ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 1
เจ้าสัว “ธนินท์” เสนอแก้ปัญหาขาดทุนรับจำนำข้าว จ้างเลิกปลูก 30% ขายข้าวเก่าให้จีนทำเอทานอล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2556 11:10 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - เจ้าสัวธนินท์แนะแก้ปัญหาการขาดทุนจากการจำนำข้าว โดยเสนอรัฐจ้างเกษตรกรอย่าปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ให้ผลผลิตต่ำให้ได้ 30% แล้วให้เกษตรกรหันไปปลูกปาล์ม หรือมะพร้าวที่ให้กำไรดีกว่าแทน อีกทั้งนำข้าวเก่าในสต๊อกมาขายให้จีนเพื่อทำเอทานอลแทนการระบายออกสู่ตลาด
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาการขาดทุนมหาศาลจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลต้องลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวลง 30% โดยจ้างเกษตรกรในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกได้ผลผลิตต่ำให้เลิกปลูกข้าว แล้วไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีกำไรดีกว่าแทน เช่น ปาล์ม หรือมะพร้าว โดยรัฐจ่ายเงินส่วนต่างที่เคยได้กำไรจากการปลูกข้าวประมาณ 1,500 บาท/ไร่ ให้แก่เกษตรกรเหล่านี้
ขณะเดียวกันก็นำข้าวเก็บเก่าในโกดัง เช่น ปลายข้าว ข้าวหัก ขายให้แก่จีนเพื่อใช้ทำเอทานอลแทน โดยไม่ให้นำเข้าข้าวเก็บเก่านี้นำออกมาขายสู่ตลาดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้นตลาดเหมือนในปัจจุบัน โดยรัฐอาจใช้วิธีแลกข้าวกับรถไฟของจีนก็ได้ ซึ่งในอดีตสหรัฐฯ แก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำจะนำไปทิ้งทะเล
“อย่าไปพูดว่าไทยจะเป็นที่ 1 ของโลก เพราะที่ 1 จริงๆ คือ จีน รองลงมาคือ อินเดีย พม่า และไทย โดยสมัยก่อนพม่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุด เราเป็นที่ 2 ก็ได้แต่ขอให้เกษตรกรไทยรวยขึ้นดีกว่า สำหรับเกษตรกรที่เลิกปลูกข้าวแล้วปลูกปาล์ม หรือมะพร้าว และเลี้ยงปลาด้วย ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าว โดยซีพีมีการทำทดลองอยู่แล้วที่กำแพงเพชร”
นายธนินท์กล่าวย้ำว่า แนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากนโยบายรับจำนำราคาข้าวยังทำให้มีกำไร ซึ่งในอนาคตรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมีนโยบายรับจำนำข้าวอีก ส่วนการทำข้อตกลงขายข้าวจีทูจีให้รัฐบาลไทย กับรัฐบาลจีนเมื่อเร็วๆ นี้ มั่นใจว่าจีนจะซื้อข้าวไทยอย่างแน่นอนเมื่อไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก หากปริมาณการขายข้าวออกสู่ตลาดลดลงก็จะมีผลต่อตลาดทำให้ราคาดีขึ้นด้วย
นายธนินท์กล่าวว่า ปัญหาการรับจำนำข้าวราคาสูงแล้วขายในราคาที่ต่ำจนทำให้ขาดทุนมหาศาลนี้ เกิดเนื่องจากรัฐบาลไทยบริหารจัดการช้า อีกทั้งอินเดียมีข้าวส่งออกมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ค่าเงินของอินเดีย และเวียดนามอ่อนค่าลงหลาย 10% ทำให้ราคาข้าวส่งออกของประเทศเหล่านี้ถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาข้าวของไทย เพราะค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น และราคาขายก็แพงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ นายธนินท์ยังสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งจีนที่มีการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า และรถไฟรางคู่แล้ว ประเทศเหล่านั้นไม่ได้ยากจน หรือก่อหนี้แก่ลูกหลาน มีแต่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้งราคาที่ดินโดยรอบจะปรับตัวสูงขึ้น ที่ผ่านมาไทยลงทุนช้าไปแล้ว หากไม่เร่งลงทุนประเทศเพื่อนบ้านก็จะแซงไป
______________________________________________________
ครั้งก่อนผมอ่าน 2สูง ไปแล้ว ท่านคิด
มาครั้งนี้ท่านคิด จ้างเลิกปลูกข้าว30
หากทำตามสูตรนี้ จะเป็นไงน้อประเทศไทย (ไม่เอาการเมือง)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2556 11:10 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - เจ้าสัวธนินท์แนะแก้ปัญหาการขาดทุนจากการจำนำข้าว โดยเสนอรัฐจ้างเกษตรกรอย่าปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ให้ผลผลิตต่ำให้ได้ 30% แล้วให้เกษตรกรหันไปปลูกปาล์ม หรือมะพร้าวที่ให้กำไรดีกว่าแทน อีกทั้งนำข้าวเก่าในสต๊อกมาขายให้จีนเพื่อทำเอทานอลแทนการระบายออกสู่ตลาด
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาการขาดทุนมหาศาลจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลต้องลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวลง 30% โดยจ้างเกษตรกรในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกได้ผลผลิตต่ำให้เลิกปลูกข้าว แล้วไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีกำไรดีกว่าแทน เช่น ปาล์ม หรือมะพร้าว โดยรัฐจ่ายเงินส่วนต่างที่เคยได้กำไรจากการปลูกข้าวประมาณ 1,500 บาท/ไร่ ให้แก่เกษตรกรเหล่านี้
ขณะเดียวกันก็นำข้าวเก็บเก่าในโกดัง เช่น ปลายข้าว ข้าวหัก ขายให้แก่จีนเพื่อใช้ทำเอทานอลแทน โดยไม่ให้นำเข้าข้าวเก็บเก่านี้นำออกมาขายสู่ตลาดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้นตลาดเหมือนในปัจจุบัน โดยรัฐอาจใช้วิธีแลกข้าวกับรถไฟของจีนก็ได้ ซึ่งในอดีตสหรัฐฯ แก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำจะนำไปทิ้งทะเล
“อย่าไปพูดว่าไทยจะเป็นที่ 1 ของโลก เพราะที่ 1 จริงๆ คือ จีน รองลงมาคือ อินเดีย พม่า และไทย โดยสมัยก่อนพม่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุด เราเป็นที่ 2 ก็ได้แต่ขอให้เกษตรกรไทยรวยขึ้นดีกว่า สำหรับเกษตรกรที่เลิกปลูกข้าวแล้วปลูกปาล์ม หรือมะพร้าว และเลี้ยงปลาด้วย ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าว โดยซีพีมีการทำทดลองอยู่แล้วที่กำแพงเพชร”
นายธนินท์กล่าวย้ำว่า แนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากนโยบายรับจำนำราคาข้าวยังทำให้มีกำไร ซึ่งในอนาคตรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมีนโยบายรับจำนำข้าวอีก ส่วนการทำข้อตกลงขายข้าวจีทูจีให้รัฐบาลไทย กับรัฐบาลจีนเมื่อเร็วๆ นี้ มั่นใจว่าจีนจะซื้อข้าวไทยอย่างแน่นอนเมื่อไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก หากปริมาณการขายข้าวออกสู่ตลาดลดลงก็จะมีผลต่อตลาดทำให้ราคาดีขึ้นด้วย
นายธนินท์กล่าวว่า ปัญหาการรับจำนำข้าวราคาสูงแล้วขายในราคาที่ต่ำจนทำให้ขาดทุนมหาศาลนี้ เกิดเนื่องจากรัฐบาลไทยบริหารจัดการช้า อีกทั้งอินเดียมีข้าวส่งออกมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ค่าเงินของอินเดีย และเวียดนามอ่อนค่าลงหลาย 10% ทำให้ราคาข้าวส่งออกของประเทศเหล่านี้ถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาข้าวของไทย เพราะค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น และราคาขายก็แพงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ นายธนินท์ยังสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งจีนที่มีการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า และรถไฟรางคู่แล้ว ประเทศเหล่านั้นไม่ได้ยากจน หรือก่อหนี้แก่ลูกหลาน มีแต่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้งราคาที่ดินโดยรอบจะปรับตัวสูงขึ้น ที่ผ่านมาไทยลงทุนช้าไปแล้ว หากไม่เร่งลงทุนประเทศเพื่อนบ้านก็จะแซงไป
______________________________________________________
ครั้งก่อนผมอ่าน 2สูง ไปแล้ว ท่านคิด
มาครั้งนี้ท่านคิด จ้างเลิกปลูกข้าว30
หากทำตามสูตรนี้ จะเป็นไงน้อประเทศไทย (ไม่เอาการเมือง)
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 2
ฟังดูเหมือนจะดี แต่ถ้าคิดในรายละเอียดแล้วใช้ไม่ได้
ขณะนี้ มันสำประหลังราคา ตันละ 2,800-3,000 บาท
ซึ่ง มันสำประหลังก็เอาไปผลิตเอทานอลได้
ถ้าแพงกว่ามันสำประหลัง จีนก็คงไม่ซื้อ
แต่ถ้าถูกพอๆกับมันสำประหลัง
ใครๆก็อยากซื้อ โรงงานเอทานอลในเมืองไทยก็ซื้อได้
ถ้าขายถูกๆแบบนี้ มีมากกว่านี้อีก 10เท่าก็ขายได้
ส่วน เงินกู้ 2.2ล้าน ยิ่งไม่เห็นด้วยใหญ่
น่าจะคิดโปรเจ็คก่อนแล้วค่อยกู้
เลือกโลจิสติคที่จำเป็นมากที่สุดก่อน ไม่ใช่ทำตัวเป็นเศรษฐี
ส่วนลดพืนที่เพราะปลูกโดยการจ้างให้ชาวนาเลิกทำนานั้น
ไม่เห็นด้วย ผมว่า เช่าที่นา เอามาทำแกล้มลิงดีกว่า
ปล้องกันน้ำท่วมได้แน่นอน และยังทำให้ประเทศมีน้ำใช้ตลอดปีด้วย
เช่ามาเลย 30% ของที่นาทั้งประเทศ ขุดดินให้ลึกลงไปอีกเป็นแหล่งรับน้ำ
ชาวนนาก็อยู่ที่เดิม มีน้ำล้อมรอบในหน้าฝน เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงห่าน
หรือทำการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
ขณะนี้ มันสำประหลังราคา ตันละ 2,800-3,000 บาท
ซึ่ง มันสำประหลังก็เอาไปผลิตเอทานอลได้
ถ้าแพงกว่ามันสำประหลัง จีนก็คงไม่ซื้อ
แต่ถ้าถูกพอๆกับมันสำประหลัง
ใครๆก็อยากซื้อ โรงงานเอทานอลในเมืองไทยก็ซื้อได้
ถ้าขายถูกๆแบบนี้ มีมากกว่านี้อีก 10เท่าก็ขายได้
ส่วน เงินกู้ 2.2ล้าน ยิ่งไม่เห็นด้วยใหญ่
น่าจะคิดโปรเจ็คก่อนแล้วค่อยกู้
เลือกโลจิสติคที่จำเป็นมากที่สุดก่อน ไม่ใช่ทำตัวเป็นเศรษฐี
ส่วนลดพืนที่เพราะปลูกโดยการจ้างให้ชาวนาเลิกทำนานั้น
ไม่เห็นด้วย ผมว่า เช่าที่นา เอามาทำแกล้มลิงดีกว่า
ปล้องกันน้ำท่วมได้แน่นอน และยังทำให้ประเทศมีน้ำใช้ตลอดปีด้วย
เช่ามาเลย 30% ของที่นาทั้งประเทศ ขุดดินให้ลึกลงไปอีกเป็นแหล่งรับน้ำ
ชาวนนาก็อยู่ที่เดิม มีน้ำล้อมรอบในหน้าฝน เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงห่าน
หรือทำการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
-
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 3
ดูเหมือนท่านจะมองว่า ในเวทีโลก ข้าวไทยจะแข่งขันได้ยากขึ้นเรื่อยๆ คุณภาพดีแต่ราคาแพงก็แข่งขันไม่ได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นความจริงเพราะต้นทุนเราสูงกว่าแถมรัฐยังต้องแบกรับราคาที่สูงไว้ให้ ไม่งั้นโดนม็อบ (ก็เหมือนๆกันทุกสินค้าเกษตร)
ท่านจึงแนะมาว่าข้าวนั้นผลิตมากๆไป ก็สู้ราคาเขาไม่ได้ ให้ลดสต็อกเก่าเสีย supplyลดลงราคาโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้น แล้วก็ให้ลดการผลิตข้าวลง 30% เพื่อไม่ให้ over supply ท่านเจ้าสัวถือเป็นเซียนสินค้าโภคภัณฑ์ ท่านเก่งมากเรื่อง demand supply ประเด็นที่แนะมานี้ผมค่อนข้างเห็นด้วยว่าจริงๆในตลาดส่งออก เราจะสู้ยากขึ้นเรื่อยๆ ผลิตเพื่อส่งออกมากๆ ราคาก็ต้องต่ำเพื่อให้แข่งขันได้ แต่มันสวนทางกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่ต้องดีขึ้น รัฐก็ต้องอุ้มอยู่เรื่อยๆ เป็นวงจรอุบาทว์
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ การลดการผลิตข้าวลง 30% นั้น จะทำด้วยวิธีไหน ท่านแนะว่าให้เปลี่ยนแปลงนาไปเป็นสวนปาล์มหรือปลูกมะพร้าวที่ซีพีกำลังส่งเสริมอยู่(ทำไมไม่มียางนะ) ผมคิดว่าเรื่องนี้ในหลวงท่านคิดไว้ให้นานมากแล้ว การลด supplyข้าวลง 30%นั้น ผมว่าไม่น่าจะเป็นการเลือกพื้นที่ที่ผลผลิตข้าวต่ำแล้วเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่น รากเหง้าปัญหาเกษตรกรทั้งหมดมันคือ การเกษตรแบบเชิงเดี่ยว แต่เชิงเดี่ยวมันดีต่อนักธุรกิจที่รับซื้อผลผลิต เพราะจัดการได้ง่าย ประสิทธิภาพดี ต้นทุนต่ำ แล้วก็มาส่งเสริมเกษตรกรให้ทำเชิงเดี่ยวกันหมด ทั้งข้าว มัน ยาง ปาล์ม อ้อย คำถามคือเราอยากจะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรหรือนักธุรกิจ ถ้าทำเพื่อเกษตรกรล้วนๆ ก็ต้องปฏิรูปการเกษตรไปสู่ การเกษตรเชิงซ้อน แล้วนักธุรกิจนั่นแหละที่ต้องปรับตัวเข้าหาเกษตรกรเชิงซ้อนเอง เพราัะคุณเป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศ
แต่เกษตรเชิงซ้อนก็มีประสิทธิภาพสูงได้ ใช้เทคโนโลยีขนาดเล็ก ปลูกพืชหลากหลาย ข้าวราคาต่ำก็เปลี่ยนนาบางส่วนไปปลูกผักปลอดสารพิษแทน การลดพื้นที่ปลูกข้าว 30% จึงควรลดทั้งหมดโดยการเปลี่ยนไปทำเกษตรเชิงซ้อนแทน ทำไมซีพีไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรเชิงซ้อนแทน สอนเขาใช้เทคโนโลยีใหม่ๆขนาดเล็ก ทำแหล่งน้ำให้เขา ให้เขาปลูกทั้งข้าว ปาล์ม มะพร้าว ผัก เลี้ยงปลา ท่านจะคอนแทคฟาร์มมิ่งกับเขาก็ได้ แต่เขาจะรอดในระยะยาวเพราะเวลาข้าวลง ปาล์มขึ้น มะพร้าวขึ้น สลับกันไปมา เขาจะรอด เขารอดประเทศก็รอด ถ้าซีพีบุกเบิกทำอย่างนี้ ผมว่าท่านเจ้าสัวจะเป็นวีรบุรุษของเกษตรกรไทย ในฐานะผู้นำพาทฤษฎีเกษตรพอเพียงไปสู่เกษตรกรไทย ถ้าท่านจะทำผมว่าท่านก็ทำได้
ท่านจึงแนะมาว่าข้าวนั้นผลิตมากๆไป ก็สู้ราคาเขาไม่ได้ ให้ลดสต็อกเก่าเสีย supplyลดลงราคาโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้น แล้วก็ให้ลดการผลิตข้าวลง 30% เพื่อไม่ให้ over supply ท่านเจ้าสัวถือเป็นเซียนสินค้าโภคภัณฑ์ ท่านเก่งมากเรื่อง demand supply ประเด็นที่แนะมานี้ผมค่อนข้างเห็นด้วยว่าจริงๆในตลาดส่งออก เราจะสู้ยากขึ้นเรื่อยๆ ผลิตเพื่อส่งออกมากๆ ราคาก็ต้องต่ำเพื่อให้แข่งขันได้ แต่มันสวนทางกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่ต้องดีขึ้น รัฐก็ต้องอุ้มอยู่เรื่อยๆ เป็นวงจรอุบาทว์
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ การลดการผลิตข้าวลง 30% นั้น จะทำด้วยวิธีไหน ท่านแนะว่าให้เปลี่ยนแปลงนาไปเป็นสวนปาล์มหรือปลูกมะพร้าวที่ซีพีกำลังส่งเสริมอยู่(ทำไมไม่มียางนะ) ผมคิดว่าเรื่องนี้ในหลวงท่านคิดไว้ให้นานมากแล้ว การลด supplyข้าวลง 30%นั้น ผมว่าไม่น่าจะเป็นการเลือกพื้นที่ที่ผลผลิตข้าวต่ำแล้วเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่น รากเหง้าปัญหาเกษตรกรทั้งหมดมันคือ การเกษตรแบบเชิงเดี่ยว แต่เชิงเดี่ยวมันดีต่อนักธุรกิจที่รับซื้อผลผลิต เพราะจัดการได้ง่าย ประสิทธิภาพดี ต้นทุนต่ำ แล้วก็มาส่งเสริมเกษตรกรให้ทำเชิงเดี่ยวกันหมด ทั้งข้าว มัน ยาง ปาล์ม อ้อย คำถามคือเราอยากจะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรหรือนักธุรกิจ ถ้าทำเพื่อเกษตรกรล้วนๆ ก็ต้องปฏิรูปการเกษตรไปสู่ การเกษตรเชิงซ้อน แล้วนักธุรกิจนั่นแหละที่ต้องปรับตัวเข้าหาเกษตรกรเชิงซ้อนเอง เพราัะคุณเป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศ
แต่เกษตรเชิงซ้อนก็มีประสิทธิภาพสูงได้ ใช้เทคโนโลยีขนาดเล็ก ปลูกพืชหลากหลาย ข้าวราคาต่ำก็เปลี่ยนนาบางส่วนไปปลูกผักปลอดสารพิษแทน การลดพื้นที่ปลูกข้าว 30% จึงควรลดทั้งหมดโดยการเปลี่ยนไปทำเกษตรเชิงซ้อนแทน ทำไมซีพีไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรเชิงซ้อนแทน สอนเขาใช้เทคโนโลยีใหม่ๆขนาดเล็ก ทำแหล่งน้ำให้เขา ให้เขาปลูกทั้งข้าว ปาล์ม มะพร้าว ผัก เลี้ยงปลา ท่านจะคอนแทคฟาร์มมิ่งกับเขาก็ได้ แต่เขาจะรอดในระยะยาวเพราะเวลาข้าวลง ปาล์มขึ้น มะพร้าวขึ้น สลับกันไปมา เขาจะรอด เขารอดประเทศก็รอด ถ้าซีพีบุกเบิกทำอย่างนี้ ผมว่าท่านเจ้าสัวจะเป็นวีรบุรุษของเกษตรกรไทย ในฐานะผู้นำพาทฤษฎีเกษตรพอเพียงไปสู่เกษตรกรไทย ถ้าท่านจะทำผมว่าท่านก็ทำได้
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 5
1.ปกติสิ่งที่ใช้ทำเอทานอลคือมันสำประหลัง
ราคาตันละ 2,800-3,000 บาท
ดังนั้น ถ้าขายในราคาถูกๆแบบนี้ จีนซื้อแน่
ใครๆก็ซื้อ ทำไไมต้องขายให้จีน
2.ควรเช่าที่นา 20%-30%ที่ เหมาะสมเอามาทำแกล้มลิงปล้องกันน้ำท่วม
โดยใช้เงิน ที่ต้องใช้สร้างเขื่อน และขาดทุนจากจำนำข้าว
3.เลือกโครงการณ์ ที่เหมาะสม ในการทำโลจิสติก อย่าใช้เงินฟุ่มเฟือย
หมายเหตุ ทำไม แบนผมตลอด ผมก็โพสต์ ตามเหตุตามผล
ผมไม่เห็นด้วยกับเจ้าสัวคนนี้ก็ถูกแบนด้วยหรือ
ชักสับสนกับจุดยืนของเวบนี้
ราคาตันละ 2,800-3,000 บาท
ดังนั้น ถ้าขายในราคาถูกๆแบบนี้ จีนซื้อแน่
ใครๆก็ซื้อ ทำไไมต้องขายให้จีน
2.ควรเช่าที่นา 20%-30%ที่ เหมาะสมเอามาทำแกล้มลิงปล้องกันน้ำท่วม
โดยใช้เงิน ที่ต้องใช้สร้างเขื่อน และขาดทุนจากจำนำข้าว
3.เลือกโครงการณ์ ที่เหมาะสม ในการทำโลจิสติก อย่าใช้เงินฟุ่มเฟือย
หมายเหตุ ทำไม แบนผมตลอด ผมก็โพสต์ ตามเหตุตามผล
ผมไม่เห็นด้วยกับเจ้าสัวคนนี้ก็ถูกแบนด้วยหรือ
ชักสับสนกับจุดยืนของเวบนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 6
ณ เวลานี้ต้องยอมรับความจริงก่อนครับว่า supply มันล้นตลาด
ขายให้จีนได้ 1 ล้านตัน แต่ที่เหลือในสต็อกก็ยังเยอะอยู่
การปิดบัญชีให้แสดงผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง หรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ยังไม่แสดงให้ประชาชนเห็น
ถ้ายังรับจำนำข้าวต่อไป ก็คงไม่มีที่จะเก็บแล้ว
ถ้าแลกเฉพาะหัวรถไฟความเร็วสูง แล้วระบบรางประเทศไทยมีหรือยัง อีกกี่ปีถึงจะก่อสร้างระบบราง
แถมจะเป็นการบังคับประเทศไทยด้วยซ้ำว่าต้องเลือกของที่มาจากประเทศจีน
การแลกข้าวกับห้วรถไฟความเร็วสูงคงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้
เศรษฐีที่มีการลงทุนในจีนมาก เมื่อถึงวันหนึ่งกิจการที่ลงทุนในจีนมูลค่าสูงกว่าในไทย
เขาจะให้ความสำคัญกับประเทศไหนมากกว่ากัน
ขายให้จีนได้ 1 ล้านตัน แต่ที่เหลือในสต็อกก็ยังเยอะอยู่
การปิดบัญชีให้แสดงผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง หรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ยังไม่แสดงให้ประชาชนเห็น
ถ้ายังรับจำนำข้าวต่อไป ก็คงไม่มีที่จะเก็บแล้ว
ถ้าแลกเฉพาะหัวรถไฟความเร็วสูง แล้วระบบรางประเทศไทยมีหรือยัง อีกกี่ปีถึงจะก่อสร้างระบบราง
แถมจะเป็นการบังคับประเทศไทยด้วยซ้ำว่าต้องเลือกของที่มาจากประเทศจีน
การแลกข้าวกับห้วรถไฟความเร็วสูงคงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้
เศรษฐีที่มีการลงทุนในจีนมาก เมื่อถึงวันหนึ่งกิจการที่ลงทุนในจีนมูลค่าสูงกว่าในไทย
เขาจะให้ความสำคัญกับประเทศไหนมากกว่ากัน
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 7
คุยการแบบมีเหตุผลCARPENTER เขียน:1.ปกติสิ่งที่ใช้ทำเอทานอลคือมันสำประหลัง
ราคาตันละ 2,800-3,000 บาท
ดังนั้น ถ้าขายในราคาถูกๆแบบนี้ จีนซื้อแน่
ใครๆก็ซื้อ ทำไไมต้องขายให้จีน
2.ควรเช่าที่นา 20%-30%ที่ เหมาะสมเอามาทำแกล้มลิงปล้องกันน้ำท่วม
โดยใช้เงิน ที่ต้องใช้สร้างเขื่อน และขาดทุนจากจำนำข้าว
3.เลือกโครงการณ์ ที่เหมาะสม ในการทำโลจิสติก อย่าใช้เงินฟุ่มเฟือย
หมายเหตุ ทำไม แบนผมตลอด ผมก็โพสต์ ตามเหตุตามผล
ผมไม่เห็นด้วยกับเจ้าสัวคนนี้ก็ถูกแบนด้วยหรือ
ชักสับสนกับจุดยืนของเวบนี้
ไม่จำต้องเห็นเป็นทิศทางเดียวกัน
กดไลน์สำหรับความเห็นนี้
เรื่องแบนเรื่องกลมผมไม่ทราบ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 78
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 8
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555"เจ้าสัวซีพี" พูดชัด! "จำนำข้าวดีกว่าประกันรายได้" ชาวนารวยขึ้น
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมานายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เจ้าของอาณาจักรธุรกิจเกษตรรายใหญ่ของเมืองไทยได้ขึ้นเวทีกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ยุทธศาสตร์ประเทศไทยรับมือเศรษฐกิจโลกใหม่" ในงานสัมมนาระดับชาติในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งของปาฐกถาเจ้าสัวธนินท์ได้ให้มุมมองถึงยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรสำคัญของไทยในอนาคตที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน โดยโฟกัสไปที่สินค้าข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย (น้ำตาล) และปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ
++จี้พลิกโฉมยางครั้งใหญ่ สำหรับสินค้ายางพารานั้น นายธนินท์ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันไทยส่งออก ยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลกโดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกกว่า 6.5 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ส่งออกในรูปยางแท่งที่ใช้เป็นวัตถุดิบ 3.97 แสนล้านบาท และยางพาราแปรรูปอีก 2.52 แสนล้านบาท ซึ่งยางพาราไทยยังมีอนาคตไปได้อีกไกล จึงขอเสนอแนะให้รัฐบาลช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่เกษตรกรในการลงทุนปลูกยางไร่ละ 3.6 หมื่นบาท/ไร่ และระหว่างที่รอยางพาราโต และกรีดยางพาราได้ต้องลงทุนอีก 5 ปี ปีละ 8,000 บาท/ไร่ เพื่อปลูกพืชอื่นระหว่างแปลงยางเพื่อเสริมรายได้ อาทิ ปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด เป็นต้น
ทั้งนี้หากในระหว่างร่องยางมีการปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด ใน 3 ปี เกษตรจะมีรายได้ 1.2 หมื่นบาท หักต้นทุนไป 4.8 หมื่นบาท ยังเหลือ 2.6 หมื่นบาท พอปีที่ 6 เริ่มกรีดยางได้ สมมติราคาที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ได้ยาง 180 กิโลกรัมต่อไร่ จะมีรายได้เข้ามา 1.14 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปี พอปีที่ 7 ได้ยาง 300 กิโลกรัมจะได้ 2.4 หมื่นบาท ปีที่ 8 ได้ผลผลิตยาง 500 กิโลกรัม ก็ได้ 4 หมื่นบาท รวม 3 ปีได้เงิน 7.84 หมื่นบาทต่อไร่ ถ้าเกษตรกรยังมีหนี้อยู่ 3.6 หมื่นบาท แต่ 3 ปีได้ถึง 7.84 หมื่นบาท หักแล้วยังมีเงินเหลือ
เรื่องนี้ผมว่าให้เกษตรกรกู้ไปเถอะไม่เสียหายแน่นอน และหากราคายางเป็น 100 บาท เป็น 120 บาทต่อกิโลกรัมเกษตรกรยิ่งมีรายได้เพิ่มมาก ผมมองแล้วยางในอีก 20 ปียังไม่มีอะไรมาทดแทน เพราะน้ำมันยิ่งแพงยางเทียม(ยางสังเคราะห์)ก็แพงตามไปด้วย
++ต้องเร่งสปีดหนีแอฟริกา อย่างไรก็ดี นายธนินท์ เตือนให้ระวังแอฟริกาจะปลูกยางแข่งกับไทย เพราะประชากรมีมาก และภูมิอากาศเหมาะสม ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ยางพันธุ์ดีให้ผลผลิตต่อไร่สูง ปัจจุบันมียางพันธุ์ดีให้ผลผลิตเกือบ 500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และให้ผลิตยาวนานถึง 36 ปีแล้ว จากเวลานี้ยางพาราโดยทั่วไปให้ผลผลิตเฉลี่ย 25 ปี นอกจากนี้ขอให้สนับสนุนเงินทุนในท้องถิ่นตั้งโรงงานยางแท่ง และต่อยอดถึงโรงงานผลิตยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปอื่นๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือชักชวนต่างประเทศเข้ามาลงทุนโดยรัฐควรลดภาษีรายได้เท่ากับฮ่องกง สิงคโปร์ จะช่วยดึงเม็ดเงินการลงทุนได้อีกมาก และเรายางพาราไทยจะไปได้อีกไกลใครก็ตามไม่ทัน
++อ้อย-มันต้องวางแผนพลังงานทดแทน
ส่วนในสินค้าอ้อย(น้ำตาล) ขณะนี้มูลค่าการส่งออกน้ำตาลของไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล ส่วนแง่ผลผลิตไทยอยู่อันดับ 4 รองจากบราซิล จีน อินเดีย รัฐบาลจะต้องเร่งวางแผนส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และนำอ้อย และมันสำปะหลังมาผลิตเป็นเอทานอลเพื่อใช้ในประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ที่แต่ละปีไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศปีละกว่า 1.3 ล้านล้านบาท เฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือมีความเหมาะสมในการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชทั้งสองชนิด
"ไทยนำเข้าน้ำมันดิบปีละ 1.3 ล้านล้านบาท หากเราสามารถผลิตเอทานอลมาทดแทนได้ 30% จะสามารถเซฟเงินซื้อน้ำมันดิบจากต่างประเทศได้ปีละ 2.66 แสนล้านบาท"
++2.2 ล้านล้านเพิ่มผลผลิตข้าว
นอกจากนี้นายธนินท์ยังพูดถึงสินค้าข้าวว่าปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวในเขตชลประทานของไทยมีประมาณ 24 ล้านไร่ แต่ระบบชลประทานยังไม่สมบูรณ์ หากจะให้สมบูรณ์รัฐบาลจะต้องลงทุนอีก 2.2 ล้านล้านบาท ในเรื่องคลองส่งน้ำ และระบบระบายน้ำ เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือได้ผลผลิตเท่ากับ 57 ล้านไร่ เน้นข้าวคุณภาพดี ผลผลิตต่อไร่สูงใช้พื้นที่น้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรของไทยที่เหลืออีก 33 ล้านไร่สามารถนำไปปลูกพืชอื่นได้ เช่น ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ไม่จำเป็นต้องมาปลูกข้าว
"ประเทศไทยเราอุดมด้วยดินฟ้า อากาศ น้ำฝนแต่ละปีก็มีมากจนเกินความต้องการทำไมไม่ลงทุนทำเรื่องชลประทาน ผมว่าลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ทำให้ที่ดินเราเหลืออีก 33 ล้านไร่ ลงทุนปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่ข้าว ไร่ละ 5 หมื่นบาท เพิ่มมูลค่าอีก 5 หมื่นบาทก็จะได้อีกเกือบจะ 2 ล้านล้านบาท
นายธนินท์ กล่าวอีกว่าอยากให้ชาวนาไทยได้ไปเที่ยวทั่วโลก และพักโรงแรมห้าดาวเหมือนชาวนาญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ จากเมื่อ 20 ปีก่อนชาวนาไต้หวันจนกว่าชาวนาไทย ส่วนชาวนาเกาหลีใต้ใช้เวลาในการพัฒนาการเพาะปลูกข้าว 27 ปีชาวนาอยู่สุขสบาย ขณะที่ชาวนาไทยยังเป็นหนี้เป็นสิน ซึ่งมองว่าหากนโยบายของรัฐบาลไทยในช่วงที่ผ่านมาไม่ผิดพลาดจะเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร
"ผมว่าทุกอย่างมีจุดดีและจุดเสีย ผมว่าเราควรมาแก้ไข นักวิชาการน่าจะแนะนำว่ามีอะไรที่ดีกว่าเดิม และต้องมีเหตุมีผลว่าดีอย่างไร และสามารถปฏิบัติได้ ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสถ้าหากทุกฝ่ายช่วยผลักดันชาวนาให้มีรายได้สูงขึ้น จากประสบการณ์ผมมองว่า จำนำข้าวดีกว่าประกันรายได้ เพราะสมมติผมจำนำไว้ 15 บาท ถ้าข้าวเปลือกในตลาดเป็น 16 , 17 บาท ผมยังไถ่ถอนออกมาขายได้ ขณะที่ประกันรายได้ 10 บาทก็ 10 บาท"
++รัฐไม่ต้องเร่งระบายข้าว ส่วนกรณีที่รัฐบาลต้องแบกสต๊อกข้าวสารในเวลานี้ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านตันจากโครงการรับจำนำข้าวมองว่าไม่น่าห่วง เพราะหากต้องการความปลอดภัยทางด้านความมั่นคงด้านอาหารเราต้องเก็บสต๊อกไว้อย่างน้อย 6 ล้านตัน หรือต้องเก็บไว้หนึ่งรอบการผลิต(4-5 เดือน) ไม่ใช่ขายจนเกลี้ยง เพราะหากมีข้าวขาดตลาดชาวบ้านเคยซื้อครั้งละ 5 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 10 กิโลกรัม หรือจาก 10 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 20 กิโลกรัม ถือเป็นเรื่องเล็ก เวลานี้ก็มีข่าวสหรัฐอเมริกา และอินเดียเกิดภัยแล้งอาจะเป็นโอกาสของไทยการส่งออก
สำหรับการเก็บข้าวไว้ในสต๊อก 6 ล้านตัน ถือเป็นเรื่องปกติ ส่วนที่เกิน 2-3 ล้านตัน ถ้ายกระดับราคาข้าวไทยในตลาดโลกได้ถือว่าได้ฟรี เราอย่าไปแข่งกับอินเดีย อย่างไรก็สู้ไม่ได้ เพราะเวลานี้ค่าเงินของอินเดียลดลงไป 24% เขาขายข้าวราคาถูกกว่าไทย 24% ก็ไม่ขาดทุน แต่ของไทยยังไม่ระบาย นักวิชาการบอกว่าจะเสียหายแสนล้าน ถ้ารัฐบาลไม่เสียหายแสนล้าน ไปกดราคาต่ำไปแสนล้าน แล้วแสนล้านมาเอาจากเกษตรกร เกษตรกรเอาที่ไหนมาเสียแสนล้าน
"เราจะทำอย่างไรไม่ให้เสียแสนล้าน ต้องเก็บข้าวเอาไว้ และทำอย่างไรให้ราคาสูง คุณขายไปก่อน ผมขายทีหลัง ผมขายน้อยได้เงินมาก ที่เกินนั้นได้ฟรี แล้วผมไปหาข้าวประเทศอื่นไปขาย เช่น ซีพีวันนี้ก็เริ่มซื้อข้าวจากกัมพูชาไปขายทั่วโลก เขาก็พอใจเพราะเราไปช่วยเขานี่คือธุรกิจสมัยใหม่ ผมจะไม่สู้กับเวียดนาม สู้กับพม่า แต่จะสู้ด้วยการเพิ่มมูลค่า สู้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ และการแปรรูป เขาขายข้าวสาร ผมขายข้าวผัด ขายข้าวสำเร็จรูป ทำไมผมต้องไปแข่งขันขายข้าวราคาถูกๆ ซึ่งผู้ที่จะเสียหายคือชาวนา และรัฐบาล"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,762 2-4 สิงหาคม พ.ศ. 2555
http://www.go6tv.com/2012/08/blog-post_6.html
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมานายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เจ้าของอาณาจักรธุรกิจเกษตรรายใหญ่ของเมืองไทยได้ขึ้นเวทีกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ยุทธศาสตร์ประเทศไทยรับมือเศรษฐกิจโลกใหม่" ในงานสัมมนาระดับชาติในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งของปาฐกถาเจ้าสัวธนินท์ได้ให้มุมมองถึงยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรสำคัญของไทยในอนาคตที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน โดยโฟกัสไปที่สินค้าข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย (น้ำตาล) และปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ
++จี้พลิกโฉมยางครั้งใหญ่ สำหรับสินค้ายางพารานั้น นายธนินท์ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันไทยส่งออก ยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลกโดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกกว่า 6.5 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ส่งออกในรูปยางแท่งที่ใช้เป็นวัตถุดิบ 3.97 แสนล้านบาท และยางพาราแปรรูปอีก 2.52 แสนล้านบาท ซึ่งยางพาราไทยยังมีอนาคตไปได้อีกไกล จึงขอเสนอแนะให้รัฐบาลช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่เกษตรกรในการลงทุนปลูกยางไร่ละ 3.6 หมื่นบาท/ไร่ และระหว่างที่รอยางพาราโต และกรีดยางพาราได้ต้องลงทุนอีก 5 ปี ปีละ 8,000 บาท/ไร่ เพื่อปลูกพืชอื่นระหว่างแปลงยางเพื่อเสริมรายได้ อาทิ ปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด เป็นต้น
ทั้งนี้หากในระหว่างร่องยางมีการปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด ใน 3 ปี เกษตรจะมีรายได้ 1.2 หมื่นบาท หักต้นทุนไป 4.8 หมื่นบาท ยังเหลือ 2.6 หมื่นบาท พอปีที่ 6 เริ่มกรีดยางได้ สมมติราคาที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ได้ยาง 180 กิโลกรัมต่อไร่ จะมีรายได้เข้ามา 1.14 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปี พอปีที่ 7 ได้ยาง 300 กิโลกรัมจะได้ 2.4 หมื่นบาท ปีที่ 8 ได้ผลผลิตยาง 500 กิโลกรัม ก็ได้ 4 หมื่นบาท รวม 3 ปีได้เงิน 7.84 หมื่นบาทต่อไร่ ถ้าเกษตรกรยังมีหนี้อยู่ 3.6 หมื่นบาท แต่ 3 ปีได้ถึง 7.84 หมื่นบาท หักแล้วยังมีเงินเหลือ
เรื่องนี้ผมว่าให้เกษตรกรกู้ไปเถอะไม่เสียหายแน่นอน และหากราคายางเป็น 100 บาท เป็น 120 บาทต่อกิโลกรัมเกษตรกรยิ่งมีรายได้เพิ่มมาก ผมมองแล้วยางในอีก 20 ปียังไม่มีอะไรมาทดแทน เพราะน้ำมันยิ่งแพงยางเทียม(ยางสังเคราะห์)ก็แพงตามไปด้วย
++ต้องเร่งสปีดหนีแอฟริกา อย่างไรก็ดี นายธนินท์ เตือนให้ระวังแอฟริกาจะปลูกยางแข่งกับไทย เพราะประชากรมีมาก และภูมิอากาศเหมาะสม ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ยางพันธุ์ดีให้ผลผลิตต่อไร่สูง ปัจจุบันมียางพันธุ์ดีให้ผลผลิตเกือบ 500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และให้ผลิตยาวนานถึง 36 ปีแล้ว จากเวลานี้ยางพาราโดยทั่วไปให้ผลผลิตเฉลี่ย 25 ปี นอกจากนี้ขอให้สนับสนุนเงินทุนในท้องถิ่นตั้งโรงงานยางแท่ง และต่อยอดถึงโรงงานผลิตยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปอื่นๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือชักชวนต่างประเทศเข้ามาลงทุนโดยรัฐควรลดภาษีรายได้เท่ากับฮ่องกง สิงคโปร์ จะช่วยดึงเม็ดเงินการลงทุนได้อีกมาก และเรายางพาราไทยจะไปได้อีกไกลใครก็ตามไม่ทัน
++อ้อย-มันต้องวางแผนพลังงานทดแทน
ส่วนในสินค้าอ้อย(น้ำตาล) ขณะนี้มูลค่าการส่งออกน้ำตาลของไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล ส่วนแง่ผลผลิตไทยอยู่อันดับ 4 รองจากบราซิล จีน อินเดีย รัฐบาลจะต้องเร่งวางแผนส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และนำอ้อย และมันสำปะหลังมาผลิตเป็นเอทานอลเพื่อใช้ในประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ที่แต่ละปีไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศปีละกว่า 1.3 ล้านล้านบาท เฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือมีความเหมาะสมในการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชทั้งสองชนิด
"ไทยนำเข้าน้ำมันดิบปีละ 1.3 ล้านล้านบาท หากเราสามารถผลิตเอทานอลมาทดแทนได้ 30% จะสามารถเซฟเงินซื้อน้ำมันดิบจากต่างประเทศได้ปีละ 2.66 แสนล้านบาท"
++2.2 ล้านล้านเพิ่มผลผลิตข้าว
นอกจากนี้นายธนินท์ยังพูดถึงสินค้าข้าวว่าปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวในเขตชลประทานของไทยมีประมาณ 24 ล้านไร่ แต่ระบบชลประทานยังไม่สมบูรณ์ หากจะให้สมบูรณ์รัฐบาลจะต้องลงทุนอีก 2.2 ล้านล้านบาท ในเรื่องคลองส่งน้ำ และระบบระบายน้ำ เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือได้ผลผลิตเท่ากับ 57 ล้านไร่ เน้นข้าวคุณภาพดี ผลผลิตต่อไร่สูงใช้พื้นที่น้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรของไทยที่เหลืออีก 33 ล้านไร่สามารถนำไปปลูกพืชอื่นได้ เช่น ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ไม่จำเป็นต้องมาปลูกข้าว
"ประเทศไทยเราอุดมด้วยดินฟ้า อากาศ น้ำฝนแต่ละปีก็มีมากจนเกินความต้องการทำไมไม่ลงทุนทำเรื่องชลประทาน ผมว่าลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ทำให้ที่ดินเราเหลืออีก 33 ล้านไร่ ลงทุนปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่ข้าว ไร่ละ 5 หมื่นบาท เพิ่มมูลค่าอีก 5 หมื่นบาทก็จะได้อีกเกือบจะ 2 ล้านล้านบาท
นายธนินท์ กล่าวอีกว่าอยากให้ชาวนาไทยได้ไปเที่ยวทั่วโลก และพักโรงแรมห้าดาวเหมือนชาวนาญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ จากเมื่อ 20 ปีก่อนชาวนาไต้หวันจนกว่าชาวนาไทย ส่วนชาวนาเกาหลีใต้ใช้เวลาในการพัฒนาการเพาะปลูกข้าว 27 ปีชาวนาอยู่สุขสบาย ขณะที่ชาวนาไทยยังเป็นหนี้เป็นสิน ซึ่งมองว่าหากนโยบายของรัฐบาลไทยในช่วงที่ผ่านมาไม่ผิดพลาดจะเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร
"ผมว่าทุกอย่างมีจุดดีและจุดเสีย ผมว่าเราควรมาแก้ไข นักวิชาการน่าจะแนะนำว่ามีอะไรที่ดีกว่าเดิม และต้องมีเหตุมีผลว่าดีอย่างไร และสามารถปฏิบัติได้ ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสถ้าหากทุกฝ่ายช่วยผลักดันชาวนาให้มีรายได้สูงขึ้น จากประสบการณ์ผมมองว่า จำนำข้าวดีกว่าประกันรายได้ เพราะสมมติผมจำนำไว้ 15 บาท ถ้าข้าวเปลือกในตลาดเป็น 16 , 17 บาท ผมยังไถ่ถอนออกมาขายได้ ขณะที่ประกันรายได้ 10 บาทก็ 10 บาท"
++รัฐไม่ต้องเร่งระบายข้าว ส่วนกรณีที่รัฐบาลต้องแบกสต๊อกข้าวสารในเวลานี้ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านตันจากโครงการรับจำนำข้าวมองว่าไม่น่าห่วง เพราะหากต้องการความปลอดภัยทางด้านความมั่นคงด้านอาหารเราต้องเก็บสต๊อกไว้อย่างน้อย 6 ล้านตัน หรือต้องเก็บไว้หนึ่งรอบการผลิต(4-5 เดือน) ไม่ใช่ขายจนเกลี้ยง เพราะหากมีข้าวขาดตลาดชาวบ้านเคยซื้อครั้งละ 5 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 10 กิโลกรัม หรือจาก 10 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 20 กิโลกรัม ถือเป็นเรื่องเล็ก เวลานี้ก็มีข่าวสหรัฐอเมริกา และอินเดียเกิดภัยแล้งอาจะเป็นโอกาสของไทยการส่งออก
สำหรับการเก็บข้าวไว้ในสต๊อก 6 ล้านตัน ถือเป็นเรื่องปกติ ส่วนที่เกิน 2-3 ล้านตัน ถ้ายกระดับราคาข้าวไทยในตลาดโลกได้ถือว่าได้ฟรี เราอย่าไปแข่งกับอินเดีย อย่างไรก็สู้ไม่ได้ เพราะเวลานี้ค่าเงินของอินเดียลดลงไป 24% เขาขายข้าวราคาถูกกว่าไทย 24% ก็ไม่ขาดทุน แต่ของไทยยังไม่ระบาย นักวิชาการบอกว่าจะเสียหายแสนล้าน ถ้ารัฐบาลไม่เสียหายแสนล้าน ไปกดราคาต่ำไปแสนล้าน แล้วแสนล้านมาเอาจากเกษตรกร เกษตรกรเอาที่ไหนมาเสียแสนล้าน
"เราจะทำอย่างไรไม่ให้เสียแสนล้าน ต้องเก็บข้าวเอาไว้ และทำอย่างไรให้ราคาสูง คุณขายไปก่อน ผมขายทีหลัง ผมขายน้อยได้เงินมาก ที่เกินนั้นได้ฟรี แล้วผมไปหาข้าวประเทศอื่นไปขาย เช่น ซีพีวันนี้ก็เริ่มซื้อข้าวจากกัมพูชาไปขายทั่วโลก เขาก็พอใจเพราะเราไปช่วยเขานี่คือธุรกิจสมัยใหม่ ผมจะไม่สู้กับเวียดนาม สู้กับพม่า แต่จะสู้ด้วยการเพิ่มมูลค่า สู้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ และการแปรรูป เขาขายข้าวสาร ผมขายข้าวผัด ขายข้าวสำเร็จรูป ทำไมผมต้องไปแข่งขันขายข้าวราคาถูกๆ ซึ่งผู้ที่จะเสียหายคือชาวนา และรัฐบาล"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,762 2-4 สิงหาคม พ.ศ. 2555
http://www.go6tv.com/2012/08/blog-post_6.html
-
- Verified User
- โพสต์: 394
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 9
จำนำ VS ประกันรายได้
จำนำใช้เงินมากกว่ามหาศาล ถ้านับเป็นจำนวนเงิน มันก็"น่าที่จะ" ลงไปถึงชาวนามากกว่า
(2 ปี รัฐบาลใช้เงินไปกับจำนำข้าว 6แสนล้าน++ นะครับ)
แต่ถ้านับเป็นสัดส่วนที่ชาวนาได้จริงๆ เทียบกับเงินที่ใช้ทั้งหมด ผมว่าประกันรายได้จะดีกว่า
ยิ่งถ้าเอาผลข้างเคียงของนโยบายมาดู
จำนำข้าวชาวนาจะเน้นปริมาณ เพราะอัพไซด์ของราคาถูกจำกัด จึงต้องเพิ่มปริมาณ
ประกัน ชาวนาจะกลับมาดูแลเรื่องคุณภาพมากกว่า จำนำ เพราะมีโอกาสที่จะขายข้าวได้ราคาดีกว่าราคากลาง
นโยบายมหภาคเป็นการจัดสรรทรัพยากรระหว่างบุคคล ดังนั้นจะมีผล 2 ด้านเสมอ (มีคนได้ คนเสีย)
ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ มักมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะแต่ละคนจะให้น้ำหนักของคน 2 กลุ่มไม่เท่ากัน
แต่นโยบายจำนำข้าว เป็นนโยบายเดียวที่นักเศรษฐศาสตร์ทุกสำนักเห็นตรงกันว่า "ล้มเหลว"
จำนำใช้เงินมากกว่ามหาศาล ถ้านับเป็นจำนวนเงิน มันก็"น่าที่จะ" ลงไปถึงชาวนามากกว่า
(2 ปี รัฐบาลใช้เงินไปกับจำนำข้าว 6แสนล้าน++ นะครับ)
แต่ถ้านับเป็นสัดส่วนที่ชาวนาได้จริงๆ เทียบกับเงินที่ใช้ทั้งหมด ผมว่าประกันรายได้จะดีกว่า
ยิ่งถ้าเอาผลข้างเคียงของนโยบายมาดู
จำนำข้าวชาวนาจะเน้นปริมาณ เพราะอัพไซด์ของราคาถูกจำกัด จึงต้องเพิ่มปริมาณ
ประกัน ชาวนาจะกลับมาดูแลเรื่องคุณภาพมากกว่า จำนำ เพราะมีโอกาสที่จะขายข้าวได้ราคาดีกว่าราคากลาง
นโยบายมหภาคเป็นการจัดสรรทรัพยากรระหว่างบุคคล ดังนั้นจะมีผล 2 ด้านเสมอ (มีคนได้ คนเสีย)
ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ มักมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะแต่ละคนจะให้น้ำหนักของคน 2 กลุ่มไม่เท่ากัน
แต่นโยบายจำนำข้าว เป็นนโยบายเดียวที่นักเศรษฐศาสตร์ทุกสำนักเห็นตรงกันว่า "ล้มเหลว"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 737
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 10
ปรัชญา เขียน:เจ้าสัว “ธนินท์” เสนอแก้ปัญหาขาดทุนรับจำนำข้าว จ้างเลิกปลูก 30% ขายข้าวเก่าให้จีนทำเอทานอล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2556 11:10 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - เจ้าสัวธนินท์แนะแก้ปัญหาการขาดทุนจากการจำนำข้าว โดยเสนอรัฐจ้างเกษตรกรอย่าปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ให้ผลผลิตต่ำให้ได้ 30% แล้วให้เกษตรกรหันไปปลูกปาล์ม หรือมะพร้าวที่ให้กำไรดีกว่าแทน อีกทั้งนำข้าวเก่าในสต๊อกมาขายให้จีนเพื่อทำเอทานอลแทนการระบายออกสู่ตลาด
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาการขาดทุนมหาศาลจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลต้องลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวลง 30% โดยจ้างเกษตรกรในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกได้ผลผลิตต่ำให้เลิกปลูกข้าว แล้วไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีกำไรดีกว่าแทน เช่น ปาล์ม หรือมะพร้าว โดยรัฐจ่ายเงินส่วนต่างที่เคยได้กำไรจากการปลูกข้าวประมาณ 1,500 บาท/ไร่ ให้แก่เกษตรกรเหล่านี้
ขณะเดียวกันก็นำข้าวเก็บเก่าในโกดัง เช่น ปลายข้าว ข้าวหัก ขายให้แก่จีนเพื่อใช้ทำเอทานอลแทน โดยไม่ให้นำเข้าข้าวเก็บเก่านี้นำออกมาขายสู่ตลาดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้นตลาดเหมือนในปัจจุบัน โดยรัฐอาจใช้วิธีแลกข้าวกับรถไฟของจีนก็ได้ ซึ่งในอดีตสหรัฐฯ แก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำจะนำไปทิ้งทะเล
“อย่าไปพูดว่าไทยจะเป็นที่ 1 ของโลก เพราะที่ 1 จริงๆ คือ จีน รองลงมาคือ อินเดีย พม่า และไทย โดยสมัยก่อนพม่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุด เราเป็นที่ 2 ก็ได้แต่ขอให้เกษตรกรไทยรวยขึ้นดีกว่า สำหรับเกษตรกรที่เลิกปลูกข้าวแล้วปลูกปาล์ม หรือมะพร้าว และเลี้ยงปลาด้วย ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าว โดยซีพีมีการทำทดลองอยู่แล้วที่กำแพงเพชร”
นายธนินท์กล่าวย้ำว่า แนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากนโยบายรับจำนำราคาข้าวยังทำให้มีกำไร ซึ่งในอนาคตรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมีนโยบายรับจำนำข้าวอีก ส่วนการทำข้อตกลงขายข้าวจีทูจีให้รัฐบาลไทย กับรัฐบาลจีนเมื่อเร็วๆ นี้ มั่นใจว่าจีนจะซื้อข้าวไทยอย่างแน่นอนเมื่อไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก หากปริมาณการขายข้าวออกสู่ตลาดลดลงก็จะมีผลต่อตลาดทำให้ราคาดีขึ้นด้วย
นายธนินท์กล่าวว่า ปัญหาการรับจำนำข้าวราคาสูงแล้วขายในราคาที่ต่ำจนทำให้ขาดทุนมหาศาลนี้ เกิดเนื่องจากรัฐบาลไทยบริหารจัดการช้า อีกทั้งอินเดียมีข้าวส่งออกมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ค่าเงินของอินเดีย และเวียดนามอ่อนค่าลงหลาย 10% ทำให้ราคาข้าวส่งออกของประเทศเหล่านี้ถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาข้าวของไทย เพราะค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น และราคาขายก็แพงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ นายธนินท์ยังสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งจีนที่มีการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า และรถไฟรางคู่แล้ว ประเทศเหล่านั้นไม่ได้ยากจน หรือก่อหนี้แก่ลูกหลาน มีแต่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้งราคาที่ดินโดยรอบจะปรับตัวสูงขึ้น ที่ผ่านมาไทยลงทุนช้าไปแล้ว หากไม่เร่งลงทุนประเทศเพื่อนบ้านก็จะแซงไป
เป็นคนสนับสนุนให้จำนำข้าวไม่ใช่เหรอ ทำให้มีการปลูกอย่างมโหฬาร ตอนนี้สนับสนุนให้เลิกปลูก พูดไปเรื่อย เดี๋ยวถูกเอง สงสารประเทศ
______________________________________________________
ครั้งก่อนผมอ่าน 2สูง ไปแล้ว ท่านคิด
มาครั้งนี้ท่านคิด จ้างเลิกปลูกข้าว30
หากทำตามสูตรนี้ จะเป็นไงน้อประเทศไทย (ไม่เอาการเมือง)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 737
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 11
canon d เขียน:ปรัชญา เขียน:เจ้าสัว “ธนินท์” เสนอแก้ปัญหาขาดทุนรับจำนำข้าว จ้างเลิกปลูก 30% ขายข้าวเก่าให้จีนทำเอทานอล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2556 11:10 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - เจ้าสัวธนินท์แนะแก้ปัญหาการขาดทุนจากการจำนำข้าว โดยเสนอรัฐจ้างเกษตรกรอย่าปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ให้ผลผลิตต่ำให้ได้ 30% แล้วให้เกษตรกรหันไปปลูกปาล์ม หรือมะพร้าวที่ให้กำไรดีกว่าแทน อีกทั้งนำข้าวเก่าในสต๊อกมาขายให้จีนเพื่อทำเอทานอลแทนการระบายออกสู่ตลาด
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาการขาดทุนมหาศาลจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลต้องลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวลง 30% โดยจ้างเกษตรกรในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกได้ผลผลิตต่ำให้เลิกปลูกข้าว แล้วไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีกำไรดีกว่าแทน เช่น ปาล์ม หรือมะพร้าว โดยรัฐจ่ายเงินส่วนต่างที่เคยได้กำไรจากการปลูกข้าวประมาณ 1,500 บาท/ไร่ ให้แก่เกษตรกรเหล่านี้
ขณะเดียวกันก็นำข้าวเก็บเก่าในโกดัง เช่น ปลายข้าว ข้าวหัก ขายให้แก่จีนเพื่อใช้ทำเอทานอลแทน โดยไม่ให้นำเข้าข้าวเก็บเก่านี้นำออกมาขายสู่ตลาดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้นตลาดเหมือนในปัจจุบัน โดยรัฐอาจใช้วิธีแลกข้าวกับรถไฟของจีนก็ได้ ซึ่งในอดีตสหรัฐฯ แก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำจะนำไปทิ้งทะเล
“อย่าไปพูดว่าไทยจะเป็นที่ 1 ของโลก เพราะที่ 1 จริงๆ คือ จีน รองลงมาคือ อินเดีย พม่า และไทย โดยสมัยก่อนพม่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุด เราเป็นที่ 2 ก็ได้แต่ขอให้เกษตรกรไทยรวยขึ้นดีกว่า สำหรับเกษตรกรที่เลิกปลูกข้าวแล้วปลูกปาล์ม หรือมะพร้าว และเลี้ยงปลาด้วย ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าว โดยซีพีมีการทำทดลองอยู่แล้วที่กำแพงเพชร”
นายธนินท์กล่าวย้ำว่า แนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากนโยบายรับจำนำราคาข้าวยังทำให้มีกำไร ซึ่งในอนาคตรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมีนโยบายรับจำนำข้าวอีก ส่วนการทำข้อตกลงขายข้าวจีทูจีให้รัฐบาลไทย กับรัฐบาลจีนเมื่อเร็วๆ นี้ มั่นใจว่าจีนจะซื้อข้าวไทยอย่างแน่นอนเมื่อไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก หากปริมาณการขายข้าวออกสู่ตลาดลดลงก็จะมีผลต่อตลาดทำให้ราคาดีขึ้นด้วย
นายธนินท์กล่าวว่า ปัญหาการรับจำนำข้าวราคาสูงแล้วขายในราคาที่ต่ำจนทำให้ขาดทุนมหาศาลนี้ เกิดเนื่องจากรัฐบาลไทยบริหารจัดการช้า อีกทั้งอินเดียมีข้าวส่งออกมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ค่าเงินของอินเดีย และเวียดนามอ่อนค่าลงหลาย 10% ทำให้ราคาข้าวส่งออกของประเทศเหล่านี้ถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาข้าวของไทย เพราะค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น และราคาขายก็แพงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ นายธนินท์ยังสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งจีนที่มีการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า และรถไฟรางคู่แล้ว ประเทศเหล่านั้นไม่ได้ยากจน หรือก่อหนี้แก่ลูกหลาน มีแต่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้งราคาที่ดินโดยรอบจะปรับตัวสูงขึ้น ที่ผ่านมาไทยลงทุนช้าไปแล้ว หากไม่เร่งลงทุนประเทศเพื่อนบ้านก็จะแซงไป
เป็นคนสนับสนุนให้จำนำข้าวไม่ใช่เหรอ ทำให้มีการปลูกอย่างมโหฬาร ตอนนี้สนับสนุนให้เลิกปลูก พูดไปเรื่อย เดี๋ยวถูกเอง สงสารประเทศ
______________________________________________________
ครั้งก่อนผมอ่าน 2สูง ไปแล้ว ท่านคิด
มาครั้งนี้ท่านคิด จ้างเลิกปลูกข้าว30
หากทำตามสูตรนี้ จะเป็นไงน้อประเทศไทย (ไม่เอาการเมือง)
เป็นคนสนับสนุนให้จำนำข้าวไม่ใช่เหรอ ทำให้มีการปลูกอย่างมโหฬาร ตอนนี้สนับสนุนให้เลิกปลูก พูดไปเรื่อย เดี๋ยวถูกเอง สงสารประเทศ
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 12
การแก้ปัญหาขาดทุนจำนำข้าวก็คือ เลิกโครงการจำนำข้าวที่ราคาแพงเกินกว่าตลาดโลก ด้วยสต๊อคข้าวที่ขายไม่ออก พอขาดทุนจากจำนำข้าวก็หันไปขึ้นภาษีอย่างอื่นเพื่อมาชดเชย เช่น ภาษีสุรา ชาเขียว หรือแม้แต่ VATที่มีข่าวว่าจะขึ้นไปอีก
แสดงให้เห็นความล้มเหลวของการบริหารโดยสิ้นเชิง
การที่เจ้าสัวออกมาแนะนั้นก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
แสดงให้เห็นความล้มเหลวของการบริหารโดยสิ้นเชิง
การที่เจ้าสัวออกมาแนะนั้นก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 737
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 13
canon d เขียน:canon d เขียน:ปรัชญา เขียน:เจ้าสัว “ธนินท์” เสนอแก้ปัญหาขาดทุนรับจำนำข้าว จ้างเลิกปลูก 30% ขายข้าวเก่าให้จีนทำเอทานอล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2556 11:10 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - เจ้าสัวธนินท์แนะแก้ปัญหาการขาดทุนจากการจำนำข้าว โดยเสนอรัฐจ้างเกษตรกรอย่าปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ให้ผลผลิตต่ำให้ได้ 30% แล้วให้เกษตรกรหันไปปลูกปาล์ม หรือมะพร้าวที่ให้กำไรดีกว่าแทน อีกทั้งนำข้าวเก่าในสต๊อกมาขายให้จีนเพื่อทำเอทานอลแทนการระบายออกสู่ตลาด
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาการขาดทุนมหาศาลจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลต้องลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวลง 30% โดยจ้างเกษตรกรในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกได้ผลผลิตต่ำให้เลิกปลูกข้าว แล้วไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีกำไรดีกว่าแทน เช่น ปาล์ม หรือมะพร้าว โดยรัฐจ่ายเงินส่วนต่างที่เคยได้กำไรจากการปลูกข้าวประมาณ 1,500 บาท/ไร่ ให้แก่เกษตรกรเหล่านี้
ขณะเดียวกันก็นำข้าวเก็บเก่าในโกดัง เช่น ปลายข้าว ข้าวหัก ขายให้แก่จีนเพื่อใช้ทำเอทานอลแทน โดยไม่ให้นำเข้าข้าวเก็บเก่านี้นำออกมาขายสู่ตลาดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้นตลาดเหมือนในปัจจุบัน โดยรัฐอาจใช้วิธีแลกข้าวกับรถไฟของจีนก็ได้ ซึ่งในอดีตสหรัฐฯ แก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำจะนำไปทิ้งทะเล
“อย่าไปพูดว่าไทยจะเป็นที่ 1 ของโลก เพราะที่ 1 จริงๆ คือ จีน รองลงมาคือ อินเดีย พม่า และไทย โดยสมัยก่อนพม่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุด เราเป็นที่ 2 ก็ได้แต่ขอให้เกษตรกรไทยรวยขึ้นดีกว่า สำหรับเกษตรกรที่เลิกปลูกข้าวแล้วปลูกปาล์ม หรือมะพร้าว และเลี้ยงปลาด้วย ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าว โดยซีพีมีการทำทดลองอยู่แล้วที่กำแพงเพชร”
นายธนินท์กล่าวย้ำว่า แนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากนโยบายรับจำนำราคาข้าวยังทำให้มีกำไร ซึ่งในอนาคตรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมีนโยบายรับจำนำข้าวอีก ส่วนการทำข้อตกลงขายข้าวจีทูจีให้รัฐบาลไทย กับรัฐบาลจีนเมื่อเร็วๆ นี้ มั่นใจว่าจีนจะซื้อข้าวไทยอย่างแน่นอนเมื่อไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก หากปริมาณการขายข้าวออกสู่ตลาดลดลงก็จะมีผลต่อตลาดทำให้ราคาดีขึ้นด้วย
นายธนินท์กล่าวว่า ปัญหาการรับจำนำข้าวราคาสูงแล้วขายในราคาที่ต่ำจนทำให้ขาดทุนมหาศาลนี้ เกิดเนื่องจากรัฐบาลไทยบริหารจัดการช้า อีกทั้งอินเดียมีข้าวส่งออกมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ค่าเงินของอินเดีย และเวียดนามอ่อนค่าลงหลาย 10% ทำให้ราคาข้าวส่งออกของประเทศเหล่านี้ถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาข้าวของไทย เพราะค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น และราคาขายก็แพงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ นายธนินท์ยังสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งจีนที่มีการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า และรถไฟรางคู่แล้ว ประเทศเหล่านั้นไม่ได้ยากจน หรือก่อหนี้แก่ลูกหลาน มีแต่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้งราคาที่ดินโดยรอบจะปรับตัวสูงขึ้น ที่ผ่านมาไทยลงทุนช้าไปแล้ว หากไม่เร่งลงทุนประเทศเพื่อนบ้านก็จะแซงไป
เป็นคนสนับสนุนให้จำนำข้าวไม่ใช่เหรอ ทำให้มีการปลูกอย่างมโหฬาร ตอนนี้สนับสนุนให้เลิกปลูก พูดไปเรื่อย เดี๋ยวถูกเอง สงสารประเทศ
______________________________________________________
ครั้งก่อนผมอ่าน 2สูง ไปแล้ว ท่านคิด
มาครั้งนี้ท่านคิด จ้างเลิกปลูกข้าว30
หากทำตามสูตรนี้ จะเป็นไงน้อประเทศไทย (ไม่เอาการเมือง)
เป็นคนสนับสนุนให้จำนำข้าวไม่ใช่เหรอ ทำให้มีการปลูกอย่างมโหฬาร ตอนนี้สนับสนุนให้เลิกปลูก พูดไปเรื่อย เดี๋ยวถูกเอง สงสารประเทศ
จริง ๆ อยากเขียนต่อ แต่เกรงว่าจะไม่เกี่ยวกับกระทู้ อยากจะเขียนต่อว่า ไม่ต้องแสดงทัศนะทุกเรื่องก็ได้ พูดมาก ดูเหมือนสิ่งที่พูด จะออกแนวได้ประโยชน์ส่วนตัว จะพูดทั้งทีให้ได้ประโยน์หน่อย พูดทั้งในส่วนดีและส่วนเสียในฐานะผู้มีประสบการณ์สูง ให้คนอื่นได้แนวคิด ดีกว่าพูดแต่สิ่งที่ดี ๆ ในโลกนี้ไม่มีหรอก (อาจยกเว้นเรื่องเดียว คือทำดีไปเถอะ) ประเภทดีด้านเดียว อยากบอกอีกว่า cpall หน่ะ ซื้อมาซะราคาโด่ง ตอนนี้จะขายออก อยากรู้ว่าจะมีใครเซ้งต่อในราคาโด่งนั้น เหมือนวิธีแก้ปัญหาข้าวเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ท่านเจ้าสัวคิดแบบนี้ คนอ่านคิดอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 14
เหตุผล ที่เจ้าสัว เชียร์ การกู้ 2.2 ล้านล้าน เพราะ
ขณะนี้ cpall มีสถานะเป็นลูกหนี้ มี หนี้ เกือบ 2แสนล้านบาท
การกู้เงินมหาศาล 2.2 ล้าน+3.5แสนล้าน จะเป็นตัวกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลง
สิ่งที่เจ้าสัวต้องทำคือ เปลี่ยนหนี้ของตัวเอง ให้อยู่ในรูปเงินบาท
ขณะนี้ ก็รีบออกหุ้นกู้ให้เร็วและมากที่สุด
ในระยะยาว หนี้ 2แสนล้านบาทของเจ้าสัวก็จะมีค่าลดลง ไปเรื่อยๆ(บาทอ่อน)
ถ้ารัฐบาล บริหารดีๆ ไม่กู้เงินมากๆ การใช้เงินมีประสิทธิภาพ
อนาคตเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นผลร้ายต่อ เจ้าสัว และ cpall
นโยบายเจ้าสัวคือ ทุ่มซื้อสินทรัพย์ และเป็นหนี้ให้มากที่สุดในรูปเงินบาท
นอกจากนี้การกู้เงิน 2.2 ล้านบาทจะเป็นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
cpall makro true cpf ทุกบริษัทได้หมด
ธุรกิจเจ้าสัวพึ่งการบริโภคภายในปะเทศเป็นส่วนมาก
ขณะนี้ cpall มีสถานะเป็นลูกหนี้ มี หนี้ เกือบ 2แสนล้านบาท
การกู้เงินมหาศาล 2.2 ล้าน+3.5แสนล้าน จะเป็นตัวกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลง
สิ่งที่เจ้าสัวต้องทำคือ เปลี่ยนหนี้ของตัวเอง ให้อยู่ในรูปเงินบาท
ขณะนี้ ก็รีบออกหุ้นกู้ให้เร็วและมากที่สุด
ในระยะยาว หนี้ 2แสนล้านบาทของเจ้าสัวก็จะมีค่าลดลง ไปเรื่อยๆ(บาทอ่อน)
ถ้ารัฐบาล บริหารดีๆ ไม่กู้เงินมากๆ การใช้เงินมีประสิทธิภาพ
อนาคตเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นผลร้ายต่อ เจ้าสัว และ cpall
นโยบายเจ้าสัวคือ ทุ่มซื้อสินทรัพย์ และเป็นหนี้ให้มากที่สุดในรูปเงินบาท
นอกจากนี้การกู้เงิน 2.2 ล้านบาทจะเป็นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
cpall makro true cpf ทุกบริษัทได้หมด
ธุรกิจเจ้าสัวพึ่งการบริโภคภายในปะเทศเป็นส่วนมาก