บริหารเวลาแบบ VI/วีระพงษ์ ธัม

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

บริหารเวลาแบบ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    เวลาคือเพื่อนที่ดีที่สุดของนักลงทุน และนี่คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดที่เราจำเป็นต้องบริหาร ชีวิตจะเป็นอย่างไรถ้ามีแต่ความยุ่งเหยิง วุ่นวาย มนุษย์ต้องการเวลาที่ดี ที่เราจะสามารถมีความสุขกับมัน และหลีกเลี่ยงหรือจำกัดเอาเวลาเครียด ๆ ที่เราต้องกดดันให้น้อยลง การลงทุนคือกิจกรรมที่เราต้อง “ลงทุนเวลา” เพื่อจะมีเวลาที่ดีในอนาคต แต่ VI ส่วนมากจะต้อง “ทำงานอย่างน้อย 2 อย่าง” คือ งานประจำ และต้องเจียดเวลามาศึกษาการลงทุน ไม่นับเวลาที่ต้องให้กับครอบครัว ซึ่งปัญหาส่วนมากคือ เวลาไม่เคยเพียงพอซักที คำถามคือ VI มือใหม่ควรจะบริหารเวลาอย่างไร ?

    แนวคิดในการบริหารเวลามีหลากหลายแต่ผมขอใช้วิธีคิดของนักกลยุทธ์อย่าง Dan Sullivan ซึ่งแบ่งเวลาออกเป็น 3 วัน คือ วันพัก (Free Day) วันจดจ่อ (Focus Day) วันจัดระบบ (Buffer Day) เพื่อให้การบริหารเวลามีประสิทธิภาพเราควรจะจัดเวลาทั้ง 3 วันออกจากกันอย่างชัดเจน และเราไม่ควรแบ่งเวลาออกเป็นวันหยุด วันทำงานหรือวันนักขัตฤกษ์ เหมือนคนทั่วไปเพราะมีประสิทธิภาพน้อย

    วันพัก (Free Day) คือวันที่ตั้งแต่เช้าจดค่ำ เราจะไม่ยุ่งกับงานเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคิดงาน ติดต่องาน โทรศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อไปทำกิจกรรมที่เรารู้สึกชอบ ผ่อนคลาย ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาผมก็เห็นเพื่อนจำนวนมากเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศ ใช้เวลากับกิจกรรมครอบครัวโดยที่เราจะพบว่า “วันหยุดยาว” ลักษณะนี้จะทำให้เรามีโอกาสพักผ่อนได้มากที่สุด เพราะทุกคน “พร้อมใจ” กันหยุด และไม่ติดต่องานกัน ผู้คนโดยเฉพาะในโลกตะวันออกอย่างบ้านเรามักคิดว่า “วันพัก” ที่ยาวนาน แสดงถึงความไม่ขยันในการทำงาน

    แต่ผมกลับสังเกตว่า ในโลกตะวันตก พวกเขามี “วันพัก” ในฤดูร้อนยาวนานถึง 2 เดือนในวันเสาร์-อาทิตย์ก็ไม่มีใครทำงาน แต่กลับมีผลผลิตรายได้ต่อหัวสูงกว่าเราค่อนข้างมาก เพราะนี่คือการ “เติมพลัง” ให้ชีวิต “เติมไอเดีย” ให้กับสมอง โดยที่ผลผลิตและวันพักที่ดีที่สุดคือวันพักที่มีการวางแผนล่วงหน้า ยิ่งล่วงหน้าเท่าไหร่ยิ่งดี

    วันจดจ่อ (Focus Day) คือวันที่ตั้งแต่เช้าจดค่ำเราจะทำแต่งานที่ “สร้างมูลค่า” โดยไม่วอกแวกทำอย่างอื่น งานที่เราจดจ่อต้องเป็นงานที่ “เปลี่ยนชีวิต” ในอนาคตในอีก 3 ปีของเราได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เป็นเพียงงานที่เราทำไปวัน ๆ วันจดจ่อจะต้องเป็นวันที่ส่งผลบวกกับเราในอนาคต และถ้าเราทำได้อย่างถูกต้อง เราจะต้องรู้สึกถึงความก้าวหน้า รู้สึกถึงการมีพลัง แรงบันดาลใจอย่างต่อเนื่อง การทำงานในวันจดจ่อจะมีประสิทธิภาพได้จะต้องไม่ถูกรบกวนด้วยสิ่งอื่น ๆ สมองก็มี “Switching Cost” ไม่ต่างกับหลักในเชิงเศรษฐศาสตร์ นักจิตวิทยาทำงานวิจัยพบว่าสมองมนุษย์ต้องใช้เวลานาน 20 นาที ถึงจะเริ่มสามารถกลับสู่การทำงานเดิมได้ และใช้เวลาต่อจากนั้นอีกระยะถึงกลับสู่ “ศักยภาพสูงสุด” ของสมองได้ สมองไม่ได้ออกแบบให้ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ดังนั้น ใครที่ทำงานไป ฟังเพลงไป เล่น Facebook ดู Line ในแต่ละครั้ง จะบั่นทอนประสิทธิภาพของวันจดจ่อไปมากโดยที่เราไม่รู้ตัว

    สำหรับ VI มือใหม่ วันจดจ่อน่าจะเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ที่เราจะใช้เวลาทั้งหมดสำหรับการศึกษาตั้งแต่ “ทฤษฎีการลงทุน” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ธุรกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม การบัญชี การเงิน การประเมินมูลค่า จนเมื่อเราสามารถตั้งหลักในเรื่องทฤษฎีการลงทุนได้แล้ว เราก็เริ่มนั่งวิเคราะห์หุ้นรายตัว ทำการจดบันทึกสิ่งที่เราวิเคราะห์ นั่งอ่านรายงานประจำปี 56-1

    นอกจากนั้น เราต้องไม่ลืมว่าวันจันทร์ถึงวันศุกร์เราต้อง “จดจ่อ” กับงานที่เราทำทำให้ผลลัพธ์ดีกว่าที่ทุกคนคาดหวัง ทำให้เร็วกว่าเพื่อที่เราจะไม่มี “งานค้าง” หรือ “ความกังวล” ที่จะต้องถูกคนตามงาน ในเวลาที่เราต้องมาศึกษาการลงทุน

    วันจัดระบบ (Buffer Day) เปรียบเหมือนวันซักซ้อม วันวางแผนในรายละเอียดต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้เวลาเพื่อที่จะคิดว่าเราจะเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเป็นตัวเชื่อมไปสู่ “วันพัก” หรือ “วันจดจ่อ” ที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่น วันจัดระบบคือการเวลากับการวางแผนท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนได้ดีที่สุด ได้เที่ยวอย่างที่อยากได้ไป ในทางกลับกันนี่คือวันที่เคลียร์สิ่งที่ค้างอยู่ กองเอกสารที่รกบนโต๊ะ งานจุกจิกที่เราจะต้องทำ

    ปัญหาของคนส่วนมาก คือ ไม่เคยมีวันจดจ่อ ทำงานไปวันต่อวัน ไม่เคยจัดระบบชีวิต และสุดท้ายก็ทำให้มีวันพักเหลือน้อยมาก จนรู้สึกว่าเหนื่อย แต่ชีวิตที่ไม่ไปไหน

    คำถามสำคัญอีกเรื่อง คือ เราควรจัดวันอะไรก่อน ? เพื่อลงปฏิทินล่วงหน้า คำตอบซึ่งค่อนข้างน่าประหลาดใจของ Dan คือเราต้องจัดวันพักก่อน เพราะนี่คือการจัด “แหล่งพลังงาน” ของเรา เราต้องวางมันให้เหมาะสม กระจายตัวเพื่อหวังว่ามันคือ “เชื้อเพลิง” ให้ชีวิตของเรา ให้เรามีวันจดจ่อที่ “ทรงพลัง”

    สำหรับนักลงทุนถ้าทุกอย่างถูกต้อง คุณจะพบว่าหลายครั้งทั้ง 3 วันอาจจะค่อย ๆ กลายเป็นวันเดียวกัน เราหาหุ้นดี ๆ โอกาสดี ๆ ไอเดียดี ๆ จากริมชายหาดในวันพัก หรือบนเครื่องบินที่มุ่งหน้าสู่ยุโรป

    นอกจากนั้น เราอาจจะรู้สึกว่าแม้เวลาจะมีไม่เพียงพอเหมือนเดิม แต่เรารู้สึกพอใจกับการใช้เวลาของเราที่ผ่านมา และไม่เสียใจเมื่อมองย้อนกลับไป
[/size]
phakphum
Verified User
โพสต์: 476
ผู้ติดตาม: 0

Re: บริหารเวลาแบบ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Thai VI Article เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    เวลาคือเพื่อนที่ดีที่สุดของนักลงทุน และนี่คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดที่เราจำเป็นต้องบริหาร ชีวิตจะเป็นอย่างไรถ้ามีแต่ความยุ่งเหยิง วุ่นวาย มนุษย์ต้องการเวลาที่ดี ที่เราจะสามารถมีความสุขกับมัน และหลีกเลี่ยงหรือจำกัดเอาเวลาเครียด ๆ ที่เราต้องกดดันให้น้อยลง การลงทุนคือกิจกรรมที่เราต้อง “ลงทุนเวลา” เพื่อจะมีเวลาที่ดีในอนาคต แต่ VI ส่วนมากจะต้อง “ทำงานอย่างน้อย 2 อย่าง” คือ งานประจำ และต้องเจียดเวลามาศึกษาการลงทุน ไม่นับเวลาที่ต้องให้กับครอบครัว ซึ่งปัญหาส่วนมากคือ เวลาไม่เคยเพียงพอซักที คำถามคือ VI มือใหม่ควรจะบริหารเวลาอย่างไร ?

    แนวคิดในการบริหารเวลามีหลากหลายแต่ผมขอใช้วิธีคิดของนักกลยุทธ์อย่าง Dan Sullivan ซึ่งแบ่งเวลาออกเป็น 3 วัน คือ วันพัก (Free Day) วันจดจ่อ (Focus Day) วันจัดระบบ (Buffer Day) เพื่อให้การบริหารเวลามีประสิทธิภาพเราควรจะจัดเวลาทั้ง 3 วันออกจากกันอย่างชัดเจน และเราไม่ควรแบ่งเวลาออกเป็นวันหยุด วันทำงานหรือวันนักขัตฤกษ์ เหมือนคนทั่วไปเพราะมีประสิทธิภาพน้อย

    วันพัก (Free Day) คือวันที่ตั้งแต่เช้าจดค่ำ เราจะไม่ยุ่งกับงานเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคิดงาน ติดต่องาน โทรศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อไปทำกิจกรรมที่เรารู้สึกชอบ ผ่อนคลาย ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาผมก็เห็นเพื่อนจำนวนมากเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศ ใช้เวลากับกิจกรรมครอบครัวโดยที่เราจะพบว่า “วันหยุดยาว” ลักษณะนี้จะทำให้เรามีโอกาสพักผ่อนได้มากที่สุด เพราะทุกคน “พร้อมใจ” กันหยุด และไม่ติดต่องานกัน ผู้คนโดยเฉพาะในโลกตะวันออกอย่างบ้านเรามักคิดว่า “วันพัก” ที่ยาวนาน แสดงถึงความไม่ขยันในการทำงาน

    แต่ผมกลับสังเกตว่า ในโลกตะวันตก พวกเขามี “วันพัก” ในฤดูร้อนยาวนานถึง 2 เดือนในวันเสาร์-อาทิตย์ก็ไม่มีใครทำงาน แต่กลับมีผลผลิตรายได้ต่อหัวสูงกว่าเราค่อนข้างมาก เพราะนี่คือการ “เติมพลัง” ให้ชีวิต “เติมไอเดีย” ให้กับสมอง โดยที่ผลผลิตและวันพักที่ดีที่สุดคือวันพักที่มีการวางแผนล่วงหน้า ยิ่งล่วงหน้าเท่าไหร่ยิ่งดี

    วันจดจ่อ (Focus Day) คือวันที่ตั้งแต่เช้าจดค่ำเราจะทำแต่งานที่ “สร้างมูลค่า” โดยไม่วอกแวกทำอย่างอื่น งานที่เราจดจ่อต้องเป็นงานที่ “เปลี่ยนชีวิต” ในอนาคตในอีก 3 ปีของเราได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เป็นเพียงงานที่เราทำไปวัน ๆ วันจดจ่อจะต้องเป็นวันที่ส่งผลบวกกับเราในอนาคต และถ้าเราทำได้อย่างถูกต้อง เราจะต้องรู้สึกถึงความก้าวหน้า รู้สึกถึงการมีพลัง แรงบันดาลใจอย่างต่อเนื่อง การทำงานในวันจดจ่อจะมีประสิทธิภาพได้จะต้องไม่ถูกรบกวนด้วยสิ่งอื่น ๆ สมองก็มี “Switching Cost” ไม่ต่างกับหลักในเชิงเศรษฐศาสตร์ นักจิตวิทยาทำงานวิจัยพบว่าสมองมนุษย์ต้องใช้เวลานาน 20 นาที ถึงจะเริ่มสามารถกลับสู่การทำงานเดิมได้ และใช้เวลาต่อจากนั้นอีกระยะถึงกลับสู่ “ศักยภาพสูงสุด” ของสมองได้ สมองไม่ได้ออกแบบให้ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ดังนั้น ใครที่ทำงานไป ฟังเพลงไป เล่น Facebook ดู Line ในแต่ละครั้ง จะบั่นทอนประสิทธิภาพของวันจดจ่อไปมากโดยที่เราไม่รู้ตัว

    สำหรับ VI มือใหม่ วันจดจ่อน่าจะเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ที่เราจะใช้เวลาทั้งหมดสำหรับการศึกษาตั้งแต่ “ทฤษฎีการลงทุน” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ธุรกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม การบัญชี การเงิน การประเมินมูลค่า จนเมื่อเราสามารถตั้งหลักในเรื่องทฤษฎีการลงทุนได้แล้ว เราก็เริ่มนั่งวิเคราะห์หุ้นรายตัว ทำการจดบันทึกสิ่งที่เราวิเคราะห์ นั่งอ่านรายงานประจำปี 56-1

    นอกจากนั้น เราต้องไม่ลืมว่าวันจันทร์ถึงวันศุกร์เราต้อง “จดจ่อ” กับงานที่เราทำทำให้ผลลัพธ์ดีกว่าที่ทุกคนคาดหวัง ทำให้เร็วกว่าเพื่อที่เราจะไม่มี “งานค้าง” หรือ “ความกังวล” ที่จะต้องถูกคนตามงาน ในเวลาที่เราต้องมาศึกษาการลงทุน

    วันจัดระบบ (Buffer Day) เปรียบเหมือนวันซักซ้อม วันวางแผนในรายละเอียดต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้เวลาเพื่อที่จะคิดว่าเราจะเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเป็นตัวเชื่อมไปสู่ “วันพัก” หรือ “วันจดจ่อ” ที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่น วันจัดระบบคือการเวลากับการวางแผนท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนได้ดีที่สุด ได้เที่ยวอย่างที่อยากได้ไป ในทางกลับกันนี่คือวันที่เคลียร์สิ่งที่ค้างอยู่ กองเอกสารที่รกบนโต๊ะ งานจุกจิกที่เราจะต้องทำ

    ปัญหาของคนส่วนมาก คือ ไม่เคยมีวันจดจ่อ ทำงานไปวันต่อวัน ไม่เคยจัดระบบชีวิต และสุดท้ายก็ทำให้มีวันพักเหลือน้อยมาก จนรู้สึกว่าเหนื่อย แต่ชีวิตที่ไม่ไปไหน

    คำถามสำคัญอีกเรื่อง คือ เราควรจัดวันอะไรก่อน ? เพื่อลงปฏิทินล่วงหน้า คำตอบซึ่งค่อนข้างน่าประหลาดใจของ Dan คือเราต้องจัดวันพักก่อน เพราะนี่คือการจัด “แหล่งพลังงาน” ของเรา เราต้องวางมันให้เหมาะสม กระจายตัวเพื่อหวังว่ามันคือ “เชื้อเพลิง” ให้ชีวิตของเรา ให้เรามีวันจดจ่อที่ “ทรงพลัง”

    สำหรับนักลงทุนถ้าทุกอย่างถูกต้อง คุณจะพบว่าหลายครั้งทั้ง 3 วันอาจจะค่อย ๆ กลายเป็นวันเดียวกัน เราหาหุ้นดี ๆ โอกาสดี ๆ ไอเดียดี ๆ จากริมชายหาดในวันพัก หรือบนเครื่องบินที่มุ่งหน้าสู่ยุโรป

    นอกจากนั้น เราอาจจะรู้สึกว่าแม้เวลาจะมีไม่เพียงพอเหมือนเดิม แต่เรารู้สึกพอใจกับการใช้เวลาของเราที่ผ่านมา และไม่เสียใจเมื่อมองย้อนกลับไป
[/size]
Simple is Always Best.
นักลงทุนแบบ vi แก่น 4 ประการ 3 กลยุทธ
แก่น vi : เป็นเจ้าของ หามูลค่า มี MOS และ อยู่เหนือนายตลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
theerasak24
Verified User
โพสต์: 614
ผู้ติดตาม: 0

Re: บริหารเวลาแบบ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ เป็นบทความที่ดีมากสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกๆท่าน ที่คิดจากมีอิสระภาพ ต่อไปนะครับผม
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
Ameen
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: บริหารเวลาแบบ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
Ameen
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: บริหารเวลาแบบ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์