รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 241

โพสต์

รบ.เร่งใช้พท.ทับซ้อนไทย-เขมร [ มติชน, 24 พ.ค. 55 ]

'อารักษ์'จี้บัวแก้วถกสนธิสัญญาจบเร็วห่วงก๊าซในปท.หมดอุตฯปิโตรลำบาก
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การเจรจาพื้นที่ทับซ้อน
ไทย-กัมพูชามีความคืบหน้ามาก ล่าสุดได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาฝ่ายละ 1 ชุด เพื่อศึกษาความ
เหมาะสมแต่ความคืบหน้าจะเกิดขึ้นต้องขึ้นอยู่กับการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศด้วย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 242

โพสต์

ปตท.สผ.ชนเชลล์ เพิ่มราคาซื้อ‘โคฟ’
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, May 24, 2012


ปตท.สผ.ท้าชนเชลล์ เสนอราคาซื้อ โคฟ เพิ่ม หลังออกแถลงจะรับข้อเสนอเชลล์ หวังต่อยอดยุทธศาสตร์กลุ่มปตท. ยันใช้เงินสด-สินเชื่อเดิม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดต้องเพิ่มทุน หากชนะประมูล นักลงทุนเทขายหุ้นหนัก ปิดตลาดร่วง 6.19%

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เมื่อวานนี้ (23 พ.ค.) ว่า บริษัท PTTEP Africa Investment Limited หรือ PTTEP AI ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ประกาศการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ออกแล้วและยังไม่ได้ออกทั้งหมดของบริษัท Cove Energy Plc. โดยภายใต้เงื่อนไขการทำคำเสนอซื้อหุ้นนี้ ผู้ถือหุ้นของ Cove จะมีสิทธิได้รับเงินค่าหุ้นที่ราคา 240 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าสำหรับหุ้นสามัญที่ออกแล้วและยังไม่ได้ออกทั้งสิ้น ประมาณ 1,221.4 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง

ปตท.สผ.แจ้งตลาดหลักทรัพย์หลังจากบริษัท Cove Energy ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจน้ำมันของอังกฤษ แถลงว่า ผู้ถือหุ้นของ Cove ควรยอมรับข้อเสนอเทคโอเวอร์วงเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์ จากบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ ในขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่วันก่อนถึงเส้นตายในการทำข้อตกลง

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารของ Cove เคยแนะนำให้ผู้ถือหุ้นยอมรับข้อเสนอซื้อกิจการจากเชลล์ในช่วงก่อนหน้านี้ และได้ระบุย้ำอีกครั้งเมื่อวานนี้

Cove ระบุในแถลงการณ์ว่า คณะกรรมการตระหนักว่า จนถึงขณะนี้บริษัท Shell Bidco เป็นผู้เสนอซื้อกิจการเพียงรายเดียว และได้รับอนุมัติจากรัฐบาลโมซัมบิกแล้ว คณะกรรมการของ Cove ขอแนะนำอย่างจริงจังให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนรับรองข้อเสนอซื้อนี้โดยเร็วที่สุด

ผู้ถือหุ้น Cove มีเวลาจนถึงวานนี้ (23 พ.ค.) ในการยอมรับข้อเสนอซื้อกิจการจากเชลล์ แต่แถลงการณ์ของ Cove ระบุว่าวันที่ 23 พ.ค. เป็นวันปิดรับวันแรก ซึ่งบ่งชี้ว่าทางบริษัทอาจจะขยายเส้นตายออกไป

ราคาหุ้น Cove ร่วงลงราว 1% สู่ 223 เพนซ์ในช่วงท้ายตลาดวานนี้ แต่ยังคงสูงกว่าระดับ 220 เพนซ์ในข้อเสนอซื้อหุ้นจากเชลล์

ด้าน เชลล์ กล่าวก่อนหน้านี้ว่าทางบริษัทได้ตกลงที่จะซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ด้วยเงินสด 1.12 พันล้านปอนด์ (1.8 พันล้านดอลลาร์) โดยบริษัทได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเพื่อให้เท่ากับราคาที่เสนอโดยบริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP

Cove เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Investment Market (AIM) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีสินทรัพย์หลักคือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และคาดว่าจะมีปริมาณสำรองราว 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect และยังถือหุ้น 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area ในสาธารณรัฐโมซัมบิก รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในเคนยาด้วย

ปตท.สผ.แจงใช้เงินสด-สินเชื่อเดิม

อย่างไรก็ตาม ปตท.สผ.ชี้แจงอีกว่าการทำคำเสนอซื้อหุ้นจะมีผลโดยวิธีการทำเป็นข้อเสนอ (Takeover Offer) และ คณะกรรมการ Cove จะมีความเห็นเป็นเอกฉันท์แนะนำผู้ถือหุ้น Cove ว่า ให้ยอมรับข้อเสนอนี้

สำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อในครั้งนี้จะมาจากเงินสดคงเหลือของ ปตท.สผ. และวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน

การประกาศการทำคำเสนอนี้ มีอัตราส่วน Enterprise Value/recoverable resources ที่ประมาณ 0.41 - 0.86 ดอลลาร์ต่อพันลูกบาศก์ฟุต หรือ ประมาณ 2.48 5.18 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยคำนวณจากปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติ (recoverable resources) ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก ที่ประมาณ 24 50 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งรวมการค้นพบปิโตรเลียมในแหล่ง Golfinho ที่ประกาศโดยบริษัท Cove เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2555

Cove มีสินทรัพย์หลัก คือ การถือครองสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก โดยแปลงสัมปทานดังกล่าว เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ (World Class Gas Discovery)

การทำคำเสนอซื้อหุ้นครั้งนี้ ถือเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับ ปตท.สผ.ในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออกที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูง ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ ปตท.สผ. ที่จะสร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องรวมถึงเป็นการต่อยอดยุทธศาสตร์ ของกลุ่ม ปตท. ที่จะเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas) ในไทย ซึ่งมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต

นักวิเคราะห์คาดปตท.สผ.ต้องเพิ่มทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงบ่ายเมื่อวานนี้ (23 พ.ค.) ผู้บริหาร ปตท.สผ. เรียกนักวิเคราะห์เพื่อมารับฟังคำชี้แจงถึงการเสนอซื้อครั้งนี้ หลังจากราคาหุ้น PTTEP ปรับลดลงอย่างหนักในช่วงบ่าย โดยนางสาวนลินรัตน์ กิตติกำพลรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซียพลัสกล่าวภายหลังการไปรับฟังการนำเสนอข้อมูลว่ากรณีเข้าประมูลซื้อโคฟ คาดว่า ปตท.สผ.จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนประมูลซื้อโคฟ มากกว่า 6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการเข้าไปซื้อจะมีส่วนต่างกำไรจากราคาหุ้น ซึ่งจะต้องจ่ายให้รัฐบาลอังกฤษ ในสัดส่วน 12.8% ซึ่งทำให้ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าที่เคยประเมินไว้

การเข้าดังกล่าวส่งผลให้โอกาสที่บริษัทปตท.สผ.จำเป็นจะต้องเพิ่มทุนจะมีสูงมาก เนื่องจากผู้บริหารปตท.สผ.ยืนยันที่จะรักษานโยบายคงสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไว้ที่ 0.5 เท่าเพื่อไม่ให้ถูกหั่นเครดิตเรทติ้ง ซึ่งปัจจุบัน ปตท.สผ.มีสัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ที่ 0.4 เท่า ถือว่าเข้าใกล้เพดานที่บริษัทกำหนดไว้

ดังนั้นการจะใช้วงเงินกู้เพื่อมาซื้อกิจการจะทำได้น้อยเพราะมีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนหนี้ต่อทุน ทำให้เชื่อว่าอาจจะต้องเลือกแนวทางเพิ่มทุน ขณะที่ผู้บริหารก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าจะเพิ่มทุนหรือไม่

ดังนั้นในระยะสั้น เรื่องความกังวลเพิ่มทุนก็ยังจะกดดันราคาหุ้นปตท.สผ.ต่อไป เพราะจะต้องกระทบต่อราคาหุ้นที่ต้องปรับลงหากเพิ่มทุน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในแง่ผลตอบแทนจากการเข้าประมูลโคฟฯ ระยะยาวก็ถือว่าคุ้มค่า เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบมาก มีขนาดใหญ่กว่าอ่าวไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันแต่เป็นผลกระทบระยะยาว ขณะที่ผลตอบแทนที่จะได้จากการลงทุนโคฟ ฯ ต้องใช้เวลานานกว่า 3 ปี

ราคาหุ้นปตท.สผ.(PTTEP) ปิดตลาดวานนี้ (23 พ.ค.) ปรับตัวลดลงในช่วงบ่าย โดยปิดตลาดที่ราคา 151.50 บาท ลดลง 10 บาท หรือ 6.19%ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในรอบกว่า 6 เดือน ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,010.38 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการเพิ่มทุนของบริษัทในการเข้าซื้อกิจการ

ปตท.สผ.ต้องใช้เงินประมูลซื้อ"โคฟ"กว่า 6 หมื่นล้าน



ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 243

โพสต์

สหกรณ์ปาล์มกระบี่ทุ่ม100ล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, May 24, 2012


สหกรณ์ปาล์มกระบี่ ลงทุน 100 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ส่วนสมาชิกสหกรณ์คาดว่าจะได้เงินปัน ผลไม่ต่ำกว่าตันละ 280 บาท

เผยราคาผลปาล์มร่วงดิ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี ชี้ต้นเหตุ อคส.นำเข้าน้ำมันปาล์ม 10,000 ตัน หากยังไม่รีบแก้ มั่นใจว่าเกษตรกรจะมีการเคลื่อนไหวในเร็วๆ นี้

นายสมคิด พรหมเจริญ ประธานกรรมการ ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด ผู้ประกอบกิจการสกัดและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไบโอดีเซล (B-100) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐ กิจ" ว่า ปีนี้ทางชุมนุมสหกรณ์ฯ มีแผน ใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจากเดิมที่มีกำลังการผลิต 60 ตันทะลายต่อชั่วโมง เป็น 90 ตันทะลายต่อชั่วโมง จะทำให้รับปริมาณผลปาล์มสดได้วันละ 1,300 ตัน จากสมาชิกสหกรณ์จำนวน 31 สหกรณ์ ที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มรวมทั้งสิ้นกว่า 100,000 ไร่

"ปัจจุบันรับซื้อผลปาล์มจากสมาชิกสหกรณ์ราคากิโลกรัมละ5.70 บาท ส่วนราคาผลปาล์มสดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีกิโลกรัมละ 4.80 บาท ส่วนชุมพร ผลปาล์มสดกิโลกรัมละ 4.80 บาท สาเหตุมาจากการที่รัฐบาลได้ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าน้ำมันปาล์ม จำนวน 10,000 ตัน ทำให้ราคาผลปาล์มร่วงดิ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี คาดว่าจะทำให้เกษตรกร 6 จังหวัดภาคใต้จะมีการชุมนุมเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้หากรัฐบาลไม่สามารถประกันราคาผลปาล์มได้ที่กิโลกรัมละ 6 บาท"

นายสมคิด กล่าวต่ออีกว่า ล่าสุดทางชุมนุมสหกรณ์ฯ ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือซื้อขายน้ำมันปาล์ม

ดิบ (Crude Palm Oil) กับบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมสหกรณ์มีลูกค้า 3 บริษัทได้แก่ บริษัท มรกต อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โอลีน จำกัด คาดว่าจะส่งน้ำมันปาล์มเฉลี่ยให้ 4 บริษัทรวมวันละ 1,500 ตัน เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนกับเกษตรกรในการซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งจะทำให้ปีนี้รายได้ของชุมนุมสหกรณ์ฯ เพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านบาท จากปีที่แล้ว 200 ล้านบาท ส่วนเงินปันผลที่ให้กับสมาชิกปีนี้คาดว่าจะไม่ต่ำกว่าตันละ 280 บาท

"การเซ็นสัญญาระหว่าง 4 บริษัท หากบริษัทใดให้ราคาสูง จะขาย น้ำมันปาล์มให้ปริมาณมาก ส่วนอีก

3 รายจะเฉลี่ยไป สำหรับบริษัทที่ให้ราคาดีที่สุด ได้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) นับว่าเป็นผลดีกับเกษตรกรที่ผลิตแล้วมีตลาดมารองรับ ซึ่งชุมนุมสหกรณ์ฯ เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างเป็นรูปธรรม ช่วยพยุงราคาปาล์มน้ำมันในช่วงที่เกิดวิกฤติด้านราคา ขณะเดียวกันจะมีกำลังการผลิตที่จำกัด ไม่สามารถรองรับผลผลิตของเกษตรกรได้ทั้งหมด ปัจจุบันจึงรับแค่ผลผลิตปาล์ม ของสมาชิกเพียงอย่างเดียว"

อนึ่ง ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด นั้นได้จดทะเบียนสหกรณ์เมื่อวันที่ 10 กุมภา พันธ์ 2540 ทุนจดทะเบียน 60,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ โครงการก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอวงเงิน 270 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรง งานสกัดน้ำมันปาล์ม ขนาดกำลังการ ผลิต 45 ตันทะลายต่อชั่วโมง ส่วนโรงงานแห่งที่ 2 ขนาดกำลังการผลิต 45 ตันทะลายต่อชั่วโมง วงเงิน350 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม ปี 2555


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,742 24-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 244

โพสต์

2ยักษ์ไทย'ปตท.สผ.-เอ็กโกกรุ๊ป'ลุยเทกโอเวอร์ธุรกิจฝรั่ง
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, May 26, 2012


นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทลูกของ ปตท.สผ. คือบริษัท PTTEP Africa Investment Limited : PTTEP AI ได้เสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ Cove Energy Plc ทั้งที่ออกแล้วและยังไม่ได้ในราคา 240 เพนซ์/หุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 1,221.4 ล้านปอนด์ โดยใช้เงินสดคงเหลือของ ปตท.สผ.และวงเงินที่มีปัจจุบันเข้าไปชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าว ส่วนการทำคำเสนอซื้อดำเนินการในรูปแบบการเทกโอเวอร์ และทางคณะกรรมการของ Cove มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว

ประโยชน์ที่ ปตท.สผ.จะได้รับหลังจากการเทกโอเวอร์กิจการครั้งนี้คือ Cove มีสินทรัพย์หลักในฐานะผู้ถือครองแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ของโลก รวมถึงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ ปตท.สผ.ด้วยเช่นกันที่จะเข้าถึงแหล่งพลังงานในแอฟริกาตะวันออกที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูงมาก เป็นไปตามกลยุทธ์ระยะยาวที่ตั้งเป้าจะขยายการเติบโตต่อเนื่อง ผนวกกับการต่อยอดยุทธศาสตร์ให้กลุ่ม ปตท. เป็นผู้นำด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในไทย ต้องการนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ ควบคู่กับการเพิ่มมูลค่าสูงสุดร่วมกันทั้งไทยและโมซัมบิก

ทั้งนี้ตามเงื่อนไขผูกพันเมื่อ ปตท.สผ.บรรลุข้อตกลงการเทกโอเวอร์กิจการของ Cove ทั้งหมดแล้ว จะมีผลดีตามมา 3 เรื่องคือ เรื่องแรก จะได้รับการยอมรับอย่างถูกต้องตามกฎหมายในการซื้อขายหุ้นไม่ต่ำกว่า 90% เรื่องที่ 2 ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรณี หรือตัวแทนสาธารณรัฐโมซัมบิก เข้าไปพัฒนาแปลงสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติใน Rovuma Offshore และ Onshore Area 1 เมื่อได้รับการยินยอมอย่างเป็นทางการแล้วจะไม่ถูกเพิกถอนหรือถูกระงับ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เรื่องที่ 3 เมื่อประกาศการซื้อขายไปแล้ว ทาง Cove Mozambique ซึ่งเป็นเจ้าของผลประโยชน์ใน Rovuma Project Interest ทาง PTTEP AI จะต้องได้ครอบครองสินทรัพย์ดังกล่าวนี้

นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า ในฐานะเอกชนรายใหญ่ทางพลังงาน ล่าสุดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2555 ได้ใช้เงินทุน 370 ล้านบาท เข้าซื้อโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของ บริษัท ซับอีดิสัน เอ็นเนอร์ยี โฮลดิ้ง (สิงคโปร์) จำกัด โครงการเอสพีพี 2 สัดส่วนการถือหุ้น 99.9% หรือมูลค่าโครงการคิดเป็น 0.335% ของสินทรัพย์เอ็กโก กรุ๊ป โดยก่อนหน้านี้ได้ซื้อไปแล้ว 2 โครงการ คือเอสพีพี 4 และ เอสพีพี 3 เท่ากับซื้อทั้งหมดจากซับอีดิสันฯ 3 โครงการ ได้กำลังการผลิตรวม 22 เมกะวัตต์ นำมารวมกับพลังงานหมุนเวียนของเอ็กโก กรุ๊ป กลายเป็น 79 เมกะวัตต์ จากเป้าปี 2558 จะต้องได้ 300 เมกะวัตต์

ส่วนโครงการโรงผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (solar cell) เอสพีพี 2 มีกำลังการผลิตติดตั้งขนาด 8 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี

--จบ--



ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 - 30 พ.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 245

โพสต์

คอลัมน์: สัมภาษณ์พิเศษ: เปิดวิสัยทัศน์ อนนต์ ใช้เทคโนโลยีนำ PTTGC สู่ขุมทรัพย์
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, May 28, 2012
วรินทร ตริโน



อนนต์ สิริแสงทักษิณ เปิดวิสัยทัศน์หลังรับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ มุ่งเสาะหาเทคโนโลยีใหม่ สร้างกำไรให้ พีทีที โกลบอล ตามรอย ปตท.สผ. เจาะหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ เผยอนาคตหนีไม่พ้นกรีนโปรดักท์ชี้แนวโน้มไตรมาส 2 ปีนี้ เน้นรักษาการเติบโตในระดับไตรมาสแรกที่มีกำไร 9.8 พันล้าน แม้ไม่มีกำไรสต็อกน้ำมัน เพราะเดินการผลิตเต็ม 100% และขณะนี้ยังไม่เห็นขาดทุนจากสต็อกน้ำมันเหมือนที่หลายฝ่ายห่วง

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ให้สัมภาษณ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงแนวทางการบริหารงานหลังเข้ารับตำแหน่งซีอีโอใหม่ว่า การบริหารงานส่วนใหญ่คงจะสานต่อนโยบายเดิม เพราะยุทธศาสตร์ที่วางไว้ดีอยู่แล้ว โดยเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และขยายงานเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว สานต่อภารกิจต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เช่น แผนงานการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการควบรวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกัน มีการจัดการดูแลวางรากฐานเรื่องคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายงานในอนาคต

แผนงานที่สำคัญมี 3 ส่วน คือ การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งประโยชน์จากการควบรวม ทำให้มีกำลังการผลิตหลายส่วนที่สามารถเติมได้อีก ช่วยสร้างการเติบโตให้บริษัทช่วง 3-5 ปีข้างหน้า และมองโอกาสขยายงานไปยังภูมิภาค โดยเฉพาะการต่อยอดให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างกำไรมากขึ้น และต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือกรีน นวัตกรรม โดยต้องหาเทคโนโลยีที่จำเพาะเรื่องกรีน

ปัจจุบันกรีนโปรดักท์ หรือผลิตภัณฑ์สีเขียว เป็นกระแสที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ มองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาวะโลกร้อน เราต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้เพื่อขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ ซึ่งในอนาคตตลาดนี้จะมาแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทเคมิคอลหลายบริษัทในภูมิภาคเริ่มมุ่งสู่ตลาดนี้เช่นเดียวกัน แต่ไทยจะได้เปรียบ เพราะมีสินค้าเกษตร ที่นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นพลังงานได้ ซึ่งบริษัทจะศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากพืชเกษตร หรือ BIO BASE

"การบริหารงานที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม กับพีทีที โกลบอลฯ มีความคล้ายคลึงกัน โดย ปตท.สผ.จะแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตให้บริษัท ขณะที่พีทีที โกลบอลฯ ต้องแสวงหาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่ขุมทรัพย์ใหม่ พร้อมกับจัดพอร์ตบริษัทว่า ตัวไหนเป็นตัวทำเงิน ซึ่งขณะนี้บริษัทมองเห็นทิศทางชัดเจนแล้ว เราก็จะสานต่อให้ประสบความสำเร็จให้ได้"

นโยบายการลงทุนในต่างประเทศ กลุ่ม ปตท.ก็มีการพูดคุยกัน โดยการเข้าไปลงทุนในบางพื้นที่เข้าไปลงทุนร่วมได้ หากขยายการลงทุนไปยังผลิตภัณฑ์ปลายน้ำได้ แต่การลงทุนในบางประเทศอาจเป็นโอกาสเฉพาะของบริษัท โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งต้องไปเสาะหามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ เจาะไปยังตลาดระดับบน หรือพรีเมียม ซึ่งมีทั้งการซื้อเทคโนโลยี หรือร่วมลงทุนกับบริษัทที่มีเทคโนโลยี

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้เข้าลงทุนซื้อหุ้น 51% ของบริษัท Perstorp Holding France SAS ผ่านบริษัทในเครือ วงเงิน 114.8 ล้านยูโร หรือ 4,830 ล้านบาท และได้ร่วมทุนถือหุ้น 50% ในบริษัท Natureworks LLC ในสหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุน 150 ล้านดอลลาร์ หรือ 4,572 ล้านบาท ปัจจุบันการลงทุนทั้ง 2 โครงการผ่านการอนุมัติตามกระบวนการทางกฎหมายจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว คาดดำเนินการเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้นในครึ่งแรกของปีนี้

ล่าสุดบริษัทได้ร่วมกับ ปิโตรนาส และ ITOCHU เพื่อศึกษาโอกาสการร่วมลงทุนโครงการปิโตรเคมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ในเขตอุตสาหกรรมใหม่ของมาเลเซีย ที่ตั้งอยู่ในเป็งกะรัง รัฐยะโฮร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เรียกว่าโครงการ RAPID (Refinery & Petrochemical Integrated Development) เพื่อรองรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และการเติบโตของตลาดอาเซียน ที่พร้อมเป็นฐานผลิตสำคัญของตลาดโลก

"ส่วนงานในบริษัท ปตท.สผ.ไม่มีอะไรน่าห่วง เพราะทิศทางในอนาคตชัดเจน แม้งานบางส่วนจะยังไปไม่ถึง แต่เห็นศักยภาพว่าจะไปที่ไหน ซึ่งชัดเจนว่าเรามุ่งขยายการลงทุนไปพม่า และในภูมิภาคอาเซียน ปักธงที่ออสเตรเลีย และเห็นโอกาสขยายต่อเนื่องไปยังแคนาดาและสหรัฐอเมริกา"

ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัทไตรมาส 2 ปีนี้ จะรักษาการเติบโตใกล้เคียงกับไตรมาสแรก ที่มีกำไร 9.8 พันล้านบาท แม้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเริ่มปรับลดลง ทำให้ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอาจไม่มีกำไรจากสต็อกน้ำมัน ส่วนที่กังวลว่าจะเกิดการขาดทุนจากสต็อกน้ำมันในช่วงไตรมาสนี้ บริษัทได้ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด แต่ยังไม่มีการขาดทุนจากส่วนนี้

อีกทั้งไตรมาส 2 นี้ บริษัทเดินกำลังการผลิตเต็มที่ จากที่หยุดซ่อมบำรุงไปช่วงไตรมาสแรก โดยส่วนของโรงกลั่นใช้กำลังการผลิตเต็ม 100% ส่วนปิโตรเคมีใช้กำลังการผลิต 80-90% ขณะที่แนวโน้มส่วนต่างราคาวัตถุดิบ และราคาผลิตภัณฑ์ (สเปรด) อาจเพิ่มขึ้น

ด้าน นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงินและบัญชี บริษัท พีทีพี โกลบอล กล่าวถึงแผนการลงทุนว่า จะแยกแผนการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ การลงทุนประจำปี ซึ่งใช้งบลงทุน 7 พันล้านบาทต่อปี และลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตให้บริษัท โดย 5 ปีข้างหน้าตั้งงบลงทุนไว้ 4.5 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.4 แสนล้านบาท ส่วนการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ และลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่หลายดีล

ทั้งนี้การลงทุนซื้อกิจการต่างประเทศของบริษัท ส่วนใหญ่ซื้อเพื่อหวังเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ มาสร้างโอกาสเติบโต ไม่ใช่ซื้อเพื่อหวังให้เอางบมารวมกับบริษัท เพราะกิจการต่างประเทศอยู่ไกล ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐ และยุโรป ยากที่จะเข้าไปดูแล

เขากล่าวว่า แผนการจัดหาเงินลงทุน ส่วนหนึ่งมาจากการออกหุ้นกู้ ซึ่งขออนุมัติวงเงินจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว 2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนที่เหลือ 2.5 พันล้านดอลลาร์ มาจากเงินสดจากการดำเนินงาน โดยไม่ได้พิจารณาเรื่องการเพิ่มทุน

"เราต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมเพื่อขยายเข้าสู่ตลาดใหม่"

--จบ--



ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 246

โพสต์

IRPCเล็งผุดรง.ผลิต'ฟีนอล'ป้อนโรงงานคาโปรแลคตัม2
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Monday, May 28, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน -"ไออาร์พีซี" ยันมีศักยภาพลงทุนโครงการผลิตฟีนอลซึ่งเป็นวัตถุดิบป้อนโครงการผลิตคาโปรแลคตั้มแห่ง 2 ของ UCHA ในไทยรอบริษัทแม่ ปตท.ชี้ขาด

นายจรัญญา พิชิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อูเบะเคมีคอลส์(เอเชีย) จำกัด(มหาชน)(UCHA)และกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท อูเบะอินดัสทรีส์ จำกัดประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)ได้เข้าทำสัญญาซื้อหุ้น UCHA คิดเป็น 25% ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโครงการและผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกันระหว่างบริษัทกับกลุ่ม ปตท.

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา โดยกลุ่มปตท.มีแผนจะจัดหาวัตถุดิบป้อนให้กับ UCHA เพื่อใช้ในโครงการขยายกำลังการผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 ในไทย

โดยโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมในปัจจุบันได้จัดซื้อไซโครเฮกเซนจากบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ PTTGC ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท.อยู่แล้ว แต่เมื่อการตั้งโรงงานผลิตคาโปแลคตัมแห่ง 2 อีก 1.5 แสนตันต่อปี ใช้เงินลงทุน 600-700 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี2559 จะมีผลพลอยได้คือแอมโมเนียซัลเฟตที่ใช้ทำปุ๋ยจำนวน 6 แสนตัน ซึ่งขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกบริษัทในเครือฯเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบให้ โดยวัตถุดิบผลิตคาโปรแลคตัมสามารถใช้ได้ทั้งไซโครเฮกเซน และฟีนอล ซึ่งบริษัทฯที่มีศักยภาพในการป้อนวัตถุดิบได้มีทั้ง PTTGC กับไออาร์พีซี

นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีโครงการขยายกำลังการผลิตยางสังเคราะห์(บิวทาไดอีน รับเบอร์) เพิ่มขึ้นอีก 1 โรง ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับPTTGC ทั้งในเรื่องรูปแบบการร่วมลงทุนกำลังการผลิตและวงเงินลงทุน ในปีนี้ UCHA คาดว่าจะมียอดขายรวม 1.9 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดขาย 1.5 หมื่นล้านบาทและกำไรสุทธิ 1.7 พันล้านบาทเนื่องจากมีกำลังการผลิตคาโปรแลคตัมเพิ่มขึ้นอีก 1หมื่นตันจาก1.2 แสนตันเป็น1.3 แสนตันในปีนี้ รวมทั้งการขยายกำลังผลิตไนล่อน คอมพาวด์ด้วย แต่มาร์จินปีนี้คงไม่ดีเท่าปีก่อน ซึ่งปัจจุบันราคาคาโปแลคตัมอยู่ที่ 2,650 เหรียญสหรัฐต่อตันต่ำกว่าปีก่อนตามทิศทางราคาน้ำมัน

แหล่งข่าวจากไออาร์พีซี กล่าวว่าบริษัทฯมีศักยภาพในการผลิตฟีนอลเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานคาโปแลคตัมแห่งที่ 2 เนื่องจากบริษัทฯมีแผนลงทุนโครงการผลิตโพรพิลีน 3 แสนตันต่อปี (UHV) คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งปริมาณโพรพิลีนที่ได้จะทดแทนการนำเข้าส่วนหนึ่งและใช้ในโครงการผลิตซูเปอร์แอบซอบเบอร์ แต่จะเหลือโพรพิลีนอีก 1 แสนตันเพียงพอที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการตั้งโรงงานผลิตฟีนอลได้ แต่ทั้งนี้ บริษัทแม่ คือปตท.จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจต่อไป

ทั้งนี้ กลุ่มปตท.มีโรงงานผลิตฟีนอลอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะป้อนโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่ง 2 เนื่องจากกำลังการผลิตฟีนอลนั้นป้อนโรงงานผลิตบีสฟีนอน เอ (Bisphenol A-BPA) เพื่อใช้ผลิตเม็ดพลาสติกโพลีคาร์บอนเนต จัดเป็นพลาสติกวิศวกรรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์เครื่องมือแพทย์ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ แผ่นซีดี-ดีวีดีเป็นต้น--จบ--



ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 247

โพสต์

PTTEP, Myanmar set to sign contract
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, May 29, 2012


PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) expects to sign a petroleum-sharing contract with the Myanmar government early next month for oil and gas exploration in two onshore petroleum blocks.

"We’re just waiting for the confirmation date [for signing the agreement] for the G and EP2 Blocks from the Myanmar government. A tentative date has already been set for early next month," said chief executive Tevin Vongvanich.

PTTEP was awarded exploration and production activity in the two petroleum blocks covering 13,000 square kilometres in January.

The company currently operates four gas blocks in Myanmar _ Yadana and Yetakun _ producing 1.1 billion cubic feet per day for Thailand.

M9 or Zawtika, which is being developed at a total expense of US$2 billion, is expected to have first production next year with 300 cfd.

The company is also awaiting the results of proved reserve evaluation in the M3 gas production project after drilling early this year found the potential of natural gas.

"Myanmar is one of our focus countries in upstream petroleum, and we’re also preparing gas development plans for its central government," said Mr Tevin.

He said the company is also planning to set up an office in Ranong province close to the Myanmar border to oversee production and as a facility yard in exploration and production business of the company.

PTTEP shares closed yesterday on the SET at 156.50 baht, up 1.50 baht, in trade worth 348 million baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 248

โพสต์

ไทยออยล์เล็งซื้อกิจการ พุ่งเป้าภูมิภาคเอเชียหนุนการเติบโต
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, May 30, 2012


ระยะยาวมุ่งสู่ธุรกิจไบโอเคมิคอล เตรียมงบลงทุน5ปีกว่า4.3หมื่นล้านบาท

"ไทยออยล์” เล็งซื้อกิจการต่างประเทศ เน้นภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก หนุนการเติบโต ระยะยาวมุ่งสู่ธุรกิจไบโอเคมิคอล เตรียมงบลงทุน 5 ปีกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท จัดสรรบางส่วนซื้อกองเรือขนน้ำมันเพิ่ม รองรับความต้องการกลุ่มปตท. ประเมินน้ำมันดิบปลายปีเกิน 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เชื่อปีหน้าธุรกิจพาราไซลีนหนุนบริษัทโตโดดเด่น

นางสาวภัทรลดา สง่าแสง ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ไทยออยล์ (TOP) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนการลงทุนต่างประเทศ ทั้งซื้อกิจการและหาพันธมิตรร่วมลงทุนในกิจการโรงกลั่นน้ำมัน น้ำมันหล่อลื่น และธุรกิจอะโรเมติกส์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อเพิ่มการเติบโตให้บริษัท โดยสนใจที่จะลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก พร้อมกับศึกษาการลงทุนในอาเซียน หลังมีการเปิดประชาคมอาเซียน หรือ เออีซี แต่คงจะศึกษาร่วมกับกลุ่มบริษัท ปตท. (PTT) เพราะไม่อยากให้เกิดการแข่งขันกันเอง แล้วสุดท้ายเสียโอกาสให้ต่างประเทศ

“ การลงทุนต่างประเทศเป็นแผนการลงทุนระยะยาว ซึ่งขณะนี้แค่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจน โดยในระยะยาวการลงทุนคงมุ่งไปที่ไบโอเคมิคอล ซึ่งไทยมีความสามารถที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจนี้ เหมือนที่เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ได้ เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน ทั้งอ้อย และมันสำปะหลังจำนวนมาก” นางสาวภัทรลดา กล่าว

สำหรับแผนลงทุน 5 ปีของบริษัท (2555-2559) บริษัทตั้งงบลงทุนไว้ที่ประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.3 หมื่นล้านบาท มีทั้งโครงการที่ประกาศไปแล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างพิจารณา อย่างไรก็ตามการลงทุนของบริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จึงประเมินว่าจะใช้งบลงทุนจริงๆประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท โดยจะลงทุนปีละประมาณปีละ 250-300 ดอลลาร์สหรัฐ

โดยบริษัทมีแผนจะซื้อเรือส่งน้ำมันเพิ่มเติม เพื่อขยายกองเรือของบริษัท มารองรับกับความต้องการขนส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ในเครือปตท.ซึ่งมีการนำเข้าน้ำมันเดือนละ 12 ลำ เฉพาะของไทยออยล์เองประมาณ 3 ลำ เนื่องจากค่าเรือในปัจจุบันลดลงมาก จากช่วงแรกที่ซื้อมาประมาณ 60 ล้านดอลลาร์ต่อลำ ปัจจุบันเหลือเพียงประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ต่อลำ ซึ่งในอนาคตบริษัทอาจทำกำไรจากธุรกิจนี้ได้ถึง 100 ล้านบาท จากปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40 ล้านบาทแล้ว

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกลั่น และเพิ่มกำลังการกลั่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์พาราไซลีน (PX) เพิ่มขึ้น เนื่องจากขณะนี้มีความต้องการในตลาดโลกจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาปรับขึ้นสูง โดยเฉพาะในช่วงปลายปีนี้ และปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้ตั้งแต่ปีหน้า ไปจนถึงปี 2556 จะเป็นปีที่ดีมากของไทยออยล์

อย่างไรก็ตามในช่วงสั้นๆ นี้ ราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์อาจจะผันผวนบ้าง แต่ไม่รุนแรง จากความกังวลปัญหาในยุโรป เช่นเกียวกับสถานการณ์ราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตามเครือปตท.ประเมินไปในทิศทางเดียวกันว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงสิ้นปีนี้จะปรับสูงขึ้นเกินระดับ 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้บริษัทไม่ได้ทำประกันความเสี่ยง หรือ เฮดจิ้งน้ำมันดิบเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่เฮดจิ้งอยู่ที่ประมาณ 10%

“โดยพื้นฐานธุรกิจของบริษัทอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ราคาหุ้นอาจถูกกระทบเชิงจิตวิทยาจากปัญหาในยุโรปบ้าง โดยปัจจุบันบริษัทมีสภาพคล่องประมาณ 50% เป็นการถือโดยนักลงทุนต่างชาติประมาณ 30% ที่เหลืออีก 20% เป็นนักลงทุนในประเทศ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้นักลงทุนต่างประเทศอาจจะโยกเงินไปลงทุนทองคำ พันธบัตร หรือถือเงินสด หากสถานการณ์ที่คลุมเครือดีขึ้น เงินกลับเข้าลงทุนไทย บริษัทก็จะได้ประโยชน์จากภาพรวมนี้ได้”

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน วิเคราะห์ว่า ผลประกอบในไตรมาสแรกของบริษัทไทยออยล์และโรงกลั่นอื่นๆ น่าจะเป็นจุดสูงสุดของปีนี้ โดยฝ่ายวิเคราะห์เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2555 เพิ่มขึ้น 10% เพื่อสะท้อนการที่บริษัทนำผลประโยชน์ภาษีจากบีโอไอ มาใช้ในไตรมาสแรกกว่า 1.1 พันล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิปีนี้ที่ประมาณการใหม่อยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยังคงราคาเป้าหมายไว้เท่าเดิมที่ 70 บาท แม้ว่าไทยออยล์จะเป็น Integrated Refinery ที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มตามมุมมองของเรา แต่มุมมองเชิงลบที่มีต่อราคาน้ำมันดิบ รวมทั้งแนวโน้มกำไรสุทธิของกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีในช่วงที่เหลือของปี ทำให้เราคงน้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral เท่านั้น และคงคำแนะนำการลงทุนเป็น "ถือ"

ประเมินราคาน้ำมันดิบปลายปีเกิน110ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 249

โพสต์

ก.พลังงานผลักดันให้ใช้ดีเซลบี 7 ปีนี้

กรมธุรกิจพลังงานเตรียมพิจารณาออกประกาศเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล หรือ บี 100 ในน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเป็นบี 7 จากปัจจุบันกำหนดให้จำหน่ายน้ำมันดีเซล บี 5 (น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมบี 100 ในสัดส่วน 5% ) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาตัวอย่างจากประเทศยุโรปที่เริ่มใช้บี 7 มาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อดูผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ และนำมาปรับใช้ในประเทศไทย สำหรับการกำหนดให้ใช้น้ำมันดีเซลบี 7 เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ไบโอดีเซลในประเทศให้มากขึ้น ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 10 ปี (ปี 2555-2564) ซึ่งกรมฯคาดว่าศึกษาตัวอย่างแล้วเสร็จและจะประกาศว่าไทยสามารถใช้น้ำมันดีเซลบี 7 ได้หรือไม่ในเร็วๆ นี้ ส่วนการจะประกาศบังคับให้จำหน่ายน้ำมันดีเซลบี 7 ได้เมื่อใดนั้น จะต้องพิจารณาด้านปริมาณน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ และความพร้อมของค่ายรถยนต์ร่วมด้วย

จากการพิจารณาปริมาณการผลิตของโรงงานไบโอดีเซลบี 100 ที่ผลิตได้ในปีนี้ สามารถที่จะประกาศใช้น้ำมันดีเซลบี 7 ได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า เนื่องจากพบว่าปีนี้ไทยมีผลผลิตปาล์มทลายประมาณ 1.97 ล้านตัน และนำมาจัดทำเป็นน้ำมันปาล์มดิบ (ซีพีโอ) ประมาณ 1.6 แสนตันต่อเดือน นำมาใช้บริโภคประมาณ 7.5 หมื่นตันต่อเดือน และนำมาผลิตบี 100 เพื่อนำไปผลิตน้ำมันดีเซลบี 5 ในปัจจุบันจำนวน 5 หมื่นตันต่อเดือน โดยยังเหลือน้ำมันปาล์มอีกประมาณ 3.5 หมื่นตันต่อเดือน โดยหากปรับเพิ่มมาใช้เป็นบี 7 จะต้องใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นอีก 2 หมื่นตันต่อเดือน ดังนั้นยังเหลือน้ำมันปาล์มอีกกว่า 1 หมื่นตันต่อเดือน เพื่อการส่งออกได้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 250

โพสต์

EGCO ทุ่ม 370 ล้านบาทสร้างโรงไฟฟ้าโซล่าร์ ขนาด 8 MW ในสระบุรี

นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ผลิตไฟฟ้า (EGCO) เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้น กับ บริษัท SunEdison Energy Holding (Singapore) Pte.Ltd. เพื่อลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท เอสพีพี ทู จำกัด (SPP2) ในสัดส่วนร้อยละ 99.99 เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 55 ซึ่งการลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามมติของคณะกรรมการลงทุนของ EGCO ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 55 โดยบริษัทใช้เงินลงทุน ประมาณ 370 ล้านบาท

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ SPP2 เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิต 8 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าประเภท Non-Firm สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และได้รับเงินสนับสนุน (Adder) จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) จำนวน 8 บาทต่อหน่วยเป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งเริ่มจำหน่ายไฟฟ้า (Commercial Operation Date) เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 55 โดยโครงการนี้มีการติดตั้งระบบปรับแผงโซล่าเซลล์แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่าระบบติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบคงที่

การลงทุนดังกล่าวเป็นการดำเนินธุรกิจที่เป็นไปตามเป้าหมายของ EGCO ในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทนซึ่งสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนเรื่องพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 251

โพสต์

ปตท.สผ.ติงผู้ถือหุ้นอย่าวิตกเพิ่มทุน แจงซื้อโคฟเพื่อรักษาการเติบโตต่อเนื่อง
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, May 31, 2012 05:27


เทวินทร์ให้คำมั่นเจตนารมณ์ตั้งเป้ารักษาผลตอบแทน"เท่าเดิม"ด้านวีนิไทยทุ่ม 7.2 พันล้าน ซื้อกิจการในจีน

ผู้บริหาร ปตท.สผ.เผยผู้ถือหุ้นอย่ากังวลหากบริษัทต้องเพิ่มทุน เพื่อเข้าซื้อกิจการโคฟ เหตุต้องการให้บริษัทเติบโต ย้ำเจตนารมณ์ตั้งเป้ารักษาผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในระดับเท่าเดิม และจะคำนึงถึงประโยชน์ผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาหุ้นวูบต่ำสุดรอบ 6 เดือน ส่วนมาร์เก็ตแคปหด 2 หมื่นล้านบาทหลังกังวลเพิ่มทุน ด้านวีนิไทย ทุ่ม 7.2 พันล้าน ลงทุนโครงการผลิตสารอีซีเอช ในจีน กำลังผลิต 1 แสนตันต่อปีเผยใช้เงินลงทุนจากกระแสเงินสดและกู้แบงก์

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) กล่าวว่าแหล่งเงินทุนที่จะนำมาทำคำเสนอซื้อหุ้นบริษัท โคฟ เอนเนอยี่ นั้นบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งไม่อยากให้ผู้ถือหุ้นรู้สึกกังวลใจ หากต้องเพิ่มทุน เพราะต้องการให้บริษัทมีศักยภาพการเติบโตในอนาคต และเป็นเจตนารมณ์ของผู้บริหารตั้งเป้ารักษาผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นไว้ในระดับเท่าเดิม รวมถึงจะเน้นประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ

"การจัดหาแหล่งเงินทุน จะเข้ามาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินหรือการเพิ่มทุน เพื่อพิจารณาความเหมาะสม แต่วันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป จะไปทางไหนแต่ถึงแม้จะมีการพิจารณาเพิ่มทุนก็ต้องดูผลกระทบและประโยชน์ผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ก็ต้องบริหารผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นมีการเติบโตขึ้นเหมือนอย่างในอดีตสม่ำเสมอ จะเห็นว่า ตั้งแต่เข้าตลาด ผลตอบแทนเติบโตต่อเนื่อง ดังนั้นการเพิ่มทุนไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลกับผู้ถือหุ้น เพราะเราจะรักษาอัตราผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับสูงไว้ให้ได้" นายเทวินทร์กล่าว

เขากล่าวว่า การเข้าไปลงทุนในบริษัทโคฟ เพราะมองเห็นอนาคตความต้องการใช้ก๊าซที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการที่บริษัท ปตท.สผ.ไปลงทุนในแหล่งที่มีศักยภาพสูง เพื่อรองรับระยะยาว และแหล่งโมซัมบิก มีการค้นพบปริมาณสูง ประมาณ 20-50 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งมากกว่าปริมาณในอ่าวไทย 3-4 เท่า ของปริมาณสำรองอยู่

อย่างไรก็ตาม แหล่งเงินที่จะนำมาซื้อ ท้ายสุดแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากรายได้ กระแสเงินสด และอีกส่วนมาจากเงินกู้สถาบันการเงิน ซึ่งได้รับคำยืนยันจากแบงก์ยูบีเอส ที่จะเปิดวงเงินกู้ให้เพื่อสนับสนุนในโครงการดังกล่าวแล้ว รวมทั้งในระยะยาว บริษัทต้องพิจารณาดูรายได้และค่าใช้จ่าย ให้สมดุลกัน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ผู้บริหารจะรักษาฐานะการเงินให้เข้มแข็ง รวมทั้งให้ความสำคัญผู้ถือหุ้น ผู้บริหารมีนโยบายที่จะสร้างการเติบโตต่อเนื่องให้กับผู้ถือหุ้น

ทั้งนี้บริษัทมีเวลาอีก 28 วันนับจาก 23 พ.ค. 2555 เพื่อเตรียมตัวในการจัดทำคำเสนอซื้อ ส่วนกรณีบริษัทเชลล์จะยื่นประมูลแข่งหรือไม่นั้น ไม่สามารถระบุได้ แต่ตามเงื่อนไขสามารถยื่นได้อยู่แล้ว

สำหรับการเคลื่อนไหวราคาหุ้นบริษัท ปตท.สผ.พบว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ที่ราคา 150 บาท และมูลค่าตลาดรวมลดลง 2 หมื่นล้านบาท จากระดับ 5.4 หมื่นล้านบาท เหลือ 5.21 หมื่นล้านบาท ขณะที่ล่าสุดวานนี้ราคาหุ้นปิดตลาด 153 บาท ลดลง 4 บาท หรือ 2.55%

รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ระบุว่า บริษัท ปตท.สผ.ได้แจ้งความคืบหน้าของบริษัท PTTEP Africa Investment Limited หรือ PTTEP AI บริษัทลูกของบริษัท ปตท.สผ. ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรณี สาธารณรัฐโมซัมบิก ในการเปลี่ยนแปลงผู้ถือสัดส่วนทางอ้อม ในทรัพย์สินทั้งหมดของ บริษัทโคฟในสาธารณรัฐโมซัมบิก หาก ปตท.สผ. ประสบความสำเร็จในการซื้อหุ้นครั้งนี้

ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้รับเงินกู้จำนวน 950 ล้านปอนด์ หรือ 1.49 พันล้านดอลลาร์เพื่อรองรับการซื้อกิจการ โคฟ แล้ว โดยมียูบีเอส เอจี เป็นผู้จัดหาเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งเป็นเงินกู้ระยะสั้นเวลา 1 ปี โดยข้อตกลงนี้มีการลงนามในวันที่ 23 พ.ค.

ปตท.เมินลงทุนถ่านหินวิลกี ครีก ในออสเตรเลีย

ด้านนายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล ในเครือ บริษัท ปตท.ระบุว่า บริษัทได้แสดงเจตจำนงที่ขอเข้าไปศึกษาการลงทุนในเหมืองถ่านหิน Wilkie Creek ในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นของ Peabody Energy ของสหรัฐ แต่ล่าสุดขณะนี้ ไม่ได้ให้ความสนใจลงทุนเหมืองดังกล่าวแล้ว หลังจากได้ศึกษาข้อมูล แล้วเห็นว่าไม่เหมาะสม

"ไม่เอาแล้ว เนื่องจากไม่เหมาะกับเรา" นายจิตรพงษ์ กล่าวกับ "รอยเตอร์"

พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทการลงทุนของกลุ่ม ปตท.ในต่างประเทศ โดย ปตท.ถือหุ้น 100% โดยที่ผ่านมาได้มีการลงทุนในธุรกิจเหมืองถ่านหิน รวมถึงธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอียิปต์ ส่งไปอิสราเอล เป็นต้น

วีนิไทยทุ่ม 7.2 พันล.ซื้อกิจการในจีน

นายบรูโน ฟาน เดอร์ วีเลน กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีนิไทย (VNT) ผู้ผลิตผงพลาสติกพีวีซี และสารตั้งต้นปิโตรเคมี รายงานตลาดหลักทรัพย์ว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทดำเนินการลงทุนในโครงการผลิตและจำหน่ายสาร Epichlorohydrin (ECH) ในประเทศจีน โดยใช้กระบวนการผลิตของโซลเวย์ อีปิคเซโร โพรเซส (Solvay Epicerol Process) ซึ่งมีกำลังการผลิต 1 แสนตันต่อปี ด้วยงบประมาณลงทุน 7.2 พันล้านบาท

การผลิตและจำหน่ายสาร ECH ดังกล่าวจะดำเนินการโดยบริษัท โซลเวย์ ไบโอเคมิคอล ไทซิ่ง (Solvay Biochemicals (Taixing) Limited) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศจีน ซึ่งบริษัทจะดำเนินการจัดตั้งบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นทั้งจำนวนในประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการขยายการลงทุนในต่างประเทศ และจะดำเนินการให้บริษัทย่อยดังกล่าวเข้าซื้อเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท โซลเวย์ ไบโอเคมิคอล ไทซิ่ง จากบริษัทโซลเวย์ ไบโอเคมิคอล แอนด์พลาสติก โฮลดิ้ง

สำหรับสาร ECH ที่ผลิตได้จากโครงการดังกล่าวจะจำหน่ายภายในประเทศจีนทั้งหมด โดยบริษัทจะใช้แหล่งเงินทุนในการดำเนินจากกระแสเงินสดจากการประกอบกิจการของบริษัท และแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ คณะกรรมการมีมติอนุมัติให้บริษัท โซลเวย์ ไบโอเคมิคอล ไทซิ่ง เข้าทำสัญญาให้ใช้สิทธิบัตรสัญญาให้ใช้เทคโนโลยี และสัญญาให้บริการด้านความช่วยเหลือทางเทคนิค กับบริษัท โซลเวย์ เอส.เอ. (Solvay S.A.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทางอ้อมของบริษัท (58.77%)

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอเรื่องรายการที่เกี่ยวโยงกันดังกล่าวต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ในวันที่ 24 ก.ค.นี้ พร้อมได้แต่งตั้ง บล.ทรีนีตี้ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นโดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 25 มิ.ย. 2555 และให้รวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นตามมาตรา 225 ของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 29 มิ.ย. 2555

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 252

โพสต์

Cove purchase approved by Mozambique state
Source - Bangkok Post Website (Eng), Thursday, May 31, 2012


PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) received approval from the Mozambican government for its proposed acquisition of Cove Energy Plc.

Tevin Vongvanich, president and chief executive of PTTEP, said the Republic of Mozambique’s Ministry of Mineral Resources sent written consent for the transaction to PTTEP Africa Investment, a wholly owned subsidiary.

Approval was required because the takeover of the London Stock Exchange-listed company would involve a change in control of Cove Mozambique.

"The receipt of this written consent confirms that Mozambique’s government has strong confidence and trust in the capabilities of PTTEP," said Mr Tevin.

PTTEP on May 23 made a 1.22-billion (60.6 billion baht) cash offer for Cove Energy, beating Royal Dutch Shell’s April 24 offer of 1.12 billion.

Shell, Europe’s largest oil company, last month raised its offer for Cove from 1.95 a share to 2.20, matching PTTEP’s previous offer.

The acquisition will be by means of a takeover offer, and the directors of Cove have unanimously recommended shareholders accept the Thai offer.

Cove’s primary asset is an 8.5% interest in Mozambique’s Rovuma Offshore Area 1. It also has a 10% stake in a Rovuma onshore project, as well as interests ranging from 10% to 25% across seven blocks in Kenya’s offshore deep-sea area.

In Mozambique’s Rovuma Offshore Area 1, Cove announced a major discovery at its Golfinho exploration well on May 15.

Cove recently revised its reserve estimates to a range of 24 to 50 trillion cubic feet (Tcf) from 30 Tcf earlier.

PTTEP on May 23 said the acquisition is consistent with its strategy of leveraging the liquefied natural gas value chain of the PTT Group in Thailand.

PTTEP plans to triple its production to 900,000 barrels of oil equivalent per day by 2020 via domestic and global expansion.

According to Mr Tevin, the next step in the acquisition process is to submit an official offer to Cove shareholders next month, 28 days after the cash offer was made on May 23.

On Monday, PTTEP said it obtained a 950-million bridge loan from UBS AG to cover about 78% of the latest offer.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 253

โพสต์

'TRC' หวังสูงรับงานโอมานปีนี้โตเข้าเป้า [ โพสต์ทูเดย์, 31 พ.ค. 55 ]

TRC จับมือไออาร์พีซี รอรับงานโอมาน จ่อลงทุนพลังงานทดแทนเพื่อนบ้าน ปีนี้รายได้ 3,000 ล้าน
เข้าเป้าโต 50%

นายไพฑูรย์ โกสียรักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที อาร์ ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) เปิดเผยว่า
บริษัทคาดได้ข้อสรุปการรับงานบริหารจัดการและซ่อมบำรุง โรงงานปิโตรเคมีในประเทศโอมานร่วมกับบริษัท
ไออาร์พีซี (IRPC) ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยเบื้องต้นคาดว่ามูลค่าโครงการหลักร้อยล้านบาท และกำลัง
เจรจากับลูกค้าที่โอมาน 1-2 ราย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 254

โพสต์

อาเซียนปิ๊งเชื่อมระบบท่อก๊าซ-ไฟฟ้า
Source - มติชน (Th), Friday, June 01, 2012


นายเจอร์ราด เมสทราเลส ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท GDF SUEZ บริษัทผู้ลงทุนด้านพลังงานขนาดใหญ่จากฝรั่งเศส กล่าวภายในงานประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของอาเซียน แม้จะเป็นผลดี แต่อีกด้านจะเป็นภาระของรัฐบาล ทั้งด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีการคาดการณ์ว่าประเทศต่างๆ ในอาเซียน มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 3 แสนเมกะวัตต์ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เท่ากับว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นภาระหนักต่องบประมาณ ดังนั้น ทางออกคือต้องเพิ่มบทบาทของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน โดยมองว่าขณะนี้ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดี แต่อนาคตควรเพิ่มบทบาทด้านการผลิตไฟฟ้าที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วย

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยหลังการหารือกับซีอีโอและผู้นำของประเทศต่างๆ ว่า อาเซียนเห็นตรงกันที่จะเร่งรัดให้มีการเชื่อมโยงระบบท่อก๊าซ การเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า โดยในส่วนของท่อก๊าซ อาเซียนยังมีการหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะเชื่อมโยงระหว่างไทย-พม่า ให้ขยายไปถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

--จบ--



ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 255

โพสต์

ออสเตรเลียสนดึงปตท.ลุยพม่า
Source - แนวหน้า (Th), Friday, June 01, 2012


ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายมาร์ติน เฟอร์กูสัน รมว.พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศออสเตรเลีย เข้าพบ โดยได้หารือถึงแนวทางการลงทุนในทวาย ประเทศพม่า ร่วมกับนักลงทุนในไทยโดยเฉพาะกับ บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)และในเครือ ขณะที่ออสเตรเลียถือว่ามีความเชี่ยวชาญทั้งเรื่องของน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

"ทางออสเตรเลียมีความชำนาญในเรื่องของพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี พลังงานหมุนเวียน เขาสนใจที่จะหาผู้ร่วมทุนไทยที่มีศักยภาพด้านนี้เพื่อที่จะเข้าไปร่วมพัฒนาการลงทุนในทวายของพม่า ซึ่งจะได้หารือในรายละเอียดต่อไป" รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

นอกจากนี้ยังได้สอบถามถึงความคืบหน้านโยบายการอนุญาตการสำรวจ และผลิตเหมืองแร่ทองคำในไทยที่ขณะนี้ ยังไม่มีการอนุมัติให้สัมปทานการสำรวจ และผลิตเพิ่มเติมจากกระทรวงอุตสาหกรรมโดยได้ยืนยันหลักการที่จะขอทบทวนค่าภาคหลวงแร่ที่มีมูลค่าสูงใหม่ให้สูงขึ้น เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน ฯลฯ เพื่อให้ประโยชน์ตกอยู่กับภาครัฐเพิ่มขึ้นเนื่องจากขณะนี้ แร่หลายชนิดมีราคาสูง

"ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)ไปทบทวนรายได้ที่จะเข้ารัฐอีกครั้ง แม้ว่าจะมีการปรับสู่การพิจารณาตาม ขั้นบันไดแล้วก็ตาม เพราะขณะนี้ราคาทองคำสูงมาก ดังนั้นจะต้องคิดตามมูลค่าของราคาทองคำตลาดโลกที่เหมาะสม รวมถึงต้นทุนของผู้ประกอบการเพื่อความเป็นธรรม"

ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์กล่าวว่า ในปลาย เดือนมิถุนายนนี้ นักลงทุนกลุ่มชิ้นส่วน ยานยนต์ของออสเตรเลียจะเดินทางมาไทยเพื่อมาดูลู่ทางการลงทุนร่วมกับไทย หลังจากที่กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เดินทางไปโรดโชว์ที่นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 26-29 พฤษภาคมที่ผ่านมา

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 256

โพสต์

คอลัมน์: GO Green: เที่ยวงานสุดยอดนวัตกรรมพลังงานทางเลือก2012
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, June 01, 2012


กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จับมือภาคเอกชน ตั้งแต่หอการค้าไทย บริษัท ปตท.และบริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จัดงาน"Renewable Energy Asia 2012" หรือ "งานสุดยอดนวัตกรรมพลังงานทางเลือก เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน 2012" และงานแสดงนวัตกรรมเกี่ยวกับน้ำที่ครบวงจรที่สุดครั้งแรกของไทยในงาน "Thai Water 2012" ซึ่งจะจัดขึ้นพร้อมกัน6-9 มิ.ย.นี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) แถลงข่าวเชิญชวนผู้ผลิตหัวใจสีเขียว เข้าเยี่ยมชมสถานีสีเขียวที่จะจัดขึ้นในงาน Renewable Energy Asia 2012 ภายใต้แนวคิดการผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้เป็นผู้ผลิตสีเขียว สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และร่วมมีส่วนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต พร้อมๆ กับความรับผิดชอบต่อสังคม

มนู เลียวไพโรจน์ประธานกรรมการบริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) กล่าวว่าRenewable Energy Asia จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยปีนี้มีผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศจาก 20 ประเทศ ตอบรับเข้าร่วมงานกว่า 200 บริษัท ได้แก่ บริษัทผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุด 9 อันดับแรกของโลก ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านพลังงานครบวงจร และการประชุมด้านพลังงานหมุนเวียนนานาชาติ เป็นต้น

การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ทำให้ตลาดอาเซียนเป็นที่น่าจับตาจากนักลงทุนทั่วโลกสำหรับประเทศไทยถือว่ามีความโดดเด่นด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม จากการวางยุทธศาสตร์ด้านพลังงานที่ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ (AEDP) เพิ่มพลังงานทดแทนให้ได้ 25% ภายใน 10 ปี

"งานสุดยอดนวัตกรรมพลังงานทางเลือกปีนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมและตอกย้ำทางเลือกของการใช้พลังงานทดแทน ที่ในระยะยาวจะส่งผลดีต่อทุกภาคส่วน" มนู กล่าว

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตรรองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่าการจัดงานจะเป็นแรงกระตุ้นและสร้างโอกาสให้นักธุรกิจจากทั่วโลก ในงานจะได้พบกับทางเลือกใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและเครื่องมือทางพลังงานที่ทันสมัย ตลอดจนองค์ความรู้ที่จะนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างแรงบันดาลใจแก่นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้พลังงานทดแทนกับกระบวนการผลิต

สนั่น อังอุบลกุลประธานคณะกรรมการพลังงาน หอการค้าไทย กล่าวว่า ในงานจะมีสัมมนา "สถานีพลังงานสีเขียว : เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรและพลังงานไทย" เพื่อให้ความรู้เรื่องนโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทนภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (2555-2564) และแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (2554-2573) ของกระทรวงพลังงาน

นอกจากนี้ จะได้ระดมความคิดเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการจัดตั้งสถานีพลังงานสีเขียว(Distributed-Green-Geration : DGG) ที่มุ่งให้กลุ่มวิสาหกิจพลังงานชุมชน เป็นเจ้าของและบริหารสถานีภายใต้แนวคิด "1 ชุมชน 1 สถานีพลังงานสีเขียว" (1-2 เมกะวัตต์) ปิดท้ายด้วยการลงนามความร่วมมือของภาคีเครือข่ายการจัดตั้งสถานีพลังงานสีเขียว

นุชรินทร์ ภารดีวิสุทธิ์ผู้จัดการทั่วไป บริษัทยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) กล่าวถึง Thai Water 2012 ว่า เป็นงานน้ำครบวงจรครั้งแรกของประเทศ มีการแสดงนวัตกรรมด้านน้ำจากทั่วโลก เช่น ระบบกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดสำหรับบริโภค เครื่องผลิตน้ำอัจฉริยะ(สามารถนำน้ำที่ท่วมขังมาผ่านกระบวนการให้เป็นน้ำดื่มสะอาด)เครื่องผลิตน้ำดื่มจากอากาศ(กลไกการทำงานที่ดูดความชื้นจากอากาศแล้วเปลี่ยนไอน้ำให้กลายเป็นน้ำสะอาดดื่มได้)

www.RenewableEnergy-Asia.com

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 257

โพสต์

คอลัมน์: แฟ้มข่าว: ร่วมมือด้านพลังงาน
Source - มติชนสุดสัปดาห์ (Th), Friday, June 01, 2012


อารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ Jose Maria Botelho de Vasconcelos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงปิโตรเลียมแห่งสาธารณรัฐแองโกลา ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงปิโตรเลียมแห่งสาธารณรัฐแองโกลา ว่าด้วยความร่วมมือด้านปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ณ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตอล กรุงเทพ โดยมี ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยเป็นสักขีพยานเข้าร่วมงานในครั้งนี้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 258

โพสต์

'อารักษ์'หนีบปตท.-กฟผ.ถกพม่า หาช่องร่วมทุนพลังงานครบวงจร
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, June 02, 2012


"อารักษ์"รัฐมนตรีพลังงานเตรียมบุกพม่า6มิ.ย.นี้ยกทีมผู้บริหารปตท.และกฟผ.เจรจาลงทุนด้านพลังงานชี้เป็นมิติใหม่ของกระทรวงพลังงานทำงานแบบคลัสเตอร์ หวังสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุน เลิกแนวคิดต่างคนต่างเข้าไปลงทุนมองลู่ทางตั้งแต่การขุดเจาะสำรวจเพิ่มไฟฟ้าถ่านหินโรงกลั่นน้ำมันไปจนถึงปิโตรเคมี

นายอดิสัยสุนทรรัตนารักษ์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าในการเยือนสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการของนายอารักษ์ชลธาร์นนท์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในวันที่ 6มิถุนายน2555นี้ เพื่อเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญาแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจบนบก ได้แก่ แปลง PSC G และแปลงสำรวจ EP2 ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด(มหาชน)(ปตท.สผ.)กับทางรัฐบาลพม่านั้นทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะนำคณะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของกระทรวงพลังงานได้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.)และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ร่วมหารือกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้า 1 ของสหภาพพม่าในด้านความร่วมมือการพัฒนาแหล่งพลังงาน และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศในระยะยาว

การเดินทางไปเยือนสหภาพพม่าครั้งนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของกระทรวงพลังงานที่จะนำหน่วยงานในสังกัดไปหารือกับทางรัฐบาลพม่าในลักษณะที่เป็นคลัสเตอร์หรือการไปแบบเป็นทีม ที่จะร่วมมือทางด้านพลังงานอย่างเป็นระบบ จากเดิมที่บมจ.ปตท.และกฟผ.ต่างแยกกันเจรจาแสวงหาโอกาสการลงทุนของตัวเองซึ่งทำให้เกิดความซ้ำซ้อนด้านการลงทุน และไม่มีการเชื่อมโยงกันทำงาน

"จากการหารือร่วมกันจะทำให้เราทราบถึงความต้องการของสหภาพพม่าและภาพการลงทุนด้านพลังงานทั้งหมดว่าจะมีทิศทางการพัฒนาพลังงานไปในรูปแบบใด ขณะที่ไทยเองก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงาน ที่ถือเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งไทยในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้อยู่แล้ว ก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือทั้งทางด้านบุคลากรและเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาเป็นประเทศคู่ค้ากันหรือร่วมลงทุนร่วมกัน"ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวและว่า

ในปัจจุบันมีบริษัทพลังงานต่างชาติเข้าไปลงทุนที่พม่าจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่จะมองถึงเฉพาะโอกาสที่บริษัทตัวเองจะได้รับ ในขณะที่ไทยจะมองทั้งโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศและมองถึงการเข้าไปร่วมเป็นpartner ship ในการพัฒนาความเจริญให้กับประเทศพม่าด้วย

นายอดิสัย กล่าวย้ำว่า การไปครั้งนี้ต้องมองพม่าอย่างเป็นพันธมิตรไม่ได้ต้องการเข้าไปในลักษณะที่แสวงหาผลประโยชน์เต็มตัวต้องมองเป็นหุ้นส่วนด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่และเป็นประโยชน์กับภูมิภาคโดยเฉพาะกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีซึ่งเวลานี้สหภาพพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างมากแต่ยังขาดเงินลงทุนความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี หากมีการร่วมมือกันอย่างสนิทใจแล้ว และมีการไปแบบเป็นทีม ก็จะทำให้สหภาพพม่าเชื่อใจและพร้อมเป็นพันธมิตรในทางธุรกิจร่วมกัน ดีกว่าจะให้ต่างชาติอื่นๆ ที่ไม่มีการเข้าใจกันหรือวัฒนธรรมที่ต่างกันฮุบกิจการด้านพลังงานไป

สำหรับลู่ทางจะเข้าไปลงทุนในสหภาพพม่านั้น เนื่องจากเวลานี้รัฐบาลได้เปิดแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมค่อนข้างมากทำให้ที่ผ่านมาทางบมจ.ปตท.สผ.เข้าไปลงทุนขุดเจาะสำรวจเพื่อหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยที่ผ่านมาได้เข้าไปลงทุนแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ โครงการยานาดา ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ประมาณ 737 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โครงการเยตากุน ผลิตก๊าซได้ประมาณ382 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่วนอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพม่าซอติก้า(แปลงเอ็ม9)อยู่ระหว่างการพัฒนาแหล่งก๊าซคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตก๊าซได้ในช่วงปี 2556 ในปริมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และโครงการพม่าเอ็ม 3 และเอ็ม11 มีการสำรวจพบก๊าซแล้ว อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

ขณะเดียวกันการเยือนสหภาพพม่าครั้งนี้ จะมีการลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลงสำรวจบนบกแปลง PSC G และ EP 2 ซึ่งจะเป็นการขยายฐานการลงทุนของบมจ.ปตท.ผสมในสหภาพพม่าแข็งแกร่งขึ้นและยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยและสหภาพพม่าด้วยซึ่งหากการหารือร่วมกันสำเร็จไปได้ดี ก็จะเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะหาแหล่งปิโตรเลียมในสหภาพพม่าได้เพิ่มขึ้นอีกรวมถึงโอกาสในการลงทุนก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ หรือท่อส่งน้ำมัน ที่จะเชื่อมโยงเข้าประเทศไทยทางภาคเหนือและสร้างโรงกลั่นน้ำมันรองรับได้ด้วยและในระยะยาวอาจจะไปสู่ถึงขั้นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขึ้นมา

ในขณะที่การลงทุนทางด้านไฟฟ้าที่ผ่านมามีเพียงการเซ็นเอ็มโอยูที่จะรับซื้อไฟฟ้าเท่านั้นแต่การลงทุนยังเกิดขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นโครงการเขื่อนพลังน้ำฮัทจีขนาด 1,360 เมกะวัตต์ โครงการเขื่อนท่าซาง ขนาด 7,000 เมกะวัตต์ โครงการเขื่อน Mong ton ขนาด 6,000 เมกะวัตต์โรงไฟฟ้าถ่านหินมายก ขนาด 540 เมกะวัตต์ เป็นต้น ซึ่งการหารือจะทำให้ทราบว่าโครงการต่างๆเหล่านี้จะเดินหน้าได้เร็วมากน้อยเพียงใด

โดยเวลานี้บมจ.ปตท.มีบริษัทลูกปตท.อินเตอร์เนชั่นแนลและกฟผ.มีบริษัทลูก กฟผ.อินแตอร์เนชั่นแนล ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนี้ดำเนินการธุรกิจที่คล้ายกันไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจไฟฟ้า และถ่านหินในต่างประเทศ ซึ่งในสหภาพพม่า มีการเข้าไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้าถ่านหินมายกแล้ว หากโครงการต่อๆไปสามารถจับมือกันได้ ก็จะช่วยให้เกิดความแข็งแกร่งด้านการลงทุน รวมถึงการพัฒนาเหมืองถ่านหินร่วมกันด้วย

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวอีกว่าเมื่อมองเห็นโอกาสด้านการลงทุนและการร่วมมือกันครั้งนี้จะช่วยให้เกิดความร่วมมือให้มีการพัฒนาโครงการได้เร็วขึ้นเพราะจะทราบได้ว่าโครงการต่างๆติดขัดอะไร และจะสามารถแก้ไขกฎกติกาให้เอื้อต่อการเข้าไปลงทุนได้อย่างไรซึ่งการเจรจาความร่วมมือระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะช่วยให้ทั้ง 2 ประเทศเกิดความมั่นใจ และแก้ไขอุปสรรคได้ดีกว่าการที่บมจ.ปตท.และกฟผ.ต่างแยกกันเข้าไปลงทุน ที่สำคัญจะช่วยให้เกิดความเข้มแข็ง ลดความซ้ำซ้อนมีอำนาจในการเจรจาต่อรองมากขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงการผันผวนของค่าเงินได้ค่อนข้างมาก และหากไม่เข้าไปเจรจาตอนนี้ก็จะหมดโอกาสการที่มีระดับรัฐมนตรีเข้าไปเจรจาและไปแบบยกทีมการเจรจาจะง่ายกว่าเอกชนไปหารือ

อย่างไรก็ตามหากการนำทีมไปเจรจากับสหภาพพม่าในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะใช้เป็นโมเดล ในการไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆอย่างเช่น กัมพูชา และ ลาว ในโอกาสต่อไปด้วย

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 259

โพสต์

ร.ฟ.ท.เล็งดึง4องค์กรร่วมทุนไฮสปีดเทรน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, June 02, 2012


ร.ฟ.ท.เร่งสปีดโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ร่างทีโออาร์จ้างที่ปรึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด พร้อมผุดไอเดียดึง 4 รัฐวิสาหกิจชั้นนำ รถไฟไปรษณีย์-ไฟฟ้า-ปตท. ลงขันตั้งบริษัทรับบริหารรถไฟความเร็วสูง

นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงต้องเกิดขึ้นแน่ๆ เร็วที่สุด6-7 ปีล่าสุดได้รับงบศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดประจำปี2555 เรียบร้อยแล้ว เส้นทางละ 150- 200 ล้านบาท โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินการ 3 เส้นทางคือ1.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่(ช่วงแรกดำเนินการกรุงเทพฯ-พิษณุโลก)2.กรุงเทพฯ-หนองคาย (ช่วงแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) และ3.กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์(ช่วงแรกดำเนินการกรุงเทพฯหัวหิน) ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง ให้การร.ฟ.ท.ดำเนินการเนื่องจากเป็นส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์

"การรถไฟฯควรได้รับสิทธิ์ในโครงการนี้เพราะเป็นการใช้พื้นที่ของการรถไฟฯหรืออาจตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาร่วมบริหารจัดการแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ว่ารัฐบาลจะให้ใครควบคุมดูแลและบริหารจัดการ ในเบื้องต้นทราบว่ามีผู้พยายามนำ 4 หน่วยงานคือ1.การรถไฟฯ2.บริษัทไปรษณีย์ไทยฯ 3.การไฟฟ้าและ 4.บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) ที่มีงบประมาณและเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ระบบไฟฟ้าและพลังงานที่จำเป็นต้องใช้งานในโครงการนี้มาร่วมลงทุนในรูปแบบที่รัฐบาลเห็นสมควร" นายภากรณ์ กล่าวและว่า

ล่าสุดได้เร่งจัดทำร่างทีโออาร์เพื่อว่าจ้างให้ศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียด คาดต้องใช้ระยะเวลาประมาณ7-8เดือนหลังจากนั้นจะทราบผลกรณีความเหมาะสมด้านการเงินและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจตลอดจนการตั้งงบประมาณการเวนคืน งบเพื่อการ ก่อสร้างที่ชัดเจนยิ่งขึ้นก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป

"ไฮสปีดเทรนโดยกระบวนการรัฐน่าจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ให้เอกชนเดินรถ แล้วให้บริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัด ที่บริหารแอร์พอร์ตลิงค์เป็นผู้บริหารจัดการโครงการเพราะเป็นการสร้างเสริมองค์ความรู้ให้กับบุคลากรคนไทยที่ในอนาคตจะต้องควบคุมและบริหารจัดการเองทั้งระบบ โดยช่วงแรกๆ อาจจะต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเช่นเดียวกับการเดินรถและบริหารจัดการแอร์พอร์ตลิงค์ในช่วงที่ผ่านมานั่นเอง"

ด้าน พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการที่คณะทำงานฝ่ายไทยและจีนลงพื้นที่ตรวจสอบแนวเส้นทางสายเหนือไปเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีปัญหาน่าหนักใจหลายๆจุดเนื่องจากแนวเส้นทางปัจจุบันมีช่วงโค้งจำนวนมากจึงต้องปรับแนวเส้นทางให้ตรงซึ่งต้องผ่านพื้นที่สำคัญๆหลายแห่ง

"ช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา-นครสวรรค์ส่วนใหญ่เป็นแนวพื้นราบ แต่ต้องสร้างทางยกระดับหลายแห่งด้วยกันแต่ที่หนักใจคือช่วงพิษณุโลกที่จะผ่านสนามบินทหารจึงต้องอาจมีการปรับแนวให้พ้นจากเรื่องความปลอดภัยให้มากที่สุด ส่วนช่วงแพร่เชียงใหม่มีผ่านภูเขาหลายแห่งต้องสร้างทางยกระดับแน่ๆ แต่ไม่คิดว่าการก่อสร้างจะล่าช้าเพราะเทคโนโลยีปัจจุบันทันสมัยมากขึ้นแล้วแต่ที่ยังมีลุ้นคือช่วงบางซื่อระยองที่การรถไฟฯน่าจะสร้างได้เร็วกว่าเพราะขณะนี้กระบวนการต่างๆและแนวเส้นทางมีปัญหาน้อยที่สุด ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะอนุมัติรูปแบบการลงทุนแบบใดเท่านั้น"

ส่วนความคืบหน้าล่าสุดในวันที่ 9-10 มิถุนายนนี้ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะนำทีมคณะกรรมการในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงฝ่ายไทยระดับรัฐบาลไปเยือนประเทศจีนเพื่อหารือและรายงานความคืบหน้ากับคณะกรรมการฝ่ายจีน หลังจากนี้คาดว่าจะเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 260

โพสต์

คอลัมน์: แวดวง ลงทุน& อุตสาหกรรม
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, June 02, 2012
ธิวา สุดใจ



*บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาและดำเนินงานโครงการโซลาร์ฟาร์มโคราช7ในจังหวัดนครราชสีมา ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาด 6เมกะวัตต์ เชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทได้ถือหุ้นในบริษัท โซล่า เพาเวอร์ (โคราช 7)จำกัดในสัดส่วน 40%ร่วมกับบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด ถือหุ้น 60% ซึ่งถือเป็นโครงการที่ 3 ที่บริษัทกับโซล่า เพาเวอร์ร่วมกันพัฒนาจนแล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเป็นที่เรียบร้อย นับจากโครงการโซลาร์ฟาร์มโคราช3 และ โซลาร์ฟาร์มโคราช 4 รวมกำลังผลิตทั้ง 3 โครงการ 18 เมกะวัตต์ ถือเป็นความก้าวหน้าในการขยายพอร์ตพลังงานทดแทนในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตของพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกันในอนาคตอันใกล้นี้ โดยทั้ง3 โครงการใช้เงินลงทุนมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท

* สิ้นสุดไปแล้วสำหรับการประชุมWorld Economic Forum (WEF) on East Asia ซึ่งมีหัวข้อหลัก "Shaping the Region’s Future through Connectivity" งานนี้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ทำหน้าที่ประธานร่วม (Co-Chaired) กับนายไพรินทร์ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมอภิปรายกับรัฐมนตรีด้านพลังงานจากประเทศต่างๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ เวียดนามเมียนมาร์ และลาว ตลอดจนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) จากบริษัทชั้นนำของโลก ซึ่งการจัดประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคให้ยั่งยืน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 โดยภาคพลังงาน ถือเป็นสาขาหนึ่งที่มีความท้าทายที่จะต้องมีการบูรณาการกับแผนปฏิบัติการของประเทศสมาชิก โดยจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการลงทุนทางด้านพลังงานในภูมิภาคร่วมกันต่อไป

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 261

โพสต์

คอลัมน์: ย่อยข่าวห้องค้า: ปตท.สผ.ตั้งกก.ใหม่
Source - มติชน (Th), Sunday, June 03, 2012


นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานโครงการต่างประเทศ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทได้ประกาศการทำคำเสนอซื้อหุ้นในบริษัท โคฟ เอนเนอร์ยี โดยบริษัท ปตท.สผ.แอฟริกา อินเวสเมนต์ หรือ ปตท.สผ. เอไอ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ.นั้น บริษัทจะเปิดให้มีการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นจนถึงเวลา 13.00 น. ตามเวลาของประเทศอังกฤษ ของวันที่ 22 มิถุนายนนี้ นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติให้นายวิชัย พรกีรติวัฒน์ เป็นกรรมการบริษัท แทนนาย อนนต์ สิริแสงทักษิณ ที่ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 262

โพสต์

PTTGCเท9พันล้านซื้อบริษัทสหรัฐ-ยุโรปผู้บริหารสบช่องช่วงราคาหุ้นดิ่งดอดทยอยเก็บหุ้นราคาถูก
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, June 04, 2012


โพสต์ทูเดย์ -พีทีที โกลบอลเคมิคอล ลุยซื้อหุ้นสหรัฐอเมริกาและยุโรป ใช้เงิน 9,402ล้านบาทต่อยอดธุรกิจ ผู้บริหารเก็บหุ้นถูก

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)เปิดเผยว่า เมื่อวันที่31 พ.ค. 2555 บริษัทได้ร่วมลงทุนสัดส่วน 50% ในบริษัท NatureWorks LLC จำนวนเงิน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินประมาณ 4,572 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการลงทุนที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทNatureWorks เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐ ดำเนินธุรกิจผลิตไบโอพลาสติกประเภท PLA(Poly Lactic Acid)

โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 1.4 แสนตันต่อปีโดย NatureWorksเป็นบริษัทที่สามารถผลิต PLA ได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่ง PLA เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติและลดการปล่อย CO2 และมีคุณสมบัติที่เทียบเท่าเม็ดพลาสติกและเส้นใยที่ทำจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยNatureWorks มี IngeoTM เป็นเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกประเภท PLA

ก่อนหน้านี้ บริษัท PTTGC International (USA) Inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่บริษัท ปตท.เคมิคอล(PTTCH) ถือหุ้นอยู่ 100% ผ่านทางบริษัท PTT Chemical International Private Limited (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PTTCH)ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนสัดส่วน 50% ในบริษัท Nature Works LLC นั้น เมื่อวันที่19 ต.ค. 2554 บริษัท ปตท.เคมิคอลและบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น ควบกิจการเข้าด้วยกันกลายเป็น PTTGC

นอกจากนี้ บริษัทได้ซื้อหุ้นของบริษัท Perstorp Holding France SAS จำนวน 51% ของหุ้นทั้งหมดรวมเป็นเงิน 114.8 ล้านเหรียญยูโรหรือประมาณ 4,830 ล้านบาท จากผู้ถือหุ้นเดิมเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่31 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา และเปลี่ยนชื่อเป็นVENCOREX Holding

สำหรับ VENCOREX Holding เป็นผู้ผลิตและเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในการผลิต Isocyanate ที่มีบทบาทสำคัญในตลาดยุโรปโดยเฉพาะเคมีภัณฑ์ในกลุ่มToluene diisocyanate (TDI),Hexamethylene diisocyanate (HDI) และDerivatives ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตพลาสติกPolyurethane (PU) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการผลิตโฟมและสารเคลือบในอุตสาหกรรมยานยนต์และสิ่งก่อสร้าง ซึ่งการลงทุนดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ธุรกิจ High Volume Specialty ที่เป็นธุรกิจปลายน้ำที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม

ทางด้านผู้บริหาร นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ ได้ซื้อหุ้น PTTGC จำนวน 1 หมื่นหุ้นโดยเป็นการทยอยซื้อทั้งหมด 5 ล็อต ล็อตละ2,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 55-62 บาท รวม 5.84 แสนบาท


ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 263

โพสต์

เปิดโผพีดีพีปรับรอบ3ลดไฟฟ้านิวเคลียร์เหลือ2โรง
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, June 04, 2012


โพสต์ทูเดย์ -ประชาพิจารณ์แผนพีดีพีฉบับปรับปรุงรอบ 3 ลดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จาก 4 เหลือ 2 แห่งดันใช้ก๊าซจาก 47% เป็น 54%

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า ในวันที่ 5 มิ.ย. 2555 กระทรวงพลังงานจะจัดเวทีระดมความคิดเห็นการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 หรือพีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจและความต้องการไฟฟ้าของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แผนพีดีพีใหม่กำหนดกำลังการผลิตไฟฟ้าปี 2555-2573 เพิ่มขึ้นโดยปี 2573 กำหนดไว้ที่ 7.08 หมื่นเมกะวัตต์ เพิ่มจากแผนเดิม 6.95 หมื่นเมกะวัตต์ขณะที่กำลังการผลิตติดตั้ง ณ เดือน ธ.ค. 2554 อยู่ที่ 5.5 หมื่นเมกะวัตต์เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

พีดีพีดังกล่าวยึดค่าสมมติฐานความต้องการใช้ไฟกรณีสูงที่สุด ที่20% ของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี เมื่อสิ้นสุดแผนจะมีปริมาณสำรองไฟฟ้าเป็น 16.1% หรือเพิ่มขึ้น 1% และยึดความต้องการใช้ที่คาดจะเพิ่มขึ้นจากการวางโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้า 10 สายหลักใน กทม.รถไฟความเร็วสูง

โรงไฟฟ้าตามแผนปรับปรุงเทียบกับแผนเดิมมีดังนี้ 1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เหลือ 2,000 เมกะวัตต์หรือ 2 โรง จากแผนเดิม 4,000 เมกะวัตต์ 4 โรง และโรงแรกจะเข้าระบบในปี 2569

2.โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดจากเดิม 9 โรง รวม 7,740 เมกะวัตต์เหลือ 4 โรง รวม 4,400 เมกะวัตต์โดยโรงแรกเข้าระบบตามเช่นเดิมในเดือน มิ.ย. 2562 3.โรงไฟฟ้าหมุนเวียนรวม 9,516 เมกะวัตต์จากเดิม 4,433 เมกะวัตต์

4.โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม(ก๊าซธรรมชาติ) เป็น 2.54 หมื่นเมกะวัตต์ จากเดิม 1.84 หมื่นเมกะวัตต์ 5.โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชันเป็น 6,374 เมกะวัตต์ จากเดิม8,319 เมกะวัตต์ 6.รับซื้อไฟจากต่างประเทศ 6,572 เมกะวัตต์ จากเดิม1.09 หมื่นเมกะวัตต์และ 7.โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 750 เมกะวัตต์

แผนดังกล่าวยังทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระรายใหญ่ (ไอพีพี) ต้องเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 14% เป็น 21%และการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟเพิ่มจาก 47% เป็น 54% ซึ่งบริษัท ปตท.ต้องจัดหาก๊าซจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ขณะที่สัดส่วนโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จะลดเหลือ 43% จากเดิม49% ซื้อไฟต่างประเทศลดเหลือ12% จาก 18% ซื้อไฟจากผู้ผลิตไฟเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) และรายที่มีกำลังผลิตน้อย (วีเอสพีพี) ลดจาก13% เหลือ 11% และไม่ได้ระบุความเป็นเจ้าของจาก 6% เป็น 13%

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 264

โพสต์

PTT establishing Myanmar outlets
Jun 5--Bangkok Post

Company says time is right to enter market

PTT Plc, Thailand’s biggest oil and gas conglomerate, plans to open petrol service stations in Myanmar next year,saying the time is right to enter the newly opening neighbour before competition from other major brands intensifies
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 265

โพสต์

ปตท.เดินหน้าขยายคลังแอสพีจีลุ้นกพช.เคาะแผนลงทุน8มิ.ย.นี้
Source - คมชัดลึก (Th), Tuesday, June 05, 2012


ปตท.ลุ้น กพช.เคาะแผนลงทุน 1.8 หมื่นล้านบาท วันที่ 8 มิถุนายนนี้ เดินหน้าขยายคลังก๊าซแอลพีจีที่พื้นที่คลังเขาบ่อยา คาดก่อสร้างเสร็จในปี 2557

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อสรุปตัวเลขผลตอบแทนการลงทุนขยายคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) และท่าเทียบเรือเขาบ่อยา เฟส 1 ขนาด 2.5 แสนตัน จากปัจจุบันสามารถจัดเก็บแอลพีจีประมาณ 1.3 แสนตัน โดยเบื้องต้น ปตท. เสนอตัวเลขดังกล่าวไป ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณานโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 8 มิถุนายนนี้

อย่างไรก็ตาม โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับคลังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งตัวเลขขึ้นอยู่กับทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในการพิจารณา และจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 8 มิ.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม ปตท. ได้ข้ออนุมัติคณะกรรมการบริษัท เพื่อดำเนินการไปก่อนแล้ว โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจ้างผู้ออกแบบ แต่ยังจะไม่เซ็นสัญญาจ้างผู้รับเหมา เนื่องจากต้องการรอผลสรุปดังกล่าวก่อน ซึ่งตามแผนเดิม ปตท. เตรียมแผนลงทุนสร้างคลังเก็บก๊าซแอลพีจีเฟส 1 และเฟส 2 ปริมาณจัดเก็บแห่งละ 2.5 แสนตัน ในส่วนของเฟส 1 คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2557 เตรียมเงินลงทุนประมาณ 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขยายพื้นที่คลังเขาบ่อยา แต่ในส่วนของคลังแอลพีจีเฟส 2 ยังติดปัญหาเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากต้องมีท่าเทียบเรือสำหรับขนส่ง

ด้านนายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม สำนักนโยบายปิโตรเลียมและปิโตรเคมี กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับ ปตท. เกี่ยวกับผลตอบแทนการลงทุน เบื้องต้นยังไม่มีข้อสรุปต้องได้รับความชัดเจนวิธีการคำนวณก่อน เพื่อให้ได้ตัวเลขที่สามารถรักษาผลประโยชน์ของประชาชนมกที่สุด กพช. พิจารณาต่อไป

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 266

โพสต์

ปตท.คาด1เดือนสรุปเลือกบ.ย่อยตั้งรง.ผลิตฟีนอลป้อน"คาโปรฯ2"
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, June 05, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เร่งพิจารณาจุดเด่นด้อยคัดเลือกบริษัทย่อย"IRPC-PTTGC" ลงทุนผลิตฟีนอล เพื่อป้อนโรงงานคาโปรแลคตัมแห่ง 2 คาดได้ข้อสรุปเดือน ก.ค.นี้ แย้มสนใจเข้าร่วมทุนโครงการคาโปรแลคตัม 2 ด้วย กังวลปัญหาหนี้ยุโรปฉุดความต้องการใช้ปิโตรเคมีซึมยาว

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกให้บริษัทย่อยลงทุนโครงการผลิตวัตถุดิบป้อนโครงการคาโปรแลคตัมแห่ง 2 ของบริษัทอูเบะเคมีคอลส์ (เอเชีย) จำกัด (UCHA)โดยจะพิจารณาเรื่องต้นทุนการผลิตขนาดกำลังการผลิต เทคโนโลยีและการสร้าง Synergy ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเนื่องจากบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอลจำกัด (มหาชน) (PTTGC) มีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิตเพราะมีกำลังการผลิตฟีนอลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคาโปรแลคตัมเหลือส่งออกอยู่ แต่นิคมฯมาบตาพุดก็มีข้อจำกัดในการลงทุนโครงการปิโตรเคมีใหม่ ขณะที่บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ก็มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งโรงงานเนื่องจากโรงคาโปรแลคตัมแห่งที่2 จะตั้งในเขตอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ที่เชิงเนิน จ.ระยอง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนกรกฎาคมนี้

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ยังมีความเป็นไปได้ที่อาจจะดึงทั้งพีทีทีโกลบอลฯและไออาร์พีซีเข้าร่วมทุนในโครงการดังกล่าว หากพิจารณาแล้วทำให้เกิดพลังร่วม (Synergy) มากที่สุด อย่างไรก็ตามการตัดสินใจลงทุนโครงการใหม่นี้คงต้องดูสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันว่าได้รับผลกระทบยาวนานแค่ไหนจากปัญหาการเงินในยุโรป ที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันและปิโตรเคมีหดตัวลง ส่งผลทำให้โรงแครกเกอร์ต้องลดกำลังการผลิตลงยังผลให้ตลาดชะงัก หากพิจารณแล้วเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่กินเวลานานก็จะเร่งดำเนินทันที

ทั้งนี้ทาง อูเบะเคมีคอลส์ (เอเชีย)จำกัด (มหาชน)(UCHA)ในเครืออูเบะอินดัสทรีส์ ประเทศญี่ปุ่น มีแผนจะตั้งโรงงานผลิตคาโปแลคตัมแห่ง 2 อีก 1.5 แสนตันต่อปี ใช้เงินลงทุน 600-700 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี2559 จะมีผลพลอยได้คือแอมโมเนียซัลเฟตที่ใช้ทำปุ๋ยจำนวน 6 แสนตัน โดยโรงงานดังกล่าวจำเป็นต้องมีวัตถุดิบที่ใช้ป้อนโรงงาน คือ ไซโครเฮกเซนหรือฟีนอล ซึ่งโรงงานคาโปรแลคตัมแห่งแรกซื้อไซโครเฮกเซนจากพีทีที โกลบอลฯอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ทางอูเบะฯก็มีแผนขยาย กำลังการผลิตยางสังเคราะห์ (บิวทาไดอีน รับเบอร์) เพิ่มขึ้นอีก 1 โรง ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับพีทีที โกลบอลฯทั้งในเรื่องรูปแบบการร่วมลงทุนกำลังการผลิต และวงเงินลงทุนด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ไออาร์พีซีได้เข้าทำสัญญาซื้อหุ้น UCHA คิดเป็น 25% นับเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโครงการและผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกัน โดยไออาร์พีซีมีแผนลงทุนโครงการผลิตโพรพิลีน 3 แสนตัน/ปีคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งโครงการนี้มีปริมาณโพรพิลีนเหลือเพียงพอที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตฟีนอลได้ซึ่งเดิมกลุ่มปตท.มีโรงงานผลิตฟีนอล เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการป้อนโรงงานผลิตบีสฟีนอนเอ (Bisphenol A-BPA) เพื่อใช้ผลิตเม็ดพลาสติกโพลีคาร์บอนเนต จัดเป็นพลาสติกวิศวกรรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ เครื่องมือแพทย์ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 267

โพสต์

พลังงานเคาะแผน'พีดีพี 2010'ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ 57%
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, June 06, 2012


กพพ.เล็งรื้อเกณฑ์ประมูล ไอพีพี เปิดช่องบริษัทที่รัฐถือหุ้นเกิน 50% เข้าร่วมได้

พลังงานชงกพช. เคาะแผนพีดีพี 8 มิ.ย. นี้ ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ 57% ในปี 2573 ชี้แนวโน้มค่าไฟฟ้าขยับ 4.56 บาทต่อหน่วย เหตุต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่ม จี้ ปตท.เร่งหาแหล่งก๊าซราคาถูก ทำสัญญาระยะยาวแทนซื้อจากตลาดจร

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง การปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2553-2573 หรือ พีดีพี 2010 เมื่อวานนี้ (5 มิ.ย.) ว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว ซึ่งมีผลให้ความต้องการไฟฟ้าเพิ่มสูงกว่าที่พยากรณ์ไว้ และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง

ทั้งนี้ จากการพยากรณ์พบว่า ในปี 2573 ความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น 346,767 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) จาก 175,089 GWh ในปี 2555 ส่วนความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด (PEAK) จะเพิ่มเป็น 52,256 เมกะวัตต์ จาก 26,355 เมกะวัตต์ ในปี 2555

อย่างไรก็ตาม แผนฉบับนี้จะมีกำลังผลิตใหม่เพิ่มขึ้น 55,065 เมกะวัตต์ มาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (ก๊าซธรรมชาติ) 25,451 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดประมูลไอพีพี 5,400 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือเป็นโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,400 เมะกวัตต์ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 750 เมกะวัตต์ ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 6,572 เมกะวัตต์ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) ระบบโคเจเนอเรชั่น 6,374 เมกะวัตต์ และพลังงานหมุนเวียน 9,516 เมกะวัตต์ โดยสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าแยกตามชนิดเชื้อเพลิงในปี 2573 ประกอบด้วย ก๊าซธรรมชาติ 57% พลังงานหมุนเวียน 18% ถ่านหินนำเข้า 13% ลิกไนต์ 7% และนิวเคลียร์ 5%

หากเป็นไปตามแผนพีดีพี 2010 ในปี 2573 อัตราค่าไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น 4.56 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบัน 3 บาทต่อหน่วย เพราะต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเป็น 1.53 บาทต่อหน่วย นายสุเทพ กล่าว

ด้าน นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า แผนพีดีพีล่าสุดจะใช้ก๊าซเพิ่มขึ้น การจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) มาแทนก๊าซในอ่าว ต้องได้ราคาที่เหมาะสม โดยบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้จัดหาแอลเอ็นจีต้องซื้อตามสัญญาระยะยาวให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่ซื้อจากตลาดจร

นอกจากนี้ กกพ.ยังเตรียมปรับเงื่อนไขการเข้าประมูลไอพีพี จากเดิมที่ไม่ให้บริษัทที่มีรัฐถือหุ้นเกิน 50% เข้าประมูล ส่งผลให้บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถเข้าร่วมประมูลไอพีพีรอบที่แล้วได้

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จะเสนอแผนพีดีพี 2010 ให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาวันที่ 8 มิ.ย.นี้ โดยสาระสำคัญคือการเพิ่มสัดส่วนใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าเป็น 57% จาก 40% เพราะว่าการลดจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าถ่านหิน จากปัจจุบันสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซฯ อยู่ที่ 70%

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 268

โพสต์

IPPs to provide 5,400MW under third revisionSource - The Nation (Eng)
Wednesday, June 06, 2012


Egat’s generating portion to fall from 49% to 44% of total

The authorities would seek to buy 5,400 megawatts of electricity from independent power producers (IPPs) under the latest proposed revision of the national power development plan for 2010-2030.

A brainstorming session took place yesterday to review the plan.

Under the third revision, which will be submitted for the National Energy Policy Council’s approval on Friday, the Electricity Generating Authority of Thailand (Egat) would see its generating portion fall from 49 per cent of the total to 44 per cent.

Suthep Liumsirijarern, director-general of the Energy Policy and Planning Office, said the bid documents for IPP supplies should be announced by the end of the year, so that the bidding can take place early next year.

This would ensure that new supply entered the system on schedule, as it normally takes between seven and nine years for the process from bidding through to generation to be completed.

The new power should come from six natural gas-fired power plants, he said.

The first, with 900MW capacity, would replace the Rayong power plant of Electricity Generating, which will be decommissioned in 2016. The remaining five plants will be commissioned from 2021 onwards.

Upon the National Energy Policy Council’s approval of the latest revision of the power development plan (PDP), the Energy Regulatory Commission will come up with bidding terms as well as potential locations, Suthep said. Preferred sites would be along the Kingdom’s natural-gas pipelines.

"Stipulating natural gas as the fuel source demonstrates that Thailand has no other options, due to strong resistance against coal and nuclear power plants," he added.

At present, natural gas accounts for 70 per cent of the country’s power-generating fuel.

Still, nuclear power is included in the revised PDP, which plans to raise Thailand’s overall installed power capacity to 70,847MW by 2030.

Nuclear fuel is expected to generate 2,000MW in 2030, while combined-cycle power will account for 25,451MW, renewable energy for 9,516MW, cogeneration for 6,374MW, coal power for 4,400MW and gas-turbine power for 750MW.

Supply of 6,572MW from neighbouring countries will make up the balance.

The PDP has been adjusted to cope with higher power demand driven by the new electric train routes. It is also in line with the target to raise the renewable-energy portion from 12 per cent to 25 per cent by 2021, and the target to cut overall energy consumption by 25 per cent.

As the portions of nuclear and coal, which carry the cheapest nominal costs, would be slashed under the new plan, the electricity cost at the end of the plan would be raised from Bt2.89 per kilowatt hour to Bt4.56. This excludes the operating costs of the two distributors, the Metropolitan Electricity Authority and the Provincial Electricity Authority.

Suthep said that as more IPPs would participate in power generation, Egat would see its generating share drop to 44 per cent. The participation of private producers would, however, help reduce the state enterprise’s financing burden.

Meanwhile, the enterprise’s share would also drop due to a cut in nuclear power generation from 5,000MW in the second revision of the PDP. The production of nuclear power would be carried out by Egat.

He acknowledged that Egat’s labour union was dissatisfied with this turn of events.

Patrapong Thepa, Egat’s assistant director for System Planning Division - Generation System Planning Division, said there should be further explanation of Egat’s role in future electricity generation. He added that its proposed new share was too low.

He also commented that IPPs should not be restricted to producing electricity from natural gas. They should be allowed to propose other types of fuel, including coal, as this would limit Thailand’s dependence on natural gas for electricity generation.

He said the restriction would benefit PTT, which is in charge of meeting natural-gas demand for domestic consumption. By specifying natural gas as the only fuel, the Energy Ministry would facilitate PTT-s long-term supply contracts for liquefied natural gas (LNG).

Energy Regulatory Commission chairman Direk Lawansiri acknowledged that his agency would need to examine how to lower gas prices as, under the new plan, the capacity of combined-cycle power plants would rise from 35 per cent to 44 per cent.

Initially, PTT would need to secure long-term supplies, and also increased supply from neighbouring countries like Myanmar and Cambodia, he said.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 269

โพสต์

ปตท. ร่วมมือ เนคเทค เปิดใช้งานระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ลดโลกร้อน ลดต้นทุนผลิตน้ำมันและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในวันนี้ (5 มิถุนายน 2555) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดพิธีเปิดระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ในโครงการพัฒนาและประเมินผลการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ระหว่าง ปตท.และ เนคเทค ณ ศูนย์ฝึกอบรมวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย นางรัตนาวลี อินโอชานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ร่วมกับ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดต่างๆ รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์เหล่านั้น
นางรัตนาวลี เปิดเผยว่า ปตท. และ เนคเทค ได้ร่วมงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากปิโตรเลียม รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมของประเทศและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการนี้ โครงการดังกล่าว จำเป็นต้องคัดสรรเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อลดต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งในส่วนของการเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าและ พื้นที่ติดตั้งโดยได้คัดเลือกเซลล์แสงอาทิตย์และทำการติดตั้งเพื่อศึกษาวิจัยในโครงการฯ ณ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. รวมทั้งสิ้น 7 ชนิด กำลังการผลิตรวม 10 กิโลวัตต์ ซึ่งเซลล์แสงอาทิตย์ดังกล่าว มีทั้งระบบปรับมุมรับแสงอาทิตย์อัตโนมัติ และแบบติดตั้งติดอยู่กับที่ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบถึงผลการผลิตไฟฟ้าที่ได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และมีความคุ้มค่าในการใช้งานระบบดังกล่าวหรือไม่ โดยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลจะเป็นตามมาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission)

ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนคเทค ก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy Technology Laboratory (STL) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 โดยเล็งเห็นว่า เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้มีการใช้งานได้อย่างอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศอย่างมาก ปัจจุบันเนคเทคมีบุคลากรด้านการวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ในระดับสากล ในการดำเนินโครงการพัฒนาและประเมินผลการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ดังกล่าว ทีมห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จากเนคเทคร่วมกับทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้ใช้องค์ความรู้ทำการประเมินประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้เทคโนโลยีต่างๆกัน เพื่อหาข้อสรุปว่าเทคโนโลยีของเซลล์แสงอาทิตย์แบบใดมีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศของประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยจากโครงการดังกล่าวนี้ จะเป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานในประเทศ นำไปสู่การลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเลือกใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไม่เหมาะสม โดยสามารถคืนทุนได้เร็วขึ้น ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 270

โพสต์

กลุ่ม ปตท. ร่วมงาน World Gas Conference 2012 แสวงหาแหล่งก๊าซใหม่จากต่างประเทศ เสริมความมั่นคงทางพลังงานของไทยในระยะยาว

วันนี้ (5 มิถุนายน 2555) พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน และ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดบูธนิทรรศการ กลุ่ม ปตท. ในงาน World Gas Conference 2012 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อแสดงความพร้อมของประเทศไทยในการดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติบนเวทีสากล และแสวงหาพันธมิตรในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG (Liquefied Natural Gas) เพื่อเสริมความมั่นคงทางพลังงานของไทยในระยะยาว

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. เข้าร่วมการประชุมวิชาการและนิทรรศการอุตสาหกรรมก๊าซระดับโลก ครั้งที่ 25 หรือ World Gas Conference 2012 ระหว่างวันที่ 4-8 มิถุนายน 2555 เพื่อแสดงศักยภาพ และความพร้อมของไทยในการแสวงหาแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ๆ ในต่างประเทศ และพัฒนาสายโซ่ธุรกิจ LNG เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของไทยในระยะยาว เนื่องจากปัจจุบันปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศ ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซ LNG เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว

สำหรับการเข้าร่วมงาน World Gas Conference ของกลุ่ม ปตท.ครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีของไทยในการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านการขนส่ง และจัดหาก๊าซ LNG เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมพลังงานระหว่างประเทศในยุคเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low-carbon economy) และเป็นช่วงที่พลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกชะลอตัว ทำให้ก๊าซธรรมชาติกลับมามีบทบาทสำคัญนับจากนี้ไป โดยเฉพาะธุรกิจ LNG ที่ช่วยให้การจัดหาและขนส่งก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นได้ทั่วทุกมุมโลก ไม่จำกัดเฉพาะในภูมิภาคใกล้เคียงกันเช่นในอดีต นอกจากนั้น ยังได้ทราบถึงสถานการณ์พลังงานก๊าซธรรมชาติทั่วโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายเชิงกลยุทธ์การจัดหาก๊าซธรรมชาติ และพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานหลักของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท. ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด และ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เข้าร่วมงาน World Gas Conference 2012 ซึ่งเป็นงาน ประชุมวิชาการและนิทรรศการในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติระดับโลก โดยสมาพันธ์ก๊าซระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีที่บริษัทชั้นนำทั่วโลกเดินทางมาประชุม เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจก๊าซธรรมชาติร่วมกัน รวมทั้ง แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นทุก 3 ปี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."