ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 1
ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหมครับ
ที่ถามประเด็นนี้ขึ้นมา มีสาเหตุจาก
- การประเมินมูลค่าหุ้นอนาคตในระยะยาวทำได้ยาก แล้วค่าที่ได้อาจจะไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น discounting model หรือ relative model ก็ตาม
- ความเชื่อที่ว่า "ราคาหุ้นที่เหมาะสม คือ ราคาหุ้นในตลาด ณ ปัจจุบัน ในภาวะปกติ" (ไม่ใช่ช่วงเวลาที่คนโลภหรือกลัวเกินไป) ซึ่ง คือ ราคาเฉลี่ยของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น รายย่อย กองทุน ต่างชาติ โบรคเกอร์ นักลงทุนระยะยาว นักเก็งกำไร
- จังหวะในการซื้อ คือ จังหวะที่คนส่วนใหญ่กลัว เช่น panic ทำให้ราคาหุ้นตกลงมา จากราคาปกติ (ราคาหุ้นตกจากราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ทำให้มีส่วนลดมากพอสมควร)
- จังหวะขาย (หลังจากถือยาวมากๆ) อาจจะพิจารณาจากแนวโน้มธุรกิจเริ่มอิ่มตัว กำไรเริ่มคงที่ ราคาหุ้นเริ่มคงที่
โดยวิธีการลงทุน จะเลือกหุ้นโดยเน้นที่
1) ปัจจัยเชิงคุณภาพที่ประเมินได้ง่ายกว่า (SWOT, 5 forces, key success factor, vision, mission, business plan) เช่น เลือกธุรกิจที่เข้าใจ อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตในระยาว บริษัทมีความแข็งแกร่ง เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยังยืน ผู้บริหารเก่ง ซื่อสัตย์ ...etc
2) ปัจจัยเชิงปริมาณ เช่น ROA, ROE, EPS GROWTH, NET PROFIT MARGIN, D/E, Yield, กระแสเงินสด etc แต่ไม่ได้เน้นเรื่องประเมินมูลค่าหุ้นเพราะทำได้ยาก
อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ ช่วยวิเคราะห์ด้วยครับ ว่าแนวคิดนี้ มีจุดไหนที่อาจเข้าใจผิด หรือมีข้อสนอแนะอย่างไร ยินดีรับฟังและขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
ปล. ผมเพิ่งเริ่มลงทุนได้ประมาณ 10 เดือนครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ
ที่ถามประเด็นนี้ขึ้นมา มีสาเหตุจาก
- การประเมินมูลค่าหุ้นอนาคตในระยะยาวทำได้ยาก แล้วค่าที่ได้อาจจะไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น discounting model หรือ relative model ก็ตาม
- ความเชื่อที่ว่า "ราคาหุ้นที่เหมาะสม คือ ราคาหุ้นในตลาด ณ ปัจจุบัน ในภาวะปกติ" (ไม่ใช่ช่วงเวลาที่คนโลภหรือกลัวเกินไป) ซึ่ง คือ ราคาเฉลี่ยของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น รายย่อย กองทุน ต่างชาติ โบรคเกอร์ นักลงทุนระยะยาว นักเก็งกำไร
- จังหวะในการซื้อ คือ จังหวะที่คนส่วนใหญ่กลัว เช่น panic ทำให้ราคาหุ้นตกลงมา จากราคาปกติ (ราคาหุ้นตกจากราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ทำให้มีส่วนลดมากพอสมควร)
- จังหวะขาย (หลังจากถือยาวมากๆ) อาจจะพิจารณาจากแนวโน้มธุรกิจเริ่มอิ่มตัว กำไรเริ่มคงที่ ราคาหุ้นเริ่มคงที่
โดยวิธีการลงทุน จะเลือกหุ้นโดยเน้นที่
1) ปัจจัยเชิงคุณภาพที่ประเมินได้ง่ายกว่า (SWOT, 5 forces, key success factor, vision, mission, business plan) เช่น เลือกธุรกิจที่เข้าใจ อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตในระยาว บริษัทมีความแข็งแกร่ง เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยังยืน ผู้บริหารเก่ง ซื่อสัตย์ ...etc
2) ปัจจัยเชิงปริมาณ เช่น ROA, ROE, EPS GROWTH, NET PROFIT MARGIN, D/E, Yield, กระแสเงินสด etc แต่ไม่ได้เน้นเรื่องประเมินมูลค่าหุ้นเพราะทำได้ยาก
อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ ช่วยวิเคราะห์ด้วยครับ ว่าแนวคิดนี้ มีจุดไหนที่อาจเข้าใจผิด หรือมีข้อสนอแนะอย่างไร ยินดีรับฟังและขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
ปล. ผมเพิ่งเริ่มลงทุนได้ประมาณ 10 เดือนครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 2
ขอ Share ว่า "นักลงทุนควรประเมินผลตอบแทนการลงทุนให้ได้ (เป็น % ต่อปี) เทียบกับการลงทุนทางเลือกอื่นๆ ที่มี" ครับ
ปกติน่าจะเทียบพันธบัตรรัฐบาล แต่ชาวบ้านแบบเราผมว่าเทียบกับฝากประจำที่แบงค์ก็พอได้ ประมาณ 3.5% คิดแบบนี้ได้ก็ลองหาหุ้นที่ปันผลชัวร์ๆ เกิน 3.5% มากๆ ซักหน่อย (จะให้ดีก็เกิน 6%) หากหุ้นราคาลงถือเป็นโอกาสดี ได้ผลตอบแทนเพิ่มอีกต่างหาก (แต่ก็ต้องมีเงินซักหน่อย)
อ.Finance สอนว่า "Money will flow to the good idea" ครับ (เงินย่อมไหลไปสู่จุดที่มีผลตอบแทนสูงสุด หรือ คิดว่า "ปลอดภัย" ที่สุดเสมอ)
ปล. เงินไม่น่าจะคิดเองได้ นักลงทุนต่างหากที่คิด ส่วนนักเก็งกำไร อาจไม่ได้คิดเรื่องพวกนี้เลย...
ปกติน่าจะเทียบพันธบัตรรัฐบาล แต่ชาวบ้านแบบเราผมว่าเทียบกับฝากประจำที่แบงค์ก็พอได้ ประมาณ 3.5% คิดแบบนี้ได้ก็ลองหาหุ้นที่ปันผลชัวร์ๆ เกิน 3.5% มากๆ ซักหน่อย (จะให้ดีก็เกิน 6%) หากหุ้นราคาลงถือเป็นโอกาสดี ได้ผลตอบแทนเพิ่มอีกต่างหาก (แต่ก็ต้องมีเงินซักหน่อย)
อ.Finance สอนว่า "Money will flow to the good idea" ครับ (เงินย่อมไหลไปสู่จุดที่มีผลตอบแทนสูงสุด หรือ คิดว่า "ปลอดภัย" ที่สุดเสมอ)
ปล. เงินไม่น่าจะคิดเองได้ นักลงทุนต่างหากที่คิด ส่วนนักเก็งกำไร อาจไม่ได้คิดเรื่องพวกนี้เลย...
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 4
อยาก Promote อ.Finance ผมซักหน่อย ชอบมากเลยครับTLSS เขียน:เห็นด้วยครับ คุณ kongkiti .. ขอบคุณมากครับ
https://www.coursera.org/course/introfinance
(ไม่รู้ว่าหมดเขตแล้วยังกดเข้าไปฟังได้รึเปล่าอ่ะนะครับ คิดว่าน่าจะได้)
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 5
ถ้าลงทุนระยะยาว หมายถึง ถือยาวๆ เป็น 5 ปี 10 ปี ก็คงต้องประเมินมูลค่าหุ้นนะครับ
เวลาเราตั้งใจลงทุนระยะยาวแล้ว เรื่องตลาด เรื่องคนอื่นซื้อ คนอื่นขายนี่ไม่ต้องสนใจเลยครับ ช่างคนอื่นไปได้เลย สนใจอย่างเดียวว่ากิจการทำได้ดีอย่างที่เรามองเอาไว้รึเปล่า ถ้าทำได้ดีหรือดีกว่า อัตราผลตอบแทนที่เราได้ ก็คือ ดีหรือดีกว่าที่เราประเมินมูลค่าหุ้นนั่นแหละ
แล้วถ้าตั้งใจลงทุนระยะยาว ไม่ต้องไปใช้ relative model จะดีกว่าครับ ใช้พวก discount model ที่เราเห็นอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะดีกว่า เพราะ อันนั้นคือของจริงที่นักลงทุนระยะยาวได้ แต่เวลาทำต้อง conservative มากๆ หน่อยนะครับ ถ้าเป็นไปได้หากธุรกิจที่มี dca แล้วใช้ model ง่ายๆ แบบที่ buffet ใช้จะดีกว่า
ส่วนจะใช้ปัจจัยเชิงคุณภาพอย่างเดียวในการซื้อหุ้น ผมว่าไม่ work ครับ ถ้าหุ้นที่ปัจจัยเชิงคุณภาพดีเทพ แต่ P/E ร้อยเท่า อัตราผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวนจาก discount model ถ้าต่ำกว่าเงินฝาก อย่างนี้เอาเงินไปฝากธนาคารไม่ดีกว่าเหรอครับ?
เวลาเราตั้งใจลงทุนระยะยาวแล้ว เรื่องตลาด เรื่องคนอื่นซื้อ คนอื่นขายนี่ไม่ต้องสนใจเลยครับ ช่างคนอื่นไปได้เลย สนใจอย่างเดียวว่ากิจการทำได้ดีอย่างที่เรามองเอาไว้รึเปล่า ถ้าทำได้ดีหรือดีกว่า อัตราผลตอบแทนที่เราได้ ก็คือ ดีหรือดีกว่าที่เราประเมินมูลค่าหุ้นนั่นแหละ
แล้วถ้าตั้งใจลงทุนระยะยาว ไม่ต้องไปใช้ relative model จะดีกว่าครับ ใช้พวก discount model ที่เราเห็นอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะดีกว่า เพราะ อันนั้นคือของจริงที่นักลงทุนระยะยาวได้ แต่เวลาทำต้อง conservative มากๆ หน่อยนะครับ ถ้าเป็นไปได้หากธุรกิจที่มี dca แล้วใช้ model ง่ายๆ แบบที่ buffet ใช้จะดีกว่า
ส่วนจะใช้ปัจจัยเชิงคุณภาพอย่างเดียวในการซื้อหุ้น ผมว่าไม่ work ครับ ถ้าหุ้นที่ปัจจัยเชิงคุณภาพดีเทพ แต่ P/E ร้อยเท่า อัตราผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวนจาก discount model ถ้าต่ำกว่าเงินฝาก อย่างนี้เอาเงินไปฝากธนาคารไม่ดีกว่าเหรอครับ?
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 100
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 6
ถ้าไม่ประเมินจะรู้ได้ไงคะ ว่าหุ้นตัวนั้นน่าลงทุนรึเปล่า ราคามี mos อยู่เท่าไหร่
เราว่าควรประเมินเป็น range ไว้คร่าวๆ แล้วพอมีข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้นค่อยมา adjust ให้ละเอียดมากขึ้นได้ค่ะ
เราว่าควรประเมินเป็น range ไว้คร่าวๆ แล้วพอมีข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้นค่อยมา adjust ให้ละเอียดมากขึ้นได้ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 8
ตอบ คุณ stevejob
จริงๆ ผมเห็นด้วยครับ ว่า ต้องประเมินมูลค่าหุ้น แล้วซื้อหุ้นตอนนี้มี mos สูงๆ แล้วก็เห็นด้วยที่ให้ประเมินเป็น range คร่าวๆ
แต่พอดีอีกมุม ก็คิดว่า
ถ้าเรามั่นใจว่า บริษัทที่เราถือหุ้นเติบโตต่อเนื่องแน่ๆ ในระยะเวลาที่ยาวนาน 10-20 ปี ราคาหุ้นย่อมสูงกว่าราคา ณ ปัจจุบันแน่นอน แต่เราไม่รู้หรอกว่า ราคาที่ 10-20 ปี มันจะขึ้นไปเท่าไหร่
แ่ต่ผมก็ยังไม่ซื้อ ณ ราคาปัจจุบันนะครับ จะซื้อเมื่อเกิด panic นั่นหมายความว่า ซื้อหุ้นที่มี mos เมื่อเทียบกับราคาตลาดในปัจจุบัน (ขณะเดียวกัน อนาคตราคาหุ้นก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
สรุป คือ ซื้อเมื่อมี mos เมื่อเทียบกับ ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ซึ่งเป็นมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ให้ราคาไว้ (ราคาในอนาคตยังคงเติบโตไปอีก)
ในขณะที่วิธีที่ถูกต้อง คือ ซื้อเมื่อมี mos เมื่อเทียบกับ ราคาหุ้นที่ประเมินมูลค่าแล้ว
ก็เลยลองตั้งคำถามที่คาใจอยู่อ่ะครับ
ขอบคุณสำหรับ comment ครับ
จริงๆ ผมเห็นด้วยครับ ว่า ต้องประเมินมูลค่าหุ้น แล้วซื้อหุ้นตอนนี้มี mos สูงๆ แล้วก็เห็นด้วยที่ให้ประเมินเป็น range คร่าวๆ
แต่พอดีอีกมุม ก็คิดว่า
ถ้าเรามั่นใจว่า บริษัทที่เราถือหุ้นเติบโตต่อเนื่องแน่ๆ ในระยะเวลาที่ยาวนาน 10-20 ปี ราคาหุ้นย่อมสูงกว่าราคา ณ ปัจจุบันแน่นอน แต่เราไม่รู้หรอกว่า ราคาที่ 10-20 ปี มันจะขึ้นไปเท่าไหร่
แ่ต่ผมก็ยังไม่ซื้อ ณ ราคาปัจจุบันนะครับ จะซื้อเมื่อเกิด panic นั่นหมายความว่า ซื้อหุ้นที่มี mos เมื่อเทียบกับราคาตลาดในปัจจุบัน (ขณะเดียวกัน อนาคตราคาหุ้นก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
สรุป คือ ซื้อเมื่อมี mos เมื่อเทียบกับ ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ซึ่งเป็นมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ให้ราคาไว้ (ราคาในอนาคตยังคงเติบโตไปอีก)
ในขณะที่วิธีที่ถูกต้อง คือ ซื้อเมื่อมี mos เมื่อเทียบกับ ราคาหุ้นที่ประเมินมูลค่าแล้ว
ก็เลยลองตั้งคำถามที่คาใจอยู่อ่ะครับ
ขอบคุณสำหรับ comment ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1161
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 9
ต้องประเมินมูลค่าหุ้นครับ
และอีกอย่างที่สำคัญกว่าก็คือ ต้องตรวจดูการประเมินของเราอยู่เรื่อยๆครับว่ายังประเมินได้มูลค่าหุ้นที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ตลาดหุ้นมัน Dynamic ครับ
และอีกอย่างที่สำคัญกว่าก็คือ ต้องตรวจดูการประเมินของเราอยู่เรื่อยๆครับว่ายังประเมินได้มูลค่าหุ้นที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ตลาดหุ้นมัน Dynamic ครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 11
หากคุณมีวินัยสูงมากๆ อาจลงทุนในหุ้น bluechip ซัก 5 ตัว โดยใช้วิธี dollar cost average ซื้อทุกๆเดือน เป็นระยะเวลาที่นานๆมาก
หน่อย (7-10 ปี) ก็สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระดับหนึ่ง อย่างนี้ไม่จำเป็นต้องประเมินมูลค่าหุ้นก็ได้ครับ
แต่หากจะเลือกหุ้นเอง ก็อยู่ที่ศิลปะในการประเมินมูลค่าหุ้นของแต่ละคนแล้วครับ ว่าถนัดดูแบบไหนอย่าง
อ.แกรแฮม เน้นแกะดูจากงบการเงินอย่างเดียว ขอให้ซื้อให้ได้ถูก ดีไม่ดีไม่สน ดังนั้นจึงเน้นซื้อหุ้นหลายตัว ขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นมาระดับหนึ่ง และมีกฏว่าจะถือหุ้นแต่ละตัวไม่เกิน 3 ปี
ส่วน อ.ฟิชเชอร์ เน้นหุ้นเติบโต ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ทางคุณภาพของบริษัทเป็นหลัก และกล้าซื้อในราคาที่ fair value ไม่จำเป็นต้องถูก และถือไว้จนกว่าบริษัทจะหมดศักยภาพในการเติบโต ทำให้เลือกที่จะถือหุ้นน้อยตัว
ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองท่านคือ ไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นแพง ดังนั้นหากจะบอกได้ว่าหุ้นแพงไม่แพง ก็ต้องประเมินมูลค่าให้ได้คราวๆก่อนอยู่ดีนะครับ
หน่อย (7-10 ปี) ก็สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระดับหนึ่ง อย่างนี้ไม่จำเป็นต้องประเมินมูลค่าหุ้นก็ได้ครับ
แต่หากจะเลือกหุ้นเอง ก็อยู่ที่ศิลปะในการประเมินมูลค่าหุ้นของแต่ละคนแล้วครับ ว่าถนัดดูแบบไหนอย่าง
อ.แกรแฮม เน้นแกะดูจากงบการเงินอย่างเดียว ขอให้ซื้อให้ได้ถูก ดีไม่ดีไม่สน ดังนั้นจึงเน้นซื้อหุ้นหลายตัว ขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นมาระดับหนึ่ง และมีกฏว่าจะถือหุ้นแต่ละตัวไม่เกิน 3 ปี
ส่วน อ.ฟิชเชอร์ เน้นหุ้นเติบโต ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ทางคุณภาพของบริษัทเป็นหลัก และกล้าซื้อในราคาที่ fair value ไม่จำเป็นต้องถูก และถือไว้จนกว่าบริษัทจะหมดศักยภาพในการเติบโต ทำให้เลือกที่จะถือหุ้นน้อยตัว
ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองท่านคือ ไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นแพง ดังนั้นหากจะบอกได้ว่าหุ้นแพงไม่แพง ก็ต้องประเมินมูลค่าให้ได้คราวๆก่อนอยู่ดีนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 12
การประเมินมูลค่าหุ้นยากมั๊ย ?
ส่วนตัวคิดว่าจะทำให้ยาก ก็ยากได้ จะทำให้ง่ายก็ง่ายได้ครับ
มันเป็นศิลปะ มันไม่ใช่กฏเกณฑ์อะไรตายตัว
และที่สำคัญ mos ช่วยให้กิจการที่เราประเมิน
ไม่ต้องเป๊ะก็ได้
ซึ่งกระบวนการหามูลค่าจะทำไม่ได้เลย
ถ้าเราไม่เข้าใจกิจการว่าผลิตเงินสดปัจจุบัน
และจะผลิตเงินสดต่อไปในอนาคตได้อย่างไรนะครับคิดว่า
ราคาเหมาะสม คือ ราคาตลาด และเป็นค่าเฉลี่ย ด้วย ?
อันนี้ทั้งไม่เชื่อครับ ราคาเหมาะสมก็ของใครของมัน
ราคาตลาดก็เป็นของคนซื้อคนขาย
สำหรับราคาเฉลี่ย ยิ่งไม่ใช่เลยครับ มันคนละเรื่องเลย
จังหวะซื้อ คือ ช่วง panic ?
อันนี้คิดว่าไม่จำเป็น ซื้อได้ทุกวัน
ถ้าตราบใดคิดว่าหุ้นให้ผลตอบแทนดี
และมีตัวเลือกที่มี mos
ก็ซื้อได้ทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ แต่ยกเว้นเสาร์อาทิตย์
จังหวะขาย ?
ได้แก่ ตอนที่เจอหุ้นตัวใหม่น่าสนใจกว่า,
รู้ตัวว่าวิเคราะห์ผิด ประเมินผิด,
ประเมินกิจการบ่อยๆ ถ้าแนวโน้มแย่ลง
ก็อาจจะพิจารณาขายหุ้นออกไป และ
ช่วงที่ต้องการใช้เงินครับ ร้อนเงิน ก็ต้องขายหุ้นออกไปเช่นกัน
ส่วนตัวคิดว่าจะทำให้ยาก ก็ยากได้ จะทำให้ง่ายก็ง่ายได้ครับ
มันเป็นศิลปะ มันไม่ใช่กฏเกณฑ์อะไรตายตัว
และที่สำคัญ mos ช่วยให้กิจการที่เราประเมิน
ไม่ต้องเป๊ะก็ได้
ซึ่งกระบวนการหามูลค่าจะทำไม่ได้เลย
ถ้าเราไม่เข้าใจกิจการว่าผลิตเงินสดปัจจุบัน
และจะผลิตเงินสดต่อไปในอนาคตได้อย่างไรนะครับคิดว่า
ราคาเหมาะสม คือ ราคาตลาด และเป็นค่าเฉลี่ย ด้วย ?
อันนี้ทั้งไม่เชื่อครับ ราคาเหมาะสมก็ของใครของมัน
ราคาตลาดก็เป็นของคนซื้อคนขาย
สำหรับราคาเฉลี่ย ยิ่งไม่ใช่เลยครับ มันคนละเรื่องเลย
จังหวะซื้อ คือ ช่วง panic ?
อันนี้คิดว่าไม่จำเป็น ซื้อได้ทุกวัน
ถ้าตราบใดคิดว่าหุ้นให้ผลตอบแทนดี
และมีตัวเลือกที่มี mos
ก็ซื้อได้ทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ แต่ยกเว้นเสาร์อาทิตย์
จังหวะขาย ?
ได้แก่ ตอนที่เจอหุ้นตัวใหม่น่าสนใจกว่า,
รู้ตัวว่าวิเคราะห์ผิด ประเมินผิด,
ประเมินกิจการบ่อยๆ ถ้าแนวโน้มแย่ลง
ก็อาจจะพิจารณาขายหุ้นออกไป และ
ช่วงที่ต้องการใช้เงินครับ ร้อนเงิน ก็ต้องขายหุ้นออกไปเช่นกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณคุณ Saran ครับ
ชอบประโยคนี้ครับ "สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองท่านคือ ไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นแพง ดังนั้นหากจะบอกได้ว่าหุ้นแพงไม่แพง ก็ต้องประเมินมูลค่าให้ได้คราวๆก่อนอยู่ดีนะครับ"
ชอบประโยคนี้ครับ "สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองท่านคือ ไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นแพง ดังนั้นหากจะบอกได้ว่าหุ้นแพงไม่แพง ก็ต้องประเมินมูลค่าให้ได้คราวๆก่อนอยู่ดีนะครับ"
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณคุณ ส.สลึงครับ เห็นด้วยในประเด็นการประเมินมูลค่าหุ้นเป็นศิลปะ จังหวะซื้อ-ขาย ครับ
ส่วนประเด็น ราคาที่เหมาะสม = ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน (ในสภาวะปกติ) = ค่าเฉลี่ยของทุกคน
ประเด็นนี้ส่วนตัวเห็นด้วยส่วนนึง เดี๋ยวจะลองนำบทความที่พูดถึงประเด็น ราคาที่เหมาะสม มาลองคุยกันดูครับ
ส่วนประเด็น ราคาที่เหมาะสม = ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน (ในสภาวะปกติ) = ค่าเฉลี่ยของทุกคน
ประเด็นนี้ส่วนตัวเห็นด้วยส่วนนึง เดี๋ยวจะลองนำบทความที่พูดถึงประเด็น ราคาที่เหมาะสม มาลองคุยกันดูครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 15
ราคาหุ้นที่เหมาะสม
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 7 เมษายน 2011
เวลาที่เราพิจารณาหรือวิเคราะห์ว่าราคาของหุ้นตัวหนึ่งเหมาะสมหรือไม่? มันแพงเกินไปหรือถูกเกินไป เราทำอย่างไร? เรารู้ได้อย่างไร? Value Investor โดยเฉพาะที่ “เชี่ยวชาญ” เกี่ยวกับตัวเลขและการคำนวณ รวมถึงการวิเคราะห์อนาคตของกิจการ ก็จะบอกว่าเรา “รู้” เพราะว่าเราสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงหรือ Intrinsic Value ของกิจการได้ มูลค่าที่แท้จริงนั้น มีวิธีการหาได้หลายแบบ ตัวที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้ค่า PE ของหุ้น อาจจะเป็นค่า PE ในอดีตย้อนหลังไปหนึ่งปี หรืออาจจะเป็นค่า PE ที่มองไปในอนาคตหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า E หรือกำไรต่อหุ้นของปีที่ผ่านมาของบริษัทเท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น และบริษัทเป็นกิจการที่ “โตเร็ว” คาดว่ากำไรจะโตถึงปีละ 20% ต่อปีและจะโตไปอีกหลายปี หุ้นแบบนี้น่าจะสามารถมีค่า PE สูงถึงประมาณ 20 เท่า ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมควรที่จะเท่ากับ 1 คูณด้วย 20 หรือ 20 บาทต่อหุ้น หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาท เราก็บอกว่านี่คือหุ้นที่มีราคา “ถูก” ควรที่เราจะซื้อไว้ ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทต่อหุ้น เราก็บอกว่าราคา “ยุติธรรม” และถ้าราคาหุ้นในขณะนั้นเท่ากับ 30 บาท เราก็บอกว่าหุ้นมีราคา “แพง” กว่าพื้นฐาน
ในหุ้นตัวเดียวกันนั้นเอง แต่วิเคราะห์โดย VI อีกคนหนึ่งอาจจะมองว่า บริษัทอาจจะโตขึ้น 20% ก็จริง แต่เป็นการโตแค่ปีเดียวเนื่องจากเป็นเรื่องของภาวะอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวยไม่ได้เป็นการเติบโตที่ยั่งยืน หลังจากนั้นแล้วการเติบโตก็เป็นปกติประมาณปีละ 10% ดังนั้นค่า PE ของหุ้นจึงควรที่จะเป็น 10 เท่า ดังนั้น สำหรับ VI รายนี้ก็จะบอกว่า ถ้าหุ้นราคา 10 บาท ก็เป็นราคาที่ยุติธรรม ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทก็ถือว่าแพงมาก และถ้าราคาเท่ากับ 30 บาทก็ถือว่าแพงสุด ๆ ต้องรีบขายทิ้ง
VI อีกคนหนึ่งอาจมองว่าการใช้ PE ในอดีตสำหรับหุ้นตัวนี้ไม่เหมาะสมเพราะบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงใน “พื้นฐาน” อย่างสำคัญ กำไรที่เห็นยังไม่สะท้อน “พื้นฐานใหม่” ดังนั้นเขาจึงใช้ PE ในอนาคต นั่นก็คือ เขาจะคาดการณ์กำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งเขาคาดว่าจะทำได้ถึง 2 บาทต่อหุ้น และเขาคิดว่าบริษัทจะโตเร็วมากหลังจากนั้นคือโตได้ถึง 20% ต่อปีไปอีกหลายปี ดังนั้น ค่า PE ของหุ้นก็ควรจะเป็น 20 เท่า ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นเท่ากับ 2 คูณด้วย 20 เท่ากับ 40 บาทต่อหุ้น ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นในปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น หุ้นตัวนี้ก็ถูกสุด ๆ เช่นเดียวกันที่ราคา 20 บาทก็ยังถูกมาก มี Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยถึง 50% และแม้ว่าหุ้นจะราคา 30 บาทต่อหุ้น หุ้นก็ยังถูกอยู่ดีมีโอกาสกำไรได้อีก 33%
ถ้าจะถามว่าใครวิเคราะห์หรือ “ทาย” ถูก? คำตอบก็คือ ในวันที่วิเคราะห์และตัดสินใจซื้อขายหุ้นนั้น ไม่มีใครรู้ คำตอบที่แท้จริงคงจะต้องรอเวลาอีกหลายปี และเมื่อถึงวันนั้น สถานการณ์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอีก อย่างไรก็ตาม เราก็คงจะพอมองออกเมื่อถึงวันนั้นว่าบริษัทเป็นอย่างไร มีกำไรเติบโตแบบไหน และใครน่าจะเป็นคนที่ “ทาย” ถูก และ แน่นอน ราคาหุ้นหลังจากที่ผ่านไปอาจจะ 2-3 ปีหรือ 3-4 ปีจะเป็นเครื่องยืนยันว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง แต่ประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไม่อยากรู้ว่าอีก 3 ปีราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร เขาอยากรู้ว่าราคาหุ้นตอนนี้ถูกหรือแพงและมันจะวิ่งขึ้นหรือลงไปหา “มูลค่าที่แท้จริง” และมูลค่าที่แท้จริงคือเท่าไร?
และนี่จึงนำมาสู่ทฤษฎีว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้องที่สุด? VI คนที่หนึ่ง VI คนที่สองหรือคนที่สาม? หรือนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไปที่เน้นเก็งกำไรเป็นหลักที่บังเอิญเข้ามาเล่นหุ้นตัวเดียวกัน? คำตอบจากการศึกษาโดยการทดลองภายใต้สมมุติฐานหนึ่งเช่น สมมุติว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นเป็นคนที่มีเหตุผลพอสมควรและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ในระดับปกติ เป็นคนที่ซีเรียสในการตัดสินใจลงทุนเพราะเป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์ของตัวเองเป็นเดิมพัน เป็นต้น คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่ใช่ VI ที่ “อนุรักษ์นิยม” ไม่ใช่ VI ที่ “กล้าหาญชาญชัย” ไม่ใช่ VI “ระดับเทพ” และก็ไม่ใช่ “นักเก็งกำไรตัวยง” หรือ “นักเก็งกำไรสมัครเล่น” แต่เป็น “ค่าเฉลี่ย” ของนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นทุกคน และค่าเฉลี่ยที่ว่านี้ก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” เพราะราคาหุ้นในตลาดนั้น เป็นตัวสะท้อน “ความเห็น” ของทุกคน และโดยนัยนี้ มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของหุ้นก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” ดังนั้น หุ้นในตลาดจึงไม่มีคำว่าถูกหรือแพงกว่าพื้นฐาน หุ้นในตลาดนั้น ตามทฤษฎีและภายใต้การทดลองที่มีข้อสมมุติฐานที่มีเหตุผลนั้น มีราคาที่ยุติธรรมเหมาะสมตามพื้นฐานของมัน ไม่มี “เซียน” คนไหนคำนวณมูลค่าหุ้นได้แม่นยำเท่า “ตลาด” และนี่ก็คือ ทฤษฎีที่เรียกว่า “ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ” ซึ่ง “ทรงพลัง” มาก
ทำไม “ค่าเฉลี่ย” จึงแม่นหรือเก่งกว่า “เซียน” ในการคาดการณ์มูลค่าหุ้นหรืออีกหลาย ๆ เรื่อง คำตอบคงยาวมาก แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า ค่าเฉลี่ยนั้นเกิดจากการนำข้อมูล ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และอื่น ๆ ของแต่ละคนมารวมกัน เปรียบคล้าย ๆ กับการต่อพ่วงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันแล้วช่วยกันทำงาน ผลที่ออกมาจึงเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ตัวเดียวที่แม้จะเก่งและมีพลังมาก แต่ก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นี่ฟังดูหลายคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อว่าคนหลายคนที่ไม่ได้มานั่ง “สุมหัว” กัน แต่ต่างคนต่างทำจะสามารถนำข้อมูลมารวมกันได้ แต่นี่เป็นเรื่องจริง มีการทดลองแล้วพบว่ามันจริง ผมจำไม่ได้ชัดว่าเป็นเรื่องอะไร แต่จะเป็นแนวต่อไปนี้
สมมุติว่าเราต้องการทำนาย น้ำหนักตัวของคน ๆ หนึ่ง วิธีการก็คือ เราหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหนัก อาจจะเป็นหมอหรือช่างตัดเสื้อก็ได้มาทำนายคนหนึ่ง นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เราก็ยังมีคนที่จะมาทำนายอีกเป็นหลายสิบคน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวมากบ้างน้อยบ้าง และทำงานอาชีพที่หลากหลายแต่ไม่มีใครเชี่ยวชาญในการคิดประมาณการน้ำหนักตัว พวกเขาแต่ละคนก็จะมีความคิดหรือความรู้บางอย่างเช่นเขาอาจจะรู้ว่าน้ำหนักของตัวเองเป็นเท่าไรและถ้านำมาเปรียบเทียบกับคนที่เขาเห็น น้ำหนักตัวของคนที่เขาเห็นจะเป็นเท่าไรอย่างนี้เป็นต้น ประเด็นสำคัญก็คือ เขาจะต้องตั้งใจที่จะทายให้ถูกจริง ๆ เพราะการทายถูกหรือใกล้เคียงจะมีรางวัลตอบแทนให้ ผลของการประมาณการน้ำหนักตัวที่กล่าวนี้ ปรากฏว่า คนที่ทายได้ใกล้เคียงที่สุดนั้น ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือเซียนเรื่องน้ำหนักตัวครับ แต่เป็นอย่างที่พูดแล้ว นั่นคือ น้ำหนักตัวของคนที่ถูกทายใกล้เคียงกับ “ค่าเฉลี่ย” ของการทายหรือประมาณการของทุกคน เซอร์ไพร้ส์ไหมครับ
ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับทฤษฎีตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพนะครับ เพราะถ้าผมเชื่อก็คงไม่มาเป็น VI เลือกหุ้นลงทุนอยู่ทุกวันนี้ ว่าที่จริง ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เชื่อว่าพฤติกรรมของคนนั้นไม่ใช่ว่าจะมีเหตุผลเสมอไป ดังนั้น ราคาหุ้นในตลาดก็อาจจะเพี้ยนไปจากมูลค่าที่แท้จริงได้ และผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไปครับ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 7 เมษายน 2011
เวลาที่เราพิจารณาหรือวิเคราะห์ว่าราคาของหุ้นตัวหนึ่งเหมาะสมหรือไม่? มันแพงเกินไปหรือถูกเกินไป เราทำอย่างไร? เรารู้ได้อย่างไร? Value Investor โดยเฉพาะที่ “เชี่ยวชาญ” เกี่ยวกับตัวเลขและการคำนวณ รวมถึงการวิเคราะห์อนาคตของกิจการ ก็จะบอกว่าเรา “รู้” เพราะว่าเราสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงหรือ Intrinsic Value ของกิจการได้ มูลค่าที่แท้จริงนั้น มีวิธีการหาได้หลายแบบ ตัวที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้ค่า PE ของหุ้น อาจจะเป็นค่า PE ในอดีตย้อนหลังไปหนึ่งปี หรืออาจจะเป็นค่า PE ที่มองไปในอนาคตหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า E หรือกำไรต่อหุ้นของปีที่ผ่านมาของบริษัทเท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น และบริษัทเป็นกิจการที่ “โตเร็ว” คาดว่ากำไรจะโตถึงปีละ 20% ต่อปีและจะโตไปอีกหลายปี หุ้นแบบนี้น่าจะสามารถมีค่า PE สูงถึงประมาณ 20 เท่า ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมควรที่จะเท่ากับ 1 คูณด้วย 20 หรือ 20 บาทต่อหุ้น หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาท เราก็บอกว่านี่คือหุ้นที่มีราคา “ถูก” ควรที่เราจะซื้อไว้ ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทต่อหุ้น เราก็บอกว่าราคา “ยุติธรรม” และถ้าราคาหุ้นในขณะนั้นเท่ากับ 30 บาท เราก็บอกว่าหุ้นมีราคา “แพง” กว่าพื้นฐาน
ในหุ้นตัวเดียวกันนั้นเอง แต่วิเคราะห์โดย VI อีกคนหนึ่งอาจจะมองว่า บริษัทอาจจะโตขึ้น 20% ก็จริง แต่เป็นการโตแค่ปีเดียวเนื่องจากเป็นเรื่องของภาวะอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวยไม่ได้เป็นการเติบโตที่ยั่งยืน หลังจากนั้นแล้วการเติบโตก็เป็นปกติประมาณปีละ 10% ดังนั้นค่า PE ของหุ้นจึงควรที่จะเป็น 10 เท่า ดังนั้น สำหรับ VI รายนี้ก็จะบอกว่า ถ้าหุ้นราคา 10 บาท ก็เป็นราคาที่ยุติธรรม ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทก็ถือว่าแพงมาก และถ้าราคาเท่ากับ 30 บาทก็ถือว่าแพงสุด ๆ ต้องรีบขายทิ้ง
VI อีกคนหนึ่งอาจมองว่าการใช้ PE ในอดีตสำหรับหุ้นตัวนี้ไม่เหมาะสมเพราะบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงใน “พื้นฐาน” อย่างสำคัญ กำไรที่เห็นยังไม่สะท้อน “พื้นฐานใหม่” ดังนั้นเขาจึงใช้ PE ในอนาคต นั่นก็คือ เขาจะคาดการณ์กำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งเขาคาดว่าจะทำได้ถึง 2 บาทต่อหุ้น และเขาคิดว่าบริษัทจะโตเร็วมากหลังจากนั้นคือโตได้ถึง 20% ต่อปีไปอีกหลายปี ดังนั้น ค่า PE ของหุ้นก็ควรจะเป็น 20 เท่า ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นเท่ากับ 2 คูณด้วย 20 เท่ากับ 40 บาทต่อหุ้น ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นในปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น หุ้นตัวนี้ก็ถูกสุด ๆ เช่นเดียวกันที่ราคา 20 บาทก็ยังถูกมาก มี Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยถึง 50% และแม้ว่าหุ้นจะราคา 30 บาทต่อหุ้น หุ้นก็ยังถูกอยู่ดีมีโอกาสกำไรได้อีก 33%
ถ้าจะถามว่าใครวิเคราะห์หรือ “ทาย” ถูก? คำตอบก็คือ ในวันที่วิเคราะห์และตัดสินใจซื้อขายหุ้นนั้น ไม่มีใครรู้ คำตอบที่แท้จริงคงจะต้องรอเวลาอีกหลายปี และเมื่อถึงวันนั้น สถานการณ์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอีก อย่างไรก็ตาม เราก็คงจะพอมองออกเมื่อถึงวันนั้นว่าบริษัทเป็นอย่างไร มีกำไรเติบโตแบบไหน และใครน่าจะเป็นคนที่ “ทาย” ถูก และ แน่นอน ราคาหุ้นหลังจากที่ผ่านไปอาจจะ 2-3 ปีหรือ 3-4 ปีจะเป็นเครื่องยืนยันว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง แต่ประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไม่อยากรู้ว่าอีก 3 ปีราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร เขาอยากรู้ว่าราคาหุ้นตอนนี้ถูกหรือแพงและมันจะวิ่งขึ้นหรือลงไปหา “มูลค่าที่แท้จริง” และมูลค่าที่แท้จริงคือเท่าไร?
และนี่จึงนำมาสู่ทฤษฎีว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้องที่สุด? VI คนที่หนึ่ง VI คนที่สองหรือคนที่สาม? หรือนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไปที่เน้นเก็งกำไรเป็นหลักที่บังเอิญเข้ามาเล่นหุ้นตัวเดียวกัน? คำตอบจากการศึกษาโดยการทดลองภายใต้สมมุติฐานหนึ่งเช่น สมมุติว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นเป็นคนที่มีเหตุผลพอสมควรและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ในระดับปกติ เป็นคนที่ซีเรียสในการตัดสินใจลงทุนเพราะเป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์ของตัวเองเป็นเดิมพัน เป็นต้น คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่ใช่ VI ที่ “อนุรักษ์นิยม” ไม่ใช่ VI ที่ “กล้าหาญชาญชัย” ไม่ใช่ VI “ระดับเทพ” และก็ไม่ใช่ “นักเก็งกำไรตัวยง” หรือ “นักเก็งกำไรสมัครเล่น” แต่เป็น “ค่าเฉลี่ย” ของนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นทุกคน และค่าเฉลี่ยที่ว่านี้ก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” เพราะราคาหุ้นในตลาดนั้น เป็นตัวสะท้อน “ความเห็น” ของทุกคน และโดยนัยนี้ มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของหุ้นก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” ดังนั้น หุ้นในตลาดจึงไม่มีคำว่าถูกหรือแพงกว่าพื้นฐาน หุ้นในตลาดนั้น ตามทฤษฎีและภายใต้การทดลองที่มีข้อสมมุติฐานที่มีเหตุผลนั้น มีราคาที่ยุติธรรมเหมาะสมตามพื้นฐานของมัน ไม่มี “เซียน” คนไหนคำนวณมูลค่าหุ้นได้แม่นยำเท่า “ตลาด” และนี่ก็คือ ทฤษฎีที่เรียกว่า “ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ” ซึ่ง “ทรงพลัง” มาก
ทำไม “ค่าเฉลี่ย” จึงแม่นหรือเก่งกว่า “เซียน” ในการคาดการณ์มูลค่าหุ้นหรืออีกหลาย ๆ เรื่อง คำตอบคงยาวมาก แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า ค่าเฉลี่ยนั้นเกิดจากการนำข้อมูล ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และอื่น ๆ ของแต่ละคนมารวมกัน เปรียบคล้าย ๆ กับการต่อพ่วงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันแล้วช่วยกันทำงาน ผลที่ออกมาจึงเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ตัวเดียวที่แม้จะเก่งและมีพลังมาก แต่ก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นี่ฟังดูหลายคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อว่าคนหลายคนที่ไม่ได้มานั่ง “สุมหัว” กัน แต่ต่างคนต่างทำจะสามารถนำข้อมูลมารวมกันได้ แต่นี่เป็นเรื่องจริง มีการทดลองแล้วพบว่ามันจริง ผมจำไม่ได้ชัดว่าเป็นเรื่องอะไร แต่จะเป็นแนวต่อไปนี้
สมมุติว่าเราต้องการทำนาย น้ำหนักตัวของคน ๆ หนึ่ง วิธีการก็คือ เราหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหนัก อาจจะเป็นหมอหรือช่างตัดเสื้อก็ได้มาทำนายคนหนึ่ง นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เราก็ยังมีคนที่จะมาทำนายอีกเป็นหลายสิบคน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวมากบ้างน้อยบ้าง และทำงานอาชีพที่หลากหลายแต่ไม่มีใครเชี่ยวชาญในการคิดประมาณการน้ำหนักตัว พวกเขาแต่ละคนก็จะมีความคิดหรือความรู้บางอย่างเช่นเขาอาจจะรู้ว่าน้ำหนักของตัวเองเป็นเท่าไรและถ้านำมาเปรียบเทียบกับคนที่เขาเห็น น้ำหนักตัวของคนที่เขาเห็นจะเป็นเท่าไรอย่างนี้เป็นต้น ประเด็นสำคัญก็คือ เขาจะต้องตั้งใจที่จะทายให้ถูกจริง ๆ เพราะการทายถูกหรือใกล้เคียงจะมีรางวัลตอบแทนให้ ผลของการประมาณการน้ำหนักตัวที่กล่าวนี้ ปรากฏว่า คนที่ทายได้ใกล้เคียงที่สุดนั้น ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือเซียนเรื่องน้ำหนักตัวครับ แต่เป็นอย่างที่พูดแล้ว นั่นคือ น้ำหนักตัวของคนที่ถูกทายใกล้เคียงกับ “ค่าเฉลี่ย” ของการทายหรือประมาณการของทุกคน เซอร์ไพร้ส์ไหมครับ
ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับทฤษฎีตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพนะครับ เพราะถ้าผมเชื่อก็คงไม่มาเป็น VI เลือกหุ้นลงทุนอยู่ทุกวันนี้ ว่าที่จริง ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เชื่อว่าพฤติกรรมของคนนั้นไม่ใช่ว่าจะมีเหตุผลเสมอไป ดังนั้น ราคาหุ้นในตลาดก็อาจจะเพี้ยนไปจากมูลค่าที่แท้จริงได้ และผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไปครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 16
ราคาหุ้นที่ไม่เหมาะสม
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 12 เมษายน 2011
โดยทั่วไปแล้วผมคิดว่า หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นั้น มีราคาหุ้นที่เหมาะสม นั่นก็คือ มูลค่าพื้นฐานของหุ้นเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดขณะนั้น-โดยเฉลี่ย นั่นแปลว่า การที่จะทำกำไรโดยการซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพื้นฐาน หรือหุ้น "Undervalue" แล้วหวังว่า จะขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปสู่มูลค่าพื้นฐาน และทำกำไรมากกว่าปกติ เป็นเรื่องยาก แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า หุ้นทุกตัวต้องมีราคาเท่ากับมูลค่าพื้นฐานพอดี ว่าที่จริงมีหุ้นน้อยตัวมากที่มีราคาหุ้นเท่ามูลค่าพื้นฐาน อาจจะมีหุ้นถึง 50% ที่มีราคาต่ำกว่าพื้นฐาน แต่ก็มีหุ้นอีก 50% ที่มีราคาสูงกว่าพื้นฐาน เฉลี่ยแล้วราคาหุ้นจึงเท่ากับมูลค่าพื้นฐาน
ประเด็นสำคัญ ก็คือ เราไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนสูงกว่าพื้นฐานหรือหุ้นตัวไหนต่ำกว่าพื้นฐาน ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำกำไร จากการหาหุ้นที่ Undervalue และนี่ก็คือ แนวความคิดของ ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ หรือ Efficient Market แบบง่ายที่สุด
ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ผมใช้คำว่า "โดยทั่วไป" นั่นแปลว่า ในบางสถานการณ์และหรือในหุ้นบางตัว ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเราจะสามารถหาหุ้นที่ Undervalue หรือ Overvalue ได้ โดยที่โอกาสที่เราจะคิดถูกมีมากกว่า 50% และทำให้เราสามารถซื้อขายหุ้นทำกำไรได้งดงามกว่าปกติ และนี่ก็คือ แนวความคิดว่า ตลาดหุ้นนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ คนที่ศึกษาค้นคว้า และใช้หลักการที่ถูกต้องสามารถเข้าไปฉกฉวยประโยชน์จากความไร้ประสิทธิภาพนี้ได้-อย่างต่อเนื่องยาวนาน
ผมใช้คำว่า อย่างต่อเนื่องยาวนาน เพื่อบอกให้รู้ว่า ในบางช่วงบางตอน อาจจะมีคนที่สามารถทำกำไรเกินกว่าปกติได้โดยใช้วิธีการ หรือเทคนิคบางอย่าง แต่ไม่ช้านาน วิธีการนั้นก็ "หมดสมรรถภาพ" และเมื่อเวลาผ่านไปยาวนาน ผลการลงทุนก็กลับมาใกล้เคียงกับที่ควรเป็น คือเฉลี่ยแล้ว ก็ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้น ซึ่งในกรณีอย่างนี้ เราก็ยังถือว่าตลาดหุ้นยังมีประสิทธิภาพ
กลับมาที่เรื่องของหุ้น Under หรือ Overvalue ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
คำตอบในเรื่องนี้ น่าจะเกิดจากเรื่องของจิตวิทยา ซึ่งในระยะหลัง มีการศึกษากันมากเรียกว่าวิชา "การเงินพฤติกรรม" หรือ Behavioral Finance ซึ่งบอกว่าคนเรานั้น ไม่ได้ใช้แต่เหตุผลในการลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว บ่อยครั้งคนเราใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ ความ "กลัว" และความ "โลภ" ความกลัวการขาดทุนมากมาย อาจทำให้คนขายหุ้นแบบไม่มีเหตุผล ทำให้หุ้นมีราคาถูกกว่าพื้นฐานมาก
เช่นเดียวกัน ความโลภอาจทำให้คนซื้อหุ้น โดยไม่ได้คิดถึงพื้นฐานและ "ไล่ราคา" จนทำให้หุ้นมีราคาสูงกว่าพื้นฐานที่แท้จริงไปมาก และนี่ทำให้เกิดโอกาสมหาศาลสำหรับคนที่สามารถ "ใช้เหตุผล" ในการตัดสินใจลงทุนเป็นหลัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เช่นเมื่อ 2-3 ปีก่อนที่เกิดวิกฤติซับไพร์มในอเมริกาที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่มาก ตกลงมาเกือบครึ่งหนึ่ง และเป็นโอกาสของเหล่า "VI" ทั่วโลกสามารถซื้อหุ้นทำกำไรได้อย่างงดงาม เมื่อราคาหุ้นฟื้นตัวกลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
หุ้นที่มีราคาไม่เหมาะสมกับพื้นฐานนั้น ยังน่าจะรวมถึงกรณีที่หุ้นถูก "ละเลย" หรือ "มองข้าม" เพราะหุ้นอาจจะมีขนาดเล็ก และคนไม่ใคร่สนใจ หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่คนหลีกเลี่ยงไม่อยากลงทุน
กรณีแบบนี้มักจะเห็นได้ชัดจากการที่หุ้น "ขาดสภาพคล่อง" มีการซื้อขายต่อวันต่ำมาก กรณีแบบนี้หุ้นน่าจะมีโอกาส Undervalue หรือราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริงมากกว่าที่จะสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง หุ้นบางตัวที่ไม่มีสภาพคล่อง ก็อาจจะมีราคาสูงกว่าพื้นฐานได้ เนื่องจากหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดมีน้อยมาก และราคา ถูก "ไล่" ไปจน "ติดมุม" และค้างอยู่อย่างนั้น
ตรงกันข้าม หุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงมาก เช่น การซื้อขายต่อวันสูงเกินกว่า 1% ของ Market Cap.หรือมูลค่าตลาดของหุ้นโดยเฉลี่ย และหุ้น มี "ราคาแพง" วัดจากค่า PE ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก หุ้นแบบนี้อาจเรียกว่า Glamorous Stock หรือเรียกว่าเป็นหุ้นที่ "ฟู่ฟ่า" มีเสน่ห์เร้าใจให้หลงใหล หุ้นลักษณะนี้มักจะมีราคาสูงกว่าพื้นฐานที่แท้จริง การศึกษาตลอดมามักจะพบว่าหุ้นที่ถูกละเลยนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นที่ฟู่ฟ่ามาก ซึ่งอาจเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า หุ้นที่ "ถูกละเลย" นั้น Undervalue และหุ้นที่ "ร้อนแรง" นั้น Overvalue
ราคาหุ้นที่ไม่เหมาะสม หรือความไร้ประสิทธิภาพของตลาด คนที่อธิบายได้อย่างน่าเชื่อถือมากที่สุดคนหนึ่ง น่าจะเป็น จอร์จ โซรอส เพราะเขาเป็นคนที่ "หากิน" กับความ "ไม่สมดุล" ของหุ้นและตลาดเงินตลาดทุน ว่าที่จริงเขาน่าจะได้รับฉายาว่าเป็น "เทพแห่งการเก็งกำไร" จากความแตกต่างระหว่างราคา และมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงของตราสารการเงินทั้งหลาย สิ่งที่ จอร์จ โซรอส เสนอเอาไว้อยู่ในทฤษฎีที่เขาเรียกว่า Reflexivity ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อ่านเข้าใจยากมาก แต่หลักการสำคัญ ก็คือ เขาบอกว่าทรัพย์สินทั้งหลายในตลาดนั้น มีราคาแตกต่างห่างไกลจากราคาที่ "สมดุล" หรือ ราคาที่เหมาะสมตามพื้นฐานมาก
เหตุผลก็เพราะว่าราคาตลาดของทรัพย์สินนั้น เป็นผลจากกระบวนการย้อนกลับสองด้าน หรือย้อนกลับไปมาของคนที่ "เล่น" หรือเกี่ยวข้องอยู่ในตลาด นั่นคือ คนที่เล่น หรือนักลงทุนกลุ่มแรก อาจจะเข้ามาขับเคลื่อนราคาหุ้น หรือตราสารการเงินโดยอิงกับความคิดความเข้าใจ หรือการวิเคราะห์ที่ผิด ราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไป หรือตกลงมา ด้วยความคิดที่ผิด ก็จะกลับไปกระทบกับความคิดของนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือแม้แต่ตนเอง ทำให้พวกเขาคิดผิดเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น เข้าไปซื้อหุ้นหรือขายหุ้นเพิ่ม เนื่องจากเห็นว่าราคาวิ่งขึ้น หรือตกลงมาอย่างหนัก กระบวนการย้อนกลับไปมานี้ ทำให้หุ้นกลายเป็นฟองสบู่ หรือตกลงมาต่อเนื่อง และกลายเป็นโอกาสของคนที่เข้าไปฉกฉวยประโยชน์จากความไร้เหตุผลนี้
ราคาหุ้นที่ไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่แล้ว ผมคิดว่ามักจะเป็นอยู่ไม่นาน เพราะในที่สุดแล้ว ก็จะต้องวิ่งเข้าไปหาจุดที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อพื้นฐาน หรือผลประกอบการของบริษัท หรือคนที่ออกตราสารการเงินนั้นปรากฏออกมา เพราะเมื่อถึงเวลานั้น ความคลุมเครือเกี่ยวกับมูลค่าพื้นฐานก็จะลดลง
เช่นเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไป ความ "ฟู่ฟ่า" ของหุ้นที่มี ก็มักจะจางไป และความมีเหตุผลของนักลงทุน ก็มักกลับคืนมา และในอีกด้านหนึ่ง หุ้นที่เคย ถูก "ละเลย" เมื่อผลประกอบการออกมาโดดเด่นต่อเนื่องหลายปี ในที่สุดมันก็จะ ถูก "ค้นพบ" ราคาหุ้นก็จะปรับขึ้นมาหาพื้นฐานที่แท้จริง สุดท้ายแล้ว ผมคิดว่า ความคิดของ เบน เกรแฮม ยังถูกต้องเสมอ นั่นคือ ในระยะสั้นแล้ว ตลาดก็เหมือนกับเครื่องโหวต นั่นคือ ราคาหุ้นก็ขึ้นอยู่กับ "ความเห็น" ของนักลงทุนไม่ว่าจะถูกหรือผิด แต่ในระยะยาวแล้ว ตลาดเป็นเหมือนเครื่องชั่ง ที่จะบอกว่า ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก หรือผลประกอบการของบริษัท
ดังนั้น สำหรับ VI ที่แท้จริงแล้ว การเน้นมองหา "น้ำหนัก" หรือพื้นฐานของกิจการในระยะยาว จึงเป็นหนทางที่ปลอดภัยที่สุด ที่จะได้ผลตอบแทนที่น่าประทับใจจากการลงทุน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 12 เมษายน 2011
โดยทั่วไปแล้วผมคิดว่า หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นั้น มีราคาหุ้นที่เหมาะสม นั่นก็คือ มูลค่าพื้นฐานของหุ้นเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดขณะนั้น-โดยเฉลี่ย นั่นแปลว่า การที่จะทำกำไรโดยการซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพื้นฐาน หรือหุ้น "Undervalue" แล้วหวังว่า จะขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปสู่มูลค่าพื้นฐาน และทำกำไรมากกว่าปกติ เป็นเรื่องยาก แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า หุ้นทุกตัวต้องมีราคาเท่ากับมูลค่าพื้นฐานพอดี ว่าที่จริงมีหุ้นน้อยตัวมากที่มีราคาหุ้นเท่ามูลค่าพื้นฐาน อาจจะมีหุ้นถึง 50% ที่มีราคาต่ำกว่าพื้นฐาน แต่ก็มีหุ้นอีก 50% ที่มีราคาสูงกว่าพื้นฐาน เฉลี่ยแล้วราคาหุ้นจึงเท่ากับมูลค่าพื้นฐาน
ประเด็นสำคัญ ก็คือ เราไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนสูงกว่าพื้นฐานหรือหุ้นตัวไหนต่ำกว่าพื้นฐาน ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำกำไร จากการหาหุ้นที่ Undervalue และนี่ก็คือ แนวความคิดของ ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ หรือ Efficient Market แบบง่ายที่สุด
ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ผมใช้คำว่า "โดยทั่วไป" นั่นแปลว่า ในบางสถานการณ์และหรือในหุ้นบางตัว ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเราจะสามารถหาหุ้นที่ Undervalue หรือ Overvalue ได้ โดยที่โอกาสที่เราจะคิดถูกมีมากกว่า 50% และทำให้เราสามารถซื้อขายหุ้นทำกำไรได้งดงามกว่าปกติ และนี่ก็คือ แนวความคิดว่า ตลาดหุ้นนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ คนที่ศึกษาค้นคว้า และใช้หลักการที่ถูกต้องสามารถเข้าไปฉกฉวยประโยชน์จากความไร้ประสิทธิภาพนี้ได้-อย่างต่อเนื่องยาวนาน
ผมใช้คำว่า อย่างต่อเนื่องยาวนาน เพื่อบอกให้รู้ว่า ในบางช่วงบางตอน อาจจะมีคนที่สามารถทำกำไรเกินกว่าปกติได้โดยใช้วิธีการ หรือเทคนิคบางอย่าง แต่ไม่ช้านาน วิธีการนั้นก็ "หมดสมรรถภาพ" และเมื่อเวลาผ่านไปยาวนาน ผลการลงทุนก็กลับมาใกล้เคียงกับที่ควรเป็น คือเฉลี่ยแล้ว ก็ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้น ซึ่งในกรณีอย่างนี้ เราก็ยังถือว่าตลาดหุ้นยังมีประสิทธิภาพ
กลับมาที่เรื่องของหุ้น Under หรือ Overvalue ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
คำตอบในเรื่องนี้ น่าจะเกิดจากเรื่องของจิตวิทยา ซึ่งในระยะหลัง มีการศึกษากันมากเรียกว่าวิชา "การเงินพฤติกรรม" หรือ Behavioral Finance ซึ่งบอกว่าคนเรานั้น ไม่ได้ใช้แต่เหตุผลในการลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว บ่อยครั้งคนเราใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ ความ "กลัว" และความ "โลภ" ความกลัวการขาดทุนมากมาย อาจทำให้คนขายหุ้นแบบไม่มีเหตุผล ทำให้หุ้นมีราคาถูกกว่าพื้นฐานมาก
เช่นเดียวกัน ความโลภอาจทำให้คนซื้อหุ้น โดยไม่ได้คิดถึงพื้นฐานและ "ไล่ราคา" จนทำให้หุ้นมีราคาสูงกว่าพื้นฐานที่แท้จริงไปมาก และนี่ทำให้เกิดโอกาสมหาศาลสำหรับคนที่สามารถ "ใช้เหตุผล" ในการตัดสินใจลงทุนเป็นหลัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เช่นเมื่อ 2-3 ปีก่อนที่เกิดวิกฤติซับไพร์มในอเมริกาที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่มาก ตกลงมาเกือบครึ่งหนึ่ง และเป็นโอกาสของเหล่า "VI" ทั่วโลกสามารถซื้อหุ้นทำกำไรได้อย่างงดงาม เมื่อราคาหุ้นฟื้นตัวกลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
หุ้นที่มีราคาไม่เหมาะสมกับพื้นฐานนั้น ยังน่าจะรวมถึงกรณีที่หุ้นถูก "ละเลย" หรือ "มองข้าม" เพราะหุ้นอาจจะมีขนาดเล็ก และคนไม่ใคร่สนใจ หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่คนหลีกเลี่ยงไม่อยากลงทุน
กรณีแบบนี้มักจะเห็นได้ชัดจากการที่หุ้น "ขาดสภาพคล่อง" มีการซื้อขายต่อวันต่ำมาก กรณีแบบนี้หุ้นน่าจะมีโอกาส Undervalue หรือราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริงมากกว่าที่จะสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง หุ้นบางตัวที่ไม่มีสภาพคล่อง ก็อาจจะมีราคาสูงกว่าพื้นฐานได้ เนื่องจากหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดมีน้อยมาก และราคา ถูก "ไล่" ไปจน "ติดมุม" และค้างอยู่อย่างนั้น
ตรงกันข้าม หุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงมาก เช่น การซื้อขายต่อวันสูงเกินกว่า 1% ของ Market Cap.หรือมูลค่าตลาดของหุ้นโดยเฉลี่ย และหุ้น มี "ราคาแพง" วัดจากค่า PE ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก หุ้นแบบนี้อาจเรียกว่า Glamorous Stock หรือเรียกว่าเป็นหุ้นที่ "ฟู่ฟ่า" มีเสน่ห์เร้าใจให้หลงใหล หุ้นลักษณะนี้มักจะมีราคาสูงกว่าพื้นฐานที่แท้จริง การศึกษาตลอดมามักจะพบว่าหุ้นที่ถูกละเลยนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นที่ฟู่ฟ่ามาก ซึ่งอาจเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า หุ้นที่ "ถูกละเลย" นั้น Undervalue และหุ้นที่ "ร้อนแรง" นั้น Overvalue
ราคาหุ้นที่ไม่เหมาะสม หรือความไร้ประสิทธิภาพของตลาด คนที่อธิบายได้อย่างน่าเชื่อถือมากที่สุดคนหนึ่ง น่าจะเป็น จอร์จ โซรอส เพราะเขาเป็นคนที่ "หากิน" กับความ "ไม่สมดุล" ของหุ้นและตลาดเงินตลาดทุน ว่าที่จริงเขาน่าจะได้รับฉายาว่าเป็น "เทพแห่งการเก็งกำไร" จากความแตกต่างระหว่างราคา และมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงของตราสารการเงินทั้งหลาย สิ่งที่ จอร์จ โซรอส เสนอเอาไว้อยู่ในทฤษฎีที่เขาเรียกว่า Reflexivity ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อ่านเข้าใจยากมาก แต่หลักการสำคัญ ก็คือ เขาบอกว่าทรัพย์สินทั้งหลายในตลาดนั้น มีราคาแตกต่างห่างไกลจากราคาที่ "สมดุล" หรือ ราคาที่เหมาะสมตามพื้นฐานมาก
เหตุผลก็เพราะว่าราคาตลาดของทรัพย์สินนั้น เป็นผลจากกระบวนการย้อนกลับสองด้าน หรือย้อนกลับไปมาของคนที่ "เล่น" หรือเกี่ยวข้องอยู่ในตลาด นั่นคือ คนที่เล่น หรือนักลงทุนกลุ่มแรก อาจจะเข้ามาขับเคลื่อนราคาหุ้น หรือตราสารการเงินโดยอิงกับความคิดความเข้าใจ หรือการวิเคราะห์ที่ผิด ราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไป หรือตกลงมา ด้วยความคิดที่ผิด ก็จะกลับไปกระทบกับความคิดของนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือแม้แต่ตนเอง ทำให้พวกเขาคิดผิดเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น เข้าไปซื้อหุ้นหรือขายหุ้นเพิ่ม เนื่องจากเห็นว่าราคาวิ่งขึ้น หรือตกลงมาอย่างหนัก กระบวนการย้อนกลับไปมานี้ ทำให้หุ้นกลายเป็นฟองสบู่ หรือตกลงมาต่อเนื่อง และกลายเป็นโอกาสของคนที่เข้าไปฉกฉวยประโยชน์จากความไร้เหตุผลนี้
ราคาหุ้นที่ไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่แล้ว ผมคิดว่ามักจะเป็นอยู่ไม่นาน เพราะในที่สุดแล้ว ก็จะต้องวิ่งเข้าไปหาจุดที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อพื้นฐาน หรือผลประกอบการของบริษัท หรือคนที่ออกตราสารการเงินนั้นปรากฏออกมา เพราะเมื่อถึงเวลานั้น ความคลุมเครือเกี่ยวกับมูลค่าพื้นฐานก็จะลดลง
เช่นเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไป ความ "ฟู่ฟ่า" ของหุ้นที่มี ก็มักจะจางไป และความมีเหตุผลของนักลงทุน ก็มักกลับคืนมา และในอีกด้านหนึ่ง หุ้นที่เคย ถูก "ละเลย" เมื่อผลประกอบการออกมาโดดเด่นต่อเนื่องหลายปี ในที่สุดมันก็จะ ถูก "ค้นพบ" ราคาหุ้นก็จะปรับขึ้นมาหาพื้นฐานที่แท้จริง สุดท้ายแล้ว ผมคิดว่า ความคิดของ เบน เกรแฮม ยังถูกต้องเสมอ นั่นคือ ในระยะสั้นแล้ว ตลาดก็เหมือนกับเครื่องโหวต นั่นคือ ราคาหุ้นก็ขึ้นอยู่กับ "ความเห็น" ของนักลงทุนไม่ว่าจะถูกหรือผิด แต่ในระยะยาวแล้ว ตลาดเป็นเหมือนเครื่องชั่ง ที่จะบอกว่า ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก หรือผลประกอบการของบริษัท
ดังนั้น สำหรับ VI ที่แท้จริงแล้ว การเน้นมองหา "น้ำหนัก" หรือพื้นฐานของกิจการในระยะยาว จึงเป็นหนทางที่ปลอดภัยที่สุด ที่จะได้ผลตอบแทนที่น่าประทับใจจากการลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 17
ผมเห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า "ในระยะสั้นแล้ว ตลาดก็เหมือนกับเครื่องโหวต นั่นคือ ราคาหุ้นก็ขึ้นอยู่กับ "ความเห็น" ของนักลงทุนไม่ว่าจะถูกหรือผิด แต่ในระยะยาวแล้ว ตลาดเป็นเหมือนเครื่องชั่ง ที่จะบอกว่า ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก หรือผลประกอบการของบริษัท"
แต่ขอแชร์มุมมองเพิ่มเติมว่า
ในระยะยาว ตลาดเป็นเหมือนเครื่องชั่งซึ่งจะเป็นไปตามผลประกอบการ ... อย่างไรก็ตาม เครื่องชั่งนั้นก็ยังเป็นเครื่องโหวตของความเห็นของนักลงทุนในอนาคต ณ เวลานั้นๆ (ในภาวะปกติที่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่โลภหรือกลัวจนเกินไป)
แต่ขอแชร์มุมมองเพิ่มเติมว่า
ในระยะยาว ตลาดเป็นเหมือนเครื่องชั่งซึ่งจะเป็นไปตามผลประกอบการ ... อย่างไรก็ตาม เครื่องชั่งนั้นก็ยังเป็นเครื่องโหวตของความเห็นของนักลงทุนในอนาคต ณ เวลานั้นๆ (ในภาวะปกติที่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่โลภหรือกลัวจนเกินไป)
-
- Verified User
- โพสต์: 100
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 18
เราคิดว่าสำหรับมือใหม่ ควรทำ valuation ให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้ ทำไว้หลายๆ scenario เช่นถ้าผลประกอบการดีกว่าที่คาดมูลค่าออกมาเป็นยังไง. คิดแบบ conservative เป็นยังไง. ถ้าแย่กว่าที่คาดเป็นยังไง
เป็นการบังคับให้เราหาข้อมูลไปในตัวด้วย. ส่วนหนึ่งเพราะความสามารถในการวิเคราะห์ของเราก็อาจยังไม่เฉียบคมมาก
ส่วนการมอง trend ยาวๆ สำหรับมือเซียนแล้ว เค้าอาจจะไม่ต้องประเมินก็ได้ ประมาณว่าเข้าขั้นสูงสุดคืนสู่สามัญ
และถือยาวข้ามความผันผวนไปเลย. อาจจะใช้ money management มาบริหารพอร์ตแทน
ในการลงทุน นอกจากประเมินตัวหุ้นแล้ว เราว่าที่สำคัญและคนอาจจะลืมไปคือประเมินความสามารถในการลงทุนของเราเองก่อนเป็นอันดับแรก. บางทีที่เราบอกว่าการประเมินมูลค่าทำได้ยาก อาจเป็นเพราะว่าหุ้นตัวนั้นอยู่ในกิจการที่ยากเกินไปสำหรับเราก็ได้ค่ะ
เป็นการบังคับให้เราหาข้อมูลไปในตัวด้วย. ส่วนหนึ่งเพราะความสามารถในการวิเคราะห์ของเราก็อาจยังไม่เฉียบคมมาก
ส่วนการมอง trend ยาวๆ สำหรับมือเซียนแล้ว เค้าอาจจะไม่ต้องประเมินก็ได้ ประมาณว่าเข้าขั้นสูงสุดคืนสู่สามัญ
และถือยาวข้ามความผันผวนไปเลย. อาจจะใช้ money management มาบริหารพอร์ตแทน
ในการลงทุน นอกจากประเมินตัวหุ้นแล้ว เราว่าที่สำคัญและคนอาจจะลืมไปคือประเมินความสามารถในการลงทุนของเราเองก่อนเป็นอันดับแรก. บางทีที่เราบอกว่าการประเมินมูลค่าทำได้ยาก อาจเป็นเพราะว่าหุ้นตัวนั้นอยู่ในกิจการที่ยากเกินไปสำหรับเราก็ได้ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณคุณ stevejob สำหรับข้อคิดดีๆ ครับ
ยิ่งเราใฝ่รู้ ยิ่งขยันเท่าไหร่ ก็เป็นประโยชน์กับตัวเราเอง
ส่วนตัวเห็นด้วยครับว่า การประเมินมูลค่าหุ้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ ... เป็นเหมือนสิ่งที่เราไว้อ้างอิง เพื่อใช้เปรียบเทียบในการหาจังหวะซื้อหรือขาย เมื่อเทียบกับมูลค่าที่เราประเมิน ซึ่งอาจจะผิดหรือถูก หรือใกล้เคียงมูลค่าที่แท้จริง (ยิ่งฝึกบ่อยๆ น่าจะประเมินได้ใกล้เคียงมากขึ้น)
แต่สิ่งสำคัญที่ได้เพิ่มเติมระหว่าง process ที่ประเมิน ...เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกมากมาย จากการประเมินมูลค่าหุ้นตัวนั้น
ยิ่งเราใฝ่รู้ ยิ่งขยันเท่าไหร่ ก็เป็นประโยชน์กับตัวเราเอง
ส่วนตัวเห็นด้วยครับว่า การประเมินมูลค่าหุ้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ ... เป็นเหมือนสิ่งที่เราไว้อ้างอิง เพื่อใช้เปรียบเทียบในการหาจังหวะซื้อหรือขาย เมื่อเทียบกับมูลค่าที่เราประเมิน ซึ่งอาจจะผิดหรือถูก หรือใกล้เคียงมูลค่าที่แท้จริง (ยิ่งฝึกบ่อยๆ น่าจะประเมินได้ใกล้เคียงมากขึ้น)
แต่สิ่งสำคัญที่ได้เพิ่มเติมระหว่าง process ที่ประเมิน ...เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกมากมาย จากการประเมินมูลค่าหุ้นตัวนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 159
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 20
ลงทุนระยะยาว เรามองภาพใหญ่ของอุตสาหกรรม ยังเติบโตไหม และ บริษัทที่เราจะลงทุน ยังสามารถเติบโตตามอุตสาหรกรรมได้หรือไม่ แล้วค่อยมาพิจารณา ความถูกแพงของหุ้น เมื่อเทียบกับอนาคต การประเมินผมใช้ Forward PE แบบที่เราคาดไว้ ไม่สูงเกินไป หรือเป็นค่าเฉลี่ย และประมานการ EPS ในอนาคตเป็นช่วง แล้ว มาคำนวน ราคา ครับ ในอนาคต
Pour your heart into it
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 22
intrinsic value เป็นราคาสูงสุดที่คนจะซื้อครับ เพราะที่ราคาที่ intrinsic value นั้น นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับผลตอบแทนที่คาดหวังพอดี ดังนั้นการที่เราซื้อหุ้นที่ราคาตลาดต่ำกว่า intrinsic value มากๆ ก็จะทำให้
--ถือไว้เฉยๆ เราได้ผลตอบแทนมากกว่าที่คาดหวัง
--ขายต่อก็ได้ราคา
ดังนี้นถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้นให้เป็น คุณอาจได้ซื้อหุ้นดีราคาแพงที่ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยกกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังครับ
ป.ล. ราคาที่คำนวณได้จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อสมมติฐานเป็นจริงครับ
--ถือไว้เฉยๆ เราได้ผลตอบแทนมากกว่าที่คาดหวัง
--ขายต่อก็ได้ราคา
ดังนี้นถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้นให้เป็น คุณอาจได้ซื้อหุ้นดีราคาแพงที่ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยกกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังครับ
ป.ล. ราคาที่คำนวณได้จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อสมมติฐานเป็นจริงครับ
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 100
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 24
เท่าที่เราเคยประเมิน บริษัทที่มี backlog หรือรายได้กับกำไรที่ค่อนข้างชัดเจน ผลออกมาใกล้เคียงเกิน 80% เลย
ใช้ pe ธรรมดานี่แหล่ะ
แต่หุ้นอื่นๆ เช่น หุ้น turnaround หุ้นวัฏจักร ยังไม่เคยลอง อยากรู้เหมือนกันค่ะ ว่าประเมินวิธีไหนน่าจะใช้ได้ดี อย่างหุ้น turnaround อาจจะต้องดูค่า pb แทนเพราะค่า pe ติดลบ.
ใช้ pe ธรรมดานี่แหล่ะ
แต่หุ้นอื่นๆ เช่น หุ้น turnaround หุ้นวัฏจักร ยังไม่เคยลอง อยากรู้เหมือนกันค่ะ ว่าประเมินวิธีไหนน่าจะใช้ได้ดี อย่างหุ้น turnaround อาจจะต้องดูค่า pb แทนเพราะค่า pe ติดลบ.
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 25
หุ้น turnaround ใช้ค่า pb ไม่ค่อยเหมาะครับเพราะ บริษัทขาดทุนต่อเนื่องมานานจนส่วนทุนเหลือนิดเดียว หารออกมา PB จะสูงปรี๊ด(แต่ถ้า turn ได้จริงด้วยกำไรสะสมจะทำให้ PB ลดลงเรื่อยๆเอง)stevejob เขียน:เท่าที่เราเคยประเมิน บริษัทที่มี backlog หรือรายได้กับกำไรที่ค่อนข้างชัดเจน ผลออกมาใกล้เคียงเกิน 80% เลย
ใช้ pe ธรรมดานี่แหล่ะ
แต่หุ้นอื่นๆ เช่น หุ้น turnaround หุ้นวัฏจักร ยังไม่เคยลอง อยากรู้เหมือนกันค่ะ ว่าประเมินวิธีไหนน่าจะใช้ได้ดี อย่างหุ้น turnaround อาจจะต้องดูค่า pb แทนเพราะค่า pe ติดลบ.
ผมว่าหุ้นกลุ่มนี้ forward PE หรือ DCF จะเหมาะกว่าครับ
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
- Energy_eak
- Verified User
- โพสต์: 925
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 26
เอาแบบตรงคำถามก่อนนะครับ^_^
จริงๆแล้วผมคิดว่า..วิธีไหน ก็ได้อะครับ..อย่าไปยึดติด ...เลือกวิธีที่ทำให้เราเชื่อมั่น และมั่นใจมากที่สุดก็พอครับ..เพราะสุดท้ายแล้วอยู่ที่"ใจ"เราจะเชื่อวิธีประเมิณแบบไหนอะครับ วิธีแบบนั้นแหละจะทำให้เรามั่นใจได้ครับ เพราะมาตรฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ส่วนตัว..ผมเคยเห็นนักลงทุนหลายท่านที่เก่งๆและ ทั้งไม่ดูกราฟ, ทั้งไม่ประเมิณเชิงตัวเลขยากๆ, ...แล้วถือหุ้นมาเป็นปีๆ(มากกว่า3ปี)เลยครับ
=ขอเล่าประกอบ=
จำได้เลยว่ามีหุ้นตัวนึง(ขอไม่เอ่ยชื่อ)..ตอนผมดู1บาทหน่อยๆ(มีพี่ท่านนึงแนะนำผมให้ไปดู) ..หลังจากดูมา..
ผม: "ผมไปเช็คดูแล้วโครงการจะเสร็จคงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า10ปี..ระยะเวลานานๆก็เสี่ยงนะครับ"
===คุยกันเรื่องตัวนี้อีกยาว..ส่วนใหญจะพูดถึงโครงการนี้===
พี่เขา: "ถ้าโครงการ สำเร็จ อีก10ปี..ซึ่งดูแล้วโครงการใหญ่มากๆ ..งั้นซื้อไว้ตอนนี้ อีก10ปี ไป 10บาท(เขากะๆเอา เทียบกับกำลังการผลิตกับโครงการของบริษัทอื่น) ก็ได้เหมือนๆ ปีละเด้งแล้ว" <<<<<บอกตรงๆถึงพี่เขาจะคิดหยาบมากๆ ประเมนเชิงคุณภาพเกือบจะล้วน แถมคิดกำไรแบบไม่ทบต้นอีกตะหาก ..แต่ผมอึ้ง กึ่งประทับใจกับความคิดพี่เขามาก เรื่องมึมมองระยะเวลาในการถือหุ้นครับ
...และจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ครับ .. ผ่านมาราวๆ2ปี... หุ้นตัวนั้นจาก1.XX ขึ้นมาที่ 5-6บาท
ปล.พี่ท่านนี้ อยู่กับตลาดมากกว่า20ปี เท่าที่ทราบคืออยู่กับตลาดทุกช่วงเลย ..ความสำเร็จในตลาดก็ดีมากๆเลยครับ
ที่เล่า.. คืออยากจะบอกว่าบางที บางอาจจะไม่ต้องยึดติดกับวิธีนักก็ได้อะครับ เอาเป็นถ้ามองจะถือยาวหุ้นตัวไหน..วิธีอะไรที่ทำให้เรามั่นใจที่สุด..ก็คิดวิธีนั้น..(จริงๆก็ไม่รู้ว่า อนาคต ตลาดจะปรับมุมมอง ให้บริษัทไปทางไหน)
///////////////////////////////////////
แบบไม่ตรงคำถามนะครับ
วิธีคิดของเรา บางทีก็จะไปตีกรอบ รวมถึงโอกาสครับ..บางทีเราอาจจะยึดติด กับสิ่งที่จับต้องได้ หรือ ประเมินได้ จะทำให้เรามั่นใจอยู่เพียงเท่านี้ ..ผมเชื่อว่า บางคนซื้อหุ้นAPPLE เขาไม่รู้หรอกว่าจะมีIPhone หรือ IPad ออกมา แล้วโตระเบิดแบบนี้หรอกครับ...
ถ้าให้ผมแนะนำว่า ให้ลองแบบอื่นๆให้ทุกแบบ..ลองบ้างสัก100หุ้น หลายๆบริษัทหน่อย..แล้วลองตามๆดูความสำเร็จและผิดพลาดอะครับ(ทุกอย่างต้องมีเหตุและผล..และเรียนรู้เอา)
บางทีเราอาจจะเจอ อะไรที่ดีกว่า สำหรับเราก็ได้ครับ
////////////////////////////////////
สุดท้ายนี้ผมก็ไม่เก่งนะครับ..แต่อยากให้กำลังใจคุณTLSS ว่า...10เดือนเข้าใจ ขนาดนี้ สุดยอดมากเลยครับ แต่ก็ยากเหมือนกันครับ..อยากบอกว่า..คิดไม่ออก/หาทางไม่เจอ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจครับ ...ปัญหา มีไว้แก้ไข... แก้ได้หรือไม่ ก็จิตใจปล่อยวาง แล้วค่อยเอาใหม่ครับ..ทำไปเรื่อยๆสำเร็จแน่นอน^_^ เอาตามเอดิสัน ครับ
ขอให้ประสบความสำเร็จนะครับผม^_^
จริงๆแล้วผมคิดว่า..วิธีไหน ก็ได้อะครับ..อย่าไปยึดติด ...เลือกวิธีที่ทำให้เราเชื่อมั่น และมั่นใจมากที่สุดก็พอครับ..เพราะสุดท้ายแล้วอยู่ที่"ใจ"เราจะเชื่อวิธีประเมิณแบบไหนอะครับ วิธีแบบนั้นแหละจะทำให้เรามั่นใจได้ครับ เพราะมาตรฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ส่วนตัว..ผมเคยเห็นนักลงทุนหลายท่านที่เก่งๆและ ทั้งไม่ดูกราฟ, ทั้งไม่ประเมิณเชิงตัวเลขยากๆ, ...แล้วถือหุ้นมาเป็นปีๆ(มากกว่า3ปี)เลยครับ
=ขอเล่าประกอบ=
จำได้เลยว่ามีหุ้นตัวนึง(ขอไม่เอ่ยชื่อ)..ตอนผมดู1บาทหน่อยๆ(มีพี่ท่านนึงแนะนำผมให้ไปดู) ..หลังจากดูมา..
ผม: "ผมไปเช็คดูแล้วโครงการจะเสร็จคงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า10ปี..ระยะเวลานานๆก็เสี่ยงนะครับ"
===คุยกันเรื่องตัวนี้อีกยาว..ส่วนใหญจะพูดถึงโครงการนี้===
พี่เขา: "ถ้าโครงการ สำเร็จ อีก10ปี..ซึ่งดูแล้วโครงการใหญ่มากๆ ..งั้นซื้อไว้ตอนนี้ อีก10ปี ไป 10บาท(เขากะๆเอา เทียบกับกำลังการผลิตกับโครงการของบริษัทอื่น) ก็ได้เหมือนๆ ปีละเด้งแล้ว" <<<<<บอกตรงๆถึงพี่เขาจะคิดหยาบมากๆ ประเมนเชิงคุณภาพเกือบจะล้วน แถมคิดกำไรแบบไม่ทบต้นอีกตะหาก ..แต่ผมอึ้ง กึ่งประทับใจกับความคิดพี่เขามาก เรื่องมึมมองระยะเวลาในการถือหุ้นครับ
...และจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ครับ .. ผ่านมาราวๆ2ปี... หุ้นตัวนั้นจาก1.XX ขึ้นมาที่ 5-6บาท
ปล.พี่ท่านนี้ อยู่กับตลาดมากกว่า20ปี เท่าที่ทราบคืออยู่กับตลาดทุกช่วงเลย ..ความสำเร็จในตลาดก็ดีมากๆเลยครับ
ที่เล่า.. คืออยากจะบอกว่าบางที บางอาจจะไม่ต้องยึดติดกับวิธีนักก็ได้อะครับ เอาเป็นถ้ามองจะถือยาวหุ้นตัวไหน..วิธีอะไรที่ทำให้เรามั่นใจที่สุด..ก็คิดวิธีนั้น..(จริงๆก็ไม่รู้ว่า อนาคต ตลาดจะปรับมุมมอง ให้บริษัทไปทางไหน)
///////////////////////////////////////
แบบไม่ตรงคำถามนะครับ
วิธีคิดของเรา บางทีก็จะไปตีกรอบ รวมถึงโอกาสครับ..บางทีเราอาจจะยึดติด กับสิ่งที่จับต้องได้ หรือ ประเมินได้ จะทำให้เรามั่นใจอยู่เพียงเท่านี้ ..ผมเชื่อว่า บางคนซื้อหุ้นAPPLE เขาไม่รู้หรอกว่าจะมีIPhone หรือ IPad ออกมา แล้วโตระเบิดแบบนี้หรอกครับ...
ถ้าให้ผมแนะนำว่า ให้ลองแบบอื่นๆให้ทุกแบบ..ลองบ้างสัก100หุ้น หลายๆบริษัทหน่อย..แล้วลองตามๆดูความสำเร็จและผิดพลาดอะครับ(ทุกอย่างต้องมีเหตุและผล..และเรียนรู้เอา)
บางทีเราอาจจะเจอ อะไรที่ดีกว่า สำหรับเราก็ได้ครับ
////////////////////////////////////
สุดท้ายนี้ผมก็ไม่เก่งนะครับ..แต่อยากให้กำลังใจคุณTLSS ว่า...10เดือนเข้าใจ ขนาดนี้ สุดยอดมากเลยครับ แต่ก็ยากเหมือนกันครับ..อยากบอกว่า..คิดไม่ออก/หาทางไม่เจอ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจครับ ...ปัญหา มีไว้แก้ไข... แก้ได้หรือไม่ ก็จิตใจปล่อยวาง แล้วค่อยเอาใหม่ครับ..ทำไปเรื่อยๆสำเร็จแน่นอน^_^ เอาตามเอดิสัน ครับ
ขอให้ประสบความสำเร็จนะครับผม^_^
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 27
ขอบคุณครับคุณ Energy_eak ผมเห็นด้วยมากๆ ครับ กับการหาแนวทางของตัวเองให้เจอ และลงทุนให้เหมาะกับตัวเราเอง
หากเราเชื่อว่า แนวทาง Value Investment เป็นแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวเรา การประเมิน Value ของกิจการ(หุ้น) ย่อมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ... ซึ่งผมต้องพยายามศึกษา หาความรู้ และนำไปปฏิบัติต่อไปครับ
หากเราเชื่อว่า แนวทาง Value Investment เป็นแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวเรา การประเมิน Value ของกิจการ(หุ้น) ย่อมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ... ซึ่งผมต้องพยายามศึกษา หาความรู้ และนำไปปฏิบัติต่อไปครับ
- luangrit
- Verified User
- โพสต์: 376
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 28
ขออนุญาตแชร์จากประสบการณ์นะครับ
ผมใช้พอร์ตของพี่สาวเป็นพอร์ตทดลองของสมมุติฐานนี้ครับ
การเลือกหุ้นในพอร์ตนี้ก็คือ
1. ต้องเป็นบริษัทชั้น 1 และลูกค้าให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ
2. เป็นบริษัทที่ไม่พึ่งพิงลูกค้ารายใดรายหนึ่งมากนัก (พวกรับจ้างผลิตนี่จะตัดออกไป เพราะอำนาจในการต่อรองกับลูกค้าจะน้อย)
3. มีการเติบโตที่แน่นอน ในกรณีนี้ผมเลือกบริษัทที่ขยายตัวด้วยการขยายสาขา
4. รายได้ที่ผ่านมา ค่อนข้างแน่นอน ไม่ขาดทุน หรือ อาจจะขาดทุน กำไรลด แต่มีเหตุผลที่อธิบายได้ ก็ไม่ว่ากัน
5. ราคา ถ้าเติบโตประมาณ 20% ไปอีก 3-5 ปี ก็จะยอมซื้อที่ราคา Premium เช่น P/E ที่ 20-25
ผลจากการลงทุนในบริษัทลักษณะนี้คือ +75% ใน 3 ปีกว่าๆ
ซึ่งตอนนี้ก็ยังประเมินราคาสุดท้ายที่จะขายไม่ได้อยู่ดี
เพราะบริษัทยังคงเติบโตต่อเนื่อง
ดังนั้น
พอร์ตนี้ ค่อนข้างที่จะสอดคล้องกับบทความของ ปีเตอร์ ลินท์
ที่ลองให้นักเรียนเลือกกิจการที่ตนเองชื่นชอบ แล้วลงทุน
ซึ่งผลที่ได้คือ ชนะตลาดค่อนข้างมากและทำผลตอบแทนได้ดี
(ผมจำรายละเอียดไม่ค่อยแม่นนะครับ)
สำหรับผม ถ้าจะขายหุ้นพวกนี้
ก็จะขายในช่วงก่อนที่มันจะอิ่มตัวครับ
ซึ่งก็ประเมินได้ยากอีกเช่นกัน
ผมใช้พอร์ตของพี่สาวเป็นพอร์ตทดลองของสมมุติฐานนี้ครับ
การเลือกหุ้นในพอร์ตนี้ก็คือ
1. ต้องเป็นบริษัทชั้น 1 และลูกค้าให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ
2. เป็นบริษัทที่ไม่พึ่งพิงลูกค้ารายใดรายหนึ่งมากนัก (พวกรับจ้างผลิตนี่จะตัดออกไป เพราะอำนาจในการต่อรองกับลูกค้าจะน้อย)
3. มีการเติบโตที่แน่นอน ในกรณีนี้ผมเลือกบริษัทที่ขยายตัวด้วยการขยายสาขา
4. รายได้ที่ผ่านมา ค่อนข้างแน่นอน ไม่ขาดทุน หรือ อาจจะขาดทุน กำไรลด แต่มีเหตุผลที่อธิบายได้ ก็ไม่ว่ากัน
5. ราคา ถ้าเติบโตประมาณ 20% ไปอีก 3-5 ปี ก็จะยอมซื้อที่ราคา Premium เช่น P/E ที่ 20-25
ผลจากการลงทุนในบริษัทลักษณะนี้คือ +75% ใน 3 ปีกว่าๆ
ซึ่งตอนนี้ก็ยังประเมินราคาสุดท้ายที่จะขายไม่ได้อยู่ดี
เพราะบริษัทยังคงเติบโตต่อเนื่อง
ดังนั้น
พอร์ตนี้ ค่อนข้างที่จะสอดคล้องกับบทความของ ปีเตอร์ ลินท์
ที่ลองให้นักเรียนเลือกกิจการที่ตนเองชื่นชอบ แล้วลงทุน
ซึ่งผลที่ได้คือ ชนะตลาดค่อนข้างมากและทำผลตอบแทนได้ดี
(ผมจำรายละเอียดไม่ค่อยแม่นนะครับ)
สำหรับผม ถ้าจะขายหุ้นพวกนี้
ก็จะขายในช่วงก่อนที่มันจะอิ่มตัวครับ
ซึ่งก็ประเมินได้ยากอีกเช่นกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 29
ขอบคุณครับ คุณ luangrit
ผมเลือกหุ้น โดยดูปัจจัยต่างๆ คล้ายๆ กับพอร์ตพี่สาวคุณครับ
โดยตั้งเป้าไว้จะถือไว้ตลอดชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การประเมินมูลค่าให้ออกมาเป็นตัวเลขในระยะยาวทำได้ค่อนข้างยาก ... เพียงแต่รู้ว่ากิจการยังเติบโตต่อเนื่อง
ขอแชร์ในมุมผมนะครับ
- ถ้าประเมินระยะยาวทำได้ยาก อาจจะประเมินในกรอบ period ที่สั้นลง เช่น 3-5 ปี ให้สอดคล้องกับ Business Plan ของบริษัทนั้นๆ ซึ่งน่าจะมีตัวเลขต่างๆ ให้เรานำมาใช้ประเมินได้มากและละเอียดขึ้น อย่างน้อยก็เป็นการช่วย monitor ระหว่างที่เรายังถือหุ้นนั้นอยู่
- ส่วนเรื่องวิธีดูว่า ตลาดเริ่มอิ่มตัว วิธีการที่ผมคาดว่าจะนำไปใช้ monitor เช่น 1. ดูอัตราเติบโตของกำไร ยอดขาย market share 2.ประเมินแนวโน้มธุรกิจยังอยู่ใน trend ขาขึ้นหรือไม่ 3. วิเคราะห์ 5 forces อย่างสม่ำเสมอ มีคู่แข่งรายใหม่ คู่แข่งรายปัจจุบันขยายตัว มีสินค้าทดแทนหรือไม่ 4. สังเกตกิจการจากหน้างานจริง ยังคึกคักหรือไม่
ขอบคุณครับ
ผมเลือกหุ้น โดยดูปัจจัยต่างๆ คล้ายๆ กับพอร์ตพี่สาวคุณครับ
โดยตั้งเป้าไว้จะถือไว้ตลอดชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การประเมินมูลค่าให้ออกมาเป็นตัวเลขในระยะยาวทำได้ค่อนข้างยาก ... เพียงแต่รู้ว่ากิจการยังเติบโตต่อเนื่อง
ขอแชร์ในมุมผมนะครับ
- ถ้าประเมินระยะยาวทำได้ยาก อาจจะประเมินในกรอบ period ที่สั้นลง เช่น 3-5 ปี ให้สอดคล้องกับ Business Plan ของบริษัทนั้นๆ ซึ่งน่าจะมีตัวเลขต่างๆ ให้เรานำมาใช้ประเมินได้มากและละเอียดขึ้น อย่างน้อยก็เป็นการช่วย monitor ระหว่างที่เรายังถือหุ้นนั้นอยู่
- ส่วนเรื่องวิธีดูว่า ตลาดเริ่มอิ่มตัว วิธีการที่ผมคาดว่าจะนำไปใช้ monitor เช่น 1. ดูอัตราเติบโตของกำไร ยอดขาย market share 2.ประเมินแนวโน้มธุรกิจยังอยู่ใน trend ขาขึ้นหรือไม่ 3. วิเคราะห์ 5 forces อย่างสม่ำเสมอ มีคู่แข่งรายใหม่ คู่แข่งรายปัจจุบันขยายตัว มีสินค้าทดแทนหรือไม่ 4. สังเกตกิจการจากหน้างานจริง ยังคึกคักหรือไม่
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าไม่ประเมินมูลค่าหุ้น จะสามารถลงทุนในระยะยาวได้ดีไหม ?
โพสต์ที่ 30
เสริมอีกประเด็นครับ
เรื่อง "การถือหุ้นไปตลอดชีวิต"
ด้วยความเชื่อที่ว่า "เราจะถือหุ้นตัวนั้นไปตลอดชีวิต" ความหมายลึกๆจริงๆ ที่ซ่อนอยู่ คือ การที่เราได้ประเมินมูลค่ากิจการนั้นแบบคร่าวๆ(แต่ไม่ออกมาเป็นตัวเลขชัดเจน) แล้วว่า "ในวันที่เราไม่อยู่แล้ว หุ้นตัวนั้นก็ยังมี Value มากกว่า ราคา ณ วันนั้น" จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เรายังไม่ขายหุ้นนั้นออกไป
นั่นแสดงว่า เราเชื่อว่า กิจการยังเติบโตไปได้อีก แม้ว่าเราจะไม่อยู่แล้ว
จริงๆ ผมเชื่อนะครับว่า ทุกสิ่งมันมี cycle เป็นวัฎจักร แต่กิจการที่เราลงทุนแล้วถือไปตลอดชีวิต น่าจะเป็นกิจการที่มี life's cycle ยาวนานมาก ยาวนานกว่าอายุของเรา
แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินมูลค่าหุ้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เราไม่หลงทางครับ
เรื่อง "การถือหุ้นไปตลอดชีวิต"
ด้วยความเชื่อที่ว่า "เราจะถือหุ้นตัวนั้นไปตลอดชีวิต" ความหมายลึกๆจริงๆ ที่ซ่อนอยู่ คือ การที่เราได้ประเมินมูลค่ากิจการนั้นแบบคร่าวๆ(แต่ไม่ออกมาเป็นตัวเลขชัดเจน) แล้วว่า "ในวันที่เราไม่อยู่แล้ว หุ้นตัวนั้นก็ยังมี Value มากกว่า ราคา ณ วันนั้น" จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เรายังไม่ขายหุ้นนั้นออกไป
นั่นแสดงว่า เราเชื่อว่า กิจการยังเติบโตไปได้อีก แม้ว่าเราจะไม่อยู่แล้ว
จริงๆ ผมเชื่อนะครับว่า ทุกสิ่งมันมี cycle เป็นวัฎจักร แต่กิจการที่เราลงทุนแล้วถือไปตลอดชีวิต น่าจะเป็นกิจการที่มี life's cycle ยาวนานมาก ยาวนานกว่าอายุของเรา
แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินมูลค่าหุ้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เราไม่หลงทางครับ