ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับ
นักบินตอนตรวจร่างกาย ถ้าเป็นตรวจภายนอก เขาจะให้เราหันหน้าหากันแล้วจับผิดเพื่อนตรงข้ามว่ามีครบสามสิบสองไหม แต่ถ้าเป็นภายใน เขาจะล้วงเข้าไปหาในรูก้นเราแล้วหาว่าเราเป็นริดสีดวงหรือไม่ เขาจะไม่เอาคนที่เป็นริดสีดวงมาเป็นนักบินเพราะเวลาบินขึ้นข้างบนอากาศจะขยายและริดสีดวงก็หนีไม่พ้นกฏข้อนี้ ผมอยากตรวจดูว่า PEG หนีพ้นกฏข้อนี้หรือไม่
ตัว PEG น่าสนใจมากครับ มันกลบข้อเสียของ PE วิธีคิดก็ดูไม่ยาก มีสามตัวแปร ราคาของหุ้น กำไรต่อหุ้น อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ซับซ้อนกว่า PE โดยเอาอัตรการเติบโตของกำไรต่อหุ้นมาคิดด้วย สมการครับ PEG ratio =(Price/Earnings ratio)/ Annual EPS growth
สองคนสำคัญของโลก นักฟิสิกส์อย่างไอไสตน์และนักชีวิทยาอย่างชาร์ล ดาวินใช้เวลาบั้นปลายจับผิดตนเอง ผมจะลองทำอย่างนั้นบ้างกับ PEG แต่ผมไม่มีความสามารถอย่างนั้น สมองน้อยๆ ของผมที่เป็นโรค Dyslexia ผมเป็นคนเข้าใจอะไรช้า ผมจะขอยืมวิธีจากนักคณิตศาสตร์ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของโลกที่ชื่อ Jacob Jacobbi มาใช้เวลาแก้ปัญหาโจทย์เลขที่ยากมากๆ เขาใช้วิธี invert ครับ ผมจะลองใช้วิธี invert กับ PEG เช่นกัน
สมุติว่า หุ้น Humdrum ขายมันแกว มี PE 20 เท่าและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ลงความเห็นเคาะอัตราการเติบโตของกำไรโดยเฉลี่ยของบริษัทนี้ตลอดระยะห้าปีข้างหน้าที่ 12% จับเศษหารส่วน PEG= 20/12 = 1.66
อีกบริษัท Humson ขายทรัมเปต มี PE สูงถึง 30 เท่า เติบโตตลอดห้าปี 40% จับเศษหารส่วน PEG = 0.75
ในการตีความหมาย ผมตีความว่า ราคาของบริษัท humdrum มากกว่าอัตราการเติบโตของกำไร ถ้าบริษัทโตไม่ทันราคาที่มันเอง ราคาจะสะท้อนปรับตัวลงตามตลาดที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่บริษัท Humsom มีค่าเป๊ก PEG แค่ 0.75 เท่านั้น แปลเอาว่าราคาของบริษัทนี้ยังต่ำกว่ามูลค่าการเติบโตที่แท้จริงของบริษัท ราคาจะเพื่มขึ้นตามตลาดที่มีประสิทธิภาพ ผมแปลอย่างง่ายๆ บริษัทไหนมีค่าเป๊กเกิน 1 ถือว่าแพง และบริษัทไหนมีค่าเป๊กน้อยกว่า 1 ถือว่าถูก
ข้อเสียของ P/E คือ ถ้าบริษัทไหนมีอัตราเติบโตของกำไรมาก ๆ ค่า PE จะสูงตามไปด้วย อย่างหุ้นซีพีออล ถ้าใช้แค่ค่าพีอีเป็นตัววัดบริษัท "จิ้งโจ้" เหล่านั้น ถือว่าแพงมาก ต้องใช้ค่าเป๊กถือว่าเหมาะสมกว่าตามความสามารถของบริษัทในการหากำไรที่เพิ่มขึ้น แต่ค่า PEG ทีสองเท่าก็ถือว่าแพงเช่นกัน
PEG มีข้อดีอีกอย่างครับ ผมถือว่าสำคัญมากครับ ในความเห็นผมหุ้น humdrum ขายมันแกว แต่หุ้น Humson ขายทรัมเปต มันเหมือนคนละหน่วยเลย ดังนั้นเวลาเทียบค่า PE แต่ละ sector มันเปรียบเทียบกันไม่ได้ด้วยลักษณะของธุรกิจที่ต่างกัน แต่พอเอา growth เป็นตัวหาร ไม่ว่าข้ามไปอุตสาหกรรมไหนหรือตลาดคนละประเทศ เปรียบ humdrum ในตลาด thai stock market กับ หุ้นเทเลคอม Telekomunikasi Indonesia ในตลาดหุ้นอินโนีเซีย มันเลยเทียบมวยได้ใกล้เคียงกันหมด แต่มันมีข้อเสียครับ
มันมีความโน้มเอียง ใช้วัดหุ้นที่โตเท่านั้นและมองข้ามหุ้นที่เน้นจ่ายปันผล
ผมยกตัวอย่างบริษัทที่ถูกเรียกว่า "หุ้นพันธบัตร 555" หรือหุ้น defensive ที่ว่าเซฟๆ กำไรโตสักประมาณ 5% จ่ายปันผลอัตราอยู๋ที่ประมาณ 5 % เช่นกันครับ อยู๋ในชีวิต business cycle ช่วงชีวิตระยะเวลาของบริษัททีไม่ต้องใชเงินลงทุนมากแล้ว จ่ายปันผลเลย 5% เช่นกันครับ มีค่า PE กดไป 12 เท่า ค่า PEG = 12/5 = 2.50 มองป๊าดตัวนี้แพงมากเพราะมีค่ามากกว่าสองเท่า ลองใส่ปันผลเข้าไปดูครับ 12 / (5 +5) = 1.2 ถ้ามองมุมนี้ หุ้นตัวนี้นี่ยังไม่แพง
ค่าวัดทางการเงินต่างๆ ทั้ง EBITDA ทั้งค่า BETA ผมขอยกคำกล่าวของมังเอกร์ที่ว่าค่าเหล่านี้ควรใส่คำว่า "bullshit" เข้าไปแทนได้เลย ผมแปลว่า "ค่าขี้วัว" ในความเห็นผมครับ สิ่งที่นักลงทุนเน้นคุณค่าควรให้สนใจคือคำพูดเบน แกรม ที่ว่า "เล่นในเกมของตัวเอง ชนะในเกมของตัวเอง อย่าพยายามชนะในเกมที่คนอื่นวางไว้" ค่า PEG ก็เช่นกันครับ ในระยะยาวมันอาจใช่ไม่ได้แล้วเพราะค่า PEG ทุกบริษัทอาจวิ่งเข้าหาค่าตรงกลางที่ 1 ครับ
ริดสีดวงของผมไม่อาจหนีพ้นกฎของขยายตัวของอากาศ และถือว่าร่างกายผมไม่ครบ 32 แต่มีเกินไปเป็นสามสิบสาม ผมคิดว่า PEG มีเกินเช่นกัน มันมีข้อดีอย่างมากครับ แต่ ค่า PEG ก็ไม่อาจหนีพ้นกฎของ fears or greed ของ Mr.Market เช่นกันครับ
อย่าลืมหา Margin of safety เผื่อเวลาใช้มันครับ
นักบินตอนตรวจร่างกาย ถ้าเป็นตรวจภายนอก เขาจะให้เราหันหน้าหากันแล้วจับผิดเพื่อนตรงข้ามว่ามีครบสามสิบสองไหม แต่ถ้าเป็นภายใน เขาจะล้วงเข้าไปหาในรูก้นเราแล้วหาว่าเราเป็นริดสีดวงหรือไม่ เขาจะไม่เอาคนที่เป็นริดสีดวงมาเป็นนักบินเพราะเวลาบินขึ้นข้างบนอากาศจะขยายและริดสีดวงก็หนีไม่พ้นกฏข้อนี้ ผมอยากตรวจดูว่า PEG หนีพ้นกฏข้อนี้หรือไม่
ตัว PEG น่าสนใจมากครับ มันกลบข้อเสียของ PE วิธีคิดก็ดูไม่ยาก มีสามตัวแปร ราคาของหุ้น กำไรต่อหุ้น อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ซับซ้อนกว่า PE โดยเอาอัตรการเติบโตของกำไรต่อหุ้นมาคิดด้วย สมการครับ PEG ratio =(Price/Earnings ratio)/ Annual EPS growth
สองคนสำคัญของโลก นักฟิสิกส์อย่างไอไสตน์และนักชีวิทยาอย่างชาร์ล ดาวินใช้เวลาบั้นปลายจับผิดตนเอง ผมจะลองทำอย่างนั้นบ้างกับ PEG แต่ผมไม่มีความสามารถอย่างนั้น สมองน้อยๆ ของผมที่เป็นโรค Dyslexia ผมเป็นคนเข้าใจอะไรช้า ผมจะขอยืมวิธีจากนักคณิตศาสตร์ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของโลกที่ชื่อ Jacob Jacobbi มาใช้เวลาแก้ปัญหาโจทย์เลขที่ยากมากๆ เขาใช้วิธี invert ครับ ผมจะลองใช้วิธี invert กับ PEG เช่นกัน
สมุติว่า หุ้น Humdrum ขายมันแกว มี PE 20 เท่าและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ลงความเห็นเคาะอัตราการเติบโตของกำไรโดยเฉลี่ยของบริษัทนี้ตลอดระยะห้าปีข้างหน้าที่ 12% จับเศษหารส่วน PEG= 20/12 = 1.66
อีกบริษัท Humson ขายทรัมเปต มี PE สูงถึง 30 เท่า เติบโตตลอดห้าปี 40% จับเศษหารส่วน PEG = 0.75
ในการตีความหมาย ผมตีความว่า ราคาของบริษัท humdrum มากกว่าอัตราการเติบโตของกำไร ถ้าบริษัทโตไม่ทันราคาที่มันเอง ราคาจะสะท้อนปรับตัวลงตามตลาดที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่บริษัท Humsom มีค่าเป๊ก PEG แค่ 0.75 เท่านั้น แปลเอาว่าราคาของบริษัทนี้ยังต่ำกว่ามูลค่าการเติบโตที่แท้จริงของบริษัท ราคาจะเพื่มขึ้นตามตลาดที่มีประสิทธิภาพ ผมแปลอย่างง่ายๆ บริษัทไหนมีค่าเป๊กเกิน 1 ถือว่าแพง และบริษัทไหนมีค่าเป๊กน้อยกว่า 1 ถือว่าถูก
ข้อเสียของ P/E คือ ถ้าบริษัทไหนมีอัตราเติบโตของกำไรมาก ๆ ค่า PE จะสูงตามไปด้วย อย่างหุ้นซีพีออล ถ้าใช้แค่ค่าพีอีเป็นตัววัดบริษัท "จิ้งโจ้" เหล่านั้น ถือว่าแพงมาก ต้องใช้ค่าเป๊กถือว่าเหมาะสมกว่าตามความสามารถของบริษัทในการหากำไรที่เพิ่มขึ้น แต่ค่า PEG ทีสองเท่าก็ถือว่าแพงเช่นกัน
PEG มีข้อดีอีกอย่างครับ ผมถือว่าสำคัญมากครับ ในความเห็นผมหุ้น humdrum ขายมันแกว แต่หุ้น Humson ขายทรัมเปต มันเหมือนคนละหน่วยเลย ดังนั้นเวลาเทียบค่า PE แต่ละ sector มันเปรียบเทียบกันไม่ได้ด้วยลักษณะของธุรกิจที่ต่างกัน แต่พอเอา growth เป็นตัวหาร ไม่ว่าข้ามไปอุตสาหกรรมไหนหรือตลาดคนละประเทศ เปรียบ humdrum ในตลาด thai stock market กับ หุ้นเทเลคอม Telekomunikasi Indonesia ในตลาดหุ้นอินโนีเซีย มันเลยเทียบมวยได้ใกล้เคียงกันหมด แต่มันมีข้อเสียครับ
มันมีความโน้มเอียง ใช้วัดหุ้นที่โตเท่านั้นและมองข้ามหุ้นที่เน้นจ่ายปันผล
ผมยกตัวอย่างบริษัทที่ถูกเรียกว่า "หุ้นพันธบัตร 555" หรือหุ้น defensive ที่ว่าเซฟๆ กำไรโตสักประมาณ 5% จ่ายปันผลอัตราอยู๋ที่ประมาณ 5 % เช่นกันครับ อยู๋ในชีวิต business cycle ช่วงชีวิตระยะเวลาของบริษัททีไม่ต้องใชเงินลงทุนมากแล้ว จ่ายปันผลเลย 5% เช่นกันครับ มีค่า PE กดไป 12 เท่า ค่า PEG = 12/5 = 2.50 มองป๊าดตัวนี้แพงมากเพราะมีค่ามากกว่าสองเท่า ลองใส่ปันผลเข้าไปดูครับ 12 / (5 +5) = 1.2 ถ้ามองมุมนี้ หุ้นตัวนี้นี่ยังไม่แพง
ค่าวัดทางการเงินต่างๆ ทั้ง EBITDA ทั้งค่า BETA ผมขอยกคำกล่าวของมังเอกร์ที่ว่าค่าเหล่านี้ควรใส่คำว่า "bullshit" เข้าไปแทนได้เลย ผมแปลว่า "ค่าขี้วัว" ในความเห็นผมครับ สิ่งที่นักลงทุนเน้นคุณค่าควรให้สนใจคือคำพูดเบน แกรม ที่ว่า "เล่นในเกมของตัวเอง ชนะในเกมของตัวเอง อย่าพยายามชนะในเกมที่คนอื่นวางไว้" ค่า PEG ก็เช่นกันครับ ในระยะยาวมันอาจใช่ไม่ได้แล้วเพราะค่า PEG ทุกบริษัทอาจวิ่งเข้าหาค่าตรงกลางที่ 1 ครับ
ริดสีดวงของผมไม่อาจหนีพ้นกฎของขยายตัวของอากาศ และถือว่าร่างกายผมไม่ครบ 32 แต่มีเกินไปเป็นสามสิบสาม ผมคิดว่า PEG มีเกินเช่นกัน มันมีข้อดีอย่างมากครับ แต่ ค่า PEG ก็ไม่อาจหนีพ้นกฎของ fears or greed ของ Mr.Market เช่นกันครับ
อย่าลืมหา Margin of safety เผื่อเวลาใช้มันครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 2
เข้าใจง่ายดี ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 11
ebitda = bullshit ขึ้นอยู่กับ วิธีใช้
ถ้าใช้เพื่อเปรียบเทียบบริษัทระหว่าง platform ที่มี structure itda ต่างกัน ไม่ผิดครับ ok
แต่คือดู operation ในเชิง comparative เท่านั้น
แต่ท้ายสุด ebitda บอก value within itself ไม่ได้เพราะ
it = จ่ายจริง
da บางธุรกิจ สินทรัพย์ต้อง maintain จริงเหมือน paper depre
ดังนั้นเกิดคชจ
ท้ายสุดถ้ามอง free cash flow to firm = value, ebitda จึง bullshit
คิดว่าแบบนี้นะครับ
ถ้าใช้เพื่อเปรียบเทียบบริษัทระหว่าง platform ที่มี structure itda ต่างกัน ไม่ผิดครับ ok
แต่คือดู operation ในเชิง comparative เท่านั้น
แต่ท้ายสุด ebitda บอก value within itself ไม่ได้เพราะ
it = จ่ายจริง
da บางธุรกิจ สินทรัพย์ต้อง maintain จริงเหมือน paper depre
ดังนั้นเกิดคชจ
ท้ายสุดถ้ามอง free cash flow to firm = value, ebitda จึง bullshit
คิดว่าแบบนี้นะครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 1160
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 12
EBITDA มันห่วยแตกเพราะ
มันเป็นกำไรก่อนตัดค่าเสื่อมราคา
สมมติว่างี้
โรงงาน ซื้อเครื่องจักรราคา100ล้าน
ถามว่าบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไร
ใครตอบว่า100ล้าน ผิดครับ
มันถือเป็นสินทรัพย์ทุนต้องค่อยๆกระจายค่าใช้จ่ายไปในปีที่ใช้งาน
สมมติตัดค่าเสื่อมห้าปี ในบัญชีจะมีค่าใช้จ่ายลอยมา ปีละ20ล้าน
แต่ค่าใช้จ่ายจริงๆคือ 100ล้านปีแรก และ0บาท ในอีก4ปี
หากเราใช้EBITDA คือเอาค่าเสื่อมราคาปีละ20ล้านออก โดยอ้างว่าไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
เราจะเห็นภาพผิดๆว่าธุรกิจดีเกินจริงต่อเนื่องกันหลายปี
โดยลืมไปว่า พอปีที่6เครื่องจักรมันก็พังต้องซ่อมต้องซื้อ
ตัววัดตัวนี้เลยเป็นตัววัดที่ไร้ประสิทธิภาพมาก
เหมือนขายสินค้า แล้วบอกเจ้าของว่า ถ้าเราไม่นับต้นทุน
ถือว่าสินค้าเรากำไรดีมาก 55555
มันเป็นกำไรก่อนตัดค่าเสื่อมราคา
สมมติว่างี้
โรงงาน ซื้อเครื่องจักรราคา100ล้าน
ถามว่าบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไร
ใครตอบว่า100ล้าน ผิดครับ
มันถือเป็นสินทรัพย์ทุนต้องค่อยๆกระจายค่าใช้จ่ายไปในปีที่ใช้งาน
สมมติตัดค่าเสื่อมห้าปี ในบัญชีจะมีค่าใช้จ่ายลอยมา ปีละ20ล้าน
แต่ค่าใช้จ่ายจริงๆคือ 100ล้านปีแรก และ0บาท ในอีก4ปี
หากเราใช้EBITDA คือเอาค่าเสื่อมราคาปีละ20ล้านออก โดยอ้างว่าไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
เราจะเห็นภาพผิดๆว่าธุรกิจดีเกินจริงต่อเนื่องกันหลายปี
โดยลืมไปว่า พอปีที่6เครื่องจักรมันก็พังต้องซ่อมต้องซื้อ
ตัววัดตัวนี้เลยเป็นตัววัดที่ไร้ประสิทธิภาพมาก
เหมือนขายสินค้า แล้วบอกเจ้าของว่า ถ้าเราไม่นับต้นทุน
ถือว่าสินค้าเรากำไรดีมาก 55555
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 14
องค์ประกอบของสูตรสำเร็จไม่เคยมี
แต่การเข้าใจองค์ประกอบคือสูตรสำเร็จ
ทุกอัตราส่วน ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น สำคัญคือใช้ถูกรึเปล่า
แต่การเข้าใจองค์ประกอบคือสูตรสำเร็จ
ทุกอัตราส่วน ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น สำคัญคือใช้ถูกรึเปล่า
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 15
ลืมบอกไปครับ ว่าเอาสูตรมาจากหนังสือ Essential Buffett ที่ ดร. แปลครับ
งั้นถามพี่ Multiple ต่อเลยล่ะกันครับว่า ทำไม Discount Factor ถึงได้ใช้ อัตราพันธบัตรระยะยาวด้วยครับ
และถ้าผมไม่ได้ใช้พันธบัตร แต่ใช้เป็น WACC แทนได้หรือไม่ครับ
ขอบคุณมากนะครับ
งั้นถามพี่ Multiple ต่อเลยล่ะกันครับว่า ทำไม Discount Factor ถึงได้ใช้ อัตราพันธบัตรระยะยาวด้วยครับ
และถ้าผมไม่ได้ใช้พันธบัตร แต่ใช้เป็น WACC แทนได้หรือไม่ครับ
ขอบคุณมากนะครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 16
Warantact เขียน:EBITDA มันห่วยแตกเพราะ
มันเป็นกำไรก่อนตัดค่าเสื่อมราคา
สมมติว่างี้
โรงงาน ซื้อเครื่องจักรราคา100ล้าน
ถามว่าบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไร
ใครตอบว่า100ล้าน ผิดครับ
มันถือเป็นสินทรัพย์ทุนต้องค่อยๆกระจายค่าใช้จ่ายไปในปีที่ใช้งาน
สมมติตัดค่าเสื่อมห้าปี ในบัญชีจะมีค่าใช้จ่ายลอยมา ปีละ20ล้าน
แต่ค่าใช้จ่ายจริงๆคือ 100ล้านปีแรก และ0บาท ในอีก4ปี
หากเราใช้EBITDA คือเอาค่าเสื่อมราคาปีละ20ล้านออก โดยอ้างว่าไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
เราจะเห็นภาพผิดๆว่าธุรกิจดีเกินจริงต่อเนื่องกันหลายปี
โดยลืมไปว่า พอปีที่6เครื่องจักรมันก็พังต้องซ่อมต้องซื้อ
ตัววัดตัวนี้เลยเป็นตัววัดที่ไร้ประสิทธิภาพมาก
เหมือนขายสินค้า แล้วบอกเจ้าของว่า ถ้าเราไม่นับต้นทุน
ถือว่าสินค้าเรากำไรดีมาก 55555
ผมว่าเรื่องนี้ ต้องเอาไปฟ้องอ.ภาพร (เลียนแบบ เรื่องนี้ต้องฟ้องครูอังคณา)
มันชวนงงพอๆ กับระยะแค่สั้นๆ เรื่องซื้อของไปแล้ว เงินจ่ายไปเทหมด budget ที่ขอมา แต่ถ้าของยังไม่ได้ กลับไม่สามารถบันทึกได้
หรือสมัยก่อนเป็นเรื่องไกลตัว แต่ตอนหลังมีระบบมือถือ prepaid เลยเห็นภาพชัด รายได้ที่รับเงินสดมาจั๋งหนับ เอาเงินสดไปหมุนได้จริง อย่างกรณี dtac, ais, true ที่ขายการ์ดเติมเงิน ลูกค้าจ่ายให้เงินสดมาแล้ว
แต่เวลาลงบัญชี ต้องตั้งไว้เป็นว่ารายรับที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ unearned revenue
ถ้าลูกค้าเติมค้างไม่กดโทรหรือเติมทิ้งไว้แล้วลืมยังไม่หมดอายุ จะเอามาโชว์ในตลาดไม่ได้ ว่าเป็นรายได้
(ถ้ามีการเติมเงินโดยไม่กำหนดวันหมดอายุที่ผู้บริโภคเรียกร้องกันเป็นจริง เรื่องนี้แหละ จะกระทบกับตัวเลข unearned revenue ที่ตั้งไว้ส่วนนี้ ถ้าไปเยอะลูกค้าโยนการ์ดเติมเงินทิ้งๆ ขว้างๆ หรือเก็บไว้ในลิ้นชัก 10 ปี ก็ต้องตั้งรายการทิ้งไว้แบบนั้นตลอดไป)
"รายได้รับล่วงหน้าค่าบริการโทรศัพท์" แต่กลับต้องบันทึกว่าเป็นหนี้ ไม่ได้เป็นนักบัญชีโดยกำเนิด มันจะไม่ชวนงงได้ยังไง
ก่อนหน้านี้ เถรตรงอย่างผมเองกว่าจะทำใจยอมรับ และเข้าใจเรื่องนี้ได้ งงอยู่ตั้งนาน เพราะเป็นพวกถูกสอนมาให้คิดเป็นเหตุผลตรงไปตรงมา (เป็นพวกวิดวะมือเลอะมาก่อน) รับเงินก็ต้องบอกรายได้จิ... จ่ายเงินก็รายจ่ายจิ ทำไมต้องมีเงื่อนไขอะไรอีก เงินออกหรือเงินเข้าเห็นๆ
สรุปแล้ว นักบัญชีเขาบอก นี่มัน "แอ็คครู" นะคุณ ไม่ใช่บัญชีเงินสด จะได้ทำอย่างร้านขายก๋วยเตี๋ยวปากซอยอารีได้
นึกว่าครูช่าง act อะไรที่ไหน มันคือเกณฑ์คงค้างหรือ Accrual
แต่มันจะบุญชิตยังไง ที่เขาใช้ประโยชน์จาก EBITDA ทั้งๆ ที่ GAAP ไม่ได้บัญญัติไว้ คือวัดฝีมือได้ดีกว่าเดิม เพราะมีคนมาแอบยืดอายุ D&A กันเยอะ ผมเคยร่วมในเหตุการณ์ด้วยละครับ (แต่ผมไม่ใช่นักบัญชีที่ทำนะ คนอื่นทำ ผมค้านว่าหลอกกันชัดๆ แต่ทำไงได้ในเมื่อผู้บริหารที่ผถห.ใหญ่ไว้ใจ สั่งนักบัญชีลงมาให้ปรับตัวเลข)
พอ D หรือ A น้อยกว่าเดิมแค่ 2 ปีเอง ทำให้ EBIT, EBT พองกว่าเดิมมาก เพราะเป็นกิจการทางเทคโนโลยี ที่ operating asset มูลค่ากว่า 90% ของบริษัท มีทั้ง hardware และ software (ทั้ง D ทั้ง A) โดยที่ไม่ได้สำแดงฝีมือหาเงิน ไม่ใช้ความพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิมเลย แต่สร้าง bottom line อลังการกว่าเดิม Auditor เขาก็ยอมรับ เพราะเขาบอกปรับให้สะท้อนความเป็นจริง .... งั้นเถียงเขาก็ไม่ได้ ไม่รู้ตอนนั้นไปเสียเวลาเถียงเขาทำไม
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 18
ผมก็ว่า EBITDA ไม่ได้ห่วยนะ
เพราะเค้าเอาไว้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทจริงๆว่าเป็นอย่างไร โดยเอาผลของดอกเบี้ยและภาษีออกไป เพื่อขจัดความแตกต่างด้านโครงสร้างเงินทุน แล้วก็เอาค่าเสื่อมและค่าตัดจ่ายออกไป เพื่อขจัดความแตกต่างด้านการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว
ทำให้เราพอจะสามารถเทียบธุรกิจต่างอุตสาหกรรมกันได้ เพราะมีความแตกต่างด้านการใช้สินทรัพย์ระยะยาว และยังเทียบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ว่าใครเก่งกว่ากัน เนื่องจากแต่ละบริษัทก็มีโครงสร้างเงินทุนและสินทรัพย์ระยะยาวต่างกันไป
และก็ลดผลกระทบทางบัญชีได้ด้วย เพราะไอ้ค่าเสื่อมพวกนี้มันรายการทางบัญชีล้วนๆที่จะให้ออกมาสวยหรือขี้เหร่ก็ได้
แต่ก็ไม่ใช่ว่าดูตัวเดียวเอาอยู่เลย มันต้องพิจารณาหลายๆอัตราส่วนทางการเงินประกอบด้วยครับ
เพราะเค้าเอาไว้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทจริงๆว่าเป็นอย่างไร โดยเอาผลของดอกเบี้ยและภาษีออกไป เพื่อขจัดความแตกต่างด้านโครงสร้างเงินทุน แล้วก็เอาค่าเสื่อมและค่าตัดจ่ายออกไป เพื่อขจัดความแตกต่างด้านการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว
ทำให้เราพอจะสามารถเทียบธุรกิจต่างอุตสาหกรรมกันได้ เพราะมีความแตกต่างด้านการใช้สินทรัพย์ระยะยาว และยังเทียบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ว่าใครเก่งกว่ากัน เนื่องจากแต่ละบริษัทก็มีโครงสร้างเงินทุนและสินทรัพย์ระยะยาวต่างกันไป
และก็ลดผลกระทบทางบัญชีได้ด้วย เพราะไอ้ค่าเสื่อมพวกนี้มันรายการทางบัญชีล้วนๆที่จะให้ออกมาสวยหรือขี้เหร่ก็ได้
แต่ก็ไม่ใช่ว่าดูตัวเดียวเอาอยู่เลย มันต้องพิจารณาหลายๆอัตราส่วนทางการเงินประกอบด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 20
มันก็สะท้อนนะ แต่มักจะบิดเบี้ยว เพราะ ebitda มันเป็นรายการแบบเกณฑ์คงค้าง แต่ fcf นี่น่าจะหมายถึงกระแสเงินสดถึงบริษัทยังไม่แบ่งเจ้าหนี้และเจ้าของ มันก็เป็นเกณฑ์เงินสด ซึ่งโดยทั่วไป fcf จะน้อยกว่า ebitda อยู่เล็กน้อย แต่มันก็ไม่แน่เสมอไป เพราะมีผลของลูกหนี้การค้าและเจ้าหนี้การค้านั่นเอง ทำให้แต่ละธุรกิจจึงมีความแตกต่างไม่เท่ากันnut776 เขียน:ปัญหา มันอยู่ที่คนชอบเอา ebitda ไปใช้แทน fcf
ซึ่งมันไม่ได้สะท้อน ก็แค่นั้น
ผมว่าถ้าเอามาใช้โดยคร่าวๆก็พอได้อยู่ แล้วเราก็ใช้ MOS ช่วยเอาได้ในตอนประเมิน
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 21
เพิ่มเติมอีกหน่อยBHT เขียน:มันก็สะท้อนนะ แต่มักจะบิดเบี้ยว เพราะ ebitda มันเป็นรายการแบบเกณฑ์คงค้าง แต่ fcf นี่น่าจะหมายถึงกระแสเงินสดถึงบริษัทยังไม่แบ่งเจ้าหนี้และเจ้าของ มันก็เป็นเกณฑ์เงินสด ซึ่งโดยทั่วไป fcf จะน้อยกว่า ebitda อยู่เล็กน้อย แต่มันก็ไม่แน่เสมอไป เพราะมีผลของลูกหนี้การค้าและเจ้าหนี้การค้านั่นเอง ทำให้แต่ละธุรกิจจึงมีความแตกต่างไม่เท่ากันnut776 เขียน:ปัญหา มันอยู่ที่คนชอบเอา ebitda ไปใช้แทน fcf
ซึ่งมันไม่ได้สะท้อน ก็แค่นั้น
ผมว่าถ้าเอามาใช้โดยคร่าวๆก็พอได้อยู่ แล้วเราก็ใช้ MOS ช่วยเอาได้ในตอนประเมิน
fcf นี่ผมว่าจะหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนเพื่อรักษาระดับความสามารถธุรกิจออกไปแล้ว แต่ ebitda นี่ยังไม่หัก ดังนั้นต้องไม่ลืมนำตัวเลขรายจ่ายนี้มาพิจารณาด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมคิดว่าค่า PEG มีเกินสามสิบสอง
โพสต์ที่ 22
ebitda ก็ยังไม่ได้แบ่งเจ้าหนี้เจ้าของเหมือนกันคับ
ประเด็นคือ ebitda ไม่รวม capex และ wc เข้าไป
ซึ่งต่างจาก fcf
ดังนั้น ebitda เป็นบวก แต่ fcf ติดลบได้ เช่น พวกอุตสาหกรรมการผลิต ต่างๆ
แต่โดยทั่วไป มักเอา ebitdaมาเป็นตัวแทน fcf เลย
buffet รู้ถึง pit fall ตรงนี้ แม้จะไม่ได้ใช้ศัพท์เดียวกัน คือ fcf capex
แต่ก็หลีกเลี่ยงการใช้ ebitda อย่างเดียว
ถ้าเข้าใจจริงๆ ถึงที่มาที่ไป จะเอาไปใช้แบบไหนก็ได้มั้งคับ
เช่นถ้าเข้าใจเนื้อแท้ หรือจังหวะ วงจรธุรกิจจริงๆ ใช้ ebitda แทน fcf ก็ได้
แต่ถ้าไม่เข้าใจ ควร aware ถึง pitfall
ประเด็นคือ ebitda ไม่รวม capex และ wc เข้าไป
ซึ่งต่างจาก fcf
ดังนั้น ebitda เป็นบวก แต่ fcf ติดลบได้ เช่น พวกอุตสาหกรรมการผลิต ต่างๆ
แต่โดยทั่วไป มักเอา ebitdaมาเป็นตัวแทน fcf เลย
buffet รู้ถึง pit fall ตรงนี้ แม้จะไม่ได้ใช้ศัพท์เดียวกัน คือ fcf capex
แต่ก็หลีกเลี่ยงการใช้ ebitda อย่างเดียว
ถ้าเข้าใจจริงๆ ถึงที่มาที่ไป จะเอาไปใช้แบบไหนก็ได้มั้งคับ
เช่นถ้าเข้าใจเนื้อแท้ หรือจังหวะ วงจรธุรกิจจริงๆ ใช้ ebitda แทน fcf ก็ได้
แต่ถ้าไม่เข้าใจ ควร aware ถึง pitfall
show me money.