ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
- BeSmile
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1178
- ผู้ติดตาม: 0
ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
โพสต์ที่ 1
เมื่อวานก่อนผมเดินผ่านแผงหนังสืออมรินทร์ เห็นหนังสือใหม่หน้าปกสวยมาก เรื่อง สมองแห่งพุทธะ (หนังสือเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ จิตวิทยาแบบไทย ๆ ดูดวง ไสยศาสตร์ จัดว่าเป็นหมวดหนังสือขายดี เห็นขึ้นอันดับตลอด) ผมก็หยิบมาอ่านปกใน แค่เนื้อหาปกใน ผมก็เดินไปจ่ายเงินทันที ระหว่างเดินไปจ่ายเงินก็อ่านประวัติผู้เขียนและผู้แปล ซึ่งทั้งหมดก็เป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ และ การปฎิบัติธรรม เป็นอย่างดี
คำแนะนำเขียนไว้ว่า
ให้คุณมีสติตระหนักรู้ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นระบบประสาท ซิมพาเทติก (SNS) เช่นความเครียด ความเจ็บปวด ความกังวล หรือ ความหิว ซึ่งจะก่อให้เกิดความประสงค์ร้าย พยายามปลดชนวนระเบิดนี้เสีย ตั้งแต่ยังเนิ่น ๆ เช่นรับประทานอาหารเย็น ก่อนที่จะพูดจากัน อาบน้ำ อ่านอะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งให้แรงบันดาลใจ หรือพูดคุยกับเพื่อน.
ซึ่งสรุปได้ว่า ปัจจัยความเครียด ความกลัว กังวล หรืออื่น ๆ นั้นเราสามารถบริหารจัดการได้ ด้วย
1 สำหรับผู้ฝึกวิปัสสนา มีสติตามรู้สภาวะ อารมณ์ในขณะนั้น อารมณ์นั้นก็จะดับไป
2 คนทั่วไปที่ มีสติ สามารถตามรู้อารมณ์ ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เช่นรู้ว่าโกรธ หงุดหงิด ก็ยังสามารถจัดการอารมณ์บางอย่างได้เช่น เมื่อกลับจากที่ทำงานแล้วเครียด สิ่งที่ควรทำคือไปอาบน้ำ ทานอาหาร แล้วค่อยมาสอนหนังสือลูก หรือถ้าอยากเครียดเพิ่มเราก็อาจสอนหนังสือลูก ก่อนก็ได้
กลับมาในเรื่องการลงทุน เมื่อเราเกิดความกลัว ความกังวล ที่จะสูญเสียเงิน ในวันที่หุ้นตก ซึ่งในทางบัญชีนั้น เกิดความสูญเสียไปแล้ว และบางคนสมองก็รับรู้การสูญเสียทางบัญชี ก็อาจทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้
เมื่อเราเจอปัญหาจากการตกลงของหุ้นที่เราถือ เมื่อตาเรามองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมองส่วนท้ายท้อยจะทำการแปรความจากสิ่งที่เราเห็น และส่งไปยังสมอง 2 ส่วนคือ
1 ฮิปโปแคมปัส ซึ่งคอยสร้างความทรงจำใหม่ ๆ และการระวังภัย เมื่อหุ้นตกแรง สัญญาณระวังภัยจะถูกส่งไปให้ อมิกดาลาที่จะทำการเตือนภัยไปยังระบบต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีถ้า เราจะมีสัญญาญเตือนภัยบ่อย ๆ ซึ่งบางครั้งอาจไประงับหรือยับยั้งการทำงานในส่วนสมองที่มีเหตุผล(อ่าน เพิ่มได้ในหน้า 62 63)
2 คอร์เท็กซ์ กลีบหน้าผากส่วนหน้า ที่ทำหน้าประมวลผลจากหน่วยความทรงจำระยะยาว คอร์เท็กซ์เป็นส่วนสมองที่ได้มีการพัฒนาระดับสูง แต่มีการทำงานที่ช้า ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คนเราส่วนใหญ่นั้นจะตัดสินใจไปแล้ว ค่อยคิดได้ถึงเหตุผล
การประมวลผลและตีความของ คอร์เท็กซ์ จะใช้ข้อมูลจากความทรงจำ ที่เราได้สะสมมา ดังนั้นการตัดสินใจของนักลงทุนแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน เพราะความรู้ และประสบการณ์ รวมไปถึงลักษณะนิสัย วินัย และความอดทน ไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งเหล่านี้เราสามารถพัฒนา ให้ดีขึ้นได้ทุกคน โดย เราอาจเพิ่มความรู้ ประสบการณ์ได้โดยการอ่านหนังสือ หรือคุยกับผู้ที่มีความรู้ในด้าน นั้น ๆ เช่น เมื่อเกิดปัญหา เราก็คิดด้วยข้อมูลที่เราศึกษามา หรืออาจลอกแนวคิดผู้เชี่ยวชาญ เราอาจจะคิดว่า ถ้าหุ้นตกอย่างนี้ ท่าน ดร นิเวศน์ จะทำอย่างไร แล้วลองไปอ่านแนวคิดแต่ละท่านดู ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจและสร้างกระบวนการคิดได้ดีขึ้น แต่ต้องระวังการลอกแนวคิด เพราะถ้าเราลอกผิดคน หรือ ลอกมาไม่หมด อาจเสียหายได้ และสิ่งผิด ๆ เวลาเข้าไปในสมองเราแล้วนั้น การแก้ไขอาจใช้เวลา มากกว่าหลายเท่า
จากการทำงานของคอร์เท็กซ์ที่ช้านี่เอง ทำให้ผมเพิ่งเข้าใจว่าทำมั้ยเมื่อก่อน เวลาเราเกิดอารมณ์ โกรธ หงุดหงิดหรือ ไม่พอใจ ผู้ใหญ่มักจะคอยสอนให้ หายใจออก ซึ่งจะลดความเครียดและ นับ 1 ถึง 10 เพื่อให้สมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน
ดังนั้นเมื่อหุ้นตกอย่างแรง เมื่อเรารับรู้ แล้ว ควรลดการใช้อารมณ์ รอสมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน ทำการวิเคราะห์โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มี บางคนตอนนี้อาจจะมีน้อยก็ต้องเพิ่มโดยการอ่านหนังสือ ฟังรายการโทรทัศน์ที่ดี หรือสอบถามผู้รู้ ทางด้านนั้น ๆ
ที่สำคัญสมองคนเรานั้น ส่วนไหนที่ใช้งานบ่อย ๆ ส่วนนั้นก็จะพัฒนาไปได้ดียิ่งขึ้น
สรุปจากหัวข้อว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ควร ซื้อ ถือ หรือ ขาย เพราะมันขึ้นอยู่กับหุ้นแต่ละตัวและปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น
ย้อนกลับไปที่ หนังสือสมองแห่งพุทธะ สรุปได้ว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก ทั้งทางโลกและทางธรรม
และที่ผมนำมาขยายความทางโลกนั้นผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยครับ
คำแนะนำเขียนไว้ว่า
ให้คุณมีสติตระหนักรู้ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นระบบประสาท ซิมพาเทติก (SNS) เช่นความเครียด ความเจ็บปวด ความกังวล หรือ ความหิว ซึ่งจะก่อให้เกิดความประสงค์ร้าย พยายามปลดชนวนระเบิดนี้เสีย ตั้งแต่ยังเนิ่น ๆ เช่นรับประทานอาหารเย็น ก่อนที่จะพูดจากัน อาบน้ำ อ่านอะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งให้แรงบันดาลใจ หรือพูดคุยกับเพื่อน.
ซึ่งสรุปได้ว่า ปัจจัยความเครียด ความกลัว กังวล หรืออื่น ๆ นั้นเราสามารถบริหารจัดการได้ ด้วย
1 สำหรับผู้ฝึกวิปัสสนา มีสติตามรู้สภาวะ อารมณ์ในขณะนั้น อารมณ์นั้นก็จะดับไป
2 คนทั่วไปที่ มีสติ สามารถตามรู้อารมณ์ ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เช่นรู้ว่าโกรธ หงุดหงิด ก็ยังสามารถจัดการอารมณ์บางอย่างได้เช่น เมื่อกลับจากที่ทำงานแล้วเครียด สิ่งที่ควรทำคือไปอาบน้ำ ทานอาหาร แล้วค่อยมาสอนหนังสือลูก หรือถ้าอยากเครียดเพิ่มเราก็อาจสอนหนังสือลูก ก่อนก็ได้
กลับมาในเรื่องการลงทุน เมื่อเราเกิดความกลัว ความกังวล ที่จะสูญเสียเงิน ในวันที่หุ้นตก ซึ่งในทางบัญชีนั้น เกิดความสูญเสียไปแล้ว และบางคนสมองก็รับรู้การสูญเสียทางบัญชี ก็อาจทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้
เมื่อเราเจอปัญหาจากการตกลงของหุ้นที่เราถือ เมื่อตาเรามองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมองส่วนท้ายท้อยจะทำการแปรความจากสิ่งที่เราเห็น และส่งไปยังสมอง 2 ส่วนคือ
1 ฮิปโปแคมปัส ซึ่งคอยสร้างความทรงจำใหม่ ๆ และการระวังภัย เมื่อหุ้นตกแรง สัญญาณระวังภัยจะถูกส่งไปให้ อมิกดาลาที่จะทำการเตือนภัยไปยังระบบต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีถ้า เราจะมีสัญญาญเตือนภัยบ่อย ๆ ซึ่งบางครั้งอาจไประงับหรือยับยั้งการทำงานในส่วนสมองที่มีเหตุผล(อ่าน เพิ่มได้ในหน้า 62 63)
2 คอร์เท็กซ์ กลีบหน้าผากส่วนหน้า ที่ทำหน้าประมวลผลจากหน่วยความทรงจำระยะยาว คอร์เท็กซ์เป็นส่วนสมองที่ได้มีการพัฒนาระดับสูง แต่มีการทำงานที่ช้า ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คนเราส่วนใหญ่นั้นจะตัดสินใจไปแล้ว ค่อยคิดได้ถึงเหตุผล
การประมวลผลและตีความของ คอร์เท็กซ์ จะใช้ข้อมูลจากความทรงจำ ที่เราได้สะสมมา ดังนั้นการตัดสินใจของนักลงทุนแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน เพราะความรู้ และประสบการณ์ รวมไปถึงลักษณะนิสัย วินัย และความอดทน ไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งเหล่านี้เราสามารถพัฒนา ให้ดีขึ้นได้ทุกคน โดย เราอาจเพิ่มความรู้ ประสบการณ์ได้โดยการอ่านหนังสือ หรือคุยกับผู้ที่มีความรู้ในด้าน นั้น ๆ เช่น เมื่อเกิดปัญหา เราก็คิดด้วยข้อมูลที่เราศึกษามา หรืออาจลอกแนวคิดผู้เชี่ยวชาญ เราอาจจะคิดว่า ถ้าหุ้นตกอย่างนี้ ท่าน ดร นิเวศน์ จะทำอย่างไร แล้วลองไปอ่านแนวคิดแต่ละท่านดู ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจและสร้างกระบวนการคิดได้ดีขึ้น แต่ต้องระวังการลอกแนวคิด เพราะถ้าเราลอกผิดคน หรือ ลอกมาไม่หมด อาจเสียหายได้ และสิ่งผิด ๆ เวลาเข้าไปในสมองเราแล้วนั้น การแก้ไขอาจใช้เวลา มากกว่าหลายเท่า
จากการทำงานของคอร์เท็กซ์ที่ช้านี่เอง ทำให้ผมเพิ่งเข้าใจว่าทำมั้ยเมื่อก่อน เวลาเราเกิดอารมณ์ โกรธ หงุดหงิดหรือ ไม่พอใจ ผู้ใหญ่มักจะคอยสอนให้ หายใจออก ซึ่งจะลดความเครียดและ นับ 1 ถึง 10 เพื่อให้สมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน
ดังนั้นเมื่อหุ้นตกอย่างแรง เมื่อเรารับรู้ แล้ว ควรลดการใช้อารมณ์ รอสมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน ทำการวิเคราะห์โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มี บางคนตอนนี้อาจจะมีน้อยก็ต้องเพิ่มโดยการอ่านหนังสือ ฟังรายการโทรทัศน์ที่ดี หรือสอบถามผู้รู้ ทางด้านนั้น ๆ
ที่สำคัญสมองคนเรานั้น ส่วนไหนที่ใช้งานบ่อย ๆ ส่วนนั้นก็จะพัฒนาไปได้ดียิ่งขึ้น
สรุปจากหัวข้อว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ควร ซื้อ ถือ หรือ ขาย เพราะมันขึ้นอยู่กับหุ้นแต่ละตัวและปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น
ย้อนกลับไปที่ หนังสือสมองแห่งพุทธะ สรุปได้ว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก ทั้งทางโลกและทางธรรม
และที่ผมนำมาขยายความทางโลกนั้นผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
โพสต์ที่ 3
ผมขอเสริมมุมมองในเรื่องของการเจริญสติกับการลงทุนนิดนึงนะครับ
นอกจากการเจริญสติจะทำให้ตัวเราเองไม่เป็นไปกับอารมณ์ เป็นการฝึกที่จะทำให้ถอยออกมาจากสถานการณ์ กลายเป็นผู้มอง เป็นผู้ดูอยู่ในวงนอก เพื่อที่จะได้ใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นแล้ว
การเจริญสติจะไปพัฒนาการใช้เหตุผลอีกด้วย ทั้งนี้แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้ใช้อารมณ์ในการวิเคราะห์ ในการตัดสินใจแล้วก็ตาม แต่โดยธรรมชาติแล้ว คนเราก็ยังมี bias ยังมีการใช้เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์อยู่ เหล่านี้เป็นผลเนื่องมาจากความยึดมั่นถือมั่นบางประการที่เรามี เช่น การยึดมั่นถือมั่นในหลักการ การยึดติดที่เกิดจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ผลของการยึดมั่นถือมั่นในแนวความคิดบางอย่างมากเกินไป แม้กระทั่งการยึดมั่นถือมั่นในแนวความคิดอย่างการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในบางครั้ง บางสถานการณ์ ก็นำภัย นำความเสียหาย หรือนำทุกข์ทางใจมาให้กับเราได้ไม่ใช่น้อย
การฝึกเจริญสติไปถึงจุดหนึ่ง จะเป็นการฝึกที่จะปล่อยสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น โดยการจะปล่อยวางอะไรได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อเราเริ่มต้นที่จะเห็นโทษของการยึด เห็นว่าการยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอาไว้ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง และเห็นประโยชน์จากการปล่อยมัน ว่าเมื่อสามารถปล่อยสิ่งที่ยึดได้ จิตก็จะมีพื้นที่ที่จะรับรู้ เรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น
เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจหลักการของกฎ 80/20 กับการเจริญสติบ้างเล็กน้อย ถ้าเราเข้าใจหลักการ 80/20 เราจะเห็นว่าหากเราทำแค่ 20% แล้วเราทำกิจกรรมต่างๆ 5 อย่าง เราจะได้ผลลัพธ์ที่สูงมาก คือ 80x5=400%
แต่ธรรมชาติของจิต คนที่ไม่มีความมุ่งมั่น การที่จะทำสิ่งที่เป็นสาระให้ถึง 20 นั้นทำได้ยาก ความขี้เกียจ ความไม่เอาจริงเอาจริง ความไม่มีประสบการณ์พอที่จะรู้ว่าอะไรคือสาระที่เป็น 20% การที่จะเข้าถึง 20% ที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้น จำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนตัวเอง ทดลองแล้วทดลองเล่า เพื่อที่จะเข้าใจให้ได้ก่อนว่า ทั้ง 100% นั้นคืออะไร เพื่อที่จะเข้าถึง 20% ที่เป็น Cream จริงๆ
แต่แล้วเมื่อเราฝึกฝน ขัดเกลาตัวเองจนสามารถเข้าใจได้ถึง 100% และรู้ว่า 20% นั้นคืออะไร ผลปรากฎว่า จิตของเราได้มีความยึดมั่นถือมั่นใหม่ที่เคยชินกับการทำอะไรที่ระดับ 100% และการเข้าถึงระดับ 100% นั้นเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลานานมาก
การฝึกเจริญสติจึงเข้ามาที่ตรงนี้ คือ เราฝึกที่จะปล่อยวาง ปลดปล่อยเวลาจากการยึดจากความเคยชินออกไป 80 เพื่อที่จะเปิดโอกาสในการเข้าไปเรียนรู้ และรับรู้สิ่งต่างๆ มากขึ้น เปิดโอกาสในการได้ไปทำ 20% ใหม่ๆ เพื่อที่จะเพิ่มผลลัพธ์โดยรวม
ทั้งนี้เมื่อฝึกเจริญสติบ่อยๆ ก็จะเห็นโทษของการเคล้าคลึง การยึด แม้กระทั่งในระดับความคิด เมื่อเห็นโทษจากการยึด และเห็นประโยชน์จากการปล่อย บ่อยๆ เอาไปใช้จริงแล้วได้ผลในการดำเนินชีวิต ในการเลี้ยงชีพแล้ว ก็จะยิ่งทำให้สติเราพัฒนามากยิ่งขึ้นๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้นๆ ไม่จม ไม่หลงไปกับแนวความคิดหนึ่งมากจนเกินไปจนเป็นโทษต่อภาพรวม และทำให้การลงทุนพัฒนาได้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นการฝึกในการเพิ่มระดับของ 80/20 ไปเป็น 90/10 ไปจนกลายเป็น 95/5 จนปัญญาแก่กล้ามากๆ ในระดับ 99/1 ซึ่งปัญญาที่แก่กล้าระดับนี้จะทำให้เปิดโอกาสในการทำอะไรได้อีกเยอะมากครับ
ปล. ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อความดังกล่าวมีพื้นฐานอยู่บนการเจริญสติที่เป็นไปอย่างถูกต้อง และมี สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มากในระดับหนึ่งนะครับ หากปฏิบัติผิดทาง สภาวะเหล่านี้ไม่เพียงจะไม่เกิดเท่านั้น แต่จะทำให้ระดับของความยึดมั่น อัตตาตัวตนสูงยิ่งขึ้นๆ อันนำไปสู่ทุกข์ใหม่ๆ ได้
นอกจากการเจริญสติจะทำให้ตัวเราเองไม่เป็นไปกับอารมณ์ เป็นการฝึกที่จะทำให้ถอยออกมาจากสถานการณ์ กลายเป็นผู้มอง เป็นผู้ดูอยู่ในวงนอก เพื่อที่จะได้ใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นแล้ว
การเจริญสติจะไปพัฒนาการใช้เหตุผลอีกด้วย ทั้งนี้แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้ใช้อารมณ์ในการวิเคราะห์ ในการตัดสินใจแล้วก็ตาม แต่โดยธรรมชาติแล้ว คนเราก็ยังมี bias ยังมีการใช้เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์อยู่ เหล่านี้เป็นผลเนื่องมาจากความยึดมั่นถือมั่นบางประการที่เรามี เช่น การยึดมั่นถือมั่นในหลักการ การยึดติดที่เกิดจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ผลของการยึดมั่นถือมั่นในแนวความคิดบางอย่างมากเกินไป แม้กระทั่งการยึดมั่นถือมั่นในแนวความคิดอย่างการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในบางครั้ง บางสถานการณ์ ก็นำภัย นำความเสียหาย หรือนำทุกข์ทางใจมาให้กับเราได้ไม่ใช่น้อย
การฝึกเจริญสติไปถึงจุดหนึ่ง จะเป็นการฝึกที่จะปล่อยสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น โดยการจะปล่อยวางอะไรได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อเราเริ่มต้นที่จะเห็นโทษของการยึด เห็นว่าการยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอาไว้ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง และเห็นประโยชน์จากการปล่อยมัน ว่าเมื่อสามารถปล่อยสิ่งที่ยึดได้ จิตก็จะมีพื้นที่ที่จะรับรู้ เรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น
เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจหลักการของกฎ 80/20 กับการเจริญสติบ้างเล็กน้อย ถ้าเราเข้าใจหลักการ 80/20 เราจะเห็นว่าหากเราทำแค่ 20% แล้วเราทำกิจกรรมต่างๆ 5 อย่าง เราจะได้ผลลัพธ์ที่สูงมาก คือ 80x5=400%
แต่ธรรมชาติของจิต คนที่ไม่มีความมุ่งมั่น การที่จะทำสิ่งที่เป็นสาระให้ถึง 20 นั้นทำได้ยาก ความขี้เกียจ ความไม่เอาจริงเอาจริง ความไม่มีประสบการณ์พอที่จะรู้ว่าอะไรคือสาระที่เป็น 20% การที่จะเข้าถึง 20% ที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้น จำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนตัวเอง ทดลองแล้วทดลองเล่า เพื่อที่จะเข้าใจให้ได้ก่อนว่า ทั้ง 100% นั้นคืออะไร เพื่อที่จะเข้าถึง 20% ที่เป็น Cream จริงๆ
แต่แล้วเมื่อเราฝึกฝน ขัดเกลาตัวเองจนสามารถเข้าใจได้ถึง 100% และรู้ว่า 20% นั้นคืออะไร ผลปรากฎว่า จิตของเราได้มีความยึดมั่นถือมั่นใหม่ที่เคยชินกับการทำอะไรที่ระดับ 100% และการเข้าถึงระดับ 100% นั้นเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลานานมาก
การฝึกเจริญสติจึงเข้ามาที่ตรงนี้ คือ เราฝึกที่จะปล่อยวาง ปลดปล่อยเวลาจากการยึดจากความเคยชินออกไป 80 เพื่อที่จะเปิดโอกาสในการเข้าไปเรียนรู้ และรับรู้สิ่งต่างๆ มากขึ้น เปิดโอกาสในการได้ไปทำ 20% ใหม่ๆ เพื่อที่จะเพิ่มผลลัพธ์โดยรวม
ทั้งนี้เมื่อฝึกเจริญสติบ่อยๆ ก็จะเห็นโทษของการเคล้าคลึง การยึด แม้กระทั่งในระดับความคิด เมื่อเห็นโทษจากการยึด และเห็นประโยชน์จากการปล่อย บ่อยๆ เอาไปใช้จริงแล้วได้ผลในการดำเนินชีวิต ในการเลี้ยงชีพแล้ว ก็จะยิ่งทำให้สติเราพัฒนามากยิ่งขึ้นๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้นๆ ไม่จม ไม่หลงไปกับแนวความคิดหนึ่งมากจนเกินไปจนเป็นโทษต่อภาพรวม และทำให้การลงทุนพัฒนาได้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นการฝึกในการเพิ่มระดับของ 80/20 ไปเป็น 90/10 ไปจนกลายเป็น 95/5 จนปัญญาแก่กล้ามากๆ ในระดับ 99/1 ซึ่งปัญญาที่แก่กล้าระดับนี้จะทำให้เปิดโอกาสในการทำอะไรได้อีกเยอะมากครับ
ปล. ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อความดังกล่าวมีพื้นฐานอยู่บนการเจริญสติที่เป็นไปอย่างถูกต้อง และมี สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มากในระดับหนึ่งนะครับ หากปฏิบัติผิดทาง สภาวะเหล่านี้ไม่เพียงจะไม่เกิดเท่านั้น แต่จะทำให้ระดับของความยึดมั่น อัตตาตัวตนสูงยิ่งขึ้นๆ อันนำไปสู่ทุกข์ใหม่ๆ ได้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
โพสต์ที่ 4
ขอโอกาสร่วมแสดงความเห็นด้วยคนครับ
ที่ผ่านมาหลายปี ผมเป็นคนนึงที่ศึกษาแนวทางลงทุนในตลาดหุ้นหลากหลายแนวมาก เข้าข่ายรักพี่เสียดายน้องก็ว่าได้ ด้วยที่ว่าเมื่อศึกษาไปๆ แล้วได้พบว่าแนวทางแต่ละแนวนั้นล้วนมีข้อดีข้อด้อยด้วยกันทั้งสิ้น
แต่การที่มัวแต่รักพี่เสียดายน้องอย่างที่ว่ามานี้ ก็ได้ย้อนกลับมาเป็นปัญหากับตัวเอง คือทำให้ในหลายครั้งกลายเป็นความสับสนเพราะแต่ละแนวทางตีกันเองอยู่ในความคิดในเวลาที่จะตัดสินใจลงทุน
จนได้มีโอกาสมาฝึกปฏิบัติธรรม ฝึกเจริญสติความรู้ตัว เมื่อฝึกปฏิบัติได้ถูกแนวทางจนถึงวันนึง พบว่าแทนที่แต่เดิมเวลาศึกษาแนวทางลงทุนมักจะพยายามจดจำรายละเอียดมากๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ยิ่งประสบการณ์มากขึ้นยิ่งกลายเป็นว่าพยายามจำรูปแบบรายละเอียดมากขึ้นตามไปด้วย ด้วยเชื่อว่าเมื่อรู้มากๆ แล้วจะสามารถตอบโจทย์ในสถานการณ์จริงที่มีความหลากหลายได้มากตามไปเช่นกัน
แต่ยิ่งฝึกปฏิบัติธรรมมากเท่าไหร่ ความเข้าใจกลับยิ่งกลายเป็นว่า รายละเอียดต่างๆ กลับกลายเป็นเรื่องที่เกินจำเป็น กลายเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนมากกว่าที่จะสร้างความชัดเจน ส่วนสิ่งที่จำเป็นจริงๆ นั้นกลับกลายเป็นความเข้าใจในแก่นแท้ หลักคิด ของแนวทางลงทุนแต่ละแนวมากกว่า จนสามารถสรุปย่อหัวใจหลักของมันออกมาเหลือแค่เป็นตัวอักษรเพียงไม่กี่บรรทัดเท่านั้น
ที่ผ่านมาหลายปี ผมเป็นคนนึงที่ศึกษาแนวทางลงทุนในตลาดหุ้นหลากหลายแนวมาก เข้าข่ายรักพี่เสียดายน้องก็ว่าได้ ด้วยที่ว่าเมื่อศึกษาไปๆ แล้วได้พบว่าแนวทางแต่ละแนวนั้นล้วนมีข้อดีข้อด้อยด้วยกันทั้งสิ้น
แต่การที่มัวแต่รักพี่เสียดายน้องอย่างที่ว่ามานี้ ก็ได้ย้อนกลับมาเป็นปัญหากับตัวเอง คือทำให้ในหลายครั้งกลายเป็นความสับสนเพราะแต่ละแนวทางตีกันเองอยู่ในความคิดในเวลาที่จะตัดสินใจลงทุน
จนได้มีโอกาสมาฝึกปฏิบัติธรรม ฝึกเจริญสติความรู้ตัว เมื่อฝึกปฏิบัติได้ถูกแนวทางจนถึงวันนึง พบว่าแทนที่แต่เดิมเวลาศึกษาแนวทางลงทุนมักจะพยายามจดจำรายละเอียดมากๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ยิ่งประสบการณ์มากขึ้นยิ่งกลายเป็นว่าพยายามจำรูปแบบรายละเอียดมากขึ้นตามไปด้วย ด้วยเชื่อว่าเมื่อรู้มากๆ แล้วจะสามารถตอบโจทย์ในสถานการณ์จริงที่มีความหลากหลายได้มากตามไปเช่นกัน
แต่ยิ่งฝึกปฏิบัติธรรมมากเท่าไหร่ ความเข้าใจกลับยิ่งกลายเป็นว่า รายละเอียดต่างๆ กลับกลายเป็นเรื่องที่เกินจำเป็น กลายเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนมากกว่าที่จะสร้างความชัดเจน ส่วนสิ่งที่จำเป็นจริงๆ นั้นกลับกลายเป็นความเข้าใจในแก่นแท้ หลักคิด ของแนวทางลงทุนแต่ละแนวมากกว่า จนสามารถสรุปย่อหัวใจหลักของมันออกมาเหลือแค่เป็นตัวอักษรเพียงไม่กี่บรรทัดเท่านั้น
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณข้อเขียนของคุณ picatos มากครับ ช่วยให้ผมได้เปิดหูเปิดตา ได้มีโอกาสทบทวนตัวเองขึ้นมาอีกรอบนึง ขอสารภาพว่าได้ติดตามข้อเขียนของคุณ picatos บ่อยๆ ครับ โอกาสที่จะได้อ่านความรู้จากนักลงทุนที่ประยุกต์แนวทางลงทุนด้วยการปฏิบัติธรรมมีไม่มากนัก
ไม่ทราบว่าคุณ picatos มีความเห็นอย่างไรบ้างกับคำกล่าวที่ว่า "เมื่อรู้แจ้งเพียงหนึ่ง เข้าใจกระจ่างทุกสิ่ง" ครับ
ไม่ทราบว่าคุณ picatos มีความเห็นอย่างไรบ้างกับคำกล่าวที่ว่า "เมื่อรู้แจ้งเพียงหนึ่ง เข้าใจกระจ่างทุกสิ่ง" ครับ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
โพสต์ที่ 6
ไม่เคยได้ยินคำพูดนี้นะครับ แต่ถ้าให้เดาๆ ก็คงจะเข้าใจว่าเป็น "ภาวนามยปัญญา" อย่างในเคส Extreme ก็คงจะคล้ายๆ กับการตรัสรู้ บรรลุองค์ความรู้ ที่เกิดขึ้นในขณะจิตเดียว แล้วเข้าไปรู้แจ้งแทงตลอดในเรื่องต่างๆดำ เขียน:ขอบคุณข้อเขียนของคุณ picatos มากครับ ช่วยให้ผมได้เปิดหูเปิดตา ได้มีโอกาสทบทวนตัวเองขึ้นมาอีกรอบนึง ขอสารภาพว่าได้ติดตามข้อเขียนของคุณ picatos บ่อยๆ ครับ โอกาสที่จะได้อ่านความรู้จากนักลงทุนที่ประยุกต์แนวทางลงทุนด้วยการปฏิบัติธรรมมีไม่มากนัก
ไม่ทราบว่าคุณ picatos มีความเห็นอย่างไรบ้างกับคำกล่าวที่ว่า "เมื่อรู้แจ้งเพียงหนึ่ง เข้าใจกระจ่างทุกสิ่ง" ครับ
พูดถึงปัญญา ปัญญาในทางพุทธฯ จะแบ่งเป็น 1) สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการจำ 2) จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากใช้เหตุผล และ 3) ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนา
ทีนี้ปัญญาที่เกิดจากการภาวนานี้ ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากใช้หลักเหตุผล แต่เป็นปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมตัวรู้ทีละเล็กทีละน้อยจากการมีสติ สมาธิ ที่เข้าไปรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางกายและใจทีละขณะๆ สติ สมาธิ ปัญญา ที่ค่อยๆ สั่งสมทีละขณะๆ เจริญแก่กล้าเต็มที่ จิตที่ฝึกดีแล้ว จะมีความใสและมีความเป็นกลางในการรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อจิตถูกฝึกให้เหมาะสมแก่การงาน จะเกิดกระบวนการหลั่ง หรือสังเคราะห์ความรู้ขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ใช่การมานั่งคิด วิเคราะห์ หรือใช้เหตุผล เป็นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเองจากการมีสติเข้าไปรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทีละขณะๆ อย่างต่อเนื่อง
และเมื่อเราฝึกธรรมชาติจิตแบบนี้จนกลายเป็นอาจิณกรรม กำลังที่แก่กล้ามากขึ้นๆ จากการเจริญภาวนา เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะเข้าสู่สภาพที่แก่กล้าอย่างเต็มที่จนมีขณะจิตที่ขณะหนึ่ง ความสมส่วนเกิดขึ้นอย่างถึงที่สุด จึงทำให้เกิดปัญญาในระดับที่รู้แจ้ง แก่นที่อยู่ลึกที่สุดในสิ่งต่างๆ และทำให้เข้าใจกระจ่างในหลายๆ สิ่งตามมา และเมื่อมีความรู้แจ้งในระดับนี้เกิดขึ้นแล้ว องค์ความรู้ในระดับนี้ก็จะเป็นปัญญาที่ติดตัวเอาไปใช้กับสิ่งต่างๆ ในปัญญาในระดับรองลงๆ
อันนี้ก็เขียนๆ เอาตามประสบการณ์และตามความเข้าใจนะครับ ถูกผิดท่านผู้อ่านคงไม่อาจทราบได้ จนกว่าท่านทั้งหลายจะได้มีโอกาสลงมือมาทดลองเจริญภาวนาด้วยตนเอง ตามหลักกาลามสูตรนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
โพสต์ที่ 8
ผมเข้าใจว่า การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกหรือความรู้ใหม่ชนิดที่ว่าไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์น่าจะมีส่วนคล้ายคลึงกับภาวนามยปัญญาที่ว่านี้นะครับpicatos เขียน:ทีนี้ปัญญาที่เกิดจากการภาวนานี้ ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากใช้หลักเหตุผล แต่เป็นปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมตัวรู้ทีละเล็กทีละน้อยจากการมีสติ สมาธิ ที่เข้าไปรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางกายและใจทีละขณะๆ สติ สมาธิ ปัญญา ที่ค่อยๆ สั่งสมทีละขณะๆ เจริญแก่กล้าเต็มที่ จิตที่ฝึกดีแล้ว จะมีความใสและมีความเป็นกลางในการรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อจิตถูกฝึกให้เหมาะสมแก่การงาน จะเกิดกระบวนการหลั่ง หรือสังเคราะห์ความรู้ขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ใช่การมานั่งคิด วิเคราะห์ หรือใช้เหตุผล เป็นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเองจากการมีสติเข้าไปรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทีละขณะๆ อย่างต่อเนื่อง
ถ้าอาศัยแค่ความคิดไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผล ก็ไม่รู้ว่ามันจะคิดออกมาได้ยังไงเพราะหลายสิ่งหลายเรื่องมันไม่เคยแม้แต่ว่าจะมีใครนึกถึงมาก่อน จนอาจเรียกได้ว่าเหนือจินตนาการของคนทั่วๆ ไปเสียด้วยซ้ำ