เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ITU คือสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ จัดสัมมนา ที่ ห้อง Centara Grand โรงแรม Central Plaza ลาดพร้าว เมื่อ 26-28 พค
ที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานรัฐและเอกชนเข้าร่วมสัมมนา เพิ่งรวบรวมเผยแพร่เร็วๆ นี้
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 2

โพสต์

กำลังทยอย upload นะครับ net ช้านิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 3

โพสต์

...
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ปรากฎว่า upload ThaiVI ไม่ค่อยเข้า
ผมเลยเอาไปฝากไว้ที่ mediafile

ที่เหลือเชิญ download ได้ตามอัธยาศัยครับ (มีไฟล์อยู่ 18 ไฟล์ ใน folder)

http://www.mediafire.com/?dipakeck3t8qn
kulporn2515
Verified User
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 5

โพสต์

thank na ka
MaiFuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 384
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณพี่ Ii'8N มากครับ
:bow: :bow: :bow:
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Sumotin
Verified User
โพสต์: 1131
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ^^
Timing is everything, no matter what you do.

CAGR of 34% in the past 15 years of investment
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 9

โพสต์

อ้อ... ลืมบอกไปนิด
จะเห็นว่าไม่มีเอกสาร S8 (session 8)
เพราะ S8 เป็น workshop discussion ไม่มีบรรยาย


สำหรับท่านที่ไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน เย็นๆ จึงมาอธิบายเพิ่ม
อธิบา่ย background เพิ่มนิดครับ คือกสทช. ประกาศแล้วว่า ไทยเราจะเริ่มดำเนินการเปลี่ยนระบบทีวีให้เป็น Digital แน่นอน ภายในปีนี้ โดยยอมรับมาตรฐานจากยุโรป
การยกเลิก Analog โดยสิ้นเชิง จึงเรียกกันว่า ASO หรือ Analog Switch Off

ในระยะแรก ทางกสทช. จะผลิตกล่องที่แปลงสัญญาน Digital ให้เป็นสัญญานให้ TV ปัจจุบันใช้งานได้ แจกชาวบ้าน
แต่อนาคตผู้ผลิตทีวีต่างๆ จะผลิตมาอยู่แล้ว เพราะตอนนี้ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนไปในทางเดียวกัน
ก็เปรียบเสมือนมือถือที่จะเข้ายุค 3G และพัฒนาไป 4G
Digital TV จะทำให้เรารับ TV ได้เป็นร้อยช่อง (ซึ่งจำนวนขึ้นกับการจัดสรรความถี่ี ผมคิดว่าอย่างน้อย น่าจะได้ 20-50 ช่อง คอยติดตามว่ากสทช. จะจัดสรรความถี่ได้และสำรองความถี่เก็บไว้ แล้วปล่อยประมูล license มาขนาดไหน) ด้วยภาพและเสียงคุณภาพสูง ผ่านเสาอากาศภาคพื้นดินได้เลย ที่เรียกว่า HDTV หรือ TV ความละเอียดสูง
แผนกสทช. จะทำให้สำเร็จภายใน 3-4 ปี ในการออกประมูลและยุบทิ้ง Analog 100%


ผู้ที่ถือหุ้นเกี่ยวกับการขายทีวี และหุ้นวงการสื่อสารมวลชน ผลิตข่าว ผลิตความบันเทิง ทั้งการขาย platform และผลิต content จึงควรติดตามความเคลื่อนไหว เพราะจะมีช่องทางให้ขายของได้มากขึ้น นอกไปจาก cable และดาวเทียม

แต่ก็จะเป็น "ศึกชิงตา" ที่รุนแรง เพราะ กสทช. จะออกใบอนุญาตออกเป็นหลายประเภท ให้ธุรกิจจำนวนมาก
ต่อไปนี้ผู้ผลิตและผู้ให้บริการวงการ TV จะมีจำนวนมากได้แบบเดียวกับวงการวิทยุ
ตัวอย่า่ง อากู๋ นอกจากบุกดาวเทียม ก็เตรียมเล็ง Digital TV ด้วยแล้ว NBC ของ NMG ก็ประกาศแล้ว, RS, WORK, etc คงต้องเข้ามาขอเอี่ยวแน่
ทีวีช่องปัจจุบัน BEC และ BBTV ช่อง 7 ก็อยู่้เฉยไม่ได้แน่


รวมถึงคอยจับตาดูบริษัทที่ทำ IT ต่างๆ ก็จะมาขอใบอนุญาตด้าน platform ด้วย เพราะเป็นขุมทรัพย์ใหม่อีกช่องทางเหมือนกัน อย่าง INTUCH, THCOM ก็ประกาศแล้ว กสทช.เปิดประมูลเมื่อไหร่ เข้าขอเป็นผู้ท้าชิงด้วยแน่

เพราะใบอนุญาตผู้ให้บริการแบบใหม่จะมีได้หลายประเภท เช่น มีประเภทสร้างระบบจัดการหรือ platform ที่ใช้ระบบ ICT เพราะเป็น digital ล้วน และบริษัืทที่สร้าง Application ต่้่างๆ โดยที่ไม่ได้ผลิตรายการหรือไม่ได้เป็นคนบริหารการออกอากาศเลยก็จะมีส่้วนเกี่ยวข้องกับวงการ TV ด้วยคราวนี้



นอกจากนี้ แนวโน้ม TV อาจไม่ใช่แค่ TV
ขึ้นกับว่าคนจะนิยมแค่ไหน เพราะเราได้เห็นหลายค่ายออก Smart TV แล้ว เพราะความถี่ที่ว่า่ ส่งสัญญาณ internet เข้าไปได้ด้วย



ส่วน ITU เป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับในวงการ ICT เป็นผู้ที่ออกมาตรฐานต่างๆ ของระบบ ICT เพราะประกอบด้วยผู้เชี่้ยวชสญจากทุกมุมโลก สมาชิก ได้แก่หน่วยงานรัฐบาลของเกือบทุกประเทศ และ supplier/vendor ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารและเทคโนโลยีต่างๆ
เนื่องจากองค์กรทั้งรัฐและเอกชนไทยแข็งแกร่งในวิชาการด้านนี้พอควรและกสทช.ก็ซางแผนกันมาแล้ว ITU จึงแค่ช่วยเป็นครั้งคราว
แต่ประเทศที่ยังไม่ได้เริ่ม ITU จะส่งผู้เชี่้ยวชาญลงไปช่วย ดดยเฉพาะประเด็นการจัดสรรความถี่และการเลือกเทคโนโลยี
อย่างเช่น เนปาล กัมพูชา ตองกา เป็นต้น
Skid
Verified User
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ถ้าผมซื้อทีวีวันนี้ ก็มีอายุ ใช้งานแค่ 3-4 ปี เองสิครับ

กำลังจะซื้อใหม่ ต้องคิดใหม่เอาจอเล็กๆ หน่อย
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 11

โพสต์

Skid เขียน:ถ้าผมซื้อทีวีวันนี้ ก็มีอายุ ใช้งานแค่ 3-4 ปี เองสิครับ

กำลังจะซื้อใหม่ ต้องคิดใหม่เอาจอเล็กๆ หน่อย
ทีวีก็ยังใช้ได้ ถ้า tuner ไม่ลองรับ ระบบ ดิจิตอล DVB-T2 ก็ซื้อ
STB มาใส่เหมือนกล่องรับสัญญาณ ดาวเทียม

หรือไม่ก็รอให้ เครื่องรับทีวี ออก รุ่นที่ใส่ tuner ที่รองรับมาก็ได้
แต่ผมว่า ม้นน่าจะแพงเวอร์ ใช้กล่อง STB ไปดีกว่าน่าจะถูกกว่า
แล้วเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เมื่อราคาทีวี รุ่นที่รองรับ ถูกๆ ค่อยซื้อก็ได้
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 12

โพสต์

มีบริษัทอะไรในเมืองไทยที่ทำธุรกิจ ผลิตและส่งออกอุปกรณ์ชิ้นส่วนเกี่ยวกับ digital tv บ้างครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมลอง list บริษัทที่อาจมีส่วนได้-ส่วนเสีย
มีศักยภาพ/ความเป็นไปได้ แต่ใครจะมาเข้าร่วมรึเปล่าหรือเข้ามาแค่ไหนอีกเรื่อง
ใครมีข้อมูลมากกว่านี้ ช่วยเสริมด้วยนะครับ

CCET ทำพวก Set Top Box และ OEM อุปกรณ์สื่อสาร
METCO ชิ้นส่วนจอภาพ (Plasma, LCD, LED TV)

ระบบ
AIT ทำ Data Center
IEC มีโครงการทำระบบ DVB ให้ MCOT อยู่แล้ว
INTUCH ประกาศแล้ว ว่าจะให้ลูก THCOM มาทำ platform
MFEC, MSC, SIMAT, PT การวางระบบ IT
TRUE, LOXLEY, JTS, SAMART/SAMTEL เชี่ยวชาญการติดตั้งระบบสื่อสาร, ทำระบบ IT, และ subcontract

ขายทีวี
AEONTS ขายทีวีผ่านบัตร
SINGER จ้าง Samsung Thailand ทำ TV ผ่อนส่ง
ROBINS มีลูกคือ power buy ขายผ่อนส่งในห้าง
HMPRO ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า

เกี่ยวข้องทางตรง และต้องปรับตัว อยู่ในวงการ TV, บันเทิง, และสื่อสารมวลชนปัจจุบัน
BEC, GRAMMY, LIVE, MCOT, NMG/NBC/NINE, RS, SPORT, WAVE, WORK


ซึ่งต้องคอยดู trend ว่าจะไปทางภาคพื้นดินอย่าง digital ที่ว่า, ทางสายเคเบิ้ลจริง, และทางอากาศคือดาวเทียม ใครจะแรงกว่า หรือจะแบ่งเค้กเป็นสัดส่วนตลาดกันอย่างไร
และการรวม internet เข้าไปด้วย จะรุ่งหรือดับ ต้องคอยดูกระแสว่าคนนิยมแค่ไหน
มีคนผลิตเครื่องออกมาขนาดไหน (คอยจับตาดูผู้เล่นที่พยายามเข้ามาในวงการ TV Broadband/Smart TV ระดับ global player อย่าง Apple, Google, Sony, Samsung)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Ii'8N เขียน: ซึ่งต้องคอยดู trend ว่าจะไปทางภาคพื้นดินอย่าง digital ที่ว่า, ทางสายเคเบิ้ลจริง, และทางอากาศคือดาวเทียม ใครจะแรงกว่า หรือจะแบ่งเค้กเป็นสัดส่วนตลาดกันอย่างไร
รูปภาพ

เคเบิล-ทีวีดาวเทียมเดือด
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2012 เวลา 21:08 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - ข่าวหน้า1
"เคเบิลทีวี -ทีวีดาวเทียม" ปะทะเดือด ชิงฐานลูกค้าแบ่งเค้กโฆษณา 3 พันล้าน ผู้ประกอบการ "เคเบิลท้องถิ่น" ฮึดสู้ ทุ่มเม็ดเงินลงทุนเพิ่ม "ทรู วิชั่นส์" ขยายประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่าการรับชม ผ่านบริการเอชดี พีวีอาร์

ด้าน "แกรมมี่" 1 เม.ย.นี้ ทุ่มงบอีก 200 ล้าน กระตุ้นยอดกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท ประกาศ 5 ปี สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้าน "เคเบิลนครศรีธรรมราช" เตรียมลงทุนขยายเครือข่าย ขณะที่สยามทีวี ชี้ เคเบิลเชียงใหม่ ทรงตัว
นางวรรณี รัตนพล ประธานกรรมการบริหาร ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ในเครืออินเตอร์พับลิค กรุ๊ป เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความสนใจดูรายการจากเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีเนื้อหาสาระที่หลากหลาย ซึ่งอนาคตธุรกิจทีวีในเมืองไทย จะเหมือนในไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา โดยมีสัดส่วนการชมจะขยับสูงขึ้นเป็น 60-70% โดยมีผู้สนใจเข้ามาเป็นเจ้าของช่องรายการมากขึ้น รวมไปถึงเจ้าของสินค้าเอง ก็ให้ความสนใจกับการเป็นเจ้าของรายการทีวีดาวเทียมของตัวเอง
สำหรับเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมปีที่ผ่านมา ขยับตัวสูงขึ้นเกือบ 3,000 ล้านบาท และปีนี้ยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการวัดเรตติ้งการรับชมเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมยังไม่ชัดเจน เพราะคนดูจะเปลี่ยนช่องสลับไปมา ขณะที่ละคร คนดูส่วนใหญ่ยังนิยมรับชมละครในฟรีทีวี จึงยังเป็นปัญหากับการวางแผนซื้อสื่อ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสาระที่เป็นลิขสิทธิ์กีฬา ยังเป็นตัวดึงดูดการรับชมได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอลยูโร พรีเมียร์ลีก หรือลิขสิทธิ์ฟุตบอลดังอื่นๆ ทำให้เจ้าของช่องรายการที่ได้ลิขสิทธิ์กีฬาเหล่านี้ สามารถขายพื้นที่โฆษณาได้ง่าย
นายอรรคพล หนูทวี ผู้บริหารเคเบิลทีวี นครศรีธรรมราช กล่าวว่า การให้บริการเคเบิลทีวี กับทีวีดาวเทียมมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคนละกลุ่ม ซึ่งที่ผ่านมาความนิยมที่เพิ่มขึ้นของทีวีดาวเทียม ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินเคเบิลทีวีที่นครศรีธรรมราชแต่อย่างใด อีกทั้งล่าสุด บริษัทเตรียมใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น สำหรับขยายเครือข่ายเคเบิลทีวี เพื่อให้บริการครอบคลุมทุกอำเภอ จากปัจจุบันที่เน้นให้บริการใน 3 อำเภอภายในปีนี้ โดยปัจจุบันเคเบิลทีวี นครศรีธรรมราช มีสมาชิกกว่า 2 หมื่นราย โดยในปีนี้คาดว่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น 17%
"เราเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคในท้องถิ่น ตลาดชุมชน นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเนื้อหาได้รวดเร็ว ลงลึกในรายละเอียดได้มากกว่า ซึ่งปัจจุบันพบว่าสมาชิกในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีความสนใจข่าวภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ส่วนลูกค้าทั่วไปสนใจข่าวทั่วไป และข่าวกีฬา รวมถึงเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ทำให้เชื่อว่าจำนวนช่องที่มีอยู่ 90 ช่อง จะสามารถรองรับความต้องการของสมาชิกได้เป็นอย่างดี" นายอรรคพลกล่าว
ด้านนางสาวรพีภัทร ปลื้มพิทักษ์กุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เชียงใหม่สยามทีวี จำกัด ตัวแทนจำหน่ายทรูวิชั่นส์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง กล่าวว่า การแข่งขันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ขณะนี้ค่อนข้างรุนแรง เพราะมีเคเบิลทีวีท้องถิ่น และทีวีดาวเทียม เกิดขึ้นมาก โดยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ธุรกิจกลุ่มทรู วันนี้ ยังถือเป็นช่วงขาขึ้น ทรู วิชั่นส์ยังเป็นผู้นำในการนำเสนอบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ด้วยจุดแข็งที่มีช่องรายการระดับโลก นำเสนอเนื้อหา สาระ ความรู้ และบันเทิง รวมกว่า 133 ช่องรายการ รวมไปถึงช่องรายการที่สมาชิกจะสามารถรับชมด้วยความคมชัดในระบบเอชดี (High Definition) ที่มีทั้งหมด 11 ช่องรายการ
ลูกค้าส่วนใหญ่ของทรู วิชั่นส์ จะเป็น ลูกค้ากลุ่มบน เช่น ลูกค้าที่ใช้ แอลซีดี ทีวี ซึ่งต้องการเลือกชมคอนเทนต์ที่แตกต่าง ขณะที่ตลาดของเคเบิลทีวีท้องถิ่น หรือทีวีดาวเทียม จะเป็นทีวีทั่วไป กลุ่มที่มีรายได้ระดับกลางลงล่าง จะดูเคเบิลท้องถิ่น เพราะราคาถูกกว่า แต่สัญญาณไม่ชัด
"ทรู วิชั่นส์ ใช้กลยุทธ์ในการเจาะตลาดด้วยโปรโมชัน เช่น ติดตั้งฟรี ถ้าลูกค้าสมัครทรูวิชั่นส์ แพลทินัม และโกลด์ พร้อม เอชดี แพ็กเกจ ติดตั้งฟรีทุกจุด เดือนแรก ชมฟรีสัญญาณเอชดี แพ็กเกจนานสูงสุด 1 ปี ส่วนพรีเมียมแพ็กเกจ ติดตั้งฟรี ดูฟรีและยังแถม HD ให้ดูฟรีอีก 3 เดือน ส่วนโปรโมชันของสยามทีวี ที่เป็นจุดแข็งเหนือกว่าที่อื่น คือ การนำทรู วิชั่นส์ มาทำโปรโมชันร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่สยามทีวีเป็นตัวแทนจำหน่าย" นางสาวรพีภัทรกล่าวและว่า
สถานการณ์เคเบิลทีวีท้องถิ่น จริงๆ แข่งขันกันค่อนข้างดุเดือด ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปสู่ผู้บริโภค เพราะจะได้บริการที่ดี คอนเทนต์ดี ในราคาที่ค่อนข้างถูก เชียงใหม่มีเคเบิลท้องถิ่นอย่างน้อย 2-3 ราย แนวโน้มธุรกิจเคเบิลท้องถิ่นในเชียงใหม่ น่าจะไปได้ แต่จะเป็นธุรกิจที่ไม่ใหญ่โตมากนัก ทำให้เคเบิลท้องถิ่นเสียประโยชน์และไม่สามารถจะเติบโตได้มากนัก
ปัจจุบันสมาชิกทรู วิชั่นส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 10% จากฐานสมาชิกปัจจุบันมากกว่า 10,000 ราย และยังมีสมาชิกจากทรูไลฟ์ แพ็กเกจ ขนาดเล็กที่มีรายเดือนประมาณ 200-300 บาท ซึ่งสมาชิกกลุ่มนี้ในเชียงใหม่มีเป็นหลักแสนราย ซึ่งเชื่อว่าจะมากกว่าเคเบิลทีวีทั่วไป โดยเป็นสมาชิก ทรูของสยามทีวีประมาณ 90% และในแต่ละเดือน สยามทีวี มีสมาชิกรายใหม่หลายร้อยราย เติบโตปีละกว่า 10%
ด้านนายองอาจ ประภากมล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสาย คอมเมอร์เชียล บมจ.ทรูวิชั่นส์ กล่าวว่า ทรู วิชั่นส์ได้เปิดบริการเอชดี พีวีอาร์ ฟังก์ชันการทำงานใหม่ของกล่องรับสัญญาณระบบเอชดี ที่สามารถอัดรายการได้ตามใจ ต่อยอดกับการให้บริการจากกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่ ที่ทรูได้ทยอยเปลี่ยนให้กับสมาชิกแพ็กเกจซิลเวอร์ โกลด์ และแพลทินัม ซึ่งมีอยู่ราว 4 แสนกว่ารายในปัจจุบัน และตามแผนในปีนี้จะเปลี่ยนให้ได้ 5 แสนกล่อง ขณะที่ตัวกล่องแบบ เอชดี พีวีอาร์นั้น คาดว่าจะมีสมาชิกเปลี่ยนมาใช้ราว 10,000 ราย ส่วนจำนวนฐานสมาชิกทั้งหมดมีประมาณ 1.7 ล้านครัวเรือน
แนวทางการพัฒนาธุรกิจของทรู วิชั่นส์ มีแผนที่จะเติมเนื้อหาสาระใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ โดยปีนี้มีแผนที่จะเพิ่มเนื้อหาสาระช่องเอชดี จากปัจจุบัน 11 ช่อง เป็น 20 ช่อง จากช่องรายการปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมด 127 ช่อง
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่า กล่องรับสัญญาณรายการผ่านทีวีดาวเทียมจีเอ็มเอ็ม แซท ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกล่องวันสกาย จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 1 เมษายนนี้ ด้วยงบการตลาด 200 ล้านบาท ทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์และจัดโรดโชว์ใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ และจะเพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีก อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่น เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี และร้านเจ มาร์ท นอกเหนือจากร้านตัวแทนจำหน่ายจานดาวเทียมกว่า 6 พันแห่งทั่วประเทศ โดยวางเป้าหมายยอดขายปีนี้ 2 ล้านกล่อง คิดเป็นรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมีผู้รับชมผ่านกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท 7-8 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และตั้งเป้าภายใน 5 ปี ธุรกิจจีเอ็มเอ็ม แซท จะมีรายได้มากกว่าธุรกิจเพลงซึ่งเป็นธุรกิจหลัก หรือมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท
ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มเคเบิลท้องถิ่น ได้ร่วมตัวกันก่อนหน้านี้ ในนาม สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย โดยมี เกษม อินทร์แก้ว นั่งตำแหน่งนายกสมาคม ได้ประกาศผลักดันตัวเลขจำนวนครัวเรือนที่เป็นสมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่นเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2553 มีสมาชิก 4 ล้านครัวเรือน หรือ 16 ล้านผู้ชม ภายในสิ้นปี 2554 จำนวน 5 ล้านครัวเรือน หรือ 20 ล้านผู้ชม และในปี 2556 จำนวน 10 ล้านครัวเรือน หรือ 40 ล้านผู้ชม โดยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเคเบิลท้องถิ่น ด้วยการรวมตัวกันของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่น 140 รายจัดตั้ง บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ CTH (Cable Thai Holding Plc.) และยังเปิดตัว CTH Platform รวมช่องรายการทั้งในและต่างประเทศที่สมัครใจล็อกสัญญาณ (Encilp) จำนวน 120 รายการ รับชมได้ผ่านเคเบิลทีวีเท่านั้น คิดอัตราค่าบริการเดือนละ 300-350 บาท ซึ่งช่องรายการจะมีทั้งฟรีทีวี ช่องข่าวท้องถิ่น ช่องลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศ และช่องเนื้อหาสาระที่ผลิตเอง โดยความร่วมมือระหว่างสมาคม และพันธมิตร รวมทั้งช่องฟรีทูแอร์ ที่มีทั้งรายการของ แกรมมี่ อาร์เอส ไลฟ์ทีวี เจเอสแอล เวิร์คพอยท์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีการส่งสัญญาณ และการสร้างแบรนด์ ให้เกิดการรับรู้และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทิศทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ปัจจัยสำคัญยังอยู่ที่จำนวนฐานสมาชิก ซึ่งยังเป็นฐานรายได้ใหญ่ โดยทรู วิชั่นส์ ยังยืนยันว่า รายได้จากฐานสมาชิกมีสัดส่วนสูงถึง 80-90% ดังนั้น การแข่งขันเพื่อช่วงชิงฐานสมาชิกจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยฐานผู้ชมที่เป็นกลุ่มแมส หรือบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นตลาดการแข่งขันหลักของทั้งเคเบิลท้องถิ่น จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ และทรูวิชั่นส์ มีสัดส่วนมากถึง 75% ของฐานจำนวนประชากรทั้งหมด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,725 25-28 มีนาคม พ.ศ. 2555

http://www.siamintelligence.com/grand-o ... letv-thai/

เปิดเคเบิ้ลทีวีไทย คู่แข่งทรูวิชั่น
ตลาดเคเบิ้ลทีวีในกรุงเทพเตรียมร้อนระอุ จากเดิมที่ส่วนแบ่งตลาดในเขตกรุงเทพฯ หลักๆ เป็นของทรูวิชั่น มีเพียงจานดาวเทียมระบบ KU-Band (จานดำ) จานเหลืองซึ่งล้วนไม่เสียรายเดือน แต่ยังถือว่าไม่มากนัก ซึ่งผู้ติดตั้งเป็นเพียงผู้ที่อยากได้รายการฟรีทีวีที่ชัดเจน มีช่องรายการมากกว่าฟรีทีวีแต่ไม่อยากเสียรายเดือน ส่วนผู้ที่พร้อมจ่ายก็ไปติดกับ True Vision แทน


ภาพโปสเตอร์ของ CABLETV THAI
โดยล่าสุดนายเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้ร่วมกับสมาชิกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 17 รายและผู้ผลิตเนื้อหารายทีวีหรือคอนเท้นต์ โปรไวเดอร์ 14 ราย มาร่วมกันจัดตั้งแบรนด์ “เคเบิลทีวี ไทย” ขึ้นมาเพื่อเปิดและรุกตลาดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้แบรนด์เคเบิลทีวีไทยนี้เข้ามาทดแทนแบรนด์เคเบิลทีวีท้องถิ่นที่ภาพลักษณ์ดูไม่ดีนักในกรุงเทพ ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รายการใหม่ๆและมีคุณภาพมากขึ้นโดยใช้งบประมาณ 200 ล้านบาทติดตั้งเคเบิลทีวีให้กับผู้สนใจฟรี 1 แสนครัวเรือน ภายใน 3 เดือน คาดว่าภายในสิ้นปีจะมีสมาชิกระบบเคเบิลทีวี 1 ล้านรายในกรุงเทพฯ

ทางด้าน นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การร่วมมือระหว่างผู้ผลิตรายการกับเคเบิลทีวีไทยในครั้งนี้ เป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการของเคเบิลทีวี รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ชมในกรุงเทพฯ ที่แสดงให้เห็นว่าในกรุงเทพฯไม่ได้มีแค่ผู้ประกอบการรายใหญ่เหมือนที่ผ่านมา โดยการผนึกกำลังผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ โดยเฉพาะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะช่วยการันตีความมั่นใจให้กับคนกรุงเทพฯถึงมาตรฐานคุณภาพของรายการและบริการได้เป็นอย่างดี (ที่มา - โพสต์ทูเดย์)

โดยบกลุ่มผู้ประกอบการเคเบิลทีวี 17 ราย ที่เข้าร่วมประกอบด้วย บจ.เจริญยิ่ง(8888), บจ.ไทยซุ่นเคเบิลทีวี, บจ.ไทยซินแอดวานซ์เทคโนโลยี่, บจ.ไฮเทคเคเบิลเทเลวิชั่น, บจ.นวมินทร์เคเบิลทีวีเน็ตเวิร์ค, บจ.แฮปปี้โฮมเคเบิลทีวี, บจ.วิสต้าไลน์, หจก.สนุกเคเบิลทีวี, บจ.เอ็มเอสเอสกทม, บจ.บางกอกเทเลวิชั่นเซอร์วิส, บจ.แมคเวิลด์เน็ทเวิร์ค, บจ.เอ็มเอสเอสปทุมธานี, บจ.ตะวันเคเบิลเน็ต, บจ.ปราการเคเบิลทีวี, บจ.ส่งความสุข และ บจ.เอ็มเอสเอสนนทบุรี

ขณะที่ผู้ผลิตรายการ 14 รายประกอบด้วย บมจ. จีเอ็มเอ็ม, บมจ.ทีวีไดเร็ค, บมจ.เนชั่นบรอดคาสติ้ง, บมจ.อาร์เอส, บจ.โมโนเทคโนโลยี, บจ.พีเอ็มดีพลัส, บจ.สปริงคอร์ปอเรชั่น, บจ.เอชพลัสแชนแนล, บจ.โรสมีเดียฯ, บจ.ไทยมงคลมัลติมีเดีย, บจ.ฟาร์มแชนแนล , บจ.เอลท์มีเดียเน็ตเวิร์ค, บจ.บุญทันตา54 และ บจ.ศิลป์อารีน่าซินดิเคชั่น

ซึ่งรายการที่ทำการฉายในช่องเคเบิลทีวีไทยนั้นจะมีอยู่ 50-60 ช่อง โดยทางด้านนายวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายก สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับในช่วงแรกนี้ออกแคมเปญ “ติดตั้ง ฟรี ดูฟรี 1 เดือน 100,000 รายแรก” เริ่ม 21 มิถุนายนเป็นเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ผู้สนใจเสียค่าติตตั้ง 1,500 บาท เสียค่าสมาชิก 300 บาทต่อเดือน และสามารถเพิ่มจุดรับชมได้อีก แต่เสียเพียงค่าอุปกรณ์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มแต่อย่างใด รับชมได้มากกว่า 60-80 ช่อง ทั้งไทยและต่างประเทศ สัดส่วนรายการลิขสิทธิ์ไทย 70% และรายการลิขสิทธิ์ตปท. 30% โดยใช้งบตลาดรวมกว่า 200 ล้านบาทจากสมาชิกทั้งหมดลงขันกัน ในการโปรโมท ในช่วง 3 เดือนแรกนี้ (ที่มา – ผู้จัดการ)

ในปัจจุบันตลาดเคเบิลทีวีของประเทศไทยเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันมีประมาณ 8 ล้านครัวเรือนที่ทำการติดตั้งเคเบิลทีวีทั้งแบบไม่เสียค่าบริการรายเดือนและเสียค่าบริการรายเดือน ในขณะที่การเติบโตของเคเบิลทีวีในกรุงเทพเติบโตขึ้นประมาณ 30 – 35% และมีผุ้ใช้บริการเคเบิลทีวีที่ใช้บริการของสมาคมเคเบิลทีวีประเทศไทยอยู่ประมาณ700,000 ครัวเรือน ซึ่งกลายเป้นตลาดเคเบิลทีวีที่เติบโตสูงสุดในประเทศ
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 15

โพสต์

เคเบิ้ลทีวี ไม่ไหวรหรอก
ช่องรายการใน เคเบิ้ลทีวี ก็มาจาก จานดำที่ดูฟรี
ทำไมต้องมาติดตั้งเคเบิ้ลทีวี เพื่อเสียเงินเดือนละ 300 บาท
สู้ไปติดจานดำไม่ดีกว่าหรือ 2-3 พันบาท ดูฟรี ไม่ต้องเสียเดือนละ 300 บาท

ยังไงผมว่า ทีวี ดิจิตอล ในแนวราบ น่าจะมาแรง
1. ไม่เกะกะ พวกจานดำ เกะกะหลังคา จานสีแดง เขียว ส้ม
ku ฝนตกดูไม่ได้ แต่ ดิจิตอลในแนวราบดูได้

2. ส่วนใหญ่ คนทั่วไปก็ดูแค่ ฟรีทีวีธรรมดา เท่านั้น ผมว่า ดิจิตอลในแนวราบ
ถ้ามาจริงไม่มีใครเตะสกัด พวก จานดาวเทียม หรือ เคเบิ้ลนี่ มีเดี้ยงแน่นอน
ยกเว้นพวกดู บอล ที่อาจจะยังดูพวกนั้นอยู่
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ลืมไปอีกข้อ พวกตามร้าน ขาย อาหารตามสั่ง ตามข้างทาง
ถ้า ทีวี ดิจิตอล ในแนวราบมานี่ เขาแค่ มีเสาหนวดกุ้ง
แล้วหากล่อง STB มาก็ดูทีวี ชัดแล้ว ได้เป็น ร้อยช่องอีก
จาน ku มีสิทธิ์เดี้ยงสูงครับ

ต้องเข้าใจก่อนว่า ชาวบ้านธรรมดา ทั่วไป เขาแค่ต้องการดู ทีวี ธรรมดา ชัดๆเท่านั้นครับ
พวก บอลหรืออะไรนี่ ส่วนใหญ่ไม่ดู หรอกครับ ถ้าเสียเงิน ถ้าดูฟรีนี่เขาดูอยู่แล้ว
ดังนั้นถ้า ทีวี ดิจิตอลในแนวราบมานี่
ผมเดาว่า ไม่เกินปี รับรอง ขายดีแน่นอน
ตอนนี้หาว่า บริษัทไหน จะได้ประโยชน์จาก ตรงนี้เท่านั้น
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ลืมไปขอเพิ่มเติมอีกนิด
จานดำ คงจบแน่นอน
จานดำ คงมีคนใช้แค่กลุ่มเล็กๆ จำนวนไม่มาก พวกที่ชอบดูช่องเมืองนอก
คนที่รู้จักเวลาผมเสนอ จานดำ เขาบอกว่าไม่เอา น่าเกลียด มันใหญ่เกะกะหลังคาบ้าน
แต่ถ้าเสนอ จาน ku ก็ต้องบอกเขาอีกว่า ฝนตกดูไม่ได้

ทีวี ดิจิตอลนี่อยากให้มาเร็วๆยัง ที่บ้านติดให้ แม่ดู
เป้นจาน ku แต่เวลาฝนตกหรือ ฟ้าปิด ทีไร้ ดูไม่ได้ซักที เขาบ่นเหมือนกันว่า
ฝนตกดูไม่ได้ ยิ่งถ้ามีละครหรือ อะไรที่สนใจอยากดูนี่แล้ว ฝนตก ฟ้ามืดครึ้มนี่
เป็นเรื่องเลย
ส่วนการจะติดจานดำให้แม่ดู ก็ยากอีก เพราะว่าหาที่ติดไม่ได้เลย ขนาดติดจาน ku ใบเล็กๆ ผมยังหาที่ติดยากเลย ต้องเจาะหลังคา รูน้ำฝนรั่วอีก ต้องหาที่อุด

ผมยังกะว่าถ้าเขาเริ่มส่ง ทีวีดิจิตอลในแนวราบ นี่ ผมจะสั่ง STB จาก e-bay มาให้แม่ดูซะหน่อย ส่วนจาน ku ก็ให้น้องดู บอล มีเท่านั้นแหละ พอดีน้องชอบดู บอล ส่วนหนังหรือสารคดี เขาไม่สนหรอก ไม่ใช่ว่าไม่ชอบดูหนังหรอกน่ะ น้องชายนี่ ขาดูหนังเลย ดูแต่หนัง HD ส่วนใหญ่ก็โหลด บิท มาดูเอง อยากดูเรื่องไหน เวลาไหนก็เปิดดูได้เลย
บอกตรงๆ ว่าถ้า ทรู ไม่มีบอล พรีเมี่ยร์ มีสิทธิ์เจ๊งได้เลย
อย่างตอนปิดฤดูกาล นี่น้องชายแทบไม่ได้เปิด dream ดูเลย เพราะว่าไม่มีบอล เล่นแต่net อย่างเดียว
พวกบอลนี่ ต้องดู ถ่ายทอดสดเท่านั้น ถ้าเอามารีรันใหม่ ม้นไม่สนุก เพราะว่ารู้ผลไปแล้ว
ม้นไม่ได้ลุ้น
ย้ำอีกครับ เคเบิ้ล ที่อยู่ได้มีคนยอมเสียเงินจำนวนมากเพราะว่ามีบอลถ่ายทอดสด
ส่วนหนังหรือสารคดี เขาโหลดบิท มาดูเองได้ คนที่ยอมเสียเงินจำนวนเยอะนี่ นับคนได้
พวก ซีรี่อีก โหลดบิท มาดูดีกว่า ไม่ต้องรอตอนต่อไป
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 18

โพสต์

http://www.ebay.com/sch/i.html?_trksid= ... _sacat=293

อันนี้ link สั่งซื้อ STB ครับ

หรือสั่งจากต้นตอเลยครับ ที่จีน

http://www.aliexpress.com/wholesale?Sea ... 0&manual=y

ไม่ต้องไปเลือกยี่ห้อ ว่าผลิตที่ไหนหรอก เพราะว่า เกือบทั้งหมด ผลิตที่จีน
แต่ไปแปะยี่ห้อ เอาเอง
ผมยังคิดว่าถ้าในกทม สามารถรับ DVB-T2 ได้แล้ว จะสั่งมาให้แม่ดูซะหน่อย
ราคา พันกว่าบาท เป็น HD ด้วย
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :)
It's earnings that count
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 20

โพสต์

Ii'8N เขียน:ผมลอง list บริษัทที่อาจมีส่วนได้-ส่วนเสีย
มีศักยภาพ/ความเป็นไปได้ แต่ใครจะมาเข้าร่วมรึเปล่าหรือเข้ามาแค่ไหนอีกเรื่อง
ใครมีข้อมูลมากกว่านี้ ช่วยเสริมด้วยนะครับ

CCET ทำพวก Set Top Box และ OEM อุปกรณ์สื่อสาร
METCO ชิ้นส่วนจอภาพ (Plasma, LCD, LED TV)

ระบบ
AIT ทำ Data Center
IEC มีโครงการทำระบบ DVB ให้ MCOT อยู่แล้ว
INTUCH ประกาศแล้ว ว่าจะให้ลูก THCOM มาทำ platform
MFEC, MSC, SIMAT, PT การวางระบบ IT
TRUE, LOXLEY, JTS, SAMART/SAMTEL เชี่ยวชาญการติดตั้งระบบสื่อสาร, ทำระบบ IT, และ subcontract

ขายทีวี
AEONTS ขายทีวีผ่านบัตร
SINGER จ้าง Samsung Thailand ทำ TV ผ่อนส่ง
ROBINS มีลูกคือ power buy ขายผ่อนส่งในห้าง
HMPRO ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า

เกี่ยวข้องทางตรง และต้องปรับตัว อยู่ในวงการ TV, บันเทิง, และสื่อสารมวลชนปัจจุบัน
BEC, GRAMMY, LIVE, MCOT, NMG/NBC/NINE, RS, SPORT, WAVE, WORK


ซึ่งต้องคอยดู trend ว่าจะไปทางภาคพื้นดินอย่าง digital ที่ว่า, ทางสายเคเบิ้ลจริง, และทางอากาศคือดาวเทียม ใครจะแรงกว่า หรือจะแบ่งเค้กเป็นสัดส่วนตลาดกันอย่างไร
และการรวม internet เข้าไปด้วย จะรุ่งหรือดับ ต้องคอยดูกระแสว่าคนนิยมแค่ไหน
มีคนผลิตเครื่องออกมาขนาดไหน (คอยจับตาดูผู้เล่นที่พยายามเข้ามาในวงการ TV Broadband/Smart TV ระดับ global player อย่าง Apple, Google, Sony, Samsung)
ขชอบคุณครับ :D
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
Dekfaifah
Verified User
โพสต์: 1220
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ มีข้อมูลละเอียดจริงๆ
torpongpak
Verified User
โพสต์: 2595
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบคุณมากครับ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเเละข้อมูลปึ๊กเช่นเดิมครับ :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
s3410312
Verified User
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 23

โพสต์

รบกวน ขอความรู้เกี่ยวก่บ platform ครับ ในบริบทนี้ ธุรกิจที่ดำเนินการด้าน platform เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับอะไรบ้าง ยังนึกภาพ ไม่ค่อยออก

ขอบคุณพี่ ๆ ทุกท่านมากครับ
Nothing like it seem.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เอกสาร ITU ประกอบการสัมมนา digital tv (analog switch off

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ตอบสั้นๆ "Apps" สำหรับผู้ให้บริการนั่นเอง


อธิบายให้เห็นภาพ

ในระบบขนส่งมวลชน รถไฟ รถไฟฟ้า ผู้ให้บริการสร้างชานชาลา หรือ platform ให้ลูกค้ายืนพักรอเข้าแถวก่อนขึ้นรถ ไปปลายทาง
ในระบบสื่อสารมวลชนก็เหมือนกัน ข่าวสารจำนวนมากที่จะถูกส่ง จะมีจุดมีพื้นที่พักเพื่อจัดระบบก่อนส่งหรือ platform เช่นกัน (ก่อนไปสิ้นสุดที่ผู้เสพข่าว ก็ลำเลียงผ่านไปทาง "สื่อ" ที่อาจสื่อสิ่งพิมพ์ ถ้าเป็นสัญญาณเสียงหรือภาพ ก็อาจเป็นสายทองแดง, อาจผสมเลเซอร์ยิงไปในสายใยแก้ว, อาจยิ่งขึ้นอวกาศไปดาวเทียม, แล้วก็ความถี่วิทยุบนภาคพื้นดิน ไปแปลงกลับเข้าเครื่องรับ แล้วยุคนี้มีผสมหลายทางไปโผล่เข้าระบบออก Mobile device อย่างมือถือและ Tablet ด้วย)

ทีนี้ อธิบายด้วยเทคโนโลยีที่เราคุ้นกันอยู่แล้ว ถ้าจะบอกว่า Digital TV จะคล้ายกับเราดูหนัง CD คือใช้ Technology บีบอัดไฟล์ให้เล็กลง เพื่อให้ได้ช่่องเยอะขึ้น เทคโนโลยีที่แพร่หลายและที่จะเอามาใช้กับระบบเราเป็นจริงๆ เลยคือ MPEG
ก็บริษัทเดียวกับเจ้าของเทคโนโลยีลิขสิทธิ์บีบอัดเพลง MP3 ส่วนทาง AV (Audio Video นะครับ ไม่ใช่ Audio-Video :mrgreen: ) ที่เอามาใช้กับ DVB เป็น MPEG-2 และ MPEG-4 แล้วแต่ประเทศ
แล้วเอาสัญญาณนั้นส่งออกอากาศกระจายไปทั่ว เทคโนโลยี digital คล้ายๆ กับ Wireless Broadband ทั้งหลาย รวมถึง 4G ด้วย


จะเห็นว่าถ้าเราดูง่ายๆ มันก็แทบไม่ต่างกับเราใช้ Internet ในทุกวันนี้นี่เอง แต่การกระจายเสียง/ภาพดังเดิม เป็นการส่งสัญญาณไปปลายทางด้านเดียว กระจายไปหาลูกค้าโดยไม่สนใจต้องมีส่งสัญญาณกลับ ที่เรียกว่า Broadcasting
(แต่ที่ผมไม่แน่ใจว่าจะมีรึเปล่า เพราะยังไม่เห็นของจริงจากผู้ให้บริการเนื่องจากยังไม่เป็นวุ้น ยังไม่ได้ประมูลเลย... คือมาตรฐานยุโรป DVB ที่กสทช.ประกาศว่าเราจะเอามาใช้ จะคล้าย internet ยิ่งขึ้น คือสามารถให้ลูกค้าตอบสนองกลับได้ด้วยโดยมีมาตรฐาน DVB-RCT (Return Channel Terrestrial) ประกอบมาด้วย ยังไม่รู้ว่าบ้านเราจะเอามาใช้หรือไม่ ถ้าทำกล่องแปลงสัญญาน หรือ Set-top box ก็ต้องเพิ่มขาส่งกลับด้วย)



เมื่อเป็น digital คนที่ทำ TV ก็จะสามารถควบคุมการกระจายสัญญาณ ด้วยวิธี Digital มีลูกเล่นได้เยอะขึ้น
ซึ่งตรงนี้ ที่ต้องการ Developer ทำ Hardware และ Software ทำขึ้นมาเพื่อควบคุมตามใจ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ไม่ต้องสนใจเทคโนโลยีว่ามันเป็นอะไร ที่เรียกว่า "Platform" จึงหมายถึงเจ้าระบบตัวนี้
และที่ควรเหมือนอย่าง TV ดาวเทียม ที่มีสารพัดกล่องทั้งหลายในปัจจุบัน ลูกเล่นฝั่งเครื่องรับ platform ต้องตอบสนองในการติดต่อได้

ถ้าเป็น TV Analog ก็แค่ต่อสายสัญญาณ Video ง่ายๆ เข้าหาเครื่องส่ง แล้วออกอากาศ
TV Digital เหมือนต้องการยุ่งยาก ถ้าจะเป็นผู้ให้บริการรายเล็กๆ จะทำเหมือนเดิมก็ได้ เอาสัญญาณเข้ารหัส ไปผสมสัญญาณความถี่ส่งแล้วออกอากาศ
แต่จะใช้ความถี่สัมปทานให้คุ้มค่า License เป็นประโยชน์ในการสร้าง interface กับลูกค้า

ยิ่งอนาคตได้ TV รุ่นใหม่ลูกเล่นมากมาย และผู้ให้บริการก็จะสร้างและพัฒนาระบบอื่นมาตามให้ทันเพื่อหาประโยชน์ให้มากที่สุด แล้วอาจไม่ใช่เฉพาะช่อง Free TV ก็ได้ ก็คล้าย Cable TV และ Satellite TV ทุกวันนี้
อาจมี remote ที่มีลูกเล่น อนาคตอาจไปไกลมี keyboard หรืออาจ touchscreen
และอาจไม่ใช่แค่ Broadcast เทคโนโลยีสามารถ interactive คือส่งสัญญาณกลับมาสถานีส่งได้เพื่อการควบคุมผ่าน DVB-RCT ที่บอกข้างบน เช่น เอาวิดีโอที่ออกใหม่มาฉาย กดรีโมทเลือกหนังใหม่เหมือนสั่งหนังใหม่ที่กำลังฉายในโรงดูเลยหรือจะหนังเก่าในคลังก็แล้วแต่ ซึ่งเราเรียก VoD หรือ Video on Demand (หรืออนาคต อาจสั่งสินค้าผ่าน TV ได้)

ทำไมต้อง Platform เหรอครับ ตัวอย่างประโยชน์ที่ดีๆ ในอนาคตมีอีกมาก
- เก็บสถิติการชมลูกค้า เพื่อโฆษณาให้ตรงเป้าหมาย
(Google มองวงการทีวีตาเป็นมันพยายามมีส่วนร่วมและจะกระตุ้นให้เกิด interactive มากกว่านี้ มองว่า TV operator ทุกวันนี้เฉื่อยเกินไป
ก็หนีไม่พ้นเรื่องโฆษณา จะแกะรอยลูกค้าว่านิยมรายการไหนเหมือนที่ทำกับ search engine)
- อาจสร้าง Application อะไรดึงดูดลูกค้าแปลกๆ ใหม่ๆ อย่างวงการ internet ทำตอนนี้
- Right Protection ป้องกันการ Copy หนังดีๆ เอาไปขาย เพราะเมื่อก่อนขนาดเป็นภาพไม่ชัด ก็ยัง copy กัน อย่าลืมว่าตอนนี้เป็น content คุณภาพสูงแล้ว
(และถึงแม้สุดท้าย คนเก่งๆ ก็ hack ได้ แต่ก็ถือว่าป้องกันแล้ว ยังดีกว่าปล่อยให้ copy ได้เฉยๆ ง่ายดาย)
- Subtitle หรือ Menu สารพัดภาษา
- อาจเก็บ Online bookmark รายการโปรดของลูกค้า ส่งสัญญานเชื่อมมือถือไป SMS/MMS บอก schedule รายการออกอากาศ เพิ่มรายละเอียด เช่น พรุ่งนี้วู๊ดดี้จะเชิญใครมามาคุย, รายการที่เคยดูต้องเลื่อนเพราะมีถ่ายทอด olympic มาทับ, แล้วมีรายการใหม่เกิดขึ้นคล้ายๆ กันคุณอาจสนใจ เป็นต้น
- สถานีส่ง อาจรับ content จากลูกค้ามากขึ้น จากปัจจุบันแค่ SMS อนาคตอาจรับ message สดโดยตรง, สร้างเกมเล่นกับรายการ, การโหวตในรายการ, อาจจะเขียนให้รับ clip video ได้เลย ยังมีเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้นบนระบบ boradband อีกมากในอนาคต ที่เรายังไม่รู้ตอนนี้ ว่าอะไรจะเป็นที่นิยม ตัวอย่างคล้าย whatapps บนมือถือ เช่น อ่านตำแน่งว่าลูกค้าส่งมาจากที่ไหน
ขอให้จับตาดู google ว่าจะมาไม้ไหน! ยกแรกยังไม่สำเร็จ แต่ไม่ละความพยายามแน่
อย่างที่บอกว่า DVB-RCT ที่ยังไม่รู้ว่าบ้านเราจะเอามาใช้หรือไม่ ถ้าเอามาใช้ระบบ vote ก็รองรับบนนี้ได้ ไม่ไต้องไปส่งผ่านมือถือ เขียน platform แยกต่างหาก อย่างที่ทำทุกวันนี้
- ข้อมูลบนทีวี อนาคตอาจต้องปฏิสัมพันธ์กับ web และทำให้พร้อมที่จะออกจอทุกรูปแบบ ไม่ว่าจอ mobile หรือจอ tablet
อย่างที่น้าหยุ่น ณ เนชั่น ประกาศ vision แล้วว่าจะทำเช่นนั้น เพราะมีสื่อครบในมือ จะสำเร็จหรือไม่ก็คอยดู
- จะมีรายงานอะไรพิเศษเกี่ยวกับหุ้น จะมีช่องตลาดหุ้นหรือรายงานตลาด Asean Link รึเปล่า อนาคตอาจมีใครทำมากกว่านี้



สรุปกว้างๆ ถ้าจะให้บริการมืออาชีพ และทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ ... ระยะแรกอาจจะจะทำแบบลูกทุ่ง ใช้ PC ไม่กี่ตัวควบคุม
ต่อสายสัญญาณวิดีโอออกอากาศเหมือนทีวีระบบเก่าก็พอได้ แค่ใช้ router ต่อไปหาระบบ
แต่ระยะยาวคู่แข่งเยอะขึ้น อาจรายได้สู้คนอื่นไม่ได้ ถ้ายังทำทื่อๆ อาจพออยู่ได้ตามมีตามเกิด แต่นานไปก็อาจเป็นเหมือนวิทยุ AM หรือ SW ที่ถูกมองเป็นวัตถุโบราณ obsolete และโลกลืมในวงการ


นอกจากฉายข่าว ฉายหนัง ที่เก็บเป็นรูป "ห้องสมุด Digital" ได้ทั้งหมดแล้ว ต้องมีระบบ เป็น server สร้างสรรค์บริการใหม่ๆ "Apps"
ที่สำคัญ ยิ่งเป็นฟรีทีวีด้วยแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคือ "โฆษณา" ต่อไปนี้ Nielsen จะเก็บ Rating ได้แม่นยำกว่าเดิม และบริษัท Agency โฆษณา รวมถึงลูกค้าคนที่ใช้บริการยิง commercial spot จะสามารถตัดสินใจได้ว่า อยากออกโฆษณาช่องไหน เวลาเท่าไหร่ ให้ตรงเป้าหมาย
และการจัดราคากันอย่างไร เพราะปกติช่วงที่ลูกค้าดูเยอะ หรือที่เรียกว่า prime time โฆษณาต่อนาทีก็จะยิ่งแพง แต่คนแย่งกัน
การจัด Rating จะได้ความรู้สึกเชื่อมั่นมากกว่าเดิม ว่ามีลูกค้าดูเยอะจริง
แล้วช่วยให้สถานีจัดผังรายการง่ายขึ้น สมกับความเป็น Digital เพราะผู้บริหารมีข้อมูลตัดสินใจมากขึ้น ดูตัวเลขแล้วลองจับโยกได้เลย

ในวงการ TV Analog มีคำพูดคำหนึ่งว่า Content is the King
Content ในวงการ TV ก็คือหนัง ข่าว รายการบันเทิง
ซึ่งก็ไปตรงกับวงการอินเตอร์เนตด้วย ว่าการจะให้คน Search หา ต้องมี content ที่แข็งแกร่ง คนทำ SEO คือให้ search engine optimization ค้นหา ก็ได้รับคำแนะนำว่าต้องจัดเตรียม content ที่ดี และมีข้อความพร้อมมีข้อมูลที่สัมพันธ์กับคามต้องการลูกค้า
เมื่อ TV เข้าสู่วงการ Digital ผู้บริหารอาจต้องเรียนรู้พฤติกรรมของวงการ Internet มาเสริมด้วย เพราะคู่แข่งจะเยอะขึ้น อนาคตลูกค้ากดช่องหนีง่ายขึ้นเมื่อเบื่อ



เสริมอีกนิดว่าปัจจุบันบทบาทของคนทำ platform และ infrastructre ยังเป็นที่สับสนและถูกมองว่าเป็นเรื่องเดียวกัน มองว่าการจัดการส่งออกผ่านเคเบิ้ลและดาวเทียม เป็น platform เพราะคนทำเป็นรายเดียวกัน และ platform ยังไม่ซับซ้อน
infrastructre operator ก็คือคนทำสถานีส่ง ช่อง 3, 5, 7, 9, 11, TPBS
ที่ถูกแยกไปพอเห็นเป็นธุรกิจต่างหากชัด คือ content provider คือคนทำรายการ มีแต่รายการข่าวเท่านั้น ที่ content provider เป็นสถานีเอง เพราะยังต้องการการควบคุมอยู่
แต่ก็มีตัวอย่างชัดเจน ที่เคยมีคนทำข่าวเทิงแยกออกมา

อนาคตขึ้นอยู่กับกสทช. ที่อาจเก็บค่า License แยก ซึ่งจากที่ดูข่าวที่ The Nation จัดงานวันเกิดตัวเอง เชิญ ดร. นที ศุกลรัตน์ไปพูด ก็เขียนไว้ว่า

โดยในงาน 12 ปี Nation Channel : Digital Media Landscape 2012 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.อ.ดร.นทีบอกว่า
กสทช.น่าจะออกใบอนุญาตการให้บริการทีวีออกเป็น 5 ประเภท คือ Infrastructure Provider (โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก) Network Provider (ผู้ให้บริการโครงข่าย) Frequency Spectrum , Service Provider (บริการช่องรายการ) และ Application Provider (บริการประยุกต์)
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=810958 "อนาคตสื่อทีวียุค กสทช./Content ทำท่าจะไม่ใช่ King ?"
โพสต์โพสต์