อาทิตย์ พ.ย. 10, 2013 11:16 pm | 0 คอมเมนต์
theenuch เขียน:
แถมตารางต่อไปนี้ให้ด้วยค่ะ
- งบดุลรายปี
- ตัวอย่างการอ่านกรมธรรม์ที่เป็นเชิงพรรณา
แล้วนำมาแปลงเป็นตัวเลข
- รวมทั้งแผนการออมระยะยาวให้ด้วยค่ะ
น่าจะถูกใจคนชอบวางแผนการเงินค่ะ
ใครนำไปประยุกต์ใช้แล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์
ช่วยแวะมาบอกนิดนึงนะคะ
ที่จริงยังมีตารางที่เป็นประโยชน์ที่ทำไว้ใช้อีกมาก
แต่มันละเอียดยิบ ๆ เกรงจะงงกัน เลยให้แค่นี้พอค่ะ
เดี๋ยวจะมึนงง
กันซะก่อน
ทีบอกว่า "แถม" นั้น จริงๆ แล้วมันอยู่ใน
ตารางเดียวกัน แต่คนละ sheet ค่ะ
ตารางนี้ไม่ได้เหมาะกับการ refinance เท่านั้นนะคะ
แต่เหมาะสำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ทุกคนค่ะ
โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยเคยสนใจจำนวนยอดคงเหลือเท่าใดนัก
คงผ่อนตามที่ bank กำหนดไปเรื่อยๆ เพราะหน้าที่การงานมั่นคง
ยิ่งกลุ่มที่ให้หักผ่านบัญชีธนาคารนี่ยิ่งไม่ค่อยสนใจดูเลยค่ะ
แต่สิ่งที่หลายคนไม่ทราบคือ....
เมื่อใดที่พ้นจากดอกเบี้ยคงที่ไปแล้ว
และต้องเปลี่ยนไปใช้ดอกเบี้ยลอยตัวซึ่งมันมักจะมากขึ้น
การผ่อนด้วยเงินต้นเท่าเดิมนั้น
อาจจะมีแต่ดอกเบี้ยแทบไม่มีเงินต้นเลย
บางทีแบงค์แจ้งมาขอหักเพิ่มอีก คนผ่อนก็สบายใจว่า
อืม....ผ่อนเพิ่มแล้วสงสัยหมดเร็วที่ไหนได้
ที่แบงค์หักเพิ่มไปนั้นเป็นดอกเบี้ยหมด
ยอดผ่อนต่อเดือนเพิ่มแต่หักต้นเท่าเดิม
เพราะอัตราดอกเบี้ยมันเพิ่มขึ้น
บางทีแค่ 0.25 - 0.50 % ของเงินต้น 2 - 3 ล้านนี่
คิดดีๆ ก็หลายตังค์อยู่นะคะ
ทั้งชีวิตที่ผ่านมา ช่วยคนรอบตัววางแผนการเงิมามาก
มีเยอะจริงๆ ค่ะที่ไม่สนใจ โดยเฉพาะที่หักผ่านบัญชีอย่างที่เล่ามา
ตารางนี้จะช่วยฉายภาพที่ว่า
"ผ่อนเท่าไหร่กลายเป็นดอกเบี้ยหมด" ให้เห็นชัดเจนค่ะ
เท่าที่เคยทำให้เพื่อนๆ และคนรู้จัก
100 % ไปผ่อนชำระรายเดือนเพิ่ม และขยันหาเงินมาจ่ายเพิ่มจริงๆ
บางคนจองทัวร์ ท่องเที่ยวไว้พอเห็นตารางยกเลิกทัวร์
เอาเงินมาจ่ายบ้านก่อนเลยค่ะ "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" ได้ทันที
ในช่อง "จำนวนจ่ายเพิ่ม" นั้น
สามารถใส่ตัวเลขลงไปได้เลยค่ะ
จะวิ่งไปหักจากยอดคงเหลือในเดือนถัดไปให้
จะใช้ในกรณีที่มีโบนัสตอนสิ้นปี (ซึ่งใกล้จะได้รับกันแล้ว)
ได้เงินปันผลจากหุ้น เงินรับคืนจากเครดิตภาษี
หรือเงินก้อนอื่นๆ ที่เราตั้งใจจะนำมาจ่ายเพิ่ม
ใส่ปุ๊บ คำนวณปั๊บ แล้วลองดูดอกเบี้ยที่ลดลง
(ในตาราง sheet แรกที่ชื่อ TMB นั้นคือ
ตารางการผ่อนบ้านของเราเองค่ะที่ re มาที่ TMB
จะมีการจ่ายเงินก้อนเพิ่มในช่อง "จ่ายเพิ่ม" ด้วย
ทั้งที่จ่ายไปแล้วจริง และที่วางแผนจะจ่ายไว้ล่วงหน้าด้วย)
ของที่บ้านตามที่เคยเล่าในกระทู้เดิม
ว่าแบงค์กำหนดให้ผ่อน 17,000 บาท แต่เราผ่อน 50,000 บาท
ซึ่งไม่เห็นในตารางนี้ค่ะ เราผ่อนแบบนั้นมาตอนผ่อนกับ ธอส.
ทำให้ยอดกู้จาก 3.3 ล้านลดวูบเหลือ refinance มา TMB แค่ 1.8 ล้าน
ตามที่เห็นในตารางค่ะ ที่ผ่อนมากเพราะตารางนี้แหละค่ะ
ช่วยจูงใจให้เราขยันผ่อนบ้าน อย่างที่บอกว่า มันมีผลทางจิตวิทยาจริงๆ ค่ะ
หวังว่าตารางนี้จะมีประโยชน์แก่เพื่อนๆ บ้าง
ขอให้สนุกกับการออมและวางแผนการเงินนะคะ