ที่ถามประเด็นนี้ขึ้นมา มีสาเหตุจาก
- การประเมินมูลค่าหุ้นอนาคตในระยะยาวทำได้ยาก แล้วค่าที่ได้อาจจะไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น discounting model หรือ relative model ก็ตาม
- ความเชื่อที่ว่า "ราคาหุ้นที่เหมาะสม คือ ราคาหุ้นในตลาด ณ ปัจจุบัน ในภาวะปกติ" (ไม่ใช่ช่วงเวลาที่คนโลภหรือกลัวเกินไป) ซึ่ง คือ ราคาเฉลี่ยของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น รายย่อย กองทุน ต่างชาติ โบรคเกอร์ นักลงทุนระยะยาว นักเก็งกำไร
- จังหวะในการซื้อ คือ จังหวะที่คนส่วนใหญ่กลัว เช่น panic ทำให้ราคาหุ้นตกลงมา จากราคาปกติ (ราคาหุ้นตกจากราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ทำให้มีส่วนลดมากพอสมควร)
- จังหวะขาย (หลังจากถือยาวมากๆ) อาจจะพิจารณาจากแนวโน้มธุรกิจเริ่มอิ่มตัว กำไรเริ่มคงที่ ราคาหุ้นเริ่มคงที่
โดยวิธีการลงทุน จะเลือกหุ้นโดยเน้นที่
1) ปัจจัยเชิงคุณภาพที่ประเมินได้ง่ายกว่า (SWOT, 5 forces, key success factor, vision, mission, business plan) เช่น เลือกธุรกิจที่เข้าใจ อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตในระยาว บริษัทมีความแข็งแกร่ง เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยังยืน ผู้บริหารเก่ง ซื่อสัตย์ ...etc
2) ปัจจัยเชิงปริมาณ เช่น ROA, ROE, EPS GROWTH, NET PROFIT MARGIN, D/E, Yield, กระแสเงินสด etc แต่ไม่ได้เน้นเรื่องประเมินมูลค่าหุ้นเพราะทำได้ยาก
อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ ช่วยวิเคราะห์ด้วยครับ ว่าแนวคิดนี้ มีจุดไหนที่อาจเข้าใจผิด หรือมีข้อสนอแนะอย่างไร ยินดีรับฟังและขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
![Smile :)](./images/smilies/icon_smile.gif)
ปล. ผมเพิ่งเริ่มลงทุนได้ประมาณ 10 เดือนครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ
![Very Happy :D](./images/smilies/icon_biggrin.gif)