ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ปัจจุบันนักลงทุนจะมีความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนในกรอบที่แคบ กล่าวคือจะพยายามคาดการณ์ว่าสหรัฐจะเก็บภาษีศุลกากรสินค้าที่นำเข้าจากจีนมากขึ้นกว่า 250,000 ล้านเหรียญที่เก็บอยู่แล้วหรือไม่ หรือจะเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีนทั้งหมดกว่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นก็จะให้ความสำคัญกับการตอบโต้ของจีน ตลอดจนผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม เพราะเศรษฐกิจสหรัฐกับจีนนั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก โดยจีดีพีของสองประเทศรวมกับเท่ากับประมาณ 38% ของจีดีพีโลก ดังนั้นหากสองประเทศยักษ์ใหญ่ทำสงครามการค้ากัน ก็มีความเสี่ยงว่าจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ดี ผมเชื่อว่าหลายคนก็ยังพยายามมองโลกในแง่ดี เช่น การทำสงครามการค้าดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง หรือสร้างความกังวลในระดับที่จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ ชะลอการปรับดอกเบี้ยนโยบาย บางคนก็มีความเชื่อว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ชอบขู่ แต่ก็จะยอมสงบศึกในที่สุด ส่วนคนไทยหลายคนก็จะพยายามมองในแง่ดีว่า เท่าที่ผ่านมาผลกระทบในเชิงลบต่อไทยยังไม่เป็นที่ประจักษ์มากนัก เพราะสินค้าที่ไทยส่งไปจีนนั้นก็มิได้เป็นส่วนที่จีนใช้เพื่อการผลิตไปที่สหรัฐมากนัก และความต้องการสินค้าไทยในจีนก็น่าจะยังขยายตัวได้ เพราะ จีดีพีจีนก็ยังขยายตัวประมาณ 6% ต่อปี และรัฐบาลจีนก็กำลังกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้ นอกจากนั้น ประเทศไทยก็อาจได้ประโยชน์จากการที่สหรัฐต้องหันมาซื้อสินค้าไทยมากขึ้นเพื่อมาทอแทนสินค้าจีนที่ถูกเก็บภาษีศุลกากร 10% ถึง 25% (แต่ก็เกรงว่า อาจมีสินค้าจีนที่ขายที่สหรัฐไม่ได้ทะลักเข้าไทยเช่นกัน) ที่สำคัญคือมีการคาดหวังกันมากขึ้นว่าจะต้องมีการไหลเข้ามาไทยของการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง จากการพึ่งพาจีนเป็นฐานการผลิตใหญ่ในเอเชียของบริษัทข้ามชาติ

ผมคิดว่า ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นมีความสำคัญและสมควรที่จะต้องติดตาม แต่ก็ยังเป็นการมองประเด็นปัญหาในเชิงแคบ เพราะปัญหาระหว่างสหรัฐกับจีนนั้นน่าจะมีความสลับซับซ้อนและกว้างขวางมากกว่าการค้าและการลงทุนทวิภาคี แต่น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของภูมิภาคและของโลกโดยรวม ซึ่งผมมองว่าการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านั้นมีความสำคัญไม่แตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แม้จะไม่สามารถมองเห็นได้จากจอโทรทัศน์ เช่นเดียวกับการทุบกำแพงเบอร์ลิน หรือการที่สหภาพโซเวียตถูกแบ่งแยกออกเป็นเสี่ยงๆ เหลือเพียงประเทศรัสเซียกับประเทศที่เกิดใหม่ขึ้นมาอีกเป็นสิบประเทศ

จุดเริ่มต้นของการจะประเมินแนวโน้มความสัมพันธ์ของสหรัฐกับจีนนั้น สิ่งที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบันคือ การคาดหวังว่าสหรัฐจะยุติการขึ้นภาษีศุลกากรกับสินค้าที่นำเข้ามากจีนหรือไม่ โดยหวังว่าจะมีการ “สงบศึก” เพื่อให้มีเวลาเจราหาข้อยุติ ทั้งนี้ฝ่ายมองว่าประธานาธิบดีทรัมป์อาจเพียงแกล้งขู่ แต่ในที่สุดทั้งจีนและสหรัฐก็จะสามารถตกลงกันได้ในที่สุด โดยมีผู้เชี่ยวชาญหลายรายย้ำว่าการทำสงครามการค้านั้นทำให้เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจของทุกฝ่าย เมื่อเป็นนโยบายการค้าที่ไร้เหตุผลก็ย่อมจะไม่สามารถดำเนินไปยาวนานได้ ซึ่งผมต้องของแย้งว่า การกีดกันการค้าก็ได้เคยแพร่ขยายไปทั่วโลกเมื่อ 80 ปีที่แล้วและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจโลกตกต่ำจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

จุดเริ่มของการประเมินอย่างจริงจังว่า สหรัฐกับจีนจะสามารถปรับความสัมพันธ์ให้กลับไปสู่สภาวะปกติได้หรือไม่นั้น ผมมองว่าจะต้องประเมินให้ถ่องแท้ก่อนว่า ผลประโยชน์แห่งชาติทั้งสองประเทศนั้นคืออะไร และผลประโยชน์ดังกล่าวขัดแย้งกันหรือสามารถมีผลประโยชน์ร่วมกันได้มากน้อยเพียงใด การตั้งคำถามดังกล่าวนั้นถือว่า ยังเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ในระดับหนึ่ง เพราะในอดีตนั้นเคยแม้กระทั่งมีคำศัพท์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ของสหรัฐกับจีนนั้นเกือบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวคือเมื่อประมาณ 12 ปีก่อนหน้านักประวิติศาสตร์ชื่อดังคือ Niall Ferguson นิยามคำศัพท์ Chimerica เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ่งระหว่างจีนกับสหรัฐในเชิงเศรษฐกิจจนเกือบจะพูดได้ว่าทั้งสองประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างผสมผสานกันจนเกือบจะเป็นประเทศเดียวกัน โดยจีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐปีละหลายแสนล้านเหรียญสหรัฐ และนำเอาเงินที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐกังกล่าวมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐลดลง กล่าวคือช่วยให้ประชาชนสหรัฐสามารถใช้จ่ายเกินตัวได้อย่างยาวนาน โดยที่จีนทั้งขายสินค้าให้สหรัฐและปล่อยกู้ให้สหรัฐมีเงินไปซื้อสินค้าดังกล่าวนั่นเอง

แน่นอนว่าวันนี้ไม่มี Chimerica แล้วและความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนกำลังแตกร้าว แต่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะมิติของเศรษฐกิจและการค้า แต่คาบเกี่ยวไปถึงเทคโนโลยีและความมั่นคงครับ
[/size]
โพสต์โพสต์