบาทมันต้องลดค่าอยู่แล้ว
หลงกลต่างชาติคราวนี้ สงสัยว่าจะขาดทุนอีกหลายแสนล้าน
...............