รบกวนสอบถามเรื่อง Margin 0f safety ครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
THALUCUS
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามเรื่อง Margin 0f safety ครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

:'O  พอดีว่าผมเองก็เป็นอีกคนที่มือสะอาดมาก ๆ ครับ กำลังจะหัดเป็น
มือใหม่ ก็เลยมาอ่านกระทู้ของพี่ ๆ ที่ Post เอาไว้ก็เจอคำว่า

" Margin of Safety"

ซึ่งผมเองก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร สำคัญอย่างไร
รบกวนพี่ ๆ ช่วยชี้แนะหน่อยนะครับผม
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามเรื่อง Margin 0f safety ครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Margin of safety
Definition

The term given by Benjamin Graham, 'the father of value investing', to the idea that if you buy shares for less than two thirds of their net asset value, you automatically have a cushion against any deterioration in the company's trading position in the future. Put another way, 'buy cheap'.

Graham's view was that it is extremely difficult to accurately predict a company's future earnings. For an investment to be 'safe', therefore, he liked to see a margin between the value of its net current assets and its share price. If the share price was below the net current assets divided by the number of shares in issue, he would consider buying it.

One of the problems with Graham's approach is that in bull markets it is very difficult to find companies that fulfil his criteria. A second problem is that many of the fastest growing companies in modern economies are those whose assets are intangible - for instance, the value of their intellectual property. Under the Graham rubric, these sorts of assets would be excluded.


Source: finance-glossary.com
"Winners never quit, and quitters never win."
Stock Broker
Verified User
โพสต์: 2509
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามเรื่อง Margin 0f safety ครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Margin of Safety กลยุทธ์การลงทุนอย่างปลอดภัย โดย Settrade.com


เชื่อว่าผู้ลงทุนหลายท่านคงเคยได้ยินชื่อของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) ซึ่งเป็น Value Investors ที่มีชื่อเสียงก้องโลก แต่มีอีกผู้หนึ่งที่ชื่อเสียงอาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นหูเท่ากับบัฟเฟตต์ แต่ถ้าเป็นผู้ลงทุนที่ลงทุนมาระยะเวลาหนึ่งย่อมต้องรู้จัก เบนจามิน เกรแฮม (Benjamin Graham) เพราะเขา
ผู้นี้เคยเป็นอาจารย์ของ บัฟเฟตต์ สมัยเรียนมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเป็นหนึ่งในผู้ที่เป็นแม่แบบของการลงทุนแบบเน้นคุณค่ายุคบุกเบิก   บัฟเฟตต์ยังประกาศว่าที่เขาโด่งดังมาได้ถึงทุกวันนี้ ก็มาจากพื้นฐานที่เกรแฮมได้ปูไว้และถูกนำมาประยุกต์อีกต่อหนึ่ง  หลายคนยกย่องให้เกรแฮมเป็น The Father of Financial Analysis and Value Investing และ Dean of Wall Street
เกรแฮมเป็นผู้เขียนหนังสือขายดี 2 เล่มที่บัฟเฟตต์แนะนำว่าเป็นหนังสือที่ผู้ลงทุนทุกคนต้องอ่าน The Intelligent Investor และ Security Analysis หลักการลงทุนของเกรแฮมเน้นที่การวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทซึ่งลงทุนโดยพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทและเงินปันผลที่ได้รับเป็นหลัก โดยสิ่งที่ผู้ลงทุนจดจำเกรแฮมได้ก็คือ ปรัชญาด้านการลงทุนของเขาที่เขามักจะพูดเสมอว่าประกอบขึ้นมาจากคำ 3 คำง่าย ๆ ก็คือ Margin of Safety - the price at which a share investment can be bought with minimal downside risk. หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัว ก็ได้ใจความว่า ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย = ราคาหุ้นที่สามารถเข้าซื้อได้โดยมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ
หลักการลงทุนของเกรแฮมเพื่อให้เกิด Margin of Safety พอสรุปได้ดังนี้



1.     ลงทุนในบริษัทใหญ่ที่มียอดขายดี



2.     ลงทุนในบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผล



3.     ลงทุนในบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง มี Current Assets > (Current and Long term Debt) มี Cash Flow ดี และมีภาระหนี้ต่ำ



4.     ลงทุนในบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตอย่างยั่งยืน คือมีความมั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น



5.     เน้นการวิเคราะห์อัตราส่วนราคา (Price Multiples) โดยดูจากค่า P/E โดยต้องมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และค่า P/VB < 1.2 เท่า (Book Value = Total Assets Total Liabilities)






แต่ถ้าจะให้อธิบาย Margin of Safety ให้ละเอียดขึ้นก็คือ การลงทุนด้วยการพิจารณาที่มูลค่าที่แท้จริงของกิจการว่ามีค่าเป็นเท่าไรต่อหุ้น หากเราสามารถซื้อหุ้นนั้นได้ถูกกว่าค่านี้ ก็หมายถึงว่าสามารถซื้อได้ในราคาที่มีส่วนลด และเขาเชื่อว่าในระยะยาวแล้ว ราคาของหุ้นจะต้องปรับไปสู่ราคาที่เหมาะสมของมันเสมอ และผู้ลงทุนก็สามารถขายหุ้นนั้นออกไปในราคาที่มีกำไรจากส่วนต่าง



เกรแฮมได้แนะนำวิธีการค้นหาหุ้นที่มี Margin of Safety ไว้โดยได้ตั้งเกณฑ์ไว้ 10 ข้อ และบริษัทใดก็ตามที่ตรงตามเกณฑ์ 7 จาก 10 ข้อนี้ถือว่าผ่าน โดยกฎเกณฑ์ข้อที่ 1-5 จะประเมินเรื่องความเสี่ยง ข้อที่ 6-8 จะดูในเรื่องความแข็งแกร่งทางการเงิน ข้อ 9-10 จะแสดงประวัติผลกำไรที่สม่ำเสมอ และต่อไปนี้คือเกณฑ์ 10 ข้อที่กล่าวถึงครับ






1.     มีอัตราส่วนผลกำไรต่อราคา หรือ E/P (ตรงข้ามกับ P/E) เป็น 2 เท่าของผลตอบแทนของหุ้นกู้ ระดับ AAA เช่น ถ้าหุ้นกู้ ระดับ AAA ให้ผลตอบแทน 6% อัตราส่วน ผลกำไรต่อราคา ก็ควรจะเป็น 12%



2.     มีค่า P/E ไม่สูงกว่า 40% ของค่าเฉลี่ยสูงสุดของหุ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา



3.     ให้ผลตอบแทนเงินปันผลเป็น 2 ใน 3 ของดอกเบี้ยหุ้นกู้ ระดับ AAA ซึ่งนี่ก็เป็นการตัดหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผลหรือไม่มีกำไรออกโดยอัตโนมัติ



4.     มีราคาหุ้นเพียง 2 ใน 3 ของมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตนต่อหุ้น (Tangible Book Value per Share) สินทรัพย์ที่มีตัวตนจะหมายถึง เงินสด และสินทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ และ เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน สินทรัพย์ถาวร ที่บริษัทชำระเงินหมดแล้ว



5.     มีราคาหุ้นเพียง 2 ใน 3 ของมูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ



6.      มีหนี้สินทั้งหมดในจำนวนที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตน



7.     มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)>= 2 เพราะเป็นตัววัดสภาพคล่อง หรือความสามารถในการชำระหนี้สินจากรายได้ของบริษัท



8.     มีหนี้สินรวมไม่สูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ



9.     มีผลกำไรเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา



10.มีผลกำไรลดลงไม่เกิน 5% และไม่เกิน 2 ครั้งในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา

เกรแฮมบอกว่าถ้าสามารถค้นหาหุ้นที่มี Margin of Safety ได้ก็เหมือนกับว่าการลงทุนในครั้งนั้นๆ มีแต่จะสร้างกำไร และมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำอีกด้วย สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มก็อาจจะหาหนังสือของเกรแฮมมาอ่านเพิ่มเติม และถ้าสนใจหนังสือของบัฟเฟตต์ทั้งภาคภาษาไทย และภาษาอังกฤษก็สามารถหาซื้อได้ที่ร้านเซ็ทเทรด ดอท คอม ด้านหน้าอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือถ้าอยากอ่านข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลทั้ง 2 ก็ลองเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.buffettsecrets.com ซึ่งข้อมูลบางส่วนของบทความนี้ก็นำมาจากเว็บไซต์นี้เช่นกันครับ
THALUCUS
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามเรื่อง Margin 0f safety ครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณพี่ ๆ มาก ๆ เลยครับ ผมเลยได้อะไรไปเยอะเลย :idea:  

แต่ในนั้นก็ยัง งง ๆ อยู่เอาเป็นว่า

ไอ้ Margin of Safety เนื่ยเหมือนกับ สิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับหุ้นที่เราจะซื้อ
ว่า เมื่อซื้อแล้วจะไม่มีทางขาดทุน หรือโอกาสน้อยมาก หรือเปล่าครับ

ยิ่งเขียนก็ยิ่ง งง ครับผม :wall:
ssintra
Verified User
โพสต์: 13
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามเรื่อง Margin 0f safety ครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

margin of safety=ซื้อสินค้าตอนกำลังมีการลดราคา
sin
โพสต์โพสต์