APRINT & SE-ED
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 1
ถ้าให้เลือกได้ตัวเดียว เลือกตัวไหน เพราะอะไรครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 2
ถ้าไม่สนใจเรืองราคา ก็ต้องเลือก se-ed
ร้านหนังสือ no1 และยังขยายกิจการไปโรงเรียนอีก
ลองคิดดู เอแบ๊ค หอการค้า ธุรกิจบัณทิต r-bac และอื่นๆ กำไรกันเท่าไร
เอแบ๊คนี่ถ้าใครเคยไปบางนา จะรู้ว่า โห อะไรจะขนาดนั้น
เรืองแนวโน้มการอ่านหนังสือ ก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนือง เดานะ แต่คิดว่าชัวร์
โมเดินเทรด โตไปที่ไหน se-ed ก็ตามไปที่นั่น
เหอๆ
ผมมีตู้หนังสือ คิดแล้วก็เป็นแสน อนาคตจะมีอย่างผม มากขึ้นเรือยๆ คือซื้อหนังสือ ไม่เคยสนใจราคา ขอให้อยากอ่าน ก็ซื้อเลย
ร้านหนังสือ no1 และยังขยายกิจการไปโรงเรียนอีก
ลองคิดดู เอแบ๊ค หอการค้า ธุรกิจบัณทิต r-bac และอื่นๆ กำไรกันเท่าไร
เอแบ๊คนี่ถ้าใครเคยไปบางนา จะรู้ว่า โห อะไรจะขนาดนั้น
เรืองแนวโน้มการอ่านหนังสือ ก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนือง เดานะ แต่คิดว่าชัวร์
โมเดินเทรด โตไปที่ไหน se-ed ก็ตามไปที่นั่น
เหอๆ
ผมมีตู้หนังสือ คิดแล้วก็เป็นแสน อนาคตจะมีอย่างผม มากขึ้นเรือยๆ คือซื้อหนังสือ ไม่เคยสนใจราคา ขอให้อยากอ่าน ก็ซื้อเลย
- david
- Verified User
- โพสต์: 852
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 3
Agree.ผมมีตู้หนังสือ คิดแล้วก็เป็นแสน WOW!!!!!!!!Jeng เขียน:ถ้าไม่สนใจเรืองราคา ก็ต้องเลือก se-ed
ร้านหนังสือ no1 และยังขยายกิจการไปโรงเรียนอีก
ลองคิดดู เอแบ๊ค หอการค้า ธุรกิจบัณทิต r-bac และอื่นๆ กำไรกันเท่าไร
เอแบ๊คนี่ถ้าใครเคยไปบางนา จะรู้ว่า โห อะไรจะขนาดนั้น
เรืองแนวโน้มการอ่านหนังสือ ก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนือง เดานะ แต่คิดว่าชัวร์
โมเดินเทรด โตไปที่ไหน se-ed ก็ตามไปที่นั่น
เหอๆ
อนาคตจะมีอย่างผม มากขึ้นเรือยๆ คือซื้อหนังสือ ไม่เคยสนใจราคา ขอให้อยากอ่าน ก็ซื้อเลย
1.My Facebook page, https://www.facebook.com/pages/Kitichai ... 5514051589.
2.U may follow my stock comment via http://twitter.com/value_talk
3.กระทู้ที่โพสท์นี้เป็นความเห็นส่วนตัว การซื้อขายหุ้นขึ้นอยู่กับการใช้วิจารณญาณของแต่ละคน
2.U may follow my stock comment via http://twitter.com/value_talk
3.กระทู้ที่โพสท์นี้เป็นความเห็นส่วนตัว การซื้อขายหุ้นขึ้นอยู่กับการใช้วิจารณญาณของแต่ละคน
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 4
ผมก็ชอบ Se-ed
เป็นลูกค้าซื้อหนังสือประจำ
ฐานลูกค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ และเติบโตต่อเนื่อง ที่สำคัญผมอ่านหลายคนในกระทู้ให้ความเห็นไว้ ซึ่งทำให้พอเชื่อได้ว่าเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดีอีกด้วย
คนเรียนรู้กันมากขึ้น รู้หนังสือกันมากขึ้น ก็ชอบอ่านหนังสือกันมากขึ้น ดังนั้นอุตสาหกรรมน่าจะยังเติบโตสูงไปเรื่อย ๆ ครับ
เป็นลูกค้าซื้อหนังสือประจำ
ฐานลูกค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ และเติบโตต่อเนื่อง ที่สำคัญผมอ่านหลายคนในกระทู้ให้ความเห็นไว้ ซึ่งทำให้พอเชื่อได้ว่าเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดีอีกด้วย
คนเรียนรู้กันมากขึ้น รู้หนังสือกันมากขึ้น ก็ชอบอ่านหนังสือกันมากขึ้น ดังนั้นอุตสาหกรรมน่าจะยังเติบโตสูงไปเรื่อย ๆ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 6
APRINT ผู้บริหารสวยกว่า รักตายเลย
SE-ED มีแต่ตาแก่เหี่ยวๆ
SE-ED มีแต่ตาแก่เหี่ยวๆ
I do not sleep. I dream.
-
- Verified User
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 9
ถ้าเป็นวันนี้เวลานี้ ต้นเดือน พ.ค.49 ผมให้น้ำหนัก APRINT น่าลงทุนมากกว่าครับ เพราะ...คนส่วนใหญ่สนใจแต่ SE-ED ที่ขึ้นมามากแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 10
ผมเข้าร้าน SE-ED ส่วนใหญ่ดูแต่หนังสือแต่งบ้าน...แต่งสวนของ APRINT ก็เลยคิดว่าน่าจะโตด้วยกันทั้งคู่
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ
(รวมทั้งความเห็นที่คิดว่า APRINT ดีกว่า เพราะเสน่ห์ของผู้บริหารด้วย
ลองเปิดดู Annual Report แล้ว น่ารักดีนะครับ )
(รวมทั้งความเห็นที่คิดว่า APRINT ดีกว่า เพราะเสน่ห์ของผู้บริหารด้วย
ลองเปิดดู Annual Report แล้ว น่ารักดีนะครับ )
"Winners never quit, and quitters never win."
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 15
HVI posted
คือผมมองว่าธุรกิจร้านหนังสือไม่ได้แข่งกันตรงๆนัก คือไม่ใช่แบบว่าซีเอ็ดขายดีมากๆแล้วยอดขายนายอินทร์จะตกวูบ แต่ผมมองว่าธุรกิจนี้เกื้อหนุนกันไปแบบพี่ช่วยน้องๆช่วยพี่
ร้านซีเอ็ดขายดีมากๆแต่ก็สามารถเพิ่มยอดขายให้นายอินทร์ได้ด้วย เพราะในร้ายซีเอ็ดก็มีหนังสือของนายอินทร์วางขาย เช่นเดียวกับร้ายนายอินทร์ก็มีหนังสือของซีเอ็ดวางขาย
แต่ราคาหุ้นนายอินทร์ถูกกว่าซีเอ็ดเยอะ ก็เลยคิดว่าน่าสนใจกว่า
คุณ HVI ลองซื้อ aprint สักร้อยหุ้นไว้เทียบกันดูสิครับ ว่าตัวไหนจะขึ้นมากกว่ากัน ผมสังหรณ์ใจว่า aprint น่าจะมากกว่า แต่ผมอาจจะผิดก็ได้(ที่จริงก็ผิดบ่อยๆ อิอิ...)
อ้าว......ซื้อไปแล้วเหรอครับวันนี้ SE-ED ล่วงแรงไปทำจุดต่ำสุดของวันที่ 8.25 ปิดที่ 8.50
ผมได้โอกาสเข้าไปซื้อที่ 8.35
สมัครเป็นสมาชิกห้อง SE-ED ด้วยคนนะครับ
ดีใจจัง ได้เป็นเจ้าของร้านหนังสือแล้ว
คือผมมองว่าธุรกิจร้านหนังสือไม่ได้แข่งกันตรงๆนัก คือไม่ใช่แบบว่าซีเอ็ดขายดีมากๆแล้วยอดขายนายอินทร์จะตกวูบ แต่ผมมองว่าธุรกิจนี้เกื้อหนุนกันไปแบบพี่ช่วยน้องๆช่วยพี่
ร้านซีเอ็ดขายดีมากๆแต่ก็สามารถเพิ่มยอดขายให้นายอินทร์ได้ด้วย เพราะในร้ายซีเอ็ดก็มีหนังสือของนายอินทร์วางขาย เช่นเดียวกับร้ายนายอินทร์ก็มีหนังสือของซีเอ็ดวางขาย
แต่ราคาหุ้นนายอินทร์ถูกกว่าซีเอ็ดเยอะ ก็เลยคิดว่าน่าสนใจกว่า
คุณ HVI ลองซื้อ aprint สักร้อยหุ้นไว้เทียบกันดูสิครับ ว่าตัวไหนจะขึ้นมากกว่ากัน ผมสังหรณ์ใจว่า aprint น่าจะมากกว่า แต่ผมอาจจะผิดก็ได้(ที่จริงก็ผิดบ่อยๆ อิอิ...)
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 16
APRINT เพิ่งซื้อไว้ไม่นานนี้ครับ
(แต่ทัน Annual Report แล้วก็รับเงินปันผลแล้ว)
ผมคิดว่าเป็นหุ้นที่เข้าข่าย Value Stock
มีผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
และราคาหุ้นมีเสถียรภาพ ถือตัวนี้แล้วสบายใจได้
เข้าไปดูผู้ถือหุ้นรายใหญ่
แถม Trade ที่ P/E ไม่สูงนัก
ส่วน SE-ED ก็เล็งมานานแล้วครับ
ตลาดคงคาดหวังว่า Growth ของ SE-ED สูงกว่า
จึง Trade ที่ P/E สูงกว่า
ดูงบการเงินแล้ว ผมคิดว่า APRINT ดูดีกว่าในแง่เสถียรภาพ
(หนี้น้อย ราคาหุ้นมีเสถียรภาพ หุ้นราคาถูกกว่าพอสมควร
SE-ED พักหลังวิ่งเร็วจนน่ากลัว)
พอเข้าไปดูผู้ถือหุ้นรายใหญ่
วันนี้เห็นปรับตัวลงมาแรง เลยถือโอกาสเข้าไปซื้อ
จะได้ In trend กับเขา :lol:
(เข้าใจว่าเพื่อนๆในนี้ คงมี SE-ED ใน port กันหลายคน)
แต่ก็ยังมี APRINT ในสัดส่วนที่มากกว่าครับ
ขอบคุณคุณหมอศรราม และทุกๆท่าน สำหรับ comment
ผิดถูกไม่เป็นไร เพราะเป็นการตัดสินใจของผู้ลงทุนเองครับ
(แต่ทัน Annual Report แล้วก็รับเงินปันผลแล้ว)
ผมคิดว่าเป็นหุ้นที่เข้าข่าย Value Stock
มีผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
และราคาหุ้นมีเสถียรภาพ ถือตัวนี้แล้วสบายใจได้
เข้าไปดูผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ตรงนี้ยิ่งทำให้มั่นใจในการถือหุ้นตัวนี้ครับ13 นางเพาพิลาส เหมวชิรวรากร 2,105,263 1.05
แถม Trade ที่ P/E ไม่สูงนัก
ส่วน SE-ED ก็เล็งมานานแล้วครับ
ตลาดคงคาดหวังว่า Growth ของ SE-ED สูงกว่า
จึง Trade ที่ P/E สูงกว่า
ดูงบการเงินแล้ว ผมคิดว่า APRINT ดูดีกว่าในแง่เสถียรภาพ
(หนี้น้อย ราคาหุ้นมีเสถียรภาพ หุ้นราคาถูกกว่าพอสมควร
SE-ED พักหลังวิ่งเร็วจนน่ากลัว)
พอเข้าไปดูผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ตรงนี้ก็เพิ่มความมั่นใจขึ้นครับ20 นางเพาพิลาส เหมวชิรวรากร 3,000,000 0.91
วันนี้เห็นปรับตัวลงมาแรง เลยถือโอกาสเข้าไปซื้อ
จะได้ In trend กับเขา :lol:
(เข้าใจว่าเพื่อนๆในนี้ คงมี SE-ED ใน port กันหลายคน)
แต่ก็ยังมี APRINT ในสัดส่วนที่มากกว่าครับ
ขอบคุณคุณหมอศรราม และทุกๆท่าน สำหรับ comment
ผิดถูกไม่เป็นไร เพราะเป็นการตัดสินใจของผู้ลงทุนเองครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 19
เห็นด้วย ถึงคนดังจะเก่งจริง ถ้าไม่ได้ซื้อที่ต้นทุนเดียวกับเขาก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลยJeng เขียน: แต่ไม่เกียวอะไรเลย กับราคาที่จะเข้าไปถือหุ้นด้วย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 20
ประเด็นเรื่องคนดัง ผมคิดแบบนี้นะครับ
อะไรเป็นที่มาของความดัง
หากที่มาดังกล่าว มาจากความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน
เช่น ดร.นิเวศน์ หรือคุณปู่ Buffett
รวมทั้งผลงานการลงทุนที่ไม่ธรรมดาของท่านเหล่านั้น
เราถึงนำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาร่วม
อันที่จริงไม่อยากใช้คำว่าคนดัง
แต่อยากใช้คำว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน หรือ Guru ด้านการลงทุนมากกว่า
ส่วนประเด็นเรื่องต้นทุนผมมองแบบนี้
หุ้นบางตัว หากมองเป็นการลงทุนในระยะยาว
เราหาโอกาสลงทุนได้เสมอ
เช่น PTTEP ราคาปรับตัวมาตั้งแต่ราคา 200, 300, 400, 500, 600 จนกระทั่งแตกพาร์
ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวท่านอาจจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ 200
แต่ก็ใช่ว่าที่ราคา 400 ลงทุนไม่ได้ หากนักลงทุนผู้นั้น พิจารณาแล้วว่า
ที่ราคา 400 ที่ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่แพงจนเกินไป
หากพิจารณา ช่วงที่เรากำลังเข้าไปลงทุน ณ ราคา 400 บาท
การที่ Guru ด้านการลงทุนยังถือหุ้น ณ ราคา 400 นั่นหมายความว่า
ท่านเหล่านั้นยังคิดว่าหุ้นตัวนั้นยังดีในระยะยาว
เพราะถ้าหากท่านคิดว่า ราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็นมากแล้ว
ท่านคงขายแล้วเปลี่ยนตัวไปถือตัวอื่นที่คิดว่าปลอดภัยและได้รับผลตอบแทนมากกว่า
ส่วนการที่นักลงทุนเข้าไปลงทุนช้าก็อาจจะมาจากสาเหตุหลายๆอย่างเช่น
1. เพิ่งเข้าใจในตัวธุรกิจ
2. เพิ่งวิเคราะห์เสร็จ และตัดสินใจลงทุน
3. เพิ่งมีเงินออมมาลงทุน
หรือ ปัจจัยอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่มาเสริมความมั่นใจ
ไม่ได้คิดว่าเป็นปัจจัยหลัก
เพราะผมก็ไม่มี SSC (ส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบดื่มน้ำอัดลม)
ไม่มี IRC (ยังไม่เข้าใจธุรกิจ)
แล้วผมก็มีหุ้นแปลกๆ ที่ ดร. ไม่มีเหมือนกัน :lol:
อะไรเป็นที่มาของความดัง
หากที่มาดังกล่าว มาจากความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน
เช่น ดร.นิเวศน์ หรือคุณปู่ Buffett
รวมทั้งผลงานการลงทุนที่ไม่ธรรมดาของท่านเหล่านั้น
เราถึงนำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาร่วม
อันที่จริงไม่อยากใช้คำว่าคนดัง
แต่อยากใช้คำว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน หรือ Guru ด้านการลงทุนมากกว่า
ส่วนประเด็นเรื่องต้นทุนผมมองแบบนี้
หุ้นบางตัว หากมองเป็นการลงทุนในระยะยาว
เราหาโอกาสลงทุนได้เสมอ
เช่น PTTEP ราคาปรับตัวมาตั้งแต่ราคา 200, 300, 400, 500, 600 จนกระทั่งแตกพาร์
ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวท่านอาจจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ 200
แต่ก็ใช่ว่าที่ราคา 400 ลงทุนไม่ได้ หากนักลงทุนผู้นั้น พิจารณาแล้วว่า
ที่ราคา 400 ที่ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่แพงจนเกินไป
หากพิจารณา ช่วงที่เรากำลังเข้าไปลงทุน ณ ราคา 400 บาท
การที่ Guru ด้านการลงทุนยังถือหุ้น ณ ราคา 400 นั่นหมายความว่า
ท่านเหล่านั้นยังคิดว่าหุ้นตัวนั้นยังดีในระยะยาว
เพราะถ้าหากท่านคิดว่า ราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็นมากแล้ว
ท่านคงขายแล้วเปลี่ยนตัวไปถือตัวอื่นที่คิดว่าปลอดภัยและได้รับผลตอบแทนมากกว่า
ส่วนการที่นักลงทุนเข้าไปลงทุนช้าก็อาจจะมาจากสาเหตุหลายๆอย่างเช่น
1. เพิ่งเข้าใจในตัวธุรกิจ
2. เพิ่งวิเคราะห์เสร็จ และตัดสินใจลงทุน
3. เพิ่งมีเงินออมมาลงทุน
หรือ ปัจจัยอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่มาเสริมความมั่นใจ
ไม่ได้คิดว่าเป็นปัจจัยหลัก
เพราะผมก็ไม่มี SSC (ส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบดื่มน้ำอัดลม)
ไม่มี IRC (ยังไม่เข้าใจธุรกิจ)
แล้วผมก็มีหุ้นแปลกๆ ที่ ดร. ไม่มีเหมือนกัน :lol:
"Winners never quit, and quitters never win."
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 21
วกมาเข้าเรื่อง APRINT vs SE-ED
ในธุรกิจหนังสือประกอบด้วย โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย และร้านหนังสือ
APRINT อยู่ต้นน้ำเป็นหลักคือ โรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ เน้นเติบโตแบบ horizontal คือ ออกหนังสือหัวใหม่มากๆ หรือไม่ก็ผลิตสื่ออย่างอื่นเพิ่มเติม
SE-ED เริ่มต้นจากต้นน้ำแต่ปัจจุบันทำทุกอย่างโดยเน้นปลายน้ำมากกว่า ได้แก่ ธุรกิจร้านหนังสือ เติบโตด้วยการขยายร้านหนังสือเป็นหลัก
ธุรกิจสำนักพิมพ์ กับธุรกิจร้านหนังสือ แม้ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ก็มี economics ที่แตกต่างกันมาก
ธุรกิจสำนักพิมพ์เป็น hit-driven business ครับ ออกมาสัก 5 หัว เกิดสักหัวเดียวก็เก่งแล้ว ต้องใช้เงินทุนมหาศาลในช่วงแรกๆ ที่สร้างหัวใหม่ เพราะ circulation ยังน้อย หาสปอนเซอร์ยาก ขาดทุน แต่พอคนอ่านมากถึง critical mass เมื่อไร ก็จะกลายเป็น cash cow ถ้าจะโตอีกก็ต้องออกหัวใหม่ ทุ่มทุนสร้างกันใหม่
ธุรกิจร้านหนังสือเป็น ซื้อมา-ขายไป อย่างเดียวครับ เหมือนร้านค้าปลีกทุกประเภท
รักชอบตัวไหนก็แล้วแต่ครับ ผมว่าตัวบริษัทดีทั้งคู่ (แต่ผมไม่มีนะ)
ในธุรกิจหนังสือประกอบด้วย โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย และร้านหนังสือ
APRINT อยู่ต้นน้ำเป็นหลักคือ โรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ เน้นเติบโตแบบ horizontal คือ ออกหนังสือหัวใหม่มากๆ หรือไม่ก็ผลิตสื่ออย่างอื่นเพิ่มเติม
SE-ED เริ่มต้นจากต้นน้ำแต่ปัจจุบันทำทุกอย่างโดยเน้นปลายน้ำมากกว่า ได้แก่ ธุรกิจร้านหนังสือ เติบโตด้วยการขยายร้านหนังสือเป็นหลัก
ธุรกิจสำนักพิมพ์ กับธุรกิจร้านหนังสือ แม้ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ก็มี economics ที่แตกต่างกันมาก
ธุรกิจสำนักพิมพ์เป็น hit-driven business ครับ ออกมาสัก 5 หัว เกิดสักหัวเดียวก็เก่งแล้ว ต้องใช้เงินทุนมหาศาลในช่วงแรกๆ ที่สร้างหัวใหม่ เพราะ circulation ยังน้อย หาสปอนเซอร์ยาก ขาดทุน แต่พอคนอ่านมากถึง critical mass เมื่อไร ก็จะกลายเป็น cash cow ถ้าจะโตอีกก็ต้องออกหัวใหม่ ทุ่มทุนสร้างกันใหม่
ธุรกิจร้านหนังสือเป็น ซื้อมา-ขายไป อย่างเดียวครับ เหมือนร้านค้าปลีกทุกประเภท
รักชอบตัวไหนก็แล้วแต่ครับ ผมว่าตัวบริษัทดีทั้งคู่ (แต่ผมไม่มีนะ)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 22
ในฐานะที่ติดตามหุ้นพวกค้าปลีก และสิ่งพิมพ์ มาบ้าง ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ APRINT และ SE-ED เพื่อประกอบการพิจารณาการเลือกลงทุน ดังนี้
1. SE-ED ในปัจจุบัน เด่นที่สุดเรื่องร้านหนังสือ และยังมีโอกาสขยายตัว และเพิ่มกำไรจากการปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้า ระบบสารสนเทศ และระบบ online ตามที่ผู้บริหารให้ข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้ต้องเดากันต่อเองว่าจะยังขยายตัวไปได้อีกมากแค่ไหนในภาวะที่ยังมีกฎหมายผังเมืองมาทำให้การขยายตัวของพวกไฮเปอร์มาร์เก็ตหยุดชะงักไป แต่ใน 2-3 ปี SE-ED ยังน่าจะเติบโตด้านกำไรอยู่ เพราะการปรับปรุง net pofit margin เป็นประเด็นสำคัญของ SE-ED ในช่วงนี้แม้ยอดขายจะชะลอตัวอยู่บ้างก็ตาม
ในกรณีที่ SE-ED ขยายสาขาได้จนมี market share ได้เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง จะทำให้การเติบโตด้านยอดขายของ SE-ED ขึ้นกับการเติบโตของธุรกิจหนังสือในภาพรวม ไม่ไปวูบวาบขึ้นกับความแม่นยำของบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ของตนเองมากนัก (ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของธุรกิจสำนักพิมพ์) อาจมองว่าทำให้ยอดขายมีเสถียรภาพระยะยาวมากขึ้นถ้ามองว่าธุรกิจหนังสือยังมีโอกาสเติบโตปีละอย่างน้อย 10% ขณะที่โอกาสการเติบโตของกำไรมีสูงขึ้นกว่านี้ได้มาก
เคยสัมภาษณ์ผู้บริหาร SE-ED ทราบว่ากำลังปรับ product mix ในร้านด้วย พอดีเดินไปดูสาขาหนึ่งของ SE-ED ที่ไปใช้บริการประจำ เห็นเขาเพิ่มหมวดการ์ตูนเข้าไปเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว หลังจากที่แต่เดิมเห็นมีขายอยู่นิดหน่อย น่าจะช่วยเพิ่มยอดของสาขาเดิมได้อีก เพราะการ์ตูนนี่ยังมีแฟนเหนียวแน่นเป็นกลุ่มใหญ่
แต่ที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง คือ บทบาทของ SE-ED ในฐานะที่เป็นสำนักพิมพ์ และผู้จัดจำหน่ายหนังสือ ซึ่งดูเงียบๆ และไม่ค่อยอยู่ในข่าว แต่พอดีเห็นหนังสือพิมพ์เมื่อไม่กี่วันนี้ ลงข่าวสำนักพิมพ์หนึ่ง (ของเจ้าของ Media of Media เดิม) ที่กำลังขยายงาน และวางเป้าหมายที่จะขยายสำนักพิมพ์ให้โตขึ้นเป็น 400 ล้านบาทภายใน 1 ปี และเน้นว่าการจัดจำหน่ายให้ SE-ED เป็นผู้รับผิดชอบ
ตรงนี้ผมจึงมาเสริมว่า จุดแข็งของ SE-ED ที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง คือ SE-ED เป็นผู้จัดจำหน่ายหนังสือรายใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ซึ่งน่าจะเสริมบทบาทกับการเป็นร้านหนังสือรายใหญ่ที่สุด เพราะใครๆ ก็คงอยากให้มีสินค้าของตนเองในร้านของ SE-ED ในระยะยาว (เพราะหนังสือออกใหม่มาก แต่มีที่วางน้อย ตามที่ผู้บริหาร SE-ED แถลงบ่อยๆ) ซึ่งมีฐานการเงินที่แข็งไม่ต้องห่วงหนี้สูญ หรือการชำระเงินช้า ดังนั้น ง่ายสุดคือ การให้ SE-ED เป็นผู้จัดจำหน่ายซะเลย ดังนั้น โอกาสที่ grosss margin จะถูกปรับปรุงดีขึ้น ก็ยังมีแนวโน้มที่ดี เพราะสำนักพิมพ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เพียงแต่ต้องเพิ่มน้ำหนักส่วนนี้ให้มากขึ้นเพื่อจะได้มีผลกระทบที่เห็นชัด
อีกส่วนหนึ่ง คือ เรืองบทบาทของสำนักพิมพ์ ซึ่ง SE-ED เป็นรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย (SE-ED เคยเป็นรายใหญ่ที่สุดมาก่อน โดยมี APRINT และนานมีบุ๊คส์ ไต่ระดับขึ้นมาเคียงคู่กันเมื่อ 5-6 ปีหลังนี้) ซึ่ง SE-ED มีจุดเน้นที่ต่างจาก APRINT ตรงที่ SE-ED มีฐานข้อมูลการขายสินค้าในฐานะร่านหนังสือรายใหญ่ที่สุดอยู่ในมือ และเปิดแถลงข่าวเป็นระยะๆ และเน้นนโยบายการผลิตหนังสือที่ขายได้มากในระยะยาว โดยไม่เป็นหนังสือตามกระแส จะทำให้การทำกำไรระยะยาวของ SE-ED ในส่วนสำนักพิมพ์ดี และไม่ไปแข่งกับสำนักพิมพ์ทั่วไป ซึ่งทำให้สำนักพิมพ์ใหญ่ หรือกำลังจะใหญ่ (ที่ส่วนใหญ่เน้นหนังสือกระแส) รู้สึกสบายใจที่ SE-ED ไม่ไปแข่งขันกับตนทางตรงในระยะยาว และอยากให้ SE-ED จัดจำหน่ายหนังสือให้
อีกส่วนหนึ่งที่ SE-ED ขยายงานเพิ่มขึ้น คือ ด้านการศึกษา ที่เปิดโรงเรียนเพลินพัฒนา (และอื่นๆ) ถือเป็นการขยายฐานไปอีกธุรกิจหนึ่งที่ข้างเคียงกัน ยังคงต้องติดตามดูอยู่ว่า SE-ED จะทำได้สำเร็จไหม แต่ถ้าทำได้สำเร็จภายในอีก 2-3 ปี เชื่อว่าธุรกิจการศึกษาน่าจะเป็นฐานการสร้างกำไรระยะยาวเพิ่มขึ้นให้ SE-ED ได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวภายใน 5-10 ปีเมื่อเทียบกับสภาพการทำกำไรของ SE-ED ในขณะนี้ และจะมีโอกาสเติบโตจากการขยายงานส่วนนี้ได้อีกมาก
2. ส่วนทาง APRINT มีจุดเด่นที่สุด คือ ด้านนิตยสาร ซึ่งมีสภาพการทำกำไรที่ดีมากจากรายได้โฆษณา และยังมีการเติบโตได้อยู่ จากนโยบาย Content Business ที่พัฒนาต่อยอดทำรายการโทรทัศน์ และพัฒนามาทำธุรกิจจัดงานแสดงสินค้า ซึ่งทั้งสองส่วนที่ต่อยอดนี้ มีโอกาสทำกำไรด้สูงหากทำสำเร็จ ความเสี่ยงจะมีหน่อยก็ตรงที่เป็นเป้าหมายของค่ายนิตยสารรายใหญ่อื่นมาก ที่ทำนิตยสารใหม่มาแข่งขันชิงแชมป์ ซึ่งทาง APRINT ก็ไม่ได้อยู่เฉย พลิกตัวขยายแนวรบด้านนิตยสารด้วยเช่นกัน เพื่อหามาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง
ส่วนธุรกิจสำนักพิมพ์ของ APRINT เป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของ APRINT ที่พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีหลังนี้จนกลายมาเป็นรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย โดยมีหนังสือออกใหม่มากกว่า 200 ปก (ขณะที่ SE-ED ออกมาประมาณiร้อยกว่าปก ตามข้อมูลจาก SE-ED) และมีนโยบายที่จะขยายแนวหนังสือออกไปทุกแนวตามที่ได้แถลงข่าวในหนังสือพิมพ์ตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา (รวมคอมพิวเตอร์ บริหารธุรกิจ การ์ตูน ธรรมะ) ตรงนี้ถ้าทำขึ้น ก็จะมีผลการทำกำไรที่ดีขึ้น แต่ถ้าพลาดเป็นส่วนใหญ่ ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง คือ ได้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่สภาพการทำกำไรอาจตกลง จึงขึ้นกับความแม่นยำในการมองตลาดของทีมบรรณาธิการในแต่ละปี
ส่วนธุรกิจร้านหนังสือ และการจัดจำหน่าย ในชื่อของบริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ก็กำลังเปิดแนวรบมากขึ้น แต่คงมีส่วนกระทบกับ APRINT ในเรื่องเป็นช่องทางการขายหนังสือของสำนักพิมพ์ในเครือ APRINT แต่คงไม่ได้กระทบกำไรต่อ APRINT มากนัก เพราะเป็นธุรกิจครอบครัวส่วนตัวนอก APRINT (ถ้าจำไม่ผิด เดิม APRINT ถือหุ้นอยู่ประมาณ 40% แต่ลดสัดส่วนหุ้นลงอีก เพื่อไม่รวมงบ เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุน เข้าใจว่าตอนนี้คงน่าจะไม่ขาดทุนแล้ว)
นี่เล่ามาเท่าที่ทราบ ถือว่าแต่ละค่ายมีจุดแข็งของตนเอง มีจุดเน้นที่ต่างกัน และมีโอกาสเติบโตได้ทั้งคู่ ใครชอบแบบไหน (APRINT มีผู้หญิงเป็นแม่ทัพ ส่วน SE-ED มีผู้ชายเป็นแม่ทัพ) และคิดว่าราคาขณะนี้น่าลงทุนตัวไหน ก็เลือกลงทุนกันตามประสา VI กันเองนะครับ
1. SE-ED ในปัจจุบัน เด่นที่สุดเรื่องร้านหนังสือ และยังมีโอกาสขยายตัว และเพิ่มกำไรจากการปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้า ระบบสารสนเทศ และระบบ online ตามที่ผู้บริหารให้ข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้ต้องเดากันต่อเองว่าจะยังขยายตัวไปได้อีกมากแค่ไหนในภาวะที่ยังมีกฎหมายผังเมืองมาทำให้การขยายตัวของพวกไฮเปอร์มาร์เก็ตหยุดชะงักไป แต่ใน 2-3 ปี SE-ED ยังน่าจะเติบโตด้านกำไรอยู่ เพราะการปรับปรุง net pofit margin เป็นประเด็นสำคัญของ SE-ED ในช่วงนี้แม้ยอดขายจะชะลอตัวอยู่บ้างก็ตาม
ในกรณีที่ SE-ED ขยายสาขาได้จนมี market share ได้เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง จะทำให้การเติบโตด้านยอดขายของ SE-ED ขึ้นกับการเติบโตของธุรกิจหนังสือในภาพรวม ไม่ไปวูบวาบขึ้นกับความแม่นยำของบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ของตนเองมากนัก (ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของธุรกิจสำนักพิมพ์) อาจมองว่าทำให้ยอดขายมีเสถียรภาพระยะยาวมากขึ้นถ้ามองว่าธุรกิจหนังสือยังมีโอกาสเติบโตปีละอย่างน้อย 10% ขณะที่โอกาสการเติบโตของกำไรมีสูงขึ้นกว่านี้ได้มาก
เคยสัมภาษณ์ผู้บริหาร SE-ED ทราบว่ากำลังปรับ product mix ในร้านด้วย พอดีเดินไปดูสาขาหนึ่งของ SE-ED ที่ไปใช้บริการประจำ เห็นเขาเพิ่มหมวดการ์ตูนเข้าไปเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว หลังจากที่แต่เดิมเห็นมีขายอยู่นิดหน่อย น่าจะช่วยเพิ่มยอดของสาขาเดิมได้อีก เพราะการ์ตูนนี่ยังมีแฟนเหนียวแน่นเป็นกลุ่มใหญ่
แต่ที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง คือ บทบาทของ SE-ED ในฐานะที่เป็นสำนักพิมพ์ และผู้จัดจำหน่ายหนังสือ ซึ่งดูเงียบๆ และไม่ค่อยอยู่ในข่าว แต่พอดีเห็นหนังสือพิมพ์เมื่อไม่กี่วันนี้ ลงข่าวสำนักพิมพ์หนึ่ง (ของเจ้าของ Media of Media เดิม) ที่กำลังขยายงาน และวางเป้าหมายที่จะขยายสำนักพิมพ์ให้โตขึ้นเป็น 400 ล้านบาทภายใน 1 ปี และเน้นว่าการจัดจำหน่ายให้ SE-ED เป็นผู้รับผิดชอบ
ตรงนี้ผมจึงมาเสริมว่า จุดแข็งของ SE-ED ที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง คือ SE-ED เป็นผู้จัดจำหน่ายหนังสือรายใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ซึ่งน่าจะเสริมบทบาทกับการเป็นร้านหนังสือรายใหญ่ที่สุด เพราะใครๆ ก็คงอยากให้มีสินค้าของตนเองในร้านของ SE-ED ในระยะยาว (เพราะหนังสือออกใหม่มาก แต่มีที่วางน้อย ตามที่ผู้บริหาร SE-ED แถลงบ่อยๆ) ซึ่งมีฐานการเงินที่แข็งไม่ต้องห่วงหนี้สูญ หรือการชำระเงินช้า ดังนั้น ง่ายสุดคือ การให้ SE-ED เป็นผู้จัดจำหน่ายซะเลย ดังนั้น โอกาสที่ grosss margin จะถูกปรับปรุงดีขึ้น ก็ยังมีแนวโน้มที่ดี เพราะสำนักพิมพ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เพียงแต่ต้องเพิ่มน้ำหนักส่วนนี้ให้มากขึ้นเพื่อจะได้มีผลกระทบที่เห็นชัด
อีกส่วนหนึ่ง คือ เรืองบทบาทของสำนักพิมพ์ ซึ่ง SE-ED เป็นรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย (SE-ED เคยเป็นรายใหญ่ที่สุดมาก่อน โดยมี APRINT และนานมีบุ๊คส์ ไต่ระดับขึ้นมาเคียงคู่กันเมื่อ 5-6 ปีหลังนี้) ซึ่ง SE-ED มีจุดเน้นที่ต่างจาก APRINT ตรงที่ SE-ED มีฐานข้อมูลการขายสินค้าในฐานะร่านหนังสือรายใหญ่ที่สุดอยู่ในมือ และเปิดแถลงข่าวเป็นระยะๆ และเน้นนโยบายการผลิตหนังสือที่ขายได้มากในระยะยาว โดยไม่เป็นหนังสือตามกระแส จะทำให้การทำกำไรระยะยาวของ SE-ED ในส่วนสำนักพิมพ์ดี และไม่ไปแข่งกับสำนักพิมพ์ทั่วไป ซึ่งทำให้สำนักพิมพ์ใหญ่ หรือกำลังจะใหญ่ (ที่ส่วนใหญ่เน้นหนังสือกระแส) รู้สึกสบายใจที่ SE-ED ไม่ไปแข่งขันกับตนทางตรงในระยะยาว และอยากให้ SE-ED จัดจำหน่ายหนังสือให้
อีกส่วนหนึ่งที่ SE-ED ขยายงานเพิ่มขึ้น คือ ด้านการศึกษา ที่เปิดโรงเรียนเพลินพัฒนา (และอื่นๆ) ถือเป็นการขยายฐานไปอีกธุรกิจหนึ่งที่ข้างเคียงกัน ยังคงต้องติดตามดูอยู่ว่า SE-ED จะทำได้สำเร็จไหม แต่ถ้าทำได้สำเร็จภายในอีก 2-3 ปี เชื่อว่าธุรกิจการศึกษาน่าจะเป็นฐานการสร้างกำไรระยะยาวเพิ่มขึ้นให้ SE-ED ได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวภายใน 5-10 ปีเมื่อเทียบกับสภาพการทำกำไรของ SE-ED ในขณะนี้ และจะมีโอกาสเติบโตจากการขยายงานส่วนนี้ได้อีกมาก
2. ส่วนทาง APRINT มีจุดเด่นที่สุด คือ ด้านนิตยสาร ซึ่งมีสภาพการทำกำไรที่ดีมากจากรายได้โฆษณา และยังมีการเติบโตได้อยู่ จากนโยบาย Content Business ที่พัฒนาต่อยอดทำรายการโทรทัศน์ และพัฒนามาทำธุรกิจจัดงานแสดงสินค้า ซึ่งทั้งสองส่วนที่ต่อยอดนี้ มีโอกาสทำกำไรด้สูงหากทำสำเร็จ ความเสี่ยงจะมีหน่อยก็ตรงที่เป็นเป้าหมายของค่ายนิตยสารรายใหญ่อื่นมาก ที่ทำนิตยสารใหม่มาแข่งขันชิงแชมป์ ซึ่งทาง APRINT ก็ไม่ได้อยู่เฉย พลิกตัวขยายแนวรบด้านนิตยสารด้วยเช่นกัน เพื่อหามาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง
ส่วนธุรกิจสำนักพิมพ์ของ APRINT เป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของ APRINT ที่พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีหลังนี้จนกลายมาเป็นรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย โดยมีหนังสือออกใหม่มากกว่า 200 ปก (ขณะที่ SE-ED ออกมาประมาณiร้อยกว่าปก ตามข้อมูลจาก SE-ED) และมีนโยบายที่จะขยายแนวหนังสือออกไปทุกแนวตามที่ได้แถลงข่าวในหนังสือพิมพ์ตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา (รวมคอมพิวเตอร์ บริหารธุรกิจ การ์ตูน ธรรมะ) ตรงนี้ถ้าทำขึ้น ก็จะมีผลการทำกำไรที่ดีขึ้น แต่ถ้าพลาดเป็นส่วนใหญ่ ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง คือ ได้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่สภาพการทำกำไรอาจตกลง จึงขึ้นกับความแม่นยำในการมองตลาดของทีมบรรณาธิการในแต่ละปี
ส่วนธุรกิจร้านหนังสือ และการจัดจำหน่าย ในชื่อของบริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ก็กำลังเปิดแนวรบมากขึ้น แต่คงมีส่วนกระทบกับ APRINT ในเรื่องเป็นช่องทางการขายหนังสือของสำนักพิมพ์ในเครือ APRINT แต่คงไม่ได้กระทบกำไรต่อ APRINT มากนัก เพราะเป็นธุรกิจครอบครัวส่วนตัวนอก APRINT (ถ้าจำไม่ผิด เดิม APRINT ถือหุ้นอยู่ประมาณ 40% แต่ลดสัดส่วนหุ้นลงอีก เพื่อไม่รวมงบ เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุน เข้าใจว่าตอนนี้คงน่าจะไม่ขาดทุนแล้ว)
นี่เล่ามาเท่าที่ทราบ ถือว่าแต่ละค่ายมีจุดแข็งของตนเอง มีจุดเน้นที่ต่างกัน และมีโอกาสเติบโตได้ทั้งคู่ ใครชอบแบบไหน (APRINT มีผู้หญิงเป็นแม่ทัพ ส่วน SE-ED มีผู้ชายเป็นแม่ทัพ) และคิดว่าราคาขณะนี้น่าลงทุนตัวไหน ก็เลือกลงทุนกันตามประสา VI กันเองนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณ คุณสุมาอี้ และ คุณ New Analyst มากครับ ข้อมูลดีมากๆ
อยากจะเรียนถามต่อเกี่ยวกับการรวมงบครับ
อยากจะเรียนถามต่อเกี่ยวกับการรวมงบครับ
ไม่ทราบว่ามีกฎเกณฑ์ ในการรวมงบหรือไม่รวมงบอย่างไรครับ?(ถ้าจำไม่ผิด เดิม APRINT ถือหุ้นอยู่ประมาณ 40% แต่ลดสัดส่วนหุ้นลงอีก เพื่อไม่รวมงบ เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุน เข้าใจว่าตอนนี้คงน่าจะไม่ขาดทุนแล้ว)
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 24
ผมไม่มีพื้นฐานมาทางบัญชีแน่นหนาพอจะชี้แจงได้ชัดเจนนัก คงมีบางท่านที่แม่นกว่านี้มาช่วยชี้แจงเสริมถ้าผมชี้แจงไม่ถูกต้องครบถ้วน ก็ถือว่าเล่าตามที่รู้มานะครับ
โดยทั่วไป ถ้าถือหุ้นครึ่งหนึ่งขึ้นไป ก็ต้องรวมงบ ตรงนี้คงไม่มีใครสงสัย
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ถึงครึ่งหนึ่ง แต่ด้วยกลไกการจัดการสามารถมี "อำนาจควบคุม" อีกบริษัทหนึ่งได้ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ก็ถือว่าต้องรวมงบด้วยเข่นกัน ตัวอย่างเช่น ใช้กรรมการชุดเดียวกัน หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งร่วมกัน หรือมีประธานร่วมกัน หรีอใช้ทีมบริหารชุดเดียวกัน หรือมีอำนาจในการอนุมัติการใช้จ่าย เป็นต้น ตรงนี้ผู้สอบบัญชีจะต้องประเมินข้อเท็จจริงเพื่อหาข้อสรุปว่ามีอำนาจควบคุมหรือไม่ และต้องรวมงบหรือไม่
ในบางกรณี ผู้บริหารไม่อยากรวมงบด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ทั้งที่เข้าข่ายดังกล่าว ผู้สอบบัญชีจะต้องแย้ง และไม่ยอมผ่านง่ายๆ อย่างน้อยที่สุด ต้องตั้งข้อสังเกตในงบทันที
ส่วนกรณีของ APRINT ผมไม่ทราบรายละเอียด เพราะปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่ต้องตามข้อมูลหุ้นในธุรกิจสิ่งพิมพ์แล้ว จึงไม่รู้ว่ามีระบบการจัดการแยกจากกัน โดยไม่ขึ้นกันอย่างไร จนสามารถที่จะไม่รวมงบได้ เพราะภาพพจน์ของร้านนายอินทร์ และธุรกิจการจัดจำหน่ายของอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ที่ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ เสมือนหนึ่งเป็นธุรกิจในความรับผิดชอบของ APRINT โดยตรง
โดยทั่วไป ถ้าถือหุ้นครึ่งหนึ่งขึ้นไป ก็ต้องรวมงบ ตรงนี้คงไม่มีใครสงสัย
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ถึงครึ่งหนึ่ง แต่ด้วยกลไกการจัดการสามารถมี "อำนาจควบคุม" อีกบริษัทหนึ่งได้ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ก็ถือว่าต้องรวมงบด้วยเข่นกัน ตัวอย่างเช่น ใช้กรรมการชุดเดียวกัน หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งร่วมกัน หรือมีประธานร่วมกัน หรีอใช้ทีมบริหารชุดเดียวกัน หรือมีอำนาจในการอนุมัติการใช้จ่าย เป็นต้น ตรงนี้ผู้สอบบัญชีจะต้องประเมินข้อเท็จจริงเพื่อหาข้อสรุปว่ามีอำนาจควบคุมหรือไม่ และต้องรวมงบหรือไม่
ในบางกรณี ผู้บริหารไม่อยากรวมงบด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ทั้งที่เข้าข่ายดังกล่าว ผู้สอบบัญชีจะต้องแย้ง และไม่ยอมผ่านง่ายๆ อย่างน้อยที่สุด ต้องตั้งข้อสังเกตในงบทันที
ส่วนกรณีของ APRINT ผมไม่ทราบรายละเอียด เพราะปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่ต้องตามข้อมูลหุ้นในธุรกิจสิ่งพิมพ์แล้ว จึงไม่รู้ว่ามีระบบการจัดการแยกจากกัน โดยไม่ขึ้นกันอย่างไร จนสามารถที่จะไม่รวมงบได้ เพราะภาพพจน์ของร้านนายอินทร์ และธุรกิจการจัดจำหน่ายของอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ที่ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ เสมือนหนึ่งเป็นธุรกิจในความรับผิดชอบของ APRINT โดยตรง
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 26
[quote="New Analyst"]ผมไม่มีพื้นฐานมาทางบัญชีแน่นหนาพอจะชี้แจงได้ชัดเจนนัก
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 27
เรียน คุณ HVI และ BHT
ขอบพระคุณมากครับที่ให้เกียรติอยากรู้จัก แต่ผมไม่ค่อยอยากพูดถึงที่ทำงานนัก เพราะจะได้พูดได้เต็มที่โดยไม่มี bias จะทำให้การพูดคุยโดยเน้นแต่เนื้อหาสาระอย่างที่เวบบอร์ดนี้ทำ ก็จะได้ทำได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น และจริงๆ แล้ว ผมยังมือใหม่มากๆ ในวงการนี้ ขอเป็นมือใหม่หัดขับไปก่อนครับ ปีกกล้าขาแข็ง ก็อาจจะมาได้เป็น VI เต็มตัวกับเขาบ้าง
ขอกลับมาเรื่องของ APRINT และ SE-ED อีกหน่อย
ถ้าลองไปดูข้อมูล ดัชนีผลการตอบแทนการลงทุนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุด ที่ตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2549 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ราคาหุ้นของ SE-ED จะวิ่งแบบผิดสังเกตในต้นเดือนพฤษภาคม (ดูรายละเอียดได้จาก http://www.set.or.th/th/info/statistics/tri.html ซึ่งเป็นการคิดผลตอบแทนจาก Capital Gain/Loss + Rights + Dividend)
ดัชนีผลตอบแทนการลงุทนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุดของ SE-ED จะได้ค่าเป็น 96.35 สูงเป็นลำดับที่ 30 ของตลาดทั้งหมด
ส่วนของ APRINT ได้ 24.03 สูงเป็นลำดับที่ 146 ของตลาดทั้งหมด
แม้นั่นเป็นข้อมูลในอดีต แต่ก็พอจะบอกอะไรว่า SE-ED มีการปรับปรุงกำไรที่ผ่านมาได้ดีกว่าเดิมเยอะ
คำถามที่น่าสนใจ คือ แล้วในอีก 12 เดือนข้างหน้า หรืออีก 24 เดือน หรืออีก 36 เดือนข้างหน้า ใครจะมีค่าดัชนีผลตอบแทนรวมมากกว่ากันตามโจทย์ของคุณ HVI ที่ต้องการให้ฟันธงเลือกเพียงตัวเดียว หรือพูดง่ายๆ ว่า ใครจะสามารถปรับปรุงอัตราการทำกำไรได้มากกว่าเดิมตอนนี้มากกว่ากัน ?? เช่น ใครมีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นเป็น "เท่าตัว" ได้มากกว่ากัน ?? (สมมติว่าไม่มีการเพิ่มทุน หรือไม่มีการกู้ยืมเงินมาลงทุนเพิ่ม ซึ่งเป็นทิศทางของทั้งสองค่ายในขณะนี้)
เชิญชาว VI ลับสมองกันต่อนะครับ
ขอบพระคุณมากครับที่ให้เกียรติอยากรู้จัก แต่ผมไม่ค่อยอยากพูดถึงที่ทำงานนัก เพราะจะได้พูดได้เต็มที่โดยไม่มี bias จะทำให้การพูดคุยโดยเน้นแต่เนื้อหาสาระอย่างที่เวบบอร์ดนี้ทำ ก็จะได้ทำได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น และจริงๆ แล้ว ผมยังมือใหม่มากๆ ในวงการนี้ ขอเป็นมือใหม่หัดขับไปก่อนครับ ปีกกล้าขาแข็ง ก็อาจจะมาได้เป็น VI เต็มตัวกับเขาบ้าง
ขอกลับมาเรื่องของ APRINT และ SE-ED อีกหน่อย
ถ้าลองไปดูข้อมูล ดัชนีผลการตอบแทนการลงทุนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุด ที่ตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2549 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ราคาหุ้นของ SE-ED จะวิ่งแบบผิดสังเกตในต้นเดือนพฤษภาคม (ดูรายละเอียดได้จาก http://www.set.or.th/th/info/statistics/tri.html ซึ่งเป็นการคิดผลตอบแทนจาก Capital Gain/Loss + Rights + Dividend)
ดัชนีผลตอบแทนการลงุทนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุดของ SE-ED จะได้ค่าเป็น 96.35 สูงเป็นลำดับที่ 30 ของตลาดทั้งหมด
ส่วนของ APRINT ได้ 24.03 สูงเป็นลำดับที่ 146 ของตลาดทั้งหมด
แม้นั่นเป็นข้อมูลในอดีต แต่ก็พอจะบอกอะไรว่า SE-ED มีการปรับปรุงกำไรที่ผ่านมาได้ดีกว่าเดิมเยอะ
คำถามที่น่าสนใจ คือ แล้วในอีก 12 เดือนข้างหน้า หรืออีก 24 เดือน หรืออีก 36 เดือนข้างหน้า ใครจะมีค่าดัชนีผลตอบแทนรวมมากกว่ากันตามโจทย์ของคุณ HVI ที่ต้องการให้ฟันธงเลือกเพียงตัวเดียว หรือพูดง่ายๆ ว่า ใครจะสามารถปรับปรุงอัตราการทำกำไรได้มากกว่าเดิมตอนนี้มากกว่ากัน ?? เช่น ใครมีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นเป็น "เท่าตัว" ได้มากกว่ากัน ?? (สมมติว่าไม่มีการเพิ่มทุน หรือไม่มีการกู้ยืมเงินมาลงทุนเพิ่ม ซึ่งเป็นทิศทางของทั้งสองค่ายในขณะนี้)
เชิญชาว VI ลับสมองกันต่อนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
APRINT & SE-ED
โพสต์ที่ 28
[quote="New Analyst"]
ถ้าลองไปดูข้อมูล ดัชนีผลการตอบแทนการลงทุนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุด ที่ตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2549
ถ้าลองไปดูข้อมูล ดัชนีผลการตอบแทนการลงทุนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุด ที่ตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2549
"Winners never quit, and quitters never win."