รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 211
PTTผุดคลังLPG
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, May 04, 2012
ใช้งบ1.8หมื่นล.
เฟส1เสร็จปี’57
ปตท. เร่งผุดคลังเก็บแอลพีจีอีก 5 แสนตัน เสริมความมั่นคงด้านพลังงานประเทศ เผยเฟสแรก 2.5 แสนตันเสร็จภายในต้นปี’57 ทุ่มเงินลงทุนกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่เฟส 2 ยังวุ่นเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง เหตุต้องมีท่าเทียบเรือ
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการขยายคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) และท่าเทียบเรือ ที่เขาบ่อยา ขนาด 2.5 แสนตัน จากปัจจุบันสามารถเก็บแอลพีจีได้ 1.3 แสนตัน ขณะที่ตัวเลขนำเข้าแอลพีจีอยู่ที่ 1.5-1.6 แสนตัน ส่งผลให้ต้องเช่าเรือลอยลำเพื่อรองรับก๊าซที่เหลืออยู่
ทั้งนี้ ตามแผนเดิม ปตท. เตรียมจะลงทุนคลังเก็บแอลพีจีเฟส 1 และเฟส 2 ขนาดแห่งละ 2.5 แสนตัน โดยในส่วนของเฟส 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2557 จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นการขยายพื้นที่ที่เขาบ่อยา แต่ในส่วนของคลังแอลพีจีเฟส 2 ยังติดปัญหาเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากต้องมีท่าเทียบเรือด้วย
“ตอนนี้ ปตท. กำลังเจรจากับภาครัฐเพื่อขอให้ชดเชยการลงทุนให้เหมาะสม เพราะการลงทุนดังกล่าวก็เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เพราะปัจจุบันความต้องการใช้แอลพีจียังเพิ่มขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลมีการทยอยปรับขึ้นราคาขายไปแล้วก็ตาม แต่เรายังประเมินว่ายังมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” นายณัฐชาติ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการขยายสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ปตท. ตั้งเป้าเป็น 500 แห่งภายในสิ้นปีนี้ จากปี 2554 อยู่ที่ 450 แห่ง ขณะที่ความต้องการใช้ในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 7,800 ตันต่อวัน จากปีก่อนอยู่ที่ 6,000 ตันต่อวัน นอกจากนี้หากการขยายท่อก๊าซฯเส้นที่ 4 เสร็จ เชื่อว่าจะมีสถานีแม่เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากได้มีการกำหนดจุดที่จะเป็นสถานีแม่แล้ว เพราะจะได้ไม่ต้องเจาะท่อทีหลังอีก
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในสัมมนาเรื่อง "การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน : ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืน" ว่า ราคาแอลพีจีเป็นปัญหาที่สะสมมานานหลายสิบปี ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรับราคาในส่วนของแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมและขนส่งไปแล้ว แต่ในภาคครัวเรือน จะต้องระวังไม่ให้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อย
โดยรัฐบาลอาจจะช่วยอุดหนุนในระยะแรก เช่น การแจกคูปองหรือใช้บัตรเครดิตพลังงาน ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้แอลพีจีประมาณ 10 กิโลกรัมต่อเดือน โดยรัฐอาจจะช่วยเหลือครัวเรือนละ 100-150 บาทต่อเดือน ซึ่งเลือกช่วยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยโดยยึดเอามาตรฐานการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย มาเป็นเกณฑ์ ส่วนในระยะยาวจะต้องพิจารณาปรับให้สะท้อนต้นทุนที่เป็นจริงมากที่สุด
ส่วนราคาเอ็นจีวี ขณะนี้ต้องยอมรับว่าราคาเอ็นจีวีของไทยต่ำกว่าความเป็นจริง อาจจะต้องปรับราคาให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่รัฐบาลและ ปตท. ควรจะเข้ามาร่วมอุดหนุนบ้าง เพราะประชาชนและผู้ประกอบการขนส่งได้ลงทุนปรับเปลี่ยนรถยนต์เพื่อใช้เอ็นจีวีไปมากแต่จะต้องเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนให้มากที่สุด
นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการศึกษาต้นทุนราคาเอ็นจีวีจะอยู่ระหว่าง 12.50-13.30 บาทต่อกิโลกรัม โดยโครงสร้างราคาแพงที่สุดจะอยู่ที่ 13.30 บาทต่อกิโลกรัมลดลงจากต้นทุนโครงสร้างเดิมที่มากกว่า 14 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคานี้อยู่บนพื้นฐานการคำนวณตามโครงสร้างเดิมของ ปตท. แต่ได้ปรับลดต้นทุนบางส่วนออกไป ส่วนโครงสร้างราคาต่ำที่สุดจะอยู่ที่ 12.50 บาท คำนวณบนพื้นฐานที่ไม่ได้นำราคาแอลเอ็นจีมาร่วมคำนวณ เนื่องจากเห็นว่าก๊าซฯในอ่าวไทย และจากพม่ายังมีเพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ
นอกจากนี้จะต้องเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนรายอื่นเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีให้มากขึ้นและ ปตท. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้ต่ำเท่ากับภาคเอกชน เนื่องจากพบว่าบริษัทเอกชนที่ ปตท. จ้างให้เข้ามาบริหารจัดการมีต้นทุนการบริหารประมาณ 1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ ปตท. มีต้นทุน 2 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ถ้ารวมราคาแอลเอ็นจีราคาก็จะแพงขึ้น 50-70 สตางค์ต่อกิโลกรัม
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, May 04, 2012
ใช้งบ1.8หมื่นล.
เฟส1เสร็จปี’57
ปตท. เร่งผุดคลังเก็บแอลพีจีอีก 5 แสนตัน เสริมความมั่นคงด้านพลังงานประเทศ เผยเฟสแรก 2.5 แสนตันเสร็จภายในต้นปี’57 ทุ่มเงินลงทุนกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่เฟส 2 ยังวุ่นเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง เหตุต้องมีท่าเทียบเรือ
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการขยายคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) และท่าเทียบเรือ ที่เขาบ่อยา ขนาด 2.5 แสนตัน จากปัจจุบันสามารถเก็บแอลพีจีได้ 1.3 แสนตัน ขณะที่ตัวเลขนำเข้าแอลพีจีอยู่ที่ 1.5-1.6 แสนตัน ส่งผลให้ต้องเช่าเรือลอยลำเพื่อรองรับก๊าซที่เหลืออยู่
ทั้งนี้ ตามแผนเดิม ปตท. เตรียมจะลงทุนคลังเก็บแอลพีจีเฟส 1 และเฟส 2 ขนาดแห่งละ 2.5 แสนตัน โดยในส่วนของเฟส 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2557 จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นการขยายพื้นที่ที่เขาบ่อยา แต่ในส่วนของคลังแอลพีจีเฟส 2 ยังติดปัญหาเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากต้องมีท่าเทียบเรือด้วย
“ตอนนี้ ปตท. กำลังเจรจากับภาครัฐเพื่อขอให้ชดเชยการลงทุนให้เหมาะสม เพราะการลงทุนดังกล่าวก็เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เพราะปัจจุบันความต้องการใช้แอลพีจียังเพิ่มขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลมีการทยอยปรับขึ้นราคาขายไปแล้วก็ตาม แต่เรายังประเมินว่ายังมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” นายณัฐชาติ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการขยายสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ปตท. ตั้งเป้าเป็น 500 แห่งภายในสิ้นปีนี้ จากปี 2554 อยู่ที่ 450 แห่ง ขณะที่ความต้องการใช้ในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 7,800 ตันต่อวัน จากปีก่อนอยู่ที่ 6,000 ตันต่อวัน นอกจากนี้หากการขยายท่อก๊าซฯเส้นที่ 4 เสร็จ เชื่อว่าจะมีสถานีแม่เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากได้มีการกำหนดจุดที่จะเป็นสถานีแม่แล้ว เพราะจะได้ไม่ต้องเจาะท่อทีหลังอีก
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในสัมมนาเรื่อง "การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน : ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืน" ว่า ราคาแอลพีจีเป็นปัญหาที่สะสมมานานหลายสิบปี ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรับราคาในส่วนของแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมและขนส่งไปแล้ว แต่ในภาคครัวเรือน จะต้องระวังไม่ให้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อย
โดยรัฐบาลอาจจะช่วยอุดหนุนในระยะแรก เช่น การแจกคูปองหรือใช้บัตรเครดิตพลังงาน ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้แอลพีจีประมาณ 10 กิโลกรัมต่อเดือน โดยรัฐอาจจะช่วยเหลือครัวเรือนละ 100-150 บาทต่อเดือน ซึ่งเลือกช่วยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยโดยยึดเอามาตรฐานการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย มาเป็นเกณฑ์ ส่วนในระยะยาวจะต้องพิจารณาปรับให้สะท้อนต้นทุนที่เป็นจริงมากที่สุด
ส่วนราคาเอ็นจีวี ขณะนี้ต้องยอมรับว่าราคาเอ็นจีวีของไทยต่ำกว่าความเป็นจริง อาจจะต้องปรับราคาให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่รัฐบาลและ ปตท. ควรจะเข้ามาร่วมอุดหนุนบ้าง เพราะประชาชนและผู้ประกอบการขนส่งได้ลงทุนปรับเปลี่ยนรถยนต์เพื่อใช้เอ็นจีวีไปมากแต่จะต้องเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนให้มากที่สุด
นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการศึกษาต้นทุนราคาเอ็นจีวีจะอยู่ระหว่าง 12.50-13.30 บาทต่อกิโลกรัม โดยโครงสร้างราคาแพงที่สุดจะอยู่ที่ 13.30 บาทต่อกิโลกรัมลดลงจากต้นทุนโครงสร้างเดิมที่มากกว่า 14 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคานี้อยู่บนพื้นฐานการคำนวณตามโครงสร้างเดิมของ ปตท. แต่ได้ปรับลดต้นทุนบางส่วนออกไป ส่วนโครงสร้างราคาต่ำที่สุดจะอยู่ที่ 12.50 บาท คำนวณบนพื้นฐานที่ไม่ได้นำราคาแอลเอ็นจีมาร่วมคำนวณ เนื่องจากเห็นว่าก๊าซฯในอ่าวไทย และจากพม่ายังมีเพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ
นอกจากนี้จะต้องเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนรายอื่นเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีให้มากขึ้นและ ปตท. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้ต่ำเท่ากับภาคเอกชน เนื่องจากพบว่าบริษัทเอกชนที่ ปตท. จ้างให้เข้ามาบริหารจัดการมีต้นทุนการบริหารประมาณ 1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ ปตท. มีต้นทุน 2 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ถ้ารวมราคาแอลเอ็นจีราคาก็จะแพงขึ้น 50-70 สตางค์ต่อกิโลกรัม
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 212
คอลัมน์: กระดานข่าว: UAC คาดเริ่มส่งก๊าซฯ ให้ PTT ก.ค.นี้
Source - ไทยโพสต์ (Th), Friday, May 04, 2012
บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอน เคมิคัลส์ (UAC) แจ้งว่า หลังจากลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (MOU) ในการผลิตก๊าซชีวภาพอัดจากฟาร์มสุกร (CBG) จ.เชียงใหม่ ให้กับ บมจ.ปตท. (PTT) เป็นระยะเวลา 15 ปี แต่เพียงผู้เดียวแล้ว โดยบริษัทจะผลิตก๊าซฯ ส่งให้ PTT ภายในเดือน ก.ค.นี้ โดยมีกำลังการผลิตที่ 6-8 ตัน/วัน หรือประมาณ 3,000 ตัน/ปี คาดว่าจะทำรายได้เข้าบริษัทเพิ่มเฉลี่ย 50-60 ล้านบาท/ปี
--จบ--
Source - ไทยโพสต์ (Th), Friday, May 04, 2012
บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอน เคมิคัลส์ (UAC) แจ้งว่า หลังจากลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (MOU) ในการผลิตก๊าซชีวภาพอัดจากฟาร์มสุกร (CBG) จ.เชียงใหม่ ให้กับ บมจ.ปตท. (PTT) เป็นระยะเวลา 15 ปี แต่เพียงผู้เดียวแล้ว โดยบริษัทจะผลิตก๊าซฯ ส่งให้ PTT ภายในเดือน ก.ค.นี้ โดยมีกำลังการผลิตที่ 6-8 ตัน/วัน หรือประมาณ 3,000 ตัน/ปี คาดว่าจะทำรายได้เข้าบริษัทเพิ่มเฉลี่ย 50-60 ล้านบาท/ปี
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 213
ลงทุนQ1ทะลักอีสาน79โครงการ เงินลงทุนสะพัด2.5หมื่นล.บูมผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์
"บีโอไอ" อนุมัติส่งเสริมลงทุนอีสานไตรมาสแรกทะลัก 25,000 ล้านบาท 79 โครงการ อีสานตอนล่างกวาดเรียบ 59 โครงการ โคราชจังหวัดเดียว 26 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 6,500 ล้าน ทุนใหญ่แห่ตั้งฐานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โตต่อเนื่อง "พานาโซนิค-คาสิโอ" ขยายฐานผลิตกว่า 7 พันล้าน
นางสาวชุติมา พุ่มศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 2 (นครราชสีมา) เปิดเผยถึงภาวะการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค. 55) ว่า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 79 โครงการ เงินลงทุน 25,162.8 ล้านบาท การจ้างงาน 15,655 คน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 การอนุมัติโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.71 เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัว
อุตสาหกรรมที่มีเม็ดเงินลงทุนสูงที่สุด ได้แก่ กิจการบริการและสาธารณูปโภค 11,723.6 ล้านบาท จำนวน 21 โครงการ อาทิ กิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล บริษัท ศรีวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด เงินลงทุน 780 ล้านบาท ที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์, กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด 3 โครงการ คือ โคราช 8 เงินลงทุน 645.7 ล้านบาท โคราช 5 เงินลงทุน 645.7 ล้านบาท จังหวัดนครราชสีมา และโครงการอุดรธานี 1 เงินลงทุน 645.7 ล้านบาท
อันดับที่ 2 คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 8,261.8 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตคอนเน็กเตอร์ บริษัท พานาโซนิค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 5,973.9 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น, กิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท จังหวัดนครราชสีมา, กิจการผลิต Head Stack Assembly (HSA) บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดนครราชสีมา และกิจการผลิตซอฟต์แวร์ บริษัท เคเค ซอฟต์ จำกัด เงินลงทุน 1.4 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น
อันดับที่ 3 เกษตรและผลิตผลทางการเกษตร 3,975.7 ล้านบาท 34 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด เงินลงทุน 620 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี, กิจการผลิตยางแท่งและยางผสม บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เงินลงทุน 453.7 ล้านบาท จังหวัดอุดรธานี, กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง บริษัท แก่นศิริ สตาร์ซ จำกัด เงินลงทุน 325.3 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น, กิจการผลิตแป้ง บริษัท ชัยภูมิสตาร์ช จำกัด เงินลงทุน 320 ล้านบาท จังหวัดชัยภูมิ
กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 829.6 ล้านบาท 10 โครงการ และผลิตภัณฑ์โลหะ อุปกรณ์ขนส่ง เงินลงทุน 210 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ตัดเย็บเสื้อผ้า เงินลงทุน 162.1 ล้านบาท 7 โครงการ อาทิ บริษัท เวอร์เท็กซ์ แอพพาเรล 2011 จำกัด เงินลงทุน 43.6 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี, บริษัท ไฮ-เทค ชัยภูมิ แอพพาเรล (2011) จำกัด เงินลงทุน 58.8 ล้านบาท จังหวัดชัยภูมิ
นายวีระยศ อุตระนคร อุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 2,504 โรงงาน เงินลงทุน 141,256.91 ล้านบาท การจ้างงาน 139,334 คน เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2554 จำนวนโรงงานเพิ่มขึ้น 101 โรงงาน เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 21,523.18 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามมีโรงงานเลิกกิจการไตรมาส 1/2555 จำนวน 18 โรงงาน เงินลงทุน 62.97 ล้านบาท คนงานถูกเลิกจ้าง 495 คน
"บีโอไอ" อนุมัติส่งเสริมลงทุนอีสานไตรมาสแรกทะลัก 25,000 ล้านบาท 79 โครงการ อีสานตอนล่างกวาดเรียบ 59 โครงการ โคราชจังหวัดเดียว 26 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 6,500 ล้าน ทุนใหญ่แห่ตั้งฐานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โตต่อเนื่อง "พานาโซนิค-คาสิโอ" ขยายฐานผลิตกว่า 7 พันล้าน
นางสาวชุติมา พุ่มศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 2 (นครราชสีมา) เปิดเผยถึงภาวะการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค. 55) ว่า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 79 โครงการ เงินลงทุน 25,162.8 ล้านบาท การจ้างงาน 15,655 คน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 การอนุมัติโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.71 เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัว
อุตสาหกรรมที่มีเม็ดเงินลงทุนสูงที่สุด ได้แก่ กิจการบริการและสาธารณูปโภค 11,723.6 ล้านบาท จำนวน 21 โครงการ อาทิ กิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล บริษัท ศรีวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด เงินลงทุน 780 ล้านบาท ที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์, กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด 3 โครงการ คือ โคราช 8 เงินลงทุน 645.7 ล้านบาท โคราช 5 เงินลงทุน 645.7 ล้านบาท จังหวัดนครราชสีมา และโครงการอุดรธานี 1 เงินลงทุน 645.7 ล้านบาท
อันดับที่ 2 คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 8,261.8 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตคอนเน็กเตอร์ บริษัท พานาโซนิค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 5,973.9 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น, กิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท จังหวัดนครราชสีมา, กิจการผลิต Head Stack Assembly (HSA) บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดนครราชสีมา และกิจการผลิตซอฟต์แวร์ บริษัท เคเค ซอฟต์ จำกัด เงินลงทุน 1.4 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น
อันดับที่ 3 เกษตรและผลิตผลทางการเกษตร 3,975.7 ล้านบาท 34 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด เงินลงทุน 620 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี, กิจการผลิตยางแท่งและยางผสม บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เงินลงทุน 453.7 ล้านบาท จังหวัดอุดรธานี, กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง บริษัท แก่นศิริ สตาร์ซ จำกัด เงินลงทุน 325.3 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น, กิจการผลิตแป้ง บริษัท ชัยภูมิสตาร์ช จำกัด เงินลงทุน 320 ล้านบาท จังหวัดชัยภูมิ
กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 829.6 ล้านบาท 10 โครงการ และผลิตภัณฑ์โลหะ อุปกรณ์ขนส่ง เงินลงทุน 210 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ตัดเย็บเสื้อผ้า เงินลงทุน 162.1 ล้านบาท 7 โครงการ อาทิ บริษัท เวอร์เท็กซ์ แอพพาเรล 2011 จำกัด เงินลงทุน 43.6 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี, บริษัท ไฮ-เทค ชัยภูมิ แอพพาเรล (2011) จำกัด เงินลงทุน 58.8 ล้านบาท จังหวัดชัยภูมิ
นายวีระยศ อุตระนคร อุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 2,504 โรงงาน เงินลงทุน 141,256.91 ล้านบาท การจ้างงาน 139,334 คน เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2554 จำนวนโรงงานเพิ่มขึ้น 101 โรงงาน เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 21,523.18 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามมีโรงงานเลิกกิจการไตรมาส 1/2555 จำนวน 18 โรงงาน เงินลงทุน 62.97 ล้านบาท คนงานถูกเลิกจ้าง 495 คน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 214
เดินหน้าโปรเจ็กต์วางท่อน้ำมัน ปตท.รับซื้อหุ้นแทปไลน์ยังไม่คืบ
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, May 05, 2012
"อารักษ์"ยันไม่ทิ้งโครงการท่อส่งน้ำมันไปเหนือและอีสานเดินหน้ามอบให้ปตท.ไปศึกษาขณะที่การไล่ซื้อหุ้นในแทปไลน์ของปตท.เพื่อให้มีสิทธิ์เด็ดขาดในการบริหารยังไม่คืบผู้ถือหุ้นยังไม่มีใครเสนอขายเคาะราคากลางไม่ได้ขณะที่กรมธุรกิจพลังงานอยู่ระหว่างศึกษาข้อดี-เสียก่อนส่งกระทรวงสรุปด้านรองปลัดกระทรวงพลังงานแนะให้รัฐลงทุนเองกว่าหมื่นล้านมั่นใจช่วยลดค่าน้ำมันได้ 20 สตางค์ต่อลิตร
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กระทรวงพลังงานจะยังสานต่อนโยบายการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตามนโยบายของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อน เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จะยกเลิกโครงการดังกล่าวเนื่องจากจะช่วยให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันต่อไปในอนาคตมากขึ้น โดยได้มอบหมายให้ทางบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)ไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนแล้ว
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายการสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น เป็นแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อนในช่วงปี 2554 โดยขณะนั้นนายพิชัย ได้สั่งการให้บมจ.ปตท.ไประดมซื้อหุ้นในบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือแทปไลน์ เพิ่มเติมให้เกินกว่า 50% จากปัจจุบันที่ปตท.ถืออยู่30%เพื่อให้บมจ.ปตท.มีสิทธิ์เสียงข้างมากในการบริหารแทปไลน์
อย่างไรก็ตามกรมธุรกิจพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาการสร้างท่อส่งน้ำมันดังกล่าวว่ามีความจำเป็นแค่ไหนและใครจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งท่อส่งน้ำมันและ
คลังกระจายน้ำมันที่ควรมีกว่า4-5 คลังที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาทรวมถึงภาระค่าลงทุนจะกระทบต่อประชา
ชนอย่างไรบ้างทั้งนี้ท่อส่งน้ำมันของแทปไลน์ปัจจุบันมีระยะทางจากจังหวัดระยองไปลำลูกกาและไปสิ้นสุดที่จังหวัดสระบุรีโดยกระทรวงพลังงานเห็นว่าควรเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันดังกล่าวไปยังจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปางและเชื่อมต่อกับภาคอีสานในจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่น ซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการทำให้ราคาน้ำมันในต่างจังหวัดลดลงได้ 20 สตางค์ต่อลิตร
โดยเห็นว่าการลงทุนท่อส่งน้ำมันควรให้ภาครัฐลงทุนเพราะเป็นเรื่องของสาธารณูปโภค และอาจเปิดสัมปทานให้บมจ.ปตท. หรือแทปไลน์ เป็นผู้ดูแลบริหาร
ได้ ซึ่งจะลดผลกระทบจากค่าลงทุนที่จะผลักภาระไปที่ผู้บริโภคได้ และยังทำให้ราคาน้ำมันในต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลมีราคาถูกลงเนื่องจากมีคลังน้ำมันกระจาย
ตามพื้นที่แนวท่อน้ำมัน4-5 แห่งและรถขนส่งน้ำมันจะวิ่งในระยะทางสั้นลงในรัศมี100 กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนท่อน้ำมันจะฝังลงใต้ดินความลึกไม่ต่ำกว่า1 เมตร เชื่อว่าเป็นระยะที่ปลอดภัย นอกจากนี้จะมีการห้ามทำการก่อสร้างตามแนวท่อเด็ดขาดด้วย
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า บมจ.ปตท.ยังคงเปิดรับซื้อหุ้นจากแทปไลน์ไม่ได้เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการศึกษาราคาหุ้นที่คุ้มค่าอยู่นอกจากนี้กรมยังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดี เสียและผลกระทบต่างๆอยู่หากได้ข้อสรุปจะส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาต่อไป
ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า บมจ.ปตท.ยังสนใจซื้อหุ้นจากบริษัทแทปไลน์ฯอยู่เนื่องจากเป็นนโยบายของภาครัฐที่จะให้บมจ.ปตท.เข้าไปถือหุ้นใหญ่ของแทปไลน์เพื่อมีอำนาจในการบริหารอย่างไรก็ตามหากนโยบายของภาครัฐไม่เปลี่ยนแปลงบมจ.ปตท.ยังคงทำตามนโยบายต่อไป
สอดคล้องกับนายเทวินทร์วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด(มหาชน) และนายณัฐชาติจารุจินดาประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายบมจ.ปตท.ที่ออกมายืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าในการซื้อขายหุ้นแต่อย่างใดซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะทราบความชัดเจนได้
--จบ--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, May 05, 2012
"อารักษ์"ยันไม่ทิ้งโครงการท่อส่งน้ำมันไปเหนือและอีสานเดินหน้ามอบให้ปตท.ไปศึกษาขณะที่การไล่ซื้อหุ้นในแทปไลน์ของปตท.เพื่อให้มีสิทธิ์เด็ดขาดในการบริหารยังไม่คืบผู้ถือหุ้นยังไม่มีใครเสนอขายเคาะราคากลางไม่ได้ขณะที่กรมธุรกิจพลังงานอยู่ระหว่างศึกษาข้อดี-เสียก่อนส่งกระทรวงสรุปด้านรองปลัดกระทรวงพลังงานแนะให้รัฐลงทุนเองกว่าหมื่นล้านมั่นใจช่วยลดค่าน้ำมันได้ 20 สตางค์ต่อลิตร
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กระทรวงพลังงานจะยังสานต่อนโยบายการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตามนโยบายของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อน เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จะยกเลิกโครงการดังกล่าวเนื่องจากจะช่วยให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันต่อไปในอนาคตมากขึ้น โดยได้มอบหมายให้ทางบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)ไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนแล้ว
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายการสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น เป็นแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อนในช่วงปี 2554 โดยขณะนั้นนายพิชัย ได้สั่งการให้บมจ.ปตท.ไประดมซื้อหุ้นในบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือแทปไลน์ เพิ่มเติมให้เกินกว่า 50% จากปัจจุบันที่ปตท.ถืออยู่30%เพื่อให้บมจ.ปตท.มีสิทธิ์เสียงข้างมากในการบริหารแทปไลน์
อย่างไรก็ตามกรมธุรกิจพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาการสร้างท่อส่งน้ำมันดังกล่าวว่ามีความจำเป็นแค่ไหนและใครจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งท่อส่งน้ำมันและ
คลังกระจายน้ำมันที่ควรมีกว่า4-5 คลังที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาทรวมถึงภาระค่าลงทุนจะกระทบต่อประชา
ชนอย่างไรบ้างทั้งนี้ท่อส่งน้ำมันของแทปไลน์ปัจจุบันมีระยะทางจากจังหวัดระยองไปลำลูกกาและไปสิ้นสุดที่จังหวัดสระบุรีโดยกระทรวงพลังงานเห็นว่าควรเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันดังกล่าวไปยังจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปางและเชื่อมต่อกับภาคอีสานในจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่น ซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการทำให้ราคาน้ำมันในต่างจังหวัดลดลงได้ 20 สตางค์ต่อลิตร
โดยเห็นว่าการลงทุนท่อส่งน้ำมันควรให้ภาครัฐลงทุนเพราะเป็นเรื่องของสาธารณูปโภค และอาจเปิดสัมปทานให้บมจ.ปตท. หรือแทปไลน์ เป็นผู้ดูแลบริหาร
ได้ ซึ่งจะลดผลกระทบจากค่าลงทุนที่จะผลักภาระไปที่ผู้บริโภคได้ และยังทำให้ราคาน้ำมันในต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลมีราคาถูกลงเนื่องจากมีคลังน้ำมันกระจาย
ตามพื้นที่แนวท่อน้ำมัน4-5 แห่งและรถขนส่งน้ำมันจะวิ่งในระยะทางสั้นลงในรัศมี100 กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนท่อน้ำมันจะฝังลงใต้ดินความลึกไม่ต่ำกว่า1 เมตร เชื่อว่าเป็นระยะที่ปลอดภัย นอกจากนี้จะมีการห้ามทำการก่อสร้างตามแนวท่อเด็ดขาดด้วย
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า บมจ.ปตท.ยังคงเปิดรับซื้อหุ้นจากแทปไลน์ไม่ได้เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการศึกษาราคาหุ้นที่คุ้มค่าอยู่นอกจากนี้กรมยังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดี เสียและผลกระทบต่างๆอยู่หากได้ข้อสรุปจะส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาต่อไป
ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า บมจ.ปตท.ยังสนใจซื้อหุ้นจากบริษัทแทปไลน์ฯอยู่เนื่องจากเป็นนโยบายของภาครัฐที่จะให้บมจ.ปตท.เข้าไปถือหุ้นใหญ่ของแทปไลน์เพื่อมีอำนาจในการบริหารอย่างไรก็ตามหากนโยบายของภาครัฐไม่เปลี่ยนแปลงบมจ.ปตท.ยังคงทำตามนโยบายต่อไป
สอดคล้องกับนายเทวินทร์วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด(มหาชน) และนายณัฐชาติจารุจินดาประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายบมจ.ปตท.ที่ออกมายืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าในการซื้อขายหุ้นแต่อย่างใดซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะทราบความชัดเจนได้
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 215
เข้มสารพิษรั่ว มาบตาพุดบึ้ม ชงสอบ'เคมี'ตกค้าง เสียชีวิตทะลุ12 บาดเจ็บพุ่ง141
Source - พิมพ์ไทย (Th), Monday, May 07, 2012
"เจ๊ปู" ลุยตรวจพื้นที่นิคมฯมาบตาพุด หลังเกิดเหตุบึ้ม บอกเสียใจผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บ สั่งตั้งกก.สำรวจเข้มมลพิษตกค้างอุตฯ สั่งปิด รง.ระเบิดแล้ว ผู้ว่าการนิคมฯยัน"เอาอยู่" ชี้รุนแรงระดับ 2แผนฉุกเฉิน ส่วนสารพิษรั่วไหลควบคุมได้เกณฑ์ปกติ "พลังงาน" ยันไม่กระทบ คลังก๊าซปตท.-ปิโตรเคมี ขณะที่เหยื่อระเบิดตายพุ่งทะลุ12 ศพ เจ็บ 141 ราย ด้าน "ส.ต้านโลกร้อน"บี้ กนอ. ถอนใบอนุญาต"บีเอสที" พร้อมจี้หน่วยงานรัฐจ่ายชดเชยเยียวยาคนงานและชุมชนอัตราสูงสุด
เมื่อเวลา 09.45 น.วันที่ 6 พฤษภาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายยงยุทธวิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทย และ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ จากกองบินตำรวจ เพื่อเดินทางไปตรวจพื้นที่นิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ในช่วงบ่ายของเมื่อวานนี้
(5 พ.ค.) โดยภารกิจของนายกฯในครั้งนี้ มีกำหนดการไปไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ รพ.มาบตาพุด และเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สำนักงานนิคมอุสหกรรมมาบตาพุด และมีกำหนดเดินทางกลับกรุงเทพฯไม่เนเวลา 14.00 น.
เมื่อเวลา 13.28 น.วันเดียวกัน นายกฯได้ทวิตข้อความลงในทวิตเตอร์ @PouYingluck ขณะลงพื้นที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เหตุระเบิดที่โรงงานภาย ในนิคมฯมาบตาพุด ว่า"ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตในเหตุระเบิดและเกิดเพลิงไหม้.."..และขอให้กำลังใจพี่น้องประชาชนชาวมาบตาพุดทุกคนค่ะ
"เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับปชช.ได้สั่งตั้งคกก.ไตรภาคี กรมควบคุมมลพิษ ก.อุตฯและภาคปชช.สำรวจมลพิษและสารตกค้างว่ายังคงตกค้างอยู่หรือไม่ พร้อมมอบ สาธารณสุขตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพปชช.10ชุมชนใกล้เคียง"
อุตฯพงษ์สวัสดิ์สั่งปิดรง.ระเบิดแล้ว
เมื่อเวลา 09.00 น. วันเดียวกัน ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์สวัสดิ์วัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าก่อนลงพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ร่วมกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร นายกฯ และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทยว่า ล่าสุดได้สั่งการให้ปิดโรงงานของบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยองแล้ว หลังเกิดเหตุระเบิด พร้อมสั่งการตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยของทุกโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบสารไฮโดร คาร์บอนด์ ประมาณ 10 - 20 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เป็นอันตราย และไม่พบสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งนอกจากนี้ทางนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ตั้งทีมเฝ้าระวัง ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งคาดว่าประชาชนน่าจะสามารถกลับเข้าบ้านเรือนและชุมชนได้ภายในวันนี้(6พ.ค.)
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า นายกฯได้สั่งการให้ไปดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ และการป้องกันเรื่องมลพิษ โดยในขณะนี้ในพื้นที่เองก็ยังมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครติดตาม ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้มีตัวเลขผู้เสียชีวิตขณะนี้มีผู้เสียชีวิต 12 คน โดยเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 9 คน ที่โรงพยาบาล 3 คนส่วนผู้ป่วยมีจำนวน 105 คน ส่วนใหญ่เกิดจากการสูดดมสาร เคมีเข้าไป จึงมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลอีก 25 คน ในห้องไอซียู 3 คน ส่วนที่เหลือสามารถกลับบ้านได้แล้ว
ยันรุนแรงระดับ 2 ของแผนฉุกเฉิน
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวยืนยันว่า เพลิงได้สงบลงแล้วตั้งแต่ช่วงเช้ามืด ซึ่งความเสียหายทั้งหมดจะต้องสำรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทั้งหมดแล้ว และอพยพประชาชนบางส่วนออกจากพื้นที่
ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าว ความรุนแรงอยู่ในระดับที่ 2 ของแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งถือว่าอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ การรั่วไหลของสารเคมียังอยู่ในเกณฑ์ ปกติ ขณะที่อุปกรณ์ในการควบคุมเพลิง ยืนยันว่า ในพื้นที่มีการประสานงานกันอย่างดี และมีอุปกรณ์เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์อย่างเต็มที่แล้ว
ด้านชุมชนที่อยู่โดยรอบนิคมฯ พบว่ามีการอพยพประชาชนเพื่อความปลอดภัยจำรวน 12 ชุมชนโดยที่ไม่มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวส่วนกรณ๊ สารพิษโทลูอินรั่วไหลจากเหตุเพลิงไหม้ อาจส่งผลกระทบระบบการหายใจ หากสูดในบปริมาณน้อยถ้ารับในปริมาณสูงเสียชีวิตได้
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าว อยู่ห่างจากโรงงานปิโตรเคมี และคลังก๊าซ ปตท.ระดับ 1 และยังอยู่ห่างจากโรงงาน ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่นอกนิคม ซึ่งจากการสอบถามผู้บริหารบริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า โรงงานขที่อยู่ ใกล้พื้นที่เกิดเหตุปลอดภัย
เหยื่อระเบิดมาบตาพุดตายพุ่ง12 เจ็บ141
ด้านนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุขถึงความคืบหน้าเหตุการณ์ระเบิดดังกล่าวว่าได้รับรายงานว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จำนวน 141 ราย โดยเป็น ผู้เสียชีวิต 12 ราย ดังนี้
โรงพยาบาลระยอง เสียชีวิต 1 ราย คือนายไชโย อักษรศรี ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง เสียชีวิต 2 ราย คือ นายสนม น้อยจำนง และนายสมพงษ์ พรหมขำที่เหลือ อีก 9 ราย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรีหัสนัย จันทร์เศรษฐี นายนพพล รุ่งระวี นายศรายุทธอุนายา นายวัชรากร บุญทวีตระกูล นายขวัญประชา ชาติไทย นาย ธีรยุทธ จันทร์สิงห์ นายมานพ กลูไข่ นายเอกสิทธิ บุพโกสุม และอีก 1 รายยังไม่ทราบชื่อ
ในส่วนของผู้บาดเจ็บ มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมารับการตรวจที่โรงพยาบาล ทั้งหมด 129 ราย แพทย์รักษาและให้กลับบ้านแล้ว 99 ราย โดยในวันนี้เหลือผู้บาดเจ็บ นอน พักรักษาที่โรงพยาบาล 30 ราย ที่โรงพยาบาลระยอง 7 ราย โรงพยาบาลมาบตาพุด 5 ราย โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง 17 ราย โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ1 ราย ส่วนใหญ่บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ ทั้งหมดอาการปลอดภัย และในวันนี้โรงพยาบาลมาบตาพุดจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชนที่เจ็บป่วยจากเหตุการณ์ที่ บริเวณศาลเจ้าแม่จันเพ ตำบลมาบตาพุด
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวด้วยว่า ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ ขอให้ผู้บาดเจ็บและญาติไม่ต้องเป็นกังวล รัฐบาลนำโดยนายกฯพร้อมให้การดูแลตามนโยบาย 3 กองทุนสุขภาพ โดยในวันนี้ นายกฯได้ลงพื้นที่ติดตามและเยี่ยมผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์โรงงานระเบิดในครั้งนี้ด้วย
ส.ต่อต้านโลกร้อนจี้ถอนใบอนุญาต
ทางด้านสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน โดยนายศณีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคม ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง"กนอ.ต้องเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานบีเอสทีของบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ที่ระเบิดในมาบตาพุด"
แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ตามที่ได้เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ของบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด จ.ระยอง จนทำให้มีคนงานเสียชีวิตไป 5 คนและบาดเจ็บไปกว่า 70 คนเมื่อบ่ายวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมิใช่เป็นเหตุครั้งแรกของบริษัทนี้เพราะเมื่อวันที่ 5-6 มี.ค. 2552 ก็เคยเกิดสารเคมีรั่วไหล ขณะขนถ่ายสารเคมีขึ้นมาจากท่าเรือมาบตาพุดแล้วครั้งหนึ่ง
จากการตรวจสอบของสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนพบว่าโรงงานดังกล่าวเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทย-สิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์ในการนำมิกซ์ซีโฟว์ จากโรงงาน ผลิตโอเลฟินส์ มาสกัดหรือแปรรูปให้เป็นอนุพันธ์ซีโฟว์ต่างๆ และราฟฟิเนท-1 เช่น สาร 1,3 บิวทาไดอีน สารเอ็มทีบีอี และบิวทีน-1 และมีสารซี 4-แอลพีจีและสาร 1,2 บิวทาไดอีน นอกจากนี้ยังได้มีการขยายธุรกิจผลิตยางสังเคราะห์ E-SBR (Emulsion StyreneButadiene Rubber) และ ยางสังเคราะห์ BR (Polybutadiene Rubber)ภาย ใต้ชื่อ บริษัท บีเอสทีอิลาสโตเมอร์ จำกัดด้วย
เมื่อโรงงานดังกล่าวเกิดการระเบิดและไฟไหม้จะก่อและแพร่กระจายมลพิษออกมามากมายประกอบไปด้วย 1)ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 2)ฝุ่นละอองรวม (TSP) 3)สาร Non Methane Hydrocarbon (NMHC) 4)สาร Methyl Tertiary Butyl Ether (MTBE)5)สาร Total Hydrocarbon (THC) 6)สาร 1,3 บิวทาไดอีน ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็ง ที่เป็นอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง 19 ชนิดตามประกาศของกรมควบคุมมลพิษ
ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวได้ขอขยายโรงงานและการผลิตเพิ่มเติม โดยได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)และการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมานี้เองซึ่งจากเอกสารรายงาน EHIA ดังกล่าวถูกคณะกรรมการองค์การอิสระ ด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(กอสส.) ได้ท้วงติงความไม่สมบูรณ์หลายประการ และรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการระเบิด และไฟไหม้จนทำให้คนงานต้องมาเสียชีวิต และบาดเจ็บ เป็นจำนวนมากนี้ ชี้ให้เห็นว่าโรงงานดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างหรือขยายกิจการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้อีกต่อไป
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐผู้กำกับดูแลและให้ใบอนุญาต คือ กนอ. และกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานดังกล่าวโดยทันที เพื่อปกป้องวิถี ชีวิตของชาวบ้านใน 30 กว่าชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่มาบตาพุดและคนงานต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อการจัดการโรงงาน ที่ผิดพลาดล้มเหลวต่อ โรงงานอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งบริษัทที่ให้ใบรับรองISO 14001 และ ISO/OHSAS 18001 แก่โรงงานดังกล่าวก็จะต้องพิจารณาตรวจสอบและทบทวนการ ให้ใบรับรอง ดังกล่าวด้วย รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมก็จะต้องทบทวนการเป็นสมาชิกในโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry ของโรงงานดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐดังกล่าวต้องกำกับดูแลให้บริษัทดังกล่าวจ่ายค่าชดเชยเยียวยาให้กับคนงานที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งค่าตกใจให้กับชาวชุมชนมาบตาพุด โดย รอบในอัตราสูงสุด ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกอบพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 กำหนดด้วย
อนึ่งสมาคมฯ จักได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการและจี้ให้ กนอ. และ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรมเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานดังกล่าวต่อไปรวมทั้งจักยื่นเรื่องต่อศาล ปกครองสูงสุด ในคดีที่สมาคมร่วมกับชาวบ้าน 43 รายได้ฟ้องร้องหน่วยงานรัฐดังกล่าวต่อศาลปกครองแล้วต่อไปด้วย
Source - พิมพ์ไทย (Th), Monday, May 07, 2012
"เจ๊ปู" ลุยตรวจพื้นที่นิคมฯมาบตาพุด หลังเกิดเหตุบึ้ม บอกเสียใจผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บ สั่งตั้งกก.สำรวจเข้มมลพิษตกค้างอุตฯ สั่งปิด รง.ระเบิดแล้ว ผู้ว่าการนิคมฯยัน"เอาอยู่" ชี้รุนแรงระดับ 2แผนฉุกเฉิน ส่วนสารพิษรั่วไหลควบคุมได้เกณฑ์ปกติ "พลังงาน" ยันไม่กระทบ คลังก๊าซปตท.-ปิโตรเคมี ขณะที่เหยื่อระเบิดตายพุ่งทะลุ12 ศพ เจ็บ 141 ราย ด้าน "ส.ต้านโลกร้อน"บี้ กนอ. ถอนใบอนุญาต"บีเอสที" พร้อมจี้หน่วยงานรัฐจ่ายชดเชยเยียวยาคนงานและชุมชนอัตราสูงสุด
เมื่อเวลา 09.45 น.วันที่ 6 พฤษภาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายยงยุทธวิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทย และ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ จากกองบินตำรวจ เพื่อเดินทางไปตรวจพื้นที่นิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ในช่วงบ่ายของเมื่อวานนี้
(5 พ.ค.) โดยภารกิจของนายกฯในครั้งนี้ มีกำหนดการไปไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ รพ.มาบตาพุด และเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สำนักงานนิคมอุสหกรรมมาบตาพุด และมีกำหนดเดินทางกลับกรุงเทพฯไม่เนเวลา 14.00 น.
เมื่อเวลา 13.28 น.วันเดียวกัน นายกฯได้ทวิตข้อความลงในทวิตเตอร์ @PouYingluck ขณะลงพื้นที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เหตุระเบิดที่โรงงานภาย ในนิคมฯมาบตาพุด ว่า"ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตในเหตุระเบิดและเกิดเพลิงไหม้.."..และขอให้กำลังใจพี่น้องประชาชนชาวมาบตาพุดทุกคนค่ะ
"เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับปชช.ได้สั่งตั้งคกก.ไตรภาคี กรมควบคุมมลพิษ ก.อุตฯและภาคปชช.สำรวจมลพิษและสารตกค้างว่ายังคงตกค้างอยู่หรือไม่ พร้อมมอบ สาธารณสุขตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพปชช.10ชุมชนใกล้เคียง"
อุตฯพงษ์สวัสดิ์สั่งปิดรง.ระเบิดแล้ว
เมื่อเวลา 09.00 น. วันเดียวกัน ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์สวัสดิ์วัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าก่อนลงพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ร่วมกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร นายกฯ และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทยว่า ล่าสุดได้สั่งการให้ปิดโรงงานของบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยองแล้ว หลังเกิดเหตุระเบิด พร้อมสั่งการตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยของทุกโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบสารไฮโดร คาร์บอนด์ ประมาณ 10 - 20 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เป็นอันตราย และไม่พบสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งนอกจากนี้ทางนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ตั้งทีมเฝ้าระวัง ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งคาดว่าประชาชนน่าจะสามารถกลับเข้าบ้านเรือนและชุมชนได้ภายในวันนี้(6พ.ค.)
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า นายกฯได้สั่งการให้ไปดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ และการป้องกันเรื่องมลพิษ โดยในขณะนี้ในพื้นที่เองก็ยังมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครติดตาม ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้มีตัวเลขผู้เสียชีวิตขณะนี้มีผู้เสียชีวิต 12 คน โดยเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 9 คน ที่โรงพยาบาล 3 คนส่วนผู้ป่วยมีจำนวน 105 คน ส่วนใหญ่เกิดจากการสูดดมสาร เคมีเข้าไป จึงมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลอีก 25 คน ในห้องไอซียู 3 คน ส่วนที่เหลือสามารถกลับบ้านได้แล้ว
ยันรุนแรงระดับ 2 ของแผนฉุกเฉิน
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวยืนยันว่า เพลิงได้สงบลงแล้วตั้งแต่ช่วงเช้ามืด ซึ่งความเสียหายทั้งหมดจะต้องสำรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทั้งหมดแล้ว และอพยพประชาชนบางส่วนออกจากพื้นที่
ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าว ความรุนแรงอยู่ในระดับที่ 2 ของแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งถือว่าอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ การรั่วไหลของสารเคมียังอยู่ในเกณฑ์ ปกติ ขณะที่อุปกรณ์ในการควบคุมเพลิง ยืนยันว่า ในพื้นที่มีการประสานงานกันอย่างดี และมีอุปกรณ์เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์อย่างเต็มที่แล้ว
ด้านชุมชนที่อยู่โดยรอบนิคมฯ พบว่ามีการอพยพประชาชนเพื่อความปลอดภัยจำรวน 12 ชุมชนโดยที่ไม่มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวส่วนกรณ๊ สารพิษโทลูอินรั่วไหลจากเหตุเพลิงไหม้ อาจส่งผลกระทบระบบการหายใจ หากสูดในบปริมาณน้อยถ้ารับในปริมาณสูงเสียชีวิตได้
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าว อยู่ห่างจากโรงงานปิโตรเคมี และคลังก๊าซ ปตท.ระดับ 1 และยังอยู่ห่างจากโรงงาน ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่นอกนิคม ซึ่งจากการสอบถามผู้บริหารบริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า โรงงานขที่อยู่ ใกล้พื้นที่เกิดเหตุปลอดภัย
เหยื่อระเบิดมาบตาพุดตายพุ่ง12 เจ็บ141
ด้านนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุขถึงความคืบหน้าเหตุการณ์ระเบิดดังกล่าวว่าได้รับรายงานว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จำนวน 141 ราย โดยเป็น ผู้เสียชีวิต 12 ราย ดังนี้
โรงพยาบาลระยอง เสียชีวิต 1 ราย คือนายไชโย อักษรศรี ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง เสียชีวิต 2 ราย คือ นายสนม น้อยจำนง และนายสมพงษ์ พรหมขำที่เหลือ อีก 9 ราย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรีหัสนัย จันทร์เศรษฐี นายนพพล รุ่งระวี นายศรายุทธอุนายา นายวัชรากร บุญทวีตระกูล นายขวัญประชา ชาติไทย นาย ธีรยุทธ จันทร์สิงห์ นายมานพ กลูไข่ นายเอกสิทธิ บุพโกสุม และอีก 1 รายยังไม่ทราบชื่อ
ในส่วนของผู้บาดเจ็บ มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมารับการตรวจที่โรงพยาบาล ทั้งหมด 129 ราย แพทย์รักษาและให้กลับบ้านแล้ว 99 ราย โดยในวันนี้เหลือผู้บาดเจ็บ นอน พักรักษาที่โรงพยาบาล 30 ราย ที่โรงพยาบาลระยอง 7 ราย โรงพยาบาลมาบตาพุด 5 ราย โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง 17 ราย โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ1 ราย ส่วนใหญ่บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ ทั้งหมดอาการปลอดภัย และในวันนี้โรงพยาบาลมาบตาพุดจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชนที่เจ็บป่วยจากเหตุการณ์ที่ บริเวณศาลเจ้าแม่จันเพ ตำบลมาบตาพุด
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวด้วยว่า ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ ขอให้ผู้บาดเจ็บและญาติไม่ต้องเป็นกังวล รัฐบาลนำโดยนายกฯพร้อมให้การดูแลตามนโยบาย 3 กองทุนสุขภาพ โดยในวันนี้ นายกฯได้ลงพื้นที่ติดตามและเยี่ยมผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์โรงงานระเบิดในครั้งนี้ด้วย
ส.ต่อต้านโลกร้อนจี้ถอนใบอนุญาต
ทางด้านสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน โดยนายศณีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคม ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง"กนอ.ต้องเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานบีเอสทีของบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ที่ระเบิดในมาบตาพุด"
แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ตามที่ได้เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ของบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด จ.ระยอง จนทำให้มีคนงานเสียชีวิตไป 5 คนและบาดเจ็บไปกว่า 70 คนเมื่อบ่ายวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมิใช่เป็นเหตุครั้งแรกของบริษัทนี้เพราะเมื่อวันที่ 5-6 มี.ค. 2552 ก็เคยเกิดสารเคมีรั่วไหล ขณะขนถ่ายสารเคมีขึ้นมาจากท่าเรือมาบตาพุดแล้วครั้งหนึ่ง
จากการตรวจสอบของสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนพบว่าโรงงานดังกล่าวเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทย-สิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์ในการนำมิกซ์ซีโฟว์ จากโรงงาน ผลิตโอเลฟินส์ มาสกัดหรือแปรรูปให้เป็นอนุพันธ์ซีโฟว์ต่างๆ และราฟฟิเนท-1 เช่น สาร 1,3 บิวทาไดอีน สารเอ็มทีบีอี และบิวทีน-1 และมีสารซี 4-แอลพีจีและสาร 1,2 บิวทาไดอีน นอกจากนี้ยังได้มีการขยายธุรกิจผลิตยางสังเคราะห์ E-SBR (Emulsion StyreneButadiene Rubber) และ ยางสังเคราะห์ BR (Polybutadiene Rubber)ภาย ใต้ชื่อ บริษัท บีเอสทีอิลาสโตเมอร์ จำกัดด้วย
เมื่อโรงงานดังกล่าวเกิดการระเบิดและไฟไหม้จะก่อและแพร่กระจายมลพิษออกมามากมายประกอบไปด้วย 1)ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 2)ฝุ่นละอองรวม (TSP) 3)สาร Non Methane Hydrocarbon (NMHC) 4)สาร Methyl Tertiary Butyl Ether (MTBE)5)สาร Total Hydrocarbon (THC) 6)สาร 1,3 บิวทาไดอีน ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็ง ที่เป็นอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง 19 ชนิดตามประกาศของกรมควบคุมมลพิษ
ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวได้ขอขยายโรงงานและการผลิตเพิ่มเติม โดยได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)และการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมานี้เองซึ่งจากเอกสารรายงาน EHIA ดังกล่าวถูกคณะกรรมการองค์การอิสระ ด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(กอสส.) ได้ท้วงติงความไม่สมบูรณ์หลายประการ และรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการระเบิด และไฟไหม้จนทำให้คนงานต้องมาเสียชีวิต และบาดเจ็บ เป็นจำนวนมากนี้ ชี้ให้เห็นว่าโรงงานดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างหรือขยายกิจการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้อีกต่อไป
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐผู้กำกับดูแลและให้ใบอนุญาต คือ กนอ. และกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานดังกล่าวโดยทันที เพื่อปกป้องวิถี ชีวิตของชาวบ้านใน 30 กว่าชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่มาบตาพุดและคนงานต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อการจัดการโรงงาน ที่ผิดพลาดล้มเหลวต่อ โรงงานอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งบริษัทที่ให้ใบรับรองISO 14001 และ ISO/OHSAS 18001 แก่โรงงานดังกล่าวก็จะต้องพิจารณาตรวจสอบและทบทวนการ ให้ใบรับรอง ดังกล่าวด้วย รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมก็จะต้องทบทวนการเป็นสมาชิกในโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry ของโรงงานดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐดังกล่าวต้องกำกับดูแลให้บริษัทดังกล่าวจ่ายค่าชดเชยเยียวยาให้กับคนงานที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งค่าตกใจให้กับชาวชุมชนมาบตาพุด โดย รอบในอัตราสูงสุด ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกอบพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 กำหนดด้วย
อนึ่งสมาคมฯ จักได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการและจี้ให้ กนอ. และ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรมเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานดังกล่าวต่อไปรวมทั้งจักยื่นเรื่องต่อศาล ปกครองสูงสุด ในคดีที่สมาคมร่วมกับชาวบ้าน 43 รายได้ฟ้องร้องหน่วยงานรัฐดังกล่าวต่อศาลปกครองแล้วต่อไปด้วย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 216
พลังงานของบกองทุนน้ำมัน180ล้านอุดหนุนเอทานอล
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, May 08, 2012
ช่วยระบายมันสำปะหลัง 1.5 แสนตันจากโครงการรับจำนำ
พลังงานเตรียมของบกองทุนน้ำมัน 180 ล้านบาท อุดหนุนราคาเอทานอลจากมันสำปะหลังที่รับซื้อตามโครงการรับจำนำ 1.5 แสนตัน พร้อมเร่งแก้กฎระเบียบส่งออกเอทานอล หลังตลาดส่งออกสดใส ของบกองทุนน้ำมัน180ล้านอุ้มเอทานอล เหตุฟิลิปปินส์เร่งส่งเสริมการใช้เอทานอลในรถยนต์ คาดปีนี้ส่งออกกว่า 300 ล้านลิตร
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการวางมาตรการช่วยระบายมันสำปะหลังที่รัฐบาลมีโครงการรับจำนำในปี 2554/55 เพื่อมาใช้ในการผลิตเอทานอล นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงานมีนโยบายให้เร่งเดำเนินการ โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 180 ล้านบาท
มาตรการนี้ กระทรวงพลังงานจะเข้าไปช่วยระบายมันสำปะหลังในปริมาณ 1.5 แสนตันจากโครงการรับจำนำทั้งหมด 10 ล้านตัน ซึ่งเริ่มรับจำนำระหว่าง 1 ก.พ. 31 พ.ค. 2555 โดยจำนวนที่กระทรวงพลังงานรับมาช่วยระบายนั้นสามารถนำมาผลิตเอทานอลได้ 24.4 ล้านลิตร
สำหรับกลไกที่กระทรวงพลังงานวางไว้นั้น จะให้ผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่เข้าร่วมโครงการ 2 โรงงาน ประกอบด้วย บริษัททรัพย์ทิพย์ และพีเอสซี สตาร์ช โปรดักส์ชั่น กำลังผลิตรวมประมาณ 4 แสนลิตรต่อวันมารับซื้อมันจากองค์การคลังสินค้าและให้ผู้ค้ามาตรา 7 ที่เข้าร่วมโครงการรับซื้อเอทานอลจาก 2 โรงงานดังกล่าวมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมี 3 บริษัทที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ปตท. บางจาก และ ไทยออยล์ โดยตกลงปริมาณรับซื้อที่ 16.2 ล้านลิตร 7.4 ล้านลิตร และ 8 แสนลิตรตามลำดับ โดยทั้งหมดมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 เดือน ระหว่างเดือนพ.ค.- ก.ย. 2555
โครงการนี้เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกร และรัฐบาลตามโครงการรับจำนำมันสำปะหลังภายหลังราคามันตกต่ำ ซึ่งเมื่อรับซื้อแล้ว หน่วยงานที่มีช่องทางในการระบายสินค้าอย่างกระทรวงพลังงานก็เข้าไปมีส่วนร่วม เพราะการส่งออกไปต่างประเทศถูกกดราคา เนื่องจากผู้ซื้อเห็นว่าไทยต้องการระบายมันสำปะหลังจากโครงการรับจำนำ ดังนั้นการนำมาผลิตเป็นพลังงานเป็นทางเลือกที่จะช่วยโครงการได้ ซึ่งก็มีเอกชนพร้อมเข้ามาช่วย เพราะถือเป็นมาตรการหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกร
แหล่งข่าวกล่าวว่าโรงงานที่ไม่เข้าร่วมก็เพราะมองแล้วไม่ได้ประโยชน์ต่อองค์กร เช่น โรงเอทานอล เพราะสามารถรับซื้อมันนอกโครงการมาผลิตเอทานอลในราคาต่ำกว่าราคารับนำจำนำอยู่แล้ว ส่วนผู้ค้าน้ำมันที่ไม่เข้าร่วม ก็เพราะมองว่าเข้าร่วมโครงการแล้วบริษัทไม่ได้ประโยชน์ แต่ยังต้องจ่ายเงินซื้อเอทานอลราคาแพงไปก่อนด้วย
สำหรับกลไกการดำเนินการนั้น จะให้โรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังรับซื้อจากองค์การคลังสินค้า ซึ่งจะต้องมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนในการจัดซื้อ และซื้อในราคารับจำนำหรือประมาณ 2.75-2.9 บาทต่อกก. ซึ่งเมื่อมาคำนวณตามสูตรแล้ว จะทำให้ราคาเอทานอลอยู่ที่ 25-26 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าเอทานอลจากกากน้ำตาล ที่ปัจจุบันมีราคาอ้างอิงอยู่ที่ 19 บาทต่อลิตร หรือมีส่วนต่างประมาณ 6-7 บาทต่อลิตร แต่จะให้ผู้ค้าน้ำมันที่เข้าโครงการรับซื้อในราคา 25-26 บาทต่อลิตรไปก่อน และมารับชดเชยส่วนต่าง 6-7 บาทต่อลิตรดังกล่าวคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมัน 180 ล้านบาท ซึ่งจะเสนอของบในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในวันที่ 8 พ.ค.นี้
การผลิตเอทานอลในปัจจุบันนั้น พบว่ามีโรงงานผลิตเอทานอลรวม 20 แห่ง โดย 12 แห่งเป็นโรงงานผลิตที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ และอีก 4 โรงใช้วัตถุดิบผสมระหว่างกากน้ำตาลและมันสำปะหลัง และอีก 4 แห่งเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว กำลังผลิตรวม 3.2 ล้านลิตร โดยกำลังผลิตดังกล่าวใช้ในประเทศประมาณ 1.2 ล้านลิตร ที่เหลือส่งออก โดยพบว่าในช่วง 1-2 ปีหลังมีการส่งออกเอทานอลในปริมาณมากขึ้น โดยปี 2554 ส่งออกรวมทั้งปี 130 ล้านลิตร และมาถึง 3 เดือนของปีนี้ หรือเดือนม.ค.-มี.ค. ส่งออกแล้วรวม 95 ล้านลิตร คาดว่าทั้งปีจะส่งออกรวมถึง 300 ล้านลิตร โดยตลาดที่ขยายตัวอย่างมากในปีนี้มาจากฟิลิปปินส์ ที่รัฐบาลเร่งรัดส่งเสริมการใช้เอทานอลในรถยนต์จากเดิมผสมในน้ำมัน 3% มาเป็น 10%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการส่งออกเอทานอลไปต่างประเทศได้ แต่ก็ยังมีขั้นตอนยุ่งยากและล่าช้า ทำให้ต้นทุนในการส่งออกสูง ดังนั้นในขณะนี้กระทรวงพลังงานจึงพยายามหารือกับกรมสรรพสามิตเพื่อคลายกฎระเบียบต่างๆ เพราะการเอื้ออำนวยให้มีการส่งออกสะดวกมากขึ้น จะทำให้ต้นทุนเอทานอลในภาพรวมของประเทศลดต่ำลงได้ด้วย และยังส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางเอทานอลของไทย ที่รัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง
เร่งแก้กฎระเบียบส่งออกเอทานอลหลังตลาดสดใส
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, May 08, 2012
ช่วยระบายมันสำปะหลัง 1.5 แสนตันจากโครงการรับจำนำ
พลังงานเตรียมของบกองทุนน้ำมัน 180 ล้านบาท อุดหนุนราคาเอทานอลจากมันสำปะหลังที่รับซื้อตามโครงการรับจำนำ 1.5 แสนตัน พร้อมเร่งแก้กฎระเบียบส่งออกเอทานอล หลังตลาดส่งออกสดใส ของบกองทุนน้ำมัน180ล้านอุ้มเอทานอล เหตุฟิลิปปินส์เร่งส่งเสริมการใช้เอทานอลในรถยนต์ คาดปีนี้ส่งออกกว่า 300 ล้านลิตร
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการวางมาตรการช่วยระบายมันสำปะหลังที่รัฐบาลมีโครงการรับจำนำในปี 2554/55 เพื่อมาใช้ในการผลิตเอทานอล นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงานมีนโยบายให้เร่งเดำเนินการ โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 180 ล้านบาท
มาตรการนี้ กระทรวงพลังงานจะเข้าไปช่วยระบายมันสำปะหลังในปริมาณ 1.5 แสนตันจากโครงการรับจำนำทั้งหมด 10 ล้านตัน ซึ่งเริ่มรับจำนำระหว่าง 1 ก.พ. 31 พ.ค. 2555 โดยจำนวนที่กระทรวงพลังงานรับมาช่วยระบายนั้นสามารถนำมาผลิตเอทานอลได้ 24.4 ล้านลิตร
สำหรับกลไกที่กระทรวงพลังงานวางไว้นั้น จะให้ผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่เข้าร่วมโครงการ 2 โรงงาน ประกอบด้วย บริษัททรัพย์ทิพย์ และพีเอสซี สตาร์ช โปรดักส์ชั่น กำลังผลิตรวมประมาณ 4 แสนลิตรต่อวันมารับซื้อมันจากองค์การคลังสินค้าและให้ผู้ค้ามาตรา 7 ที่เข้าร่วมโครงการรับซื้อเอทานอลจาก 2 โรงงานดังกล่าวมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมี 3 บริษัทที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ปตท. บางจาก และ ไทยออยล์ โดยตกลงปริมาณรับซื้อที่ 16.2 ล้านลิตร 7.4 ล้านลิตร และ 8 แสนลิตรตามลำดับ โดยทั้งหมดมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 เดือน ระหว่างเดือนพ.ค.- ก.ย. 2555
โครงการนี้เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกร และรัฐบาลตามโครงการรับจำนำมันสำปะหลังภายหลังราคามันตกต่ำ ซึ่งเมื่อรับซื้อแล้ว หน่วยงานที่มีช่องทางในการระบายสินค้าอย่างกระทรวงพลังงานก็เข้าไปมีส่วนร่วม เพราะการส่งออกไปต่างประเทศถูกกดราคา เนื่องจากผู้ซื้อเห็นว่าไทยต้องการระบายมันสำปะหลังจากโครงการรับจำนำ ดังนั้นการนำมาผลิตเป็นพลังงานเป็นทางเลือกที่จะช่วยโครงการได้ ซึ่งก็มีเอกชนพร้อมเข้ามาช่วย เพราะถือเป็นมาตรการหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกร
แหล่งข่าวกล่าวว่าโรงงานที่ไม่เข้าร่วมก็เพราะมองแล้วไม่ได้ประโยชน์ต่อองค์กร เช่น โรงเอทานอล เพราะสามารถรับซื้อมันนอกโครงการมาผลิตเอทานอลในราคาต่ำกว่าราคารับนำจำนำอยู่แล้ว ส่วนผู้ค้าน้ำมันที่ไม่เข้าร่วม ก็เพราะมองว่าเข้าร่วมโครงการแล้วบริษัทไม่ได้ประโยชน์ แต่ยังต้องจ่ายเงินซื้อเอทานอลราคาแพงไปก่อนด้วย
สำหรับกลไกการดำเนินการนั้น จะให้โรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังรับซื้อจากองค์การคลังสินค้า ซึ่งจะต้องมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนในการจัดซื้อ และซื้อในราคารับจำนำหรือประมาณ 2.75-2.9 บาทต่อกก. ซึ่งเมื่อมาคำนวณตามสูตรแล้ว จะทำให้ราคาเอทานอลอยู่ที่ 25-26 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าเอทานอลจากกากน้ำตาล ที่ปัจจุบันมีราคาอ้างอิงอยู่ที่ 19 บาทต่อลิตร หรือมีส่วนต่างประมาณ 6-7 บาทต่อลิตร แต่จะให้ผู้ค้าน้ำมันที่เข้าโครงการรับซื้อในราคา 25-26 บาทต่อลิตรไปก่อน และมารับชดเชยส่วนต่าง 6-7 บาทต่อลิตรดังกล่าวคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมัน 180 ล้านบาท ซึ่งจะเสนอของบในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในวันที่ 8 พ.ค.นี้
การผลิตเอทานอลในปัจจุบันนั้น พบว่ามีโรงงานผลิตเอทานอลรวม 20 แห่ง โดย 12 แห่งเป็นโรงงานผลิตที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ และอีก 4 โรงใช้วัตถุดิบผสมระหว่างกากน้ำตาลและมันสำปะหลัง และอีก 4 แห่งเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว กำลังผลิตรวม 3.2 ล้านลิตร โดยกำลังผลิตดังกล่าวใช้ในประเทศประมาณ 1.2 ล้านลิตร ที่เหลือส่งออก โดยพบว่าในช่วง 1-2 ปีหลังมีการส่งออกเอทานอลในปริมาณมากขึ้น โดยปี 2554 ส่งออกรวมทั้งปี 130 ล้านลิตร และมาถึง 3 เดือนของปีนี้ หรือเดือนม.ค.-มี.ค. ส่งออกแล้วรวม 95 ล้านลิตร คาดว่าทั้งปีจะส่งออกรวมถึง 300 ล้านลิตร โดยตลาดที่ขยายตัวอย่างมากในปีนี้มาจากฟิลิปปินส์ ที่รัฐบาลเร่งรัดส่งเสริมการใช้เอทานอลในรถยนต์จากเดิมผสมในน้ำมัน 3% มาเป็น 10%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการส่งออกเอทานอลไปต่างประเทศได้ แต่ก็ยังมีขั้นตอนยุ่งยากและล่าช้า ทำให้ต้นทุนในการส่งออกสูง ดังนั้นในขณะนี้กระทรวงพลังงานจึงพยายามหารือกับกรมสรรพสามิตเพื่อคลายกฎระเบียบต่างๆ เพราะการเอื้ออำนวยให้มีการส่งออกสะดวกมากขึ้น จะทำให้ต้นทุนเอทานอลในภาพรวมของประเทศลดต่ำลงได้ด้วย และยังส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางเอทานอลของไทย ที่รัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง
เร่งแก้กฎระเบียบส่งออกเอทานอลหลังตลาดสดใส
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 217
คอลัมน์: คอร์ปอเรตโฟกัส: 'ไทยออยล์'เริงร่าช่วงยากลำบาก
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, May 07, 2012
...เจียรนัย อุตะมะ
ราคาหุ้นบริษัท ไทยออยล์ (TOP) ลดลง 12%จากจุดสูงสุดเดือน ก.พ. 2555 สะท้อนราคาน้ำมันดิบที่ไม่ได้เปรียบอีกต่อไป แต่ในระยะอันใกล้นี้หุ้น TOP มีแรงสนับสนุนจากกำไรสต๊อกและการลดภาษีรายได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23%
"สุรงค์ บูลกุล"อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทยออยล์ (TOP) ที่เพิ่งรับตำแหน่งประธาน
เจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ปตท. (PTT) เมื่อวันที่1 พ.ค.ที่ผ่านมา เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า งวดไตรมาสแรกปีนี้บริษัทจะมีกำไรเติบโตขึ้น เนื่องจากมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันในจำนวนที่สูง แม้ว่าค่าการกลั่นไม่ดีก็ตาม โดยทั้งปี 2555 คาดว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยจะอยู่ที่ 118 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมประมาณการไว้ที่ 108 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
"ปีนี้คาดว่ารายได้จะเติบโตแบบก้าวกระโดดจากกำลังการผลิตพาราไซลีนที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น แต่มาร์จินจะลดลง" สุรงค์ กล่าว
บริษัทวางแผนการลงทุนในช่วง 5 ปี มีวงเงิน1,300-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เน้นการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตและต่อยอดธุรกิจ
ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนเพื่อเข้าซื้อกิจการในภูมิภาคยุโรปเป็นธุรกิจครอบครัว รวมถึงการลงทุนในประเทศแถบอาเซียน ทั้งอินโดนีเซียเวียดนาม และพม่า ซึ่งเป็นรูปแบบร่วมลงทุนกับกลุ่มบริษัท ปตท. และการลงทุนของบริษัทเอง
นอกจากนั้น ที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติการออกหุ้นกู้วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนจะออกและเสนอขายเมื่อไหร่ต้องรอประเมินสถานการณ์ เนื่องจากช่วงต้นปีบริษัทได้ออกหุ้นกู้แล้ว 1 ชุด จำนวน 1 หมื่นล้านบาทรวมถึงรอโอกาสการลงทุนหากมีการซื้อกิจการขนาดใหญ่ก็จะประเมินการออกหุ้นกู้อีกครั้ง
"ชัยพัชร ธนวัฒโน" นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ เชื่อว่าธุรกิจโรงกลั่นของ TOP ยังมีแนวโน้มที่ดีจากปัจจัยหนุนความต้องการที่แข็งแกร่งในตลาดเอเชียเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย
นอกจากนี้ การปิดโรงกลั่นในยุโรปและสหรัฐเพิ่มมากขึ้นจากปัญหาสภาพคล่องจะสนับสนุนการผลิต
รายงาน Facts Global Energy ระบุว่า กำลังการกลั่นเพิ่มเติมสุทธิในปี 2555 น่าจะน้อยกว่าที่กังวลกันมาก หรืออยู่ที่ 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบความต้องการที่ขยายตัว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
"เราคาดว่าค่าการกลั่นยังอยู่ในระดับสูงต่อไปใน2-3 ปีข้างหน้า โดยวงจรของธุรกิจโรงกลั่นในปัจจุบันจะปรับตัวขึ้นถึงจุดสูงสุดในปี 2558 เมื่อโรงกลั่นใหม่ในตะวันออกกลางเริ่มเดินเครื่องผลิต"
นอกจากนั้น ยังมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มพาราไซลีนจากความต้องการซื้อและความต้องการขายยังดีอย่างยิ่งในปีนี้ จากความต้องการพาราไซลีนตึงตัวจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะกลางโดยมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากโรงกลั่นในตลาดภูมิภาค
"เราคาดว่าความต้องการซื้อและความต้องการขายของพาราไซลีนจะอยู่ในภาวะสมดุลในปี 2557 เป็นอย่างเร็ว เพราะจะมีวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้นจากการขยายกำลังการกลั่นในตลาดภูมิภาค ทั้งนี้พาราไซลีนเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพียงไม่กี่อย่างที่ส่วนต่างราคาในไตรมาสแรกปีนี้ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้า"
ดังนั้น จึงคาดว่ากำไรไตรมาสแรกปีนี้ของ TOP น่าจะเพิ่มขึ้นมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมาก ค่าการกลั่นดี และส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์พาราไซลีนกว้างขึ้น
"เมื่ออิงกับราคาน้ำมันปัจจุบันเราคาดว่า TOP จะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันมากกว่า 5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือ 3,800 ล้านบาท เทียบ 5.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาสแรกปี 2554"
บล.ธนชาต คาดว่า TOP จะรายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาสแรกปีนี้มีกำไรสุทธิ 5,700 ล้านบาท เทียบไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ 2,200 ล้านบาท แต่ลดลง 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกำไรฟื้นจากไตรมาส 4 ปี 2554 เนื่องมาจากกำไรจากมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ดีขึ้น แต่ลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะกำไรจากมูลค่าสินค้าคงเหลือและส่วนต่างราคาอะโรเมติกส์ที่ลดลง
นอกจากนั้น ยังคาดว่าไตรมาส 2 ปีนี้กำไรจะอ่อนแอลง เพราะราคาน้ำมันลด (ขาดทุนจากมูลค่าสินค้าคงเหลือ) และค่าการกลั่นและส่วนต่างราคาอะโรเมติกส์ที่ค่อนข้างทรงตัว
"เรายังชอบ TOP เนื่องจากดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพาราไซลีนซึ่งถูกกระทบจากความต้องการที่ลดลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเคมีภัณฑ์ปลายน้ำอื่นTOP ซื้อขายที่พี/อี 8.5 เท่า ในปี 2555 เทียบระดับเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 12 เท่า เรายังคงแนะนำซื้อ โดยมีราคาเป้าหมายหุ้นละ 82 บาท"
บล.ไทยพาณิชย์ คงคำแนะนำซื้อหุ้น TOP และให้ราคาเป้าหมาย 95 บาท ราคาหุ้น TOP ยังต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2554 ที่ 16% และซื้อขายที่ราคาตามมูลค่าบัญชีปี 2555 ในระดับ 1.5 เท่า ต่ำกว่าราคาตามมูลค่าบัญชีเฉลี่ย นับตั้งแต่บริษัทนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2547 ที่ 1.7 เท่า และราคาตามมูลค่าบัญชีสูงสุดในปี 2554 ที่ 2.3 เท่า
เซอร์ไพรส์ที่เป็นบวกเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้อีก โดยมีสาเหตุมาจากสถานการณ์อันตึงเครียดต่อเนื่องในอิหร่าน ปัจจัยนี้น่าจะสนับสนุนค่าการกลั่นและส่วนต่างพาราไซลีนให้อยู่ในระดับที่ดีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือความผันผวนของราคาน้ำมันที่จะทำให้เกิดขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและสินค้าคงคลังจำนวนมาก และราคาพาราไซลีนผันผวน
ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่ง คือ ต้นทุนถือครองน้ำมันสูงขึ้นถ้ารัฐบาลเพิ่มระดับสำรองน้ำมันตามกฎหมาย
นักวิเคราะห์ซิตี้กรุ๊ป เชื่อว่ากำไรปีนี้ของTOP จะยังเป็นบวก แม้ว่าระยะสั้นค่าการกลั่นอ่อนตัว แต่ได้รับผลดีจากผลผลิตพาราไซลีน โดยเดือน ส.ค.นี้โครงการปรับปรุงเกรดอะโรเมติกส์จะแล้วเสร็จ มีกำไรจากสินค้าคงคลังและการประหยัดภาษี
"ราคาหุ้น TOP น่าสนใจที่สัดส่วนราคาต่อกำไร(พี/อี) ปีนี้ที่ 8.7 เท่า เทียบพี/อีหุ้นกลุ่มเดียวกันในภูมิภาคเอเชียที่สูงถึง 11.3 เท่า จึงแนะนำให้ซื้อ โดยปรับเพิ่มราคาเป้าหมายจาก 75 บาท เป็น 78 บาทต่อหุ้น"
ซิตี้กรุ๊ป คาดว่าค่าการกลั่นสิงคโปร์จะฟื้นตัวเดือน พ.ค. จากเดือน มี.ค.ตกต่ำ แต่ไม่ฟื้นขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะทรงตัวประมาณปัจจุบันนอกจากนั้นคาดว่าความต้องการซื้อและความต้องการขายของโรงกลั่นอาเซียนจะมีเสถียรภาพในปีนี้และปีหน้า โดยเฉพาะเป็นผลมาจากการที่โรงกลั่นอินเดียเริ่มเลื่อนเปิดดำเนินการส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตโรงกลั่นอาเซียนมีความยืดหยุ่นเทียบโรงกลั่นยุโรป
อย่างไรก็ตาม การเริ่มมีกำลังการผลิตใหม่ในตะวันออกกลางและจีนในปี 2557 จะทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง และส่งผลต่ออัตรากำไรโรงกลั่น
TOP มีงบลงทุน 843 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปีนี้จนถึงปี 2561 ในการปรับปรุงโรงกลั่นเบนซีนและขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้า และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยได้เครดิตภาษี 316 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีกระแสเงินสดเข้ามาใน 1-2 ปีนี้
"เราคาดว่า TOP จะจ่ายปันผล45% ของกำไรสุทธิ ที่จะทำให้มีอัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้ที่น่าสนใจที่5.2%"
หุ้นนี้ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของหุ้นน้ำมัน ที่บรรดาโบรกเกอร์แนะนำให้ซื้อติดพอร์ตไว้
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, May 07, 2012
...เจียรนัย อุตะมะ
ราคาหุ้นบริษัท ไทยออยล์ (TOP) ลดลง 12%จากจุดสูงสุดเดือน ก.พ. 2555 สะท้อนราคาน้ำมันดิบที่ไม่ได้เปรียบอีกต่อไป แต่ในระยะอันใกล้นี้หุ้น TOP มีแรงสนับสนุนจากกำไรสต๊อกและการลดภาษีรายได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23%
"สุรงค์ บูลกุล"อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทยออยล์ (TOP) ที่เพิ่งรับตำแหน่งประธาน
เจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ปตท. (PTT) เมื่อวันที่1 พ.ค.ที่ผ่านมา เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า งวดไตรมาสแรกปีนี้บริษัทจะมีกำไรเติบโตขึ้น เนื่องจากมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันในจำนวนที่สูง แม้ว่าค่าการกลั่นไม่ดีก็ตาม โดยทั้งปี 2555 คาดว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยจะอยู่ที่ 118 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมประมาณการไว้ที่ 108 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
"ปีนี้คาดว่ารายได้จะเติบโตแบบก้าวกระโดดจากกำลังการผลิตพาราไซลีนที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น แต่มาร์จินจะลดลง" สุรงค์ กล่าว
บริษัทวางแผนการลงทุนในช่วง 5 ปี มีวงเงิน1,300-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เน้นการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตและต่อยอดธุรกิจ
ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนเพื่อเข้าซื้อกิจการในภูมิภาคยุโรปเป็นธุรกิจครอบครัว รวมถึงการลงทุนในประเทศแถบอาเซียน ทั้งอินโดนีเซียเวียดนาม และพม่า ซึ่งเป็นรูปแบบร่วมลงทุนกับกลุ่มบริษัท ปตท. และการลงทุนของบริษัทเอง
นอกจากนั้น ที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติการออกหุ้นกู้วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนจะออกและเสนอขายเมื่อไหร่ต้องรอประเมินสถานการณ์ เนื่องจากช่วงต้นปีบริษัทได้ออกหุ้นกู้แล้ว 1 ชุด จำนวน 1 หมื่นล้านบาทรวมถึงรอโอกาสการลงทุนหากมีการซื้อกิจการขนาดใหญ่ก็จะประเมินการออกหุ้นกู้อีกครั้ง
"ชัยพัชร ธนวัฒโน" นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ เชื่อว่าธุรกิจโรงกลั่นของ TOP ยังมีแนวโน้มที่ดีจากปัจจัยหนุนความต้องการที่แข็งแกร่งในตลาดเอเชียเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย
นอกจากนี้ การปิดโรงกลั่นในยุโรปและสหรัฐเพิ่มมากขึ้นจากปัญหาสภาพคล่องจะสนับสนุนการผลิต
รายงาน Facts Global Energy ระบุว่า กำลังการกลั่นเพิ่มเติมสุทธิในปี 2555 น่าจะน้อยกว่าที่กังวลกันมาก หรืออยู่ที่ 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบความต้องการที่ขยายตัว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
"เราคาดว่าค่าการกลั่นยังอยู่ในระดับสูงต่อไปใน2-3 ปีข้างหน้า โดยวงจรของธุรกิจโรงกลั่นในปัจจุบันจะปรับตัวขึ้นถึงจุดสูงสุดในปี 2558 เมื่อโรงกลั่นใหม่ในตะวันออกกลางเริ่มเดินเครื่องผลิต"
นอกจากนั้น ยังมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มพาราไซลีนจากความต้องการซื้อและความต้องการขายยังดีอย่างยิ่งในปีนี้ จากความต้องการพาราไซลีนตึงตัวจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะกลางโดยมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากโรงกลั่นในตลาดภูมิภาค
"เราคาดว่าความต้องการซื้อและความต้องการขายของพาราไซลีนจะอยู่ในภาวะสมดุลในปี 2557 เป็นอย่างเร็ว เพราะจะมีวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้นจากการขยายกำลังการกลั่นในตลาดภูมิภาค ทั้งนี้พาราไซลีนเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพียงไม่กี่อย่างที่ส่วนต่างราคาในไตรมาสแรกปีนี้ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้า"
ดังนั้น จึงคาดว่ากำไรไตรมาสแรกปีนี้ของ TOP น่าจะเพิ่มขึ้นมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมาก ค่าการกลั่นดี และส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์พาราไซลีนกว้างขึ้น
"เมื่ออิงกับราคาน้ำมันปัจจุบันเราคาดว่า TOP จะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันมากกว่า 5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือ 3,800 ล้านบาท เทียบ 5.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาสแรกปี 2554"
บล.ธนชาต คาดว่า TOP จะรายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาสแรกปีนี้มีกำไรสุทธิ 5,700 ล้านบาท เทียบไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ 2,200 ล้านบาท แต่ลดลง 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกำไรฟื้นจากไตรมาส 4 ปี 2554 เนื่องมาจากกำไรจากมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ดีขึ้น แต่ลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะกำไรจากมูลค่าสินค้าคงเหลือและส่วนต่างราคาอะโรเมติกส์ที่ลดลง
นอกจากนั้น ยังคาดว่าไตรมาส 2 ปีนี้กำไรจะอ่อนแอลง เพราะราคาน้ำมันลด (ขาดทุนจากมูลค่าสินค้าคงเหลือ) และค่าการกลั่นและส่วนต่างราคาอะโรเมติกส์ที่ค่อนข้างทรงตัว
"เรายังชอบ TOP เนื่องจากดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพาราไซลีนซึ่งถูกกระทบจากความต้องการที่ลดลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเคมีภัณฑ์ปลายน้ำอื่นTOP ซื้อขายที่พี/อี 8.5 เท่า ในปี 2555 เทียบระดับเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 12 เท่า เรายังคงแนะนำซื้อ โดยมีราคาเป้าหมายหุ้นละ 82 บาท"
บล.ไทยพาณิชย์ คงคำแนะนำซื้อหุ้น TOP และให้ราคาเป้าหมาย 95 บาท ราคาหุ้น TOP ยังต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2554 ที่ 16% และซื้อขายที่ราคาตามมูลค่าบัญชีปี 2555 ในระดับ 1.5 เท่า ต่ำกว่าราคาตามมูลค่าบัญชีเฉลี่ย นับตั้งแต่บริษัทนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2547 ที่ 1.7 เท่า และราคาตามมูลค่าบัญชีสูงสุดในปี 2554 ที่ 2.3 เท่า
เซอร์ไพรส์ที่เป็นบวกเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้อีก โดยมีสาเหตุมาจากสถานการณ์อันตึงเครียดต่อเนื่องในอิหร่าน ปัจจัยนี้น่าจะสนับสนุนค่าการกลั่นและส่วนต่างพาราไซลีนให้อยู่ในระดับที่ดีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือความผันผวนของราคาน้ำมันที่จะทำให้เกิดขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและสินค้าคงคลังจำนวนมาก และราคาพาราไซลีนผันผวน
ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่ง คือ ต้นทุนถือครองน้ำมันสูงขึ้นถ้ารัฐบาลเพิ่มระดับสำรองน้ำมันตามกฎหมาย
นักวิเคราะห์ซิตี้กรุ๊ป เชื่อว่ากำไรปีนี้ของTOP จะยังเป็นบวก แม้ว่าระยะสั้นค่าการกลั่นอ่อนตัว แต่ได้รับผลดีจากผลผลิตพาราไซลีน โดยเดือน ส.ค.นี้โครงการปรับปรุงเกรดอะโรเมติกส์จะแล้วเสร็จ มีกำไรจากสินค้าคงคลังและการประหยัดภาษี
"ราคาหุ้น TOP น่าสนใจที่สัดส่วนราคาต่อกำไร(พี/อี) ปีนี้ที่ 8.7 เท่า เทียบพี/อีหุ้นกลุ่มเดียวกันในภูมิภาคเอเชียที่สูงถึง 11.3 เท่า จึงแนะนำให้ซื้อ โดยปรับเพิ่มราคาเป้าหมายจาก 75 บาท เป็น 78 บาทต่อหุ้น"
ซิตี้กรุ๊ป คาดว่าค่าการกลั่นสิงคโปร์จะฟื้นตัวเดือน พ.ค. จากเดือน มี.ค.ตกต่ำ แต่ไม่ฟื้นขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะทรงตัวประมาณปัจจุบันนอกจากนั้นคาดว่าความต้องการซื้อและความต้องการขายของโรงกลั่นอาเซียนจะมีเสถียรภาพในปีนี้และปีหน้า โดยเฉพาะเป็นผลมาจากการที่โรงกลั่นอินเดียเริ่มเลื่อนเปิดดำเนินการส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตโรงกลั่นอาเซียนมีความยืดหยุ่นเทียบโรงกลั่นยุโรป
อย่างไรก็ตาม การเริ่มมีกำลังการผลิตใหม่ในตะวันออกกลางและจีนในปี 2557 จะทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง และส่งผลต่ออัตรากำไรโรงกลั่น
TOP มีงบลงทุน 843 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปีนี้จนถึงปี 2561 ในการปรับปรุงโรงกลั่นเบนซีนและขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้า และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยได้เครดิตภาษี 316 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีกระแสเงินสดเข้ามาใน 1-2 ปีนี้
"เราคาดว่า TOP จะจ่ายปันผล45% ของกำไรสุทธิ ที่จะทำให้มีอัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้ที่น่าสนใจที่5.2%"
หุ้นนี้ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของหุ้นน้ำมัน ที่บรรดาโบรกเกอร์แนะนำให้ซื้อติดพอร์ตไว้
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 218
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... &subcatid=
วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15:00:04 น.
10 อันดับสาขาวิชา ปริญญาที่รวยที่สุด !!
Share
273
(ที่มา:จากเว็ปเด็กดี-มติชนออนไลน์ รวบรวม)
10 เศรษฐศาสตร์
ปริญญาที่ว่าด้วยเรื่องของเศรษฐกิจ การแบ่งปันทรัพยากร ที่แฝงปรัชญาความคิดเกี่ยวกับความต้องการในผลิตภันฑ์ การลงทุน ไปจนถึงการบริหารระดับประเทศ ยังคงเป็นวิชาที่ต่อยอดในเชิงธุรกิจและบริหารระดับการเมือง
9 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ว่าด้วยเรื่องของการบริหาร และออกแบบงานด้านคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ รวมทั้งประสิทธิภาพการทำงานและสื่อสารกันระหว่างระบบ ยังคงเป็นที่ต้องการใช้ยุคทองของ ซิลิกอน วัลลีย์ส ซึ่งในยุคอินเตอร์เน็ทบูม และสมาร์ทโฟนบูม ก็ถือเป็นการบูมของคนสายอาชีพนี้ไปด้วย
8 ฟิสิกส์
สาชาวิชาพื้นที่ที่ต่อยอดไปทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์อีกหลายแขนง ว่าด้วยเรื่องของแก่น การเคลื่อนไหวของสิ่งของต่างๆตามธรรมชาติ และแรงต่างๆ (รวมถึงแรงโน้มถ่วง แรงดัน แรงปะทุ) จนไปถึงระดับของอนุภาค สาชาวิชาด้านนี้เน้นไปทางด้านการเป็นอาจารย์สอนและงานวิจัย
7 วิศวกรรมชีวภาพการแพทย์
สาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการ และกลายเป็นวิชาที่ต้องการพื้นฐานระหว่าง วิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ และชีววิทยา ซึ่งมีคนให้จำกัดความไปในเชิงของการนำความรู้มาประยุกต์ใช้เป็น กระบวนการรักษา เครื่องมือรักษาทางการแพทย์ (ในประเทศไทย ยังถือเป็นสาชาวิชาที่ค่อนข้างใหม่มาก)
6 คณิตศาสตร์ประยุกต์
อีกสาขาวิชาพื้นฐานเช่นกัน ซึ่งต่อยอดไปในทางการเงิน สถิติ สมการการเคลื่อนที่อนุภาคของไหล สมการการแพร่ความร้อน แม้กระทั่ง การคำนวณหาเส้นทางการเดินทางที่สั้นที่สุด การแก้โจทย์เกมที่เร็วที่สุด ดังนั้น โดยหลักการแล้ว จบมาเป็นอาจารย์ นักวิเคราะห์ แต่ด้วยการประยุกต์ที่หลากหลายแล้ว ก็สามารถเป็นนักวิเคราะห์เชิงบริหาร หรือเชิงธุรกิจได้เช่นกัน
5. วิศวกรรมนิวเคลียร์
ปริญญาที่เน้นหนักมาในเรื่องที่หลายคนสนใจมากๆคือ พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพลังงานบริสุทธิ์ สำหรับมนุษยชาติที่่จะทดแทน พลังงานอื่นๆ ยั่งยืนกว่า ประหยัดกว่า แต่ก็แฝงด้วยอันตรายมหาศาลหากไม่จัดการให้ดีพอ หรือทำไปใช้ในการทำลายล้าง
4 วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมไฟฟ้า จะเกี่ยวข้องกับ ด้านพลังงานไฟฟ้า วงจรอิเลคทรอนิกส์ สัญญาณไฟฟ้า การสื่อสาร แม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น (บางแห่งก็จะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนไปเลย) ไม่ว่าจะแยกสายไหน ก็เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งนั้น ในยุคดิจิตอลเช่นนี้ ทุกอย่างล้วนแต่ต้องใช้ไฟฟ้าในการดำเนินการ (ดำเนินชีวิตด้วยซ้ำ)
3 วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมสายที่เกี่ยวข้องสายการผลิตอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น โพลีเมอร์ บรรจุภัณฑ์ สารเคมีต่างๆทั้งสำหรับ อุตสาหกรรม การเกษตร อาหาร (แม้แต่ปิโตรเลียมก็ ถือว่าเป็นการคาบเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้ของวิศกรรมเคมี) คนที่จบสายนี้สำหรับประเทศไทย เป็นที่ต้องการของสายอุตสาหกรรมการผลิตแถบนิคมอุตสาหกรรม
2 วิศวกรรมอวกาศ
วิศวกรรมที่ว่าด้วยเรื่องของอุปกรณ์และพาหนะสำรวจในอวกาศ รวมถึงดาวเทียม ซึ่งแน่นอนว่า สภาพไร้แรงโน้มถ่วง สภาพแรงโน้มถ่วงที่ต่างกัน รังสีที่อันตราย เชื้อเพลิงที่ต้องใช้ เป็นประเด็นที่นมุษยศาสตร์สงสัย ประเทศที่มีความต้องการคนจบสายนี้แน่ๆคือ สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน (แต่ปริญญา มีให้เรียน ใน อังกฤษ ออสเตรเลีย และในยุโรปหลายประเทศเช่นกัน)
1 วิศวกรรมปิโตรเลียม
เมื่อพลังงานนิวเคลียร์ยังไม่ได้ถูกยอมรับ 100% พลังงานเดิมยอดฮิตอย่างปิโตรเลียมยังคงเป็นที่ต้องการเรื่อยๆและสูงขึ้นๆ (ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ) สาขาวิชานี้ว่าด้วยการสกัดสารไฮโดรคาร์บอน เชื้อเพลิงที่พวกเราใช้กันนี้แหละ คนเรียนสาขานี้ จึงกลายเป็นที่ต้องการและการสอบเข้าก็แข่งขันสูงไปด้วยครับ

สำหรับกระทู้และรูป "นักขุด" อย่างคุณ pak
วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15:00:04 น.
10 อันดับสาขาวิชา ปริญญาที่รวยที่สุด !!
Share
273
(ที่มา:จากเว็ปเด็กดี-มติชนออนไลน์ รวบรวม)
10 เศรษฐศาสตร์
ปริญญาที่ว่าด้วยเรื่องของเศรษฐกิจ การแบ่งปันทรัพยากร ที่แฝงปรัชญาความคิดเกี่ยวกับความต้องการในผลิตภันฑ์ การลงทุน ไปจนถึงการบริหารระดับประเทศ ยังคงเป็นวิชาที่ต่อยอดในเชิงธุรกิจและบริหารระดับการเมือง
9 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ว่าด้วยเรื่องของการบริหาร และออกแบบงานด้านคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ รวมทั้งประสิทธิภาพการทำงานและสื่อสารกันระหว่างระบบ ยังคงเป็นที่ต้องการใช้ยุคทองของ ซิลิกอน วัลลีย์ส ซึ่งในยุคอินเตอร์เน็ทบูม และสมาร์ทโฟนบูม ก็ถือเป็นการบูมของคนสายอาชีพนี้ไปด้วย
8 ฟิสิกส์
สาชาวิชาพื้นที่ที่ต่อยอดไปทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์อีกหลายแขนง ว่าด้วยเรื่องของแก่น การเคลื่อนไหวของสิ่งของต่างๆตามธรรมชาติ และแรงต่างๆ (รวมถึงแรงโน้มถ่วง แรงดัน แรงปะทุ) จนไปถึงระดับของอนุภาค สาชาวิชาด้านนี้เน้นไปทางด้านการเป็นอาจารย์สอนและงานวิจัย
7 วิศวกรรมชีวภาพการแพทย์
สาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการ และกลายเป็นวิชาที่ต้องการพื้นฐานระหว่าง วิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ และชีววิทยา ซึ่งมีคนให้จำกัดความไปในเชิงของการนำความรู้มาประยุกต์ใช้เป็น กระบวนการรักษา เครื่องมือรักษาทางการแพทย์ (ในประเทศไทย ยังถือเป็นสาชาวิชาที่ค่อนข้างใหม่มาก)
6 คณิตศาสตร์ประยุกต์
อีกสาขาวิชาพื้นฐานเช่นกัน ซึ่งต่อยอดไปในทางการเงิน สถิติ สมการการเคลื่อนที่อนุภาคของไหล สมการการแพร่ความร้อน แม้กระทั่ง การคำนวณหาเส้นทางการเดินทางที่สั้นที่สุด การแก้โจทย์เกมที่เร็วที่สุด ดังนั้น โดยหลักการแล้ว จบมาเป็นอาจารย์ นักวิเคราะห์ แต่ด้วยการประยุกต์ที่หลากหลายแล้ว ก็สามารถเป็นนักวิเคราะห์เชิงบริหาร หรือเชิงธุรกิจได้เช่นกัน
5. วิศวกรรมนิวเคลียร์
ปริญญาที่เน้นหนักมาในเรื่องที่หลายคนสนใจมากๆคือ พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพลังงานบริสุทธิ์ สำหรับมนุษยชาติที่่จะทดแทน พลังงานอื่นๆ ยั่งยืนกว่า ประหยัดกว่า แต่ก็แฝงด้วยอันตรายมหาศาลหากไม่จัดการให้ดีพอ หรือทำไปใช้ในการทำลายล้าง
4 วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมไฟฟ้า จะเกี่ยวข้องกับ ด้านพลังงานไฟฟ้า วงจรอิเลคทรอนิกส์ สัญญาณไฟฟ้า การสื่อสาร แม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น (บางแห่งก็จะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนไปเลย) ไม่ว่าจะแยกสายไหน ก็เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งนั้น ในยุคดิจิตอลเช่นนี้ ทุกอย่างล้วนแต่ต้องใช้ไฟฟ้าในการดำเนินการ (ดำเนินชีวิตด้วยซ้ำ)
3 วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมสายที่เกี่ยวข้องสายการผลิตอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น โพลีเมอร์ บรรจุภัณฑ์ สารเคมีต่างๆทั้งสำหรับ อุตสาหกรรม การเกษตร อาหาร (แม้แต่ปิโตรเลียมก็ ถือว่าเป็นการคาบเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้ของวิศกรรมเคมี) คนที่จบสายนี้สำหรับประเทศไทย เป็นที่ต้องการของสายอุตสาหกรรมการผลิตแถบนิคมอุตสาหกรรม
2 วิศวกรรมอวกาศ
วิศวกรรมที่ว่าด้วยเรื่องของอุปกรณ์และพาหนะสำรวจในอวกาศ รวมถึงดาวเทียม ซึ่งแน่นอนว่า สภาพไร้แรงโน้มถ่วง สภาพแรงโน้มถ่วงที่ต่างกัน รังสีที่อันตราย เชื้อเพลิงที่ต้องใช้ เป็นประเด็นที่นมุษยศาสตร์สงสัย ประเทศที่มีความต้องการคนจบสายนี้แน่ๆคือ สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน (แต่ปริญญา มีให้เรียน ใน อังกฤษ ออสเตรเลีย และในยุโรปหลายประเทศเช่นกัน)
1 วิศวกรรมปิโตรเลียม
เมื่อพลังงานนิวเคลียร์ยังไม่ได้ถูกยอมรับ 100% พลังงานเดิมยอดฮิตอย่างปิโตรเลียมยังคงเป็นที่ต้องการเรื่อยๆและสูงขึ้นๆ (ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ) สาขาวิชานี้ว่าด้วยการสกัดสารไฮโดรคาร์บอน เชื้อเพลิงที่พวกเราใช้กันนี้แหละ คนเรียนสาขานี้ จึงกลายเป็นที่ต้องการและการสอบเข้าก็แข่งขันสูงไปด้วยครับ

สำหรับกระทู้และรูป "นักขุด" อย่างคุณ pak
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 219
พลังงานสานต่อสร้างท่อส่งน้ำมัน
Source - บ้านเมือง (Th), Thursday, May 10, 2012
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะยังสานต่อนโยบายการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามนโยบายของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อน เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จะยกเลิกโครงการดังกล่าว เนื่องจากจะช่วยให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันต่อไปในอนาคตมากขึ้น โดยได้มอบหมายให้ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนแล้ว
"นโยบายการสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น เป็นแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อน ในช่วงปี 2554 โดยขณะนั้นนายพิชัย ได้สั่งการให้ บมจ.ปตท.ไประดมซื้อหุ้นในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือ แทปไลน์ เพิ่มเติมให้เกินกว่า 50% จากปัจจุบันที่ ปตท.ถืออยู่ 30% เพื่อให้ บมจ.ปตท.มีสิทธิ์เสียงข้างมากในการบริหารแทปไลน์"
โดยกรมธุรกิจพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาการสร้างท่อส่งน้ำมัน ดังกล่าว ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน และใครจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งท่อส่งน้ำมันและคลังกระจายน้ำมันที่ควรมีกว่า 4-5 คลัง ที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท รวมถึงภาระค่าลงทุนจะกระทบต่อประชาชนอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ท่อส่งน้ำมันของแทปไลน์ปัจจุบันมีระยะทางจากจังหวัดระยอง ไปลำลูกกาและไปสิ้นสุดที่จังหวัดสระบุรี โดยกระทรวงพลังงานเห็นว่าควรเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันดังกล่าวไปยังจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง และเชื่อมต่อกับภาคอีสานในจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่น ซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการทำให้ราคาน้ำมันในต่างจังหวัดลดลงได้ 20 สตางค์ต่อลิตร
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา แหล่งก๊าซธรรมชาติเยตากุน ในประเทศพม่า ได้หยุดการผลิตอย่างกะทันหัน โดยผู้ผลิตได้แจ้งต่อ ปตท.ในฐานะผู้ซื้อก๊าซ ให้ทราบว่า เนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องที่ระบบจ่ายไฟฟ้าของแท่นผลิตกลาง ซึ่งการหยุดผลิตของแหล่ง เยตากุนนี้ ส่งผลให้ ปตท.จำเป็นต้องหยุดการรับก๊าซทั้งหมดจากพม่า ทั้งจากแหล่งเยตากุน และแหล่งยาดานา ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. ส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งล่าสุด ปตท.ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางเข้าไปซ่อมระบบแล้ว โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ในการแก้ไขระบบ
อย่างไรก็ตาม ก๊าซธรรมชาติที่หายไป ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตก และภาคกลางบางส่วนของประเทศ ซึ่ง ปตท.ได้ประสานงานกับ กฟผ.ในการจัดหาเชื้อเพลิงอื่นๆ เข้ามาเสริมแล้ว โดยขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะมีกำลังไฟฟ้าเพียงพอ
--จบ--
Source - บ้านเมือง (Th), Thursday, May 10, 2012
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะยังสานต่อนโยบายการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามนโยบายของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อน เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จะยกเลิกโครงการดังกล่าว เนื่องจากจะช่วยให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันต่อไปในอนาคตมากขึ้น โดยได้มอบหมายให้ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนแล้ว
"นโยบายการสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น เป็นแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อน ในช่วงปี 2554 โดยขณะนั้นนายพิชัย ได้สั่งการให้ บมจ.ปตท.ไประดมซื้อหุ้นในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือ แทปไลน์ เพิ่มเติมให้เกินกว่า 50% จากปัจจุบันที่ ปตท.ถืออยู่ 30% เพื่อให้ บมจ.ปตท.มีสิทธิ์เสียงข้างมากในการบริหารแทปไลน์"
โดยกรมธุรกิจพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาการสร้างท่อส่งน้ำมัน ดังกล่าว ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน และใครจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งท่อส่งน้ำมันและคลังกระจายน้ำมันที่ควรมีกว่า 4-5 คลัง ที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท รวมถึงภาระค่าลงทุนจะกระทบต่อประชาชนอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ท่อส่งน้ำมันของแทปไลน์ปัจจุบันมีระยะทางจากจังหวัดระยอง ไปลำลูกกาและไปสิ้นสุดที่จังหวัดสระบุรี โดยกระทรวงพลังงานเห็นว่าควรเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันดังกล่าวไปยังจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง และเชื่อมต่อกับภาคอีสานในจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่น ซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการทำให้ราคาน้ำมันในต่างจังหวัดลดลงได้ 20 สตางค์ต่อลิตร
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา แหล่งก๊าซธรรมชาติเยตากุน ในประเทศพม่า ได้หยุดการผลิตอย่างกะทันหัน โดยผู้ผลิตได้แจ้งต่อ ปตท.ในฐานะผู้ซื้อก๊าซ ให้ทราบว่า เนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องที่ระบบจ่ายไฟฟ้าของแท่นผลิตกลาง ซึ่งการหยุดผลิตของแหล่ง เยตากุนนี้ ส่งผลให้ ปตท.จำเป็นต้องหยุดการรับก๊าซทั้งหมดจากพม่า ทั้งจากแหล่งเยตากุน และแหล่งยาดานา ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. ส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งล่าสุด ปตท.ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางเข้าไปซ่อมระบบแล้ว โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ในการแก้ไขระบบ
อย่างไรก็ตาม ก๊าซธรรมชาติที่หายไป ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตก และภาคกลางบางส่วนของประเทศ ซึ่ง ปตท.ได้ประสานงานกับ กฟผ.ในการจัดหาเชื้อเพลิงอื่นๆ เข้ามาเสริมแล้ว โดยขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะมีกำลังไฟฟ้าเพียงพอ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 220
เชลล์เข้าวิน! รัฐบาลโมซัมบิกไฟเขียวข้อเสนอซื้อ Cove
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2555 เวลา 14:23:41 น.
บริษัท Cove ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจพลังงานของอังกฤษ เปิดเผยวันนี้ว่า บริษัทได้รับการยืนยันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐบาลโมซัมบิกที่เห็นด้วยกับข้อเสนอซื้อกิจการ Cove ด้วยวงเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์ของเชลล์แล้ว
ขณะที่เชลล์เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าทางบริษัทได้ตกลงที่จะซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ด้วยเงินสด 1.12 พันล้านปอนด์ (1.8 พันล้านดอลลาร์) โดยบริษัทได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเพื่อให้เท่ากับราคาที่เสนอโดยบริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2555 เวลา 14:23:41 น.
บริษัท Cove ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจพลังงานของอังกฤษ เปิดเผยวันนี้ว่า บริษัทได้รับการยืนยันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐบาลโมซัมบิกที่เห็นด้วยกับข้อเสนอซื้อกิจการ Cove ด้วยวงเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์ของเชลล์แล้ว
ขณะที่เชลล์เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าทางบริษัทได้ตกลงที่จะซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ด้วยเงินสด 1.12 พันล้านปอนด์ (1.8 พันล้านดอลลาร์) โดยบริษัทได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเพื่อให้เท่ากับราคาที่เสนอโดยบริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 221
กระทรวงพลังงาน เปิด 'สถาบันวิทยาการพลังงาน'ระดมสมอง 72 ผู้นำองค์กร เร่งหาทางออกวิกฤตพลังงานไทย
Source - มติชน (Th), Sunday, May 13, 2012
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปจนย่างเข้าสู่ศตวรรษล่าสุด พลังงานที่พวกเราเคยมีใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยก็เริ่มลดน้อยถอยลงจนเข้าขั้นวิกฤติ โลกวันนี้จึงกำลังก้าวสู่ภาวะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่เกี่ยวกับเรื่องบริหารจัดการพลังงาน
เป็นจุดเริ่มต้นของ "สถาบันวิทยาการพลังงาน" ที่เป็นแนวคิดของกระทรวงพลังงาน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บุคลากรชั้นนำของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนนักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานอย่างลึกซึ้งในทุกมิติ เป็นการช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้มีความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนในอนาคต
เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงานของสถาบันวิทยาการพลังงาน หรือ วพน. ณ อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ โดยมี นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในงาน ร่วมกับบุคคลสำคัญ ได้แก่ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานและประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ในฐานะรองประธานกรรมการบริหารสถาบันฯ และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของ วพน. ท่ามกลางผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำต่างๆ ของประเทศ หรือส่วนหนึ่งของนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 72 คน
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การใช้พลังงานทั้งในประเทศและของโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากร ในขณะที่ปริมาณพลังงานมีจำนวนจำกัดและมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในส่วนของประเทศไทยแม้จะมีแหล่งพลังงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมาโดยตลอด กระทรวงพลังงานในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการบริหารจัดการให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกรวมถึงรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ด้านพลังงาน จึงได้จัดตั้งสถาบันแห่งนี้ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานให้แก่บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนทั่วไป
"สถาบันแห่งนี้จึงนับเป็นสถาบันแห่งแรกของประเทศที่มีบทบาทสำคัญที่จะ ทำให้ผู้บริหารระดับสูงและผู้นำทางความคิด ของทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจในความจำเป็นของพลังงาน และเข้าใจบทบาทที่ร่วมส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน"
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงที่มาของความร่วมมือการจัดตั้งสถาบัน ว่า เริ่มจากเมื่อครั้งที่ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ของ ปตท. และมีการพูดคุยกันว่า ทำอย่างไรจะให้ประเทศไทยมีสถาบันที่ทำหน้าที่ในการคิด สร้างสรรค์ และให้ความรู้ทางด้านพลังงานอย่างแท้จริงกับประชาชนในทุกๆ ส่วน
ในส่วนของโครงสร้างหลักสูตรการอบรมนั้น ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อธิบายว่า ประกอบด้วย 3 เนื้อหาหลัก ได้แก่ "ภาพรวม ธุรกิจพลังงาน" จะให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานโลก สถานการณ์พลังงานไทย และความสำคัญของพลังงานต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ "ธุรกิจพลังงานของไทย" จะสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของธุรกิจปิโตรเลียมของประเทศ ตั้งแต่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจการกลั่น ธุรกิจไฟฟ้า และพลังงานทางเลือก รวมถึงการแสวงหาพลังงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ และเนื้อหาสุดท้ายคือ "บทบาทผู้นำในสังคมกับการพัฒนาพลังงานไทยอย่างยั่งยืน" ประกอบด้วย การบริหารจัดการพลังงานให้เป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม การเพิ่มบทบาทเอกชนในธุรกิจพลังงาน และ การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการพลังงาน ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
ดร.เพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการหลักสูตร กล่าวเสริมว่า ในแต่ละห้องอบรมนั้น นอกจากการรับฟังบรรยายโดยวิทยากรซึ่งเป็นนักวิชาการและบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในด้านพลังงาน รวมถึงการระดมสมอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์และ กิจกรรมร่วมกันแล้ว ยังมีการจัดทริปศึกษา ดูงานแหล่งผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย หรือบนบก และเดินทางไปเยี่ยมชมประเทศที่มีกิจการพลังงานที่น่าสนใจ ทั้งนี้การอบรมหลักสูตรแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาและกำหนดการประมาณ 16 สัปดาห์ โดยหลักสูตรแรกจะเปิดการอบรมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม-16 กันยายน 2555 ทุกวันพฤหัสบดี ณ สถาบันวิทยาการพลังงาน อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ถนนวิภาวดีรังสิต
ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวทิ้งท้ายว่า การที่สถาบันวิทยาการพลังงานจะประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อตั้งได้นั้น อยู่ที่การให้ความร่วมมือของนักศึกษาในชั้นเรียน ในการที่จะนำหัวข้อพลังงานของประเทศมาพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืนของประเทศ ที่สำคัญต้องมีการนำข้อสรุปหรือสาระที่ได้ไปแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
--จบ--
Source - มติชน (Th), Sunday, May 13, 2012
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปจนย่างเข้าสู่ศตวรรษล่าสุด พลังงานที่พวกเราเคยมีใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยก็เริ่มลดน้อยถอยลงจนเข้าขั้นวิกฤติ โลกวันนี้จึงกำลังก้าวสู่ภาวะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่เกี่ยวกับเรื่องบริหารจัดการพลังงาน
เป็นจุดเริ่มต้นของ "สถาบันวิทยาการพลังงาน" ที่เป็นแนวคิดของกระทรวงพลังงาน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บุคลากรชั้นนำของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนนักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานอย่างลึกซึ้งในทุกมิติ เป็นการช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้มีความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนในอนาคต
เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงานของสถาบันวิทยาการพลังงาน หรือ วพน. ณ อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ โดยมี นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในงาน ร่วมกับบุคคลสำคัญ ได้แก่ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานและประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ในฐานะรองประธานกรรมการบริหารสถาบันฯ และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของ วพน. ท่ามกลางผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำต่างๆ ของประเทศ หรือส่วนหนึ่งของนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 72 คน
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การใช้พลังงานทั้งในประเทศและของโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากร ในขณะที่ปริมาณพลังงานมีจำนวนจำกัดและมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในส่วนของประเทศไทยแม้จะมีแหล่งพลังงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมาโดยตลอด กระทรวงพลังงานในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการบริหารจัดการให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกรวมถึงรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ด้านพลังงาน จึงได้จัดตั้งสถาบันแห่งนี้ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานให้แก่บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนทั่วไป
"สถาบันแห่งนี้จึงนับเป็นสถาบันแห่งแรกของประเทศที่มีบทบาทสำคัญที่จะ ทำให้ผู้บริหารระดับสูงและผู้นำทางความคิด ของทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจในความจำเป็นของพลังงาน และเข้าใจบทบาทที่ร่วมส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน"
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงที่มาของความร่วมมือการจัดตั้งสถาบัน ว่า เริ่มจากเมื่อครั้งที่ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ของ ปตท. และมีการพูดคุยกันว่า ทำอย่างไรจะให้ประเทศไทยมีสถาบันที่ทำหน้าที่ในการคิด สร้างสรรค์ และให้ความรู้ทางด้านพลังงานอย่างแท้จริงกับประชาชนในทุกๆ ส่วน
ในส่วนของโครงสร้างหลักสูตรการอบรมนั้น ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อธิบายว่า ประกอบด้วย 3 เนื้อหาหลัก ได้แก่ "ภาพรวม ธุรกิจพลังงาน" จะให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานโลก สถานการณ์พลังงานไทย และความสำคัญของพลังงานต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ "ธุรกิจพลังงานของไทย" จะสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของธุรกิจปิโตรเลียมของประเทศ ตั้งแต่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจการกลั่น ธุรกิจไฟฟ้า และพลังงานทางเลือก รวมถึงการแสวงหาพลังงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ และเนื้อหาสุดท้ายคือ "บทบาทผู้นำในสังคมกับการพัฒนาพลังงานไทยอย่างยั่งยืน" ประกอบด้วย การบริหารจัดการพลังงานให้เป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม การเพิ่มบทบาทเอกชนในธุรกิจพลังงาน และ การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการพลังงาน ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
ดร.เพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการหลักสูตร กล่าวเสริมว่า ในแต่ละห้องอบรมนั้น นอกจากการรับฟังบรรยายโดยวิทยากรซึ่งเป็นนักวิชาการและบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในด้านพลังงาน รวมถึงการระดมสมอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์และ กิจกรรมร่วมกันแล้ว ยังมีการจัดทริปศึกษา ดูงานแหล่งผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย หรือบนบก และเดินทางไปเยี่ยมชมประเทศที่มีกิจการพลังงานที่น่าสนใจ ทั้งนี้การอบรมหลักสูตรแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาและกำหนดการประมาณ 16 สัปดาห์ โดยหลักสูตรแรกจะเปิดการอบรมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม-16 กันยายน 2555 ทุกวันพฤหัสบดี ณ สถาบันวิทยาการพลังงาน อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ถนนวิภาวดีรังสิต
ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวทิ้งท้ายว่า การที่สถาบันวิทยาการพลังงานจะประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อตั้งได้นั้น อยู่ที่การให้ความร่วมมือของนักศึกษาในชั้นเรียน ในการที่จะนำหัวข้อพลังงานของประเทศมาพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืนของประเทศ ที่สำคัญต้องมีการนำข้อสรุปหรือสาระที่ได้ไปแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 222
ปตท.สผ.ชี้ซื้อกิจการนอกแข่งดุจับมือกลุ่มปตท.ลงทุนเป็นแพ็ค
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, May 15, 2012
ปตท.สผ.ชี้ลุยเดี่ยวซื้อกิจการต่างประเทศยากขึ้น ต้องจับมือกลุ่ม ปตท.ลงทุนเป็นแพ็คเกจ เหตุแข่งขันรุนแรงแถมคู่แข่งเป็นรายใหญ่ในจีน-ญี่ปุ่น ล่าสุดแพ้ประมูลแหล่งแอลเอ็นจีในออสเตรเลียให้กลุ่มมิตซูบิชิ เผยสนใจใช้โมเดลมาบตาพุดลงทุนในพม่า-กัมพูชา เทวินทร์ ระบุศึกษาดีลซื้อกิจการกว่า 40 ดีล แต่คาดตะแกรงไม่ถึง 5% ยังยึดแผนงานเดิมที่ตั้งเป้ากำลังการผลิตปีนี้ 2.84 แสนบาร์เรล คาดถึงเป้าภายในไตรมาส 2 ปีนี้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะการแข่งขันซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) ในต่างประเทศ โดยเฉพาะกิจการเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติและน้ำมันรุนแรงขึ้น โดยบริษัทที่ต้องการซื้อกิจการส่วนใหญ่อยู่ในประเทศผู้นำเข้าพลังงาน เช่น จีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดใหญ่ ล่าสุดทางบริษัทมิตซูบิชิ และมิตซุย ได้ชนะการประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในออสเตรเลีย ที่บริษัทได้ร่วมเสนอราคาด้วย เพราะให้ราคาสูงกว่าราคาบริษัทมาก ขณะการประมูลโคฟ เอเนอจี้ในอังกฤษก็มีคู่แข่ง
ดังนั้นการซื้อกิจการ จะใช้กลยุทธ์ไปเป็นแพ็คเกจกับเครือบริษัท ปตท.(PTT) มากขึ้น เพราะการเดินไปเดี่ยวๆ คงยากขึ้น สำหรับประเทศกำลังพัฒนา เช่น พม่า และกัมพูชา เครือ ปตท.มีความสนใจจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เหมือนกับการลงทุนในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดในไทย ซึ่งเป็นต้นแบบการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าที่ดี ส่วนการเข้าไปลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น โรงกลั่นน้ำมัน อาจจะต้องการพันธมิตรในอุตสาหกรรมต้นน้ำ ในแหล่งน้ำมันด้วย บริษัทก็จะหาโอกาสให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น
ขณะนี้บริษัทมีดีลทั้งหมดที่เข้ามาประมาณ 40 ดีล แค่คาดว่าจะผ่านตะแกรงกลั่นกรองเข้าสู่การพิจารณาขั้นสุดท้ายว่าจะลงทุนหรือไม่ไม่ถึง 5% ของที่ดูอยู่ทั้งหมด เพราะการลงทุนมีขั้นตอนการพิจารณาค่อนข้างมาก แม้บริษัทจะพยายามซื้อกิจการต่างประเทศ เพื่อให้กำลังการผลิตเป็นไปตามเป้า 9 แสนบาร์เรลต่อวันภายในปี 2563 แต่ก็ต้องประเมินโครงการที่จะซื้ออย่างรอบคอบ
ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างจัดทำแผนงานในปีหน้า และเริ่มวางทิศทางการเติบโตระยะยาวในช่วงปี 10-20 ปีข้างหน้า หรือในปี 2563-2573 แต่สำหรับแผนงานปีนี้นั้น ยังคงเป้าเดิมไว้ โดยตั้งเป้ายอดการผลิตปิโตรเลียมไว้ที่ 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน คาดว่าจะได้ตามเป้าในไตรมาส 2 ปีนี้ และภายในปี 2563 ตั้งเป้ายอดการผลิตไว้ที่ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยนอกจากการหาโอกาสซื้อกิจการต่างประเทศแล้ว ยังต้องพยายามรักษาระดับการผลิตแหล่งในประเทศไว้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง
ทั้งนี้บริษัทจะพยายามรักษาระดับอันดับเครดิตเรทติ้ง ไว้ในระดับปัจจุบันที่ BBB+ แม้ว่า สแตนดาร์ด แอนด์พัวร์ หรือเอสแอนด์พี จะให้แนวโน้มบริษัทเป็นลบ จากความกังวลเรื่องโครงสร้างการเงินจะอ่อนลง เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก เพื่อให้ได้กำลังการผลิตที่ระดับ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2563 เนื่องจากบริษัทพยายามรักษาระดับสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่ได้เกิน 1 เท่าอยู่แล้ว
นายเทวินทร์กล่าวว่า ปีนี้บริษัทมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านราคา (เฮดจิ้ง) ของราคาน้ำมันและคอนเดนเสทไม่เกิน 50% ของกำลังผลิตทั้งหมด หรือประมาณไม่เกิน 5 หมื่นบาร์เรล โดยในช่วงไตรมาส 2 นี้ ทำเฮดจิ้งแล้ว 2.5 หมื่นบาร์เรล และเริ่มทำของไตรมาส 3 ไว้แล้ว 5 พันบาร์เรล ยังเหลือช่องว่างให้ทำได้อีก ทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ผันผวนมากนัก หากราคาน้ำมันไม่ปรับสูงกว่า 125-130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
น.ส.เพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สผ. กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการออกหุ้นกู้ สกุลดอลลาร์ไม่เกิน 500-600 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเสนอขายได้ในช่วงปลายไตรมาส 2 หรือต้นไตรมาส 3 ปีนี้ อายุตั้งแต่ 10-30 ปีเพื่อมารีไฟแนนซ์หุ้นกู้ที่จะครบอายุ และปรับโครงสร้างหนี้ให้อยู่ระดับที่เหมาะสม
อินโดรามาลุ้นไตรมาส 2 โต 60%
ด้านนายดีลิป กุมาร์ อากาวาวล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ PET บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) กล่าวว่า กำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมและดอกเบี้ย (อีบิทด้า)ในไตรมาส 2/2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 60% จากไตรมาสแรก เนื่องจากจะเริ่มรับรู้รายได้จากบริษัทที่เข้าซื้อกิจการ Old World สหรัฐ ซึ่งผลิตภัณฑ์ โมโนเอทิลีนไกลคอน (MEG) โดยจะเริ่มบันทึกรายได้เข้ามาในไตรมาส 2 นี้
ผลประกอบการไตรมาสแรกถือเป็นช่วงต่ำสุดของปีนี้ และจากนี้เชื่อว่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสเปรดผลิตภัณฑ์ PTA จะเริ่มดีขึ้น หลังจากที่มีสินค้าล้นตลาดในตลาดเอเชีย ในช่วงไตรมาส แรก อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 20% จากปีก่อนที่อยู่ 6.11 พันล้านดอลลาร์
ยึดแผนงานเดิมที่ตั้งเป้ากำลังการผลิตปีนี้ 2.84 แสนบาร์เรล
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, May 15, 2012
ปตท.สผ.ชี้ลุยเดี่ยวซื้อกิจการต่างประเทศยากขึ้น ต้องจับมือกลุ่ม ปตท.ลงทุนเป็นแพ็คเกจ เหตุแข่งขันรุนแรงแถมคู่แข่งเป็นรายใหญ่ในจีน-ญี่ปุ่น ล่าสุดแพ้ประมูลแหล่งแอลเอ็นจีในออสเตรเลียให้กลุ่มมิตซูบิชิ เผยสนใจใช้โมเดลมาบตาพุดลงทุนในพม่า-กัมพูชา เทวินทร์ ระบุศึกษาดีลซื้อกิจการกว่า 40 ดีล แต่คาดตะแกรงไม่ถึง 5% ยังยึดแผนงานเดิมที่ตั้งเป้ากำลังการผลิตปีนี้ 2.84 แสนบาร์เรล คาดถึงเป้าภายในไตรมาส 2 ปีนี้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะการแข่งขันซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) ในต่างประเทศ โดยเฉพาะกิจการเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติและน้ำมันรุนแรงขึ้น โดยบริษัทที่ต้องการซื้อกิจการส่วนใหญ่อยู่ในประเทศผู้นำเข้าพลังงาน เช่น จีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดใหญ่ ล่าสุดทางบริษัทมิตซูบิชิ และมิตซุย ได้ชนะการประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในออสเตรเลีย ที่บริษัทได้ร่วมเสนอราคาด้วย เพราะให้ราคาสูงกว่าราคาบริษัทมาก ขณะการประมูลโคฟ เอเนอจี้ในอังกฤษก็มีคู่แข่ง
ดังนั้นการซื้อกิจการ จะใช้กลยุทธ์ไปเป็นแพ็คเกจกับเครือบริษัท ปตท.(PTT) มากขึ้น เพราะการเดินไปเดี่ยวๆ คงยากขึ้น สำหรับประเทศกำลังพัฒนา เช่น พม่า และกัมพูชา เครือ ปตท.มีความสนใจจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เหมือนกับการลงทุนในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดในไทย ซึ่งเป็นต้นแบบการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าที่ดี ส่วนการเข้าไปลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น โรงกลั่นน้ำมัน อาจจะต้องการพันธมิตรในอุตสาหกรรมต้นน้ำ ในแหล่งน้ำมันด้วย บริษัทก็จะหาโอกาสให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น
ขณะนี้บริษัทมีดีลทั้งหมดที่เข้ามาประมาณ 40 ดีล แค่คาดว่าจะผ่านตะแกรงกลั่นกรองเข้าสู่การพิจารณาขั้นสุดท้ายว่าจะลงทุนหรือไม่ไม่ถึง 5% ของที่ดูอยู่ทั้งหมด เพราะการลงทุนมีขั้นตอนการพิจารณาค่อนข้างมาก แม้บริษัทจะพยายามซื้อกิจการต่างประเทศ เพื่อให้กำลังการผลิตเป็นไปตามเป้า 9 แสนบาร์เรลต่อวันภายในปี 2563 แต่ก็ต้องประเมินโครงการที่จะซื้ออย่างรอบคอบ
ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างจัดทำแผนงานในปีหน้า และเริ่มวางทิศทางการเติบโตระยะยาวในช่วงปี 10-20 ปีข้างหน้า หรือในปี 2563-2573 แต่สำหรับแผนงานปีนี้นั้น ยังคงเป้าเดิมไว้ โดยตั้งเป้ายอดการผลิตปิโตรเลียมไว้ที่ 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน คาดว่าจะได้ตามเป้าในไตรมาส 2 ปีนี้ และภายในปี 2563 ตั้งเป้ายอดการผลิตไว้ที่ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยนอกจากการหาโอกาสซื้อกิจการต่างประเทศแล้ว ยังต้องพยายามรักษาระดับการผลิตแหล่งในประเทศไว้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง
ทั้งนี้บริษัทจะพยายามรักษาระดับอันดับเครดิตเรทติ้ง ไว้ในระดับปัจจุบันที่ BBB+ แม้ว่า สแตนดาร์ด แอนด์พัวร์ หรือเอสแอนด์พี จะให้แนวโน้มบริษัทเป็นลบ จากความกังวลเรื่องโครงสร้างการเงินจะอ่อนลง เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก เพื่อให้ได้กำลังการผลิตที่ระดับ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2563 เนื่องจากบริษัทพยายามรักษาระดับสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่ได้เกิน 1 เท่าอยู่แล้ว
นายเทวินทร์กล่าวว่า ปีนี้บริษัทมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านราคา (เฮดจิ้ง) ของราคาน้ำมันและคอนเดนเสทไม่เกิน 50% ของกำลังผลิตทั้งหมด หรือประมาณไม่เกิน 5 หมื่นบาร์เรล โดยในช่วงไตรมาส 2 นี้ ทำเฮดจิ้งแล้ว 2.5 หมื่นบาร์เรล และเริ่มทำของไตรมาส 3 ไว้แล้ว 5 พันบาร์เรล ยังเหลือช่องว่างให้ทำได้อีก ทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ผันผวนมากนัก หากราคาน้ำมันไม่ปรับสูงกว่า 125-130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
น.ส.เพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สผ. กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการออกหุ้นกู้ สกุลดอลลาร์ไม่เกิน 500-600 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเสนอขายได้ในช่วงปลายไตรมาส 2 หรือต้นไตรมาส 3 ปีนี้ อายุตั้งแต่ 10-30 ปีเพื่อมารีไฟแนนซ์หุ้นกู้ที่จะครบอายุ และปรับโครงสร้างหนี้ให้อยู่ระดับที่เหมาะสม
อินโดรามาลุ้นไตรมาส 2 โต 60%
ด้านนายดีลิป กุมาร์ อากาวาวล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ PET บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) กล่าวว่า กำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมและดอกเบี้ย (อีบิทด้า)ในไตรมาส 2/2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 60% จากไตรมาสแรก เนื่องจากจะเริ่มรับรู้รายได้จากบริษัทที่เข้าซื้อกิจการ Old World สหรัฐ ซึ่งผลิตภัณฑ์ โมโนเอทิลีนไกลคอน (MEG) โดยจะเริ่มบันทึกรายได้เข้ามาในไตรมาส 2 นี้
ผลประกอบการไตรมาสแรกถือเป็นช่วงต่ำสุดของปีนี้ และจากนี้เชื่อว่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสเปรดผลิตภัณฑ์ PTA จะเริ่มดีขึ้น หลังจากที่มีสินค้าล้นตลาดในตลาดเอเชีย ในช่วงไตรมาส แรก อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 20% จากปีก่อนที่อยู่ 6.11 พันล้านดอลลาร์
ยึดแผนงานเดิมที่ตั้งเป้ากำลังการผลิตปีนี้ 2.84 แสนบาร์เรล
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 223
ยึดเวทีผู้นำWEF ดูดทุนต่างชาติดัน16บริษัทยักษ์ไทยเชื่อมโลก
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, May 16, 2012
รัฐบาลไทยเตรียมใช้เวที WEF โชว์ศักยภาพอีกครั้งยันพร้อมปรับทั้งโครงสร้างพื้นฐาน แผนบริหารจัดการน้ำจนถึงปรับปรุงกฎหมาย หวังได้รับความเชื่อมั่นดึงต่างชาติลงทุนทั้งการค้าอุตสาหกรรมพ่วงท่องเที่ยวทั้งสร้างรายได้และถ่ายทอดองค์ความรู้ชี้เป็นโอกาสของประเทศและ 16 ยักษ์ใหญ่ทุนไทยได้สร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงภูมิภาค
นายนิวัฒน์ธำรงบุญทรงไพศาลรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าสืบเนื่องจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมประชุมประจำปีระดับผู้นำ World Economic Forum (WEF) ณเมืองดาวอส และได้ใช้เวทีดังกล่าวชี้แจงทำความเข้าใจ และสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่างประเทศมาแล้วตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาทั้งประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเอเชียตะวันออก หรือ World Economic Forum on East Asia 2012 (WEF) ในประเทศไทยเพราะเห็นว่าจะเป็นเครื่องแสดงถึงความเชื่อมั่นของประชาคมธุรกิจโลกต่อการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองไทยซึ่งการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือก
ซึ่งการประชุม World Economic Forum on East Asia ที่กรุงเทพฯ จัดระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-1 มิถุนายน2555 ภายใต้หัวข้อ "Shapingthe Region’s Future through Connectivity" เป็นการกำหนดอนาคตต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยการเชื่อมโยงเพื่อเป็นแนวทางการสร้างความเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจโลกผ่านมิติด้านการพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตอย่างเท่าเทียมกัน โดยการประชุมจะมี 3 หัวข้อย่อย คือ1.การทบทวนรูปแบบของภูมิภาค สำหรับโลกยุคใหม่( Rethink-ing Regional Models for a New Global Context) ซึ่งบางครั้งการรวมตัวของอาเซียนอาจจะเป็นโอกาสของการลงทุนแต่อาจเป็นการคุกคาม (threat) ของการลงทุนเช่นกันเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในอาเซียนอย่างมาก
สำหรับประเทศไทยต้องการที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนไม่ใช่เป็นเพียงทางผ่าน รัฐบาลจึงเตรียมที่จะก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการเชื่อมโยงกับภูมิภาคเช่นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะไปถึงมาเลเซียจีน โครงการถนนอีสต์เวสต์คอร์ริดอร์ นอร์ธเวสต์คอร์ริดอร์ เป็นต้นความน่าสนใจของการลงทุนเช่นความปลอดภัยอย่างปัญหาน้ำท่วม ซึ่งรัฐบาลสามารถบอกกล่าวถึงแผนการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนมากขึ้นและจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้ เรื่องนิสัยใจคอของคนไทยที่จะทำให้ต่างชาติต้องการเข้ามาลงทุนด้วย ซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงาน นอกจากนั้นเรื่องอื่นๆที่จะเป็นการสนับสนุนการลงทุนที่อาจจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย ที่ทางบีโอไอต้องพิจารณาทบทวนเช่นกัน
หัวข้อที่จะหารือประเด็นที่2.การรับ มือกับความเสี่ยงในภูมิภาค Responding to a Region@Risk เช่นความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนอาหารของโลก ภัยพิบัติพลังงานเป็นต้นซึ่งถือเป็นโอกาสของประเทศไทยอย่างมาก และ 3. การบรรลุความเชื่อมโยงในภูมิภาค ( Realizing Regional Connectivity) ที่จะเป็นการเชื่อมโยงเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชน เทคโนโลยี วัฒนธรรมจนถึงเรื่องอุตสาหกรรมซึ่งการประชุม WEF ครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากผู้นำประเทศอินโดนีเซีย พม่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และนายกรัฐมนตรีประเทศบาห์เรนเป็นต้น สมาชิก WEF กลุ่มอุตสาหกรรมการค้า พลังงาน ไอซีที และท่องเที่ยว ซึ่งเป็นนักธุรกิจชั้นนำของโลกที่จะเดินทางมาร่วมประชุมที่ประเทศไทยกว่า 600 คนอาทิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮิวเลตต์-แพคการ์ด (HP ) ฟูจิตสึ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ยังมีกลุ่มสมาชิกของไทยที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีอยู่ 16 บริษัท อาทิ กลุ่มบมจ.ปตท. บมจ.การบินไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ กฟผ. บมจ.ช.การช่าง กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มไออาร์ พีซีกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ ซีพี บางจากปิโตรเลียม และศรีไทยซุปเปอร์ แวร์ เป็นต้น
"การจัดงานนี้เจ้าของประเทศจะได้ประโยชน์มากเมื่อมีนักธุรกิจเข้ามาพูดคุยรัฐบาลก็หวังใน5ประเด็นคือ1.ให้ต่างประเทศเห็นศักยภาพและเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และการเมืองของไทยและจูงใจให้เข้ามาลงทุนด้านการค้า ท่องเที่ยว จึงจะใช้โอกาสนี้สร้างความเชื่อมั่นในด้านต่างๆหลังสถานการณ์อุทกภัย โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวเพราะหลังจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมาทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศลดลงซึ่งจะเป็นเป้าหมายหลักให้นักลงทุนเห็นกับตาว่าไทยพร้อมทางด้านต่างๆ2.การจัดประชุมระดับโลกเช่นนี้จะมีสื่อชั้นนำคาดว่ามีกว่า 200คน จะมาช่วยถ่ายทอดความรู้สึกและเผยแพร่ไทยไปทั่วโลกในบางหัวข้อจะมีการถ่ายทอด CNBCซึ่งน่าจะเป็นที่น่าสนใจกับนักลงทุน
3. ผลพลอยได้ต่อไปคือเรื่องรายได้จากการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวของผู้ที่มาร่วมประชุมในไทยเพราะผู้ที่มาก็มักมีผู้ติดตามมาด้วย4.หวังผลพวงจากการประชุมจะมีการลงทุนการค้า ท่องเที่ยวตามมา อย่างที่ปี 2554 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดงานระบุว่าหลังการจัดงานประชุมมีนักลงทุนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรปเกาหลีใต้ จะมาลงทุนประมาณ 6.2 แสนล้านบาท ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และ5.การถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการและด้านต่างๆเป็นการสร้างเครือข่าย"
นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวต่อว่าโอกาสของนักลงทุนไทยคือช่วงก่อนการประชุมจะมีการประชุมกลุ่มย่อยหรือPrivate Session แต่ละกลุ่มธุรกิจจะมีหน่วยงานรับผิดชอบอาทิ ด้านพลังงานทางปตท.อาจเป็นแกนนำ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เป็นเจ้าภาพการประชุมกลุ่มไอซีที กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดูแลกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบีโอไอเชิญกลุ่มอุตสาหกรรมโดยอาจจะมีการหารือเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งการประชุมลักษณะนี้จะเป็นโอกาสให้นักธุรกิจไทยอย่างมากสำหรับการสร้างเครือข่ายในอนาคต
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 17 - 19 พ.ค. 2555--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, May 16, 2012
รัฐบาลไทยเตรียมใช้เวที WEF โชว์ศักยภาพอีกครั้งยันพร้อมปรับทั้งโครงสร้างพื้นฐาน แผนบริหารจัดการน้ำจนถึงปรับปรุงกฎหมาย หวังได้รับความเชื่อมั่นดึงต่างชาติลงทุนทั้งการค้าอุตสาหกรรมพ่วงท่องเที่ยวทั้งสร้างรายได้และถ่ายทอดองค์ความรู้ชี้เป็นโอกาสของประเทศและ 16 ยักษ์ใหญ่ทุนไทยได้สร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงภูมิภาค
นายนิวัฒน์ธำรงบุญทรงไพศาลรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าสืบเนื่องจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมประชุมประจำปีระดับผู้นำ World Economic Forum (WEF) ณเมืองดาวอส และได้ใช้เวทีดังกล่าวชี้แจงทำความเข้าใจ และสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่างประเทศมาแล้วตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาทั้งประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเอเชียตะวันออก หรือ World Economic Forum on East Asia 2012 (WEF) ในประเทศไทยเพราะเห็นว่าจะเป็นเครื่องแสดงถึงความเชื่อมั่นของประชาคมธุรกิจโลกต่อการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองไทยซึ่งการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือก
ซึ่งการประชุม World Economic Forum on East Asia ที่กรุงเทพฯ จัดระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-1 มิถุนายน2555 ภายใต้หัวข้อ "Shapingthe Region’s Future through Connectivity" เป็นการกำหนดอนาคตต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยการเชื่อมโยงเพื่อเป็นแนวทางการสร้างความเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจโลกผ่านมิติด้านการพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตอย่างเท่าเทียมกัน โดยการประชุมจะมี 3 หัวข้อย่อย คือ1.การทบทวนรูปแบบของภูมิภาค สำหรับโลกยุคใหม่( Rethink-ing Regional Models for a New Global Context) ซึ่งบางครั้งการรวมตัวของอาเซียนอาจจะเป็นโอกาสของการลงทุนแต่อาจเป็นการคุกคาม (threat) ของการลงทุนเช่นกันเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในอาเซียนอย่างมาก
สำหรับประเทศไทยต้องการที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนไม่ใช่เป็นเพียงทางผ่าน รัฐบาลจึงเตรียมที่จะก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการเชื่อมโยงกับภูมิภาคเช่นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะไปถึงมาเลเซียจีน โครงการถนนอีสต์เวสต์คอร์ริดอร์ นอร์ธเวสต์คอร์ริดอร์ เป็นต้นความน่าสนใจของการลงทุนเช่นความปลอดภัยอย่างปัญหาน้ำท่วม ซึ่งรัฐบาลสามารถบอกกล่าวถึงแผนการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนมากขึ้นและจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้ เรื่องนิสัยใจคอของคนไทยที่จะทำให้ต่างชาติต้องการเข้ามาลงทุนด้วย ซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงาน นอกจากนั้นเรื่องอื่นๆที่จะเป็นการสนับสนุนการลงทุนที่อาจจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย ที่ทางบีโอไอต้องพิจารณาทบทวนเช่นกัน
หัวข้อที่จะหารือประเด็นที่2.การรับ มือกับความเสี่ยงในภูมิภาค Responding to a Region@Risk เช่นความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนอาหารของโลก ภัยพิบัติพลังงานเป็นต้นซึ่งถือเป็นโอกาสของประเทศไทยอย่างมาก และ 3. การบรรลุความเชื่อมโยงในภูมิภาค ( Realizing Regional Connectivity) ที่จะเป็นการเชื่อมโยงเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชน เทคโนโลยี วัฒนธรรมจนถึงเรื่องอุตสาหกรรมซึ่งการประชุม WEF ครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากผู้นำประเทศอินโดนีเซีย พม่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และนายกรัฐมนตรีประเทศบาห์เรนเป็นต้น สมาชิก WEF กลุ่มอุตสาหกรรมการค้า พลังงาน ไอซีที และท่องเที่ยว ซึ่งเป็นนักธุรกิจชั้นนำของโลกที่จะเดินทางมาร่วมประชุมที่ประเทศไทยกว่า 600 คนอาทิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮิวเลตต์-แพคการ์ด (HP ) ฟูจิตสึ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ยังมีกลุ่มสมาชิกของไทยที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีอยู่ 16 บริษัท อาทิ กลุ่มบมจ.ปตท. บมจ.การบินไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ กฟผ. บมจ.ช.การช่าง กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มไออาร์ พีซีกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ ซีพี บางจากปิโตรเลียม และศรีไทยซุปเปอร์ แวร์ เป็นต้น
"การจัดงานนี้เจ้าของประเทศจะได้ประโยชน์มากเมื่อมีนักธุรกิจเข้ามาพูดคุยรัฐบาลก็หวังใน5ประเด็นคือ1.ให้ต่างประเทศเห็นศักยภาพและเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และการเมืองของไทยและจูงใจให้เข้ามาลงทุนด้านการค้า ท่องเที่ยว จึงจะใช้โอกาสนี้สร้างความเชื่อมั่นในด้านต่างๆหลังสถานการณ์อุทกภัย โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวเพราะหลังจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมาทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศลดลงซึ่งจะเป็นเป้าหมายหลักให้นักลงทุนเห็นกับตาว่าไทยพร้อมทางด้านต่างๆ2.การจัดประชุมระดับโลกเช่นนี้จะมีสื่อชั้นนำคาดว่ามีกว่า 200คน จะมาช่วยถ่ายทอดความรู้สึกและเผยแพร่ไทยไปทั่วโลกในบางหัวข้อจะมีการถ่ายทอด CNBCซึ่งน่าจะเป็นที่น่าสนใจกับนักลงทุน
3. ผลพลอยได้ต่อไปคือเรื่องรายได้จากการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวของผู้ที่มาร่วมประชุมในไทยเพราะผู้ที่มาก็มักมีผู้ติดตามมาด้วย4.หวังผลพวงจากการประชุมจะมีการลงทุนการค้า ท่องเที่ยวตามมา อย่างที่ปี 2554 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดงานระบุว่าหลังการจัดงานประชุมมีนักลงทุนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรปเกาหลีใต้ จะมาลงทุนประมาณ 6.2 แสนล้านบาท ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และ5.การถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการและด้านต่างๆเป็นการสร้างเครือข่าย"
นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวต่อว่าโอกาสของนักลงทุนไทยคือช่วงก่อนการประชุมจะมีการประชุมกลุ่มย่อยหรือPrivate Session แต่ละกลุ่มธุรกิจจะมีหน่วยงานรับผิดชอบอาทิ ด้านพลังงานทางปตท.อาจเป็นแกนนำ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เป็นเจ้าภาพการประชุมกลุ่มไอซีที กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดูแลกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบีโอไอเชิญกลุ่มอุตสาหกรรมโดยอาจจะมีการหารือเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งการประชุมลักษณะนี้จะเป็นโอกาสให้นักธุรกิจไทยอย่างมากสำหรับการสร้างเครือข่ายในอนาคต
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 17 - 19 พ.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 224
Thailand signs MoU with Angola
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, May 17, 2012
YUTHANA PRAIWAN
The government is teaming up with Angola and Qatar to help secure a steady energy supply.
A memorandum of understanding (MoU) was signed in Bangkok on Tuesday between Thai Energy Minister Arak Chonlatanon and Angolan Petroleum Minister Joseซ Maria Botelho de Vasconcelos.
The MoU covers joint development of human resources, legal issues and market-related information exchange.
The cooperation will be carried out mainly by the national oil companies PTT Plc and Sonangol.
The partnership will also open up opportunities for petroleum business investment, both upstream and downstream.
In addition to oil and natural gas,resource-rich Angola is developing lique-fied natural gas (LNG).
"Angola is Africa’s second-largest crude oil producer. The region provides new crude resources that can help Thailand avert crude oil disruption from the Middle East if political tension in the region emerges," said Mr Arak.
For Qatar, PTT Plc is now talking with state-owned Qatargas for a long-term purchase contract of 2 million tonnes of LNG a year, he said.
The issue was raised during this week’s state visit to Qatar by Prime Minister Yingluck Shinawatra.
A source said PTT has already closed a deal to buy 2 million tonnes a year and is seeking to buy another 500,000 tonnes to meet LNG demand in Thailand.
The Energy Policy and Planning Office last month projected gas demand to grow by 7.4% this year to 4.51 billion cubic feet per day from 4.1 billion cfpd a year ago.
The demand will come from the power and industrial sectors and compressed natural gas users.
PTT is designing the US$400-million second phase of the LNG receiving terminal in its oil and chemical complex in Map Ta Phut.
When completed, annual capacity will be doubled to 10 million tonnes or 1.4 billion cfpd.
The second phase is scheduled to become operational in 2016.
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, May 17, 2012
YUTHANA PRAIWAN
The government is teaming up with Angola and Qatar to help secure a steady energy supply.
A memorandum of understanding (MoU) was signed in Bangkok on Tuesday between Thai Energy Minister Arak Chonlatanon and Angolan Petroleum Minister Joseซ Maria Botelho de Vasconcelos.
The MoU covers joint development of human resources, legal issues and market-related information exchange.
The cooperation will be carried out mainly by the national oil companies PTT Plc and Sonangol.
The partnership will also open up opportunities for petroleum business investment, both upstream and downstream.
In addition to oil and natural gas,resource-rich Angola is developing lique-fied natural gas (LNG).
"Angola is Africa’s second-largest crude oil producer. The region provides new crude resources that can help Thailand avert crude oil disruption from the Middle East if political tension in the region emerges," said Mr Arak.
For Qatar, PTT Plc is now talking with state-owned Qatargas for a long-term purchase contract of 2 million tonnes of LNG a year, he said.
The issue was raised during this week’s state visit to Qatar by Prime Minister Yingluck Shinawatra.
A source said PTT has already closed a deal to buy 2 million tonnes a year and is seeking to buy another 500,000 tonnes to meet LNG demand in Thailand.
The Energy Policy and Planning Office last month projected gas demand to grow by 7.4% this year to 4.51 billion cubic feet per day from 4.1 billion cfpd a year ago.
The demand will come from the power and industrial sectors and compressed natural gas users.
PTT is designing the US$400-million second phase of the LNG receiving terminal in its oil and chemical complex in Map Ta Phut.
When completed, annual capacity will be doubled to 10 million tonnes or 1.4 billion cfpd.
The second phase is scheduled to become operational in 2016.
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 225
คอลัมน์: สกู๊ปหน้า 1: ถกผู้นำอีสต์เอเชีย(2) 'พลังงาน' หัวข้อร้อนที่ต้องรู้ลึก!
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, May 17, 2012
การประชุม ’เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย 2012 (World Economic Forum on East Asia 2012)" ซึ่งจะมีขึ้นในประเทศไทย ในกรุงเทพฯ ช่วงวันที่ 30 พ.ค.-1 มิ.ย. 2555 โดยจะมีผู้นำประเทศในเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น และภาคเอกชนระดับโลกที่ลงทุนหรือสนใจจะลงทุนในภูมิภาคเอเชีย มาร่วมประชุมกันนั้น
เวทีประชุมเวทีนี้สำคัญ.คนไทยควรจะสนใจและหัวข้อเกี่ยวกับพลังงาน.ก็ยิ่งน่าติดตาม.ทั้งนี้ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุถึงการประชุมดังกล่าวนี้ว่า.การประชุมนี้มีความสำคัญ มีประเด็นที่คนไทยควรติดตามและให้ความสนใจ เนื่องจากจะเห็นทิศทางและแนวคิดของประเทศที่เข้าประชุม ต่อกรอบเศรษฐกิจ และพลังงาน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะใน 3 ปีข้างหน้าที่ประเทศในอาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในส่วนของ ’พลังงาน" ผู้นำด้านพลังงานของประเทศสมาชิกจะมาร่วมกำหนดกรอบแนวคิดและความร่วมมือเพื่อปลดล็อกปัญหาต่าง ๆ ที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่ เพื่อให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยอาจมีการพูดถึงนโยบายชดเชยราคาพลังงานที่กำลังเป็นปัญหาในหลายประเทศ ทั้งด้านที่กระทบต่อสถานะการเงินของประเทศ กระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพราะเมื่อมีการชดเชยราคาก็อาจทำให้มีการใช้พลังงานฟุ่มเฟือย และท้ายสุดก็ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก
ดร.ไพรินทร์ ระบุว่า.ในอนาคตอันใกล้อุตสาหกรรมพลังงานจะต่างจากปัจจุบัน ซึ่งจากต้นปีถึงขณะนี้ก็มีเหตุการณ์และนโยบายด้านพลังงานเกิดขึ้นในหลายประเทศ ชนิดที่เรียกได้ว่า ’จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม" เช่น ออสเตรเลีย จะเก็บภาษีจากบริษัทที่ก่อมลพิษตั้งแต่ 1 ก.ค. นี้ และรัฐบาลจะตั้งกองทุนพลังงานสะอาด มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 3 แสนล้านบาท) หนุนการใช้พลังงานทดแทน
ญี่ปุ่น จากประเทศที่ไฟฟ้า 40% ผลิตจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็เปลี่ยนโฉมไป เมื่อ เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา มีการสั่งปิด 2 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์สุดท้ายจากที่เคยมีอยู่ 54 โรง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น เพียง 1 ปีหลังการเกิดสึนามิ
สหรัฐอเมริกา องค์กรควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎใหม่ควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโรงไฟฟ้าต่อการผลิตที่คิดเป็นเมกะวัตต์ชั่วโมง ซึ่งหมายถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม้จะเพิ่งสร้างเสร็จก็อาจต้องปิดตัวลง
เหตุการณ์และนโยบายด้านพลังงานเหล่านี้ เป็นตัวอย่างที่บ่งชี้ว่า’อุตสาหกรรมพลังงาน"ถึงเวลาแล้วที่ ’ต้องปรับตัว"และ ’ต้องใส่ใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น" ซึ่งใน ’ประเทศไทยก็เช่นกัน"สำหรับไทย ดร.ไพรินทร์บอกว่า.สิ่งสำคัญคือคนไทยต้องรู้ว่าวันนี้เราอยู่จุดไหนด้านพลังงาน? โดยอุตสาหกรรมพลังงานจะมีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ.1. จะหาพลังงานมาได้อย่างไร-วิธีไหน??, 2. พลังงานที่หาได้ต้องมีมากพอ ราคาเหมาะสม สามารถสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ 3. สิ่งแวดล้อม แต่ที่ผ่านมาองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เราไม่สามารถสร้างให้สมดุลหรือไปด้วยกันได้ เมื่อดีด้านหนึ่งก็จะกระทบอีก 2 ด้านเสมอ
"นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ ปตท. เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุม เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งครั้งนี้ จะมีการประชุมแบบเวิร์กช็อปเพื่อหาทางออกทำเป็นข้อเสนอแนะให้กับรัฐบาล เพื่อสร้างสมดุลองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านของอุตสาหกรรมพลังงาน และในฐานะที่ ปตท. เป็นหนึ่งในองค์กรพลังงานชั้นนำของภูมิภาค จึงมีหน้าที่ต้องส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนรู้เท่าตามทันถึงโครงสร้างและปัจจัยด้านพลังงานอย่างแท้จริง"
ดร.ไพรินทร์ ยังระบุอีกว่า.การประชุมครั้งนี้ ปตท. ได้เชิญผู้นำของบริษัทพลังงานแห่งชาติจาก 10 ประเทศสมาชิก ที่วันนี้ได้รวมตัวกันเป็นคณะมนตรีด้านปิโตรเลียมของอาเซียน มาหารือร่วมกัน และในการประชุมครั้งนี้ก็จะมีการถก และจะทำการตกลงกันใน "5 หลักการพลังงานเพื่อสังคมยั่งยืน" ซึ่งประกอบด้วย.1. การหาพลังงานให้ได้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการพลังงาน 2. ระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพสร้างระบบหรือส่งเสริมให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีกว่าการชดเชยหรือพยุงราคา 3. การมีส่วนร่วมรับผิดชอบของผู้ใช้ เพื่อหามิติและทางออกของพลังงานที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ 4. พลังงานต้องสนับสนุนภาคเศรษฐกิจ สร้างสมดุลระหว่างการสร้างความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจและการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คน 5. ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้าใจและมีความรู้ด้านพลังงาน จากที่แค่รู้สึก แต่ไม่ได้รู้ถึงโครงสร้างและมิติต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้มองประเด็นพลังงานผิด ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่าง ’รู้สึก" กับ ’เข้าใจ" ซึ่งต้องส่งเสริมให้รู้และเข้าใจอย่างแท้จริง
เหล่านี้ก็เป็นทิศทางที่จะเกิดขึ้นหลังการประชุมโดยเฉพาะเรื่อง ’พลังงาน" ที่เป็น ’หัวข้อร้อน"’เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวัน" จึง ’ต้องสนใจ!!!".
--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 พ.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, May 17, 2012
การประชุม ’เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย 2012 (World Economic Forum on East Asia 2012)" ซึ่งจะมีขึ้นในประเทศไทย ในกรุงเทพฯ ช่วงวันที่ 30 พ.ค.-1 มิ.ย. 2555 โดยจะมีผู้นำประเทศในเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น และภาคเอกชนระดับโลกที่ลงทุนหรือสนใจจะลงทุนในภูมิภาคเอเชีย มาร่วมประชุมกันนั้น
เวทีประชุมเวทีนี้สำคัญ.คนไทยควรจะสนใจและหัวข้อเกี่ยวกับพลังงาน.ก็ยิ่งน่าติดตาม.ทั้งนี้ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุถึงการประชุมดังกล่าวนี้ว่า.การประชุมนี้มีความสำคัญ มีประเด็นที่คนไทยควรติดตามและให้ความสนใจ เนื่องจากจะเห็นทิศทางและแนวคิดของประเทศที่เข้าประชุม ต่อกรอบเศรษฐกิจ และพลังงาน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะใน 3 ปีข้างหน้าที่ประเทศในอาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในส่วนของ ’พลังงาน" ผู้นำด้านพลังงานของประเทศสมาชิกจะมาร่วมกำหนดกรอบแนวคิดและความร่วมมือเพื่อปลดล็อกปัญหาต่าง ๆ ที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่ เพื่อให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยอาจมีการพูดถึงนโยบายชดเชยราคาพลังงานที่กำลังเป็นปัญหาในหลายประเทศ ทั้งด้านที่กระทบต่อสถานะการเงินของประเทศ กระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพราะเมื่อมีการชดเชยราคาก็อาจทำให้มีการใช้พลังงานฟุ่มเฟือย และท้ายสุดก็ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก
ดร.ไพรินทร์ ระบุว่า.ในอนาคตอันใกล้อุตสาหกรรมพลังงานจะต่างจากปัจจุบัน ซึ่งจากต้นปีถึงขณะนี้ก็มีเหตุการณ์และนโยบายด้านพลังงานเกิดขึ้นในหลายประเทศ ชนิดที่เรียกได้ว่า ’จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม" เช่น ออสเตรเลีย จะเก็บภาษีจากบริษัทที่ก่อมลพิษตั้งแต่ 1 ก.ค. นี้ และรัฐบาลจะตั้งกองทุนพลังงานสะอาด มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 3 แสนล้านบาท) หนุนการใช้พลังงานทดแทน
ญี่ปุ่น จากประเทศที่ไฟฟ้า 40% ผลิตจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็เปลี่ยนโฉมไป เมื่อ เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา มีการสั่งปิด 2 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์สุดท้ายจากที่เคยมีอยู่ 54 โรง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น เพียง 1 ปีหลังการเกิดสึนามิ
สหรัฐอเมริกา องค์กรควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎใหม่ควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโรงไฟฟ้าต่อการผลิตที่คิดเป็นเมกะวัตต์ชั่วโมง ซึ่งหมายถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม้จะเพิ่งสร้างเสร็จก็อาจต้องปิดตัวลง
เหตุการณ์และนโยบายด้านพลังงานเหล่านี้ เป็นตัวอย่างที่บ่งชี้ว่า’อุตสาหกรรมพลังงาน"ถึงเวลาแล้วที่ ’ต้องปรับตัว"และ ’ต้องใส่ใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น" ซึ่งใน ’ประเทศไทยก็เช่นกัน"สำหรับไทย ดร.ไพรินทร์บอกว่า.สิ่งสำคัญคือคนไทยต้องรู้ว่าวันนี้เราอยู่จุดไหนด้านพลังงาน? โดยอุตสาหกรรมพลังงานจะมีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ.1. จะหาพลังงานมาได้อย่างไร-วิธีไหน??, 2. พลังงานที่หาได้ต้องมีมากพอ ราคาเหมาะสม สามารถสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ 3. สิ่งแวดล้อม แต่ที่ผ่านมาองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เราไม่สามารถสร้างให้สมดุลหรือไปด้วยกันได้ เมื่อดีด้านหนึ่งก็จะกระทบอีก 2 ด้านเสมอ
"นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ ปตท. เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุม เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งครั้งนี้ จะมีการประชุมแบบเวิร์กช็อปเพื่อหาทางออกทำเป็นข้อเสนอแนะให้กับรัฐบาล เพื่อสร้างสมดุลองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านของอุตสาหกรรมพลังงาน และในฐานะที่ ปตท. เป็นหนึ่งในองค์กรพลังงานชั้นนำของภูมิภาค จึงมีหน้าที่ต้องส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนรู้เท่าตามทันถึงโครงสร้างและปัจจัยด้านพลังงานอย่างแท้จริง"
ดร.ไพรินทร์ ยังระบุอีกว่า.การประชุมครั้งนี้ ปตท. ได้เชิญผู้นำของบริษัทพลังงานแห่งชาติจาก 10 ประเทศสมาชิก ที่วันนี้ได้รวมตัวกันเป็นคณะมนตรีด้านปิโตรเลียมของอาเซียน มาหารือร่วมกัน และในการประชุมครั้งนี้ก็จะมีการถก และจะทำการตกลงกันใน "5 หลักการพลังงานเพื่อสังคมยั่งยืน" ซึ่งประกอบด้วย.1. การหาพลังงานให้ได้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการพลังงาน 2. ระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพสร้างระบบหรือส่งเสริมให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีกว่าการชดเชยหรือพยุงราคา 3. การมีส่วนร่วมรับผิดชอบของผู้ใช้ เพื่อหามิติและทางออกของพลังงานที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ 4. พลังงานต้องสนับสนุนภาคเศรษฐกิจ สร้างสมดุลระหว่างการสร้างความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจและการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คน 5. ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้าใจและมีความรู้ด้านพลังงาน จากที่แค่รู้สึก แต่ไม่ได้รู้ถึงโครงสร้างและมิติต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้มองประเด็นพลังงานผิด ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่าง ’รู้สึก" กับ ’เข้าใจ" ซึ่งต้องส่งเสริมให้รู้และเข้าใจอย่างแท้จริง
เหล่านี้ก็เป็นทิศทางที่จะเกิดขึ้นหลังการประชุมโดยเฉพาะเรื่อง ’พลังงาน" ที่เป็น ’หัวข้อร้อน"’เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวัน" จึง ’ต้องสนใจ!!!".
--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 พ.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 226
UAC เร่งโครงการ CBG หวังปั้นรายได้เพิ่มเฉลี่ย 50ล.ต่อปี
เดินหน้าทุ่มงบกว่า600ลบ.ต่อยอดธุรกิจผลิตก๊าซจ.สุโขทัย
17 พ.ค. 55
บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอน เคมิคัลส์ (UAC) เตรียมส่งมอบก๊าซชีวภาพอัดจากฟาร์มสุกร (CBG)ให้PTT ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เชื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้บริษัทฯเฉลี่ย 50 ล้านบาทต่อปี พร้อมทุ่มงบกว่า 600 ล้านบาท ดันธุรกิจพลังงานโครงการผลิต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จ.สุโขทัย ให้เสร็จทันไตรมาส1/2556 ด้าน “ กิตติ ชีวะเกตุ ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ มั่นใจ อีก3ปีหน้าข้างหน้า UAC มีรายได้แตะ 2,000 ล้านบาท รองรับการลอยตัวราคาพลังงาน เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ขณะที่ปี55 เชื่อมีรายได้1,000 ล้านบาท
นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอน เคมิคัลส์ (UAC)ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า และจำหน่ายสารเคมี ที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่นและปิโตรเคมี เปิดเผยว่า แผนขยายการลงทุน อาทิ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพอัดจากฟาร์มสุกร (Compressed Bio-methane Gas ) (CBG) จ. เชียงใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และกำหนดส่งมอบให้กับ บมจ.ปตท(PTT) ภายในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยมีกำลังการผลิตที่ 6- 8 ตัน/วัน หรือประมาณ 3,000 ตัน/ปี ทั้งนี้ UAC ได้เซ็นสัญญาในการผลิตก๊าซชีวภาพอัด เพื่อส่งมอบและจำหน่ายให้กับ PTT เป็นระยะเวลา 15 ปี และคาดว่าจะได้รับรู้รายได้ จากโครงการดังกล่าว เฉลี่ยปีละประมาณ 50 ล้านบาท โดยจะเริ่มทยอยรับรู้ ตั้งแต่ไตรมาส 3/2555 เป็นต้นไป
ส่วนกรณีที่บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจาก UOP ในการเข้าไปจำหน่ายเคมีภัณฑ์ ให้กับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่านั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานในการเข้าไปเป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าแผนดังกล่าว จะมีความชัดเจนในปลายปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดตั้งสำนักงานสาขาในพม่า ซึ่งต้องดูกฏระเบียบ ข้อกฏหมาย และอัตราภาษีต่างๆ ให้ชัดเจน รอบคอบก่อน
สำหรับ โครงการผลิต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จาก Associated Gas จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นโครงการลงทุน เพื่อการผลิต LPG, CNG และ NGL นั้น นายกิตติ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนดังกล่าว ขณะนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติให้เดินหน้าโครงการดังกล่าวแล้ว โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซกับบริษัทฯต่างชาติที่ได้รับสัมปทานในการขุดเจาะน้ำมันดิบ และก๊าซ ในเขตจังหวัดสุโขทัย เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจาขายผลิตภัณฑ์ของโครงการนี้ ให้กับบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ด้านพลังงานภายในประเทศอยู่ โดยคาดว่า โครงการดังกล่าวจะเริ่มทำการผลิต ได้ประมาณปลายไตรมาส 1/2556 และจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม หากแผนการขยายการลงทุนในข้างต้นแล้วเสร็จ ตามที่บริษัทฯคาดการณ์ จะส่งผลให้ในอีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทฯ จะมีรายได้รวม กว่า 2,000ล้านบาท ซึ่งก็จะเป็นไปตามแผนการขยายการลงทุนด้านพลังงานทดแทน ซึ่งจะสอดคล้องกับการที่กระทรวงพลังงาน ที่มีนโยบายลอยตัวราคาพลังงานทุกประเภท และมีการส่งเสริมสนับสนุนโครงการก๊าซชีวภาพอัด และพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรี ของประชาคมอาเซียน(AEC)
สำหรับรายได้ในปี2555 นั้น นายกิตติ กล่าวว่า บริ ษัทฯได้ประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้ ที่ระดับ 1,000 ล้านบาท โดยจะมาจากธุรกิจหลัก (เทรดดิ้ง) ประมาณ 85% ของรายได้รวม ส่วนอีก 15% จะมาจากบริษัทร่วมทุน โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทฯมีอัตราการเติบโตทางด้านกำไรสุทธิ อยู่ที่ 37.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.53% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนกำไรสุทธิ มาจาก ธุรกิจเทรดดิ้ง(สารเคมีภัณฑ์) ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก 67% และธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน บางจากไบโอฟูเอล(BBF) 33%
ทั้งนี้ สาหตุที่บริษัทฯมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ในไตรมาสดังกล่าว เนื่องจากปริมาณการความต้องการสารเคมี ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน อาทิ อุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่น และปิโตรเคมี กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมพอลิเมอร์และพลาสติก กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กลุ่มโรงไฟฟ้า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบริษัทประสบความสำเร็จในการบริหารต้นทุนสินค้า และได้รับรายได้เพิ่มเติมจากการเป็นที่ปรึกษาทางการตลาดให้กับ Partners ต่างประเทศหลายบริษัท สำหรับ BBF ก็มีการผลิตต่อเนื่องเกินกว่า 100% ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา
เดินหน้าทุ่มงบกว่า600ลบ.ต่อยอดธุรกิจผลิตก๊าซจ.สุโขทัย
17 พ.ค. 55
บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอน เคมิคัลส์ (UAC) เตรียมส่งมอบก๊าซชีวภาพอัดจากฟาร์มสุกร (CBG)ให้PTT ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เชื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้บริษัทฯเฉลี่ย 50 ล้านบาทต่อปี พร้อมทุ่มงบกว่า 600 ล้านบาท ดันธุรกิจพลังงานโครงการผลิต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จ.สุโขทัย ให้เสร็จทันไตรมาส1/2556 ด้าน “ กิตติ ชีวะเกตุ ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ มั่นใจ อีก3ปีหน้าข้างหน้า UAC มีรายได้แตะ 2,000 ล้านบาท รองรับการลอยตัวราคาพลังงาน เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ขณะที่ปี55 เชื่อมีรายได้1,000 ล้านบาท
นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอน เคมิคัลส์ (UAC)ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า และจำหน่ายสารเคมี ที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่นและปิโตรเคมี เปิดเผยว่า แผนขยายการลงทุน อาทิ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพอัดจากฟาร์มสุกร (Compressed Bio-methane Gas ) (CBG) จ. เชียงใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และกำหนดส่งมอบให้กับ บมจ.ปตท(PTT) ภายในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยมีกำลังการผลิตที่ 6- 8 ตัน/วัน หรือประมาณ 3,000 ตัน/ปี ทั้งนี้ UAC ได้เซ็นสัญญาในการผลิตก๊าซชีวภาพอัด เพื่อส่งมอบและจำหน่ายให้กับ PTT เป็นระยะเวลา 15 ปี และคาดว่าจะได้รับรู้รายได้ จากโครงการดังกล่าว เฉลี่ยปีละประมาณ 50 ล้านบาท โดยจะเริ่มทยอยรับรู้ ตั้งแต่ไตรมาส 3/2555 เป็นต้นไป
ส่วนกรณีที่บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจาก UOP ในการเข้าไปจำหน่ายเคมีภัณฑ์ ให้กับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่านั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานในการเข้าไปเป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าแผนดังกล่าว จะมีความชัดเจนในปลายปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดตั้งสำนักงานสาขาในพม่า ซึ่งต้องดูกฏระเบียบ ข้อกฏหมาย และอัตราภาษีต่างๆ ให้ชัดเจน รอบคอบก่อน
สำหรับ โครงการผลิต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จาก Associated Gas จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นโครงการลงทุน เพื่อการผลิต LPG, CNG และ NGL นั้น นายกิตติ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนดังกล่าว ขณะนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติให้เดินหน้าโครงการดังกล่าวแล้ว โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซกับบริษัทฯต่างชาติที่ได้รับสัมปทานในการขุดเจาะน้ำมันดิบ และก๊าซ ในเขตจังหวัดสุโขทัย เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจาขายผลิตภัณฑ์ของโครงการนี้ ให้กับบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ด้านพลังงานภายในประเทศอยู่ โดยคาดว่า โครงการดังกล่าวจะเริ่มทำการผลิต ได้ประมาณปลายไตรมาส 1/2556 และจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม หากแผนการขยายการลงทุนในข้างต้นแล้วเสร็จ ตามที่บริษัทฯคาดการณ์ จะส่งผลให้ในอีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทฯ จะมีรายได้รวม กว่า 2,000ล้านบาท ซึ่งก็จะเป็นไปตามแผนการขยายการลงทุนด้านพลังงานทดแทน ซึ่งจะสอดคล้องกับการที่กระทรวงพลังงาน ที่มีนโยบายลอยตัวราคาพลังงานทุกประเภท และมีการส่งเสริมสนับสนุนโครงการก๊าซชีวภาพอัด และพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรี ของประชาคมอาเซียน(AEC)
สำหรับรายได้ในปี2555 นั้น นายกิตติ กล่าวว่า บริ ษัทฯได้ประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้ ที่ระดับ 1,000 ล้านบาท โดยจะมาจากธุรกิจหลัก (เทรดดิ้ง) ประมาณ 85% ของรายได้รวม ส่วนอีก 15% จะมาจากบริษัทร่วมทุน โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทฯมีอัตราการเติบโตทางด้านกำไรสุทธิ อยู่ที่ 37.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.53% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนกำไรสุทธิ มาจาก ธุรกิจเทรดดิ้ง(สารเคมีภัณฑ์) ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก 67% และธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน บางจากไบโอฟูเอล(BBF) 33%
ทั้งนี้ สาหตุที่บริษัทฯมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ในไตรมาสดังกล่าว เนื่องจากปริมาณการความต้องการสารเคมี ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน อาทิ อุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่น และปิโตรเคมี กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมพอลิเมอร์และพลาสติก กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กลุ่มโรงไฟฟ้า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบริษัทประสบความสำเร็จในการบริหารต้นทุนสินค้า และได้รับรายได้เพิ่มเติมจากการเป็นที่ปรึกษาทางการตลาดให้กับ Partners ต่างประเทศหลายบริษัท สำหรับ BBF ก็มีการผลิตต่อเนื่องเกินกว่า 100% ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 227
บจ.แห่ลงทุนพลังงานทดแทน ราชบุรี-กันกุลฯ ทำโรงไฟฟ้าลม เอ็กโก้กลั่นไบโอดีเซลสนองรัฐ [ โพสต์ทูเดย์, 17 พ.ค. 55 ]
บจ.ขนเงินลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทน สนองนโยบายรัฐ ยกระดับเป็นผู้ผลิตพลังงานครบวงจร
RATCH-GUNKUL บุกโรงไฟฟ้าลม EGCO ประเดิมไบโอดีเซล
บริษัทจดทะเบียน (บจ.) โหนกระแสโลกร้อน พร้อมใจลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทน โดยบริษัท
ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และบริษัทกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) รุกหนักธุรกิจโรงไฟฟ้า
พลังงานลม-แสงอาทิตย์ ขณะที่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า (EGCO) หันมาทำทำไบโอดีเซล ส่วนบริษัทยูนิเวอร์เซล
แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ (UAC) บุกตลาดก๊าซชีวภาพอัด
บจ.ขนเงินลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทน สนองนโยบายรัฐ ยกระดับเป็นผู้ผลิตพลังงานครบวงจร
RATCH-GUNKUL บุกโรงไฟฟ้าลม EGCO ประเดิมไบโอดีเซล
บริษัทจดทะเบียน (บจ.) โหนกระแสโลกร้อน พร้อมใจลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทน โดยบริษัท
ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และบริษัทกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) รุกหนักธุรกิจโรงไฟฟ้า
พลังงานลม-แสงอาทิตย์ ขณะที่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า (EGCO) หันมาทำทำไบโอดีเซล ส่วนบริษัทยูนิเวอร์เซล
แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ (UAC) บุกตลาดก๊าซชีวภาพอัด
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 228
บางจากเทกระจาดลงทุน ลุยโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ [ เดลินิวส์, 18 พ.ค. 55 ]
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า บริษัทมี
แผนลงทุนระยะ 3 ปี (ปี 55-57) 26,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โครงการ 3 อี เพิ่ม
ประสิทธิภาพการกลั่น และได้วางแผนลงทุนต่อเนื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี58-62) อีก 61,500 ล้านบาท
คาดว่าปี 55 จะมีกำไรก่อนหักภาษีดอกเบี้ยค่าเสื่อมราคาที่ระดับ 7,000 ล้านบาท รวมทั้งประเมินปี 57
จะเพิ่มขึ้นไปที่ 10,000 ล้านบาท
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า บริษัทมี
แผนลงทุนระยะ 3 ปี (ปี 55-57) 26,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โครงการ 3 อี เพิ่ม
ประสิทธิภาพการกลั่น และได้วางแผนลงทุนต่อเนื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี58-62) อีก 61,500 ล้านบาท
คาดว่าปี 55 จะมีกำไรก่อนหักภาษีดอกเบี้ยค่าเสื่อมราคาที่ระดับ 7,000 ล้านบาท รวมทั้งประเมินปี 57
จะเพิ่มขึ้นไปที่ 10,000 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 229
PTTGC Q2 profits in peril as oil prices dip
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, May 18, 2012 04:41
NUNTAWUN POLKUAMDEE
Stock losses possible in absence of rebound PTT Global Chemical (PTTGC) is facing a weaker net profit in the second quarter in the absence of stock gains or even from possible stock losses after the Dubai crude prices dipped below US$110 a barrel, say analysts.
"The Dubai price has fallen substantially since the first quarter, to $107 a barrel from $120," said Preeyanun Tripetchchuporn, an analyst at Phillip Securities.
"We believe PTTGC is highly likely to suffer from oil stock losses in the second quarter."
In the best-case scenario, PTTGC could escape inventory losses if oil prices rebound during the rest of the quarter.
But any profit is unlikely to be as high as in the first quarter, when the company booked an inventory gain of 2.69 billion baht, she said.
Dubai crude oil averaged $116 a barrel in the first quarter, up by 16% year-onyear and 9% quarter-on-quarter.
Last year, it averaged $106 a barrel,up from $78 in 2010. This year’s average price is forecast at $110.
Ms Preeyanun said there are as yet no signs of a strong recovery in petrochemical prices or gross refining margins to help offset the impact of possible inventory losses.
Prolonged economic problems in the euro zone and a downgrade of China’s gross domestic product growth target will also sap demand for petrochemical products."So there’s a shortage of positive factors that would push up petrochemical prices in the short term," said Ms Preeyanun.
The Texas-based Chemical Market Associates Inc estimates spreads of plastic pellets including high-density polyethylene (HDPE), low-density polyethylene, monoethylene glycol, paraxylene and benzene will likely remain low in the second and third quarters.
Kiatnakin Securities research indicates PTTGC’s second-quarter revenue will drop on higher risk exposure from possible stock losses in light of crude oil price prospects.
However, operating revenue is expected to continue rising as the refining and spread margins for petrochemicals start recovering.
PTTGC posted a first-quarter net profit of 9.85 billion baht, down 11.7%year-on-year due to higher energy costs.But sales revenue for the period rose by 28.9% to 134 billion baht.
Patipan Sukonthaman, PTTGC’s executive vice-president for finance and accounting, said the spread between HDPE and naphtha is estimated at $370 a tonne in the second quarter, down from $374 a tonne in the first quarter.
The aromatics spread will remain steady at $590-600 a tonne, close to the first quarter’s level, he said.
PTTGC executives denied that any stock losses would affect company results very much, saying a natural hedge was already in place.
PTTGC shares closed yesterday on the SET at 64 baht, down 50 satang, in trade worth 606 million baht.
PTTGC’S PERFORMANCE SLIPPED IN THE FIRST QUARTER ON HIGHER ENERGY COSTS Net profit -11.7%9.85 billion baht
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, May 18, 2012 04:41
NUNTAWUN POLKUAMDEE
Stock losses possible in absence of rebound PTT Global Chemical (PTTGC) is facing a weaker net profit in the second quarter in the absence of stock gains or even from possible stock losses after the Dubai crude prices dipped below US$110 a barrel, say analysts.
"The Dubai price has fallen substantially since the first quarter, to $107 a barrel from $120," said Preeyanun Tripetchchuporn, an analyst at Phillip Securities.
"We believe PTTGC is highly likely to suffer from oil stock losses in the second quarter."
In the best-case scenario, PTTGC could escape inventory losses if oil prices rebound during the rest of the quarter.
But any profit is unlikely to be as high as in the first quarter, when the company booked an inventory gain of 2.69 billion baht, she said.
Dubai crude oil averaged $116 a barrel in the first quarter, up by 16% year-onyear and 9% quarter-on-quarter.
Last year, it averaged $106 a barrel,up from $78 in 2010. This year’s average price is forecast at $110.
Ms Preeyanun said there are as yet no signs of a strong recovery in petrochemical prices or gross refining margins to help offset the impact of possible inventory losses.
Prolonged economic problems in the euro zone and a downgrade of China’s gross domestic product growth target will also sap demand for petrochemical products."So there’s a shortage of positive factors that would push up petrochemical prices in the short term," said Ms Preeyanun.
The Texas-based Chemical Market Associates Inc estimates spreads of plastic pellets including high-density polyethylene (HDPE), low-density polyethylene, monoethylene glycol, paraxylene and benzene will likely remain low in the second and third quarters.
Kiatnakin Securities research indicates PTTGC’s second-quarter revenue will drop on higher risk exposure from possible stock losses in light of crude oil price prospects.
However, operating revenue is expected to continue rising as the refining and spread margins for petrochemicals start recovering.
PTTGC posted a first-quarter net profit of 9.85 billion baht, down 11.7%year-on-year due to higher energy costs.But sales revenue for the period rose by 28.9% to 134 billion baht.
Patipan Sukonthaman, PTTGC’s executive vice-president for finance and accounting, said the spread between HDPE and naphtha is estimated at $370 a tonne in the second quarter, down from $374 a tonne in the first quarter.
The aromatics spread will remain steady at $590-600 a tonne, close to the first quarter’s level, he said.
PTTGC executives denied that any stock losses would affect company results very much, saying a natural hedge was already in place.
PTTGC shares closed yesterday on the SET at 64 baht, down 50 satang, in trade worth 606 million baht.
PTTGC’S PERFORMANCE SLIPPED IN THE FIRST QUARTER ON HIGHER ENERGY COSTS Net profit -11.7%9.85 billion baht
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 230
ไอซีบีซี (ไทย) ปล่อยกู้"ไทยออยล์ มารีน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, May 18, 2012
นายหู เย่ ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าธนาคารได้ลงนามร่วมกับ บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด ในพิธีลงนามสนับสนุนทางการเงิน จำนวน 1,500 ล้านบาท กับบริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัดบริษัทในเครือไทยออยล์ ผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีทางเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเสริมศักยภาพและรองรับการเติบโตของเครือไทยออยล์และกลุ่ม ปตท.ต่อไปในอนาคต--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, May 18, 2012
นายหู เย่ ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าธนาคารได้ลงนามร่วมกับ บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด ในพิธีลงนามสนับสนุนทางการเงิน จำนวน 1,500 ล้านบาท กับบริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัดบริษัทในเครือไทยออยล์ ผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีทางเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเสริมศักยภาพและรองรับการเติบโตของเครือไทยออยล์และกลุ่ม ปตท.ต่อไปในอนาคต--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 231
คอลัมน์: ผ่าประเด็นร้อน: ปริศนา"ปู"ไปอาหรับถกธุรกิจ พลังงาน-เมดิคัลฮับ เข้ากระเป๋าใคร !!
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, May 18, 2012
กลับมาถึงไทยโดยสวัสดิภาพแล้ว หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการเยือนประเทศตะวันออกกลาง อย่าง บาห์เรน และกาตาร์ ระหว่างวันที่13-17 พฤษภาคม และก็เช่นทุกครั้งสำหรับภารกิจของ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ย่อมต้องมีข้อสงสัย เป็นปริศนากลับมาทุกครั้งว่าการเจรจา หรือการลงนามในฐานะนายกรัฐมนตรี ผู้นำประเทศนั้นแท้จริงแล้วใครได้ประโยชน์กันแน่ หรือมี "วาระซ่อนเร้น" ส่วนตัวกันแน่
แน่นอนว่าการเดินทางไปเยือนต่างประเทศทุกครั้ง ไม่เคยเป็นข่าว ไม่เคยได้รับความสนใจ ไม่เคยมีวาระที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงถึง "ภาวะผู้นำ" หรือไปแสดงวิสัยทัศน์ให้ชวนติดตาม เพราะที่ผ่านมาขนาดอ่านโพยภาษาไทยยังออกเสียง ให้ความหมายผิดเพี้ยนอยู่เป็นประจำ แล้วนี่เป็นการใช้ภาษาอังกฤษลองนึกภาพเอาก็แล้วกันว่าจะสยดสยองเช่นไร
คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน การเยือนประเทศในกลุ่มอ่าวอาหรับเริ่มต้นที่ประเทศบาห์เรน ก็ยังไม่เป็นที่สะดุดตาเท่าไรนัก จนกระทั่งมาถึงประเทศ กาตาร์ นี่แหละที่เริ่มมองเห็นสิ่ง "ผิดปกติ"มากขึ้นเรื่อยๆเริ่มจากได้เห็นวาระการเยี่ยมชมศูนย์เวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับ "กระดูก" และเวชศาสตร์การกีฬา "แห่งแรก"ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ที่สำคัญก็คือ กาตาร์ กำลังจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2022 แม้ว่าจะมีเวลาอีกนาน แต่ทุกอย่างก็ต้องเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้า เพราะนี่คืองานยักษ์ มีผลประโยชน์มหาศาล เพราะสถาบันดังกล่าวนอกเหนือจาก กาตาร์แล้วที่ได้เพิ่งรับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก ฟีฟ่าแล้ว ยังมีแค่ ญี่ปุ่น และไทย เท่านั้น ซึ่งมองในมุมนี้ก็ถือว่าไทยอยู่ในระดับแถวหน้าในด้านการแพทย์ แต่ขณะเดียวกันนี่แหละคือ "ลายแทง" ที่จะนำไปสู่ "ขุมทรัพย์"ในวันหน้า และผลประโยชน์จะตกอยู่ที่กลุ่มธุรกิจบางกลุ่มเท่านั้น
จากรายงานข่าวจากทางการยังระบุอีกว่า ไทยได้ลงนามความร่วมมือในเรื่องการแพทย์กับกาตาร์โดยเฉพาะการเข้าไปในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ รวมไปถึงเวชศาสตร์การกีฬา ทั้งก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก ระหว่างการแข่งขันและหลังมหกรรมดังกล่าวเสร็จสิ้นลงไปแล้ว
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากเอกสารแถลงของรัฐบาลก็ได้เห็นกรอบความร่วมมือต่างๆ จำนวน 6 ข้อ ดังนี้
1. การก่อสร้าง โดยภาคเอกชนไทยมีความสนใจเข้าร่วมการพัฒนาสาธารณูปโภคและสนามกีฬา เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2022 ของกาตาร์ เพราะไทยมีศักยภาพด้านฝีมือแรงงานสถาปัตยกรรม และการวางระบบต่างๆ ซึ่งกาตาร์ยินดีเปิดรับนักลงทุนในสาขานี้ และจะดำเนินการอย่างโปร่งใส
2. ความมั่นคงทางอาหาร โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่มีการลงนามในแถลงการณ์ร่วมในเรื่องดังกล่าวซึ่งในฐานะผู้ผลิตอาหารรายสำคัญ ยินดีจัดหาอาหารตามชนิดที่กาตาร์มีความต้องการและขอให้กาตาร์ระบุความต้องการ ซึ่งไทยจะได้ผลิตตามความต้องการเป็นการเฉพาะ และเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ทั้งนี้ ไทยยินดีร่วมมือกับกาตาร์โดยสามารถเป็นไซโลอาหาร เพื่อเป็นแหล่งสำรองอาหารให้กับกาตาร์
3. ความร่วมมือภาคการลงทุน ไทยยินดีสนับสนุนกาตาร์และQIA (Qatar Investment Authority) และ Qatar Holding ซึ่งเป็นสถาบันการลงทุนของกาตาร์ร่วมลงทุนในภาคการเงินของไทยโดยไทยและกาตาร์นจะได้ให้หน่วยงานทั้งสองประเทศนำไปหารือและศึกษาต่อไป โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ที่กาตาร์มีความสนใจ และเสนอให้มีการจัดทำรายชื่อสาขาธุรกิจและผู้ติดต่อเพื่อความความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินงาน
4. การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และการบริหารจัดการโรงพยาบาล ไทยยินดีต้อนรับประชาชนกาตาร์เพื่อท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และจะขยายความร่วมมือระหว่างกันในสาขาโรงพยาบาลและธุรกิจด้านสุขภาพ โดยรัฐบาลได้อนุมัติในหลักการให้ขยายเวลาการพำนักในประเทศไทยรวม 90 วันสำหรับการเข้ามารักษาพยาบาลนอกจากนี้ โรงพยาบาลเอกชนของไทยยินดีเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์ในการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2022
5. ความร่วมมือด้านพลังงาน ไทยและกาตาร์เห็นว่ายังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันได้อีก โดยกาตาร์เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีพลังงานเพื่อผลักดันการขยายความร่วมมือให้เป็นผล ทั้งนี้ บริษัท ปตท. และ Qatargas จะได้รับการสนับสนุนให้มีการลงนามความตกลงระยะยาวในการซื้อขายก๊าซLNG และบริษัทพลังงานของไทยจะเป็นประตูของกาตาร์สู่อาเซียนและภูมิภาคใกล้เคียง นอกจากนี้ ไทยกำลังเจรจาซื้อก๊าซ LNG จากกาตาร์จำนวน 600,000 ตันในปีนี้ และได้มีการตกลงซื้อขายระยะยาวจำนวน2,000,000 ตันในปีหน้าแล้ว
6. การยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากไทยโดยกาตาร์จะยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าภายใน 2 สัปดาห์
ที่น่าสังเกตก็คือ ข้อ 4 กับข้อ 5 ที่เกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และการบริหารจัดการโรงพยาบาล ขยายความร่วมมือระหว่างกันระหว่างธุรกิจด้านสุขภาพ และเรื่องการลงนามในธุรกิจพลังงานที่เปิดทางให้ ปตท.ไปลงทุน รวมไปถึงเป็น "นายหน้า"ค้าพลังงานเป็นประตูสู่อาเซียน
แน่นอนว่าหากพิจารณาจากสติปัญญาของ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ เท่าที่พิสูจน์ให้เห็นในช่วงที่ผ่านมา ไม่น่าจะใช่เป็นความคิดของเธอ แต่น่าจะเป็นการเดินทาง "ตามหลัง" พี่ชายที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่ดูไบ และใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปลงนามอย่างเป็นทางการในลักษณะ "แสตมป์" หรือไม่ เหมือนกับก่อนหน้านี้ที่ไปเยือนพม่าหรือกัมพูชา ก็มักมีข้อสงสัยทำนองนี้เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่ามีข้อสงสัยเรื่องธุรกิจพลังงานเช่นเคยแต่คราวนี้จะแยกออกมาพิจารณาเรื่อง"ธุรกิจการแพทย์" ออกมาเป็นการเฉพาะ และต้องไม่ลืมว่าในยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร มีความฝันที่จะดันประเทศไทยให้เป็น "เมดิคัลฮับ" ซึ่งก็ต้องดึงดูดพวกเศรษฐีมีทรัพย์มาใช้บริการ ซึ่งก็ไม่มีใครเหมาะสมเท่า "แขกอาหรับ" อีกแล้วและที่ผ่านมาในวงการก็รับรู้ว่า "เครือข่ายครอบครัว" นี้มี "ธุรกิจโรงพยาบาล" ชั้นนำหลายแห่งทั่วประเทศตามแหล่งธุรกิจและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีการกว้านซื้อหุ้นผ่านทาง "ทนายคดีซุกหุ้น" อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และแม้ว่ามองในมุมดีก็ทำให้ไทยมีรายได้มหาศาลแต่ขณะเดียวกันคำถามก็คือมันเข้ากระเป๋าใครมากกว่ากัน และนี่อาจเป็น "วาระซ่อนเร้น" มี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" อีกเรื่องหนึ่ง!!
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, May 18, 2012
กลับมาถึงไทยโดยสวัสดิภาพแล้ว หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการเยือนประเทศตะวันออกกลาง อย่าง บาห์เรน และกาตาร์ ระหว่างวันที่13-17 พฤษภาคม และก็เช่นทุกครั้งสำหรับภารกิจของ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ย่อมต้องมีข้อสงสัย เป็นปริศนากลับมาทุกครั้งว่าการเจรจา หรือการลงนามในฐานะนายกรัฐมนตรี ผู้นำประเทศนั้นแท้จริงแล้วใครได้ประโยชน์กันแน่ หรือมี "วาระซ่อนเร้น" ส่วนตัวกันแน่
แน่นอนว่าการเดินทางไปเยือนต่างประเทศทุกครั้ง ไม่เคยเป็นข่าว ไม่เคยได้รับความสนใจ ไม่เคยมีวาระที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงถึง "ภาวะผู้นำ" หรือไปแสดงวิสัยทัศน์ให้ชวนติดตาม เพราะที่ผ่านมาขนาดอ่านโพยภาษาไทยยังออกเสียง ให้ความหมายผิดเพี้ยนอยู่เป็นประจำ แล้วนี่เป็นการใช้ภาษาอังกฤษลองนึกภาพเอาก็แล้วกันว่าจะสยดสยองเช่นไร
คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน การเยือนประเทศในกลุ่มอ่าวอาหรับเริ่มต้นที่ประเทศบาห์เรน ก็ยังไม่เป็นที่สะดุดตาเท่าไรนัก จนกระทั่งมาถึงประเทศ กาตาร์ นี่แหละที่เริ่มมองเห็นสิ่ง "ผิดปกติ"มากขึ้นเรื่อยๆเริ่มจากได้เห็นวาระการเยี่ยมชมศูนย์เวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับ "กระดูก" และเวชศาสตร์การกีฬา "แห่งแรก"ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ที่สำคัญก็คือ กาตาร์ กำลังจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2022 แม้ว่าจะมีเวลาอีกนาน แต่ทุกอย่างก็ต้องเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้า เพราะนี่คืองานยักษ์ มีผลประโยชน์มหาศาล เพราะสถาบันดังกล่าวนอกเหนือจาก กาตาร์แล้วที่ได้เพิ่งรับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก ฟีฟ่าแล้ว ยังมีแค่ ญี่ปุ่น และไทย เท่านั้น ซึ่งมองในมุมนี้ก็ถือว่าไทยอยู่ในระดับแถวหน้าในด้านการแพทย์ แต่ขณะเดียวกันนี่แหละคือ "ลายแทง" ที่จะนำไปสู่ "ขุมทรัพย์"ในวันหน้า และผลประโยชน์จะตกอยู่ที่กลุ่มธุรกิจบางกลุ่มเท่านั้น
จากรายงานข่าวจากทางการยังระบุอีกว่า ไทยได้ลงนามความร่วมมือในเรื่องการแพทย์กับกาตาร์โดยเฉพาะการเข้าไปในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ รวมไปถึงเวชศาสตร์การกีฬา ทั้งก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก ระหว่างการแข่งขันและหลังมหกรรมดังกล่าวเสร็จสิ้นลงไปแล้ว
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากเอกสารแถลงของรัฐบาลก็ได้เห็นกรอบความร่วมมือต่างๆ จำนวน 6 ข้อ ดังนี้
1. การก่อสร้าง โดยภาคเอกชนไทยมีความสนใจเข้าร่วมการพัฒนาสาธารณูปโภคและสนามกีฬา เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2022 ของกาตาร์ เพราะไทยมีศักยภาพด้านฝีมือแรงงานสถาปัตยกรรม และการวางระบบต่างๆ ซึ่งกาตาร์ยินดีเปิดรับนักลงทุนในสาขานี้ และจะดำเนินการอย่างโปร่งใส
2. ความมั่นคงทางอาหาร โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่มีการลงนามในแถลงการณ์ร่วมในเรื่องดังกล่าวซึ่งในฐานะผู้ผลิตอาหารรายสำคัญ ยินดีจัดหาอาหารตามชนิดที่กาตาร์มีความต้องการและขอให้กาตาร์ระบุความต้องการ ซึ่งไทยจะได้ผลิตตามความต้องการเป็นการเฉพาะ และเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ทั้งนี้ ไทยยินดีร่วมมือกับกาตาร์โดยสามารถเป็นไซโลอาหาร เพื่อเป็นแหล่งสำรองอาหารให้กับกาตาร์
3. ความร่วมมือภาคการลงทุน ไทยยินดีสนับสนุนกาตาร์และQIA (Qatar Investment Authority) และ Qatar Holding ซึ่งเป็นสถาบันการลงทุนของกาตาร์ร่วมลงทุนในภาคการเงินของไทยโดยไทยและกาตาร์นจะได้ให้หน่วยงานทั้งสองประเทศนำไปหารือและศึกษาต่อไป โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ที่กาตาร์มีความสนใจ และเสนอให้มีการจัดทำรายชื่อสาขาธุรกิจและผู้ติดต่อเพื่อความความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินงาน
4. การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และการบริหารจัดการโรงพยาบาล ไทยยินดีต้อนรับประชาชนกาตาร์เพื่อท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และจะขยายความร่วมมือระหว่างกันในสาขาโรงพยาบาลและธุรกิจด้านสุขภาพ โดยรัฐบาลได้อนุมัติในหลักการให้ขยายเวลาการพำนักในประเทศไทยรวม 90 วันสำหรับการเข้ามารักษาพยาบาลนอกจากนี้ โรงพยาบาลเอกชนของไทยยินดีเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์ในการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2022
5. ความร่วมมือด้านพลังงาน ไทยและกาตาร์เห็นว่ายังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันได้อีก โดยกาตาร์เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีพลังงานเพื่อผลักดันการขยายความร่วมมือให้เป็นผล ทั้งนี้ บริษัท ปตท. และ Qatargas จะได้รับการสนับสนุนให้มีการลงนามความตกลงระยะยาวในการซื้อขายก๊าซLNG และบริษัทพลังงานของไทยจะเป็นประตูของกาตาร์สู่อาเซียนและภูมิภาคใกล้เคียง นอกจากนี้ ไทยกำลังเจรจาซื้อก๊าซ LNG จากกาตาร์จำนวน 600,000 ตันในปีนี้ และได้มีการตกลงซื้อขายระยะยาวจำนวน2,000,000 ตันในปีหน้าแล้ว
6. การยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากไทยโดยกาตาร์จะยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าภายใน 2 สัปดาห์
ที่น่าสังเกตก็คือ ข้อ 4 กับข้อ 5 ที่เกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และการบริหารจัดการโรงพยาบาล ขยายความร่วมมือระหว่างกันระหว่างธุรกิจด้านสุขภาพ และเรื่องการลงนามในธุรกิจพลังงานที่เปิดทางให้ ปตท.ไปลงทุน รวมไปถึงเป็น "นายหน้า"ค้าพลังงานเป็นประตูสู่อาเซียน
แน่นอนว่าหากพิจารณาจากสติปัญญาของ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ เท่าที่พิสูจน์ให้เห็นในช่วงที่ผ่านมา ไม่น่าจะใช่เป็นความคิดของเธอ แต่น่าจะเป็นการเดินทาง "ตามหลัง" พี่ชายที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่ดูไบ และใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปลงนามอย่างเป็นทางการในลักษณะ "แสตมป์" หรือไม่ เหมือนกับก่อนหน้านี้ที่ไปเยือนพม่าหรือกัมพูชา ก็มักมีข้อสงสัยทำนองนี้เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่ามีข้อสงสัยเรื่องธุรกิจพลังงานเช่นเคยแต่คราวนี้จะแยกออกมาพิจารณาเรื่อง"ธุรกิจการแพทย์" ออกมาเป็นการเฉพาะ และต้องไม่ลืมว่าในยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร มีความฝันที่จะดันประเทศไทยให้เป็น "เมดิคัลฮับ" ซึ่งก็ต้องดึงดูดพวกเศรษฐีมีทรัพย์มาใช้บริการ ซึ่งก็ไม่มีใครเหมาะสมเท่า "แขกอาหรับ" อีกแล้วและที่ผ่านมาในวงการก็รับรู้ว่า "เครือข่ายครอบครัว" นี้มี "ธุรกิจโรงพยาบาล" ชั้นนำหลายแห่งทั่วประเทศตามแหล่งธุรกิจและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีการกว้านซื้อหุ้นผ่านทาง "ทนายคดีซุกหุ้น" อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และแม้ว่ามองในมุมดีก็ทำให้ไทยมีรายได้มหาศาลแต่ขณะเดียวกันคำถามก็คือมันเข้ากระเป๋าใครมากกว่ากัน และนี่อาจเป็น "วาระซ่อนเร้น" มี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" อีกเรื่องหนึ่ง!!
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 232
TRC คาด ได้ข้อสรุปลงทุนพลังงานทดแทนในกัมพูชา Q3-Q4 นี้ ล่าสุดอยู่ระหว่างเจรจากับพาร์ทเนอร์
นายกริช ไตรสวัสดิ์วงศ์ นักวิเคราะห์อาวุโส สายงานพัฒนาโครงการและการลงทุน บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องการเข้าลงทุนโครงการพลังงานทดแทนในประเทศกัมพูชาประมาณไตรมาส 3 หรืออย่างช้าในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในกัมพูชาหลายราย เรื่องรูปแบบของการลงทุน เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวหลักพันล้านบาทต่อโครงการ
ส่วนโครงการพลังงานทดแทนในประเทศพม่า ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา คาดว่าภายในปีนี้จะชัดเจน สาเหตุที่ยังล่าช้า เพราะต้องให้มั่นใจก่อน เนื่องจากการลงทุนในพม่ามีความเสี่ยงสูง จึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ต้องละเอียด ' คาดว่าไตรมาส 3 จะเข้าลงทุนในกัมพูชา ตอนนี้เราคุยกับพาร์ทเนอร์อยู่หลายราย ส่วนรูปแบบจะออกมาเป็นอย่างไรขอเก็บไว้ก่อน ส่วนพม่ายังอยู่ระหว่างการศึกษาคาดว่าจะชัดเจนในปีนี้ ' นายกริช กล่าว
นายกริช ไตรสวัสดิ์วงศ์ นักวิเคราะห์อาวุโส สายงานพัฒนาโครงการและการลงทุน บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องการเข้าลงทุนโครงการพลังงานทดแทนในประเทศกัมพูชาประมาณไตรมาส 3 หรืออย่างช้าในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในกัมพูชาหลายราย เรื่องรูปแบบของการลงทุน เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวหลักพันล้านบาทต่อโครงการ
ส่วนโครงการพลังงานทดแทนในประเทศพม่า ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา คาดว่าภายในปีนี้จะชัดเจน สาเหตุที่ยังล่าช้า เพราะต้องให้มั่นใจก่อน เนื่องจากการลงทุนในพม่ามีความเสี่ยงสูง จึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ต้องละเอียด ' คาดว่าไตรมาส 3 จะเข้าลงทุนในกัมพูชา ตอนนี้เราคุยกับพาร์ทเนอร์อยู่หลายราย ส่วนรูปแบบจะออกมาเป็นอย่างไรขอเก็บไว้ก่อน ส่วนพม่ายังอยู่ระหว่างการศึกษาคาดว่าจะชัดเจนในปีนี้ ' นายกริช กล่าว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 233
จากลานกระบือ..ถึงทวีวัฒนา คำตอบสุดท้าย‘พลังงานไทย’
สยามธุรกิจ, ฉบับที่ 1284 ประจำวันที่ 17-3-2012 ถึง 20-3-2012
การสำรวจปิโตรเลียมที่เขตทวีวัฒนา ใบแปลงสำรวจบนบกเลขที่ L45/50 ที่บริษัท มิตรา เอนเนอร์ยี่ ลิมิเต็ด ได้รับสัมปทานจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและลงพื้นที่เจาะสำรวจอย่างเป็นทางการ เพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ท่ามกลางสถานการณ์น้ำมันดิบในตลาดโลกได้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การรับสัมปทานเจาะสำรวจปิโตรเลียม ครั้งนี้ มีระยะเวลาสำรวจ 6 ปี ตอนแรกมีพื้นที่สำรวจทั้งหมด 3,983 ตารางกิโลเมตร และได้คืนพื้นที่บางส่วนไปแล้ว ปัจจุบันมีพื้นที่คงเหลือ 1,994 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี
อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าจัดหาแหล่ง ผลิตน้ำมันในประเทศอาจสะดุดลง เมื่อชาวบ้านริมถนนพุทธมณฑลสาย 2 ออกมาคัดค้าน เพราะเชื่อว่าขั้นตอนการสำรวจไม่มีความโปร่งใสที่เขตทวีวัฒนา อาจส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และอาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย
โดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการการกระทำ ผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินการตรวจสอบการขุดเจาะบ่อปิโตรเลียมเขตทวีวัฒนา
นายเอกนัฏ ระบุว่า มีประชาชนร้องเรียนเข้ามายังพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ระงับโครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมเขตทวีวัฒนา เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดอันตราย โดย จากการตรวจสอบในเบื้องต้น พบว่ามีความเป็นไปได้ว่าบริษัทเอกชนที่ขุดเจาะ กระทำผิดต่อพ.ร.บ. 2 ฉบับ ประกอบด้วย พ.ร.บ.วัตถุ อันตราย และ พ.ร.บ.โรงงาน โดย พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวได้บัญญัติไว้ชัดเจน ในเรื่องของ การครอบครองการขนส่ง และการกำจัดของเสีย จึงทำให้เชื่อได้ว่าการดำเนินการขุดเจาะปิโตรเลียมในเขตทวีวัฒนานั้น ขัดต่อ พ.ร.บ. 2 ฉบับนี้อย่างแน่นอน และหากเจ้าหน้าที่พบว่ามีการกระทำผิด ก็สามารถดำเนิน การลงโทษได้ ตั้งแต่สั่งระงับโครงการ ปรับเป็นจำนวนเงิน 10,000-10,000,000 บาท และจำคุกตั้งแต่ 6-10 ปี
ทางด้านคณะกรรมาธิการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้ลง พื้นที่ตรวจสอบบริเวณขุดเจาะสำรวจ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากร ธรรมชาติฯ แสดงความเบาใจระดับหนึ่งหลังจากรับฟังคำชี้แจงจากนายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นน่าจะเบาใจได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากโครงการนี้ผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้ว
ส่วนประเด็นที่ภาคประชาชนยังทักท้วงอยู่คือ กระบวนการและวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เนื่องจากส่วนมากยังไม่ทราบว่ามีการจัดรับฟังความคิดเห็น รวมถึงผลสำรวจในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนยังมีข้อโต้เถียงอยู่ในส่วนของจำนวนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการในแต่ละเวที
อย่างไรก็ตาม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยังเดินหน้าจัดหาพลังงานให้กับความต้อง การของประเทศ โดยนายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าที่ออกจากระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ อ.ลานกระบือ มาปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางการผลิต NGV ในภาคเหนือ เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นและลดการขนส่ง NGV จากภาคกลางมายังภาคเหนือ ประกอบกับในแหล่งลานกระบือยังมีปริมาณก๊าซฯ อีกพอสมควรที่สามารถนำมาผลิตเป็น NGV ได้ และยังช่วยลดปริมาณการเผาก๊าซฯ ที่เหลือจากกระบวนการผลิตทิ้งได้ด้วย
นายไพโรจน์ แรงสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โครงการเอส 1 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า แผนการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งสิริกิติ์ในปีนี้ คาดว่าจะผลิตน้ำมัน ดิบได้ถึง 30,000 บาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบัน ที่ผลิตได้ประมาณวันละ 27,000-28,000 บาร์เรล เนื่องจาก ปตท.สผ.ได้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติม และได้มีการ นำเอาเทคโนโลยีในการขุดเจาะเพื่อนำน้ำมันขึ้นมาใช้ได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ จะมีการรวบรวมแหล่งผลิต ก๊าซธรรมชาติแหล่งเล็กๆ 5-6 แหล่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อรวบรวมก๊าซ จัดส่งผ่านท่อส่งก๊าซขนาด 3-5 นิ้ว ไปรวมกันที่ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เพื่อใช้ประโยชน์ ให้มากขึ้น เช่น การปั่นไฟฟ้า การใช้ผลิตก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) จากปัจจุบันที่แหล่งลานกระบือสามารถผลิตก๊าซฯ ได้ประมาณวันละ 22 ล้านลูกบาศก์ฟุต แบ่งเป็นการใช้ NGV วันละ 6-7 ล้านลูกบาศก์ฟุต และผลิตไฟฟ้าวันละ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณวันละ 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุต
“ก๊าซที่ผลิตได้มากขึ้นปตท.สผ. ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้ บมจ.ปตท. เข้ามาจัดทำเป็นก๊าซ NGV ในพื้นที่ อ.ลานกระบือ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ให้มากที่ สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรออนุมัติรายงานผล กระทบ EIA จากสำนักงานนโยบายและแผน สิ่งแวดล้อม”
สยามธุรกิจ, ฉบับที่ 1284 ประจำวันที่ 17-3-2012 ถึง 20-3-2012
การสำรวจปิโตรเลียมที่เขตทวีวัฒนา ใบแปลงสำรวจบนบกเลขที่ L45/50 ที่บริษัท มิตรา เอนเนอร์ยี่ ลิมิเต็ด ได้รับสัมปทานจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและลงพื้นที่เจาะสำรวจอย่างเป็นทางการ เพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ท่ามกลางสถานการณ์น้ำมันดิบในตลาดโลกได้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การรับสัมปทานเจาะสำรวจปิโตรเลียม ครั้งนี้ มีระยะเวลาสำรวจ 6 ปี ตอนแรกมีพื้นที่สำรวจทั้งหมด 3,983 ตารางกิโลเมตร และได้คืนพื้นที่บางส่วนไปแล้ว ปัจจุบันมีพื้นที่คงเหลือ 1,994 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี
อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าจัดหาแหล่ง ผลิตน้ำมันในประเทศอาจสะดุดลง เมื่อชาวบ้านริมถนนพุทธมณฑลสาย 2 ออกมาคัดค้าน เพราะเชื่อว่าขั้นตอนการสำรวจไม่มีความโปร่งใสที่เขตทวีวัฒนา อาจส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และอาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย
โดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการการกระทำ ผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินการตรวจสอบการขุดเจาะบ่อปิโตรเลียมเขตทวีวัฒนา
นายเอกนัฏ ระบุว่า มีประชาชนร้องเรียนเข้ามายังพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ระงับโครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมเขตทวีวัฒนา เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดอันตราย โดย จากการตรวจสอบในเบื้องต้น พบว่ามีความเป็นไปได้ว่าบริษัทเอกชนที่ขุดเจาะ กระทำผิดต่อพ.ร.บ. 2 ฉบับ ประกอบด้วย พ.ร.บ.วัตถุ อันตราย และ พ.ร.บ.โรงงาน โดย พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวได้บัญญัติไว้ชัดเจน ในเรื่องของ การครอบครองการขนส่ง และการกำจัดของเสีย จึงทำให้เชื่อได้ว่าการดำเนินการขุดเจาะปิโตรเลียมในเขตทวีวัฒนานั้น ขัดต่อ พ.ร.บ. 2 ฉบับนี้อย่างแน่นอน และหากเจ้าหน้าที่พบว่ามีการกระทำผิด ก็สามารถดำเนิน การลงโทษได้ ตั้งแต่สั่งระงับโครงการ ปรับเป็นจำนวนเงิน 10,000-10,000,000 บาท และจำคุกตั้งแต่ 6-10 ปี
ทางด้านคณะกรรมาธิการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้ลง พื้นที่ตรวจสอบบริเวณขุดเจาะสำรวจ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากร ธรรมชาติฯ แสดงความเบาใจระดับหนึ่งหลังจากรับฟังคำชี้แจงจากนายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นน่าจะเบาใจได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากโครงการนี้ผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้ว
ส่วนประเด็นที่ภาคประชาชนยังทักท้วงอยู่คือ กระบวนการและวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เนื่องจากส่วนมากยังไม่ทราบว่ามีการจัดรับฟังความคิดเห็น รวมถึงผลสำรวจในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนยังมีข้อโต้เถียงอยู่ในส่วนของจำนวนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการในแต่ละเวที
อย่างไรก็ตาม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยังเดินหน้าจัดหาพลังงานให้กับความต้อง การของประเทศ โดยนายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าที่ออกจากระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ อ.ลานกระบือ มาปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางการผลิต NGV ในภาคเหนือ เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นและลดการขนส่ง NGV จากภาคกลางมายังภาคเหนือ ประกอบกับในแหล่งลานกระบือยังมีปริมาณก๊าซฯ อีกพอสมควรที่สามารถนำมาผลิตเป็น NGV ได้ และยังช่วยลดปริมาณการเผาก๊าซฯ ที่เหลือจากกระบวนการผลิตทิ้งได้ด้วย
นายไพโรจน์ แรงสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โครงการเอส 1 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า แผนการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งสิริกิติ์ในปีนี้ คาดว่าจะผลิตน้ำมัน ดิบได้ถึง 30,000 บาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบัน ที่ผลิตได้ประมาณวันละ 27,000-28,000 บาร์เรล เนื่องจาก ปตท.สผ.ได้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติม และได้มีการ นำเอาเทคโนโลยีในการขุดเจาะเพื่อนำน้ำมันขึ้นมาใช้ได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ จะมีการรวบรวมแหล่งผลิต ก๊าซธรรมชาติแหล่งเล็กๆ 5-6 แหล่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อรวบรวมก๊าซ จัดส่งผ่านท่อส่งก๊าซขนาด 3-5 นิ้ว ไปรวมกันที่ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เพื่อใช้ประโยชน์ ให้มากขึ้น เช่น การปั่นไฟฟ้า การใช้ผลิตก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) จากปัจจุบันที่แหล่งลานกระบือสามารถผลิตก๊าซฯ ได้ประมาณวันละ 22 ล้านลูกบาศก์ฟุต แบ่งเป็นการใช้ NGV วันละ 6-7 ล้านลูกบาศก์ฟุต และผลิตไฟฟ้าวันละ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณวันละ 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุต
“ก๊าซที่ผลิตได้มากขึ้นปตท.สผ. ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้ บมจ.ปตท. เข้ามาจัดทำเป็นก๊าซ NGV ในพื้นที่ อ.ลานกระบือ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ให้มากที่ สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรออนุมัติรายงานผล กระทบ EIA จากสำนักงานนโยบายและแผน สิ่งแวดล้อม”
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 234
คาดใต้ดินอ.นครไทยมีก๊าซ 250 พันล้านลบ.ฟุต
พิกัดตั้งแท่นเจาะหาก๊าซ บนเขาสูง ม.17 ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ห่างจากจุดไฟลุกใต้ดิน ม.9 ระยะทาง 20 กิโลเมตร
วันที่ 26 เมษายน 2555 ที่อบต.หนองกระท้าว อ.นครไทย พิษณุโลก บริษัท ทวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด บริษัท โปรเอ็น เท็คโนโลยี่ จำกัด และกระทรวงพลังงานได้เดินทางมาเปิดประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต.หนองกะท้าว เนื่องจากได้รับสัปทานปิโตรเลี่ยม เลขที่ 13/2550/89โดยมีประชาชนในพื้นที่มารับฟังจำนวนหนึ่งและจะไปรับฟังประชาพิจารณ์อีกพื้นที่บ้านน้ำตาก หมู่ 17 ต.หนองกะท้าว พื้นที่เตรียมการตั้งแท่นเจาะสำรวจในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้
ประชาพิจารณ์ที่อบต.หนองกะท้าว
Mr.John Booth ตำแหน่ง Exploration Manager (ผู้จัดการฝ่ายสำรวจ) บริษัท ทวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า ตนและทีมงานทวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด มาวันนี้เพื่อทำประชาพิจารณ์รับฟังปัญหาของคนในพื้นที่ ต..หนองกระท้าว อ.นครไทย พิษณุโลกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อประเมินว่าคนในพื้นที่ตอบรับ และประชาชนมีความเห็นด้วยกับโครงการสำรวจปิโตรเลียมอย่างไร เพื่อทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่าน คาดว่าสิ้นฤดูฝนของปีนี้ จึงจะเริ่มดำเนินการขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งวิธีการนั้น จะต้องเจาะลงไปใต้พื้นที่ระดับ 1,700 เมตร ผ่านลงไปใต้ชั้นหินจำนวน 3 ชั้น คือ หินทราย โคลน และหินปูน ซึ่งจะต้องเจอน้ำมันดิบในขั้นแรก แต่เราจะไม่เอา เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบมีน้อย แต่เป้าหมายหลักของทวิน ซ่า คือการขุดเจาะหาก๊าซธรรมชาติ ที่คาดการณ์ว่าจะมี จำนวน 215 พันล้านลูกบาศ์กฟุต โดยเป็นก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV
จากนั้นค่อยมาประเมินความคุ้มค่าอีกครั้งว่า จะดำเนินการขนส่งด้วยรถยนต์ หรือ ต่อท่อไปยังแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ อ.ลานกระบือ จ.;กำแพงเพชร คาดว่า จะมีปริมาณก๊าซสามารถให้ขุดได้ในระยะ 20 ปี โดยใน 5 ปีแรก จะมีการประเมินคุณภาพ ระยะต่อไปจะมีการนำก๊าซขึ้นมาใช้ ที่คาดการณ์ว่าจะใช้ได้ประมาณ 20 ปี
Mr.John Booth Exploration Manager เปิดเผยอีกว่า กรณีหลุมไฟ หมู่ 9 หนองกระท้าว อ,นครไทย ที่ปรากฏเป็นข่าว ก็อยากรู้และจะไปดูตนไม่สามารถตอบได้ ต้องรอกรมทรัพย์ธรณีวิทยา แต่บอกเพียงเบื้องต้นว่า ถ้าเป็นก๊าซ จะขุดเจาะผ่านชั้นหินที่หนา จำนวน 3 ชั้นดินโดยให้แรงดัน อัดลงไป เพื่อเอาก๊าซขึ้นมา และจุดหลุมไฟนั้นไม่มีก๊าซ และไม่น่าเกี่ยว เพราะจุดที่วางเป้าหมายขุดเจาะนั้น ห่างจากจุดเกิดไฟลุก 20 กิโลเมตร จึงไม่เชื่อว่าบริเวณหลุมไฟจะมีก๊าซอะไร แต่สงสัยเป็นการสะสมเศษขี้เลื่อยลักษณะดังกล่าวนี้ ประเทศอินโดนิเชียก็เคยเกิดขึ้นเหมือนกัน เดี๋ยวก็ดับไปเอง
บริษัททวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด ได้รับอนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 13/2559/89 ครอบคลุมแปลงสำรวจบนบกหมายเลข L7/50 จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเมื่อ 19 ธันวาคม 2550 หลังได้รับสัมปทาน บริษัททวินซ่าฯ ได้ดำเนินการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติ เพื่อตรวจสอบและยืนยันลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาและลำดับชั้นหินในแหล่งกักเก็บ คลอบคลุมพื้นที่อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย อำเภอวังทอง และอำเภอวัดโบสถ์จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยาดังกล่าว ได้ข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอต่อการวางแผนเจาะสำรวจปิโตรเลียม จึงกำหนดการเจาะสำรวจผ่านฐานเจาะ 1 แห่ง ตำแหน่งที่ตั้งฐานเจาะตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.17 บ้านน้ำตาก ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่บนเนินเขาปานกลาง อยู่ห่างจากจุดที่เกิดไฟลุกใต้ดิน ม.9 บ้านเนินตะโพน ต.หนองกะท้าว มาทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร
ในระหว่างนี้ บริษัท ทวินซ่าฯ ได้ว่าจ้างบริษัท โปร เอ็นเทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบทำรายงายผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 จากนั้น จะนำร่างรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อนเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา หากผ่าน ก็จะเริ่มดำเนินการเดินเครื่องแท่นขุดเจาะในปลายปี 2555 นี้
ด้านนายธงชัย จันทร์เครื่อง นักธรณีวิทยา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การเดินทางมา อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เพื่อทำประชาพิจารณ์ประชาชนก่อนดำเนินการเจาะสำรวจปิโตเลียมในพื้นที่ดังกล่าว สำหรับหลุมที่ อ.นครไทย จากการประมาณการในเบื้องต้นคาดว่าหากมีการเจาะสำรวจจะพบก๊าซธรรมชาติในปริมาณ 215พันล้านลูกบาศก์ฟุต ส่วนน้ำมันคาดว่าไม่น่ามีในบริเวณนี้ คงต้องรอผ่านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลงมือเจาะพิสูจน์ ซึ่งการขุดเจาะบางครั้งก็ไม่พบ แต่ที่ จ.พิษณุโลก เป็นหลุ่มสำรวจปิโตรเลี่ยมที่มีโอกาสพบเจอ 50 : 50 หลุมสำรวจในเมืองไทยยังมีความเสี่ยงมาก ยกตัวอย่างที่พึ่งเจาะสำรวจพื้นที่ภาคอีสาน 5 หลุมขุดเจอเพียง 1 หลุมเท่านั้นขณะที่ค่าใช้จ่ายขุดเจาะ 5 หลุม สูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเงินไทยประมาณ 3,000 ล้านบาท เช่นเดีนวกันเวลานี้แม้มีการสำรวจผลผระทบผ่านแล้วโอกาสเสี่ยงที่จะได้เจอก๊าซหรือน้ำมันก็ยังมีอยู่ เพราะไม่มีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมที่ อ.นครไทยมาก่อน หลุมนี้เป็นหลุมแรกจึงยังไม่สามารถบอกมูลค่าทางพาณิชย์ได้ แตกต่างจาก อ.ลานกระลือ จ.กำแพงเพชร ที่มีการเจาะสำรวจเป็น 1,000 หลุ่มจนได้ทั้งก๊าซและน้ำมัน
ที่มา : http://www.phitsanulokhotnews.com/15281
พิกัดตั้งแท่นเจาะหาก๊าซ บนเขาสูง ม.17 ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ห่างจากจุดไฟลุกใต้ดิน ม.9 ระยะทาง 20 กิโลเมตร
วันที่ 26 เมษายน 2555 ที่อบต.หนองกระท้าว อ.นครไทย พิษณุโลก บริษัท ทวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด บริษัท โปรเอ็น เท็คโนโลยี่ จำกัด และกระทรวงพลังงานได้เดินทางมาเปิดประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต.หนองกะท้าว เนื่องจากได้รับสัปทานปิโตรเลี่ยม เลขที่ 13/2550/89โดยมีประชาชนในพื้นที่มารับฟังจำนวนหนึ่งและจะไปรับฟังประชาพิจารณ์อีกพื้นที่บ้านน้ำตาก หมู่ 17 ต.หนองกะท้าว พื้นที่เตรียมการตั้งแท่นเจาะสำรวจในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้
ประชาพิจารณ์ที่อบต.หนองกะท้าว
Mr.John Booth ตำแหน่ง Exploration Manager (ผู้จัดการฝ่ายสำรวจ) บริษัท ทวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า ตนและทีมงานทวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด มาวันนี้เพื่อทำประชาพิจารณ์รับฟังปัญหาของคนในพื้นที่ ต..หนองกระท้าว อ.นครไทย พิษณุโลกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อประเมินว่าคนในพื้นที่ตอบรับ และประชาชนมีความเห็นด้วยกับโครงการสำรวจปิโตรเลียมอย่างไร เพื่อทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่าน คาดว่าสิ้นฤดูฝนของปีนี้ จึงจะเริ่มดำเนินการขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งวิธีการนั้น จะต้องเจาะลงไปใต้พื้นที่ระดับ 1,700 เมตร ผ่านลงไปใต้ชั้นหินจำนวน 3 ชั้น คือ หินทราย โคลน และหินปูน ซึ่งจะต้องเจอน้ำมันดิบในขั้นแรก แต่เราจะไม่เอา เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบมีน้อย แต่เป้าหมายหลักของทวิน ซ่า คือการขุดเจาะหาก๊าซธรรมชาติ ที่คาดการณ์ว่าจะมี จำนวน 215 พันล้านลูกบาศ์กฟุต โดยเป็นก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV
จากนั้นค่อยมาประเมินความคุ้มค่าอีกครั้งว่า จะดำเนินการขนส่งด้วยรถยนต์ หรือ ต่อท่อไปยังแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ อ.ลานกระบือ จ.;กำแพงเพชร คาดว่า จะมีปริมาณก๊าซสามารถให้ขุดได้ในระยะ 20 ปี โดยใน 5 ปีแรก จะมีการประเมินคุณภาพ ระยะต่อไปจะมีการนำก๊าซขึ้นมาใช้ ที่คาดการณ์ว่าจะใช้ได้ประมาณ 20 ปี
Mr.John Booth Exploration Manager เปิดเผยอีกว่า กรณีหลุมไฟ หมู่ 9 หนองกระท้าว อ,นครไทย ที่ปรากฏเป็นข่าว ก็อยากรู้และจะไปดูตนไม่สามารถตอบได้ ต้องรอกรมทรัพย์ธรณีวิทยา แต่บอกเพียงเบื้องต้นว่า ถ้าเป็นก๊าซ จะขุดเจาะผ่านชั้นหินที่หนา จำนวน 3 ชั้นดินโดยให้แรงดัน อัดลงไป เพื่อเอาก๊าซขึ้นมา และจุดหลุมไฟนั้นไม่มีก๊าซ และไม่น่าเกี่ยว เพราะจุดที่วางเป้าหมายขุดเจาะนั้น ห่างจากจุดเกิดไฟลุก 20 กิโลเมตร จึงไม่เชื่อว่าบริเวณหลุมไฟจะมีก๊าซอะไร แต่สงสัยเป็นการสะสมเศษขี้เลื่อยลักษณะดังกล่าวนี้ ประเทศอินโดนิเชียก็เคยเกิดขึ้นเหมือนกัน เดี๋ยวก็ดับไปเอง
บริษัททวินซ่า ออยล์ ลิมิเต็ด ได้รับอนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 13/2559/89 ครอบคลุมแปลงสำรวจบนบกหมายเลข L7/50 จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเมื่อ 19 ธันวาคม 2550 หลังได้รับสัมปทาน บริษัททวินซ่าฯ ได้ดำเนินการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติ เพื่อตรวจสอบและยืนยันลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาและลำดับชั้นหินในแหล่งกักเก็บ คลอบคลุมพื้นที่อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย อำเภอวังทอง และอำเภอวัดโบสถ์จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยาดังกล่าว ได้ข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอต่อการวางแผนเจาะสำรวจปิโตรเลียม จึงกำหนดการเจาะสำรวจผ่านฐานเจาะ 1 แห่ง ตำแหน่งที่ตั้งฐานเจาะตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.17 บ้านน้ำตาก ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่บนเนินเขาปานกลาง อยู่ห่างจากจุดที่เกิดไฟลุกใต้ดิน ม.9 บ้านเนินตะโพน ต.หนองกะท้าว มาทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร
ในระหว่างนี้ บริษัท ทวินซ่าฯ ได้ว่าจ้างบริษัท โปร เอ็นเทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบทำรายงายผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 จากนั้น จะนำร่างรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อนเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา หากผ่าน ก็จะเริ่มดำเนินการเดินเครื่องแท่นขุดเจาะในปลายปี 2555 นี้
ด้านนายธงชัย จันทร์เครื่อง นักธรณีวิทยา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การเดินทางมา อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เพื่อทำประชาพิจารณ์ประชาชนก่อนดำเนินการเจาะสำรวจปิโตเลียมในพื้นที่ดังกล่าว สำหรับหลุมที่ อ.นครไทย จากการประมาณการในเบื้องต้นคาดว่าหากมีการเจาะสำรวจจะพบก๊าซธรรมชาติในปริมาณ 215พันล้านลูกบาศก์ฟุต ส่วนน้ำมันคาดว่าไม่น่ามีในบริเวณนี้ คงต้องรอผ่านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลงมือเจาะพิสูจน์ ซึ่งการขุดเจาะบางครั้งก็ไม่พบ แต่ที่ จ.พิษณุโลก เป็นหลุ่มสำรวจปิโตรเลี่ยมที่มีโอกาสพบเจอ 50 : 50 หลุมสำรวจในเมืองไทยยังมีความเสี่ยงมาก ยกตัวอย่างที่พึ่งเจาะสำรวจพื้นที่ภาคอีสาน 5 หลุมขุดเจอเพียง 1 หลุมเท่านั้นขณะที่ค่าใช้จ่ายขุดเจาะ 5 หลุม สูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเงินไทยประมาณ 3,000 ล้านบาท เช่นเดีนวกันเวลานี้แม้มีการสำรวจผลผระทบผ่านแล้วโอกาสเสี่ยงที่จะได้เจอก๊าซหรือน้ำมันก็ยังมีอยู่ เพราะไม่มีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมที่ อ.นครไทยมาก่อน หลุมนี้เป็นหลุมแรกจึงยังไม่สามารถบอกมูลค่าทางพาณิชย์ได้ แตกต่างจาก อ.ลานกระลือ จ.กำแพงเพชร ที่มีการเจาะสำรวจเป็น 1,000 หลุ่มจนได้ทั้งก๊าซและน้ำมัน
ที่มา : http://www.phitsanulokhotnews.com/15281
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 235
ปตท.สผ.เตรียมสำรวจขุดเจาะน้ำมันที่พิจิตรOctober 17th, 2011, 04:14 PM
นางอัจฉราภรณ์ บุญญรังสี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ สำนักงานพลังงานจังหวัดพิจิตร และ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ว่า ในปัจจุบันความต้องการพลังงานในประเทศไทย ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาแหล่งพลังงานอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเขต จ.พิจิตร ซึ่งก่อนหน้านี้มีบริษัท คาร์นาร์วอน ไทยแลนด์ ลิมิเต็ด กำลังดำเนินการเจาะหาน้ำมันแล้ว 2 หลุม คือ ในเขต ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง และ ต.ท่าขมิ้น อ.โพทะเล ซึ่งการตั้งแท่นขุดเจาะ ยังไม่ทราบผลว่าจะเจอน้ำมันดิบใต้ดินหรือไม่
ล่าสุดขณะนี้ บริษัท ปตท.สผ. ได้เข้าสำรวจและพบว่าบริเวณบ้านหนองตะเคียน ต.วังโมกข์ อ.วชิรบารมี ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำมันสายเดียวกับบ่อน้ำมันลานกระบือ จ.กำแพงเพชร และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก มีแนวโน้มว่าอาจจะมีน้ำมันดิบใต้ดิน จึงได้เข้าขออนุญาตจะเข้าทำประชาพิจารณ์ เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าชุมชนไม่คัดค้าน ก็จะดำเนินการตั้งแท่นขุดเจาะ ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำมันบ่อที่ 3 ของ จ.พิจิตร อีกด้วย ซึ่งถ้าพบน้ำมันก็จะส่งผลให้ประเทศไทย ลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ พร้อมทั้งคนในพื้นที่ก็จะมีงานทำ อบจ. และ อบต. ซึ่งเป็นที่ตั้งบ่อน้ำมัน ก็จะได้ค่าภาษีภาคหลวง เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
นางอัจฉราภรณ์ บุญญรังสี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ สำนักงานพลังงานจังหวัดพิจิตร และ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ว่า ในปัจจุบันความต้องการพลังงานในประเทศไทย ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาแหล่งพลังงานอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเขต จ.พิจิตร ซึ่งก่อนหน้านี้มีบริษัท คาร์นาร์วอน ไทยแลนด์ ลิมิเต็ด กำลังดำเนินการเจาะหาน้ำมันแล้ว 2 หลุม คือ ในเขต ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง และ ต.ท่าขมิ้น อ.โพทะเล ซึ่งการตั้งแท่นขุดเจาะ ยังไม่ทราบผลว่าจะเจอน้ำมันดิบใต้ดินหรือไม่
ล่าสุดขณะนี้ บริษัท ปตท.สผ. ได้เข้าสำรวจและพบว่าบริเวณบ้านหนองตะเคียน ต.วังโมกข์ อ.วชิรบารมี ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำมันสายเดียวกับบ่อน้ำมันลานกระบือ จ.กำแพงเพชร และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก มีแนวโน้มว่าอาจจะมีน้ำมันดิบใต้ดิน จึงได้เข้าขออนุญาตจะเข้าทำประชาพิจารณ์ เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าชุมชนไม่คัดค้าน ก็จะดำเนินการตั้งแท่นขุดเจาะ ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำมันบ่อที่ 3 ของ จ.พิจิตร อีกด้วย ซึ่งถ้าพบน้ำมันก็จะส่งผลให้ประเทศไทย ลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ พร้อมทั้งคนในพื้นที่ก็จะมีงานทำ อบจ. และ อบต. ซึ่งเป็นที่ตั้งบ่อน้ำมัน ก็จะได้ค่าภาษีภาคหลวง เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 236
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... &subcatid=
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09:59:51 น.
เร่งดันหุ้นใหม่"SPRC"เข้าตลท.Q3 ที่ปรึกษาการเงินชี้โรงกลั่นใหญ่มาร์เก็ตแคป5หมื่นล.
ที่ปรึกษาการเงินจ่อคิวยื่นไฟลิ่ง "โรงกลั่นน้ำมันสตาร์" ไตรมาส 3 นี้ ลุ้นกระจายหุ้น 30% ดันเข้าเทรดได้ทันปลายปีนี้ มั่นใจมาร์เก็ตแคปหุ้นน้องใหม่ไซซ์ใหญ่สุดรอบปี 5 หมื่นล้าน ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท.-เชฟรอนยอมลดสัดส่วนลง

แหล่งข่าวจากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ร่วมรายหนึ่งของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในช่วงต้นไตรมาส 3 นี้ บริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งถือเป็นหุ้นน้องใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯที่เกิดขึ้นในปีนี้ และคาดว่าจะสามารถกระจายหุ้นขายประชาชน (IPO) ภายในไตรมาส 4 นี้
"ขณะนี้ทำดิวดิลิเจนซ์บริษัทเสร็จแล้ว ขั้นตอนปัจจุบันเราในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินจะช่วยดูด้านการปรับโครงสร้างเงินทุนและโครงสร้างผู้ถือหุ้น ซึ่งเราจะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาการเงินรายอื่น ๆ ด้วย ทั้งส่วนที่ดูเรื่องการโรดโชว์ การปรับโครงสร้างอื่น ๆ และที่ปรึกษาการเงินที่ดูเรื่องการรับประกันการจัดจำหน่ายด้วย เราคาดว่าหุ้น SPRC หลังเข้าตลาดจะมีมูลค่าราคาตลาดรวมสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งหุ้น
มีโอกาสติดกลุ่ม SET 100" แหล่งข่าวกล่าว
ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.ปตท. (PTT) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่ง กล่าวว่า ทางบริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน 6 ราย เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในไทย 4 ราย คือ บล.ฟินันซ่า, บล.ภัทร, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ ส่วนที่ปรึกษาทางการเงินของต่างชาติ คือ บล.เจพีมอร์แกน และ บล.เมอร์ลิน ลินช์ โดยบริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯเตรียมจะกระจายหุ้นขายประชาชนสัดส่วนประมาณ 30% ของทุนจดทะเบียน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯอยู่ระหว่างขั้นตอนการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นอยู่ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ ปตท.ถืออยู่สัดส่วนประมาณ 36% กลุ่มเชฟรอนถือหุ้นประมาณ 64% หากนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทาง ปตท.จะลดสัดส่วนเหลือ 25% และเชฟรอนเหลือ 45%
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า เดิมบริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯมีแผนจะเข้าตลาดในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ แต่เนื่องจากติดปัญหาภายในของบริษัท จึงเลื่อนมาเข้าในไตรมาส 3 นี้แทน ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงาน ก.ล.ต.ที่ดูแลการยื่นไฟลิ่งให้ด้วย โดยทั้ง 2 หน่วยงานอยากให้มีหุ้นขนาดใหญ่เข้ามาในตลาด เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทขนาดใหญ่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯจำนวนน้อย ขณะเดียวกันเชื่อว่าผลจากการแปรสภาพบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันและลดการผูกขาดในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09:59:51 น.
เร่งดันหุ้นใหม่"SPRC"เข้าตลท.Q3 ที่ปรึกษาการเงินชี้โรงกลั่นใหญ่มาร์เก็ตแคป5หมื่นล.
ที่ปรึกษาการเงินจ่อคิวยื่นไฟลิ่ง "โรงกลั่นน้ำมันสตาร์" ไตรมาส 3 นี้ ลุ้นกระจายหุ้น 30% ดันเข้าเทรดได้ทันปลายปีนี้ มั่นใจมาร์เก็ตแคปหุ้นน้องใหม่ไซซ์ใหญ่สุดรอบปี 5 หมื่นล้าน ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท.-เชฟรอนยอมลดสัดส่วนลง

แหล่งข่าวจากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ร่วมรายหนึ่งของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในช่วงต้นไตรมาส 3 นี้ บริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งถือเป็นหุ้นน้องใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯที่เกิดขึ้นในปีนี้ และคาดว่าจะสามารถกระจายหุ้นขายประชาชน (IPO) ภายในไตรมาส 4 นี้
"ขณะนี้ทำดิวดิลิเจนซ์บริษัทเสร็จแล้ว ขั้นตอนปัจจุบันเราในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินจะช่วยดูด้านการปรับโครงสร้างเงินทุนและโครงสร้างผู้ถือหุ้น ซึ่งเราจะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาการเงินรายอื่น ๆ ด้วย ทั้งส่วนที่ดูเรื่องการโรดโชว์ การปรับโครงสร้างอื่น ๆ และที่ปรึกษาการเงินที่ดูเรื่องการรับประกันการจัดจำหน่ายด้วย เราคาดว่าหุ้น SPRC หลังเข้าตลาดจะมีมูลค่าราคาตลาดรวมสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งหุ้น
มีโอกาสติดกลุ่ม SET 100" แหล่งข่าวกล่าว
ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.ปตท. (PTT) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่ง กล่าวว่า ทางบริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน 6 ราย เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในไทย 4 ราย คือ บล.ฟินันซ่า, บล.ภัทร, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ ส่วนที่ปรึกษาทางการเงินของต่างชาติ คือ บล.เจพีมอร์แกน และ บล.เมอร์ลิน ลินช์ โดยบริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯเตรียมจะกระจายหุ้นขายประชาชนสัดส่วนประมาณ 30% ของทุนจดทะเบียน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯอยู่ระหว่างขั้นตอนการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นอยู่ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ ปตท.ถืออยู่สัดส่วนประมาณ 36% กลุ่มเชฟรอนถือหุ้นประมาณ 64% หากนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทาง ปตท.จะลดสัดส่วนเหลือ 25% และเชฟรอนเหลือ 45%
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า เดิมบริษัทโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ฯมีแผนจะเข้าตลาดในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ แต่เนื่องจากติดปัญหาภายในของบริษัท จึงเลื่อนมาเข้าในไตรมาส 3 นี้แทน ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงาน ก.ล.ต.ที่ดูแลการยื่นไฟลิ่งให้ด้วย โดยทั้ง 2 หน่วยงานอยากให้มีหุ้นขนาดใหญ่เข้ามาในตลาด เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทขนาดใหญ่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯจำนวนน้อย ขณะเดียวกันเชื่อว่าผลจากการแปรสภาพบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันและลดการผูกขาดในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 237
คอลัมน์: Mission CEO ภารกิจพิชิตเป้า
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, May 21, 2012 08:41
[email protected]
Mission CEO ฉบับที่ 414 วันที่ 21-27 พฤษภาคม 2555
แมทธิว กิจโอธาน กรรมการผู้จัดการ บมจ.โออิชิกรุ๊ป เปิดเผย บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มและโรงงานอาหารหรือครัวกลางแห่งใหม่อาจเพิ่มงบลงทุนเดิมที่ตั้งไว้ปีนี้ 1.8 พันล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 2 นอกจากนี้มีแผนที่จะขยายตลาดน้ำอัดลมชาเขียวยากูซาไปยังต่างประเทศเริ่มที่ประเทศฮ่องกง ผ่านช่องทางของไทยเบฟเวอเรจ สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2555 บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมไว้ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ทำได้ 9.6 พันล้านบาท คาดว่าปีนี้โออิชิจะมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียว 6.7 พันล้านบาทส่วนรายได้ที่เหลือจะมาจากธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งในปีนี้เตรียมเปิดสาขาใหม่อีก 45 สาขา รวมเป็น 162 สาขา ขณะที่แผนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า (2555-2559) โออิชิตั้งเป้าจะมีรายได้เติบโตปีละประมาณ 28% หรือมีรายได้แตะ 3.2 หมื่นล้านบาท
ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม ในฐานะประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจมีเดีย และธุรกิจใหม่ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (INTUCH) เปิดเผยว่าครึ่งหลังของปีนี้ จะเห็นความชัดเจนธุรกิจใหม่ของอินทัชกรุ๊ป นั่นคือ ธุรกิจดิจิทัล ทีวี และธุรกิจเวนเจอร์แคปปิตอล ซึ่งจะเปิดให้บุคคลหรือนิติบุคคลเข้ามายื่นขอรับการสนับสนุนทางการเงิน เบื้องต้นตั้งงบลงทุนไว้ประมาณ 200 ล้านบาท สำหรับไทยคม ปีนี้มั่นใจว่าผลประกอบการจะขยายตัว 10-15% เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยคาดมีกำไรจากการดำเนินงาน 400 ล้านบาท ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ส่วนเงินลงทุนสร้างดาวเทียมใหม่ยืนยันว่าไทยคมพร้อม ปัจจุบันมีกระแสเงินสดในมือ 3,581 ล้านบาท และที่สำคัญการสร้างดาวเทียมส่วนใหญ่จะให้พันธมิตรเป็นผู้สร้าง ไทยคมเป็นผู้ซื้อช่วงสัญญาณแบนด์วิธมาจำหน่าย
ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาซื้อกิจการใหม่ขนาดประมาณ 100-200 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3-6 พันล้านบาท) คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ยอมรับว่าโอกาสที่จะซื้อกิจการขนาดใหญ่ระดับ 1 พันล้านดอลลาร์หากยากมากขึ้นกว่าในอดีตโดยบริษัทมองอยู่หลายประเทศไม่ว่าสหรัฐหรือยุโรป และภูมิภาคอื่นๆ ในปี 2555 นี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 15% จากปีก่อนหน้า หรือมีรายได้เกิน 1 แสนล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 9.8 หมื่นล้านบาทสำหรับปี 2558 บริษัทตั้งเป้าหมายมีรายได้ 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท และในปี 2563 มีรายได้ 8 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.4 แสนล้านบาท โดยกลยุทธ์หลักของบริษัทคือ การขยายตลาดไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก
อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ไตรมาส 2 นี้ บางจากมีแผนจะลงทุนธุรกิจใหม่ร่วมกับพันธมิตรทำธุรกิจอาหาร ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน คาดใช้เงินลงทุน 2-3 พันล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ประมาณ 13-14% ขณะนี้อยู่ระหว่างทำรายละเอียดเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ทั้งนี้ บางจากตั้งเป้าลดสัดส่วนรายได้ธุรกิจโรงกลั่นจาก 75% ให้เหลือ 50% ภายในปี 2558 และภายในปี 2563 จะพยายามลดรายได้จากโรงกลั่นให้เหลือ 35% รายได้ธุรกิจใหม่ 50% ที่เหลือ 15% เป็นรายได้ด้านการตลาด โดยภายใน 3 ปีนี้ บางจากตั้งงบลงทุนไว้ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมการลงทุนใหม่ในธุรกิจอาหาร ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2555 ประเมิน EBITDA รวมอยู่ที่ 8-9 พันล้านบาท ขณะที่แนวโน้มกำไรไตรมาส 2 ไม่น่าจะปรับลดลงมาก แม้ว่าจะหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปี 30 วัน
คุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ เปิดเผยว่า ปีนี้ บริษัทมีเป้าที่จะขยายสาขาจำนวน 8 สาขา โดยเริ่มทยอยเปิดไปแล้ว 2 สาขา คือสาขาจังหวัดตรัง และสาขาเมกาบางนา โดย 2 สาขานี้มีมูลค่าการลงทุนรวมแล้วกว่า 600 ล้านบาทและในเดือนนี้ บริษัทมีเป้าหมายที่จะขยายสาขาไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดบุรีรัมย์ และจะทยอยเปิดสาขาที่หาดใหญ่ เป็นสาขาที่ 2 และอีก 4 สาขาในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 1/2555 บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 610 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้จากการขายจำนวน 8,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% มีกำไรขั้นต้น 2,089 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเท่ากับ 24.84% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 24.47%
อัศนี ชันทอง กรรมการผู้จัดการ บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกปีนี้มีรายได้ 1,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 192 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 49% โดยมีการรับรู้กำไรจากการขายที่ดินที่ไม่ได้ใช้งาน 44 ล้านบาท บริษัทเชื่อว่าในปี 2555 จะรักษาอัตราเติบโตของรายได้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 10% โดยในช่วงกลางปีนี้ จะเริ่มเดินเครื่องสายการผลิต NT10 ซึ่งเป็นสินค้ากลุ่มไฟเบอร์ซีเมนต์ด้วยกำลังการผลิต 72,000 ตัน ทำให้กำลังการผลิตรวมของตราเพชรเพิ่มเป็น 752,000 ตันต่อปี ส่วนแนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 2 ของปีนี้ เชื่อว่าจะยังมีอัตราการเติบโตที่ดี อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2 มีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้นแต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทมากนัก
เดชา ตุลานันท์ รองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า สินเชื่อของธนาคารในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเติบโตได้ดีมาก โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคยานยนต์มีการขยายโรงงานใหม่ รวมถึงภาคชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังมีการลงทุนต่อเนื่อง ทำให้เชื่อว่าสินเชื่อปีนี้มีโอกาสที่จะเติบโตได้สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 6-8% หรือมีความเป็นไปได้ที่สินเชื่อจะโตถึงระดับ 10% ได้ในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรกสินเชื่อของธนาคารเพิ่มขึ้น 3.4% สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นกังวล หากเศรษฐกิจยังมีการขยายตัวได้ต่อเนื่องและรายได้ของประชาชนยังคงเพิ่มขึ้น และเชื่อว่าจะไม่กระทบกับผู้ประกอบการมากนัก ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ มองว่าจะยังคงทรงตัวต่อเนื่อง
ไกรลักขณ์ อัศวศัตรโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ในโตรมาส 2/2555 ผลประกอบการจะดีกว่างวดเดียวกันปีก่อน และบันทึกกำไรจากการขายที่ดินที่ศรีราชา 19 ล้านบาท แต่โดยรวมยังเป็นขาดทุนอยู่ ซึ่งเป็นฤดูกาลปกติไตรมาส 2-3ผลการดำเนินงานจะขาดทุน เพราะเป็นฤดูนักท่องเที่ยวน้อย แต่ทั้งปีคาดว่าจะเป็นกำไรสุทธิ บริษัทวางเป้าหมายรายได้รวมปีนี้โต 20% จากปีก่อนที่ 4.48 พันล้านบาทคาดอัตราเข้าพักเฉลี่ยปีนี้ที่ 78% สูงกว่าปีก่อนที่ 69% โดยใตรมาส 1/2555 อยู่ที่ 79.5% ปี 2555 บริษัทมีแผนใช้เงินกว่า 1,300 ล้านบาท โดยใช้ไปแล้ว 150 ล้านบาทและอีก 800-900 ล้านบาท จะใช้สำหรับเปิดโรงแรมไอบิสและเมอร์เคียว สยาม ที่จะเปิด ธ.ค.นี้ และยังเตรียมงบปรับปรุงโรงแรมไฮแอท เอราวัณอีก 700 ล้านบาท โดยจะใช้ปีนี้ราว 200 ล้านบาท
ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของกำไรสุทธินับจากปีนี้ถึงปี 2559 เติบโตเฉลี่ย 15-20% ต่อปี โดยเป็นสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอาหารมากกว่า 50% และจากธุรกิจโรงแรมมากกว่า 40% อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธุรกิจโรงแรมจะมีกำไรมากกว่าธุรกิจอาหาร เนื่องจากมาร์จินสูงกว่า ทั้งนี้งบลงทุน 5 ปี จากนี้ตั้งไว้ที่ 20,000 ล้านบาท และกันงบไว้อีก 10,000 ล้านบาทสำหรับเข้าลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ และการเข้าซื้อกิจการ โดยปีนี้คาดจะใช้งบลงทุน 4-5 พันล้านบาท สำหรับในไตรมาส 1/2555 บริษัททำกำไรสุทธิได้ถึง 1,276 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ มากกว่าปี 2554 ทั้งปีสำหรับแนวโน้มไตรมาส 2/2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าผลงานอาจจะไม่โดดเด่นมากนัก เนื่องจากไตรมาส 2 เป็นช่วงโลว์ซีวัน
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.เปิดเผยว่า ในปีนี้ ปตท.ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงแบบครบวงจรเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกค่อนข้างผันผวน ปัจจุบันผันผวนที่ราคา 107-110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้แนวรับสำคัญที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มองว่าราคาน้ำมันไม่น่าจะต่ำกว่าแนวรับนี้ เพราะเป็นระดับที่ผู้ผลิตรับได้เพราะหากต่ำกว่านี้จะขาดทุน ส่วนปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้คือความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในช่วงหน้าร้อนรเดือน มิ.ย.-ส.ค.ที่จะถึงนี้เพราะจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ทั้งประเทศ ซึ่งคงต้องรอดูว่าผลกระทบจะมากน้อยแค่ไหน
ขจรพงศ์ คำดี กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ไตรมาส 2/2555 บริษัทจะสามารถขุดถ่านหินที่ประเทศอินโดนีเซียได้เต็มกำลังการผลิต จึงเป็นไปได้ว่าปีนี้จะขายถ่านหินได้ตามเป้าหมาย 3.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 70% จากปริมาณการจัดจำหน่ายถ่านหินในปี 2554 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.9 ล้านตัน โดยคาดว่าราคาขายถ่านหินในปีนี้ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับประมาณ 65-70 เหรียญต่อตัน ส่วนดีลการเจรจาซื้อเหมืองแห่งใหม่เพิ่มนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาคาดว่าจะได้ข้อสรุปได้ในช่วงปลายปีนี้ ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการจำหน่ายถ่านหินไปต่างประเทศที่ 80% และในประเทศ 20% ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าประเทศเกาหลีและไต้หวันเพิ่มขึ้น จากช่วงที่ผ่านมาที่ประสบความสำเร็จจากการส่งถ่านหินไปขายในจีนและขยายออเดอร์ไปยังประเทศอินเดีย
ถกล ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.น้ำตาลครบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงงานได้ปิดหีบแล้วและกำลังเข้าสู่ฤดูละลาย โดยนำน้ำตาลดิบมาละลายเป็นน้ำตาลทรายขาวต่อไป ถึงแม้ปริมาณอ้อยในปีนี้ลดลงก็มิได้ส่งผลต่อรายได้รวมของบริษัทเนื่องจากได้ทำราคาขายไว้ล่วงหน้าแล้ว 100% ตั้งแต่ปี 2554 ขณะที่โรงงานสามารถปรับปรุงเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และคาดจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบอย่างเพียงพอจะส่งผลอย่างเด่นชัดในปีการผลิต 2555/2556 สำหรับแนวโน้มราคาน้ำตาลยังมีทิศทางที่ดีโดยประเมินว่าปี 2556 ราคาน้ำตาลยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 22-25 เซ็นต์ต่อปอนด์ต่อไปได้อีกในด้านการแข่งขันไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลเนื่องจากบริษัทได้มีการขายล่วงหน้าและทำสัญญาแล้วกว่า 40% และราคาไม่ต่ำกว่าบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย(อนท.)ทั้งนี้ ผลประกอบการในไตรมาส 1-2555 บริษัทมีกำไรสุทธิ 309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1-2554
วิวรรธน์ เหมมณฑารพ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ปัญจวัฒนาพลาสติก เปิดเผยว่าบริษัทมีความเชื่อมันว่ารายได้รวมทั้งปี 2555 นี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะเติบโตมากกว่า 20-25% จากปี 2554 ที่มีรายได้รวม 1,643 ล้านบาท และมีเป้าหมายที่จะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ที่ 21-22% จากผลงานในไตรมาส 1/2555 ปรากฎว่ามีกำไรสุทธิ 52 ล้านบาท เติบโต 27% รายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 515 ล้านบาท เติบโต 21% อีกทั้งยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หลังจากโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่ชลบุรีสามารถเดินเครื่องได้อย่างเต็มที่ คงจะทำให้ผู้ถือหุ้นสบายใจและมั่นใจได้ว่าบริษัทจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่ทำให้ผิดหวัง
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, May 21, 2012 08:41
[email protected]
Mission CEO ฉบับที่ 414 วันที่ 21-27 พฤษภาคม 2555
แมทธิว กิจโอธาน กรรมการผู้จัดการ บมจ.โออิชิกรุ๊ป เปิดเผย บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มและโรงงานอาหารหรือครัวกลางแห่งใหม่อาจเพิ่มงบลงทุนเดิมที่ตั้งไว้ปีนี้ 1.8 พันล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 2 นอกจากนี้มีแผนที่จะขยายตลาดน้ำอัดลมชาเขียวยากูซาไปยังต่างประเทศเริ่มที่ประเทศฮ่องกง ผ่านช่องทางของไทยเบฟเวอเรจ สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2555 บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมไว้ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ทำได้ 9.6 พันล้านบาท คาดว่าปีนี้โออิชิจะมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียว 6.7 พันล้านบาทส่วนรายได้ที่เหลือจะมาจากธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งในปีนี้เตรียมเปิดสาขาใหม่อีก 45 สาขา รวมเป็น 162 สาขา ขณะที่แผนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า (2555-2559) โออิชิตั้งเป้าจะมีรายได้เติบโตปีละประมาณ 28% หรือมีรายได้แตะ 3.2 หมื่นล้านบาท
ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม ในฐานะประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจมีเดีย และธุรกิจใหม่ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (INTUCH) เปิดเผยว่าครึ่งหลังของปีนี้ จะเห็นความชัดเจนธุรกิจใหม่ของอินทัชกรุ๊ป นั่นคือ ธุรกิจดิจิทัล ทีวี และธุรกิจเวนเจอร์แคปปิตอล ซึ่งจะเปิดให้บุคคลหรือนิติบุคคลเข้ามายื่นขอรับการสนับสนุนทางการเงิน เบื้องต้นตั้งงบลงทุนไว้ประมาณ 200 ล้านบาท สำหรับไทยคม ปีนี้มั่นใจว่าผลประกอบการจะขยายตัว 10-15% เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยคาดมีกำไรจากการดำเนินงาน 400 ล้านบาท ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ส่วนเงินลงทุนสร้างดาวเทียมใหม่ยืนยันว่าไทยคมพร้อม ปัจจุบันมีกระแสเงินสดในมือ 3,581 ล้านบาท และที่สำคัญการสร้างดาวเทียมส่วนใหญ่จะให้พันธมิตรเป็นผู้สร้าง ไทยคมเป็นผู้ซื้อช่วงสัญญาณแบนด์วิธมาจำหน่าย
ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาซื้อกิจการใหม่ขนาดประมาณ 100-200 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3-6 พันล้านบาท) คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ยอมรับว่าโอกาสที่จะซื้อกิจการขนาดใหญ่ระดับ 1 พันล้านดอลลาร์หากยากมากขึ้นกว่าในอดีตโดยบริษัทมองอยู่หลายประเทศไม่ว่าสหรัฐหรือยุโรป และภูมิภาคอื่นๆ ในปี 2555 นี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 15% จากปีก่อนหน้า หรือมีรายได้เกิน 1 แสนล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 9.8 หมื่นล้านบาทสำหรับปี 2558 บริษัทตั้งเป้าหมายมีรายได้ 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท และในปี 2563 มีรายได้ 8 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.4 แสนล้านบาท โดยกลยุทธ์หลักของบริษัทคือ การขยายตลาดไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก
อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ไตรมาส 2 นี้ บางจากมีแผนจะลงทุนธุรกิจใหม่ร่วมกับพันธมิตรทำธุรกิจอาหาร ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน คาดใช้เงินลงทุน 2-3 พันล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ประมาณ 13-14% ขณะนี้อยู่ระหว่างทำรายละเอียดเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ทั้งนี้ บางจากตั้งเป้าลดสัดส่วนรายได้ธุรกิจโรงกลั่นจาก 75% ให้เหลือ 50% ภายในปี 2558 และภายในปี 2563 จะพยายามลดรายได้จากโรงกลั่นให้เหลือ 35% รายได้ธุรกิจใหม่ 50% ที่เหลือ 15% เป็นรายได้ด้านการตลาด โดยภายใน 3 ปีนี้ บางจากตั้งงบลงทุนไว้ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมการลงทุนใหม่ในธุรกิจอาหาร ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2555 ประเมิน EBITDA รวมอยู่ที่ 8-9 พันล้านบาท ขณะที่แนวโน้มกำไรไตรมาส 2 ไม่น่าจะปรับลดลงมาก แม้ว่าจะหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปี 30 วัน
คุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ เปิดเผยว่า ปีนี้ บริษัทมีเป้าที่จะขยายสาขาจำนวน 8 สาขา โดยเริ่มทยอยเปิดไปแล้ว 2 สาขา คือสาขาจังหวัดตรัง และสาขาเมกาบางนา โดย 2 สาขานี้มีมูลค่าการลงทุนรวมแล้วกว่า 600 ล้านบาทและในเดือนนี้ บริษัทมีเป้าหมายที่จะขยายสาขาไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดบุรีรัมย์ และจะทยอยเปิดสาขาที่หาดใหญ่ เป็นสาขาที่ 2 และอีก 4 สาขาในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 1/2555 บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 610 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้จากการขายจำนวน 8,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% มีกำไรขั้นต้น 2,089 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเท่ากับ 24.84% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 24.47%
อัศนี ชันทอง กรรมการผู้จัดการ บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกปีนี้มีรายได้ 1,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 192 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 49% โดยมีการรับรู้กำไรจากการขายที่ดินที่ไม่ได้ใช้งาน 44 ล้านบาท บริษัทเชื่อว่าในปี 2555 จะรักษาอัตราเติบโตของรายได้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 10% โดยในช่วงกลางปีนี้ จะเริ่มเดินเครื่องสายการผลิต NT10 ซึ่งเป็นสินค้ากลุ่มไฟเบอร์ซีเมนต์ด้วยกำลังการผลิต 72,000 ตัน ทำให้กำลังการผลิตรวมของตราเพชรเพิ่มเป็น 752,000 ตันต่อปี ส่วนแนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 2 ของปีนี้ เชื่อว่าจะยังมีอัตราการเติบโตที่ดี อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2 มีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้นแต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทมากนัก
เดชา ตุลานันท์ รองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า สินเชื่อของธนาคารในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเติบโตได้ดีมาก โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคยานยนต์มีการขยายโรงงานใหม่ รวมถึงภาคชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังมีการลงทุนต่อเนื่อง ทำให้เชื่อว่าสินเชื่อปีนี้มีโอกาสที่จะเติบโตได้สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 6-8% หรือมีความเป็นไปได้ที่สินเชื่อจะโตถึงระดับ 10% ได้ในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรกสินเชื่อของธนาคารเพิ่มขึ้น 3.4% สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นกังวล หากเศรษฐกิจยังมีการขยายตัวได้ต่อเนื่องและรายได้ของประชาชนยังคงเพิ่มขึ้น และเชื่อว่าจะไม่กระทบกับผู้ประกอบการมากนัก ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ มองว่าจะยังคงทรงตัวต่อเนื่อง
ไกรลักขณ์ อัศวศัตรโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ในโตรมาส 2/2555 ผลประกอบการจะดีกว่างวดเดียวกันปีก่อน และบันทึกกำไรจากการขายที่ดินที่ศรีราชา 19 ล้านบาท แต่โดยรวมยังเป็นขาดทุนอยู่ ซึ่งเป็นฤดูกาลปกติไตรมาส 2-3ผลการดำเนินงานจะขาดทุน เพราะเป็นฤดูนักท่องเที่ยวน้อย แต่ทั้งปีคาดว่าจะเป็นกำไรสุทธิ บริษัทวางเป้าหมายรายได้รวมปีนี้โต 20% จากปีก่อนที่ 4.48 พันล้านบาทคาดอัตราเข้าพักเฉลี่ยปีนี้ที่ 78% สูงกว่าปีก่อนที่ 69% โดยใตรมาส 1/2555 อยู่ที่ 79.5% ปี 2555 บริษัทมีแผนใช้เงินกว่า 1,300 ล้านบาท โดยใช้ไปแล้ว 150 ล้านบาทและอีก 800-900 ล้านบาท จะใช้สำหรับเปิดโรงแรมไอบิสและเมอร์เคียว สยาม ที่จะเปิด ธ.ค.นี้ และยังเตรียมงบปรับปรุงโรงแรมไฮแอท เอราวัณอีก 700 ล้านบาท โดยจะใช้ปีนี้ราว 200 ล้านบาท
ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของกำไรสุทธินับจากปีนี้ถึงปี 2559 เติบโตเฉลี่ย 15-20% ต่อปี โดยเป็นสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอาหารมากกว่า 50% และจากธุรกิจโรงแรมมากกว่า 40% อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธุรกิจโรงแรมจะมีกำไรมากกว่าธุรกิจอาหาร เนื่องจากมาร์จินสูงกว่า ทั้งนี้งบลงทุน 5 ปี จากนี้ตั้งไว้ที่ 20,000 ล้านบาท และกันงบไว้อีก 10,000 ล้านบาทสำหรับเข้าลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ และการเข้าซื้อกิจการ โดยปีนี้คาดจะใช้งบลงทุน 4-5 พันล้านบาท สำหรับในไตรมาส 1/2555 บริษัททำกำไรสุทธิได้ถึง 1,276 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ มากกว่าปี 2554 ทั้งปีสำหรับแนวโน้มไตรมาส 2/2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าผลงานอาจจะไม่โดดเด่นมากนัก เนื่องจากไตรมาส 2 เป็นช่วงโลว์ซีวัน
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.เปิดเผยว่า ในปีนี้ ปตท.ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงแบบครบวงจรเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกค่อนข้างผันผวน ปัจจุบันผันผวนที่ราคา 107-110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้แนวรับสำคัญที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มองว่าราคาน้ำมันไม่น่าจะต่ำกว่าแนวรับนี้ เพราะเป็นระดับที่ผู้ผลิตรับได้เพราะหากต่ำกว่านี้จะขาดทุน ส่วนปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้คือความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในช่วงหน้าร้อนรเดือน มิ.ย.-ส.ค.ที่จะถึงนี้เพราะจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ทั้งประเทศ ซึ่งคงต้องรอดูว่าผลกระทบจะมากน้อยแค่ไหน
ขจรพงศ์ คำดี กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ไตรมาส 2/2555 บริษัทจะสามารถขุดถ่านหินที่ประเทศอินโดนีเซียได้เต็มกำลังการผลิต จึงเป็นไปได้ว่าปีนี้จะขายถ่านหินได้ตามเป้าหมาย 3.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 70% จากปริมาณการจัดจำหน่ายถ่านหินในปี 2554 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.9 ล้านตัน โดยคาดว่าราคาขายถ่านหินในปีนี้ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับประมาณ 65-70 เหรียญต่อตัน ส่วนดีลการเจรจาซื้อเหมืองแห่งใหม่เพิ่มนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาคาดว่าจะได้ข้อสรุปได้ในช่วงปลายปีนี้ ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการจำหน่ายถ่านหินไปต่างประเทศที่ 80% และในประเทศ 20% ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าประเทศเกาหลีและไต้หวันเพิ่มขึ้น จากช่วงที่ผ่านมาที่ประสบความสำเร็จจากการส่งถ่านหินไปขายในจีนและขยายออเดอร์ไปยังประเทศอินเดีย
ถกล ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.น้ำตาลครบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงงานได้ปิดหีบแล้วและกำลังเข้าสู่ฤดูละลาย โดยนำน้ำตาลดิบมาละลายเป็นน้ำตาลทรายขาวต่อไป ถึงแม้ปริมาณอ้อยในปีนี้ลดลงก็มิได้ส่งผลต่อรายได้รวมของบริษัทเนื่องจากได้ทำราคาขายไว้ล่วงหน้าแล้ว 100% ตั้งแต่ปี 2554 ขณะที่โรงงานสามารถปรับปรุงเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และคาดจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบอย่างเพียงพอจะส่งผลอย่างเด่นชัดในปีการผลิต 2555/2556 สำหรับแนวโน้มราคาน้ำตาลยังมีทิศทางที่ดีโดยประเมินว่าปี 2556 ราคาน้ำตาลยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 22-25 เซ็นต์ต่อปอนด์ต่อไปได้อีกในด้านการแข่งขันไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลเนื่องจากบริษัทได้มีการขายล่วงหน้าและทำสัญญาแล้วกว่า 40% และราคาไม่ต่ำกว่าบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย(อนท.)ทั้งนี้ ผลประกอบการในไตรมาส 1-2555 บริษัทมีกำไรสุทธิ 309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1-2554
วิวรรธน์ เหมมณฑารพ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ปัญจวัฒนาพลาสติก เปิดเผยว่าบริษัทมีความเชื่อมันว่ารายได้รวมทั้งปี 2555 นี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะเติบโตมากกว่า 20-25% จากปี 2554 ที่มีรายได้รวม 1,643 ล้านบาท และมีเป้าหมายที่จะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ที่ 21-22% จากผลงานในไตรมาส 1/2555 ปรากฎว่ามีกำไรสุทธิ 52 ล้านบาท เติบโต 27% รายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 515 ล้านบาท เติบโต 21% อีกทั้งยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หลังจากโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่ชลบุรีสามารถเดินเครื่องได้อย่างเต็มที่ คงจะทำให้ผู้ถือหุ้นสบายใจและมั่นใจได้ว่าบริษัทจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่ทำให้ผิดหวัง
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 238
ไทย-แองโกลา สานสัมพันธ์ความร่วมมือด้านพลังงาน
Source - สยามรัฐ (Th), Monday, May 21, 2012
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และMr. Jose Maria Botelho de Vasconcelos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงปิโตรเลียมแห่งสาธารณรัฐแองโกลา ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงปิโตรเลียมแห่งสาธารณรัฐแองโกลา ว่าด้วยความร่วมมือด้านปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ณ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพโดยมีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่นายสรากร กุลธรรมรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยเป็นสักขีพยานเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ทั้งนี้บันทึกความเข้าใจมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและกระชับความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายปิโตรเลียม หน่วยงาน และการดำเนินงานของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสมาชิกโอเปกและเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับสองของทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบแห่งใหม่ของประเทศไทย หากการขนส่งน้ำมันจากแหล่งตะวันออกกลางเกิดเหตุสุดวิสัย
--จบ--
Source - สยามรัฐ (Th), Monday, May 21, 2012
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และMr. Jose Maria Botelho de Vasconcelos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงปิโตรเลียมแห่งสาธารณรัฐแองโกลา ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงปิโตรเลียมแห่งสาธารณรัฐแองโกลา ว่าด้วยความร่วมมือด้านปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ณ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพโดยมีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่นายสรากร กุลธรรมรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยเป็นสักขีพยานเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ทั้งนี้บันทึกความเข้าใจมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและกระชับความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายปิโตรเลียม หน่วยงาน และการดำเนินงานของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสมาชิกโอเปกและเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับสองของทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบแห่งใหม่ของประเทศไทย หากการขนส่งน้ำมันจากแหล่งตะวันออกกลางเกิดเหตุสุดวิสัย
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 239
"ปตท."โอด"กกพ."เตรียมเรียกเงินคืนหลังไม่ซ่อมท่อก๊าซฯ [ ข่าวหุ้น, 21 พ.ค. 55 ]
ปตท.โอด กกพ.เตรียมพิจารณาเรียกเงินคืนหลังไม่ซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติตามแผนที่แจ้งไว้ อ้างปีนี้
แหล่งยาดานา-เยตากุนในพม่ามีปัญหา ต้องเลื่อนซ่อมท่อออกไปก่อน
ปตท.โอด กกพ.เตรียมพิจารณาเรียกเงินคืนหลังไม่ซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติตามแผนที่แจ้งไว้ อ้างปีนี้
แหล่งยาดานา-เยตากุนในพม่ามีปัญหา ต้องเลื่อนซ่อมท่อออกไปก่อน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 240
พีดีพีใกล้คลอดโรงไฟฟ้าเหลือแค่2 [ มติชน, 23 พ.ค. 55 ]
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผน
พลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ
ประเทศ 2553-2573 (พีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) แล้ว โดยจะปรับลดจำนวนโรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์ให้เหลือในแผนเพียง 2 แห่งกำลังผลิตโรงละ 1,000 เมกะวัตต์ จากเดิม 5 แห่ง และ
โรงแรกจะเข้าระบบปี 2569 จากเดิมปี 2566 และโรงที่ 2 จะเข้าระบบปี 2571 เพราะต้องการ
ให้รัฐบาลมีเวลาสร้างการยอมรับจากประชาชนและดูแลด้านความปลอดภัยมากขึ้น หลังเกิดกรณี
สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผน
พลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ
ประเทศ 2553-2573 (พีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) แล้ว โดยจะปรับลดจำนวนโรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์ให้เหลือในแผนเพียง 2 แห่งกำลังผลิตโรงละ 1,000 เมกะวัตต์ จากเดิม 5 แห่ง และ
โรงแรกจะเข้าระบบปี 2569 จากเดิมปี 2566 และโรงที่ 2 จะเข้าระบบปี 2571 เพราะต้องการ
ให้รัฐบาลมีเวลาสร้างการยอมรับจากประชาชนและดูแลด้านความปลอดภัยมากขึ้น หลังเกิดกรณี
สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."