Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 91

โพสต์

*** ถ้าไม่มีฝนลงและยังใช้นํากันแบบตอนนี้

อ่างเก็บนําหนองปลาไหล อยู่ได้อีก 35 วัน

*** ถ้ามีฝน แบบที่ตกอยู่ช่วงนี้และยังใช้นํากันแบบตอนนี้

อ่างเก็บนําหนองปลาไหล อยู่ได้อีก 70 วัน
mustang
Verified User
โพสต์: 375
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 92

โพสต์

ชี้แจงเพิ่มเติมนะครับ เรืองฝนหลวงเนี่ย ถ้าทำกันอย่างต่อเนื้องไม่ปล่อยไว้นานขนาดนี้ ไม่โกงกินกัน เรื่องก็คงไม่บานปลาย พอมาระดมทำกันตอนนี้ก็ช่วยไรไม่ได้มาก ก็ฝนมันไม่ตกเหนื่ออ่างนี่คับ ทำไงได้ ลมมันแรง และฝนก็ตกไม่ได้หนักด้วย ตกเบาๆเอง หวังเพิ่งน้ำบาดาล คงยากครับ โรงงานต้องการนำที่มีคุณภาพนะครับ ขนาดเอาน้ำประปาไป ยังต้องไปผ่าน process ของโรงงานอีก เพื่อให้ได้คุณภาพของน้ำ ให้เหมาะสมกับ line การผลิตของแต่ละโรงงาน
งานนี้ผมว่าท่านนายกต้องการเล่นเก้าอี้ดนตรีอยู่แล้วครับ เนื่องจากไม่สามารถตัด ท่านรมต CTX ได้เนื่องจากเป็นกลุ่มทุนใหญ่ แต่ก็คงทานกระแสประชาชนไม่ไหว ทางออกก็ต้องหาตัวช่วยมาเล่นเก้าอี้ดนตรีกัน คับ
เอ ล่อแหลมจัง
อ่านขาด
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 93

โพสต์

คุณวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของอมตะให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้ถ้าทำกันจริงไม่ใช่เรื่องยาก
อยู่ที่นายกต้องสั่งการเอง ฝนที่ตกลงทั่วประเทศ100%
ทุกวันนี้เรากักเก็บได้เพียง 10% ที่เหลือลงทะเลและอยู่ใต้ดิน
หากเก็บได้สัก 40% ไทยจะอุดมสมบูรณ์กันทั้งประเทศ

ทำให้คิดถึงเมกะโปรเจค...
kla
Verified User
โพสต์: 27
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 94

โพสต์

ตอนนี้ที่ระยอกำลังชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำฝนเลยครับ แจะตกไม่หนักมาก ตกน้อยๆแต่ขอให้ตกนานๆอย่างนี้ก็สบายๆ :lol: :lol: :lol:
Stock Broker
Verified User
โพสต์: 2509
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 95

โพสต์

ลุ้นระทึกน้ำมีใช้แค่44วัน "สุดารัตน์"จี้ขรก.แจงด่วน
โดย ผู้จัดการรายวัน 28 มิถุนายน 2548 23:43 น.

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม่มั่นใจรัฐบาล หวั่นมีน้ำใช้ที่นิคมฯมาบตาพุดใช้เพียง 44 วัน เรียกร้องให้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ "คุณหญิงหน่อย" หงุดหงิดข้าราชการแก้ปัญหล่าช้า จวก "ปลัด-ผอ.ฝนหลวง" ทิ้งงานไปต่างประเทศบ่อย-สารทำฝนหลวงยังไม่มีประสิทธิภาพ คาดโทษต้องรายงานปัญหาและแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 2 วัน พร้อม ให้ความมั่นใจนักลงทุนอย่าหวั่นวิตก สามารถแจกจ่ายได้ตามปกติ ขณะที่กรมทรัพย์ฯสำรวจจุดเจาะน้ำบาดาลคาดอีก 2 วันสูบน้ำใช้ได้

นายบดินทร์ อัศวาณิชย์ เลขาธิการ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และแถบจ.ชลบุรี รัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะแก้ไขเร่งด่วนด้วยการทำฝนเทียมและขุดเจาะบ่อบาดาล ส.อ.ท.จึงเห็นว่ารัฐควรจะทำตามสัญญาให้ได้ซึ่งขณะนี้เอกชนส่วนใหญ่เองก็ยังไม่คลายกังวลนักเพราะแผนที่ชัดเจนยังไม่มี ผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยยังมีแผนรองรับไว้เช่นการเตรียมแทงเกอร์ไว้บรรจุน้ำ ดังนั้นปัญหาจะเกิดขึ้นหรือไม่จึงอยู่ที่รัฐบาล และระยะยาวแล้วรัฐควรจะมีแผนการจัดระบบน้ำอย่างมีประสิทธิภาพกว่าปัจจุบัน

ทั้งนี้ น้ำเป็นปัญหามาช้านานและได้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกับการนิคมอุตสาหกรรม(กนอ.) และบมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด(มหาชน) หรืออีสวอเตอร์ โดยกนอ.ได้ขอให้ลดใช้น้ำลง 40% ขณะที่อีสวอเตอร์จะลดการจ่ายน้ำลง 10% ทำให้เอกชนต้องวางแผนลดการผลิตเพื่อลดการใช้น้ำ ดังนั้นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องรายงานถึงผลการลดการใช้น้ำ 40% ลงก็เพราะเป็นระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ตัวแทนส.อ.ท.ได้เข้าหารือและรับฟังแนวทางแก้ไข ขาดแคลนน้ำดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และแถบจ.ชลบุรีกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอาทิ นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมชาย สุนทรวัฒน์ รมช.กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนอีสวอเตอร์ ตัวแทนจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นต้น ซึ่งได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว 7 แนวทาง

ได้แก่ 1. ให้กรมชลประทานดำเนินการต่อเชื่อมท่อจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ - อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน 2. ให้กรมชลประทานดำเนินการต่อเชื่อมท่อจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล - อ่างเก็บน้ำดอกกราย (ระยะทาง 6 กิโลเมตร) ให้แล้วเสร็จภายใน 200 วัน 3. ให้กรมชลประทานดำเนินการต่อเชื่อมท่อจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล - อ่างเก็บน้ำประแสร์ให้แล้วเสร็จภายใน 250 วัน 4.ให้อีสท์วอเตอร์ต่อเชื่อมท่อจากแม่น้ำบางประกง - อ่างเก็บน้ำบางพระ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2549 5.ให้ปรับประสิทธิภาพในส่งน้ำจากแม่น้ำบางประกงเพื่อเข้าอ่างเก็บน้ำบางพระ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระได้ 20,000 คิวบิกเมตร/วัน 6.ให้เร่งดำเนินการนำน้ำจากแม่น้ำระยองและคลองทับมา เพื่อมาเข้าโครงการของอีสท์วอเตอร์ที่สี่แยกมาบข่า (ระยะทาง 17 กิโลเมตร) ให้แล้วเสร็จภายใน 1 - 2 เดือน ซึ่งคาดว่าจะได้น้ำเพิ่มขึ้น 90,000 คิวบิกเมตร/วัน 7. ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเร่งขุดเจาะน้ำบาดาล โดยคาดว่า 30 วันนับจากวันนี้ จะได้น้ำใช้เพิ่มขึ้น 180,000 คิวบิกเมตร/วัน และจะทยอยขุดเจาะน้ำบาดาลเพิ่มขึ้น จนได้ปริมาณน้ำ 200,000 - 400,000 คิวบิกเมตร/วัน จนพัฒนาไปถึง 1,000,000 คิวบิกเมตร/วัน สำหรับพื้นที่เป้าหมายในการขุดเจาะ ได้แก่ พื้นที่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม และพื้นที่ตามแนวท่อส่งน้ำของอีสท์วอเตอร์

ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานของรัฐโดยเฉพาะกรณีเร่งด่วนด้วยการเจาะบ่อบาดาลนั้นแม้ว่ารัฐสัญญาว่าจะเร่งขุดภายใน 7 วันแต่ทางปฏิบัติเอกชนเองก็ยังกังวลเพราะการขุดบ่อบาดาลเสร็จแล้วจะต้องนำน้ำไปที่ใดเพราะปกติแล้วการขุดน้ำบาดาลจะต้องมีบ่อพักและจ่ายสู่ระบบท่อน้ำของอีสวอเตอร์ หรือหากจะวางระบบท่อให้เชื่อมกันก็ต้องใช้เวลาก่อสร้างซึ่งเรื่องนี้ได้มีการสอบถามภาครัฐในการหารือเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.แล้ว

**ลุ้นน้ำมีใช้แค่44วัน

นายพยุงศักดิ์กล่าวว่า ปกติภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำ 8 แสนลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในจ.ระยอง สว่นจ.ชลบุรีส่วนใหญ่ใช้ในเรื่องของประปา โดยอ่างเก็บน้ำที่จะเก็บน้ำไว้รองรับความต้องการได้แก่ หนองปลาไหลความจุ 164 ล้านลบ.ม. มีน้ำจริงอยู่ล่าสุด 20 ล้านลบ.ม.ดอกกราย 72 ล้านลบ.ม. มีน้ำจริง 10 ล้านลบ.ม. ขณะที่น้ำไหลลงอ่างติดลบล่าสุดวานนี้(28มิ.ย.) ถึง 3 แสนลบ.ม. เมื่อคำนวณปริมาณน้ำที่เป็นน้ำสำรองในอ่างอีก 10 ล้านลบ.ม.ก็จะมีน้ำเหลือใช้ประมาณ 44 วัน(กรณีที่ฝนไม่ตก) ซึ่งหากรัฐเร่งขุดเจาะบ่อบาดาลก็จะช่วยขยายอายุการใช้น้ำออกไปได้อีก

**จวก ปลัด-ผอ.ฝนหลวง

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และคณะผู้บริหารระดับสูง ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก หลังเกิดภาวะวิกฤติภัยแล้งอย่างหนักติดต่อกัน 2 ปี โดยคุณหญิงสุดารัตน์ ได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กรมชลประทาน บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (อีสท์ วอเตอร์) ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ฯลฯ ให้เร่งแก้ไขปัญหาเชิงรุกและรายงานความคืบหน้าทุกสัปดาห์ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการบอกกล่าว จนเมื่อเกิดวิกฤติถึงทราบทำให้ต้องวิ่งไล่แก้ปัญหาตลอดส่งผลเป็นปัญหาต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

นอกจากนี้คุณหญิงสุดารัตน์ ยังได้ตำหนิ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และนายไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ ผอ.สำนักฝนหลวงฯ ว่า ไม่ดูแลปัญหาแบบเกาะติด ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มักจะเดินทางไปต่างประเทศ ล่าสุดก็ประเทศอเมริกาซึ่งเป็นช่วงที่เกิดปัญหาหนักทำให้ตนต้องประสานงานทั่วทิศเสมือนเป็นปลัดฯ และผอ.เสียเอง ในขณะที่ปัญหาเรื่องสารทำฝนหลวงไม่มีประสิทธิภาพ มีสารไม่ครบสูตรส่งผลให้ไม่สามารถออกปฏิบัติการได้

"ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่ดิฉันจะเตือนท่านทั้งสอง และขอให้ท่านทำรายงานชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อไม่ให้เป็นปัญหากับฐานผลิตฝนหลวงทั่วประเทศ และดิฉันจะให้เวลาจนถึงวันพฤหัสนี้แก้ไขปัญหาเรื่องสารผลิตฝนหลวงไม่ครบสูตรให้แล้วเสร็จ และถ้าจะให้ดีก็อยากให้ท่านขึ้นเครื่องบินไปดูการทำฝนหลวงด้วยตัวเองจะได้เห็นปัญหา"

สำหรับปัญหาเรื่องสารฝนหลวงไม่ได้ประสิทธิภาพนั้น ก็ได้กำชับไปว่าให้ไปดูแลแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 2 วัน โดยสารจะต้องครบสูตรและเพียงพอ ขณะนี้เครื่องบินก็มีอยู่ 6 เครื่องซึ่งเกินพออยู่แล้ว พร้อมปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งตนได้กำชับให้ไปหาเทคนิคให้ฝนตกเหนืออ่างเก็บน้ำให้ได้ โดยการแก้ไขปัญหาจะต้องควบคู่ไปกับมาตรการของจังหวัดที่รณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าด้วย

**กรมทรัพย์ฯเจาะน้ำบาดาลอีก2 วันใช้ได้

นายสันติ บันเทิงจิตร หัวหน้าทรัพยากรธรณี จังหวัดระยอง เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ทางสำนักงานได้ส่งเจ้าหน้าที่รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจพื้นที่แหล่งน้ำใต้ดิน พร้อมทั้งทำแผนการขุดเจาะแล้ว โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 วันในการดำเนินการสำรวจเนื่องจากต้องสำรวจพื้นที่ควบคู่กับอีสท์วอเตอร์ เพราะจะต่อเชื่อมน้ำบาดาลที่เจาะขึ้นมาได้แล้วเชื่อมต่อเข้ากับท่อของอีสท์วอเตอร์ เพื่อที่จะได้สามารถนำน้ำไปใช้ได้ทันที และหากพื้นที่ใดที่มีปริมาณน้ำใต้ดิน แต่อยู่ห่างจากท่อส่งน้ำของอีสท์วอเตอร์ ก็จะต้องสูบน้ำลงอ่างเก็บน้ำไว้ก่อน ดังนั้น จึงต้องมีการสำรวจพื้นที่เพื่อดูความเหมาะสมและปริมาณของน้ำ

อย่างไรก็ตาม ทางได้ประสานกับทางบริษัทอีสท์วอเตอร์ ให้ช่วยจ่ายน้ำให้ตามปกติ ก็ได้คำตอบว่าภายใน 1-2 วันนี้จะสามารถทราบผลว่า จะสามารถจ่ายน้ำให้เราได้ตามปกติหรือไม่เพราะในขณะนี้ทางบริษัทกำลังทำการปรับปรุงระบบท่อที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เนื่องจากระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำน้อยลง จึงได้ต้องมีการปรับหัวสูบใหม่เพื่อจะนำน้ำสำรองมาใช้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเวลา 17.00 น.ของวันที่ 28 มิ.ย.
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 96

โพสต์

Financial Engineer,
นอกจากนี้คุณหญิงสุดารัตน์ ยังได้ตำหนิ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และนายไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ ผอ.สำนักฝนหลวงฯ ว่า ไม่ดูแลปัญหาแบบเกาะติด ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มักจะเดินทางไปต่างประเทศ ล่าสุดก็ประเทศอเมริกาซึ่งเป็นช่วงที่เกิดปัญหาหนักทำให้ตนต้องประสานงานทั่วทิศเสมือนเป็นปลัดฯ และผอ.เสียเอง ในขณะที่ปัญหาเรื่องสารทำฝนหลวงไม่มีประสิทธิภาพ มีสารไม่ครบสูตรส่งผลให้ไม่สามารถออกปฏิบัติการได้

"ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่ดิฉันจะเตือนท่านทั้งสอง และขอให้ท่านทำรายงานชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อไม่ให้เป็นปัญหากับฐานผลิตฝนหลวงทั่วประเทศ และดิฉันจะให้เวลาจนถึงวันพฤหัสนี้แก้ไขปัญหาเรื่องสารผลิตฝนหลวงไม่ครบสูตรให้แล้วเสร็จ และถ้าจะให้ดีก็อยากให้ท่านขึ้นเครื่องบินไปดูการทำฝนหลวงด้วยตัวเองจะได้เห็นปัญหา"
8) ถ้าเป็นมะริกันฟุตบอลเขาเรียกบุกโดยการขว้างลูก
ส่วนตัวนะผมไม่เชื่อว่าข้าราชการจะไม่รู้
แต่มีปัญหาcommunication กันคนละทิศละทางซะละมากกว่า
และแล้วความผิดก็อยู่กะข้าราชการจนได้
นักการเมืองดูแล้วทำอะไรไม่ค่อยผิดนะ..ฮ่า...
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 97

โพสต์

ผู้จัดการรายวัน 6 กค. 48

แก้วิกฤตน้ำไม่กระเตื้อง เอกชนหวั่นมีใช้แค่ส.ค.

สรุปผลแก้ปัญหาวิกฤตน้ำนิคมฯภาคตะวันออกวันนี้ เผย เอกชนยังไม่เชื่อมั่นหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะน้ำบาดาลคาดใช้ไม่ได้เต็มที่ตามที่รัฐหวัง จากปัญหาค่าซัลเฟอร์ในน้ำสูงไม่เหมาะนำมาใช้ ขณะที่เอกชนเริ่มกลับมาคิดถึงแผนสำรองอีกครั้ง หวั่นถ้าสถานการณ์ไม่คืบหน้าจะมีปริมาณน้ำใช้แค่ไม่เกินสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

แหล่งข่าว กล่าวว่า วันนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักในพื้นที่ได้แก่หนองปลาไหลและดอกกรายมีปริมาณน้ำมากขึ้นวันละกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตร โดยมาจากการทำฝนหลวงซึ่งช่วงตั้งแต่วันศุกร์-เสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมามีฝนตกติดต่อกัน 3 วัน แต่การแก้ปัญหาด้านอื่นๆยังไม่คืบหน้านักโดยเฉพาะการวางท่อของบริษัทอีสต์วอเตอร์ผู้จัดหาน้ำให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนการขุดเจาะน้ำบาดาลเพิ่งจะเริ่มเข้าไปขุดเจาะในพื้นที่ของโรงงานที่แจ้งความต้องการในวันนี้(6ก.ค.)

น้ำบาดาลไม่ใช่ว่าทุกโรงงานจะใช้ได้เหมือนกันหมด บางโรงงานสเปกเครื่องกำหนดไว้ว่าถ้าค่าซัลเฟอร์ หรือ สารตัวอื่นสูงเกินไปก็ไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นต่อให้มีน้ำบาดาลเหลือเฟือก็ช่วยอะไรได้ไม่มาก พวกเรามีความเห็นว่า ถ้าสถานการณ์ดำเนินไปในลักษณะอย่างนี้ ฝนไม่ตกมากเราจะมีน้ำใช้เหลือเพียงแค่เดือนหน้าเท่านั้น แหล่งข่าวกล่าว

นายประโยชน์ พินเดช ผู้ช่วยรองผู้จัดการใหญ่ บริษัทอุตสาหกรรมปิโตร เคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน ) เผยว่า จะรอความหวังจากน้ำบาดาลอย่างเดียวไม่ได้ เพราะยังไม่รู้เลยว่าจะสามารถนำขึ้นมาใช้ได้เมื่อไรและเมื่อได้น้ำขึ้นมาแล้วจะสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ก็จะต้องมีการตรวจเช็คคุณภาพกันก่อนว่าสามารถนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมหรือไม่ และเท่าที่ทราบขณะนี้ก็ยังไม่สามารถนำน้ำขึ้นใช่ซึ่งคาดว่าจะอีกประมาณ 10 วัน ข้างหน้าจึงจะรู้ผล อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางโรงงานได้เตรียมน้ำสำรองไว้บ้างแล้ว โดยใช้น้ำจากจากแม่น้ำและลำรางธรรมชาติ ที่ได้จากฝนตก ในบางพื้นที่แต่น้ำไม่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ

จากปัญหาภัยแล้งที่ดำเนินมาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม ส่งผลให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคตะวันออกขาดแคลนน้ำที่จะใช้ในกระบวนการผลิต จนคณะทำงานแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้ประกอบการมีมติร่วมกันลดกำลังการผลิตลงเพื่อชะลอการใช้น้ำ แต่รัฐบาลเกรงว่านักลงทุนต่างชาติจะขาดความเชื่อมั่นจึงสั่งการให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าพร้อมให้คำมั่นแก้เอกชนว่าจะมีปริมาณน้ำใช้อย่างเพียงพอโดยไม่ต้องลดกำลังการผลิต

นายเชิดชาย ปิติวัชรากุล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการมาบตาพุด กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำดิบในนิคมมาบตาพุด จ.ระยอง โดยเฉพาะปริมาณน้ำจากอ่างหนองปลาไหลและดอกกราย มีน้ำรวม 31 ล้านลบ.ม.มีปริมาณน้ำฝนธรรมชาติลงมาช่วยทำให้ปริมาณน้ำที่ลดลงปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะสามารถใช้ได้ราว 2 เดือน อย่างไรก็ตามยอมรับว่าหลังจากที่รัฐให้ความมั่นใจในการใช้น้ำส่งผลให้เอกชนมีการใช้น้ำเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ แต่เอกชนส่วนใหญ่ก็ยังประหยัดในแง่ของน้ำอุปโภค และอื่นๆ ที่ไมเกี่ยวกับระบบการผลิตอยู่

อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้ปรับแผนการปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้เพิ่มเที่ยวบินในการโปรยสารเคมีให้มีความถี่เพิ่มขึ้น ซึ่งกรณีนี้ปัจจุบันทางศูนย์ได้รับการสนับสนุนเครื่องเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 ลำจากรัฐบาล รวมเป็น 6 ลำ จึงทำให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสภาพความชื้นในปัจจุบันก็ยังมีสูงมากขึ้น จึงคาดว่าจากนี้คงจะเกิดฝนตกถี่ขึ้น และมีปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่อ่างเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
.........................................................................................................

สรุปคือ โครงการเจาะน้ำบาดาล มองกันว่า ถ้ามีค่าซัลเฟอร์สูงมากน้ำก็มาใช้ไม่ได้ และน้ำในอ่างเก็บน้ำก็ยังไม่กระเตื้องขึ้นครับ

สอดคล้องกับ Suppiler ของบริษัทผม วัตถุดิบยังขาดตลาดอยู่ กำลังการผลิตได้รับผลเนื่องจากวิกฤตน้ำ


......................................................................................................


เขื่อน...................วันที่ 15/06/05............วันที่ 27/06/05.........05/07/05............ใช้ได้จริง

บางพระ................22 ล้านลบ.ม...............20 ล้านลบ.ม............19 ล้านลบ.ม..........4 ล้านลบ.ม.
คลองสียัด.............44 ล้านลบ.ม...............42 ล้านลบ.ม............41 ล้านลบ.ม..........11 ล้านลบ.ม
หนองปลาไหล........23.47 ล้านลบ.ม..........21 ล้านลบ.ม............21 ล้านลบ.ม..........7 ล้านลบ.ม


น้ำในเขื่อนยังคงวิกฤต นี่ขนาดฝนตกลงมาช่วยบ้างแล้วนะครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
ภาพประจำตัวสมาชิก
คัดท้าย
Verified User
โพสต์: 2917
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 98

โพสต์

คุณ Zionism โพสต์ไว้ในกระทู้ที่พันทิพย์ ครับ .. เอามาโพสต์ให้ดู เห็นแล้วน่ากลัวเหมือนกัน
จาก http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 89323.html

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tao Investor
Verified User
โพสต์: 200
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 99

โพสต์

พื้นที่ไม่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้น้ำจืด เป็น หลัก ในการผลิต ครับ

บ. ไหน ไม่พิจารณา ตั้งแต่แรก ตอนนี้ก็ ทำใจครับผม


ปล. พื้นที่เขตภาคตะวันออก ถือว่ามีฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ มากครับ

แต่

ความสามารถในการกักเก็บน้ำน้อยมาก

เพราะ ปริมาณน้ำที่กักเก็บ ขึ้นอยู่กับ

1)ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย ของพื้นที่ ยิ่งมากยิ่งดี

2) ค่าการซึมของผิวดิน ยิ่งมากยิ่งดี

3) ค่าการระเหยจาก ผิวน้ำโดยตรง ยิ่งน้อยยิ่งดี

4)ค่าการระเหยจาก ต้นไม้ ยิ่งน้อยยิ่งดี มีต้นไม้มากจะช่วยป้องกันการระเหยได้

5)การไหลออก(นอกพื้นที่) ของน้ำ สัมพันธ์กับ 1234 ไหลออกมาก เก็บได้น้อย


จะเห็นได้ว่า

ภาคตะวันออก มีปัจจัย ที่ 1 เพียงอย่างเดียว ที่ส่งผลดีต่อ การกักเก็บน้ำ

จึงเป็นเหตุผล ที่ไม่ควรตั้ง บ. ที่ต้องใช้น้ำจืดเป็นปัจจัยหลักใน อุตสาหกรรม



ปล. ข้อได้เปรียบของ ภาคตะวันออก คือ การขนส่งสะดวกมากกว่า ปริมาณน้ำครับ
Inmagination is more importan than knowledge
mustang
Verified User
โพสต์: 375
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 100

โพสต์

ผมว่ามันไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไม่ได้นะครับ ถ้าทำกันอย่างจริงจังและทันท่วงที ปัญหารู้มาตั้งนานแล้วครับ ภาคเอกชนก็แจ้งภาครัฐ ๆก็เพิกเฉยทำทองไม่รู้ร้อน กินเคมีกันต่อไป
ทุจริตกันเข้าไป เคมีหมดสภาพมั่งละ เยอะแยะไปหมด ถ้าคุณเป็นคนที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงคุณจะปล่อยให้ปริมาณนำเหลือไม่ถึง สิบยี่สิบ เปอร์เซนต์เหรอครับ ทำไมตอน สี่ห้าสิบไม่ยักรู้ตัวละครับ
ผมว่าข้อได้เปรียบเรื่องการขนส่งนี่เยอะมากนะครรับ ลดการสูญเสียได้มหาศาลเลยครับ
ใบลม
Verified User
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 101

โพสต์

EASTW อัด 2.5 พันล้านบาทผันน้ำแก้ภัยแล้งภาคตะวันออก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2548 16:07 น.

http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... word=eastw
การลงทุนจะเพิ่มพูนได้ ถ้า “คิดดี ทำดี ใช้ดี”
Stock Broker
Verified User
โพสต์: 2509
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 102

โพสต์

ใครมีข้อมูลล่าสุดช่วยอัพเดตด้วยนะครับ สักอาทิตย์ละครั้งก็ยังดี

อันนี้ผมเอามาจาก http://water.rid.go.th/flood/flood/day12072005.htm
"สำหรับอ่างเก็บน้ำเขื่อนหนองปลาไหลและเขื่อนดอกกราย ( 12 ก.ค. 48 ) มีปริมาตรน้ำใช้การได้รวมกัน 10.28 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำทั้งสองอ่างฯเพื่ออุตสาหกรรม ประปาและอื่นๆรวมกันวันละ 0.55 ล้านลูกบาศก์เมตร"


เห็นอาการหุ้นกลุ่มปิโตรฯ 2 วันนี้แล้วชักตะหงิดๆ ตลาดรีบาวนด์ขึ้นราว 10 จุด แต่ปิโตรฯ ไม่ขยับเลย
แก้ไขล่าสุดโดย Stock Broker เมื่อ ศุกร์ ก.ค. 15, 2005 9:51 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 103

โพสต์

เขื่อน...................วันที่ 15/06/05............วันที่ 27/06/05.........05/07/05..................12/07/05..................ใช้ได้จริง

บางพระ................22 ล้านลบ.ม...............20 ล้านลบ.ม............19 ล้านลบ.ม..........18 ล้านลบ.ม..........3 ล้านลบ.ม (วิกฤต)
คลองสียัด.............44 ล้านลบ.ม...............42 ล้านลบ.ม............41 ล้านลบ.ม..........42 ล้านลบ.ม..........12 ล้านลบ.ม
หนองปลาไหล........23.47 ล้านลบ.ม..........21 ล้านลบ.ม............21 ล้านลบ.ม..........18 ล้านลบ.ม..........4 ล้านลบ.ม (วิกฤต)
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
Stock Broker
Verified User
โพสต์: 2509
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 104

โพสต์

เจอมาอีกข่าวแล้วครับ (จาก http://www.bangkokbiznews.com/2005/07/1 ... s_id=21329)

สภาอุตฯชี้ปัญหาน้ำดิบภาคตะวันออกยังวิกฤติ

12 กรกฎาคม 2548 19:02 น.
สภาอุตฯชี้ปัญหาน้ำดิบในพื้นที่ภาคตะวันออกก็ยังวิกฤติ แม้จะมีการขุดน้ำบาดาลเพื่อเสริมปริมาณน้ำของอ่างเก็บน้ำ แต่ก็มีคลอไรด์สูงจนส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบางประเภท ขณะที่น้ำในอ่างเก็บน้ำก็เหลือน้อย แม้ฝนจะตกแต่ไม่ไหลเข้าอ่าง

นายณรงค์ ถ้ำเขางาม ประธานคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนน้ำดิบในพื้นที่ภาคตะวันออก ว่า จากการขุดบ่อบาดาลในช่วงเกือบ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อนำมาเสริมปริมาณน้ำในอ่างดอกกราย และหนองปลาไหล พบว่าสามารถเพิ่มน้ำได้ไม่มากนักประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และปรากฏว่ามีปริมาณคลอไรด์สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ยโดยอยู่ที่ 100-200 พีพีเอ็ม ขณะที่โรงงานที่มีระบบแยกคลอไรด์ หรือทรีทเมนต์สามารถรับได้ไม่เกิน 100 พีพีเอ็ม ซึ่งหากต้องมีการลงทุนสร้างระบบทรีทเมนต์เพิ่มต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน

น้ำที่มีคลอไรด์สูงจะมีปัญหากับระบบการผลิตอุตสาหกรรมบางประเภทที่ต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบโดยตรงได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและการผลิตเหล็กแผ่น อย่างไรก็ตาม หากมีการนำน้ำบาดาลที่ขุดได้มาเจือจางกับน้ำในอ่างดอกกรายและหนองปลาไหลก็คงจะเจือจางคลอไรด์ได้ แต่สิ่งที่กังวลคือ ปริมาณน้ำทั้ง 2 อ่างลดลงมาก เหลือประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรรวมกับน้ำสำรองแล้ว เพราะแม้ฝนจะตกแต่น้ำก็ไม่เข้าอ่าง ซึ่งหากเอกชนใช้น้ำอยู่ระดับ 500,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันและฝนไม่ตกมากกว่านี้ จะทำให้มีน้ำใช้ได้อีกประมาณไม่เกิน 15 สิงหาคมนี้ ซึ่งเอกชนก็ต้องรอความหวังจากภาครัฐที่ระบุว่าจะรับผิดชอบหากน้ำขาดแคลน นายณรงค์ กล่าว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองเลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะน้ำบาดาลที่ขุดได้มีคลอไรด์ค่อนข้างสูง ซึ่งจะมีปัญหากับบางอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถนำมาสู่กระบวนการผลิตได้ โดยเฉพาะเหล็กแผ่น เพราะจะทำให้เกิดสนิม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน

นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก ส.อ.ท. กล่าวว่า ในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะสรุปสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาน้ำให้ผู้ผลิตรับทราบอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อนำไปประเมินการดำเนินการต่อไป
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 105

โพสต์

12 กค.2548

อ่างเก็บนําบางพระ เหลือปริมาตรนําที่ใช้การได้จริง 3 ล้านลบม.

อ่างเก็บนําหนองปลาไหล เหลือปริมาตรนําที่ใช้การได้จริง 4 ล้านลบม.


วันนี้หนองปลาไหลปล่อยนําซะเยอะเชียว

ถ้าปล่อยเยอะแบบนี้ 10 วันติดต่อกัน ปริมาตรนําที่ใช้การได้จริง จะไม่เหลือแล้วนะครับ

เพลาๆมือหน่อย
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 106

โพสต์

รัฐบาลฟุ้งขุดน้ำได้ตามเป้า

ด้าน นายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยภายหลังลงตรวจพื้นที่การขุดเจาะน้ำบาดาลเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า การเดินทางมาตรวจดูพื้นที่การขุดเจาะน้ำบาดาลที่จังหวัดระยองในวันนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่า เจาะน้ำบาดาลได้จริงและปริมาณน้ำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 180,000 - 200,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 107

โพสต์

"ฝนตกไม่ตกไม่สน แต่ต้องมีน้ำ ในเมื่อผมไปดึงเขามาลงทุน หน้าที่เราคือซัพพลายน้ำให้พอ" หรือ "เริ่มงานเลย สรุปแล้วภายใน 7 วันใช้งานได้เลย"

เป็นคำสั่งการที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล บริษัทอีสท์วอเตอร์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อครั้งไปตรวจสภาพอ่างเก็บน้ำดอกกลายและหนองปลาไหลที่จังหวัดระยองเมื่อ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา

ทว่าให้หลังร่วม 2 สัปดาห์แล้ว แต่สถานการณ์การขาดแคลนน้ำในภาคอุตสาหกรรมของระยองยังน่าเป็นห่วง แม้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะระดมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล เร่งมือขุดเจาะน้ำบาดาลอย่างเต็มกำลัง แต่ก็ยังไม่ได้ปริมาณน้ำตามที่ต้องการ แถมยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำที่ได้ด้วย

ดูได้จากจากวันที่ 29 มิถุนายน ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม รวมเวลา 7 วันเต็มที่เจ้าหน้าที่จากศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 8 เร่งขุดเจาะน้ำในระยะสำรวจนั้น นายอุโรม แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรน้ำบาลดาลเขต 8 ชลบุรี บอกว่า จากการเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ตำบลทับมาจำนวน 6 บ่อ ได้น้ำบาดาลบ่อละ 240 ลูกบาศก์เมตร/วันเท่านั้น

เช่นเดียวกับการขุดเจาะในพื้นที่ของการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำนวน 10 บ่อ ได้ปริมาณน้ำบ่อละ 280 ลูกบาศก์เมตร/วันเท่านั้น จากเป้าหมายที่ต้องขุดให้ได้ 290 บ่อ

ราวแล้วน้ำบาดาลที่ทางศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลขุดเจาะทั้งหมด 10 กว่าบ่อได้น้ำเพียง 520 ลูกบาศก์เมตร/วัน ซึ่งยังห่างไกลกับการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมในการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีความต้องการใช้น้ำสูงถึง 500,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 108

โพสต์

ใครโกหกกันแน่ครับ

สื่อโกหกเพื่อทุบรัฐบาล

รัฐบาลโกหกเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
แก้ไขล่าสุดโดย Britannica เมื่อ พุธ ก.ค. 13, 2005 12:10 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 109

โพสต์

เอกชนดิ้นขุดบ่อน้ำใช้เอง

สภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ลงทุนเป็นพันล้าน หมื่นล้าน ต่างต้องดิ้นรนช่วยตัวเองกันจ้าละหวั่นเช่น กรณีของโรงงานปิโตรเคมีในเครือปูนซิเมนต์ไทยที่ระดมรถแบ็กโฮจำนวน 15 คัน ทำการขุดอ่างเก็บน้ำภายในโรงงาน เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ เพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ และเร่งทำงานกันตลอดเวลา

หรืออย่างบริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไฟฟ้าโกลฟ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยโอลิฟินส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทไบเออร์ บริษัทดาวเคมีกัล โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ ก็ทำในลักษณะเดียวกัน แต่รายที่ดูจะปลอดภัยหน่อยคือ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ เพราะมีเตรียมการเรื่องการเก็บกักน้ำมานานแล้ว

ส่วนโรงงานที่ไม่มีพื้นที่พอก็ต้องใช้วิธีวิ่งซื้อน้ำจากภาคเอกชนมาสำรองไว้ แม้ต้นทุนจะแพงขึ้นก็ตาม นั่นก็เพราะการที่จะไปหวังน้ำบ่อหน้าจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ พวกเขายังไม่เห็นรูปธรรมที่ชัดเจน

จริงอยู่ในภาพการสั่งการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีจริง แต่ภาพในทางปฏิบัติที่ผู้ประกอบการสัมผัสอยู่นั้น พวกเขายังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก

เพราะฉะนั้น "ช่วยตัวเอง" น่าจะปลอดภัยกว่า หรือเสี่ยงน้อยกว่า เพราะหากขาดน้ำจนกระทั่งต้องลดกำลังการผลิต หรืออาจถึงกับต้องหยุดเดินเครื่อง ความเสียหายอาจจะมากกว่านี้

สั่งซื้อน้ำใช้สำรองทางเรือ

นายสุวนันท์ ชาติอุดมพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โรงแยกก๊าซธรรมชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางบริษัทได้เตรียมแผนสำรองน้ำไว้ในโรงงานด้วยการเตรียมเรือสำหรับบรรทุกน้ำดิบจากกรุงเทพฯ ระวางบรรทุกลำละแสนกว่าลิตร มาเพื่อสำรองใช้ภายในโรงงานและบริษัทในเครือ เป็นการช่วยเหลือตัวเองก่อน เพราะจะรอภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะโรงงานแต่ละแห่งมีการลงทุนมูลค่านับหมื่นๆ ล้านบาท

ที่สำคัญโรงงานส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทมหาชน มีทั้งนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ติดตามสอบ ถามเกี่ยวกับเรื่องวิกฤตน้ำมาบ่อยๆ จึงได้มีการ เตรียมการรองรับไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตของโรงงาน เพราะต้องมีการเดินเครื่องต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสังเกต การณ์ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทุกโรงงานได้ตื่นตัวในการนำเข้าน้ำและหาแหล่งน้ำใช้กันแล้ว เนื่องจากมีการประเมินกันว่าน้ำที่มีอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ จะใช้ได้เพียง 40 วันเท่านั้น โดยแหล่งข่าวในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด เปิดเผยว่าปัจจุบันแต่ละโรงงานเริ่มมีการวิ่งหาแหล่งน้ำของชาวบ้าน และติดต่อซื้อน้ำไว้ใช้ในโรงงานกันอย่างจ้าละหวั่น ตกโรงงานละ 80 เที่ยวต่อวัน เที่ยวละ 12,000 ลิตร

ส่วนบางโรงงานที่ยังหาแหล่งน้ำไม่ได้ ก็เป็นช่องทางของชาวบ้านและผู้ประกอบการขายน้ำวิ่งเข้าไปติดต่อโรงงานโดยตรง มีบางรายมีการเรียกเก็บเงินค่ามัดจำก่อนส่งน้ำให้สูงถึง 3 ล้านบาท ทำให้โรงงานที่ประสบเหตุดังกล่าวต้องอยู่ในภาวะจำยอม เพื่อจะได้เดินเครื่องผลิตกันต่อไป แม้บางครั้งน้ำที่ซื้อมาจะเป็นน้ำกร่อยก็ตาม แต่ก็จำเป็นต้องซื้อ
buglife
Verified User
โพสต์: 942
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 110

โพสต์

แย่เลยครับ ฝนตกไม่ทันปริมาณน้ำที่ใช้เลย :cry:
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 111

โพสต์

อืม ตอนนี้ฝนตกหนักมาก นั่งมองออกไปสวยงามมาก

ชีวิตสดใส เพราะสายฝน
kla
Verified User
โพสต์: 27
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 112

โพสต์

น้ำไหลออกวันละกว่าหกแสนคิวขณะที่มีน้ำฝนไหลเข้าอ่างเพียงวันละสองแสนคิวเท่านั้น
น้ำบาดาลที่ขุดขึ้นมาก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพเพราะมีปริมาณกำมะถันสูงเกิน spec
เอกชนหมดหวังกับการรอคอยแต่ละรายจึงต้องดิ้นรนหาทางรอดกันเดาเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 113

โพสต์

ที่กรุงเทพ(ฝน)ตกหนักครับ ตั้งแต่เข้าเลย
ที่ต่างจังหวัดเป็นไงบ้างครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Heroine
Verified User
โพสต์: 196
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 114

โพสต์

ที่สงขลาฝนตกไม่หนักและไม่นาน ก็พอทำให้อากาศวันนี้เย็นสบายค่ะ
โลกมายา...ดินแดนที่ต้องใส่หน้ากากคุยกัน
เหนื่อยค่ะ! อยากหยุดพักการแสดงสิ่งที่ฝืนกับการเป็นตัวของตัวเอง

ล้มหาย ..ยังไม่ตายจาก
yakole
Verified User
โพสต์: 226
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 115

โพสต์

ที่สิงห์บุรีฝนก็ตกไม่หยุดเลย แต่ตกไม่หนัก วันนี้คงไม่ได้เห็นแสงแดด
JoJotaro
Verified User
โพสต์: 213
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 116

โพสต์

ทำไมตกหนักอย่างนี้ก็ไม่รู้ที่กรุงเทพน่ะ น้ำท่วมหมดเลย :wall:
to be the best professional golfer.
kla
Verified User
โพสต์: 27
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 117

โพสต์

ที่ระยองฝนตกน้อยมากครับ โดยเฉพาะบริเวณเหนืออ่าง ถ้าใครผ่านไปเที่ยวแถวนั้นลองแวะเข้าไปดูได้นะครับ จะมีป้ายบอกทางหรือว่าเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกไฟแดงมาบข่าเข้าไปไม่ไกลก็ถึงอ่างดอกกลาย เลยไปอีกหน่อยก็ถึงหนองปลาไหล จากอดีตที่ผ่านมาระยะนี้ฝนจะทิ้งช่วงแล้วจะเริ่มมีฝนมากตั้งแต่เดือนกันยาเป็นต้นไป ลองตรวจสอบข่าวพยากรณ์อากาศที่กรมอุตตุดูก็ได้นะครับ
JoJotaro
Verified User
โพสต์: 213
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 118

โพสต์

:D ดูจากเทคนิค น้ำในอ่างช่วงนี้น่าจะ rebound นะ เทียบจาก 2 ปีก่อน
to be the best professional golfer.
JL
Verified User
โพสต์: 188
ผู้ติดตาม: 0

สรุปสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์

โพสต์ที่ 119

โพสต์

Stock Broker
Verified User
โพสต์: 2509
ผู้ติดตาม: 0

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 120

โพสต์

อันนี้จากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ครับ

พรหมินทร์ถกด่วนเอกชน แก้วิกฤติน้ำภาคตะวันออก

16 กรกฎาคม 2548 22:11 น.
ปตท. ชี้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ของภาครัฐ ได้ระดับหนึ่งจนถึงสิ้นปีนี้ แต่หลังเดือนม.ค.2549 เชื่อปัญหารุนแรงมากขึ้น

"พรหมินทร์ " เรียกผู้ประกอบการรายใหญ่ในนิคมฯมาบตาพุดถกด่วนวิกฤติน้ำจันทร์นี้ หวั่นกระทบความเชื่อนักลงทุนไทย-เทศ เอกชนประเมินวิกฤติน้ำรุนแรงขึ้นหลัง ม.ค.49 นัดรวมตัวหาทางแก้ปัญหา จี้รัฐลงทุนวางท่อ เอกชนพร้อมออกค่าเวนคืนโครงการให้รัฐก่อน ขณะที่กรมชลฯ ระดมผู้เกี่ยวข้อง-เกษตรและผู้ใช้น้ำในจ.ระยอง-จันท์-ตราดสางปัญหาขาดแคลนน้ำด้วย

แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค.นี้ น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เรียกนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารกลุ่มปูนซีเมนต์ และผู้ประกอบการรายใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เพื่อหารือถึงวิกฤติน้ำมันในภาคตะวันออก เพราะนายกฯต้องการทราบรายละเอียดเรื่องนี้ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ เพราะภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งลงทุนสำคัญ และมีสัดส่วนการลงทุนถึง 50% ของการลงทุนทั้งประเทศ นอกจากนี้ภายในสัปดาห์นี้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะประชุมใหญ่เพื่อหาทางรับมือวิกฤติขาดแคลนน้ำ ที่คาดว่าจะรุนแรง เพราะเกรงว่าหากรอโครงการของรัฐอาจ จะไม่ทันกับภาวะขาดแคลนน้ำที่จะหนักมากขึ้นหลังจากเดือน ม.ค.49 เป็นต้นไป

"โครงการขุดบ่อบาดาลของภาครัฐนั้น ผู้ประกอบการมองว่าอาจไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ตามที่ประเมินไว้ เพราะเจอปัญหาชั้นดินเป็นหินแกรนิต และมีคลอไรด์ผสมอยู่ในน้ำ ดังนั้นเชื่อว่าคงต้องยุติขุดน้ำบาดาลในไม่ช้า เพราะเป็นการลงทุนสูญเปล่า " แหล่งข่าว กล่าว

จี้ลงทุนสร้างท่อส่งน้ำเข้าอ่างหนองปลาไหล

นอกจากนั้นการผันน้ำผ่านท่อจากแม่น้ำระยองมายังอ่างเก็บน้ำดอกกราย และหนองปลาไหล คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะติดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนที่อยู่บริเวณแนวขุดท่อส่งน้ำต่อต้าน ดังนั้นการเวนคืนที่ดินเพื่อวางท่อบางจุด เชื่อว่าจะไม่สามารถทำได้ตามแผน ซึ่งล่าสุดกลุ่มผู้ประกอบการในนิคมมาบตาพุด ได้ยื่นหนังสือถึงนายวัฒนา เมืองสุข รมว.อุตสาหกรรม เสนอว่าหากการสร้างท่อส่งน้ำจากแม่น้ำระยองมายังอ่างเก็บน้ำต้องล่าช้า เอกชนก็พร้อมจะออกเงินค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนไปก่อน แล้วให้รัฐคืนเงินให้ภายหลัง ซึ่งนายวัฒนาได้มอบให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมไปสรุปรายละเอียดและรายงานให้ทราบภายในสิ้นเดือนนี้

"ได้ประสานอย่างไม่เป็นทางการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอด ให้ลดกำลังการผลิตลง 20% เพราะปัญหาขาดแคลนน้ำยังไม่ได้รับการแก้ไข ขณะนี้ผู้ประกอบการหลายรายได้ลดกำลังผลิตบางส่วนจาก 80% เหลือ 70% แต่หากวิกฤติน้ำไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบแล้วหลังม.ค.ปีหน้าปัญหาขาดแคลนน้ำจะส่งผลให้บางโรงงานเดินเครื่องไม่ได้เลย " แหล่งข่าว กล่าว

หวั่นตั้งแต่ต้นปีหน้าไปปัญหารุนแรงหนัก

ด้านนายนายสุพล ทับทิมจรูญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของภาครัฐ โดยทำฝนหลวงและรอฝนธรรมชาติ ยอมรับว่าแก้ได้ระดับหนึ่งที่จะทำให้มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมไปถึงสิ้นปีนี้ แต่หลังจากเดือนม.ค.2549 ไปจนถึงปี 2552 เชื่อว่าปัญหาจะรุนแรงมากขึ้น เพราะเข้าสู่ฤดูแล้ง น้ำสะสมจะมีน้อยลงไปอีก

ดังนั้นขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมกำลังหาวิธีช่วยเหลือไปก่อน โดยแต่ละบริษัทต่างขุดบ่อกักเก็บน้ำของตัวเอง และขนน้ำทางเรือ เพราะรอน้ำจากฝนหลวงและฝนธรรมชาติคงเป็นไปไม่ได้ โดยขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง คือ หนองปลาไหล และดอกกรายรวมกัน 26 ล้านลบ.ม. แต่ใช้ได้จริง 6 ล้านลบ.ม. ขณะที่ปริมาณใช้อยู่ที่วันละ 5 แสนลบ.ม. หรือใช้ได้อีก 12 วันไปถึง วันที่ 29 ก.ค.นี้ จากนั้นต้องใช้น้ำก้นอ่างที่มีอยู่อีก 8 ล้านลบ.ม.ใช้ได้อีก 16 วัน

คาดเหลือน้ำใช้ได้อีก 15 วันเท่านั้น

โดยหากปริมาณน้ำหมดลง จะต้องนำน้ำจากแม่น้ำระยองเข้ามาใช้ ซึ่งขนได้วันละ 2 แสนลบ.ม.จะใช้ไปได้อีก 15 วัน และระหว่างนี้ต้องรอฝนหลวงและฝนธรรมชาติมาช่วยเติมน้ำในระบบอีกด้วย ส่วนการนำรถบรรทุกมาขน ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะ 1 โรงงานใช้น้ำ 1,000 ลบ.ม.ต่อชั่วโมง แต่รถน้ำ 1 คัน ขนน้ำได้แค่ 20-30 ลบ.ม.เท่านั้น

เอกชนเล็งทบทวนแผนงานผลิตใหม่

นายประเสริฐ กล่าวว่า โครงการแก้ปัญหาขาดน้ำในระยะสั้นของภาครัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และมีน้ำป้อนนิคมฯมาบตาพุดในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งในช่วงดังกล่าวอาจมีปริมาณฝนมาเสริมบ้าง แต่การช่วยเหลือ อาทิ ขุดบ่อบาดาล 290 แห่งต้องดูว่าการขนส่งนั้นจะดำเนินการอย่างไร เพราะบ่ออยู่กระจัดกระจาย ในส่วนของปตท.ได้เตรียมระบบขนน้ำทางเรือไว้แล้ว ในกรณีที่ฝนไม่ตก

"ปีนี้วิกฤติน้ำยังไม่น่าห่วง แต่ปีหน้าหากฝนตกไม่มาก คงเกิดปัญหาใหญ่ ซึ่งภาครัฐก็รู้ปัญหานี้ดี แต่ผู้ประกอบการคงไม่มีใครต้องการลดกำลังผลิต แต่หากน้ำไม่เพียงพอ ก็ควรจะทบทวนแผนงานกันใหม่ โดยขณะนี้ทุกโรงงานพยายามช่วยเหลือตัวเอง ทั้งขนส่งน้ำจืดด้วยเรือ ซึ่งยอมรับว่า หากมีการจ้างเรือขนาดใหญ่จากต่างประเทศมาขนส่งน้ำก็จะมีปัญหาในเรื่องท่าเรือขนส่งและการเทียบท่าจอดเรือในแหล่งน้ำจืด ขณะที่เรือขนส่งในไทยก็มีแต่เรือขนาดเล็ก แต่ที่น่าเป็นห่วงและภาครัฐจะต้องเร่งวางแผนอย่างรวดเร็ว คือหากฝนทิ้งช่วงหลังเดือนพ.ย.ไปแล้ว ภัยแล้งรอบสองจะเกิดขึ้นในเดือนก.พ. 49 เพราะปีนี้ใช้น้ำที่สะสมไว้ในอ่างหมดไปแล้ว

กรมชลประทานระดมสมองแก้วิกฤติน้ำวันนี้

นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมจะประชุมร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน เกษตรกรและกลุ่มผู้ใช้จ.ระยอง ชลบุรี ตราด และจันทบุรี ในวันที่ 18 ก.ค.ที่จ.ระยองเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแก้ปัญหาในเขตลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเร่งด่วน เนื่องจากพบว่าขณะนี้พื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกประสบปัญหาปริมาณน้ำฝนน้อย โดยเฉพาะจ.ระยองซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้น้ำสูง ซึ่งพบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำดอกกรายและหนองปลาไหล ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำหลักที่ใช้อุปโภค-บริโภค การเกษตรและอุตสาหกรรมของจ.ระยองและชลบุรี มีปริมาณน้ำลดต่ำลงกว่าเกณฑ์ปกติมาก โดยปริมาณน้ำใช้ได้ของอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลอยู่ที่ 4.54 ล้านลบ.ม. และดอกกรายอยู่ที่ 5.34 ล้านลบ.ม.เท่านั้น ซึ่งหากใช้น้ำประหยัดจะสามารถใช้ได้ถึงปลายเดือนก.ย.นี้

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้จัดทำแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างเป็นระบบ โดยแผนงานระยะเร่งด่วนและฉุกเฉิน ได้พิจารณาวางแผนบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินการได้ภายใน 1-2 เดือน อาทิ เชื่อมโยงแหล่งน้ำ หาวิธีเก็บน้ำในลำน้ำธรรมชาติในพื้นที่ชายทะเลฝั่งตะวันออก รวมทั้งทำฝนหลวงและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ซึ่งจะหารือกันอย่างละเอียดถึงความเป็นไปได้และระยะเวลาดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด