ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
-
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
โพสต์ที่ 2
ค่าเสื่อมที่ตัดไป ก็ถูกบวกกลับมาในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และสุดท้ายก็อยู่ในส่วนของทรัพย์สินหมุนเวียน ในส่วนของเงินสด นิครับ ไม่ได้ไปไหน หรือเปล่า?
-
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
โพสต์ที่ 3
ปล.ถ้าเอาเงินไป ลงทุนสินทรัพย์ถาวร จ่ายปันผล หรือจ่ายหนี้หมด เงินสดปีนั้นเป็นลบ ก็ไม่มีละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
โพสต์ที่ 5
ค่าเสื่อมเป็นรายการทางบัญชี ที่เกิดจากมูลค่าของสินทรัพย์ลดลงกลายเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุน เพื่อให้กำไรบรรทัดสุดท้ายน้อยลง กำไรสะสมก็ลดลง จะไม่ได้เอาเงินไปปันผลซะหมดให้มันอยู่ในบริษัทนี่ละ กันไว้เผื่อสินทรัพย์พังจะได้มีเงินซ่อม
ถ้าดูในงบกระแสเงินสดค่าเสื่อมที่ตัดไป ก็ถูกบวกกลับมาในงบกระแสเงินสดแล้วมันก็กลายเป็น
สินทรัพย์หมุนเวียน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
หนี้หมุนเวียน
หนี้ไม่หมุนเวียน
ถ้าดูในงบกระแสเงินสดค่าเสื่อมที่ตัดไป ก็ถูกบวกกลับมาในงบกระแสเงินสดแล้วมันก็กลายเป็น
สินทรัพย์หมุนเวียน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
หนี้หมุนเวียน
หนี้ไม่หมุนเวียน
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
โพสต์ที่ 7
ไม่เข้าใจคำถาม ค่าเสื่อมสะสมเหมือนเงินลงทุน ที่ใช้ไปแล้วในอดีตเกี่ยวอะไรกับ เงินลงทุนครับ เงินคือเงินที่เราตั้งไว้เพื่อลงทุนในอานาคตนิครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 237
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
โพสต์ที่ 8
จริง ๆ แล้วมีคนสับสบกันมาก ไม่เว้นแม้แต่นักบัญชีด้วยกันก็ตามน่ะคับ
งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด จริง ๆ เป็นข้อมูลที่ทำคนละสมมติฐาน
งบกำไรขาดทุน จัดทำตามหลักเกณฑ์คงค้าง โดยทำให้รายการที่เป็นของงวดปัจจุบัน ตรงงวดและแสดงให้ครบถ้วน ถึงแม้ว่าจะไม่มีการจ่ายเงินสด หรือรับเงินสดก็ตาม
งบกระแสเงินสด จัดทำตามหลักเกณฑ์เงินสด โดยคำนึงถึงกระแสเงินสด เข้า - ออก เป็นหลัก ไม่คำนึงถึง การแสดงผลประกอบการให้ตรงงวดปี
สิ่งที่ทำให้คนสับสนก็คือ การแปลงจาก งบกำไรขาดทุน ที่มีข้อมูลสมมติ คาดการณ์ ประมาณการณ์ ตัดจำหน่าย ให้มาเป็นเงินสด ทำให้ต้องมีการ ปรับปรุงรายการข้างต้นออกจาก ผลกำไรที่ได้ จึงทำให้ดูเหมือน บริษัทได้เงินสด หรือ จ่ายเงินสดออกไปเพิ่ม จริง ๆ ไม่ใช่น่ะคับ รายการที่ปรับ + / - ในกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ไม่ได้จ่าย หรือ รับเข้ามาจริง ๆ เป็นแค่การสกัดตัวเลขที่ไม่ใช่เงินสดออกไปคับ
จริง ๆ แล้วในงบกระแสเงินสด ควรแสดงที่มา และจ่ายไปสำหรับเงินสดที่ได้มาจากการดำเนินงานว่าเป็นอะไรบ้าง เช่นรับเงินจากลูกหนี้การค้า รับเงินสดจากการขายเท่าไหร่ แต่วิธีการแสดงในงบกระแสเงินสดปัจจุบัน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำ จึงใช้วิธีกระทบยอดจาก กำไรขาดทุนในงบกำไรขาดทุนแทนคับ
ดังนั้น ที่เห็นเป็น + / - ในกิจกรรมดำเนินงาน มันไม่ใช่รายการรับเงิน จ่ายเงินจริง ๆ น่ะคับ เพียงแต่เป็นการกระทบกลับมาหาเงินสุทธิจากการดำเนินงานแค่นั้นเองครับ
น้อมรับทุกคำชี้แน่ะคับ
งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด จริง ๆ เป็นข้อมูลที่ทำคนละสมมติฐาน
งบกำไรขาดทุน จัดทำตามหลักเกณฑ์คงค้าง โดยทำให้รายการที่เป็นของงวดปัจจุบัน ตรงงวดและแสดงให้ครบถ้วน ถึงแม้ว่าจะไม่มีการจ่ายเงินสด หรือรับเงินสดก็ตาม
งบกระแสเงินสด จัดทำตามหลักเกณฑ์เงินสด โดยคำนึงถึงกระแสเงินสด เข้า - ออก เป็นหลัก ไม่คำนึงถึง การแสดงผลประกอบการให้ตรงงวดปี
สิ่งที่ทำให้คนสับสนก็คือ การแปลงจาก งบกำไรขาดทุน ที่มีข้อมูลสมมติ คาดการณ์ ประมาณการณ์ ตัดจำหน่าย ให้มาเป็นเงินสด ทำให้ต้องมีการ ปรับปรุงรายการข้างต้นออกจาก ผลกำไรที่ได้ จึงทำให้ดูเหมือน บริษัทได้เงินสด หรือ จ่ายเงินสดออกไปเพิ่ม จริง ๆ ไม่ใช่น่ะคับ รายการที่ปรับ + / - ในกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ไม่ได้จ่าย หรือ รับเข้ามาจริง ๆ เป็นแค่การสกัดตัวเลขที่ไม่ใช่เงินสดออกไปคับ
จริง ๆ แล้วในงบกระแสเงินสด ควรแสดงที่มา และจ่ายไปสำหรับเงินสดที่ได้มาจากการดำเนินงานว่าเป็นอะไรบ้าง เช่นรับเงินจากลูกหนี้การค้า รับเงินสดจากการขายเท่าไหร่ แต่วิธีการแสดงในงบกระแสเงินสดปัจจุบัน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำ จึงใช้วิธีกระทบยอดจาก กำไรขาดทุนในงบกำไรขาดทุนแทนคับ
ดังนั้น ที่เห็นเป็น + / - ในกิจกรรมดำเนินงาน มันไม่ใช่รายการรับเงิน จ่ายเงินจริง ๆ น่ะคับ เพียงแต่เป็นการกระทบกลับมาหาเงินสุทธิจากการดำเนินงานแค่นั้นเองครับ
น้อมรับทุกคำชี้แน่ะคับ
*********\\\ฉันต้องเก่งขึ้น เรียนรู้ตลอดชีวิต///**********
-
- Verified User
- โพสต์: 671
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
โพสต์ที่ 9
ผมเป็นนักบัญชีไม่เห็นงงเลยนี่ครับ ขออธิบายให้ผู้สนใจเข้าใจง่ายๆ ดังนี้
ค่าเสื่อมราคาเกิดจากมีการซื้อทรัพย์สินถาวรที่เป็นรูปธรรม เช่น อาคาร อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบบัญชี ยกเว้นที่ดินเพียงอย่างเดียว
เมื่อมีการซื้อทรัพย์สินถาวรเกิดขึ้น ในท้ายที่สุดเงินของกิจการจะหายไป(ลดลงเนื่องจากจ่ายชำระ)
แต่กิจการจะบันทึกซื้อทรัพย์สินถาวรนั้นเป็นค่าใช้จ่ายก้อนเดียวทันทีนั้นเลยไม่ได้ ต้องปรับปรุงทยอยลดมูลค่าลงตามอายุการใช้งานที่เกิน 1 รอบบัญชี
ในรอบปีบัญชีแต่ละปีนั้น ต้องมีทยอยลดมูลค่าทรัพย์สินถาวรลงตามอายุการใช้งาน ซึ่งการลดลงดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ค่าเสื่อมราคา" แต่ทว่าการทยอยลดมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่สามารถกระทำการโดยตรงไปยังมูลค่าสินทรัพย์ถาวรดังกล่าวได้ เนื่องจากขัดกับมาตรฐานการบัญชีเรื่องมูลค่าทุนที่ได้มา และประมวลรัษฎากรมาตรา 65 จึงมีบัญชีคู่ขนาน(contra account) ไว้เพื่อสะสมยอดค่าเสื่อมราคาทั้งหมดหรือเรียกว่า "ค่าเสื่อมราคาสะสม" โดยนำไปค่าเสื่อมราคาสะสมนี้ไปแสดงการหักล้างกับมูลค่าทุนของสินทรัพย์ถาวรในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
ส่วนเรื่องกันเงินลงทุนนั้น ผมไม่เข้าใจคำถามครับ ถ้าให้ตอบก็เหมือนกับคุณ cyber-shot ที่ตอบได้ดีมากๆเลยครับ
ตัวกิจการเองควรจัดทำงบกระแสเงินสดว่าในปีนั้นมีการรับ/จ่าย และมียอดคงเหลือเท่าไร เพียงแต่การทำงบกระแสเงินสด มี 2 วิธี คือ Direct และ Indirect โดยกิจการเกือบ 100% มักจะใช้วิธี Indirect นั่นคือนำกำไรสุทธิของงบกำไรขาดทุนเป็นตัวตั้งต้นในการทำงบกระแสเงินสด นำรายการที่ไม่ได้ทำให้เงินสดนั้นเปลี่ยนแปลงจริงในรอบบัญชีนั้นมาปรับปรุงก่อน แล้วจำแนกประเภทตามกิจกรรมเงินที่มาหรือใช้ไปของเงินทั้ง 3 กิจกรรม( 1.ดำเนินงาน 2.ลงทุน และ 3.จัดหาเงิน) ให้ถูกต้องครับ
ค่าเสื่อมราคาเกิดจากมีการซื้อทรัพย์สินถาวรที่เป็นรูปธรรม เช่น อาคาร อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบบัญชี ยกเว้นที่ดินเพียงอย่างเดียว
เมื่อมีการซื้อทรัพย์สินถาวรเกิดขึ้น ในท้ายที่สุดเงินของกิจการจะหายไป(ลดลงเนื่องจากจ่ายชำระ)
แต่กิจการจะบันทึกซื้อทรัพย์สินถาวรนั้นเป็นค่าใช้จ่ายก้อนเดียวทันทีนั้นเลยไม่ได้ ต้องปรับปรุงทยอยลดมูลค่าลงตามอายุการใช้งานที่เกิน 1 รอบบัญชี
ในรอบปีบัญชีแต่ละปีนั้น ต้องมีทยอยลดมูลค่าทรัพย์สินถาวรลงตามอายุการใช้งาน ซึ่งการลดลงดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ค่าเสื่อมราคา" แต่ทว่าการทยอยลดมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่สามารถกระทำการโดยตรงไปยังมูลค่าสินทรัพย์ถาวรดังกล่าวได้ เนื่องจากขัดกับมาตรฐานการบัญชีเรื่องมูลค่าทุนที่ได้มา และประมวลรัษฎากรมาตรา 65 จึงมีบัญชีคู่ขนาน(contra account) ไว้เพื่อสะสมยอดค่าเสื่อมราคาทั้งหมดหรือเรียกว่า "ค่าเสื่อมราคาสะสม" โดยนำไปค่าเสื่อมราคาสะสมนี้ไปแสดงการหักล้างกับมูลค่าทุนของสินทรัพย์ถาวรในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
ส่วนเรื่องกันเงินลงทุนนั้น ผมไม่เข้าใจคำถามครับ ถ้าให้ตอบก็เหมือนกับคุณ cyber-shot ที่ตอบได้ดีมากๆเลยครับ
ตัวกิจการเองควรจัดทำงบกระแสเงินสดว่าในปีนั้นมีการรับ/จ่าย และมียอดคงเหลือเท่าไร เพียงแต่การทำงบกระแสเงินสด มี 2 วิธี คือ Direct และ Indirect โดยกิจการเกือบ 100% มักจะใช้วิธี Indirect นั่นคือนำกำไรสุทธิของงบกำไรขาดทุนเป็นตัวตั้งต้นในการทำงบกระแสเงินสด นำรายการที่ไม่ได้ทำให้เงินสดนั้นเปลี่ยนแปลงจริงในรอบบัญชีนั้นมาปรับปรุงก่อน แล้วจำแนกประเภทตามกิจกรรมเงินที่มาหรือใช้ไปของเงินทั้ง 3 กิจกรรม( 1.ดำเนินงาน 2.ลงทุน และ 3.จัดหาเงิน) ให้ถูกต้องครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม