เห็นอะไรมั้ย?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ทั้งสองท่านยังมีความสับสนเกี่ยวกับคำว่านโยบายการเงินกับนโยบายการคลังอยู่

คำว่ารัฐบาล หมายถึงคณะรัฐมนตรีซึ่งรวมถึง กระทรวงการคลัง อำนาจของรัฐบาลคือการกำหนดนโยบายการคลัง ได้แก่ การคิดว่าจะเอาภาษีไปใช้ทำอะไรบ้าง

ส่วนนโยบายการเงินนั้นคือได้แก่การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การควบคุมปริมาณเงินในระบบ ตรงนี้ไม่อยู่ในอำนาจของรัฐบาล แต่อยู่ในอำนาจของธนาคารกลาง ธนาคารกลางมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศไม่ต้องขึ้นตรงกับรัฐบาล

ดังนั้นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่นโยบายการคลัง แต่เป็นนโยบายการเงิน และไม่ใช่ Keynesian เป็น Keynesian เป็นนโยบายการคลัง

นโยบายการเงินยังจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอยู่ โดยต้องควบคุมมิให้ปริมาณเงินในระบบเติบโตเร็วกว่า output การบริหารจัดการอัตราดอกเบี้ยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ทำไปเพื่อ balance การเติบโตกับการรักษาเสถียรของระดับราคา

ดังนั้นทุกประเทศในโลกนี้ยังบริหารจัดการอัตราดอกเบี้ยอยู่

อเมริการขาดดุลงบประมาณแต่ไม่ใช่ Kenyesian เพราะไม่ใช่ planned budget deficit แต่เป็น budget deficit ที่เกิดจากประเทศจำเป็นต้องใช้เงินในยามสงครามจริงๆ ไม่ใช่ใช้ๆ ไปอย่างนั้นเพื่อพยุงดีมานด์

ยุโรปก็ไม่ได้ใช้ Keynesian เหมือนกัน เพียงแต่มีแนวคิดแบบเสรีนิยม รัฐบาลจึงใช้จ่ายเงินจำนวนมากไปกับสวัสดิการสังคม ซึ่งจ่ายมากอยู่แล้วไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี

hand-off policy ไม่ได้แปลว่ารัฐบาลไม่ต้องทำอะไรเลย รัฐบาลสามารถส่งเสริมการเพิ่ม productivity ของประเทศได้ แต่อย่ากระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อ smooth out business cycles
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ผมมองว่า fiscal - money politics ต้องไปด้วยกันเป็นเส้นขนาน
ต้องดำเนินนโยบายให้สอดรับกัน ไม่ใช่ไปกันคนละทาง

และผู้ว่าธนาคารกลางก็ต้องได้รับความเห็นความเห็นชอบในการแต่งตั้งจากกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง หรือผู้ว่าการธนาคา fed ก็ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี

ดังนั้นทั้ง fiscal -money politics เปรียบเสมือนเป็นแขนซ้าย แขนขวาของรัฐ ในการดำเนินนโยบายทางเศรษกิจครับ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ดอกเบี้ย หรือทางด้านการคลัง งบประมาณ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 63

โพสต์

ดิฉันก็สนับสนุน นโยบายเสรี นะคุณ สุมาอี้
มากๆเสียด้วยค่ะ

แต่ก็ยังคิดว่า เรา ในที่นี้ ไม่ใช่ แค่เราเพียงคนเดียว
แต่เป็น เราทั้งประเทศ
ต้องยอมรับกันก่อนว่า ไทยเรา ชินมานาน กับการ อลุ่มอล่วย พึ่งพาผู้ใหญ่ พึ่งผู้อยู่เหนือกว่า เดินตามคนหน้าไป ใครช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ก็รักคนนั้น ใครเป็นสายเลือด หรือพวกเดียวกัน ก็ถูกต้องดีแท้ไว้ก่อน

เหมือนเด็ก ไม่โตค่ะ คือ จะให้อุ้มๆ ทั้งวี่ทั้งวัน

ทั้งหมดเนี่ย มันต้องค่อยๆ บิด ค่อยๆ ตะล่อม
ก่อนจะ ทำให้เลิกค่านิยม ระบบพึ่งพา ...มันต้องเป็นวันที่เขา ถึงจุดที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพา เสียก่อน

น้ำมันลอยตัว กว่าจะให้เข้าใจ กว่าจะรับกันได้ ...รัฐต้องโดนด่าไปอีกนาน
น้ำตาลทำไมต้องขึ้นราคา ...ต่อไปก็น่าจะลอยตัวไปซะ นะ ...แต่คนจะด่าไป ทุกครั้งที่ราคาขึ้น ...อีกพักล่ะ

ทั้งหลายทั้งปวง ดิฉันว่า ที่พูดว่า อยากเสรีน่ะ เริ่มจากตัวเราก่อน แล้วถัดไปก็ คนข้างๆ ..แล้วก็ถัดไป ๆ เรื่อยๆ

เราจะคาดหวัง แต่จะให้รัฐ ทำอย่างไร ไม่พอ (ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนนะ)
เพราะรัฐต้อง ทำไปตาม ความจำเป็นของคนส่วนใหญ่
แต่เรา เปลี่ยนคนส่วนใหญ่ได้ โดยค่อยๆ เริ่ม จากตัวเรา ไปสู่ คนข้างๆ....

เลิกซะ ...แนวคิด เอาเงิน ใช้เส้น ไปฝากลุกเข้า โรงเรียนดังๆ
เลิกซะ...แนวคิดที่ว่า ค่าไฟ ต้องขึ้นไม่ได้ ถ้าขึ้นต้องแปลว่า รัฐเลว
เลิกซะ...อีกหลายอย่าง...

.....(ดิฉันไม่ได้ ว่าคุณสุมาอี้ นิยมระบบพึ่งพานะ ...เชื่อตามที่คุณบอกล่ะ ว่าเป็นทุนนิยมเสรี ...ดิฉันเข้าใจ เพราะตัวเอง ก็นิยมเสรีสุดๆ เช่นกัน....เวลาพยายาม กล่อม ให้คนอื่นรอบข้าง เข้าใจว่า ควรต้องพึ่งพาตนเองอย่างไรก่อน ...มันแสนจะยากเข็ญ)




:lol:

เลิกซะ...ถ้าเถียงกันไม่ลงตัว ...ก็ปฏิวัติ ...ก็มาตรา เจ็ด ...เลิกซะ ..
:lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 64

โพสต์

ขุอบคุณสำหรับความเห็นของทุกท่านนะครับ

ประเด็นที่คุณสุมาอี้พูดถึงตรงนี้นะครับ
hand-off policy ไม่ได้แปลว่ารัฐบาลไม่ต้องทำอะไรเลย รัฐบาลสามารถส่งเสริมการเพิ่ม productivity ของประเทศได้ แต่อย่ากระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อ smooth out business cycles

ผมขอตั้งประเด็นว่า แล้วตอนช่วงที่เราเกิด Systematic risk

สถาบันการเงินถูกปิดกิจการ
สภาพคล่องในระบบเหือดหาย
กำลังซื้อในระบบแทบไม่เหลือเพราะคนตกงานจำนวนมาก
ทุนสำรองไม่เหลืออะไรเลย
ค่าเงินบาทอ่อนค่าจนทำให้กิจการขนาดใหญ่ไม่เว้นแต่ SCC แทบล้มละลาย TPI ตอนนี้ก็ยังแก้ปัญหากันอยู่เป็นต้น

ถามว่าจะไปรัฐบาลจะเน้นไปที่การเพิ่ม Productivity เพียงอย่างเดียวได้หรือครับ ผมดูตอนนั้น Utilization Rate ของกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 50% เอง ธุรกิจในระบบจำนวนมากติด NPL จนถึงบัดนี้บางส่วนยังแก้ปัญหาไม่ได้หมดเลยครับ ให้รัฐบาลเน้นไปให้ภาคต่างๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพิ่ม Productivity อย่างเดียว โดยอาจนำเทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลง แต่เศรษฐกิจมันแย่ ผลิตมาไม่มีคนซื้อแบบนี้ครับจะทำอย่างไรหละครับ

ถ้าเป็นแบบนี้ คุณสุมาอี้หรือท่านอื่น ๆ มีความเห็นอย่างไรเพิ่มเติมหรือไม่ครับ ถ้าไม่กระตุ้น Demand ความต้องการสินค้าในระบบภายในประเทศขึ้นมา จะมีทางเลือกอื่นที่มีผล Side effect น้อยที่สุดจะเป็นอย่างไรครับ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 65

โพสต์

สุมาอี้ เขียน: Business cycles คือ ธรรมชาติของเศรษฐกิจ ไม่ใช่ปัญหาเศรษฐกิจ เราไม่มีทางกำจัด Business cycles ออกไปได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่หน้าทีของรัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ วิธีการที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้จัดการเอง เวลาที่โรงงานขยายกำลังการผลิตมากเกินไป กักตุนสินค้ามากเกินไป ของจะขายไม่ออก ทำให้เกิดภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจขึ้น ราคาสินค้าที่ตกต่ำลงจะทำให้ธุรกิจขาดทุน เป็นเหตุทำให้ธุรกิจส่วนเกินต้องม้วนเสื่อออกไปจากตลาด เมื่อม้วนเสื่อออกไประดับหนึ่งจนสินค้าเริ่มขาดแคลนอีกครั้ง ราคาสินค้าจะเริ่มขยับขึ้นใหม่ เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้เอง

แต่ถ้ารัฐบาลพยายามเข้าไปช่วย โดยการใช้จ่ายเพิ่มเพื่ออุ้มธุรกิจเหล่านั้นไว้ให้มีกำไรต่อไป กำลังการผลิตส่วนเกินจะไม่ออกไปจากตลาด แต่กำลังการผลิตส่วนเกินนั้นไม่มีความต้องการที่แท้จริงอยู่ มีแต่ความต้องการเทียมของรัฐ รัฐบาลจึงต้องอุ้มไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุดถ้าอยากให้ธุรกิจเหล่านั้นอยู่ได้ แทนที่จะปล่อยให้ธุรกิจนั้นเจ๊ง เพื่อให้ทรัพยากรที่ธุรกิจนั้นใช้อยู่วิ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมอื่นที่ยังขาดแคลนทรัพยากรการผลิต ก็ทำไม่ได้ ตรงนี้ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมหาศาล

ที่คุณสุมาอี้กังวล คือนโยบายการแทรกแทรงเศรษกิจของรัฐ โดยการกระตุ้นเศรษกิจ จะทำให้ธุรกิจไม่เป็นไปตามธรรมชาติของมัน คือเศรษกิจรวมกำลังอยู่ในฟองสบู่ มีส่วนผลิตส่วนเกินจำนวนมาก  และรัฐเข้าไปใช้จ่ายกระตุ้นอีกเพราะกลัวฟองสบู่จะแตก

อย่างนี้เป็นการแทรกแทรงที่ผิดหลักการนะครับ  เพราะการแทรกแทรงของรัฐ ผ่านการกระตุ้นเศรษกิจควรดำเนินการเมื่อเศรษกิจตกต่ำ เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษกิจ และเมื่อเศรษกิจเริ่มไปได้ด้วยตัวเองแล้ว รัฐก็ต้องลดการกระตุ้น ปล่อยให้ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษกิจแทน

แล้วในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายที่ถูกต้องหรือเปล่า มีดูตัวเลขแค่ 2 ปี ทำให้คงบอกอะไรไม่ได้มากครับ เพราะหากมีโครงการภาครัฐใหญ่ๆ เช่นสนามบิน ตัวเลขนี้ก็จะกระโดดขึ้นได้  แต่หากรัฐดำเนินการกระตุ้นอย่างยาวนาน อย่างนี้เป็นเรื่องที่ผิดหลักการแน่นอนครับ ใครมีตัวเลขย้อนหลังหลายปีบ้างครับ ว่ารัฐใช้จ่ายงบประมาณอย่างไร
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 66

โพสต์

และสำหรับข้อความที่คุณสุมาอี้แสดงความเห็นในเรื่องนี้นะครับ

นโยบายการเงินยังจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอยู่ โดยต้องควบคุมมิให้ปริมาณเงินในระบบเติบโตเร็วกว่า output การบริหารจัดการอัตราดอกเบี้ยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ทำไปเพื่อ balance การเติบโตกับการรักษาเสถียรของระดับราคา

ตรงนี้ผมเห็นด้วย 100% ครับ เพราะเราต้องมีคนกลางคือ ธปท. ดูเรื่องนโยบายการเงิน เพื่อคอย Check and Balance ในเรื่องการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงต่าง ๆ  ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพือผลักดันการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ภาคเอกชนจะลงทุนขยายกิจการเพื่อสร้างการเจริญเติบโตต่างๆ เป็นต้น แต่ธนาคารชาติ ก็ต้องทำหน้าที่ภาพใหญ่ในการ Balance ภาวะการเงินให้เหมาะสม ซึ่งผ่านกลไกเช่น ถ้าปริมาณเงินมากเกินไปในระบบ ก็มีเครื่องมือในการการดูดซับสภาพคล่องของปริมาณเงิน ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดในระบบเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็ใช้นโยบายการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นต้น  เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศไม่เสี่ยงเกินไปครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 67

โพสต์

ความเห็นของคุณลูกอีสานนะครับ

อย่างนี้เป็นการแทรกแทรงที่ผิดหลักการนะครับ  เพราะการแทรกแทรงของรัฐ ผ่านการกระตุ้นเศรษกิจควรดำเนินการเมื่อเศรษกิจตกต่ำ เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษกิจ และเมื่อเศรษกิจเริ่มไปได้ด้วยตัวเองแล้ว รัฐก็ต้องลดการกระตุ้น ปล่อยให้ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษกิจแทน

ตรงนี้ผมเห็นด้วยนะครับ ในหลักการรัฐบาลควรปล่อยให้กลไกตลาดทำหน้าที่ของมัน เพื่อให้มีการจัดสรรการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ที่สำคัญก็คือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ภาคเอกชนนั้นมีความพร้อมแข็งแรง และแข็งแกร่งเพียงพอที่จะนำการขับเคลือนทางเศรษฐกิจได้แล้วหรือยัง หลังจากที่ผ่านมา เราเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก สึนามิ ภัยก่อการร้าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการปรับโครงสร้างหนี้ต่างๆ ที่หลายธุรกิจเริ่มกลับมาทำธูรกิจได้ตามปกติมากขึ้น ใครมีความเห็นตรงนี้อย่างไรครับ ขอบคุณทุก ๆ ท่านนะครับ ที่ทำให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันออกไปครับ แต่เป็นมุมมองที่สร้างสรรค์นะครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 68

โพสต์

ขอบคุณคุณสายลับ  007 นะครับ สำหรับข้อความตรงนี้นะครับ

เราจะคาดหวัง แต่จะให้รัฐ ทำอย่างไร ไม่พอ (ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนนะ)
เพราะรัฐต้อง ทำไปตาม ความจำเป็นของคนส่วนใหญ่
แต่เรา เปลี่ยนคนส่วนใหญ่ได้ โดยค่อยๆ เริ่ม จากตัวเรา ไปสู่ คนข้างๆ. :D

ผมจะเริ่มนำไปปฏิบัติตามครับ เริ่มที่ตัวเราก่อน ก่อนที่จะไปสู่คนข้างๆ ครับ
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 69

โพสต์

แต่ที่สำคัญก็คือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ภาคเอกชนนั้นมีความพร้อมแข็งแรง และแข็งแกร่งเพียงพอ
ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชน เป็นตัวช่วยคอนเฟิมร์

ตัวเลขการลงทุนนำเข้าเครื่องจักร การกู้ เป็นตัวชี้นำได้


แต่ภาคเอกชนมีการเคลื่อนไหวเร็วกว่าภาครัฐ หลายครั้งเวลาดูกรอบระยะเวลาสั้นๆ มันหลอกตา เห็นด้วยกับคุณลูกอีสานต้องดูข้อมูลยาวกว่านี้

แต่สุดท้ายก็ต้องอยู่ที่การตัดสินใจว่าจุดไหนอยู่ดี อย่าลืมพวกนี้เป็น Art ไม่ว่าทำอะไรลงไป  Afterfact ก็สามารถวิจารณ์ได้หมด
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 70

โพสต์

เรียนคุณ 007-s คนสวยครับ

ผมเห็นด้วยที่ว่า การเปลี่ยนแปลง ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป
แต่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก ที่รบ.นี้กระตุ้นให้เกิดการอุ้มมากขึ้น

พวกล้มบนฟูกควรจะกำจัดไป ซึ่งรบ.นี้ทำดี (อันนี้รบ.ชวนทำไม่ถูก)

แต่การอุ้มระดับรากหญ้าและพวกสายสัมพันธ์รบ. ก็ไม่ควรทำ
แต่รบ.นี้ กลับสนับสนุนให้เกิดการอุ้มไปเสียนั่น

จริๆง แล้ว ผมเห็นด้วยกับทั้งระบบสังคมนิยมสุดโต่ง
และทุนนิยมสุดโต่ง ซึ่งทั้งสองระบบมีดีมีเสีย

แต่การเอาสองระบบมารวมกันแบบที่รบ.นี้ทำอยู่
ผมว่ามันจะยิ่งแย่กันไปใหญ่นะครับ
สุมาอี้ เขียน:พวก monetarist เชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรทำอะไรเลย พวก supply-sider ก็เชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรทำอะไรเลยยกเว้นการดัน long-run supply curve ของประเทศ ไปทางด้านขวาอย่างเดียว อย่าไปยุ่งกับ demand curve เป็นอันขาด
แสดงว่าผมเป็นพวก supply-sider แน่ๆ เลย

ในความคิดส่วนตัว ผมคิดว่าหน้าที่หลักของรัฐบาลคือ

1. ดำเนินนโยบายสันติภาพทางทหาร กับมหาอำนาจทุกฝ่าย

2. ดำเนินนโยบายปฏิรูปสวัสดิการสังคมแบบต่อเนื่องในสามด้าน
   อย่างเท่าเทียมกัน คือการศึกษา สาธารณสุข และสาธารณูปโภคพื้นฐาน

3. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาการเพิ่มกำลังการผลิต
   เฉพาะในอุตสาหกรรมที่มี value-added
   และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน

นอกเหนือจากนี้ ควรทำแค่เป็นน้ำจิ้ม
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 71

โพสต์

กลับมาที่จุดประสงค์ของกระทู้
ตัวเลขที่นำมาแสดง คุณสุมาอี้คงต้องการสื่อว่า..

1.เศรษกิจปีที่แล้วเติบโต ส่วนใหญ่เพราะการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐ
2.การใช้จ่ายเหล่านี้จะยั่งยืนต่อไปหรือไม่ เพราะต้องใช้เงินมหาศาล
3.การใช้จ่ายเหล่านี้ เกิด productivity ต่อประเทศในระยะยาวหรือเปล่า หรือผลาญไปกับนโยบายประชานิยม เพื่อหวังคะแนนเสียงของนักการเมือง



ความเห็นผมนะ

1.ใช่ครับ เพราะตัวเลขมันแสดงอยู่แล้ว
2.ไม่น่าจะยั่งยืนครับ เว้นแต่ว่าโครงการเหล่านั้น กระตุ้นการเติบโตอย่างได้ผล ทำให้รัฐจัดเก็บรายได้ ได้มากขึ้น พอที่ใช้จ่ายต่อๆไป

3.นโยบายประชานิยมที่ consume ภาระเงินงบประมาณที่ผมเห็นดูจะมี 2 นโยบายคือ
1. 30 บาท รักษาทุกโรคหรือนโยบายประกันสุขภาพ
2.กองทุนหมู่บ้าน และกองทุน sml

ส่วนการใช่จ่ายอีกส่วนคือโครงการลงทุนภาครัฐในเมกะโปรเจคต่างๆ คงไม่ใช่นโยบายประชานิยม


ผมเองคนนึงที่ไม่เห็นด้วยกับการ subsidy ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน แก็สหุงต้ม น้ำประปา ไฟฟ้า ดอกเบี้ยเงินกู้  น้ำตาล เพราะการให้เงินอุดหนุนสินค้าอุปโภค บริโภคเหล่านี้ เป็นภาระมหาศาล บิดเบือนการใช้ทรัพยากร แต่เรื่องการประกันสุขภาพ ผมคิดว่าเป็นเรืองที่มีเหตุผลในการให้เงินอุดหนุนครับ

- กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้ คือคนด้อยโอกาสจริงๆ ที่ไม่ได้ประกันสังคม ครอบคลุม และไม่ใช่คนที่มีฐานะจะจ่ายได้ เข้าใจว่าคนที่จะมีบัตร 30 ได้จะต้องมีเงินได้ไม่เกิน 60,000 บ./ปี หรือประมาณ 5,000 บ/เดือน   รายได้อย่างนี้เรียกว่าจนได้หรือเปล่าครับ แค่ใช้จ่ายในการกิน ก็แทบจะไม่พอแล้ว   หากคนเหล่านี้เกิดเจ็บป่วย ก็ต้องเป็นคนใข้อนาถา  ใช้จ่ายเงินทั้งหมดที่เก็บหอมรอมริบ ขายที่นา-ไร่ หรือไปจี้-ปล้น เพราะไม่มีทางเลือก แต่โครงการ 30 บาท ทำให้ชีวิตคนเหล่านี้เปลี่ยนไป มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งคนที่ไม่เคยจน อาจจะไม่เคยรู้ครับ

ส่วนกองทุนหมู่บ้าน ผมเข้าใจว่าหนี้เสียค่อนข้างน้อยนะครับ และเงินเหล่านี้ใช้ไปกับกิจกรรมต่างๆที่ก่อให้เกิดผลผลิต และส่วนหนึ่งคงหมดไปกับ มือถือ รถมอเตอร์ไซร์ด้วยเช่นกัน
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 72

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:ทุกวันนี้นโยบาย Keynesian ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ แต่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการเรียกคะแนนนิยมมากกว่า รัฐบาลที่เห็นแก่การพัฒนาจริงๆ ต้อง bite the bullet
ด้วยความเคารพในคุณสุมาอี้ครับ :o
แต่ผมก็มีเหตุผลที่จะไม่เห็นด้วยครับ

ถ้า Keynesian คือการแทรกแทรงของภาครัฐ ผ่านนโยบายประชานิยม หรือการกระตุ้นเศรษกิจผ่านเมกะโปรเจค  ผมก็คิดว่ายังมีประโยชน์อยู่บ้าง หรือที่จริงมีอยู่มากทีเดียว

ประโยชน์ของนโยบายประชานิยม ผมได้พูดไปแล้ว บางเรื่องก็เป็นประโยชน์มาก แต่บางเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษกิจ หรือไม่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผมก็ไม่เห็นด้วยครับ

กรณีใช้จ่ายไปกับเมกะโปรเจค อย่างสนามบิน ถนน รถไฟฟ้า ลอยฟ้า  กรณีอย่างนี้ชัดเจนว่าเป็นผลดีต่อประเทศในระยะยาว แม้ในระยะสั้น จะทำให้ฐานะของรัฐอ่อนแอลง ในระยะยาวแล้ว คุ้มค่าแน่นอน  

สนามบินสุวรรณภูมิเป็นตัวอย่างที่ดี เงินก่อสร้าง แสนล้าน แค่ราคาที่ดินแถบนั้นราคาเพิ่มขึ้นมา ก็อาจจะเป็นแสนล้านแล้วเช่นกัน ไม่รวมถึงกิจกรรมทางเศรษกิจลูกโซ่ที่จะตามมาอีกแสนล้าน  ตัวเลขอาจจะดูเหมือนยกเมฆ แต่ลองพิจารณาครับ เอาใกล้ตัว

- กำไรหรือมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับผลดี ทั้งกลุ่มก่อสร้างทุกตัว ticon wg amata aot bafs เป็นต้น
-อุตสาหกรรมเบาๆต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นรอบสนามบิน สร้างงาน สร้างรายได้ให้ประเทศ เช่นอุตสาหกรรมอีเลคทรอนิค
-การท่องเที่ยว อ่านข่าวต้นปี สนามบินดอนเมืองแออัดที่สุดในเอเชีย เพื่อนๆที่ใช้บริการบ่อยๆ คงเห็นเครื่องบินติดในดอนเมือง รอคิว take off  เมื่อมีสนามบินใหม่ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวไปเพิ่มขึ้นมาก รายได้ของประเทศ อุตสาหกรรมทองเที่ยวก็ได้รับผลดี


หากรัฐบาลกลัวคำครหาเรื่องการทุจริต หรือเกรงใจสิงคโปร์  ไม่กล้าคิดกล้าทำ เรื่อยๆมาเรียงๆ ไม่ไดนด่า ปล่อยให้สนามบินแออัดไป ให้สิงคโปร์ได้ประโยชน์ไป หรือปล่อยให้รถติดไป ไม่สนใจความสามารถในการแข่งขันประเทศจะลดลง   โชคดีที่ไม่เป็นอย่างนั้น มุมมองอย่างนี้เรียกได้ว่ารัฐบาล bite the bullet ได้หรือเปล่าครับ :?:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
Viewtiful Investor
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 73

โพสต์

ผมเคยดูสาระคดีนึงถ่ายทำที่ บักคลาเทศ เรื่อง ธนาคารคนจน

ดร.คนที่ศึกษาเรื่องความยากจน บอกว่า คนไม่ได้จนเพราะขี้เกียจ หรือ โง่ แต่เพราะไม่มีเงินทุน ธนาคารไม่ปล่อยกู้ ก็ต้องไปกู้นอกระบบมา โดยที่ถ้าคำนวณออกมาแล้วยังไงๆก็เอากำไรมาจ่ายดอกไม่ไหว

ทางออกก็คือ ธนาคารที่ปล่อยกู้ให้คนจน คนก็ค้านว่า คนจนชอบเบี้ยวหนี้ แต่ ดร. ก็บอกว่า จริงๆแล้วคนจนไม่ชอบมีหนี้ ได้เงินไปก็จะพยายามหามาคืน NPL ต่ำ

ที่เค้าทำก็คือลองทำ Project นี้ในบริเวณเล็ก พอประสบความสำเร็จก็ ลองเปิดขึ้นที่อื่น เค้าอ้างด้วยว่ามีการไปลองใช้สำเร็จที่ USA

ที่ผมจำได้ดี คือตอนที่ คนคิดค้นให้สัมภาษณ์ว่า ซักวันโครงการแบบนี้จะทำให้ความยากจนหมดไปจากโลก แล้วจะสร้าง museum ให้คนเข้าไปดูว่า ความยากจน เป็นยังไง

คุ้นๆไหมครับ ว่าใครชอบพูดแบบนี้? ผมว่า กองทุนหมู่บ้าน SML ก็เอาเลียนแบบมาจากโครงการนี้แหละ (ส่วนแก้ความจนใน 6 ปีนะ หาเสียงเห็นๆ)

ประเด็นคือ จะ KNS จะประชานิยม จะหาเสียง มันก็ช่วยคนระดับล่างสุดของสังคมได้บ้างนะครับ ส่วนกองทุนจะประสบความสำเรจหรือมีแต่ NPL ผมอยากให้เอาข้อมูลจริงๆมาดูดีกว่า เท่าที่ได้ยินมา มีแต่ด่าๆๆกัน อีกฝ่านก็ความน่าเชื่อถือต่ำ เลยไม่รู้ซักที่ว่ามันดีไหม -_-'
I do not sleep. I dream.
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 74

โพสต์

พวก monetarist เชื่อว่า หน้าที่หลักของรัฐบาลคือการส่งเสริมทำให้กลไกตลาดทำงาน ได้แก่ การบังคับให้คนปฏิบัติตามสัญญานิติกรรมต่างๆ ไม่ให้โกงกัน การพิทักษ์สันติราษฏร์ เป็นต้น รวมไปถึงการเข้าไปแก้ไข market failure ต่างๆ อาทิ การปล่อยมลพิษของโรงงาน

ส่วนอะไรก็ตามที่ไม่ถึงกับคอขาดบาดตายถ้าให้เอกชนทำ ก็ให้เอกชนทำให้หมด เพราะเอกชนมีกำไรเป็นแรงจูงใจให้ต้องคำนึงถึงผลิตภาพ ยิ่งรัฐบาลมีขนาดเล็กได้เท่าไร ประเทศก็ยิ่งมีผลิตภาพมากเท่านั้น

วิธีนี้ทำให้ประชาชนมีเสรีภาพได้ถึงระดับปัจเจก เป็นต้นว่า ถ้าคุณไม่ได้ขับรถคุณก็ไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางต่างๆ ที่เอกชนสร้างขึ้น ในขณะที่ถ้าการสร้างถนนใช้เงินภาษีของรัฐ คนที่ไม่ได้ขับรถต้องมารับภาระจ่ายค่าสร้างถนนให้คนที่ขับรถด้วยในรูปแบบของการจ่ายภาษี ซึ่งไม่ยุติธรรมกับคนส่วนน้อย

คาถาของ monetarist
"แทรกแซงให้น้อยที่สุด แทรกแซงให้น้อยที่สุด แทรกแซงให้น้อยที่สุด"


ส่วนพวก supply-sider ซึ่งผมคิดว่าคุณ CK น่าจะเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ก็มีความคิดคล้ายๆกันกับ monetarist แต่แถมไปอีกด้วยว่า รัฐบาลอาจมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศได้ด้วยการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมผลิตภาพของประเทศในส่วนที่เอกชนเองคงทำไม่ได้ ตัวอย่างเช่น

1. ปราบปรามคอรัปขั่น
2. ปราบปรามยาเสพติด
3. อุดหนุนการศึกษา
4. เมกกะโปรเจ็คเพื่อการลด logistic cost ของส่วนรวม (แต่ต้องระวังการคอรัปชั่นด้วย)
5. FTA
6. Privatization
7. subsidize บางอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะแข่งขันได้แต่ปัจจุบันยังไม่พร้อม
8. เร่งรัดกระบวนการประนอมหนี้ NPL ต่างๆ ที่ยังค้างอยู่ในแบงก์
9. ปลูกฝัง entreprenuerial spirit ให้กับเยาวชน และส่งเสริม SMEs
10. ทำให้ทุกคนเสียภาษีโดยเสมอหน้ากันอย่างทัดเทียม
11. พัฒนาตลาดทุน

มีอะไรให้รัฐบาลทำต้องมากมาย ไม่เห็นจำเป็นต้องไปพึ่งการกระตุ้นการใช้จ่าย ที่จริงหลายอย่างข้างบนก็เป็นนโยบายของ ทรท. เพียงแต่บางอันพูดอย่างเดียวแต่ไม่ได้ทำ บางอันพอลงไป implement แล้วเล๊ะตุ้มเป๊ะ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1464
ผู้ติดตาม: 1

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 75

โพสต์

ผมว่าเราคิดมากคิดลึกก็ดีครับ แต่เยอะเกินไปก็ไม่ไหวเหมือนกัน

ตัวเลขแค่นี้ผมก็คิดว่าไม่ได้บอกอะไร ยิ่งเอามาแค่สองปีแล้วล่ะก็ ยิ่งไม่สามารถตอบอะไรได้เข้าไปใหญ่

ผมก็เห็นเศรษฐกิจโตขึ้นมากนะครับ ไม่ต้องดูจาก GDP ก็ได้ อย่างที่หนังสือฝรั่งเค้าบอกว่า ไม่ต้องสงสัยเศรษฐกิจของเอเชียเลย เพราะเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผมเห็นประเทศไทยเจริญขึ้นด้วยตาเปล่าครับ

แล้วยิ่งตอนนี้เราก็พบกับปัญหาที่หลายประเทศเจอ (ยกเว้นจีน) คือกำลังการผลิตใกล้จะเต็มแล้ว ถ้ายิ่งคิดมากยิ่งไม่ได้ลงทุนแน่นอน (เหมือนเปรียบเทียบบริษัทที่เถ้าแก่ตัดสินใจกับบริษัทที่มีบอร์ดมานั่งวิเคราะห์ IRR ไม่มีผิด)

เศรษฐกิจทุนนิยม คือความมั่นใจครับ

ปัญหาโครงสร้างมีมากว่า 40 ปีในประเทศ ตอนนี้เราก็พยายามหาจุดแข็งหรือภาษาฝรั่งว่า competitiveness ของประเทศ ผมก็คิดว่าเศรษฐกิจมหภาคเราเดินมาค่อนข้างถูกทาง และเศรษฐกิจชาวบ้านก็เติบโต ถ้า OTOP ยังถูกส่งเสริมต่อ

ถ้าเราคิดมาก ผมว่าเราก็จะเอนไปทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ซึ่งก็ตอบไม่ได้ว่าแบบไหนดีกว่า

สรุปคือผมก็พยายามไม่ฟังนักวิชาการ แล้วนั่งดูเฉพาะงบบริษัทที่ตัวเองถืออยู่ บนพื้นฐานของความมั่นใจส่วนตัว

ถ้าความมั่นใจผมเริ่มหด ผมก็คงลด port ตัวเองครับ มีแค่นี้จริง ๆ

ดร.นิเวศน์พูดว่า คนนอกหมู่บ้านทะเลาะกัน ก็ช่างเค้าเถอะ ถ้าข้างบ้าน หรือในบ้านทะเลาะกัน มันถึงจะส่งผลสะกิดตัวเรา คำนี้ผมจำไว้ใช้ตอนนี้โดยเฉพาะเลยครับ
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 76

โพสต์

Linzhi เขียน:ผมว่าเราคิดมากคิดลึกก็ดีครับ แต่เยอะเกินไปก็ไม่ไหวเหมือนกัน

ตัวเลขแค่นี้ผมก็คิดว่าไม่ได้บอกอะไร ยิ่งเอามาแค่สองปีแล้วล่ะก็ ยิ่งไม่สามารถตอบอะไรได้เข้าไปใหญ่

ผมก็เห็นเศรษฐกิจโตขึ้นมากนะครับ ไม่ต้องดูจาก GDP ก็ได้ อย่างที่หนังสือฝรั่งเค้าบอกว่า ไม่ต้องสงสัยเศรษฐกิจของเอเชียเลย เพราะเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผมเห็นประเทศไทยเจริญขึ้นด้วยตาเปล่าครับ

แล้วยิ่งตอนนี้เราก็พบกับปัญหาที่หลายประเทศเจอ (ยกเว้นจีน) คือกำลังการผลิตใกล้จะเต็มแล้ว ถ้ายิ่งคิดมากยิ่งไม่ได้ลงทุนแน่นอน (เหมือนเปรียบเทียบบริษัทที่เถ้าแก่ตัดสินใจกับบริษัทที่มีบอร์ดมานั่งวิเคราะห์ IRR ไม่มีผิด)

เศรษฐกิจทุนนิยม คือความมั่นใจครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

:wink:
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 77

โพสต์

CK เขียน:
จริๆง แล้ว ผมเห็นด้วยกับทั้งระบบสังคมนิยมสุดโต่ง
และทุนนิยมสุดโต่ง ซึ่งทั้งสองระบบมีดีมีเสีย

แต่การเอาสองระบบมารวมกันแบบที่รบ.นี้ทำอยู่
ผมว่ามันจะยิ่งแย่กันไปใหญ่นะครับ
ตรงนี้ดิฉันเห็นต่างนะ คุณ ck
ดิฉันว่า คนไทยส่วนใหญ่ ยังคงมีลักษณะที่ ชอบให้กระตุ้น อยู่อีกมาก
ต้องค่อยๆแทรก ค่อยๆดัดไป จะหักทีเดียว ไม่มีทาง
การ ทำสองระบบ ร่วม ไปพร้อมๆกัน เป็นวิธี ที่น่าจะเหมาะ กับคนไทยมากกว่า

การทำสองแนว ไปพร้อมกัน นั้น แน่นอน วิธีคิด วิธีปฏิบัติ นั้นยากกว่า การทำแนวเดียว แต่จะได้ผล ดี และ ง่ายต่อการปรับตัว และเกิดผลที่ต่อเนื่องได้จริง
เพราะจะมีโอกาส ได้ผ่านขั้นตอน ที่ขัดแย้ง ของสองขั้ว จนท้ายที่สุด จะได้ กระบวนการที่ ลงตัว และผู้คนจะค่อยๆ ยอมรับ ในผลดีผลเสีย ที่มองเห็นจริง ในที่สุดได้

การจะปรับให้คนทั้งหมด ที่เคยชินมายาวนาน ต่อการใช้ชีวิต เนิบนาบ มาเป็นปรู้ดปร๊าด แข่งขันกัน ฉับไว ให้ทันต่อกระแสโลก ได้ในชั่ว ไม่กี่ปี ไม่น่าจะเหมาะ กับไทยเท่าไหร่นักค่ะ

ย้อนไปที่ จุดแรก ว่า ทำไมไทยต้องปรับ ...เพราะเราจะตามโลก และอยากอยู่ร่วม กะโลกได้ ดีกว่าที่เคยเป็นมา

แต่ ทำไมต้อง ค่อยๆปรับ ...เพราะ ธรรมชาติ เราเป็นแบบนี้

แล้วทำไมต้องมุ่งช่วยที่ รากหญ้า ข้างล่าง ให้มาก
...เหมือนปิรามิดนะ ...ข้างล่างแน่น ข้างบนจึงอยู่ได้นาน ท้าลมแรง ยามมีภัย
...ข้างล่างยังอ่อนแออยู่ ,ก็ดีขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังต้อง ทำให้แน่นกว่านี้

ทุนการศึกษา เรียนก่อนผ่อนทีหลัง...ดีมาก ทำต่อไป ทำให้ถึงที่สุด
โอทอป ...ทำต่อไป ...ใครทำเจ๊ง ทำไม่ดี ยังไม่เวิ๊ค ประสบการณ์ จะสอนเขา ตรงนี้ จะเปิดโอกาสให้เขาได้หัดเดิน
เปิดโอกาส ให้ระดับล่าง รายยิบย่อย ได้เข้าถึง เงินกู้ยืม ดอกต่ำ ...ก็ทำต่อไป...เอาเงินกู้ดอกแพงนอกระบบ มาเข้าในระบบดอกต่ำ ...มีช่องโหว่แค่ไหน อย่างไร ค่อยๆอุดรูไป

ดึงเขาขึ้นมา ให้ยืนขึ้น แล้วค่อยสอนเขา ว่า วิ่ง ต้องทำอย่างไร
ใครวิ่งเป็นก่อน ก็เลื่อนชั้น มาเตรียมเข้าลู่วิ่ง ได้เลย

เมื่อทั้งหมด วิ่งเป็น นั่นล่ะ ...ทุนนิยมจ๋า เลย มาเองเลย

:wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 78

โพสต์

เรื่องข้อมูลปีเดียวสั้นเกินไปบอกอะไรไม่ได้นี่ ผมไม่รู้จะว่าไงเหมือนกัน คงได้แค่เดาไปต่างๆ นานา

ผมว่ารอดู GDP ปีนี้เลยดีกว่า ง่ายๆ ไม่ต้องมานั่งเดากัน ปีนี้รัฐบาลไม่มีเงินอัดฉีดแล้ว ดูซิว่ามันจะ sustainable หรือไม่

เว้นเสียแต่ว่าถ้ามันออกมาแย่แล้วจะอ้างว่าเป็นเพราะม๊อบ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่รู้จะว่ายังไง คงต้องรอดู GDP ของปีถัดไปอีก

ผมไม่ได้แช่งให้มันออกมาไม่ดีแล้วผมจะได้ชนะนะครับ ถ้ามันออกมาดีผมจะดีใจมากเพราะมันเป็นประเทศของผมครับ ผมย่อมอยากเห็นมันได้ดี และจะยอมรับอย่างจริงใจด้วยว่าการตัดสินใจใช้ทักษิโนมิกส์ของทักษิณเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง

(ยังไงขอแซวคนรักทักษิณหน่อยนะครับ เถียงด้วยยากจริงๆ หะแรกก็บอกว่ากล่าวหาลอยๆ ไม่ได้ต้องมีตัวเลขด้วย แต่พอมีตัวเลขก็บอกตัวเลขเชื่อถือไม่ได้อีก ไม่รู้จะเอาอะไรกัน)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 79

โพสต์

:lovl:

Expect for the best, prepare for the worst คับ พี่สุมาอี้
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 80

โพสต์

ปีนี้ไม่ดีเหมือนปีก่อนๆแน่ ถ้ารัฐใช้จ่ายน้อยลง เอกชนก็ควรจะเริ่มโดดเข้ามาเป็นตัวช่วย เท่าที่ตามมาตัวเลข I   ไม่เคยให้ความมั่นใจว่าจะขึ้นแบบมีน้ำหนักเลย
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 81

โพสต์

สุมาอี้ เขียน: (ยังไงขอแซวคนรักทักษิณหน่อยนะครับ เถียงด้วยยากจริงๆ หะแรกก็บอกว่ากล่าวหาลอยๆ ไม่ได้ต้องมีตัวเลขด้วย แต่พอมีตัวเลขก็บอกตัวเลขเชื่อถือไม่ได้อีก ไม่รู้จะเอาอะไรกัน)
โถ...งี้ต้องแซวกลับคนรักมาร์คสิ :lol:
หล่อก้หล่อ หน้าก็ไม่เหลี่ยม ได้รูปสวยดี
พุดก็เพราะ หลักการก็ดี ข้อมูลแน๊นแน่น

ทำไมน๊อ จีบไงหญิงก็ไม่รัก
สงสัยเจอข้อหา ดีเกินไป สิเนี่ย  :lol:  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ผมมองกว้างๆครับ

เพื่อนผมที่ค้าขายนี่  เขาเตือนผมในฐานะที่ผมเอาเงินมาลงในตลาดหลักทรัพย์คัรบ ว่า  ตั้งแต่กลางปี 48 ที่ผ่านมานี่  การค้าฝืดลงชัดเจนมาก  คนจนดูเหมือนหมดกำลังซื้อลงแล้วซักพักนึง  เขาบอกชัดเจนมากเลย  อันนี้ก็เชื่อเขาเพราะว่าเขาค้าขายอยู่ ทั้งขายส่ง + ขายปลีก  อันนี้ไม่รู้ว่าคนอื่นมีข้อมูลยังไงมั่ง ลองเล่าสู่กันฟังบ้างสิครับ

ส่วนแม่ยายผมที่ขายของชำที่ตลาด  ก็บ่นเรื่องนี้  ก็ครึ่งปีได้แล้วเหมือนกัน

เพื่อนผม ชัดเจนว่า  จะไม่มีการซื้อที่ดินในช่วง  1 - 2 ปี ข้างหน้านี้

เขาเชื่อว่า  จะได้ซื้อในราคาถูกๆ แน่ครับ  ในอีกไม่น่าเกิน  2-3 ปี นี้

เพื่อนผมคนนี้มันเข็ดมากกับ ต้มยำกุ้ง  เพราะว่าไปทวงตังแต่ได้โต๊ะมั่ง  เก้าอี้มั่ง  เครื่องจักรมั่ง  โฉนด ที่อยู่ในป่าลึกมั่ง  เจอมาเยอะแล้ว    ไม่รู้จะทำไง  มันบอก สงสารก็สงสาร  ตังก็ต้องเอา

เขาบอกเตรียมตัวไว้มั่งก็แล้วกัน  อาจจะไม่เร็วนัก  แต่มันน่ากลัว  ความน่ากลัวมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้ว

ลองดูสิคัรบว่า  ทักษิณ  หรือคนที่จะมารับงานต่อจาก ทักษิณ  จะทำยังไงกับสิ่งที่เป็นอยู่แล้วก็กำลังจะมา

ผมเองก็ชอบครับ ที่บอกว่า  ต้องดูในภาพรวม  ถ้าภาพรวมไม่ดี  ก็ไม่ต้องดูในรายละเอียดมากนัก

ผมยังจำเพื่อนผมอีกคนได้เลยครับ  วิศวกรโยธา  ตกงาน ช่วงต้มยำกุ้งถึง 2  ปี  มีลูก 2 คน ที่กำลังโต  โชคดีที่ภรรยาเขายังมีงานทำ  พอเลี้ยงครอบคัรวได้  สงสารเพื่อนมาก

ผมยังจำคนที่นำเข้าไม้ จากชายแดนไต้  ที่เจอเช็คเด้งหมดตัว  เครียดมาก   แล้ว....ขับรถไปชนกับรถกะบะบนทางด่วน  พอชนปุ๊บ  เขาเปิดประตูลงมา  กระโดดทางด่วนเลยครับ  ตายเลย  เสียใจสำหรับครอบครัวคนเหล่านี้นะครับ

ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตาม  ถ้าทำอะไรต่างๆเพื่อบ้านเมืองดีๆ  พวกเราคงไม่มีปัญหาอะไร

แต่ถ้าเอาแต่หาเสียง  แล้ว  แก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ทิ้งปัญหาไว้ใต้พรม  ซักวัน  ขี้มันมากขึ้นๆจนเปรอะออกมาจากพรม   ก็คงลำบากกัน

วันนั้น จะมีอีกกี่คนที่รับไม่ไหว

พวกเราระวังกันบ้างนะครับ

เห็นแล้วกลุ้มครับ

จะมีซักวันไหมหนอ...ประเทศไทย    ที่คนโกงจะน้อยๆลงกว่านี้มากๆหน่อย
Viewtiful Investor
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 83

โพสต์

ทำไมน๊อ จีบไงหญิงก็ไม่รัก
สงสัยเจอข้อหา ดีเกินไป สิเนี่ย  
เค้าแต่งงานแล้วไม่ใช่หรือครับ  :lol:
I do not sleep. I dream.
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 84

โพสต์

007-s เขียน:โถ...งี้ต้องแซวกลับคนรักมาร์คสิ :lol:
ยังไม่เห็นคนรักมาร์คในเว็บนี้ซักกะคน :lovl:

มีแต่คนรักทักษิณกับคนไม่รักทักษิณ


คุณ 007-s ครับ ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ต้องหักดิบ โดยเฉพาะกรณีที่เคยสบายมาก่อน
เหมือนตอนฝึกลูกนะครับ ผมพบว่าคงเส้นคงวาของวินัย
เป็นสิ่งที่สำคัญพอๆ กับความรักเลยครับ
สองสิ่งนี้รวมกัน จึงจะสอนเด็กได้

ถ้าบางด้านเราอลุ่มอล่วย บางด้านเข้มเกิน
เด็กจะสับสน และจะไม่ยอมรับการสอนจากเรา
ในด้านที่เขาไม่ชอบ แต่ถ้าวินัยเราเหมือนเดิมทุกเรื่องทุกวัน
เด็กจะยอมรับง่ายครับ

ขอพาดพิงเรื่องลอยตัวน้ำมัน ประชาชนรับได้ตั้งนานแล้วครับ
แต่เนื่องจากคุณทักษิณต้องการทุนเลือกตั้ง
และต้องการชัยชนะพรรคเดียว จึงตรึงราคาน้ำมันต่อไปเรื่อยๆ
จนชนะรอบสองแล้วจึงลอยตัว ไม่เกี่ยวกับความพร้อมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
HI.ผมเอง
Verified User
โพสต์: 811
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 85

โพสต์

(ยังไงขอแซวคนรักทักษิณหน่อยนะครับ เถียงด้วยยากจริงๆ หะแรกก็บอกว่ากล่าวหาลอยๆ ไม่ได้ต้องมีตัวเลขด้วย แต่พอมีตัวเลขก็บอกตัวเลขเชื่อถือไม่ได้อีก ไม่รู้จะเอาอะไรกัน)
รูปภาพ



ไม่รักทั้งมาร์คทั้งทักษิณนะ

ไม่ได้เลียด ทักษิณ ด้วย

แต่รังเกียจ พฤติกรรม ทักษิณ มากกว่า :oops:

แต่สงสัยคับ
ถ้าตัวเลข สองปีวัดไม่ได้
งั้นต้องดูกี่ปีครับ
สองปีล่าสุดไม่ได้บอกให้ระวังปีหน้าหรือปีนู้น เลยหรือ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
tok
Verified User
โพสต์: 833
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 86

โพสต์

(ยังไงขอแซวคนรักทักษิณหน่อยนะครับ เถียงด้วยยากจริงๆ หะแรกก็บอกว่ากล่าวหาลอยๆ ไม่ได้ต้องมีตัวเลขด้วย แต่พอมีตัวเลขก็บอกตัวเลขเชื่อถือไม่ได้อีก ไม่รู้จะเอาอะไรกัน)
อยางนี้ต้องฟ้องศาลปกครอง อย่างเดียวเลยครับ  :D
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 87

โพสต์

เป็นกระทู้ที่ดี แล้วก็เห็นด้วยกับสุมาอี้มากๆ
MisterK
Verified User
โพสต์: 857
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 88

โพสต์

เถียงในเวปนี้ข้อมูลต้องแน่นจริง ๆ ครับ    ถ้าใครมาโพสต์ว่าหุ้นเน่าหรือดีเพราะ PE หรือ BV อย่างเดียวคงกล่อมคนในเวปนี้ยาก     เพราะ VI เวลาจะซื้อหุ้นต้องดูรายละเอียดที่มาที่ไปของตัวเลข  มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือเปล่า     ถ้าเชื่อตัวเลขสุดท้ายที่บริษัทเปิดเผยอย่างเดียวคงไม่ใช่ VI    :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
HI.ผมเอง
Verified User
โพสต์: 811
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 89

โพสต์

หึหึ

หัวปักหัวปำจริงๆ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

เห็นอะไรมั้ย?

โพสต์ที่ 90

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:(ยังไงขอแซวคนรักทักษิณหน่อยนะครับ เถียงด้วยยากจริงๆ หะแรกก็บอกว่ากล่าวหาลอยๆ ไม่ได้ต้องมีตัวเลขด้วย แต่พอมีตัวเลขก็บอกตัวเลขเชื่อถือไม่ได้อีก ไม่รู้จะเอาอะไรกัน)
ประเด็นไม่ใช่เรื่องตัวเลขครับ
ตัวแลขเหล่านี้ official อยู่แล้ว ไม่มีใครสงสัยในความน่าเชื่อถือครับ

แต่ผมสงสัยในวิธีเชื่อมโยงเหตุผลของคุณสุมาอี้ครับเพราะเท่าที่อ่าน เหมือนต้องการจะสื่อว่าตัวเลขเหล่านี้แสดงว่า

- รัฐกำลังพยุงเศรษกิจที่ไม่ได้ดีจริง
- เงินเหล่านี้ ใช้ไปกับการเรียกคะแนนนิยม มากกว่าการสร้างผลผลิต
- ใช้จ่ายเกินตัว เงินใกล้จะหมด รัฐบาลกำลังถังแตก เหมือนที่เป็นข่าว


การมองไปที่ตัวเลขตัวเดียว แล้วสรุปทำนองนี้ ผมคิดว่ามองง่ายไป rough ไปหน่อย เพราะทุกอย่างมันเกี่ยวโยงกันไปหมด การมองมิติเดียวทำให้ภาพบิดเบือน (เหมือนนักการเมืองกล่าวหากันตอนนี้)  ถ้าเปรียบเหมือนการซื้อหุ้น เราคงไม่ดูแค่ PE ตัวเดียวใช่ไหมครับ

มุมมองด้านอื่นๆ ของตัวเลขที่นำมาอ้าง ผมได้โพสต์ไว้ในกระทู้แล้ว แต่ขอสรุปสั้นง่ายๆ อย่างนี้ครับ

1.รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศมาแล้วประมาณ 5 ปี แล้วทุกปีใช้จ่ายพยุงเศรษกิจอย่างนี้หรือเปล่า ถ้าใช่แสดงว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ก็ต้องถามว่าแล้วปี 2004 ละครับ ทำไมใช้จ่ายน้อย

2.การใช้จ่ายเหล่านี้ ผันผวนไปตามเมกะโปรเจคหรือเปล่า ซึ่งคงไม่สามารถสร้างกันได้ทุกปี  ถ้าปีไหนมีการสร้าง ตัวเลขก็ต้องกระโดดขึ้นเป็นธรรมดา

3.การใช้จ่ายเหล่านี้ อยู่ในกรอบงบประมาณ หากรัฐหารายได้เพียงพอรายจ่าย เราจะไปกังวลทำไมกับตัวเลขเหล่านี้

4.การใช้จ่ายเหล่านี้เพื่อกระตุ้นเศรษกิจหรือสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนหรือเปล่า


เป็นมุมมองด้านอื่นๆนะครับ เพราะผมคงต้องมีเหตุผล ไม่อย่างนั้นก็จะกลายตะแบงถูสีข้างไป :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว