คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
วัวแดง
Verified User
โพสต์: 1429
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ทำไม bgh bh ถึงได้รับความนิยมขนาดนั้น..........

ผมชักสนใจ อีกตัวหนึ่งแล้วซิ(ไม่ใช่สองตัวนี้นะ) ไม่รู้ว่าจะทันเค้ามั้ย :D
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คิดว่าเป็นผู้ถือหุ้นนะพอไหว(ผมไม่มีนะ กลัวไปcompany visit แล้วเจอผีง่ะ)
กึ๋ยกึ๋ย

แต่ถ้าให้เป็นลูกค้า ก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไร
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
bennn
Verified User
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมเพิ่งกลุ่มนี้ขายไปตัวนึงครับ เก็บมาปลายปีที่แล้ว ได้กำไรพอสมควรเลย
ตอนนั้นแบบนิ่งๆไม่มีใครสนใจ

แต่ละตัวโอกาสโตไม่เหมือนกันน่ะครับ ดูคู่แข่งในละแวกใกล้เคียงของเค้าด้วย

อย่าง bgh ยอดขายโตได้อีกเยอะนะครับแต่ราคาหุ้นตอนนี้ผมไม่แน่ใจ
เพิ่งเล่นรอบซื้อ-ขายไปเหมือนกัน(ซื้อเพราะเห็นผู้บริหารเก็บเยอะ)
bennn
Verified User
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

bennn เขียน:ผมเพิ่งกลุ่มนี้ขายไปตัวนึงครับ
ผมเพิ่งขายกลุ่มนี้ไปตัวนึงครับ

โทดทีครับพิมพ์ผิด สงสัยนอนน้อยไป..
wisut
Verified User
โพสต์: 470
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

GOOD   STOCK
BUT   OVER  PRICE
NO  MARGIN  OF  SAFETY :lol:  :lol:  :lol:  :lol:
Jho_Jho
Verified User
โพสต์: 56
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ประเด็นนี้ได้มีการตั้งขึ้นมาบ่อยๆ ในช่วงหลัง
ก็ขอแสดงความเห็นอย่างง่ายๆ ครับ

อุตสาหกรรมนี้โดยรวมเติบโตประมาณปีละ 10% โดยกลุ่ม รพ. เอกชนที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับบน จะโตได้มากกว่าค่าเฉลี่ยอยู่พอสมควร
แพทย์จะขาดแคลนอยู่บ้างที่ รพ. ของรัฐ ส่วน รพ.เอกชนกลับไม่มีปัญหาตรงนี้
ส่วน รพ. เอกชน ที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระดับกลาง, กลาง ถึง ล่าง โดยรวมจะมีการเติบโตน้อยกว่า ลดตามระดับกันลงมา
แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้างครับ เร็วๆนี้ รพ.หนึ่ง งบออกมาสวย ราคาหุ้นก็วิ่งกันใหญ่ครับ อันเกิดจากควบคุมต้นทุน เช่น การไปกดค่าตอบแทนแพทย์,  ของที่ใช้แล้วกับคนไข้กลุ่มที่จ่ายตังเองบางส่วนก็ไปอบฆ่าเชื้อแล้วนำไปใช้กับคนไข้กลุ่ม 30 บาท ทำให้เกิดการประหยัด...
pk8
Verified User
โพสต์: 480
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[quote="Jho_Jho"] รพ.หนึ่ง งบออกมาสวย ราคาหุ้นก็วิ่งกันใหญ่ครับ อันเกิดจากควบคุมต้นทุน เช่น การไปกดค่าตอบแทนแพทย์,
Jho_Jho
Verified User
โพสต์: 56
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คุณ pk8 คงเดาออกว่าตัวอย่างที่ยกมาเป็นที่ใหน

ค่าตอบแทนแพทย์ ใน case ปกติ ก็ จ่ายตามปกติ ส่วนของกลุ่มที่ว่านั้น จะต่ำกว่าประมาณ 60% ครับ แต่ก็ได้ปริมาณมาก (มีคนไข้มาก)
ส่วนเรื่องวัสดุ ที่นำมาใช้  จริงๆ พวกเราหลายท่านรู้ หรือไม่ก็พอมองออกอยู่แล้วว่าในทางธุรกิจ จะทำอย่างไรให้อยู่รอด, มีกำไรได้

และขออนุญาตที่จะไม่ให้ความเห็นต่อจากนี้ครับ
iambuffet
Verified User
โพสต์: 337
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

น่าลงทุนครับ
คนไทยป่วยกันเยอะขึ้น
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

มีหมอหลายท่านที่พูดทำนองนี้นะครับ กรณี KH
คงแล้วแต่ว่าเราอยู่ในฐานะอะไร

ถ้าเป็นหมอ ก็คงไม่ชอบ
ถ้าเป็นผู้ถือหุ้น คงชอบถ้ามีผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างนี้
ถ้าเป็นคนใข้ 30 บาท ส่วนหนึ่งคงไม่ชอบ เพราะไม่อยากเป็นคนใข้ชั้น 2 อีกส่วนหนึ่งคงไม่มีปัญหา ขอให้มีหมอรักษา มี รพ.ที่ใกล้บ้าน และคนเหล่านี้คงไม่ชอบ BH BGH แน่ที่ไม่ต้อนรับเค้า :twisted:


ส่วนที่ว่าธุรกิจโรงพยาบาลน่าสนใจหรือเปล่า
ผมขอคัดลอกที่ ดร. เคยเขียนบทความไว้ครับ

โลกในมุมมองของ Value Investor 9 กันยายน2545
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

30  บาท...ทุกหุ้น


สุดา   :   พักนี้ทำไมหุ้นโรงพยาบาลวิ่ง?

สุระ   :   ก็เพราะมีคนไข้มากขึ้น

สุดา   :   เกิดเหตุอะไรต้องเข้าโรงพยาบาล?

สุระ   :   อ๋อ! ก็บาดเจ็บมาจากตลาดหุ้นนะสิ


หุ้นโรงพยาบาลเป็นหุ้นที่ไม่ค่อยจะมีใครสนใจมานาน  และก็คงจะไม่สนใจต่อไปอีกนานแม้ว่าราคาของหุ้นโรงพยาบาลบางตัวจะปรับตัวขึ้นมากเปรียบเทียบกับดัชนีตลาดที่หงอยเหงาในช่วง  3 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา


เหตุที่นักลงทุนไม่สนใจหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลนั้น  ผมคิดว่าเป็นเพราะหุ้นโรงพยาบาลนั้นเป็นหุ้นที่ไม่มีเสน่ห์เลยในสายตาของคนเล่นหุ้น


ข้อแรกก็คือกิจการโรงพยาบาลเป็นธุรกิจที่ไม่หวือหวา  รายได้ไม่เพิ่มรวดเร็ว  กำไรก็เป็นแบบเดียวกัน  คือไม่มีโอกาสที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด   เพราะฉะนั้นคนที่ซื้อหุ้นอาจจะต้องรอนานกว่าที่ราคาหุ้นจะปรับตัวให้ขายได้กำไรเร็ว ๆ


ข้อที่สองที่ทำให้นักลงทุนไม่อยากแตะหุ้นโรงพยาบาลก็คือ  หุ้นในกลุ่มนี้เป็นหุ้นตัวเล็กที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง  ประเภท ซื้อได้ แต่ ขายไม่ได้  ดังนั้นคนที่เล่นหุ้นระยะสั้น  ซึ่งเป็นนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดจึงไม่สนใจ  เช่นเดียวกับกองทุนหรือสถาบันการลงทุนเองก็ไม่อยากหรือไม่สามารถลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ได้


ข้อสุดท้าย  ก็คือโรงพยาบาลที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นโดยเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ทั้งหลายต่างก็ได้ทำร้ายตัวเองโดยการขยายกิจการออกไปมากมาย  บางบริษัทนอกจากจะเปิดโรงพยาบาลใหม่ ๆ แล้วก็ยังไปลงทุนทำคอนโดหวังขายให้หมอหรือพยาบาลจนทำให้กิจการมีปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้


ทั้งหมดนั้นทำให้หุ้นโรงพยาบาล ตายสนิท  มานานหลายปีจนคนแทบจะลืมไปแล้วว่ายังมีหุ้นโรงพยาบาลซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้น  ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำเกือบทั้งหมดในประเทศนั้นจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์


หุ้นโรงพยาบาลอาจจะไม่เป็นที่สนใจของนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไป  แต่ในฐานะของ Value Investor กิจการโรงพยาบาลนั้นถือว่าเป็นธุรกิจที่ไม่เลวนักด้วยเหตุผลหลายข้อ


ข้อแรกก็คือ  บริการการรักษาพยาบาลเป็นสิ่งที่จำเป็น  โดยที่การแข่งขันถูกจำกัดโดยตำแหน่งที่ตั้ง  และคุณภาพของบริการ  ซึ่งเมื่อองค์ประกอบสองข้อนี้ลงตัวแล้ว  ลูกค้ามักจะติดไม่เปลี่ยนไปใช้บริการที่อื่น  ดังนั้น การแข่งขันทางด้านราคาจึงมีจำกัด


ข้อสองก็คือ  ธุรกิจของโรงพยาบาลมีรายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ  เช่นเดียวกับรายจ่ายต่าง ๆ ก็ค่อนข้างคงที่  เพราะฉะนั้นโรงพยาบาลที่มีลูกค้าเพียงพอจึงมีกำไรค่อนข้างแน่นอน  และมักจะไม่ถูกกระทบโดยปัจจัยภายนอกมากนัก  เรียกว่าเป็นหุ้นกลุ่ม Defensive


ข้อสุดท้ายก็คือ  โรงพยาบาลขายสินค้าเป็นเงินสด  และต้องการเงินลงทุนใหม่ไม่มากเหมือนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ดังนั้น โรงพยาบาลมักจะสามารถจ่ายปันผลในอัตราที่สูงเมื่อมีกำไร  เพราะโรงพยาบาลมักจะมีกระแสเงินสดที่ดี


กล่าวโดยสรุปก็คือ  โรงพยาบาลที่ดำเนินการมาจนอยู่ตัวและมีกำไรแล้ว  เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ  สามารถคาดการณ์ผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแน่นอน  เพราะฉะนั้นจึงเป็นธุรกิจที่ไม่เลวนักหากราคาหุ้นต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรหรือปันผลที่จะได้รับจากบริษัท


ประเด็นสำคัญอีกข้อหนึ่งที่จะต้องพิจารณาก่อนลงทุนในหุ้นโรงพยาบาลก็คือ  โรงพยาบาลนั้น  ได้มีการปรับโครงสร้างและลดภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นในช่วงของการขยายงานจนอยู่ในระดับที่สามารถรับได้หรือยัง   ถ้าคำตอบก็คือใช่  การลงทุนในหุ้นของโรงพยาบาล  ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ Value Investor  จะพิจารณาในภาวะที่ตลาดหุ้นกำลังตกต่ำจากความไม่แน่นอนภายนอก


ผมได้ตรวจสอบดูผลการดำเนินงานของกลุ่มโรงพยาบาลในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะในไตรมาสที่สอง  และครึ่งปี  2545  แล้วก็พบว่า  กิจการโรงพยาบาลน่าจะกำลังฟื้นตัวอย่างชัดเจน  เพราะดูแล้วน่าประทับใจมาก


ในช่วงไตรมาสที่สอง  กลุ่มโรงพยาบาล  13  แห่ง  มีเพียง  2  แห่งเท่านั้นที่ขาดทุนอยู่ซึ่งก็คือ  โรงพยาบาลพญาไท (PYT) และสมิติเวช (SVH) ซึ่งน่าจะเป็นการขาดทุนเนื่องจากที่ยังปรับโครงสร้างไม่เสร็จ  แต่ที่สำคัญก็คือ โรงพยาบาลเกือบทั้งหมดมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น  จะมียกเว้นก็คือโรงพยาบาลกรุงเทพ (BGH) และวิภาวดี (VIBHA) ซึ่งกำไรลดลง


ถ้าตัดโรงพยาบาลที่ยังปรับโครงสร้างไม่เสร็จและยังขาดทุนอยู่  2  แห่งดังกล่าวออกไป  ผลการดำเนินงานไตรมาสสองปีนี้ของกลุ่มโรงพยาบาลดีขึ้นมากถึง 70%  เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคือเพิ่มจากกำไร  226.8  ล้านบาทเป็น  386.2  ล้านบาท  และเมื่อเทียบกับกำไรของไตรมาสหนึ่งในปี 2545  ที่มีกำไร  261.7  ล้านแล้ว  ก็เป็นการเติบโตของกำไร  48%


ในด้านของฐานะการเงินซึ่งมองจากยอดหนี้สินที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งมีกับสถาบันการเงินนั้นตัวเลขล่าสุดคือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2545  แสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งมีหนี้น้อยลงจนอยู่ในระดับปลอดภัยไม่มีปัญหาที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้


เริ่มตั้งแต่หุ้นโรงพยาบาลเอกชล(AHC) ซึ่งไม่มีหนี้เลยแถมมีเงินสดเหลืออีก  76  ล้านบาท  และถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีงบสวยที่สุดแห่งหนึ่ง  ตามด้วยหุ้นของโรงพยาบาลกรุงเทพ(BGH) ซึ่งมีหนี้ประมาณ  2,200  ล้านบาท  แต่มีส่วนของผู้ถือหุ้นถึง  2,977  ล้านบาท


หุ้นบำรุงราษฎร์ (BH) ซึ่งยังถูกแขวนไม่ให้ซื้อขาย  ขณะนี้เหลือหนี้เพียงประมาณ  2,200  ล้านบาทเท่า ๆ กับหุ้นของโรงพยาบาลกรุงเทพ  แต่มียอดขายที่สูงที่สุดในกลุ่มโรงพยาบาลถึงปีละกว่า  3,000  ล้านบาท  ก็น่าจะถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่ รอด แล้ว  และน่าจะกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้

หุ้นโรงพยาบาลกรุงธน(KDH) โรงพยาบาลลานนาเชียงใหม่(LNH) โรงพยาบาลมหาชัย (M-CHAI) โรงพยาบาลวัฒนาการแพทย์ (NEW) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก  ต่างก็มีหนี้ค่อนข้างน้อยในระดับ  101, 49, 259  และ 285  ล้านบาทตามลำดับซึ่งก็ถือว่า  ไม่มีปัญหาในการชำระหนี้อย่างแน่นอน  ในขณะที่โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) นั้น  นอกจากไม่มีหนี้แล้วก็ยังมีเงินสดเหลือประมาณ 35  ล้านบาท  ซึ่งคงจะสามารถจ่ายปันผลค่อนข้างงดงามไปเรื่อย ๆ อย่างที่ทำมาตลอด


หุ้นโรงพยาบาลรามคำแหง(RAM) หุ้นโรงพยาบาลศิขริน (SIKRIN) และหุ้นโรงพยาบาลวิภาวดี (VIBHA) ทั้งสามตัวนี้มีหนี้ที่ระดับประมาณ  835, 390 และ 503  ล้านบาทตามลำดับ  ซึ่งถ้าแม้ว่าจะมากกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็กอื่นเล็กน้อย  แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถจะบริหารได้อย่างสบายมาก


แม้แต่หุ้นของโรงพยาบาลพญาไท (PYT) และหุ้นโรงพยาบาลสมิติเวช (SVH)  ซึ่งยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนเอง  ผมคิดว่าในที่สุดจะเริ่มดีขึ้นจนทำกำไรขึ้นมาได้  โดยหุ้นสมิติเวชเองนั้นมีหนี้ประมาณ  1,771  ล้านบาทซึ่งผมเห็นว่ารายได้ของโรงพยาบาลพอรับได้  ส่วนหุ้นโรงพยาบาลพญาไทเองนั้น  ถึงแม้ว่าหนี้จะยังสูงถึงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท  แต่เข้าใจว่าได้มีการปรับโครงสร้างและลดหนี้ลงจนน่าจะอยู่รอดได้แล้ว


ข้อที่บางคนอาจจะเป็นห่วงเกี่ยวกับกิจการโรงพยาบาลเอกชนก็คือ  เกรงว่าโครงการ  30  บาทรักษาทุกโรคจะทำให้คนหันไปใช้บริการโรงพยาบาลของหลวงกันหมดนั้น  ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาเนื่องจากบริการของโครงการ  30  บาทน่าจะมาจากคนที่มีรายได้น้อยซึ่งไม่ใช่ลูกค้าของโรงพยาบาลเอกชนอยู่แล้ว


ประมวลจากการวิเคราะห์ทั้งหมด  ข้างต้น  ผมจึงมีความเห็นว่ากิจการโรงพยาบาลเอกชนนั้น  ฟื้นตัวแล้ว  และถ้าดูจากราคาหุ้นของโรงพยาบาลทั้งหมดซึ่งมีราคาส่วนใหญ่ไม่เกิน  30  บาทต่อหุ้น  ผมจึงคิดว่า  หุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลหลายตัวนั้นน่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องการลงทุนในหุ้นที่มีความแน่นอนของผลการดำเนินงาน  และต้องการรับปันผลในอัตราที่สูงในอนาคต
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
waz
Verified User
โพสต์: 751
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมยังพอจำ พีค รอบที่แล้วของ หุ้นกลุ่มโรงเรือนได้
(พวก รร. รพ.)หลายปีอยู่เหมือนกัน
พีอี ก็ประมาณนี้แหละ
อย่าตามตอนนี้เลย
แต่ถ้าถืออยู่ก็แล้วไปครับ
taro23
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

iambuffet เขียน:น่าลงทุนครับ
คนไทยป่วยกันเยอะขึ้น
จริงครับ แล้วก็ไม่มีใครต่อราคาด้วย

ผมมองอีกอย่างหนึ่งด้วยนะว่า พวกกลุ่มนี้ทำอสังหาริมทรัพย์ด้วย คือพื้นที่ที่โรงพยาบาลตั้งอยู่ ก็ราคาขึ้นเรื่อยๆ เช่น โรงพยาบาลนนทเวช น่าจะมีก่อน The Mall งามวงศ์วานนะ ตอนนี้แถวนั้นรถติดมาก เจริญขึ้นเรื่อยๆ ถ้านนทเวช เป็นเจ้าของพื่นที่เอง ตอนนี้คงยิ้มแล้วครับ ราคาที่ดินน่าจะขึ้นมหาศาล

อีกตัวหนึ่งที่ผมเห็นก็คือ KH ที่ LH ถืออยู่ใหญ่อยู่ ไม่รู้ว่าอีก 10 - 20 ปี ข้างหน้า จะทำอย่างไรกับที่ดินหรือเปล่า

เหมือน Mcdonald ที่อเมริกาครับ เขาบอกว่า รวยเพราะอสังหา ไม่ใช่ เบอร์เกอร์

ผมว่าเผยๆ พวกโรงพยาบาล อาจจะทำกองทุนอสังหาริมทรัพย์นะ แต่คงเป็นปีหน้า ปีโน้น คงหลัง Major, HMPRO (ถ้าพวกนี้ทำสำเร็จ)
RnD-VI
Verified User
โพสต์: 2187
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดยังไงกลับกลุ่มโรงพยาบาลครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณครับ ขุดมาอ่าน
เราลงรายละเอียดระดับไหน + แผนการ + วินัยในการแบ่งและใช้เวลาในแต่ละวัน
โพสต์โพสต์