เตรียมรับอนาคต/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

เตรียมรับอนาคต/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาส่งท้ายปีเก่าและเตรียมรับปีใหม่กันด้วยการมองไปในอนาคต เพื่อเตรียมตัวให้ดีที่สุด ในการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

    แนวโน้มแรก ซึ่งเราได้ยินกันบ่อยมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ การเตรียมรับสังคมสูงวัย  ซึ่งดิฉันมีข้อสังเกตและตัวอย่างมาให้ท่าน 4 ข้อ

    ข้อแรกในการเตรียมรับสังคมสูงวัยคือ การเร่งสร้างประชากร ซึ่งหลายประเทศ และหลายชุมชน ได้ใช้มาตรการจูงใจแล้ว เช่น ประเทศจีน ได้ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวตั้งแต่ปี 2015 และ ส่งเสริมให้มีลูกสองคน และมีข่าวว่าจะยกเลิกนโยบายการกำหนดจำนวนบุตรไปเลยภายในหนึ่งถึงสองปีนี้

    สำหรับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขึ้นชื่อว่าประชากรมีอายุยืนมากนั้น เริ่มเห็นปัญหาของสังคมสูงวัยอย่างแท้จริง และมีความกังวลว่าจะไม่มีคนหนุ่มสาวเพียงพอในกำลังแรงงานในอนาคต ที่จะทำงานหาเลี้ยงดูผู้สูงวัยเหล่านั้น หลายเมืองได้มีการให้แรงจูงใจประชากรเพื่อให้มีบุตร

    ดิฉันอ่านพบ ข้อมูลของพูลิตเซอร์เซ็นเตอร์และซีเอ็นเอ็น ว่า เมืองนากิ (Nagi - เป็นเมืองเกษตรกรรม ในจังหวัด โอกายามะ ของญี่ปุ่น ไม่ไกลจากจังหวัดเกียวโต)  ซึ่งมีประชากรเพียง 6,000 คน ได้ใช้นโยบาย แจกเงินให้กับครอบครัวที่มีลูก โดย ลูกคนแรก จะได้รับเงิน 100,000 เยน (ประมาณ 30,000 บาท) ลูกคนที่สองจะได้รับเงิน 150,000 เยน (ประมาณ 60,000 บาท) เพิ่มไปเรื่อยๆ จนถึงลูกคนที่ห้าจะได้รับเงินถึง 400,000 เยน หรือประมาณ 133,333 บาท เป็นการจูงใจให้คนที่คิดจะมีลูก มาอยู่ในเมืองนี้ และคาดหวังว่า เด็กเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเมืองมีต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง จังหวัดไหนในประเทศไทยจะเอาอย่างก็น่าจะยินดีนะคะ

    นอกจากการเพิ่มจำนวนประชากรแล้ว อาจจะใช้วิธีการยืดอายุการทำงานของผู้เกษียณให้ยาวออกไป เช่นเพิ่มอีก 5 ปี โดยหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยก็ใช้นโยบายนี้

    การเตรียมพร้อมอย่างที่สามคือ การใช้ระบบอัตโนมัติมาช่วยทำงานให้มากขึ้น เพื่อให้คนสามารถไปทำงานอื่นๆที่ระบบอัตโนมัติยังทำไม่ได้

    และการเตรียมพร้อมเพื่อรับสังคมสูงวัยอย่างที่สี่ คือ การเตือนให้ทุกคนเตรียมทุนไว้ดูแลตัวเอง ทั้งทุนในเรื่องสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการรับประทานและการใช้ชีวิตที่ไม่คำนึงถึงสุขภาพที่ดี และทุนในเรื่องการเงิน คือมีทุนทรัพย์ ที่จะเลี้ยงดูตัวเองยามสูงวัย

    แนวโน้มที่สอง คือ สภาพอากาศที่แปรปรวนรุนแรงขึ้น ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ทั้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เกิดจากสภาวะโลกร้อน และที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติต่างๆ โดยอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือที่จงใจทำเพื่อประโยชน์ของตนและกลุ่มของตน ฯลฯ

    ดิฉันคิดว่าภัยพิบัติต่างๆที่เราได้เห็นในช่วงชีวิตของเรา ก็สามารถส่งสัญญาณให้เรารู้แล้วว่า มีความรุนแรง และมีความถี่มากขึ้นทุกปี รวมถึงที่เกิดขึ้นในปี 2561 ที่กำลังจะผ่านไปด้วย

    เราไม่สามารถย้อนเวลาไปเตือนบรรพบุรุษของเรา ว่าไม่ควรทำลายสิ้งแวดล้อม นั่นคือ เราไม่สามารถห้ามไม่ให้ภัยพิบัติเหล่านี้เกิดขึ้นในอนาคต สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ การชะลอไม่ให้แย่ลง หรือให้แย่ช้าลง

    หากท่านสังเกตดู ภัยธรรมชาติมักจะเกิดในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ที่เรียกว่า Solstice โดยปีหนึ่งจะเกิดขึ้นสองครั้งคือ ในฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ ในช่วง 22 มิถุนายน เรียกว่า Summer Solstice หรือ ครีษมายัน และ ฤดูร้อนของซีกโลกใต้ (ฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ) ที่เรียกว่า เหมายัน หรือ Winter Solsticeในช่วง 22 ธันวาคม หรือหากใครจำได้ สมัยเด็กๆที่เรียนเราจะเรียกวันที่ 20-21 มิถุนายน ว่า วันที่กลางวันยาวที่สุด และ 21-22 ธันวาคม ว่า วันที่กลางวันสั้นที่สุด ของซีกโลกเหนือ

    และมีอีกสองช่วง ที่มักจะเกิดภัยธรรมชาติแรงๆ คือ ช่วง “วิษุวัต” หรือ  Equinox ซึ่งคือ วันที่เรียกว่า “ราตรีเสมอภาค” คือ กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน เป็นวันที่เส้นศูนย์สูตรของโลกผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ คือ 20-21 มีนาคม และ 22-23 กันยายน ซึ่งก็เป็นวันเปลี่ยนผ่านเป็นฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือนั่นเอง

    สี่ช่วงนี้ คือช่วงที่ท่านอาจจะหลีกเลี่ยงไม่เดินทางไปในพื้นที่ที่เสี่ยง มีโอกาสเกิดภัยพิบัติสูง เช่น บริเวณที่มีภูเขาไฟ ทั้งบนบกและในทะเล บริเวณที่เกิดพายุบ่อยๆ เป็นต้น

    นอกจากนี้ ท่านก็ควรจะทำการประกันภัยทรัพย์สินมีค่า ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต หรือต่อธุรกิจของท่าน สำหรับบุคคลแล้ว ชีวิตเป็นสิ้งที่มีค่าที่สุด ดังนั้นจึงควรทำการประกันชีวิต และสำหรับธุรกิจ ควรทำการประกันเครื่องจักร หรือเครื่องมือ หรือระบบงานสำคัญ (Core Operation System) การประกันภัย เป็นความอุ่นใจว่า หากมีสิ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้น ท่านสามารถได้รับการชดเชยความเสียหายได้ เป็นการบรรเทาภาระของท่าน หรือของผู้อยู่เบื้องหลัง แล้วแต่กรณี

    การเตรียมรับมืออีกประเภทหนึ่งคือ การเตรียมแผนฉุกเฉินเพื่อรับมือหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ในกรณีบุคคลก็ควรเตรียมทำพินัยกรรม และการเตรียมผู้สืบทอด สำหรับธุรกิจ ควรจะเตรียมแผนฉุกเฉินให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน เพื่อปฏิบัติตัวได้ในยามเกิดเหตุ และเตรียมผู้สืบทอดหน้าที่ไว้ด้วย

    แนวโน้มประการที่สามคือ สงครามการค้า และความขัดแย้งในโลก ซึ่งวิธีเตรียมรับมือคือ การวางตัวให้ดี ไม่สร้างศัตรู เพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพ ของสินค้าและบริการ และเน้นขายสินค้าและให้บริการที่คนต้องการ ซึ่งเราก็มาถูกทางแล้ว คือ เน้นอาหาร เน้นบริการท่องเที่ยว โรงแรม สปา และการแพทย์ และสุขภาพ
[/size]
โพสต์โพสต์