สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สมมติว่าบริษัทตอนนี้มี 100 ล้านหุ้น ราคาในตลาดหุ้นละ 20 บาท

ถ้าบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่มสัก 1000 ล้านบาท ด้วยการแจกวอร์แรนท์ให้ผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทอาจมีทางเลือกหลายวิธี

ก. ให้วอร์ที่มีสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคา 10 บาทต่อหุ้น 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่
ข. ให้วอร์ที่มีสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคา 5 บาทต่อหุ้น 1 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นใหม่

ที่สงสัยก็คือ ก. กับ ข. จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันหรือไม่ หรือว่าแป๊ะเอี่ย

:roll:  :roll:  :roll:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ก. Exercise Ratio (1:1)
Outstanding Warrant = 100 m. units (1 หุ้นเดิม แจก 1 warrant)
Exercise Price = 10 bt
(Warrant 1 หน่วย ใช้สิทธิแลกหุ้นได้ 1หุ้น โดยมีราคาใช้สิทธิหุ้นละ 10 บาท)

ข. Exercise Ratio (1:1)
Outstading Warrant = 200 m. units (1 หุ้นเดิม แจก 2 warrant)
Exersie Price = 5 bt
(Warrant 1 หน่วย ใช้สิทธิแลกหุ้นได้ 1 หุ้น โดยมีราคาใช้สิทธิหุ้นละ 5บาท)

สิ่งที่แตกต่าง
1. ราคา warrant (ก.มากกว่า ข.)
ส่งผลให้ Gearing Ratio ข. มากกว่า ก. (นักเก็งกำไรชอบแบบ ข. มากกว่า)
2. จำนวนหุ้นที่ต้องสำรองไว้เผื่อการใช้สิทธิ (ก. น้อยกว่า ข.)

เท่าที่นึกออกตอนนี้มีเท่านี้ครับ  :lol:
"Winners never quit, and quitters never win."
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ลองยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบครับ

สมมติว่า หลัง XW ราคาหุ้น A เท่ากับ 20 บาท
warrant มีอายุ 1 ปี
Risk Free Rate = 5% (Continuous Compounded)
Volatility = 30%
หุ้น A ไม่มีการจ่ายปันผลในช่วงเวลาดังกล่าว
และสมมติให้ใช้สิทธิ เมื่อหมดอายุเท่านั้น (European Option)

ก. มีหุ้นจากการใช้สิทธิเพิ่ม 100 m. shares
ราคาหุ้น A คิดตามทฤษฎี Black Scholes & Merton Model
จะได้ราคา 10.5 บาท
และจะได้ราคา ที่เหมาะสม (fully diluted) 5.25 บาท
(Dilution Factor = 0.5)

ข. มีหุ้นจากการใช้สิทธิเพิ่ม 200 m. shares
จะเห็นว่า ราคาหุ้น A คิดตามทฤษฎี Black Scholes & Merton Model
จะได้ราคา 15.24 บาท
และจะได้ราคา ที่เหมาะสม (fully diluted) 5.08 บาท
(Dilution Factor = 0.33)

หากตั้งสมมติฐานว่า ราคาหุ้น หลัง XW ไม่มีความแตกต่างในทั้ง 2 กรณี
ราคา warrant ในกรณี ก. ควรจะมากกว่า กรณี ข. เล็กน้อย

แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาหุ้น A หลัง XW ของกรณี ก.และ ข. ไม่น่าจะเท่ากัน
แต่ผมไม่ทราบวิธีคิดครับ ท่านใดทราบรบกวนชี้แนะด้วยครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่แน่ใจเหมือนกันแต่เวลาผมคิดผมจะใช้หลักอย่างนี้

เดิมมี 100 ล้านหุ้นๆ ละ 20 บาท เท่ากับมีมูลค่าตลาด 2000 ล้านบาท

ถ้าเพิ่มทุนจะมีเงินใส่เข้ามาในบริษัทอีก 1000 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าใหม่ 3000 ล้านบาท

ตัวเลข 3000 ล้านบาทนี้จะต้องเท่าเดิมหลังออกวอร์แล้ว

ดังนั้นถ้าแจกวอร์ 1:1 แสดงว่าหลังใช้สิทธิ์จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านหุ้น
เพื่อให้ได้มูลค่าตลาด 3000 ล้านบาท ราคาหุ้นจะตกไปเหลือ 15 บาท ในวันปิดสมุดทะเบียนผู้มีสิทธิ์ได้รับวอร์ทันที

ในแง่นักลงทุน เดิมมีหุ้นอยู่ 1 หุ้น 20 บาท พอปิดสมุดทะเบียนหุ้นตกเหลือ 15 บาท แต่ได้วอร์มาอีก 1 วอร์ ราคาใช้สิทธิ 10 บาท ซึ่งต่างกับราคาตลาดอยู่ 5 บาท ดังนั้นวอร์จะมีราคาอยู่แถวๆ 5 บาท (มากกว่า 5 บาทเล็กน้อย เพราะ speculative value) ดังนั้น wealth ของนักลงทุนจึงเท่าเดิมคือ หุ้น + วอร์ เท่ากับ 15+5 = 20 เหมือนเดิม
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ลองเอาบทวิเคราะห์ของ KIMENG มาคิดตามดูนะครับ
จากการคาดการณ์และราคาปิด ณ ปัจจุบันที่ 9.00 บาท/หุ้น ราคาหุ้น SOLAR ก่อน XW จะอยู่ที่ประมาณ 6.67 บาท/หุ้น เมื่อราคาใช้สิทธิอยู่ที่ 2 บาท/1 หน่วยวอแรนต์ ราคาวอแรนต์ตามทฤษฎีควรอยู่ที่ 4.67 บาท และเมื่อหุ้นสามัญ 2 หุ้น จะมีสิทธิรับ 1 หน่วยวอแรนต์ หุ้นสามัญควรถูกปรับลดลง 2.33 บาท ก่อน XW (9.00 บาท -2.33 บาท = ราคาตามทฤษฎี XW ที่ 6.67 บาท)

เมื่อราคาวอแรนต์เป็น in the money เราจึงทำการคาดการณ์แบบ Full Dilution ในการคำนวณราคาเหมาะสมจากวิธี DCF และ WACC ที่ 9.1% ส่งผลให้ราคาเหมาะสมหลัง XW อยู่ที่ 5.80 บาท และเมื่อรวมราคาวอแรนต์ที่คำนวณไว้ต่อ 1 หุ้นสามัญที่ 2.33 บาท ราคาเหมาะสม SOLAR เมื่อรวมวอแรนต์จะได้ที่ 8.15 บาท (5.80 บาท + 2.33 บาท = 8.13 บาท)
ที่ mark สีแดงไว้เข้าใจว่าผิด
ควรจะเปลี่ยนคำว่าก่อนเป็นหลังมากกว่า

หุ้นเดิม 300 ล้านหุ้น ราคาปัจจุบันหุ้นละ 9 บาท
รวมมี market cap 2,700 ล้านบาท
หุ้นใหม่ที่จะเกิดหลังการ Exercise 150 ล้านหุ้น
Exercise Price 2 บาท รวม 300 ล้านบาท
Market Cap = 2,700 + 300 = 3,000 ล้านบาท
ราคาที่เหมาะสมเมื่อ XW = 3,000 ล้านบาท / 450 ล้านหุ้น = 6.67 บาท/หุ้น
ซึ่งตรงกับวิธีคิดของคุณสุมาอี้ สำหรับการคำนวณหาราคาหุ้นเมื่อ XW
แต่วิธีการคำนวณราคา Warrant ในที่นี้ลองคำนวณดูแล้วยังไม่ตรง
เดี๋ยวไว้มาคิดใหม่ครับ

ท่านใดทราบที่มาช่วยชี้แนะด้วยครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ดีครับ...

สำหรับประเด็นที่ว่า ก กับ ข ต่างกันยังไง ผมมานั่งคิดดูแล้วเห็นว่าไม่แตกต่างกัน เว้นเสียแต่ว่า ผู้ถือหุ้นเดิมคนใดคนหนึ่งจะไม่มีเงินมาใช้สิทธิ์

การออกวอร์ conversion ratio มากๆ ราคาใช้สิทธิ์น้อยๆ (กรณี ข.) น่าจะเป็นการกลั่นแกล้งผู้ถือหุ้นบางคนที่ผู้ถือหุ้นใหญ่รู้ว่าเขาไม่มีเงินสด เพราะใครก็ตามที่ไม่ใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะถูก dilute อย่างมหาศาล

แต่ถ้าทุกคนมีเงินสด ก็จะรักษาสัดส่วนของตนเองไว้ได้ แบบนี้ ก หรือ ข ก็ไม่แตกต่าง

สำหรับรายย่อยอย่างเราคงไม่มีประเด็นอะไรล่ะมั้ง  :roll:  :roll:  :roll:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ไม่เคยมองว่าวอร์แรนต์เป็นเจตนาที่จะเพิ่มทุน

ตลาดหุ้นไทยมองวอร์แรนต์ว่าเป็นของมีค่านะครับ

ไม่ว่าจะแปลงด้วยราคาเท่าไหร่ก็ตาม แบบนี้ต้องมีการไล่ซื้อชัวร์ๆ

ไม่มีใครมองว่าเกิดการไดลูทในระยะสั้นครับ

หากมีเจตนาจะเพิ่มทุนจริงๆ ผมว่าเค้าคงออกหุ้นเพิ่มทุนแล้วขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมหรือไม่ก็ขายแบบเฉพาะเจาะจงจะดีกว่าครับ

ส่วนโมเดลต่างๆ ที่ใช้กับ options หรือ warrant ไม่เคยเห็นใช้การได้ในตลาดหุ้นไทยครับ

สรุปว่าแล้วแต่กำลังศรัทธาของนักลงทุนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมชอบแบบ ก.
1. เกียเรโชสูงกว่า
2. จำนวนหุ้นน้อยกว่า

แต่บ.ส่วนใหญ่ใช้แบบ ค.
คือ 5 หุ้นเดิมมีสิทธิ์ได้ 1 หุ้นใหม่ เศษปัดทิ้ง
ใช้ในกรณีผู้ถือหุ้นมีคดี หรือไปต่างประเทศ
หุ้นเศษๆ ก็เอามาแบ่งกัน หุหุ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 9

โพสต์

jaychou เขียน: หากมีเจตนาจะเพิ่มทุนจริงๆ ผมว่าเค้าคงออกหุ้นเพิ่มทุนแล้วขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมหรือไม่ก็ขายแบบเฉพาะเจาะจงจะดีกว่าครับ
ถ้าเพิ่มทุนแล้วเสนอขายผู้ถือหุ้นเดิมเฉยๆ กับแจกวอร์ให้ผู้ถือหุ้นเดิม อย่างหลังมีข้อดีมากกว่านะครับ

เพราะผู้ถือหุ้นเดิมคนไหนไม่อยากเพิ่มทุนตามแล้ว แทนที่จะสละสิทธิ์นั้นไปเฉยๆ ก็สามารถเอาสิทธิ์นั้นไปขายให้คนอื่นเอาเงินเข้ากระเป๋าได้

"กำขี้ดีกว่ากำตด"
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 10

โพสต์

แล้วถ้าบริษัทต้องการใช้เงินลงทุนในปีนี้ 500 ล้านบาท  ปีหน้าอีก 500 ล้านบาท

และแทนที่จะแจกฟรี  แต่

ก. ขาย Warrant ในราคา 5 บาท  และมีราคาแปลงสภาพหุ้นละ 5 บาท

ข. ขาย Warrant ในราคา 2.50 บาท  และมีราคาแปลงสภาพหุ้นละ 2.50 บาท

แตกต่างกันไหม  ระหว่างกรณี ก และ ข  และกรณีของผม กับกรณีของคุณ สุมาอี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยเรื่องการตั้งราคาใช้สิทธิ์และ conversion ratio ของ war

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="chatchai"]
ก. ขาย Warrant ในราคา 5 บาท
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
โพสต์โพสต์