Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 61
รัฐควรเตรียมพร้อม กับสถานการณ์หนี้ยุโรป
โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%9B.html
สถานการณ์ยุโรปขณะนี้ต้องยอมรับว่าน่าห่วง เพราะไม่มีความชัดเจนว่าการเมืองในกรีซจะลงเอยอย่างไร และการแก้ไขปัญหาหนี้จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อ
ถึงแม้กรีซจะมีเลือกตั้งใหม่ในเดือนมิถุนายน สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ในภาวะที่ประเทศมีวิกฤต อย่างเช่นกรณีกรีซขณะนี้ การเมืองในประเทศมักจะเดินตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ดังนั้น การตัดสินด้านนโยบายอาจตอบสนองความต้องการระยะสั้นของประชาชน มากกว่าเหตุผล ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และสิ่งที่ประชาชนกรีซต้องการขณะนี้ เท่าที่เข้าใจก็มีอยู่สองเรื่อง ที่อาจไม่ค่อยสอดคล้องกันในแง่การแก้ปัญหา
อันแรก คือ การไม่ยอมรับการแก้ไขปัญหาหนี้โดยมาตรการรัดเข็มขัด ตามแนวทางที่ได้ดำเนินการมา ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลกรีซต่อไป ก็คงต้องยอมรับประเด็นนี้และคงไม่สามารถใช้แนวทางรัดเข็มขัดในการแก้ไขปัญหาได้เหมือนเดิม
สอง ตัวเลขสำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรีซ (Opinion Poll) ชี้ว่า ประชาชนกรีซกว่าร้อยละ 75 ยังคงอยากให้กรีซอยู่ในระบบเงินยูโรต่อไป ซึ่งความต้องการนี้จะจำกัดการใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
ดังนั้นถ้ากรีซอยู่ในระบบเงินยูโร แต่ไม่พร้อมที่จะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้จ่าย กรีซก็จะผิดเงื่อนไขการให้กู้ยืมที่รัฐบาลสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือกรีซอยู่ ซึ่งถ้าผิดเงื่อนไข กรีซก็จะไม่สามารถเบิกเงินกู้งวดต่อๆ ไปได้ ทำให้กรีซจะไม่มีสภาพคล่องหรือมีเงินพอที่จะชำระหนี้ นำมาสู่การผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งในกรณีกรีซก็คือ หนี้รัฐบาลที่นักลงทุนต่างประเทศถืออยู่
การผิดนัดชำระหนี้ โดยรัฐบาลเป็นเรื่องใหญ่ และเมื่อรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ เงินทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินกู้ยืมภาคเอกชนที่กู้จากต่างประเทศก็จะหยุดตามไปด้วย ไม่มีเงินกู้ใหม่เข้ามา ประเทศจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยิ่งสูงขึ้น กระทบเศรษฐกิจและฐานะการเงินของบริษัทเอกชนและธนาคารพาณิชย์ ความรุนแรงของปัญหาจะกดดันให้กรีซไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากออกจากระบบเงินยูโร เพื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่อย่างที่เขียนไว้เมื่ออาทิตย์ก่อน การออกจากระบบเงินยูโรเป็นทางเลือกที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น รวมถึงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะเป็นอย่างไร และรัฐบาลสหภาพยุโรปจะสามารถบริหารผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อกรีซและต่อประเทศอื่นๆ ในยุโรปได้หรือไม่
อันนี้คือ พัฒนาการของสถานการณ์ที่คงจะเกิดขึ้นจากนี้ไป ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าจะใช้เวลาแค่ไหน ก่อนที่สถานการณ์จะคลี่คลายและจะคลี่คลายอย่างไร แต่ในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอน (ซึ่งอาจเป็นเดือนหรือหลายเดือน) ตลาดการเงินโลกจะผันผวนมาก และที่น่าห่วง ก็คือผลกระทบที่จะมีต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศยุโรปอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้สูง เช่นสเปน ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจมีความล่อแหลมที่จะแย่ลงกว่าปัจจุบัน จากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปจะแย่ลงกว่าที่เราเห็นขณะนี้ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกมากขึ้น
คำถามที่ตามมา ก็คือ ระบบเศรษฐกิจโลกขณะนี้มีความสามารถด้านนโนบายพอหรือไม่ ที่จะดูแลไม่ให้ปัญหาในยุโรปลามกระทบเศรษฐกิจโลกจนเกิดวิกฤตรุนแรง
ในประเด็นนี้ ผมเคยให้ความเห็นไว้ในคอลัมน์นี้ เมื่อเดือนที่แล้วในบทความ “จุดน่าห่วงของเศรษฐกิจโลกขณะนี้” ว่า ลึกๆ แล้ว สถานการณ์และความไม่แน่นอนที่มีในเศรษฐกิจโลกขณะนี้ น่าห่วงและข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาคราวนี้ก็มีมาก เทียบกับตอนเกิดเหตุการณ์ Lehman เมื่อปี 2008 ด้วยสามเหตุผล
หนึ่ง ก็คือ พื้นที่นโยบาย ช่วงปี 2008 -2009 ที่เกิดกรณี Lehman และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทางการขณะนั้นมีพื้นที่นโยบายเต็มที่ ที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ และการลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการอัดฉีดสภาพคล่องในรูปมาตรการ QE ต่างๆ แต่ปัจจุบันพื้นที่ที่ภาครัฐจะใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด เพราะหนี้สาธารณะได้เพิ่มขึ้นในระดับที่สูง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย ก็อยู่ใกล้ศูนย์ จนอาจจะไม่สามารถปรับลดลงได้ ที่สำคัญการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงินที่ได้ทำไป ทั้งโดยมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐและการปล่อยกู้ระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางสหภาพยุโรปก็พิสูจน์แล้วว่า มีผลเพียงช่วยประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายลง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ดังนั้น พื้นที่นโยบายที่จะช่วยดูแลเศรษฐกิจโลก คราวนี้มีจำกัดทั้งในแง่ขนาดและประสิทธิภาพ และถ้าปัญหากรีซลุกลามไปกระทบประเทศหนี้สูงอื่นๆ กำแพงกันไฟในรูปวงเงินช่วยเหลือที่ทางการยุโรปได้เตรียมไว้ก็อาจไม่พอ
สอง วิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 -2009 ทำให้เศรษฐกิจทั้งในยุโรปและสหรัฐถดถอย แต่เศรษฐกิจโลกได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ ทำให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมไม่ได้ชะลอลงมาก แต่ปัจจุบัน เศรษฐกิจเอเซียก็ถูกกระทบมากจากสถานการณ์ในยุโรป เศรษฐกิจเอเซียหลายประเทศ รวมถึงจีนและอินเดียขณะนี้ก็ชะลอ ทำให้เศรษฐกิจโลกคราวนี้ จะไม่มีการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจเอเซีย เป็นตัวช่วย ที่จะดีหน่อยก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐที่การฟื้นตัวกำลังมีต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่เข้มแข็ง
สาม ความอดทนของประชาชนที่จะยอมรับภาระการปรับตัวจากมาตรการลดการใช้จ่ายก็มีน้อยลง เช่นในกรณีของกรีซ ทำให้ทางเลือกด้านนโยบายยิ่งจะจำกัด ที่สำคัญ การประสานนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาเหมือนช่วงหลังเหตุการณ์ Lehman ก็คงทำได้ไม่เข้มแข็งเหมือนเดิม เพราะแต่ละประเทศมุ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาประเทศของตน ทำให้ความพร้อมที่จะตัดสินใจร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเศรษฐกิจโลกจะมีน้อยลงกว่าเดิม
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่สถานการณ์หนี้ยุโรปจากนี้ไปจะแก้ไขยากขึ้น รุนแรงขึ้น และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบมากต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นเศรษฐกิจเปิดก็จะถูกกระทบตามไปด้วย ดังนั้น เราควรเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ในยุโรปที่จะเลวร้ายลง ซึ่งขณะนี้หลายประเทศได้เริ่มปรับนโยบายเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ล่าสุด ธนาคารกลางออสเตรเลียก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 0.5 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดำรงกับทางการ ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษกำลังทำแผนรับมือสถานการณ์ในยุโรป และภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอยลง
ก็ขอแสดงความเห็นไว้ตรงนี้ เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์
โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%9B.html
สถานการณ์ยุโรปขณะนี้ต้องยอมรับว่าน่าห่วง เพราะไม่มีความชัดเจนว่าการเมืองในกรีซจะลงเอยอย่างไร และการแก้ไขปัญหาหนี้จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อ
ถึงแม้กรีซจะมีเลือกตั้งใหม่ในเดือนมิถุนายน สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ในภาวะที่ประเทศมีวิกฤต อย่างเช่นกรณีกรีซขณะนี้ การเมืองในประเทศมักจะเดินตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ดังนั้น การตัดสินด้านนโยบายอาจตอบสนองความต้องการระยะสั้นของประชาชน มากกว่าเหตุผล ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และสิ่งที่ประชาชนกรีซต้องการขณะนี้ เท่าที่เข้าใจก็มีอยู่สองเรื่อง ที่อาจไม่ค่อยสอดคล้องกันในแง่การแก้ปัญหา
อันแรก คือ การไม่ยอมรับการแก้ไขปัญหาหนี้โดยมาตรการรัดเข็มขัด ตามแนวทางที่ได้ดำเนินการมา ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลกรีซต่อไป ก็คงต้องยอมรับประเด็นนี้และคงไม่สามารถใช้แนวทางรัดเข็มขัดในการแก้ไขปัญหาได้เหมือนเดิม
สอง ตัวเลขสำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรีซ (Opinion Poll) ชี้ว่า ประชาชนกรีซกว่าร้อยละ 75 ยังคงอยากให้กรีซอยู่ในระบบเงินยูโรต่อไป ซึ่งความต้องการนี้จะจำกัดการใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
ดังนั้นถ้ากรีซอยู่ในระบบเงินยูโร แต่ไม่พร้อมที่จะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้จ่าย กรีซก็จะผิดเงื่อนไขการให้กู้ยืมที่รัฐบาลสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือกรีซอยู่ ซึ่งถ้าผิดเงื่อนไข กรีซก็จะไม่สามารถเบิกเงินกู้งวดต่อๆ ไปได้ ทำให้กรีซจะไม่มีสภาพคล่องหรือมีเงินพอที่จะชำระหนี้ นำมาสู่การผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งในกรณีกรีซก็คือ หนี้รัฐบาลที่นักลงทุนต่างประเทศถืออยู่
การผิดนัดชำระหนี้ โดยรัฐบาลเป็นเรื่องใหญ่ และเมื่อรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ เงินทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินกู้ยืมภาคเอกชนที่กู้จากต่างประเทศก็จะหยุดตามไปด้วย ไม่มีเงินกู้ใหม่เข้ามา ประเทศจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยิ่งสูงขึ้น กระทบเศรษฐกิจและฐานะการเงินของบริษัทเอกชนและธนาคารพาณิชย์ ความรุนแรงของปัญหาจะกดดันให้กรีซไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากออกจากระบบเงินยูโร เพื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่อย่างที่เขียนไว้เมื่ออาทิตย์ก่อน การออกจากระบบเงินยูโรเป็นทางเลือกที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น รวมถึงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะเป็นอย่างไร และรัฐบาลสหภาพยุโรปจะสามารถบริหารผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อกรีซและต่อประเทศอื่นๆ ในยุโรปได้หรือไม่
อันนี้คือ พัฒนาการของสถานการณ์ที่คงจะเกิดขึ้นจากนี้ไป ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าจะใช้เวลาแค่ไหน ก่อนที่สถานการณ์จะคลี่คลายและจะคลี่คลายอย่างไร แต่ในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอน (ซึ่งอาจเป็นเดือนหรือหลายเดือน) ตลาดการเงินโลกจะผันผวนมาก และที่น่าห่วง ก็คือผลกระทบที่จะมีต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศยุโรปอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้สูง เช่นสเปน ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจมีความล่อแหลมที่จะแย่ลงกว่าปัจจุบัน จากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปจะแย่ลงกว่าที่เราเห็นขณะนี้ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกมากขึ้น
คำถามที่ตามมา ก็คือ ระบบเศรษฐกิจโลกขณะนี้มีความสามารถด้านนโนบายพอหรือไม่ ที่จะดูแลไม่ให้ปัญหาในยุโรปลามกระทบเศรษฐกิจโลกจนเกิดวิกฤตรุนแรง
ในประเด็นนี้ ผมเคยให้ความเห็นไว้ในคอลัมน์นี้ เมื่อเดือนที่แล้วในบทความ “จุดน่าห่วงของเศรษฐกิจโลกขณะนี้” ว่า ลึกๆ แล้ว สถานการณ์และความไม่แน่นอนที่มีในเศรษฐกิจโลกขณะนี้ น่าห่วงและข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาคราวนี้ก็มีมาก เทียบกับตอนเกิดเหตุการณ์ Lehman เมื่อปี 2008 ด้วยสามเหตุผล
หนึ่ง ก็คือ พื้นที่นโยบาย ช่วงปี 2008 -2009 ที่เกิดกรณี Lehman และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทางการขณะนั้นมีพื้นที่นโยบายเต็มที่ ที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ และการลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการอัดฉีดสภาพคล่องในรูปมาตรการ QE ต่างๆ แต่ปัจจุบันพื้นที่ที่ภาครัฐจะใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด เพราะหนี้สาธารณะได้เพิ่มขึ้นในระดับที่สูง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย ก็อยู่ใกล้ศูนย์ จนอาจจะไม่สามารถปรับลดลงได้ ที่สำคัญการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงินที่ได้ทำไป ทั้งโดยมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐและการปล่อยกู้ระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางสหภาพยุโรปก็พิสูจน์แล้วว่า มีผลเพียงช่วยประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายลง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ดังนั้น พื้นที่นโยบายที่จะช่วยดูแลเศรษฐกิจโลก คราวนี้มีจำกัดทั้งในแง่ขนาดและประสิทธิภาพ และถ้าปัญหากรีซลุกลามไปกระทบประเทศหนี้สูงอื่นๆ กำแพงกันไฟในรูปวงเงินช่วยเหลือที่ทางการยุโรปได้เตรียมไว้ก็อาจไม่พอ
สอง วิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 -2009 ทำให้เศรษฐกิจทั้งในยุโรปและสหรัฐถดถอย แต่เศรษฐกิจโลกได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ ทำให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมไม่ได้ชะลอลงมาก แต่ปัจจุบัน เศรษฐกิจเอเซียก็ถูกกระทบมากจากสถานการณ์ในยุโรป เศรษฐกิจเอเซียหลายประเทศ รวมถึงจีนและอินเดียขณะนี้ก็ชะลอ ทำให้เศรษฐกิจโลกคราวนี้ จะไม่มีการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจเอเซีย เป็นตัวช่วย ที่จะดีหน่อยก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐที่การฟื้นตัวกำลังมีต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่เข้มแข็ง
สาม ความอดทนของประชาชนที่จะยอมรับภาระการปรับตัวจากมาตรการลดการใช้จ่ายก็มีน้อยลง เช่นในกรณีของกรีซ ทำให้ทางเลือกด้านนโยบายยิ่งจะจำกัด ที่สำคัญ การประสานนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาเหมือนช่วงหลังเหตุการณ์ Lehman ก็คงทำได้ไม่เข้มแข็งเหมือนเดิม เพราะแต่ละประเทศมุ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาประเทศของตน ทำให้ความพร้อมที่จะตัดสินใจร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเศรษฐกิจโลกจะมีน้อยลงกว่าเดิม
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่สถานการณ์หนี้ยุโรปจากนี้ไปจะแก้ไขยากขึ้น รุนแรงขึ้น และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบมากต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นเศรษฐกิจเปิดก็จะถูกกระทบตามไปด้วย ดังนั้น เราควรเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ในยุโรปที่จะเลวร้ายลง ซึ่งขณะนี้หลายประเทศได้เริ่มปรับนโยบายเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ล่าสุด ธนาคารกลางออสเตรเลียก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 0.5 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดำรงกับทางการ ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษกำลังทำแผนรับมือสถานการณ์ในยุโรป และภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอยลง
ก็ขอแสดงความเห็นไว้ตรงนี้ เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 675
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 62
I like this !!!
http://www.slate.com/articles/business/ ... _now_.html
Greek Drama
Don’t believe the hype—Greece isn’t leaving the eurozone for now.
All eyes are now on the possibility of a Greek exit from the eurozone. Indeed, it even has its own ridiculous portmanteau word—Grexit. Everyone from foreign financial institutions to the IMF is preparing for it, and the German government is telling anyone who’ll listen that it’s conceivable. So, is it really going to happen? Perhaps. And planning is prudent, certainly. But a short-term departure is much less likely than the hype would lead you to believe. Everyone has big incentives to bluff right now, but if Greece does end up leaving the euro it’ll happen later as part of a broader and more comprehensive split.
The key player in this phase of the drama is Alexis Tsipras, the 37-year-old leader of Syriza, the Coalition of the Radical Left. Syriza is, as the name suggests, a coalition built around Synaspismós and a few smaller left-wing parties. Synaspismós is, in turn, the descendant of the more moderate wing of the Greek Communist Party, which fell apart in 1991. In its various incarnations, the party has long been a fringe player in Greek politics. In the 1996 parliamentary elections, Synaspismós got 5.12 percent of the vote and elected 10 MPs. As recently as the 2009 elections, they got 4.6 percent of the vote running as Syriza and ended up with 13 MPs. But in the elections last week, they surged, securing 17 percent of the vote—better than Pasok, Greece’s mainstream social democratic party—and electing 52 MPs.
The result of Syriza’s surge was that even a grand coalition between Pasok and New Democracy, the main right-wing party, wouldn’t create a majority in parliament. In order to proceed with the terms of the bailout and austerity agreement reached the last time a Greek debt crisis was in the headlines, Tsipras would need to agree.
But he refused. His party campaigned on a platform that’s pro-European and pro-eurozone membership but opposed to the terms of the deal struck by the previous government. By refusing to join a grand coalition, Tsipras is forcing new elections to be held and all polling shows his party is going to do even better next time around.
That is what’s led to the surging speculation that Greece’s days as a euro member are numbered. The Germans and others insist that no renegotiation of the terms is possible, so if Tsipras wins and won’t play ball, Greece will have to go.
Nevertheless, there’s an excellent chance that everyone is bluffing. Tsipras is a bit like a person who’s wandered into a rich guy’s living room and is threatening to shoot himself in the head unless the rich guy hands over some cash. It’s not a very credible threat.
There’s a case to be made that Greece would be better off without the euro, but it’s much less persuasive than the case that Spain or other vulnerable economies would be. That’s because even if it defaulted on its debts, Greece would still be facing a budget deficit that, absent bailout money, it has no real way of closing. So austerity measures would still be needed, except without the benefit of a functioning banking system. It’s also not clear how much Greek exports would be boosted by currency devaluation, since their largest export industry is shipping, which is not very sensitive to currency dynamics.
On the other hand, it might make sense for the rich guy to pay up. Brains splattered all over the carpet and furniture might be more expensive to clean than just paying the guy to go away.
In the case of the eurozone, the carpet and furniture are Portugal, Ireland, and Spain. Once it becomes clear that an exit from the euro is a real possibility, the odds are that people who hold bank accounts in those countries will want to take their money out. Nobody wants their 10,000-euro nest egg to be suddenly turned into 10,000 much-less-valuable new escudos. If you keep the cash in your desk drawer, you’ll be spared the possibility of conversion. Even better, if you manage to move the money into a German bank account, you may even make money as the euro appreciates with the weaker states gone. But bank runs in these countries will force national governments to undertake new bank bailouts, which will worsen their overall sovereign debt. That, in turn, would require even more bailouts from northern Europe. Spain, which thus far hasn’t been bailed out, would be particularly expensive.
The point is that while Germany would obviously prefer not to offer Greece more generous terms, there’s good reason to think that they’d be willing to do it. By the same token, it makes sense for Greece to ask.
In essence, the situation is fertile territory for bluffing. Tsipras pretends it makes sense for Greece to demand a better deal, and Angela Merkel pretends it makes sense to let Germany walk away from the euro. This game of chicken might end up badly, but the frantic press reports are mostly a reflection of the bluffs not the actual likelihood of Greece leaving. The most plausible scenario is the most reasonable one. Syriza gains seats in the next election, forms a coalition, wrings a slightly more generous deal out of the European Union, and the can gets kicked further down the road. That’s not to say Greece will be in the euro forever. But if it does leave, it’ll most likely be after a much larger crisis. If Spain or Italy—which right now aren’t getting German money and which Germany couldn’t afford to bail out—decide to pull the plug and regain monetary sovereignty, then Germany will cut Greece lose. But as long as the rest of the eurozone is holding together, it makes more sense for Germany to just pay what it costs to keep Greece in.
http://www.slate.com/articles/business/ ... _now_.html
Greek Drama
Don’t believe the hype—Greece isn’t leaving the eurozone for now.
All eyes are now on the possibility of a Greek exit from the eurozone. Indeed, it even has its own ridiculous portmanteau word—Grexit. Everyone from foreign financial institutions to the IMF is preparing for it, and the German government is telling anyone who’ll listen that it’s conceivable. So, is it really going to happen? Perhaps. And planning is prudent, certainly. But a short-term departure is much less likely than the hype would lead you to believe. Everyone has big incentives to bluff right now, but if Greece does end up leaving the euro it’ll happen later as part of a broader and more comprehensive split.
The key player in this phase of the drama is Alexis Tsipras, the 37-year-old leader of Syriza, the Coalition of the Radical Left. Syriza is, as the name suggests, a coalition built around Synaspismós and a few smaller left-wing parties. Synaspismós is, in turn, the descendant of the more moderate wing of the Greek Communist Party, which fell apart in 1991. In its various incarnations, the party has long been a fringe player in Greek politics. In the 1996 parliamentary elections, Synaspismós got 5.12 percent of the vote and elected 10 MPs. As recently as the 2009 elections, they got 4.6 percent of the vote running as Syriza and ended up with 13 MPs. But in the elections last week, they surged, securing 17 percent of the vote—better than Pasok, Greece’s mainstream social democratic party—and electing 52 MPs.
The result of Syriza’s surge was that even a grand coalition between Pasok and New Democracy, the main right-wing party, wouldn’t create a majority in parliament. In order to proceed with the terms of the bailout and austerity agreement reached the last time a Greek debt crisis was in the headlines, Tsipras would need to agree.
But he refused. His party campaigned on a platform that’s pro-European and pro-eurozone membership but opposed to the terms of the deal struck by the previous government. By refusing to join a grand coalition, Tsipras is forcing new elections to be held and all polling shows his party is going to do even better next time around.
That is what’s led to the surging speculation that Greece’s days as a euro member are numbered. The Germans and others insist that no renegotiation of the terms is possible, so if Tsipras wins and won’t play ball, Greece will have to go.
Nevertheless, there’s an excellent chance that everyone is bluffing. Tsipras is a bit like a person who’s wandered into a rich guy’s living room and is threatening to shoot himself in the head unless the rich guy hands over some cash. It’s not a very credible threat.
There’s a case to be made that Greece would be better off without the euro, but it’s much less persuasive than the case that Spain or other vulnerable economies would be. That’s because even if it defaulted on its debts, Greece would still be facing a budget deficit that, absent bailout money, it has no real way of closing. So austerity measures would still be needed, except without the benefit of a functioning banking system. It’s also not clear how much Greek exports would be boosted by currency devaluation, since their largest export industry is shipping, which is not very sensitive to currency dynamics.
On the other hand, it might make sense for the rich guy to pay up. Brains splattered all over the carpet and furniture might be more expensive to clean than just paying the guy to go away.
In the case of the eurozone, the carpet and furniture are Portugal, Ireland, and Spain. Once it becomes clear that an exit from the euro is a real possibility, the odds are that people who hold bank accounts in those countries will want to take their money out. Nobody wants their 10,000-euro nest egg to be suddenly turned into 10,000 much-less-valuable new escudos. If you keep the cash in your desk drawer, you’ll be spared the possibility of conversion. Even better, if you manage to move the money into a German bank account, you may even make money as the euro appreciates with the weaker states gone. But bank runs in these countries will force national governments to undertake new bank bailouts, which will worsen their overall sovereign debt. That, in turn, would require even more bailouts from northern Europe. Spain, which thus far hasn’t been bailed out, would be particularly expensive.
The point is that while Germany would obviously prefer not to offer Greece more generous terms, there’s good reason to think that they’d be willing to do it. By the same token, it makes sense for Greece to ask.
In essence, the situation is fertile territory for bluffing. Tsipras pretends it makes sense for Greece to demand a better deal, and Angela Merkel pretends it makes sense to let Germany walk away from the euro. This game of chicken might end up badly, but the frantic press reports are mostly a reflection of the bluffs not the actual likelihood of Greece leaving. The most plausible scenario is the most reasonable one. Syriza gains seats in the next election, forms a coalition, wrings a slightly more generous deal out of the European Union, and the can gets kicked further down the road. That’s not to say Greece will be in the euro forever. But if it does leave, it’ll most likely be after a much larger crisis. If Spain or Italy—which right now aren’t getting German money and which Germany couldn’t afford to bail out—decide to pull the plug and regain monetary sovereignty, then Germany will cut Greece lose. But as long as the rest of the eurozone is holding together, it makes more sense for Germany to just pay what it costs to keep Greece in.
growth mindset
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 63
เหมือนที่เคยบอกไปครับ...torpongpak เขียน:...รอบนี้เเค่ออร์เดิฟ เดี๋ยวจะมีการฉีดยายื้อไข้...จากนั้นก็จะมีเเบบนี้อีกหลายรอบ...
ดังนั้นเรื่องนี้เป็นมหากาพย์ครับ...สวนทางกับผลประกอบการของ บมจ.ในSETที่จะเติบโตขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนผ่านดัชนีที่เพิ่มขึ้น โดยมีมหากาพย์ยุโรปถ่วงเป็นพักๆ
-กรีซเลือกตั้งใหม่รอบนี้ทำให้Mr.Marketลืมปัญหาไปชั่วคราว....นักเก็งกำไรก็ได้หายใจหายคอซักพัก หรืออาจเรียกว่ามีรอบให้เก็งกำไรอีกหลายรอบฮับ...ส่วนVIก็มีเวลาเก็บเงินรอตีลูกครั้งใหม่ถ้าราคาหุ้นมีMargin of safetyพอ พอผลเลือกตั้งสิ้นเดือนมิถุนายนออกมาคงกดดันหรือกระตุ้นตลาดอีกรอบ
กดดัน...ถ้าฝ่ายค้านชนะขาดหรือผลออกมาสูสีเเบบเดิม อย่างไรก็ตามกดดันได้ไม่นานหรอกครับ เดี๋ยวก็ต้องฉีดยายื้อไข้อีก
กระตุ้น...ถ้าฝ่ายรัฐบาลชนะขาด กรีซจะยอมเป็นเด็กดีรัดเข็มขัดตามที่คุณเเม่คือ เยอรมันสั่ง
-เห็นข่าวการขยายตัวของผลประกอบการในSetรึยังครับ...ผมหาLinkให้ไม่เจอSetเพิ่งออกข่าวภาพรวมของ บมจ.เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา
ยังไงผมก็มองเรื่องกรีซเป็นเรื่องชั่วคราวที่สำคัญไม่มีผลกับ"การทำมาหากิน"เเละสร้างรายได้ของหุ้นส่วนใหญในSet...สู้ๆครับขอให้ประสบความสำเร็จทุกท่านเเละจัดการกับ"ความกลัว"ของตนเองอย่างมีสติครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 64
เเล้วVIควรเตรียมอะไรครับ?kongkiti เขียน:รัฐควรเตรียมพร้อม กับสถานการณ์หนี้ยุโรป
โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
ข้อมูลที่อาจารย์เตือนเป็นข้อมูลที่ดีเเละมีประโยชน์มากครับ เเต่เราต้องฝึกคิดต่าง...ลองคิดว่าคนส่วนใหญ่ที่อ่านข้อมูลเหล่านี้จะคิดอะไรเเล้วเราลองพยายามฝึกคิดต่างจากคนส่วนใหญ่เเต่ต้องตั้งบนพื้นฐานของเหตุผล ลองดูครับสนุกดี...
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 65
^^ กรีซเลือกตั้งใหม่นี่หละครับ ตัวจุดระเบิดเลย
แล้วฝ่ายรัฐบาลกับค้านทำงานร่วมกันตั้งแต่รับ bailout agreement มาแล้วนะครับ (ND กะ PASOK)
Syrizas นี่คือพรรคนอกสายตา ม้ามืด ที่มาเปิดประเด็น reject bailout ทำให้มันเป็นอย่างที่เป็นนี่หละ
พูดกันตามตรง แนวทางลด gov't spending, cut budget, มันไม่ก่อให้เกิด economic activity ที่ drive growth แน่นอน
และสำคัญที่สุดคือ ปัจจัย "คน" ที่ไม่สามารถทนได้ ไม่อยากลำบาก คนกรีซไม่ใช่ประเภททำงานทนถึกนะครับ เป็นเมือง service industry, เน้น tourism เป็นหลัก
austerity package ไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาระยะยาว แต่ดันไปตกลงกันแบบนั้น
พอถึงเวลาทำไม่ได้ ทนไม่ได้ มันไม่ใช่ ก็ระเบิดลง
คงเป็นอย่างที่คุณพูดละครับ ถ้าไม่มีอะไร "เละ" จริงๆก็คงกดดันตลาดโดยรวมแบบนี้ไปเรื่อยๆ
ถ้า greece ออกจาก euro ก้ออาจ "เละ"
แล้วฝ่ายรัฐบาลกับค้านทำงานร่วมกันตั้งแต่รับ bailout agreement มาแล้วนะครับ (ND กะ PASOK)
Syrizas นี่คือพรรคนอกสายตา ม้ามืด ที่มาเปิดประเด็น reject bailout ทำให้มันเป็นอย่างที่เป็นนี่หละ
พูดกันตามตรง แนวทางลด gov't spending, cut budget, มันไม่ก่อให้เกิด economic activity ที่ drive growth แน่นอน
และสำคัญที่สุดคือ ปัจจัย "คน" ที่ไม่สามารถทนได้ ไม่อยากลำบาก คนกรีซไม่ใช่ประเภททำงานทนถึกนะครับ เป็นเมือง service industry, เน้น tourism เป็นหลัก
austerity package ไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาระยะยาว แต่ดันไปตกลงกันแบบนั้น
พอถึงเวลาทำไม่ได้ ทนไม่ได้ มันไม่ใช่ ก็ระเบิดลง
คงเป็นอย่างที่คุณพูดละครับ ถ้าไม่มีอะไร "เละ" จริงๆก็คงกดดันตลาดโดยรวมแบบนี้ไปเรื่อยๆ
ถ้า greece ออกจาก euro ก้ออาจ "เละ"
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 675
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 66
ผมอ่านดูหลายบทความ
เขามีความเห็นโดยอ้าง game theory
แบบ chicken game
ใครขับรถหักหลบก่อนแพ้ แต่ถ้าไม่หลีกทั้งคู่ก็ บรรลัย
จุดสมดุลที่สุด คงเปน หลบทั้งคู่ เกมแบบนี้ไม่มีใครได้อย่างแท้จริง
ตอนนี้ก็ต้องฮึ่มๆ ใส่กันทั้งคู่เปนธรรมดาตามเกมแห่งอำนาจ
ผมเชื่อว่าผลการเลือกตั้ง syrizas ชนะ แต่.... เขาเองก็ pro euro เพียงแต่ไม่เอา แผนรัดเข็มขัดแบบนี้
ผมเชื่อว่ามันต้องมีการเจรจาทางลับ หรือ การออกท่าทีผ่อนปรน บางอย่าง เพื่อให้ greece ไม่ default กลับไปใช้ drachma หรือ ต้องถูกเตะออกจากยูโร ซึ่ง greece หรือ EU ก็ไม่ต้องการหรอก
Germany ต้องจ่ายแพงกว่ามากถ้า italy Or spain ล้มเพราะคงพังครืนทั้ง EU
เพราะฉะนั้นผมเลยเชื่อว่า ตอนนี้เปนเกมการต่อรองระหว่าง syrizas กับ germany เพื่อ ขอเพิ่มมาตรการกระตุ้นอะไรบางอย่างเข้ามาในกรีซ ไม่ใช่ปล่อยให้กรีชต้องเปนหมาจนตรอก เพราะถ้าเมื่อวันนั้นมาถึง ก็คงชนกันแบบยับทั้งคู่
หันมามองเกมการเงิน ผมยังไปซื้อของที่ 7-11 เหมือนเดิมครับ ยังจ่ายค่าผ่อนงวดรถครับ ผมเห็นคนอเมริกัน เต็ม stadium กีฬาเหมือนเดิม สิ่งที่ต่างไปคือ ข่าวและบทวิเคราะห์ ที่ออกมาแต่ทางลบ ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องเตรียมตัวครับ
สุดท้ายผมเชื่อว่าเกมนี้ยังยืดเยื้ออีกหลายยกครับ เพียงแต่ไม่รู้ของจริงมันจะมาเมื่อไหร่
เขามีความเห็นโดยอ้าง game theory
แบบ chicken game
ใครขับรถหักหลบก่อนแพ้ แต่ถ้าไม่หลีกทั้งคู่ก็ บรรลัย
จุดสมดุลที่สุด คงเปน หลบทั้งคู่ เกมแบบนี้ไม่มีใครได้อย่างแท้จริง
ตอนนี้ก็ต้องฮึ่มๆ ใส่กันทั้งคู่เปนธรรมดาตามเกมแห่งอำนาจ
ผมเชื่อว่าผลการเลือกตั้ง syrizas ชนะ แต่.... เขาเองก็ pro euro เพียงแต่ไม่เอา แผนรัดเข็มขัดแบบนี้
ผมเชื่อว่ามันต้องมีการเจรจาทางลับ หรือ การออกท่าทีผ่อนปรน บางอย่าง เพื่อให้ greece ไม่ default กลับไปใช้ drachma หรือ ต้องถูกเตะออกจากยูโร ซึ่ง greece หรือ EU ก็ไม่ต้องการหรอก
Germany ต้องจ่ายแพงกว่ามากถ้า italy Or spain ล้มเพราะคงพังครืนทั้ง EU
เพราะฉะนั้นผมเลยเชื่อว่า ตอนนี้เปนเกมการต่อรองระหว่าง syrizas กับ germany เพื่อ ขอเพิ่มมาตรการกระตุ้นอะไรบางอย่างเข้ามาในกรีซ ไม่ใช่ปล่อยให้กรีชต้องเปนหมาจนตรอก เพราะถ้าเมื่อวันนั้นมาถึง ก็คงชนกันแบบยับทั้งคู่
หันมามองเกมการเงิน ผมยังไปซื้อของที่ 7-11 เหมือนเดิมครับ ยังจ่ายค่าผ่อนงวดรถครับ ผมเห็นคนอเมริกัน เต็ม stadium กีฬาเหมือนเดิม สิ่งที่ต่างไปคือ ข่าวและบทวิเคราะห์ ที่ออกมาแต่ทางลบ ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องเตรียมตัวครับ
สุดท้ายผมเชื่อว่าเกมนี้ยังยืดเยื้ออีกหลายยกครับ เพียงแต่ไม่รู้ของจริงมันจะมาเมื่อไหร่
growth mindset
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 67
ผมเห็นด้วยกับพี่Multipleceilingเลยครับ คนกรีซถูกSpoilด้วยระบบประชานิยมเเละทำงานกันChill Chillมาก เหมือนความสบายอยู่ในDNAไปเเล้ว(มีคนบอกมาอีกทีไม่ทราบจริงหรือไม่นะครับ)
ส่วนเรื่องความยืดเยื้อเห็นด้วยอีกเเหละครับ...สุดยอดเลยครับสำหรับความเห็นเรื่องทฤษฎีเกมส์
ส่วนเรื่องความยืดเยื้อเห็นด้วยอีกเเหละครับ...สุดยอดเลยครับสำหรับความเห็นเรื่องทฤษฎีเกมส์
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 68
และแล้วก็ตามหาพื้นกันต่อไป...
สงสารรายย่อยที่เล่น big cap พลังงานบางตัว โหดมาก
สงสารรายย่อยที่เล่น big cap พลังงานบางตัว โหดมาก
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 69
Grexit ณ วันนี้
สถานะทั่วไปเก็บตกจาก และให้ credit http://www.faz.net
1. ผล poll กรีกบอกว่า 78 % คนกรีกประสงค์จะอยู่ใน EU และใช้สกุลเงิน euro ต่อไป และให้ระงับแผนรัดเข็มรัดที่ EU บังคับมา เช่น แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน ระงับการขึ้นค่าแรง ลดประชานิยมต่างๆ ฯลฯ พูดง่ายๆก็คือ ระงับมาตรการรัดเข็มขัดทุกอย่างไปก่อน
ต้องแยกให้ออกว่า อยู่ใน EU แต่ไม่ใช้เงิน Euro ก็มี ที่คนกรีกไม่อยากออกจาก EU ถึง 78% (จากการสำรวจความเห็นเท่านั้น) พอเข้าใจได้ว่า คนจากประเทศเศรษฐกิจไม่แข็งแรง เช่นประเทศรอบ EU: Rumamia, Tschech, Italy, Spain ฯลฯ อยู่ใน EU แล้วมันขยับไปทำงานใน EU ประเทศอื่นๆได้ ทำงานใน ฝรั่งเศสหรือ เยอรมันยอ่มได้ค่าชั่วโมงมากกว่าทำงานในกรีกมาก คล้ายๆกับที่ไทยเราจะมี AEC แล้วคนจากลาว พม่า สิงคโปร์ก็มาทำงานที่ไทยได้สบายตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
ถ้าความเห็น 78% ว่า ไม่รัดเข็มขัดเป็นจริงๆ (ผมเห็นว่ามีส่วนเป็นจริงได้ เพราะพรรค 3 พรรคทีหาเสียงกรีกตอนนี้ต้องเก็บคะแนนไว้ ได้รับเลื่อกแล้ว ต้องเอามาทำบ้าง) ก็แสดงว่าข้อตกลงไว้กับ EU ที่เอาเงินมาแล้ว 50% ก็ผิดทันที
2. ประธาน IMF: Mrs. Christine Lagarde (อดีต รมต.คลังของฝรั่งเศส) ให้สัมภาษณ์เมือวานว่า ให้กรีกช่วยเหลือตัวเอง เอาเงินไปช่วยคนยากจนในหมู่บ้านชนบทในประเทศ Niger/Africa ดีกว่าเอาเงินไปช่วยคนในกรุงเอเธนส์ (please help yourself – you have to pay the tax…..)
IMF ได้รับกดดันจากเมกาและจีนมาก เรื่องเอาเงินของ IMF ไปช่วย EU มากเกินไป หนี้ยูโรป ต้องให้ยุโรปช่วยกันเองมากๆทำนองนั้น ภาพตอนนี้พอมองออกว่า จาก troika สามก็กที่ต้องช่วยอุ้มกรีกคือ IMF/EU/ECB ก็จะไม่มี IMF อีกแล้ว เงินที่ Troika จ่ายแล้ว 50% และจะจ่ายให้กรีกเพิ่ม เบ็ดเสร็จเท่ากับ 145 Billion Euors มีส่วนหนึ่งมาจาก IMF.
3. Board director ของธนาคารกลางเยอรมันให้สัมภาษณ์ว่า กรีกควรอยู่ใน EU และใช้เงิน Euro ยังมีทางออกอยู่ ยังไม่ตัน แต่แผน A: กรีกอยู่ใน EU & Euros นั้นมีแผนทำอยู่แล้ว ตอนนี้เยอรมันให้เตรียมแผน B: กรีกออกจาก Euro & EU โดยให้ธนาคารเตรียมมาตรการอย่างน้อย 6 เดือนไว้รองรับ
เยอรมันน่าจะเป็นผู้จ่ายมากที่สุดรองจากฝรั่งเศสกรณีกรีกออกจาก Euros ฉะนั้นเพื่อป้องกันการจ่ายมาก ก็จำเป็นต้องหาทุกทางให้จ่ายน้อยที่สุด
3. จากการสำรวจโดยทีวีช่อง สอง ZDF เยอรมันบอกว่า เดือน พย. 2011 มีคนเห็นว่า กรีกควรออกจาก Euro ไป 49% แต่อาทิตย์ที่แล้ว เห็นตัวเลขใหม่มีผู้ชมเยอรมัน 60% เห็นว่า กรีกควรออกจาก Euro ไปใช้เงินสกุลเดิมคือ Drachme
ต้องเข้าใจครับว่า ปัจจุบันนี้พรรค CDU ซึ่ง Conservative กำลังครองอำนาจ และ รมต.คลังเคยแม้กระทั่งให้สัมภาษณ๋ก่อนให้เงิน 145 bn Euro ว่า ให้ไปได้แต่ให้กรีกเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก พูดตรงๆก็คือ ไม่ให้มีการเลื่อกตั้งเลย ทำให้ฝ่ายต่อต้านแย้งว่า เข้าไปยุ่งกับระบบการปกครองของกรีกเกินเส้น อีกการเมืองเยอรมันเปลี่ยนไปมากเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว คือ พรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศสชนะเลื่อกตั้งในฝรั่งเศส พรรค CDUภายในเยอรมันเอง ก็แพ้เลื่อกตั้งท้องถิ่นอย่างหมดรูป จนหัวหน้าพรรคสาขาต้องลาออกจากตำแหน่ง รมต. สิ้งแวดล้อมในรัฐบาลและลาออกจากหัวหน้าพรรคประจำแคว้น(ประจำแคว้น Nordrhine Westfalen) เสียงประสานที่เคยได้ยินว่า Merkozy (Merkel & Sarkozy) ก็สูญหายไปทันที ในการกดดันกรีกแบบจัดหนักก็เบาทันที
เจ้าคำ Grexit มาจาก กลุ่ม Citibank เป็นผู้ผลิต แล้วสื่อก็เอาไปกระจายได้เร็วมาก Greece or Greek + Exit (exodus) ลองไปดูตาม อากู๋ก็มีอธิบายมากเช่นกัน
สถานะทั่วไปเก็บตกจาก และให้ credit http://www.faz.net
1. ผล poll กรีกบอกว่า 78 % คนกรีกประสงค์จะอยู่ใน EU และใช้สกุลเงิน euro ต่อไป และให้ระงับแผนรัดเข็มรัดที่ EU บังคับมา เช่น แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน ระงับการขึ้นค่าแรง ลดประชานิยมต่างๆ ฯลฯ พูดง่ายๆก็คือ ระงับมาตรการรัดเข็มขัดทุกอย่างไปก่อน
ต้องแยกให้ออกว่า อยู่ใน EU แต่ไม่ใช้เงิน Euro ก็มี ที่คนกรีกไม่อยากออกจาก EU ถึง 78% (จากการสำรวจความเห็นเท่านั้น) พอเข้าใจได้ว่า คนจากประเทศเศรษฐกิจไม่แข็งแรง เช่นประเทศรอบ EU: Rumamia, Tschech, Italy, Spain ฯลฯ อยู่ใน EU แล้วมันขยับไปทำงานใน EU ประเทศอื่นๆได้ ทำงานใน ฝรั่งเศสหรือ เยอรมันยอ่มได้ค่าชั่วโมงมากกว่าทำงานในกรีกมาก คล้ายๆกับที่ไทยเราจะมี AEC แล้วคนจากลาว พม่า สิงคโปร์ก็มาทำงานที่ไทยได้สบายตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
ถ้าความเห็น 78% ว่า ไม่รัดเข็มขัดเป็นจริงๆ (ผมเห็นว่ามีส่วนเป็นจริงได้ เพราะพรรค 3 พรรคทีหาเสียงกรีกตอนนี้ต้องเก็บคะแนนไว้ ได้รับเลื่อกแล้ว ต้องเอามาทำบ้าง) ก็แสดงว่าข้อตกลงไว้กับ EU ที่เอาเงินมาแล้ว 50% ก็ผิดทันที
2. ประธาน IMF: Mrs. Christine Lagarde (อดีต รมต.คลังของฝรั่งเศส) ให้สัมภาษณ์เมือวานว่า ให้กรีกช่วยเหลือตัวเอง เอาเงินไปช่วยคนยากจนในหมู่บ้านชนบทในประเทศ Niger/Africa ดีกว่าเอาเงินไปช่วยคนในกรุงเอเธนส์ (please help yourself – you have to pay the tax…..)
IMF ได้รับกดดันจากเมกาและจีนมาก เรื่องเอาเงินของ IMF ไปช่วย EU มากเกินไป หนี้ยูโรป ต้องให้ยุโรปช่วยกันเองมากๆทำนองนั้น ภาพตอนนี้พอมองออกว่า จาก troika สามก็กที่ต้องช่วยอุ้มกรีกคือ IMF/EU/ECB ก็จะไม่มี IMF อีกแล้ว เงินที่ Troika จ่ายแล้ว 50% และจะจ่ายให้กรีกเพิ่ม เบ็ดเสร็จเท่ากับ 145 Billion Euors มีส่วนหนึ่งมาจาก IMF.
3. Board director ของธนาคารกลางเยอรมันให้สัมภาษณ์ว่า กรีกควรอยู่ใน EU และใช้เงิน Euro ยังมีทางออกอยู่ ยังไม่ตัน แต่แผน A: กรีกอยู่ใน EU & Euros นั้นมีแผนทำอยู่แล้ว ตอนนี้เยอรมันให้เตรียมแผน B: กรีกออกจาก Euro & EU โดยให้ธนาคารเตรียมมาตรการอย่างน้อย 6 เดือนไว้รองรับ
เยอรมันน่าจะเป็นผู้จ่ายมากที่สุดรองจากฝรั่งเศสกรณีกรีกออกจาก Euros ฉะนั้นเพื่อป้องกันการจ่ายมาก ก็จำเป็นต้องหาทุกทางให้จ่ายน้อยที่สุด
3. จากการสำรวจโดยทีวีช่อง สอง ZDF เยอรมันบอกว่า เดือน พย. 2011 มีคนเห็นว่า กรีกควรออกจาก Euro ไป 49% แต่อาทิตย์ที่แล้ว เห็นตัวเลขใหม่มีผู้ชมเยอรมัน 60% เห็นว่า กรีกควรออกจาก Euro ไปใช้เงินสกุลเดิมคือ Drachme
ต้องเข้าใจครับว่า ปัจจุบันนี้พรรค CDU ซึ่ง Conservative กำลังครองอำนาจ และ รมต.คลังเคยแม้กระทั่งให้สัมภาษณ๋ก่อนให้เงิน 145 bn Euro ว่า ให้ไปได้แต่ให้กรีกเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก พูดตรงๆก็คือ ไม่ให้มีการเลื่อกตั้งเลย ทำให้ฝ่ายต่อต้านแย้งว่า เข้าไปยุ่งกับระบบการปกครองของกรีกเกินเส้น อีกการเมืองเยอรมันเปลี่ยนไปมากเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว คือ พรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศสชนะเลื่อกตั้งในฝรั่งเศส พรรค CDUภายในเยอรมันเอง ก็แพ้เลื่อกตั้งท้องถิ่นอย่างหมดรูป จนหัวหน้าพรรคสาขาต้องลาออกจากตำแหน่ง รมต. สิ้งแวดล้อมในรัฐบาลและลาออกจากหัวหน้าพรรคประจำแคว้น(ประจำแคว้น Nordrhine Westfalen) เสียงประสานที่เคยได้ยินว่า Merkozy (Merkel & Sarkozy) ก็สูญหายไปทันที ในการกดดันกรีกแบบจัดหนักก็เบาทันที
เจ้าคำ Grexit มาจาก กลุ่ม Citibank เป็นผู้ผลิต แล้วสื่อก็เอาไปกระจายได้เร็วมาก Greece or Greek + Exit (exodus) ลองไปดูตาม อากู๋ก็มีอธิบายมากเช่นกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 71
ว่าเเล้วนายตลาดก็จะลืมทุกสิ่งทุกอย่างไป จนกระทั่งปลายเดือนมิถุนายน"ความกังวล"มันจะกลับมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนเเนวไหนก็ขอให้ใช้ประโยชน์จากความผันผวนนะครับ...
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 72
คุณต่อครับ วิกฤติมักจะมาตอนคนไม่รู้หรือคิดว่ารอดแล้วครับ
เหมือนในหนังสยองขวัญ กำลังจะจบแฮปปี้รอดตาย แต่สุดท้ายก้ไม่รอดครับ
ดาบแรก ยังไงยุโรปก้ต้อง เจ๊ง 4สหายและมิตรอีก1 ต้องอยู่แบบไทยตอน40
ดาบสอง ดูม๊อฟรอบนี้ให้ดีๆๆนะครับ มันไม่ใช่ม๊อฟธรรมดา
ของจริงให้ดูหลังวันที่ 15เดือนหน้าครับ
เหมือนในหนังสยองขวัญ กำลังจะจบแฮปปี้รอดตาย แต่สุดท้ายก้ไม่รอดครับ
ดาบแรก ยังไงยุโรปก้ต้อง เจ๊ง 4สหายและมิตรอีก1 ต้องอยู่แบบไทยตอน40
ดาบสอง ดูม๊อฟรอบนี้ให้ดีๆๆนะครับ มันไม่ใช่ม๊อฟธรรมดา
ของจริงให้ดูหลังวันที่ 15เดือนหน้าครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 73
ขอบคุณครับ MOB+PIGS=MOS
ผมก็มองว่าเรื่องยุโรปไม่น่าจะรอด เเต่กว่าจะถึงตอนนั้นมันจะมีการพยายามยื้อโดยประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ มันจะกระทบต่อ"อารมณ์"นักลงทุนไปเรื่อยๆ หมดรอบนี้ จะมีรอบใหม่อีก ผมเเค่ต้อง"เตรียมตัว"โดย
1) ตุนกระสุน หาเเละเก็บเงินมากขึ้น
2) เร่งขยายCircle of competence รู้จักธุรกิจใหม่ๆ หรือไม่ก็ ทำความเข้าใจธุรกิจที่เราถือหุ้นให้มากขึ้น ซึ่งถ้าเราเข้าใจธุรกิจ จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันครับ...
เเล้วทุกๆอย่างก็ผ่านไป เราก็เเกร่งขึ้น
ผมก็มองว่าเรื่องยุโรปไม่น่าจะรอด เเต่กว่าจะถึงตอนนั้นมันจะมีการพยายามยื้อโดยประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ มันจะกระทบต่อ"อารมณ์"นักลงทุนไปเรื่อยๆ หมดรอบนี้ จะมีรอบใหม่อีก ผมเเค่ต้อง"เตรียมตัว"โดย
1) ตุนกระสุน หาเเละเก็บเงินมากขึ้น
2) เร่งขยายCircle of competence รู้จักธุรกิจใหม่ๆ หรือไม่ก็ ทำความเข้าใจธุรกิจที่เราถือหุ้นให้มากขึ้น ซึ่งถ้าเราเข้าใจธุรกิจ จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันครับ...
เเล้วทุกๆอย่างก็ผ่านไป เราก็เเกร่งขึ้น
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 74
สเปนเริ่มมาตามนัดเเล้วครับบูรพาไม่แพ้ เขียน:สัญญาณเตือนบ่งชี้สเปนมีแนวโน้มต้องรับเงินช่วยเหลือจากนานาประเทศ
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 10:12:19 น.
สัญญาณเตือนเริ่มปรากฎเด่นชัดขึ้นว่า สเปนกำลังใกล้ถึงจุดเดียวกับที่ทำให้กรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต้องขอความช่วยเหลือจากนานาประทเศ
หลังจากที่ค่าพรีเมียมต้นทุนการระดมทุนของกรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต่อเยอรมนีแตะ 5% ได้เพียง 12, 24 และ 34 วันตามลำดับ ประเทศเหล่านั้นก็ต้องขอความช่วยเหลือจากนานาประเทศ ซึ่งค่าพรีเมียมของสเปนแตะ 5% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน ปัจจัยกระตุ้นความวิตกเกี่ยวกับสเปนยังมาจากธนาคารบังเกีย ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ 1.9 หมื่นล้านยูโรจากรัฐบาล
ขณะที่นายกรัฐมนตรีมาริอาโน ราฮอยยืนยันเมื่อวันจันทร์ว่า สเปนไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก แต่นักลงทุนมองเรื่องนี้ต่างออกไป โดยคิดว่าสเปนจะไม่สามารถรับมือกับต้นทุนการระดมทุนได้ และบางรายแนะนำว่า ควรจะมีแผนการรับประกันเงินฝากธนาคารทั่วสหภาพยุโรป (อียู) ในระยะสั้น
ความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ โดยกรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต่างก็ได้รับความช่วยเหลือในระดับรัฐบาล จากภาระหนี้สินสูง แต่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของสเปนนั้นต่ำกว่าประเทศเหล่านี้ นอกจากนี้ สเปนยังได้ออกตราสารหนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการระดมทุนสำหรับปีนี้แล้ว
นักวิเคราะห์ประมาณว่า สเปนต้องการเงินเพื่อเพิ่มทุนธนาคารราว 5 หมื่นล้านยูโรถึง 1 แสนล้านยูโร ซึ่งแม้ว่านายราฮอยคัดค้านการรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ แต่เขาเรียกร้องให้กลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งเป็นกองทุนช่วยเหลือยุโรป สามารถเพิ่มทุนให้กับธนาคารโดยตรง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่ต้องรับภาระหนี้สินจากธนาคาร
นักวิเคราะห์บางรายแนะว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) สามารถบรรเทาความต้องการเงินช่วยเหลือสเปน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น ด้วยการดำเนินการนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างที่เคยใช้ในครั้งก่อนๆ ซึ่งได้แก่ การซื้อพันธบัตรโดยตรง, การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคาร หรือการลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของสเปนในขณะนี้บ่งชี้ถึงความชัดเจนมากขึ้นที่สเปนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ
(กรีซ-->สเปน-->อิตาลี)
Creditข่าวจากพี่บูรพาไม่เเพ้
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 75
ภายนอกน่ากลัวน้อยกว่าภายในครับ
เค้ามากันแล้ว
http://news.sanook.com/1120639/%E0%B8%9 ... %E0%B8%A2/
มีด2เล่ม เล่ม1 แทงจากข้างนอก อีกเล่มแทงจากข้างใน
เค้ามากันแล้ว
http://news.sanook.com/1120639/%E0%B8%9 ... %E0%B8%A2/
มีด2เล่ม เล่ม1 แทงจากข้างนอก อีกเล่มแทงจากข้างใน
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 76
หากถามถึงอิตาลีผมเจอข่าวนี้ครับ
อิตาลีประมูลขายพันธบัตรได้ 5.732 พันล้านยูโร ขณะยีลด์พุ่งสูงขึ้น
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 17:41:14 น.
อิตาลีระดมทุนจากการประมูลขายพันธบัตรอายุ 5 และ 10 ปี ได้ 5.732 พันล้านยูโร ขณะที่อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับการประมูลในเดือนที่แล้ว
ทั้งนี้ อิตาลีขายพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมิ.ย.2560 ได้ 3.391 พันล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5.66% เพิ่มขึ้นจากระดับ 4.86% ในการประมูลเมื่อเดือนเม.ย. และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่ความต้องการซื้อสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 1.35 เท่า
ขณะเดียวกัน อิตาลีขายตั๋วเงินคลังที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ย.2565 ได้ 2.341 พันล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 6.03% เพิ่มขึ้นจากระดับ 5.84% ในการประมูลเดือนก่อน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. ขณะที่ความต้องการซื้อสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 1.40 เท่า ลดลงจากระดับ 1.48 เท่าในการประมูลครั้งที่แล้ว
อิตาลีตั้งเป้าสำหรับการประมูลพันธบัตรครั้งนี้ไว้ในช่วง 4.50-6.25 พันล้านยูโร
อิตาลีประมูลขายพันธบัตรได้ 5.732 พันล้านยูโร ขณะยีลด์พุ่งสูงขึ้น
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 17:41:14 น.
อิตาลีระดมทุนจากการประมูลขายพันธบัตรอายุ 5 และ 10 ปี ได้ 5.732 พันล้านยูโร ขณะที่อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับการประมูลในเดือนที่แล้ว
ทั้งนี้ อิตาลีขายพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมิ.ย.2560 ได้ 3.391 พันล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5.66% เพิ่มขึ้นจากระดับ 4.86% ในการประมูลเมื่อเดือนเม.ย. และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่ความต้องการซื้อสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 1.35 เท่า
ขณะเดียวกัน อิตาลีขายตั๋วเงินคลังที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ย.2565 ได้ 2.341 พันล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 6.03% เพิ่มขึ้นจากระดับ 5.84% ในการประมูลเดือนก่อน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. ขณะที่ความต้องการซื้อสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 1.40 เท่า ลดลงจากระดับ 1.48 เท่าในการประมูลครั้งที่แล้ว
อิตาลีตั้งเป้าสำหรับการประมูลพันธบัตรครั้งนี้ไว้ในช่วง 4.50-6.25 พันล้านยูโร
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 77
กฎของชีวิต-กฎของการลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรPosted: Sun Jun 03, 2012 12:53 pm
ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง “กฎของชีวิต” (The Rules of Life) เขียนโดย Richard Templar แล้วก็นึกไปถึงเรื่องของการลงทุน เพราะกฎหลาย ๆ ข้อนั้น ผมคิดว่ามันนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดี ลองมาดูกันทีละข้อ
ข้อแรกที่ผมคิดว่านักลงทุนควรนำมาใช้ก็คือ “รู้ว่าอะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญ” ผมคงไม่พูดในเรื่องอื่น ๆ ของชีวิต แต่ในเรื่องของการลงทุนแล้ว นี่คือสิ่งที่จะทำให้เราชนะหรือแพ้ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราคิดว่าการอยู่รอดของเศรษฐกิจกรีซนั้นสำคัญต่อการทำกำไรหรือผลประกอบการระยะยาวของบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุนอยู่ไหม? ถ้าเราคิดว่าไม่ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปกังวลว่ากรีซจะแก้ปัญหาของตนเองได้หรือไม่ ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญในเรื่องของการลงทุน ก็เช่นเดียวกับในเรื่องของชีวิต คือมันมีอยู่ไม่มาก และเราก็ควรจะต้องรู้ อย่าสนใจหรือทุ่มเทกับสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%99.html
ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง “กฎของชีวิต” (The Rules of Life) เขียนโดย Richard Templar แล้วก็นึกไปถึงเรื่องของการลงทุน เพราะกฎหลาย ๆ ข้อนั้น ผมคิดว่ามันนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดี ลองมาดูกันทีละข้อ
ข้อแรกที่ผมคิดว่านักลงทุนควรนำมาใช้ก็คือ “รู้ว่าอะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญ” ผมคงไม่พูดในเรื่องอื่น ๆ ของชีวิต แต่ในเรื่องของการลงทุนแล้ว นี่คือสิ่งที่จะทำให้เราชนะหรือแพ้ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราคิดว่าการอยู่รอดของเศรษฐกิจกรีซนั้นสำคัญต่อการทำกำไรหรือผลประกอบการระยะยาวของบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุนอยู่ไหม? ถ้าเราคิดว่าไม่ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปกังวลว่ากรีซจะแก้ปัญหาของตนเองได้หรือไม่ ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญในเรื่องของการลงทุน ก็เช่นเดียวกับในเรื่องของชีวิต คือมันมีอยู่ไม่มาก และเราก็ควรจะต้องรู้ อย่าสนใจหรือทุ่มเทกับสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%99.html
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 78
อาจารย์ท่านปล่อยวางได้เพราะต้นทุนต่ำและก็ไม่ได้กู้ยืมมาซื้อหุ้นครับ พวกเราๆก็ยังต้องกังวลกันต่อ อีกแค่สองอาทิตย์น่าจะรู้ผลเลือกตั้งแล้วล่ะว่ากรีซจะไปทางไหน พวกเล่นช๊อตก็พยามหาข่าวร้ายมาทุบกันเข้าไปเบื่อจริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 79
ที่น่าสนใจตอนนี้คือ USDTHB และ fund flow
USDTHB สวนทาง dollar index
USDTHB สวนทาง dollar index
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 80
มีใครดู pcomp กะ jci บ้างครับ
ทำใจไว้หน่อยละกัน
ทำใจไว้หน่อยละกัน
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 81
update สถานการณ์มหภาค
หลักที่เมกาลงคือ ตัวเลขจ้างงานออกมาต่ำกว่าคาด ตัวเลขว่างเงินขยันขึ้น 0.1%
เยอรมันหัวชนฝาไม่เอา euro bond
ค่าเงิน yen แข็ง กระทบภาคส่งออกญี่ปุ่น
ราคาน้ำมันร่วง หลายปัจจัยมาก หลักๆคือเศรษฐกิจแนวโน้มชะลอ และ การเมืองตะวันออกกลาง
ราคา commo อื่นๆก็ร่วง ยกเว้น precious metals
จีนอัตราโตชะลอตัว เลยกลัวกันว่าจะ hard landing (อืม...)
108 อย่าง..... เยอะเกิ๊น....
ทั้งหมดนี้ ผมมองว่าอย่างเดียวที่น่าเก็บไปคิดคือ น้ำมัน
น้ำมันลง ต้นทุนลด
มันคือเรื่องดี
แต่ตลาดคงจะมองว่าน้ำมันลง พี่ปอ ลง ดัชนีลง เลยขายกัน 55555
โทรไปหา IR ธุรกิจผมยังคงดำเนินเหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยน domestic demand ยังดีอยู่
หลักที่เมกาลงคือ ตัวเลขจ้างงานออกมาต่ำกว่าคาด ตัวเลขว่างเงินขยันขึ้น 0.1%
เยอรมันหัวชนฝาไม่เอา euro bond
ค่าเงิน yen แข็ง กระทบภาคส่งออกญี่ปุ่น
ราคาน้ำมันร่วง หลายปัจจัยมาก หลักๆคือเศรษฐกิจแนวโน้มชะลอ และ การเมืองตะวันออกกลาง
ราคา commo อื่นๆก็ร่วง ยกเว้น precious metals
จีนอัตราโตชะลอตัว เลยกลัวกันว่าจะ hard landing (อืม...)
108 อย่าง..... เยอะเกิ๊น....
ทั้งหมดนี้ ผมมองว่าอย่างเดียวที่น่าเก็บไปคิดคือ น้ำมัน
น้ำมันลง ต้นทุนลด
มันคือเรื่องดี
แต่ตลาดคงจะมองว่าน้ำมันลง พี่ปอ ลง ดัชนีลง เลยขายกัน 55555
โทรไปหา IR ธุรกิจผมยังคงดำเนินเหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยน domestic demand ยังดีอยู่
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 82
ซื้อเรือยางติดไว้บ้างนะครับ น้ำ่ท่วมจะได้มีชีวิตรอด
ผมมองว่า สำคัญที่สุด
1.รักษากำไร
2.รักษาชีวิต
3.คอยแสกนหาสินค้าแบกะดินยาม MM รมบ่อจอย
4.ย้อนกลับไปดูข้อ 1
5.MOS=โล่ห์ ไร้โล่ห์หรือโล่ห์แตก ก้ต้องตาย โล่ห์หนาอย่าไปกังวล ถ้าโล่ห์ไม่มี
หนี ก้ดีกว่า ตาย
เพราะ คนชนะ เขียนประวัติศาสตร์ ดังนั้น คนแพ้ก้ต้องเป็นคนตายไม่ได้พูด
6.มองให้ออก ว่า อันไหนทางหนีไฟ อันไหนทางเข้านรก
ผมมองว่า สำคัญที่สุด
1.รักษากำไร
2.รักษาชีวิต
3.คอยแสกนหาสินค้าแบกะดินยาม MM รมบ่อจอย
4.ย้อนกลับไปดูข้อ 1
5.MOS=โล่ห์ ไร้โล่ห์หรือโล่ห์แตก ก้ต้องตาย โล่ห์หนาอย่าไปกังวล ถ้าโล่ห์ไม่มี
หนี ก้ดีกว่า ตาย
เพราะ คนชนะ เขียนประวัติศาสตร์ ดังนั้น คนแพ้ก้ต้องเป็นคนตายไม่ได้พูด
6.มองให้ออก ว่า อันไหนทางหนีไฟ อันไหนทางเข้านรก
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 83
ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้นของกรีซบ้างครับว่าตอนนี้เป็นอย่างไรและมีนักลงทุน VI ในกรีซไหมครับ
ถ้ามีนักลงทุน VI ในกรีซ ก็อยากรู้มุมมองด้านการลงทุนของเขาบ้าง
ถ้ามีนักลงทุน VI ในกรีซ ก็อยากรู้มุมมองด้านการลงทุนของเขาบ้าง
"สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
-
- Verified User
- โพสต์: 2232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 84
1.นี่คือข้อดีของการลงทุนระยะยาวแหล่ะครับ ลงทุนมานานต้นทุนย่อมต่ำอยู่แล้ว หุ้นลง Wealthแกก็ลดนะครับไม่ใช่ว่าไม่เดือดร้อน แต่แกยึดมั่นหลักการเต็มเหนี่ยวpatongpa เขียน:อาจารย์ท่านปล่อยวางได้เพราะต้นทุนต่ำและก็ไม่ได้กู้ยืมมาซื้อหุ้นครับ พวกเราๆก็ยังต้องกังวลกันต่อ อีกแค่สองอาทิตย์น่าจะรู้ผลเลือกตั้งแล้วล่ะว่ากรีซจะไปทางไหน พวกเล่นช๊อตก็พยามหาข่าวร้ายมาทุบกันเข้าไปเบื่อจริงๆ
2.ใครใช้ให้ท่านๆกู้ยืมมาซื้อล่ะค้าบบบ โลภให้มันถูกเวลาดีกว่ามั้ย
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
- Zhou_Enlai
- Verified User
- โพสต์: 109
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 85
ล่าสุดดัชนี้ตลาดหุ้น Athens Stock Exchange General Index ของ Greece อยู่ที่ 501.90 จุดครับ ลดลงมาจากจุดสูงสุดในรอบ 5 ปีคือช่วงกลางปี 2008 ที่ราวๆ 5,300 จุดครับneong เขียน:ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้นของกรีซบ้างครับว่าตอนนี้เป็นอย่างไรและมีนักลงทุน VI ในกรีซไหมครับ
ถ้ามีนักลงทุน VI ในกรีซ ก็อยากรู้มุมมองด้านการลงทุนของเขาบ้าง
ที่มา: http://www.bloomberg.com/quote/ASE:IND/chart
"ใช้ชีวิตจนแก่เฒ่า ศึกษาจนแก่เฒ่า ดัดแปลงจนแก่เฒ่า" (活到老、学到老、改造到老)
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 87
ขอบคุณ คุณ Zhou_Enlai สำหรับข้อมูลครับ
"สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
- Mp808
- Verified User
- โพสต์: 254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 88
ขอลองวิเคราะห์นะครับ
1) Greece exit Euro
เหมือนกดปุ่ม reset นะครับ
ออกจาก EU แปลว่าเลิกใช้ euro กลับไปสกุลเงินเก่า
จะมี currency devaluation อย่างรุนแรงซึ่งกรีซจะไม่มีปัญญาจ่ายหนี้
แสดงว่า Grexit = automatic default
อันนี้หลายคนน่าจะรู้อยู่แล้ว
ส่วนประเทศอื่นๆใน EU ที่มีปัญหาอยู่จะไม่มี เยอรมัน หรือ ฝรั่งเศส เข้ามาช่วยอีกแล้ว
เพราะว่ามันเหมือน political suicide สำหรับนักการเมืองเยอรมัน&ฝรั่งเศสถ้ายังไปช่วยต่อ
พวกประเทศที่มีปัญหาก็ต้องมองไปที่องค์กรระหว่างประเทศ (IMF, ECB, EFSF, World Bank, etc.) เพื่อความช่วยเหลือ
จะรอดมั้ยไม่รู้
แต่ผมว่าในระยะยาวน่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกฝ่าย
2) Greece stays in EU
ก็จะเป็นอย่างที่เป็นอยู่ไปเรื่อยๆจนกว่าเค้าจะรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ work เพราะว่า Greece สร้าง revenue growth ไม่ได้
Austerity ช่วยบรรเทาอาการแต่มันไม่ใช่คำตอบ
บริษัทอยากโตต้องเพิ่มรายได้ ไม่ใช่แค่ลดต้นทุน
ดีสำหรับระยะสั้น แต่สุดท้ายก็จะกลับเป็นเหมือนเดิม
เหตุผล:
ผมใช้ทฤษฎีของ Michael Porter มาอธิบายสถานการณ์ของกรีซ (และหลายๆประเทศใน EU)
Porter บอกว่าบริษัทที่จะประสบความสำเร็จต้องเป็น 1)low cost provider หรือ 2) differentiated product (niche). ส่วนบริษัทที่ไม่ใช่ทั้งคู่จะติดอยู่ตงกลาง หรือ stuck in the middle.
กรีซ (และหลายๆประเทศ) ไม่ใช่ low cost provider เพราะไม่มี ค่าแรงที่ตํ่า และ ไม่มีทรัพยากร commodity อะไรที่จะทำให้เป็นผู้นำในด้านนี้
กรีซไม่ใช่ niche provider อย่างเช่น high-tech industry, IT hub, Medical hub, Financial hub, หรือ Automobile hub ที่จะทำให้มีเงินด้านนี้เข้ามา
หลายคนพูดว่าควรจะโปรโมทการท่องเที่ยว ซึ่งผมคิดว่าก็ควร แต่มันไม่พอที่จะมาพยุงเศรษฐกิจกรีซได้
ดั้งนั้น ผมสรุปว่ากรีซมีอาการ stuck in the middle
Solution:
วิธีแก้ไขปัญหากรีซของผมอาจจะฟังหลุดโลกนิดนึงนะครับ และเอาจริงๆคงไม่เกิดขึ้นแต่ถ้ามันเกิดขึ้นผมว่าน่าจะช่วยได้
ถ้าเปรียบเทียบกรีซเป็นเสมือนบริษัท ธรรมดา ถ้าบริษัทมีปัญหาทางการเงินกับพื้นฐาน จะมีสองอย่างที่สามารถเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นได้ นั่นคือ 1) ล้มละลาย 2) โดน takeover
ซึ่งที่ผมเสนอคือ economic takeover ของกรีซ โดยประเทศที่มีทรัพยากร แล้วต้องการกรีซเป็น strategic trade location. ยกตัวอย่างเช่น Russia. เพราะผมมองว่ากรีซก็มี location ที่ดีพอสมควร (ระหว่าง ยุโรป กับ ตะวันออกกลาง)
Economic takeover จะเปิดเสรีการลงทุนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และประชากรสามารถย้ายระหว่างประเทศได้ ส่วนรัฐบาลของกรีซก็จะกลายเป็น puppet government ของ Russia ไป
ส่วน Russia ก็ต้องช่วยลงทุนใน infrastructure และอาจจะสร้างท่อนํ้ามัน/แก็สเพิ่ม
อย่างที่บอกครับ มันคงไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ามันเกิด ผมว่ากรีซไม่ตาย
1) Greece exit Euro
เหมือนกดปุ่ม reset นะครับ
ออกจาก EU แปลว่าเลิกใช้ euro กลับไปสกุลเงินเก่า
จะมี currency devaluation อย่างรุนแรงซึ่งกรีซจะไม่มีปัญญาจ่ายหนี้
แสดงว่า Grexit = automatic default
อันนี้หลายคนน่าจะรู้อยู่แล้ว
ส่วนประเทศอื่นๆใน EU ที่มีปัญหาอยู่จะไม่มี เยอรมัน หรือ ฝรั่งเศส เข้ามาช่วยอีกแล้ว
เพราะว่ามันเหมือน political suicide สำหรับนักการเมืองเยอรมัน&ฝรั่งเศสถ้ายังไปช่วยต่อ
พวกประเทศที่มีปัญหาก็ต้องมองไปที่องค์กรระหว่างประเทศ (IMF, ECB, EFSF, World Bank, etc.) เพื่อความช่วยเหลือ
จะรอดมั้ยไม่รู้
แต่ผมว่าในระยะยาวน่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกฝ่าย
2) Greece stays in EU
ก็จะเป็นอย่างที่เป็นอยู่ไปเรื่อยๆจนกว่าเค้าจะรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ work เพราะว่า Greece สร้าง revenue growth ไม่ได้
Austerity ช่วยบรรเทาอาการแต่มันไม่ใช่คำตอบ
บริษัทอยากโตต้องเพิ่มรายได้ ไม่ใช่แค่ลดต้นทุน
ดีสำหรับระยะสั้น แต่สุดท้ายก็จะกลับเป็นเหมือนเดิม
เหตุผล:
ผมใช้ทฤษฎีของ Michael Porter มาอธิบายสถานการณ์ของกรีซ (และหลายๆประเทศใน EU)
Porter บอกว่าบริษัทที่จะประสบความสำเร็จต้องเป็น 1)low cost provider หรือ 2) differentiated product (niche). ส่วนบริษัทที่ไม่ใช่ทั้งคู่จะติดอยู่ตงกลาง หรือ stuck in the middle.
กรีซ (และหลายๆประเทศ) ไม่ใช่ low cost provider เพราะไม่มี ค่าแรงที่ตํ่า และ ไม่มีทรัพยากร commodity อะไรที่จะทำให้เป็นผู้นำในด้านนี้
กรีซไม่ใช่ niche provider อย่างเช่น high-tech industry, IT hub, Medical hub, Financial hub, หรือ Automobile hub ที่จะทำให้มีเงินด้านนี้เข้ามา
หลายคนพูดว่าควรจะโปรโมทการท่องเที่ยว ซึ่งผมคิดว่าก็ควร แต่มันไม่พอที่จะมาพยุงเศรษฐกิจกรีซได้
ดั้งนั้น ผมสรุปว่ากรีซมีอาการ stuck in the middle
Solution:
วิธีแก้ไขปัญหากรีซของผมอาจจะฟังหลุดโลกนิดนึงนะครับ และเอาจริงๆคงไม่เกิดขึ้นแต่ถ้ามันเกิดขึ้นผมว่าน่าจะช่วยได้
ถ้าเปรียบเทียบกรีซเป็นเสมือนบริษัท ธรรมดา ถ้าบริษัทมีปัญหาทางการเงินกับพื้นฐาน จะมีสองอย่างที่สามารถเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นได้ นั่นคือ 1) ล้มละลาย 2) โดน takeover
ซึ่งที่ผมเสนอคือ economic takeover ของกรีซ โดยประเทศที่มีทรัพยากร แล้วต้องการกรีซเป็น strategic trade location. ยกตัวอย่างเช่น Russia. เพราะผมมองว่ากรีซก็มี location ที่ดีพอสมควร (ระหว่าง ยุโรป กับ ตะวันออกกลาง)
Economic takeover จะเปิดเสรีการลงทุนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และประชากรสามารถย้ายระหว่างประเทศได้ ส่วนรัฐบาลของกรีซก็จะกลายเป็น puppet government ของ Russia ไป
ส่วน Russia ก็ต้องช่วยลงทุนใน infrastructure และอาจจะสร้างท่อนํ้ามัน/แก็สเพิ่ม
อย่างที่บอกครับ มันคงไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ามันเกิด ผมว่ากรีซไม่ตาย
Winter is coming...
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 90
ผมก็มีหุ้นfinanceอยู่2ตัวยังไม่ออก เพราะกิจการยังดีอยู่ครับ เเน่นอนเจอวิกฤติ"ราคาหุ้น"มันจะไปก่อน ถ้าเราซื้อกิจการก็ไม่กลัวPekko เขียน:ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
ที่สำคัญD/Eไม่ใช่ตัวหลักที่ต้องดูในหุ้นFinanceบางประเภทเช่นหุ้นที่เอาเงินไปต่อเงิน...บัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ พวกนี้D/E 5-6อยู่เเล้ว สิ่งที่สำคัญคือถ้าบริษัทเหล่านั้นมีเเหล่งเงินกู้มาปล่อยสินเชื่ออยู่ D/Eก็ไม่ใช่ปัญหาครับ...
เช้านี้ไปสัมภาษณ์Mr.Marketมา(เเต่ภาษาอังกฤษผมงูๆปลาๆต้องขอโทษด้วยครับ)
ผม:"Please update about crisis in Euro zone..."
Mr.Market:"Crisis!!! What's crisis? I never said that before...Did you see Dow Jone index last night?The world economic will improve in V shape.Today I will invest more...HA HA HA"
กว่าEuropeจะไม่ไหว...ประเทศสมาชิกจะต้องยื้ออีกนาน ตอนนี้เเค่"No News is good News" นอกจากนี้ข่าวต่างๆจะยังทำให้อารมณ์ของMr.Market Swingอีกหลายรอบ ผมว่าถ้าเราพิจารณาสิ่งที่ ดร.เขียนเราจะไม่เสียโอกาส...
ปล.เมื่อวานซือ(วันที่setติด-26จุด)ผมได้มีโอกาสไปคุยกับเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆ...ทุกคนถือหุ้น 100%เเละทุกคนดูมีความสุขมากครับกับการลงทุน
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o