คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

รูปภาพ

ประวัติศาสตร์กว้างมาก เราเก่งกันเรื่องการลงทุนอยู่แล้ว ก็ใช้ความได้เปรียบของเรา ใช้ความรู็จาก value invetsing มาใช้ว่าจะศึกษากับประวัติศาสตร์อย่างไร ความรู้ที่ว่านี้ คือ นายตลาด สองส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย และสามการเข้าใจธุรกิจในกรอบของ circle of competence มันใช้จริงๆ ครับ ผมทำอย่างนั้นบ่อยครั้งกับสิ่งต่างๆ ที่ผมพยายามทำความเข้าใจ เริ่มจากตั้งคำถามว่าจะเริ่มอย่างไร ตัวเราคือใคร ต้องถามว่าเราถนัดแบบไหน เว็บนี้สนใจแต่เรื่องตลาดหุ้น เราก็บีบให้เข้าทาง circle of competence ของเรา เราก็เริ่มอย่างนั้น การลงทุนก็ยังกว้างอยู๋มาก ถ้าเรายังจับต้นปลายทางไม่ถูก เราอาจเริ่มจากสิ่งที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น เงินกระดาษ หรือ ธนบัตร

อย่างอเมริกา มีสองคนในแบงค์ดอลไม่ได้เป็นประธานาธิบดี อเมริกาเอามาขึ้นหน้าแบงค์ เขาเป้นระบบทุนนิยม เขายกย่องคนแบบนั้น แต่ที่เกาหลี เขาเอาคนดีที่ซื่อสัตย์มาขึ้นหน้าแบงค์ คนเกาหลียกย่องคนแบบนั้น แต่ละประเทศก็ใช้คนสำคัญต่างกัน เราก็พอเดาออกคร่าว ว่าประเทศนั้นแกนกลางของประเทศเขาคืออะไร

ตัวอย่างแบงค์ร้อยดอลนี้เป็น เบนจามิน แฟรงคลิน คนนี้เป็นฮี่โร่ของ ชาลี มังเกอร์ เป็นคนแรกของโลกที่คิดเรื่องพิมพ์เงินกระดาษมาใช้ อเมริกามีหนี้บานเบอะเลยเพราะไปยืมเงินฝรั่งเศสมาใช้รบกับอังกฤษ มีแต่เงินเหรียญอย่างเดียว แต่เบน แฟรงคลิน เขาก็ได้ประโยชน์ถึงขั้นรวยทีเดียวเพราะตัวเองทำโรงพิมพ์ เขาก็ได้รับสัมปทานในการพิมพ์แบงค์ อเมริกาพิมพ์แบงค์ออกมาแล้วก็เริ่มตกลงกันระหว่างประเทศต่างๆ ว่าจะเอาทองมาเป็นตัววัดปริมาณของเงินที่จะพิมพ์ออกมา ผมอ่านจากเว็บนี้ก็ได้ความรู็มากมาย เขาเป็นเว็บเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่นักเขียนเขาสนใจเรื่องอื่นด้วย และเขียนหลายบทความเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ได้ดีมากเช่นกันครับ
กำเนิดดอลลาร์
http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=404312
ต้องขอบคุณครับ

รูปภาพ

คนที่สอง อเลกซานเดอร์ แฮมมิลตัน คนนี้คนอเมริกันยกย่อง เป็นบิดาของระบบทุนนิยม เป็นคนแรกที่เป้นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เขาวางรากฐานระบบธนาคาร การเงิน ตลาดหุ้น เป็นคนสำคัญมากทีเดียวครับ สิ่งที่ยูโรปกำลังเจอตอนนี้เหมือนกันอย่างบังเอิญ น่าสนใจครับ เหมือนฉายหนังซ้ำ ย้อนประวัติศาสตร์ไปยุคของอเมริกาในสมัยแฮมมิลตันกำลังวางรากฐานให้กับรัฐต่างๆของอเมริกาที่ตอนนั้นยังต่างคนต่างปกครองตนเอง ยังไม่รวมกันเป้น The United States ผมมีเว็บภาษาอังกฤษที่อธิบายเหตุการณ์นี้ ภาษาอ่านง่าย เข้าใจง่าย เขาเขียนดีมาก

Hamilton and the federalist financial revolution, 1789–1795
by Richard Sylla

http://www.alexanderhamiltonexhibition. ... lution.pdf
ต้องขอบคุณครับ

รูปภาพ

บีบให้แคบลงไปอีก สำหรับเขาสนใจหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนตรงๆ เลย ผมก็มีแนะนำเช่นกันครับ Wall Steet : มุมมองเกี่ยวกับวอลล์สตรีท ในฐานะศูนย์กลางของตลาดเงินตลาดทุนอเมริกาและของโลก ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มุมมองว่าด้วยฐานะของวัฒนธรรมในหนังสือเล่มนี้ กลับไม่มีใครพูดถึงมาก่อน จึงถือว่าเป็นการบุกเบิกที่สำคัญทีเดียว เว็บผู็จัดการ review book เขาสรุปไว้กระชับได้ใจความเป็นภาษาไทยได้ดีมากครับ

http://www.gotomanager.com/books/detail ... new&id=729
ต้องขอบคุณเช่นกันครับ


รูปภาพ

อีกเล่มชื่อ Manias, Panics, and Crashes : A History of Financial Crisis เล่มนี้ส่วนตัว ชอบมากเช่นกันครับ
ทางเว็บนี้ เขาก็เขียนได้ดีครับ
http://www.aripnetwork.com/businessnews.php?id=403569
ต้องขอขอบคุณ

ชาร์ลส คินเดิลเบอร์เกอร์ คนเขียนหนังสือชื่อดังเรื่อง Manias, Panics, and Crashes : A History of Financial Crisis เคยกล่าวเอาไว้ว่า แวดวงของธุรกิจโดยเฉพาะในตลาดทุนของโลกนั้น มักจะวนเวียนอยู่กับ 4 ขั้นตอนของวิวัฒนาการที่ซ้ำซากกัน คือ ช่วงฟักตัวก่อนทะยานขึ้น ช่วงเห่อตามกระแส ช่วงตื่นตูม และ ช่วงพังทะลาย ทั้ง 4 ช่วงเวลานี้ คือวงจรของความโลภที่แก้ไม่หายในโครงสร้างแบบทุนนิยม


หรือจะอ่านเอาเฉพาะที่เป็น crisis อย่างเดียว เป็นการเฉพาะเจาะจงลงไปเลยนั้น ต้องอ่านเว็บนี้
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B9.html
ต้องขอบคุณเช่นกันครับ

ผมมีรายชื่อหนังสือแนะนำสักสี่ห้าเล่มที่คุณอาจจะสนใจ

1. เมลท์ดาวน์ MELTDOWN : The end of the age of greed คนเขียนชื่อ พอล เมสัน (Paul Mason) ครับ

2. เธอะ ครันช์ THE CRUNCH : How greed and in competence sparked the credit crisis คนเขียนชื่อ อเล็กซ์ บรูมเมอร์ (Alex Brummer)

3. กำเนิดวิกฤติการเงิน มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า The Origin of Financial Crises คนเขียนชื่อ จอร์จ คูเปอร์ (George Cooper) เล่มนี้จะเน้นไปพูดเรื่องธนาคารกลางและฟองสบู่ในระบบสินเชื่อมากหน่อย

4. ประวัติศาสตร์วิกฤติการเงิน มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Manias, Panics and Crashes : A History of Financial Crises เป็นนักวิชาการสองคนร่วมกันเขียน คนหนึ่งคือ ชาร์สส์ พี. ไคนเดิลเบอร์เกอร์ (Charles P. Kindleberger) เล่มนี้มีคนแนะนำผมมาก่อนแล้ว ตอนไปเลือกหนังสือเจอเล่มนี้เข้าโดยบังเอิญก็เลยรีบซื้อเลย ไม่ต้องเสียเวลาพลิกดูก่อน

5. พายุคลั่ง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า The Storm : The world economic crisis & what it means คนเขียนชื่อ วินซ์ เคเบิล (Vince Cable)

บทสรุป

อ่านประวัติศาสตร์นานๆ คลุกมานาน บางทีเราก็อยากย่อให้มันเป็นภาพ เหมือนที่คำกล่าว A picture is worth 1000 words. สุดท้ายถ้าอยากเหมือนผมที่เอาไปติดที่ห้องทำงานไว้เตือนตัวเอง เอาเป็นภาพเลย บางทีก็ขี้เกียจอ่าน เป็นโพสเตอร์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมเหตุการณ์วิกฤติ เขาเอาต้มยำกุ้งของไทยไปรวมด้วย ก็ต้องรูปนี้ครับ

รูปภาพ

This graphic is based on the New York Times and Wall Street Journal best seller This Time Is Different: Eight Centuries of Financial Folly by Carmen M. Reinhart & Kenneth S. Rogoff. Using data developed by Reinhart and Rogoff, it maps the cyclical history of financial crisis from 1810 to 2010 for sixty-six countries representing 90% of world GDP.

http://s147.photobucket.com/albums/r287 ... sis650.gif
ต้องขอบคุณเช่นกันครับ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณพี่โหน่งมากๆนะครับผม พี่มีหนังสือน่าอ่านมาแนะนำอีกแล้วครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
halogen
Verified User
โพสต์: 78
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับผม :mrgreen:
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สวัสดีครับคุณหมอนุ่น
ขอบคุณครับคุณ halogen ว่าแต่ชื่อหมายถึงอะไรครับ

ผมลืมแนะนำปกแข็งนะครับ ไม่ใช่ปกอ่อน ของ Reminiscences of a Sock Operater ปกแข็งมีรูปย้อนอดีต เล่มนี้ไม่ว่ากี่ปีก็อ่านได้ อีกร้อยปีก็อ่านได้ เพราะอารมณ์ความกลัวและความโลภของคนไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่ที่สำคัญกว่า Livermore เขาบันทึกความคิดของตัวเองเวลารับมือกับการขาดทุนและความเครียดต่างๆ เราได้อ่านอารมณ์ของเขาตามลำดับเหตุการณ์ทั้งเวลาที่กำไรและขาดทุน เขาอ่านตัวเองตลอดเวลา ผมว่าผมได้จากตรงนี้เยอะมาก นี่เป็นหนังสือนิยายอ้างอิงนักลงทุนเก็งกำไรที่มีตัวตนจริง เหมือนได้อ่าน Mr. Market เกือบทั้งเล่ม

อย่างหนึ่งที่พี่ได้จากการอ่านประวัติศาสตร์ เราก็ "พลิกนิดเดียว" แล้วเอามาปรับใช้เวลาเราหาบริษัทที่จะลงทุน ตัวอย่าง ช่วงสองอาทิตย์ก่อนนี้ มีออกข่าวมาเกี่ยวกับเจบีมอร์แกน ใครไม่ทราบและสนใจไปหาอ่านที่ yahoo news พิมม์คำว่า เจบี มอร์แกน ยาหูจะลำดับเหตุการณ์ข่าวที่ออกมา ซึ่งตรงนี้ ผมว่าสำคัญมากที่จะเห็นวิวัฒนาการของข่าวที่ปล่อยออกมา เช่นเดียวกันครับ เวลาอ่านเรื่องอะไรที่อยากศึกษาเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็นนิยาย อย่างสี่แผ่นดิน หรือ annual report จะชอบอ่านตามลำดับเวลาที่ผ่านไปจากอดีตถึงปัจจุบัน ความเข้าใจจะมากขึ้นมากกว่าอ่านแบบเว็บโน้นเว็บนี้แล้วเอามารวมสรุปวิเคราะห์

ปัจจุบันพี่เจอการวิเคราะห์ข้อมูลที่มากขึ้นตลอด แต่มีเวลาใช้ในการตัดสินใจน้อยลง เวลาลูกน้องเอาข้อมูลบริษัทไหนมาให้ดู สองชั่วโมงในการทำความเข้าใจดูข้อมูลย้อนหลังของบริษัทจึงถูกเปลี่ยนเป็นความหมายที่ชัดเจน แต่อดีตไม่ได้สะท้อนเป็นกระจกส่องอนาคตเสมอไปครับ มันบอกได้เพียงคร่าวๆ เท่านั้น เวลาเจอข้อมูลมากๆ การลำดับข้อมูลที่ออกมาของแต่ละบริษัทก็จะอ่านลักษณะนี้ หรือ เวลาอ่านรายงานประจำปีก็จะแหวกอ่านบริษัทเดียวแล้วไล่ทีละปีต่อเนื่องจนกว่าถึงปีปัจจุบัน ความเข้าใจก้อย่างหล่อเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
halogen
Verified User
โพสต์: 78
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

โพสต์ที่ 5

โพสต์

humdrum เขียน:สวัสดีครับคุณหมอนุ่น
ขอบคุณครับคุณ halogen ว่าแต่ชื่อหมายถึงอะไรครับ

ผมลืมแนะนำปกแข็งนะครับ ไม่ใช่ปกอ่อน ของ Reminiscences of a Sock Operater ปกแข็งมีรูปย้อนอดีต เล่มนี้ไม่ว่ากี่ปีก็อ่านได้ อีกร้อยปีก็อ่านได้ เพราะอารมณ์ความกลัวและความโลภของคนไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่ที่สำคัญกว่า Livermore เขาบันทึกความคิดของตัวเองเวลารับมือกับการขาดทุนและความเครียดต่างๆ เราได้อ่านอารมณ์ของเขาตามลำดับเหตุการณ์ทั้งเวลาที่กำไรและขาดทุน เขาอ่านตัวเองตลอดเวลา ผมว่าผมได้จากตรงนี้เยอะมาก นี่เป็นหนังสือนิยายอ้างอิงนักลงทุนเก็งกำไรที่มีตัวตนจริง เหมือนได้อ่าน Mr. Market เกือบทั้งเล่ม

อย่างหนึ่งที่พี่ได้จากการอ่านประวัติศาสตร์ เราก็ "พลิกนิดเดียว" แล้วเอามาปรับใช้เวลาเราหาบริษัทที่จะลงทุน ตัวอย่าง ช่วงสองอาทิตย์ก่อนนี้ มีออกข่าวมาเกี่ยวกับเจบีมอร์แกน ใครไม่ทราบและสนใจไปหาอ่านที่ yahoo news พิมม์คำว่า เจบี มอร์แกน ยาหูจะลำดับเหตุการณ์ข่าวที่ออกมา ซึ่งตรงนี้ ผมว่าสำคัญมากที่จะเห็นวิวัฒนาการของข่าวที่ปล่อยออกมา เช่นเดียวกันครับ เวลาอ่านเรื่องอะไรที่อยากศึกษาเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็นนิยาย อย่างสี่แผ่นดิน หรือ annual report จะชอบอ่านตามลำดับเวลาที่ผ่านไปจากอดีตถึงปัจจุบัน ความเข้าใจจะมากขึ้นมากกว่าอ่านแบบเว็บโน้นเว็บนี้แล้วเอามารวมสรุปวิเคราะห์

ปัจจุบันพี่เจอการวิเคราะห์ข้อมูลที่มากขึ้นตลอด แต่มีเวลาใช้ในการตัดสินใจน้อยลง เวลาลูกน้องเอาข้อมูลบริษัทไหนมาให้ดู สองชั่วโมงในการทำความเข้าใจดูข้อมูลย้อนหลังของบริษัทจึงถูกเปลี่ยนเป็นความหมายที่ชัดเจน แต่อดีตไม่ได้สะท้อนเป็นกระจกส่องอนาคตเสมอไปครับ มันบอกได้เพียงคร่าวๆ เท่านั้น เวลาเจอข้อมูลมากๆ การลำดับข้อมูลที่ออกมาของแต่ละบริษัทก็จะอ่านลักษณะนี้ หรือ เวลาอ่านรายงานประจำปีก็จะแหวกอ่านบริษัทเดียวแล้วไล่ทีละปีต่อเนื่องจนกว่าถึงปีปัจจุบัน ความเข้าใจก้อย่างหล่อเลย
ไม่มีความหมายครับผม แล้วมีแต่คนทักผิดว่าผมเป็นคนเดียวกับคุณ Halogen ใน pantip เสมอ ๆ

ผมยังเป็นแค่เด็กน้อยในตลาดครับ คงใช้เวลาศึกษาไปเรื่อย ๆ ไม่ซีเรียสครับ แต่ผมติดตามอ่านบทความของพี่มาตลอดนะครับ

ขอบคุณมากครับที่ สละเวลาแบ่งปันความรู้

ปล. หนังสือที่พี่แนะนำพวกนี้มีแปลไทยบ้างหรือเปล่าครับ กลัวเป็นภาษาอังกฤษแล้วอ่านไม่จบซักที

ชอบเอาไปอ่านในห้องน้ำ ได้สมาธิดี พอเป็นหนังสือ ENG ก็เลยไม่รู้จะเอาดิกไปใช้ยังไง 5555 :oops:
rareman
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ได้หนังสือดีๆ มาเก็บเข้ากรุอีกแล้ว
ขอบคุณนะคับ
โพสต์โพสต์