คุณภาพของกำไร
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 360
- ผู้ติดตาม: 0
คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 1
คุณภาพของกำไร : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า หุ้นบางตัวทำไม p/e ต่ำมาก แต่เมื่อซื้อไปแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน บางตัวอาจจะต่ำกว่าพื้นฐานจริงๆ แต่หลายๆตัวอาจจะซื้อขายอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสมแล้ว เพราะตัวที่กำหนด p/e ปัจจัยหนึ่งคือ “ คุณภาพของกำไร ” ครับ
คุณภาพของกำไรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ครับ
1. แนวโน้มของความสม่ำเสมอของกำไร หุ้นบางตัวอาจจะมีกำไรดีเพียงปีใดปีหนึ่งหรือชั่วครั้งชั่วคราว และมีผลการดำเนินงานย้อนหลังไม่สม่ำเสมอ เช่น บางปีกำไรน้อย บางปีกำไรมาก หรือบางปีขาดทุน บางปีกำไร หุ้นประเภทเหล่านี้มีคุณภาพของกำไรต่ำครับ หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นวัฎจักร ที่มีผลการดำเนินงานขึ้นลงตามรอบของราคาผลิตภัณฑ์ หรือเป็นหุ้นที่มียอดขายแปรผันตามเศรษฐกิจมากๆ หรืออาจจะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูง เช่น หุ้นที่ต้องใช้แร่ธาตุเป็นสัดส่วนสูงในการผลิต หรือหุ้นการเกษตรที่กำไรในแต่ละปีมีความสัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ หรือโรคระบาด หุ้นเหล่านี้ถือว่ามีคุณภาพของกำไรต่ำครับ
ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง คือหุ้นที่มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำไรสามารถเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่มีความนิยมในตัวแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์สูงและลูกค้ามักจะมีการซื้อซ้ำ หรือมีต้นทุนในการ switching ไปใช้สินค้าคู่แข่งสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงหุ้นที่มีฐานรายได้มั่นคงจากการให้เช่า ซึ่งหมายความว่าหากลูกค้าเดิมยังอยู่ รายได้ในปีนี้จะเป็นฐานของปีต่อไป และหากมีลูกค้าเพิ่มหรือมีการขยาย ก็จะทำให้ฐานรายได้เพิ่มขึ้นไปตลอด
2. รูปแบบการรับรู้รายได้ หุ้นบางตัวมีการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสูง แต่รายได้ทั้งหมดเป็นลูกหนี้การค้า คือ ให้เครดิตกับลูกค้า หุ้นประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพของกำไรต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระยะเวลาที่ให้เครดิตกับลูกค้านานกว่าระยะเวลาการได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้าด้วย (A/R day ต่ำว่า A/P day) หุ้นประเภทเหล่านี้เวลารายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง และมีความเสี่ยงจากการเกิดหนี้สูญในอนาคตด้วย นอกจากนี้ หากหุ้นดังกล่าวมี net margin คืออัตรากำไรเทียบยอดขายต่ำ ก็จะยิ่งทำให้คุณภาพของกำไรแย่ลงไปอีก เนื่องจากแสดงว่าการจะได้มาซึ่งกำไรเพิ่มขึ้น 1 บาท จะต้องใช้ยอดขายเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งต้องหมายความว่าจะใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงกว่าหุ้นที่มี net margin สูง
หุ้นที่มีการรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด หรือจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต จะเป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงกว่า
3. หุ้นที่ต้องการใช้เงินลงทุนสูงในการเพิ่มกำไร ธุรกิจบางประเภทหากต้องการเพิ่มกำไร จะต้องมีการลงทุนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กำไรที่ได้ในปีปัจจุบันจะต้องถูกเก็บไว้สำหรับลงทุนใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อเพิ่มยอดขาย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่เรียกว่า capital intensive ถือว่ามีแนวโน้มของคุณภาพกำไรที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นธุรกิจที่การขยายโครงการให้ผลตอบแทนโดยวัดจาก IRR หรือ ROA ไม่สูงนัก เมื่อผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ก็จะทำให้ต้องใช้เงินทุนสูงในการสร้างกำไรที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย หุ้นดังกล่าวมักจะต้องมีต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นประเภทนี้ หากรายได้ลดลงเมื่อไหร่ กำไรจะลงเร็วมาก เพราะต้นทุนคงที่ที่เพิ่มขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะต้องมีเงินกู้ระดับสูงตลอดเวลา จึงทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูง นอกจากนี้จะส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย กล่าวคือ หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมี p/e ต่ำ แต่มี dividend yield ต่ำเช่นกัน หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะเป็นหุ้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ของตัวเอง
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรที่ต่ำมากไปอีกคือ หุ้นที่จะต้องมีการลงทุนตลอดเวลาเพื่อรักษารายได้และกำไรให้คงที่ หุ้นประเภทนี้มักจะเป็นหุ้นที่กระบวนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเร็วมาก ดังนั้นหุ้นประเภทดังกล่าวนอกจากกำไรจะแทบไม่เพิ่มแล้ว ปันผลก็จะอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันอีกด้วย
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า หุ้นธนาคาร ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ปัจจุบันธนาคารมีต้นทุนเงินฝาก 2% โดยประมาณ และปล่อยกู้ได้เฉลี่ย 6% ดังนั้นผลตอบแทนของสินทรัพย์หลังหักค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 3% ดังนั้น การที่ธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 3 บาท จะต้องเพิ่มสินทรัพย์ถึง 100 บาท โดยสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นลูกหนี้ธนาคาร ดังนั้นก็เท่ากับว่าหากลูกหนี้ 100 บาท ที่เพิ่มมานั้น สามารถชำระได้เพียง 50 บาท ก็เท่ากับว่า ธนาคารต้องทำงานเพื่อชดเชยเงินให้กู้ที่หายไปถึง 16 ปี
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงคือ หุ้นที่สามารถเพิ่มรายได้และกำไร โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มหรือลงทุนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น
ข้อสังเกตของหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรต่ำก็คือ แม้ว่า p/e จะต่ำ แต่ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ต่ำ และจำนวนหนี้สินไม่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และท้ายสุดอาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาขยายกิจการ และหุ้นทึ่มีคุณภาพของกำไรต่ำ หลายบริษัทไม่สามารถยืนได้ในระยะยาวๆ วันหนึ่งมักจะพบกับปัญหาต่างๆ เช่น หนี้สูญ ภาวะถดถอยของธุรกิจที่ทำให้ต้องมีปัญหาด้านการชำระเงินกู้ หรือการลดลงของรายได้หรือกำไรอย่างรวดเร็วที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาวัตถุดิบ ปัจจัยด้านธรรมชาติหรือโรคระบาดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกำไร ยังมีประเด็นปลีกย่อยอยู่บ้าง และผมอาจจะเสริมอีกที หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมหุ้นบางตัว p/e ต่ำแต่ไม่น่าซื้อ หรือหุ้นบางตัว p/e สูง แต่ทำไมยังขึ้นไปอีกเรื่อยๆครับ
เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า หุ้นบางตัวทำไม p/e ต่ำมาก แต่เมื่อซื้อไปแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน บางตัวอาจจะต่ำกว่าพื้นฐานจริงๆ แต่หลายๆตัวอาจจะซื้อขายอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสมแล้ว เพราะตัวที่กำหนด p/e ปัจจัยหนึ่งคือ “ คุณภาพของกำไร ” ครับ
คุณภาพของกำไรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ครับ
1. แนวโน้มของความสม่ำเสมอของกำไร หุ้นบางตัวอาจจะมีกำไรดีเพียงปีใดปีหนึ่งหรือชั่วครั้งชั่วคราว และมีผลการดำเนินงานย้อนหลังไม่สม่ำเสมอ เช่น บางปีกำไรน้อย บางปีกำไรมาก หรือบางปีขาดทุน บางปีกำไร หุ้นประเภทเหล่านี้มีคุณภาพของกำไรต่ำครับ หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นวัฎจักร ที่มีผลการดำเนินงานขึ้นลงตามรอบของราคาผลิตภัณฑ์ หรือเป็นหุ้นที่มียอดขายแปรผันตามเศรษฐกิจมากๆ หรืออาจจะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูง เช่น หุ้นที่ต้องใช้แร่ธาตุเป็นสัดส่วนสูงในการผลิต หรือหุ้นการเกษตรที่กำไรในแต่ละปีมีความสัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ หรือโรคระบาด หุ้นเหล่านี้ถือว่ามีคุณภาพของกำไรต่ำครับ
ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง คือหุ้นที่มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำไรสามารถเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่มีความนิยมในตัวแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์สูงและลูกค้ามักจะมีการซื้อซ้ำ หรือมีต้นทุนในการ switching ไปใช้สินค้าคู่แข่งสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงหุ้นที่มีฐานรายได้มั่นคงจากการให้เช่า ซึ่งหมายความว่าหากลูกค้าเดิมยังอยู่ รายได้ในปีนี้จะเป็นฐานของปีต่อไป และหากมีลูกค้าเพิ่มหรือมีการขยาย ก็จะทำให้ฐานรายได้เพิ่มขึ้นไปตลอด
2. รูปแบบการรับรู้รายได้ หุ้นบางตัวมีการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสูง แต่รายได้ทั้งหมดเป็นลูกหนี้การค้า คือ ให้เครดิตกับลูกค้า หุ้นประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพของกำไรต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระยะเวลาที่ให้เครดิตกับลูกค้านานกว่าระยะเวลาการได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้าด้วย (A/R day ต่ำว่า A/P day) หุ้นประเภทเหล่านี้เวลารายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง และมีความเสี่ยงจากการเกิดหนี้สูญในอนาคตด้วย นอกจากนี้ หากหุ้นดังกล่าวมี net margin คืออัตรากำไรเทียบยอดขายต่ำ ก็จะยิ่งทำให้คุณภาพของกำไรแย่ลงไปอีก เนื่องจากแสดงว่าการจะได้มาซึ่งกำไรเพิ่มขึ้น 1 บาท จะต้องใช้ยอดขายเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งต้องหมายความว่าจะใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงกว่าหุ้นที่มี net margin สูง
หุ้นที่มีการรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด หรือจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต จะเป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงกว่า
3. หุ้นที่ต้องการใช้เงินลงทุนสูงในการเพิ่มกำไร ธุรกิจบางประเภทหากต้องการเพิ่มกำไร จะต้องมีการลงทุนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กำไรที่ได้ในปีปัจจุบันจะต้องถูกเก็บไว้สำหรับลงทุนใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อเพิ่มยอดขาย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่เรียกว่า capital intensive ถือว่ามีแนวโน้มของคุณภาพกำไรที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นธุรกิจที่การขยายโครงการให้ผลตอบแทนโดยวัดจาก IRR หรือ ROA ไม่สูงนัก เมื่อผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ก็จะทำให้ต้องใช้เงินทุนสูงในการสร้างกำไรที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย หุ้นดังกล่าวมักจะต้องมีต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นประเภทนี้ หากรายได้ลดลงเมื่อไหร่ กำไรจะลงเร็วมาก เพราะต้นทุนคงที่ที่เพิ่มขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะต้องมีเงินกู้ระดับสูงตลอดเวลา จึงทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูง นอกจากนี้จะส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย กล่าวคือ หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมี p/e ต่ำ แต่มี dividend yield ต่ำเช่นกัน หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะเป็นหุ้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ของตัวเอง
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรที่ต่ำมากไปอีกคือ หุ้นที่จะต้องมีการลงทุนตลอดเวลาเพื่อรักษารายได้และกำไรให้คงที่ หุ้นประเภทนี้มักจะเป็นหุ้นที่กระบวนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเร็วมาก ดังนั้นหุ้นประเภทดังกล่าวนอกจากกำไรจะแทบไม่เพิ่มแล้ว ปันผลก็จะอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันอีกด้วย
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า หุ้นธนาคาร ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ปัจจุบันธนาคารมีต้นทุนเงินฝาก 2% โดยประมาณ และปล่อยกู้ได้เฉลี่ย 6% ดังนั้นผลตอบแทนของสินทรัพย์หลังหักค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 3% ดังนั้น การที่ธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 3 บาท จะต้องเพิ่มสินทรัพย์ถึง 100 บาท โดยสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นลูกหนี้ธนาคาร ดังนั้นก็เท่ากับว่าหากลูกหนี้ 100 บาท ที่เพิ่มมานั้น สามารถชำระได้เพียง 50 บาท ก็เท่ากับว่า ธนาคารต้องทำงานเพื่อชดเชยเงินให้กู้ที่หายไปถึง 16 ปี
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงคือ หุ้นที่สามารถเพิ่มรายได้และกำไร โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มหรือลงทุนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น
ข้อสังเกตของหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรต่ำก็คือ แม้ว่า p/e จะต่ำ แต่ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ต่ำ และจำนวนหนี้สินไม่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และท้ายสุดอาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาขยายกิจการ และหุ้นทึ่มีคุณภาพของกำไรต่ำ หลายบริษัทไม่สามารถยืนได้ในระยะยาวๆ วันหนึ่งมักจะพบกับปัญหาต่างๆ เช่น หนี้สูญ ภาวะถดถอยของธุรกิจที่ทำให้ต้องมีปัญหาด้านการชำระเงินกู้ หรือการลดลงของรายได้หรือกำไรอย่างรวดเร็วที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาวัตถุดิบ ปัจจัยด้านธรรมชาติหรือโรคระบาดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกำไร ยังมีประเด็นปลีกย่อยอยู่บ้าง และผมอาจจะเสริมอีกที หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมหุ้นบางตัว p/e ต่ำแต่ไม่น่าซื้อ หรือหุ้นบางตัว p/e สูง แต่ทำไมยังขึ้นไปอีกเรื่อยๆครับ
แก้ไขล่าสุดโดย oatty เมื่อ จันทร์ ม.ค. 06, 2014 11:22 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
เหตุผล: update
เหตุผล: update
-
- Verified User
- โพสต์: 82
- ผู้ติดตาม: 0
คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 10
That's the reason why are they like that?
It's difficult to know the nature of stock.
How do you know the nature of stock?
Image&Word
It's difficult to know the nature of stock.
How do you know the nature of stock?
Image&Word
Nothing Impossible
Just Image and Do it.
Image&Words
Just Image and Do it.
Image&Words
- oo
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณมากครับ เป็นเรื่องที่ผมข้องใจพอดี น่าจะเอาที่คุณ Invisible hand เขียนลงในเวปกระทิงเขียวเรื่องการลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีมาลงด้วยนะครับ เป็นบทความที่ดีมากๆ
http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... r=numtopic
http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... r=numtopic
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 12
คุณ Invisible hand นักลงทุนอันดับหนึ่งในดวงใจผมครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
สุดยอดนักลงทุนแห่งหมู่บ้าน Thai Value Investor
โพสต์ที่ 13
ผมว่า Invisible Hand น่าจะนับเป็นหนึ่งในสุดยอดนักลงทุนแห่งหมู่บ้าน Thai Value Investor ได้เลยนะครับ หรือว่าจะเรียกว่าเป็นสุดยอดนักวิเคราะห์ดี เพราะตอนลูกสาวของวอร์เรนบอกเพื่อนในชั้นเรียนว่าพ่อมีอาชีพอะไร เธอก็บอกว่าเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เวลาอ่านข้อความของเค้าแล้ว มันทำให้เราเข้าใจเรื่องยากๆได้เป็นอย่างดี เค้าอธิบายให้มันดูง่ายมากๆเลยนะครับ แถมไม่เขียนให้อ่านฟรีไม่เคยคิดตังค์ด้วยครับ อันนี้ชอบมากๆเลยครับ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
-
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 480
- ผู้ติดตาม: 0
คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 16
มีเกี่ยวกับหลักการเลือกหุ้นการคัดกรองหุ้น ที่คุณ invisible hand ได้เขียนไว้ ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากกับผู้ที่ได้อ่านซึ่งผมขออนุญาตคุณ invisible hand นำมารวมไว้ในกระทู้นี้ด้วยเลยนะครับ
โดย invisible hand
พี่ใช้หลักอะไรในการเลือกหุ้นซักตัวครับ
- สมัยก่อนผมจะดูความถูกแพงของหุ้นก่อน เช่น p/e และ p/bv แล้วค่อยมาดูชื่อบริษัทว่าทำอะไร อยู่ในธุรกิจอะไร ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาดูประเภทธุรกิจ ชื่อบริษัทก่อน แล้วค่อยมาดูความถูกแพงครับ ก็คือ ระยะหลังๆ ผมจะให้น้ำหนักปัจจัยด้านคุณภาพมากกว่าปัจจัยด้านปริมาณ
ปัจจัยคุณภาพที่ผมดูก็มีหลายอย่างครับ เช่น
1 ธุรกิจที่บริษัทนั้นๆ ทำอยู่
ก็คงดูการลักษณะของธุรกิจและการเติบโตในระยะยาวๆ หลักๆ ผมจะดูว่าตลาดหรือธุรกิจนั้นๆ อยู่ในระยะไหนของการเติบโต โตเร็ว ปานกลาง หรือช้า หรือถดถอย ยกตัวอย่าง หากผมมองว่าการอ่านหนังสือ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ของคนไทยยังต่ำ และโตได้อีกมาก ผมก็จะเริ่มมองหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ และหากผมมองว่าแนวโน้มคนจะนิยมซื้อสินค้าที่เป็นร้าน modern trade มากขึ้นเรื่อยๆ ผมก็มาดูหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ modern trade บางครั้งก็จับทั้งคู่มาผสมกันได้ เช่น อาจจะดูหุ้นที่เป็น modern trade ที่ทำธุรกิจ IT หรือ modern trade ที่ขายหนังสือ
หรือผมมองว่าอนาคต ประชากรจะป่วยง่ายแต่ตายช้าลง เพราะคนเราทำงานหนักขึ้นเครียดขึ้น เป็นโรคต่างๆ กันมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน แต่คุณภาพการรักษาพยาบาลดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยแม้ไม่หายขาดแต่ก็จะยืดอายุได้นาน อีกทั้งแนวโน้มคนแก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่ากลุ่ม รพ. น่าสนใจ
หรือ ผมมองว่าคนไทยยังทำประกันชีวิตในสัดส่วนน้อย ผมก็จะมองว่าหุ้นที่ทำประกันชีวิตน่าสนใจ
ธุรกิจไหนที่อยู่ติดกับลูกค้ารายย่อยๆ จำนวนมาก ก็จะมีอำนาจการต่อรองสูงกว่า และหากรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากๆ ในยุคปัจจุบันครับ
ส่วนระยะเวลาหรือ time frame ที่ผมมองระยะหลังๆ ผมจะมองไป 5-10 ปีเลย เพราะผมเชื่อว่าหุ้นดีราคาถูกเริ่มหายาก ดังนั้นเราควรหาหุ้นที่จะถือได้ยาวๆ เลย จะได้ไม่ต้องคอยหาหุ้นใหม่ๆ
กลุ่มที่ผมคิดว่าไม่น่าสนใจก็มีเช่น หุ้นที่ผมมองว่าอำนาจการต่อรองมักจะเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อที่มีขนาดบริษัทที่ใหญ่กว่าผู้ขาย เช่น ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ หรือบรรจุภัณฑ์ ผมมองว่าหุ้นเหล่านี้มีอำนาจต่อรองต่ำ และเวลาขายต้องให้เครดิตลูกค้านานๆ ทำให้กระแสเงินสดไม่ดี และเสี่ยงกับหนี้สูญ ระยะหลังๆ ผมจะไม่สนใจหุ้นกลุ่มดังกล่าว
2. สถานภาพการแข่งขันของบริษัทนั้นๆ ในธุรกิจ
ผมมักจะเลือกหุ้นที่มี market share อันดับต้นๆ หากไม่ได้เป็นอันดับต้นๆ ของตลาดรวมก็ควรจะเป็นอันดับต้นๆ ใน segment ที่ตนเองอยู่ เพราะตลาดๆ หนึ่งก็สามารถแบ่งได้เป็นหลายๆ segment เพราะการเป็นผู้นำตลาดย่อมพิสูจน์ได้ว่าผู้บริหารน่าจะมีความสามารถเพียงพอในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การเป็นผู้นำตลาดย่อมทำให้บริษัทนั้นๆ มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าและ supplier ที่สูงกว่า และมักจะแสดงถึง brand name ที่แข็งแกร่งกว่า
อย่างไรก็ตามให้ระวังเรื่อง mkt share หากมากเกินไปอาจจะจำกัดการเติบโตได้ เช่น หากตลาดโตน้อย คือปีละ 5% และหุ้นที่เราดูมี mkt share 60% ก็หมายความว่าหุ้นตัวนั้นมีการเติบโตจำกัด เพราะการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมากกว่านี้อีกได้ไม่เท่าไหร่ และมีโอกาสที่เสีย mkt share หากมีการแข่งขันมากขึ้น แต่หาก mkt share 60% แต่ตลาดโตสูงมาก เช่น 20-30% หุ้นดังกล่าวจะกลายเป็นตรงกันข้ามคือเป็นหุ้นที่น่าสนใจมาก เพราะการมี mkt share สูงมากทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก ดังนั้นแค่โตตามตลาดก็เพียงพอแล้ว
3 ดูความยากง่ายของการเข้ามาทำธุรกิจ
บางจุดเวลา เราอาจจะเจอหุ้นที่ผ่านลักษณะที 1 และ 2 ในเวลาเดียวกัน แต่บังเอิญธุรกิจดังกล่าวมีการเข้ามาแข่งขันจากผู้ประกอบการรายใหม่ได้ง่าย ก็จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ แทบจะไม่เหลือความน่าสนใจเลย เพราะการที่ผู้ประกอบการเข้ามาใหม่ได้ง่าย ทำให้แม้ว่าธุรกิจนั้นๆ จะมีแนวโน้มการเติบโตสูง แต่พอการแข่งขันเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ประกอบการรายเดิมลดลง และการแข่งขันที่รุนแรงมักจะทำให้ margin ของธุรกิจลดลงด้วย ดังนั้นหุ้นที่ผ่านลักษณะที่ 1 และ 2 แต่ไม่ผ่าน 3 ก็อาจจะต้องเป็นหุ้นระยะสั้นถึงกลางๆ มากกว่าระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น LH ผ่านข้อ 1 และ 2 แต่ไม่ผ่าน 3 ดังนั้นถึงจุดหนึ่งหุ้น LH จะเริ่มไม่ perform ดังเช่นเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา
ดังนั้น หากเราเจอหุ้นที่ธุรกิจมีการเติบโตสูง และมี gross margin สูงมาก และรู้สึกว่าคู่แข่งเข้ามาได้ไม่ยาก ให้ระวังว่าหุ้นเหล่านี้จะเป็นหุ้นที่จะมีกำไรลดลงได้มากในปีต่อๆ ไป ยกตัวอย่างเช่นหุ้น GMMM และหุ้น Q-CON โดยเฉพาะหุ้น GMMM เป็นหุ้นที่สอนให้ผมถึงบทเรียนดังกล่าวเพราะธุรกิจวิทยุมี GMMM เป็นผู้นำตลาด แต่พอรายใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันก็ทำให้ตลาดเป็นการแข่งขันสูงและ margin ลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น การที่จะดูว่าธุรกิจไหนมีการเข้าใหม่ยากง่ายแค่ไหน เราคงจะต้องดูจากตัวเราเอง คือ ลองสมมุติให้เรามีเงินที่มากพอ แล้วให้ลองศึกษาดูว่าการทำธุรกิจที่เราสนใจนั้นๆ ยากง่ายแค่ไหน ทั้งในด้านการหาพนักงาน การหาเทคโนโลยีการผลิต การสร้าง brand การหาลูกค้า ฯลฯ ถ้ารู้สึกว่าไม่ยากเกินไป หุ้นที่เราดูอยู่อาจจะไม่น่าสนใจเท่าไรนักครับ
4 ธุรกิจที่ลงทุนควรจะเป็นธุรกิจที่จับต้องได้ง่าย อยู่ในชีวิตประจำวัน
ผมเชื่อว่าหากเราซื้อหุ้นที่มีสินค้าและบริการที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากในการติดตามหาข้อมูลครับ เพราะมันจะอยู่รอบๆ ตัวเราหมดเลย ดังนั้นเราสามารถรับรู้ว่าบริษัทที่เราลงทุนมีแนวโน้มดีหรือแย่ได้จากการสังเกตในชีวิตประจำวันของเรา ผมเชื่อว่าสมัยก่อนตอนที่ VI ยังไม่ boom การรองบออกแล้วค่อยตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นตัวหนึ่งๆ น่าจะยังเป็นสิ่งที่ไม่ช้าเกินไป แต่ปัจจุบันผมเชื่อว่าเราควรจะซื้อหุ้นที่คาดว่างบจะออกมาดี และขายหากคิดว่างบจะออกมาไม่ดี ดังนั้นหากเป็นธุรกิจที่จับต้องยาก เราจะรู้ว่างบดีหรือไม่ดีพร้อมกับคนอื่นๆ คือวันที่ประกาศงบออกมา ซึ่งผมคิดว่าไม่เพียงพอแล้วสำหรับการลงทุนแบบปัจจุบันที่มี VI อยู่จำนวนมากมาย
5 ผู้บริหาร
ที่คุยมา 4 ข้อหากข้อ 5ไม่ผ่านก็โยนสิ่งที่เราศึกษามานั้นทิ้งไปเลยครับ แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าผู้บริหารบริษัทที่ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมสูงส่งเพราะบางทีก็หายากเหมือนกัน และคนที่พยายามจะหาผู้บริหารหรือผู้นำที่เป็นเช่นนั้นผมว่าก็อาจจะทำให้เกิดความทุกข์เช่นกัน ผมชอบผู้บริหารที่เข้าใจกลไกตลาดทุน ก็คือ หากบริษัทกำไรดีขึ้น ราคาหุ้นก็จะขึ้น ผู้บริหารก็จะได้ประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเช่นกันเพราะทำให้มูลค่าในส่วนที่ตนเองถือหุ้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน หรือหากถือหุ้นน้อยหรือไม่ถือหุ้นก็น่าจะมีโบนัสหรือได้ขึ้นเงินเดือน ดังนั้นผู้บริหารที่ดีในสายตาผม ก็คือผู้บริหารที่พยายาม maximize shareholder value ก็คือพยายามที่จะสร้างมูลค่าที่สูงที่สุดให้กับหุ้นตัวเอง แต่มีข้อแม้ว่าจะไม่เบียดบังสังคมเกินไป เช่น หากมีประวัติปล่อยน้ำเสีย ของเสีย หรือเอาเปรียบแรงงาน ผมก็คงไม่ลงทุนครับ
หากผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารที่เป็นเจ้าของ เข้าใจเรื่องตลาดทุน จะเข้าใจว่าการปล่อยให้กำไรอยู่ในบริษัท เมื่อมีกำไรเพิ่มขึ้น 100 ล้าน หากหุ้นดังกล่าวมี p/e 10 เท่า มูลค่าหุ้นก็จะเพิ่ม 1000 ล้าน หากผู้บริหารถือหุ้น 30% ก็เท่ากับว่าจะรวยขึ้น 300 ล้าน แต่หากเทียบกับว่าผู้บริหารดังกล่าวนำเงินออกจากบริษัทไป 100 ล้านเข้ากระเป๋าตัวเอง เค้าจะได้เงินไปแค่ 100 ล้านเท่านั้น
ดังนั้น ผมจะตัดบริษัทที่ผู้บริหารมีประวัติไม่ดี และบริษัทที่เคยมีรายการระหว่างกันที่เป็นการผ่องถ่ายเงินจากบริษัทจดทะเบียนเข้าส่วนตัวหรือเข้าบริษัทที่ผู้บริหารมีส่วนได้ส่วนเสียครับ
ส่วนข้อมูลดังกล่าวอาจจะถามว่าผมหามาได้ยังไง คำตอบคือ ก็คงต้องใช้การอ่านหนังสือพิมพ์มากๆ และสะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ครับ ในระยะแรกๆ ที่ผมประสบการณ์น้อย ผมจะไปศูนย์ข้อมูลมติชน อยู่ที่ บ. มติชน ประชานิเวศน์ ครับ ไปขอค้นข่าวเกี่ยวกับบริษัทที่ผมสนใจย้อนหลัง 10 ปีเพื่อดูว่าผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์หรือเคยให้ข่าวอะไรบ้าง รวมทั้งบริษัทนั้นๆ เคยมีประวัติอะไรไม่ดีหรือไม่ครับ ก็ถือว่าสะดวกดีครับ เสียค่าค้นไม่กี่บาทครับหากเทียบกับกำไรหรือขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นครับ
เมื่อใช้การกรองหุ้นข้อ 1-5 ออกมาแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะลงทุนได้ทางทีนะครับ เพราะมันเป็นการกรองหุ้นจำนวนหนึ่งออกมา สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ การวิเคราะห์เชิงลึก สิ่งที่ควรทำก็คือการอ่าน 56-1 รายงานประจำปี และเริ่มหาข้อมูลในด้านต่างๆ ของบริษัท โดยการสำรวจ ลองใช้สินค้าและบริการของหุ้นที่เราสนใจ รวมไปถึงใช้ของคู่แข่งด้วยเพื่อเปรียบเทียบ นอกจากนี้ ยังต้องหาข้อมูลอื่นๆ อีกมาก เช่น ถามความเห็นของเพื่อนหรือคนที่ใช้สินค้าและบริการทั้งของหุ้นที่เราสนใจและคู่แข่ง นอกจากนี้หากเป็นไปได้ ควรจะถามความเห็นของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ถ้าสามารถหาได้ เช่น พนักงาน คู่แข่ง supplier ลูกค้า โดยข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับก็เพื่อนำมาสรุปว่าปัจจุบันบริษัทมีความได้เปรียบเสียเปรียบกับคู่แข่งอย่างไร และเพื่อให้พอมองแนวโน้มในอนาคตได้
ส่วนที่จะดูว่าหุ้นตัวไหนถูกหรือแพง คงจะดูหลายๆ ประเด็นประกอบกัน คงจะดูเพียง p/e p/bv อย่างใดอย่างหนึ่งหรือแค่ทั้งสองอย่างคงไม่ได้ หุ้น TTA ที่ถามถึงมานั้นเป็นหุ้นวัฎจักร หรือ cyclical ซึ่งจะมี p/e ต่ำมากในช่วง peak ของ cycle และจะมี p/e สูงมากในช่วง bottom หรือหา p/e ไม่ได้เลยเพราะบางช่วงตอน bottom จะขาดทุน ดังนั้นหุ้นวัฎจักร จะซื้อโดยดู p/e ไม่ได้เลย แต่จะต้องดูแนวโน้มของวัฎจักรว่าตอนนี้น่าจะอยู่ช่วงไหนของ cycle แล้ว เราจะต้องซื้อที่ใกล้เคียงกับ bottom และขายในช่วงขาขึ้น ดังนั้น หากเราลงทุนในหุ้นวัฎจักรจะต้องศึกษาและเข้าใจในธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ ซึ่งมีคนจำนวนน้อยที่สามารถทำเช่นนั้นได้ ดังนั้นสำหรับนักลงทุนทั่วไปผมไม่ค่อยแนะนำให้ลงทุนในหุ้นวัฎจักรเพราะจะมีความเสี่ยงมากและมีโอกาสสูงที่จะเข้าไปซื้อช่วง peak ซึ่ง broker จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าใจหุ้นวัฎจักรอย่างแท้จริงและอาจจะให้คำแนะนำที่เป็นอันตรายกับนักลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีความรู้มากพอแล้ว การลงทุนในหุ้นวัฎจักร หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้มีผลตอบแทนที่มากพอกับความพยายามที่ลงไปได้เช่นกัน
ส่วนการใช้ DCF นั้น ผมคิดว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่สำหรับนักลงทุนทั่วไปครับ เพราะจริงๆ แล้ว p/e คือผลสุดท้ายของ DCF นั่นแหละครับ เพราะ DCF เป็น model ที่คำนึงถึง growth ความเสี่ยง เงินสดและหนี้สิน ซึ่งหากเราใช้ p/e เป็น ใช้ p/bv ได้ถูกวิธี มันจะเป็นสุดยอดวิชาขั้นสูงกว่าการใช้ DCF อีกครับ เพราะมันเป็นการนำหลักแนวคิดของ DCF มาใช้ได้โดยไม่ต้องเหนื่อยมานั่งทำ model อย่างท่านอาจารย์ ดร. นิเวศน์เอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ DCF ในการคำนวณนะครับ มันเหมือนกับอะไรที่ back to basic ครับ บางครั้งอะไรที่ซับซ้อนมากๆ กลับไม่ใช่สุดยอดวิชา แต่สิ่งที่เป็นสุดยอดวิชา มักจะไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด
ส่วนจะใช้ p/e p/bv ให้เป็นนั้น ผมคงไม่สามารถถ่ายทอดด้วยการเขียนในคำตอบนี้ให้หมด เพราะหากจะเขียนคงจะใช้จำนวนหน้าเป็นหลายร้อยหน้า และเรียบเรียงไม่ถูก ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ถามเป็น case ของหุ้นแต่ละตัวมาแล้วผมจะให้ความเห็นและสอดแทรกแนวคิดไปเรื่อยๆ คงจะเป็นวิธีที่ดีกว่าครับ ผมเองยังเสียดายที่หลายครั้งคำถามใน web ส่วนใหญ่จะถามผมเป็นรายตัวมากกว่าที่จะถามวิชาความรู้จากผม ซึ่งผมคิดว่าอย่างหลังน่าจะมีคุณค่ามากกว่าครับ
ส่วนที่ถามว่า DCF มีข้อเสียยังไง ข้อเสียคือ เนื่องจากมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคำนวณหา valuation ของหุ้น แต่หากนำไปใช้โดยขาดความเข้าใจที่แท้จริง ซึ่งผมเองก็เคยเป็นอย่างนั้นเมื่อก่อน จะทำให้ได้ valuation ที่ผิดพลาดไปมาก โดยเฉพาะการนำ dcf ไปใช้กับหุ้นที่เป็นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรที่เป็น commodity ผลเสียที่เกิดจะรุนแรงเพราะคนที่วิเคราะห์โดยใช้ DCF ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิเคราะห์มักจะเชื่อมั่นในตัวเองสูงอยู่แล้ว และมักจะมี financial model ที่ซับซ้อน ดังนั้นหากได้ DCF target จากการวิเคราะห์ของตนแล้วมักจะยึดมั่นอย่างสูง และผู้ที่ฟังคำแนะนำก็จะเชื่อมั่นอย่างสูงเช่นกันเพราะโดยหลักการแล้วเป็นวิธีที่ดีกว่า p/e และ p/bv ดังนั้น DCF valuationได้ทำให้นักวิเคราะห์และคนที่ใช้บทวิเคราะห์เจ็บปวดมาครั้งแล้วครั้งเล่าครับ
โดย invisible hand
พี่ใช้หลักอะไรในการเลือกหุ้นซักตัวครับ
- สมัยก่อนผมจะดูความถูกแพงของหุ้นก่อน เช่น p/e และ p/bv แล้วค่อยมาดูชื่อบริษัทว่าทำอะไร อยู่ในธุรกิจอะไร ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาดูประเภทธุรกิจ ชื่อบริษัทก่อน แล้วค่อยมาดูความถูกแพงครับ ก็คือ ระยะหลังๆ ผมจะให้น้ำหนักปัจจัยด้านคุณภาพมากกว่าปัจจัยด้านปริมาณ
ปัจจัยคุณภาพที่ผมดูก็มีหลายอย่างครับ เช่น
1 ธุรกิจที่บริษัทนั้นๆ ทำอยู่
ก็คงดูการลักษณะของธุรกิจและการเติบโตในระยะยาวๆ หลักๆ ผมจะดูว่าตลาดหรือธุรกิจนั้นๆ อยู่ในระยะไหนของการเติบโต โตเร็ว ปานกลาง หรือช้า หรือถดถอย ยกตัวอย่าง หากผมมองว่าการอ่านหนังสือ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ของคนไทยยังต่ำ และโตได้อีกมาก ผมก็จะเริ่มมองหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ และหากผมมองว่าแนวโน้มคนจะนิยมซื้อสินค้าที่เป็นร้าน modern trade มากขึ้นเรื่อยๆ ผมก็มาดูหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ modern trade บางครั้งก็จับทั้งคู่มาผสมกันได้ เช่น อาจจะดูหุ้นที่เป็น modern trade ที่ทำธุรกิจ IT หรือ modern trade ที่ขายหนังสือ
หรือผมมองว่าอนาคต ประชากรจะป่วยง่ายแต่ตายช้าลง เพราะคนเราทำงานหนักขึ้นเครียดขึ้น เป็นโรคต่างๆ กันมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน แต่คุณภาพการรักษาพยาบาลดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยแม้ไม่หายขาดแต่ก็จะยืดอายุได้นาน อีกทั้งแนวโน้มคนแก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่ากลุ่ม รพ. น่าสนใจ
หรือ ผมมองว่าคนไทยยังทำประกันชีวิตในสัดส่วนน้อย ผมก็จะมองว่าหุ้นที่ทำประกันชีวิตน่าสนใจ
ธุรกิจไหนที่อยู่ติดกับลูกค้ารายย่อยๆ จำนวนมาก ก็จะมีอำนาจการต่อรองสูงกว่า และหากรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากๆ ในยุคปัจจุบันครับ
ส่วนระยะเวลาหรือ time frame ที่ผมมองระยะหลังๆ ผมจะมองไป 5-10 ปีเลย เพราะผมเชื่อว่าหุ้นดีราคาถูกเริ่มหายาก ดังนั้นเราควรหาหุ้นที่จะถือได้ยาวๆ เลย จะได้ไม่ต้องคอยหาหุ้นใหม่ๆ
กลุ่มที่ผมคิดว่าไม่น่าสนใจก็มีเช่น หุ้นที่ผมมองว่าอำนาจการต่อรองมักจะเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อที่มีขนาดบริษัทที่ใหญ่กว่าผู้ขาย เช่น ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ หรือบรรจุภัณฑ์ ผมมองว่าหุ้นเหล่านี้มีอำนาจต่อรองต่ำ และเวลาขายต้องให้เครดิตลูกค้านานๆ ทำให้กระแสเงินสดไม่ดี และเสี่ยงกับหนี้สูญ ระยะหลังๆ ผมจะไม่สนใจหุ้นกลุ่มดังกล่าว
2. สถานภาพการแข่งขันของบริษัทนั้นๆ ในธุรกิจ
ผมมักจะเลือกหุ้นที่มี market share อันดับต้นๆ หากไม่ได้เป็นอันดับต้นๆ ของตลาดรวมก็ควรจะเป็นอันดับต้นๆ ใน segment ที่ตนเองอยู่ เพราะตลาดๆ หนึ่งก็สามารถแบ่งได้เป็นหลายๆ segment เพราะการเป็นผู้นำตลาดย่อมพิสูจน์ได้ว่าผู้บริหารน่าจะมีความสามารถเพียงพอในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การเป็นผู้นำตลาดย่อมทำให้บริษัทนั้นๆ มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าและ supplier ที่สูงกว่า และมักจะแสดงถึง brand name ที่แข็งแกร่งกว่า
อย่างไรก็ตามให้ระวังเรื่อง mkt share หากมากเกินไปอาจจะจำกัดการเติบโตได้ เช่น หากตลาดโตน้อย คือปีละ 5% และหุ้นที่เราดูมี mkt share 60% ก็หมายความว่าหุ้นตัวนั้นมีการเติบโตจำกัด เพราะการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมากกว่านี้อีกได้ไม่เท่าไหร่ และมีโอกาสที่เสีย mkt share หากมีการแข่งขันมากขึ้น แต่หาก mkt share 60% แต่ตลาดโตสูงมาก เช่น 20-30% หุ้นดังกล่าวจะกลายเป็นตรงกันข้ามคือเป็นหุ้นที่น่าสนใจมาก เพราะการมี mkt share สูงมากทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก ดังนั้นแค่โตตามตลาดก็เพียงพอแล้ว
3 ดูความยากง่ายของการเข้ามาทำธุรกิจ
บางจุดเวลา เราอาจจะเจอหุ้นที่ผ่านลักษณะที 1 และ 2 ในเวลาเดียวกัน แต่บังเอิญธุรกิจดังกล่าวมีการเข้ามาแข่งขันจากผู้ประกอบการรายใหม่ได้ง่าย ก็จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ แทบจะไม่เหลือความน่าสนใจเลย เพราะการที่ผู้ประกอบการเข้ามาใหม่ได้ง่าย ทำให้แม้ว่าธุรกิจนั้นๆ จะมีแนวโน้มการเติบโตสูง แต่พอการแข่งขันเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ประกอบการรายเดิมลดลง และการแข่งขันที่รุนแรงมักจะทำให้ margin ของธุรกิจลดลงด้วย ดังนั้นหุ้นที่ผ่านลักษณะที่ 1 และ 2 แต่ไม่ผ่าน 3 ก็อาจจะต้องเป็นหุ้นระยะสั้นถึงกลางๆ มากกว่าระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น LH ผ่านข้อ 1 และ 2 แต่ไม่ผ่าน 3 ดังนั้นถึงจุดหนึ่งหุ้น LH จะเริ่มไม่ perform ดังเช่นเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา
ดังนั้น หากเราเจอหุ้นที่ธุรกิจมีการเติบโตสูง และมี gross margin สูงมาก และรู้สึกว่าคู่แข่งเข้ามาได้ไม่ยาก ให้ระวังว่าหุ้นเหล่านี้จะเป็นหุ้นที่จะมีกำไรลดลงได้มากในปีต่อๆ ไป ยกตัวอย่างเช่นหุ้น GMMM และหุ้น Q-CON โดยเฉพาะหุ้น GMMM เป็นหุ้นที่สอนให้ผมถึงบทเรียนดังกล่าวเพราะธุรกิจวิทยุมี GMMM เป็นผู้นำตลาด แต่พอรายใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันก็ทำให้ตลาดเป็นการแข่งขันสูงและ margin ลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น การที่จะดูว่าธุรกิจไหนมีการเข้าใหม่ยากง่ายแค่ไหน เราคงจะต้องดูจากตัวเราเอง คือ ลองสมมุติให้เรามีเงินที่มากพอ แล้วให้ลองศึกษาดูว่าการทำธุรกิจที่เราสนใจนั้นๆ ยากง่ายแค่ไหน ทั้งในด้านการหาพนักงาน การหาเทคโนโลยีการผลิต การสร้าง brand การหาลูกค้า ฯลฯ ถ้ารู้สึกว่าไม่ยากเกินไป หุ้นที่เราดูอยู่อาจจะไม่น่าสนใจเท่าไรนักครับ
4 ธุรกิจที่ลงทุนควรจะเป็นธุรกิจที่จับต้องได้ง่าย อยู่ในชีวิตประจำวัน
ผมเชื่อว่าหากเราซื้อหุ้นที่มีสินค้าและบริการที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากในการติดตามหาข้อมูลครับ เพราะมันจะอยู่รอบๆ ตัวเราหมดเลย ดังนั้นเราสามารถรับรู้ว่าบริษัทที่เราลงทุนมีแนวโน้มดีหรือแย่ได้จากการสังเกตในชีวิตประจำวันของเรา ผมเชื่อว่าสมัยก่อนตอนที่ VI ยังไม่ boom การรองบออกแล้วค่อยตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นตัวหนึ่งๆ น่าจะยังเป็นสิ่งที่ไม่ช้าเกินไป แต่ปัจจุบันผมเชื่อว่าเราควรจะซื้อหุ้นที่คาดว่างบจะออกมาดี และขายหากคิดว่างบจะออกมาไม่ดี ดังนั้นหากเป็นธุรกิจที่จับต้องยาก เราจะรู้ว่างบดีหรือไม่ดีพร้อมกับคนอื่นๆ คือวันที่ประกาศงบออกมา ซึ่งผมคิดว่าไม่เพียงพอแล้วสำหรับการลงทุนแบบปัจจุบันที่มี VI อยู่จำนวนมากมาย
5 ผู้บริหาร
ที่คุยมา 4 ข้อหากข้อ 5ไม่ผ่านก็โยนสิ่งที่เราศึกษามานั้นทิ้งไปเลยครับ แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าผู้บริหารบริษัทที่ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมสูงส่งเพราะบางทีก็หายากเหมือนกัน และคนที่พยายามจะหาผู้บริหารหรือผู้นำที่เป็นเช่นนั้นผมว่าก็อาจจะทำให้เกิดความทุกข์เช่นกัน ผมชอบผู้บริหารที่เข้าใจกลไกตลาดทุน ก็คือ หากบริษัทกำไรดีขึ้น ราคาหุ้นก็จะขึ้น ผู้บริหารก็จะได้ประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเช่นกันเพราะทำให้มูลค่าในส่วนที่ตนเองถือหุ้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน หรือหากถือหุ้นน้อยหรือไม่ถือหุ้นก็น่าจะมีโบนัสหรือได้ขึ้นเงินเดือน ดังนั้นผู้บริหารที่ดีในสายตาผม ก็คือผู้บริหารที่พยายาม maximize shareholder value ก็คือพยายามที่จะสร้างมูลค่าที่สูงที่สุดให้กับหุ้นตัวเอง แต่มีข้อแม้ว่าจะไม่เบียดบังสังคมเกินไป เช่น หากมีประวัติปล่อยน้ำเสีย ของเสีย หรือเอาเปรียบแรงงาน ผมก็คงไม่ลงทุนครับ
หากผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารที่เป็นเจ้าของ เข้าใจเรื่องตลาดทุน จะเข้าใจว่าการปล่อยให้กำไรอยู่ในบริษัท เมื่อมีกำไรเพิ่มขึ้น 100 ล้าน หากหุ้นดังกล่าวมี p/e 10 เท่า มูลค่าหุ้นก็จะเพิ่ม 1000 ล้าน หากผู้บริหารถือหุ้น 30% ก็เท่ากับว่าจะรวยขึ้น 300 ล้าน แต่หากเทียบกับว่าผู้บริหารดังกล่าวนำเงินออกจากบริษัทไป 100 ล้านเข้ากระเป๋าตัวเอง เค้าจะได้เงินไปแค่ 100 ล้านเท่านั้น
ดังนั้น ผมจะตัดบริษัทที่ผู้บริหารมีประวัติไม่ดี และบริษัทที่เคยมีรายการระหว่างกันที่เป็นการผ่องถ่ายเงินจากบริษัทจดทะเบียนเข้าส่วนตัวหรือเข้าบริษัทที่ผู้บริหารมีส่วนได้ส่วนเสียครับ
ส่วนข้อมูลดังกล่าวอาจจะถามว่าผมหามาได้ยังไง คำตอบคือ ก็คงต้องใช้การอ่านหนังสือพิมพ์มากๆ และสะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ครับ ในระยะแรกๆ ที่ผมประสบการณ์น้อย ผมจะไปศูนย์ข้อมูลมติชน อยู่ที่ บ. มติชน ประชานิเวศน์ ครับ ไปขอค้นข่าวเกี่ยวกับบริษัทที่ผมสนใจย้อนหลัง 10 ปีเพื่อดูว่าผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์หรือเคยให้ข่าวอะไรบ้าง รวมทั้งบริษัทนั้นๆ เคยมีประวัติอะไรไม่ดีหรือไม่ครับ ก็ถือว่าสะดวกดีครับ เสียค่าค้นไม่กี่บาทครับหากเทียบกับกำไรหรือขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นครับ
เมื่อใช้การกรองหุ้นข้อ 1-5 ออกมาแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะลงทุนได้ทางทีนะครับ เพราะมันเป็นการกรองหุ้นจำนวนหนึ่งออกมา สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ การวิเคราะห์เชิงลึก สิ่งที่ควรทำก็คือการอ่าน 56-1 รายงานประจำปี และเริ่มหาข้อมูลในด้านต่างๆ ของบริษัท โดยการสำรวจ ลองใช้สินค้าและบริการของหุ้นที่เราสนใจ รวมไปถึงใช้ของคู่แข่งด้วยเพื่อเปรียบเทียบ นอกจากนี้ ยังต้องหาข้อมูลอื่นๆ อีกมาก เช่น ถามความเห็นของเพื่อนหรือคนที่ใช้สินค้าและบริการทั้งของหุ้นที่เราสนใจและคู่แข่ง นอกจากนี้หากเป็นไปได้ ควรจะถามความเห็นของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ถ้าสามารถหาได้ เช่น พนักงาน คู่แข่ง supplier ลูกค้า โดยข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับก็เพื่อนำมาสรุปว่าปัจจุบันบริษัทมีความได้เปรียบเสียเปรียบกับคู่แข่งอย่างไร และเพื่อให้พอมองแนวโน้มในอนาคตได้
ส่วนที่จะดูว่าหุ้นตัวไหนถูกหรือแพง คงจะดูหลายๆ ประเด็นประกอบกัน คงจะดูเพียง p/e p/bv อย่างใดอย่างหนึ่งหรือแค่ทั้งสองอย่างคงไม่ได้ หุ้น TTA ที่ถามถึงมานั้นเป็นหุ้นวัฎจักร หรือ cyclical ซึ่งจะมี p/e ต่ำมากในช่วง peak ของ cycle และจะมี p/e สูงมากในช่วง bottom หรือหา p/e ไม่ได้เลยเพราะบางช่วงตอน bottom จะขาดทุน ดังนั้นหุ้นวัฎจักร จะซื้อโดยดู p/e ไม่ได้เลย แต่จะต้องดูแนวโน้มของวัฎจักรว่าตอนนี้น่าจะอยู่ช่วงไหนของ cycle แล้ว เราจะต้องซื้อที่ใกล้เคียงกับ bottom และขายในช่วงขาขึ้น ดังนั้น หากเราลงทุนในหุ้นวัฎจักรจะต้องศึกษาและเข้าใจในธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ ซึ่งมีคนจำนวนน้อยที่สามารถทำเช่นนั้นได้ ดังนั้นสำหรับนักลงทุนทั่วไปผมไม่ค่อยแนะนำให้ลงทุนในหุ้นวัฎจักรเพราะจะมีความเสี่ยงมากและมีโอกาสสูงที่จะเข้าไปซื้อช่วง peak ซึ่ง broker จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าใจหุ้นวัฎจักรอย่างแท้จริงและอาจจะให้คำแนะนำที่เป็นอันตรายกับนักลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีความรู้มากพอแล้ว การลงทุนในหุ้นวัฎจักร หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้มีผลตอบแทนที่มากพอกับความพยายามที่ลงไปได้เช่นกัน
ส่วนการใช้ DCF นั้น ผมคิดว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่สำหรับนักลงทุนทั่วไปครับ เพราะจริงๆ แล้ว p/e คือผลสุดท้ายของ DCF นั่นแหละครับ เพราะ DCF เป็น model ที่คำนึงถึง growth ความเสี่ยง เงินสดและหนี้สิน ซึ่งหากเราใช้ p/e เป็น ใช้ p/bv ได้ถูกวิธี มันจะเป็นสุดยอดวิชาขั้นสูงกว่าการใช้ DCF อีกครับ เพราะมันเป็นการนำหลักแนวคิดของ DCF มาใช้ได้โดยไม่ต้องเหนื่อยมานั่งทำ model อย่างท่านอาจารย์ ดร. นิเวศน์เอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ DCF ในการคำนวณนะครับ มันเหมือนกับอะไรที่ back to basic ครับ บางครั้งอะไรที่ซับซ้อนมากๆ กลับไม่ใช่สุดยอดวิชา แต่สิ่งที่เป็นสุดยอดวิชา มักจะไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด
ส่วนจะใช้ p/e p/bv ให้เป็นนั้น ผมคงไม่สามารถถ่ายทอดด้วยการเขียนในคำตอบนี้ให้หมด เพราะหากจะเขียนคงจะใช้จำนวนหน้าเป็นหลายร้อยหน้า และเรียบเรียงไม่ถูก ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ถามเป็น case ของหุ้นแต่ละตัวมาแล้วผมจะให้ความเห็นและสอดแทรกแนวคิดไปเรื่อยๆ คงจะเป็นวิธีที่ดีกว่าครับ ผมเองยังเสียดายที่หลายครั้งคำถามใน web ส่วนใหญ่จะถามผมเป็นรายตัวมากกว่าที่จะถามวิชาความรู้จากผม ซึ่งผมคิดว่าอย่างหลังน่าจะมีคุณค่ามากกว่าครับ
ส่วนที่ถามว่า DCF มีข้อเสียยังไง ข้อเสียคือ เนื่องจากมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคำนวณหา valuation ของหุ้น แต่หากนำไปใช้โดยขาดความเข้าใจที่แท้จริง ซึ่งผมเองก็เคยเป็นอย่างนั้นเมื่อก่อน จะทำให้ได้ valuation ที่ผิดพลาดไปมาก โดยเฉพาะการนำ dcf ไปใช้กับหุ้นที่เป็นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรที่เป็น commodity ผลเสียที่เกิดจะรุนแรงเพราะคนที่วิเคราะห์โดยใช้ DCF ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิเคราะห์มักจะเชื่อมั่นในตัวเองสูงอยู่แล้ว และมักจะมี financial model ที่ซับซ้อน ดังนั้นหากได้ DCF target จากการวิเคราะห์ของตนแล้วมักจะยึดมั่นอย่างสูง และผู้ที่ฟังคำแนะนำก็จะเชื่อมั่นอย่างสูงเช่นกันเพราะโดยหลักการแล้วเป็นวิธีที่ดีกว่า p/e และ p/bv ดังนั้น DCF valuationได้ทำให้นักวิเคราะห์และคนที่ใช้บทวิเคราะห์เจ็บปวดมาครั้งแล้วครั้งเล่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 480
- ผู้ติดตาม: 0
คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 17
ส่วนอันนี้เป็นมุมมองสำหรับปี 49 โดยคุณ invisible hand เช่นกันครับรวมเอาไว้อ่าน อาจจะมีคนอ่านกันเยอะแล้วแต่อยากนำมารวมไว้ครับ
ใกล้จะสิ้นปีแล้วก็คงจะถึงเวลาที่ผมจะให้มุมมองสำหรับปีหน้ากับเพื่อนๆ แล้วนะครับ ยังไงเวลาที่ใช้เขียนมีค่อนข้างจำกัดอาจจะเล่าความคิดไม่ได้ทั้งหมดหรือละเอียดมากนักแต่จะขอสรุปประเด็นดังนี้นะครับ
ผมมองว่าปัจจัยหลักที่ยังมีผลกับภาวะการลงทุนในปีหน้าคือเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน โดยผมมองว่าทั้งสองอย่างจะไปด้วยกัน หากเศรษฐกิจโลกดี ราคาน้ำมันก็จะแพง แต่หากเศรษฐกิจโลกไม่ดี ราคาน้ำมันจะลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกดี ก็หมายความว่าการส่งออกของเราจะดี และส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการส่งออกซึ่งก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แต่ก็จะทำให้น้ำมันแพงขึ้น ก็จะทำให้การบริโภคลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกไม่ดี การส่งออกเราจะแย่ลง และส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมได้รับผลกระทบ แต่ราคาน้ำมันก็จะลดลง และจะทำให้การบริโภคดีขึ้นได้
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าอาจจะเสียเวลา และออกจะยากอยู่ที่เราจะมาทำนายว่าเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร แต่หากให้ผมเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมอาจจะเดาว่าเศรษฐกิจโลกจะยังดีอยู่ และราคา commodity ขั้นพื้นฐานคือ น้ำมัน แร่เหล็ก แร่ธาตุอื่นๆ จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพง ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศจีนยังไม่อยู่ในภาวะที่มีการจ้างแรงงานเต็มที่ ( full employment ) เนื่องจากยังมีแรงงานส่วนเกินในภาคชนบทอีกมาก ดังนั้นเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องจากแรงขับดันของประเทศจีน
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันก็นับว่าไม่สามารถแข็งแกร่งด้วยตัวเองได้มากนัก เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เกาหลีใต้ มีปัญหาทางการเงิน ภาระหนี้สินต่างประเทศไม่แพ้เรา แต่เค้ามีทุนที่สำคัญคือ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา ที่เหนือกว่าเรา ทำให้เวลานี้เกาหลีใต้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ และส่งขายได้ทั่วโลก แบรนด์ Sumsung เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมกว่าแบรนด์ญี่ปุ่นบางแบรนด์ เค้ามี แดจังกึม ที่ดังในหลายประเทศทั่วเอเชีย ในขณะที่วงการฟุตบอล เกาหลีใต้ก็เข้ารอบลึกๆ ในบอลโลก และ ปาร์ค จี ซุง ก็สามารถเล่นในสโมสรใหญ่อย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้
ในขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างจีน และเวียดนาม ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาที่ผมมองว่ามีผลต่อการพัฒนาของประเทศในระยะยาวที่สุด คือ ด้านการศึกษา
ปัญหาที่นักลงทุนต่างชาติพบเวลาไปลงทุนในเมืองจีน คือ คนจีนเกือบทุกคนอยากเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นผู้ประกอบการต่างชาติจะเจอปัญหาที่ลูกจ้างชาวจีนออกไปตั้งโรงงานหรือบริษัทแข่งกับนายจ้าง มีการ copy เครื่องจักรและ brand name ทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถมีต้นทุนต่ำกว่า กระเบื้องจีนที่ราคาถูกกว่าไทยมากเพราะเค้าไม่ต้องนำเข้าเครื่องจักรเพราะมีการ copy เทคโนโลยีเครื่องจักรจากต่างประเทศ แม้กระทั่งมอเตอร์ไซค์ที่จีนก็มียี่ห้อง Yamahe Sazaki Honba ขายและไม่ผิดกฎหมาย เพราะชื่อ Honba ไม่ใช่ Honda ซักหน่อย
สำหรับประเทศเวียดนาม ผมมองว่ามีจุดเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์ แต่จุดอ่อนของเวียดนาม คือ ภูมิประเทศ เนื่องจากเวียดนามจะมีพายุไต้ฝุ่นเข้าบ่อยมาก และภูมิประเทศที่ยาวทำให้การขนส่งสินค้าในประเทศทำได้ลำบาก แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังมองว่าเวียดนามจะน่ากลัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เนื่องจากญี่ปุ่นเองก็มีปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติและภูมิประเทศเป็นเกาะเช่นกัน ทรัพยากรมนุษย์สำคัญกว่าครับ
ผมยังเชื่อว่าประเทศไทยยังพอจะมีที่ว่างในระบบเศรษฐกิจโลกอยู่ เนื่องจากคนไทยไม่ชอบเป็นผู้ประกอบการเท่าคนจีน รักสงบ ไม่ตุกติกนัก รวมทั้งเป็นประเทศเดียวในเอเชียแถบตะวันออกที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีความบาดหมางใจกัน รวมทั้งวัฒนธรรม อาหารการกินก็เข้ากันได้ ผมเชื่อว่าคนญี่ปุ่นน่าจะชอบอาหารไทยมากกว่าอาหารพื้นเมืองของมาเลเซีย ดังนั้นบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่วางใจให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในอันดับต้นๆ และน่าจะรองจากจีนเท่านั้น เศรษฐกิจไทยในอนาคตก็น่าจะพึ่งพาการย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพิ่มของญึ่ปุ่นมากพอสมควรในอนาคต
เมื่อเรายังพอจะมีความหวังอยู่ ดังนั้นผมยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังพอไปได้ เพียงแต่เราอย่าหวังว่า GDP จะต้องโตปีละ 8-9% เราคงจะโตได้ซัก 4-5% ซึ่งผมก็ยังมองว่าเป็นระดับที่ไม่เลวร้ายเกินไปนัก ข้อดีอย่างหนึ่งของการที่ GDP เราโตต่ำกว่าเพื่อนบ้านอย่างจีนก็คือ ธุรกิจไทยจะไม่เจอการแข่งขันที่รุนแรงจากต่างชาตินัก บริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัทก็เมินการลงทุนในประเทศไทย เช่น Walmart Home Depot Best buy และก็มีที่ถอนตัวออกไปแล้ว เช่น Orange เพราะเค้ามองว่าตลาดในประเทศไทยเล็กไปสู้ไป focus ที่จีนดีกว่า ทำให้สภาพการแข่งขันของธุรกิจหลายอย่างอยู่ในภาวะผู้แข่งขันน้อยราย หรือ Oligopoly ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการครับ
ผมชอบเศรษฐกิจที่เติบโต 4-5% ต่อปี มากกว่าที่จะโต 10% หรือ 0% ครับ เพราะเป็นระดับที่กำลังดี ไม่ตกต่ำ และไม่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่จนทำให้เกิดการเก็งกำไรหรือการลงทุนเพิ่มของผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างมหาศาลจนทำให้ท้ายสุดเศรษฐกิจอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตได้
แต่การที่เศรษฐกิจจะโต 4-5% นั้น แน่นอนครับ ตลาดหุ้นคงจะไม่ได้ขึ้นมากๆ เราคงจะต้องเลือกหุ้นที่เติบโตสูงกว่าระบบเศรษฐกิจครับ และในภาวะเงินเฟ้อที่ค่อนข้างจะสูงอย่างนี้ เราจะต้องเลือกหุ้นที่สามารถผลักภาระด้านต้นทุนในกับผู้บริโภคได้อีกด้วยครับ
ดังนั้น คำขวัญหลักของผมในการลงทุนปีหน้านี้คือ ต้องโตเร็วกว่าเศรษฐกิจและผลักภาระต้นทุนได้ ครับ
หากสังเกตผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ จะเห็นว่าหลายๆ บริษัทได้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หลายบริษัทพลิกจากกำไรเป็นขาดทุน ด้วยเหตุผลที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถปรับราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นในภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน แร่ธาตุ ยังแพงอย่างนี้ ผมคงยังไม่สนใจบริษัทเหล่านี้นักเพราะไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าบริษัทเหล่านี้จะกลับมาทำกำไรได้ดีในปีหน้า
หากไม่ดูเรื่อง valuation หรือ P/E เลย ผมเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจที่จะรักษาความสามารถในการทำกำไรและมีการเติบโตของกำไรให้เห็นในปีหน้าได้ก็พอจะมีดังนี้ครับ
1 กลุ่มค้าปลีก
2 กลุ่มโรงพยาบาล
3 กลุ่มโรงแรม
4 กลุ่มร้านอาหาร
5 กลุ่มธุรกิจที่มีรายได้จากการให้เช่า เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงาน อาคารสำนักงาน
6 กลุ่มประกัน ( บางบริษัทโดยเฉพาะบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่และบริษัทประกันชีวิต )
7 หุ้นสาธารณูปโภคบางตัว เช่น ทางด่วน หรือโรงไฟฟ้า ก็น่าจะรักษาผลกำไรได้ในระดับหนึ่งแม้ว่ากำไรจะไม่เติบโตนัก
อย่างไรก็ตาม หากดูในแง่ valuation แล้ว จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นของหุ้นบางตัวใน 1-7 กลุ่มดังกล่าว ได้ปรับขึ้นมาพอสมควรสะท้อนความน่าสนใจในการลงทุนและความแข็งแกร่งของกิจการแล้ว ดังนั้น หุ้นที่แข็งแกร่งบางตัวตอนนี้อาจะเป็นบริษัทเกรด A แต่อาจจะยังไม่น่าสนใจที่จะลงทุน ณ ราคาปัจจุบันก็ได้ครับ ถ้าผมมีเงินมากพอ ผมเองก็คงจะไม่ซื้อ Benz E-class รุ่นใหม่ในราคาปัจจุบันครับ แม้ว่าผมเชื่อว่ามันดี แต่ราคาขายก็สะท้อนคุณภาพไปหมดแล้ว แต่หากใครจะมาขาย e-class ในราคา 50% ของราคาตลาด ถ้าตอนนั้นผมมีเงินพอ ผมก็อาจจะสนใจครับ
ผมเชื่อว่าหุ้น 7 กลุ่มนี้ หากมีอยู่และ p/e ไม่แพงไป ก็น่าจะถือลงทุนไปได้อย่างสบายใจครับ ( ยกเว้นบางตัวที่อาจจะแพงเกินไป ) และน่าจะพิจารณาเลือกหุ้นบางตัวที่ยังไม่แพงเกินไปนักสำหรับการลงทุนครับ
สำหรับกลุ่มที่ควรจะใช้ความระมัดระวังในการลงทุน และข้อคิดต่างๆ นะครับ
1. หุ้นที่กำลังจะใช้ผลขาดทุนสะสมทางภาษีหมด และจะต้องเริ่มเสียภาษีในปีหน้า
2. หุ้นที่เป็นผู้ผลิตที่ลูกค้ามีขนาดใหญ่กว่าตนเองมากๆ ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจจะมีอำนาจต่อรองต่ำ
3. หุ้นที่ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนมากๆ และมีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้หลายๆ อย่าง เช่น โรคระบาด ภัยแล้ง
4. หุ้นที่มีข่าวว่าจะเป็นหุ้น turnaround ผมเชื่อว่าหุ้น turn around จริงๆ ได้ฟื้นกันหมดตั้งแต่ปี 2544-2546 แล้ว
5. Sector ที่มีการ IPO มากๆ ในปีนั้นๆ มักจะเป็นกลุ่มที่ underperform ในปีต่อๆ ไป เพราะในทางเศรษฐศาสตร์อธิบายได้ว่าเมื่อมี capital หรือทุน เข้าไปใน sector ใดมากๆ ก็จะทำให้เกิด excess capital หรือเงินทุนส่วนเกิน ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของ capital ทั้งระบบลดลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2547 หุ้น IPO เป็นอสังหาฯ และวัสดุก่อสร้างเยอะมาก ปี 2548 ต้นปีหุ้น IPO เป็น ยานยนต์ เยอะมาก
ปีหน้าผมมองว่าน่าจะเป็นอีกปีหนึ่งที่ดีสำหรับหุ้นค้าปลีกครับ ตัวที่ผมคิดว่าหากเทียบศักยภาพของธุรกิจและราคาในปัจจุบันก็น่าจะเป็น IT ( IT City ) และ BIGC ครับ คงจะเล่ารายละเอียดในกระทู้ต่อไปครับ แต่ระหว่างนี้หากเพื่อนๆ สนใจก็ช่วยกันหาข้อมูลและมาแลกเปลี่ยนกันก็จะดีมากเลยครับ
ส่วน TICON มุมมองก็ยังเหมือนเดิมครับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ
ส่วนระหว่างครึ่งปีแรกหากมีหุ้นน่าสนใจเพิ่มเติมผมอาจจะเข้าไปเล่าในกระทู้ ค้นฟ้าคว้าดาว ข้างบนครับ
การลงทุนในหุ้นก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าการฝากเงินในระยะยาวครับ แต่มันก็ไม่ใช่ผลตอบแทนที่จะได้มาโดยง่ายครับ ก็ต้องศึกษา หาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอครับ ต้องคิดเร็ว ทำเร็วกว่าคนอื่นอย่างน้อย 1 ก้าวเสมอครับ หากทำอะไรพร้อมคนอื่น รู้พร้อมคนอื่น หรือคิดเหมือนกับที่ตลาดคิด โอกาสขาดทุนจะมากกว่ากำไรครับ
ผมก็มองว่าปีหน้าก็จะเป็นอีกปีที่ยากลำบากเหมือน 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ครับ ดังนั้นการเลือกหุ้นให้ถูกตัวก็ยังเป็นสิ่งสำคัญครับ แต่หากมันจะเป็นปีที่ดีของตลาดรวมก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ อย่างน้อยเราระมัดระวังไว้ก่อนน่าจะดีกว่าครับ ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดี ประสบความสำเร็จในการลงทุน และมีสุขภาพแข็งแรงครับ แล้วจะ update กันอีกครั้งในครึ่งหลังของปีหน้าหรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญครับ
ใกล้จะสิ้นปีแล้วก็คงจะถึงเวลาที่ผมจะให้มุมมองสำหรับปีหน้ากับเพื่อนๆ แล้วนะครับ ยังไงเวลาที่ใช้เขียนมีค่อนข้างจำกัดอาจจะเล่าความคิดไม่ได้ทั้งหมดหรือละเอียดมากนักแต่จะขอสรุปประเด็นดังนี้นะครับ
ผมมองว่าปัจจัยหลักที่ยังมีผลกับภาวะการลงทุนในปีหน้าคือเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน โดยผมมองว่าทั้งสองอย่างจะไปด้วยกัน หากเศรษฐกิจโลกดี ราคาน้ำมันก็จะแพง แต่หากเศรษฐกิจโลกไม่ดี ราคาน้ำมันจะลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกดี ก็หมายความว่าการส่งออกของเราจะดี และส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการส่งออกซึ่งก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แต่ก็จะทำให้น้ำมันแพงขึ้น ก็จะทำให้การบริโภคลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกไม่ดี การส่งออกเราจะแย่ลง และส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมได้รับผลกระทบ แต่ราคาน้ำมันก็จะลดลง และจะทำให้การบริโภคดีขึ้นได้
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าอาจจะเสียเวลา และออกจะยากอยู่ที่เราจะมาทำนายว่าเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร แต่หากให้ผมเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมอาจจะเดาว่าเศรษฐกิจโลกจะยังดีอยู่ และราคา commodity ขั้นพื้นฐานคือ น้ำมัน แร่เหล็ก แร่ธาตุอื่นๆ จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพง ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศจีนยังไม่อยู่ในภาวะที่มีการจ้างแรงงานเต็มที่ ( full employment ) เนื่องจากยังมีแรงงานส่วนเกินในภาคชนบทอีกมาก ดังนั้นเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องจากแรงขับดันของประเทศจีน
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันก็นับว่าไม่สามารถแข็งแกร่งด้วยตัวเองได้มากนัก เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เกาหลีใต้ มีปัญหาทางการเงิน ภาระหนี้สินต่างประเทศไม่แพ้เรา แต่เค้ามีทุนที่สำคัญคือ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา ที่เหนือกว่าเรา ทำให้เวลานี้เกาหลีใต้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ และส่งขายได้ทั่วโลก แบรนด์ Sumsung เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมกว่าแบรนด์ญี่ปุ่นบางแบรนด์ เค้ามี แดจังกึม ที่ดังในหลายประเทศทั่วเอเชีย ในขณะที่วงการฟุตบอล เกาหลีใต้ก็เข้ารอบลึกๆ ในบอลโลก และ ปาร์ค จี ซุง ก็สามารถเล่นในสโมสรใหญ่อย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้
ในขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างจีน และเวียดนาม ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาที่ผมมองว่ามีผลต่อการพัฒนาของประเทศในระยะยาวที่สุด คือ ด้านการศึกษา
ปัญหาที่นักลงทุนต่างชาติพบเวลาไปลงทุนในเมืองจีน คือ คนจีนเกือบทุกคนอยากเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นผู้ประกอบการต่างชาติจะเจอปัญหาที่ลูกจ้างชาวจีนออกไปตั้งโรงงานหรือบริษัทแข่งกับนายจ้าง มีการ copy เครื่องจักรและ brand name ทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถมีต้นทุนต่ำกว่า กระเบื้องจีนที่ราคาถูกกว่าไทยมากเพราะเค้าไม่ต้องนำเข้าเครื่องจักรเพราะมีการ copy เทคโนโลยีเครื่องจักรจากต่างประเทศ แม้กระทั่งมอเตอร์ไซค์ที่จีนก็มียี่ห้อง Yamahe Sazaki Honba ขายและไม่ผิดกฎหมาย เพราะชื่อ Honba ไม่ใช่ Honda ซักหน่อย
สำหรับประเทศเวียดนาม ผมมองว่ามีจุดเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์ แต่จุดอ่อนของเวียดนาม คือ ภูมิประเทศ เนื่องจากเวียดนามจะมีพายุไต้ฝุ่นเข้าบ่อยมาก และภูมิประเทศที่ยาวทำให้การขนส่งสินค้าในประเทศทำได้ลำบาก แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังมองว่าเวียดนามจะน่ากลัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เนื่องจากญี่ปุ่นเองก็มีปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติและภูมิประเทศเป็นเกาะเช่นกัน ทรัพยากรมนุษย์สำคัญกว่าครับ
ผมยังเชื่อว่าประเทศไทยยังพอจะมีที่ว่างในระบบเศรษฐกิจโลกอยู่ เนื่องจากคนไทยไม่ชอบเป็นผู้ประกอบการเท่าคนจีน รักสงบ ไม่ตุกติกนัก รวมทั้งเป็นประเทศเดียวในเอเชียแถบตะวันออกที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีความบาดหมางใจกัน รวมทั้งวัฒนธรรม อาหารการกินก็เข้ากันได้ ผมเชื่อว่าคนญี่ปุ่นน่าจะชอบอาหารไทยมากกว่าอาหารพื้นเมืองของมาเลเซีย ดังนั้นบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่วางใจให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในอันดับต้นๆ และน่าจะรองจากจีนเท่านั้น เศรษฐกิจไทยในอนาคตก็น่าจะพึ่งพาการย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพิ่มของญึ่ปุ่นมากพอสมควรในอนาคต
เมื่อเรายังพอจะมีความหวังอยู่ ดังนั้นผมยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังพอไปได้ เพียงแต่เราอย่าหวังว่า GDP จะต้องโตปีละ 8-9% เราคงจะโตได้ซัก 4-5% ซึ่งผมก็ยังมองว่าเป็นระดับที่ไม่เลวร้ายเกินไปนัก ข้อดีอย่างหนึ่งของการที่ GDP เราโตต่ำกว่าเพื่อนบ้านอย่างจีนก็คือ ธุรกิจไทยจะไม่เจอการแข่งขันที่รุนแรงจากต่างชาตินัก บริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัทก็เมินการลงทุนในประเทศไทย เช่น Walmart Home Depot Best buy และก็มีที่ถอนตัวออกไปแล้ว เช่น Orange เพราะเค้ามองว่าตลาดในประเทศไทยเล็กไปสู้ไป focus ที่จีนดีกว่า ทำให้สภาพการแข่งขันของธุรกิจหลายอย่างอยู่ในภาวะผู้แข่งขันน้อยราย หรือ Oligopoly ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการครับ
ผมชอบเศรษฐกิจที่เติบโต 4-5% ต่อปี มากกว่าที่จะโต 10% หรือ 0% ครับ เพราะเป็นระดับที่กำลังดี ไม่ตกต่ำ และไม่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่จนทำให้เกิดการเก็งกำไรหรือการลงทุนเพิ่มของผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างมหาศาลจนทำให้ท้ายสุดเศรษฐกิจอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตได้
แต่การที่เศรษฐกิจจะโต 4-5% นั้น แน่นอนครับ ตลาดหุ้นคงจะไม่ได้ขึ้นมากๆ เราคงจะต้องเลือกหุ้นที่เติบโตสูงกว่าระบบเศรษฐกิจครับ และในภาวะเงินเฟ้อที่ค่อนข้างจะสูงอย่างนี้ เราจะต้องเลือกหุ้นที่สามารถผลักภาระด้านต้นทุนในกับผู้บริโภคได้อีกด้วยครับ
ดังนั้น คำขวัญหลักของผมในการลงทุนปีหน้านี้คือ ต้องโตเร็วกว่าเศรษฐกิจและผลักภาระต้นทุนได้ ครับ
หากสังเกตผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ จะเห็นว่าหลายๆ บริษัทได้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หลายบริษัทพลิกจากกำไรเป็นขาดทุน ด้วยเหตุผลที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถปรับราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นในภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน แร่ธาตุ ยังแพงอย่างนี้ ผมคงยังไม่สนใจบริษัทเหล่านี้นักเพราะไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าบริษัทเหล่านี้จะกลับมาทำกำไรได้ดีในปีหน้า
หากไม่ดูเรื่อง valuation หรือ P/E เลย ผมเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจที่จะรักษาความสามารถในการทำกำไรและมีการเติบโตของกำไรให้เห็นในปีหน้าได้ก็พอจะมีดังนี้ครับ
1 กลุ่มค้าปลีก
2 กลุ่มโรงพยาบาล
3 กลุ่มโรงแรม
4 กลุ่มร้านอาหาร
5 กลุ่มธุรกิจที่มีรายได้จากการให้เช่า เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงาน อาคารสำนักงาน
6 กลุ่มประกัน ( บางบริษัทโดยเฉพาะบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่และบริษัทประกันชีวิต )
7 หุ้นสาธารณูปโภคบางตัว เช่น ทางด่วน หรือโรงไฟฟ้า ก็น่าจะรักษาผลกำไรได้ในระดับหนึ่งแม้ว่ากำไรจะไม่เติบโตนัก
อย่างไรก็ตาม หากดูในแง่ valuation แล้ว จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นของหุ้นบางตัวใน 1-7 กลุ่มดังกล่าว ได้ปรับขึ้นมาพอสมควรสะท้อนความน่าสนใจในการลงทุนและความแข็งแกร่งของกิจการแล้ว ดังนั้น หุ้นที่แข็งแกร่งบางตัวตอนนี้อาจะเป็นบริษัทเกรด A แต่อาจจะยังไม่น่าสนใจที่จะลงทุน ณ ราคาปัจจุบันก็ได้ครับ ถ้าผมมีเงินมากพอ ผมเองก็คงจะไม่ซื้อ Benz E-class รุ่นใหม่ในราคาปัจจุบันครับ แม้ว่าผมเชื่อว่ามันดี แต่ราคาขายก็สะท้อนคุณภาพไปหมดแล้ว แต่หากใครจะมาขาย e-class ในราคา 50% ของราคาตลาด ถ้าตอนนั้นผมมีเงินพอ ผมก็อาจจะสนใจครับ
ผมเชื่อว่าหุ้น 7 กลุ่มนี้ หากมีอยู่และ p/e ไม่แพงไป ก็น่าจะถือลงทุนไปได้อย่างสบายใจครับ ( ยกเว้นบางตัวที่อาจจะแพงเกินไป ) และน่าจะพิจารณาเลือกหุ้นบางตัวที่ยังไม่แพงเกินไปนักสำหรับการลงทุนครับ
สำหรับกลุ่มที่ควรจะใช้ความระมัดระวังในการลงทุน และข้อคิดต่างๆ นะครับ
1. หุ้นที่กำลังจะใช้ผลขาดทุนสะสมทางภาษีหมด และจะต้องเริ่มเสียภาษีในปีหน้า
2. หุ้นที่เป็นผู้ผลิตที่ลูกค้ามีขนาดใหญ่กว่าตนเองมากๆ ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจจะมีอำนาจต่อรองต่ำ
3. หุ้นที่ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนมากๆ และมีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้หลายๆ อย่าง เช่น โรคระบาด ภัยแล้ง
4. หุ้นที่มีข่าวว่าจะเป็นหุ้น turnaround ผมเชื่อว่าหุ้น turn around จริงๆ ได้ฟื้นกันหมดตั้งแต่ปี 2544-2546 แล้ว
5. Sector ที่มีการ IPO มากๆ ในปีนั้นๆ มักจะเป็นกลุ่มที่ underperform ในปีต่อๆ ไป เพราะในทางเศรษฐศาสตร์อธิบายได้ว่าเมื่อมี capital หรือทุน เข้าไปใน sector ใดมากๆ ก็จะทำให้เกิด excess capital หรือเงินทุนส่วนเกิน ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของ capital ทั้งระบบลดลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2547 หุ้น IPO เป็นอสังหาฯ และวัสดุก่อสร้างเยอะมาก ปี 2548 ต้นปีหุ้น IPO เป็น ยานยนต์ เยอะมาก
ปีหน้าผมมองว่าน่าจะเป็นอีกปีหนึ่งที่ดีสำหรับหุ้นค้าปลีกครับ ตัวที่ผมคิดว่าหากเทียบศักยภาพของธุรกิจและราคาในปัจจุบันก็น่าจะเป็น IT ( IT City ) และ BIGC ครับ คงจะเล่ารายละเอียดในกระทู้ต่อไปครับ แต่ระหว่างนี้หากเพื่อนๆ สนใจก็ช่วยกันหาข้อมูลและมาแลกเปลี่ยนกันก็จะดีมากเลยครับ
ส่วน TICON มุมมองก็ยังเหมือนเดิมครับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ
ส่วนระหว่างครึ่งปีแรกหากมีหุ้นน่าสนใจเพิ่มเติมผมอาจจะเข้าไปเล่าในกระทู้ ค้นฟ้าคว้าดาว ข้างบนครับ
การลงทุนในหุ้นก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าการฝากเงินในระยะยาวครับ แต่มันก็ไม่ใช่ผลตอบแทนที่จะได้มาโดยง่ายครับ ก็ต้องศึกษา หาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอครับ ต้องคิดเร็ว ทำเร็วกว่าคนอื่นอย่างน้อย 1 ก้าวเสมอครับ หากทำอะไรพร้อมคนอื่น รู้พร้อมคนอื่น หรือคิดเหมือนกับที่ตลาดคิด โอกาสขาดทุนจะมากกว่ากำไรครับ
ผมก็มองว่าปีหน้าก็จะเป็นอีกปีที่ยากลำบากเหมือน 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ครับ ดังนั้นการเลือกหุ้นให้ถูกตัวก็ยังเป็นสิ่งสำคัญครับ แต่หากมันจะเป็นปีที่ดีของตลาดรวมก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ อย่างน้อยเราระมัดระวังไว้ก่อนน่าจะดีกว่าครับ ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดี ประสบความสำเร็จในการลงทุน และมีสุขภาพแข็งแรงครับ แล้วจะ update กันอีกครั้งในครึ่งหลังของปีหน้าหรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 21
เข้ามาขุดเอาบทความดีๆมาอ่านอีกครั้งครับ พอดีใน web Thaivi เองข้อความเก่าหายไปเกือบหมด เลยขออนุญาติไปดึงข้อความเต็มจาก Web ของคุณ sarut ครับ http://www.sarut-homesite.net เผื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆท่านอื่นๆครับ
คุณภาพของกำไร : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า หุ้นบางตัวทำไม p/e ต่ำมาก แต่เมื่อซื้อไปแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน บางตัวอาจจะต่ำกว่าพื้นฐานจริงๆ แต่หลายๆตัวอาจจะซื้อขายอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสมแล้ว เพราะตัวที่กำหนด p/e ปัจจัยหนึ่งคือ “ คุณภาพของกำไร ” ครับ
คุณภาพของกำไรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ครับ
1. แนวโน้มของความสม่ำเสมอของกำไร หุ้นบางตัวอาจจะมีกำไรดีเพียงปีใดปีหนึ่งหรือชั่วครั้งชั่วคราว และมีผลการดำเนินงานย้อนหลังไม่สม่ำเสมอ เช่น บางปีกำไรน้อย บางปีกำไรมาก หรือบางปีขาดทุน บางปีกำไร หุ้นประเภทเหล่านี้มีคุณภาพของกำไรต่ำครับ หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นวัฎจักร ที่มีผลการดำเนินงานขึ้นลงตามรอบของราคาผลิตภัณฑ์ หรือเป็นหุ้นที่มียอดขายแปรผันตามเศรษฐกิจมากๆ หรืออาจจะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูง เช่น หุ้นที่ต้องใช้แร่ธาตุเป็นสัดส่วนสูงในการผลิต หรือหุ้นการเกษตรที่กำไรในแต่ละปีมีความสัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ หรือโรคระบาด หุ้นเหล่านี้ถือว่ามีคุณภาพของกำไรต่ำครับ
ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง คือหุ้นที่มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำไรสามารถเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่มีความนิยมในตัวแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์สูงและลูกค้ามักจะมีการซื้อซ้ำ หรือมีต้นทุนในการ switching ไปใช้สินค้าคู่แข่งสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงหุ้นที่มีฐานรายได้มั่นคงจากการให้เช่า ซึ่งหมายความว่าหากลูกค้าเดิมยังอยู่ รายได้ในปีนี้จะเป็นฐานของปีต่อไป และหากมีลูกค้าเพิ่มหรือมีการขยาย ก็จะทำให้ฐานรายได้เพิ่มขึ้นไปตลอด
2. รูปแบบการรับรู้รายได้ หุ้นบางตัวมีการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสูง แต่รายได้ทั้งหมดเป็นลูกหนี้การค้า คือ ให้เครดิตกับลูกค้า หุ้นประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพของกำไรต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระยะเวลาที่ให้เครดิตกับลูกค้านานกว่าระยะเวลาการได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้าด้วย (A/R day ต่ำว่า A/P day) หุ้นประเภทเหล่านี้เวลารายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง และมีความเสี่ยงจากการเกิดหนี้สูญในอนาคตด้วย นอกจากนี้ หากหุ้นดังกล่าวมี net margin คืออัตรากำไรเทียบยอดขายต่ำ ก็จะยิ่งทำให้คุณภาพของกำไรแย่ลงไปอีก เนื่องจากแสดงว่าการจะได้มาซึ่งกำไรเพิ่มขึ้น 1 บาท จะต้องใช้ยอดขายเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งต้องหมายความว่าจะใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงกว่าหุ้นที่มี net margin สูง
หุ้นที่มีการรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด หรือจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต จะเป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงกว่า
3. หุ้นที่ต้องการใช้เงินลงทุนสูงในการเพิ่มกำไร ธุรกิจบางประเภทหากต้องการเพิ่มกำไร จะต้องมีการลงทุนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กำไรที่ได้ในปีปัจจุบันจะต้องถูกเก็บไว้สำหรับลงทุนใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อเพิ่มยอดขาย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่เรียกว่า capital intensive ถือว่ามีแนวโน้มของคุณภาพกำไรที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นธุรกิจที่การขยายโครงการให้ผลตอบแทนโดยวัดจาก IRR หรือ ROA ไม่สูงนัก เมื่อผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ก็จะทำให้ต้องใช้เงินทุนสูงในการสร้างกำไรที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย หุ้นดังกล่าวมักจะต้องมีต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นประเภทนี้ หากรายได้ลดลงเมื่อไหร่ กำไรจะลงเร็วมาก เพราะต้นทุนคงที่ที่เพิ่มขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะต้องมีเงินกู้ระดับสูงตลอดเวลา จึงทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูง นอกจากนี้จะส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย กล่าวคือ หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมี p/e ต่ำ แต่มี dividend yield ต่ำเช่นกัน หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะเป็นหุ้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ของตัวเอง
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรที่ต่ำมากไปอีกคือ หุ้นที่จะต้องมีการลงทุนตลอดเวลาเพื่อรักษารายได้และกำไรให้คงที่ หุ้นประเภทนี้มักจะเป็นหุ้นที่กระบวนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเร็วมาก ดังนั้นหุ้นประเภทดังกล่าวนอกจากกำไรจะแทบไม่เพิ่มแล้ว ปันผลก็จะอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันอีกด้วย
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า หุ้นธนาคาร ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ปัจจุบันธนาคารมีต้นทุนเงินฝาก 2% โดยประมาณ และปล่อยกู้ได้เฉลี่ย 6% ดังนั้นผลตอบแทนของสินทรัพย์หลังหักค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 3% ดังนั้น การที่ธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 3 บาท จะต้องเพิ่มสินทรัพย์ถึง 100 บาท โดยสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นลูกหนี้ธนาคาร ดังนั้นก็เท่ากับว่าหากลูกหนี้ 100 บาท ที่เพิ่มมานั้น สามารถชำระได้เพียง 50 บาท ก็เท่ากับว่า ธนาคารต้องทำงานเพื่อชดเชยเงินให้กู้ที่หายไปถึง 16 ปี
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงคือ หุ้นที่สามารถเพิ่มรายได้และกำไร โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มหรือลงทุนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น
ข้อสังเกตของหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรต่ำก็คือ แม้ว่า p/e จะต่ำ แต่ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ต่ำ และจำนวนหนี้สินไม่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และท้ายสุดอาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาขยายกิจการ และหุ้นทึ่มีคุณภาพของกำไรต่ำ หลายบริษัทไม่สามารถยืนได้ในระยะยาวๆ วันหนึ่งมักจะพบกับปัญหาต่างๆ เช่น หนี้สูญ ภาวะถดถอยของธุรกิจที่ทำให้ต้องมีปัญหาด้านการชำระเงินกู้ หรือการลดลงของรายได้หรือกำไรอย่างรวดเร็วที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาวัตถุดิบ ปัจจัยด้านธรรมชาติหรือโรคระบาดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกำไร ยังมีประเด็นปลีกย่อยอยู่บ้าง และผมอาจจะเสริมอีกที หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมหุ้นบางตัว p/e ต่ำแต่ไม่น่าซื้อ หรือหุ้นบางตัว p/e สูง แต่ทำไมยังขึ้นไปอีกเรื่อยๆครับ
คุณภาพของกำไร : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า หุ้นบางตัวทำไม p/e ต่ำมาก แต่เมื่อซื้อไปแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน บางตัวอาจจะต่ำกว่าพื้นฐานจริงๆ แต่หลายๆตัวอาจจะซื้อขายอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสมแล้ว เพราะตัวที่กำหนด p/e ปัจจัยหนึ่งคือ “ คุณภาพของกำไร ” ครับ
คุณภาพของกำไรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ครับ
1. แนวโน้มของความสม่ำเสมอของกำไร หุ้นบางตัวอาจจะมีกำไรดีเพียงปีใดปีหนึ่งหรือชั่วครั้งชั่วคราว และมีผลการดำเนินงานย้อนหลังไม่สม่ำเสมอ เช่น บางปีกำไรน้อย บางปีกำไรมาก หรือบางปีขาดทุน บางปีกำไร หุ้นประเภทเหล่านี้มีคุณภาพของกำไรต่ำครับ หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นวัฎจักร ที่มีผลการดำเนินงานขึ้นลงตามรอบของราคาผลิตภัณฑ์ หรือเป็นหุ้นที่มียอดขายแปรผันตามเศรษฐกิจมากๆ หรืออาจจะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูง เช่น หุ้นที่ต้องใช้แร่ธาตุเป็นสัดส่วนสูงในการผลิต หรือหุ้นการเกษตรที่กำไรในแต่ละปีมีความสัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ หรือโรคระบาด หุ้นเหล่านี้ถือว่ามีคุณภาพของกำไรต่ำครับ
ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง คือหุ้นที่มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำไรสามารถเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่มีความนิยมในตัวแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์สูงและลูกค้ามักจะมีการซื้อซ้ำ หรือมีต้นทุนในการ switching ไปใช้สินค้าคู่แข่งสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงหุ้นที่มีฐานรายได้มั่นคงจากการให้เช่า ซึ่งหมายความว่าหากลูกค้าเดิมยังอยู่ รายได้ในปีนี้จะเป็นฐานของปีต่อไป และหากมีลูกค้าเพิ่มหรือมีการขยาย ก็จะทำให้ฐานรายได้เพิ่มขึ้นไปตลอด
2. รูปแบบการรับรู้รายได้ หุ้นบางตัวมีการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสูง แต่รายได้ทั้งหมดเป็นลูกหนี้การค้า คือ ให้เครดิตกับลูกค้า หุ้นประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพของกำไรต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระยะเวลาที่ให้เครดิตกับลูกค้านานกว่าระยะเวลาการได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้าด้วย (A/R day ต่ำว่า A/P day) หุ้นประเภทเหล่านี้เวลารายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง และมีความเสี่ยงจากการเกิดหนี้สูญในอนาคตด้วย นอกจากนี้ หากหุ้นดังกล่าวมี net margin คืออัตรากำไรเทียบยอดขายต่ำ ก็จะยิ่งทำให้คุณภาพของกำไรแย่ลงไปอีก เนื่องจากแสดงว่าการจะได้มาซึ่งกำไรเพิ่มขึ้น 1 บาท จะต้องใช้ยอดขายเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งต้องหมายความว่าจะใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงกว่าหุ้นที่มี net margin สูง
หุ้นที่มีการรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด หรือจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต จะเป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงกว่า
3. หุ้นที่ต้องการใช้เงินลงทุนสูงในการเพิ่มกำไร ธุรกิจบางประเภทหากต้องการเพิ่มกำไร จะต้องมีการลงทุนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กำไรที่ได้ในปีปัจจุบันจะต้องถูกเก็บไว้สำหรับลงทุนใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อเพิ่มยอดขาย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่เรียกว่า capital intensive ถือว่ามีแนวโน้มของคุณภาพกำไรที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นธุรกิจที่การขยายโครงการให้ผลตอบแทนโดยวัดจาก IRR หรือ ROA ไม่สูงนัก เมื่อผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ก็จะทำให้ต้องใช้เงินทุนสูงในการสร้างกำไรที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย หุ้นดังกล่าวมักจะต้องมีต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นประเภทนี้ หากรายได้ลดลงเมื่อไหร่ กำไรจะลงเร็วมาก เพราะต้นทุนคงที่ที่เพิ่มขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะต้องมีเงินกู้ระดับสูงตลอดเวลา จึงทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูง นอกจากนี้จะส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย กล่าวคือ หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมี p/e ต่ำ แต่มี dividend yield ต่ำเช่นกัน หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะเป็นหุ้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ของตัวเอง
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรที่ต่ำมากไปอีกคือ หุ้นที่จะต้องมีการลงทุนตลอดเวลาเพื่อรักษารายได้และกำไรให้คงที่ หุ้นประเภทนี้มักจะเป็นหุ้นที่กระบวนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเร็วมาก ดังนั้นหุ้นประเภทดังกล่าวนอกจากกำไรจะแทบไม่เพิ่มแล้ว ปันผลก็จะอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันอีกด้วย
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า หุ้นธนาคาร ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ปัจจุบันธนาคารมีต้นทุนเงินฝาก 2% โดยประมาณ และปล่อยกู้ได้เฉลี่ย 6% ดังนั้นผลตอบแทนของสินทรัพย์หลังหักค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 3% ดังนั้น การที่ธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 3 บาท จะต้องเพิ่มสินทรัพย์ถึง 100 บาท โดยสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นลูกหนี้ธนาคาร ดังนั้นก็เท่ากับว่าหากลูกหนี้ 100 บาท ที่เพิ่มมานั้น สามารถชำระได้เพียง 50 บาท ก็เท่ากับว่า ธนาคารต้องทำงานเพื่อชดเชยเงินให้กู้ที่หายไปถึง 16 ปี
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงคือ หุ้นที่สามารถเพิ่มรายได้และกำไร โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มหรือลงทุนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น
ข้อสังเกตของหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรต่ำก็คือ แม้ว่า p/e จะต่ำ แต่ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ต่ำ และจำนวนหนี้สินไม่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และท้ายสุดอาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาขยายกิจการ และหุ้นทึ่มีคุณภาพของกำไรต่ำ หลายบริษัทไม่สามารถยืนได้ในระยะยาวๆ วันหนึ่งมักจะพบกับปัญหาต่างๆ เช่น หนี้สูญ ภาวะถดถอยของธุรกิจที่ทำให้ต้องมีปัญหาด้านการชำระเงินกู้ หรือการลดลงของรายได้หรือกำไรอย่างรวดเร็วที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาวัตถุดิบ ปัจจัยด้านธรรมชาติหรือโรคระบาดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกำไร ยังมีประเด็นปลีกย่อยอยู่บ้าง และผมอาจจะเสริมอีกที หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมหุ้นบางตัว p/e ต่ำแต่ไม่น่าซื้อ หรือหุ้นบางตัว p/e สูง แต่ทำไมยังขึ้นไปอีกเรื่อยๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณภาพของกำไร
โพสต์ที่ 26
ดูเหมือน ...ข้อความจะ หาย หรืเปล่า
เลย ไป google ดู โดย invisible hand
มีอันนี้ ใกล้เคียงน่า จะ ใช่ เลย มาช่วย แปะคืน
[quote]
คุณภาพของกำไร : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า หุ้นบางตัวทำไม p/e ต่ำมาก แต่เมื่อซื้อไปแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน บางตัวอาจจะต่ำกว่าพื้นฐานจริงๆ แต่หลายๆตัวอาจจะซื้อขายอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสมแล้ว เพราะตัวที่กำหนด p/e ปัจจัยหนึ่งคือ “ คุณภาพของกำไร ” ครับ
คุณภาพของกำไรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ครับ
1. แนวโน้มของความสม่ำเสมอของกำไร หุ้นบางตัวอาจจะมีกำไรดีเพียงปีใดปีหนึ่งหรือชั่วครั้งชั่วคราว และมีผลการดำเนินงานย้อนหลังไม่สม่ำเสมอ เช่น บางปีกำไรน้อย บางปีกำไรมาก หรือบางปีขาดทุน บางปีกำไร หุ้นประเภทเหล่านี้มีคุณภาพของกำไรต่ำครับ หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นวัฎจักร ที่มีผลการดำเนินงานขึ้นลงตามรอบของราคาผลิตภัณฑ์ หรือเป็นหุ้นที่มียอดขายแปรผันตามเศรษฐกิจมากๆ หรืออาจจะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูง เช่น หุ้นที่ต้องใช้แร่ธาตุเป็นสัดส่วนสูงในการผลิต หรือหุ้นการเกษตรที่กำไรในแต่ละปีมีความสัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ หรือโรคระบาด หุ้นเหล่านี้ถือว่ามีคุณภาพของกำไรต่ำครับ
ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง คือหุ้นที่มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำไรสามารถเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่มีความนิยมในตัวแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์สูงและลูกค้ามักจะมีการซื้อซ้ำ หรือมีต้นทุนในการ switching ไปใช้สินค้าคู่แข่งสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงหุ้นที่มีฐานรายได้มั่นคงจากการให้เช่า ซึ่งหมายความว่าหากลูกค้าเดิมยังอยู่ รายได้ในปีนี้จะเป็นฐานของปีต่อไป และหากมีลูกค้าเพิ่มหรือมีการขยาย ก็จะทำให้ฐานรายได้เพิ่มขึ้นไปตลอด
2. รูปแบบการรับรู้รายได้ หุ้นบางตัวมีการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสูง แต่รายได้ทั้งหมดเป็นลูกหนี้การค้า คือ ให้เครดิตกับลูกค้า หุ้นประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพของกำไรต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระยะเวลาที่ให้เครดิตกับลูกค้านานกว่าระยะเวลาการได้ รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้าด้วย (A/R day ต่ำว่า A/P day) หุ้นประเภทเหล่านี้เวลารายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง และมีความเสี่ยงจากการเกิดหนี้สูญในอนาคตด้วย นอกจากนี้ หากหุ้นดังกล่าวมี net margin คืออัตรากำไรเทียบยอดขายต่ำ ก็จะยิ่งทำให้คุณภาพของกำไรแย่ลงไปอีก เนื่องจากแสดงว่าการจะได้มาซึ่งกำไรเพิ่มขึ้น 1 บาท จะต้องใช้ยอดขายเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งต้องหมายความว่าจะใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงกว่าหุ้นที่มี net margin สูง
หุ้นที่มีการรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด หรือจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต จะเป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงกว่า
3. หุ้นที่ต้องการใช้เงินลงทุนสูงในการเพิ่มกำไร ธุรกิจบางประเภทหากต้องการเพิ่มกำไร จะต้องมีการลงทุนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กำไรที่ได้ในปีปัจจุบันจะต้องถูกเก็บไว้สำหรับลงทุนใหม่ๆตลอดเวลา เพื่อเพิ่มยอดขาย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่เรียกว่า capital intensive ถือว่ามีแนวโน้มของคุณภาพกำไรที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นธุรกิจที่การขยายโครงการให้ผลตอบแทนโดยวัดจาก IRR หรือ ROA ไม่สูงนัก เมื่อผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ก็จะทำให้ต้องใช้เงินทุนสูงในการสร้างกำไรที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย หุ้นดังกล่าวมักจะต้องมีต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นประเภทนี้ หากรายได้ลดลงเมื่อไหร่ กำไรจะลงเร็วมาก เพราะต้นทุนคงที่ที่เพิ่มขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะต้องมีเงินกู้ระดับสูงตลอดเวลา จึงทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูง นอกจากนี้จะส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย กล่าวคือ หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมี p/e ต่ำ แต่มี dividend yield ต่ำเช่นกัน หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะเป็นหุ้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีแบ รนด์ของตัวเอง
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรที่ต่ำมากไปอีกคือ หุ้นที่จะต้องมีการลงทุนตลอดเวลาเพื่อรักษารายได้และกำไรให้คงที่ หุ้นประเภทนี้มักจะเป็นหุ้นที่กระบวนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เร็วมาก ดังนั้นหุ้นประเภทดังกล่าวนอกจากกำไรจะแทบไม่เพิ่มแล้ว ปันผลก็จะอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือก้าวตามเทคโนโลยี ไม่ทันอีกด้วย
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า หุ้นธนาคาร ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ปัจจุบันธนาคารมีต้นทุนเงินฝาก 2% โดยประมาณ และปล่อยกู้ได้เฉลี่ย 6% ดังนั้นผลตอบแทนของสินทรัพย์หลังหักค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 3% ดังนั้น การที่ธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 3 บาท จะต้องเพิ่มสินทรัพย์ถึง 100 บาท โดยสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นลูกหนี้ธนาคาร ดังนั้นก็เท่ากับว่าหากลูกหนี้ 100 บาท ที่เพิ่มมานั้น สามารถชำระได้เพียง 50 บาท ก็เท่ากับว่า ธนาคารต้องทำงานเพื่อชดเชยเงินให้กู้ที่หายไปถึง 16 ปี
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงคือ หุ้นที่สามารถเพิ่มรายได้และกำไร โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มหรือลงทุนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น
ข้อสังเกตของหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรต่ำก็คือ แม้ว่า p/e จะต่ำ แต่ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ต่ำ และจำนวนหนี้สินไม่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และท้ายสุดอาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาขยายกิจการ และหุ้นทึ่มีคุณภาพของกำไรต่ำ หลายบริษัทไม่สามารถยืนได้ในระยะยาวๆ วันหนึ่งมักจะพบกับปัญหาต่างๆ เช่น หนี้สูญ ภาวะถดถอยของธุรกิจที่ทำให้ต้องมีปัญหาด้านการชำระเงินกู้ หรือการลดลงของรายได้หรือกำไรอย่างรวดเร็วที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาวัตถุดิบ ปัจจัยด้านธรรมชาติหรือโรคระบาดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกำไร ยังมีประเด็นปลีกย่อยอยู่บ้าง และผมอาจจะเสริมอีกที หวังว่ากระทู้ นี้คงจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมหุ้นบางตัว p/e ต่ำแต่ไม่น่าซื้อ หรือหุ้นบางตัว p/e สูง แต่ทำไมยังขึ้นไปอีกเรื่อยๆครับ
คุณภาพของกำไร
คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
ที่มา : http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=16119
[/quote]
แปลกที่บทความกลับ link กลับมาที่นี้
http://www.sarut-homesite.net/%E0%B8%84 ... %E0%B9%80/
เลย ไป google ดู โดย invisible hand
มีอันนี้ ใกล้เคียงน่า จะ ใช่ เลย มาช่วย แปะคืน
[quote]
คุณภาพของกำไร : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า หุ้นบางตัวทำไม p/e ต่ำมาก แต่เมื่อซื้อไปแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน บางตัวอาจจะต่ำกว่าพื้นฐานจริงๆ แต่หลายๆตัวอาจจะซื้อขายอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสมแล้ว เพราะตัวที่กำหนด p/e ปัจจัยหนึ่งคือ “ คุณภาพของกำไร ” ครับ
คุณภาพของกำไรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ครับ
1. แนวโน้มของความสม่ำเสมอของกำไร หุ้นบางตัวอาจจะมีกำไรดีเพียงปีใดปีหนึ่งหรือชั่วครั้งชั่วคราว และมีผลการดำเนินงานย้อนหลังไม่สม่ำเสมอ เช่น บางปีกำไรน้อย บางปีกำไรมาก หรือบางปีขาดทุน บางปีกำไร หุ้นประเภทเหล่านี้มีคุณภาพของกำไรต่ำครับ หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นวัฎจักร ที่มีผลการดำเนินงานขึ้นลงตามรอบของราคาผลิตภัณฑ์ หรือเป็นหุ้นที่มียอดขายแปรผันตามเศรษฐกิจมากๆ หรืออาจจะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูง เช่น หุ้นที่ต้องใช้แร่ธาตุเป็นสัดส่วนสูงในการผลิต หรือหุ้นการเกษตรที่กำไรในแต่ละปีมีความสัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ หรือโรคระบาด หุ้นเหล่านี้ถือว่ามีคุณภาพของกำไรต่ำครับ
ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง คือหุ้นที่มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำไรสามารถเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่มีความนิยมในตัวแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์สูงและลูกค้ามักจะมีการซื้อซ้ำ หรือมีต้นทุนในการ switching ไปใช้สินค้าคู่แข่งสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงหุ้นที่มีฐานรายได้มั่นคงจากการให้เช่า ซึ่งหมายความว่าหากลูกค้าเดิมยังอยู่ รายได้ในปีนี้จะเป็นฐานของปีต่อไป และหากมีลูกค้าเพิ่มหรือมีการขยาย ก็จะทำให้ฐานรายได้เพิ่มขึ้นไปตลอด
2. รูปแบบการรับรู้รายได้ หุ้นบางตัวมีการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสูง แต่รายได้ทั้งหมดเป็นลูกหนี้การค้า คือ ให้เครดิตกับลูกค้า หุ้นประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพของกำไรต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระยะเวลาที่ให้เครดิตกับลูกค้านานกว่าระยะเวลาการได้ รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้าด้วย (A/R day ต่ำว่า A/P day) หุ้นประเภทเหล่านี้เวลารายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง และมีความเสี่ยงจากการเกิดหนี้สูญในอนาคตด้วย นอกจากนี้ หากหุ้นดังกล่าวมี net margin คืออัตรากำไรเทียบยอดขายต่ำ ก็จะยิ่งทำให้คุณภาพของกำไรแย่ลงไปอีก เนื่องจากแสดงว่าการจะได้มาซึ่งกำไรเพิ่มขึ้น 1 บาท จะต้องใช้ยอดขายเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งต้องหมายความว่าจะใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงกว่าหุ้นที่มี net margin สูง
หุ้นที่มีการรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด หรือจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต จะเป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงกว่า
3. หุ้นที่ต้องการใช้เงินลงทุนสูงในการเพิ่มกำไร ธุรกิจบางประเภทหากต้องการเพิ่มกำไร จะต้องมีการลงทุนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กำไรที่ได้ในปีปัจจุบันจะต้องถูกเก็บไว้สำหรับลงทุนใหม่ๆตลอดเวลา เพื่อเพิ่มยอดขาย หุ้นเหล่านี้มักจะเป็นหุ้นที่เรียกว่า capital intensive ถือว่ามีแนวโน้มของคุณภาพกำไรที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นธุรกิจที่การขยายโครงการให้ผลตอบแทนโดยวัดจาก IRR หรือ ROA ไม่สูงนัก เมื่อผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ก็จะทำให้ต้องใช้เงินทุนสูงในการสร้างกำไรที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย หุ้นดังกล่าวมักจะต้องมีต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นประเภทนี้ หากรายได้ลดลงเมื่อไหร่ กำไรจะลงเร็วมาก เพราะต้นทุนคงที่ที่เพิ่มขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะต้องมีเงินกู้ระดับสูงตลอดเวลา จึงทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูง นอกจากนี้จะส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย กล่าวคือ หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมี p/e ต่ำ แต่มี dividend yield ต่ำเช่นกัน หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะเป็นหุ้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีแบ รนด์ของตัวเอง
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรที่ต่ำมากไปอีกคือ หุ้นที่จะต้องมีการลงทุนตลอดเวลาเพื่อรักษารายได้และกำไรให้คงที่ หุ้นประเภทนี้มักจะเป็นหุ้นที่กระบวนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เร็วมาก ดังนั้นหุ้นประเภทดังกล่าวนอกจากกำไรจะแทบไม่เพิ่มแล้ว ปันผลก็จะอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือก้าวตามเทคโนโลยี ไม่ทันอีกด้วย
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า หุ้นธนาคาร ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ปัจจุบันธนาคารมีต้นทุนเงินฝาก 2% โดยประมาณ และปล่อยกู้ได้เฉลี่ย 6% ดังนั้นผลตอบแทนของสินทรัพย์หลังหักค่าใช้จ่ายจะอยู่ประมาณ 3% ดังนั้น การที่ธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 3 บาท จะต้องเพิ่มสินทรัพย์ถึง 100 บาท โดยสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นลูกหนี้ธนาคาร ดังนั้นก็เท่ากับว่าหากลูกหนี้ 100 บาท ที่เพิ่มมานั้น สามารถชำระได้เพียง 50 บาท ก็เท่ากับว่า ธนาคารต้องทำงานเพื่อชดเชยเงินให้กู้ที่หายไปถึง 16 ปี
หุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูงคือ หุ้นที่สามารถเพิ่มรายได้และกำไร โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มหรือลงทุนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น
ข้อสังเกตของหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรต่ำก็คือ แม้ว่า p/e จะต่ำ แต่ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ต่ำ และจำนวนหนี้สินไม่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และท้ายสุดอาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาขยายกิจการ และหุ้นทึ่มีคุณภาพของกำไรต่ำ หลายบริษัทไม่สามารถยืนได้ในระยะยาวๆ วันหนึ่งมักจะพบกับปัญหาต่างๆ เช่น หนี้สูญ ภาวะถดถอยของธุรกิจที่ทำให้ต้องมีปัญหาด้านการชำระเงินกู้ หรือการลดลงของรายได้หรือกำไรอย่างรวดเร็วที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาวัตถุดิบ ปัจจัยด้านธรรมชาติหรือโรคระบาดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกำไร ยังมีประเด็นปลีกย่อยอยู่บ้าง และผมอาจจะเสริมอีกที หวังว่ากระทู้ นี้คงจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมหุ้นบางตัว p/e ต่ำแต่ไม่น่าซื้อ หรือหุ้นบางตัว p/e สูง แต่ทำไมยังขึ้นไปอีกเรื่อยๆครับ
คุณภาพของกำไร
คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
ที่มา : http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=16119
[/quote]
แปลกที่บทความกลับ link กลับมาที่นี้
http://www.sarut-homesite.net/%E0%B8%84 ... %E0%B9%80/