TFM

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

TFM

โพสต์ที่ 1

โพสต์

*TU จะนำบ.ย่อย "ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์"เข้าตลาดหุ้น เตรียมขาย IPO จากหุ้นเพิ่มทุน-หุ้นของบริษัท
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)

Tuesday, March 26, 2019 17:47


สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 มี.ค. 62)--บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) แจ้งว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทวันนี้ (26 มี.ค.) อนุมัติแผนการนำหุ้นของบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (TFM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) โดยจะดำเนินการให้มีการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน รวมทั้งหุ้นสามัญเดิมใน TFM ที่เสนอขายโดยบริษัทให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) (แผนการเข้าจดทะเบียนของ TFM)
ทั้งนี้ ตามแผนการเข้าจดทะเบียนดังกล่าว TFM จะเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 820 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 พันล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้น และเสนอขายหุ้นสามัญเดิมของ TFM ที่บริษัทถืออยู่จำนวนไม่เกิน 19.3 ล้านหุ้น เสนอขาย IPO ซึ่งภายหลังการขายหุ้น TFM ในส่วนที่บริษัทถืออยู่ครั้งนี้จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน TFM ลดลงเหลือ 51% จากเดิม 66.90%
สำหรับแผนการเข้าจดทะเบียนของ TFM จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้อนุญาตให้มีการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นสามัญเดิมของ TFM ที่บริษัทถืออยู่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก รวมทั้งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และหนังสือชี้ชวนสำหรับการดำเนินการดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับหุ้นสามัญของ TFM เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว โดยการตัดสินใจในการเข้าทำรายการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาวะตลาด ปริมาณความต้องการลงทุนในขณะนั้นอีกด้วย
ปัจจุบัน TFM มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 820 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 82 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 10 บาท ซึ่งตามแผนการเข้าจดทะเบียน TFM จะแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจากัด พร้อมกับเปลี่ยนแปลงพาร์จากหุ้นละ 10 บาท เป็น 2 บาท และจะเพิ่มทุนจดทะเบียน จากเดิม 820 ล้านบาท เป็น 1 พันล้านบาท
การนำหุ้น TFM เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะเป็นการลดภาระของบริษัทในการสนับสนุนด้านเงินทุนหรือการช่วยเหลือทางการเงินในระยะยาวแก่ TFM และจะมีการแยกโครงสร้างธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารจัดการ การขยายธุรกิจผลิต และการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตของธุรกิจการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดย TFM จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ขยายธุรกิจและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ

--อินโฟเควสท์ โดย วิลาวัลย์ พงษ์พิทักษ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 2

โพสต์

TU มั่นใจรายได้ปีนี้โต 5% ตามการเติบโตธุรกิจหลัก-เน้นการทำกำไร, คาดยื่นไฟลิ่ง TFM กลางปีนี้เข้าตลาดหุ้นปีนี้

--อินโฟเควสท์ โดย พชรธร ภูมิคำ/เสาวลักษณ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 5 เมษายน 2562 17:37:30 น.
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) เปิดเผยว่า บริษัทคาดรายได้ในปี 62 จะเติบโต 5% จากปีก่อน เป็นไปตามการเติบโตของธุรกิจเดิมทั้งในกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง แช่เย็น และสินค้าที่เกี่ยวข้อง จากการเพิ่มปริมาณการขายให้มากขึ้น โดยปี 61 มีกลุ่มอาหารทะเลแปรรูปมียอดขาย 62,263 ล้านบาท และกลุ่มอาหารทะเลแช่แข็งฯ มียอดขาย 52,793 ล้านบาท อีกทั้งจะเติบโตจากการจัดตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food Service) และหน่วยธุรกิจ Ingredients จากการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ และเปิดตลาดใหม่

ขณะที่บริษัทจะเน้นการทำกำไรมากขึ้น โดยคาดว่าอัตราการทำกำไรในปี 62 จะปรับตัวดีขึ้นจากการควบคุมต้นทุนในการดำเนินงานในทุกภาคส่วน และการฟื้นตัวของธุรกิจล็อบสเตอร์ในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งการลงทุนในบริษัท อะแวนติ โฟเซ่น ฟู้ด หรือธุรกิจอาหารกุ้ง และผลิตภัณฑ์อาหารกุ้งในประเทศอินเดียก็มีการเติบโตอย่างมาก

รวมถึงบริษัทจะมุ่งเน้นธุรกิจทูน่าออยล์ที่เยอรมนี ซึ่งเพิ่งเริ่มเดินเครื่องผลิตไปเมื่อต้นปีนี้ โดยธุรกิจดังกล่าวมีมาร์จิ้นสูงมาก น่าจะเป็นอีกปัจจัยหลักในการผลักดันการทำกำไร ขณะที่ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปิดกิจการธุรกิจแซลมอนแช่เย็นในประเทศสก็อตแลนด์ เนื่องจากประสบผลการดำเนินงานขาดทุน ซึ่งจะส่งผลต่ออัตรากำไรธุรกิจแซลมอนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย

นายธีรพงษ์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้บริษัทฯ จะไม่มีการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพิเศษแล้ว หลังจากปีก่อนตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพิเศษทางกฎหมาย คิดเป็นมูลค่า 44 ล้านเหรียญฯ เพื่อชดเชยกับร้านค้าปลีก Walmart ภายใต้คดีต่อต้านการผูกขาด (Antitrust) และคดีอื่นๆ โดยความคืบหน้าของคดีดังกล่าวปัจจุบันยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากต้องใช้เวลาในการต่อรองกับคู่คดี เชื่อว่าภายในปีนี้คดีจะสิ้นสุดลง

"ในปีนี้เราเชื่อว่าการดำเนินงานมีแนวโน้มดีมากขึ้นจากปีก่อน แต่ยังคงเผชิญกับสภาวะตลาดของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงอยู่ ส่วนปัจจัยค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่า คงไม่ส่งผลดีต่อการส่งออก แต่เราก็มีการบริหารทางการเงินในระดับที่ดี ดูได้จากที่ผ่านมา เรามีการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนทุกปี อย่างไรก็ตามเราจะพยายามมองข้ามในปัจจัยนี้ โดยจะหันมามุ่งเน้นการออกสินค้าที่มีกำไรสูงแทน

นายธีรพงษ์ กล่าวว่า บริษัทจะมุ่งให้ความสำคัญกับการเจรจากับคู่ค้าและปรับราคาเพื่อสะท้อนต้นทุนการผลิต ควบคุมต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการบริหารและการขายเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน, ระมัดระวังในการเข้าซื้อกิจการ โดยมองการลงทุนเล็กๆ มากกว่าการซื้อกิจการขนาดใหญ่, มุ่งขยายตลาดในตลาดใหม่ๆ และใช้แบรนด์ระดับโลกของไทยยูเนี่ยน โดยเฉพาะในตลาดจีน, การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ Ingredients เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบที่เหลือใช้จากการผลิต

บริษัทยังคงเป้างบลงทุนปีนี้ไว้ที่จำนวน 4,800 ล้านบาท โดยจะเน้นการลงทุนในด้านเครื่องจักรและปรับปรุงอาคาร รวมถึงลงทุนในธุรกิจอาหารกุ้งในประเทศอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามแผนการซื้อกิจการ (M&A) ในขณะนี้ยังไม่เห็นความชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีธุรกิจที่น่าสนใจ ซึ่งบริษัทฯ จะมุ่งเน้นการทำธุรกิจหลักให้มีกำไรมากขึ้นไปก่อน

สำหรับแผนการนำบริษัทย่อย บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (TFM) ที่ TU ถือหุ้น 66.9% เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำเงินไปขยายธุรกิจในอนาคตนั้น คาดว่าจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะการรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ในช่วงกลางปีนี้ และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ในช่วงปลายปี 62 โดยมี บล.บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

พร้อมกันนี้ ยังมองนโยบายของพรรการเมืองบางพรรคที่หาเสียงว่าจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/วันว่า จะส่งผลให้คนต้องออกจากงานสูงขึ้น เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ภาคการผลิตการลงทุนเครื่องมือเครื่องจักรมากขึ้นเพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ทยอยปรับลดพนักงานไปแล้วราว 1,000 คน และยังจะปรับลดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนได้ว่าบริษัทดูเรื่องต้นทุนอย่างใกล้ชิด
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 3

โพสต์

*"ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์"ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 109.30 ล้านหุ้น เข้า SET ใช้ขยายธุรกิจ-คืนเงินกู้-เป็นเงินทุนหมุนเวียน
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)

Wednesday, September 25, 2019 10:44


สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ก.ย. 62)--บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ ยื่นไฟลิ่ง Filing version แรก เมื่อวันที่ 24 ก.ย.2562 เนื่องจากบริษัทฯต้องการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 109.30 ล้านหุ้นคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน ร้อยละ 21.86 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรกนี้ โดยเป็นหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทเสนอขายจำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้น และเป็นหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) จำนวนไม่เกิน 19.30 ล้านหุ้น ทั้งนี้บริษัทฯมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีบล.บัวหลวงเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ออกและเสนอขายหลักทรัพย์กับกลุ่มที่ปรึกษาทางการเงิน และ/หรือกลุ่มผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯ มีวงเงินกู้ยืมกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.9 ของบล.บัวหลวง ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายของบริษัทฯ โดยแบ่งเป็นประเภท วงเงินกู้ยืมระยะสั้นรวมจำนวน 150.0 ล้านบาท และวงเงิน Forward Contract รวมจำนวน 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯ มียอดเงินซื้อ Forward Contract คงค้าง 0.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้การขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียและประเทศอื่นที่มีศักยภาพ รวมถึงใช้ชำระคืนเงินกู้ยืม และเป็นเงินทุนหมุนเวียน
บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำชั้นนำของประเทศไทย โดยบริษัทฯ มีปริมาณการขายอาหารปลากะพงคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 49 ของปริมาณการขายอาหารปลากะพงในประเทศไทย มีปริมาณการขายอาหารกุ้ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ของปริมาณการขายอาหารกุ้งในประเทศไทย และปริมาณการขายอาหารปลาของบริษัทฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณการขายอาหารปลาในประเทศไทย อันเป็นผลมาจากการมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีความสม่ำเสมอ รวมถึงมีความหลากหลายและสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม รวมถึงมีราคาที่แข่งขันได้
ทั้งนี้ การขายเกือบทั้งหมดของบริษัทฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 95 ของรายได้จากการขายในปี 2559 - 2561 เป็นการผลิตและจำหน่ายภายใต้แบรนด์สินค้าของบริษัทฯ ซึ่งมีแบรนด์สินค้าหลัก ได้แก่ โปรฟีด (PROFEED) เอฟซีอาร์ (FCR) นานามิ (NANAMI) อีโก้ฟีด (EGOFEED) แอคควาฟีด (AQUAFEED) กบทอง และดี-โกรว์ (D-GROW) เป็นต้น และการจำหน่ายสินค้าในสัดส่วนที่เหลือ ประมาณร้อยละ 5 ของรายได้จากการขายในปี 2559 - 2561 เป็นการผลิตและจำหน่ายภายใต้แบรนด์สินค้าของผู้อื่น (OEM)
บริษัทฯ มีกลุ่มลูกค้าหลัก คือ กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ และเจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากโดยทั่วไป การแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารกุ้งและอาหารปลาเป็นการแข่งขันภายในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้บริษัทฯ มีฐานลูกค้าสำคัญเป็นกลุ่มลูกค้าในประเทศ และเป็นลูกค้าโดยตรง (Direct Sale) ทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 91-94 ของรายได้จากการขายรวมของบริษัทฯ ในปี 2559 – 2561 ในขณะที่รายได้สัดส่วนที่เหลือ ประมาณร้อยละ 6-9 ของรายได้จากการขายรวมของบริษัทฯ ในปี 2559 – 2561 เป็นรายได้จากการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย และศรีลังกา เป็นหลัก ซึ่งมีทั้งในกรณีที่บริษัทฯ ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยตรง (Direct Sale) และขายผ่านร้านค้าจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี 2562 บริษัทฯ ยังได้มีการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์บก ซึ่งได้แก่ อาหารไก่ อาหารเป็ด และอาหารสุกร เป็นต้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ ในขณะเดียวกันยังเป็นการช่วยเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization Rate) ของเครื่องจักรที่มีอยู่ซึ่งใช้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ โดยปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้สามารถผลิตอาหารสัตว์บกได้ด้วยเงินลงทุนที่ไม่สูงมาก
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตอาหารสัตว์รวมเท่ากับ 312,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น กำลังการผลิตอาหารกุ้ง 210,000 ตันต่อปี กำลังการผลิตอาหารปลา 72,000 ตันต่อปี และกำลังการผลิตอาหารสัตว์บก 30,000 ตันต่อปี
งบการเงินรวมของบริษัทฯสำหรับงวด 6 เดือน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯมีสินทรัพย์รวม 2,246.2 ล้านบาท หนี้สินรวม 610.7 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 1,635.5 ล้านบาท โดยบริษัทฯมีรายได้รวม 2,538.4 ล้านบาท ต้นทุนขาย 1,878.9 ล้านบาท กำไรสุทธิ 509.3 ล้านบาท
บริษัทฯ มีกำไรเบ็ดเสร็จรวม เท่ากับ 566.2 ล้านบาท 125.2 ล้านบาท และ 402.5 ล้านบาท ในปี 2559 2560 และ 2561 ตามลำดับ และบริษัทฯ มีกำไรเบ็ดเสร็จรวม เท่ากับ 188.4 ล้านบาท และ 517.7 ล้านบาท ในงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 และ 2562 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงของกำไรเบ็ดเสร็จโดยหลักมาจากผลขาดทุนที่เกี่ยวเนื่องกับเงินลงทุนในการร่วมค้า (TMAC) ซึ่งบริษัทฯ ได้จำหน่ายออกไปในระหว่างปี 2561 สำหรับการลดลงของกำไรเบ็ดเสร็จรวมของบริษัทฯ ในปี 2560 เป็นผลมาจากการตั้งค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนใน TMAC จำนวน 472.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดเพียงครั้งเดียว (One-time Expense) และการเพิ่มขึ้นของกำไรเบ็ดเสร็จรวมของบริษัทฯ ในปี 2561 เป็นผลมาจากการที่บริษัทฯ ไม่มีค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนใน TMAC
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุนใน TMAC จำนวน 116.9 ล้านบาท ในปีดังกล่าว ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของกำไรเบ็ดเสร็จรวม จาก 188.4 ล้านบาท ในงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 เป็น 517.7 ล้านบาท ในงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เป็นผลมาจาก (1) กำไรจากการจำหน่ายที่ดินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักในการดำเนินงาน (Non-core Operating Asset) (หลังค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้) จำนวน 230.2 ล้านบาท และ (2) การเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายและอัตรากำไรสุทธิที่สูงขึ้น โดยหลักเป็นไปตามการเพิ่มขึ้นของกำไรขั้นต้น และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โครงการในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องและบรรลุถึงเป้าหมายของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ โดยบริษัทฯ มีแผนการลงทุนในช่วงปี 2562 – 2563 ดังนี้ การขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซีย บริษัทฯ ได้เข้าทำความร่วมมือทางการค้ากับพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่ม PT MSK ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปอาหารแช่แข็งรายใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย และ (2) กลุ่ม AVANTI ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินเดีย เพื่อลงทุนและจัดตั้ง TUKL ขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียดังกล่าว โดยบริษัทฯ PT MSK และกลุ่ม AVANTI (ถือหุ้นผ่าน AVANTI และ Srinivasa) มีสัดส่วนการถือหุ้นใน TUKL เท่ากับร้อยละ 65.0 ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 10.0 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ TUKL ตามลำดับ ส่งผลให้ TUKL ถือเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยภายในปี 2563 การดำเนินธุรกิจ TUKL จะมุ่งเน้นในการผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้งเป็นหลัก
ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่า TUKL จะต้องใช้เงินลงทุนในช่วงแรกสำหรับการผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้ง รวมประมาณ 20.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 633.8 ล้านบาท
ปัจจุบัน TUKL ได้มีการจัดซื้อที่ดินซึ่งจะใช้เป็นที่ตั้งของโรงงานแล้วบางส่วน และอยู่ระหว่างการเตรียมงานสำหรับการก่อสร้างอาคารโรงงาน และได้เริ่มเข้าปรับพื้นที่ถมที่ดินในเดือนกรกฎาคม 2562 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จและสามารถเริ่มการผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้งได้ภายในปี 2563 โดยในระหว่างการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร TUKL จะทดลองตลาดโดยการนำเข้าอาหารกุ้งที่ผลิตโดยโรงงานของบริษัทฯ ในประเทศไทยเพื่อไปจำหน่ายและทำการตลาดในประเทศอินโดนีเซียเป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้ ในปัจจุบัน TUKL อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตการนำเข้าสินค้าและคาดว่าจะนำเข้าสินค้าเพื่อไปจำหน่ายได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2563
นอกจากนี้ ยังมีแผนการขยายกำลังการผลิตอาหารสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอาหารปลา โดยบริษัทฯ มีแผนขยายกำลังการผลิตอาหารปลาเพื่อขายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ เนื่องมาจากในปัจจุบัน ความต้องการอาหารปลาของลูกค้าบริษัทฯ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารปลากะพงยักษ์ ซึ่งเป็นผลมาจากที่บริษัทฯ ได้ค้นคว้า วิจัย และพัฒนา เพื่อพัฒนาอาหารปลาให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสามารถใช้อาหารเม็ดในการเลี้ยงเพื่อทดแทนการใช้เหยื่อสด เช่น ปลาสด หรือปลาเป็ด (Trash fish) ซึ่งอาหารเหยื่อสดค่อนข้างมีข้อจำกัดทั้งในด้านปริมาณ และไม่สามารถควบคุมความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปลากะพงที่กินอาหารเหยื่อสดเหล่านั้น
ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะตอบสนองความต้องการของเกษตรกร จึงมีแผนขยายกำลังการผลิตอาหารปลาเพิ่มขึ้น อีก 1 สายการผลิต ภายในปี 2563 เพื่อให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 18,000 ตัน ต่อปี โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท การขยายกำลังการผลิตดังกล่าวจะมีส่วนช่วยรองรับปริมาณความต้องการอาหารปลาที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ในอนาคต
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 1,000,000,000 บาท โดยเป็นทุนที่เรียกชำระแล้วทั้งสิ้น 820,000,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 410,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของ TU และบริษัทฯ และประชาชน ในครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วทั้งสิ้น ไม่เกิน 1,000,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวนไม่เกิน 500,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท
โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันที่ 30 มิ.ย.2562 ประกอบด้วย บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ถือหุ้น 274,300,075 หุ้น คิดเป็น ร้อยละ 66.9หลังเสนอขาย IPO จะถือหุ้น 255,000,075 หุ้นคิดเป็นร้อยละ 51 , กลุ่มนายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ถือหุ้น 63,437,300 หุ้น คิดเป็น ร้อยละ 15.5 หลังเสนอขาย IPO จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือร้อยละ 12.7
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 50.0 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม หลังจากการหักทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามข้อบังคับของบริษัทฯ และตามกฎหมายแล้ว

--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/วิลาวัลย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 4

โพสต์

'ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์'เตรียมขายไอพีโอ109.30 ล้านหุ้น หวังนำเงินขยายธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (Th)

Wednesday, September 25, 2019 12:48

-->
ข้อมูลแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ระบุ บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) ยื่นไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ( IPO) จำนวนไม่เกิน 109.30 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)หุ้นละ 2 บาท หรือ คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน ร้อยละ 21.86 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรกนี้ แบ่งเป็น หุ้นสามัญเพิ่มทุน ไม่เกิน 90 ล้านหุ้น และเป็นหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือ TU จำนวนไม่เกิน 19.30 ล้านหุ้น โดยจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( SET) ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์(บล.)บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นครั้งนี้บริษัทจะนำไป ขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียและประเทศอื่นที่มีศักยภาพ รวมถึงใช้ชำระคืนเงินกู้ยืม และเป็นเงินทุนหมุนเวียน
บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำชั้นนำของประเทศไทย โดยบริษัทฯ มีปริมาณการขายอาหารปลากะพงคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 49 ของปริมาณการขายอาหารปลากะพงในประเทศไทย มีปริมาณการขายอาหารกุ้ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ของปริมาณการขายอาหารกุ้งในประเทศไทย และปริมาณการขายอาหารปลาของบริษัทฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณการขายอาหารปลาในประเทศไทย
สำหรับ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตอาหารสัตว์รวมเท่ากับ 312,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น กำลังการผลิตอาหารกุ้ง 210,000 ตันต่อปี กำลังการผลิตอาหารปลา 72,000 ตันต่อปี และกำลังการผลิตอาหารสัตว์บก 30,000 ตันต่อปี มีผลประกอบการงวด 6 เดือน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีรายได้รวม 2,538.4 ล้านบาท กำไรสุทธิ 509.3 ล้านบาท
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันที่ 30 มิ.ย.2562 ประกอบด้วย 1. TU ถือหุ้น274.3 ล้านหุ้น คิดเป็น ร้อยละ 66.9หลังเสนอขาย IPO จะถือหุ้น 255 ล้านหุ้นคิดเป็นร้อยละ 51 , กลุ่มนายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ถือหุ้น 63.43 ล้านหุ้น คิดเป็น ร้อยละ 15.5 หลังเสนอขาย IPO จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือร้อยละ 12.7
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 50.0 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม หลังจากการหักทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามข้อบังคับของบริษัทฯ และตามกฎหมายแล้ว

ที่มา: www.bangkokbiznews.com
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 5

โพสต์

TFM : บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ อาหารสัตว์น้ำ ได้แก่ อาหารกุ้ง และอาหารปลา
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร / ธุรกิจการเกษตร
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
ไม่เกิน 109,300,000 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 21.86% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO) ประกอบด้วย
หุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 90,000,000 หุ้น
หุ้นสามัญเดิม โดยบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 19,300,000 หุ้น

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
2.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

ข้อมูล Filing
www.thaiunionfeedmill.com
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 6

โพสต์

https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... 40&lang=th

หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : 24/09/2562
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท หลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) / นางสาว ณิชา เตชัสอนันต์
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 7

โพสต์

TU เผย "ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์" เตรียม IPO ภายในปี 63 พร้อมวางแผนเติบโตในตปท.มากขึ้น




ข่าวหุ้น-การเงิน 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 13:06 น. —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) แจ้งว่าบมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ (TFM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยนั้น เตรียมที่จะเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ภายในปี 63 โดยปัจจุบันได้ยื่น IPO Filing ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) แล้ว โดยบริษัทเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่รายงานการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 4.8% ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีความสามารถในการทำกำไรที่ดีและจำหน่ายอาหารสัตว์คุณภาพสูง มีสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่อาหารสัตว์น้ำไปจนถึงสัตว์บก โดยมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริษัทได้ค้นคว้าและเปิดตัว FeedKind ที่เป็นโปรตีนทางเลือกสำหรับอาหารกุ้งด้วย ทั้งนี้ บริษัทมีแผนเติบโตในต่างประเทศโดยลงทุนในประเทศอินโดนีเซียร่วมกับบริษัทผลิตอาหารแช่แข็งชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย PT MSK และผู้ผลิตอาหารกุ้งชั้นนำจากอินเดีย Avanti Feed โดยมีแผนจะเริ่มการผลิตในช่วงปลายปี 63

นอกจากนี้การประชุมคณะกรรมการ TU ในวันนี้ (5 พ.ย.) อนุมัติให้ TU เข้าลงทุนเพิ่มเติม 39.9% ในบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด (TSR) จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ราว 25% โดยบริษัทกำหนดมูลค่าซื้อหุ้นของบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด มูลค่า 120.75 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนเพิ่มเติมครั้งนี้จะทำให้ TU สามารถจำหน่ายสินค้าแช่แข็งแบรนด์ Qfresh ภายใต้ธุรกิจของ TSR ,ช่วยลดเวลาในการเข้าถึงตลาดค้าปลีกด้วยแบรนด์ Qfresh และ TU สามารถเพิ่มยอดขายโดยเฉพาะแซลมอน ด้วยการจำหน่ายให้กับ TSR

บริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด เป็นผู้จัดหาและนำเข้าอาหารทะเลประเภทแช่แข็งและรมควันเพื่อการค้าปลีกในประเทศไทย ผ่านช่องทางเคานเตอร์อาหารทะเลในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ และประกอบกิจการร้านอาหารทะเล TSR ดำเนินการธุรกิจภายใต้ 158 แห่งทั่วประเทศไทย และ 8 ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 8

โพสต์

TU จะนำ" ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์" เข้าตลาดหุ้น ขาย IPO 109.3 ล้านหุ้น

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแผนการนำหุ้นของบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFM ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 109.30 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้นและหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 19.3 ล้านหุ้น

ทั้งนี้ หากแผนการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ TFM และการเสนอขายหุ้นสามัญเดิม สำเร็จ จะส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใน TFM ลดลงจากเดิมถือหุ้น 66.9% จะลดเหลือ 51% ซึ่งแผนการเข้าจดทะเบียนของ TFM จะเกิดขึ้น ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุญาตให้มีการออกและเสนอขายหุ้น รวมทั้งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนสำหรับการดำเนินการดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว โดยการตัดสินใจในการเข้าทำรายการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาวะตลาด ปริมาณความต้องการลงทุนในขณะนั้นอีกด้วย

สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุน TFM จะนำไปใช้ในการขยายธุรกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ

ขณะที่ TU จะได้รับประโยชนย์จากการนำ TFM เข้าจดทะเบียน จะทำให้ลดภาระของบริษัทในการสนับสนุนด้านเงินทุนหรือการช่วยเหลือทางการเงินในระยะยาวแก่ TFM เนื่องจาก TFM จะสามารถระดมทุนได้เองผ่านการเสนอขายหุ้น IPO , บริษัทจะมีการแยกโครงสร้างธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารจัดการ การขยายธุรกิจผลิต และการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตของธุรกิจการผลิต และจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น, ราคาหุ้นของบริษัทจะสะท้อนมูลค่าเงินลงทุนใน TFM ได้มากขึ้น เนื่องจากมีราคาตลาดอ้างอิงสำหรับหุ้น TFM และบริษัทจะได้รับเงินจากการเสนอขายหุ้นสามัญเดิมของ TFM
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 9

โพสต์

TFM ยื่นไฟลิ่งขายไอพีโอ 109.30 ล้านหุ้น รุกขยายธุรกิจผลิต-ขายอาหารสัตว์น้ำอินโดฯ-ปากีสถาน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFM ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 109,300,000 หุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน 90,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) 19,300,000 หุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 21.86% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้ และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) โดยมี บล.บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

โดยบริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งได้แก่ อาหารกุ้ง อาหารปลา และอาหารสัตว์บก มีวัตถุประสงค์การระดมทุนครั้งนี้ เพื่อการขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียและปากีสถาน ชำระคืนเงินกู้ยืม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: TFM

โพสต์ที่ 10

โพสต์

TU ดัน"ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์"เข้า SET ขาย IPO ไม่เกิน 109.30 ล้านหุ้น

บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นย่อยของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) หรือ TU จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 109.30 ล้านหุ้น ซึ่งได้แต่งตั้งให้บล.บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย



บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่อาหารกุ้ง อาหารปลา และอาหารสัตว์บกได้ยื่่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 109.30 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทจำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่ TU นำออกมาเสนอขายจำนวนไม่เกิน 19.30 ล้านหุ้น โดยหุ้น IPO ทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 21.86% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้น IPO



สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุน บริษัทมีแผนที่จะนำไปขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซีย และปากีสถาน, นำไปชำระคืนเงินกู้ยืม และที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน



โครงสร้างผู้ถือหุ้น จะมี TU ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 66.9% ภายหลังการขายหุ้น IPO สัดส่วนจะลดเหลือ 51.0% รองลงมาได้แก่กลุ่มนายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ถือหุ้น 15.5% ภายหลัง IPO จะถือหุ้น 12.7% ที่เหลือจะเป็นนักลงทุนรายบุคคลอีก 7 ราย
โพสต์โพสต์