เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 1
ไม่ทราบว่ามีใครพอจะเข้าใจเรื่องประมูลคลื่นความถี่มั้ยครับ?
เท่าที่ตามข่าวล่าสุด กำหนดวันประมูลคลื่น 1800 MHz วันที่ 11/11/15 และคลื่น 900 MHz วันที่ 12/11/15
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 13 ตุลาคม 2558 13:20:38 น.
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) มีมติกำหนดวันประมูลของคลื่นความถี่ 900 เมกกะเฮิร์ต เร็วขึ้นมาจากเดิมเป็นวันที่ 12 พ.ย.58 หลังจากวันประมูลคลื่น 1800 เมกกะเฮิร์ตที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.58
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ คณะกรรมกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ในฐานะกรรมการ กทค.เปิดเผยกับ"อินโฟเควส์ท"ว่าที่ประชุม กทค.วันนี้มีมติเลื่อนวันประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz เป็นวันที่ 12 พ.ย.58 จากเดิมกำหนดวันประมูลในวันที่ 15 ธ.ค.58 เพื่อให้เกิดการลงทุนให้เร็วขึ้นอันจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง
ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ยังคงกำหนดวันประมูลในวันที่ 11 พ.ย.นี้
http://www.ryt9.com/s/iq05/2273046
ที่ผมเข้าใจคือ แต่ละคลื่นจะให้ 2 ใบอนุญาต และตอนนี้ตัวเก็งประมูลมี 4 เจ้า คือ AIS DTAC TRUE JAS
แบบนี้เข้าข่ายเดิมคือ แบ่งเค้กกันไปคนละใบรึเปล่าครับ?
แล้วคลื่น 900 กับ 1800 นี่มันนำไปใช้เหมือนหรือต่างกันครับ หมายถึงว่าใช้งานทดแทนกันได้รึเปล่า?
เท่าที่ตามข่าวล่าสุด กำหนดวันประมูลคลื่น 1800 MHz วันที่ 11/11/15 และคลื่น 900 MHz วันที่ 12/11/15
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 13 ตุลาคม 2558 13:20:38 น.
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) มีมติกำหนดวันประมูลของคลื่นความถี่ 900 เมกกะเฮิร์ต เร็วขึ้นมาจากเดิมเป็นวันที่ 12 พ.ย.58 หลังจากวันประมูลคลื่น 1800 เมกกะเฮิร์ตที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.58
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ คณะกรรมกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ในฐานะกรรมการ กทค.เปิดเผยกับ"อินโฟเควส์ท"ว่าที่ประชุม กทค.วันนี้มีมติเลื่อนวันประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz เป็นวันที่ 12 พ.ย.58 จากเดิมกำหนดวันประมูลในวันที่ 15 ธ.ค.58 เพื่อให้เกิดการลงทุนให้เร็วขึ้นอันจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง
ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ยังคงกำหนดวันประมูลในวันที่ 11 พ.ย.นี้
http://www.ryt9.com/s/iq05/2273046
ที่ผมเข้าใจคือ แต่ละคลื่นจะให้ 2 ใบอนุญาต และตอนนี้ตัวเก็งประมูลมี 4 เจ้า คือ AIS DTAC TRUE JAS
แบบนี้เข้าข่ายเดิมคือ แบ่งเค้กกันไปคนละใบรึเปล่าครับ?
แล้วคลื่น 900 กับ 1800 นี่มันนำไปใช้เหมือนหรือต่างกันครับ หมายถึงว่าใช้งานทดแทนกันได้รึเปล่า?
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 2
เป็นการประมูลครับ ขึ้นกับแข่งราคา กดปุ่ม ใส่ตัวเลข แข่งกันเสนอสู้ราคากัน
แล้วออกเป็นใบอนุญาต
ต่างกับวิธีเก่า ที่เป็นสัมปทาน ขึ้นกับการเจรจาแบ่งเค้ก
1800 กับ 900 ก็หลักการคล้ายตอน 2G และ 3G คือ เปรียบเทียบคร่าวๆ 1800 ใช้สถานีมากกว่า 900 จำนวน 3 เท่า
เป็นเพราะคลื่นความถี่ยิ่งต่ำ จะถูกดูดกลืนในอากาศและอาคารได้ยากกว่าความถี่สูง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไปไกล ก็รบกวนกันได้มากกว่า ถ้าตั้งสถานีถี่ๆ อย่างในเมืองใหญ่ และในกทม. 1800 จะได้ประโยชน์กว่า เพราะจะรองรับลูกค้าเยอะๆ ดีกว่า เมื่อต้องขยายสถานี และติดๆ กัน
4G ต่างกันกับ 2G และ 3G แค่การผสมคลื่น เทคโนโลยีเปลี่ยนไป ได้ speed สูงกว่า
ขอเล่าเพิ่มเติมที่มาของวิธีใหม่ที่ว่าประมูลนั้น
เกิดขึ้นหลังการร่างรัฐธรรมนูญหลังยุคพฤษภาทมิฬ ที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันเสรี ทั้งวงการสื่อ (สื่อสารมวลชน) และสื่อสารโทรคมนาคม หลักการเพื่อให้เสรีที่ว่า ทั้งในแง่การแข่งขันในตลาด และเสรีในแง่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใคร แม้แต่รัฐบาล
ซึ่งหลังหมดระบบสัมปทาน ต้องคืนคลื่นให้องค์กรอิสระ ซึ่งปัจจุบันดูแลทั้งสื่อและสื่อสารมวลชน ซึ่งคือกสทช.
(ก่อนหน้าเคยแยกกัน กทช. และ กสช. ท=โทรคมนาคม, ส=สื่อสารมวลชน แต่หลังจากนั้น พบว่าเทคโนโลยีล่าสุด ทำให้ทั้งสองวงการแยกกันไม่ออก จากที่สมัยก่อนที่มีส่วงนคล้ายกันแค่เรื่องคลื่นความถี่ แต่ปัจจุบันแม้แต่ content ก็มีการใช้ร่วมกันไปมา 2553 จึงมีพรบ.รวม เป็นกสทช. )
กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ที่ว่า "องค์กรอิสระ" นั้น ถือว่าไม่ขึ้นกับใคร แต่ขึ้นกับ "รัฐ"จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการได้รับการสรรหาและคัดเลือกโดยวุฒิสภา
"รัฐ" ที่บอก รัฐหมายถึงประเทศ แต่ไม่ใช่ "รัฐบาล" นะครับ จะเห็นว่าตัวอย่าง สถานีของกรมประชาสัมพันธ์ ก็กลายเป็นสถานีเดียว ในจำนวนสถานีเยอะแยะ ต่างจากสมัยก่อนที่รัฐบาลคุมพวกความถี่ แจกให้ใครก็ได้ และคุมสถานี TV วิทยุต่างๆ ได้ เพราะคุมกรมไปรษณีย์ กระทรวงคมนาคม และความถี่ต่างๆ ก็กระจายไปทั่ว ของรัฐบ้าง ของทหารบ้าง แม้แต่การไฟฟ้า ก็มีความถี่ (ใช้ควมคุมไฟฟ้าเขื่อน) แต่หลังจากการเกิดกสทช. ไม่ใช่รัฐบาลคุมแล้ว สั่งกสทช.ก็ไม่ได้
ส่วนหน่วยงานที่ทำงานภายใต้กสทช.นั้น ที่ผมเคยรู้จักเคยประสานงานด้วย เห็นส่วนใหญ่โอนย้ายมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเก่า office ซอยสายลม เข้าใจว่าโอนมายกกรมเลย ซึ่งก่อนหน้าก็ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่คอยกำกับดูแลการใช้ความถี่อยู่แล้ว แต่ที่เพิ่มเติมจากหน้าที่เก่าๆ น่าจะเป็นการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค
แล้วออกเป็นใบอนุญาต
ต่างกับวิธีเก่า ที่เป็นสัมปทาน ขึ้นกับการเจรจาแบ่งเค้ก
1800 กับ 900 ก็หลักการคล้ายตอน 2G และ 3G คือ เปรียบเทียบคร่าวๆ 1800 ใช้สถานีมากกว่า 900 จำนวน 3 เท่า
เป็นเพราะคลื่นความถี่ยิ่งต่ำ จะถูกดูดกลืนในอากาศและอาคารได้ยากกว่าความถี่สูง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไปไกล ก็รบกวนกันได้มากกว่า ถ้าตั้งสถานีถี่ๆ อย่างในเมืองใหญ่ และในกทม. 1800 จะได้ประโยชน์กว่า เพราะจะรองรับลูกค้าเยอะๆ ดีกว่า เมื่อต้องขยายสถานี และติดๆ กัน
4G ต่างกันกับ 2G และ 3G แค่การผสมคลื่น เทคโนโลยีเปลี่ยนไป ได้ speed สูงกว่า
ขอเล่าเพิ่มเติมที่มาของวิธีใหม่ที่ว่าประมูลนั้น
เกิดขึ้นหลังการร่างรัฐธรรมนูญหลังยุคพฤษภาทมิฬ ที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันเสรี ทั้งวงการสื่อ (สื่อสารมวลชน) และสื่อสารโทรคมนาคม หลักการเพื่อให้เสรีที่ว่า ทั้งในแง่การแข่งขันในตลาด และเสรีในแง่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใคร แม้แต่รัฐบาล
ซึ่งหลังหมดระบบสัมปทาน ต้องคืนคลื่นให้องค์กรอิสระ ซึ่งปัจจุบันดูแลทั้งสื่อและสื่อสารมวลชน ซึ่งคือกสทช.
(ก่อนหน้าเคยแยกกัน กทช. และ กสช. ท=โทรคมนาคม, ส=สื่อสารมวลชน แต่หลังจากนั้น พบว่าเทคโนโลยีล่าสุด ทำให้ทั้งสองวงการแยกกันไม่ออก จากที่สมัยก่อนที่มีส่วงนคล้ายกันแค่เรื่องคลื่นความถี่ แต่ปัจจุบันแม้แต่ content ก็มีการใช้ร่วมกันไปมา 2553 จึงมีพรบ.รวม เป็นกสทช. )
กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ที่ว่า "องค์กรอิสระ" นั้น ถือว่าไม่ขึ้นกับใคร แต่ขึ้นกับ "รัฐ"จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการได้รับการสรรหาและคัดเลือกโดยวุฒิสภา
"รัฐ" ที่บอก รัฐหมายถึงประเทศ แต่ไม่ใช่ "รัฐบาล" นะครับ จะเห็นว่าตัวอย่าง สถานีของกรมประชาสัมพันธ์ ก็กลายเป็นสถานีเดียว ในจำนวนสถานีเยอะแยะ ต่างจากสมัยก่อนที่รัฐบาลคุมพวกความถี่ แจกให้ใครก็ได้ และคุมสถานี TV วิทยุต่างๆ ได้ เพราะคุมกรมไปรษณีย์ กระทรวงคมนาคม และความถี่ต่างๆ ก็กระจายไปทั่ว ของรัฐบ้าง ของทหารบ้าง แม้แต่การไฟฟ้า ก็มีความถี่ (ใช้ควมคุมไฟฟ้าเขื่อน) แต่หลังจากการเกิดกสทช. ไม่ใช่รัฐบาลคุมแล้ว สั่งกสทช.ก็ไม่ได้
ส่วนหน่วยงานที่ทำงานภายใต้กสทช.นั้น ที่ผมเคยรู้จักเคยประสานงานด้วย เห็นส่วนใหญ่โอนย้ายมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเก่า office ซอยสายลม เข้าใจว่าโอนมายกกรมเลย ซึ่งก่อนหน้าก็ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่คอยกำกับดูแลการใช้ความถี่อยู่แล้ว แต่ที่เพิ่มเติมจากหน้าที่เก่าๆ น่าจะเป็นการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 3
ซึ่งหลังหมดระบบสัมปทาน ต้องคืนคลื่นให้องค์กรอิสระ ซึ่งปัจจุบันดูแลทั้งสื่อและสื่อสารมวลชน ซึ่งคือกสทช.
ขอแก้เป็น
ซึ่งหลังหมดระบบสัมปทาน ต้องคืนคลื่นให้องค์กรอิสระ ซึ่งปัจจุบันดูแลทั้งสื่อและสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งคือกสทช.
ขอแก้เป็น
ซึ่งหลังหมดระบบสัมปทาน ต้องคืนคลื่นให้องค์กรอิสระ ซึ่งปัจจุบันดูแลทั้งสื่อและสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งคือกสทช.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 4
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกสทช. ไหนๆ ก็ช่วยตอบแล้ว เลยไปค้นเพิ่มให้ เพราะไม่ชอบอะไรที่คลุมเครือ ครึ่งๆ กลางๆ มันคาใจ
สรุปว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข โอนมาทั้งกรมจริงครับ
แต่คนอาจสงสัย ว่าชื่อ "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ชื่อมันคล้ายๆ ผู้ให้บริการไปรษณีย์นะ ไปเกี่ยวกับส่งจม.ใช่ไหม? ไปเกี่ยวกันได้ไง
ที่จริงมีหลายแหล่งที่แสดงความเป็นมา แต่ผมเห็นจาก wikipedia มีคนมาสรุปได้ดี
จาก Link นี้ทำให้ได้ความรู้เพิ่ม
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81 ... 5%E0%B8%82
แต่ที่เห็นอธิบายค่อนข้างทางการ จากประสบการณ์ช่วยสรุปด้วยภาษาพูดจะได้นึกภาพเข้าใจได้ดีกว่าได้ว่า
- ก่อนหน้า ใช่เลย ทำหมดตามชื่อ ไปรษณีย์และโทรเลข ให้บริการประชาชนด้าน "สื่อสาร" แถมมี "(คลัง) ออมสิน" ที่เป็นธนาคารออมสินปัจจุบันด้วยสิ
(ตรงนี้ นอกประเด็นสื่อสารนิด ถ้างง ออมสินนี่...มาอยู่รวมกันได้ไง? สมัยนั้นคนดูแลคือ "กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม" ก็เป็นธุรกิจของรัฐให้บริการประชาชนไง)
ถ้าจะให้เห็นภาพ เรียกศัพท์ยุคใหม่ก็ได้ว่าเป็น "Service Provider" และเมื่อมีโครงข่ายโทรเลข คนทำโครงข่ายก็เรียกได้ว่า "Network Operator"
- เมื่อเทคโนโลยีพัฒนา มีบริการ+บริหารโครงข่ายโทรศัพท์รวมด้วย
- ภาษาวัยรุ่นว่า ดังแล้วแยกวง... หน่วยงานบริการใหญ่ขึ้น ทศท. แยกตัว... ออมสิน แยกตัว
- หน่วยงานบริการแยกออกมาอีกแล้ว เป็นไปรษณีย์ไทย และกสท. ตอนหลังก็แนวคิดสมัยใหม่พยายามแปรรูปเอกชน (จะคล้ายทศท. "มหาชน" ได้มาแต่ชื่อก่อน...จริงๆ ก็ยังรัฐวิสาหกิจอยู่ ถึงจะพยายามมีตำแหน่งอะไรต่างๆ คล้ายเอกชนก็ตาม แต่ว่าอาจได้ประโยชน์เรื่องความคล่องตัวในการบริหารที่มากขึ้น)
- สรุปจึงเหลือหน่วยงานที่เหลืออยู่ซอยสายลม ที่นักวิทยุสมัครเล่นรู้จักกันดี
เลยยังมีชื่อมรดกตกทอดเก่าอยู่ ก่อนจะแปลงร่างมาเป็นกสทช. สมัยก่อนไม่มีกระทรวง ICT ด้วยซ้ำ งานกำกับดูแลโทรคมนาคมขึ้นกับกระทรวงคมนาคมนะ
อาจเรียกศัพท์ในยุคนี้ ว่าเป็น "Regulator"
ความสามารถบริหารความถี่เหมือนยุคปัจจุบัน แต่สมัยก่อนอำนาจตามกฎหมาย ค่อนข้างจำกัดกว่า อย่างที่อธิบายข้างบน ความถี่ทับซ้อนกันหลายหน่วยงานแต่บังคับไม่ได้ก็มี
แต่ว่า "ซอยสายลม" คนรู้จักกันเยอะนะ นอกจากต้องคอยกวดขัน "วิทยุเถื่อน" แล้ว เพราะต้อง "ถวายงาน" ด้วย เนื่องจากโครงข่ายวิทยุ ใช้ประโยชน์ในงานพระราชกรณียกิจด้วย
เพิ่มเติมว่า กสท. เดิม แบ่งหน้าที่กับทศท. ตรงที่กสท. เชื่อมตปท. ทศท.ในประเทศ
มายุคใหม่เชื่อม internet ตอนนั้น คือ Single Gateway ของจริง เลยทำให้ CAT Telecom ก็คล้ายกับประเทศอื่นๆ ที่หน่วยงานสื่อสารแห่งชาติ มักจะเป็นองค์กรที่มี "connection" มากที่สุดเพราะเป็นรายแรกเริ่ม ทั้งแปลว่า "ต่อวงจร" และ "สายสัมพันธ์"
แล้วยุคมือถือ ก็ขอความถี่ได้ด้วย จึงเกิดสัมปทานมือถือได้เหมือนทศท.
หลักของการ "สัมปทาน" หรือ concession ถ้าไม่คิดถึงคำว่า "แบ่งเค้ก" แต่คิดว่าเป็น "ผลประโยชน์ของชาติ" หลักการคือ หน่วยงานรัฐ มีทรัพยากรในมือเหลือเฟือ และมากเิกินไป ศักยภาพการให้บริการอารจจะจำกัดอีกด้วย การแบ่งให้เอกชนทำ จะได้ผลรวดเร็วคล่องตัวกว่า และใช้ทรัพยการคุ้มค่ากว่ารัฐลงมือทำเอง ได้ผลประโยชน์กลับเข้าคลังดีกว่า
ไม่ใช่เฉพาะมือถือ อย่างเช่น สถานีวิทยุ กับสถานี TV เหมือนกัน เราถึงไดเห็นคำว่า สถานี "กองทัพบก" ช่อง 7 และ ช่อง 3 "อสมท."
หรือ FM ตำรวจ FM ททท. AM สทร. ฯลฯ แต่เอกชนทำรายการ เป็นต้น (ใช้ประชาสัมพันธ์งานตำรวจ งานท่องเที่ยวง งานทหาร แต่เวลาที่ไม่ประชาสัมพันธ์ ก็แทนที่จะปล่อยทิ้งร้างไว้ ก็ให้เอกชนหารายได้แบ่งเข้าหหน่วยงาน)
แต่เรื่องสัมปทาน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เห็นผลชัดเจนจริงๆ ก็กรณีโทรศัพท์บ้่านก่อนจะมามือถือ
พอเกิด "สัมปทาน" TT&T กับ TA ขึ้น ก็ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ กว่าการจะได้เบอร์เป็นเรื่องง่าย จากตอนแรก กว่าใครจะขอได้แต่ละเลขหมาย บางทีจนลูกบวชสึกไปจนมีหลานให้อุ้มจนหลานท้องแล้ว ก็ยังไม่ได้ใช้โทรศัพท์ซักที คนที่เกิดยุคนี้อาจคิดว่าแต่งเรื่องตลกหรือเล่นสำนวนให้ฟังก็ได้ แต่คนสมัยก่อนหัวเราะไม่ออกจริงๆ
สรุปว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข โอนมาทั้งกรมจริงครับ
แต่คนอาจสงสัย ว่าชื่อ "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ชื่อมันคล้ายๆ ผู้ให้บริการไปรษณีย์นะ ไปเกี่ยวกับส่งจม.ใช่ไหม? ไปเกี่ยวกันได้ไง
ที่จริงมีหลายแหล่งที่แสดงความเป็นมา แต่ผมเห็นจาก wikipedia มีคนมาสรุปได้ดี
จาก Link นี้ทำให้ได้ความรู้เพิ่ม
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81 ... 5%E0%B8%82
แต่ที่เห็นอธิบายค่อนข้างทางการ จากประสบการณ์ช่วยสรุปด้วยภาษาพูดจะได้นึกภาพเข้าใจได้ดีกว่าได้ว่า
- ก่อนหน้า ใช่เลย ทำหมดตามชื่อ ไปรษณีย์และโทรเลข ให้บริการประชาชนด้าน "สื่อสาร" แถมมี "(คลัง) ออมสิน" ที่เป็นธนาคารออมสินปัจจุบันด้วยสิ
(ตรงนี้ นอกประเด็นสื่อสารนิด ถ้างง ออมสินนี่...มาอยู่รวมกันได้ไง? สมัยนั้นคนดูแลคือ "กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม" ก็เป็นธุรกิจของรัฐให้บริการประชาชนไง)
ถ้าจะให้เห็นภาพ เรียกศัพท์ยุคใหม่ก็ได้ว่าเป็น "Service Provider" และเมื่อมีโครงข่ายโทรเลข คนทำโครงข่ายก็เรียกได้ว่า "Network Operator"
- เมื่อเทคโนโลยีพัฒนา มีบริการ+บริหารโครงข่ายโทรศัพท์รวมด้วย
- ภาษาวัยรุ่นว่า ดังแล้วแยกวง... หน่วยงานบริการใหญ่ขึ้น ทศท. แยกตัว... ออมสิน แยกตัว
- หน่วยงานบริการแยกออกมาอีกแล้ว เป็นไปรษณีย์ไทย และกสท. ตอนหลังก็แนวคิดสมัยใหม่พยายามแปรรูปเอกชน (จะคล้ายทศท. "มหาชน" ได้มาแต่ชื่อก่อน...จริงๆ ก็ยังรัฐวิสาหกิจอยู่ ถึงจะพยายามมีตำแหน่งอะไรต่างๆ คล้ายเอกชนก็ตาม แต่ว่าอาจได้ประโยชน์เรื่องความคล่องตัวในการบริหารที่มากขึ้น)
- สรุปจึงเหลือหน่วยงานที่เหลืออยู่ซอยสายลม ที่นักวิทยุสมัครเล่นรู้จักกันดี
เลยยังมีชื่อมรดกตกทอดเก่าอยู่ ก่อนจะแปลงร่างมาเป็นกสทช. สมัยก่อนไม่มีกระทรวง ICT ด้วยซ้ำ งานกำกับดูแลโทรคมนาคมขึ้นกับกระทรวงคมนาคมนะ
อาจเรียกศัพท์ในยุคนี้ ว่าเป็น "Regulator"
ความสามารถบริหารความถี่เหมือนยุคปัจจุบัน แต่สมัยก่อนอำนาจตามกฎหมาย ค่อนข้างจำกัดกว่า อย่างที่อธิบายข้างบน ความถี่ทับซ้อนกันหลายหน่วยงานแต่บังคับไม่ได้ก็มี
แต่ว่า "ซอยสายลม" คนรู้จักกันเยอะนะ นอกจากต้องคอยกวดขัน "วิทยุเถื่อน" แล้ว เพราะต้อง "ถวายงาน" ด้วย เนื่องจากโครงข่ายวิทยุ ใช้ประโยชน์ในงานพระราชกรณียกิจด้วย
เพิ่มเติมว่า กสท. เดิม แบ่งหน้าที่กับทศท. ตรงที่กสท. เชื่อมตปท. ทศท.ในประเทศ
มายุคใหม่เชื่อม internet ตอนนั้น คือ Single Gateway ของจริง เลยทำให้ CAT Telecom ก็คล้ายกับประเทศอื่นๆ ที่หน่วยงานสื่อสารแห่งชาติ มักจะเป็นองค์กรที่มี "connection" มากที่สุดเพราะเป็นรายแรกเริ่ม ทั้งแปลว่า "ต่อวงจร" และ "สายสัมพันธ์"
แล้วยุคมือถือ ก็ขอความถี่ได้ด้วย จึงเกิดสัมปทานมือถือได้เหมือนทศท.
หลักของการ "สัมปทาน" หรือ concession ถ้าไม่คิดถึงคำว่า "แบ่งเค้ก" แต่คิดว่าเป็น "ผลประโยชน์ของชาติ" หลักการคือ หน่วยงานรัฐ มีทรัพยากรในมือเหลือเฟือ และมากเิกินไป ศักยภาพการให้บริการอารจจะจำกัดอีกด้วย การแบ่งให้เอกชนทำ จะได้ผลรวดเร็วคล่องตัวกว่า และใช้ทรัพยการคุ้มค่ากว่ารัฐลงมือทำเอง ได้ผลประโยชน์กลับเข้าคลังดีกว่า
ไม่ใช่เฉพาะมือถือ อย่างเช่น สถานีวิทยุ กับสถานี TV เหมือนกัน เราถึงไดเห็นคำว่า สถานี "กองทัพบก" ช่อง 7 และ ช่อง 3 "อสมท."
หรือ FM ตำรวจ FM ททท. AM สทร. ฯลฯ แต่เอกชนทำรายการ เป็นต้น (ใช้ประชาสัมพันธ์งานตำรวจ งานท่องเที่ยวง งานทหาร แต่เวลาที่ไม่ประชาสัมพันธ์ ก็แทนที่จะปล่อยทิ้งร้างไว้ ก็ให้เอกชนหารายได้แบ่งเข้าหหน่วยงาน)
แต่เรื่องสัมปทาน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เห็นผลชัดเจนจริงๆ ก็กรณีโทรศัพท์บ้่านก่อนจะมามือถือ
พอเกิด "สัมปทาน" TT&T กับ TA ขึ้น ก็ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ กว่าการจะได้เบอร์เป็นเรื่องง่าย จากตอนแรก กว่าใครจะขอได้แต่ละเลขหมาย บางทีจนลูกบวชสึกไปจนมีหลานให้อุ้มจนหลานท้องแล้ว ก็ยังไม่ได้ใช้โทรศัพท์ซักที คนที่เกิดยุคนี้อาจคิดว่าแต่งเรื่องตลกหรือเล่นสำนวนให้ฟังก็ได้ แต่คนสมัยก่อนหัวเราะไม่ออกจริงๆ
- newbie_12
- Verified User
- โพสต์: 2904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 5
4 ใบ ไม่ได้แบ่งกัน 4 เจ้าครับ
เค้าแบ่งเป็น 1800 2 ใบ และ 900 2 ใบ
ดังนั้น 1800 2 ใบ ก็มีคนแข่ง 4 เจ้า และ 900 ก็มีคนแข่ง 4 เจ้า
1800 อาจจะเป็น ais dtac
900 อาจจะเป็น ais true
เค้าแบ่งเป็น 1800 2 ใบ และ 900 2 ใบ
ดังนั้น 1800 2 ใบ ก็มีคนแข่ง 4 เจ้า และ 900 ก็มีคนแข่ง 4 เจ้า
1800 อาจจะเป็น ais dtac
900 อาจจะเป็น ais true
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 6
ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง รายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1800 MHz
http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/N ... 658646e0ac
มีผู้ประกวด 4 ราย มีใบอนุญาต แค่ 2 ราย
http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/N ... 658646e0ac
มีผู้ประกวด 4 ราย มีใบอนุญาต แค่ 2 ราย
-
- Verified User
- โพสต์: 91
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 10
เจาะข่าวเด่น เดินหน้าประมูล 4G 16 ตุลาคม 2558
http://tvshow.tlcthai.com/%E0%B9%80%E0% ... 0%B8%8458/
http://tvshow.tlcthai.com/%E0%B9%80%E0% ... 0%B8%8458/
-
- Verified User
- โพสต์: 1475
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องประมูลคลื่น 4G ครับ
โพสต์ที่ 14
กสทช. เป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าของคลื่นครับ สิทธิ์ไม่ได้อยู่กับ TOTดำ เขียน:แล้วที่เคยเป็นข่าวว่าจะฟ้องศาลอ่ะครับ?KriangL เขียน:TOT ไม่มาประมูลคลื่น 900 ก็คงไม่ได้ครับดำ เขียน:แล้วเคส TOT จะยังไงต่ออ่ะครับ?