มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรยง พง
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรยง พง
โพสต์ที่ 1
มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย
บทความตอนที่ 1: มายาคติแห่งคอร์รัปชัน (1)
ทุกวันนี้วิกฤตการณ์คอร์รัปชันในเมืองไทยกำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงที่สุด
ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะองค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) จัดให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันอยู่ในระดับรั้งท้ายพอๆ กับประเทศกรีก เปรู หรือโคลัมเบีย แต่เป็นเพราะยิ่งนานวัน ก็ดูเหมือนคนไทยจะไม่เห็นคอร์รัปชันเป็น “ปัญหา” อีกต่อไป ซ้ำยังออกจะเห็นว่าเป็นปกติอย่างหนึ่งของสังคม จนทุกวันนี้การคอร์รัปชัน ไม่ได้เป็นเพียงการ “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” อันเป็นพฤติกรรมที่จำกัดอยู่ในวงราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเสียแล้ว หากแต่แผ่ซ่านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของแทบทุกคนในสังคม เป็นแม่ค้าก็โกงตาชั่งลูกค้า เป็นเทศกิจก็เรียกสินบนจากแผงลอย หรือเป็นซีอีโอก็โกงผู้ถือหุ้น ในขณะที่เป็นรัฐมนตรีก็มารีดทรัพย์เอาจากซีอีโออีกต่อหนึ่ง จนคนไทยยอมรับไปเองว่าชีวิตต้องมีคอร์รัปชันในลักษณะเดียวกันกับที่ยอมรับว่ามีรถก็ต้องใช้น้ำมัน
ทัศนคติอย่างที่ว่ามานี้ ส่วนหนึ่งเกิดมีขึ้นได้ก็เพราะในเมืองไทยยังไม่เคยมีการพูดถึงคอร์รัปชันกันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีแต่บอกว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องผิดศีลธรรม ความรู้ความเข้าใจของคนในเรื่องนี้ก็เลยไปหยุดอยู่แค่ว่า
คอร์รัปชันไม่ดี แต่ไม่ดีอย่างไรก็ไม่รู้ พอไม่รู้แล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่คนจะไม่เห็นโทษของคอร์รัปชัน และนานไปๆ ก็เลยยอมรับคอร์รัปชันได้อย่างสนิทใจอย่างทุกวันนี้
เอาเข้าจริงแม้กระทั่งปัจจุบันที่เริ่มจะมีระลอกการตื่นตัวจะสู้กับคอร์รัปชัน ก็ยังเห็นได้ว่าเรายังไม่ค่อย “กระจ่าง” เท่าใดนักว่าเราจะสู้กับคอร์รัปชันด้วยกลยุทธ์อะไร เพื่อเป้าหมายอย่างไร หรือว่าคอร์รัปชันจริงๆ แล้วคืออะไร การทำสงครามต่อสู้กับคอร์รัปชันในบ้านเราก็เลยอยู่ในสภาพงกๆ เงิ่นๆ ได้แต่ยกทัพแห่กันออกมาจากกำแพงเมืองอย่างเอิกเกริก แต่แล้วก็วิ่งกันไปคนละทิศละทาง เป็นที่น่าเหน็ดเหนื่อยใจ
โดยท่ามกลางการจับต้นชนปลายไม่ถูกนี้ สังเกตได้ว่าคนไทยมีชุดความเชื่ออยู่สี่ห้าประการ ที่สะท้อนความเข้าใจครึ่งๆ กลางๆ ของคนไทยเกี่ยวกับคอร์รัปชัน จนพอจะเรียกได้ว่าเป็น “มายาคติ”
มายาคติข้อแรกก็คือ “เป็นไปไม่ได้ที่คอร์รัปชันจะสร้างความเจริญ”
หากทุกคนจำกันได้ เคยมีสำนักโพลแห่งหนึ่งตั้งคำถามว่า "ถ้ามีการทุจริต แต่ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี และตัวท่านเองก็ได้ประโยชน์ ท่านยอมรับการทุจริตได้หรือไม่" และผลปรากฏว่าประชาชนกว่า
ร้อยละ 65 ยอมรับได้โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อย่างไรก็ดี หลังจากผลโพลออกมาอย่างนั้นก็มีคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ออกมาโต้แย้งว่าผลโพลนั้นไม่น่าเชื่อถือเพราะการตั้งคำถามของโพลมีลักษณะเป็นการเอาความเท็จเข้าชี้นำอยู่ในตัว อันจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าการคอร์รัปชันทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองได้
แต่ความเป็นจริงก็คือ ความเข้าใจที่ว่าการคอร์รัปชันทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองได้ไม่ใช่ความเท็จ ไม่ใช่ความเข้าใจที่ผิด เราควรจะต้องยอมรับว่าจริงๆ แล้วมีคอร์รัปชันชนิดที่สร้างความเจริญหรือประโยชน์ได้ เพียงแต่ก็ต้องทำความเข้าใจต่อว่า ประโยชน์ที่ว่านั้นไม่ใช่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือหากปรากฏว่าเป็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ก็มักอยู่ในรูปของประโยชน์ระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืนและจะนำมาซึ่งความเสียหายในอนาคตต่อไป ยกตัวอย่างเช่นการที่นักการเมืองบางคนใช้อิทธิพลเบียดเบียนงบประมาณจากส่วนกลางซึ่งควรจะต้องใช้พัฒนาประเทศทั้งประเทศ มาพัฒนาถนนในจังหวัดอันเป็นฐานเสียงของตนเองเพียงจังหวัดเดียว เป็นต้น
มายาคติข้อที่สองก็คือ “นักธุรกิจไทยจ่ายค่าคอร์รัปชันเพราะไร้คุณธรรม”
สืบเนื่องมาจากผลสำรวจที่ว่า “นักธุรกิจกว่าร้อยละ 70 ยอมรับว่าตนจ่ายค่าคอรัปชันบ้างไม่มากก็น้อย และในจำนวนนั้น ร้อยละ 80 คิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นและก็ได้ผลคุ้มค่า” ทำให้คนไทยหลายคนสรุปแบบเหมาจ่ายเอาง่ายๆ ว่าเพราะนักธุรกิจชั่ว จึงได้ยอมจ่ายค่าคอร์รัปชัน ทั้งที่หากพิจารณาให้ดีแล้ว ไม่ใช่นักธุรกิจทุกคนจะจ่ายค่าคอร์รัปชันเพราะความฉ้อฉลชั่วร้ายเสียทั้งหมด ยังมีนักธุรกิจเป็นจำนวนมากที่แม้เจ้าตัวไม่ต้องการจะสนับสนุนคอร์รัปชัน แต่ในเมื่อกฎหมายและระเบียบพิธีต่างๆ ของประเทศมักกำหนดให้นักธุรกิจจำเป็นต้องได้รับการอนุญาต อนุมัติ หรือการดำเนินการร้อยแปดจากฝั่งเจ้าหน้าที่ซึ่งโดยมากก็เรียกหาค่าน้ำร้อนน้ำชาทั้งสิ้น นักธุรกิจเหล่านี้จึงเท่ากับตกอยู่ในฐานะเหยื่อของการถูกขู่กรรโชกให้คอร์รัปชัน หรือการเรียกค่าไถ่โดยใช้ความอยู่รอดของธุรกิจเป็นตัวประกันอย่างไม่มีทางเลือก มิใช่การกระทำโดยสมัครใจแต่อย่างใด
ยังมีมายาคติอีกสำคัญอีกสามข้อ ซึ่งเราจะมาพูดถึงในครั้งต่อไป
บทความตอนที่ 1: มายาคติแห่งคอร์รัปชัน (1)
ทุกวันนี้วิกฤตการณ์คอร์รัปชันในเมืองไทยกำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงที่สุด
ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะองค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) จัดให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันอยู่ในระดับรั้งท้ายพอๆ กับประเทศกรีก เปรู หรือโคลัมเบีย แต่เป็นเพราะยิ่งนานวัน ก็ดูเหมือนคนไทยจะไม่เห็นคอร์รัปชันเป็น “ปัญหา” อีกต่อไป ซ้ำยังออกจะเห็นว่าเป็นปกติอย่างหนึ่งของสังคม จนทุกวันนี้การคอร์รัปชัน ไม่ได้เป็นเพียงการ “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” อันเป็นพฤติกรรมที่จำกัดอยู่ในวงราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเสียแล้ว หากแต่แผ่ซ่านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของแทบทุกคนในสังคม เป็นแม่ค้าก็โกงตาชั่งลูกค้า เป็นเทศกิจก็เรียกสินบนจากแผงลอย หรือเป็นซีอีโอก็โกงผู้ถือหุ้น ในขณะที่เป็นรัฐมนตรีก็มารีดทรัพย์เอาจากซีอีโออีกต่อหนึ่ง จนคนไทยยอมรับไปเองว่าชีวิตต้องมีคอร์รัปชันในลักษณะเดียวกันกับที่ยอมรับว่ามีรถก็ต้องใช้น้ำมัน
ทัศนคติอย่างที่ว่ามานี้ ส่วนหนึ่งเกิดมีขึ้นได้ก็เพราะในเมืองไทยยังไม่เคยมีการพูดถึงคอร์รัปชันกันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีแต่บอกว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องผิดศีลธรรม ความรู้ความเข้าใจของคนในเรื่องนี้ก็เลยไปหยุดอยู่แค่ว่า
คอร์รัปชันไม่ดี แต่ไม่ดีอย่างไรก็ไม่รู้ พอไม่รู้แล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่คนจะไม่เห็นโทษของคอร์รัปชัน และนานไปๆ ก็เลยยอมรับคอร์รัปชันได้อย่างสนิทใจอย่างทุกวันนี้
เอาเข้าจริงแม้กระทั่งปัจจุบันที่เริ่มจะมีระลอกการตื่นตัวจะสู้กับคอร์รัปชัน ก็ยังเห็นได้ว่าเรายังไม่ค่อย “กระจ่าง” เท่าใดนักว่าเราจะสู้กับคอร์รัปชันด้วยกลยุทธ์อะไร เพื่อเป้าหมายอย่างไร หรือว่าคอร์รัปชันจริงๆ แล้วคืออะไร การทำสงครามต่อสู้กับคอร์รัปชันในบ้านเราก็เลยอยู่ในสภาพงกๆ เงิ่นๆ ได้แต่ยกทัพแห่กันออกมาจากกำแพงเมืองอย่างเอิกเกริก แต่แล้วก็วิ่งกันไปคนละทิศละทาง เป็นที่น่าเหน็ดเหนื่อยใจ
โดยท่ามกลางการจับต้นชนปลายไม่ถูกนี้ สังเกตได้ว่าคนไทยมีชุดความเชื่ออยู่สี่ห้าประการ ที่สะท้อนความเข้าใจครึ่งๆ กลางๆ ของคนไทยเกี่ยวกับคอร์รัปชัน จนพอจะเรียกได้ว่าเป็น “มายาคติ”
มายาคติข้อแรกก็คือ “เป็นไปไม่ได้ที่คอร์รัปชันจะสร้างความเจริญ”
หากทุกคนจำกันได้ เคยมีสำนักโพลแห่งหนึ่งตั้งคำถามว่า "ถ้ามีการทุจริต แต่ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี และตัวท่านเองก็ได้ประโยชน์ ท่านยอมรับการทุจริตได้หรือไม่" และผลปรากฏว่าประชาชนกว่า
ร้อยละ 65 ยอมรับได้โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อย่างไรก็ดี หลังจากผลโพลออกมาอย่างนั้นก็มีคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ออกมาโต้แย้งว่าผลโพลนั้นไม่น่าเชื่อถือเพราะการตั้งคำถามของโพลมีลักษณะเป็นการเอาความเท็จเข้าชี้นำอยู่ในตัว อันจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าการคอร์รัปชันทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองได้
แต่ความเป็นจริงก็คือ ความเข้าใจที่ว่าการคอร์รัปชันทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองได้ไม่ใช่ความเท็จ ไม่ใช่ความเข้าใจที่ผิด เราควรจะต้องยอมรับว่าจริงๆ แล้วมีคอร์รัปชันชนิดที่สร้างความเจริญหรือประโยชน์ได้ เพียงแต่ก็ต้องทำความเข้าใจต่อว่า ประโยชน์ที่ว่านั้นไม่ใช่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือหากปรากฏว่าเป็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ก็มักอยู่ในรูปของประโยชน์ระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืนและจะนำมาซึ่งความเสียหายในอนาคตต่อไป ยกตัวอย่างเช่นการที่นักการเมืองบางคนใช้อิทธิพลเบียดเบียนงบประมาณจากส่วนกลางซึ่งควรจะต้องใช้พัฒนาประเทศทั้งประเทศ มาพัฒนาถนนในจังหวัดอันเป็นฐานเสียงของตนเองเพียงจังหวัดเดียว เป็นต้น
มายาคติข้อที่สองก็คือ “นักธุรกิจไทยจ่ายค่าคอร์รัปชันเพราะไร้คุณธรรม”
สืบเนื่องมาจากผลสำรวจที่ว่า “นักธุรกิจกว่าร้อยละ 70 ยอมรับว่าตนจ่ายค่าคอรัปชันบ้างไม่มากก็น้อย และในจำนวนนั้น ร้อยละ 80 คิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นและก็ได้ผลคุ้มค่า” ทำให้คนไทยหลายคนสรุปแบบเหมาจ่ายเอาง่ายๆ ว่าเพราะนักธุรกิจชั่ว จึงได้ยอมจ่ายค่าคอร์รัปชัน ทั้งที่หากพิจารณาให้ดีแล้ว ไม่ใช่นักธุรกิจทุกคนจะจ่ายค่าคอร์รัปชันเพราะความฉ้อฉลชั่วร้ายเสียทั้งหมด ยังมีนักธุรกิจเป็นจำนวนมากที่แม้เจ้าตัวไม่ต้องการจะสนับสนุนคอร์รัปชัน แต่ในเมื่อกฎหมายและระเบียบพิธีต่างๆ ของประเทศมักกำหนดให้นักธุรกิจจำเป็นต้องได้รับการอนุญาต อนุมัติ หรือการดำเนินการร้อยแปดจากฝั่งเจ้าหน้าที่ซึ่งโดยมากก็เรียกหาค่าน้ำร้อนน้ำชาทั้งสิ้น นักธุรกิจเหล่านี้จึงเท่ากับตกอยู่ในฐานะเหยื่อของการถูกขู่กรรโชกให้คอร์รัปชัน หรือการเรียกค่าไถ่โดยใช้ความอยู่รอดของธุรกิจเป็นตัวประกันอย่างไม่มีทางเลือก มิใช่การกระทำโดยสมัครใจแต่อย่างใด
ยังมีมายาคติอีกสำคัญอีกสามข้อ ซึ่งเราจะมาพูดถึงในครั้งต่อไป
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 2
บทความตอนที่ 2: มายาคติแห่งคอร์รัปชัน (2)
บทความตอนที่แล้วได้กล่าวถึงมายาคติที่สะท้อนความเข้าใจครึ่งๆ กลางๆ ของคนไทยเกี่ยวกับคอร์รัปชันไปบางส่วน คือมายาคติที่ว่า “เป็นไปไม่ได้ที่คอร์รัปชันจะสร้างความเจริญ” และ “นักธุรกิจไทยจ่ายค่าคอร์รัปชันเพราะไร้คุณธรรม” ในตอนนี้จึงจะกล่าวถึงมายาคติข้อต่อไป
มายาคติข้อที่สามก็คือ “ข้าราชการเงินเดือนไม่พอประทังชีพ ดังนั้นต้องคอร์รัปชัน”
ข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ของข้าราชการไม่ว่าจะข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมืองนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ในสังคมทำให้ดูผิวเผินเหมือนกับว่ามายาคติข้อนี้เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม ในเมื่อข้อมูลตัวเลขแสดงให้เห็นว่ามีการปรับเงินเดือนข้าราชการประจำในอัตราที่ค่อนข้างดีมาโดยตลอดในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (และข้าราชการการเมืองก็หาเรื่องขึ้นเงินเดือนตัวเองอยู่บ่อยๆ) แต่กลับไม่ปรากฏว่าอัตราคอร์รัปชันในหมู่ข้าราชการจะยอมแพ้แก่เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นนี้แต่อย่างใด มิหนำซ้ำบางทียังมีข่าวข้าราชการบางท่านคอร์รัปชัน “ประทังชีพ” จนเงินทะลักตู้เสื้อผ้าให้ได้ยินได้ฟังกันอีก จึงทำให้ควรเชื่อว่าการเพิ่มรายได้ให้กับข้าราชการและนักการเมือง ไม่ใช่วิธีที่จะหยุดยั้งพฤติกรรมคอร์รัปชันลงได้ เนื่องจากเอาเข้าจริงแล้วข้าราชการที่คอร์รัปชันนั้นไม่ได้ทำไปเพราะเงินเดือนหลวงไม่พอซื้อข้าว แต่เป็นเพราะเงินเดือนหลวงนั้นใช้ซื้อคอนโด หรือซื้อรถแพงๆ ใช้ไม่ได้อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ต่างหาก
มายาคติข้อที่สี่ก็คือ “ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มีการคอร์รัปชัน แต่อยู่ที่มีการคอร์รัปชันมากเกินสมควร”
เนื่องจากกระทั่งประเทศที่ดีที่สุดในโลก ก็ไม่ได้รับคะแนนเต็ม 10 จากดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ทำให้คนบางส่วนเกิดความรู้สึกว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก และปัญหาของเมืองไทยก็เป็นเพียงแต่ว่าระดับของคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นจนมากเกินสมควรเท่านั้น ดังนั้น คนเหล่านี้จึงเห็นว่าการจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ใช่เรื่องของการกำจัดกวาดล้าง แต่เป็นเพียงการควบคุมคอร์รัปชันให้อยู่ในขนาดที่ “กำลังดี” เท่านั้น อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นว่าการที่ประเทศใดจะมีระดับคอร์รัปชันต่ำ มิใช่เกิดขึ้นเพราะประเทศเหล่านั้นสามารถคุมให้การคอร์รัปชันอยู่ในระดับพอหอมปากหอมคอได้ แต่เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นไม่ยอมรับคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ทำให้แม้สุดท้ายจะไม่เกิดความสำเร็จครบร้อยเปอร์เซนต์ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะดีพอจะระงับการคอร์รัปชันของประเทศให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะพึงเป็นไปได้ต่างหาก
ส่วนมายาคติข้อสุดท้ายก็คือ “คอร์รัปชันหยั่งรากลึก จนป่วยการที่จะต่อต้าน”
มายาคติข้อนี้มาจากความเชื่อว่าคอรัปชันเป็นวัฒนธรรมอันหยั่งรากลึกในสังคมไทยทุกระดับตั้งแต่โบราณกาลมา ไม่มีทางที่จะขุดถอนได้สำเร็จ การต่อสู้กับคอร์รัปชันจึงรังแต่เป็นการฝืนครรลอง และปั่นป่วนระบบ ไม่สู้การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมหรือหาประโยชน์จากมันให้ได้จะดีกว่า แต่มายาคติข้อนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับอธิบายแก้ไขอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องของความเข้าใจผิดถูก เป็นเพียงแต่เรื่องของมิจฉาทิฐิที่มาจากนิสัยเห็นแก่ได้ มักง่าย และเข้าข้างตนเองของคนบางส่วนเท่านั้นเอง ถ้าเลิกเสียได้ ก็จะหลุดพ้นมายาคติข้อนี้เอง
อย่างไรก็ตาม มายาคติทั้งหมดดังได้กล่าวมาข้างต้นถือเป็นอุปสรรคด่านแรกของการต่อสู้กับคอร์รัปชัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราทั้งหลายจะต้องมองมายาคติเหล่านี้ให้ออกโดยเร็วไว เพื่อที่ว่าสังคมจะได้เกิดฉันทามติ อันจะนำไปสู่การผนึกกำลังทุกภาคส่วนในการจัดทรัพยากร กำหนดกลยุทธ์ตลอดจนวางกระบวนทัพเพื่อเข้าสู่การโรมรันสงครามกับคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และทำให้การต่อสู้กับคอร์รัปชันเป็น “วาระแห่งชาติ” ของคนในประเทศร่วมกันได้อย่างแท้จริง
บทความตอนที่แล้วได้กล่าวถึงมายาคติที่สะท้อนความเข้าใจครึ่งๆ กลางๆ ของคนไทยเกี่ยวกับคอร์รัปชันไปบางส่วน คือมายาคติที่ว่า “เป็นไปไม่ได้ที่คอร์รัปชันจะสร้างความเจริญ” และ “นักธุรกิจไทยจ่ายค่าคอร์รัปชันเพราะไร้คุณธรรม” ในตอนนี้จึงจะกล่าวถึงมายาคติข้อต่อไป
มายาคติข้อที่สามก็คือ “ข้าราชการเงินเดือนไม่พอประทังชีพ ดังนั้นต้องคอร์รัปชัน”
ข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ของข้าราชการไม่ว่าจะข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมืองนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ในสังคมทำให้ดูผิวเผินเหมือนกับว่ามายาคติข้อนี้เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม ในเมื่อข้อมูลตัวเลขแสดงให้เห็นว่ามีการปรับเงินเดือนข้าราชการประจำในอัตราที่ค่อนข้างดีมาโดยตลอดในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (และข้าราชการการเมืองก็หาเรื่องขึ้นเงินเดือนตัวเองอยู่บ่อยๆ) แต่กลับไม่ปรากฏว่าอัตราคอร์รัปชันในหมู่ข้าราชการจะยอมแพ้แก่เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นนี้แต่อย่างใด มิหนำซ้ำบางทียังมีข่าวข้าราชการบางท่านคอร์รัปชัน “ประทังชีพ” จนเงินทะลักตู้เสื้อผ้าให้ได้ยินได้ฟังกันอีก จึงทำให้ควรเชื่อว่าการเพิ่มรายได้ให้กับข้าราชการและนักการเมือง ไม่ใช่วิธีที่จะหยุดยั้งพฤติกรรมคอร์รัปชันลงได้ เนื่องจากเอาเข้าจริงแล้วข้าราชการที่คอร์รัปชันนั้นไม่ได้ทำไปเพราะเงินเดือนหลวงไม่พอซื้อข้าว แต่เป็นเพราะเงินเดือนหลวงนั้นใช้ซื้อคอนโด หรือซื้อรถแพงๆ ใช้ไม่ได้อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ต่างหาก
มายาคติข้อที่สี่ก็คือ “ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มีการคอร์รัปชัน แต่อยู่ที่มีการคอร์รัปชันมากเกินสมควร”
เนื่องจากกระทั่งประเทศที่ดีที่สุดในโลก ก็ไม่ได้รับคะแนนเต็ม 10 จากดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ทำให้คนบางส่วนเกิดความรู้สึกว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก และปัญหาของเมืองไทยก็เป็นเพียงแต่ว่าระดับของคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นจนมากเกินสมควรเท่านั้น ดังนั้น คนเหล่านี้จึงเห็นว่าการจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ใช่เรื่องของการกำจัดกวาดล้าง แต่เป็นเพียงการควบคุมคอร์รัปชันให้อยู่ในขนาดที่ “กำลังดี” เท่านั้น อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นว่าการที่ประเทศใดจะมีระดับคอร์รัปชันต่ำ มิใช่เกิดขึ้นเพราะประเทศเหล่านั้นสามารถคุมให้การคอร์รัปชันอยู่ในระดับพอหอมปากหอมคอได้ แต่เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นไม่ยอมรับคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ทำให้แม้สุดท้ายจะไม่เกิดความสำเร็จครบร้อยเปอร์เซนต์ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะดีพอจะระงับการคอร์รัปชันของประเทศให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะพึงเป็นไปได้ต่างหาก
ส่วนมายาคติข้อสุดท้ายก็คือ “คอร์รัปชันหยั่งรากลึก จนป่วยการที่จะต่อต้าน”
มายาคติข้อนี้มาจากความเชื่อว่าคอรัปชันเป็นวัฒนธรรมอันหยั่งรากลึกในสังคมไทยทุกระดับตั้งแต่โบราณกาลมา ไม่มีทางที่จะขุดถอนได้สำเร็จ การต่อสู้กับคอร์รัปชันจึงรังแต่เป็นการฝืนครรลอง และปั่นป่วนระบบ ไม่สู้การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมหรือหาประโยชน์จากมันให้ได้จะดีกว่า แต่มายาคติข้อนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับอธิบายแก้ไขอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องของความเข้าใจผิดถูก เป็นเพียงแต่เรื่องของมิจฉาทิฐิที่มาจากนิสัยเห็นแก่ได้ มักง่าย และเข้าข้างตนเองของคนบางส่วนเท่านั้นเอง ถ้าเลิกเสียได้ ก็จะหลุดพ้นมายาคติข้อนี้เอง
อย่างไรก็ตาม มายาคติทั้งหมดดังได้กล่าวมาข้างต้นถือเป็นอุปสรรคด่านแรกของการต่อสู้กับคอร์รัปชัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราทั้งหลายจะต้องมองมายาคติเหล่านี้ให้ออกโดยเร็วไว เพื่อที่ว่าสังคมจะได้เกิดฉันทามติ อันจะนำไปสู่การผนึกกำลังทุกภาคส่วนในการจัดทรัพยากร กำหนดกลยุทธ์ตลอดจนวางกระบวนทัพเพื่อเข้าสู่การโรมรันสงครามกับคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และทำให้การต่อสู้กับคอร์รัปชันเป็น “วาระแห่งชาติ” ของคนในประเทศร่วมกันได้อย่างแท้จริง
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 3
บทความตอนที่ 3: คอร์รัปชัน 3 ประเภท (1)
เมื่อได้กล่าวถึงมายาคติหรือความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคอร์รัปชันในตอนที่แล้วไปแล้ว ลำดับต่อไปก็อยากจะให้พิจารณากันถึงประเภทของคอร์รัปชันบ้าง
เพราะคำว่าคอร์รัปชันในเมืองไทยนั้น มีความหมายกว้างไกล กรรมการยักยอกเงินบริษัทก็คอร์รัปชัน เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างก็คอร์รัปชัน ตำรวจเรียกสินบนเพื่อไม่ต้องให้ตรวจจับแอลกอฮอล์ก็คอร์รัปชัน ขึ้นชื่อว่าพฤติกรรมที่ทุจริตแล้ว ดูเหมือนคนไทยก็จะเรียกคอร์รัปชันหมด ในขณะที่คำจำกัดความที่เป็นสากลเองก็ระบุไว้แต่กว้างๆ ว่า การคอร์รัปชันคือ “กระบวนการบิดเบือนอำนาจโดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การเรียกคอร์รัปชันอย่างรวมๆ กันไปเช่นนี้ ไม่เอื้อต่อการปราบปรามคอร์รัปชัน เพราะคอร์รัปชันนั้นความจริงยังพอเป็นประเภทได้อีก ซึ่งแต่ละประเภทก็มีที่มาที่ไปต่างกัน มีคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องต่างกลุ่มกัน จนชั้นที่สุดการจะปราบปราบก็อาจจะต้องใช้วิธีที่ต่างกันไปเลยทั้งสิ้น ในความเห็นของผม คอร์รัปชันนั้นพอจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
ประเภทแรก ก็คือ คอร์รัปชันในภาคเอกชน หรือพูดง่ายๆ ก็คือเอกชนโกงกันเอง เช่น การฉ้อฉลคดโกงระหว่างคู่ค้าคู่สัญญา พนักงานผู้บริหารโกงบริษัท หรือผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ฉ้อฉลเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่น
คอร์รัปชันประเภทแรกนี้ แม้จะเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่สู้น่ากลัวมากนัก ด้วยเหตุที่ว่าเวลาเอกชนโกงเอกชนนั้น ผู้ส่วนได้เสียโดยตรงกล่าวคือฝ่ายที่ถูกโกงย่อมเป็นเดือดเป็นร้อน และคอยเอาธุระสอดส่องดูแลรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง คนจะโกงจึงทำไม่ได้โดยง่าย นอกจากนั้นกระบวนการทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยรองรับการระงับควบคุมการโกงในระหว่างเอกชนนี้ได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ยังมีคอร์รัปชันในภาคเอกชนบางประเภท ซึ่งฝ่ายที่ถูกโกงนั้นเป็นประชาชนโดยทั่วไป จึงก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างยิ่งกว่าปกติ กล่าวคือการหลอกลวงผู้บริโภค (เช่น การจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน แชร์ลูกโซ่ การรับหางานเท็จ) ประการหนึ่ง และ การหลอกลวงนักลงทุน (เช่นการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือผู้บริหารบริษัทมหาชนหลอกลวงเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่น โดยการใช้ข้อมูลภายใน) อีกประการหนึ่ง ซึ่งการหลอกลวงผู้บริโภคและนักลงทุนอย่างที่ว่ามานี้ ยังจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบตลอดจนการบังคับใช้เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาอีกมาก
ประเภทที่สอง คือ คอร์รัปชันในภาครัฐ หรือจะเรียกว่าการ “บังหลวง” ก็ได้ การทุจริตในประเภทนี้จะเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของรัฐโดยตรง โดยผู้ทำก็คือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรู้และชำนาญกฎระเบียบจนพอที่จะเห็นช่องทางให้ตนเอาเงิน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่เป็นของหลวงมาเป็นของตนได้ เช่นการใช้ใบเสร็จที่เป็นเท็จในการเบิกเงินจากหลวง การออกใบรับรองสิทธิหรือโฉนดที่ดินสาธารณะให้แก่ตนเองและพรรคพวกอย่างไม่ถูกต้อง ไปจนถึงการฉ้อฉลงบประมาณแผ่นดินเลยทีเดียว คอร์รัปชันในประเภทนี้ก็นับว่าร้าย แต่ดีที่กฎระเบียบและพัฒนาการของกระบวนการทางสังคม ยังพอติดตามตรวจสอบและระงับยับยั้งกิจกรรมประเภทนี้ได้ดีขึ้นตามสมควร
อย่างไรก็ตาม คอร์รัปชันประเภทที่ระบาดกว้างขวาง และสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุดในปัจจุบัน และเป็นประเภทที่ควรจะได้รับความสนใจอย่างเร่งด่วน ก็คือคอร์รัปชันประเภทสุดท้าย อันได้แก่ คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐ
ทั้งนี้เป็นเพราะ ความเสียหายที่เกิดจากคอร์รัปชันสองประเภทแรกนั้น จะอย่างไรเสียก็มักเป็นความเสียหายเฉพาะกรณีเป็นครั้งคราว จะโกงกันทีละกี่ร้อยล้านก็แล้วไป ในขณะที่ความเสียหายจากคอร์รัปชันประเภทสุดท้าย นอกจากจะเกิดเฉพาะแก่กรณีแล้ว ยังเป็นมีลักษณะเป็นความเสียหายเชิงโครงสร้างที่กระทบไปถึงความมีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งในระยะยาวจะทำความเสียหายให้กับประเทศมากกว่าตัวเงินที่ถูกโกงมากนัก
โดยการทุจริตประเภทนี้ ในทุกกรณีจะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือสองฝ่าย คือฝ่ายเอกชนผู้จ่ายสินบน เพื่อ “ซื้อ” ประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายผู้รับ ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐผู้ที่อยู่ในฐานะจะ “ขาย” หรือเอื้อประโยชน์เช่นนั้นได้ อีกฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ในคอร์รัปชันประเภทสุดท้ายนี้ยังมีความแตกต่างกันในรายละเอียด และต้องมีการจำแนกย่อยลงไปอีกเป็นสามประเภท กล่าวคือ หนึ่ง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความไม่ผิด” สอง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความสะดวก” และสาม คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความได้เปรียบในการแข่งขัน”
ซึ่งเราจะมาวิเคราะห์กันต่อในตอนหน้า
เมื่อได้กล่าวถึงมายาคติหรือความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคอร์รัปชันในตอนที่แล้วไปแล้ว ลำดับต่อไปก็อยากจะให้พิจารณากันถึงประเภทของคอร์รัปชันบ้าง
เพราะคำว่าคอร์รัปชันในเมืองไทยนั้น มีความหมายกว้างไกล กรรมการยักยอกเงินบริษัทก็คอร์รัปชัน เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างก็คอร์รัปชัน ตำรวจเรียกสินบนเพื่อไม่ต้องให้ตรวจจับแอลกอฮอล์ก็คอร์รัปชัน ขึ้นชื่อว่าพฤติกรรมที่ทุจริตแล้ว ดูเหมือนคนไทยก็จะเรียกคอร์รัปชันหมด ในขณะที่คำจำกัดความที่เป็นสากลเองก็ระบุไว้แต่กว้างๆ ว่า การคอร์รัปชันคือ “กระบวนการบิดเบือนอำนาจโดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การเรียกคอร์รัปชันอย่างรวมๆ กันไปเช่นนี้ ไม่เอื้อต่อการปราบปรามคอร์รัปชัน เพราะคอร์รัปชันนั้นความจริงยังพอเป็นประเภทได้อีก ซึ่งแต่ละประเภทก็มีที่มาที่ไปต่างกัน มีคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องต่างกลุ่มกัน จนชั้นที่สุดการจะปราบปราบก็อาจจะต้องใช้วิธีที่ต่างกันไปเลยทั้งสิ้น ในความเห็นของผม คอร์รัปชันนั้นพอจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
ประเภทแรก ก็คือ คอร์รัปชันในภาคเอกชน หรือพูดง่ายๆ ก็คือเอกชนโกงกันเอง เช่น การฉ้อฉลคดโกงระหว่างคู่ค้าคู่สัญญา พนักงานผู้บริหารโกงบริษัท หรือผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ฉ้อฉลเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่น
คอร์รัปชันประเภทแรกนี้ แม้จะเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่สู้น่ากลัวมากนัก ด้วยเหตุที่ว่าเวลาเอกชนโกงเอกชนนั้น ผู้ส่วนได้เสียโดยตรงกล่าวคือฝ่ายที่ถูกโกงย่อมเป็นเดือดเป็นร้อน และคอยเอาธุระสอดส่องดูแลรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง คนจะโกงจึงทำไม่ได้โดยง่าย นอกจากนั้นกระบวนการทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยรองรับการระงับควบคุมการโกงในระหว่างเอกชนนี้ได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ยังมีคอร์รัปชันในภาคเอกชนบางประเภท ซึ่งฝ่ายที่ถูกโกงนั้นเป็นประชาชนโดยทั่วไป จึงก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างยิ่งกว่าปกติ กล่าวคือการหลอกลวงผู้บริโภค (เช่น การจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน แชร์ลูกโซ่ การรับหางานเท็จ) ประการหนึ่ง และ การหลอกลวงนักลงทุน (เช่นการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือผู้บริหารบริษัทมหาชนหลอกลวงเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่น โดยการใช้ข้อมูลภายใน) อีกประการหนึ่ง ซึ่งการหลอกลวงผู้บริโภคและนักลงทุนอย่างที่ว่ามานี้ ยังจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบตลอดจนการบังคับใช้เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาอีกมาก
ประเภทที่สอง คือ คอร์รัปชันในภาครัฐ หรือจะเรียกว่าการ “บังหลวง” ก็ได้ การทุจริตในประเภทนี้จะเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของรัฐโดยตรง โดยผู้ทำก็คือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรู้และชำนาญกฎระเบียบจนพอที่จะเห็นช่องทางให้ตนเอาเงิน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่เป็นของหลวงมาเป็นของตนได้ เช่นการใช้ใบเสร็จที่เป็นเท็จในการเบิกเงินจากหลวง การออกใบรับรองสิทธิหรือโฉนดที่ดินสาธารณะให้แก่ตนเองและพรรคพวกอย่างไม่ถูกต้อง ไปจนถึงการฉ้อฉลงบประมาณแผ่นดินเลยทีเดียว คอร์รัปชันในประเภทนี้ก็นับว่าร้าย แต่ดีที่กฎระเบียบและพัฒนาการของกระบวนการทางสังคม ยังพอติดตามตรวจสอบและระงับยับยั้งกิจกรรมประเภทนี้ได้ดีขึ้นตามสมควร
อย่างไรก็ตาม คอร์รัปชันประเภทที่ระบาดกว้างขวาง และสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุดในปัจจุบัน และเป็นประเภทที่ควรจะได้รับความสนใจอย่างเร่งด่วน ก็คือคอร์รัปชันประเภทสุดท้าย อันได้แก่ คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐ
ทั้งนี้เป็นเพราะ ความเสียหายที่เกิดจากคอร์รัปชันสองประเภทแรกนั้น จะอย่างไรเสียก็มักเป็นความเสียหายเฉพาะกรณีเป็นครั้งคราว จะโกงกันทีละกี่ร้อยล้านก็แล้วไป ในขณะที่ความเสียหายจากคอร์รัปชันประเภทสุดท้าย นอกจากจะเกิดเฉพาะแก่กรณีแล้ว ยังเป็นมีลักษณะเป็นความเสียหายเชิงโครงสร้างที่กระทบไปถึงความมีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งในระยะยาวจะทำความเสียหายให้กับประเทศมากกว่าตัวเงินที่ถูกโกงมากนัก
โดยการทุจริตประเภทนี้ ในทุกกรณีจะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือสองฝ่าย คือฝ่ายเอกชนผู้จ่ายสินบน เพื่อ “ซื้อ” ประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายผู้รับ ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐผู้ที่อยู่ในฐานะจะ “ขาย” หรือเอื้อประโยชน์เช่นนั้นได้ อีกฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ในคอร์รัปชันประเภทสุดท้ายนี้ยังมีความแตกต่างกันในรายละเอียด และต้องมีการจำแนกย่อยลงไปอีกเป็นสามประเภท กล่าวคือ หนึ่ง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความไม่ผิด” สอง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความสะดวก” และสาม คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความได้เปรียบในการแข่งขัน”
ซึ่งเราจะมาวิเคราะห์กันต่อในตอนหน้า
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 4
บทความตอนที่ 4: คอร์รัปชัน 3 ประเภท (2)
เมื่อตอนที่แล้วได้กล่าวถึงคอร์รัปชันสามประเภท กล่าวคือคอร์รัปชันในภาคเอกชน คอร์รัปชันในภาครัฐ และคอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐ ทั้งบอกด้วยว่าคอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐนั้นเป็นคอร์รัปชันประเภทที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด และควรจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ
โดยคอร์รัปชันประเภทที่ภาคเอกชนทำกับภาครัฐที่ว่านั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสามกลุ่ม ดังนี้
หนึ่ง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความไม่ผิด”
กล่าวคือการจ่ายสินบน เพื่อบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม ผู้ที่ซื้อหาในกรณีนี้ส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งใช้สินบนเป็นช่องทางในการพาตนให้พ้นผิด หรืออย่างน้อยก็ได้รับผลในทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ตนโดยมิชอบ โดยการซื้อหานี้ อาจทำได้ตลอดกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ซื้อกับตำรวจ อัยการ เรื่อยไปจนกระทั่งถึงศาล นอกจากนั้น ยังรวมถึงพวกที่ความจริงแล้วไม่ได้มีความผิดเลย แต่เมื่อมีเหตุจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ก็ยอมจ่ายสินบน เพื่อให้พ้นจากกระบวนการซึ่งเป็นที่มาของคำพูดว่า “กินขี้ดีกว่าเป็นความ” เพราะรู้กันอยู่ว่าเต็มไปด้วยความยุ่งยากซับซ้อน สิ้นเปลืองเวลา และอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อกิจการและสวัสดิภาพส่วนตนของผู้ที่ต้องเข้าไปข้องเกี่ยวได้ง่ายๆ
สอง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความสะดวก”
กล่าวคือ การที่เอกชนจ่ายสินบนเพื่อลดอุปสรรคอันเกิดจากระเบียบพิธีการและขั้นตอนของทางราชการ ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ภาคเอกชนหรือแม้กระทั่งชาวบ้านทั่วไป ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุญาต หรือการบริการจากทางภาครัฐทั้งสิ้นไม่น้อยเรื่องก็หลายเรื่อง เช่น งานขอใบอนุญาตก่อสร้าง งานระเบียบพิธีการศุลกากร งานสรรพากร งานที่ดิน งานจดทะเบียน งานแปลงสัญชาติคนต่างด้าว ฯลฯ ในขณะที่ทางราชการกลับมีระเบียบพิธีการและขั้นตอนที่ยุ่งยากและกินเวลามาก เจ้าหน้าที่ก็ไม่ค่อยจะเป็นใจอำนวยความสะดวก หลายครั้งเอกชนที่ไม่ต้องการจะเสียการทำมาหากินด้วยความยุ่งยากเหล่านี้ จึงต้องตัดปัญหาด้วยการติดสินบนหรือจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาเจ้าหน้าที่เพื่อให้ขวนขวายดำเนินการให้กับตนโดยไม่ชักช้า จนกลายเป็นว่าถ้าต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการติดต่อกับทางราชการ ก็จะต้องทำโดยการคอร์รัปชันอย่างเดียวเท่านั้น
การที่เอกชนต้องจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาอย่างนี้ ถึงจะดูเป็นการสมประโยชน์ทั้งแก่รัฐและเอกชน แต่สำหรับประเทศแล้วถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและบ่อนทำลายอย่างยิ่ง เพราะการจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชานั้นถือต้นทุนอย่างสูงของภาคธุรกิจ แต่กลับเป็นต้นทุนที่ไม่ได้ไปเพิ่มคุณค่าในทางเศรษฐกิจอย่างใดเลย มีแต่ไปเลี้ยงข้าราชการโกงๆ เท่านั้น และโดยเหตุที่หากคอร์รัปชันยังงอกงาม ต้นทุนนี้ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ท้ายที่สุดเงินที่ต้องไปเลี้ยงข้าราชการก็อาจมากกว่าเงินที่ใช้เลี้ยงกิจการ จนธุรกิจต้องล่มจมหรืออย่างน้อยๆ ก็เลี้ยงไม่โต หรือถ้าหากเลี้ยงโตก็แปลว่าต้นทุนที่ว่าต้องถูกผลักมาให้เป็นกรรมของผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
สาม คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความได้เปรียบในการแข่งขัน”
กล่าวคือ การที่ภาคเอกชนจ่ายเงินมิชอบเพื่อให้ตนได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ โดยไม่ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพในกิจการของตัวเอง เช่น การจ่ายเงินเพื่อล็อคสเป็คในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้ซื้อของของตนแทนที่จะซื้อจากคู่แข่ง หรือการจ่ายเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งสัมปทานสำหรับกิจการผูกขาดบางประเภท เป็นต้น
ในบรรดาที่กล่าวมา คอร์รัปชันในกรณีนี้ถือว่าชั่วร้ายที่สุด เพราะเป็นการที่เอกชนจ่ายเงินมิชอบ มิใช่เพียงเพื่อตัดความยุ่งยากในการทำธุรกิจ แต่เพื่อ “ล้มมวย” ให้ตนชนะคู่ต่อสู้โดยไม่ใช้ฝีมือเลยทีเดียว นับเป็นการทำลายการแข่งขันของตลาดเสรีที่ปกติย่อมจะให้รางวัลแก่ผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพ และกำจัดผู้ผลิตที่ด้อยประสิทธิภาพ และตรงกันข้าม กลับทำให้ผู้ผลิตที่ด้อยประสิทธิภาพสามารถรุ่งเรืองได้โดยไม่ต้องมีการพัฒนาเพราะสามารถใช้คอร์รัปชันกำจัดคู่แข่งได้อยู่แล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ ไม่ช้าบริษัทห้างร้านทั้งหลายก็จะพากันเลิกวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งย่อมทำให้การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเป็นไปไม่ได้ ที่สุดแล้ว พัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศก็จะต้องหยุดชะงัก
แน่นอน เมื่อปราศจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจเสียแล้ว ความเจริญทั้งหลายของประเทศก็ดูจะหวังได้ยากทั้งนั้น
เมื่อตอนที่แล้วได้กล่าวถึงคอร์รัปชันสามประเภท กล่าวคือคอร์รัปชันในภาคเอกชน คอร์รัปชันในภาครัฐ และคอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐ ทั้งบอกด้วยว่าคอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐนั้นเป็นคอร์รัปชันประเภทที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด และควรจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ
โดยคอร์รัปชันประเภทที่ภาคเอกชนทำกับภาครัฐที่ว่านั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสามกลุ่ม ดังนี้
หนึ่ง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความไม่ผิด”
กล่าวคือการจ่ายสินบน เพื่อบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม ผู้ที่ซื้อหาในกรณีนี้ส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งใช้สินบนเป็นช่องทางในการพาตนให้พ้นผิด หรืออย่างน้อยก็ได้รับผลในทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ตนโดยมิชอบ โดยการซื้อหานี้ อาจทำได้ตลอดกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ซื้อกับตำรวจ อัยการ เรื่อยไปจนกระทั่งถึงศาล นอกจากนั้น ยังรวมถึงพวกที่ความจริงแล้วไม่ได้มีความผิดเลย แต่เมื่อมีเหตุจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ก็ยอมจ่ายสินบน เพื่อให้พ้นจากกระบวนการซึ่งเป็นที่มาของคำพูดว่า “กินขี้ดีกว่าเป็นความ” เพราะรู้กันอยู่ว่าเต็มไปด้วยความยุ่งยากซับซ้อน สิ้นเปลืองเวลา และอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อกิจการและสวัสดิภาพส่วนตนของผู้ที่ต้องเข้าไปข้องเกี่ยวได้ง่ายๆ
สอง คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความสะดวก”
กล่าวคือ การที่เอกชนจ่ายสินบนเพื่อลดอุปสรรคอันเกิดจากระเบียบพิธีการและขั้นตอนของทางราชการ ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ภาคเอกชนหรือแม้กระทั่งชาวบ้านทั่วไป ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุญาต หรือการบริการจากทางภาครัฐทั้งสิ้นไม่น้อยเรื่องก็หลายเรื่อง เช่น งานขอใบอนุญาตก่อสร้าง งานระเบียบพิธีการศุลกากร งานสรรพากร งานที่ดิน งานจดทะเบียน งานแปลงสัญชาติคนต่างด้าว ฯลฯ ในขณะที่ทางราชการกลับมีระเบียบพิธีการและขั้นตอนที่ยุ่งยากและกินเวลามาก เจ้าหน้าที่ก็ไม่ค่อยจะเป็นใจอำนวยความสะดวก หลายครั้งเอกชนที่ไม่ต้องการจะเสียการทำมาหากินด้วยความยุ่งยากเหล่านี้ จึงต้องตัดปัญหาด้วยการติดสินบนหรือจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาเจ้าหน้าที่เพื่อให้ขวนขวายดำเนินการให้กับตนโดยไม่ชักช้า จนกลายเป็นว่าถ้าต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการติดต่อกับทางราชการ ก็จะต้องทำโดยการคอร์รัปชันอย่างเดียวเท่านั้น
การที่เอกชนต้องจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาอย่างนี้ ถึงจะดูเป็นการสมประโยชน์ทั้งแก่รัฐและเอกชน แต่สำหรับประเทศแล้วถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและบ่อนทำลายอย่างยิ่ง เพราะการจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชานั้นถือต้นทุนอย่างสูงของภาคธุรกิจ แต่กลับเป็นต้นทุนที่ไม่ได้ไปเพิ่มคุณค่าในทางเศรษฐกิจอย่างใดเลย มีแต่ไปเลี้ยงข้าราชการโกงๆ เท่านั้น และโดยเหตุที่หากคอร์รัปชันยังงอกงาม ต้นทุนนี้ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ท้ายที่สุดเงินที่ต้องไปเลี้ยงข้าราชการก็อาจมากกว่าเงินที่ใช้เลี้ยงกิจการ จนธุรกิจต้องล่มจมหรืออย่างน้อยๆ ก็เลี้ยงไม่โต หรือถ้าหากเลี้ยงโตก็แปลว่าต้นทุนที่ว่าต้องถูกผลักมาให้เป็นกรรมของผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
สาม คอร์รัปชันซึ่งภาคเอกชนทำกับภาครัฐเพื่อ “ซื้อหาความได้เปรียบในการแข่งขัน”
กล่าวคือ การที่ภาคเอกชนจ่ายเงินมิชอบเพื่อให้ตนได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ โดยไม่ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพในกิจการของตัวเอง เช่น การจ่ายเงินเพื่อล็อคสเป็คในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้ซื้อของของตนแทนที่จะซื้อจากคู่แข่ง หรือการจ่ายเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งสัมปทานสำหรับกิจการผูกขาดบางประเภท เป็นต้น
ในบรรดาที่กล่าวมา คอร์รัปชันในกรณีนี้ถือว่าชั่วร้ายที่สุด เพราะเป็นการที่เอกชนจ่ายเงินมิชอบ มิใช่เพียงเพื่อตัดความยุ่งยากในการทำธุรกิจ แต่เพื่อ “ล้มมวย” ให้ตนชนะคู่ต่อสู้โดยไม่ใช้ฝีมือเลยทีเดียว นับเป็นการทำลายการแข่งขันของตลาดเสรีที่ปกติย่อมจะให้รางวัลแก่ผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพ และกำจัดผู้ผลิตที่ด้อยประสิทธิภาพ และตรงกันข้าม กลับทำให้ผู้ผลิตที่ด้อยประสิทธิภาพสามารถรุ่งเรืองได้โดยไม่ต้องมีการพัฒนาเพราะสามารถใช้คอร์รัปชันกำจัดคู่แข่งได้อยู่แล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ ไม่ช้าบริษัทห้างร้านทั้งหลายก็จะพากันเลิกวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งย่อมทำให้การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเป็นไปไม่ได้ ที่สุดแล้ว พัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศก็จะต้องหยุดชะงัก
แน่นอน เมื่อปราศจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจเสียแล้ว ความเจริญทั้งหลายของประเทศก็ดูจะหวังได้ยากทั้งนั้น
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 5
บทความตอนที่ 5: เคล็ดลับ...คอร์รัปชัน (1)
หนึ่งในความยากลำบากในการปราบปรามคอร์รัปชันก็คือ นานวันไปคอร์รัปชันก็ยิ่งมีพัฒนาการจนลึกซึ้ง แนบเนียน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นแค่การแอบรับเงินใต้โต๊ะ ก็กลายมาเป็นถึงขั้นโกงในระดับการวางงบประมาณ ซึ่งยากแก่การตรวจสอบ เรียกได้ว่า คอร์รัปชันเป็นหลักพันหลักหมื่นล้านนั้น ถ้าทำกันอย่างเป็นๆ แล้ว บางทีคนยังดูกันไม่ออก นึกว่าเป็นเรื่องปรกติทางการงบประมาณก็มี
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาทำความเข้าใจกันถึง “กลยุทธ์” ของการคอร์รัปชัน กล่าวคือองค์ประกอบที่ทำให้การคอร์รัปชันในสมัยใหม่นี้มีประสิทธิภาพ และยากแก่การตรวจจับ เพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ทันกลยุทธ์เหล่านี้ และสามารถสังเกตความไม่ชอบมาพากลอันเกิดจากคอร์รัปชันได้มากขึ้น กลยุทธ์ของการคอร์รัปชันนั้นมีดังต่อไปนี้
หนึ่ง การคอร์รัปชันนั้นจะต้องมีผลเป็นการ “ได้กระจุก-เสียกระจาย”
สังเกตได้ว่าการคอร์รัปชันที่ประสบความสำเร็จนั้นมีลักษณะร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือจะเป็นการทำให้คนส่วนน้อยซึ่งกระจุกอยู่เพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ (เช่นตัวนักการเมืองที่คอร์รัปชัน หรือข้าราชการที่นักการเมืองที่คอร์รัปชันนั้นเอาเงินไปแจก) ในขณะที่คนเสียประโยชน์นั้นมักจะกระจายอยู่ทั่วไป ไม่กระจุกอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ทั้งนี้ก็เพราะลักษณะอย่างนี้เอื้อต่อการอำพรางคอร์รัปชัน เนื่องจากต้นทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากคอร์รัปชันจะถูกแบกรับโดยผู้เสียประโยชน์ซึ่งกระจัดกระจายอยู่นั้นอย่างเฉลี่ยๆ กันไป ความเสียหายที่มหาศาลก็เลยเจือจางจนดูเหมือนเล็กน้อย ตรงกันข้ามฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากคอร์รัปชัน ซึ่งแบ่งกันอยู่ไม่กี่คนจึงต่างได้เป็นกอบเป็นกำ ชวนให้อยากคอร์รัปชันอีกเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดเลยก็คือ การทุจริตจากงบประมาณลงทุนหรือจัดซื้อจากส่วนกลางของประเทศ ต้นทุนความเสียหายจากการนี้จะกระจายสู่ประชาชนทุกคนในรูปของภาษี จนเฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะเสียหายเพียงคนละไม่กี่บาท เช่น การทุจริต 6,500 ล้านบาทนั้น หารแล้วทุกคนจะเสียหายเพียงคนละ 100 บาทเท่านั้น ซึ่งลักษณะอย่างนี้จะทำให้คนไม่รู้เนื้อรู้ตัวเวลาถูกคอร์รัปชัน เพราะความเสียหายเฉพาะตัวมีจำนวนน้อย ดังนั้นจึงย่อมไม่มีการต่อต้าน การคอร์รัปชัน การโกงเงินงบประมาณก็เลยทำได้ทีละเป็นพันเป็นหมื่นล้านโดยไม่มีอุปสรรคอะไร
ในทางตรงกันข้าม คอร์รัปชันที่ไม่ทำให้เข้าลักษณะอย่างนี้ เช่นทำในลักษณะของ “ได้กระจุก-เสียกระจุก” นั้น ต่อให้คอร์รัปชันในจำนวนที่น้อยกว่า ก็รับรองว่าจะมีคนร้องเรียนหรือต่อต้าน เรื่องไม่เงียบได้ง่ายๆ เช่นการทุจริตแล้วสร้างเหมือง สร้างโรงงานในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะความเสียหายอันเกิดจากคอร์รัปชันในกรณีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการต้องสูญเสียที่ทำกิน การต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะ การต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ฯลฯ จะเกิดขึ้นกับคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น กล่าวคือคนในชุมชน ดังนั้น คนในชุมชนจะรู้สึกได้เป็นอย่างดีถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และก็จะออกมาต่อต้าน ทำให้คอร์รัปชันลักษณะนี้หลายครั้งไม่ประสบความสำเร็จ
หรืออีกทีก็คือการทุจริตโดยใช้วิธีขึ้นราคาค่าบริการของโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ เพราะพอขึ้นราคาแล้ว คนทั่วไปอาจไม่รู้สึก แต่อย่างน้อยกลุ่มผู้ใช้บริการเป็นต้องรู้สึกแน่ เพราะความเสียหายมากระจุกอยู่เฉพาะกับตัวผู้ใช้บริการเอง แต่สถานการณ์จะเป็นตรงกันข้ามทีเดียว ถ้าทุจริตแล้วไม่ขึ้นราคากับผู้ใช้บริการ แต่คงราคาไว้ แล้วไปใช้เงินภาษีมาทดแทนส่วนต่างแทน เนื่องจากกรณีนั้นจะไม่ใช่เสียกระจุกอีกต่อไป แต่จะเป็น “เสียกระจาย” คือเสียกันทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้บริการ ซึ่งอย่างที่บอกแล้วจะไม่มีใครรู้ตัวอนึ่ง ที่ว่าเสียกระจุกนี้ บางทีก็ไม่ต้องเป็นประชาชนตาดำๆ ก็ได้ เช่นกลุ่มพ่อค้าสี่ห้าเจ้า ผูกขาดการส่งวัตถุดิบให้รัฐวิสาหกิจอยู่ดีๆ อยู่มามีเจ้าหนึ่งแอบไปจ่ายใต้โต๊ะ แล้วได้กินรวบเป็นซัพพลายเออร์อยู่คนเดียว อย่างนี้ พ่อค้าอีกสามสี่เจ้าที่เหลือ ก็เรียกว่า “เสียกระจุก” ได้เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ที่น่ากลัวก็คือ นักคอร์รัปชันเดี่ยวนี้เขาไม่ยอมโกงอะไรให้เสียกระจุกอีกแล้ว เพราะรู้ว่าทำยาก ทำแล้วมีแต่จะถูกพวก “กระจุก” ที่เสียประโยชน์มาร้องเรียนต่อต้าน ไม่สู้ไปโกงในระดับงบประมาณประเทศให้มันเสียกระจาย แบบไม่ให้รู้ตัวดีกว่า ทุกวันนี้ ก็เห็นกันอยู่แล้ว ในปีหนึ่งๆ สำนักงาน ปปช. ได้รับเรื่องร้องเรียนเพียงปีละ 3,000 เรื่อง ทั้งๆ ที่ทุกคนทราบดีว่ามีการคอรัปชั่นทั่วประเทศมากกว่า 3,000 ครั้ง ในทุกๆ ชั่วโมง ทั้งในและนอกเวลาราชการ เป็นการแสดงให้เห็นว่าคอร์รัปชันเกือบทั้งร้อยละร้อยนั้นไม่มีการร้องเรียนและไม่มีการสอบสวน ซึ่งนี่เป็นไปได้ก็ด้วยด้วยความเงียบเชียบของการโกงด้วยกลยุทธ์ “ได้กระจุก เสียกระจาย” นั่นเอง
และคิดดูนี่ยังเป็นแค่กลยุทธ์เพียงข้อหนึ่งของคอร์รัปชันเท่านั้น ยังเหลืออีกตั้งสอง
แต่นั่นเป็นเรื่องที่เราจะมาพูดถึงกันในคราวหน้า
หนึ่งในความยากลำบากในการปราบปรามคอร์รัปชันก็คือ นานวันไปคอร์รัปชันก็ยิ่งมีพัฒนาการจนลึกซึ้ง แนบเนียน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นแค่การแอบรับเงินใต้โต๊ะ ก็กลายมาเป็นถึงขั้นโกงในระดับการวางงบประมาณ ซึ่งยากแก่การตรวจสอบ เรียกได้ว่า คอร์รัปชันเป็นหลักพันหลักหมื่นล้านนั้น ถ้าทำกันอย่างเป็นๆ แล้ว บางทีคนยังดูกันไม่ออก นึกว่าเป็นเรื่องปรกติทางการงบประมาณก็มี
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาทำความเข้าใจกันถึง “กลยุทธ์” ของการคอร์รัปชัน กล่าวคือองค์ประกอบที่ทำให้การคอร์รัปชันในสมัยใหม่นี้มีประสิทธิภาพ และยากแก่การตรวจจับ เพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ทันกลยุทธ์เหล่านี้ และสามารถสังเกตความไม่ชอบมาพากลอันเกิดจากคอร์รัปชันได้มากขึ้น กลยุทธ์ของการคอร์รัปชันนั้นมีดังต่อไปนี้
หนึ่ง การคอร์รัปชันนั้นจะต้องมีผลเป็นการ “ได้กระจุก-เสียกระจาย”
สังเกตได้ว่าการคอร์รัปชันที่ประสบความสำเร็จนั้นมีลักษณะร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือจะเป็นการทำให้คนส่วนน้อยซึ่งกระจุกอยู่เพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ (เช่นตัวนักการเมืองที่คอร์รัปชัน หรือข้าราชการที่นักการเมืองที่คอร์รัปชันนั้นเอาเงินไปแจก) ในขณะที่คนเสียประโยชน์นั้นมักจะกระจายอยู่ทั่วไป ไม่กระจุกอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ทั้งนี้ก็เพราะลักษณะอย่างนี้เอื้อต่อการอำพรางคอร์รัปชัน เนื่องจากต้นทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากคอร์รัปชันจะถูกแบกรับโดยผู้เสียประโยชน์ซึ่งกระจัดกระจายอยู่นั้นอย่างเฉลี่ยๆ กันไป ความเสียหายที่มหาศาลก็เลยเจือจางจนดูเหมือนเล็กน้อย ตรงกันข้ามฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากคอร์รัปชัน ซึ่งแบ่งกันอยู่ไม่กี่คนจึงต่างได้เป็นกอบเป็นกำ ชวนให้อยากคอร์รัปชันอีกเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดเลยก็คือ การทุจริตจากงบประมาณลงทุนหรือจัดซื้อจากส่วนกลางของประเทศ ต้นทุนความเสียหายจากการนี้จะกระจายสู่ประชาชนทุกคนในรูปของภาษี จนเฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะเสียหายเพียงคนละไม่กี่บาท เช่น การทุจริต 6,500 ล้านบาทนั้น หารแล้วทุกคนจะเสียหายเพียงคนละ 100 บาทเท่านั้น ซึ่งลักษณะอย่างนี้จะทำให้คนไม่รู้เนื้อรู้ตัวเวลาถูกคอร์รัปชัน เพราะความเสียหายเฉพาะตัวมีจำนวนน้อย ดังนั้นจึงย่อมไม่มีการต่อต้าน การคอร์รัปชัน การโกงเงินงบประมาณก็เลยทำได้ทีละเป็นพันเป็นหมื่นล้านโดยไม่มีอุปสรรคอะไร
ในทางตรงกันข้าม คอร์รัปชันที่ไม่ทำให้เข้าลักษณะอย่างนี้ เช่นทำในลักษณะของ “ได้กระจุก-เสียกระจุก” นั้น ต่อให้คอร์รัปชันในจำนวนที่น้อยกว่า ก็รับรองว่าจะมีคนร้องเรียนหรือต่อต้าน เรื่องไม่เงียบได้ง่ายๆ เช่นการทุจริตแล้วสร้างเหมือง สร้างโรงงานในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะความเสียหายอันเกิดจากคอร์รัปชันในกรณีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการต้องสูญเสียที่ทำกิน การต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะ การต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ฯลฯ จะเกิดขึ้นกับคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น กล่าวคือคนในชุมชน ดังนั้น คนในชุมชนจะรู้สึกได้เป็นอย่างดีถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และก็จะออกมาต่อต้าน ทำให้คอร์รัปชันลักษณะนี้หลายครั้งไม่ประสบความสำเร็จ
หรืออีกทีก็คือการทุจริตโดยใช้วิธีขึ้นราคาค่าบริการของโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ เพราะพอขึ้นราคาแล้ว คนทั่วไปอาจไม่รู้สึก แต่อย่างน้อยกลุ่มผู้ใช้บริการเป็นต้องรู้สึกแน่ เพราะความเสียหายมากระจุกอยู่เฉพาะกับตัวผู้ใช้บริการเอง แต่สถานการณ์จะเป็นตรงกันข้ามทีเดียว ถ้าทุจริตแล้วไม่ขึ้นราคากับผู้ใช้บริการ แต่คงราคาไว้ แล้วไปใช้เงินภาษีมาทดแทนส่วนต่างแทน เนื่องจากกรณีนั้นจะไม่ใช่เสียกระจุกอีกต่อไป แต่จะเป็น “เสียกระจาย” คือเสียกันทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้บริการ ซึ่งอย่างที่บอกแล้วจะไม่มีใครรู้ตัวอนึ่ง ที่ว่าเสียกระจุกนี้ บางทีก็ไม่ต้องเป็นประชาชนตาดำๆ ก็ได้ เช่นกลุ่มพ่อค้าสี่ห้าเจ้า ผูกขาดการส่งวัตถุดิบให้รัฐวิสาหกิจอยู่ดีๆ อยู่มามีเจ้าหนึ่งแอบไปจ่ายใต้โต๊ะ แล้วได้กินรวบเป็นซัพพลายเออร์อยู่คนเดียว อย่างนี้ พ่อค้าอีกสามสี่เจ้าที่เหลือ ก็เรียกว่า “เสียกระจุก” ได้เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ที่น่ากลัวก็คือ นักคอร์รัปชันเดี่ยวนี้เขาไม่ยอมโกงอะไรให้เสียกระจุกอีกแล้ว เพราะรู้ว่าทำยาก ทำแล้วมีแต่จะถูกพวก “กระจุก” ที่เสียประโยชน์มาร้องเรียนต่อต้าน ไม่สู้ไปโกงในระดับงบประมาณประเทศให้มันเสียกระจาย แบบไม่ให้รู้ตัวดีกว่า ทุกวันนี้ ก็เห็นกันอยู่แล้ว ในปีหนึ่งๆ สำนักงาน ปปช. ได้รับเรื่องร้องเรียนเพียงปีละ 3,000 เรื่อง ทั้งๆ ที่ทุกคนทราบดีว่ามีการคอรัปชั่นทั่วประเทศมากกว่า 3,000 ครั้ง ในทุกๆ ชั่วโมง ทั้งในและนอกเวลาราชการ เป็นการแสดงให้เห็นว่าคอร์รัปชันเกือบทั้งร้อยละร้อยนั้นไม่มีการร้องเรียนและไม่มีการสอบสวน ซึ่งนี่เป็นไปได้ก็ด้วยด้วยความเงียบเชียบของการโกงด้วยกลยุทธ์ “ได้กระจุก เสียกระจาย” นั่นเอง
และคิดดูนี่ยังเป็นแค่กลยุทธ์เพียงข้อหนึ่งของคอร์รัปชันเท่านั้น ยังเหลืออีกตั้งสอง
แต่นั่นเป็นเรื่องที่เราจะมาพูดถึงกันในคราวหน้า
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 6
บทความตอนที่ 6: เคล็ดลับ...คอร์รัปชัน (2)
วันนี้เราจะมาพูดกันต่อถึงกลยุทธ์คอร์รัปชันอีกสองข้อที่เหลือ นอกเหนือจากกลยุทธ์ “ได้กระจุก-เสียกระจาย” ที่ได้เขียนถึงในตอนที่แล้วไปแล้ว
สอง การคอร์รัปชันนั้นจะต้องมีผลเป็นการ “ได้วันนี้-เสียวันหน้า”
กลยุทธ์ข้อนี้ เกิดจากหลักสามัญง่ายๆ ว่าการทุจริตที่ไม่ส่งผลเสียในทันทีย่อมมีโอกาสที่จะถูกต่อต้าน หรือถูกตรวจสอบได้น้อยกว่า ซึ่งกิจกรรมที่เหมาะกับกับการทุจริตลักษณะนี้ ก็คือโครงการลงทุนในภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือเมกะโปรเจกต์ต่างๆ นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะโครงการเหล่านี้ มีการตัดค่าเสื่อมราคาในระยะยาว ต้นทุนความเสียหายทั้งหลายอันเกิดจากการคอร์รัปชันก็เลยสามารถถูกกระจายไปในอนาคต ซึ่งจะทำให้คนไม่เห็นเป็นความเสียหายเฉพาะหน้า และทำให้ไม่ว่าต้นทุนความเสียหายจากคอร์รัปชันจะสูงเพียงใด แต่เมื่อมองจากตัวเลขทางการเงิน ต้นทุนดังกล่าวกลับดูจะไม่กระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการมากนัก ลำพังการมองโครงการเหล่านี้ในทางตัวเลขแบบเผินๆ จึงยากจะรู้ได้ว่าเกิดการคอร์รัปชัน
เช่น สนามบินที่ควรสร้างด้วยเงิน 100,000 ล้าน ต่อให้คอร์รัปชันจนต้นทุนเพิ่มเป็น 120,000 ล้าน คนก็ไม่ผิดสังเกต เพราะต้นทุนดังกล่าว เมื่อนำมาตัด “ค่าเสื่อมราคา” เป็นระยะยาวหลายสิบปีแล้ว ก็ย่อมไม่ปรากฏตัวเลขความเสียหายตัวโตๆ ในทันที อีกทั้งความเป็นไปได้ทางการเงินก็ยังแทบไม่ถูกกระทบ เมื่อตรวจสอบดูแล้ว จะเห็นได้เลยว่า การจัดซื้อจัดจ้างในส่วนของถาวรวัตถุที่ราคาสูงเกินจริงหรือไม่จำเป็นของหน่วยงานต่างๆ จะมีลักษณะอย่างนี้เป็นจำนวนมาก
ยิ่งกว่านั้น โครงการเหล่านี้ยังสามารถกล่าวอ้างถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะจริงเท็จอย่างไรก็ยากจะพิสูจน์ในระยะสั้น หนักๆ เข้าก็ยังอาจจ้างผู้เชี่ยวชาญกำมะลอมาช่วยยืนยันข้อมูลในการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อผลักดันโครงการที่ความจริงแล้วไม่มีความคุ้มค่า ยกตัวอย่างเช่น โครงการขนส่งสาธารณะโครงการหนึ่ง ที่มีการไปหาผู้เชี่ยวชาญมาพยากรณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการจากโครงการวันละหลายหมื่นคน แม้พอเปิดใช้บริการจริงกลับพบว่ามีผู้ใช้บริการไม่กี่พันคนต่อวัน แต่ถึงตอนนั้นโครงการก็ได้ทำไปแล้ว การตรวจสอบย้อนหลังก็ไม่มี ผู้ที่ทุจริตก็เลยสบาย
ที่ร้ายที่สุดคือ ต้นทุนความเสียหายที่เกิดจากเหตุข้างต้น คนจะดูออกหรือไม่ก็ตาม สุดท้ายมันก็ไม่ได้หายไปไหน แต่จะถูกผลักไปให้กับผู้เสียภาษีในอนาคตในรูปของหนี้สาธารณะ หรือมิฉะนั้นหากเมกะโปรเจกต์ดังกล่าวเป็นกิจการผูกขาดของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ที่ต้องรับภาระก็คือผู้ใช้บริการกิจการนั้นๆในอนาคตนั่นเอง
สาม คอร์รัปชันนั้นจะทำผ่านการ “สร้างตัวกลางคอร์รัปชัน”
ด้วยความที่เดี๋ยวนี้มีความพยายามป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันมากขึ้น ทำให้ผู้มีตำแหน่งทางการเมืองสูงๆ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่มีชื่อเสียงต่างๆ นั้นเข้าเป็นฝ่ายรับเงิน-จ่ายเงินด้วยตัวเองลำบากขึ้น เพราะมีกฎหมายคอยคุมตัวละครเหล่านี้อยู่โดยตรง แวดวงคอร์รัปชันจึงได้พัฒนามาถึงขั้นที่มีตัวแทน ตัวกลาง หรือ ประสานงาน (“นักวิ่งเต้น” หรือ “Lobbyist”) คอยดำเนินการทุจริตหรือ “หิ้วเงิน” แทนนักการเมืองเพื่อให้ผ่านช่องว่างต่างๆ ของกฎหมายได้ แลกกับค่าต๋งเป็นการตอบแทน โดยตัวกลางเหล่านี้อาจเป็นเอเยนต์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือแม้แต่ข้าราชการคนหนึ่งก็ได้
ความชั่วร้ายของตัวกลางคอร์รัปชันเหล่านี้ก็คือพวกนี้มีประสิทธิภาพในการดำเนินการอย่างมากและก็สามารถทำหน้าที่โดยไม่ผูกติดกับบุคคลหรือพรรคการเมือง ดังนั้นไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนขั้วอำนาจอย่างไร ใครจะได้เป็นรัฐบาลจึงไม่สำคัญ หากมีผู้ประสงค์จะคอร์รัปชันแล้ว ก็สามารถมาติดต่อตัวกลางเหล่านี้เพื่อให้ช่วยดำเนินการได้ทั้งสิ้น ไม่ต้องเสียเวลารื้อถอนตัวกลางเดิมแล้วตั้งตัวกลางใหม่ของพวกตนอย่างสมัยก่อน จึงเรียกได้การคอร์รัปชันถูกพัฒนาไปจนถึงขั้น Institutionalized เป็นระบบ เป็นสถาบันที่ไปพ้นบุคคลเสียแล้ว การคอร์รัปชันจึงสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่มีสะดุด ไม่มีเสียเวลาผลัดแผ่นดินอะไรทั้งสิ้น ซึ่งนับเป็นหายนะของประเทศอย่างที่สุด
นอกจากนั้น ความชั่วร้ายอีกประการของตัวกลางคอร์รัปชันเหล่านี้คือ ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ตัวกลางคอร์รัปชันเหล่านี้ถือเป็น “ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent)” กล่าวคือเป็นสิ่งที่กินค่าตอบแทนที่สูง ทั้งๆ ไม่ได้สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจขึ้นตามค่าตอบแทนแต่อย่างใด นับเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยไม่มีประโยชน์ เรียกง่ายๆ ก็คือเป็นกาฝากของระบบ แต่ปีหนึ่งๆ กลับมีทรัพยากรของประเทศที่ต้องสูญไปกับการหล่อเลี้ยงกาฝากเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อจัดจ้างด้านสารสนเทศซึ่งหน่วยงานรัฐต้องทำปีละหลายๆ หมื่นล้านบาทนั้น ปรากฏว่าด้วยความที่ทุกคนก็อยากจะคอร์รัปชันด้วยกันทั้งนั้น แทนที่รัฐจะซื้อขายกับบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง ก็เลยไปซื้อขายผ่านเอเยนต์ หรือตัวกลางคอร์รัปชัน ซึ่งย่อมกินหัวคิวเป็นจำนวนมากๆ ดังนั้นเป็นที่แน่นอนว่าเงินงบประมาณที่จะต้องจ่ายออก ส่วนหนึ่งก็จะต้องมาสูญเสียไปเป็นค่าเช่าทางเศรษฐกิจเหล่านี้ให้กับตัวกลางคอร์รัปชัน แทนที่จะได้นำไปทำประโยชน์อย่างอื่นให้กับประเทศ นับเป็นเรื่องน่าเจ็บใจ
อย่างไรก็ตาม นั่นก็คือกลยุทธ์ 3 ประการที่บรรดานักคอร์รัปชันชั้นครูเขาใช้กันอยู่เดี๋ยวนี้ ซึ่งแต่ละประการไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพ และยากจะถูกตรวจจับดังได้กล่าวมาแล้ว หากแต่ยังล้วนส่งผลร้ายให้กับประเทศในระดับที่ลึกซึ้งไปกว่าความเสียหายอันเป็นตัวเงินทั้งสิ้น
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์กันในตอนต่อไป
วันนี้เราจะมาพูดกันต่อถึงกลยุทธ์คอร์รัปชันอีกสองข้อที่เหลือ นอกเหนือจากกลยุทธ์ “ได้กระจุก-เสียกระจาย” ที่ได้เขียนถึงในตอนที่แล้วไปแล้ว
สอง การคอร์รัปชันนั้นจะต้องมีผลเป็นการ “ได้วันนี้-เสียวันหน้า”
กลยุทธ์ข้อนี้ เกิดจากหลักสามัญง่ายๆ ว่าการทุจริตที่ไม่ส่งผลเสียในทันทีย่อมมีโอกาสที่จะถูกต่อต้าน หรือถูกตรวจสอบได้น้อยกว่า ซึ่งกิจกรรมที่เหมาะกับกับการทุจริตลักษณะนี้ ก็คือโครงการลงทุนในภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือเมกะโปรเจกต์ต่างๆ นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะโครงการเหล่านี้ มีการตัดค่าเสื่อมราคาในระยะยาว ต้นทุนความเสียหายทั้งหลายอันเกิดจากการคอร์รัปชันก็เลยสามารถถูกกระจายไปในอนาคต ซึ่งจะทำให้คนไม่เห็นเป็นความเสียหายเฉพาะหน้า และทำให้ไม่ว่าต้นทุนความเสียหายจากคอร์รัปชันจะสูงเพียงใด แต่เมื่อมองจากตัวเลขทางการเงิน ต้นทุนดังกล่าวกลับดูจะไม่กระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการมากนัก ลำพังการมองโครงการเหล่านี้ในทางตัวเลขแบบเผินๆ จึงยากจะรู้ได้ว่าเกิดการคอร์รัปชัน
เช่น สนามบินที่ควรสร้างด้วยเงิน 100,000 ล้าน ต่อให้คอร์รัปชันจนต้นทุนเพิ่มเป็น 120,000 ล้าน คนก็ไม่ผิดสังเกต เพราะต้นทุนดังกล่าว เมื่อนำมาตัด “ค่าเสื่อมราคา” เป็นระยะยาวหลายสิบปีแล้ว ก็ย่อมไม่ปรากฏตัวเลขความเสียหายตัวโตๆ ในทันที อีกทั้งความเป็นไปได้ทางการเงินก็ยังแทบไม่ถูกกระทบ เมื่อตรวจสอบดูแล้ว จะเห็นได้เลยว่า การจัดซื้อจัดจ้างในส่วนของถาวรวัตถุที่ราคาสูงเกินจริงหรือไม่จำเป็นของหน่วยงานต่างๆ จะมีลักษณะอย่างนี้เป็นจำนวนมาก
ยิ่งกว่านั้น โครงการเหล่านี้ยังสามารถกล่าวอ้างถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะจริงเท็จอย่างไรก็ยากจะพิสูจน์ในระยะสั้น หนักๆ เข้าก็ยังอาจจ้างผู้เชี่ยวชาญกำมะลอมาช่วยยืนยันข้อมูลในการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อผลักดันโครงการที่ความจริงแล้วไม่มีความคุ้มค่า ยกตัวอย่างเช่น โครงการขนส่งสาธารณะโครงการหนึ่ง ที่มีการไปหาผู้เชี่ยวชาญมาพยากรณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการจากโครงการวันละหลายหมื่นคน แม้พอเปิดใช้บริการจริงกลับพบว่ามีผู้ใช้บริการไม่กี่พันคนต่อวัน แต่ถึงตอนนั้นโครงการก็ได้ทำไปแล้ว การตรวจสอบย้อนหลังก็ไม่มี ผู้ที่ทุจริตก็เลยสบาย
ที่ร้ายที่สุดคือ ต้นทุนความเสียหายที่เกิดจากเหตุข้างต้น คนจะดูออกหรือไม่ก็ตาม สุดท้ายมันก็ไม่ได้หายไปไหน แต่จะถูกผลักไปให้กับผู้เสียภาษีในอนาคตในรูปของหนี้สาธารณะ หรือมิฉะนั้นหากเมกะโปรเจกต์ดังกล่าวเป็นกิจการผูกขาดของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ที่ต้องรับภาระก็คือผู้ใช้บริการกิจการนั้นๆในอนาคตนั่นเอง
สาม คอร์รัปชันนั้นจะทำผ่านการ “สร้างตัวกลางคอร์รัปชัน”
ด้วยความที่เดี๋ยวนี้มีความพยายามป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันมากขึ้น ทำให้ผู้มีตำแหน่งทางการเมืองสูงๆ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่มีชื่อเสียงต่างๆ นั้นเข้าเป็นฝ่ายรับเงิน-จ่ายเงินด้วยตัวเองลำบากขึ้น เพราะมีกฎหมายคอยคุมตัวละครเหล่านี้อยู่โดยตรง แวดวงคอร์รัปชันจึงได้พัฒนามาถึงขั้นที่มีตัวแทน ตัวกลาง หรือ ประสานงาน (“นักวิ่งเต้น” หรือ “Lobbyist”) คอยดำเนินการทุจริตหรือ “หิ้วเงิน” แทนนักการเมืองเพื่อให้ผ่านช่องว่างต่างๆ ของกฎหมายได้ แลกกับค่าต๋งเป็นการตอบแทน โดยตัวกลางเหล่านี้อาจเป็นเอเยนต์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือแม้แต่ข้าราชการคนหนึ่งก็ได้
ความชั่วร้ายของตัวกลางคอร์รัปชันเหล่านี้ก็คือพวกนี้มีประสิทธิภาพในการดำเนินการอย่างมากและก็สามารถทำหน้าที่โดยไม่ผูกติดกับบุคคลหรือพรรคการเมือง ดังนั้นไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนขั้วอำนาจอย่างไร ใครจะได้เป็นรัฐบาลจึงไม่สำคัญ หากมีผู้ประสงค์จะคอร์รัปชันแล้ว ก็สามารถมาติดต่อตัวกลางเหล่านี้เพื่อให้ช่วยดำเนินการได้ทั้งสิ้น ไม่ต้องเสียเวลารื้อถอนตัวกลางเดิมแล้วตั้งตัวกลางใหม่ของพวกตนอย่างสมัยก่อน จึงเรียกได้การคอร์รัปชันถูกพัฒนาไปจนถึงขั้น Institutionalized เป็นระบบ เป็นสถาบันที่ไปพ้นบุคคลเสียแล้ว การคอร์รัปชันจึงสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่มีสะดุด ไม่มีเสียเวลาผลัดแผ่นดินอะไรทั้งสิ้น ซึ่งนับเป็นหายนะของประเทศอย่างที่สุด
นอกจากนั้น ความชั่วร้ายอีกประการของตัวกลางคอร์รัปชันเหล่านี้คือ ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ตัวกลางคอร์รัปชันเหล่านี้ถือเป็น “ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent)” กล่าวคือเป็นสิ่งที่กินค่าตอบแทนที่สูง ทั้งๆ ไม่ได้สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจขึ้นตามค่าตอบแทนแต่อย่างใด นับเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยไม่มีประโยชน์ เรียกง่ายๆ ก็คือเป็นกาฝากของระบบ แต่ปีหนึ่งๆ กลับมีทรัพยากรของประเทศที่ต้องสูญไปกับการหล่อเลี้ยงกาฝากเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อจัดจ้างด้านสารสนเทศซึ่งหน่วยงานรัฐต้องทำปีละหลายๆ หมื่นล้านบาทนั้น ปรากฏว่าด้วยความที่ทุกคนก็อยากจะคอร์รัปชันด้วยกันทั้งนั้น แทนที่รัฐจะซื้อขายกับบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง ก็เลยไปซื้อขายผ่านเอเยนต์ หรือตัวกลางคอร์รัปชัน ซึ่งย่อมกินหัวคิวเป็นจำนวนมากๆ ดังนั้นเป็นที่แน่นอนว่าเงินงบประมาณที่จะต้องจ่ายออก ส่วนหนึ่งก็จะต้องมาสูญเสียไปเป็นค่าเช่าทางเศรษฐกิจเหล่านี้ให้กับตัวกลางคอร์รัปชัน แทนที่จะได้นำไปทำประโยชน์อย่างอื่นให้กับประเทศ นับเป็นเรื่องน่าเจ็บใจ
อย่างไรก็ตาม นั่นก็คือกลยุทธ์ 3 ประการที่บรรดานักคอร์รัปชันชั้นครูเขาใช้กันอยู่เดี๋ยวนี้ ซึ่งแต่ละประการไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพ และยากจะถูกตรวจจับดังได้กล่าวมาแล้ว หากแต่ยังล้วนส่งผลร้ายให้กับประเทศในระดับที่ลึกซึ้งไปกว่าความเสียหายอันเป็นตัวเงินทั้งสิ้น
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์กันในตอนต่อไป
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 7
บทความตอนที่ 7: คอร์รัปชัน มหันตโทษ (1)
อย่างที่เคยบอกไปแล้ว ในเมืองไทยนี้ เรามักจะพูดกันแค่ว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องผิดศีลธรรม เป็นเรื่องไม่ดี แต่ไม่ดีอย่างไรนั้น ก็ไม่เคยมีใครแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมเสียที จนไปๆมาๆ ในความเข้าใจของคนไม่น้อย คอร์รัปชันแทบจะกลายเป็นเหมือนแค่ “บาป” ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะไปแสดงผลร้ายก็ต่อเมื่ออยู่ปรโลกเท่านั้น
ถ้าผลร้ายของคอร์รัปชันมีอยู่เฉพาะในโลกหน้าอย่างที่ว่ามานี้ ก็ต้องนับว่าเราโชคดี น่าเสียดายที่ในความเป็นจริง ผลร้ายของคอร์รัปชันล้วนเป็นเรื่องที่เราจะต้องเห็น ต้องเจอ และต้องทนกันในโลกนี้ ชาตินี้ทั้งสิ้น ดังอาจพอยกมาเป็นตัวอย่างได้บางส่วน ดังนี้
หนึ่ง คอร์รัปชันจะทำลายประสิทธิภาพของนโยบายการคลัง ปกติแล้ว นโยบายการคลังย่อมทำหน้าที่โยกย้ายจัดสรรทรัพยากรของประเทศให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะโดยการดึงเอาทรัพยากรจากคนมีมาเจือจานคนยาก (เช่นการกระจายรายได้) หรือการดึงเอาทรัพยากรจากเรื่องที่จำเป็นน้อยมาทำเรื่องที่จำเป็นมาก (เช่น การจัดทำบริการสาธารณะหรือสวัสดิการ ) หรือการดึงเอาทรัพยากรในอนาคตมาแก้ปัญหาปัจจุบัน (เช่นการหาเงินมาแก้วิกฤติเศรษฐกิจ หรือลงทุนโครงสร้างสันดานผ่านทางการสร้างหนี้สาธารณะ) ซึ่งล้วนแต่ช่วยทำให้ทรัพยากรของประเทศ ถูกนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่มีการคอร์รัปชัน นอกจากทรัพยากรจะรั่วไหลไปสู่คนชั่วจำนวนมากแล้ว ยังทำให้นโยบายการคลังไม่ได้เป็นไปตามหลักการข้างต้นอีกต่อไป หากแต่จะเป็นไปตามผลประโยชน์ของผู้ที่คอร์รัปชัน ผลก็คือนโยบายการคลังที่กลับหัวกลับหาง เอาของคนจนมาโปะคนรวย เอาเรื่องจำเป็นน้อยมาทำก่อนเรื่องจำเป็นมาก ทำให้เกิดการบิดเบือนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งบางครั้งก็เป็นต้นเหตุให้วิกฤตร้ายแรงตามมา
สอง คอร์รัปชันจะบั่นทอนคุณภาพและเพิ่มราคาของบริการโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวคือเนื่องด้วยทุกวันนี้ รัฐและรัฐวิสาหกิจเหมาเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบโครงการอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจแทบทั้งหมด ไม่ว่าไฟฟ้า ประปา สื่อสาร คมนาคม ฯลฯ (แม้กระทั่งหลายโครงการที่อุตส่าห์แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว เอาเข้าจริงก็ยังอยู่ในการกำกับของรัฐทั้งสิ้น เพราะมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเป็นคนตั้งกรรมการ) ดังนั้น ในขณะที่เรายังแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ได้ โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ก็จะถูกบั่นทอนโดยการคอร์รัปชันในองค์กร จนมีคุณภาพต่ำ มีปริมาณไม่เพียงพอ และมีต้นทุนสูงเกินจริง บรรดาธุรกิจในประเทศไม่ว่าใหญ่ หรือเล็กซึ่งล้วนต้องใช้ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้อีกต่อหนึ่ง จึงพลอยถูกบังคับให้มีต้นทุนสูงไปด้วย อันเป็นการทำลายประสิทธิภาพในการแข่งขันของเราทั้งหมด
ขอยกตัวอย่าง การศึกษาประสิทธิผลแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของธนาคารโลก ซึ่งภาคโทรคมนาคมของไทยถูกจัดว่ามีประสิทธิภาพเป็นอันดับ 81 เทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ปรากฏว่าพอทดลองตัดรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งคือทศท. กับกสท.ออกจากการคำนวณเท่านั้น ลำดับของประเทศไทยก็เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 9 ทันที นับว่าสะท้อนให้เห็นนัยยะอะไรหลายๆ อย่างชัดเจนทีเดียว
สาม คอร์รัปชันจะดึงทรัพยากรดีๆ เข้าไปอยู่ในภาคส่วนที่ง่ายต่อการคอร์รัปชัน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นได้ว่ากิจการที่มีคอร์รัปชันครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นมากที่สุดของประเทศไทย ก็คือกิจการที่ไม่มีฝรั่งเข้ามาแข่งด้วย หรือกิจการที่ไม่ใช่สินค้าบริการในตลาดโลก อย่างที่เรียกกันว่า Non-Tradables ซึ่งก็ได้แก่รัฐวิสาหกิจ เช่น ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น เพราะกิจการที่เป็น Tradables ย่อมเป็นการยากที่จะกีดกันการแข่งขัน
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเวลากิจการไม่ต้องแข่งกับฝรั่ง ต่อให้กิจการนั้นมีการคอร์รัปชันกันจนไม่มีประสิทธิภาพ เช่นขายของห่วย ขายของแพง กิจการอย่างนี้ก็ยังจะขายของได้เพราะผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกอื่น ก่อให้เกิดกำไรกับผู้คอร์รัปชันอย่างมหาศาล ดังนั้น เลยกลายเป็นว่าทรัพยากรของประเทศไม่ว่าเงินหรือคนเลยเทไปอยู่ภาค Non-Tradables กับ Corruptibles ประเภทนี้กันหมด เพราะเห็นโอกาสทำเงินง่าย
สังเกตได้ว่ามหาเศรษฐีไทยหลายต่อหลายเจ้าล้วนแต่ร่ำรวยมาจากกิจการ Non-Tradables ทั้งนั้น ยังไม่ต้องพูดถึงหัวกะทิของประเทศหลายคน ซึ่งแทนที่จะกระจายไปสร้างประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆ ก็พากันตามกลิ่น “เงินง่าย” หรือ Easy Money มาเป็นนักการเมืองขี้ฉ้อ หรือล็อบบี้ยิสต์ไร้ยางอายกันเสียมาก
ในเมื่อเป็นเช่นนี้ ภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศที่ก็ต้องการเงินทุน หรือต้องการคนเก่งๆ เหมือนกัน ก็เลยเป็นอันต้องแคระแกร็น ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
เดี๋ยวคราวหน้า จะมาว่ากันต่อถึงโทษของคอร์รัปชัน ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่หมดแค่นี้
อย่างที่เคยบอกไปแล้ว ในเมืองไทยนี้ เรามักจะพูดกันแค่ว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องผิดศีลธรรม เป็นเรื่องไม่ดี แต่ไม่ดีอย่างไรนั้น ก็ไม่เคยมีใครแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมเสียที จนไปๆมาๆ ในความเข้าใจของคนไม่น้อย คอร์รัปชันแทบจะกลายเป็นเหมือนแค่ “บาป” ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะไปแสดงผลร้ายก็ต่อเมื่ออยู่ปรโลกเท่านั้น
ถ้าผลร้ายของคอร์รัปชันมีอยู่เฉพาะในโลกหน้าอย่างที่ว่ามานี้ ก็ต้องนับว่าเราโชคดี น่าเสียดายที่ในความเป็นจริง ผลร้ายของคอร์รัปชันล้วนเป็นเรื่องที่เราจะต้องเห็น ต้องเจอ และต้องทนกันในโลกนี้ ชาตินี้ทั้งสิ้น ดังอาจพอยกมาเป็นตัวอย่างได้บางส่วน ดังนี้
หนึ่ง คอร์รัปชันจะทำลายประสิทธิภาพของนโยบายการคลัง ปกติแล้ว นโยบายการคลังย่อมทำหน้าที่โยกย้ายจัดสรรทรัพยากรของประเทศให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะโดยการดึงเอาทรัพยากรจากคนมีมาเจือจานคนยาก (เช่นการกระจายรายได้) หรือการดึงเอาทรัพยากรจากเรื่องที่จำเป็นน้อยมาทำเรื่องที่จำเป็นมาก (เช่น การจัดทำบริการสาธารณะหรือสวัสดิการ ) หรือการดึงเอาทรัพยากรในอนาคตมาแก้ปัญหาปัจจุบัน (เช่นการหาเงินมาแก้วิกฤติเศรษฐกิจ หรือลงทุนโครงสร้างสันดานผ่านทางการสร้างหนี้สาธารณะ) ซึ่งล้วนแต่ช่วยทำให้ทรัพยากรของประเทศ ถูกนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่มีการคอร์รัปชัน นอกจากทรัพยากรจะรั่วไหลไปสู่คนชั่วจำนวนมากแล้ว ยังทำให้นโยบายการคลังไม่ได้เป็นไปตามหลักการข้างต้นอีกต่อไป หากแต่จะเป็นไปตามผลประโยชน์ของผู้ที่คอร์รัปชัน ผลก็คือนโยบายการคลังที่กลับหัวกลับหาง เอาของคนจนมาโปะคนรวย เอาเรื่องจำเป็นน้อยมาทำก่อนเรื่องจำเป็นมาก ทำให้เกิดการบิดเบือนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งบางครั้งก็เป็นต้นเหตุให้วิกฤตร้ายแรงตามมา
สอง คอร์รัปชันจะบั่นทอนคุณภาพและเพิ่มราคาของบริการโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวคือเนื่องด้วยทุกวันนี้ รัฐและรัฐวิสาหกิจเหมาเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบโครงการอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจแทบทั้งหมด ไม่ว่าไฟฟ้า ประปา สื่อสาร คมนาคม ฯลฯ (แม้กระทั่งหลายโครงการที่อุตส่าห์แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว เอาเข้าจริงก็ยังอยู่ในการกำกับของรัฐทั้งสิ้น เพราะมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเป็นคนตั้งกรรมการ) ดังนั้น ในขณะที่เรายังแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ได้ โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ก็จะถูกบั่นทอนโดยการคอร์รัปชันในองค์กร จนมีคุณภาพต่ำ มีปริมาณไม่เพียงพอ และมีต้นทุนสูงเกินจริง บรรดาธุรกิจในประเทศไม่ว่าใหญ่ หรือเล็กซึ่งล้วนต้องใช้ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้อีกต่อหนึ่ง จึงพลอยถูกบังคับให้มีต้นทุนสูงไปด้วย อันเป็นการทำลายประสิทธิภาพในการแข่งขันของเราทั้งหมด
ขอยกตัวอย่าง การศึกษาประสิทธิผลแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของธนาคารโลก ซึ่งภาคโทรคมนาคมของไทยถูกจัดว่ามีประสิทธิภาพเป็นอันดับ 81 เทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ปรากฏว่าพอทดลองตัดรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งคือทศท. กับกสท.ออกจากการคำนวณเท่านั้น ลำดับของประเทศไทยก็เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 9 ทันที นับว่าสะท้อนให้เห็นนัยยะอะไรหลายๆ อย่างชัดเจนทีเดียว
สาม คอร์รัปชันจะดึงทรัพยากรดีๆ เข้าไปอยู่ในภาคส่วนที่ง่ายต่อการคอร์รัปชัน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นได้ว่ากิจการที่มีคอร์รัปชันครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นมากที่สุดของประเทศไทย ก็คือกิจการที่ไม่มีฝรั่งเข้ามาแข่งด้วย หรือกิจการที่ไม่ใช่สินค้าบริการในตลาดโลก อย่างที่เรียกกันว่า Non-Tradables ซึ่งก็ได้แก่รัฐวิสาหกิจ เช่น ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น เพราะกิจการที่เป็น Tradables ย่อมเป็นการยากที่จะกีดกันการแข่งขัน
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเวลากิจการไม่ต้องแข่งกับฝรั่ง ต่อให้กิจการนั้นมีการคอร์รัปชันกันจนไม่มีประสิทธิภาพ เช่นขายของห่วย ขายของแพง กิจการอย่างนี้ก็ยังจะขายของได้เพราะผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกอื่น ก่อให้เกิดกำไรกับผู้คอร์รัปชันอย่างมหาศาล ดังนั้น เลยกลายเป็นว่าทรัพยากรของประเทศไม่ว่าเงินหรือคนเลยเทไปอยู่ภาค Non-Tradables กับ Corruptibles ประเภทนี้กันหมด เพราะเห็นโอกาสทำเงินง่าย
สังเกตได้ว่ามหาเศรษฐีไทยหลายต่อหลายเจ้าล้วนแต่ร่ำรวยมาจากกิจการ Non-Tradables ทั้งนั้น ยังไม่ต้องพูดถึงหัวกะทิของประเทศหลายคน ซึ่งแทนที่จะกระจายไปสร้างประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆ ก็พากันตามกลิ่น “เงินง่าย” หรือ Easy Money มาเป็นนักการเมืองขี้ฉ้อ หรือล็อบบี้ยิสต์ไร้ยางอายกันเสียมาก
ในเมื่อเป็นเช่นนี้ ภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศที่ก็ต้องการเงินทุน หรือต้องการคนเก่งๆ เหมือนกัน ก็เลยเป็นอันต้องแคระแกร็น ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
เดี๋ยวคราวหน้า จะมาว่ากันต่อถึงโทษของคอร์รัปชัน ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่หมดแค่นี้
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 8
บทความตอนที่ 8: คอร์รัปชัน มหันตโทษ (2)
นอกเหนือจากคอร์รัปชันจะทำลายประสิทธิภาพของนโยบายการคลัง บั่นทอนคุณภาพและเพิ่มราคาของบริการโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนดึงทรัพยากรดีๆ เข้าไปจมอยู่ในภาคส่วนที่ง่ายต่อการคอร์รัปชัน ตามที่ได้พูดถึงในตอนที่แล้วไปแล้ว คอร์รัปชันยังมีโทษอีกอย่างน้อยสามประการ ดังนี้
สี่ คอร์รัปชันจะบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันของประเทศ กล่าวคือ เมื่อคอร์รัปชันแทรกซึมเข้าจนเป็นส่วนหนึ่งของระบบแล้ว ก็เป็นอันว่าไม่ว่าเอกชนจะจับจะทำธุรกิจใด ก็ต้องเจอด่านคอร์รัปชันทั้งสิ้น ดังนั้นการแข่งขันระหว่างธุรกิจของเอกชนก็เหลือแต่เพียงว่าใครจะจ่ายสินบนได้ถูกช่อง ถูกคนกว่ากัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้นๆ มีสินค้าที่ดีกว่า มีบริการที่ดีกว่า หรือมีราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งหรือไม่
ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ เอกชนทั้งหลายก็ย่อมเลิกลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการ และหันไปทุ่มงบประมาณกับการคอร์รัปชันแทน พูดเป็นภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คือว่าเอกชนหมดความจำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพที่แท้จริง (Real Productivity) อีกต่อไป เพราะประโยชน์อะไรที่เอกชนปรับปรุงสิทธิภาพที่แท้จริง ในเมื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพที่แท้จริงไม่ได้ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจเท่ากับการจ่ายสินบนเสียแล้ว ทุกวันนี้ประเทศไทยถึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาต่ำที่สุดประเทศหนึ่ง
ร้ายกว่านั้น ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อประเทศไม่มีการวิจัยและพัฒนา และไม่มีความพยายามในการปรับปรุงประสิทธิภาพที่แท้จริง นวัตกรรมในด้านผลิตภัณฑ์หรือการผลิตต่างๆ ก็ย่อมไม่อาจเกิดมีขึ้นได้ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอันจะนำมาซึ่งกำไรที่สูงขึ้น หากแต่กลับต้องทนหากินอยู่กับการประกอบและผลิตสินค้าเดิมๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ ซึ่งแทบไม่มีกำไร หรือหากจะมีก็มาจากการกดต้นทุนค่าแรงแทน รายได้ของคนในประเทศทั้งหมดจึงพลอยติดเพดาน ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเสียที อย่างที่เรียกกันว่าติด “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)” นั่นเอง
ห้า คอร์รัปชันจะสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม อย่างที่บอกแล้วการคอร์รัปชันทำให้ภาคธุรกิจไม่ต้องสนใจเรื่องการวิจัยและพัฒนา ซึ่งพอไม่วิจัยและพัฒนาธุรกิจก็เลยต้องจมปลักอยู่กับการประกอบและผลิตสินค้าซึ่งมีมูลค่าเพิ่มน้อย และทำกำไรได้ยาก ดังนั้น ทางเดียวที่นักธุรกิจจะสร้างกำไรในภาวะอย่างนี้ได้ ก็คือการไปกดเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าแรงต่ออีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นการถีบกระทืบให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในประเทศยิ่งห่างชั้นเข้าไปอีก จะบอกว่าเป็นระบบที่ “ความรวยของคนรวยขึ้นอยู่กับความจนของของคนจน” ก็ได้ แล้วจะไปถามหาความปรองดองที่ไหน ในเมื่อระบบเศรษฐกิจบังคับให้คนรวย-คนจน นายจ้าง-ลูกจ้างผูกพันกันอยู่ด้วยห่วงโซ่อาหาร แบบเหยื่อกับผู้ล่าเช่นนี้
ยิ่งกว่านั้น ภาคเอกชนของไทยนั้นได้ชื่อว่ามี Home Bias หรือ “ความติดบ้าน” สูงอยู่แล้ว กล่าวคือภาคเอกชนไทยไม่ชอบออกไปลงทุนนอกประเทศ เพราะเวลาออกไปประกอบกิจการนอกประเทศแล้ว โกงกติกาไม่ได้ ทุกคนต้องแข่งขันกันด้วยประสิทธิภาพในการผลิต ไม่ใช่ด้วยการคอร์รัปชันและกดค่าแรง พอรู้อย่างนี้เอกชนไทยก็เลยอยู่บ้านกันหมด ซึ่งคนที่ “ซวย” ก็คือบรรดาลูกจ้างและแรงงานในบ้านนั่นเอง เพราะจะต้องถูกกดค่าแรงเพื่อเพิ่มกำไรให้นายจ้างอย่างที่พูดแล้ว
หก คอร์รัปชันจะทำให้เกิดความแตกแยก กล่าวคือ เนื่องจากการคอร์รัปชันกลายมาเป็นกุญแจไขความความสำเร็จของการทำกิจการต่างๆในไทย อำนาจรัฐก็เลยเป็นความหอมหวานที่ไม่ว่าใครก็ต้องการเข้าถึงหรือครอบครอง ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่เข้าไม่ถึงอำนาจรัฐดังกล่าวก็จะพบว่าตัวเองจนแต้ม ทำมาหากินได้ยากอย่างยิ่งดังนั้น นี่จึงเป็นเหมือนภาวะ “ได้หมดหรือเสียหมด” ซึ่งทางหนึ่งก็จูงใจ ทางหนึ่งก็บีบคั้นให้คนพยายามเข้าถึงหรือครอบครองอำนาจรัฐให้ได้ โดยไม่เกี่ยงวิธีการหรือต้นทุน เพราะรางวัลเดิมพันที่จะได้หรือจะเสียนั้นมีจำนวนสูงเหลือเกิน
ภาวะ “ได้หมดหรือเสียหมด” อย่างนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในสังคม โดยเฉพาะระหว่างผู้อยู่ในกลุ่มอำนาจกับผู้อยู่นอกกลุ่มอำนาจขาดความยืดหยุ่น ดังนั้นเวลาเกิดความขัดแย้งขึ้นมา จึงยากจะประนีประนอมกันได้ อย่างวิกฤตการเมืองทุกวันนี้ หลายคนก็เชื่อว่าเป็นเพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เรามักเรียกว่า “กลุ่มอำนาจเก่า” ยึดติดอยู่กับอำนาจรัฐ อันเป็นที่มาของยศศักดิ์ความมั่งคั่งทั้งหมดของตน จนไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มอื่นเข้ามาใช้ประโยชน์จากอำนาจรัฐนั้นบ้างนั่นเอง
แต่สิ่งที่ควรระลึกก็คือ ตราบใดที่เรายังไม่สามารถขจัดคอร์รัปชัน ความแตกต่างระหว่างผู้อยู่ในกลุ่มอำนาจกับผู้อยู่นอกกลุ่มอำนาจก็จะยังมีต่อไป ทำให้แม้จะมีการกำจัด “กลุ่มอำนาจเก่า” ชุดปัจจุบันไปได้ สุดท้ายก็จะมีคนกลุ่มใหม่เข้ามาเกาะกับอำนาจและฉกฉวยผลประโยชน์ไม่ต่างอะไรจากกลุ่มอำนาจเก่า สังคมก็จะอยู่ในสภาพเดิม คือมีคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ทุกอย่าง และอีกกลุ่มเสียทุกอย่าง อันจะทำให้เกิดความแตกแยกต่อไปอย่างไม่รู้จบ
การกำจัดคอร์รัปชันจึงเป็นความหวังเดียวในการลดความแตกแยกของสังคมได้อย่างแท้จริง
นอกเหนือจากคอร์รัปชันจะทำลายประสิทธิภาพของนโยบายการคลัง บั่นทอนคุณภาพและเพิ่มราคาของบริการโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนดึงทรัพยากรดีๆ เข้าไปจมอยู่ในภาคส่วนที่ง่ายต่อการคอร์รัปชัน ตามที่ได้พูดถึงในตอนที่แล้วไปแล้ว คอร์รัปชันยังมีโทษอีกอย่างน้อยสามประการ ดังนี้
สี่ คอร์รัปชันจะบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันของประเทศ กล่าวคือ เมื่อคอร์รัปชันแทรกซึมเข้าจนเป็นส่วนหนึ่งของระบบแล้ว ก็เป็นอันว่าไม่ว่าเอกชนจะจับจะทำธุรกิจใด ก็ต้องเจอด่านคอร์รัปชันทั้งสิ้น ดังนั้นการแข่งขันระหว่างธุรกิจของเอกชนก็เหลือแต่เพียงว่าใครจะจ่ายสินบนได้ถูกช่อง ถูกคนกว่ากัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้นๆ มีสินค้าที่ดีกว่า มีบริการที่ดีกว่า หรือมีราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งหรือไม่
ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ เอกชนทั้งหลายก็ย่อมเลิกลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการ และหันไปทุ่มงบประมาณกับการคอร์รัปชันแทน พูดเป็นภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คือว่าเอกชนหมดความจำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพที่แท้จริง (Real Productivity) อีกต่อไป เพราะประโยชน์อะไรที่เอกชนปรับปรุงสิทธิภาพที่แท้จริง ในเมื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพที่แท้จริงไม่ได้ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจเท่ากับการจ่ายสินบนเสียแล้ว ทุกวันนี้ประเทศไทยถึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาต่ำที่สุดประเทศหนึ่ง
ร้ายกว่านั้น ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อประเทศไม่มีการวิจัยและพัฒนา และไม่มีความพยายามในการปรับปรุงประสิทธิภาพที่แท้จริง นวัตกรรมในด้านผลิตภัณฑ์หรือการผลิตต่างๆ ก็ย่อมไม่อาจเกิดมีขึ้นได้ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอันจะนำมาซึ่งกำไรที่สูงขึ้น หากแต่กลับต้องทนหากินอยู่กับการประกอบและผลิตสินค้าเดิมๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ ซึ่งแทบไม่มีกำไร หรือหากจะมีก็มาจากการกดต้นทุนค่าแรงแทน รายได้ของคนในประเทศทั้งหมดจึงพลอยติดเพดาน ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเสียที อย่างที่เรียกกันว่าติด “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)” นั่นเอง
ห้า คอร์รัปชันจะสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม อย่างที่บอกแล้วการคอร์รัปชันทำให้ภาคธุรกิจไม่ต้องสนใจเรื่องการวิจัยและพัฒนา ซึ่งพอไม่วิจัยและพัฒนาธุรกิจก็เลยต้องจมปลักอยู่กับการประกอบและผลิตสินค้าซึ่งมีมูลค่าเพิ่มน้อย และทำกำไรได้ยาก ดังนั้น ทางเดียวที่นักธุรกิจจะสร้างกำไรในภาวะอย่างนี้ได้ ก็คือการไปกดเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าแรงต่ออีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นการถีบกระทืบให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในประเทศยิ่งห่างชั้นเข้าไปอีก จะบอกว่าเป็นระบบที่ “ความรวยของคนรวยขึ้นอยู่กับความจนของของคนจน” ก็ได้ แล้วจะไปถามหาความปรองดองที่ไหน ในเมื่อระบบเศรษฐกิจบังคับให้คนรวย-คนจน นายจ้าง-ลูกจ้างผูกพันกันอยู่ด้วยห่วงโซ่อาหาร แบบเหยื่อกับผู้ล่าเช่นนี้
ยิ่งกว่านั้น ภาคเอกชนของไทยนั้นได้ชื่อว่ามี Home Bias หรือ “ความติดบ้าน” สูงอยู่แล้ว กล่าวคือภาคเอกชนไทยไม่ชอบออกไปลงทุนนอกประเทศ เพราะเวลาออกไปประกอบกิจการนอกประเทศแล้ว โกงกติกาไม่ได้ ทุกคนต้องแข่งขันกันด้วยประสิทธิภาพในการผลิต ไม่ใช่ด้วยการคอร์รัปชันและกดค่าแรง พอรู้อย่างนี้เอกชนไทยก็เลยอยู่บ้านกันหมด ซึ่งคนที่ “ซวย” ก็คือบรรดาลูกจ้างและแรงงานในบ้านนั่นเอง เพราะจะต้องถูกกดค่าแรงเพื่อเพิ่มกำไรให้นายจ้างอย่างที่พูดแล้ว
หก คอร์รัปชันจะทำให้เกิดความแตกแยก กล่าวคือ เนื่องจากการคอร์รัปชันกลายมาเป็นกุญแจไขความความสำเร็จของการทำกิจการต่างๆในไทย อำนาจรัฐก็เลยเป็นความหอมหวานที่ไม่ว่าใครก็ต้องการเข้าถึงหรือครอบครอง ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่เข้าไม่ถึงอำนาจรัฐดังกล่าวก็จะพบว่าตัวเองจนแต้ม ทำมาหากินได้ยากอย่างยิ่งดังนั้น นี่จึงเป็นเหมือนภาวะ “ได้หมดหรือเสียหมด” ซึ่งทางหนึ่งก็จูงใจ ทางหนึ่งก็บีบคั้นให้คนพยายามเข้าถึงหรือครอบครองอำนาจรัฐให้ได้ โดยไม่เกี่ยงวิธีการหรือต้นทุน เพราะรางวัลเดิมพันที่จะได้หรือจะเสียนั้นมีจำนวนสูงเหลือเกิน
ภาวะ “ได้หมดหรือเสียหมด” อย่างนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในสังคม โดยเฉพาะระหว่างผู้อยู่ในกลุ่มอำนาจกับผู้อยู่นอกกลุ่มอำนาจขาดความยืดหยุ่น ดังนั้นเวลาเกิดความขัดแย้งขึ้นมา จึงยากจะประนีประนอมกันได้ อย่างวิกฤตการเมืองทุกวันนี้ หลายคนก็เชื่อว่าเป็นเพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เรามักเรียกว่า “กลุ่มอำนาจเก่า” ยึดติดอยู่กับอำนาจรัฐ อันเป็นที่มาของยศศักดิ์ความมั่งคั่งทั้งหมดของตน จนไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มอื่นเข้ามาใช้ประโยชน์จากอำนาจรัฐนั้นบ้างนั่นเอง
แต่สิ่งที่ควรระลึกก็คือ ตราบใดที่เรายังไม่สามารถขจัดคอร์รัปชัน ความแตกต่างระหว่างผู้อยู่ในกลุ่มอำนาจกับผู้อยู่นอกกลุ่มอำนาจก็จะยังมีต่อไป ทำให้แม้จะมีการกำจัด “กลุ่มอำนาจเก่า” ชุดปัจจุบันไปได้ สุดท้ายก็จะมีคนกลุ่มใหม่เข้ามาเกาะกับอำนาจและฉกฉวยผลประโยชน์ไม่ต่างอะไรจากกลุ่มอำนาจเก่า สังคมก็จะอยู่ในสภาพเดิม คือมีคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ทุกอย่าง และอีกกลุ่มเสียทุกอย่าง อันจะทำให้เกิดความแตกแยกต่อไปอย่างไม่รู้จบ
การกำจัดคอร์รัปชันจึงเป็นความหวังเดียวในการลดความแตกแยกของสังคมได้อย่างแท้จริง
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 9
บทความตอนที่ 9: ประโยชน์ของคอร์รัปชัน
แม้คอร์รัปชันจะมีโทษเลวร้ายและเรื้อรังอย่างที่เสนอในสองตอนที่ผ่านมา แต่จะกล่าวว่าคอร์รัปชันไม่มีประโยชน์เสียเลยก็ไม่ได้ เพียงแต่ประโยชน์ของคอร์รัปชันเป็นประโยชน์ชนิดที่เลว กล่าวคือถ้าไม่ใช่ประโยชน์ของคนเพียงส่วนน้อย แบบ “ได้กระจุก เสียกระจาย” ก็เป็นประโยชน์ระยะสั้น แบบ “ได้วันนี้ เสียวันหน้า”
ยกตัวอย่างประโยชน์แบบ “ได้กระจุก เสียกระจาย” ง่ายๆ ก็เช่นการที่นักการเมืองสร้างถนนให้กับหมู่บ้าน ในกรณีอย่างนี้สมมติถนนจริงๆมีมูลค่า 50 ล้านบาท แต่นักการเมืองแกล้งตั้งงบให้ตัวเองสวาปามเพิ่มเข้าไปอีก 50 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท ซึ่งเห็นชัดๆ ว่าเป็นคอร์รัปชันขั้นอุจาด แต่สำหรับคนส่วนน้อย กล่าวคือชาวบ้านนั้น การคอร์รัปชันนี้ก็ต้องถือเป็นประโยชน์อยู่ดี โดยประโยชน์นั้นก็ถือถนนมูลค่า 50 ล้านบาท ซึ่งถ้าตีเสียว่ามีชาวบ้านอยู่ 200 คน ก็เท่ากับแต่ละคนได้ “ประโยชน์” กันคนละ 25,000 บาท ในแง่นี้ ใครๆจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอร์รัปชันเป็นประโยชน์แน่ๆ ยิ่งสำหรับชาวบ้านนั้น โปรเจกต์คอร์รัปชันนี้ ยิ่งต้องถือเป็นศุภนิมิตอันน่ายินดีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม “ประโยชน์” อย่างนี้ตั้งอยู่บนความเสียหายของคนทั้งประเทศ เพราะเงินที่นักการเมืองโกงเพิ่มขึ้นมาอีก 50 ล้านบาทนั้น สุดท้ายก็ต้องเอาเงินภาษีมาจ่าย เพียงแต่ในเมื่อเงินภาษีนั้นเก็บจากคนหกสิบล้านคน ก็เท่ากับว่าแต่ละคนเสียคนละประมาณ 80 สตางค์เท่านั้น ซึ่งย่อมไม่มีใครรู้สึก ไม่มีใครประท้วงต่อต้าน ไปๆมาๆ คนเลยเห็นว่าคอร์รัปชันไม่เลวร้ายอะไร เพราะลักษณะที่ได้กระจุกเสียกระจายของคอร์รัปชันนั้น ทำให้ประโยชน์ของมันมีคนจับต้องได้ ในขณะที่โทษของมันไม่มีใครรู้ตัว
ส่วนตัวอย่างของประโยชน์แบบ “ได้วันนี้ เสียวันหน้า” ก็เช่น การสร้างสนามบินใหม่แล้วคอร์รัปชัน อย่างสนามบินควรจะสร้างด้วยเงินเพียง 100,000 ล้านบาท ก็คอร์รัปชันเสียอีก 40,000 ล้านบาท รวมเป็นใช้งบประมาณ 140,000 ล้านบาท ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการโกงถล่มทลายแทบจะพังประเทศ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อเงินส่วนที่ถูกโกงเป็นหลักหมื่นล้านนั้น ไม่ได้จัดเก็บเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียวให้คนเห็น แต่ถูกเฉลี่ยไปในอนาคตในรูปของการตัดค่าเสื่อมราคาอีก 30 ปีบ้าง ถูกเฉลี่ยไปในค่าตั๋วซึ่งแพงขึ้นอีกใบละสิบบาทยี่สิบบาทบ้าง คนก็ย่อมไม่เดือดร้อน เพราะมองส่วนที่ “เสีย” ไม่ออก ต่างกับส่วนที่ “ได้” กล่าวคือสนามบินอันทันสมัย ซึ่งทุกคนเห็นได้ชัดในวันนี้ เดี๋ยวนี้ จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ โครงการสร้างสนามบินเป็นเรื่องของประโยชน์มากกว่าการกินบ้านกินเมือง
อย่าว่าแต่ อย่างที่ภาษิตละตินว่า “เงินนั้นไม่มีกลิ่น(Percunia non olet)” กล่าวคือเงินที่มาจากการคอร์รัปชันหรือเงินไหนๆ ในทางเศรษฐศาสตร์มันก็เงินทั้งนั้น ไม่หอม ไม่เหม็นกว่ากัน และก็ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เหมือนกันด้วย ดังนั้น ถึงบรรดาโครงการอภิคอร์รัปชันทั้งหลายจะมีโทษมาก แต่พร้อมกันนั้น มันก็ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวการลงทุนตลอดจนการบริโภคได้จริงๆ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่เราอนุมัติงบประมาณพิเศษ 350,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วมนั้น เงินก้อนเดียวนี้ ไม่ช้าก็จะแปรไปเป็นค่าอิฐ ค่าปูน ค่าจ้างคนงาน ค่าขนมของลูกคนงาน ฯลฯ เรื่อยไปอีกไม่รู้จบ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการบริโภคได้อย่างมหาศาล เรียกว่าในทางเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจจะขยายตัวเท่ากับ 350,000 ล้าน (หักด้วยส่วนที่นำเข้า)ซึ่งแปลว่ามากกว่าร้อยละ 3 ของรายได้ประชาชาติต่อปีในปัจจุบันเลยทีเดียว
ดังนั้น ต่อให้โครงการ 350,000 ล้านบาท มีคอร์รัปชันเสีย 100,000 ล้านบาท ส่วนที่ถูกคอร์รัปชันก็ยังจะถูกนับเป็นรายได้ประชาชาติอยู่ดี เป็นผลงานให้รัฐบาลคุยได้ด้วยซ้ำ แม้ว่า “รายได้ประชาชาติ” ส่วนที่ว่า ลงท้ายแล้วจะไหลไปเข้าเซฟหรือตู้เสื้อผ้าของนักการเมืองเพียงไม่กี่คน
อย่างไรก็ตามความดีของคอร์รัปชันในระยะสั้นอย่างที่ว่ามานี้ไม่นานก็จะกลับกลายเป็นความเลวร้ายในอนาคต เพราะเงินที่เรานับเป็นรายได้ประชาชาตินั้น ไม่ได้งอกมาจากยอดไม้ แต่เป็นเงินกู้ เงินกู้ที่สุดท้ายเราก็ต้องใช้ ไม่ว่าจะด้วยเงินภาษีของเราหรือของลูกหลานของเรา
หลายๆครั้ง “รายได้ประชาชาติ” ที่เราภาคภูมิใจ จึงเป็นเพียงเงินในอนาคตที่ถูกดึงมาใช้สร้างความหวือหวาในปัจจุบันโดยที่ไม่แน่ว่าจะเกิดประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ เรียกได้ว่าเป็น “อัฐยายซื้อขนมยาย” (หรือไม่ก็ “อัฐหลานซื้อขนมยาย” ) ซึ่งเอาเข้าจริงๆไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าการใช้เงินตัวเองหลอกตัวเอง
แม้คอร์รัปชันจะมีโทษเลวร้ายและเรื้อรังอย่างที่เสนอในสองตอนที่ผ่านมา แต่จะกล่าวว่าคอร์รัปชันไม่มีประโยชน์เสียเลยก็ไม่ได้ เพียงแต่ประโยชน์ของคอร์รัปชันเป็นประโยชน์ชนิดที่เลว กล่าวคือถ้าไม่ใช่ประโยชน์ของคนเพียงส่วนน้อย แบบ “ได้กระจุก เสียกระจาย” ก็เป็นประโยชน์ระยะสั้น แบบ “ได้วันนี้ เสียวันหน้า”
ยกตัวอย่างประโยชน์แบบ “ได้กระจุก เสียกระจาย” ง่ายๆ ก็เช่นการที่นักการเมืองสร้างถนนให้กับหมู่บ้าน ในกรณีอย่างนี้สมมติถนนจริงๆมีมูลค่า 50 ล้านบาท แต่นักการเมืองแกล้งตั้งงบให้ตัวเองสวาปามเพิ่มเข้าไปอีก 50 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท ซึ่งเห็นชัดๆ ว่าเป็นคอร์รัปชันขั้นอุจาด แต่สำหรับคนส่วนน้อย กล่าวคือชาวบ้านนั้น การคอร์รัปชันนี้ก็ต้องถือเป็นประโยชน์อยู่ดี โดยประโยชน์นั้นก็ถือถนนมูลค่า 50 ล้านบาท ซึ่งถ้าตีเสียว่ามีชาวบ้านอยู่ 200 คน ก็เท่ากับแต่ละคนได้ “ประโยชน์” กันคนละ 25,000 บาท ในแง่นี้ ใครๆจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอร์รัปชันเป็นประโยชน์แน่ๆ ยิ่งสำหรับชาวบ้านนั้น โปรเจกต์คอร์รัปชันนี้ ยิ่งต้องถือเป็นศุภนิมิตอันน่ายินดีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม “ประโยชน์” อย่างนี้ตั้งอยู่บนความเสียหายของคนทั้งประเทศ เพราะเงินที่นักการเมืองโกงเพิ่มขึ้นมาอีก 50 ล้านบาทนั้น สุดท้ายก็ต้องเอาเงินภาษีมาจ่าย เพียงแต่ในเมื่อเงินภาษีนั้นเก็บจากคนหกสิบล้านคน ก็เท่ากับว่าแต่ละคนเสียคนละประมาณ 80 สตางค์เท่านั้น ซึ่งย่อมไม่มีใครรู้สึก ไม่มีใครประท้วงต่อต้าน ไปๆมาๆ คนเลยเห็นว่าคอร์รัปชันไม่เลวร้ายอะไร เพราะลักษณะที่ได้กระจุกเสียกระจายของคอร์รัปชันนั้น ทำให้ประโยชน์ของมันมีคนจับต้องได้ ในขณะที่โทษของมันไม่มีใครรู้ตัว
ส่วนตัวอย่างของประโยชน์แบบ “ได้วันนี้ เสียวันหน้า” ก็เช่น การสร้างสนามบินใหม่แล้วคอร์รัปชัน อย่างสนามบินควรจะสร้างด้วยเงินเพียง 100,000 ล้านบาท ก็คอร์รัปชันเสียอีก 40,000 ล้านบาท รวมเป็นใช้งบประมาณ 140,000 ล้านบาท ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการโกงถล่มทลายแทบจะพังประเทศ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อเงินส่วนที่ถูกโกงเป็นหลักหมื่นล้านนั้น ไม่ได้จัดเก็บเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียวให้คนเห็น แต่ถูกเฉลี่ยไปในอนาคตในรูปของการตัดค่าเสื่อมราคาอีก 30 ปีบ้าง ถูกเฉลี่ยไปในค่าตั๋วซึ่งแพงขึ้นอีกใบละสิบบาทยี่สิบบาทบ้าง คนก็ย่อมไม่เดือดร้อน เพราะมองส่วนที่ “เสีย” ไม่ออก ต่างกับส่วนที่ “ได้” กล่าวคือสนามบินอันทันสมัย ซึ่งทุกคนเห็นได้ชัดในวันนี้ เดี๋ยวนี้ จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ โครงการสร้างสนามบินเป็นเรื่องของประโยชน์มากกว่าการกินบ้านกินเมือง
อย่าว่าแต่ อย่างที่ภาษิตละตินว่า “เงินนั้นไม่มีกลิ่น(Percunia non olet)” กล่าวคือเงินที่มาจากการคอร์รัปชันหรือเงินไหนๆ ในทางเศรษฐศาสตร์มันก็เงินทั้งนั้น ไม่หอม ไม่เหม็นกว่ากัน และก็ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เหมือนกันด้วย ดังนั้น ถึงบรรดาโครงการอภิคอร์รัปชันทั้งหลายจะมีโทษมาก แต่พร้อมกันนั้น มันก็ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวการลงทุนตลอดจนการบริโภคได้จริงๆ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่เราอนุมัติงบประมาณพิเศษ 350,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วมนั้น เงินก้อนเดียวนี้ ไม่ช้าก็จะแปรไปเป็นค่าอิฐ ค่าปูน ค่าจ้างคนงาน ค่าขนมของลูกคนงาน ฯลฯ เรื่อยไปอีกไม่รู้จบ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการบริโภคได้อย่างมหาศาล เรียกว่าในทางเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจจะขยายตัวเท่ากับ 350,000 ล้าน (หักด้วยส่วนที่นำเข้า)ซึ่งแปลว่ามากกว่าร้อยละ 3 ของรายได้ประชาชาติต่อปีในปัจจุบันเลยทีเดียว
ดังนั้น ต่อให้โครงการ 350,000 ล้านบาท มีคอร์รัปชันเสีย 100,000 ล้านบาท ส่วนที่ถูกคอร์รัปชันก็ยังจะถูกนับเป็นรายได้ประชาชาติอยู่ดี เป็นผลงานให้รัฐบาลคุยได้ด้วยซ้ำ แม้ว่า “รายได้ประชาชาติ” ส่วนที่ว่า ลงท้ายแล้วจะไหลไปเข้าเซฟหรือตู้เสื้อผ้าของนักการเมืองเพียงไม่กี่คน
อย่างไรก็ตามความดีของคอร์รัปชันในระยะสั้นอย่างที่ว่ามานี้ไม่นานก็จะกลับกลายเป็นความเลวร้ายในอนาคต เพราะเงินที่เรานับเป็นรายได้ประชาชาตินั้น ไม่ได้งอกมาจากยอดไม้ แต่เป็นเงินกู้ เงินกู้ที่สุดท้ายเราก็ต้องใช้ ไม่ว่าจะด้วยเงินภาษีของเราหรือของลูกหลานของเรา
หลายๆครั้ง “รายได้ประชาชาติ” ที่เราภาคภูมิใจ จึงเป็นเพียงเงินในอนาคตที่ถูกดึงมาใช้สร้างความหวือหวาในปัจจุบันโดยที่ไม่แน่ว่าจะเกิดประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ เรียกได้ว่าเป็น “อัฐยายซื้อขนมยาย” (หรือไม่ก็ “อัฐหลานซื้อขนมยาย” ) ซึ่งเอาเข้าจริงๆไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าการใช้เงินตัวเองหลอกตัวเอง
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 10
บทความตอนที่ 10: สู้กับคอร์รัปชัน (1)
ในเมื่อเราได้เห็นแล้วว่าโทษของคอร์รัปชันนั้นมาก และประโยชน์ของมันฉาบฉวยเพียงใด ก็คงไม่มีทางอื่นนอกจากมาร่วมกันคิดหาทางขจัดคอร์รัปชันให้ได้ โดยนึกเสียอย่างพระมหาชนกว่าจะสำเร็จไม่สำเร็จก็ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำก็มีแต่จะจมลงไปกว่านี้ ไม่แน่ ถ้าเรานึกกันอย่างนี้มากๆ การต่อสู้กับคอร์รัปชันก็อาจสำเร็จเข้าจริงๆก็ได้ โดยมาตรการที่เห็นว่าสมควรทำมีดังต่อไปนี้
มาตรการแรก คือ การเปลี่ยนทัศนคติของสังคม
การเปลี่ยนทัศนคติในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การปลูกฝังจริยธรรมให้คนไม่คอร์รัปชันอย่างทุกวันนี้เท่านั้น แต่จะต้องเปลี่ยนจนถึงขั้นที่ว่า “ไม่ยอมให้คนอื่นคอร์รัปชัน” ด้วย เพราะลำพังการปลูกฝังให้คนไม่คอร์รัปชันอย่างเดียวนั้น ต่อให้ทำสำเร็จถึงแปดสิบเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของประเทศ (ซึ่งเข้าใจว่าเป็นอัตราความสำเร็จในการสอนศีลธรรมที่เอาศาสดาสามองค์มารวมกันก็ยังทำไม่ได้) ก็แปลว่ายังเหลือคนอีกเป็นสิบยี่สิบเปอร์เซ็นต์หรือเป็นสิบล้านคนที่พร้อมจะคอร์รัปชันให้ประเทศล่มจมต่อไป อย่าว่าแต่เอาเข้าจริงๆ การจะคอร์รัปชันให้ประเทศพังนั้น ใช้คนแค่ไม่ถึง 35 คน ไม่ทันเต็มห้องประชุมตึกไทยคู่ฟ้า ก็ดูจะพอถมเถไปแล้ว
แต่การปลูกฝังนั้น จะทำกันอย่างไร เพราะคงเห็นแล้วว่าในโลกทุนนิยมทุกวันนี้ พลังความเห็นแก่ตัวนั้นชนะความเห็นแก่ส่วนรวมหลายขุม การจะไปปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งให้คนเห็นแก่ส่วนรวมในสภาวะอย่างนี้จึงเป็นเรื่องขัดธรรมชาติ ไม่สู้การต่อต้านคอร์รัปชันโดนอาศัยความเห็นแก่ตัวนั่นแหละ แต่ทำโดยให้คนเห็นแก่ตัวแบบฉลาดขึ้น คือให้เห็นว่าแม้การคอร์รัปชันจะมีประโยชน์ต่อตนในระยะสั้น แต่นานไปแล้วก็จะมีผลเสียกว่ามาก ดังนั้นถ้าเห็นแก่ตัวจริงก็ไม่ควรจะคอร์รัปชันหรือไม่ยอมให้มีการคอร์รัปชันได้
ที่สำคัญ พวกที่เราจะต้องพยายามปลูกฝังความเข้าใจอันนี้ให้ได้มากๆ ก็คือพวกที่คอร์รัปชันกำลังเอื้อให้ “ได้กระจุก” บนความเสียหายที่กระจายไปทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่กำลังหาทางฮั้วประมูล หรือคนรากหญ้าที่กำลังได้ประโยชน์จากนโยบายประชานิยมอันไม่ยั่งยืนก็ตาม
มาตรการที่สอง คือ การกระจายอำนาจรัฐ
ตามที่ได้พูดไปแล้ว หนึ่งในการคอร์รัปชันที่แนบเนียนและจับได้ยากที่สุดก็คือการโกงที่ “เสียกระจาย” กล่าวคือการโกงในระดับนโยบายส่วนกลาง เพราะโกงไปเท่าไร เงินที่โกงก็จะถูกเฉลี่ยไปเป็นภาษีของคนทั้งประเทศจนหารแล้วตกคนละไม่กี่บาท ยากที่ใครจะรู้ตัวและเป็นเดือดเป็นร้อน
ดังนั้น ในทางตรงกันข้าม หากมีการกระจายอำนาจที่จะกำหนดงบประมาณและควบคุมทรัพยากรต่างๆ ไปให้ท้องถิ่น ก็จะทำให้การโกงนั้นไม่ได้มีผลเป็นการเสียกระจายไปในคนทั้งประเทศอย่างจับต้องไม่ได้อีกต่อไป แต่จะเป็นการโกงที่ “เสียกระจุก” อยู่เฉพาะกับคนในท้องถิ่นแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เฉลี่ยไปไหนไม่ได้ ซึ่งย่อมจะเป็นแรงจูงใจให้คนในท้องถิ่นกวดขันตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างเข้มงวดกว่าเดิม เพราะรู้สึกได้ชัดๆ ว่าตัวเองมีส่วนได้เสียจากการใช้งบประมาณท้องถิ่นนั้นนั่นเอง
จริงอยู่ เราเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีมาบ้างจาก อบจ. และ อบต. บางแห่ง ซึ่งโกงเก่งไม่แพ้ส่วนกลาง และทุกวันนี้ก็มีข่าวอบต. อบจ. ยิงกันเพราะเรื่องผลประโยชน์ให้เห็นอยู่ตลอด จนบางคนถึงกับกล่าวว่าการกระจายอำนาจเป็นการกระจายคอรัปชั่นให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในอีกทางหนึ่ง เราก็เคยมีประสบการณ์ที่ดีจากองค์กรท้องถิ่นอีกหลายแห่งเช่นกัน ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้ สามารถนำมาศึกษา พัฒนา กำหนดเป็นมาตรฐาน จากนั้นก็โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการนำไปใช้โดยทั่วไปในที่สุด
ในเมื่อเราได้เห็นแล้วว่าโทษของคอร์รัปชันนั้นมาก และประโยชน์ของมันฉาบฉวยเพียงใด ก็คงไม่มีทางอื่นนอกจากมาร่วมกันคิดหาทางขจัดคอร์รัปชันให้ได้ โดยนึกเสียอย่างพระมหาชนกว่าจะสำเร็จไม่สำเร็จก็ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำก็มีแต่จะจมลงไปกว่านี้ ไม่แน่ ถ้าเรานึกกันอย่างนี้มากๆ การต่อสู้กับคอร์รัปชันก็อาจสำเร็จเข้าจริงๆก็ได้ โดยมาตรการที่เห็นว่าสมควรทำมีดังต่อไปนี้
มาตรการแรก คือ การเปลี่ยนทัศนคติของสังคม
การเปลี่ยนทัศนคติในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การปลูกฝังจริยธรรมให้คนไม่คอร์รัปชันอย่างทุกวันนี้เท่านั้น แต่จะต้องเปลี่ยนจนถึงขั้นที่ว่า “ไม่ยอมให้คนอื่นคอร์รัปชัน” ด้วย เพราะลำพังการปลูกฝังให้คนไม่คอร์รัปชันอย่างเดียวนั้น ต่อให้ทำสำเร็จถึงแปดสิบเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของประเทศ (ซึ่งเข้าใจว่าเป็นอัตราความสำเร็จในการสอนศีลธรรมที่เอาศาสดาสามองค์มารวมกันก็ยังทำไม่ได้) ก็แปลว่ายังเหลือคนอีกเป็นสิบยี่สิบเปอร์เซ็นต์หรือเป็นสิบล้านคนที่พร้อมจะคอร์รัปชันให้ประเทศล่มจมต่อไป อย่าว่าแต่เอาเข้าจริงๆ การจะคอร์รัปชันให้ประเทศพังนั้น ใช้คนแค่ไม่ถึง 35 คน ไม่ทันเต็มห้องประชุมตึกไทยคู่ฟ้า ก็ดูจะพอถมเถไปแล้ว
แต่การปลูกฝังนั้น จะทำกันอย่างไร เพราะคงเห็นแล้วว่าในโลกทุนนิยมทุกวันนี้ พลังความเห็นแก่ตัวนั้นชนะความเห็นแก่ส่วนรวมหลายขุม การจะไปปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งให้คนเห็นแก่ส่วนรวมในสภาวะอย่างนี้จึงเป็นเรื่องขัดธรรมชาติ ไม่สู้การต่อต้านคอร์รัปชันโดนอาศัยความเห็นแก่ตัวนั่นแหละ แต่ทำโดยให้คนเห็นแก่ตัวแบบฉลาดขึ้น คือให้เห็นว่าแม้การคอร์รัปชันจะมีประโยชน์ต่อตนในระยะสั้น แต่นานไปแล้วก็จะมีผลเสียกว่ามาก ดังนั้นถ้าเห็นแก่ตัวจริงก็ไม่ควรจะคอร์รัปชันหรือไม่ยอมให้มีการคอร์รัปชันได้
ที่สำคัญ พวกที่เราจะต้องพยายามปลูกฝังความเข้าใจอันนี้ให้ได้มากๆ ก็คือพวกที่คอร์รัปชันกำลังเอื้อให้ “ได้กระจุก” บนความเสียหายที่กระจายไปทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่กำลังหาทางฮั้วประมูล หรือคนรากหญ้าที่กำลังได้ประโยชน์จากนโยบายประชานิยมอันไม่ยั่งยืนก็ตาม
มาตรการที่สอง คือ การกระจายอำนาจรัฐ
ตามที่ได้พูดไปแล้ว หนึ่งในการคอร์รัปชันที่แนบเนียนและจับได้ยากที่สุดก็คือการโกงที่ “เสียกระจาย” กล่าวคือการโกงในระดับนโยบายส่วนกลาง เพราะโกงไปเท่าไร เงินที่โกงก็จะถูกเฉลี่ยไปเป็นภาษีของคนทั้งประเทศจนหารแล้วตกคนละไม่กี่บาท ยากที่ใครจะรู้ตัวและเป็นเดือดเป็นร้อน
ดังนั้น ในทางตรงกันข้าม หากมีการกระจายอำนาจที่จะกำหนดงบประมาณและควบคุมทรัพยากรต่างๆ ไปให้ท้องถิ่น ก็จะทำให้การโกงนั้นไม่ได้มีผลเป็นการเสียกระจายไปในคนทั้งประเทศอย่างจับต้องไม่ได้อีกต่อไป แต่จะเป็นการโกงที่ “เสียกระจุก” อยู่เฉพาะกับคนในท้องถิ่นแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เฉลี่ยไปไหนไม่ได้ ซึ่งย่อมจะเป็นแรงจูงใจให้คนในท้องถิ่นกวดขันตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างเข้มงวดกว่าเดิม เพราะรู้สึกได้ชัดๆ ว่าตัวเองมีส่วนได้เสียจากการใช้งบประมาณท้องถิ่นนั้นนั่นเอง
จริงอยู่ เราเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีมาบ้างจาก อบจ. และ อบต. บางแห่ง ซึ่งโกงเก่งไม่แพ้ส่วนกลาง และทุกวันนี้ก็มีข่าวอบต. อบจ. ยิงกันเพราะเรื่องผลประโยชน์ให้เห็นอยู่ตลอด จนบางคนถึงกับกล่าวว่าการกระจายอำนาจเป็นการกระจายคอรัปชั่นให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในอีกทางหนึ่ง เราก็เคยมีประสบการณ์ที่ดีจากองค์กรท้องถิ่นอีกหลายแห่งเช่นกัน ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้ สามารถนำมาศึกษา พัฒนา กำหนดเป็นมาตรฐาน จากนั้นก็โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการนำไปใช้โดยทั่วไปในที่สุด
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 11
บทความตอนที่ 11: สู้กับคอร์รัปชัน (2)
ต่อจากตอนที่แล้ว มาตรการที่สามในการสู้กับคอร์รัปชัน คือ การขจัดเงื่อนไขที่เอื้อให้มีการทุจริต
กล่าวคือการลดขั้นตอนในระบบราชการและแก้ไขระเบียบปฏิบัติที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะตัวบทกฎหมายที่มักให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ใช้ “ดุลพินิจ” ในการอนุญาต ซึ่งแปลว่าอะไรก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าเจ้าหน้าที่มักอาศัยกฎหมายหน้าตาอย่างนี้เรียกสินบน ทางที่ดี รัฐจึงควรจะเอาต์ซอร์สงานบริการไปให้เอกชนให้มากที่สุด เช่นงานศุลกากร เพื่อตัดเล็มเรื่องบางเรื่องออกจากอำนาจรัฐ จะได้ลดโอกาสทุจริต โดยถ้ากลัวว่ายกไปให้เอกชนทำแล้ว เอกชนจะทุจริตอีก ก็ให้ปรับโทษเอกชนที่บกพร่องในหน้าที่ให้หนักเกินกว่าประโยชน์ที่เอกชนนั้นๆจะได้จากคอร์รัปชัน เท่านั้น เอกชนจะเป็นฝ่ายขวนขวายหามาตรการมาป้องกันไม่ให้ความบกพร่องเกิดขึ้นได้เอง
นอกจากนั้น ในส่วนของกระบวนการอนุญาตต่างๆ ก็ควรมีการกำหนด Service Level Agreement กล่าวคือข้อตกลงที่ทำให้เอกชนรู้ว่ายื่นเรื่องไปแล้ว รัฐจะทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด เพราะทุกวันนี้ กระบวนการติดต่อกับรัฐส่วนมากมักอยู่ในรูปของการที่เอกชนยื่นขออนุญาต ขออนุมัติแล้วก็ร้องเพลงรออย่างเดียว ไม่มีกำหนด กะเกณฑ์อะไรไม่ได้ทั้งนั้น ทำให้เอกชนไม่สามารถวางแผนทางธุรกิจได้ พอรอมากๆเข้าเอกชนก็เลยเกิดความกระสับกระส่าย อันเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เอกชนอยากติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อเร่งรัดเรื่องราว และดับความกระสับกระส่ายในที่สุด
นอกจากนั้น รัฐจะต้องระมัดระวังในการออกกฎระเบียบต่างๆ ไม่ให้มีผลเป็นการเพิ่มขั้นตอนและขัดประสิทธิภาพเสียเอง อย่างเช่นกรณีที่ปปช. ออกกฎให้เอกชนที่มีการค้าขายกับภาครัฐเกินสองล้านบาท ต้องจัดทำบัญชีและรายงานเฉพาะส่งต่อกรมสรรพากร เป็นต้น เพราะหากลองพิจารณาดู กฎอย่างนี้ไม่น่าจะลดคอร์รัปชันได้ แต่กลับสร้างต้นทุนให้กับเอกชนโดยไม่ควร ทำให้บริษัทดีๆ จำนวนมากถอนตัวจากการค้าขายกับรัฐ เพราะคร้านจะทนความยุ่งยาก หรือไม่ก็ผลักต้นทุนดังกล่าวให้กลับมาเป็นภาระของรัฐอีกทีหนึ่ง
แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือ กฎที่หยุมหยิมแต่ไร้ประสิทธิภาพจะเอื้อให้เกิดธุรกิจตัวกลางในการคอร์รัปชัน (เช่น บริษัทชิปปิ้ง) ซึ่งจะรับทำหน้าที่เดินเรื่องต่างๆ กับรัฐ กล่าวคือจ่ายสินบนแทนเอกชน อันถือเป็นการสร้างระบบให้กับคอร์รัปชัน ซึ่งจะยิ่งทำให้คอร์รัปชันเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น และฉิบหายต่อประเทศมากขึ้นต่อไป
มาตรการที่สี่ คือการเพิ่มความโปร่งใสภาครัฐ
ตามที่รู้กัน ความโปร่งใสนั้นเครื่องกำกับไม่ให้พฤติกรรมการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือคอร์รัปชันนั้นเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การเพิ่มความโปร่งใสของภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในการสู้กับคอร์รัปชัน จริงอยู่ ทุกวันนี้ เราก็มีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะเรียกดูข้อมูลบางลักษณะจากราชการได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ต้องยอมรับว่าการเรียกข้อมูลดังกล่าวนั้นมีขั้นตอนยุ่งยาก จึงไม่ชวนให้ใครขวนขวายติดตามเรื่องเท่าใดนัก
ดังนั้น รัฐจึงควรจะเป็นฝ่ายเปิดเผยข้อมูลตัวเองเสียตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะเรื่องที่มักเกิดความไม่ชอบมาพากลได้ง่ายๆ จำพวกรายงานการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการลงทุนภาครัฐ การติดตามการประเมินผลการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดราคากลางและการเปิดเผยผลการประมูล เป็นต้น
โดยที่จะละเลยไม่ได้ก็คือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปีๆหนึ่งใช้งบประมาณมากกว่าที่รัฐบาลต้องผ่านสภาเสียอีก แต่กลับมีการตรวจสอบน้อยมาก ดังนั้นรัฐวิสาหกิจไม่ว่าจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วหรือไม่ ก็ควรมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูล และมีมาตรฐานบรรษัทภิบาลในระดับเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้คอยติดตามดูแล รวมทั้งอาจเปลี่ยนระบบบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีให้เป็นสากลเสียด้วย นอกเหนือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งให้คงทำหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐโกงได้ยากขึ้น และประชาชนตรวจสอบได้สะดวกขึ้นนั่นเอง
ต่อจากตอนที่แล้ว มาตรการที่สามในการสู้กับคอร์รัปชัน คือ การขจัดเงื่อนไขที่เอื้อให้มีการทุจริต
กล่าวคือการลดขั้นตอนในระบบราชการและแก้ไขระเบียบปฏิบัติที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะตัวบทกฎหมายที่มักให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ใช้ “ดุลพินิจ” ในการอนุญาต ซึ่งแปลว่าอะไรก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าเจ้าหน้าที่มักอาศัยกฎหมายหน้าตาอย่างนี้เรียกสินบน ทางที่ดี รัฐจึงควรจะเอาต์ซอร์สงานบริการไปให้เอกชนให้มากที่สุด เช่นงานศุลกากร เพื่อตัดเล็มเรื่องบางเรื่องออกจากอำนาจรัฐ จะได้ลดโอกาสทุจริต โดยถ้ากลัวว่ายกไปให้เอกชนทำแล้ว เอกชนจะทุจริตอีก ก็ให้ปรับโทษเอกชนที่บกพร่องในหน้าที่ให้หนักเกินกว่าประโยชน์ที่เอกชนนั้นๆจะได้จากคอร์รัปชัน เท่านั้น เอกชนจะเป็นฝ่ายขวนขวายหามาตรการมาป้องกันไม่ให้ความบกพร่องเกิดขึ้นได้เอง
นอกจากนั้น ในส่วนของกระบวนการอนุญาตต่างๆ ก็ควรมีการกำหนด Service Level Agreement กล่าวคือข้อตกลงที่ทำให้เอกชนรู้ว่ายื่นเรื่องไปแล้ว รัฐจะทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด เพราะทุกวันนี้ กระบวนการติดต่อกับรัฐส่วนมากมักอยู่ในรูปของการที่เอกชนยื่นขออนุญาต ขออนุมัติแล้วก็ร้องเพลงรออย่างเดียว ไม่มีกำหนด กะเกณฑ์อะไรไม่ได้ทั้งนั้น ทำให้เอกชนไม่สามารถวางแผนทางธุรกิจได้ พอรอมากๆเข้าเอกชนก็เลยเกิดความกระสับกระส่าย อันเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เอกชนอยากติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อเร่งรัดเรื่องราว และดับความกระสับกระส่ายในที่สุด
นอกจากนั้น รัฐจะต้องระมัดระวังในการออกกฎระเบียบต่างๆ ไม่ให้มีผลเป็นการเพิ่มขั้นตอนและขัดประสิทธิภาพเสียเอง อย่างเช่นกรณีที่ปปช. ออกกฎให้เอกชนที่มีการค้าขายกับภาครัฐเกินสองล้านบาท ต้องจัดทำบัญชีและรายงานเฉพาะส่งต่อกรมสรรพากร เป็นต้น เพราะหากลองพิจารณาดู กฎอย่างนี้ไม่น่าจะลดคอร์รัปชันได้ แต่กลับสร้างต้นทุนให้กับเอกชนโดยไม่ควร ทำให้บริษัทดีๆ จำนวนมากถอนตัวจากการค้าขายกับรัฐ เพราะคร้านจะทนความยุ่งยาก หรือไม่ก็ผลักต้นทุนดังกล่าวให้กลับมาเป็นภาระของรัฐอีกทีหนึ่ง
แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือ กฎที่หยุมหยิมแต่ไร้ประสิทธิภาพจะเอื้อให้เกิดธุรกิจตัวกลางในการคอร์รัปชัน (เช่น บริษัทชิปปิ้ง) ซึ่งจะรับทำหน้าที่เดินเรื่องต่างๆ กับรัฐ กล่าวคือจ่ายสินบนแทนเอกชน อันถือเป็นการสร้างระบบให้กับคอร์รัปชัน ซึ่งจะยิ่งทำให้คอร์รัปชันเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น และฉิบหายต่อประเทศมากขึ้นต่อไป
มาตรการที่สี่ คือการเพิ่มความโปร่งใสภาครัฐ
ตามที่รู้กัน ความโปร่งใสนั้นเครื่องกำกับไม่ให้พฤติกรรมการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือคอร์รัปชันนั้นเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การเพิ่มความโปร่งใสของภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในการสู้กับคอร์รัปชัน จริงอยู่ ทุกวันนี้ เราก็มีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะเรียกดูข้อมูลบางลักษณะจากราชการได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ต้องยอมรับว่าการเรียกข้อมูลดังกล่าวนั้นมีขั้นตอนยุ่งยาก จึงไม่ชวนให้ใครขวนขวายติดตามเรื่องเท่าใดนัก
ดังนั้น รัฐจึงควรจะเป็นฝ่ายเปิดเผยข้อมูลตัวเองเสียตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะเรื่องที่มักเกิดความไม่ชอบมาพากลได้ง่ายๆ จำพวกรายงานการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการลงทุนภาครัฐ การติดตามการประเมินผลการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดราคากลางและการเปิดเผยผลการประมูล เป็นต้น
โดยที่จะละเลยไม่ได้ก็คือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปีๆหนึ่งใช้งบประมาณมากกว่าที่รัฐบาลต้องผ่านสภาเสียอีก แต่กลับมีการตรวจสอบน้อยมาก ดังนั้นรัฐวิสาหกิจไม่ว่าจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วหรือไม่ ก็ควรมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูล และมีมาตรฐานบรรษัทภิบาลในระดับเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้คอยติดตามดูแล รวมทั้งอาจเปลี่ยนระบบบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีให้เป็นสากลเสียด้วย นอกเหนือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งให้คงทำหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐโกงได้ยากขึ้น และประชาชนตรวจสอบได้สะดวกขึ้นนั่นเอง
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 12
บทความตอนที่ 12: สู้กับคอร์รัปชัน (4)
มาตรการที่เจ็ดคือ การส่งเสริมองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน
ตามอย่างที่ได้เคยบอกไปแล้ว การจะต่อสู้กับคอร์รัปชันนั้น ลำพังการรณรงค์ให้คนเลิกโกงอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำจนถึงขนาดให้คนที่ไม่โกงนั้น คอยก่อกวนขัดขวางคนโกงด้วย การโกงถึงจะลดน้อยลงได้ ซึ่งวิธีการก่อกวนขัดขวางคนโกงนั้น ทางหนึ่งก็ทำได้ด้วยการส่งเสริมองค์กรภาคประชาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านคอร์รัปชันนั่นเอง โดยหน้าที่ขององค์กรอย่างนี้ก็คือการทำตัวเป็น Watchdog หรือหมาเฝ้าบ้าน ที่คอยสังเกตความไม่ชอบมาพากลต่างๆ แล้วพอเจออะไรเข้าก็รีบตีฆ้องร้องป่าวให้สังคมสาดสปอร์ตไลท์มาที่เรื่องนั้นๆ เรื่องลึกลับดำมืดทั้งหลายก็จะได้กระจ่าง รวมทั้งประสานงานส่งลูกให้หน่วยงานฝ่ายปราบปรามอื่นๆ ของรัฐต่อไป
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่คอร์รัปชันทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นแค่การเรียกค่าน้ำร้อนน้ำชาจุ๋มๆจิ๋มๆแล้ว แต่เป็นการโกงในระดับโครงสร้างของโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย อย่างเรื่องซีทีเอกซ์ สามจี จำนำข้าว ฯลฯ คนทั่วไปไม่ใช่จะเข้าใจได้ง่ายๆ อย่าว่าแต่จะจับผิด ดังนั้น การจะติดตามเรื่องเหล่านี้ นอกจากจะใช้แรงอาสาซึ่งอาจจะมีแต่ตาสีตาสาแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีการทุ่มทรัพยากรจัดหาบุคลากรที่เป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่างๆ เช่นบุคลากรขององค์กรวิชาชีพวิศวกร สถาปนิก ทนายความ นักบัญชี บุคลากรจากสถาบันการศึกษา บุคลากรจากบริษัทเอกชนหรือธนาคาร ฯลฯ มาเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบให้เป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว ไม่เช่นนั้นก็ไม่ทันพวกนักคอร์รัปชันกินไปได้
นอกจากนี้ สื่อหรือสำนักข่าวก็ควรจะต้องทำบทบาทการตรวจสอบให้มากขึ้น คือไม่ใช่แค่รายงานข่าวแบบฉาบฉวยแล้วก็แจกความเห็นลอยๆ อีกต่อไป แต่ต้องขุดคุ้ยสืบสาวเรื่องให้มากพอที่ทำให้ประชาชนเห็นภาพและตระหนักในนัยยะดีร้ายของเรื่องได้ ไม่ว่าจะโดยการเอาเอกสารทางกฎหมาย ทางบัญชีมาวิเคราะห์ตรวจสอบ การศึกษาถึงเรื่องทางเทคนิคหรือแนวปฏิบัติของธุรกิจหรือกิจการแขนงต่างๆ หรือการเรียกเอาข้อมูลจากภาครัฐ ฯลฯ เสร็จแล้วก็ประมวลทุกอย่างออกมาเพื่อชี้ประเด็นและวิเคราะห์แก่สาธารณชน อย่างที่เขาเรียกว่า Investigative Journalismซึ่งนี่ก็คงหนีไม่พ้นการปฏิรูปสื่อครั้งใหญ่ เพราะสำนักข่าวหลักเท่าที่มีในปัจจุบันนั้น เปิดหน้าหนังสือพิมพ์หรือเปิดรายการมาก็เจอแต่ชื่อองค์กรที่น่าจะถูกตรวจสอบกล่าวคือรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นคนสนับสนุนโฆษณาในสื่อนั้นๆในสัดส่วนที่สูงมาก จะให้สื่อไทยรับเงินเขาแล้วไปตรวจสอบเขาด้วยก็ดูจะเป็นเรื่องขัดธรรมชาติเต็มที
มาตรการที่แปดคือ การร่วมมือกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ
การต่อต้านคอร์รัปชันอาจเป็นเรื่องที่ยังมะงุมมะงาหราในเมืองไทย แต่สำหรับประเทศอื่นนั้นเขาทำมานาน และก็ทำได้ผลกันมาเยอะแล้ว หลายประเทศอย่างเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และเยอรมนี ได้ออกกฎหมายที่มีโทษรุนแรงสำหรับเอกชนสัญชาติตนที่มีพฤติกรรมพัวพันกับการคอร์รัปชันแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศตนก็ตาม อย่างเช่นบริษัทเยอรมันจะมาติดสินบนนักการเมืองไทยก็ไม่ได้ จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การซื้อขายระหว่างหน่วยงานของรัฐไทยกับเอกชนของประเทศเหล่านี้โดยตรงมีน้อยมาก แสดงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันและการบังคับใช้ในประเทศเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ องค์กรนานาชาติหลายแห่ง เช่นWorld Bank, Asian Development Bank(ADB), Transparency International, Open Society Foundations, Bill & Melinda Gates Foundation ก็ยังพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา ในส่วนของความรู้ ประสบการณ์ หรือเงินทุนเพื่อการขจัดคอร์รัปชันอีกด้วย ดังนั้น การร่วมมือกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำควบคู่กันไปกับความพยายามวางมาตรการต่างๆในประเทศ
สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่า มาตรการที่นำเสนอมาทั้ง 8 ข้อนั้น โดยมากต้องเป็นการริเริ่มจากภาครัฐ โดยเฉพาะในข้อ 2 ถึงข้อ 6 อย่างไรก็ตาม เอกชนก็มีทางผลักดันให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เหมือนกันโดยอาศัยช่องทางตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของรัฐ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตได้
ดังนั้น หากเอกชนยอมเหนื่อยออกแบบมาตรการต้านคอร์รัปชันต่างๆเสียให้ดีและนำเสนอรัฐบาลผ่านปปช. ก็น่าเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องรับลูกต่อและสนองตอบ
ไม่เช่นนั้น รัฐบาลก็จำเป็นจะต้องคิดหาข้อแก้ตัวมาให้ดีทีเดียว
มาตรการที่เจ็ดคือ การส่งเสริมองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน
ตามอย่างที่ได้เคยบอกไปแล้ว การจะต่อสู้กับคอร์รัปชันนั้น ลำพังการรณรงค์ให้คนเลิกโกงอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำจนถึงขนาดให้คนที่ไม่โกงนั้น คอยก่อกวนขัดขวางคนโกงด้วย การโกงถึงจะลดน้อยลงได้ ซึ่งวิธีการก่อกวนขัดขวางคนโกงนั้น ทางหนึ่งก็ทำได้ด้วยการส่งเสริมองค์กรภาคประชาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านคอร์รัปชันนั่นเอง โดยหน้าที่ขององค์กรอย่างนี้ก็คือการทำตัวเป็น Watchdog หรือหมาเฝ้าบ้าน ที่คอยสังเกตความไม่ชอบมาพากลต่างๆ แล้วพอเจออะไรเข้าก็รีบตีฆ้องร้องป่าวให้สังคมสาดสปอร์ตไลท์มาที่เรื่องนั้นๆ เรื่องลึกลับดำมืดทั้งหลายก็จะได้กระจ่าง รวมทั้งประสานงานส่งลูกให้หน่วยงานฝ่ายปราบปรามอื่นๆ ของรัฐต่อไป
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่คอร์รัปชันทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นแค่การเรียกค่าน้ำร้อนน้ำชาจุ๋มๆจิ๋มๆแล้ว แต่เป็นการโกงในระดับโครงสร้างของโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย อย่างเรื่องซีทีเอกซ์ สามจี จำนำข้าว ฯลฯ คนทั่วไปไม่ใช่จะเข้าใจได้ง่ายๆ อย่าว่าแต่จะจับผิด ดังนั้น การจะติดตามเรื่องเหล่านี้ นอกจากจะใช้แรงอาสาซึ่งอาจจะมีแต่ตาสีตาสาแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีการทุ่มทรัพยากรจัดหาบุคลากรที่เป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่างๆ เช่นบุคลากรขององค์กรวิชาชีพวิศวกร สถาปนิก ทนายความ นักบัญชี บุคลากรจากสถาบันการศึกษา บุคลากรจากบริษัทเอกชนหรือธนาคาร ฯลฯ มาเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบให้เป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว ไม่เช่นนั้นก็ไม่ทันพวกนักคอร์รัปชันกินไปได้
นอกจากนี้ สื่อหรือสำนักข่าวก็ควรจะต้องทำบทบาทการตรวจสอบให้มากขึ้น คือไม่ใช่แค่รายงานข่าวแบบฉาบฉวยแล้วก็แจกความเห็นลอยๆ อีกต่อไป แต่ต้องขุดคุ้ยสืบสาวเรื่องให้มากพอที่ทำให้ประชาชนเห็นภาพและตระหนักในนัยยะดีร้ายของเรื่องได้ ไม่ว่าจะโดยการเอาเอกสารทางกฎหมาย ทางบัญชีมาวิเคราะห์ตรวจสอบ การศึกษาถึงเรื่องทางเทคนิคหรือแนวปฏิบัติของธุรกิจหรือกิจการแขนงต่างๆ หรือการเรียกเอาข้อมูลจากภาครัฐ ฯลฯ เสร็จแล้วก็ประมวลทุกอย่างออกมาเพื่อชี้ประเด็นและวิเคราะห์แก่สาธารณชน อย่างที่เขาเรียกว่า Investigative Journalismซึ่งนี่ก็คงหนีไม่พ้นการปฏิรูปสื่อครั้งใหญ่ เพราะสำนักข่าวหลักเท่าที่มีในปัจจุบันนั้น เปิดหน้าหนังสือพิมพ์หรือเปิดรายการมาก็เจอแต่ชื่อองค์กรที่น่าจะถูกตรวจสอบกล่าวคือรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นคนสนับสนุนโฆษณาในสื่อนั้นๆในสัดส่วนที่สูงมาก จะให้สื่อไทยรับเงินเขาแล้วไปตรวจสอบเขาด้วยก็ดูจะเป็นเรื่องขัดธรรมชาติเต็มที
มาตรการที่แปดคือ การร่วมมือกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ
การต่อต้านคอร์รัปชันอาจเป็นเรื่องที่ยังมะงุมมะงาหราในเมืองไทย แต่สำหรับประเทศอื่นนั้นเขาทำมานาน และก็ทำได้ผลกันมาเยอะแล้ว หลายประเทศอย่างเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และเยอรมนี ได้ออกกฎหมายที่มีโทษรุนแรงสำหรับเอกชนสัญชาติตนที่มีพฤติกรรมพัวพันกับการคอร์รัปชันแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศตนก็ตาม อย่างเช่นบริษัทเยอรมันจะมาติดสินบนนักการเมืองไทยก็ไม่ได้ จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การซื้อขายระหว่างหน่วยงานของรัฐไทยกับเอกชนของประเทศเหล่านี้โดยตรงมีน้อยมาก แสดงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันและการบังคับใช้ในประเทศเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ องค์กรนานาชาติหลายแห่ง เช่นWorld Bank, Asian Development Bank(ADB), Transparency International, Open Society Foundations, Bill & Melinda Gates Foundation ก็ยังพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา ในส่วนของความรู้ ประสบการณ์ หรือเงินทุนเพื่อการขจัดคอร์รัปชันอีกด้วย ดังนั้น การร่วมมือกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำควบคู่กันไปกับความพยายามวางมาตรการต่างๆในประเทศ
สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่า มาตรการที่นำเสนอมาทั้ง 8 ข้อนั้น โดยมากต้องเป็นการริเริ่มจากภาครัฐ โดยเฉพาะในข้อ 2 ถึงข้อ 6 อย่างไรก็ตาม เอกชนก็มีทางผลักดันให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เหมือนกันโดยอาศัยช่องทางตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของรัฐ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตได้
ดังนั้น หากเอกชนยอมเหนื่อยออกแบบมาตรการต้านคอร์รัปชันต่างๆเสียให้ดีและนำเสนอรัฐบาลผ่านปปช. ก็น่าเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องรับลูกต่อและสนองตอบ
ไม่เช่นนั้น รัฐบาลก็จำเป็นจะต้องคิดหาข้อแก้ตัวมาให้ดีทีเดียว
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- whitecastle
- Verified User
- โพสต์: 406
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 15
แล้วในขณะนี้มีองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นไหนที่มีศักยภาพและทำกันจริงจังบ้างครับท่านใดพอทราบบ้าง
แต่โดยส่วนตัว(อายุ32ปี)ก็เห็นว่ามีคนที่ออกมาต่อต้านโดยออกสื่อนะครับมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากเหมือนกล้ามากขึ้นนะ
แต่โดยส่วนตัว(อายุ32ปี)ก็เห็นว่ามีคนที่ออกมาต่อต้านโดยออกสื่อนะครับมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากเหมือนกล้ามากขึ้นนะ
- dino
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1281
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 16
ด้วยความเคารพนะครับ
กระทู้นี้น่าจะอยู่ห้องนั่งเล่นรึป่าวครับ
ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยด้วยครับ
กระทู้นี้น่าจะอยู่ห้องนั่งเล่นรึป่าวครับ
ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยด้วยครับ
1 ซื้อหุ้นของกิจการที่ดี
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 17
การต่อต้านการคอรัปชั่น เริ่มที่ตัวท่านเองครับ บริษัทของท่าน ครอบครัวของท่าน
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 18
หลายคนหล่าวหานักการเมือง ข้าราชการ คอรัปชั่นoatty เขียน:การต่อต้านการคอรัปชั่น เริ่มที่ตัวท่านเองครับ บริษัทของท่าน ครอบครัวของท่าน
ขณะที่ตัวเองเปิดกิจการห้างร้านก็พยายามหลบเลี่ยงภาษี
ธนาคารสถาบันการเงินทั้งหลายก็รู้เห็นเป็นใจ สนับสนุนเงินกู้ยืม
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่ออนาคตของเมืองไทย โดย บรรย
โพสต์ที่ 19
oatty เขียน:การต่อต้านการคอรัปชั่น เริ่มที่ตัวท่านเองครับ บริษัทของท่าน ครอบครัวของท่าน
เล่นหุ้นใช้อินไซด์ ปั่นราคา เชียร์หุ้นเพื่อขาย
ไม่ต่างกับการคอรัปชั่น
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว