รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 271

โพสต์

วันที่/เวลา 06 มิ.ย. 2555 13:13:31
หัวข้อข่าว การลงทุนในโครงการสำรวจปิโตรเลียม แปลงสำรวจบนบก PSC-G และ EP-2 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
หลักทรัพย์ PTTEP
แหล่งข่าว PTTEP

รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์

6 มิถุนายน 2555

เรื่อง การลงทุนในโครงการสำรวจปิโตรเลียม แปลงสำรวจบนบก PSC-G และ EP-2 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ขอแจ้งว่า บริษัท PTTEP South Asia
Limited หรือ PTTEP SA (บริษัทย่อยของปตท.สผ.) และบริษัท Win Precious Resources Pte. Ltd. (WPR)
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลใน Myanmar Onshore Blocks Bidding Round 2011
เพื่อดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจบนบก PSC-G และ EP-2 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

กลุ่มผู้ร่วมทุนประกอบด้วย บริษัท PTTEP SA (ผู้ดำเนินการ) และ WPR ในสัดส่วนการร่วมทุนร้อยละ 90 และ 10
ตามลำดับ แปลงสำรวจ PSC-G และ EP-2 ตั้งอยู่บนบกบริเวณ Central Myanmar Basin ติดกับเมืองหลวงใหม่
กรุงเนปิดอร์ (Nay Pyi Taw) ทางด้านตะวันตก มีพื้นที่รวมประมาณ 13,330 และ 1,345 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ

การขยายการลงทุนในแปลงสำรวจบนบก PSC-G และ EP-2 เป็นการต่อยอดยุทธศาสตร์การพัฒนา
และขยายการลงทุนต่อเนื่องในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดย ปตท.สผ.
ยังมีการดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจอีก 2 แปลง ได้แก่ โครงการพม่า เอ็ม 3 และเอ็ม 11
มีการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมอีกหนึ่งโครงการ ได้แก่ โครงการพม่าซอติก้า ซึ่งบริษัทฯ
คาดว่าจะเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในปี 2556 และมีโครงการร่วมทุนที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตแล้ว 2 โครงการ
ได้แก่ โครงการยาดานา และโครงการเยตากุน


จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

เทวินทร์ วงศ์วานิช
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 272

โพสต์

PTTEP wins exploration rights for Myanmar blocks
Source - Bangkok Post, Thursday, June 07, 2012


PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) has won exploration rights for two onshore petroleum blocks in Myanmar.

PTTEP South Asia Ltd and Win Precious Resources Pte, a Singaporean incorporated company, were the successful bidders for blocks PSC-G and EP-2, Tevin Vongvanich, PTTEP’s president and chief executive, said in a statement submitted to the Stock Exchange of Thailand (SET) yesterday.

The PTTEP subsidiary will have a 90% interest in the blocks and Win Precious Resources the rest.

Blocks PSC-G and EP-2 are located onshore in the Central Myanmar Basin, which is west of the new capital of Nay Pyi Taw. They are 13,330 and 1,345 square kilometres in size, respectively.

Investment in the blocks is in line with PTTEP’s key strategic objective of expanding in Myanmar, said the statement.

In Myanmar, PTTEP currently has investments in two exploration projects, Myanmar M3 and M11; one development project, Myanmar Zawtika, which is expected to start production next year; and two joint projects in the production phase, Yadana and Yetagun.

"Myanmar is one of our focus countries in upstream petroleum, and we’re also preparing gas development plans for its central government," said Mr Tevin.

He said his company plans to set up an office in Ranong province bordering Myanmar to oversee production and be used as a facility yard for exploration and production.

PTTEP shares closed yesterday on the SET at 157.50 baht, up 2.50 baht, in trade worth 387 million baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 273

โพสต์

สหพันธ์ก๊าซนานาชาติเชื่อก๊าซก้าวขึ้นแทนน้ำมัน ปตท.ส่งสผ.รุกแหล่งก๊าซออสซี่และอเมริกาเหนือ
Source - พิมพ์ไทย (Th), Thursday, June 07, 2012


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในการเข้าร่วมประชุมธุรกิจก๊าซนานาชาติ World Gas 2012 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ถึงแนวโน้มการใช้พลังงานของโลกว่า โอกาสที่ก๊าซจะเข้ามาเป็นพลังงานของโลกในอนาคตมีความเป็นไปได้ เนื่องจากทั้งน้ำมันดิบถ่านหิน หรือก๊าซ ล้วนเป็นพลังงานที่หมดไป แต่การใช้พลังงานในปัจจุบันมีการมองถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และก๊าซเป็นพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันและถ่านหิน

นายไพรินทร์ กล่าวว่า ขณะเดียวกันเรื่องของราคาก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การใช้ก๊าซจะมีมากขึ้น เนื่องจากหากเทียบกับราคาน้ำมันดิบที่ค่อนข้างผันผวน แต่ก๊าซราคาจะมีเสถียรภาพมากกว่า เนื่องจากการซื้อขายก๊าซจะเป็นสัญญาระยะยาว ทำให้สามารถดูแลราคาให้มีเสถียรภาพได้ง่ายกว่า ทำให้ความนิยมในการใช้ก๊าซจะเพิ่มขึ้น ในส่วนของ ปตท.ก็เตรียมการรองรับการใช้ก๊าซที่จะมากขึ้นในอนาคต โดยมีทั้งส่วนการนำเข้าที่ ปตท.มีการสร้างท่าเรือและเทอร์มินอลรองรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และให้ ปตท.สผ.ซึ่งเป็นบริษัทลูกหาสัมปทานแหล่งก๊าซใหม่ๆ ทั้งที่ออสเตรเลียและอเมริกาเหนืออย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องมีการพิจารณาคือ การอุดหนุนราคาพลังงาน ซึ่งยอมรับว่าหลายประเทศในโลกรวมทั้งไทยยังมีการอุดหนุนราคาพลังงานอยู่ แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะยกเลิกการอุดหนุนราคาพลังงาน เช่น สิงคโปร์ สหรัฐเพื่อให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยที่รัฐบาลได้มีมาตรการที่จะสร้างรายได้ให้ประชาชนสูงขึ้นเพื่อรองรับกับราคาพลังงานที่แท้จริง ดังนั้น หากไม่มีการยกเลิกการอุดหนุนราคาและปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดโดยที่มีการ

ทั้งนี้ ในการประชุม World Gas 2012 ครั้งนี้ สหพันธ์ก๊าซนานาชาติประเมินว่า ในปี ค.ศ.2050 ก๊าซจะกลายเป็นพลังงานหลักของโลกแทนน้ำมันจากปัจจุบันมีการใช้ก๊าซเป็นพลังงานอยู่ประมาณ 1 ใน 5 ของโลก สังเกตจากปริมาณการใช้ก๊าซเป็นพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสการเติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 40 สำหรับประเทศไทยมีการใช้ก๊าซในภาคเศรษฐกิจต่างๆโดยข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีการใช้ก๊าซในโรงไฟฟ้ามากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 ในโรงแยกก๊าซธรรมชาติร้อยละ 20.5 โรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 14.1 และในภาคขนส่งในส่วนของเอ็นจีวีร้อยละ 6.4.

---จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 274

โพสต์

ขอตัดข่าวนี้เก็บไว้หน่อยนะครับ
mrsanchai เขียน:ผลิตไฟฟ้าพลังงานลมสุดเวิร์ก!
วันพุธที่ 04 เมษายน 2012 เวลา 10:40 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

วินด์ เอ็นเนอยี่ กินรวบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์ กำเงิน 40,000 ล้านบาท ผุดโรงไฟฟ้า 7 แห่ง พร้อมเดินหน้าเข้าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า ต่อยอดธุรกิจด้วยการลุยลงทุนแถบเอเชีย ยุโรปและอเมริกา

หวังเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1,000 เมกะวัตต์ เพื่อกระจายความเสี่ยง
นายนพพร ศุกพิพัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท วินด์ เอ็นเนอยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลมรายใหญ่ของไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงทิศทางการดำเนินงานว่า จากที่กระทรวงพลังงานจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 10 ปี(255-2564) โดยวางเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมให้ได้ 1,200 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 นั้น เห็นว่าทางกระทรวงพลังงานควรที่จะปรับเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมใหม่เพิ่มเป็น 1,600 เมกะวัตต์ เนื่องจากขณะนี้หากประเมินแผนงานการลงทุนของบริษัทในช่วง 8 ปี (2555-2563) สามารถที่จะพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้แล้วประมาณ 1,000 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ เห็นได้จากแผนการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)แล้ว 5 โครงการ คิดเป็นปริมาณขายไฟฟ้า 450 เมกะวัตต์ หรือโครงการละ 90 เมกะวัตต์ ได้ค่ารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มหรือ Adder ในอัตรา 3.50 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี แยกเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมเวสต์ ห้วยบง 3 กำลังการผลิต 103.5 เมกะวัตต์ ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินงานผ่านบริษัท เฟิร์ส โคราช วินด์ จำกัด ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานคืบหน้าไปแล้วกว่า 30 % มีการสั่งอุปกรณ์กังหันลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 101 เมตร จำนวน 45 ต้น กำลังผลิตต้นละ 2.3 เมกะวัตต์ เข้ามาที่ท่าเรือแหลมฉบังแล้ว โดยจะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนตุลาคม 2555 นี้ ใช้เงินลงทุนประมาณ 6,500 ล้านบาท

รวมถึงโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมเวสต์ ห้วยบง 2 ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ขนาดกำลังการผลิต 103.5 เมกะวัตต์ ดำเนินงานผ่านบริษัท เค.อาร์.ทู จำกัด ซึ่งได้สั่งอุปกรณ์กังหันลมมาแล้วเช่น จะติดตั้งแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ใช้เงินลงทุนประมาณ 6,500 ล้านบาท

อีกทั้ง บริษัท ยังได้วางแผนการลงทุนในช่วง 3 ปี(2555-2557) ที่จะพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมอีก 3 โครงการ ตั้งอยู่ในอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าจากกฟผ.แล้วเช่นกัน รวมปริมาณขายไฟฟ้า 270 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 20,000 ล้านบาท แยกเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมโคราช 02/1 ดำเนินงานผ่านบริษัท เทพารักษ์ วินด์ จำกัด ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนมกราคม 2559 โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมโคราช02/2 ดำเนินงานผ่านบริษัท ทรอปิคอล วินด์ จำกัด จะก่อสร้างแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนมีนาคม 2559 และโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมโคราช 02/3 ดำเนินงานผ่านบริษัท เค.อาร์.ทรี จำกัด จะก่อสร้างแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนมิถุนายน 2559

นายนพพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในสัปดาห์นี้บริษัทจะยื่นเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานลมอีก 1 โครงการ ในชื่อบริษัท กฤษณา วินด์ จำกัด ปริมาณที่เสนอขาย 40 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งหากมีการตอบรับการรับซื้อไฟฟ้าและดำเนินการ่อสร้างได้ และจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2558 ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,600 ล้านบาท และยังมีอีก 1 โครงการที่วะตะแบก จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินงานผ่านบริษัท วะตะแบก วินด์ จำกัด ปริมาณที่เสนอขาย 60 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 4,500 ล้านบาท คาดว่าจะได้รับการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้าในอีก 2 เดือน ข้างหน้า คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2557 ซึ่งหากรวมทั้ง 7 โครงการนี้ จะทำให้มีปริมาณขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ 550 เมกะวัตต์ รวมเม็ดเงินลงทุนประมาณ 40,100 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมโครงการต่างๆ ที่บริษัทมีแผนจะพัฒนาอีกประมาณ 500 เมกะวัตต์ ในช่วงปี 2559-2563

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2557 บริษัทมีแผนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้บริษัทต้องขยายงานรองรับมากขึ้น โดยเฉพาะการออกไปลงทุนต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ที่ตั้งเป้าหมายไว้ในประเทศแถบนี้ 500 เมกะวัตต์ รวมถึงประเทศในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีก 500 เมกะวัตต์ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจและเป็นการรักษาระดับรายได้หรือสัดส่วนของกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่ให้ลดลง เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความเร็วของลมที่ใช้หมุนกังหัน

ทั้งนี้ การออกไปขยายงานต่างประเทศจะดำเนินการควบคู่กับการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งล่าสุดได้มีการเจรจากับเอกชนของเวียดนาม ที่จะเข้าไปลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมแล้ว 2-3 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตแห่งละ 50-60 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมจะอยู่ที่ประมาณ 65 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,728 5-7 เมษายน พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 275

โพสต์

กลุ่มปตท.เพิ่มลงทุนพม่า พลังานสั่งกฟผ.ตั้งทีมทำแผนผลิตไฟฟ้าใน2เดือน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, June 08, 2012


"เทวินทร์" เผยกลุ่มปตท.เพิ่มลงทุนพม่าเป็น 20% ใน 5 ปี ลุยปิโตรฯ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ

“อารักษ์” ปรับใหญ่แผนลงทุนพม่าตั้งทีมศึกษา “พลังงาน-ไฟฟ้า” ภายใน 2 เดือน เสนอเร่งพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าเร่งด่วนให้พม่าภายใน 6 เดือน แก้ปัญหาไฟฟ้าดับ-เพิ่มกำลังผลิตไฟรับซีเกมส์ เล็งส่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหนองจอก 122 เมกะวัตต์ ติดตั้งให้ พร้อมดึงกลุ่ม ปตท.ลงทุนครบวงจร ขณะที่ปตท.สผ.เพิ่มลงทุนพม่าเป็น 20% ในแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี กว่า 2,400 ล้านดอลลาร์

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิเผยว่าได้เข้าพบนายซอ มิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้า หมายเลข 1และนายตัน เต รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม การเข้าพบครั้งนี้ได้ หารือถึงความร่วมมือในการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าให้กับพม่า เนื่องจากขณะนี้ไฟฟ้าในพม่ามีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายหลังเศรษฐกิจขยายตัว ทำให้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ ประกอบกับ พม่ากำลังจะเป็น เจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่จะจัดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2556 ที่กรุงเนย์ปิดอว์เมืองหลวง

ดังนั้นทางฝ่ายไทยได้เสนอที่จะพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าระยะเร่งด่วนให้กับพม่า ซึ่งมีวิธีดำเนินการได้ภายใน 6 เดือน แต่ต้องผ่านการศึกษาก่อน เบื้องต้นสามารถนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีในไทยไปติดตั้งในพม่าเพราะทำได้เร็วกว่าโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะมีการศึกษารายละเอียดระยะหนึ่งก่อนมาหารือกับพม่าอีกครั้ง

ส่วนแผนระยะยาวนั้น ได้มีการหารือถึงระบบไฟฟ้าของพม่าในภาพรวม เนื่องจากพบว่าปัจจุบันพม่ามีกำลังผลิต 3,600 เมกะวัตต์ โดย 75% เป็นพลังน้ำ ขณะเดียวกัน ความต้องการไฟฟ้าก็มีอัตราการเติบโตสูง โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนซึ่งใช้ไฟฟ้ามาก แต่น้ำมีน้อย ทำให้พม่าเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำไม่ได้มากนัก

“จากการหารือพบว่ารัฐมนตรีพม่าคุ้นเคย และเชื่อใจไทย ประกอบไทยมีโครงการลงทุนในพม่าหลายโครงการ โดยเฉพาะการพัฒนาปิโตรเลียม ซึ่งจะไม่นำกลับไปใช้ในไทยอย่างเดียว เพราะพม่ากำลังประสบปัญหาขาดแคลนพลังงาน ในส่วนของไฟฟ้านั้น ไทยก็จะมาช่วยพัฒนาระบบไฟฟ้าทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งต้องแล้วแต่พม่าว่า ต้องการใช้เชื้อเพลิงประเภทไหน และต้องการตั้งโครงการในพื้นที่ไหน ในการหารือครั้งนี้ ยังได้เสนอทุนการศึกษาปริญญาโท 4 ทุนต่อปีในไทย ด้านปิโตรเคมีให้กับนักศึกษาพม่าด้วย เราถือว่าหากเศรษฐกิจพม่าดีขึ้น ไทยก็จะได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย เพราะเป็นเพื่อนบ้านกัน” นายอารักษ์กล่าว

เร่งทำแผนลงทุนอุตฯ ปลายน้ำ

นายอารักษ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา การลงทุนด้านพลังงานหลักๆ ในพม่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ คือ ขุดเจาะสำรวจ ยังไม่ได้หารือกับพม่าอย่างชัดเจนเกี่ยวกับโครงการลงทุนอุตสาหกรรมท้ายน้ำในพม่ามากนัก แต่หลังจากนี้ จะพูดคุยกับพม่าเรื่องการลงทุนในอุตสาหกรรมท้ายน้ำมากขึ้น

เนื่องจากในพม่านั้น นอกจากโรงไฟฟ้าแล้ว ยังมีหลายธุรกิจที่มีโอกาสในการขยายการลงทุน อาทิเช่น สถานีบริการน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งไทยมีศักยภาพและเชี่ยวชาญ จึงให้ตั้งคณะทำงานศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและโครงการลงทุนในพม่าร่วมกันระหว่างหน่วยงานในกระทรวงพลังงาน โดยมีนายวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ เป็นประธานคณะทำงาน ให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือน

“เศรษฐกิจพม่ากำลังดีขึ้น เมื่อพม่าเริ่มเปิดประเทศไทยก็ควรต้องรีบเข้าไปลงทุน นักลงทุนจากทั่วโลกต่างมองหาโอกาสลงทุนในพม่า”

การหารือในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นก่อน ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลงสำรวจบนบก 2 แปลง ประกอบด้วย PSC G และ EP 2 ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของพม่า ระหว่างบริษัท Myanma Oil And Gas Enterprise (MOEG) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติของพม่า และบริษัท ปตท.สผ. เซาธ์ เอเชีย และบริษัท วิน พรีเชียรซ์ รีซอสเซส

ปตท.สผ.เตรียมร่วมประมูลรอบใหม่

ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ.ลงทุนในพม่ามากว่า 20 ปี และเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในพม่า เป็นโครงการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมกว่า 10 แปลง ได้แก่ ยาดานา เยตากุน โครงการซอติก้า (แปลง M 9) M 3 M 11 เป็นต้น

ในส่วนของ M 9 ที่อ่าวมะตะบัน ปีหน้าจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดย 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จะส่งกลับไทย และ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะขายในพม่า ส่วน M 3 อ่าวเมาะตะมะ จะเร่งเจาะสำรวจ

ที่ผ่านมา เจอปิโตรเลียมแล้ว 1 หลุม และมีแผนจะเจาะเพิ่มเติมอีก 3-4 หลุมในแหล่งนี้ จะผลิตและป้อนที่ย่างกุ้งเป็นหลัก หากมีก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ในปริมาณมากพอก็จะผลิตและส่งขายให้พม่า

สำหรับ M11 อ่าวเมาะตะมะ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำลึกถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับปตท.สผ. ขณะเดียวกัน ก็มีโอกาสเจอปิโตรเลียมแหล่งใหญ่ โดย ปตท.สผ.จะเจาะสำรวจอย่างต่อเนื่องจนถึงปีหน้า

สำหรับแปลงสำรวจบนบก 2 แปลง ประกอบด้วย PSC G และ EP 2 ที่เพิ่งมีการลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับพม่า โดยในปลายปีนี้ จะมีการวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ ตามข้อกำหนดภายใน 3 ปี จะมีการเจาะสำรวจขั้นต่ำ 4 หลุม คาดว่าพื้นที่นี้จะมีศักยภาพ เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งที่มีการพัฒนาแล้ว ซึ่งได้วางงบลงทุนไว้รวม 25 ล้านดอลลาร์ใน 3 ปี

นอกจากนี้ พม่ายังมีแผนที่จะเปิดให้สัมปทานเพิ่มเติมทั้งแปลงบนบกและในทะเล ในรูปแบบการเปิดประมูลและการให้เสนอผลตอบแทนโดยในส่วนของแปลงบนบกนั้น อีก 3 เดือนจะมีการเปิดประมูลอีก ปตท.สผ.ก็สนใจลงทุนต่อเนื่อง

ตั้งงบลงทุน 20% ในแผน 5 ปี

เขากล่าวว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปตท.สผ.ได้วางกรอบการลงทุนในพม่าไว้ประมาณ 20% ของงบลงทุนทั้งหมดตามแผน 5 ปี (2555-2559)รวม 12,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2,400 ล้านดอลลาร์ที่จะลงทุนในพม่าช่วง 5 ปีนี้ถือว่ามีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุดของปตท.สผ.

นายเทวินทร์ กล่าวต่อว่า โครงการลงทุนในพม่า ของ ปตท.สผ.มีหลายโครงการ และบริษัทเป็นผู้ลงทุนในพม่ามานาน ทำให้มีนักลงทุนจำนวนมากมาเสนอร่วมเป็นพันธมิตรลงทุนในพม่า ทั้งจากเอเชียและยุโรป ซึ่งปตท.สผ.อยู่ระหว่างการตัดสินใจร่วมทุน โดยหลักจะเลือกพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีและเงินทุน

กลุ่มปตท.ลุยต่อยอดธุรกิจปิโตรเลียม

เขากล่าวว่า แนวทางการลงทุนในพม่าด้านพลังงานในภาพรวมนั้น จะมีการศึกษาของคณะทำงานร่วมกันของกระทรวงพลังงาน ซึ่งจะมองทั้งการลงทุนระยะสั้น กลางและยาว โดยในระยะสั้น จะเน้นไปที่การปรับปรุงท่อก๊าซธรรมชาติ และโรงกลั่นน้ำมัน รวมถึงตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอในระยะสั้น ซึ่งจะมีการลงทุนร่วมกันระหว่างไทยและพม่า

ส่วนในระยะกลางและระยะยาวนั้น จะเป็นการลงทุนทั้งการวางท่อก๊าซฯ โรงแยกก๊าซฯ ปิโตรเคมี ซึ่งจะลงทุนในนามของกลุ่ม ปตท.เพราะมีประสบการณ์และต่อยอดจากการพัฒนาปิโตรเลียมที่ ปตท.สผ.สำรวจขุดเจาะในหลายแปลง ส่วนธุรกิจไฟฟ้านั้นทางกลุ่ม ปตท.สามารถจัดหาเชื้อเพลิงรองรับได้หลายรูปแบบทั้ง ก๊าซฯ และถ่านหิน

นายสมบูรณ์ อารยะสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่าโครงการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าของพม่าในระยะเร่งด่วนนั้น มีแผนที่จะนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซ ขนาด 122 เมกะวัตต์ ที่โรงไฟฟ้าหนองจอก ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่นำไปช่วยเหลือญี่ปุ่นในช่วงสึนามิไปติดตั้งในพม่า ต้องมีการศึกษารายละเอียดทั้งหมดก่อน โดยเฉพาะรูปแบบการลงทุน

ราคาหุ้นบริษัท ปตท. (PTT) ปิดตลาดวานนี้ (7 มิ.ย.) ที่ 308.00 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 1,144.06 ล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นบริษัท ปตท.สผ. (PTTEP) ปิดตลาดที่ 159.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท หรือ 1.27% มูลค่าการซื้อขาย 506.28 ล้านบาท

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 276

โพสต์

RPCวางแผนทำเหมืองควอทซ์
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, June 08, 2012


ย้ำไม่เคยคิดถอนหุ้นพ้นตลาด

RPC เดินหน้าศึกษาทำเหมืองควอทซ์ “สัจจา” ย้ำไม่เคยคิดเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ลั่นโรงกลั่นบริษัทเนื้อหอม ต่างชาติแห่รุมเจรจาขอซื้อ 2-3 ราย

นายสัจจา เจนธรรมนุกูล ประธานกรรมการ บริษัท ระยองเพียวรีไฟเออร์ จำกัด (มหาชน) หรือ RPC เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทอยู่ในระหว่างการศึกษาเข้าไปลงทุนทำเหมืองควอทซ์ในประเทศ ซึ่งแผนเบื้องต้นอาจจะใช้วิธีการร่วมทุนกับทางกลุ่มพันธมิตรในท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม แผนการทำเหมืองควอทซ์ คงจะมีข้อสรุปได้ออกมาภายในช่วงปี 2555 สำหรับตัวแร่ควอทซ์ถือเป็นผลผลิตจะนำไปใช้ในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และชิพในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมทั้งบริษัทยังเดินหน้าศึกษาการลงทุนในธุรกิจใหม่ชนิดอื่นๆ อาทิ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

"ตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเข้ามาชดเชยธุรกิจหลักที่ได้รับผลกระทบจากการที่ ปตท. หยุดส่งวัตถุดิบให้ตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมา ตอนนี้มีติดต่อเข้ามาหลายรายหลายธุรกิจ ก็ต้องศึกษาไปเรื่อยๆ ตอนนี้ที่น่าสนใจคือเหมืองแร่ควอทซ์คุยมา 6-7 เดือนแล้ว ส่วนเงินลงทุนยังไม่ชัดเจน อาจเริ่มตั้งแต่ 10-20 ล้านบาท ถึง 3-4 หมื่นล้านบาท" นายสัจจา กล่าว

ส่วนความคืบหน้าด้านการเจรจาขายโรงกลั่น 2 แห่ง ล่าสุดได้มีกลุ่มทุนต่างประเทศที่แสดงความสนใจเข้า 2-3 รายด้วยกัน ดังนั้น ทาง RPC เองจึงยังอยู่ในระหว่างกระบวนการเจรจาข้อสรุป ส่วนราคาขายทางบริษัทได้ตั้งไว้จำนวนไม่ต่ำกว่า 1.8 พันล้านบาท (ยังไม่รวมราคาที่ดิน)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ RPC จะเกิดปัญหาหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา แต่ทางบริษัทยืนยันว่า ยังคงไม่มีแผนที่จะเพิกถอนหุ้น RPC ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากมีความมั่นใจที่บริษัทจะสามารถชนะคดีความที่ฟ้องร้องกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ได้จากกรณีหยุดส่งวัตถุดิบให้บริษัท และเรียกค่าเสียหายประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งคาดว่าจะเรียกบริษัทและคู่กรณีเข้าไปไต่สวนภายในช่วงเดือนก.ค. 2555 สำหรับการที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทในวานนี้ ยังมีการอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จากกำไรสะสม 500 ล้านบาท ในอัตรา 0.94 บาท/หุ้น หรือเป็นวงเงินปันผลรวม 400 ล้านบาท กำหนดจ่ายในวันที่ 15 มิ.ย.2555 ซึ่งหลังการจ่ายปันผลจะส่งผลให้กำไรสะสมลดลงเหลือ 14 ล้านบาท และจะนำจำนวนเงินดังกล่าวไปใช้ในการต่อสู้คดีกับ PTT ในช่วงต่อไป

ทั้งนี้ RPC ได้เริ่มเข้าจดทะเบียนใน ตลท. เป็นครั้งแรกเมื่อช่วงปี 2546 ส่วนข้อพิพาทกับทาง PTT กรณีการขายคอนเดนเสทให้กับ RPC เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2552 และกดดันให้ราคาปรับตัวลดลงอย่างหนักจนปิดงวดสิ้นปีอยู่ที่ 2.54 บาท แต่ราคาหุ้น RPC เริ่มปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปีถัดมาจากการวางแผนออก TDR เพิ่มระดมทุนขยายธุรกิจ โดยทำราคาปิดการซื้อขายงวดสิ้นปี 2553 อยู่ที่ระดับ 3.22 บาท

อย่างไรก็ตาม กระแสความกังวลที่ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนในการได้รับวัตถุดิบจาก PTT ยังคงกดดันหุ้น RPC ต่อเนื่องตลอดช่วงปี 2554 และส่งผลกระทบต่อราคาขาย TDR ที่เตรียมเพื่อใช้ระดมทุนเงิน จนกระทั่งช่วงเดือนก.พ. 2555 ที่ผ่านมา ทาง PTT ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า จะดำเนินการหยุดส่งวัตถุดิบตั้งแต่เดือนก.พ. เป็นต้นไป

ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นอย่างหนักและปรับลดลงสู่ระดับ 1.80 บาท จากนั้นราคาหุ้นได้ทยอยเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากทาง RPC มีมติจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมในอัตรา 0.94 บาทต่อหุ้น พร้อมผลักดันให้ราคาหุ้นขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบปีที่ 2.48 บาท และกลับมาลดลงเหลือเพียง 1.18 บาท เมื่อขึ้นเครื่องหมาย XD ช่วงวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 277

โพสต์

PTT mulls second LNG terminal at Map Ta Phut
Source - Bangkok Post, Friday, June 08, 2012


PTT plans to develop a second receiving terminal for liquefied natural gas (LNG) with a capacity of 5 million tonnes a year, possibly to be located outside the Map Ta Phut industrial estate.

Chief executive Pailin Chuchottaworn said his company is conducting a feasibility study for a second receiving terminal, which would help to triple PTT’s LNG capacity to 15 million tonnes a day after 2020.

Gasification from LNG will enable 2.1 billion cubic feet per day, up from 700 million cfpd at present.

PTT debuted the first phase of its US$900-million LNG receiving terminal at Map Ta Phut last year, featuring a capacity of 5 million tonnes per year.

It is preparing the second phase _ adding another 5 million tonnes per year _ at a cost of 25 billion baht.

Construction of the second phase will likely kick off this year.

When completed, annual capacity will be doubled to 10 million tonnes or 1.4 billion cfpd.

Mr Pailin said gas demand in Thailand is expected to rise to 5.2 billion cfpd in 2016 from an average of 4.2 billion cfpd in this year’s first quarter. Demand is expected to surge to almost 7 billion cfpd by 2030.

Local gas production from on- and off-shore petroleum fields is expected to peak in 2015 at 3.6 billion cfpd from 3.3 billion cfpd currently.

Peerapong Achariyacheevin, the senior executive vice-president for gas business at PTT, said the second phase of the first unit is expected to start operation in 2016.

PTT is also set to secure an LNG purchase deal for 2 million tonnes a year from the state-owned Qatar Gas. It plans to purchase another 3 million tonnes per year from producers in Australia, Africa and the US, he added.

The national power development plan predicts electricity production capacity will rise to 55,065 megawatts in 2030 from an estimated 32,630 MW this year.

In 2030, natural gas is to make up less than half the energy mix in the country from 72% of all fuel used in power generation in Thailand now.

Renewable energy will contribute 25%, up from 5% now; nuclear power 5%, up from zero; and 20% from imported electricity and coal.

PTT shares closed yesterday on the SET at 308 baht, unchanged, in heavy trade worth 1.14 billion baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 278

โพสต์

พลังงานลุยลงทุน 2 แสนล้าน เพิ่มคลังสำรองน้ำมัน-ตั้งโต๊ะรับซื้อไฟเอกชน
วันที่ : 09/06/2012, แหล่งข่าว : ไทยรัฐ

กพช.ไฟเขียวแผนจัดหาไฟฟ้าพีดีพีระลอก 3 เปิดทางกระทรวงพลังงานตั้งโต๊ะรับซื้อไฟจากเอกชนชุดใหญ่แทนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์–ถ่านหิน ไม่สนเสียงค้านภาคประชาชน พร้อมไฟเขียวหาช่องสำรองน้ำมันเพิ่ม 90 วันลงทุน 2 แสนล้านมีหวังประชาชนแบกภาระค่าก่อสร้างกันอาน ด้านเชลล์วอนรัฐทบทวนค่าการตลาด ชี้ถูกอั้นมานานจนผู้ค้าน้ำมันหน้าเขียว

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติรับหลักการให้กระทรวงพลังงานไปศึกษารายละเอียดแนวทางการสำรองน้ำมันเพิ่มเพื่อให้เข้าเกณฑ์ในการเป็นสมาชิกองค์กรพลังงานสากล (ไออีเอ) ซึ่งต้องสำรองน้ำมันให้สามารถใช้ได้ 90 วัน จากปัจจุบันที่ผู้นำเข้าน้ำมันต้องสำรองน้ำมัน 5% ของปริมาณที่นำเข้าสามารถสำรองไว้ใช้ได้ 36 วัน ซึ่งการเป็นสมาชิกไออีเอจะช่วยให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานเมื่อน้ำมันขาดแคลน หรือราคาน้ำมันแพง ประเทศสมาชิกจะให้การช่วยเหลือกันปัจจุบันมีจำนวน 28 ประเทศ

สำหรับการสำรองน้ำมันเพิ่มเป็น 90 วันนั้นจะต้องมีการลงทุนเพิ่มทั้งการซื้อน้ำมันและลงทุนสร้างที่เก็บ และโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งมีหลายแนวทางที่สามารถดำเนินการได้ เช่นภาครัฐลงทุนส่วนหนึ่ง แล้วให้เอกชนลงทุนอีกส่วนหนึ่งหรือลงทุนร่วมกันขึ้นกับรายละเอียดที่จะต้องไปศึกษาว่าจะออกมาอย่างไร โดยจะต้อง

มีการร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรมากำกับดูแลการสำรองน้ำมันที่ชัดเจน คาดว่าจะต้องใช้เวลาในขั้นตอนการออกกฎหมายประมาณ 2 ปี ขณะที่การสร้างโครงสร้างมารองรับการสำรองน้ำมันคาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี

ขณะเดียวกัน กพช.ยังมีมติให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สร้างคลังเก็บก๊าซแอลพีจีรองรับการนำเข้าโดยแบ่งเป็น 2 ระยะ วงเงินรวม 48,000 ล้านบาท โดยระยะแรกจะมีการขยายคลังนำเข้าที่เขาบ่อยา จ.ชลบุรี เพิ่มการจัดเก็บจาก 120,000 ตัน เป็น 250,000 ตัน ส่วนระยะที่ 2 จะมีการจัดสร้างคลังในพื้นที่ใหม่อีก 250,000 ตัน โดย ปตท.จะได้ผลตอบแทนการลงทุนในรูปแบบของการบวกเพิ่มในราคาก๊าซหุงต้มในอัตราไม่เกิน 30 สตางค์ต่อกิโลกรัม

นอกจากนี้ กพช.ยังเห็นชอบแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ระหว่างปี 2553-2573 (พีดีพี 2010) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 70,686 เมกะวัตต์ในสิ้นปี 2573 และเห็นชอบให้บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก้ สร้างโรงไฟฟ้าใหม่กำลังการผลิต 900 เมกะวัตต์ ทดแทนโรงไฟฟ้าขนอมเดิม จังหวัดนครศรีธรรมราชที่จะหมดอายุลงในปี 2559 รวมทั้งเห็นชอบให้กระทรวงพลังงาน พิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ไอพีพีและเอสพีพี รอบใหม่เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์-ถ่านหินในแผนเดิมที่ต้องปรับลดลง ตลอดจนให้ บมจ.ปตท.จัดทำร่างแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับแผนพีดีพี และนำกลับมาเสนอ กพช.พิจารณาเห็นชอบต่อไป นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงค่าการตลาดที่กระทรวงพลังงานประกาศไว้ที่ 1.50 บาทต่อลิตรของผู้ค้าน้ำมันในปัจจุบันว่า เป็นตัวเลขที่ล้าสมัยควรจะทบทวนใหม่ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่มีการวิจัยมาเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันค่าการตลาดควรจะนำเอาสมมติฐานเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อที่เฉลี่ยต่อปี 3% และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันมาคำนวณค่าการตลาดใหม่

ทั้งนี้ จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเช่น จาก 217 บาท เป็น 300 บาท ทำให้มีภาระการบริหารจัดการของผู้ค้าน้ำมัน เพิ่มขึ้น 40% ขณะเดียวกันเชลล์ มีแผนการลงทุนขยายสถานีบริการในปีนี้เพิ่มอีก 10 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่ 550 แห่ง และต้องใช้งบประมาณในการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย ซึ่งต้องใช้งบประมาณรวมกัน 1,000 ล้านบาท จึงต้องการให้กระทรวงพลังงานพิจารณาทบทวน นโยบายค่าการตลาดน้ำมันใหม่อีกครั้ง

“เนื่องจากการที่ภาคเอกชนลงทุนในการเพิ่มจำนวนปั๊มน้ำมันและทำการตลาด ไม่ใช่เป็นผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเพียงด้านเดียว แต่ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการใช้จ่ายและการจ้างงานใหม่อีกด้วย ซึ่งกลไกตลาดจะเป็นตัวตัดสินให้ผู้บริโภคเลือกว่า จะเติมน้ำมันกับผู้ค้ารายใด หากเห็นว่าบางบริษัทน้ำมันตั้งราคาจำหน่ายแพงกว่ารายอื่นๆ ผู้บริโภคก็มีทางเลือกในการเติมน้ำมัน เพราะการปล่อยให้ค่าการตลาดขึ้นลงให้สะท้อนกับราคาน้ำมันโลก จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่าการกำหนดไว้ที่ 1.50 บาทต่อลิตร”

นางพิศวรรณ กล่าวว่า เชลล์กำลังรอข้อสรุปหลังจากได้หารือกับกระทรวงพลังงานเรื่องการเปิดเสรีให้ผู้ค้าน้ำมัน สร้างสถานีบริการน้ำมันแบบบริการตนเองหรือเซลล์เซอร์วิส เหมือนในต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงพลังงานกำลังตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาว่า เหมาะสมกับประเทศไทยอย่างไร โดยเชลล์เห็นว่า หากมีการปล่อยให้ลูกค้าเติมน้ำมันด้วยตัวเอง ก็ควรเติมแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 50 บาท สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมัน มองว่าจะเป็นการผันผวนระยะสั้นจากผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศกรีซ เพราะส่งผลต่อการใช้น้ำมันทางอ้อม ซึ่งในระยะยาวราคาน้ำมันจะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลก และต้องดูปริมาณสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯประกอบ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 279

โพสต์

อารักษ์ฟุ้ง!ถกพลังงานพม่าชื่นมื่นปตท.เสนอทำโรงกลั่นแสนบาร์เรล
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, June 09, 2012



"อารักษ์"กล่อมพม่าสำเร็จ ชี้เหตุ "เต็ง เส่ง"ไม่มางาน WEF ไม่มีผลกระทบต่อนักลงทุนไทยในพม่า ยันเป็นปัญหาภายในประเทศเอง เผยการเจรจาด้านพลังงานสำเร็จเกินคาดหมายอ้าแขนรับปตท.และกฟผ.ให้เข้าไปลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ"ไพรินทร์"ระบุมีลุ้นปั๊มปตท.ขึ้นพรึบที่พม่าพร้อมเสนอตัวสร้างโรงกลั่นขนาด 100,000 บาร์เรลต่อวัน

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากความกังวลของหลายฝ่ายต่อกรณีที่นายเต็งเส่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ปฏิเสธการมาร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม 2012 หรือ World Economic Forum 2012 (WEF)ที่จัดขึ้นในประเทศไทยเมื่อวันที่30พฤษภาคม-1มิถุนายน2555 ที่ผ่านมาท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่พอใจรัฐบาลไทยที่ปล่อยให้ อองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ประเทศพม่าใช้เวทีประเทศไทยเคลื่อนไหว ซึ่งถือเป็นการหักหน้าผู้นำรัฐบาลเมียนมาร์ กระทั่งเกรงกันว่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์นั้น

ดังนั้นเพื่อคลายความกังวลดังกล่าวขอชี้แจงว่าหลังจากที่ตนเองได้เดินทางไปพบนายตันเต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายซอ มิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้า ณ กรุงเนย์ปิตอว์เมื่อวันที่6มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อหารือความร่วมมือด้านพลังงานได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกันแล้ว ว่าสิ่งที่เกิด ขึ้นไม่ได้มาจากรัฐบาลไทย ซึ่งทั้ง 2 ท่านก็เข้าใจไม่ได้มีความรู้สึกกับเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นเป็นการวิพากษ์วิจารณ์กันไปมาก กว่า

"ที่สำคัญการไปหารือครั้งนี้กลับได้รับความร่วมมืออย่างดีทางรัฐบาลเมียนมาร์ยินดีที่จะให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในด้านต่างๆไม่เฉพาะด้านพลังงานอย่างเดียว ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้อย่างดี"

สำหรับความร่วมมือด้านพลังงานนั้นเนื่องจากปัจจุบันทางรัฐบาลเมียนมาร์ยังไม่มีแผนแม่บทด้านพลังงานทางกระทรวงพลังงานไทยจึงได้เสนอให้มีการร่วมกันตั้งคณะทำงานขึ้นมาที่จะจัดทำรายละเอียดให้แล้วเสร็จในระยะเวลา 2 เดือนเพื่อใช้เป็นแผนการพัฒนาด้านพลังงานของเมียนมาร์ในอนาคตตั้งแต่การพัฒนาต้นน้ำ ได้แก่ การสำรวจขุดเจาะกลางน้ำ ได้แก่ การวางท่อก๊าซธรรมชาติน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซฯ และปลายน้ำการพัฒนาไปสู่ปิโตรเคมี

ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวได้เสนอไปว่า ทางกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(บมจ.)จะเข้าไปช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นที่มีอยู่ 2-3 แห่ง กำลังผลิตประมาณ 20,000 บาร์เรลต่อวัน ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น พร้อมให้บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เข้าไปปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า เนื่องจากเวลานี้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมียนมาร์ขาดแคลนเป็นอย่างมากประกอบกับในปีหน้าทางเมียนมาร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ณ เมืองเนย์ปิตอว์ เมืองหลวงทำให้ต้องเร่งจัดหาไฟฟ้ามารองรับ

ต่อเรื่องนี้นายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท.เปิดเผยว่า ในการหารือกับเมียน มาร์ด้านพลังงานที่ได้ร่วมคณะไปกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานครั้งนี้ ทางรัฐบาลเมียนมาร์ ยอมรับกลุ่มบมจ. ปตท.ที่ได้เข้ามาทำธุรกิจที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้การลงทุนของบมจ.ปตท.ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ได้ขอให้รัฐบาลเมียนมาร์มีการแก้ไขกฎระเบียบในการเข้าไปลงทุนทำธุรกิจค้าปลีก น้ำมันเพราะบมจ.ปตท.มีความประสงค์ที่จะเข้าไปลงทุนสถานีบริการน้ำมัน หลังจากที่ได้ศึกษาตลาดมาก่อนหน้านี้แล้วเหมือนกับการที่ได้เข้าไปลงทุนในสปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์ที่เป็นการร่วมทุนกับพันธมิตรในแต่ละประเทศนั้นๆ แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถเข้าไปลงทุนได้ เพราะเมียนมาร์ไม่เปิดให้ต่างชาติเข้าไปทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน

"เชื่อว่าในเร็วๆนี้ทางบมจ.ปตท.อาจจะได้รับข่าวดีและเข้าไปเปิดสถานีบริการน้ำมันได้ รวมถึงการสร้างโรงงานผลิตถังก๊าซหุงต้ม ก่อนที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีผลบังคับในปี 2558"

นายไพรินทร์ กล่าวอีกว่านอกจากนี้ได้เสนอตัวไปว่า ในระยะยาว หากขุดพบแหล่งน้ำมัน ทางบมจ.ปตท.มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาดกำลังผลิต 100,000 บาร์เรลต่อวันขึ้นไปเนื่องจากเวลานี้เมียนมาร์มีโรงกลั่นขนาดเล็กและไม่เพียงพอต่อความต้อง การใช้ในประเทศเมื่อเทียบกับของไทยมีกำลังการผลิตสูงถึง1.0922 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ส่วนการจะลงทุนต่อๆไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างท่อส่งก๊าซโรงแยกก๊าซธรรมชาติการตั้งโรงงานปิโตรเคมีนั้น ขึ้นอยู่กับว่าการเจาะหาสำรวจแหล่งปิโตรเลียมจะพบก๊าซมากน้อยเพียงใดซึ่งกลุ่มบมจ.ปตท.ก็พร้อมที่จะเข้าไปลงทุนกับรัฐบาลหรือพันธมิตรในเมียนมาร์ก็ได้

สอดคล้องกับนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (บมจ.ปตท.สผ.) ที่ระบุว่าการจัดทำแผนแม่บทด้านพลังงานที่ร่วมกับทางเมียนมาร์จะนำไปสู่การลงทุนของกลุ่มบมจ.ปตท.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ โดยเฉพาะการหาพื้นที่ใหม่ๆ ในทะเลที่รัฐบาลเปิดให้มีการเจรจาสัมปทานโดยตรง

นอกจากนี้การหารือครั้งนี้ ได้มีการทวงถามแหล่งปิโตรเลียมในทะเลที่บมจ.ปตท.สผ.ได้เคยหารือไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะให้สิทธิ์สัมปทานเมื่อใด รวมถึงแหล่งปิโตรเลียมบนบกที่เป็นการเปิดให้ประมูลแข่งขัน คาดว่าในอีก 3 เดือนน่าจะเปิดเชิญชวนผู้สนใจเข้ามาประมูลได้ซึ่งในส่วนนี้บมจ.ปตท.สผ.ก็สนใจเพราะมีความพร้อมอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดีเวลานี้บมจ.ปตท.ได้สัมปทานแหล่งปิโตรเลียมบนบกมาแล้ว2 แปลง ได้แก่ แหล่ง พีเอสซี-จี และแหล่งอีจี-2 ที่จะเริ่มขุดเจาะหลุมสำรวจ4 หลุมในระยะ3 ปีแรก ใช้เงินลงทุนประมาณ 750 ล้านบาท ซึ่งเวลานี้ยังไม่ทราบว่าเจอก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันหากขุดเจาะเจอก๊าซ ก็มีความเป็นไปได้ว่าทางบมจ.ปตท.และกฟผ.จะจับมือกันตั้งโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติแต่หากเจอน้ำมันก็มีโอกาสที่จะลงทุนตั้งโรงกลั่นน้ำมันขึ้นมาได้

ส่วนการตั้งโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้น จะต้องดูความเป็นไปได้ของแหล่งเอ็ม3 ที่เวลานี้ได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติแล้วและอยู่ระหว่างทำการสำรวจเจาะหลุมเพิ่มเติมอีก3-4 หลุมเพื่อดูปริมาณสำรอง หากมีปริมาณก๊าซมากพอก็จะพัฒนาวางท่อก๊าซส่งให้ย่างกุ้ง เพื่อมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าและหากก๊าซมีปิโตรเลียมมากพอ ก็จะตั้งโรงแยกก๊าซนำแอลพีจีให้เมียนมาร์ใช้ ซึ่งอาจนำไปสู่การตั้งโรงงานปิโตรเคมีได้

ด้านนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า สำหรับการพัฒนาไฟฟ้านั้นทางเมียนมาร์ต้องการให้ไทยเร่งพัฒนาโรงไฟฟ้าเขื่อนฮัทจี กำลังผลิตขนาด 1,360 เมกะวัตต์ ที่จะเข้าระบบในปี 2565 รวมถึงการพัฒนาโครงการมายตง ขนาดกำลังผลิต 6,000-7,000 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำสาละวิน เนื่องจากช่วงหน้าร้อนขาดไฟฟ้าค่อนข้างมากซึ่งในส่วนนี้ทางกฟผ.จะเร่งพิจารณาค่าไฟฟ้าเพื่อนำโรงไฟฟ้าดังกล่าวเข้าสู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีที่จะมีการปรับปรุงใหม่ในปีหน้าต่อไป

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 280

โพสต์

เขาแหลมหญ้าผุดโครงการเกาะสีเขียวรณรงค์ใช้ถุงพลาสติกชีวภาพ-คัดแยกขยะ
Source - เดลินิวส์ (Th), Sunday, June 10, 2012
พัชรพล ปานรักษ์-กฤตภาส แตงเพชร์



หมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง เป็นอุทยานแห่งชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาชมความสวยงามของทัศนียภาพบนเกาะมากมาย ส่งผลให้มีสถานที่พักตากอากาศ ร้านค้าผุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เกิดปัญหาขยะล้นเมือง จากข้อมูลหน่วยงานที่รับผิดชอบแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันมีขยะเกิดขึ้นบนเกาะวันละ 6 ตัน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และเป็นภาระในการขนส่งขยะจากเกาะขึ้นมากำจัดบนฝั่ง การคัดแยกขยะอินทรีย์บรรจุลงในถุงพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ และนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้บำรุงไม้ผลและไม้ดอกบนเกาะจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

นายอาคม น้ำคำ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ด กล่าวว่า จำนวนขยะ 6 ตันต่อวัน สามารถคัดแยกเป็นขยะอินทรีย์ได้ประมาณ 3 ตัน จากปัญหาขยะบนอุทยานฯที่มีมากถึง 6 ตันต่อวัน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างยิ่ง เพื่อบรรเทาภาระและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น อุทยานฯ, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช., องค์การบริหารส่วนตำบลเพ, สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงร่วมกันดำเนินโครงการคัดแยกขยะอินทรีย์บรรจุลงในถุงพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพและนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้บำรุงไม้ผลและไม้ดอกบนเกาะเพื่อเพิ่มสีสันให้กับสถานที่ท่องเที่ยว และโครงการคัดแยกขยะอินทรีย์ให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์จะเป็นการช่วยลดปัญหาการกำจัดขยะในพื้นที่ด้วย เกาะเสม็ดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวลักษณะหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ขยะที่เกิดขึ้นจึงเป็นขยะอินทรีย์อย่างเช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ฯลฯ กว่า 100 ตันต่อเดือน หากมีการคัดแยกแล้วนำไปแปรสภาพให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะได้มากถึง 100 ตันต่อเดือน และยังจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนคิดเป็นปริมาณคาร์บอนถึง 1,600 ตัน

ด้าน ดร.วันทนีย์ จองคำ ผอ.ฝ่ายส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม สนช. กล่าวว่า สนช.ริเริ่มและประสานงานให้เกิดการใช้งานผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพในระดับนำร่อง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการนำถุงขยะพลาสติกชีวภาพมาใช้จัดการคัดแยกขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างหมู่เกาะเสม็ดเพื่อจัดการขยะที่ดีต่อไปในอนาคต ขณะที่ ดร.พรชัย รุจิประภาปลัดกระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี และประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ กล่าวว่า รัฐบาลกำหนดนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพให้เป็นอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ของประเทศ และก้าวไปสู่การเป็นผู้นำในภูมิภาคด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร

การดำเนินงานโครงการนำร่องเป็นมิติใหม่ของความร่วมมืออย่างดียิ่งระหว่างหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ในการนำนวัตกรรมด้านวัสดุคือ "พลาสติกชีวภาพ" มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการขยะอินทรีย์ที่มีระบบการคัดแยกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีนักท่องเที่ยว และปริมาณขยะจำนวนมาก สภาพพื้นที่เป็นเกาะที่มีทะเลล้อมรอบ ทำให้มีพื้นที่จัดการขยะที่จำกัด จึงเกิดการจัดการขยะที่ไม่ถูกหลัก เช่น การเผาขยะในบริเวณเปิด เป็นต้น อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมในวงกว้าง และทำให้สถานที่ท่องเที่ยวเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว การจัดการขยะอย่างมีระบบโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะทำให้เกิดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการจัดการขยะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติต่อไปในระบบโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะทำให้เกิดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการจัดการขยะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติต่อไปในอนาคต เพื่อผลักดันให้เกิดเป็น "ชุมชนเกาะสีเขียวที่ยั่งยืน" ต่อไป.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 281

โพสต์

ปตท.เท1.5หมื่นล.ขยายท่อน้ำมัน กฟผ.จี้ผุดโรงไฟฟ้าถ่านหินแก้ใต้ขาด
Source - ไทยโพสต์ (Th), Monday, June 11, 2012


วิภาวดีฯ * กรมธุรกิจพลังงาน เตรียมหารือ ปตท. เพิ่มส่วนต่อขยายท่อส่งน้ำมัน มอบสถาบันปิโตรเลียมฯ ศึกษารูปแบบสร้างท่อส่งน้ำมันสายเหนือ-อีสาน มูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาทแนะรัฐลงทุนเองได้ประโยชน์สุด ลดราคาน้ำมันได้ 60 สต./ลิตร ด้าน กฟผ.จี้พลังงานเร่งสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแก้ไขปัญหาไฟใต้ขาดแคลน

นายสมนึก บำรุงสาลี รอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า เตรียมหารือกับ ปตท. เพื่อขยายการลงทุนสร้างท่อส่งน้ำมันไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากจังหวัดสระบุรี ไปยัง จังหวัดขอนแก่น ระยะทางประ มาณ 400 กิโลเมตร และสายเหนือ จากจังหวัดสระบุรี ไปยัง จังหวัดลำปาง ระยะทางประ มาณ 600 กิโลเมตร พร้อมทั้งสร้างคลังน้ำมันรองรับ 4 แห่ง ประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น, นครราชสีมา, พิษณุโลก และลำปาง ใช้งบลงทุน 15,000 ล้าน บาท ซึ่งสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำมันได้ 20 ปี

ทั้งนี้ ทาง ธพ.ได้มอบหมายให้สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ศึกษารายละ เอียดของโครงการทั้งหมด รวมทั้งรูปแบบการลงทุนว่าจะเป็นของรัฐ หรือให้เอกชนเป็นผู้ลง ทุน ซึ่งในเบื้องต้นนั้น เห็นว่าท่อส่งน้ำมันควรจะเป็นของรัฐ เพราะจะทำให้ผู้ค้าน้ำมันสามารถ ใช้ท่อส่งน้ำมันได้อย่างเสรี และมีค่าผ่านท่อถูกลง ทำให้ราคาน้ำ มันทั้งประเทศลดลงเฉลี่ย 60 สตางค์ต่อลิตร แต่ถ้าให้ภาคเอก ชนเข้ามาลงทุนจะต้องหารือใน รายละเอียดของค่าผ่านท่ออีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากที่สุด อย่างไรก็ ตาม คาดว่าจะสรุปผลการศึก ษาได้ภายในเดือน ก.ย.55 จากนั้นจะเสนอ รมต.พลังงาน และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้าง 5-6 ปี

"ผลประโยชน์ที่ได้จากการ ขนส่งทางท่อ นอกจากจะลดต้น ทุนค่าขนส่งและทำให้ราคาน้ำ มันทั้งประเทศใกล้เคียงกันแล้ว ยังช่วยลดปัญหาจราจรติดขัดจากรถขนส่งน้ำมัน ลดอุบัติเหตุรถขนส่งน้ำมัน และมลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย" นายสมนึก กล่าว

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ได้ รายงานปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ ในภาคใต้ให้ผู้บริหารกระทรวงพลัง งานรับทราบ และอยู่ระหว่างการ พิจารณาแก้ไขปัญหา โดยให้สร้าง โรงไฟฟ้าประเภทถ่านหินหรือก๊าซ ธรรมชาติเพิ่มขึ้น แต่จะไม่ระบุว่าต้องสร้างที่ใด ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มบริ เวณพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดทะเล สะดวกต่อการ ขนส่งถ่านหินได้

ทั้งนี้ การสร้างโรงไฟฟ้าที่ภาคใต้จะส่งผลดีให้มีปริมาณกระแสไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่ภาคใต้ได้โดยตรง ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากภาคกลาง และซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซีย ปัจจุบันภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟฟ้า 2,500 เมกะวัตต์ ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าก็อยู่ในระดับ 2,500 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยการผลิตจากโรงไฟฟ้าขนอม 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าจะนะ 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา240 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้ากระบี่ 300 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเดินเครื่องกรณีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ขัดข้อง ดังนั้น ในส่วนที่เหลือจากที่กล่าวมานั้นต้องดึงไฟฟ้าจากภาคกลาง มาใช้

สำหรับการก่อสร้างโรง ไฟฟ้านั้น ปัจจุบัน กฟผ.ได้เปลี่ยน วิธีการกำหนดพื้นที่สร้างโรงไฟ ฟ้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านจากชาวบ้าน โดยกำหนดให้ชาว บ้านรวมตัวกันเสนอพื้นที่ให้ก่อ สร้างโรงไฟฟ้ามายัง กฟผ. และกำหนดผลตอบแทนระหว่างกันตามความเหมาะสม และขณะนี้มีชาวบ้านรวมตัวกันเสนอพื้นที่มาแล้วหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ภาคใต้และภาคอีสาน ซึ่ง กฟผ.ต้องพิจารณาว่าพื้นที่ที่เสนอมาสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้หรือไม่ และควรเป็นโรงไฟฟ้าใด แต่ที่สำคัญต้องตรวจสอบก่อนว่าชาวบ้านที่รวมตัวกันเสนอพื้นที่ให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้า เป็นกลุ่มตัว แทนชาวบ้านที่มากพอและมีสิทธิ์ ตัดสินใจให้ใช้พื้นที่ได้จริงหรือไม่ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งกับชุมชนต่อไป.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 282

โพสต์

WorldGas2012 ยุคทองก๊าซธรรมชาติ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, June 11, 2012


การจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติระดับโลก หรือ World Gas 2012 ครั้งที่ 25 จัดโดยสมาพันธ์ก๊าซระหว่างประเทศ(International Gas Union : IGU) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 4-8 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้งที่ได้รับความสนใจจากผู้นำด้านพลังงานกว่า 5,000 คน มีการนำเสนอรายงานเพื่อใช้ประชุมวิชาการสูงสุดกว่า500 ฉบับ และมีจำนวนผู้แทนภาคธุรกิจกว่า 1 หมื่นคนเข้าร่วมงานครั้งนี้

นับเป็นครั้งแรกที่ในรอบ 9 ปี ที่ประเทศในเอเชียได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพ

สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเอเชีย ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียมีการนำเข้าสูงถึง 60% ของทั่วโลก

สำหรับประเทศไทย กลุ่มบริษัท ปตท. ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ได้เข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมในการแสวงหาแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ๆ ในต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันปริมาณก๊าซที่ผลิตได้ในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่สูงขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต (ลบ.ฟุต)/วัน หรือเติบโตปีละ 3-4%

ขณะที่การจัดหาก๊าซจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศพบว่า สามารถจัดหาจากอ่าวไทยได้ประมาณ 3,500 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน จากพม่า 1,100 ล้าน ลบ.ฟุต และจากแหล่งบนบก เช่น แหล่งน้ำพองและแหล่งภูฮ่อม ใน จ.ขอนแก่น อีกกว่า 100 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน ที่เหลือจากนี้จะเป็นการนำเข้าแอลเอ็นจีจากต่างประเทศ และมีโอกาสที่จะเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น

ไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กล่าวว่า การเข้าร่วมงานครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่ไทยมีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านการขนส่ง และการจัดหาแอลเอ็นจี เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองของประเทศ สอดคล้องกับทิศทางอุตสาหกรรมพลังงานระหว่างประเทศในยุคเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เป็นช่วงที่พลังงานนิวเคลียร์โลกชะลอตัว ทำให้ก๊าซฯ กลับมามีบทบาทสำคัญในอนาคต

โดยเฉพาะธุรกิจแอลเอ็นจีที่หลายประเทศให้ความสนใจเพื่อนำมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมันไทยเองก็ถือว่าเดินทางมาถูกทางแล้ว มีการเตรียมการเรื่องการนำเข้าแอลเอ็นจีเพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า แม้เราจะมีแหล่งก๊าซในประเทศ แต่ก็ยังต้องนำเข้าจากแหล่งอื่นๆเพิ่มขึ้นด้วย

จากการกล่าวของผู้บริหารปิโตรนาส ที่ออกมาระบุไว้ว่า ก๊าซธรรมชาติมีความสำคัญ จะกลายเป็นดาวรุ่ง ด้วยคุณสมบัติด้านเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพและผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ปริมาณก๊าซที่มีอยู่ในโลกในภูมิภาคต่างๆ จะมีปริมาณสำรองพอใช้ประมาณ 250 ปี ใกล้เคียงกับปริมาณของถ่านหิน ดังนั้นด้วยปัจจัย 3 ด้าน คือปริมาณเพียงพอ ราคา และประสิทธิภาพที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ก๊าซธรรมชาติในยุคนี้ คือ ยุคทอง

ด้านบรรยากาศโดยทั่วไปภายในงานไฮไลต์ของแต่ละบริษัทนำเสนอเทคโนโลยีพร้อมเปิดโต๊ะเจรจาซื้อขายก๊าซระหว่างกัน โดยปิโตรนาส บริษัทน้ำมันแห่งชาติของมาเลเซีย ในฐานะเป็นเจ้าภาพงานนี้ นำเสนอบูธเชิงรุก นำรถแข่ง Formular มาโชว์ในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้เห็นว่าเป็นแบรนด์ระดับโลกพร้อมทั้งนำเสนอแผนลงทุนธุรกิจก๊าซทั้งในแคนาดา และสหรัฐอเมริกา

Pertamina ของประเทศอินโดนีเซีย โชว์รูปแบบของเรือแอลเอ็นจีที่เรียกว่า Floating Storage Regas Unit เป็นเรือจอดอยู่กับที่ ลอยในทะเล แต่มีข้อดีคือลงทุนน้อยกว่า ราคาถูก จัดทำได้เร็ว แต่มีข้อเสียคือรองรับปริมาณแอลเอ็นจีไม่ได้มาก เหมาะกับประเทศที่ต้องการเร่งทำแอลเอ็นจี เช่น เวียดนาม ใช้วิธีนี้ในการจัดเก็บแอลเอ็นจี

Petrovietnam ของประเทศเวียดนาม ถือเป็นประเทศใหม่ที่เข้ามาเพื่อศึกษาธุรกิจก๊าซฯเนื่องจากเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องของปริมาณก๊าซไม่เพียงพอไม่มีแหล่งก๊าซในประเทศ โดยอยู่ระหว่างการศึกษานำระบบของเรือแอลเอ็นจีไปใช้ รองรับปริมาณก๊าซ 1.5 ล้านตัน และได้ขอความร่วมมือมายัง ปตท.เรื่องแผนการจัดหาแอลเอ็นจี

อย่างไรก็ตาม แม้หลายประเทศจะมุ่งให้ความสำคัญกับธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เพื่อทดแทนน้ำมันและนิวเคลียร์ที่จะเริ่มมีบทบาทน้อยลง รวมทั้งไทยที่ในระยะยาวแผนผลิตไฟฟ้าของประเทศยังคงเน้นการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงหลัก เพราะมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมัน แต่พึงระวังว่า เมื่อใดที่ตลาดมีความต้องการสินค้านั้นๆ มาก แนวโน้มราคาจะเริ่มสูงขึ้น ปริมาณการจัดหาจะมีการแข่งขันกันมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะก๊าซประเภทแอลเอ็นจี ในอนาคตคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ตลาดจะเป็นของผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ การต่อรองจะถูกจำกัดมากขึ้น

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 283

โพสต์

ภาพข่าว: เรียง'คน'มาเป็น'ข่าว: ลงนาม
Source - มติชน (Th), Tuesday, June 12, 2012


เทวินทร์ วงศ์วานิช ปธ.จนท.บห.และ กก.ผจก.ใหญ่ ปตท.สผ. และ ตุน ลิน เชน กก.ผจก.บริษัท Win Precious Resources Pte. Ltd. ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิต แปลง PSC-G และแปลง EP-2 กับ อ่อง ตู กก.ผจก.บริษัท Myanma Oil and Gas Enterprise โดยมี อารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน และ ตัน เต รมว.พลังงานของพม่า ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ กรุงเนปยีดอว์ ประเทศพม่า

--จบ--
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 284

โพสต์

กสิกรไทยลั่นเบอร์ 1 สินเชื่อพลังงาน [ ไทยรัฐ, 12 มิ.ย. 55 ]

นายวศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
ธนาคารร่วมกับธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
ปล่อยเงินกู้ร่วม 2,456 ล้านบาท ให้กับบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป ลงทุน
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการติดตั้งระบบปรับแผงโซลาร์เซลล์แบบหมุนตามดวงอาทิตย์
(Tracking System) ของเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย 3 โครงการ ซึ่งจัดสรรให้แก่โครงการเอสพีพี
ทู จำนวน 868.10 ล้านบาท เอสพีพี ทรี จำนวน 903.80 ล้านบาท และเอสพีพี โฟร์ จำนวน 683.90
ล้านบาท "ธนาคารพร้อมที่จะร่วมผลักดันโครงการด้านพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพร่วมกับนักลงทุนไทยอย่าง
เต็มที่ ด้วยทีมงานที่มีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมพลังงานที่จะช่วยสนับสนุนทั้งด้านการเงินและการ
ให้คำปรึกษาทางการเงิน ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าก้าวขึ้นเป็นธนาคารอันดับ 1 ด้านธุรกิจพลังงาน
และพลังงานทดแทน โดยตั้งเป้าหมายครองส่วนแบ่งตลาดธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศที่ 80%
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 285

โพสต์

PTT pushes increase of oil reserves
Source - Bangkok Post, Wednesday, June 13, 2012


National oil flagship PTT urged the government to increase its oil purchases for the country’s strategic reserves, as the current price below US$100 per barrel will likely rebound to $120 once the flagging European economy recovers.

"Oil reserve purchases should be executed little by little to stave off heavy expenses, but they should be initiated quickly," said chief executive Pailin Chuchottaworn.

The government last Friday agreed in principle to raise the country’s strategic oil reserves to 90 days of consumption from 60 days now, a move that will require a 200-billion-baht investment.

Oil reserves, both crude and finished oil products, are built up to ensure energy security and to protect the economy in the event of supply disruptions.

But the Energy Ministry needs to study in more detail the investment and facilities needed to increase the reserves.

Increasing oil reserves to 90 days may take four or five years.

Local oil stocks are now mainly managed by private oil companies.

Of the current 60-day supply, 36 days are legal reserves, nine days are working stock and 15 days are refined oil surpluses and local crude resources.

Mr Pailin proposed funding for the strategic oil reserves may stem from either the government’s budget, the private sector or even from the Bank of Thailand’s foreign reserves.

"Thailand’s oil stocks should be filled up whenever the global crude price declines. And when the price increases, the government may use the stock to help avert oil price fluctuation," he said, adding China and India are now refilling their stocks because Dubai crude oil prices are so low.

Surong Bulakul, PTT’s chief financial officer, said the government should take the lead in developing this project because it requires a massive budget.

Energy analyst Manoon Siriwan said the government should offer promotional privileges and soft loans for companies to assist in development.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 286

โพสต์

คอลัมน์: จับตา'แอลเอ็นจี'พลังงานใหม่ ทางเลือกขับเศรษฐกิจแทนน้ำมัน
Source - เดลินิวส์ (Th), Wednesday, June 13, 2012
มนัส แวววันจิตร



หลังจากทั่วโลกมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการฟื้นฟูภัยพิบัติธรรมชาติ ส่งผลให้ทุกประเทศต้องเร่งหาพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ มาสำรองให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานไว้ใช้ในอนาคต ทั้งที่เป็นพลังงานทดแทน ก๊าซธรรมชาติ และการลงทุนอีกหลากหลายสารพัดโครงการ เพื่อทดแทนพลังงานจากฟอสซิลที่กำลังจะหมดไปจากโลกใบนี้ในไม่กี่ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตามทั่วโลกต่างหาทางออกปัญหาปริมาณสำรองพลังงานได้ในระดับหนึ่ง โดย ที่ประชุมและนิทรรศการธุรกิจก๊าซธรรมชาติระดับโลก หรือ เวิลด์แก๊ส 2012 ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศต่างยืนยันว่า ทิศทางพลังงานต่อไปนี้ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) จะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

พร้อมทั้งมีการประเมินปริมาณสำรองแอลเอ็นจี ทั่วโลกอย่างน้อยมีเพียงพอให้ประชาชนได้ใช้อีก 250 ปี ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าที่หลายองค์กรเคยประเมินไว้ว่าจะมีปริมาณเพียง 50-60 ปี

สาเหตุที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทพลังงานระดับโลกมั่นใจขนาดนั้น เพราะในปัจจุบันหลายประเทศได้สำรวจพบแหล่งก๊าซเพิ่มเติมทั่วโลก รวมถึงบริษัทผู้ผลิตน้ำมันได้พัฒนาเทคโนโลยีในการแยกก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้นในอนาคตโลกหันมาให้ความสำคัญในการใช้แอลเอ็นจีมากขึ้น

ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า, ใช้ในโรงงานอุตสาห กรรม, โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และภาคขนส่ง ซึ่งประเทศที่มีการส่งออกแอลเอ็นจีมากที่สุดในโลก คือ กาตาร์ คิดเป็น 26% ของปริมาณส่งออกทั่วโลก รองลงมาเป็น อินโดนีเซีย 11% มาเลเซีย 10% และ ออสเตรเลีย 9% โดยญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่สุดของโลก เนื่องจากภัยพิบัติที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายแก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ญี่ปุ่นต้องใช้แอลเอ็นจีมาผลิตไฟฟ้ามากขึ้น

ทั้งนี้ก๊าซแอลเอ็นจีถือเป็นพลังงานสะอาด สามารถลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี โดยมีคุณสมบัติพิเศษที่ ไร้กลิ่น ไร้สารพิษ และปราศจากสารกัดกร่อน ที่สำคัญหากเกิดการรั่วไหลก็ไม่จำเป็นต้องหาทางขจัดเพราะ แอลเอ็นจี จะระเหยไปในอากาศอย่างรวดเร็วและไม่เหลือสารตกค้างใด ๆ ไว้

จึงไม่แปลกที่บริษัทผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ ๆ ของโลก บริษัท ปิโตรไชน่า ของรัฐบาลจีน, เอ็กซอนโมบิล ของสหรัฐ, ปิโตรนาส ของมาเลเซีย, บีพี ประเทศอังกฤษ รวมถึง เชลล์, เชฟรอน เป็นต้น ต่างได้ทุ่มงบประมาณในการไล่ล่าแหล่งพลังงาน โดยเฉพาะเชลล์ ที่ทุ่มทุนในการสร้างเรือ ซึ่งเป็นโรงงานลอยน้ำขนาดใหญ่บรรทุกก๊าซได้ 3.6 ล้านตัน มูลค่าหลายแสนล้านบาท เพื่อไปขุดเจาะหาก๊าซในทะเลที่มีระยะทางห่างไกลจากชายฝั่งไม่ต่ำกว่า 1,000 กม.

ขณะที่ประเทศไทย ไม่รอช้าที่ต้องมอบหมายให้ บมจ.ปตท.เร่งเดินหน้าในการหาปริมาณสำรองไว้ใช้ทั้งการขุดเจาะสำรวจเพิ่มการทำสัญญาซื้อขายก๊าซ หรือการสร้างคลังรองรับแอลเอ็นจีไว้ใช้หลาย ๆ ปี เพราะแหล่งผลิตที่มีอยู่ในประเทศก็ร่อยหรอลงทุกวัน โดยในปัจจุบันไทยสามารถผลิตแอลเอ็นจีในประเทศได้เฉลี่ยที่ 3,776 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน มีการนำเข้าจากแหล่งยาดานา ประเทศพม่า 392 ล้านลบ.ฟุต, นำเข้าจากแหล่งเยตากุน ประเทศพม่า 378 ล้าน ลบ. ฟุต และนำเข้าจากที่อื่น 144 ล้าน ลบ. ฟุต

ล่าสุดมีการศึกษาการสร้างเรือที่เป็นโรงงานเหมือนกับเชลล์ เพื่อไปขุดเจาะหาก๊าซในทะเลที่มีระยะทางเกิน 1,000 กม. เช่นกัน แค่การลงทุนคงมีขนาดเล็กกว่าของเชลล์ หรือมีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 100,000 ล้านบาท เพราะเชื่อว่าปริมาณที่หาได้ในปัจจุบันคงได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในอนาคต โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้า และภาคขนส่งที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญเชื่อว่ารัฐบาลคงต้องชะลอแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบไม่มีกำหนดแน่ เพราะคงสู้แรงคัดค้านจากชาวบ้านไม่ไหว ดังนั้นทางแก้ก็คงต้องใช้แอลเอ็นจีในการผลิตไฟฟ้าไปก่อน

ซีอีโอของ ปตท. อย่าง "ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ออกมายอมรับว่า ตอนนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับก๊าซแอลเอ็นจีมาก เพราะในอนาคตก๊าซประเภทนี้จะเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งงานการประชุมและนิทรรศการธุรกิจก๊าซธรรมชาติระดับโลก 2012 ถือเป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมของไทยในการแสวงหาแหล่งก๊าซใหม่ ๆในต่างประเทศ และพัฒนาสายโซ่ธุรกิจแอลเอ็นจี ในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทยในระยะยาว เนื่องจากปัจจุบันปริมาณก๊าซที่ผลิตในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่สูงขึ้นทำให้ไทยและอีกหลาย ๆ ประเทศต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาทดแทนการใช้น้ำมันมากขึ้น

"นอกจากน้ำมันที่จะเริ่มหมดแล้วยังพบว่า ทั่วโลกเริ่มชะลอโครงการพลังงานนิวเคลียร์ ทำให้ก๊าซธรรมชาติกลับมามีบทบาทสำคัญนับต่อจากนี้ไป โดยเฉพาะก๊าซแอลเอ็นจี ที่เกิดขึ้นได้ในทั่วทุกมุมของโลก ไม่จำกัดเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกหรือกลุ่มประเทศโอเปกเท่านั้น"

ดังนั้น ปตท.มีการเตรียมพร้อมแผนการจัดหาก๊าซไว้รองรับอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาได้ลงทุนสถานีรับจ่ายแอลเอ็นจีเฟสแรก ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ, ถังจัดเก็บสำรองก๊าซ และหน่วยแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นก๊าซธรรมชาติก่อนส่งไปยังลูกค้าผ่านเครือข่ายระบบท่อเบื้องต้นสามารถรองรับการนำเข้าแอลเอ็นจีได้ปีละ 5 ล้านตัน ซึ่งขณะนี้ได้เจรจาซื้อขายแอลเอ็นจีกับประเทศกาตาร์มาแล้ว 2 ล้านตันและจะเจรจาเพิ่มกับประเทศออสเตรเลียและ สหรัฐเพื่อให้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ขณะเดียวกัน ปตท. อยู่ระหว่างการดำเนินการทำแผนก่อสร้างสถานีรับแอลเอ็นจี ระยะที่ 2 ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 25,000 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 59 เพื่อรองรับการนำเข้าอีก 5 ล้านตันต่อปี จากนั้นก็จะมีการสร้างเฟสที่ 3 อีก แต่คงไปหาพื้นที่อื่นและอาจใช้วงเงินลงทุนมากกว่าเดิม เพราะต้องมีการสร้างสาธารณูปโภคใหม่หมด

อย่างไรก็ตามซีอีโอของ ปตท. มองว่า ผลของการลงทุนที่สูงและการหาพลังงานที่ยากขึ้นในอนาคตเชื่อว่าหลาย ๆ ประเทศคงจะมีการลดการอุดหนุนราคาพลังงานต่าง ๆ ลง ทั้งเรื่องของน้ำมันและก๊าซ เห็นได้จากประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ราคาพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาด ขณะที่ประเทศมาเลเซีย ที่มีการอุดหนุนราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ 20 กว่าบาทต่อลิตรก็ประกาศที่จะลดการอุดหนุนเช่นกัน

ส่วนประเทศไทยหากต้องการที่จะผลักตัวเองไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ในอนาคตก็จำเป็นต้องให้ราคาพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาดเช่นกัน หากยังเน้นอุดหนุนราคาอยู่ไทยก็คงไม่สามารถก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างแน่นอน

แม้ปริมาณก๊าซธรรมชาติทั่วโลกยังมีให้มนุษย์ได้ใช้อีก 250 ปี และบริษัทน้ำมันชั้นนำของโลกจะนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาเสาะแสวงแหล่งพลังงานได้มีประสิทธิภาพอย่างไร หากแต่ละประเทศ ไม่ทำความเข้าใจกับประชาชนให้เห็นคุณค่าของพลังงาน และให้ช่วยกันประหยัด เชื่อว่าในอนาคตอาจเกิดสงครามแย่งชิงแหล่งพลังงานแน่นอน.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 287

โพสต์

STPI ตะลุยประมูลงานออสซี ลุ้นคว้าโรงปิโตรฯ 2 หมื่นล้าน [ โพสต์ทูเดย์, 13 มิ.ย. 55 ]

"เอสทีพีแอนด์ไอ" ลุยประมูลงานสร้างโรงงานก๊าซ-ปิโตรเคมี ออสเตรเลีย ล่าสุดยื่นแล้ว
10 โครงการ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวจากบริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI) เปิดเผย่า บริษัทอยู่ระหว่างเข้าร่วมประมูลงาน
ก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ และโรงงานปิโตรเคมี ในลักษณะประกอบเป็นโมดูลในประเทศไทย
และส่งออกเพื่อไปติดตั้งในต่างประเทศประมาณ 10 โครงการ คิดเป็นปริมาณงานทั้งสิ้น 4-5 แสนตัน
หรือคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 288

โพสต์

วันที่/เวลา 14 มิ.ย. 2555 12:44:40
หัวข้อข่าว แจ้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่จำนวน 2 โครงการ
หลักทรัพย์ TTCL
แหล่งข่าว TTCL
รายละเอียดแบบเต็ม ที่ http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 289

โพสต์

ไออาร์พีซีหั่นสต็อกตั้งรับวิกฤติหนี้ยุโรปกลุ่มปตท.ชี้กรณียุโรปล่มสลาย น้ำมันมีโอกาสดิ่งแตะ60ดอลลาร์
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, June 14, 2012


เตรียมพร้อมด้านการเงิน ลดเสี่ยงนามันโลกดิ่ง บางจากเร่งหารายได้จากส่วนอื่นชดเชยการขาดทุนสต็อกน้ำมัน

"ไออาร์พีซี" ปรับแผนรับวิกฤติยุโรป เร่งลดสต็อกน้ำมันเหลือ 7 ล้านบาร์เรล เตรียมพร้อมด้านการเงิน หลังราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง ขณะที่เครือปตท.ประเมินแรงสุดยูโรล่มสลาย น้ำมันมีโอกาสดิ่งแตะ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านบางจากชี้ หากน้ำมันทรงตัวเฉลี่ย 95 ดอลลาร์ กระทบกำไรวูบทั้งปี 800-900 ล้านบาท โบรกเกอร์ชี้น้ำมันฉุดหุ้นกลุ่มโรงกลั่นร่วงแรงกว่า 9-13%

นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี (IRPC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้วางแผนเพื่อเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยุโรปที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่อง และล่าสุดปรับลดลงต่ำกว่าคาดการณ์ราคาเฉลี่ยทั้งปีที่ กลุ่มบริษัท ปตท. (PTT) ทำไว้แล้วประมาณ 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากเดิมกลุ่มปตท. ประเมินราคาเฉลี่ยทั้งปีไว้ที่ 100-104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยบริษัทได้เตรียมความพร้อมทั้งเรื่องการวางแผนสต็อกน้ำมัน และการวางแผนทางด้านการเงิน

สำหรับการวางแผนด้านสต็อกน้ำมันนั้น บริษัทพยายามรักษาระดับสต็อกน้ำมันให้น้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ผันผวน โดยปัจจุบันบริษัทมีสต็อกน้ำมันประมาณ 7 ล้านบาร์เรล จากช่วงต้นปีที่อยู่ระดับประมาณ 9 ล้านบาร์เรล

นอกจากนี้ยังเตรียมความพร้อมเรื่องกระแสเงินสด และเครดิตทางการเงิน เพื่อดูแลลูกค้าและคู่ค้าด้วย หากปัญหายุโรปรุนแรงจนส่งผลกระทบทำให้สภาพคล่องในระบบหายไป อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันลดลงมาก บริษัทใช้เงินในการซื้อน้ำมันลดลงด้วย

"ขณะนี้บริษัทพยายามเตรียมความพร้อมไว้ทุกด้าน ส่วนผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมากต่อผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้นั้น ยังไม่สามารถบอกได้ เพราะยังไม่สิ้นไตรมาสเลย" นายอธิคม กล่าว

ทั้งนี้กลุ่มบริษัทปตท.ได้ประเมินผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยุโรป ที่จะส่งผลต่อราคาน้ำมันไว้ 3 สมมติฐาน คือ 1. ระดับที่น่าจะเป็นได้ คือวิกฤติหนี้ทำให้ราคาน้ำมันลดลง แต่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีไม่น่าจะต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 2.หากกรีซต้องออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยน่าจะอยู่ในระดับ 70-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ 3. กรณีร้ายแรงที่สุดหากยูโรแตก ราคาน้ำมันดิบอาจจะปรับลดลงไปถึงระดับ 60-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ด้าน นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม(BCP) กล่าวว่า ยอมรับว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 94-95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผล กระทบต่อผลประกอบการเชิงบัญชีในช่วงไตรมาส 2 นี้ โดยคงมีขาดทุนจากสต็อกน้ำมันเหมือนกับ โรงกลั่นน้ำมันอื่นๆ แต่ในแง่ผลกระทบต่อผลประกอบการจริงอย่างไรนั้น คงต้องติดตามดูสถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วงปลายปีอีกที

ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันไม่ปรับขึ้น และทรงตัวในระดับ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประเมินว่าจะขาดทุนจากสต็อกน้ำมันประมาณ 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ หรือกระทบต่อกำไรสุทธิทั้งปีประมาณ 800-900 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามบริหารจัดการรายได้ส่วนอื่นมาชดเชยได้บางส่วน ประกอบกับในช่วงไตรมาส 2 มีการหยุดซ่อมบำรุง ทำให้สามารถลดสต็อกน้ำมันลงได้ส่วนหนึ่ง หรือเหลือประมาณ 4.5 ล้านบาร์เรล จากปกติ 5 ล้านบาร์เรล ทำให้ผลกระทบต่อกำไรทั้งปีอาจจะอยู่ในระดับประมาณ 500 -600 ล้านบาท

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันนั้น นักวิเคราะห์หลายรายประเมินว่ายังมีโอกาสปรับลดลงได้อีก แต่ในช่วงปลายปี หรือไตรมาส 4 ปีนี้ ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับขึ้นตามฤดูกาล แต่ก็ต้องติดตามผลการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ (โอเปค) ว่าจะมีการลดกำลังการผลิตน้ำมันลง หรือ คงกำลังการผลิตในระดับปัจจุบันต่อไป ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมายังราคาน้ำมัน

"เราคงติดตามดูสถานการณ์ราคาน้ำมัน เป็นหลัก ส่วนผลกระทบต่อด้านอื่นๆ ทั้งการเงิน และโครงการลงทุนต่างๆ นั้น ไม่มีปัญหา โดยบริษัทยังมีฐานะการเงินค่อนข้างแข็งแกร่ง ขณะที่โครงการลงทุนก็ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่"

ด้าน บล. ฟิลลิป วิเคราะห์ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 95.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 17.6% จากสิ้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกดดันต่อราคาหุ้นกลุ่มโรงกลั่นให้ปรับลดลงตามไปด้วย โดยราคาหุ้นกลุ่มโรงกลั่นปิดเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. เทียบกับสิ้นเดือนเม.ย. ลดลง 9-13.8% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากกว่าตลาดรวม ที่ดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับลดลงเพียง 5.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน

โดยราคาหุ้นบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ปรับลดลงมากที่สุด เนื่องจากมีข่าวลบเพิ่มเติมจากความไม่ชัดเจนปรับขึ้นราคาก๊าซอีเทน ในขณะที่บริษัท ไทยออยล์ (TOP) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม (BCP) ปรับลดลงน้อยสุดประมาณ 9% โดยทางฝ่ายวิจัยมองว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงมากกว่าตลาดได้สะท้อนปัจจัยลบไประดับหนึ่งแล้ว

ขณะที่ล่าสุดเมื่อวานนี้ (13 มิ.ย.) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล ปิดตลาดที่ 57 บาท ลดลง 2.25 บาท หรือ 3.80% หุ้นไทยออยล์ ปิดตลาด 59 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 4.07% บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดตลาด 169 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 1.45% หุ้นไออาร์พีซี ปิด 3.78 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 2.58% ขณะที่ บางจาก ปิโตรเลียม ปิด 23.40 บาท บวก 0.20 บาท หรือ 0.86 บาท

สำหรับ แนวโน้มกำไรของกลุ่มในไตรมาส 2 ปีนี้ จะถูกฉุดจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่องทุกเดือนนับจากจากสิ้น มี.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลประกอบการแต่ละบริษัทปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้บริษัทมีขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน และมีโอกาสที่จะบันทึกตีราคาจากมูลค่าสินค้าคลัง (LCM) จากราคาในตลาดที่ลดลงกว่ามูลค่าจริง

โดยราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยรายเดือนปรับลดลงทุกเดือนต่อเนื่องจากปิดสิ้นเดือนมี.ค. 2555 หรือสิ้นงวดไตรมาสแรก คาดว่าทุกบริษัทมีโอกาสกลับมาขาดทุนสต็อกมากกว่า 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าที่รับรู้เป็นกำไรในไตรมาสแรก ในขณะที่ตามมาตรฐานบัญชีที่ระมัดระวังถ้าราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของเดือนมิ.ย. ยังไม่ดีดกลับมาเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล คาดว่าจะต้องมีบันทึกขาดทุนจากตีมูลค่าสินค้าคงคลัง (LCM) เพิ่มเข้ามาอีก จากราคาในตลาดที่ลดลงกว่ามูลค่าจริง โดยราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยรายเดือน ปรับลดลงทุกเดือนต่อเนื่อง จากปิดสิ้นเดือนมี.ค. 555 ทั้งนี้ บริษัทแนะนำ "ลงทุนปกติ" สำหรับโรงกลั่น

น้ำมันฉุดหุ้นกลุ่มโรงกลั่นร่วงแรงกว่า 9-13%

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 290

โพสต์

ภาพข่าว: ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ
Source - มติชน (Th), Thursday, June 14, 2012

บริษัท ปตท. เมนเทนแนนซ์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้ลงนามว่าจ้าง บริษัท นีออน อินโฟเทค เซาท์อีสเอเชีย จำกัด บริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์อัจฉริยะสำหรับวงการอุตสาหกรรมจากบริษัทอินเตอร์กราฟ จำกัด ให้เป็นผู้พัฒนาระบบการจัดการด้านวิศวกรรมในกลุ่มบริษัท ปตท. ถือเป็นการสร้างพันธมิตรระหว่างสองบริษัทในการขยายสู่ตลาดการบริการด้านวิศวกรรมสู่ประชาคมอาเซียนและทั่วโลกในอนาคต เมื่อเร็วๆ นี้

--จบ--
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 291

โพสต์

ข่าวกลุ่มพลังงานเช้านี้ครับ

1) DEMCO
หุ้นเด็มโก้พุ่งคาดย้ายกลุ่มสิ้นมิ.ย. โบรกฯเตือนเรียกเพิ่มทุนกดมูลค่าลดลง 33% ขณะที่บริษัทยืนยันปีนี้
ไม่มีการเพิ่มทุน เตรียมเงินสดไว้พร้อม
[ กรุงเทพธุรกิจ, 15 มิ.ย. 55 ]
หุ้น "เด็มโก้" วิ่งหลังนักลงทุนแก่เก็งกำไร ดักประกาศย้ายหมวดอุตสาหกรรมจากอสังหาฯ เป็น
พลังงานสิ้นเดือนนี้ ด้านโบรกแนะซื้อเหตุราคายังต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน พีอีเรโชต่ำแต่มีความเสี่ยงหากต้อง
ลงทุนพลังงานลมเพิ่ม อาจต้องเรียกเพิ่มทุน 316 ล้านหุ้น ส่งผลให้เกิดผลกระทบจากการเพิ่มทุน 33%

2) TTCL
TTCLคว้างานใหญ่1,400ล.สร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ [ ทันหุ้น, 15 มิ.ย. 55 ]
TTCL คว้างานใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ 2 โครงการ มูลค่ารวม 1,400 ล้านบาท สร้าง
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมเป็น 18 เมกะวัตต์ ฟากโบรกส่องผลงานปีนี้
เติบโตโดดเด่น จากตุนงานในมือไว้กว่า 1.75 หมื่นล้านบาท ลุ้นงานใหม่เข้ามาอีกมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท
เล็งกำไรโกยปีนี้กว่า 553 ล้านบาท

3) UAC
UAC บุกสุโขทัยขยายธุรกิจพลังงานปั๊มรายได้เข้ากระเป๋าปีละ 300 ล้าน [ ทันหุ้น, 15 มิ.ย. 55 ]
UAC เร่งขยายธุรกิจพลังงาน เดินหน้าก่อสร้างโครงการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจาก Associated Gas
ในจังหวัดสุโขทัย คาดภายในเดือนนี้เตรียมเซ็นสัญญา ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้ารายใหญ่ ระบุทำ
รายได้ 300 ล้านบาทต่อปี ผู้บริหาร "กิตติ ชีวะเกตุ" วางโครงสร้างรายได้อีก 3 ปี แตะ 2 พันล้านบาท

4) TOP
TOP อัดงบ5ปี1.5พันล.ดอลล์ลงทุนอิเหนา-พม่า-เวียดนาม [ ทันหุ้น, 15 มิ.ย. 55 ]
TOP อัดงบเงินลงทุน 5 ปี (55-59) จำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์ จ่อลงทุนโรงกลั่นใน
อินโดนีเซีย-พม่า-เวียดนาม ส่วนการลงทุนผลิต LAB สรุปภายในปีนี้ คาดใช้เงินลงทุนกว่า 200 ล้าน
ดอลลาร์ ด้านผู้บริหาร "วีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล" รับผลงานไตรมาส 2/2555 หด ส่วนค่าการกลั่นรวม
เฉลี่ยที่ 7-8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 292

โพสต์

ไทยออยล์ลงทุน5ปี 2.5หมื่นล.ปรับปรุงโรงกลั่น-ต่อยอดธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, June 15, 2012


ไทยออยล์ปรับแผนลงทุน 5 ปี ลงทุนเฉียด 30,000 ล้านบาท ปรับปรุงโรงกลั่น-ต่อยอดผลิตภัณฑ์-ลงทุนโลจิสติกส์ เตรียมจับมือ ปตท.ปักหลักลงทุนในอาเซียน หวังยกระดับเป็นผู้นำภูมิภาคใน 10 ปี พร้อมเดินหน้าลงทุนใหม่ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนใกล้ระดับ 1 ต่อ 1

นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทปรับแผนการลงทุนใหม่ใน 5 ปี (2555-2559) วงเงินรวม 1,845 ล้านดอลลาร์ โดยเงินลงทุนจำนวน 989 ล้านดอลลาร์ เป็นโครงการที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัทแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินโครงการและส่วนที่เหลือ 856 ล้านดอลลาร์ จะเสนอต่อคณะกรรมการในช่วงปลายปีนี้ หรือ อย่างช้าต้นปี 2556

"เงินลงทุนใหม่ 856 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท จะมีโครงการลงทุนที่ชัดเจน ตามกลยุทธ์หลักของบริษัทที่จะเดินหน้าในอนาคต โดยจะเน้น 3 ด้าน ประกอบด้วย การขยายขนาดกำลังผลิตให้ใหญ่ขึ้น การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และลงทุนพลังงานทางเลือก"

เขากล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทกำลังสรุปรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัท โดยมีโครงการหลัก คือ 1.โครงการปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน (Refinery Upgrading)ซึ่งทำให้โรงกลั่นผลิตน้ำมันเตาลดลง 2-3% เพื่อให้ผลิตน้ำมันที่มีมูลค่าสูงได้มากขึ้นอาทิ น้ำมันเครื่องบิน และจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโรงกลั่นน้ำมันได้มากกว่า โดยใช้เงินลงทุน 272 ล้าน ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามโครงการนี้ได้ลงทุนไปแล้วในเฟสแรก วงเงินประมาณ 128 ล้านดอลลาร์

2.โครงการผลผลิตสารจากเบนซีน (Benzene Derivatives) เพื่อนำสารเบนซีนไปผลิต Linear Alkyl Benzene (LAB) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อาทิ ผงซักฟอก แชมพู โดยตั้งเป้าว่าจะมีกำลังผลิตประมาณ 100,000 ตันต่อปี ใช้เงินลงทุน 218 ล้านดอลลาร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง

ชี้กำลังผลิตมากสุดในอาเซียน

"หากโครงการ LAB แล้วเสร็จ จะถือว่าบริษัทมีกำลังผลิตขนาดใหญ่สุดในอาเซียน และทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญ โดยโครงการนี้จะสามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งในไทย และอาเซียน ที่จะมีความต้องการผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ จากปัจจุบันที่กลุ่มประเทศอาเซียนยังมีกำลังผลิตไม่เพียงพอ ซึ่งขณะที่บริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศ เริ่มทยอยมาตั้งฐานการผลิตในไทยแล้ว"

เขากล่าวต่อว่า โครงการที่ 3 โครงการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานเกรดพิเศษ (Lube Base Specialties) วงเงินลงทุน 180 ล้านดอลลาร์ และ 4.โครงการลงทุนท่าเรือ และโลจิสติกส์อื่นๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของกำลังผลิตเพื่อส่งออก รวม 314 ล้านดอลลาร์

เขากล่าวว่า โครงการหลักที่ได้รับการอนุมัติจากบอร์ดแล้ว อาทิ การจัดซื้อเรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีเพิ่มอีก 2-3 ลำ, โครงการ paraxylene upgrading, โครงการ Lube Specialty-WAX, การขยายธุรกิจในบริษัทศักดิ์ไชยสิทธิ ที่บริษัทท็อป โซลเวนท์ ถือหุ้นอยู่ประมาณ 80% เพื่อขยายธุรกิจสารทำละลายคุณภาพสูง มูลค่าลงทุน 60 ล้านดอลลาร์, การลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้า เอสพีพี มูลค่า 334 ล้านดอลลาร์, โครงการเพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นและปิโตรเคมี มูลค่าการลงทุน 381 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น

ชี้ลงทุนดันหนี้สินต่อทุนเพิ่มเป็น 1 ต่อ 1

"ที่ผ่านมา การลงทุนของไทยออยล์ ค่อนข้างระมัดระวัง โดยลงทุนในสัดส่วนหนี้สินต่อทุนประมาณ 0.4 ต่อ 1 เท่านั้น แต่หลังจากนี้จะพยายามเปิดหาโอกาสทางธุรกิจ ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยจะเพิ่มสัดส่วนของหนี้สินต่อทุนให้ใกล้เคียง 1 ต่อ 1" นายวีรศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ การลงทุนของไทยออยล์ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยในระยะสั้น 1-5 ปี มีเป้าหมายจะทำให้บริษัทเป็นผู้ลงทุนรายหลักในภูมิภาคและยกระดับเป็นผู้นำในภูมิภาคภายใน 6 -10 ปีข้างหน้า และระดับโลกในระยะต่อไป

เตรียมขยายลงทุนอาเซียนร่วมกลุ่ม ปตท.

นายวีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ยังมีการลงทุนอีกส่วนที่ยัง ไม่ได้ใส่ลงไปในแผน 5 ปี โดยหลายโครงการอยู่ใน ระหว่างการศึกษาร่วมกับ กลุ่ม ปตท. ซึ่งจะเป็นการขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกับไทย เพื่อรอง รับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ทั้งในเรื่องของโรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี และไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบัน บริษัทได้เข้าไปลงทุนที่ประเทศเวียดนามในธุรกิจโซลเวนท์แล้ว และยังมองหาอนาคตอันใกล้ในการลงทุนที่อินโดนีเซีย ส่วนพม่า กัมพูชา และลาว ซึ่งเป็นการลงทุนในระยะต่อไป

สำหรับการลงทุนโรงกลั่นน้ำมันที่พม่านั้น จะต้อง ผ่านการศึกษาและต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากขนาด ของโรงกลั่นน้ำมันในปัจจุบันจะต้องอยู่ในระดับ 300,000 บาร์เรลต่อวัน เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นประเทศที่จะเข้าไปลงทุนจะต้องมีความต้องการน้ำมันในประเทศมากเพียงพอ เพราะการผลิตเพื่อส่งออกจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ขณะที่พม่ามีความต้องการไม่มากนักและระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการรองรับที่ยังไม่พร้อม

คาดราคาน้ำมันโลกไตรมาส 3-4 เพิ่มขึ้น

นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำมันว่า ราคา น้ำมันโลกช่วงครึ่งหลังของปี 2555 อาจปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 เนื่องจากมาตรการ ช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจน่าจะกลับมาดีขึ้น แต่คาดว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปีนี้จะอยู่ที่ 107 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยราคาจะแกว่งตัวขึ้นลงที่ระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกจะใช้วิธีเพิ่มหรือลดกำลังการผลิต เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันไม่ให้ต่ำกว่า 80 ดอลลาร์/บาร์เรล เพราะเป็นราคาที่สร้างกำไรให้ผู้ผลิต

อย่างไรก็ตามยังคงต้องจับตาดูการเลือกตั้งรัฐบาลของกรีซด้วยว่า จะทำให้กรีซหลุดจากการเป็น สมาชิกของกลุ่มประเทศอียูหรือไม่ รวมทั้งการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟดว่าจะมีมาตรการกระตุ้นการเงินสหรัฐระยะที่ 3 อย่างไรในสัปดาห์หน้า

รวมทั้งมาตรการกดดันอิหร่านจากกรณีปัญหา นิวเคลียร์ ที่ห้ามสมาชิกอียูซื้อน้ำมันจากอิหร่าน ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 ก.ค. 2555 โดยปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันโลกให้สูงขึ้นอีกครั้ง แต่เชื่อว่าจะไม่เกิน 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

อย่างไรก็ตาม บริษัทจะพยายามบริหารให้กำไรขั้นต้นจากการกลั่น (Gross Refinery Margin :GRM) อยู่ที่ระดับ 4-5 ดอลลาร์/บาร์เรล และกำไรขั้นต้นจากการผลิตรวม (Gross integrated margin : GIM) อยู่ที่ระดับ 7-8 ดอลลาร์/บาร์เรล

ราคาหุ้นบริษัทไทยออยล์ (TOP) ปิดตลาดวานนี้ (13 มิ.ย.) ลดลง 2.00 บาท หรือ 3.39% ราคาอยู่ที่ 57.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1.35 พันล้านบาท

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 293

โพสต์

'ปตท.'เจาะหาพลังงาน ให้กรมบาดาล200ล้าน
Source - มติชน (Th), Friday, June 15, 2012


เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน นายปราณีต ร้อยบาง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการสำรวจหาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือกแห่งใหม่สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ในประเทศในอนาคตว่า จากการลงสำรวจพื้นที่ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้พบว่า มีบ่อน้ำพุร้อนประมาณ 112 บ่อ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ อาทิ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ระนอง และสุราษฎร์ธานี ที่เหมาะสมและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสำรวจธรณีเคมี เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่ดีที่สุด 5 แห่ง เป็นต้นแบบในการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพ

"ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานร่วมทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ขอระดมเงินทุนสนับสนุนจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศ (ปตท.) เป็นจำนวนเงิน 200 ล้านบาท ในการดำเนินการศึกษาและจัดซื้อรถขุดเจาะและเครื่องในการดำเนินงานทั้งหมด โดยในเบื้องต้นเราได้ทำเรื่องขอเงินจำนวน 8.5 ล้านบาท มาดำเนินการบางส่วนแล้ว" นายปราณีตกล่าว

และว่าการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้เวลาในการสำรวจความเหมาะสมอีกประมาณ 2-3 เดือน เมื่อได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อไรทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะดำเนินการขุดเจาะทันที ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเดือนกรกฎาคม

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 294

โพสต์

SPCG แกร่ง เปิดโซล่าฟาร์มขอนแก่น 1

โครงการโซล่าฟาร์ม (ขอนแก่น 1) ได้เปิดตัวไปแล้วโดยโครงการแห่งนี้ เป็น 1 ใน 34 โครงการของบริษัท เอสพีซีจี ที่กระจายไปอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนเนื้อที่ 86 ไร่ 2 งาน 69 ตารางวา เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์เข้าสู่ระบบจำหน่าย เมื่อวันที่ 15 ก.พ.55 มีมูลค่าการลงทุน 650 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้นหลัก ได้แก่ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด และบริษัท ไทยฟ้า เพาเวอร์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 195 ล้านบาท และที่เหลือได้รับการสนับสนุนเงินกู้เพื่อพัฒนาโครงการจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ การเลือกสถานที่จังหวัดขอนแก่น เป็นที่ตั้งในการจัดทำโครงการโซล่าฟาร์ม เนื่องจากเป็นที่ราบสูง ไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงที่ดี มีประสิทธิภาพต่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งกระบวนการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดไม่ก่อให้เกิดอันตราย ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นพลังงานที่สะอาด ช่วยลดภาวะโลกร้อน ที่สำคัญบริษัทฯ มีเจตนารมณ์ที่จะให้โซล่าฟาร์มเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งในด้านการจ้างงาน การให้การเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และการสนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ในพื้นที่
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 295

โพสต์

การประชุมสัมมนา เรื่อง Energy Markets-Theory and Tools
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชมงคลสุวรรณภูมิ ร่วมกับ Ryerson University ประเทศแคนาดา กำหนดจัดประชุมสัมมนา เรื่อง Energy Markets-Theory and Tools ขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 22 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยมีเนื้อหาการสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการพลังงาน อาทิ Market Structure-historical perspective, Optimization Tools, Market Settlement, Planning in Energy Market เป็นต้น ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมสร้างโอกาสในการทำความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ สามารถต่อยอดนำไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาได้ต่อไป ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก Dr. Bala Venkatesh ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติจาก Ryerson University มานำเสนออีกด้วย
http://www.eng.kmutnb.ac.th/home/images ... 0512_4.pdf



การประชุมนานาชาติ เรื่อง Energy and the Future of Heat Treatment and Surface Engineering: Efhtse2012
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) the International Federation for Heat Treatment and Surface Engineering (IFHTSE) และสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) กำหนดจัดการประชุมนานาชาติ Efhtse2012 หรือ Energy and the Future of Heat Treatment and Surface Engineering ขึ้น ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ ระหว่าง 25-27 มิถุนายน 2555 เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในการนำเสนอการประชุมภายใต้แนวคิดใหม่ๆ และโซลูชั่นใหม่ๆ มุ่งเน้นไปที่แนวทางปฏิบัติ ใส่ใจในกระบวนการผลิต และควบคุมดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงาน อาคารสถานที่ น้ำมัน พลังงาน สิ่งแวดล้อม และ อื่นๆ อีกมากมาย
http://www.mtec.or.th/EFhtse2012/index.php/contact
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 296

โพสต์

PTT unit ready to bid for six IPP projects
Source - The Nation (Eng), Saturday, June 16, 2012


Group plans power-plant merger for greater competitiveness

PTT Group is interested in bidding on six independent power producer (IPP) projects with a combined capacity of 5,400 megawatts that will be launched soon by the government.

Under the third revision of the Power Development Plan 2010 covering 2010 to 2030, IPPs will be mandated to use natural gas as fuel.

Pailin Chuchottaworn, president and chief executive officer of PTT, said the company was ready to enter the bidding. However, the bid will be handled by a PTT subsidiary that operates the group’s power-plant business.

He said that under Phase 1 of the plan, 5 million tonnes of liquefied natural gas (LNG) per year from abroad would be required to supply the new IPP plants. However, to prepare for greater long-term energy security, PTT is planning for Phase 2, which will include storage facilities and a new port to handle 10 million tonnes of LNG per year, which is the equivalent of 1,400 million cubic feet per day.

A PTT source said the company’s board had agreed to participate in the bid and allowed PTT Utility Co, which is the subsidiary that sells power to the PTT Group and other clients in Map Ta Phut in Rayong province, to take part.

Accordingly, the plan is to merge IPP and SPP (small power producer) plants that belong to the Thai Oil Group with PTT Utility in an attempt to increase the group’s competitive ability. Thai Oil owns two blocks of land in the construction area. IRPC, which also owns land nearby, may participate in a separate bid, which would enable PTT to bid for more than three plants.

Previously, the Energy Ministry was expected to announce the bid at the end of this year and open the bidding early in 2013. The entire project is expected to take seven to nine years before it will be ready to sell electricity to the grid.

The first IPP plant will have a capacity of 900MW and will replace the 700MW Rayong plant owned by the Electricity Generating Co (Egco), which is set to cease operations in 2016. That is why there is a push to speed up the construction process for these new plants to avoid power shortages in the Eastern region.

The rest of the IPPs will be gradually phased into the electrical grid from 2021 onwards.

Apart from PTT, other companies that are expected to enter bids include Egco Group, Ratchaburi Electricity Generating Holding and Gulf JP, and they all are offering locations that are close to the PTT pipelines.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 297

โพสต์

ซีอีโอใหม่ไทยออยล์ลั่นขึ้นนำปิโตรเคมีเออีซี
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, June 16, 2012


ซีอีโอใหม่ไทยออยล์ "วีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล" ผ่าแผนอนาคต 5 ปี ดัน 4 ธุรกิจหลัก ยึดตลาดปิโตรเคมี นำไทยครองผู้นำ "เออีซี" พร้อมเร่งขยายกำลังผลิต "พาราไซลีน-เบนซีน-แวกซ์-โซลเวนต์"

นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังเข้ารับตำแหน่งซีอีโอได้ผ่านมาเดือนกว่าว่า เตรียมแผนลงทุน 5 ปีหน้า 2555-2559 จะใช้เงินรวม 1,845 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นโครงการที่ผ่านการอนุมัติการลงทุนจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว 989 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทอนุมัติอีก 856 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งบริษัท จะแยกทำ 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ประกอบด้วย โครงการแรก PX Upgrading หรือโครงการขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ พาราไซลีน เพิ่มจากปัจจุบันมีกำลังการผลิตปีละ 489,000 ตัน และอยู่ระหว่างขยายเป็นปีละ 550,000 ตัน โดยจะเดินเครื่องผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่สิงหาคมนี้เป็นต้นไป หากภาวะเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัว ความต้องการผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะเพิ่มมากขึ้น

โครงการสอง Benzene Derivatives จะนำผลิตภัณฑ์เบนซีนที่เป็นผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ (by product) โรงงานพาราไซลีนไปเพิ่มมูลค่า จะทำการผลิต Linear Alkyl Benzene หรือ LAB ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการผลิตผงซักฟอกและสบู่ ขณะนี้กำลังตัดสินรายละเอียดขั้นสุดท้าย และสรุปทั้งหมดภายในต้นปี 2556 จะใช้เงินลงทุนราว 218 ล้านเหรียญสหรัฐ หากไทยออยล์ตัดสินใจลงทุนโครงการนี้ จะเป็นผู้ผลิตรายแรกในภูมิภาคเข้ายึดหัวหาดตลาดอาเซียน

ปริมาณการผลิตภัณฑ์เบนซีนทำได้ปีละ 100,000 ตัน นำไปผสมกับผลิตภัณฑ์ Kerozene ปีละ 100,000 ตัน เพื่อเปลี่ยนเป็น LAB ส่วนกำลังการผลิตเบนซีนที่เหลืออีก 200,000 ตันต่อปี อยู่ระหว่างศึกษาว่าจะทำผลิตภัณฑ์ใดต่อเนื่องเพื่อสร้างมูลค่าได้ รูปแบบอาจจะลงทุนเองทั้งหมด หรือร่วมกับกลุ่มบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

โครงการสาม Lube Specialty-wax อยู่ระหว่างศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น เพราะที่ผ่านมาได้ทำโครงการ Treated Distillate Aromatic Extract หรือ TDAE ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์จากโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน และส่งออกไปยังแถบยุโรป ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมาก

โครงการสี่ Solvent Expansion ขยายกำลังการผลิตของโรงงาน บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ์ จำกัด ที่ไทยออยล์ถือหุ้น 98% ช่วงปี 2556-2557 มีแผนขยายกำลังการผลิตโซลเวนต์จากปัจจุบันปีละ 100,00 ตัน เป็น 180,000 ตัน เพื่อส่งออกไปตลาด ที่มีความต้องการเพิ่ม คือจีน ลาว เวียดนาม และกัมพูชา

"คาดว่าแผนการลงทุนดังกล่าวจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วมีกำไรขั้นต้นเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ (Gross Integrated Margin หรือ GIM) เพิ่มขึ้นได้ 7-8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ GRM หรือ Gross Renery Margin เฉลี่ย 4-5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปีนี้จะไม่ปิดซ่อมบำรุงใหญ่ แต่ปี 2556 มีแผนจะปิดซ่อมบำรุงใหญ่อีกครั้งหนึ่งในช่วงไตรมาส 2"

นายวีรศักดิ์กล่าวว่า แผนเตรียมตัว สู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจ (AEC) ไทยออยล์ได้เปรียบมาก โดยจะใช้ประสบการณ์การทำงานมากว่า 50 ปี และการแข่งขันลงทุนด้านพลังงานในกลุ่มอาเซียน ด้วยการนำธุรกิจหลักเข้าไปช่วยพัฒนาประเทศนั้น ๆ ด้านการขยาย กองเรือขนถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าไทยออยล์เอง และให้บริการกลุ่ม ปตท. ปัจจุบันไทยออยล์มีเรือ VLCC อยู่ 1 ลำ อนาคตจะเพิ่มอีก 3 ลำ เชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์ในกลุ่มสมาชิกเออีซีได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

มุ่งเน้นขยายการลงทุนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติม เช่น ท่อ ถัง คลังเก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รองรับผลิตภัณฑ์อนาคตที่จะเพิ่มขึ้น และการเข้าไปให้บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ขณะนี้เจรจากับบริษัท Pertamina จำกัด ของอินโดนีเซีย รวมถึงได้เข้าไปดูลู่ทางลงทุนในพม่า เป็นประเทศที่น่าสนใจมาก เพราะเพิ่งจะเริ่มเปิด ทางกลุ่ม ปตท.อยู่ในระหว่างตั้งทีมงานศึกษาการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ทั้งในพม่าและกลุ่มประเทศอาเซียน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 298

โพสต์

ภาวะ 'จำนน' พลังงานไทยตกเขียว'แอลเอ็นจี'
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, June 18, 2012
สุกัญญา ศุภกิจอำนวย



ก๊าซจะหมดอ่าวไทยในอีก 15 ปี การต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์ พลังงานทดแทน

ยังมีปริมาณน้อย ต้นทุนสูง เหล่านี้บีบรัดให้พลังงานไทย "จำนน" ต้องนำเข้าก๊าซ "แอลเอ็นจี" ในราคาสูงกว่าก๊าซอ่าวไทย 2-3 เท่าตัวสิ่งที่ผู้บริโภคต้องรับมือในอนาคต คือ ทำใจกับค่าไฟที่จะแพงขึ้น

เรารู้กันแล้วว่าก๊าซธรรมชาติจะหมดจากอ่าวไทย ในเวลาประมาณ 15 ปีจากนี้ บางสำนักพูดน่ากลัวที่ 10 ปี หากไม่มีการสำรวจพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพิ่มเติม โดยในไตรมาสแรกของปี 2555 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในปริมาณ 3,776 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่คาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน

แม้รัฐบาลกำลังจะไฟเขียวเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ใน 22 แปลง โดยเรื่องผ่านคณะกรรมการปิโตรเลียมไปแล้ว รอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงนาม และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้อนุมัติต่อไป โดยจะประกาศเชิญชวนในเดือน ก.ค. 2555 แบ่งเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลง และอ่าวไทย 5 แปลง

ทว่า กูรูด้านพลังงาน ,บริษัทน้ำมันแห่งชาติอย่าง ปตท. รวมถึงกระทรวงพลังงาน ต่างรู้อยู่เต็มอกว่า ก๊าซธรรมชาติ

ในอ่าวไทยจะเริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อยๆ ในอีก 1-2 ปีจากนี้ เนื่องจากไทยมีการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมานานกว่า 30 ปีไล่ๆ กับอายุของการก่อตั้ง ปตท.

เรียกว่าเจาะกันจนพรุน น่าสงสารอ่าวไทย !!! ดังนั้นหากจะมีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยหรือพื้นที่อื่นเพิ่มเติมจากนี้น่าจะมีปริมาณไม่มากนักในแหล่งสัมปทานข้างเคียงแหล่งเดิม หรือในแหล่งเดิมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงขึ้น สวนทางกับปริมาณการใช้พลังงานในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการประมาณการกันว่าอัตราเติบโตการใช้ก๊าซจะอยู่ที่ 3-4% ต่อปี

ที่สำคัญก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมากถึง 59% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ขณะที่โดยเฉลี่ยประเทศไทยเคยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามากถึงกว่า 70%"มากที่สุด" เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ โดย 1 ใน 4 เป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ

พ้นจากข้อกังวลว่า การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากจนเกินไป จะกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตหรือไม่ หากเกิดปัญหากับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ปัญหาทางการเมืองกับประเทศพม่าและมาเลเซีย ที่ไทยเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยดานา แหล่งเยตากุน ในพม่า และในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) ใช่ว่าจะไม่เคยเกิดเหตุการณ์เหล่านี้

เอาเข้าจริงแล้วประเทศไทย กำลังเดินมาถึง "ทางตัน" ในเรื่องการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า จากปัญหาการต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขณะที่โรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนอื่น ยังแก้ไม่ตกในเรื่องกำลังการผลิตต่ำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ)

กลายเป็นเรื่อง โอละพ่อ !! นโยบายพลังงานของไทย ต้องบอกว่า "จำนน" แล้วที่จะใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักที่สุดต่อไป ดังนั้น การจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการจากข้ออ้างเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน ดูจะเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการจะมาถามหาว่า .

"เราใช้ก๊าซธรรมชาติมากเกินไปแล้ว"สำทับด้วยแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) ในระยะ 20 ปี ระหว่างปี 2553-2573 ที่เพิ่มสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าสัดส่วนจาก 40% ตามแผนเดิม เป็น 57% เมื่อภาพชัดกว่าก๊าซธรรมกำลังหมด อ่าวไทย ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์เป็นความหวังเลื่อนลอย ดังนั้น 3-4 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่ ปตท.เร่งสปีดดำเนินการแบบจัดหนัก คือเดินแผนการ "นำเข้า"ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) หรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกแปลงสถานะจากก๊าซธรรมชาติเป็นของเหลวเพื่อให้ง่ายต่อการขนส่งทางเรือ แทนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากระยะทางไกล

โดย ปตท.ได้ก่อสร้างสถานีรับก๊าซ แอลเอ็นจี (LNG Receiving Terminal) ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทพีทีที แอลเอ็นจี ด้วยวงเงินลงทุนสูงถึง 3 หมื่นล้านบาทในเฟสแรก เปิดดำเนินการในเชิงพาณิชย์เมื่อ 6 ก.ย. 2554 ที่ผ่านมา โดยเริ่มนำเข้าแอลเอ็นจีปริมาณ 98 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เฟสแรกสามารถรองรับการนำเข้า แอลเอ็นจีในปริมาณ 5 ล้านตันโดยจะทยอยนำเข้าแอลเอ็นจีจนถึงปริมาณดังกล่าวในปี 2558 ปตท.ยังมีแผนจะก่อสร้างเฟสสองในพื้นที่เดิมเพื่อให้รับแอลเอ็นจีเพิ่มจาก 5 ล้านตันเป็น 10 ล้านตัน ในปี 2559 โดยใช้งบลงทุนราว 25,000 ล้านบาท และมองไปถึงการลงทุนในเฟสสาม ในพื้นที่ใหม่ไม่ใช่นิคมฯ มาบตาพุด เพื่อเพิ่มปริมาณการนำเข้าแอลเอ็นจีของประเทศเป็น 15 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นแผนระยะยาว

นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดหาแอลเอ็นจีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมา ปตท.ได้เปิดตัวเองเข้าสู่เวทีสัมมนาระดับโลกเรื่องก๊าซธรรมชาติหลายต่อหลายเวทีอย่างต่อเนื่อง เป็นไปเพื่อรับรู้สถานการณ์และข้อมูลข่าวสาร ทำความรู้จักกับประชาสังคมก๊าซโลก รวมไปถึงการพบปะกับผู้ขายแอลเอ็นจีในระดับโลก ที่มีกาตาร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นผู้ส่งออก 3 อันดับแรกของโลก โดยมีเอเชียเป็นภูมิภาคที่นำเข้าแอลเอ็นจีสูงถึง 60% ของโลก

ล่าสุดกับการประชุมและนิทรรศการธุรกิจก๊าซธรรมชาติระดับโลก (World Gas 2012) ที่จัดขึ้นในประเทศมาเลเซีย เมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ในงานเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม (WEF) ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ปตท.วางตัวเองเป็นประธานร่วม (Co-chairs) เพื่อจะใช้เวทีนี้เรียกร้องรูปธรรมของความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศในอาเซียน ซีอีโอ ปตท. "ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ยังระบายความในใจโดยขอให้ชาติอาเซียน ลดการอุดหนุนราคาพลังงาน เพื่อกระตุ้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เขายังบอกด้วยว่า ผู้นำมาเลเซียได้กล่าวในการประชุม World Gas 2012 ว่า มาเลเซียมีแผนที่จะเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็น 2 เท่าในปี 2020 หนึ่งในแนวทางในการผลักดันจีดีพี คือการลดการอุดหนุนราคาพลังงานภายในสิ้นปีนี้ ในเวทีการประชุมยังชูให้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลก

ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากประเทศไทยนำเข้าแอลเอ็นจีในปริมาณที่มากขึ้นๆ ?

พีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการ- ผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. เปิดเผยว่า หากการนำเข้าแอลเอ็นจีของไทยเป็นไปตามแผน จนถึงปี 2569 ในอีก 14 ปีจากนี้ ไทยจะเพิ่มสัดส่วนการใช้แอลเอ็นจีจาก 3% ในปัจจุบันเป็น 40% ของปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ ขณะที่ราคา แอลเอ็นจี โดยเฉลี่ยจะแพงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (ซึ่งเป็นสัญญาเดิมที่ทำกันมานานมาก) ถึง "2-3 เท่าตัว" เขาเผย เมื่อราคาแพงกว่า ยังไม่นับเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงมากในการก่อสร้างสถานีรับก๊าซแอลเอ็นจี ที่พูดกันด้วยวงเงิน 2-3 หมื่นล้านบาทต่อเฟส ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ย่อมสะท้อนมาสู่ "ค่าไฟฟ้า" ในอนาคตที่จะสูงขึ้นอย่างยากจะหลีกเลี่ยง

โดยคนไทยต้องยอมรับสภาพและ "อยู่กับมันให้ได้"

ยิ่งทั่วโลกมองอนาคตพลังงาน ไปที่ "ก๊าซธรรมชาติ" หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น โรงสุดท้ายปิดตัวลง และมาตรการที่เข้มงวดด้านสิ่งแวดล้อมของนานาประเทศ ยิ่งทำให้ตลาดนี้ในปัจจุบันเป็นของ "ผู้ขาย" อย่างสมบูรณ์แบบ ในการตั้งราคาที่แพงลิ่ว (ปัจจุบันราคาแอลเอ็นจี ตลาดจรสูงถึง 13-14 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ขณะที่ราคาขายในญี่ปุ่นไต่ระดับไปถึง 18 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู) จากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น เรียกว่า "ตกเขียว" (แย่งกันซื้อ) เพียงได้ยินข่าวว่า (ใคร) ค้นพบแอลเอ็นจี แม้จะยังไม่ทันได้พัฒนาก็ตาม

โดยญี่ปุ่นถือเป็นผู้นำเข้าแอลเอ็นจีอันดับ 1 ของโลก รองลงมาคือเกาหลีใต้ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่นมีความต้องการใช้แอลเอ็นจี ทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มขึ้น 9% เป็น 85.5 ล้านตันต่อปีขณะที่จีนกำลังจะจำกัดการเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยในปีนี้จีนมีแผนที่จะเปิดสถานีรับก๊าซแอลเอ็นจี ถึง 3 แห่ง ในอนาคตยังคาดการณ์กันว่าจีนจะเป็นผู้นำเข้าแอลเอ็นจีเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น

ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซีย เริ่มเปลี่ยนสถานะจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้า จากแหล่งสำรองแอลเอ็นจีที่มีกำลังการผลิตลดน้อยลง ขณะที่การผลิตแอลเอ็นจีส่วนใหญ่ของสองประเทศนี้ได้ทำสัญญาขายระยะยาวกับผู้ซื้อไปก่อนหน้านั้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังมีความหวังที่จะทำให้ ราคาแอลเอ็นจี จะปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต นั่นคือ การสำรวจพบปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน (Shale Gas) ในปริมาณมหาศาลในสหรัฐ จากเทคโนโลยีการขุดเจาะที่ล้ำหน้า การค้นพบดังกล่าวยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่กล่าวกันว่า ทำให้ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของโลกได้เพิ่มจาก 60 ปี เป็น 250 ปี อย่างไรก็ตามปัญหาในขณะนี้คือเอ็นจีโอในสหรัฐ ยังต่อต้านการส่งออกก๊าซธรรมชาติดังกล่าวออกมาขายในตลาดโลก จากประเด็นกระบวนการผลิตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่จะ "ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ" จึงน่าจะเป็นทางออกในยุคพลังงานราคาแพง ยกเว้นรัฐจะยังคงเข้ามา โอบอุ้มราคาในฐานะสินค้าการเมือง แบบที่ "ผู้ขาย" ไม่อยากรับภาระสักเท่าไร

เหมือนอย่างกรณีเอ็นจีวี ที่ ปตท.เข้าไปอุดหนุนราคา จนทำให้แบกภาระสะสมจนถึงสิ้นปีนี้เป็นเงิน 4 หมื่นล้านบาท ปตท.จึงมีความพยายามจะทำให้เอ็นจีวีเป็นธุรกิจเพื่อสังคม แยกบริษัทออกมาดำเนินการชัดเจนเพื่อผลทางบัญชี โดยจะดำเนินธุรกิจเฉพาะขายส่งเพื่อลดภาระทางการเงิน ผลักให้ผู้ประกอบการรายอื่น รับเอ็นจีวีจาก ปตท.ไปขายปลีกต่อ พร้อมชะลอการเพิ่มสถานีลูกเอ็นจีวี เพื่อคุมกำเนิด จนกว่าจะหาจุดลงตัวในเรื่องราคาเอ็นจีวีที่รับได้ ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 299

โพสต์

'ยูเอซี'รุกคืบ2โครงการพลังงาน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Monday, June 18, 2012


"ยูเอซี"ทุ่มงบกว่า 700 ล้านบาท ลุยลงทุน 2 โครงการ นำก๊าซเหลือทิ้งจากการขุดเจาะน้ำมันในจ.สุโขทัยมาแยกเป็นก๊าซแอลพีจี ส่งขายปตท.พร้อมผลิตก๊าซชีวภาพอัด จากหญ้าเลี้ยงช้าง จ.เชียงใหม่ ใช้แทนก๊าซเอ็นจีวีในรถยนต์

ช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่งในพื้นที่ห่างไกล ตั้งเป้า 3 ปี โกยรายได้ 2,000 ล้านบาท

นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน)(บมจ.ยูเอซี) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการหารือกับบริษัท สยามโมเอโกะ จำกัด ซึ่งรับสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งบูรพา อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ที่จะขอรับซื้อก๊าซเหลือทิ้งจากขุดเจาะน้ำมันในแหล่งดังกล่าว ที่จะเริ่มผลิตน้ำมันดิบในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป ในปริมาณ 1.5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำมาแยกเป็นก๊าซแอลพีจี ในปริมาณ 15 ตันต่อวัน เอ็นจีวี 30 ตันต่อวัน และคอนเดนเสต 5 ตันต่อวัน

โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านบาทในการตั้งโรงงานแยก และการเดินท่อส่งก๊าซมายังโรงงาน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ช่วงต้นปีหน้า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาราคาขายก๊าซเหลือทิ้ง จากคณะกรรมการปิโตรเลียมว่าจะอยู่ในอัตราที่เท่าใด หากโครงการนี้สำเร็จจะช่วยให้การนำก๊าซเหลือทิ้งจากเดิมที่จะต้องเผา มาสร้างให้เกิดมูลค่า ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าพลังงานของประเทศได้ทางหนึ่ง

ส่วนปริมาณก๊าซที่แยกได้ เวลานี้ได้มีการหารือกับทางบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ที่จะเข้ามารับซื้อแล้ว ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะมีตลาดเปิดรับอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรงกลั่นหรือโรงงานปิโตรเคมี อีกทั้ง บริษัทมีทางออกหากไม่มีลูกค้ารับซื้อ ก็สามารถนำแอลพีจีที่ผลิตได้บรรจุจำหน่ายหรือนำเอ็นจีวีจำหน่ายให้กับรถยนต์ได้ ขึ้นอยู่กับวิธีใดมีความเหมาะสม

นายกิตติ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้บริษัทยังได้ลงทุนกว่า 130 ล้านบาท เพื่อตั้งโรงงานผลิตก๊าซซีบีจีหรือก๊าซชีวภาพอัด ที่เป็นความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการศึกษาโครงการดังกล่าวขึ้นมา ที่เป็นการนำหญ้าเลี้ยงช้างมาหมักร่วมกับมูลสุกร จนได้ก๊าซชีวภาพขึ้นมาและนำมาแปลงสภาพอัดเป็นก๊าซซีบีจี ซึ่งเบื้องต้นมีกำลังการผลิต 6 ตันต่อวัน แต่สามารถขยายกำลังการผลิตขึ้นไปได้ที่ 8 ตันต่อวัน ซึ่งเพียงพอกับความต้องการใช้เอ็นจีวีของสถานีบริการที่เชียงใหม่ได้ 1 แห่ง

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะช่วยให้ในพื้นที่ห่างไกลที่มีความต้องการใช้ก๊าซเอ็นจีวีสามารถใช้ก๊าซได้ในราคาต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการขนส่งก๊าซเอ็นจีวีในระยะไกล เพราะหากเปรียบเทียบกับราคาที่ บมจ.ปตท.ขนส่งก๊าซจากอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีมาจังหวัดเชียงใหม่ นำมาขายปลีกจะตกอยู่ประมาณ 20 บาทต่อกิโลกรัม แต่หากนำซีบีจีจากโครงการนี้ไปจำหน่ายจะอยู่ที่ประมาณ 15-16 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งก๊าซได้อย่างมาก

ส่วนความคืบหน้าโครงการนี้การก่อสร้างโรงงานได้ดำเนินการเสร็จแล้ว และในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ พร้อมจะเปิดเดินเครื่องทดสอบและผลิตซีบีจี ส่งขายให้กับบมจ.ปตท.ได้ ขณะเดียวกันบริษัท ยังได้เจรจากับผู้ประกอบการ 2-3 รายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีมูลสุกรและมีการปลูกหญ้าเลี้ยงช้างในพื้นที่ ซึ่งจะนำรูปแบบการลงทุนนี้ไปลงทุนต่อไปในระยะอันใกล้นี้

สำหรับการลงทุนทั้ง 2 โครงการนี้ จะช่วยให้บริษัทมีผลประกอบการในการดำเนินงานที่ดีขึ้น จากที่ปีก่อนมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 970 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 80 ล้านบาท โดยในปีนี้ตั้งเป้ารายได้อยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท และในอีก 3 ปีข้างหน้าตั้งเป้ารายได้เติบโตอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยโครงการซีบีจีจะทำให้มีรายได้ประมาณ 60-100 ล้านบาทต่อปี ขณะที่โครงการแยกก๊าซจะมีรายได้ประมาณ 200-300 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน)(บมจ.ยูเอซี) ได้เปิดดำเนินการมากว่า 16 ปี ทำธุรกิจนำเข้าสินค้าประเภทสารเคมี วัสดุอุปกรณ์ที่มาใช้ในด้านพลังงาน ปิโตรเคมี การขุดเจาะสำรวจ ซึ่งมีลูกค้าหลักอยู่ในกลุ่ม บมจ.ปตท. รวมถึงกลุ่มโรงไฟฟ้าต่างๆ


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,749 17-20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 300

โพสต์

โชว์แสนยานุภาพ 'ก๊าซ'
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, June 18, 2012


การประชุม World Gas 2012 งานนี้นอกจากจะมีผู้นำด้านพลังงานเข้าสูงกว่า 5,000 คน จากทั่วโลก มีการเสนอรายงานเพื่อใช้ประชุมวิชาการรวมกว่า 500 ฉบับ และมีภาคธุรกิจเข้าร่วมกว่า 1 หมื่นคนแล้ว ภายในงานยังจัดให้มีเอ็กซิบิชั่นแสดงความก้าวหน้าด้านก๊าซธรรมชาติของนานาประเทศ ชี้เห็นว่า ยุคทองของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (Golden Age Gas) เดินทางมาถึงแล้ว ขณะที่พลังงานคือปัจจัยที่ 5 ที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ไล่มาตั้งแต่บูธ ปตท.ที่แสดงให้เห็นถึงแผนการลงทุนในธุรกิจแอลเอ็นจี ที่จะก้าวไปสู่ LNG Value Chain อาทิ การสร้างสถานีรับก๊าซแอลเอ็นจี ก่อนจะก้าวไปสู่การค้าขายแอลเอ็นจี การขนส่ง และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากแอลเอ็นจี

บูธของปิโตรนาส บริษัทน้ำมันแห่งชาติของมาเลเซีย จัดเต็มด้วยการนำรถฟอร์มูล่า 1 มาแสดงเป็นไฮไลต์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ได้รับการยอมรับระดับสากล ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปิโตรนาสยังนำหน้าไทยด้วยการลงทุนผลิตก๊าซจากชั้นถ่านหิน (Coalbed Methane) ในออสเตรเลีย เริ่มเข้าไปลงทุนสำรวจและผลิตก๊าซจากหินดินดาน (Shale Gas) ในประเทศแคนาดา มีการก่อสร้างสถานีรับก๊าซแอลเอ็นจี และเรือแอลเอ็นจี ที่พัฒนาไปแล้วโดยจะเกิดขึ้นก่อนไทย และให้เห็นถึงการรุกเข้าสู่ Unconventional Gas (ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งนอกรูปแบบ) เต็มรูปแบบ

บูธของเปโตมิน่า บริษัทน้ำมันแห่งชาติอินโดนีเซีย ดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมครบวงจร มีขนาดใหญ่กว่า ปตท.โดยปีรายได้ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 70 พันล้านสหรัฐ กำไรสุทธิ 23 พันล้านสหรัฐ มีการก่อสร้างหน่วยแปรสภาพ แอลเอ็นจี ในหลายเกาะ อาทิ ซาราวัค ปันตัง และตังกู โดยแอลเอ็นจีที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ทำสัญญาขายหมดแล้ว ลูกค้าหลักกว่า 60% เป็นญี่ปุ่น บูธของปิโตรเวียดนาม บริษัทน้ำมันแห่งชาติเวียดนาม แม้เวียดนามจะมีบล็อกปิโตรเลียมจำนวนมาก แต่ยังมีส่วนน้อยที่ค้นพบปิโตรเลียม ทำให้เวียดนามเริ่มมีปัญหาซัพพลาย มองไปถึงการนำเข้าแอลเอ็นจี โดยมีแผนก่อสร้างหน่วยแปรสภาพแอลเอ็นจี ขนาด 1.5 ล้านตัน ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ แยกแอลพีจีได้ไม่มาก ส่วนบูธของโททาล เชลล์ เชฟรอน เอ็กซอน โมบิล และบีพี นั้น แสดงเทคโนโลยีการเข้าสู่ธุรกิจแอลเอ็นจี เป็นไปเพื่อการแสวงหาก๊าซธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้า โดยเชฟรอนได้มีการลงทุน Shale Gas เป็นจำนวนมาก ขณะที่เอ็กซอน โมบิล ได้เข้าไปลงทุน Unconventional Gas ทุกประเภทแล้วยกเว้นเรือผลิตแอลเอ็นจี ขณะที่เชลล์กำลังจะมีเรือผลิตแอลเอ็นจีลำแรกของโลก กำลังการผลิต 3.6 ล้านตัน จะแล้วเสร็จในปี 2558

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."