ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 1
ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า (Value Investment)กับความเห็นของผู้เขียน..
ความเชื่อ : นักลงทุน VI นิยมลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูง
ความเห็น : เมื่อนักลงทุน VI จะลงทุนในหุ้น ต้องพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆของกิจการ โดยที่ผลตอบแทนจากเงินปันผลเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น และที่จริงไม่ควรจะเป็นปัจจัยหลัก แม้ว่าโดยส่วนใหญ่หุ้นที่จ่ายปันผลสูงจะมีความเสี่ยงที่ราคาจะลดลงต่ำกว่าหุ้นที่จ่ายปันผลน้อย และเงินปันผลจะเป็นกับดัก หากเป็นเงินปันผลที่ไม่มีคุณภาพ เช่น จ่ายในระดับสูงเมื่อเทียบกับกำไรที่ทำได้ ในขณะที่กิจการยังต้องการเงินทุน เงินปันผลที่จ่ายจากกำไรที่ทำได้สูงกว่าปกติ หรือเงินปันผลจากกิจการที่ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตลดลง หากนักลงทุนสบายใจที่จะลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูง สิ่งที่ต้องมองหาคือความยั่งยืนและคุณภาพของเงินปันผล
ความเชื่อ : นักลงทุน VI นิยมลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ
ความเห็น : นักลงทุน VI ลงทุนในหุ้นโดยตัดสินใจจากปัจจัยพื้นฐานของกิจการ สภาพคล่องในการซื้อขายไม่ควรจะเป็นประเด็นหลัก แต่เนื่องจากหุ้นเหล่านี้มีคนซื้อ คนขายน้อย มีความเสี่ยงที่เมื่อนักลงทุนต้องการขายอาจจะไม่มีคนรับซื้อ หรือขายได้ในราคาต่ำๆ ดังนั้นหากนักลงทุนพิจารณาลงทุนในหุ้นเหล่านี้ ควรเป็นการลงทุนระยาว และต้องมั่นใจในพื้นฐานของกิจการ และซื้อในราคาที่มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย(Margin of safety) มากกว่าปกติ
ความเชื่อ : นักลงทุน VI ถือหุ้นระยะยาว ซื้อหุ้นแล้วไม่ขาย ถือไปตลอดชีวิต
ความเห็น : นักลงทุน VI จะซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และจะขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงหรือเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็น ดังนั้นการซื้อหรือขาย ขึ้นอยู่กับราคาหุ้นในตลาดกับมูลค่าที่เหมาะสม ระยะเวลาในการถือหุ้นไม่ควรมีหลักเกณฑ์ตายตัว ในความเป็นจริงเมื่อนักลงทุนซื้อหุ้นและรอให้ตลาดรับรู้มูลค่า ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน เพราะพื้นฐานของกิจการต้องอาศัยระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ดูเสมือนว่านักลงทุนมักถือหุ้นระยะยาว
ความเชื่อ : นักลงทุน VI ต้องเรียนสูง มีความฉลาดทางปัญญา(IQ) ระดับสูง
ความเห็น : เชื่อกันว่าระดับ IQ มีผลต่อการลงทุนบ้าง แต่สิ่งที่จำเป็นมากกว่าคือนักลงทุนต้องพัฒนาให้มีความฉลาดทางอารมณ์(EQ) สูง เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์จากความฉลาดของปัญญาหรือ IQ ได้เต็มที่ นักลงทุนที่โดดเด่นจะมีทั้ง IQ และ EQ สูง ส่วนทักษะที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการลงทุน ควรรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้น รู้ภาษาธุรกิจซึ่งก็คือการบัญชีเบื้องต้น และควรจะสามารถวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผลได้ดี โดยที่ความรู้เช่นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนสูงๆหรือจบจากสถาบันดีๆ แล้วจะทำได้ดีกว่า
ความเชื่อ : นักลงทุน VI ไม่ลงทุนในวอร์แรนต์
ความเห็น : วอร์แรนต์คือตราสารแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นในอนาคตตามเงื่อนไขบางประการ ดังนั้นวอร์แรนต์ควรจะได้รับการประเมินมูลค่าบนบรรทัดฐานเดียวกับการประเมินมูลค่าหุ้น หากวอร์แรนต์มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลใดที่นักลงทุน VI จะไม่ลงทุน แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนลงทุนคือวอร์แรนต์เป็นตราสารอนุพันธ์ซึ่งอ้างอิงอยู่กับราคาหุ้นแม่ แต่จะมีความผันผวนมากกว่า เพราะคุณสมบัติของอัตราการทวีผล(Gearing) กิจการที่มีการเพิ่มทุนโดยการออกวอร์แรนต์หรือเพิ่มทุนโดยตรง จะไม่ทำให้นักลงทุนเสียหาย หากกิจการสามารถที่จะสร้างกำไรเพิ่มชดเชยผลกระทบจากที่มีหุ้นเพิ่ม(Dilution Effect) หรือจะดียิ่งกว่าหากกิจการนำเงินไปลงทุนได้ผลกำไรสูงกว่าต้นทุนเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น
ความเชื่อ : หุ้น VI ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของผลกำไรต่ำแต่มั่นคง
ความเห็น : หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นเติบโตสูง (Growth Stock) หุ้นวัฏจักร(Cyclical Sstock) หุ้นสินทรัพย์มาก (Asset play) หรือหุ้นมั่นคง (Defensive Stock) ควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรเข้าใจคือหุ้นที่แตกต่างกัน ไม่สามารถที่จะวัดความถูกหรือแพงโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินตัวเดียวกัน เช่นการใช้อัตราส่วน ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (PE Ratio) หุ้นทั่วๆไป ค่าพีอีที่ต่ำแสดงว่าหุ้นตัวนั้นราคาถูก แต่หากเป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ค่าพีอีที่ไม่สูงกว่าการอัตราการเติบโตของผลกำไร ก็ถือว่าหุ้นราคาถูกเช่นกัน ในขณะที่การใช้ค่าพีอีกับหุ้นที่เป็นวัฏจักรจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม คือค่าพีอีที่สูงแสดงว่าหุ้นอาจจะกำลังอยู่ในภาวะที่ควรลงทุน เป็นต้น
ความเชื่อ : การลงทุนในหุ้นสามัญเป็นการเสี่ยง แม้ลงทุนแบบ VI ก็มีความเสี่ยง
ความเห็น : เป็นความจริงที่ว่าการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงที่สุดคือการไม่ลงทุนอะไรเลย เพราะเงินเฟ้อจะลดอำนาจซื้อของเงินอยู่ตลอดเวลา หากเป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วๆไป การลงทุนฝากเงินธนาคารที่มีความเสี่ยงการลดลงของเงินต้นต่ำ อาจจะเพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบพอเพียง และอาจจะต้องกระเบียดกระเสียรในชีวิตหลังเกษียณ หากต้องการแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ทุกคนควรแบ่งเงินลงทุนในหุ้นบ้างตามความสามารถในการรับความเสี่ยง หากมีการกระจายการลงทุนในหุ้นที่เหมาะสม ความเสี่ยงที่เงินลงทุนจะกลายเป็นศูนย์จะเท่าๆกับความเสี่ยงที่เงินฝากในธนาคารจะกลายเป็นศูนย์เช่นกัน และหากถึงวันนั้นจริง เงินที่ฝั่งตุ่มไว้ก็คงมีค่าเพียงเศษกระดาษเท่านั้น
ความเชื่อ : นักลงทุน VI นิยมลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูง
ความเห็น : เมื่อนักลงทุน VI จะลงทุนในหุ้น ต้องพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆของกิจการ โดยที่ผลตอบแทนจากเงินปันผลเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น และที่จริงไม่ควรจะเป็นปัจจัยหลัก แม้ว่าโดยส่วนใหญ่หุ้นที่จ่ายปันผลสูงจะมีความเสี่ยงที่ราคาจะลดลงต่ำกว่าหุ้นที่จ่ายปันผลน้อย และเงินปันผลจะเป็นกับดัก หากเป็นเงินปันผลที่ไม่มีคุณภาพ เช่น จ่ายในระดับสูงเมื่อเทียบกับกำไรที่ทำได้ ในขณะที่กิจการยังต้องการเงินทุน เงินปันผลที่จ่ายจากกำไรที่ทำได้สูงกว่าปกติ หรือเงินปันผลจากกิจการที่ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตลดลง หากนักลงทุนสบายใจที่จะลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูง สิ่งที่ต้องมองหาคือความยั่งยืนและคุณภาพของเงินปันผล
ความเชื่อ : นักลงทุน VI นิยมลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ
ความเห็น : นักลงทุน VI ลงทุนในหุ้นโดยตัดสินใจจากปัจจัยพื้นฐานของกิจการ สภาพคล่องในการซื้อขายไม่ควรจะเป็นประเด็นหลัก แต่เนื่องจากหุ้นเหล่านี้มีคนซื้อ คนขายน้อย มีความเสี่ยงที่เมื่อนักลงทุนต้องการขายอาจจะไม่มีคนรับซื้อ หรือขายได้ในราคาต่ำๆ ดังนั้นหากนักลงทุนพิจารณาลงทุนในหุ้นเหล่านี้ ควรเป็นการลงทุนระยาว และต้องมั่นใจในพื้นฐานของกิจการ และซื้อในราคาที่มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย(Margin of safety) มากกว่าปกติ
ความเชื่อ : นักลงทุน VI ถือหุ้นระยะยาว ซื้อหุ้นแล้วไม่ขาย ถือไปตลอดชีวิต
ความเห็น : นักลงทุน VI จะซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และจะขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงหรือเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็น ดังนั้นการซื้อหรือขาย ขึ้นอยู่กับราคาหุ้นในตลาดกับมูลค่าที่เหมาะสม ระยะเวลาในการถือหุ้นไม่ควรมีหลักเกณฑ์ตายตัว ในความเป็นจริงเมื่อนักลงทุนซื้อหุ้นและรอให้ตลาดรับรู้มูลค่า ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน เพราะพื้นฐานของกิจการต้องอาศัยระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ดูเสมือนว่านักลงทุนมักถือหุ้นระยะยาว
ความเชื่อ : นักลงทุน VI ต้องเรียนสูง มีความฉลาดทางปัญญา(IQ) ระดับสูง
ความเห็น : เชื่อกันว่าระดับ IQ มีผลต่อการลงทุนบ้าง แต่สิ่งที่จำเป็นมากกว่าคือนักลงทุนต้องพัฒนาให้มีความฉลาดทางอารมณ์(EQ) สูง เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์จากความฉลาดของปัญญาหรือ IQ ได้เต็มที่ นักลงทุนที่โดดเด่นจะมีทั้ง IQ และ EQ สูง ส่วนทักษะที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการลงทุน ควรรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้น รู้ภาษาธุรกิจซึ่งก็คือการบัญชีเบื้องต้น และควรจะสามารถวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผลได้ดี โดยที่ความรู้เช่นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนสูงๆหรือจบจากสถาบันดีๆ แล้วจะทำได้ดีกว่า
ความเชื่อ : นักลงทุน VI ไม่ลงทุนในวอร์แรนต์
ความเห็น : วอร์แรนต์คือตราสารแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นในอนาคตตามเงื่อนไขบางประการ ดังนั้นวอร์แรนต์ควรจะได้รับการประเมินมูลค่าบนบรรทัดฐานเดียวกับการประเมินมูลค่าหุ้น หากวอร์แรนต์มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลใดที่นักลงทุน VI จะไม่ลงทุน แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนลงทุนคือวอร์แรนต์เป็นตราสารอนุพันธ์ซึ่งอ้างอิงอยู่กับราคาหุ้นแม่ แต่จะมีความผันผวนมากกว่า เพราะคุณสมบัติของอัตราการทวีผล(Gearing) กิจการที่มีการเพิ่มทุนโดยการออกวอร์แรนต์หรือเพิ่มทุนโดยตรง จะไม่ทำให้นักลงทุนเสียหาย หากกิจการสามารถที่จะสร้างกำไรเพิ่มชดเชยผลกระทบจากที่มีหุ้นเพิ่ม(Dilution Effect) หรือจะดียิ่งกว่าหากกิจการนำเงินไปลงทุนได้ผลกำไรสูงกว่าต้นทุนเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น
ความเชื่อ : หุ้น VI ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของผลกำไรต่ำแต่มั่นคง
ความเห็น : หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นเติบโตสูง (Growth Stock) หุ้นวัฏจักร(Cyclical Sstock) หุ้นสินทรัพย์มาก (Asset play) หรือหุ้นมั่นคง (Defensive Stock) ควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรเข้าใจคือหุ้นที่แตกต่างกัน ไม่สามารถที่จะวัดความถูกหรือแพงโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินตัวเดียวกัน เช่นการใช้อัตราส่วน ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (PE Ratio) หุ้นทั่วๆไป ค่าพีอีที่ต่ำแสดงว่าหุ้นตัวนั้นราคาถูก แต่หากเป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ค่าพีอีที่ไม่สูงกว่าการอัตราการเติบโตของผลกำไร ก็ถือว่าหุ้นราคาถูกเช่นกัน ในขณะที่การใช้ค่าพีอีกับหุ้นที่เป็นวัฏจักรจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม คือค่าพีอีที่สูงแสดงว่าหุ้นอาจจะกำลังอยู่ในภาวะที่ควรลงทุน เป็นต้น
ความเชื่อ : การลงทุนในหุ้นสามัญเป็นการเสี่ยง แม้ลงทุนแบบ VI ก็มีความเสี่ยง
ความเห็น : เป็นความจริงที่ว่าการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงที่สุดคือการไม่ลงทุนอะไรเลย เพราะเงินเฟ้อจะลดอำนาจซื้อของเงินอยู่ตลอดเวลา หากเป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วๆไป การลงทุนฝากเงินธนาคารที่มีความเสี่ยงการลดลงของเงินต้นต่ำ อาจจะเพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบพอเพียง และอาจจะต้องกระเบียดกระเสียรในชีวิตหลังเกษียณ หากต้องการแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ทุกคนควรแบ่งเงินลงทุนในหุ้นบ้างตามความสามารถในการรับความเสี่ยง หากมีการกระจายการลงทุนในหุ้นที่เหมาะสม ความเสี่ยงที่เงินลงทุนจะกลายเป็นศูนย์จะเท่าๆกับความเสี่ยงที่เงินฝากในธนาคารจะกลายเป็นศูนย์เช่นกัน และหากถึงวันนั้นจริง เงินที่ฝั่งตุ่มไว้ก็คงมีค่าเพียงเศษกระดาษเท่านั้น
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- Raphin Phraiwal
- Verified User
- โพสต์: 1342
- ผู้ติดตาม: 0
ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณมากครับพี่
รักในหลวงครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 3
what's an idea.
ผมอ่านแล้วรู้สึก "ได้คิด" ที่ว่าได้คิด แต่ไม่ใช่ "คิดได้" เพราะว่าอ่านเรื่องพี่ลูกอีสานแล้วสามารถต่อยอดและทำให้อยากค้นคว้าหาคำตอบใหม่ ๆ และเมื่อเราเริ่มค้น เราก็ได้ความสนุกที่จะคอยหล่อเลี้ยง "พลัง" แห่งการเรียนรู้การลงทุนเน้นคุณค่าต่อไป ส่อว่า.....การนำเสนอในแนวใหม่ๆ มันยังไม่ตายนะ
ส่วน "คิดได้" ส่อว่า เราคิดออก เราเข้าใจแล้ว ไม่ต้องมาบอกฉันนะ ซึ่งนั้นเป็นเรื่องดี แต่มันต่อยอดไปไหนไม่ได้ และไม่สำคัญเท่ากับ "ได้คิด" เพราะ การได้คิด สะท้อนว่าจิตวิญญาณแห่งการลงทุนของเรายังไม่มอดสลาย เพราะวันใดวันหนึ่ง "พลัง" นั้นมันก็ต้องจากเราไปและไม่อยู่กับใครไปตลอดชีวิต
ขอบคุณคุณลูกอีสาน ที่มอบอิสระในความคิดใหม่ ๆ ใต้ฟ้าการลงทุนเน้นคุณค่านี้ จะหานักคิด นักสู้ และนักลงทุนคนไหนที่พิสูจน์ตัวเองมานานจนทุกคนยอมรับ นั่นย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย หรือเรื่องบังเอิญ
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 4
ขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่แบ่งปันครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 8
วันนี้ ดร.นิเวศน์ท่านเขียนบทความที่น่าจะเข้ากับกระทู้นี้ครับ ผมเลยขออนุญาตินำมารวมอยู่ด้วยกัน..
หลายคำถามกับหุ้นคุณค่า
โลกในมุมมองของ Value Investor
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 4 กันยายน 2550
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้รับเชิญให้ไปออกรายการทีวีทาง Money Channel ของตลาดหลักทรัพย์ หัวข้อสนทนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและเป็นการโปรโมตหนังสือเล่มล่าสุดของผมชื่อ รวยหุ้นอย่างพอเพียง ผมเห็นว่าคำถามที่พิธีกรตั้งให้นั้น เป็นคำถามที่คนมักจะสงสัยหรือถามผมอยู่เนือง ๆ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับหุ้นคุณค่า ดังนั้นผมจึงคิดว่าคงจะมีประโยชน์ที่จะนำมาเขียนไว้ในที่นี้
คำถาม: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นแบบไหน มีหลักเกณฑ์ตายตัวไหมว่าหุ้นแบบไหนถึงเรียกว่าหุ้นคุณค่า
คำตอบ: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของกิจการ ซึ่งมูลค่าพื้นฐานนี้จะต้องมีการคิดคำนวณอย่างละเอียดรอบคอบ นักลงทุนเน้นคุณค่าหรือ Value Investor ที่เชี่ยวชาญจะต้องคิดและคำนวณหามูลค่าพื้นฐานเป็น โดยทางทฤษฎี มูลค่าพื้นฐานของกิจการนั้นจะคิดมาจากกระแสเงินสดรับที่เราจะได้รับจากกิจการในอนาคต แต่โดยทั่วไป เวลาพูดถึงหุ้นคุณค่า เรามักจะพิจารณาว่าหุ้นที่มีราคาถูกเป็นหุ้นคุณค่าโดยไม่ค่อยคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน เช่น ถ้าบริษัทมีกำไร ก็ดูว่าหุ้นต้องมีค่า PE ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก ยิ่งต่ำมากก็ยิ่งดีเรียกว่าเป็นหุ้น Value มาก นอกจากค่า PE บางคนก็ดูค่า PB หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีด้วยโดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทขาดทุน นั่นก็คือ ยิ่งค่า PB ต่ำเทียบกับหุ้นในตลาดโดยเฉลี่ยก็ยิ่งถือว่าเป็นหุ้น Value มาก สรุปง่าย ๆ หุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำมักจะถือว่าเป็นหุ้นคุณค่า
คำถาม: นักลงทุนในหุ้นคุณค่ามีลักษณะแบบไหน แตกต่างกับนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลหรือไม่
คำตอบ: นักลงทุนหุ้นคุณค่ามักจะเน้นซื้อหุ้นที่มีราคาถูกเช่นซื้อหุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำถึงต่ำมาก ส่วนนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลก็จะเน้นซื้อหุ้นที่ให้ปันผลสูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า Dividend Yield สูง ในความเป็นจริง หุ้นที่มีค่า PE ต่ำจำนวนมากมักจะมี Dividend Yield สูงด้วย และนักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ชอบหุ้นที่ให้ปันผลตอบแทนสูงเหมือนกัน ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่านักลงทุนหุ้นปันผลก็เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของนักลงทุนเน้นคุณค่า แต่นักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ไม่ได้เน้นหุ้นที่ให้ปันผลสูง
คำถาม: ทำไม ดร. ถึงเลือกที่จะใช้วิธีลงทุนแบบ Value Investment ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นคุณค่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
คำตอบ: วิธีนี้เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนที่ดี ผลตอบแทนการลงทุนที่ผ่านมา 10 ปี สูงถึงประมาณ 38% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น แต่นั่นเป็นเพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงที่โอกาสการลงทุนสำหรับหุ้นคุณค่ามีมหาศาลและพอร์ตการลงทุนของผมยังเล็ก อนาคตต่อจากนี้ผมคิดว่าผมตั้งเป้าหมายผลตอบแทนได้อย่างมากก็ 15% ต่อปี
คำถาม: การลงทุนในหุ้นคุณค่าต้องเป็นการลงทุนระยะยาวเท่านั้นใช่หรือไม่ ซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ ได้หรือไม่
คำตอบ: ส่วนใหญ่คงต้องเป็นระยะยาว เพราะว่าราคาหุ้นมักจะต้องใช้เวลาที่จะปรับตัวให้เข้าหามูลค่าที่แท้จริงซึ่งมักจะมาจากผลประกอบการที่จะประกาศมาทุก ๆ ไตรมาศ ดังนั้น การซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับหลักการของ Value Investment น่าจะเป็นเรื่องของการเก็งกำไรมากกว่า
คำถาม: กฎของการจะเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่ามีอะไรบ้าง
คำตอบ: เยอะมาก แต่หัวใจสำคัญก็คือ เราจะต้องวิเคราะห์การลงทุนทุกครั้งเป็นอย่างดีโดยดูที่ปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจและการเงินของบริษัท ไม่ใช่ดูจากการวิ่งขึ้นหรือลงของราคาหุ้น
คำถาม: ที่ผ่านมา ดร. นิเวศน์ เคยลงทุนแบบอื่นหรือไม่
คำตอบ: ก่อนลงทุนแบบ Value Investment ผมซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร จะเรียกว่าเป็นการลงทุนคงไม่ได้เพราะไม่เคยคิดที่จะถือยาว และใช้เงิน เสี่ยงโชค เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คำว่า การลงทุน ควรมีความหมายและจริงจังมากกว่านั้น
คำถาม: รวยหุ้นอย่างพอเพียง คืออะไร ใช่การลงทุนหุ้นคุณค่าหรือไม่
คำตอบ: หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ห่วง คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน และมี 2 เงื่อนไขคือ ต้องมีความรู้และคุณธรรม ทั้ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขนั้นตรงกับเรื่องของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า Value Investor ที่ดีนั้นจะต้องมีความรู้และยึดหลักธรรมมาภิบาลในการลงทุน เขาจะต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน มีความคาดหวังและใช้เงินลงทุนอย่างพอประมาณไม่โลภและไม่รับความเสี่ยงมากเกินไป เช่น ไม่ใช้เงินกู้ในการซื้อหุ้น และสุดท้ายก็คือ ต้องมีภูมิคุ้มกันหรือเรียกว่าต้องมี Margin Of Safety เวลาตัดสินใจลงทุน
คำถาม: ลงทุนแบบเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้รวยได้หรือ
คำตอบ: คนจะรวยหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ 4 เรื่อง หนึ่ง นิยามของความรวยของแต่ละคน สอง เงินเริ่มต้นและ/หรือเงินลงทุนที่ใส่เพิ่มลงไป สาม ระยะเวลาในการลงทุน และ สี่ ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ทำได้ ผมคิดว่าถ้าคุณเป็น Value Investor พันธุ์แท้ที่จริงจัง คุณ รวย ได้อย่างแน่นอน เหตุผลก็เพราะว่า คุณจะมีเงินเริ่มต้นและเพิ่มเติมมากกว่าเพราะคุณจะออมมากกว่า คุณจะลงทุนยาวนานกว่าและไม่ถอนการลงทุนในยามที่ตลาดกำลังตกต่ำ ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยของคุณจะสูงกว่า และสุดท้ายก็คือ คุณจะรู้สึกว่าจำนวนเงินที่เรียกว่า รวย ของคุณนั้นมันจะต่ำกว่าคนอื่น ดังนั้น โอกาสที่คุณจะรวยได้นั้นสูงมาก แต่ถ้าคุณไม่รวย คุณก็จะไม่จนหรอก
หลายคำถามกับหุ้นคุณค่า
โลกในมุมมองของ Value Investor
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 4 กันยายน 2550
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้รับเชิญให้ไปออกรายการทีวีทาง Money Channel ของตลาดหลักทรัพย์ หัวข้อสนทนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและเป็นการโปรโมตหนังสือเล่มล่าสุดของผมชื่อ รวยหุ้นอย่างพอเพียง ผมเห็นว่าคำถามที่พิธีกรตั้งให้นั้น เป็นคำถามที่คนมักจะสงสัยหรือถามผมอยู่เนือง ๆ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับหุ้นคุณค่า ดังนั้นผมจึงคิดว่าคงจะมีประโยชน์ที่จะนำมาเขียนไว้ในที่นี้
คำถาม: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นแบบไหน มีหลักเกณฑ์ตายตัวไหมว่าหุ้นแบบไหนถึงเรียกว่าหุ้นคุณค่า
คำตอบ: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของกิจการ ซึ่งมูลค่าพื้นฐานนี้จะต้องมีการคิดคำนวณอย่างละเอียดรอบคอบ นักลงทุนเน้นคุณค่าหรือ Value Investor ที่เชี่ยวชาญจะต้องคิดและคำนวณหามูลค่าพื้นฐานเป็น โดยทางทฤษฎี มูลค่าพื้นฐานของกิจการนั้นจะคิดมาจากกระแสเงินสดรับที่เราจะได้รับจากกิจการในอนาคต แต่โดยทั่วไป เวลาพูดถึงหุ้นคุณค่า เรามักจะพิจารณาว่าหุ้นที่มีราคาถูกเป็นหุ้นคุณค่าโดยไม่ค่อยคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน เช่น ถ้าบริษัทมีกำไร ก็ดูว่าหุ้นต้องมีค่า PE ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก ยิ่งต่ำมากก็ยิ่งดีเรียกว่าเป็นหุ้น Value มาก นอกจากค่า PE บางคนก็ดูค่า PB หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีด้วยโดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทขาดทุน นั่นก็คือ ยิ่งค่า PB ต่ำเทียบกับหุ้นในตลาดโดยเฉลี่ยก็ยิ่งถือว่าเป็นหุ้น Value มาก สรุปง่าย ๆ หุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำมักจะถือว่าเป็นหุ้นคุณค่า
คำถาม: นักลงทุนในหุ้นคุณค่ามีลักษณะแบบไหน แตกต่างกับนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลหรือไม่
คำตอบ: นักลงทุนหุ้นคุณค่ามักจะเน้นซื้อหุ้นที่มีราคาถูกเช่นซื้อหุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำถึงต่ำมาก ส่วนนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลก็จะเน้นซื้อหุ้นที่ให้ปันผลสูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า Dividend Yield สูง ในความเป็นจริง หุ้นที่มีค่า PE ต่ำจำนวนมากมักจะมี Dividend Yield สูงด้วย และนักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ชอบหุ้นที่ให้ปันผลตอบแทนสูงเหมือนกัน ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่านักลงทุนหุ้นปันผลก็เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของนักลงทุนเน้นคุณค่า แต่นักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ไม่ได้เน้นหุ้นที่ให้ปันผลสูง
คำถาม: ทำไม ดร. ถึงเลือกที่จะใช้วิธีลงทุนแบบ Value Investment ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นคุณค่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
คำตอบ: วิธีนี้เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนที่ดี ผลตอบแทนการลงทุนที่ผ่านมา 10 ปี สูงถึงประมาณ 38% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น แต่นั่นเป็นเพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงที่โอกาสการลงทุนสำหรับหุ้นคุณค่ามีมหาศาลและพอร์ตการลงทุนของผมยังเล็ก อนาคตต่อจากนี้ผมคิดว่าผมตั้งเป้าหมายผลตอบแทนได้อย่างมากก็ 15% ต่อปี
คำถาม: การลงทุนในหุ้นคุณค่าต้องเป็นการลงทุนระยะยาวเท่านั้นใช่หรือไม่ ซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ ได้หรือไม่
คำตอบ: ส่วนใหญ่คงต้องเป็นระยะยาว เพราะว่าราคาหุ้นมักจะต้องใช้เวลาที่จะปรับตัวให้เข้าหามูลค่าที่แท้จริงซึ่งมักจะมาจากผลประกอบการที่จะประกาศมาทุก ๆ ไตรมาศ ดังนั้น การซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับหลักการของ Value Investment น่าจะเป็นเรื่องของการเก็งกำไรมากกว่า
คำถาม: กฎของการจะเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่ามีอะไรบ้าง
คำตอบ: เยอะมาก แต่หัวใจสำคัญก็คือ เราจะต้องวิเคราะห์การลงทุนทุกครั้งเป็นอย่างดีโดยดูที่ปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจและการเงินของบริษัท ไม่ใช่ดูจากการวิ่งขึ้นหรือลงของราคาหุ้น
คำถาม: ที่ผ่านมา ดร. นิเวศน์ เคยลงทุนแบบอื่นหรือไม่
คำตอบ: ก่อนลงทุนแบบ Value Investment ผมซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร จะเรียกว่าเป็นการลงทุนคงไม่ได้เพราะไม่เคยคิดที่จะถือยาว และใช้เงิน เสี่ยงโชค เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คำว่า การลงทุน ควรมีความหมายและจริงจังมากกว่านั้น
คำถาม: รวยหุ้นอย่างพอเพียง คืออะไร ใช่การลงทุนหุ้นคุณค่าหรือไม่
คำตอบ: หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ห่วง คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน และมี 2 เงื่อนไขคือ ต้องมีความรู้และคุณธรรม ทั้ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขนั้นตรงกับเรื่องของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า Value Investor ที่ดีนั้นจะต้องมีความรู้และยึดหลักธรรมมาภิบาลในการลงทุน เขาจะต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน มีความคาดหวังและใช้เงินลงทุนอย่างพอประมาณไม่โลภและไม่รับความเสี่ยงมากเกินไป เช่น ไม่ใช้เงินกู้ในการซื้อหุ้น และสุดท้ายก็คือ ต้องมีภูมิคุ้มกันหรือเรียกว่าต้องมี Margin Of Safety เวลาตัดสินใจลงทุน
คำถาม: ลงทุนแบบเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้รวยได้หรือ
คำตอบ: คนจะรวยหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ 4 เรื่อง หนึ่ง นิยามของความรวยของแต่ละคน สอง เงินเริ่มต้นและ/หรือเงินลงทุนที่ใส่เพิ่มลงไป สาม ระยะเวลาในการลงทุน และ สี่ ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ทำได้ ผมคิดว่าถ้าคุณเป็น Value Investor พันธุ์แท้ที่จริงจัง คุณ รวย ได้อย่างแน่นอน เหตุผลก็เพราะว่า คุณจะมีเงินเริ่มต้นและเพิ่มเติมมากกว่าเพราะคุณจะออมมากกว่า คุณจะลงทุนยาวนานกว่าและไม่ถอนการลงทุนในยามที่ตลาดกำลังตกต่ำ ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยของคุณจะสูงกว่า และสุดท้ายก็คือ คุณจะรู้สึกว่าจำนวนเงินที่เรียกว่า รวย ของคุณนั้นมันจะต่ำกว่าคนอื่น ดังนั้น โอกาสที่คุณจะรวยได้นั้นสูงมาก แต่ถ้าคุณไม่รวย คุณก็จะไม่จนหรอก
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 404
- ผู้ติดตาม: 0
ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณ คุณลูกอิสานมากครับ
Becoming an Automatic Millionaire on Just a Few Bahts a Day..
My blog: http://nutsiri.bloggang.com
My blog: http://nutsiri.bloggang.com
- หมีบึงกุ่ม
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 12
[quote="ลูกอิสาน"]
ความเชื่อ : หุ้น VI ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของผลกำไรต่ำแต่มั่นคง
ความเห็น : หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นเติบโตสูง (Growth Stock) หุ้นวัฏจักร(Cyclical Sstock) หุ้นสินทรัพย์มาก (Asset play) หรือหุ้นมั่นคง (Defensive Stock) ควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย
ความเชื่อ : หุ้น VI ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของผลกำไรต่ำแต่มั่นคง
ความเห็น : หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นเติบโตสูง (Growth Stock) หุ้นวัฏจักร(Cyclical Sstock) หุ้นสินทรัพย์มาก (Asset play) หรือหุ้นมั่นคง (Defensive Stock) ควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 13
คุณหมีเข้าใจตรงตามที่ผมต้องการสื่อครับหมีบึงกุ่ม เขียน:เพิ่งมาได้อ่านน่ะครับ
เรียนถามคุณลูกอิสานว่า ข้อความที่เน้นสามารถอนุมานได้ว่า
"หุ้นที่เป็นวัฏจักร ที่มีค่า PE ต่ำ อาจจะกำลังอยู่ในภาวะที่ 'ไม่' ควรลงทุน"
หรือเปล่าครับ?
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- หมีบึงกุ่ม
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณ คุณลูกอิสานครับ
กับดัก PE นี่เกือบทำผมติดบ่วง ดีที่ได้อ่านก่อน
เกือบไปสอยพวกกลุ่มเรือ และปิโตรเคมีบางตัว
เห็น PE ต่ำดี
ซึ่งตามมุมมองของคุณลูกอิสานนี่
คิดกลับกันเลย :lol:
ผมเข้าใจว่าคุณลูกอิสานน่าจะหมายถึง
จังหวะวัฏจักรขาลงที่ E ต่ำ ทำให้ PE สูง
มากกว่าที่จะเป็นจังหวะ E สูง แต่ P ขึ้นไปสูงมากกว่า (ยอดดอย)
ทุกวันนี้กองเรือ E สูง แต่ P ต่ำเหลือเกินครับ
คุณลูกอิสานเห็นว่าเขาเก็งอนาตคแย่เกินจริงหรือเปล่าครับ?
และหากคุณลูกอิสานจะประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของกองเรือ
จะต้องหาข้อมูลอะไรบ้างครับ?
เฉพาะ BDI จน.เรือ %การเช่าล่วงหน้า? เพียงพอไหม?
กับดัก PE นี่เกือบทำผมติดบ่วง ดีที่ได้อ่านก่อน
เกือบไปสอยพวกกลุ่มเรือ และปิโตรเคมีบางตัว
เห็น PE ต่ำดี
ซึ่งตามมุมมองของคุณลูกอิสานนี่
คิดกลับกันเลย :lol:
ผมเข้าใจว่าคุณลูกอิสานน่าจะหมายถึง
จังหวะวัฏจักรขาลงที่ E ต่ำ ทำให้ PE สูง
มากกว่าที่จะเป็นจังหวะ E สูง แต่ P ขึ้นไปสูงมากกว่า (ยอดดอย)
ทุกวันนี้กองเรือ E สูง แต่ P ต่ำเหลือเกินครับ
คุณลูกอิสานเห็นว่าเขาเก็งอนาตคแย่เกินจริงหรือเปล่าครับ?
และหากคุณลูกอิสานจะประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของกองเรือ
จะต้องหาข้อมูลอะไรบ้างครับ?
เฉพาะ BDI จน.เรือ %การเช่าล่วงหน้า? เพียงพอไหม?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณครับพี่โจ ชอบประโยคนี้ครับ "การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงที่สุดคือการไม่ลงทุนอะไรเลย" จะว่าไปอัตราเงินเฟ้อน่าจะเป็นศัตรูที่น่ากลัวที่สุดของ VI เลย ^_^