"ความงาม" ที่แตกต่าง / คนขายของ
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
"ความงาม" ที่แตกต่าง / คนขายของ
โพสต์ที่ 1
“ความงาม” ที่แตกต่าง / โดย คนขายของ
ในช่วงปลายปีผมมักจะตรวจดูข้อมูลว่าหุ้นตัวใดราคาขึ้นมามากที่สุดในปีนั้น จากการตรวจสอบข้อมูล ของหุ้นที่อยู่ในดัชนี S&P500 จำนวนห้าร้อยกว่าตัว ผมพบว่าหนึ่งในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปี 2017 มีหุ้น Estee Lauder (EL) บริษัทเครื่องสำอางระดับโลกเจ้าของแบรนด์ดัง อย่าง La Mer, Origins, Clinique และ Lab Series อยู่ในรายชื่อด้วย โดยหุ้น EL ได้ขึ้นมามากถึง 67% ข้อมูลนี้ทำให้ผม เริ่มตรวจสอบดูหุ้นบริษัทเครื่องสำอางรายอื่นว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีใคร ทำได้เท่า EL แต่ที่แปลกใจมากที่สุดคือ ในขณะที่ดัชนีหุ้น S&P ขึ้นมาราว 22% และหุ้นทั่วโลกมีทิศทาง ขาขึ้นแต่หุ้นเครื่องสำอางระดับโลกอย่าง AVON (AVP) ราคากลับตกลงไปถึง 60% จนปัจจุบัน มูลค่า กิจการของ AVON นั้นอยู่แค่ 970 ล้านเหรียญ ต่ำกว่ามูลค่ากิจการของหุ้น BEAUTY ของไทยราว 50% ทำไมตลาดถึงชื่นชอบ EL แต่ไม่สนใจ AVP ขนาดนั้น?
AVON ก่อตั้งเมื่อปี 1886 และ IPO เมื่อปี 1978 ในขณะที่ EL ก่อตั้งเมื่อปี 1946 และ IPO ในปี 1995 ทั้งสองบริษัทมีมูลค่ากิจการใกล้เคียงกันในปี 1996 ที่ราว 4 พันล้านเหรียญ แต่ในอีกแปดปีต่อมา มูลค่าของ AVON พุ่งขึ้นถึง 5 เท่ามาแตะจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 2.16 หมื่นล้านเหรียญ ในขณะที่ EL ขึ้นมาแค่ 2.5 เท่า อยู่ที่ 1 หมื่นล้านเหรียญ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยายเครือข่ายของ AVP ไปต่างประเทศอย่างรวดเร็ว ในช่วงปี 1980-2000 ในปี 2004 หุ้น AVP มี PE 22 เท่า ROE 128 เติบโตทั้งยอดขาย และกำไร แต่จากการขยายตัวไปต่างประเทศอย่างรวดเร็วของคู่แข่ง, การบริหารงานที่ผิดพลาดในเชิงกลยุทธ์ และ ปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการบริหารกิจการ ทำให้ราคาหุ้น AVPอยู่ในทิศทางขาลงมาตลอด 14 ปี มูลค่ากิจการปัจจุบัน คิดเป็นแค่ 5% ของที่เคยเป็นในปี 2004
ในทางตรงข้าม EL กลับสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างมหาศาล จาก 4 พันล้านเหรียญในปีที่ IPO เติบโตมาเป็น 4.8 หมื่นล้านเหรียญในปัจจุบัน ซึ่งใหญ่กว่า PTT ของไทยนิดหน่อย ในช่วงที่ AVP รุ่งเรือง นั้น กำไรของ EL ไม่ค่อยเติบโตเท่าไหร่ แต่ที่น่าประทับใจคือ ยอดขายของ EL ยังคงรักษาเทรนด์ การ เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ IPO จนถึงปัจจุบัน อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ค่อยๆไต่ระดับจาก 9.88% ในปี 2003 มาเป็น 12.37% ในปี 2011 และกลายมาเป็น 15.06% ในตอนนี้ ในขณะที่ของ AVP จาก สูงสุดที่ 15.86% ในปี 2004 ลงมาเหลือ 4.38% Zacks Equity Research ได้สรุปเหตุผลที่ ตลาดให้ความสนใจในหุ้น EL กันอย่างมาก เป็นเพราะว่า หนึ่ง บริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการทำ e-commerce โดยมียอดขายเติบโตถึง 33% สอง บริษัทมีกลยุทธ์ในการควบรวมกิจการที่ดี สามารถสร้าง การเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และ สาม การใช้ digital media และ social network ทำให้การใช้งบการ ตลาดของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความรุ่งเรืองและถดถอยของสองบริษัทซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ให้ข้อคิดอะไรกับเราบ้าง? อย่างแรก ผมคิดว่า การที่บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ไม่ควรมี PE เท่ากัน เพราะคุณภาพของกิจการใน อุตสาหกรรมเดียวกันอาจต่างกันอย่างลิบลับ ดังนั้นการใช้ PE กลุ่มในการประเมิน เช่นว่า PE กลุ่มค้าปลีก อยู่ที่ 30 เท่า ดังนั้น เราควรซื้อลงทุนหุ้นค้าปลีกตัวหนึ่งอยู่ ซึ่ง PE อยู่ที่ 15 เท่า เพราะยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ของกลุ่ม อาจจะไม่ใช่เหตุผลที่ดีนัก ข้อคิดที่สอง ยุครุ่งเรืองและเสื่อมถอยของ AVON เกิดในยุคของ CEO คนเดียวกัน การเชื่อว่า CEO คนเดิมจะสามารถทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้นได้ในทุกๆปีเหมือนในอดีต อาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป สิ่งที่แน่นอนที่สุดในโลก ก็คือความไม่แน่นอนนั้นเอง
ข้อคิดที่สาม จากที่ทำการศึกษาผลประกอบการย้อนหลังของบริษัท EL ตั้งแต่ปี 2003 – 2017 พบว่า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานลดลง YOY อยู่ 3 ปี มีรายได้ลดลง YOY 2 ปี จะเห็นได้ว่า หนทางการ ทำธุรกิจของ EL ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ บริษัทที่เติบโตในระยะยาว อาจมีปัญหาในบางปีได้ การมองโลก ในแง่ดีจนเกินไปของนักลงทุน อาจทำให้ต้องรอไปอีกหลายปี ถ้านักลงทุนซื้อหุ้น EL ตอนปี 1999 ซึ่งมี PE 50 เท่า PBV 13.49 เท่า ต้องรอไปอีก 11 ปีกว่าจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่การซื้อหุ้นที่มีการบริหาร จัดการดีอย่าง EL ถึงไปซื้อที่ราคาสูง ก็เพียงแค่รอเวลา ไม่ถึงกับขาดทุน แต่หากนักลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้น AVP เพราะตื่นเต้นกับกำไรสุทธิที่เติบโต 24% ในปี 2003 และกลายมาเป็น 27% ในปี 2004 เขาคงได้ เรียนรู้แล้วว่า อดีตที่รุ่งเรือง ไม่ได้การันตีว่าอนาคตจะรุ่งโรจน์เสมอไป เพราะในปี 2005 แม้เป็นปีที่ไม่ได้ มีอะไรมากระทบกับธุรกิจของ AVP มาก ยอดขายโต 5% กำไรเติบโตลดลงเหลือ 0.23% แต่หุ้น AVP กลับถูกทิ้งดิ่งลงมาจาก 44 เหรียญในเดือนกุมภาพันธ์ ลงมาเหลือเพียง 26 เหรียญ ในอีก 8 เดือนต่อมา หุ้นตกต่ำเรื่อยมา จนปัจจุบันเหลือเพียงหุ้นละ 2.2 เหรียญในปัจจุบัน ขนาดฝาแฝดที่หน้าเหมือนกันยังมีชะตาชีวิตที่แตกต่างกัน หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ใช่ว่าจะให้ผลตอบแทนเหมือนกันเสมอไป
ในช่วงปลายปีผมมักจะตรวจดูข้อมูลว่าหุ้นตัวใดราคาขึ้นมามากที่สุดในปีนั้น จากการตรวจสอบข้อมูล ของหุ้นที่อยู่ในดัชนี S&P500 จำนวนห้าร้อยกว่าตัว ผมพบว่าหนึ่งในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปี 2017 มีหุ้น Estee Lauder (EL) บริษัทเครื่องสำอางระดับโลกเจ้าของแบรนด์ดัง อย่าง La Mer, Origins, Clinique และ Lab Series อยู่ในรายชื่อด้วย โดยหุ้น EL ได้ขึ้นมามากถึง 67% ข้อมูลนี้ทำให้ผม เริ่มตรวจสอบดูหุ้นบริษัทเครื่องสำอางรายอื่นว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีใคร ทำได้เท่า EL แต่ที่แปลกใจมากที่สุดคือ ในขณะที่ดัชนีหุ้น S&P ขึ้นมาราว 22% และหุ้นทั่วโลกมีทิศทาง ขาขึ้นแต่หุ้นเครื่องสำอางระดับโลกอย่าง AVON (AVP) ราคากลับตกลงไปถึง 60% จนปัจจุบัน มูลค่า กิจการของ AVON นั้นอยู่แค่ 970 ล้านเหรียญ ต่ำกว่ามูลค่ากิจการของหุ้น BEAUTY ของไทยราว 50% ทำไมตลาดถึงชื่นชอบ EL แต่ไม่สนใจ AVP ขนาดนั้น?
AVON ก่อตั้งเมื่อปี 1886 และ IPO เมื่อปี 1978 ในขณะที่ EL ก่อตั้งเมื่อปี 1946 และ IPO ในปี 1995 ทั้งสองบริษัทมีมูลค่ากิจการใกล้เคียงกันในปี 1996 ที่ราว 4 พันล้านเหรียญ แต่ในอีกแปดปีต่อมา มูลค่าของ AVON พุ่งขึ้นถึง 5 เท่ามาแตะจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 2.16 หมื่นล้านเหรียญ ในขณะที่ EL ขึ้นมาแค่ 2.5 เท่า อยู่ที่ 1 หมื่นล้านเหรียญ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยายเครือข่ายของ AVP ไปต่างประเทศอย่างรวดเร็ว ในช่วงปี 1980-2000 ในปี 2004 หุ้น AVP มี PE 22 เท่า ROE 128 เติบโตทั้งยอดขาย และกำไร แต่จากการขยายตัวไปต่างประเทศอย่างรวดเร็วของคู่แข่ง, การบริหารงานที่ผิดพลาดในเชิงกลยุทธ์ และ ปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการบริหารกิจการ ทำให้ราคาหุ้น AVPอยู่ในทิศทางขาลงมาตลอด 14 ปี มูลค่ากิจการปัจจุบัน คิดเป็นแค่ 5% ของที่เคยเป็นในปี 2004
ในทางตรงข้าม EL กลับสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างมหาศาล จาก 4 พันล้านเหรียญในปีที่ IPO เติบโตมาเป็น 4.8 หมื่นล้านเหรียญในปัจจุบัน ซึ่งใหญ่กว่า PTT ของไทยนิดหน่อย ในช่วงที่ AVP รุ่งเรือง นั้น กำไรของ EL ไม่ค่อยเติบโตเท่าไหร่ แต่ที่น่าประทับใจคือ ยอดขายของ EL ยังคงรักษาเทรนด์ การ เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ IPO จนถึงปัจจุบัน อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ค่อยๆไต่ระดับจาก 9.88% ในปี 2003 มาเป็น 12.37% ในปี 2011 และกลายมาเป็น 15.06% ในตอนนี้ ในขณะที่ของ AVP จาก สูงสุดที่ 15.86% ในปี 2004 ลงมาเหลือ 4.38% Zacks Equity Research ได้สรุปเหตุผลที่ ตลาดให้ความสนใจในหุ้น EL กันอย่างมาก เป็นเพราะว่า หนึ่ง บริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการทำ e-commerce โดยมียอดขายเติบโตถึง 33% สอง บริษัทมีกลยุทธ์ในการควบรวมกิจการที่ดี สามารถสร้าง การเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และ สาม การใช้ digital media และ social network ทำให้การใช้งบการ ตลาดของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความรุ่งเรืองและถดถอยของสองบริษัทซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ให้ข้อคิดอะไรกับเราบ้าง? อย่างแรก ผมคิดว่า การที่บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ไม่ควรมี PE เท่ากัน เพราะคุณภาพของกิจการใน อุตสาหกรรมเดียวกันอาจต่างกันอย่างลิบลับ ดังนั้นการใช้ PE กลุ่มในการประเมิน เช่นว่า PE กลุ่มค้าปลีก อยู่ที่ 30 เท่า ดังนั้น เราควรซื้อลงทุนหุ้นค้าปลีกตัวหนึ่งอยู่ ซึ่ง PE อยู่ที่ 15 เท่า เพราะยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ของกลุ่ม อาจจะไม่ใช่เหตุผลที่ดีนัก ข้อคิดที่สอง ยุครุ่งเรืองและเสื่อมถอยของ AVON เกิดในยุคของ CEO คนเดียวกัน การเชื่อว่า CEO คนเดิมจะสามารถทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้นได้ในทุกๆปีเหมือนในอดีต อาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป สิ่งที่แน่นอนที่สุดในโลก ก็คือความไม่แน่นอนนั้นเอง
ข้อคิดที่สาม จากที่ทำการศึกษาผลประกอบการย้อนหลังของบริษัท EL ตั้งแต่ปี 2003 – 2017 พบว่า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานลดลง YOY อยู่ 3 ปี มีรายได้ลดลง YOY 2 ปี จะเห็นได้ว่า หนทางการ ทำธุรกิจของ EL ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ บริษัทที่เติบโตในระยะยาว อาจมีปัญหาในบางปีได้ การมองโลก ในแง่ดีจนเกินไปของนักลงทุน อาจทำให้ต้องรอไปอีกหลายปี ถ้านักลงทุนซื้อหุ้น EL ตอนปี 1999 ซึ่งมี PE 50 เท่า PBV 13.49 เท่า ต้องรอไปอีก 11 ปีกว่าจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่การซื้อหุ้นที่มีการบริหาร จัดการดีอย่าง EL ถึงไปซื้อที่ราคาสูง ก็เพียงแค่รอเวลา ไม่ถึงกับขาดทุน แต่หากนักลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้น AVP เพราะตื่นเต้นกับกำไรสุทธิที่เติบโต 24% ในปี 2003 และกลายมาเป็น 27% ในปี 2004 เขาคงได้ เรียนรู้แล้วว่า อดีตที่รุ่งเรือง ไม่ได้การันตีว่าอนาคตจะรุ่งโรจน์เสมอไป เพราะในปี 2005 แม้เป็นปีที่ไม่ได้ มีอะไรมากระทบกับธุรกิจของ AVP มาก ยอดขายโต 5% กำไรเติบโตลดลงเหลือ 0.23% แต่หุ้น AVP กลับถูกทิ้งดิ่งลงมาจาก 44 เหรียญในเดือนกุมภาพันธ์ ลงมาเหลือเพียง 26 เหรียญ ในอีก 8 เดือนต่อมา หุ้นตกต่ำเรื่อยมา จนปัจจุบันเหลือเพียงหุ้นละ 2.2 เหรียญในปัจจุบัน ขนาดฝาแฝดที่หน้าเหมือนกันยังมีชะตาชีวิตที่แตกต่างกัน หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ใช่ว่าจะให้ผลตอบแทนเหมือนกันเสมอไป
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
- HOWLS
- Verified User
- โพสต์: 340
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ความงาม" ที่แตกต่าง / คนขายของ
โพสต์ที่ 2
รายได้ และ กำไร ที่เติบโต น่าจะเป็นข้อสรุป
บริษัทที่โต ดี กว่า ก็น่าจะมี PE ดีกว่า
วันไหน หยุดโต ตลาด ก็คงปรับ PE ให้เอง
ตัวอย่าง BIG FSMART คงมีให้เห็นเรื่อย ๆ
วันนั้น แฟน ๆ คงหนีทัน นะ
บริษัทที่โต ดี กว่า ก็น่าจะมี PE ดีกว่า
วันไหน หยุดโต ตลาด ก็คงปรับ PE ให้เอง
ตัวอย่าง BIG FSMART คงมีให้เห็นเรื่อย ๆ
วันนั้น แฟน ๆ คงหนีทัน นะ
พัฒนาขึ้น ทุก ๆ วัน ...
- พ่อน้องเพชร
- Verified User
- โพสต์: 294
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ความงาม" ที่แตกต่าง / คนขายของ
โพสต์ที่ 3
สุดยอด
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ความงาม" ที่แตกต่าง / คนขายของ
โพสต์ที่ 4
วันก่อน
เคย เห็นข่าว
shisado ขยาย รง. ใหม่
https://www.shiseidogroup.com/news/deta ... 0000002296
พบว่า
ส่วนใหญ่ เป็น new demand driven
จาก new age of Asian Middle income โดย เฉพาะ จีน
จึงน่าจะ ทำให้ เกิด s curve รอบใหม่
ไปดู
http://sandalwoodadvisors.com/estee-lau ... ven-china/
เคย เห็นข่าว
shisado ขยาย รง. ใหม่
https://www.shiseidogroup.com/news/deta ... 0000002296
(new capacity to watch)will manufacture skincare products targeting the Japanese and global markets, to 2.1 times higher than the initial plan.
พบว่า
ส่วนใหญ่ เป็น new demand driven
จาก new age of Asian Middle income โดย เฉพาะ จีน
จึงน่าจะ ทำให้ เกิด s curve รอบใหม่
ไปดู
http://sandalwoodadvisors.com/estee-lau ... ven-china/
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0