ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรวณิช
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรวณิช
โพสต์ที่ 1
ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรวณิช
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, December 17, 2012 07:01
มีเงินสดไหลเข้าบริษัทเดือนละกว่า 200,000 บาท แต่ 'ภาสุชา อุตรวณิช' ก็เลือกที่จะปิดธุรกิจขนส่ง ก้าวสู่เส้นทาง 'วีไอ' รับเหมาดูแลพอร์ตของคนทั้งบ้าน พร้อมฝึกลูกน้อยวัย 7 ขวบ ออมเงินในตลาดหุ้นหนึ่งในเซียนหุ้นรุ่นใหม่ "ภา" ภาสุชา อุตรวณิช คุณแม่ยังสาววัย 34 ปี อดีตเจ้าของธุรกิจขนส่ง มีเงินสดไหลเข้าบริษัทเดือนละกว่า 200,000 บาท แต่ภา เลือกที่จะปิดธุรกิจส่วนตัว เพื่อออกมาลงทุนในตลาดหุ้นแนว Value Investor (วีไอ) ภายใต้พอร์ตของสามี ก่อนจะมาเปิดพอร์ตเป็นของตัวเอง และเธอยังรับหน้าที่ดูแลหุ้นค้าปลีกจำนวน 100 หุ้น ที่ลูกสาววัย 7 ขวบ ตัดสินใจทุบกระปุกออมสินนำเงินเก็บ 1,000 บาท บวกกับเงินเติมให้ของพ่อแม่มาลงทุน จนสามารถสร้างผลตอบแทน 100% ภายในระยะ 1 ปี ได้สำเร็จ
ภา ยึดแนวทางการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม หวังผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 15% ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุนเติบโตอย่างน่าพอใจ ขณะเดียวกัน เธอพยายามปลูกฝังลูกสาวให้รักการอ่านหนังสือ และออมเงิน ด้วยการหยอดกระปุกวันละ 1 บาท หรือมากกว่านั้น ทุกวันสาวน้อยของเธอจะเหลือเงินค่าขนมกลับบ้านวันละไม่ต่ำกว่า 10 บาท จากเงินค่าขนมวันละ 40 บาท ภาสอนลูกสาววัย 7 ขวบว่า หากเติมเงินลงไปในพอร์ตแล้วเลือกหุ้นดีๆ หนูจะสามารถซื้อตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นได้ทันที
"โตขึ้นหนูไม่จำเป็นต้องทำอาชีพนักลงทุน เหมือนแม่ แต่ขอให้รู้จักลงทุน เพราะการออมจะทำให้มีเงินเลี้ยงตัวเองได้ตลอด และหนูจะพบกับคำว่า..อิสระทางการเงิน"
เธอคัดหุ้นมาให้ลูกเลือกพร้อมเหตุผลและลูกสาวก็ตัดสินใจเลือกหุ้น "ค้าปลีก" ด้วยตัวเอง โดยให้เหตุผลว่าห้างสรรพสินค้ามีคนเข้าออกทุกวัน มากพอๆกับโรงพยาบาล ไม่เพียงออมเงินไว้ในตลาดหุ้นเท่านั้น เธอยังมีอีกกระปุกเก็บเงินไว้ซื้อสิ่งของที่อยากได้ โดยมีเหตุผลว่า การลงทุนต้องฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กๆ เปรียบเสมือนภาษาอังกฤษที่ต้องบ่มกันตั้งแต่ยังเล็กโตขึ้นถึงจะสบาย
เจ้าของนามแฝง "KIRI" ในเวบไซต์ไทยวีไอ ย้อนประวัติส่วนตัวให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เรียนจบคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรตินิยมอันดับ 2 เมื่อเรียนจบก็ไปฝึกงานเกี่ยวกับการแปลใน บริษัท สยามมิชลิน จากนั้นก็ออกมาเรียนต่อปริญญาโทคณะอักษรศาสตร์ ด้านการแปลวรรณกรรม ระหว่างนั้นก็ไปทำงานในบริษัท อัลคาเทล ผู้รับเหมาติดตั้งระบบเทเลคอม และ จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ในตำแหน่งโอเปอร์เรเตอร์ รีเซฟชั่น และแอดมิน ทำงานได้ 1 ปี ก็ตัดสินใจ ลาออก คู่หมั้นที่เจอกันตอนทำงานในสยามมิชลิน ต้องบินไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสปีกว่า ภาจึงตัดสินใจแต่งงานตอนอายุ 24 ปี แล้วบินไปด้วยกัน
"ตอนนั้นเศร้ามากที่เรียนไม่จบปริญญาโท ทั้งๆ ที่อีกไม่กี่เดือนก็จะจบแล้ว ช่วงที่อยู่ฝรั่งเศส ด้วยสถานะของวีซ่าไม่สามารถทำงานได้ แต่ไม่อยากอยู่เฉยๆ จึงไปลงเรียนหลักสูตรภาษาฝรั่งเศส สำหรับนักศึกษาต่างประเทศ 4-5 เดือน และกะว่าเมื่อเรียนจบจะไปท่องยุโรปก่อนกลับเมืองไทย สุดท้ายผ่านมา 11 เดือน สามีไม่ชอบใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนอกจึงขอเร่งคอร์สการทำงานเพื่อกลับเมืองไทยเร็วขึ้น"
พอกลับมาเมืองไทย ภาไปทำธุรกิจเกี่ยวกับ กาแฟโบราณ ภายใต้แบรนด์ "อาร์บีคอฟ" เป็นธุรกิจของครอบครัวสามี เขามีโรงงานกาแฟ แถวชลบุรี ทำได้ไม่นานก็เลิก เพราะอยากทำธุรกิจที่ใหญ่กว่านี้ บังเอิญมีโอกาสได้คุยกับคุณอาของสามี เขาทำธุรกิจขนส่งดูน่าสนใจจึงตัดสินใจขายบ้านย่านศรีราชาที่ไม่ได้อยู่อาศัยได้เงินมาล้านกว่าบาท แล้วไปยืมเงินพ่อแม่ของแฟนมาอีก 2 ล้านกว่าบาท เพื่อมาซื้อรถบรรทุก 2 คัน ทำธุรกิจขนส่งสินค้า มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ตอนนั้นมีพนักงาน 7 คน
"ธุรกิจประสบความสำเร็จมาก มีเงินสดเข้าบริษัททุกเดือน คิดเป็นรายได้ตก 200,000 กว่าบาทต่อเดือน ตอนนั้นอายุ 27-28 ปี ทำได้เกือบ 2 ปี ก็เลิก เริ่มทำงานยากขึ้นมีคนอยากทำธุรกิจนี้ค่อนข้างมาก บางคนไม่จ้างพนักงานทำเองทั้งหมดทำให้เขามีต้นทุนไม่สูง อีกอย่างเริ่มสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นแล้ว"
เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดหุ้นว่า สามีและเพื่อนๆนักลงทุนชวนไปฟังงานสัมมนา ตั้งแต่สมัยที่ มนตรี นิพิฐวิทยา (อดีตคอลัมนิสต์ Value Way) เป็นประธานเวบไซต์ไทยวีไอ ฟังเสร็จรู้สึกประดับใจ มีคนกลุ่มหนึ่งสนใจในสิ่งเดียวกันทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้ทำงานหรือเรียนด้วยกัน แต่เขาเหล่านั้นสามารถนั่งคุยเรื่องเดียวกันได้อย่างออกรสชาติ
ก่อนจะมาฟังงานสัมมนามีโอกาสได้อ่านหนัง "ตีแตก" ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร อ่านจบรู้สึก...เฮ้ย!! การลงทุนมันเป็นวิธีทำงานอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเก็งกำไร อาจารย์จะสอนวิธีการเลือกหุ้นว่า ต้องเลือกธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง และต้องมีความเป็นไปได้จริงๆ ว่า ธุรกิจของเขาจะสร้างกำไร ดร.นิเวศน์ ยังสอนให้รู้จักคำว่า Margin of Safety (ส่วนเผื่อความปลอดภัย) สอนวิธีประเมินมูลค่าแบบง่ายๆ ด็อกเตอร์ทำให้ภารู้ว่า..ถึงเราไม่ได้เก่งเลข แต่ถ้าเข้าใจธุรกิจ ก็สามารถพัฒนาตัวเองด้านการลงทุนได้เหมือนกัน
เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการลงทุนมากขึ้น ด้วยการเดินสายไปฟังงานสัมมนาต่างๆ รวมถึงอ่านกระทู้ในห้อง "ร้อยคนร้อยหุ้น" ในเวบไซต์ ไทยวีไอ เรียกว่าหาความรู้ให้มากที่สุด หลังจากนั้น 6 เดือน สามีก็ตัดสินใจลงทุน น่าจะเป็นช่วงสิ้นปี 2549 ซึ่งภาก็ลงทุนร่วมด้วย โดยไปเปิดพอร์ตกับ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) วงเงิน 200,000 บาท นำเงินที่ได้จากการทำธุรกิจขนส่งมาลงทุน
เธอเล่าว่า ช่วงแรกๆ มีหุ้นในพอร์ต 2-3 ตัว ภาเลือกเองจริงๆ หุ้นถ่านหินไซด์เล็ก เพราะเห็นว่าหุ้นพลังงานช่วงนั้นขึ้นมาเยอะมาก หุ้น ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เป็นตัวแรกที่สามีภรรยาช่วยกันเลือก เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมาก มูลค่าพอร์ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2551 นอนกินเงินปันผลอย่างเดียวก็สามารถเลี้ยงคนทั้งครอบครัวได้แล้ว
กลยุทธ์หลักๆ เน้นซื้อหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตปีละ 20% เช่น กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ และอุตสาหกรรมต่างๆ ฯลฯ ที่เหลือจะดูคุณภาพของหุ้น เช่น ความสามารถในการดำเนินกิจการ รวมถึงดูมาร์จิ้น (กำไรขั้นต้น) ด้วย แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีระดับเท่าไร โดยจะนำมาร์จิ้น ของบริษัทที่สนใจไปเทียบกับคู่แข่งว่าทำดีกว่าหรือเปล่า! จากนั้นจะดูพวกค่าใช้จ่ายว่าทำได้ดีหรือไม่ และดูว่าธุรกิจใหม่ๆ สาขาใหม่ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เขาทำจะสามารถทำให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืนได้หรือไม่
ในระหว่างที่ลงทุน Full Time เธอมีอะไรให้ทำอีกอย่าง คือสละเวลา 5-6 เดือน ไปสอนหนังสือในโรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนานฤมิตร อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี แต่ก็ยังดูแลพอร์ตเหมือนเดิม นอกจากนั้นมีโอกาสไปทำงานเป็นเลขาใน "สยามมิชลิน" ปีกว่า แต่ก็ลาออกตอนปี 2554 เพราะพอร์ตเริ่มใหญ่ขึ้นต้องมีคนดูแล
"ภาเริ่มเปิดพอร์ตชื่อตัวเองตอนปี 2552 ไม่ได้ดังแล้วแยกวงนะ! พอร์ตของครอบครัวก็ยังดูแลอยู่เหมือนเดิม ตอนนั้นเปิดพอร์ตกับ บล.ภัทร กลยุทธ์เน้นกระจายการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม วิธีการลงทุนส่วนใหญ่ยังเหมือนเดิม เปลี่ยนแปลงตรงที่ไม่เน้นบริษัทที่เติบโตปีละ 20% แล้ว แต่จะชอบบริษัทที่มีผลประกอบการขยายตัวสม่ำเสมอ และรายได้ไม่ผันผวน ภาจะทำตารางประมาณการผลประกอบการล่วงหน้า 1-2 ปี ถ้าข้อมูลมากจะทำยาวกว่านั้น เมื่อเรามีข้อมูลจะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น"
คุณแม่วัย 34 ปี บอกว่า ตอนนี้มีหุ้นกลุ่มค้าปลีก หุ้นโรงพยาบาล และหุ้นพร็อพเพอร์ตี้ ที่เหลือเป็นหุ้นที่กำลังเติบโต ถามว่า "รัก" กลุ่มไหนมากสุด เวลานี้ต้องยกให้ "หุ้นค้าปลีก" แม้ค่า P/E จะสูงมาก แต่ถ้าถือยาวผลตอบแทนโอเคเลย เพราะความเสี่ยงต่ำ แถมผลประกอบการยังเติบโตสม่ำเสมอ
ที่สำคัญนักลงทุนสามารถติดตามความ"ฮอต" ของบริษัทได้จากการเดินไปตามสาขาต่างๆ ถ้าคนเข้ามาซื้อของเยอะ ขายดีแน่นอน เมื่อก่อนเคยเห็นหุ้นค้าปลีกบางตัวมีผลประกอบการขยายตัวสูงถึง 50% ฉะนั้นการที่ ดร.นิเวศน์ เคยบอกว่า หุ้นกล่มุนี้ยังคงน่าลงทุนมันถูกต้องแล้ว "หุ้นค้าปลีกเปรียบเป็นหุ้นสามัญประจำบ้านที่ทุกครอบครัวต้องมี" (หัวเราะ)
หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล เป็นอีกตัวที่ "หลงรัก" ธุรกิจที่อยู่กับความจำเป็นของคน เราป่วยรักษาตัวเองไม่ได้อยู่แล้ว รพ.เอกชนในเมืองไทยมีอนาคตมากๆ คนมีรายได้สูงขึ้นเขาอยากซื้อ ความสะดวกสบาย อยากซื้อเวลา จะให้ไปนั่งรอคิวโรงพยาบาลของรัฐบาลคงไม่ไหว ปกติธุรกิจโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 11% ต่อปี
เธอยังชอบหุ้นพร็อพเพอร์ตี้ บริษัทขนาดใหญ่ มีแนวโน้มจะกินมาร์เก็ตแชร์รายเล็กๆอีกมาก แต่ละเจ้าเขาเก่งเรื่องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก แต่จะเกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ค่อนข้างปลอดภัย ถ้าจำเป็นต้องซื้อบ้าน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องซื้อ
ถามว่าวันนี้มูลค่าพอร์ตหลักอะไร เธอหัวเราะก่อนบอกว่า ผลตอบแทนทุกวันนี้เป็นที่น่าพอใจมาก ทั้ง 2 พอร์ต (พอร์ตชื่อสามีและของตัวเอง) เติบโตทุกปีเฉลี่ย 15% ขึ้นไป พอร์ตหลักอะไรมันไม่สำคัญแล้วละ! ขอแค่สามารถเลี้ยงคนในครอบครัวได้ก็พอใจแล้ว ตอนนี้ทั้ง 2 พอร์ตมีหุ้นรวมกันจนจะกลายเป็น SET50 อยู่แล้ว เรามองพอร์ตของครอบครัวเป็น กองทุน ถ้ามั่นใจในการทำธุรกิจ และวิธีการทำรายได้ของบริษัทก็ลงทุนเลย แม้จะไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนกว่าจะมีคนมาเห็นคุณค่าเหมือนที่เราเห็นก็ตาม
หุ้นทุกตัวเราคัดสรรมาดีแล้ว แต่ในพอร์ตจะมีหุ้น 2 เกรด คือ ประเภท "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" พวกเกรด 2 จะเปลี่ยนเป็น 1 ได้หรือไม่ ก็เป็นไปได้ แต่คงไม่ใช่ซูเปอร์สต็อก เราแบ่งหุ้น "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" อย่างละครึ่ง แบบ 1 เรามองว่าธุรกิจมั่นคง รายได้ไม่ผันผวนมาก ทำธุรกิจอิงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้บริหารต้องเป๊ะ! (เก่ง) มาก ธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ส่วนดิวิชั่น 2 เป็นพวกหุ้น "เทิร์นอะราวด์" และหุ้น "อันเดอร์ แวลู" ธุรกิจงั้นๆ
เซียนหุ้นวีไอ ทิ้งท้ายว่า ตั้งแต่ลงทุนในตลาดหุ้น ได้บทเรียนการลงทุนหลายเรื่อง โดยเฉพาะในช่วงเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ มันสอนให้เรารู้จักรับมือ ช่วงนั้นทุกคนเป็นเหมือนกันหมด คือราคาหุ้นลงมาเยอะมาก สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เราต้องคุมอารมณ์ให้อยู่ อย่าทำให้ข่าวร้าย มาทำให้เสียใจจนล้มเลิกการลงทุน ที่สำคัญเราต้องเก็บใจให้ปลอดภัยจากตลาดหุ้น
เมื่อหุ้นมันลงมาขนาดนั้น เวลาดัชนีและหุ้นกลับตัวมันจะขึ้นแรง ฉะนั้นเมื่อมีสมมติฐานว่าทุกอย่างจะดีขึ้น ก็ควรกลับไปดูว่า ธุรกิจอะไรไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการบริโภคภายในประเทศ ตอนนั้นก็เจอบริษัทที่ยอดขายไม่ได้รับผลกระทบเลย เป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัว และค้าปลีก
"อยากฝากบอกนักลงทุนว่า ให้มอง การลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจจริงๆมองไปในรูปแบบระยะยาว เพราะเราจะได้เห็นว่า บริษัทนั้นมีการเติบโตแบบที่คาดการณ์หรือไม่ อย่าใจร้อนขายก่อน จงอย่ามองตลาดหุ้นเป็นเพียงหน่วยลงทุน ไม่เช่นนั้นจะหาความสุขไม่ได้เลย" เซียนหุ้นวัย 34 ปี กล่าวเตือน
'ในพอร์ตเราจะมีหุ้นอยู่ 2 เกรด คือ ประเภท "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" อย่างละครึ่ง หุ้นดิวิชั่น 1 ธุรกิจมั่นคง รายได้ไม่ผันผวนมาก ผู้บริหารเก่งมีธรรมาภิบาล ส่วนดิวิชั่น 2 เป็นพวกหุ้น "เทิร์นอะราวด์" และหุ้น "อันเดอร์ แวลู"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, December 17, 2012 07:01
มีเงินสดไหลเข้าบริษัทเดือนละกว่า 200,000 บาท แต่ 'ภาสุชา อุตรวณิช' ก็เลือกที่จะปิดธุรกิจขนส่ง ก้าวสู่เส้นทาง 'วีไอ' รับเหมาดูแลพอร์ตของคนทั้งบ้าน พร้อมฝึกลูกน้อยวัย 7 ขวบ ออมเงินในตลาดหุ้นหนึ่งในเซียนหุ้นรุ่นใหม่ "ภา" ภาสุชา อุตรวณิช คุณแม่ยังสาววัย 34 ปี อดีตเจ้าของธุรกิจขนส่ง มีเงินสดไหลเข้าบริษัทเดือนละกว่า 200,000 บาท แต่ภา เลือกที่จะปิดธุรกิจส่วนตัว เพื่อออกมาลงทุนในตลาดหุ้นแนว Value Investor (วีไอ) ภายใต้พอร์ตของสามี ก่อนจะมาเปิดพอร์ตเป็นของตัวเอง และเธอยังรับหน้าที่ดูแลหุ้นค้าปลีกจำนวน 100 หุ้น ที่ลูกสาววัย 7 ขวบ ตัดสินใจทุบกระปุกออมสินนำเงินเก็บ 1,000 บาท บวกกับเงินเติมให้ของพ่อแม่มาลงทุน จนสามารถสร้างผลตอบแทน 100% ภายในระยะ 1 ปี ได้สำเร็จ
ภา ยึดแนวทางการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม หวังผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 15% ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุนเติบโตอย่างน่าพอใจ ขณะเดียวกัน เธอพยายามปลูกฝังลูกสาวให้รักการอ่านหนังสือ และออมเงิน ด้วยการหยอดกระปุกวันละ 1 บาท หรือมากกว่านั้น ทุกวันสาวน้อยของเธอจะเหลือเงินค่าขนมกลับบ้านวันละไม่ต่ำกว่า 10 บาท จากเงินค่าขนมวันละ 40 บาท ภาสอนลูกสาววัย 7 ขวบว่า หากเติมเงินลงไปในพอร์ตแล้วเลือกหุ้นดีๆ หนูจะสามารถซื้อตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นได้ทันที
"โตขึ้นหนูไม่จำเป็นต้องทำอาชีพนักลงทุน เหมือนแม่ แต่ขอให้รู้จักลงทุน เพราะการออมจะทำให้มีเงินเลี้ยงตัวเองได้ตลอด และหนูจะพบกับคำว่า..อิสระทางการเงิน"
เธอคัดหุ้นมาให้ลูกเลือกพร้อมเหตุผลและลูกสาวก็ตัดสินใจเลือกหุ้น "ค้าปลีก" ด้วยตัวเอง โดยให้เหตุผลว่าห้างสรรพสินค้ามีคนเข้าออกทุกวัน มากพอๆกับโรงพยาบาล ไม่เพียงออมเงินไว้ในตลาดหุ้นเท่านั้น เธอยังมีอีกกระปุกเก็บเงินไว้ซื้อสิ่งของที่อยากได้ โดยมีเหตุผลว่า การลงทุนต้องฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กๆ เปรียบเสมือนภาษาอังกฤษที่ต้องบ่มกันตั้งแต่ยังเล็กโตขึ้นถึงจะสบาย
เจ้าของนามแฝง "KIRI" ในเวบไซต์ไทยวีไอ ย้อนประวัติส่วนตัวให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เรียนจบคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรตินิยมอันดับ 2 เมื่อเรียนจบก็ไปฝึกงานเกี่ยวกับการแปลใน บริษัท สยามมิชลิน จากนั้นก็ออกมาเรียนต่อปริญญาโทคณะอักษรศาสตร์ ด้านการแปลวรรณกรรม ระหว่างนั้นก็ไปทำงานในบริษัท อัลคาเทล ผู้รับเหมาติดตั้งระบบเทเลคอม และ จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ในตำแหน่งโอเปอร์เรเตอร์ รีเซฟชั่น และแอดมิน ทำงานได้ 1 ปี ก็ตัดสินใจ ลาออก คู่หมั้นที่เจอกันตอนทำงานในสยามมิชลิน ต้องบินไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสปีกว่า ภาจึงตัดสินใจแต่งงานตอนอายุ 24 ปี แล้วบินไปด้วยกัน
"ตอนนั้นเศร้ามากที่เรียนไม่จบปริญญาโท ทั้งๆ ที่อีกไม่กี่เดือนก็จะจบแล้ว ช่วงที่อยู่ฝรั่งเศส ด้วยสถานะของวีซ่าไม่สามารถทำงานได้ แต่ไม่อยากอยู่เฉยๆ จึงไปลงเรียนหลักสูตรภาษาฝรั่งเศส สำหรับนักศึกษาต่างประเทศ 4-5 เดือน และกะว่าเมื่อเรียนจบจะไปท่องยุโรปก่อนกลับเมืองไทย สุดท้ายผ่านมา 11 เดือน สามีไม่ชอบใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนอกจึงขอเร่งคอร์สการทำงานเพื่อกลับเมืองไทยเร็วขึ้น"
พอกลับมาเมืองไทย ภาไปทำธุรกิจเกี่ยวกับ กาแฟโบราณ ภายใต้แบรนด์ "อาร์บีคอฟ" เป็นธุรกิจของครอบครัวสามี เขามีโรงงานกาแฟ แถวชลบุรี ทำได้ไม่นานก็เลิก เพราะอยากทำธุรกิจที่ใหญ่กว่านี้ บังเอิญมีโอกาสได้คุยกับคุณอาของสามี เขาทำธุรกิจขนส่งดูน่าสนใจจึงตัดสินใจขายบ้านย่านศรีราชาที่ไม่ได้อยู่อาศัยได้เงินมาล้านกว่าบาท แล้วไปยืมเงินพ่อแม่ของแฟนมาอีก 2 ล้านกว่าบาท เพื่อมาซื้อรถบรรทุก 2 คัน ทำธุรกิจขนส่งสินค้า มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ตอนนั้นมีพนักงาน 7 คน
"ธุรกิจประสบความสำเร็จมาก มีเงินสดเข้าบริษัททุกเดือน คิดเป็นรายได้ตก 200,000 กว่าบาทต่อเดือน ตอนนั้นอายุ 27-28 ปี ทำได้เกือบ 2 ปี ก็เลิก เริ่มทำงานยากขึ้นมีคนอยากทำธุรกิจนี้ค่อนข้างมาก บางคนไม่จ้างพนักงานทำเองทั้งหมดทำให้เขามีต้นทุนไม่สูง อีกอย่างเริ่มสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นแล้ว"
เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดหุ้นว่า สามีและเพื่อนๆนักลงทุนชวนไปฟังงานสัมมนา ตั้งแต่สมัยที่ มนตรี นิพิฐวิทยา (อดีตคอลัมนิสต์ Value Way) เป็นประธานเวบไซต์ไทยวีไอ ฟังเสร็จรู้สึกประดับใจ มีคนกลุ่มหนึ่งสนใจในสิ่งเดียวกันทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้ทำงานหรือเรียนด้วยกัน แต่เขาเหล่านั้นสามารถนั่งคุยเรื่องเดียวกันได้อย่างออกรสชาติ
ก่อนจะมาฟังงานสัมมนามีโอกาสได้อ่านหนัง "ตีแตก" ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร อ่านจบรู้สึก...เฮ้ย!! การลงทุนมันเป็นวิธีทำงานอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเก็งกำไร อาจารย์จะสอนวิธีการเลือกหุ้นว่า ต้องเลือกธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง และต้องมีความเป็นไปได้จริงๆ ว่า ธุรกิจของเขาจะสร้างกำไร ดร.นิเวศน์ ยังสอนให้รู้จักคำว่า Margin of Safety (ส่วนเผื่อความปลอดภัย) สอนวิธีประเมินมูลค่าแบบง่ายๆ ด็อกเตอร์ทำให้ภารู้ว่า..ถึงเราไม่ได้เก่งเลข แต่ถ้าเข้าใจธุรกิจ ก็สามารถพัฒนาตัวเองด้านการลงทุนได้เหมือนกัน
เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการลงทุนมากขึ้น ด้วยการเดินสายไปฟังงานสัมมนาต่างๆ รวมถึงอ่านกระทู้ในห้อง "ร้อยคนร้อยหุ้น" ในเวบไซต์ ไทยวีไอ เรียกว่าหาความรู้ให้มากที่สุด หลังจากนั้น 6 เดือน สามีก็ตัดสินใจลงทุน น่าจะเป็นช่วงสิ้นปี 2549 ซึ่งภาก็ลงทุนร่วมด้วย โดยไปเปิดพอร์ตกับ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) วงเงิน 200,000 บาท นำเงินที่ได้จากการทำธุรกิจขนส่งมาลงทุน
เธอเล่าว่า ช่วงแรกๆ มีหุ้นในพอร์ต 2-3 ตัว ภาเลือกเองจริงๆ หุ้นถ่านหินไซด์เล็ก เพราะเห็นว่าหุ้นพลังงานช่วงนั้นขึ้นมาเยอะมาก หุ้น ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เป็นตัวแรกที่สามีภรรยาช่วยกันเลือก เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมาก มูลค่าพอร์ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2551 นอนกินเงินปันผลอย่างเดียวก็สามารถเลี้ยงคนทั้งครอบครัวได้แล้ว
กลยุทธ์หลักๆ เน้นซื้อหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตปีละ 20% เช่น กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ และอุตสาหกรรมต่างๆ ฯลฯ ที่เหลือจะดูคุณภาพของหุ้น เช่น ความสามารถในการดำเนินกิจการ รวมถึงดูมาร์จิ้น (กำไรขั้นต้น) ด้วย แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีระดับเท่าไร โดยจะนำมาร์จิ้น ของบริษัทที่สนใจไปเทียบกับคู่แข่งว่าทำดีกว่าหรือเปล่า! จากนั้นจะดูพวกค่าใช้จ่ายว่าทำได้ดีหรือไม่ และดูว่าธุรกิจใหม่ๆ สาขาใหม่ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เขาทำจะสามารถทำให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืนได้หรือไม่
ในระหว่างที่ลงทุน Full Time เธอมีอะไรให้ทำอีกอย่าง คือสละเวลา 5-6 เดือน ไปสอนหนังสือในโรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนานฤมิตร อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี แต่ก็ยังดูแลพอร์ตเหมือนเดิม นอกจากนั้นมีโอกาสไปทำงานเป็นเลขาใน "สยามมิชลิน" ปีกว่า แต่ก็ลาออกตอนปี 2554 เพราะพอร์ตเริ่มใหญ่ขึ้นต้องมีคนดูแล
"ภาเริ่มเปิดพอร์ตชื่อตัวเองตอนปี 2552 ไม่ได้ดังแล้วแยกวงนะ! พอร์ตของครอบครัวก็ยังดูแลอยู่เหมือนเดิม ตอนนั้นเปิดพอร์ตกับ บล.ภัทร กลยุทธ์เน้นกระจายการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม วิธีการลงทุนส่วนใหญ่ยังเหมือนเดิม เปลี่ยนแปลงตรงที่ไม่เน้นบริษัทที่เติบโตปีละ 20% แล้ว แต่จะชอบบริษัทที่มีผลประกอบการขยายตัวสม่ำเสมอ และรายได้ไม่ผันผวน ภาจะทำตารางประมาณการผลประกอบการล่วงหน้า 1-2 ปี ถ้าข้อมูลมากจะทำยาวกว่านั้น เมื่อเรามีข้อมูลจะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น"
คุณแม่วัย 34 ปี บอกว่า ตอนนี้มีหุ้นกลุ่มค้าปลีก หุ้นโรงพยาบาล และหุ้นพร็อพเพอร์ตี้ ที่เหลือเป็นหุ้นที่กำลังเติบโต ถามว่า "รัก" กลุ่มไหนมากสุด เวลานี้ต้องยกให้ "หุ้นค้าปลีก" แม้ค่า P/E จะสูงมาก แต่ถ้าถือยาวผลตอบแทนโอเคเลย เพราะความเสี่ยงต่ำ แถมผลประกอบการยังเติบโตสม่ำเสมอ
ที่สำคัญนักลงทุนสามารถติดตามความ"ฮอต" ของบริษัทได้จากการเดินไปตามสาขาต่างๆ ถ้าคนเข้ามาซื้อของเยอะ ขายดีแน่นอน เมื่อก่อนเคยเห็นหุ้นค้าปลีกบางตัวมีผลประกอบการขยายตัวสูงถึง 50% ฉะนั้นการที่ ดร.นิเวศน์ เคยบอกว่า หุ้นกล่มุนี้ยังคงน่าลงทุนมันถูกต้องแล้ว "หุ้นค้าปลีกเปรียบเป็นหุ้นสามัญประจำบ้านที่ทุกครอบครัวต้องมี" (หัวเราะ)
หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล เป็นอีกตัวที่ "หลงรัก" ธุรกิจที่อยู่กับความจำเป็นของคน เราป่วยรักษาตัวเองไม่ได้อยู่แล้ว รพ.เอกชนในเมืองไทยมีอนาคตมากๆ คนมีรายได้สูงขึ้นเขาอยากซื้อ ความสะดวกสบาย อยากซื้อเวลา จะให้ไปนั่งรอคิวโรงพยาบาลของรัฐบาลคงไม่ไหว ปกติธุรกิจโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 11% ต่อปี
เธอยังชอบหุ้นพร็อพเพอร์ตี้ บริษัทขนาดใหญ่ มีแนวโน้มจะกินมาร์เก็ตแชร์รายเล็กๆอีกมาก แต่ละเจ้าเขาเก่งเรื่องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก แต่จะเกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ค่อนข้างปลอดภัย ถ้าจำเป็นต้องซื้อบ้าน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องซื้อ
ถามว่าวันนี้มูลค่าพอร์ตหลักอะไร เธอหัวเราะก่อนบอกว่า ผลตอบแทนทุกวันนี้เป็นที่น่าพอใจมาก ทั้ง 2 พอร์ต (พอร์ตชื่อสามีและของตัวเอง) เติบโตทุกปีเฉลี่ย 15% ขึ้นไป พอร์ตหลักอะไรมันไม่สำคัญแล้วละ! ขอแค่สามารถเลี้ยงคนในครอบครัวได้ก็พอใจแล้ว ตอนนี้ทั้ง 2 พอร์ตมีหุ้นรวมกันจนจะกลายเป็น SET50 อยู่แล้ว เรามองพอร์ตของครอบครัวเป็น กองทุน ถ้ามั่นใจในการทำธุรกิจ และวิธีการทำรายได้ของบริษัทก็ลงทุนเลย แม้จะไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนกว่าจะมีคนมาเห็นคุณค่าเหมือนที่เราเห็นก็ตาม
หุ้นทุกตัวเราคัดสรรมาดีแล้ว แต่ในพอร์ตจะมีหุ้น 2 เกรด คือ ประเภท "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" พวกเกรด 2 จะเปลี่ยนเป็น 1 ได้หรือไม่ ก็เป็นไปได้ แต่คงไม่ใช่ซูเปอร์สต็อก เราแบ่งหุ้น "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" อย่างละครึ่ง แบบ 1 เรามองว่าธุรกิจมั่นคง รายได้ไม่ผันผวนมาก ทำธุรกิจอิงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้บริหารต้องเป๊ะ! (เก่ง) มาก ธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ส่วนดิวิชั่น 2 เป็นพวกหุ้น "เทิร์นอะราวด์" และหุ้น "อันเดอร์ แวลู" ธุรกิจงั้นๆ
เซียนหุ้นวีไอ ทิ้งท้ายว่า ตั้งแต่ลงทุนในตลาดหุ้น ได้บทเรียนการลงทุนหลายเรื่อง โดยเฉพาะในช่วงเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ มันสอนให้เรารู้จักรับมือ ช่วงนั้นทุกคนเป็นเหมือนกันหมด คือราคาหุ้นลงมาเยอะมาก สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เราต้องคุมอารมณ์ให้อยู่ อย่าทำให้ข่าวร้าย มาทำให้เสียใจจนล้มเลิกการลงทุน ที่สำคัญเราต้องเก็บใจให้ปลอดภัยจากตลาดหุ้น
เมื่อหุ้นมันลงมาขนาดนั้น เวลาดัชนีและหุ้นกลับตัวมันจะขึ้นแรง ฉะนั้นเมื่อมีสมมติฐานว่าทุกอย่างจะดีขึ้น ก็ควรกลับไปดูว่า ธุรกิจอะไรไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการบริโภคภายในประเทศ ตอนนั้นก็เจอบริษัทที่ยอดขายไม่ได้รับผลกระทบเลย เป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัว และค้าปลีก
"อยากฝากบอกนักลงทุนว่า ให้มอง การลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจจริงๆมองไปในรูปแบบระยะยาว เพราะเราจะได้เห็นว่า บริษัทนั้นมีการเติบโตแบบที่คาดการณ์หรือไม่ อย่าใจร้อนขายก่อน จงอย่ามองตลาดหุ้นเป็นเพียงหน่วยลงทุน ไม่เช่นนั้นจะหาความสุขไม่ได้เลย" เซียนหุ้นวัย 34 ปี กล่าวเตือน
'ในพอร์ตเราจะมีหุ้นอยู่ 2 เกรด คือ ประเภท "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" อย่างละครึ่ง หุ้นดิวิชั่น 1 ธุรกิจมั่นคง รายได้ไม่ผันผวนมาก ผู้บริหารเก่งมีธรรมาภิบาล ส่วนดิวิชั่น 2 เป็นพวกหุ้น "เทิร์นอะราวด์" และหุ้น "อันเดอร์ แวลู"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับ
------------------
วงจรของความมั่งคั่ง
http://www.thorfun.com/story/view/UM6E6q7rWfR4ACfK
------------------
วงจรของความมั่งคั่ง
http://www.thorfun.com/story/view/UM6E6q7rWfR4ACfK
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณ คุณ pakapong_u มากครับ
ชอบไอเดียที่สอนให้ ลูกสาว รู้จักการออมเพื่อการลงทุน และคำว่า อิสระภาพทางการเงิน ตั้งแต่เด็ก ๆ ครับ
ชอบไอเดียที่สอนให้ ลูกสาว รู้จักการออมเพื่อการลงทุน และคำว่า อิสระภาพทางการเงิน ตั้งแต่เด็ก ๆ ครับ
- dino
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1281
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 5
เยี่ยมมาตลอดครับ
1 ซื้อหุ้นของกิจการที่ดี
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 9
สัปดาห์หน้า
พุธ 26 ธค ทาง tnn2 2230 น.
คอยพบตัวจริงให้สัมภาษณ์ครับรายการ moneytalk
พุธ 26 ธค ทาง tnn2 2230 น.
คอยพบตัวจริงให้สัมภาษณ์ครับรายการ moneytalk
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
- mario
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 720
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 10
The basic ideas of investing are to look at stocks as business,
use the market's fluctuations to your advantage,
and seek a margin of safety.
Investing is not about big returns ,it's about safety of principal and satisfactory returns.
use the market's fluctuations to your advantage,
and seek a margin of safety.
Investing is not about big returns ,it's about safety of principal and satisfactory returns.
-
- Verified User
- โพสต์: 154
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 11
ชอบครับ
รอวันนั้นเหมือนกันครับ
รอวันนั้นเหมือนกันครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 12
ตั้งแต่วันแรกที่ได้พูดคุยกับคุณ Kiri จนถึงวันนี้
คนนี้เป็นของจริงแนว VI อีกคนหนึ่ง
แต่ละตัวที่ได้คุยรู้ลึกอย่างยิ่งยวด
ทำการบ้านมาดีๆอย่างมากๆมายๆ
จนบ้างครั้งต้องนึกใจเลยว่า เรายังด้อยเร่งในเรื่องแบบนี้ละครับ
คนนี้เป็นของจริงแนว VI อีกคนหนึ่ง
แต่ละตัวที่ได้คุยรู้ลึกอย่างยิ่งยวด
ทำการบ้านมาดีๆอย่างมากๆมายๆ
จนบ้างครั้งต้องนึกใจเลยว่า เรายังด้อยเร่งในเรื่องแบบนี้ละครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทิ้งรายได้เดือนละ200,000 บาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรว
โพสต์ที่ 19
เยี่ยมเลยครับน้องภา
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"